รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 61

โพสต์

เมียนมาร์จ่อปรับแผนลงทุนทวายหวังดึงไจก้าลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม 2012 เวลา 22:34 น. คเณ มหายศ ข่าวรายวัน - คอลัมน์ : ข่าวในประเทศ

เมียนมาร์จ่อปรับแผนลงทุนทวาย พร้อมเล็งลดขนาดพื้นที่ลง 50 ตร.กม. เร่งดึงแหล่งทุนญี่ปุ่นร่วมกับอิตาเลียนไทย ยังหวังเงินกู้ไจก้าดอกเบี้ยต่ำหนุนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเร่งพัฒนาให้เร็วขึ้น “ชัชชาติ” เผยหลายรายการยังล่าช้าโดยเฉพาะการรื้อย้ายหมู่บ้าน 4 พันหลังคาเรือน ส่วนการเชื่อมมอเตอร์เวย์และทางรถไฟเข้าทวายวงเงิน 3 หมื่นลบ. ยังไม่ตัดสินใจ ยันต้องประเมินความคุ้มค่าก่อน

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเดินทางเยือนเมียนมาร์ร่วมนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะนักธุรกิจไทยเพื่อหารือร่วมกับนายพลเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีเมียนมาร์เกี่ยวกับความร่วมมือในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและท่าเรือน้ำลึกทวายระหว่างวันที่ 14-17 ธันวาคมที่ผ่านมานั้นว่าเมียนมาร์ต้องการนักลงทุนจากประเทศที่ 3 เข้ามาช่วยร่วมลงทุนกับทางบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) หรือ ITD ที่ได้รับสัมปทานโครงการดังกล่าวจากเมียนมาร์ซึ่งปัจจุบันถือหุ้นทั้ง 100% เพื่อให้โครงการดำเนินไปได้รวดเร็วมากขึ้น เช่น นักลงทุนญี่ปุ่นที่มีแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น(ไจก้า) และเจบิก ซึ่งจะทำให้การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมีความเป็นไปได้และต้นทุนถูกกว่าแหล่งเงินกู้อื่นที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 7% ที่จะมีผลกระทบต่อค่าผ่านทางและค่าบริการท่าเรือ

ล่าสุดผลการหารือยังพบอีกว่าเมียนมาร์ต้องการปรับลดพื้นที่โครงการลงประมาณ 50 ตารางกม.จากทั้งหมด 204.5 ตารางกม. แต่ยังไม่ได้ระบุว่าจะนำพื้นที่ดังกล่าวไปทำประโยชน์อะไร ซึ่งเรื่องนี้เป็นข้อตกลงระหว่างเมียนมาร์กับอิตาเลียนไทย โดยจะต้องมีการศึกษาข้อดี-ข้อเสีย ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเพิ่มเติมให้ชัดเจนก่อน โดยเบื้องต้นเอกชนมองว่าการลดขนาดพื้นที่อาจทำให้โครงการมีปัญหาได้ ดังนั้นจะต้องมีการประชุมในระดับคณะกรรมการประสานงานร่วม(JCC)อีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

นายชัชชาติกล่าวว่าโครงการดังกล่าวต้องใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 2.7 แสนล้านบาท เป็นการลงทุนในเขตประเทศเมียนมาร์ 1.9 แสนล้านบาทซึ่งเมียนมาร์จะลงทุนประมาณ 9.6 หมื่นล้านบาท ส่วนอิตาเลียนไทยลงทุน 1 แสนล้านบาทซึ่งทางอิตาเลียนไทยอาจรับภาระไม่ไหวจึงต้องการหานักลงทุนมาช่วย และอาจจะต้องปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นโครงการใหม่ด้วย ส่วนการลงทุนขณะนี้มี 2 รูปแบบที่เป็นไปได้ คือ 1. ตั้งโฮลดิ้งถือหุ้นในบริษัทย่อยด้านถนน,ท่าเรือ,นิคมอุตสาหกรรม ฯลฯ มีข้อดีเพราะจะนำรายได้จากบริษัทย่อยที่มีกำไรมาสนับสนุนบริษัทที่ไม่มีกำไร และ 2. ตั้งบริษัทแยกดำเนินการในแต่ละธุรกิจ

“ตอนนี้ที่ต้องใช้เงินมากคือการเวนคืนย้ายหมู่บ้านที่มีประมาณ 4,000 หลังคาเรือน โดยรื้อย้ายไปได้เพียง 400 หลังคาเรือนเท่านั้น คาดว่าจะใช้ประมาณ 7,500 ล้านบาท และหากดำเนินการล่าช้าก็จะยิ่งใช้งบประมาณสูงขึ้น เพราะราคาที่ดินในพื้นที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับในฝั่งไทยนั้นจะมีการลงทุนประมาณ 7.6 หมื่นล้านบาทประกอบด้วย โครงการทางพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์) สายบางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กม. งบประมาณ 4.5 หมื่นล้านบาท โดยอยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะเชื่อมต่อไปยังด่านชายแดนบ้านพุน้ำร้อนอีกประมาณ 70 กม. วงเงินประมาณ 1 หมื่นล้านบาทหรือไม่ โดยดูจากโครงการทวายว่าจะประสบความสำเร็จจริงหรือไม่ และการเชื่อมต่อทางรถไฟนั้นภาคเอกชนมองว่าหากมีเส้นทางรถไฟจะทำให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือทวายต่ำกว่าทางรถยนต์ ดังนั้นอาจจะขอให้ปรับแผนโดยเร่งรัดการลงทุนทางรถไฟจากเดิมที่อยู่ในเฟสสุดท้ายปี 2563 มาดำเนินการในเฟสแรกก่อนเพื่อให้พร้อมรองรับการขนส่งสินค้า”

นายชัชชาติ กล่าวอีกว่า ประเด็นทางรถไฟนั้นคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 2 หมื่นล้านบาท แต่จะต้องหาข้อสรุปว่าจะก่อสร้างตามแบบที่เมียนมาร์ต้องการคือรางความกว้าง 1.435 เมตร (Standard Gauge) เพื่อสะดวกในการเชื่อมต่อกับรถไฟประเทศจีน ขณะที่ไทยมองว่ารางขนาด 1 เมตร (Meter Gauge) เหมาะสมกว่า เพราะรถไฟในประเทศเมียนมาร์และของไทยเป็นราง 1 เมตร สามารถก่อสร้างเชื่อมต่อกันได้เลย แต่หากเป็น 1.435 เมตร อาจจะต้องเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงซึ่งเส้นทางของไทยจะต้องขยายจากเส้นทางสายใต้ไปเชื่อมต่อ

โดยเชื่อว่าการดำเนินโครงการภาพรวมในเฟสแรกน่าจะเสร็จทันตามแผนในปี 2558 ซึ่งงานก่อสร้างเฉพาะท่าเรือขนาดเล็กมีความคืบหน้าแล้ว 40% แต่ยังมีหลายโครงการยังไม่มีการออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก,ปิโตรเคมี ในเรื่องไม่มีวัตถุดิบต้นน้ำ ซึ่งได้มอบหมายให้การนิคมอุตสาหกรรม(กนอ.) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ศึกษารายละเอียดในส่วนที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามโครงการทวายจะเกิดตามที่ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับนักลงทุน ซึ่งหลังจากนี้จะต้องมองในแง่การตลาดให้มากขึ้นจากที่ผ่านมาจะให้ความสนใจแต่เรื่องวิศวกรรมโดยเฉพาะผู้ลงทุนที่เข้มแข็งและลูกค้าที่จะใช้บริการ ส่วนไทยถือเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำในด้านเทคนิคเพราะมีประสบการณ์มากกว่า และเป็นการมองประโยชน์ของภูมิภาคมากกว่าของเมียนมาร์หรือของไทย โดยหากโครงการทวายไม่เป็นไปตามแผนการลงทุนโครงการต่างๆในส่วนของไทยเพื่อเชื่อมต่อก็คงไม่ดำเนินการ

ที่มา http://www.thannews.th.com/index.php?op ... Itemid=524
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 62

โพสต์

ข่าวเก่าหน่อย แต่ก็เป็นอีกมุมมองนึงนะครับ

ท่าเรือน้ำลึก... ทวาย
ไทยรัฐ “ลม เปลี่ยนทิศ” , 17 ธ.ค. 55
ที่ http://www.thairath.co.th/column/pol/thai_remark/313628
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 63

โพสต์

ญี่ปุ่นไม่คอย"โครงการทวาย" ผุด"โครงการติวาลา"แทน

พม่า-ญี่ปุ่น พร้อมสร้างเขตอุตสาหกรรมขนาดยักษ์ปี 56

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 ธันวาคม 2555 15:28 น.

เอเอฟพี - พม่า และญี่ปุ่น เห็นชอบที่จะเริ่มดำเนินงานโครงการเขตอุตสาหกรรมขนาดยักษ์ใกล้กับนครย่างกุ้ง ในปี 2556 เจ้าหน้าที่จากทั้งสองประเทศระบุเมื่อวันศุกร์ (21 ธ.ค.)

นายโนบุฮิโกะ ซาซากิ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และการค้า แลกเปลี่ยนเอกสารข้อตกลงที่ลงนาม กับนายเซ็ต อ่อง รัฐมนตรีช่วยกระทรวงวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ที่โรงแรมแห่งหนึ่งในนครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. ซึ่งนายซาซากิ และนายเซ็ต อ่อง ได้เข้าร่วมในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา ระหว่างพม่าและญี่ปุ่น.

กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) ระบุว่า โครงการติลาวา (Thilawa) ที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาด 15,000 ไร่ จะรวมทั้งท่าเรือ และนิคมอุตสาหกรรม มีกำหนดเริ่มใช้งานในปี 2558

“โครงการนี้ไม่ใช่งานง่าย แต่เราจะไม่ให้เกิดความผิดพลาด ทั้งสองประเทศต่างมีเป้าหมายเดียวกันในการจัดตั้งการร่วมทุนในปี 2556 และเริ่มดำเนินงานเชิงพาณิชย์ในปี 2558” นายโนบุฮิโกะ ซาซากิ รัฐมนตรีช่วยกระทรวง METI กล่าว หลังลงนามข้อตกลงความเข้าใจในนครย่างกุ้ง

อดีตรัฐบาลทหารพม่า ต้องการการลงทุนเพื่อกระตุ้นการเติบโต และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่ทรุดโทรม ขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออกก็ต้องการโอกาสในประเทศที่อุดมด้วยทรัพยากร เพื่อฟื้นฟูการเติบโตภายในประเทศที่ซบเซา

โตเกียวได้ตัดหนี้จำนวนมากที่พม่าติดค้างอยู่ และสื่อของญี่ปุ่นระบุเมื่อเดือนก่อนว่า รัฐบาลจะจัดสรรเงินกู้ยืมก้อนใหม่ จำนวน 615 ล้านดอลลาร์ ให้แก่พม่า ซึ่งส่วนหนึ่งของทุนมีไว้สำหรับใช้ในโครงการติลาวา แม้ว่ามูลค่าลงทุนทั้งหมดจะยังไม่เปิดเผยก็ตาม

เซ็ต อ่อง รัฐมนตรีช่วยกระทรวงวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติของพม่า กล่าวว่า เขตเศรษฐกิจแห่งนี้จะช่วยให้พม่าก้าวกระโดดเข้าใกล้กับประเทศเพื่อนบ้านที่ร่ำรวย

“โอกาสในการจ้างงานจะมีเป็นจำนวนมหาศาล” เซ็ต อ่อง กล่าวและว่า ญี่ปุ่นให้คำมั่นที่จะอัดฉีดเงินทุน และแบ่งปันเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนำมาใช้ในโครงการเพื่อให้บรรลุผล

ความคืบหน้าของโครงการติลาวา มีขึ้นหลังจากพม่าพยายามที่จะเริ่มการลงทุนในโครงการท่าเรือน้ำลึกมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในเมืองทวาย ทางชายฝั่งภาคใต้ของประเทศ ซึ่งยังคงชะงักงันอยู่ และรัฐบาลพม่าหวังที่จะให้ญี่ปุ่นช่วยสนับสนุน

หนังสือพิมพ์นิคเคอิ ระบุเมื่อเดือนก่อนว่า โครงการติลาวาจะดำเนินการโดยกลุ่มบริษัทหุ้นส่วนของญี่ปุ่นที่ประกอบด้วย บริษัทมิตซูบิชิ ซูมิโตโม และบริษัทมารุเบนิ

เจ้าหน้าที่จากกระทรวง METI ในกรุงโตเกียว กล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพี ระบุว่า โครงการติลาวาเป็นโครงการที่ญี่ปุ่นให้ความสำคัญอันดับแรก แต่ไม่ระบุชัดเจนว่าญี่ปุ่นจะร่วมลงทุนในโครงการทวายหรือไม่อย่างไร

“เราตระหนักดีว่าโครงการทวายนั้นมีความสำคัญ และค่อนข้างสำคัญต่อญี่ปุ่น แต่เกรงว่าจะต้องใช้เวลามากสำหรับญี่ปุ่นในการเข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการนั้น” เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่น ระบุ

ที่มา http://manager.co.th/IndoChina/ViewNews ... 0000155432
patongpa
Verified User
โพสต์: 1904
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 64

โพสต์

มันก็ไปด้วยกันทั้งสองโครงการนั่นแหละ ทวายมีข้อดีที่เชื่อมเส้นทางไปถึงดานังได้เลย ติวาลามีไม๊ล่ะครับ ข่าวที่ออกมาพยามโน้มน้าวให้คนอ่านรู้สึกระแวงไม่แน่ใจว่าทวายจะทำสำเร็จ ไม่รู้ทำไม
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 65

โพสต์

แบ่งเค้กใหม่ "ทวายโปรเจกต์" ที่สุดก็เสร็จ "ก๊วนชินวัตร"
Source - ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ (Th), Saturday, December 22, 2012


การเดินทางไปเยือนพม่าเพื่อผลักดัน "โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย" อย่างถี่ยิบในช่วงเวลาไม่กี่เดือนของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมกับวางเป้าหมายเริ่มระดมทุนและลงมือก่อสร้างภายในเดือนเม.ย. 2556 นี้ โดยที่ประธานาธิบดี เต็ง เส่ง ของพม่า ก็รอวันนั้นอย่างจดจ่อ เป็นสัญญาณ บ่งบอกชัดว่าทุนพวกพ้องเครือข่ายชินวัตรเอาแน่กับ อภิมหาโปรเจกต์นี้ และอิตัลไทยก็ต้องยอมให้มีการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ด้วย

ก็ต้องรอดูกันว่า โครงการนี้จะเดินหน้าต่อไปอย่างไร และ "เปรมชัย กรรณสูตร" แห่งอิตัลไทย จะถูกทุนพวกพ้องชินวัตรฮุบทวายโปรเจกต์ เหมือนกับที่ "ประชัย เลี่ยวไพรัตน์" ต้องสูญเสียทีพีไอ แม้ว่าบริบทและเงื่อนไขหลายอย่างจะแตกต่างกันก็ตาม หรือไม่

