เพื่อน ๆ thaivi ลงทุนกันแบบไหน
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 51
- ผู้ติดตาม: 0
เพื่อน ๆ thaivi ลงทุนกันแบบไหน
โพสต์ที่ 1
ผมสรุปรูปแบบของนักลงทุนที่เป็นตำนานได้ 5 แบบ คือ
1 Ben Graham เน้นหุ้นราคาถูกตามบัญชี 'Value stock' โดยเฉพาะหุ้นที่ซื้อขายต่ำกว่า Net Current Asset
2 Phil Fisher เน้นหุ้นที่มีศักยภาพในการเติบโต 'Growth stock' ต้องประเมินภาวะอุตสาหกรรม เจ้าของ ผู้บริหาร และปัจจัยอื่น ๆ ประกอบ
3 John Templeton เป็น Contrarian Investor นานาชาติ ซื้อหุ้นเกาหลีและญี่ปุ่นในช่วงที่นักลงทุนอื่น ๆ กังวลเรื่องสงครามเกาลี ย้ายกลับไปซื้อหุ้นในอเมริกาช่วงที่หุ้นญี่ปุ่นบูมช่วงปี 1990 ตายไปเกือบสิบปีแล้วแต่กองทุนที่เขาบริหารยังอยู่ถึงทุกวันนี้ หาหนังสืออ่านยากมาก เพิ่งได้หนังสือมา ยังไม่แน่ใจวิธีเลือกหุ้นของ Templeton ใครรู้รายละเอียดช่วยเพิ่มเติมด้วยครับ
4 Peter Lynch ชอบหุ้นขนาดกลางและเล็ก โดยเฉพาะที่ยังไม่เข้าเรดาร์ของนักลงทุนสถาบัน เน้นธุรกิจที่เข้าใจง่าย ทำการบ้านเยอะมาก บันทึกการประชุมตลอด สร้างห้องสมุด/ฐานข้อมูลหุ้น Diversify สูง วันที่กองทุนใหญ่สุดในโลกมีหุ้นเกิน 1000 บริษัท ไม่กลัวหุ้น turnaround
5 George Soros เป็น Hedge fund ทำงานหนักมาก อยู่หน้าจอ trade ตลาดเงิน commodity หุ้น bond derivative เรียกได้ว่าทุกอย่างที่ trade ได้ ตั้งแต่ 7 โมงเช้าถึงสามทุ่ม
อยากรู้ว่า 1-5 ท่านลงทุนแบบไหน
ถ้าไม่อยู่ในนี้ เพิ่มเติมลงมาได้ครับ เพราะตลาดไทยไม่เหมือนตลาดต่างประเทศ
ส่วนตัวผม คิดว่าเป็น Contrarian, Deep fundamental ลงทุนใกล้เคียง Peter Lynch มากสุด แต่ว่ายังไม่ใหญ่พอจะ Diversify (มี 5-10 หุ้นเท่านั้น)
1 Ben Graham เน้นหุ้นราคาถูกตามบัญชี 'Value stock' โดยเฉพาะหุ้นที่ซื้อขายต่ำกว่า Net Current Asset
2 Phil Fisher เน้นหุ้นที่มีศักยภาพในการเติบโต 'Growth stock' ต้องประเมินภาวะอุตสาหกรรม เจ้าของ ผู้บริหาร และปัจจัยอื่น ๆ ประกอบ
3 John Templeton เป็น Contrarian Investor นานาชาติ ซื้อหุ้นเกาหลีและญี่ปุ่นในช่วงที่นักลงทุนอื่น ๆ กังวลเรื่องสงครามเกาลี ย้ายกลับไปซื้อหุ้นในอเมริกาช่วงที่หุ้นญี่ปุ่นบูมช่วงปี 1990 ตายไปเกือบสิบปีแล้วแต่กองทุนที่เขาบริหารยังอยู่ถึงทุกวันนี้ หาหนังสืออ่านยากมาก เพิ่งได้หนังสือมา ยังไม่แน่ใจวิธีเลือกหุ้นของ Templeton ใครรู้รายละเอียดช่วยเพิ่มเติมด้วยครับ
4 Peter Lynch ชอบหุ้นขนาดกลางและเล็ก โดยเฉพาะที่ยังไม่เข้าเรดาร์ของนักลงทุนสถาบัน เน้นธุรกิจที่เข้าใจง่าย ทำการบ้านเยอะมาก บันทึกการประชุมตลอด สร้างห้องสมุด/ฐานข้อมูลหุ้น Diversify สูง วันที่กองทุนใหญ่สุดในโลกมีหุ้นเกิน 1000 บริษัท ไม่กลัวหุ้น turnaround
5 George Soros เป็น Hedge fund ทำงานหนักมาก อยู่หน้าจอ trade ตลาดเงิน commodity หุ้น bond derivative เรียกได้ว่าทุกอย่างที่ trade ได้ ตั้งแต่ 7 โมงเช้าถึงสามทุ่ม
อยากรู้ว่า 1-5 ท่านลงทุนแบบไหน
ถ้าไม่อยู่ในนี้ เพิ่มเติมลงมาได้ครับ เพราะตลาดไทยไม่เหมือนตลาดต่างประเทศ
ส่วนตัวผม คิดว่าเป็น Contrarian, Deep fundamental ลงทุนใกล้เคียง Peter Lynch มากสุด แต่ว่ายังไม่ใหญ่พอจะ Diversify (มี 5-10 หุ้นเท่านั้น)
-
- Verified User
- โพสต์: 390
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เพื่อน ๆ thaivi ลงทุนกันแบบไหน
โพสต์ที่ 2