ในการเดินทางไปติดตามความคืบหน้าโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายของนายกรัฐมนตรี พร้อมกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องคล้าย "ครม.น้อย" ระหว่าง วันที่ 14-17 ธ.ค. 2555 ที่ผ่านมานั้น นับเป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 4 เดือน และหากนับกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เข้าพบประธานาธิบดีพม่าด้วยก็ถือว่าการพบปะระหว่างคณะผู้นำและอดีตผู้นำของไทยกับผู้นำพม่าในการเจรจาหารือทวายโปรเจกต์ ก็นับเป็น 5 ครั้ง เรียกได้ว่าคุยกันถี่ยิบ จนไม่น่าจะเป็นเพียงความร่วมมือแบบปกติธรรมดา

เพราะนับจากปลายเดือน ก.ย. 2555 ที่ผู้นำไทยและพม่าได้เจอกันที่นิวยอร์กในงานประชุมประจำปีสหประชาชาติ และได้เจรจาทวิภาคีที่นำไปสู่ความตกลงจัดตั้งกลไกคณะกรรมการร่วมสองชาติ พร้อมกับจัดตั้งอนุกรรมการ 6 คณะ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรม พลังงาน การพัฒนาชุมชน กฎระเบียบ และการเงิน

ถัดมาเมื่อในวันที่ 7 พ.ย. 2555 "คณะกรรมการร่วมระดับสูงระหว่างไทย-เมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง" ที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี ประธานร่วมฝ่ายไทย และนายญาณ ทุน รองประธานาธิบดีพม่า ประธานร่วมฝ่ายพม่า ก็มีการประชุมกันครั้งแรกที่ทำเนียบรัฐบาลของไทย โดยวันนั้นนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นั่งเป็นประธานหัวโต๊ะ

จากนั้น วันที่ 8 พ.ย. 2555 ทักษิณ ก็บินเข้า พบประธานาธิบดี เต็ง เส่ง ที่กรุงเนย์ปิดอร์ สหภาพเมียนมาร์ โดยนายนพดล ปัทมะ บอกกับสาธารณะว่าเป็นการเดินทางไปเยือนเพื่อนเก่าแต่ไม่มีใครเชื่อว่าทักษิณ จะไม่คุยเรื่องทวายโปรเจกต์กับเต็ง เส่ง

ต่อมา นายกรัฐมนตรีของไทย ก็ได้พบปะหารือทวิภาคีกับผู้นำพม่าในการประชุมผู้นำอาเซียน ที่ประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที่ 15-20 พ.ย. 2555

และล่าสุดคือ การเดินทางไปเยือนเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ระหว่างวันที่ 14-17 ธ.ค. 2555 ที่ผ่านมา ของคณะนายกรัฐมนตรีของไทย

ชั่วระยะเวลาแค่ 4-5 เดือน อะไรที่ทำให้นายกฯ ยิ่งลักษณ์ เดินทางไปเจรจาหารือกับผู้นำพม่าบ่อยครั้ง และมีความมั่นอกมั่นใจว่าจะสามารถระดมทุนและเริ่มก่อสร้างได้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ อิตัลไทย กอดสัมปทานนี้มากว่า 2 ปีแล้ว ยังหันซ้ายหันขวาไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ ทั้งการหาผู้ร่วมทุนและการก่อสร้าง

จนกระทั่งมีนายหน้าข้ามชาตินาม "ทักษิณ ชินวัตร" เข้ามาช่วยวิ่งเต้นและดึงเอากลุ่มทุนใหญ่อย่าง เครือ ปตท. และรัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และบริษัท รวมทั้งออกแบบให้รัฐบาลน้องสาวออกหน้าผลักดันโดยใช้ทุกองคาพยพของรัฐไทยเข้าไปช่วยสานฝันให้เป็นจริง

เมื่อเป็นเช่นนี้ มีหรือที่นายหน้าข้ามชาติจะไม่ถือโอกาสตักตวง เพราะหากอ่านเกมหลังจากการเยือนทวายโปรเจกต์ รอบล่าสุดนี้ ชัดเจนว่า รัฐบาลตั้งใจบี้อิตัลไทยให้มีการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ผ่านการจัดตั้งบริษัทลงทุนใหม่ เพื่อเปิดทางให้นักลงทุนทั้งไทยและเทศเข้าร่วม

แน่นอน ดูเหมือนว่าอิตัลไทยจะไม่มีทางเลือกมากนัก นอกจากต้องยอมทำตามแต่โดยดี เพราะแรงกดดันจากฝ่ายรัฐบาลพม่าตลอดช่วง 2 ปีที่อิตัลไทย ทำอะไรไม่ได้ ก็บอกชัดแล้วว่า หากแข็งขืนมีสิทธิ์หลุดจากโครงการนี้ไปได้ง่ายๆ เพราะการดำเนินงานไม่มีความคืบหน้า ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการให้สัมปทาน แถมล่าสุด รัฐบาลพม่ายังบอกกับอิตัลไทยว่าจะปรับลดพื้นที่สัมปทานลงถึง 50 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 31,250 ไร่

ในการออกมาเปิดเผยของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่เดินทางร่วมคณะนายกรัฐมนตรีไปเยือนทวายโปรเจกต์ครั้งล่าสุด ก็บ่งบอกเช่นนั้น

นายชัชชาติบอกว่า ในการหารือของคณะรัฐบาลพร้อมกับนักธุรกิจไทยร่วมกับนายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดี เกี่ยวกับความร่วมมือในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายที่ผ่านมานั้น ชัดเจนว่า ทางพม่าต้องการนักลงทุนจากประเทศที่ 3 เข้ามาร่วมลงทุนกับอิตัลไทยที่ปัจจุบันถือหุ้นทั้งหมดร้อยเปอร์เซ็นต์ เพื่อให้โครงการดำเนินไปได้รวดเร็วมากขึ้น โดยเล็งดึงกลุ่มนักลงทุนญี่ปุ่นที่มีแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) มาลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

นายชัชชาติยังบอกว่า โครงการต้องใช้เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 272,989 ล้านบาท เป็นการลงทุนในเขตประเทศพม่า 196,700 ล้านบาท ซึ่งพม่าจะลงทุนประมาณ 9.6 หมื่นล้านบาท อิตาเลียนฯ ลงทุน 1 แสนล้านบาท ซึ่งทางอิตาเลียนฯ อาจรับภาระไม่ไหวจึงต้องการหานักลงทุนมาช่วย และอาจจะต้องปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นโครงการใหม่ด้วย

ส่วนลงทุนขณะนี้มี 2 รูปแบบที่เป็นไปได้ในคือ 1. ตั้งโฮลดิ้งถือหุ้นในบริษัทย่อยด้านถนน, ท่าเรือ, นิคมอุตสาหกรรม ฯลฯ มีข้อดีเพราะจะนำรายได้จากบริษัทย่อยที่มีกำไรมาสนับสนุนบริษัทที่ไม่มีกำไร และ 2. ตั้งบริษัทแยกดำเนินการในแต่ละธุรกิจ

นอกจากนี้ ทางพม่ายังต้องการปรับลดพื้นที่โครงการลงประมาณ 50 ตารางกิโลเมตร จากทั้งหมด 204.5 ตารางกิโลเมตร แต่ยังไม่ได้ระบุว่าจะนำพื้นที่ดังกล่าวไปทำประโยชน์อะไร ซึ่งเรื่องนี้เป็นข้อตกลงระหว่างพม่ากับอิตาเลียนไทย โดยจะต้องมีการศึกษาข้อดีและข้อเสียผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเพิ่มเติมให้ชัดเจนก่อน โดยเบื้องต้นเอกชนมองว่าการลดขนาดพื้นที่อาจทำให้โครงการมีปัญหาได้ ดังนั้น จะต้องมีการประชุมในระดับคณะกรรมการประสานงานร่วม (JCC) อีกครั้งในเดือนก.พ. 2556

"เชื่อว่าการดำเนินโครงการภาพรวมในเฟสแรกน่าจะเสร็จทันตามแผนในปี 2558 โดยงานก่อสร้างเฉพาะท่าเรือขนาดเล็กมีความคืบหน้าแล้ว 40% แต่ยังมีหลายโครงการยังไม่มีการออกแบบและศึกษาผล กระทบสิ่งแวดล้อม ( EI A) เช่นอุตสาหกรรมเหล็ก, ปิโตรเคมี ในเรื่องไม่มีวัตถุดิบต้นน้ำ ซึ่งได้มอบหมายให้การนิคมอุตสาหกรรม (กนอ.), บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ศึกษารายละเอียดในส่วนที่เกี่ยวข้อง" รมว.คมนาคม ยืนยัน

ถึงนาทีนี้ อิตัลไทย ต้องยอมให้กลุ่มทุนอื่นเข้ามาแบ่งเค้ก หรือเรียกให้ชัดก็คือ เข้ามาโอเปอเรตโครงการทั้งหมดแทน ส่วนอิตัลไทย ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างก็รับงานเฉพาะในส่วนนี้ไป ส่วนใครจะเป็นผู้ออกหน้าแทนอิตัลไทยหรือจะยังเป็นอิตัลไทยแต่เพียงชื่อ ก็จะเห็นได้ชัดเจนขึ้นหลังจากเดือน ก.พ. 2556 เมื่อแผนการจัดทำรายละเอียดทั้งหมดเสร็จสิ้น

โดยขณะนี้คณะกรรมการประสานงานร่วมฯ (JCC) กำลังขะมักเขม้นทำงานทบทวนข้อมูลเชิงเทคนิคและประเด็นต่างๆ ที่ยังต้องหาข้อสรุป เช่น รูปแบบทางการเงินเพื่อการระดมทุน การออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ และเงื่อนไขบางประการที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ทั้งนี้ คาดว่าคณะอนุกรรมการร่วมเมียนมาร์-ไทย 6 สาขา จะจัดทำรายละเอียดทั้งหมดภายในเดือนก.พ. 2556 เพื่อเสนอให้คณะกรรมการร่วมระดับสูงฯ (JHC) พิจารณาเพื่อลงนามในข้อตกลง Framework Agreement ฉบับใหม่ และ Se ctorial Agree men t ทั้งหมดภายในเดือน มี.ค. 2556 โดยคาดว่าจะเริ่มระดมทุนและดำเนินการก่อสร้างภายในเดือนเม.ย. 2556 ตามที่ทั้งสองฝ่ายได้กำหนดไว้

นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ก็ย้ำว่า สรุปภาพรวมและแผนการลงทุนทั้งหมด เชื่อว่าคงจะมีความคืบหน้าในเดือนก.พ.และคาดว่าเดือน เม.ย.ปี 56 คงจะเห็นความชัดเจนที่จะพร้อมในการเชิญชวนนักลงทุนมาลงทุนที่ท่าเรือน้ำลึกทวาย และอาจจะมีการก่อสร้างบ้าง ขณะนี้อยู่ในช่วงของการทำงานของคณะทำงานทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้ไทยได้แจ้งกับทางเมียนมาร์ว่าฝ่ายไทยได้มีแผนที่จะเปิดสถานกงสุลใหญ่ที่ทวาย เพื่ออำนวยความสะดวกในส่วนของการให้ข้อมูลและการติดต่อประสานงานของเจ้าหน้าที่ด้วย

ฟังดูแล้ว คล้ายๆ กับว่า รัฐบาลไทยภายใต้การนำของน้องสาวทักษิณเข้าเทกโอเวอร์ทวายโปรเจกต์จาก อิตัลไทยกลายๆ เพียงแต่ว่า การลงทุนต้องดำเนินการภายใต้ชื่อกลุ่มบริษัทเอกชน ส่วนเอกชนหลักหลังจากนี้จะยังเป็นอิตัลไทยหรือนอมินีหน้าใหม่เดี๋ยวก็รู้

โปรเจกต์ทวาย จะเกิดขึ้นได้เร็วแค่ไหน จึงขึ้นอยู่กับรัฐบาลพม่า กลุ่มทุนอิตัลไทย รัฐบาลไทย และทุนญี่ปุ่น ว่าจะเอาด้วยมากน้อยแค่ไหน เพราะลำพังอิตัลไทย ก็ยอมรับว่าไม่มีทางทำได้สำเร็จ

"นักลงทุนไทยวิตก และลังเลเกี่ยวกับนโยบายทางการเมืองของพม่า และการระดมทุน" นายประวีร์ โกมลกาญจน ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของบริษัทอิตัลไทย ระบุ และว่ามีโอกาสน้อยที่ธนาคารไทยจะปล่อยกู้หากเป็นการลงทุนในประเทศอื่น โดยเฉพาะในพม่า

ส่วนนักลงทุนพม่าที่มีศักยภาพก็รู้สึกไม่วางใจต่อโครงการนี้เช่นกัน ตามที่นักธุรกิจจากนครย่างกุ้งได้ระบุไว้ "เราไม่กล้าที่จะลงทุนที่นั่นเพราะค่าใช้จ่าย เราจะต้องจ่ายในอัตราเงินเดือนของไทย ซึ่งโครงการไม่ได้ให้ประโยชน์แก่พม่ามากนัก ประโยชน์ส่วนใหญ่ตกอยู่ที่ฝ่ายไทย"

นอกจากนั้นแล้ว ไม่เฉพาะแค่การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในฝั่งพม่าต้องใช้เงินมหาศาล ทางฝั่งไทยก็ต้องลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานเข้าไปเชื่อมโยงด้วยเช่นกัน

นายชัชชาติ ให้รายละเอียดว่า เบื้องต้นฝั่งไทย จะมีการลงทุนประมาณ ประมาณ 76,289 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการทางพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กิโลเมตร งบประมาณ 45,510 ล้านบาท โดยอยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะเชื่อมต่อไปยังด่านชายแดนบ้านพุน้ำร้อนอีกประมาณ 70 กิโลเมตร วงเงินประมาณ 10,000 ล้านบาทหรือไม่ โดยดูจากโครงการทวายว่าจะประสบความสำเร็จจริงหรือไม่ และการเชื่อมต่อทางรถไฟนั้นภาคเอกชนมองว่าหากมีเส้นทางรถไฟจะทำให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือทวายต่ำกว่าทางรถยนต์ ดังนั้น อาจจะขอให้ปรับแผนโดยเร่งรัดการลงทุนทางรถไฟจากเดิมที่อยู่ในเฟสสุดท้ายปี 2563 มาดำเนินการในเฟสแรกก่อนเพื่อให้พร้อมรองรับการขนส่งสินค้า

ส่วนทางรถไฟนั้น คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 20,000 ล้านบาท แต่จะต้องหาข้อสรุปว่าจะก่อสร้างตามแบบที่พม่าต้องการ คือ รางมาตรฐาน ความกว้าง 1.435 (S tand ard G auge ) เพื่อสะดวกในการเชื่อมต่อกับรถไฟประเทศจีน ขณะที่ไทยมองว่า รางขนาด 1 เมตร (Meter Gauge) เหมาะสมกว่า เพราะรถไฟในประเทศพม่าและของไทยเป็นราง 1 เมตร สามารถก่อสร้างเชื่อมต่อกันได้เลย แต่หากเป็น 1.435 เมตร อาจจะต้องเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงซึ่งเส้นทางของไทยจะต้องขยายจากเส้นทางสายใต้ไปเชื่อมต่อ

เมื่อออกแรงผลักดันกันอย่างเต็มที่ ผู้นำของสองชาติเชื่อมั่นว่า จะทำให้โครงการดังกล่าวเดินหน้าบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ ซึ่งการลงนามในข้อตกลงเรื่องสิทธิในการพัฒนาและดำเนินการบริหารโครงการทวายระหว่างอิตัลไทยกับรัฐบาลพม่า ตามระยะเวลาการเช่าที่ดินมากกว่า 75 ปี ประกอบด้วย การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี ครอบคลุมพื้นที่ 4 แสนไร่ พร้อมด้วยถนนและทางรถไฟเชื่อมโยงไทย-พม่า รวมไปถึงน้ำมันและท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากอ่าวมะตะบันไปยังชายแดนไทยพม่า วงเงินลงทุนประมาณ 4 แสนล้านบาท

ถือเป็นโครงการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในทศวรรษนี้ของภูมิภาคนี้ที่กลุ่มก๊วนทักษิณจ้องตาเป็นมัน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 66

โพสต์

เอกชนไทยแห่ลงทุนพม่า'ทวาย-ย่างกุ้ง'ทำเลเด่น
Source กรุงเทพธุรกิจ (Th), Monday, December 24, 2012
ดาริน โชสูงเนิน



จากการสำรวจความเคลื่อนไหวของ "กลุ่มทุนไทย" ในการเข้าไปลงทุนทำการค้าในพม่า พบว่า มีกลุ่มทุนไทยเป็นจำนวนมากเข้าไปทำการค้าและลงทุนอยู่ก่อนแล้ว และมีอีกไม่น้อยอยู่ในขั้นตระเตรียมแผน ไล่มาตั้งแต่ อุตสาหกรรมหนักอย่างสำรวจและผลิตปิโตรเลียม วัสดุก่อสร้าง กระเบื้อง ตามมาด้วยนิคมอุตสาหกรรม โรงงานน้ำตาล สถาบันการเงิน ธุรกิจค้าปลีก สินค้าอุปโภค-บริโภค เบียร์ หรือแม้แต่ธุรกิจขายขนมปัง

โดยนอกเหนือจาก บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ กลุ่มทุนไทยที่มีข้อตกลงโครงการทวายกับรัฐบาลพม่าให้พัฒนาที่ดินบริเวณ "เมืองทวาย" จะทำให้เกิดมูลค่าก่อสร้างสาธารณูปโภคไม่ต่ำกว่า 4 แสนล้านบาท หรือ 13,000 ล้านดอลลาร์ สร้างมูลค่าเพิ่มเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 3 ล้านล้านบาท

บริษัทที่เข้าไปทำการค้าเป็นอันดับต้นๆ อาทิ เอสซีจี เริ่มจากส่งออกสินค้าในเครือมาจำหน่าย ประเภทปูนซีเมนต์ กระเบื้องหลังคาซีแพค และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และเม็ดพลาสติกเป็นเวลากว่า 10 ปี หลังพม่าประกาศเปิดประเทศ เอสซีจีพลิกจากส่งออกสินค้ามาเป็นลงทุนก่อสร้าง "โรงปูนซีเมนต์" อยู่ระหว่างรออนุมัติโครงการจากรัฐบาลพม่า มีมูลค่าเงินลงทุน 400 ล้านดอลลาร์ อยู่ทางใต้เมืองย่างกุ้งคาดจะเริ่มผลิตได้ปลายปี 2558

บมจ.ปตท. เป็นอีกบริษัทต้นๆ ที่เข้าไปทำการค้าในพม่าเริ่มจาก "ส่งออกน้ำมันเครื่อง" คาดว่าเร็วๆ นี้ ปตท.จะมีแผนลงทุนชัดเจนว่าจะไปลงทุนในธุรกิจใด ระหว่างลงทุนเองผ่านบริษัทลูก หรือหาพันธมิตรร่วมทุน ที่ผ่านมา ปตท.จัดตั้งบริษัท "พีทีที เมียนมาร์" ลงทุนธุรกิจน้ำมันในพม่าครบวงจร ทั้งธุรกิจสถานีบริการน้ำมัน คลังน้ำมัน และจำหน่ายน้ำมันอุตสาหกรรม

บมจ.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม บริษัทลูกของปตท. เข้าไปลงทุนตั้งแต่พม่ายังไม่เปิดประเทศในธุรกิจ "สำรวจและผลิตปิโตรเลียม" ปัจจุบันปตท.สผ.ยังจัดเป็นบริษัทที่มีการลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมากที่สุดในพม่า กว่า 10 แปลงสัมปทานใน 5 โครงการ

เครือเจริญโภคภัณฑ์ เข้าไปลงทุนในพม่านานกว่า 10 ปี เริ่มจากธุรกิจอาหารสัตว์ ผู้บริหารซีพี ระบุว่า การลงทุนในพม่าต้องดูให้ชัดว่าแข่งขันได้หรือไม่ และต้องไม่ดูถูกตลาดหรือดูถูกผู้บริโภค

บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง เข้าไปในทำธุรกิจในพม่า นานกว่า 15 ปี ทำธุรกิจจัดจำหน่ายอุปกรณ์สำหรับระบบไฟฟ้า และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง แก่หน่วยงานต่างๆ ปัจจุบันยังได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาลพม่าให้เข้าไปลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังลมขนาด 1,000 เมกะวัตต์ ใน 3 รัฐ ใกล้จังหวัดทวาย ใช้เงินลงทุนประมาณ เมกะวัตต์ละ 100 ล้านบาท ทั้งมีแผนเข้าไปสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ดีเซลเป็นเชื้อเพลิงขนาด 5-10 เมกะวัตต์ ป้อนให้ชุมชนใกล้ๆ ทวาย พร้อมกับหาโอกาสทำโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง

ด้าน บมจ.โตโย-ไทย คอร์ปอเรชั่น ร่วมกับบริษัทย่อยในสิงคโปร์ TOYO THAI POWER CORPORATION PTE.,LTD. ลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 100 เมกะวัตต์ (MW) ในเขต Ahlone เมืองย่างกุ้ง คาดใช้เงินลงทุน 170 ล้านดอลลาร์

บมจ.ถิรไทย ผู้ผลิต จำหน่ายและซ่อมบำรุง หม้อแปลงไฟฟ้า กำลังประมูลงานในพม่า 3 โครงการ ได้แก่ การผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายมูลค่า 100 ล้านบาท หม้อแปลงไฟฟ้ากำลังขนาด 150 เมกะวัตต์ มูลค่า 100 ล้านบาท และผลิต "ตู้คอนเทนเนอร์ น็อคดาวน์" สำหรับเป็นที่พักนักกีฬา 200 ยูนิต มูลค่ากว่า 100 ล้านบาทโดยบริษัท แอล ดี เอส บริษัทลูกรวมมูลค่างานกว่า 300 ล้านบาท

ด้านยักษ์ใหญ่กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคของไทย "เครือสหพัฒน์" ที่ผ่านมาส่งออกสินค้าในเครือไปจำหน่ายในพม่า ล่าสุดมีแผนเข้าไปลงทุนผ่านบริษัทลูกอย่าง "สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง" สร้างนิคมอุตสาหกรรมในพม่า ที่ย่างกุ้ง ใช้งบลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาท

ขณะที่ บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา ระบุว่า ปี 2558 จะเปิดห้างสรรพสินค้าในต่างประเทศ รูปแบบการถือหุ้นร่วมกันระหว่างบริษัทและพันธมิตรในประเทศนั้นๆ เน้นซื้อมอลล์มาพัฒนามากกว่าสร้างขึ้นใหม่ โดยเล็งประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะพม่า ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจาเรื่องที่ดิน เพราะรัฐบาลพม่ายังไม่ให้สิทธิ์ชาวต่างชาติเข้าซื้อที่ดิน

บมจ.เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ เตรียมขยายธุรกิจเบเกอรี่ไปยังพม่า อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ โดยเห็นว่าร้านค้าปลีกสมัยใหม่ยังน้อย เหมาะขยายตลาดขนมปังที่เข้าถึงแหล่งชุมชนโดยง่าย

นอกจากนี้ บมจ.ผลิตภัณฑ์ตราเพชร เตรียมขยายส่งออกไปยังพม่ามากขึ้น โดยมองว่าความต้องการวัสดุก่อสร้างมีเพิ่ม มั่นใจจะผลักดันยอดส่งออกไปพม่าเพิ่มขึ้นเป็น 10%

ขณะที่ ธนาคารกรุงไทย อยู่ระหว่างยื่นขออนุญาตต่อธนาคารกลางพม่า และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อเข้าไปเปิดสำนักงานตัวแทนของธนาคารส่วนที่เป็นสำนักงาน และที่พัก เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนไทยที่ขยายธุรกิจไปยังพม่าเพิ่มมากขึ้น

บมจ.ไฮโดรเท็ค เตรียมเข้าไปทำธุรกิจเกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียและธุรกิจด้านน้ำประปา ซึ่งเป็นโครงการสาธารณูปโภคทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชนในพม่า

ส่วนกลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายใหญ่ของไทย 2 บริษัท ทั้ง บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่นแสดงความสนใจเข้าไปสร้างโรงงานเบียร์ในพม่าเป็นประเทศแรกในอาเซียน (ไม่รวมไทย) เพราะได้เปรียบทั้งในเรื่องแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและค่าจ้างแรงงาน รูปแบบลงทุนอาจจับมือกับพันธมิตรในพม่า หรือสร้างโรงงานเอง ซึ่งทำเลที่สนใจ คือ ชายแดนพม่าที่ติดกับจีนตอนใต้ เพราะมีโอกาสขยายตลาดไปในจีน

บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ อยู่ระหว่างศึกษาทำตลาดในอาเซียนทุกประเทศ รองรับการเปิดเออีซี หนึ่งในนั้นคือการลงทุนในพม่า เพราะมีประชากรใกล้เคียงกับไทยและกำลังเปิดประเทศ

บมจ.ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์ ระบุว่า อยู่ระหว่างพิจารณาตั้งโรงงานผลิต Bio Oil จากของเสียในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มโดยเฉพาะกากปาล์มในพม่า

กลุ่มน้ำตาลมิตรผล มีแผนเข้าไปปลูกอ้อยและตั้งโรงงานน้ำตาลในพม่า

นายสุกิจ อุดมศิริกุล กรรมการผู้จัดการ ดูแลสายงานวิจัยหลักทรัพย์บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า ภาคเอกชนไทยที่สนใจเข้าไปลงทุนในพม่าจำนวนมาก ถือเป็นโอกาสที่ดี เนื่องจากพม่ามีความชัดเจนเป็นระบบเศรษฐกิจทุนนิยมมากขึ้นจากเมื่อในอดีต เอกชนไทยจึงมีโอกาสเข้าไปลงทุนอีกมหาศาล เพราะพม่าตลาดยังมีดีมานด์อยู่เป็นจำนวนมาก แต่เอกชนไทยต้องมีความพร้อม เพราะต้องเจอคู่แข่งอย่าง กลุ่มทุนญี่ปุ่น เกาหลี ที่แสดงความสนใจจะบุกตลาดพม่าเช่นกัน ซึ่งเอกชนไทยมีความได้เปรียบในเรื่องที่ตั้งที่อยู่ใกล้พม่า

ส่วนกรณีที่รัฐบาลพม่ามีแนวคิดลดพื้นที่ นิคมฯ ทวาย จาก 204 ตร.กม. เหลือ 150 ตร.กม. ของ ITD ถ้ามองขนาดลงทุนการที่ขนาดพื้นที่เล็กลง บริษัทใช้เงินลงทุนน้อยลงด้วย "ความเสียหาย ก็จะลดลง" ปัจจุบันพม่ามีสิทธิที่จะมองประเทศ อื่นๆ เข้ามาลงทุนร่วมด้วยเช่นกัน

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 67

โพสต์

เทแสนล้านดันสร้างถนนรับทวาย

เศรษฐกิจ 27 December 2555 - 00:00

คมนาคม สั่งกรมทางหลวงเดินหน้ามอเตอร์เวย์ 2 เส้น บางปะอิน-โคราช และบางใหญ่-กาญจนบุรี มูลค่ากว่าแสนล้าน รองรับนิคมทวาย พร้อมจี้เบิกจ่ายงบประมาณหวั่นล่าช้า ด้านกฟภ.เตรียมเปิดประมูลเปลี่ยนหลอดไฟประหยัดพลังงานถนนของกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท เทศบาลและ อบต.ทั่วประเทศ ภายใน 4 ปี มูลค่ากว่า 12,000-13,000 ล้านบาท

พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายให้กรมทางหลวงปฏิบัติตามนโยบายที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภา เพื่อดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของกรมและสอดคล้องกับโครงการที่ดำเนินการอยู่ พร้อมเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อให้ได้ผลงานตามเป้า เนื่องจากการเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้าก็จะทำให้โครงการสะดุด ไม่สามารถก่อสร้างโครงการต่างๆ ได้ เช่นปีที่ผ่านมามีการเบิกจ่ายงบล่าช้า เนื่องจากเกิดปัญหาอุทกภัย

“ได้สั่งการเร่งรัดการเบิกจ่ายในปี 56 มีความรวดเร็วและทุกโครงการต้องมีความโปร่งใส ชัดเจน รวมถึงกำชับให้กรมฯ เตรียมพร้อมพัฒนาถนนทางหลวงรองรับการเปิดประชาคมอาเซียนในปี 58 ป้ายบอกทางให้มีความเป็นสากล” นายพฤณท์ กล่าว

นายพฤณท์ กล่าวว่า ยังได้เร่งรัดให้กรมทางหลวงดำเนินโครงการขนาดใหญ่ของกรมฯ โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือมอเตอร์เวย์ 2 เส้นทาง คือ เส้นทางบางปะอิน-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กม. วงเงินประมาณ 68,780 ล้านบาท และเส้นทางบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กม. วงเงินประมาณ 45,506 ล้านบาท ซึ่งเส้นดังกล่าวเป็นสายทางที่เชื่อมไปยังพม่า เพื่อรองรับนิคมอุตสาหกรรมทวาย และการเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังนั้น การก่อสร้างต้องใช้เวลานานกว่าเส้นทางอื่น อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอเรื่องเวนคืนเข้าไปยังกระทรวงคมนาคม และพิจารณารูปแบบการลงทุน คาดว่าจะประกวดราคาได้ภายในปี 56