ผมจะใช้หลักการของ ท่าน ฟิลิป ฟิเชอร์ ผสมผสานกับของ ท่าน ปีเตอร์ ลินซ์ ครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 51
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เพื่อน ๆ thaivi ลงทุนกันแบบไหน
โพสต์ที่ 5
ผมไม่ได้ใส่ Warren Buffett เพราะ Buffet เป็นลูกศิษย์ Ben Graham ตอนหนุ่ม ๆ ลงทุนเหมือน Graham ครับ
Buffett เริ่มดู Growth stock มากขึ้นหลังจากที่เจอ Charlie Munger และสุดท้ายเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนเป็นเหมือน Phil Fisher
ถ้าเข้าไปดูประวัติของ Berkshire Hathaway จะเห็นว่าเป็นไปตามนี้เลยครับ อ่านละเอียด ๆ ได้ใน The Snowball เขียนโดย Alice Schroeder
ที่จริงแล้ว ลักษณะเฉพาะตัวของ Buffett เท่าที่ผมทราบมีแค่ 2 ข้อครับ คือ
1 ซื้อเพื่อควบคุมกิจการ ถ้าทำ Tender offer ออกจากตลาดได้ก็จะทำ
2 กิจการถือหุ้นไขว้กัน ซื้อบริษัท A บริษัท A ไปซื้อบริษัท B บริษัท B ไปซื้อบริษัท C และ D และ D ซื้อหุ้น B ฯลฯ กลายเป็นเครือข่ายบริษัทไขว้กัน แต่ปัจจุบันถือหุ้นไขว้กัน ผิดกฎหมายแล้วครับ
ตอนนี้ Berkshire Hathaway เป็น Holding Company เรียกว่าเป็นร่มใหญ่ แต่บริษัทลูกเช่น General Re กับ Coke ถือหุ้นไขว้กันไม่ได้
สองข้อนี้คนที่ไม่ได้เกิดมาเงินกองโตเท่าภูเขาทำไม่ได้หรอกครับ Buffett เองก็รวยแต่เด็กเป็นทุนอยู่แล้ว
Buffett เริ่มดู Growth stock มากขึ้นหลังจากที่เจอ Charlie Munger และสุดท้ายเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนเป็นเหมือน Phil Fisher
ถ้าเข้าไปดูประวัติของ Berkshire Hathaway จะเห็นว่าเป็นไปตามนี้เลยครับ อ่านละเอียด ๆ ได้ใน The Snowball เขียนโดย Alice Schroeder
ที่จริงแล้ว ลักษณะเฉพาะตัวของ Buffett เท่าที่ผมทราบมีแค่ 2 ข้อครับ คือ
1 ซื้อเพื่อควบคุมกิจการ ถ้าทำ Tender offer ออกจากตลาดได้ก็จะทำ
2 กิจการถือหุ้นไขว้กัน ซื้อบริษัท A บริษัท A ไปซื้อบริษัท B บริษัท B ไปซื้อบริษัท C และ D และ D ซื้อหุ้น B ฯลฯ กลายเป็นเครือข่ายบริษัทไขว้กัน แต่ปัจจุบันถือหุ้นไขว้กัน ผิดกฎหมายแล้วครับ
ตอนนี้ Berkshire Hathaway เป็น Holding Company เรียกว่าเป็นร่มใหญ่ แต่บริษัทลูกเช่น General Re กับ Coke ถือหุ้นไขว้กันไม่ได้
สองข้อนี้คนที่ไม่ได้เกิดมาเงินกองโตเท่าภูเขาทำไม่ได้หรอกครับ Buffett เองก็รวยแต่เด็กเป็นทุนอยู่แล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 86
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เพื่อน ๆ thaivi ลงทุนกันแบบไหน
โพสต์ที่ 6
Looking through Peter Krass’ The Book of Investing Wisdom*, I came across a 22 Investment Maxims from Sir John Templeton. For those of you who don’t know, Sir Templeton was a successful international investor and founder of Templeton Funds. As you’ll see from his maxims, Sir Templeton was an active manager (my thoughts in italics).
1. For all long-term investors, theres is only one objective— “maximum total return after taxes.”
2. Achieving a good record takes much study and work, and is a lot harder than most people think. Many people doubt that this is even possible on a consistent basis. I’m on the fence on this one. I see proof that it can be done but realize that most people won’t be able to do it.