สำหรับแผนพัฒนามอเตอร์เวย์ 5 เส้นทางของกรมทางหลวง ระยะทางรวม 705 กม. วงเงินโดยประมาณ 2 แสนล้านบาท จะทยอยดำเนินการในปี 57 แล้วเสร็จในปี ประกอบด้วย
1. สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กม. วงเงิน 6.91 หมื่นล้านบาท
2. สายชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง 89 กม. วงเงิน 1.48 หมื่นล้านบาท
3. สายบางใหญ่-นครปฐม-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กม. วงเงิน 4.58 หมื่นล้านบาท
4. สายนครปฐม-สมุทรสงคราม-ชะอำ ระยะทาง 118 กิโลเมตร วงเงิน 3.82 หมื่นล้านบาท
5. สายบางปะอิน-นครสวรรค์ ระยะทาง 206 กม. วงเงิน 3.23 หมื่นล้านบาท

ที่มา http://www.thaipost.net/news/271212/67234
pat4310
Verified User
โพสต์: 732
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 68

โพสต์

ไปเที่ยวทวายกับ อ.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านลอจิสติกส์ และอาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการลอจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ครับ

ตัวอย่างเล็กๆ ยังมีอีกหลายภาพครับ ดูต่อได้ที่ https://www.facebook.com/Dr.Pongchai
"ภาพตรงบริเวณท่าเรือเล็ก "Small Port" ที่ห่างจากท่าเรือใหญ่ที่จะสร้างเป็นท่าเรืออุตสาหกรรมและท่าเรือตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ที่ทวาย...ระยะทางห่างออกไปประมาณ 11 กิโลเมตร..ตอนนี้ทางอิตาเลี่ยนไทยกำลังเร่งก่อสร้างท่าเรือขนาดเล็กนี้ให้แล้วเสร็จทันต้นปี 2557 เพื่อใช้เป็นท่าเรือชั่วคราวรองรับสินค้าเข้าออกนิคมอุตสาหกรรมเริ่มแรก หรือ "Early Industry"...โดยเรือที่จะเข้าเป็นเรือขนาดความยาวประมาณ 137 เมตร ขนสินค้าได้เที่ยวละ 400 TEUs ใช้ล่องน้ำลึกประมาณ 8 เมตรครับ :)"
ลงทุนหุ้นดี มีสตอรี่ ราคาไม่แพง เดี๋ยวก็รวย
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 69

โพสต์

ITD หนาว พม่ารื้อสัญญาทวาย
Money Channel, 4 ม.ค. 56

พม่า เสนอตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่ถือสัญญาแทนอิตาเลียนไทย หลังมีปัญหาระดมทุน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. บอกว่า รัฐบาลพม่าต้องการปรับเปลี่ยน Framework Agreement โครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกทวาย โดยเปลี่ยนคู่สัญญาจากบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ หรือ ITD เป็นบริษัทโฮลดิงคอมพานีใหม่ เนื่องจากเห็นว่า ITD ทำงานช้า เพราะไม่สามารถระดมทุนได้

นายอาคม บอกอีกว่า การจัดตั้งบริษัทร่วมทุนใหม่ ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป และยังไม่มีการกำหนดสัดส่วนการถือหุ้นว่า บริษัทอิตาเลียนไทยฯ จะถือหุ้นกี่เปอร์เซ็นต์ แต่รัฐบาลไทยยืนยันว่า จะไม่เข้าไปถือหุ้นในบริษัทนี้ แต่ให้เป็นการลงทุนของรัฐวิสาหกิจไทยและเอกชน ขณะที่รัฐบาลมีหน้าที่สร้างกลไกที่ทำให้โครงการนี้เกิดขึ้น



My comment :
แต่ผมมองกลับกันว่า ผถห.สบายใจขึ้นว่า กรุอาจไม่ต้องเพิ่มทุนแล้วจ้า
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 70

โพสต์

ลงทุนทวาย3.2แสนล.สศช.ชงเพิ่มอีก 1.2 แสนล้านสร้างโรงไฟฟ้า
กรุงเทพธุรกิจ, 10 ม.ค. 56

คลังเผยรอกฎหมายลงทุนใหม่ของพม่าก่อนเคาะรูปแบบร่วมทุน
สศช.ปรับกรอบเงินลงทุนทวายเพิ่มอีก 1.2 แสนล้านบาท เป็น 3.2 แสนล้านบาท ตั้งเป้าระยะแรกเสร็จปี 2558 ด้านคลังรอกฎหมายลงทุนในพม่า ก่อนสรุปรูปแบบร่วมทุน ขณะพาณิชย์เผยธุรกิจไทยยังไม่มั่นใจโครงการ หันไปลงทุนกัมพูชา ด้าน "สมเจตน์" ยันเดินหน้าปรับพื้นที่
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 71

โพสต์

อิตาเลียนไทยวิ่งสู้ฟัดทวายโปรเจกต์
ไทยรัฐ, 10 ม.ค. 56

นายสุเมธ สุรบถโสภณ รองประธานบริหารอาวุโส บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การก่อสร้างโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย ในส่วนที่บริษัท อิตาเลียนไทยรับผิดชอบ จะแล้วเสร็จตามแผนในปี 2558 อย่างแน่นอน แม้จะเกิดความไม่ชัดเจนในกรณีที่รัฐบาลพม่าต้องการจะปรับกรอบข้อตกลงบางอย่าง รวมทั้งปัญหาจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทก็ตาม โดยทางอิตาเลียนไทยได้เตรียมเพิ่มจำนวนคนงานและเครื่องจักรลงพื้นที่ เพื่อเร่งดำเนินการให้เสร็จทันตามแผน ซึ่งขณะนี้ท่าเรือเล็กและถนนเข้าโครงการดำเนินการแล้วเสร็จ และพร้อมที่จะลงมือก่อสร้างท่าเรือหลักได้ภายในปีนี้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 72

โพสต์

'กนอ.'ตั้งบริษัทลูกลุยนิคมฯต่างแดน
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Monday, January 21, 2013


คาดจัดตั้งได้ก.ย.นี้ วาง"คุนหมิง-ทวาย" พื้นที่นำร่องลงทุน

กนอ.เตรียมออกประกาศชวนเอกชน

ลงทุนตั้งนิคมฯ เชียงของ ชงบอร์ดตั้งบริษัทลูกลุยลงทุนต่างแดน คาดตั้งได้เดือน ก.ย.นี้ วาง คุนหมิง-ทวาย พื้นที่นำร่องลงทุน "วีระพงศ์"เผยจีนสนดึงเอกชนไทยร่วมพัฒนานิคมฯ เถิงจวิ้น เตรียมสรุปข้อมูลเสนอขอสิทธิประโยชน์เพิ่ม ขณะที่โครงการฯ ทวาย กนอ.พร้อมลงทุนในนิติบุคคล ย่อย รอความชัดเจนหลังประชุมร่วมไทย- เมียนมาร์ ก.พ. นี้

นายวีระพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า เดือน มี.ค.ที่จะถึงนี้ กนอ.จะประกาศเชิญชวนภาคเอกชน เข้ามาร่วมดำเนินการลงทุนในโครงการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมบริหารโลจิสติกส์ อ.เชียงของ จ.เชียงราย โดยเดือน ก.พ.จะนำรายละเอียดออกประกาศ และสิทธิประโยชน์ที่เอกชนจะได้รับในการลงทุนโครงการดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการบริหารการนิคม แห่งประเทศไทย หรือบอร์ดกนอ.พิจารณา เบื้องต้นคาดว่า นักลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ตามหลักการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ลดหย่อน ค่าธรรมเนียมดำเนิน การ รวมทั้งจะได้ ประโยชน์ในการขนส่งสินค้าไปยังตอนใต้ของจีน เนื่องจากจะมีการตั้งจุดบริการเบ็ดเสร็จ หรือวัน สต็อป เซอร์วิส เพื่อลดขั้นตอนขนส่งสินค้าผ่านแดนระหว่างไทยและจีนในอนาคต

กนอ.อยู่ระหว่างเลือกพื้นที่ดำเนินการ

"โครงการนิคมอุตสาหกรรมบริหาร โลจิสติกส์เชียงของ จะทำหน้าที่กระจายสินค้า และอำนวยความสะดวกให้สินค้าที่จะขนส่งจากไทยไปตอนใต้จีน และสินค้าจากจีนที่จะขนส่งมาไทย และลงไปยังพื้นที่ทางตอนใต้ ขณะนี้ กนอ.อยู่ระหว่างเลือกพื้นที่ดำเนินการ โครงการนี้ได้รับความสนใจจากภาคเอกชน และมีผู้เสนอเป็นผู้ลงทุนแล้ว 2 ราย มีทั้งนักธุรกิจไทย และกลุ่มบริษัทที่ร่วมทุนระหว่างไทยและจีน โดยให้เอกชนเข้ามาลงทุน ทำให้โครงการนี้สามารถดำเนินการได้รวดเร็ว มีเป้าหมายในการเปิดบริการใน เฟสแรกก่อนเปิดเออีซีในช่วงปลายปี 2558" นายวีระพงศ์ กล่าว

นายวีระพงศ์ กล่าวด้วยว่า กนอ.ยังมีแผนจัดตั้งบริษัทลูก เข้าไปดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ ภายใต้ชื่อบริษัท ไออีเอที อินเตอร์เนชั่นแนล (I-EA-T International) โดยจะเสนอต่อบอร์ด กนอ.ในเดือนก.พ. ที่จะถึงนี้ และหากได้รับความเห็นชอบจากบอร์ด ก็จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติจัดตั้งเป็นนิติบุคคลต่อไป

คาดจัดตั้งได้เสร็จก.ย.56 นี้

ทั้งนี้ คาดว่า บริษัทลูกจะสามารถจัดตั้งได้แล้วเสร็จในเดือน ก.ย.2556 โดยระยะแรก กนอ.มีเป้าหมายเข้าไปร่วมลงทุน หรือร่วมดำเนินธุรกิจในนิคมอุตสาหกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้น และมีความสำคัญกับ ไทย 2 แห่ง คือ 1.นิคมอุตสาหกรรมบริการโลจิสติกส์เถิงจวิ้น นครคุนหมิง มณฑล ยูนนาน ประเทศจีน และ 2.โครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ประเทศเมียนมาร์

เขา กล่าวว่า โครงการนิคมอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ และคลังสินค้ายูนนานเถิงจวิ้นเป็นโครงการสำคัญที่รัฐบาลท้องถิ่นนครคุนหมิง รัฐบาลมณฑลยูนนาน และรัฐบาลกลางจีน ให้ความสำคัญ โดยบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติจีน ฉบับที่ 12 กำหนดให้เป็นโครงการสำคัญเปิดประตูการค้าจีน สู่ภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก เฉียงใต้

โดยทางการจีนยืนยันว่า โครงการนี้ จะมีสิทธิประโยชน์ให้กับนักลงทุนต่างชาติรวมทั้งนักลงทุนจากไทยตามเกณฑ์ส่งเสริม การลงทุนของจีน เช่น ลดภาษีเงินได้นิติ บุคคลจาก 25% เหลือ 15% รวมทั้งทาง การไทยสามารถจะเข้ามาตั้งหน่วยงาน ราชการที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ โลจิสติกส์ได้

อย่างไรก็ตาม กนอ.จะประสานงานกับทางการจีนเพื่อเจรจาขอสิทธิประโยชน์ทั้งที่เป็นภาษีและไม่ใช่ภาษีเพิ่มเติม โดย จะเสนอสิทธิประโยชน์เปรียบเทียบกับ นิคมฯเชียงของซึ่งจะมีการขนส่งสินค้าระหว่างนิคมอุตสาหกรรมและบริการ โลจิสติกส์ทั้งสองแห่งผ่านเส้นทางถนน สาย R3A ที่เชื่อมระหว่างประเทศไทย สปป.ลาวและจีน ซึ่งเส้นทางสายนี้จะมีบทบาทมากขึ้นหลังจากสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 จะเปิดให้บริการได้ภายในเดือน มิ.ย.นี้รองรับการขนส่งทั่วอาเซียน

นายภวัต ตั้งตรงจิตร ผู้อำนวยการ สถาบันโลจิสติกส์นานาชาติ คณะเศรษฐ ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว ว่า โครงการนิคมอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ และคลังสินค้ายูนนานเถิงจวิ้นเป็นโครงการสำคัญที่จีนกำหนดให้เป็นโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ตามยุทธศาตร์เชื่อมต่อทางบกระหว่างจีนและต่างชาติ มีพื้นที่กว่า 2.4 ล้านตารางเมตร ใช้เงินลงทุนกว่า 4.53 แสนล้านบาท เป็นโครงการรองรับการ ขนส่งหลากหลายรูปแบบในอาเซียน ภายในโครงการได้ก่อสร้าสถานี และทางรถไฟแล้วเสร็จเชื่อมต่อไปยังเส้นทาง รถไฟความเร็วสูงสายคุนหมิง-แพนเอเชีย ต่อไปยัง สปป.ลาว และเชื่อมต่อกับรถไฟ ความเร็วสูงของไทยที่จ.หนองคาย ในอนาคต

หากกนอ.เข้าไปร่วมลงทุนจะมีประโยชน์ต่อผู้ประกอบการไทยมาก โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าเกษตรระหว่างไทยกับจีนทำได้รวดเร็วขึ้นลดความ เสียหายของสินค้า จากขั้นตอนขนส่งที่ล่าช้า โดยจะนำระบบไอทีมาช่วยวางแผน

โลจิสติกส์ระหว่างนิคมฯที่ยูนนาน และนิคมฯเชียงของ

ด้าน นายณรงค์ พงศ์ภัทรานนท์ ผู้จัดการส่วนการตลาดและทรัพย์สินสาธารณูปโภค บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) กล่าว่า ปตท.และบริษัทในเครือสนใจศึกษาการขนส่งสินค้ามายังตอนใต้ ของจีนผ่านเส้นทาง R3A มานานพอสมควร โดยโครงการดังกล่าวทำให้การขนส่งสินค้าผ่านเส้นทางนี้น่าสนใจขึ้น อย่างไรก็ตาม อยากให้ กนอ.เร่งสรุปสิทธิประโยชน์ที่นักลงทุนไทยจะได้รับจากการเข้าไปลงทุนให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถคำนวณความคุ้มทุนในการขนส่งเมื่อเปรียบเทียบกับเส้นทาง อื่นๆ ได้ คุย"ซีพี"แนะความร่วมมือ รวมทั้งอยากให้กนอ.ประสานกับบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) หรือซีพี เพื่อให้ช่วยพิจารณาถึงความน่าสนใจและความเป็นไปได้ผู้ผู้ประกอบการไทยในการลงทุนในโครงการนี้ และวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียร่วมกัน เนื่องจาก ซีพีมีประสบการณ์ในการลงทุนในจีน มายาวนาน

สำหรับความคืบหน้าในการที่ กนอ.จะเข้าไปร่วมลงทุนในโครงการทวาย แหล่งข่าว จากกนอ.เปิดเผยว่า ขณะนี้กนอ.เตรียม ความพร้อมที่จะเข้าไปร่วมลงทุนส่วนพัฒนานิคมฯทวาย โดยกนอ.จะเข้าไปลงทุน ส่วนของนิติบุคคลย่อยในโครงการนิคมฯทวาย แต่ต้องรอความชัดเจนรูปแบบการ ลงทุน หลังประชุมร่วมระหว่างคณะ กรรมการประสานงานไทย-พม่าเพื่อ พัฒนาโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุต สาหกรรมทวายเดือนก.พ.ที่จะถึงนี้ รวมทั้งต้องดูการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างลงทุนนิติบุคคลเฉพาะกิจ หลังมีแนวโน้มชัดเจนในการเข้ามาเป็นผู้ลงทุนหลักของญี่ปุ่น

’โครงการนี้มีสิทธิประโยชน์ให้นักลงทุนต่างชาติ-ไทยตามเกณฑ์ส่งเสริมของจีน’

วีระพงศ์ ไชยเพิ่ม--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 73

โพสต์

ไฟเขียว! เวนคืนที่ดินสร้างทางหลวงฝั่งตะวันตก รองรับเขตเศรษฐกิจทวาย

เขตเศรษฐกิจทวาย

ครม.ไฟเขียว! เวนคืนที่ดินสร้างทางหลวงฝั่งตะวันตก รองรับ เขตเศรษฐกิจทวาย พร้อมเว้นภาษีดีเซลอีก 1เดือน สิ้นสุด 31 มี.ค.56

การประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (19 ก.พ.) ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา การเวนคืนที่ดินเพื่อการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 81 สายบางใหญ่-กาญจนบุรี เพื่อรองรองรับการเชื่อมต่อเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และเชื่อมต่อประเทศในภูมิภาคระหว่างฝั่งตะวันออก และตะวันตกในเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC )

ซึ่งการกำหนดเขตพื้นที่เพื่อการเวนคือที่ดิน ประกอบด้วย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี, อำเภอพุทธมณฑล อำเภอนครชัยศรี อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม, อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี, อำเภอท่ามะกา อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี โดยแบ่งเป็น ค่าที่ดิน 3,628 แปลง เป็นเงิน 3,948,700,000บาท สิ่งปลูกสร้าง 791 ราย เป็นเงิน 1,428,800,00 บาท และพืชผล 703 ราย เป็นเงิน 34,500,000 บาท รวมทั้งสิ้น 5,412,000,000 บาท

ทั้งนี้กรมทางหลวงได้จัดทางหลวงสายนี้เข้าแผนงานก่อสร้างปีงบประมาณ พ.ศ.2556-2559 วงเงิน 40,495 ล้านบาท

นอกจากนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรียังมีมติให้ขยายเวลาการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลเหลือ 0.005 บาท/ลิตร ออกไปอีก 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1-31 มี.ค.56 จากปัจจุบันที่จะสิ้นสุดในวันที่ 28 ก.พ.56 เพื่อช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน

http://news.mthai.com/politics-news/219139.html
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 74

โพสต์

คมนาคม เตรียมเสนอแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโครงการทวายในการประชุมร่วม มี.ค.นี้

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สนข.ได้ ส่งรายงานสรุปสาระสำคัญในการประชุมคณะกรรมการประสานงานร่วมระหว่างไทย-เมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง ในสาขาโครงสร้างพื้นฐานและการก่อสร้าง เสนอต่อนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณา ก่อนการประชุมคณะกรรมการร่วมระหว่างไทย-เมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง (เจซีซี)ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 6-8 มี.ค.นี้ ที่พัทยา จ.ชลบุรี สรุปประเด็นสำคัญ คือ ปัจจุบันยังไม่มีความจำเป็นที่จะก่อสร้างขยายมอเตอร์เวย์ ฝั่งไทยให้เป็น 8 ช่องจราจร

สาเหตุที่ไม่มีความจำเป็นต้องขยายมอร์เตอร์เวย์ เนื่องจากการวิเคราะห์พบว่า ประมาณการปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือทวายน่าจะสูงเกินจริง ขณะที่ปริมาณการเดินทางจากการท่องเที่ยวยังไม่มีความชัดเจน ส่วนปริมาณขนส่งสินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรมของโครงการทวาย และสินค้าจากเขตเศรษฐกิจพิเศษกาญจนบุรีและจังหวัดอื่นๆด้านฝั่งตะวันตกของไทย

ส่วนการลงทุนก่อสร้างโครงการพัฒนาถนนเชื่อมโครงการทวายไปยังเมืองหลักและพื้นที่เศรษฐิจในเมียนมาร์นั้น พบว่ามีความเสี่ยงสูง เพราะปริมาณการจราจรและรายได้จากการจัดเก็บค่าผ่านทางอาจต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อความสามารถในการชำระหนี้ จึงเห็นควรนำไปรวมกับการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆที่สามารถสร้างรายได้ดีกว่า ขณะเดียวกันได้เสนอให้เมียนมาร์ ทบทวนการเลือกใช้ขนาดรางรถไฟของโครงการทวายเป็นขนาด 1 เมตร เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงกับโครงข่ายในไทยและส่วนอื่นของเมียนมาร์โดยไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายสินค้า

นอกจากนั้น ยังขอให้ร่วมกับไทยในการพัฒนาสถานีตรวจปล่อยทางรถไฟร่วมกัน รวมทั้งการกำหนดค่ามาตรฐานของน้ำหนักบรรทุกรถสินค้า การเปลี่ยนถ่ายสินค้า และค่าดำเนินการ เพื่ออำนวยความสะดวก โดยให้มีการลดขั้นตอนพิธีการศุลกากรสำหรับสินค้าผ่านแดน และจัดให้มีโครงข่ายทางรถไฟเชื่อมต่อระหว่างโครงการทวายอื่นๆของเมียนมาร์

สำหรับท่าเรือน้ำลึกนั้น ในข้อเสนอให้มีการออกแบบท่าเรือระยะที่ 1 เป็นท่าเรืออุตสาหกรรมและพัฒนาท่าเทียบเรือตู้คอนเทนเนอร์ในระยะต่อไป เพราะสิ่งสำคัญของท่าเรือน้ำลึกทวาย จะต้องมีกิจกรรมการผลิตในนิคมอุตสาหกรรม จากการวิเคราะห์ร่วมกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท.) พบว่า ความต้องการใช้บริการในระยะแรกส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบในรูปสินค้าเทกอง สินค้าบรรจุหีบห่อทั่วไป ทำให้ช่วงแรกคาดว่าจะมีสินค้าผ่านแดนปริมาณน้อย ขณะที่ตู้สินค้าจะเพิ่มมากขึ้นในระยะที่ 2 ของการพัฒนาท่าเรือ เนื่องจากมีกระบวนการผลิตขั้นกลางและขั้นสุดท้าย

นายจุฬา กล่าวอีกว่า เมียนมาร์ ต้องให้อิสระแก่ผู้ประกอบการในการบริหารท่าเรือทวายและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารท่าเรือเพื่อให้สอดคล้องกับการให้เอกชนเข้ามาบริหารท่าเรือ โดยรูปแบบบริหารงานควรแยกผู้บริหารท่าเรือกับผู้ให้บริการยกสินค้าออกจากกัน (Landlord port) รวมทั้งการปรับเปลี่ยนหรือปรับลดวิธีและสัดส่วนการแบ่งปันผลประโยชน์ในการให้บริการท่าเรือ อีกทั้งยังต้องให้ความสะดวกและลดขั้นตอนพิธีการศุลกากรและงดเว้นการจัดเก็บภาษีสำหรับสินค้าผ่านแดน

“หวังว่าสิ่งที่เสนอไป ทางเมียนมาร์จะเปิดใจยอมรับข้อเสนอและร่วมกันหารือเพื่อปฏิบัติงานให้สอดคล้องกัน โดยเฉพาะเรื่องแหล่งน้ำ ต้องมีน้ำรองรับความต้องการของโครงการ และควรนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่นการผลิตไฟฟ้า เพื่อให้โครงการมีผลตอบแทนทางการเงินที่สูงขึ้น ซึ่งจะเกิดประโยชน์ทั้งฝ่ายไทย และเมียนมาร์ และทำให้นักลงทุนที่สนใจเข้ามาทำกิจกรรมในท่าเรือน้ำลึกทวายได้ ” นายจุฬา กล่าว

ส่วนระบบโทรคมนาคมนั้น บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้วิเคราะห์การใช้บริการโทรคมนาคม โดยบริษัท มีแผนจัดให้บริการ โทรศัพท์พื้นฐานรวม 1 แสนเลขหมาย โดยให้บริการผ่านเคเบิลใยแก้วนำแสงสู่ทุกอาคาร และจัดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จีหรือ 4 จี โดยมีสิทธิในการให้บริการ 25 ปี และสามารถขยายเวลาได้ โดยเมียนมาร์จะต้องเตรียมร่างกฎหมายโทรคมนาคมฉบับใหม่เพื่อรองรับกับข้อตกลงการให้บริการโทรคมนาคมในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายไว้ล่วงหน้าด้วย
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B9%89.html
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 75

โพสต์

จีนเข้าเส้นชัย/ท่าเรือน้ำลึกพม่าเชื่อมคุนหมิง /‘ท่าเรือทวาย’ รัฐบาล ‘ปู’ งานหนัก ‘ยุ่น’ ยังเฉย

วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ 2013 เวลา 00:07 น. ■ โต๊ะข่าวเออีซี AEC - AEC

พลันที่กลุ่มทหารที่ผูกขาดการบริหารประเทศเมียนมาร์ มาเป็นเวลานาน ทำการปฏิรูประบบการเมืองภายในประเทศและเปิดโอกาสให้นางอองซาน ซูจี เข้าร่วมการเมือง ทำให้โครงการทางด้านเศรษฐกิจของประเทศนี้กลายเป็นที่จับตาของนักลงทุนนานาชาติ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการท่าเรือน้ำลึกจ้าวผิ่ว และท่าเรือที่ทวาย และเป็นที่รู้ ๆ กันว่า ท่าเรือทวายได้กลายมาเป็นนโยบายลำดับต้น ๆ ของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ของไทยไปแล้ว

ประเทศเมียนมาร์ ต้องเร่งพัฒนาท่าเรือน้ำลึก เนื่องจากท่าเรือที่มีอยู่ล้วนเป็นท่าเรือในแม่น้ำเช่นเดียวกับท่าเรือคลองเตยของไทย เศรษฐกิจของพม่าจะก้าวหน้าไปกว่านี้ได้ต้องมีท่าเรือน้ำลึก โดยการท่าเรือของประเทศเมียนมาร์เอง มีแผนที่จะสร้างท่าเรือน้ำลึกขึ้น 4 แห่ง คือท่าเรือ จ้าวผิ่ว (Kyaukpyu) อยู่อ่าวเบงกอล ท่าเรือ กะเลก๊วก (Kalegauk) อยู่ทะเลอันดามัน ท่าเรือ ทวาย (Dawei) และท่าเรือ ปกเปี้ยน (Bokpyin) ในเขตตะนาวศรี ริมฝั่งทะเลอันดามัน

ท่าเรือจ้าวผิ่ว (แปลว่าหินขาวในภาษาเมียนมาร์) หรือ เจียวเพียว ในภาษาจีนกลาง อยู่อ่าวเบงกอล ระยะ 400 กิโลเมตร ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงย่างกุ้งใกล้เมืองชิตตะเว่ ในศตวรรษที่ 17 เป็นเพียงหมู่บ้านประมงธรรมดา แต่เมื่อกองกำลังอังกฤษรบกับทหารเมียนมาร์ ได้มาสร้างเมืองนี้ขึ้น ซึ่งต่อมาได้เป็นเมืองท่าค้าข้าวไปเมืองโกลกาตา (กัลกัตตา) ของอินเดีย ท่าเรือน้ำลึกแห่งนี้เมื่อสร้างเสร็จแล้ว จะกลายเป็นจุดขนถ่ายน้ำมันและก๊าซธรรมชาติสำคัญของทั้งประเทศเมียนมาร์และจีน เป็นนโยบายทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญของจีนแผ่นดินใหญ่

ท่าเรือกะเลก๊วก อยู่เกาะกะเลก๊วก เมืองเย จังหวัดมะละแหม่ง ชายฝั่งทะเลอันดามัน เป็นเมืองมอญ ห่างจากอำเภอแม่สอดของประเทศไทยประมาณ 150 กิโลเมตร กลุ่มบริษัทพาวเวอร์พีฯ ของไทยสมัยที่พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรีเคยแสดงความสนใจร่วมลงทุนกับเมียนมาร์

ท่าเรือทวาย อยู่ใกล้เมืองทวาย ตอนเหนือของอ่าวเมีองมะกัน ทางตะวันออกเฉียงใต้ของพม่า ในเขตตะนาวศรีเป็นรัฐมอญ อยู่ห่างจากอำเภอไทรโยค กาญจนบุรี ระยะทาง 80 กิโลเมตรอยู่ห่างจากย่างกุ้ง 614 กิโลเมตร บริษัทอิตาเลียน-ไทยฯแสดงความสนใจเข้าไปลงทุนกว่า 15 ปีแล้วท่าเรือปกเปี้ยนอยู่เขตตะนาวศรีริมฝั่งทะเลอันดามัน อยู่คนละฝั่งกับอำเภอบางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ของไทย กลุ่มสหวิริยา ขาใหญ่ธุรกิจเหล็กของไทย เคยแสดงความจำนงจะไปลงทุนสร้างท่าเรือน้ำลึกเพื่อเชื่อมกับทะเลฝั่งอ่าวไทยโดยตั้งชื่อโครงการว่า Golden Gateway สมัยที่พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี

ท่าเรือน้ำลึกทั้ง 4 แห่ง นี้รัฐบาลเมียนมาร์ไม่สามารถลงทุนสร้างเองได้เนื่องจากโดนปิดประเทศทางเศรษฐกิจจากประเทศตะวันตกอย่างยาวนาน ทำให้เจ้ามือหลักในการลงทุนก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกในประเทศเมียนมาร์มักเป็นนักลงทุนหรือรัฐบาลต่างชาติ โดยมีนักลงทุนจากสองประเทศคือจีน และ ไทย ที่อาสาเข้าไปร่วมลงทุนในช่วงที่โดนปิดประเทศ มีผลประโยชน์ของประเทศเจ้าภาพเป็นเป้าหมายสำคัญ นักลงทุนไทยแสดงความจำนงร่วมสร้างถึง 3 ท่าเรือในช่วงปี 2540 คือทวาย กะเลก๊วก และ ปกเปี้ยน ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลทหารเมียนมาร์โดนคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอย่างหนักจากประเทศตะวันตก

หลังสิ้นยุครัฐบาลพล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ โครงการที่นักลงทุนไทยจะเข้าไปลงทุนสร้างท่าเรือน้ำลึกในเมียนมาร์ได้เงียบหายไป ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการคว่ำบาตรของรัฐบาลประเทศตะวันตก ความพยายามเข้าไปเป็นเจ้าภาพสร้างท่าเรือน้ำลึกของไทย เริ่มมาคึกคักอีกครั้งในสมัยของรัฐบาลนายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยฝ่ายไทยเร่งผลักดันโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายอีกรอบหนึ่งท่ามกลางปัญหาและอุปสรรคอีกมากมาย