3. It is impossible to produce a superior performance unless you do something different from the majority.
4. The time of maximum pessimism is th ebest time to buy, and the time of maximum optimism is the best time to sell. Sounds like something Warren Buffett would say.
5. To put “Maxim 4″ in somewhat different terms, in the stock market the only way to get a bargain is to buy what most investors are selling.
6. To buy when others are despondently selling and to sell wehn others are greedily buying requires the greatest fortitude, even while offering the greatest reward. This is so true.
7. Bear markets have always been temporary. Share prices turn upward from one to twelve months before the bottom of the business cycle. Bull markets are temporary too.
8. If a particular industry or type of security becomes popular with investors, that popularity will always prove temporary and, when lost, won’t return for many years. Interesting. The NASDAQ Composite Index comes to mind.
9. In the long run, the stock market indexes fluctuate around the long-term upward trend of earnings per share.
10. In free-enterprise nations, the earnings on stock market indexes fluctuate around the replacement book value of the share of the index.
11. If you buy the same securities as other people, you will have the same results as other people.
12. The time to buy a stock is when the short-term owners have finished their selling, and the time to sell a stock is often when short-term owners have finished their buying. Not quite sure how you’re supposed to know when this is.
13. Share prices fluctuate much more widely than values. Therefore, index funds will never produce the best total return performance. I always thought that this was true because the goal of the index is to capture the market’s return, minus fees.
14. Too many investors focus on “outlook” and “trends.” Therefore, more profit is made by focusing on value.
15. If you search worldwide, you will find more bargains and better bargains than by studying only one nation. Also, you gain the safety of diversification. Unless of course the nation you are studying is heavily dependent on exports to another country that is in trouble.
16. The fluctuation of share prices is roughly proportional to the square-root of the price.
17. The time to sell an asset is when you have found a much better bargain to replace it.
18. When any method for selecting stocks becomes popular, then switch to unpopular methods. As has been suggested in “Maxim 3,” too many investors can spoil any share-selection method or any market-timing formula.
19. Never adopt permanently any type of asset or any selection method. Try to stay flexible, open-minded and sekptical. Long-term top results are achieved only by changing from popular to unpopular the types of securities you favor and your methods of selection.