ในขณะเดียวกันประเทศจีนที่ไม่ต้องจำเป็นต้องฟังเสียงฝรั่งตะวันตกตั้งแต่แรก เดินหน้าเป็นเจ้าภาพร่วมกับรัฐบาลและเอกชนเมียนมาร์สร้างท่าเรือ จ้าวผิ่ว และท่อน้ำมันและก๊าซ ต่อเชื่อมกับคุนหมิงของจีนจนสำเร็จเสร็จสิ้นลงเมื่อต้นปี 2556 นี้เอง

ยังมีรายละเอียดอีกมาก ติดตามได้ที่ http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=621
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 76

โพสต์

เดินหน้าเมกะทวาย สภาเมียนมาร์จ่อผ่านกฎหมาย SEZ/ทะลวงปัญหาอุ้มอิตาเลียนไทย
วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม 2013 เวลา 10:10 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 - คอลัมน์ : Big

เมียนมาร์เร่งแก้กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษโละของเก่าที่แยกเป็นเขตทิ้ง รวมเป็นฉบับเดียวใช้ทั่วประเทศเอื้อนักลงทุนต่างชาติ จ่อผ่านสภาเมษาฯนี้ ประชุมเจซีซี เคาะรูปแบบลงทุนตั้งเอสพีวี อุ้มอิตาเลียนไทย "นิวัฒน์ธำรง" ย้ำต้องได้เงินคืนเปิดทางร่วมทุนโครงสร้างพื้นฐาน "เปรมชัย " โล่งอกเกลี่ยทุน 2หมื่นล้านถือหุ้นบริษัทใหม่โดยมี 4 แบงก์ใหญ่

นายอู เอ มินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า การประชุมคณะกรรมการประสานงานร่วมระหว่างไทย-เมียนมาร์เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง (เจซีซี) ครั้งที่ 3 ซึ่งมีขึ้นที่ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 6-9 มีนาคมที่ผ่านมา ที่โรงแรมรอยัลคลิฟ บีช พัทยาได้ผลลัพธ์น่าพึงพอใจ โดยมีความคืบหน้าในการขับเคลื่อนโครงการโดยเฉพาะในเรื่องที่คณะกรรมการทั้งสองฝ่ายเห็นพ้อง ในการจัดตั้งกลไกร่วมมาบริหารจัดการโครงการในรูปนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle : SPV) ซึ่งมีเมียนมาร์และไทยเป็นหลัก จากนั้นจะเชิญประเทศที่สามเช่น ญี่ปุ่นและอื่นๆที่สนใจมาร่วมด้วย

++เตรียมผ่านก.ม.SEZ
"ผมเชื่อมั่นว่าหลังจากนี้กระบวนการต่างๆจะเดินหน้าด้วยความเร่งที่เร็วมากขึ้น และสร้างความมั่นใจให้บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวลล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (ไอทีดี) เดินหน้าสิ่งที่ทำอยู่ต่อไป ส่วนอีกปัจจัยที่จะสร้างความมั่นใจให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องคือกฎหมายใหม่ว่าด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษ (New Myanmar SEZ Law) ที่กำลังอยู่ในกระบวนการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขของรัฐสภา และจะมีผลบังคับใช้ในเร็ว ๆ นี้ รวมถึงการที่ญี่ปุ่นเข้ามาเป็นผู้ร่วมสังเกตการณ์" รัฐมนตรีว่าการอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการฝ่ายเมียนมาร์กล่าว ในส่วนของตัวแทนฝ่ายหน่วยงานภาครัฐของญี่ปุ่นที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ได้แก่ ผู้แทนจากฝ่ายเศรษฐกิจสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร)

ในการประชุมเจซีซีครั้งนี้ตัวแทนฝ่ายเมียนมาร์ได้นำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับร่างกฎหมายใหม่ว่าด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษที่คาดว่าจะมีผลบังคับใช้อีกไม่กี่สัปดาห์ แต่ที่ประชุมยังไม่เปิดเผยรายละเอียดของร่างกฎหมายดังกล่าวให้กับสื่อ โดยอ้างว่ายังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของรัฐสภาเมียนมาร์

++ กำหนดราคาที่ดินสากล
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้สื่อของเมียนมาร์ได้เคยนำเสนอข่าวเกี่ยวกับร่างกฎหมายฉบับนี้ว่า การพิจารณารายละเอียดของร่างกฎหมายดังกล่าวมีการปรับปรุงแก้ไขไปแล้วราว 80 % เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลทั้งสำหรับผู้ลงทุนของเมียนมาร์เองและผู้ลงทุนที่เป็นต่างชาติ เนื้อหาของกฎหมายจะครอบคลุมการใช้พื้นที่ การบริหารจัดการทางการเงิน การประกัน การค้า การจ้างงาน และสิทธิประโยชน์ที่ผู้ลงทุนจะได้รับ ทั้งนี้ นายเซ็ต อ่อง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติของเมียนมาร์ ระบุว่า กฎหมายใหม่นี้จะใช้กับเขตเศรษฐกิจพิเศษทุกแห่งทั่วประเทศ ทั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ติละวา และเจ้าผิว แทนกฎหมายเดิมที่มีแยกใช้เฉพาะเขต "ทางกระทรวงมีแผนจะยกระดับเขตเศรษฐกิจพิเศษในเมียนมาร์ให้อยู่ในระดับที่เรียกได้ว่าดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งส่วนหนึ่งทำได้ด้วยการกำหนดราคาที่ดินในเขตอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามอัตราสากล"

ด้านนายอู ฮัน เสียน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมของเมียนมาร์ ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะอนุกรรมการด้านโครงสร้างพื้นฐานและการก่อสร้างของเจซีซี กล่าวเสริมว่า การหารือครอบคลุมถึงการพัฒนาท่าเรือ นิคมอุตสาหกรรม โทรคมนาคม รถไฟ และงานประปา ซึ่งคณะกรรมการ2ประเทศ เห็นพ้องกันว่าจะตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจขึ้นมาร่วมกันบริหารจัดการโครงการ สิ่งที่ต้องการในเวลานี้คือการลงทุน และพร้อมที่จะเชิญชวนผู้สนใจไม่ว่าจะเป็นไทย- เมียนมาร์ หรือประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น ให้เข้ามาลงทุน รวมทั้งไอทีดีที่เป็นผู้ลงทุนเริ่มต้นอยู่แล้ว ก็อยากให้เดินหน้าการลงทุนต่อไป

"เบื้องต้นว่าน่าจะใช้เงินลงทุนกว่า 2.55 แสนล้านบาท และอาจจะสูงกว่านั้น หลังประชุมเจซีซีครั้งนี้ คณะทำงานจะไปดำเนินการในแง่รายละเอียดและจัดทำร่างข้อตกลงขึ้นมาเพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลของทั้งสองฝ่ายต่อไป"

++ เร่งตั้งเออร์ลี่อินดัสตรี
ในส่วนของความคืบหน้าการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายนั้น ณ ปัจจุบัน นายอู ฮัน เสียน กล่าวว่า การก่อสร้างท่าเรือและถนน มีการดำเนินการควบคู่กันไป เพื่อเป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้งานด้านการลำเลียงขนส่งสินค้า ซึ่งเมื่อท่าเรือก่อสร้างเสร็จ ถนนก็ต้องเสร็จเพื่อการขนส่งสินค้ามายังท่าเรือ ทั้งนี้ในระยะเบื้องต้น จะมีการเปิดใช้ท่าเรือขนาดเล็กไปก่อน ซึ่งเวลานี้การก่อสร้างโดย(ไอทีดี) ได้ใกล้จะเสร็จสิ้นแล้ว คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ใน 2-3 เดือนนี้ ส่วนท่าเรือน้ำลึก โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า และส่วนอื่นๆ ก็จะมีการดำเนินการเป็นลำดับไป แต่กล่าวได้ว่าทุกส่วนจะต้องมีการก่อสร้างคู่ขนานกันไปเพราะไม่เช่นนั้น ส่วนหนึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่อีกส่วนไม่เสร็จ ก็อาจทำให้ส่วนที่เสร็จแล้วไม่สามารถใช้งานได้

"เฟสแรก เราคาดหวังว่าจะมีท่าเรือขนาดเล็ก ถนน และนิคมอุตสาหกรรมสำหรับ Early Industries ซึ่งใช้เวลาก่อสร้างไม่นานและส่วนใหญ่จะใช้แรงงานจำนวนมาก เช่น อุตสาหกรรมเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม อิเล็กทรอนิกส์ การแปรรูปอาหาร อาหารทะเล เป็นต้น เมื่ออุตสาหกรรมขั้นต้นเหล่านี้เกิดขึ้น ก็จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งนักลงทุนในประเทศและจากต่างประเทศ" นายอู ฮัน เสียนกล่าว

++2ประเทศอุ้มไอทีดี
นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานเจซีซีฝ่ายไทยกาวถึงรูปแบบของการลงทุนที่จะจัดตั้งเป็น นิติบุคคลเฉพาะกิจหรือ เอสพีวี เพื่อบริหารจัดการโครงการ มี 4 ประเทศเข้ามาร่วมทุนเบื้องต้นมีไทยกับเมียนมาร์ลงทุนมากกว่า 50 % ที่เหลือจะเป็น ญี่ปุ่น จีนหรือ เกาหลี ภายใต้สัดส่วนที่เหมาะสม

"เอสพีวีจะไม่ใช่รัฐบาลแต่ละประเทศแต่เป็นหน่วยงานของรัฐเข้าไปลงทุนเพื่อรับสัมปทานจาก คณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายที่เป็นผู้ให้สัมปทานในนามรัฐบาลเมียนมาร์ เป็นบริษัทที่บริหารโครงการทั้งหมดเพื่อให้เกิดการบูรณาการ ใช้เงินทุนไม่มาก จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทย เพื่อนำมาแจกจ่ายให้แก่ เอสพีซี (Special Purpose Companies) บริษัทเอกชน ที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ 6 สาขา โดยมีเอกชนที่สนใจเข้าร่วมทุน ในเกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานและจดทะเบียนจัดตั้งในเมียนมาร์ ถ้าอนาคตอยากเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯก็เข้าไปได้ทั้งสองประเทศ "

รมต.ประจำสำนักนายกฯ ยังกล่าวอีกว่า สำหรับในส่วนของไอดีทีนั้น "นโยบายของรัฐบาลไทยและเมียนมาร์มีความเห็นว่าต้องดูแลเขา โดยมองว่าเงินที่ลงทุนไปแล้วกับที่ต้องลงทุนเพิ่มเติม เขาต้องได้เงินคือคุณเปรมชัยน่าจะแฮปปี้เงินที่ลงไปไม่เสียหาย นอกจากนี้ยังได้สิทธิ์เป็นผู้หนึ่งที่สามารถลงทุนใน 6 บริษัทที่ตั้งขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นผลดีต่อภาคเอกชนไทยจากเดิมที่คลุมเครือเพราะมีความชัดเจนและเกิดความมั่นใจมากยิ่งขึ้น"

ทั้งนี้เอสพีซีที่ตื้งขึ้นมานั้นเหมือนเป็นบริษัทลูก เปิดกว้างให้เอกชนจากทุกประเทศที่สนใจร่วมลงทุนเพราะใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก เอสพีทั้ง 6 ประกอบด้วย โรงไฟฟ้า นิคมอุตสาหกรรม ท่าเรือ ประปา โทรคมนาคม และ ถนน ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องเร่งดำเนินการเป็นการด่วนภายใน 5-7 ปี เริ่มตั้งแต่ปีนี้

" ส่วนบางคณะอนุกรรมการที่ยังไม่เรียบร้อยก็ต้องต่อกันให้จบภายใต้คอนเซ็ปต์คือทุกโครงการ ทำแล้วมีกำไร ไม่แพง โดยข้อสรุปทั้งหมดจะนำเข้าที่ประชุมระดับสูงหรือเจเอชซี ซึ่งมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นประธานเพื่อเห็นชอบก่อนซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ และจะมีการประชุมครั้งหน้าในเดือนเมษายนที่เมืองเนย์ปิตอว์ "

++ เจซีซีให้ความมั่นใจเอกชน
นายเปรมชัย กรรณสูต กรรมการผู้จัดการ ไอทีดี เผย ถึงการประชุมเจซีซี ว่าผลสรุปเป็นที่น่าพอใจ โดยเฉพาะรูปแบบการลงทุนที่ถือว่าจะทำให้โครงการขับเคลื่อนไปข้างหน้าและนักลงทุนมีความมั่นใจในโครงการนี้มากยิ่งขึ้นหลังจากที่ ไอทีดี มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกันเบื้องต้นกับผู้แทนฝ่ายเมียนมาร์ โดยมีปลัดคลัง นายอารีพงษ์ ภู่ชอุ่ม เป็นสักขพยาน หลังเสร็จสิ้นการประชุม

"อันจะส่งผลให้ไอทีดีเข้าไปลงทุนใน เอสพีซี โครงสร้างพื้นฐานทั้ง 6 สาขาส่วนที่เหลือจะเป็นนักลงทุนที่สนใจเข้าร่วม โดยจะคิดจากสัดส่วนเม็ดเงินลงทุนที่ไอทีดีตั้งไว้ 2 หมื่นล้านบาททั้งโครงการมาเฉลี่ยแต่ละโครงการ ซี่งจะทำให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจเมื่อรัฐเข้ามาสนับสนุนในรูปแบบ เอสพีวี "

นอกจากนี้ยังระบุอีกว่า การแก้กฎหมาย SEZ ของเมียนมาร์นั้นส่งผลดีต่อการลงทุนสำหรับต่างชาติมาก เพราะมีความชัดเจนมากกว่าเดิม เหมือนบีโอไอ บ้านเรา แม้ขบวนการยังไม่แล้วเสร็จ แต่ก็มีการผ่อนปรน กฎระเบียบต่าง ๆ การให้สิทธิพิเศษ ที่จูงใจในการลงทุนที่ทำเป็นแพ็กเกจ เช่นมีการแบ่งพื้นที่ เป็นฟรีโซน ได้รับการยกเว้นภาษี มีโปรโมชัน การเช่าที่ดิน 75 ปี เป็นต้น

โดยขณะนี้เมียนมาร์ได้อนุมัติให้ลงทุนในโครงการต่าง ๆ ที่ไอทีดีขอไปเร็วขึ้น โดยเฉพาะ ประเภทที่เป็นอุตสาหกรรมเร่งด่วน (เออร์ลี่อินดันตรี) เดิมจะลงทุนในปี 2559 แต่ขณะนี้ได้อนุมัติให้เริ่มได้ในปี 2557 หรือเร็วขึ้น 2 ปี โดยจะเป็นอุตสาหกรรมส่งออก การ์เมนต์และอื่น ๆ ที่เมียนมาร์ยังได้สิทธิจีเอสพีในการส่งออก ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของนักลงทุนไทยและต่างชาติมาก

เนื่องจากเมียนมาร์เห็นความสำคัญของการลงทุนและต้องการให้เกิดการจ้างงานโดยเร็วที่สุด จึงอนุมัติให้ดำเนินการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยไอทีดีได้ขอพื้นที่ไป 7 พันไร่ เบื้องต้นใช้เงินลงทุน 7 พันล้านบาท ไม่รวมโรงไฟฟ้าขนาด 250-33 เมกะวัตน์ ลงทุนประมาณ 9 พันล้านบาท ต้องตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมามีผู้ถือหุ้นเวลานี้มีผู้สนใจจนล้นไม่ว่าจะเป็นไทย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ยุโรป จีน โดยเฉพาะ ญี่ปุ่น สนใจทุกโครงการ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,825 วันที่ 10 - 13 มีนาคม พ.ศ. 2556
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=417
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 77

โพสต์

'อมตะ'เล็งตั้งนิคมฯในทวาย
วันพุธที่ 20 มีนาคม 2013 เวลา 12:33 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 - คอลัมน์ : ข่าวหน้า1

"อมตะ"ชงรัฐบาลเสนอตัวพัฒนานิคมฯทวาย พื้นที่กว่า 1 แสนไร่แล้ว รอความชัดเจนจัดตั้งเอสพีวีระหว่างไทย-เมียนมาร์เดือนเม.ย.นี้ ถือเป็นโอกาสขยายธุรกิจออกต่างประเทศมากขึ้น หวังเชื่อมระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก กรุยทางสู่นิคมในกัมพูชา ยันไม่เกี่ยงหากรัฐบาลดึงกนอ.เข้าร่วมทุน ชี้เป็นจุดดีอาศัยความชำนาญของแต่ละฝ่ายบริหาร ยันหากขั้นตอนไม่สะดุดเริ่มพัฒนาได้ปี 58

นางสมหะทัย พานิชชีวะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อมตะ วีเอ็น จำกัด(มหาชน) ในเครือบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมรายใหญ่ เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ถึงการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ทวาย ประเทศเมียนมาร์ว่า ขณะนี้กลุ่มอมตะ ได้แสดงความจำนงกับนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานร่วมระหว่างไทย-เมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้องหรือเจซีซีฝ่ายไทย ที่จะเข้าร่วมลงทุนพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทวายในพื้นที่กว่า 1 แสนไร่

โดยกลุ่มบริษัทอยู่ระหว่างติดตามการลงนามจัดตั้งกลไกร่วมมาบริหารจัดการโครงการในรูปนิติบุคคลเฉพาะกิจหรือเอสพีวี ระหว่างรัฐบาลไทยและเมียนมาร์ ที่จะดำเนินการในช่วงเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ ซึ่งถือเป็นการคิกออฟโครงการที่จะเชิญประเทศที่ 3 อย่างญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆที่สนใจเข้าร่วมด้วย เพื่อนำไปสู่การคัดเลือกนักลงทุนของแต่ละประเทศเข้าร่วมลงทุนต่อไป

สำหรับการคัดเลือกนักลงทุนของไทย นอกจากกลุ่มอมตะได้เสนอตัวที่จะเข้าร่วมลงทุนพัฒนานิคมอุตสาหกรรมทวายแล้ว ยังมีการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กอน.) แสดงความจำนงที่จะเข้าไปพัฒนานิคมฯทวายด้วยเช่นกัน โดยการจัดตั้งบริษัท กนอ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ขึ้นมาเพื่อออกไปลงทุนต่างประเทศ ซึ่งทางกลุ่มบริษัทอมตะฯก็พร้อมที่จะจับมือกับกนอ.ในซีกของฝั่งไทยออกไปลงทุน เพราะเป็นโครงการที่ใหญ่ และกนอ.ก็เป็นรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลจะมอบหมายให้ไปดำเนินการ ซึ่งสามารถนำจุดแข็งของแต่ละบริษัทที่มีความชำนาญแต่ละด้านมาผนวกในการบริหารงานร่วมกันได้ และมองว่าเม็ดเงินลงทุนไม่ได้สำคัญ 100 % แต่โครงการจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นกับหน่วยงานที่จะมาผลักดันด้วย

"หลังจากมีการลงนามเอสพีวีกันได้ในเดือนเมษายนนี้ คาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการหาประเทศที่ 3 หรือ 4 เข้ามาร่วมลงทุน และหลังจากนั้นแต่ละประเทศ จะไปพิจารณาให้หน่วยงานใดเข้าไปร่วมลงทุนโดยการกำหนดสัดส่วนการถือหุ้นของแต่ละประเทศออกมา นำไปสู่การจัดตั้งบริษัท ซึ่งอาจจะใช้ระยะเวลา 1-2 ปี หากเป็นไปตามขั้นตอนนี้ คาดว่าการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมจะเป็นรูปร่างและเริ่มพัฒนาได้ในช่วงปี 2558"

ส่วนจะมีบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน)หรือไอทีดี จะเข้าร่วมการลงทุนด้วยหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลฝ่ายไทย ที่จะมอบหมายให้บริษัทใดเข้าไปดำเนินการ เนื่องจากสัญญาเดิมที่กลุ่มบริษัทอมตะฯเคยตกลงจะร่วมกันพัฒนาสัญญาได้หมดอายุลงไปแล้ว

อย่างไรก็ตาม มองว่าหากรัฐบาลจะมอบให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หรือแยกให้แต่ละบริษัทหรือแต่ละประเทศไปลงทุนกันเอง โดยแบ่งพื้นที่ในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมนั้น คงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก เพราะหากมองในแง่ของธุรกิจแล้ว จะเป็นการแย่งพื้นที่กันขาย และสุดท้ายผู้ที่เข้าไปลงทุนจะเจ็บตัวกันทั้งหมด

นางสมหะทัย กล่าวอีกว่า สำหรับการสนใจลงทุนพัฒนานิคมอุตสาหกรรมครั้งนี้ เนื่องจากเห็นว่าเป็นโอกาสขยายธุรกิจไปสู่ต่างประเทศมากขึ้น จากปัจจุบันที่กลุ่มบริษัทอมตะฯ ได้พัฒนานิคมเบียนหัว ประเทศเวียดนามมาร่วม 19 ปี และยังเป็นการรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีในปี 2558 ด้วย เนื่องจากขณะนี้นักลงทุนต่างชาติมองประเทศในแถบภูมิภาคนี้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประกอบการเข้าไปลงทุนในทวายจะเป็นการเชื่อมต่อระเบียงเศรษฐกิจฝั่งตะวันตก ของกลุ่มบริษัทอมตะฯที่ขณะนี้ยังขาดพื้นที่ในฝั่งตะวันตกหรือในเมียนมาร์อยู่ ที่จะเชื่อมออกไปสู่มหาสมุทรอินเดียต่อไปถึงสหภาพยุโรป

ในขณะที่ฝั่งตะวันออก บริษัทก็มีพื้นที่อยู่ในเวียดนาม ติดมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งขณะนี้เตรียมที่จะพัฒนาพื้นที่เฟส 2 อีกประมาณ 8 พันไร่ใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท ในการรองรับลูกค้าประมาณปลายปี 2558 หากมีการเชื่อมต่อกันได้สำเร็จแล้ว จะเป็นอีกลู่ทางหนึ่งที่จะทำให้กลุ่มบริษัทอมตะฯขยายการลงทุนไปพัฒนานิคมอุตสาหกรรมที่ประเทศกัมพูชาได้ด้วย

สำหรับการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมทวายนั้น รูปแบบคร่าวๆ จะต้องมีการแบ่งโซนนิ่งประเภทของอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น ปิโตรเคมี ไฟฟ้า เหล็ก และอุตสาหกรรมเบา ไม่ให้มีการปะปนกัน และต้องทำพื้นที่กันชนระหว่างอุตสาหกรรมกับพื้นที่อยู่อาศัย ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อไม่ให้ผู้อยู่อาศัยเกิดผลกระทบ โดยในเนื้อที่นิคมฯดังกล่าวจะต้องมีการแบ่งชัดเจนว่าเป็นพื้นที่ของอุตสาหกรรมกี่เปอร์เซ็นต์และที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ กี่เปอร์เซ็นต์ โดยจะเริ่มพัฒนาโครงการในส่วนที่เป็นที่อยู่อาศัยก่อน

ขณะที่เม็ดเงินลงทุนทั้งโครงการนั้น คงยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะต้องใช้ในสัดส่วนเท่าใด เพราะจะต้องศึกษาในรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง และต้องมีการออกแบบ แต่เชื่อว่าเงินลงทุนเฉลี่ยต่อการพัฒนาในพื้นที่ 1 ไร่ จะถูกกว่าเงินลงทุนในประเทศไทย

อนึ่ง เมื่อปี 2553 บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) ได้กรรมสิทธิ์ในการเช่าพื้นที่ในเมืองทวายประเทศเมียนมาร์โดยได้สัมปทาน4 เรื่อง คือ 1.โครงการท่าเรือน้ำลึก 2.นิคมอุตสาหกรรม 3.เส้นทางคมนาคมทั้งทางรถไฟและรถยนต์ 4. เมืองที่อยู่อาศัย ในพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 1.7 แสนไร่ โดยรัฐบาลเมียนมาร์ให้สัมปทาน 60 ปีและขยายต่อได้อีก 15 ปี รวมระยะเวลา 75 ปี ก่อนหน้านั้นบมจ.อิตาเลียนไทย ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงกับ กระทรวงคมนาคม ของประเทศเมียนมาร์ไปแล้ว โดยในส่วนของการตั้งนิคมอุตสาหกรรมที่เมืองทวาย บริษัท อมตะคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)ได้แสดงความสนใจที่จะเข้าไปในฐานะผู้พัฒนาและบริการ

โดยมีแผนจะลงทุนเฟสแรกพัฒนานิคมอุตสาหกรรมที่ทวายนำร่องก่อน โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 2,000 ล้านบาท พัฒนาที่ดินก่อนจำนวนหนึ่ง จากที่มีที่ดินเฉพาะส่วนที่ทำเป็นนิคมอุตสาหกรรมที่เมืองทวายทั้งหมดประมาณ 1 แสน ไร่ โดยจะเป็นที่ดินที่พัฒนาอุตสาหกรรมอัพสตรีม หรืออุตสาหกรรมต้นน้ำ เช่น ปิโตรเคมี เหล็ก ก่อนที่แผนเดิมจะหมดอายุการร่วมทุนไปแล้ว และเกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่หลังจากที่เมียนมาร์ออกมาประกาศเปิดประเทศมากขึ้นโดยระบบโครงสร้างพื้นฐานส่วนหนึ่งให้เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลเมียนมาร์และรัฐบาลไทยในขณะนี้

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,828 วันที่ 21- 23 มีนาคม พ.ศ. 2556
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=417
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 78

โพสต์

ตั้ง เอสพีวี พลิกสัมปทานทวาย
10 เมษายน 2556 เวลา 16:37 น. |

ทวายพลิกโฉม ไทยจับมือพม่า ตั้ง เอสพีวี เชิญญี่ปุ่นร่วมทุน คืนเงินอิตาเลียนไทยฯ


นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 9 เม.ย. รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานร่วมระหว่างไทย-พม่า เพื่อการพัฒนาที่ครอบคลุมในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง (เจซีซี) ว่า รัฐบาลไทยและพม่าจะร่วมกันจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ (เอสพีวี) ขึ้น เพื่อเข้าไปถือสัญญาทวายแทนบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์

นายนิวัฒน์ธำรง ระบุว่า ผู้ถือหุ้นเอสพีวีจะไม่ใช่รัฐบาลไทย แต่เป็นองค์กรที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล และรัฐวิสาหกิจ ส่วนการลงทุนโครงการต่างๆ เช่น ท่าเรือ โรงไฟฟ้า นิคมอุตสาหกรรม จะลงทุนผ่านบริษัทร่วมทุน โดยบริษัท อิตาเลียนไทยฯ ร่วมถือหุ้นได้ทุกบริษัท

“รัฐบาลทำเช่นนี้ เพราะทวายเป็นทางออกสู่ทะเลด้านตะวันตก อีกทั้งเกรงว่าเอกชนจะเสียเปรียบ ขณะตกลงบริษัทก็อยู่ในที่ประชุมและยินยอมตามที่ทั้งสองประเทศเสนอ” นายนิวัฒน์ธำรง กล่าว

นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า เอสพีวีดังกล่าวจะจัดตั้งขึ้นในไทย โดยรัฐบาลสองประเทศจะถือหุ้นเท่ากัน อย่างไรก็ตามทั้งสองชาติจะทำหนังสือเชิญญี่ปุ่นเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนการลงทุนในโครงการทวายอย่างเป็นทางการด้วย

ทั้งนี้ เอสพีวีจะจ้างที่ปรึกษาอิสระตรวจสอบสถานะการเงินการลงทุนที่บริษัทได้ดำเนินการไปแล้ว เพื่อชำระคืนให้แก่บริษัท จากนั้นจะตั้งคณะทำงานร่วมแล้วนำรายละเอียดมาตกลงกันในปลายเดือนนี้

นายสมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรม การผู้จัดการ บริษัท ทวาย ดีเวล๊อปเมนต์ กล่าวว่า รูปแบบนี้ดี เพราะเท่ากับจะได้เงินลงทุนที่ลงไปแล้วคืนทั้งหมดและยังได้ร่วมลงทุนและได้งานใหม่อีก

“เงื่อนไขแบบนี้เราชอบ เพราะยังเป็นผู้พัฒนาโครงการเหมือนเดิม เงินเก่าที่ลงไปก็ได้คืน แถมได้งานใหม่อีก ไม่มีใครมาบีบเราเหมือนที่พูดๆ กัน” นายสมเจตน์ กล่าว

http://www.posttoday.com/%E0%B8%98%E0%B ... 2%E0%B8%A2
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 79

โพสต์

'เมติ'จ่อแจงผลศึกษาทวาย ก่อนร่วมทุน
วันอังคารที่ 09 เมษายน 2013 เวลา 23:37 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 - คอลัมน์ : ข่าว

เมกะโปรเจ็กต์ทวายเดินหน้าล่าสุด "เมติ" ญี่ปุ่นเตรียมพรีเซนต์ผลศึกษาวันที่ 11 เมษายนนี้ก่อนตัดสินใจร่วมทุน ขณะที่กระทรวงการคลังมอบเนด้าร่วมทุนตั้ง"เอสพีวี" ด้วยงบ 100 ล้านบาท พร้อมแบ่งผลประโยชน์แบบโพรฟิตแชริง เปิด 2 โมเดลบริหารทั้งระดมทุนและคุมนโยบายบริหารพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จ

ส่วนสศช.ย้ำนโยบายค่าบริการ-ค่าเช่าที่ดินต้องถูกกว่าไทยดึงดูดนักลงทุนช่วงแรก ด้านบมจ.อิตาเลียนไทย รอได้สิทธิ์ใช้ที่ดินจ่อเซ็นสัญญาสร้างโรงงานไตรมาส 4 ขณะนี้ครม.รับทราบ เชิญญี่ปุ่นร่วมทุน

แหล่งข่าวระดับสูงจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ในวันที่ 11 เมษายน 2556 ทางที่ปรึกษาของกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น (เมติ) จะนำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้นของแผนแม่บทพัฒนาโครงการทวายฉบับที่ญี่ปุ่นได้ทำการศึกษาเอาไว้ต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อขอความเห็นจากฝ่ายไทยถึงแนวทางในการร่วมทุนในโครงการดังกล่าวซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นได้แสดงความสนใจ ผ่านรัฐบาลไทยเมื่อครั้งที่นายกรัฐมนตรี ชินโซะ อาเบะ เดินทางมาเยือนไทยและพบกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย

++ญี่ปุ่นแนะสร้าง 2 ท่าเรือ
แต่ญี่ปุ่นต้องการศึกษารายละเอียดต่างๆให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจจึงว่าจ้างที่ปรึกษาทำการศึกษารายละเอียดต่างๆ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาโดยมีการนำผลศึกษามาเปรียบเทียบกับแผนแม่บทที่บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) หรือไอทีดี ได้ทำการศึกษาเอาไว้และพบว่ามีข้อคิดเห็นที่ตรงกันหลายประการ อาทิ ในเรื่องของท่าเรือซึ่งญี่ปุ่นเห็นว่าจะสร้าง 2 แห่งคือท่าเรือน้ำลึกเพื่อการพาณิชย์และท่าเรือน้ำลึกเพื่ออุตสาหกรรมโดยเสนอให้แยกแยะการบริหารออกจากกันอย่างเด็ดขาดโดยญี่ปุ่นมีความเห็นว่าในกรณีที่เป็นอุตสาหกรรมหนักอย่างโรงงานถลุงเหล็กที่นำมาผลิตรถยนต์เมื่อต้องส่งรถยนต์ออกไปต่างประเทศควรจะให้ท่าเรือเพื่อ การพาณิชย์ เพื่อป้องกัน ผลกระทบจากสี ถ้าหากใช้ท่าเรือเดียวกับท่าเรืออุตสาหกรรมที่ขนส่ง สารเคมีบางอย่างเพราะจะทำให้เกิดปัญหาสีรถเพี้ยนได้เป็นต้น

++เร่งตั้งเอสพีวีรับสัมปทาน
แหล่งข่าวยังกล่าวอีกว่า "การนำเสนอผลการศึกษาในครั้งนี้ยังถือเป็นการต่อเนื่องจากครั้งที่ผ่านมา ซึ่งทีมที่ปรึกษาญี่ปุ่นได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมคณะกรรมการร่วมระหว่างไทย-เมียนมาร์ Joint Coorinating Committee : JCC เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้องครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 6-9 มีนาคม 2556 ที่พัทยามาแล้ว และต่อมาไทยกับเมียนมาร์ได้ตัดสินใจเดินหน้าจัดตั้ง นิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle : SPV) ซึ่งเป็นโฮลดิ้งคัมปะนี ในการบริหารจัดการโครงการทวาย โดยจะจดทะเบียนฝ่ายละ 50: 50 ล่วงหน้าไปก่อนและได้ทำหนังสือเชิญรัฐบาลญี่ปุ่นร่วมทุนในภายหลังโดยเห็นว่าจะเกิดความล่าช้าเพราะหากรัฐบาลญี่ปุ่นมีข้อมูลไม่พร้อมก็ยังไม่กล้าตัดสินใจ "

อย่างไรก็ดีการเดินทางจัดตั้งเอสพีวีถือเป็นส่วนหนึ่งก็เพื่อเป็นการกระตุ้นให้รัฐบาลญี่ปุ่นเร่งตัดสินใจในการร่วมทุนและลงทุน เนื่องจากเป็นโครงการที่ต้องใช้เงินลงทุนกว่า 3 แสนล้านบาทจึงต้องการระดมทุนจากประเทศที่ 3 ที่ 4 และต้องการสร้างความน่าเชื่อถือในโครงการ ซึ่งความคืบหน้าของการจดทะเบียนตั้งโฮลดิ้งคัมปะนีนั้น นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง กล่าวว่า "สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (สพพ.) (องค์การมหาชน)หรือเนด้า จะเป็นผู้ร่วมทุนในนามของรัฐบาลไทยซึ่งคงจะใช้เงินลงทุนไม่มากนัก"

++ดันเนด้าร่วมทุนแทนรัฐบาล
ขณะที่แหล่งข่าวจาก เนด้าให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า "กำลังเตรียมศึกษารูปแบบการจดทะเบียนร่วมทุนตั้งเอสพีวี ถึงการลงทุนโครงการทวายสืบเนื่องจากกระทรวงการคลังในฐานะที่เป็นคณะอนุกรรมการศึกษา เรื่องรูปแบบการลงทุนจึงมีแนวคิดที่จะให้เนด้าซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดเป็นผู้ลงทุนและกฎหมายเปิดช่องให้ร่วมทุนได้เพราะรัฐบาลไม่สามารถลงทุนได้เบื้องต้นคาดจะใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่านี้ก็ขึ้นอยู่ที่ว่า ญี่ปุ่นจะเข้าร่วมถือหุ้นเมื่อไรและถือหุ้นมากน้อยแค่ไหน

แหล่งข่าวระบุว่าว่าเนด้าต้องจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษารายละเอียดขั้นตอนและเงื่อนไขต่างๆ ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนสถานะของโครงการมาเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลหรือ จีทูจี และส่วนของ บมจ. อิตาเลียนไทยจากเดิมที่ได้รับสิทธิ์บริหารโครงการจากรัฐบาลเมียนมาร์ ก็จะเปลี่ยนสถานะมาเป็นผู้ลงทุน ในโครงการแทน ฉะนั้นจึงต้องดูสัญญาต่างๆ ทั้งข้อกฎหมายแต่ละประเทศ รูปแบบการบริหารจัดการจดทะเบียน ซึ่งต้องศึกษาอย่างรอบคอบ ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 3-4 เดือนน่าจะแล้วเสร็จ" แหล่งข่าวกล่าวและระบุว่า

ทั้งนี้หลังได้ข้อสรุปขั้นตอนต่อไปจะต้องนำเสนอขอมติเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีด้วย เหตุเพราะเนด้าเป็นองค์กรที่ถือเป็นกลไกของรัฐบาลเพื่อการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน หรือเท่ากับเป็นตรายางให้รัฐบาลเข้าไปมีส่วนรวมในการลงทุน ซึ่งถือเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งของรัฐบาล เพราะถ้าเป็นธนาคารของรัฐบาลเข้าไปลงทุนภาระหน้าที่จะไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง

++แบ่งผลประโยชน์เป็นธรรม
ส่วนแหล่งข่าวจาก สศช. เผย ถึงการบริหารจัดการและรูปแบบในการลงทุน ของเอสพีวี ล่าสุดว่าจากการเดินทางมาเยือนไทยของ นายเซ็ต อ่อง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติของเมียนมาร์ เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้มีแนวคิดที่จะแบ่งผลประโยชน์ เป็นลักษณะของ Profit sharing เพื่อความเป็นธรรมของทั้ง 2 ฝ่าย อีกทั้งจะมีอำนาจในการบริหาร จัดการเบ็ดเสร็จ และกำกับนโยบาย ในการบริหารพื้นที่ทั้งโครงการ เพื่อให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากเห็นว่าในอนาคตอาจมีการลงทุนอื่น ๆ เพิ่มเติมขึ้นมาอีกนอกเหนือจาก ( Special Purpose Companies :SPCs ) 8 เอสพีซี ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่ตั้งขึ้น และในแต่ละบริษัท บมจ.อิตาเลียนไทย จะเข้าไปลงทุนในสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 25 % ซึ่งการดำเนินการต้องไปในทิศทางเดียวกันโครงการถึงจะเดินหน้าต่อไปได้ รวมถึงรับสัมปทานมาจัดสรรให้เอสพีซี และการระดมทุนอีกด้วย

++ค่าเช่าที่ดินต้องถูก
"ทั้งยังต้องทำความเข้าใจกับรัฐบาลเมียนมาร์ว่า ถ้าหากเบื้องต้นคิดค่าบริการหรือค่าเช่าที่ดินในราคาแพงก็จะทำให้ไม่จูงใจให้นักลงทุนเข้าไปลงทุน ฉะนั้นต้องคิดถูกกว่าประเทศไทยในช่วงแรกเพื่อดึงดูดใจนักลงทุน ซึ่งเรื่องนี้เขาไม่มีประสบการณ์มาก่อน จำเป็นต้องทำความเข้าใจ และใช้ข้อมูลของนิคมอุตสาหกรรมของต่างประเทศหลายแห่งนำมาเปรียบเทียบให้เมียนมาร์เห็น เพราะสิ่งที่เขามาเห็นที่แหลมฉบังหรือมาบตาพุดในปัจจุบันนั้นแตกต่างจากเมื่อ 20 ปีที่เริ่มต้นอย่างสิ้นเชิง ซึ่งกว่าไทยจะผ่านมาได้ก็ต้องใช้เวลา อีกทั้งต้องชี้ให้เห็นถึงผลตอบแทนจากการลงทุนคงไม่ใช่รายได้จากค่าบริการ แต่ต้องดูถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เช่นภาษี ธุรกิจที่ต่อเนื่อง อื่นๆ ตามมาอย่างครบวงจรด้วย"

++จ่อสร้างโรงงานปลายปี
ด้าน นายประวีร์ โกมลกาญจน ผู้จัดการด้านการตลาดและขาย บริษัท ทวาย ดีเวล็อปเม้นต์ จำกัด บริษัทผู้บริหารจัดการพื้นที่โครงการทวาย เผยว่า ช่วงที่อยู่ระหว่างขบวนการจัดตั้งเอสพีวี บริษัทพัฒนาพื้นที่ในโครงการอย่างต่อเนื่อง และเป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่วางเอาไว้ รอจนกว่าขบวนการจดทะเบียนจัดตั้ง เอสพีวีจะแล้วเสร็จ ก็จะเดินตามรูปแบบขององค์กรใหม่

"จะขายพื้นที่ 7 โซนก่อน โดยโซน 1 และ 2 เสร็จ 100%แล้วเป็นพวกโซนแฟชั่น รองเท้าและมีการเซ็นเอ็มโอยูกับสมาคมยางพารา สมาคมผลิตถุงมือยาง ซึ่งจะตั้งอยู่ในโซนที่ 3ใช้เนื้อที่ 1,250 ไร่ ซึ่ง ตามเป้าหมายจะเริ่มขายพื้นที่อย่างจริงจังในไตรมาสที่ 4 นี้ใช้เวลาสร้างโรงงาน 8-10 เดือน ซึ่งภาพชัดขึ้นแต่รอรัฐบาลเมียนมาร์ให้สิทธิ์ในเรื่องการใช้ที่ดินเท่านั้นก็จะเซ็นสัญญากับผู้ประกอบการตั้งโรงงานในทันที"

อนึ่ง (วันที่ 9 เมษายน 2556) นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ทำหนังสือถึงนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี ถึงผลการประชุม เจซีซี ที่พัทยา ซึ่งมีนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล เป็นประธาน ถึงกรอบข้อตกลงในการร่วมทุนระหว่างไทยกับเมียนมาร์ ซึ่งมีการจัดตั้งเอสพีวี และเอสพีซี อันเป็นกลไกในการระดมทุนพัฒนาโครงการทวาย การว่าจ้างที่ปรึกษาอิสระเพื่อตรวจสอบสถานะการเงินการลงทุนของโครงการต่างๆ ที่ บมจ.อิตาเลียนไทย ได้ดำเนินการไปแล้ว จะได้รับเงินคืน และผลการประชุมดังกล่าวนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการร่วมระดับสูงระหว่างไทย-เมียนมาร์ (Joint High-LeveL Committee :JHC ) ช่วงปลายเดือนเมษายนนี้ที่ เมียนมาร์ รวมทั้งการเชิญรัฐบาลญี่ปุ่นเข้าร่วมทุน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,834 วันที่ 11 - 13 เมษายน พ.ศ. 2556
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=417
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย

โพสต์ที่ 80

โพสต์

ครม.ไฟเขียว ตั้งเอสพีวี ลงทุนทวาย
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 21 พฤษภาคม 2556 16:11

ครม.ไฟเขียว ตั้งเอสพีวีร่วมกับเมียนมาร์บริหาร โครงการทวาย ถือหุ้นฝ่ายละ 50% วงเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท
นาย ชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ แถลงว่าที่ประชุมครม.เห็นชอบ ผลการประชุมคณะทำงานฝ่ายไทย-เมียนมาร์ เพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงิน โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง ตามที่ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ประธานคณะกรรมการประสานงานร่วมฯ ฝ่ายไทย เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้องเสนอ

โดยอนุมัติให้สำนักงานพัฒนาความร่วมมือเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) เป็นผู้ร่วมจัดตั้งและร่วมลงทุนในบริษัท ทวาย เอส อี แซด ดีเวลล๊อปเมนท์ จำกัด กับหน่วยงานของเมียนมาร์ไม่เกิน 50% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัท วงเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท และให้ สพพ. ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นนิติบุคคลเฉพาะกิจ ( Special Purpose Vehicle : SPV) ร่วมกับ Foreign Economic Relation Department (FERD) ของเมียนม่าร์ สัดส่วน 50% วงเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท โดยให้กระทรวงการคลังดำเนินการตามขั้นตอนของกฎระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนั้น ที่ประชุมยังรับทราบผลการศึกษาของคณะผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่น ที่ศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการทวายในภาพรวม โดยเสนอให้รัฐบาลเมียนมาร์พิจารณารูปแบบการลงทุนแบบการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-Private Partnership: PPP) เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ สำหรับโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐาน คือ ท่าเรือและถนน เพื่อให้โครงการมีความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์และสามารถหาเอกชนเข้าร่วมลงทุนได้

ทั้งนี้ รูปแบบการลงทุนดังกล่าว ควรคำนึงถึงสถานะการคลังของรัฐบาลเมียนมาร์และการลงทุนควรแบ่งออกเป็นระยะ ๆ ซึ่งฝ่ายไทยและเมียนมาร์ได้ชักชวนให้ภาครัฐและเอกชนญี่ปุ่นเข้ามามีส่วนร่วมให้การสนับสนุนต่อโครงการ อาทิ การให้ความช่วยเหลือการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (Official Development Assistant: ODA) แก่รัฐบาลเมียนมาร์ ขณะเดียวกันก็ตกลงเรื่อง Relocation ว่า รัฐบาลเมียนมาร์จะเป็นผู้วางแผนและดำเนินการโยกย้ายคน โดยที่ SPC จะเป็นผู้จ่ายเงินผ่าน SPV และแผนการเคลื่อนย้ายคนจะต้องได้รับความเห็นชอบโดย SPV และเป็นไปตามมาตรฐานสากล
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%A2.html