20. The skill factor in slection is largest for the common-stock part of your investments.
21. The best performance is produced by a person, not a committee. Interesting that he would say this.
22. If you begin with prayer, you can think more clearly and make fewer stupid mistakes. Sir Templeton was a religious man and started each meeting with a prayer.
- See more at: http://allfinancialmatters.com/2009/07/ ... J3iaS.dpuf
1. For all long-term investors, theres is only one objective— “maximum total return after taxes.”
2. Achieving a good record takes much study and work, and is a lot harder than most people think. Many people doubt that this is even possible on a consistent basis. I’m on the fence on this one. I see proof that it can be done but realize that most people won’t be able to do it.
3. It is impossible to produce a superior performance unless you do something different from the majority.
4. The time of maximum pessimism is th ebest time to buy, and the time of maximum optimism is the best time to sell. Sounds like something Warren Buffett would say.
5. To put “Maxim 4″ in somewhat different terms, in the stock market the only way to get a bargain is to buy what most investors are selling.
6. To buy when others are despondently selling and to sell wehn others are greedily buying requires the greatest fortitude, even while offering the greatest reward. This is so true.
7. Bear markets have always been temporary. Share prices turn upward from one to twelve months before the bottom of the business cycle. Bull markets are temporary too.
8. If a particular industry or type of security becomes popular with investors, that popularity will always prove temporary and, when lost, won’t return for many years. Interesting. The NASDAQ Composite Index comes to mind.
9. In the long run, the stock market indexes fluctuate around the long-term upward trend of earnings per share.
10. In free-enterprise nations, the earnings on stock market indexes fluctuate around the replacement book value of the share of the index.
11. If you buy the same securities as other people, you will have the same results as other people.
12. The time to buy a stock is when the short-term owners have finished their selling, and the time to sell a stock is often when short-term owners have finished their buying. Not quite sure how you’re supposed to know when this is.
13. Share prices fluctuate much more widely than values. Therefore, index funds will never produce the best total return performance. I always thought that this was true because the goal of the index is to capture the market’s return, minus fees.
14. Too many investors focus on “outlook” and “trends.” Therefore, more profit is made by focusing on value.
15. If you search worldwide, you will find more bargains and better bargains than by studying only one nation. Also, you gain the safety of diversification. Unless of course the nation you are studying is heavily dependent on exports to another country that is in trouble.
16. The fluctuation of share prices is roughly proportional to the square-root of the price.
17. The time to sell an asset is when you have found a much better bargain to replace it.
18. When any method for selecting stocks becomes popular, then switch to unpopular methods. As has been suggested in “Maxim 3,” too many investors can spoil any share-selection method or any market-timing formula.
19. Never adopt permanently any type of asset or any selection method. Try to stay flexible, open-minded and sekptical. Long-term top results are achieved only by changing from popular to unpopular the types of securities you favor and your methods of selection.
20. The skill factor in slection is largest for the common-stock part of your investments.
21. The best performance is produced by a person, not a committee. Interesting that he would say this.
22. If you begin with prayer, you can think more clearly and make fewer stupid mistakes. Sir Templeton was a religious man and started each meeting with a prayer.
- See more at: http://allfinancialmatters.com/2009/07/ ... J3iaS.dpuf
everything happen for a reason ^^
"The game of life is the game of everlasting Learning. At least it it if you want to win" Charlie Munger
Website https://www.thinkingped.com
"The game of life is the game of everlasting Learning. At least it it if you want to win" Charlie Munger
Website https://www.thinkingped.com
-
- Verified User
- โพสต์: 12
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เพื่อน ๆ thaivi ลงทุนกันแบบไหน
โพสต์ที่ 7
อยากเป็นVI แต่ท้อครับขาดทุนไปหลายเปอร์เซ็นต์
- Guiman
- Verified User
- โพสต์: 320
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เพื่อน ๆ thaivi ลงทุนกันแบบไหน
โพสต์ที่ 8
สไตล์ผมคงเหมือน nicholas darvas จากหนังสือ how i made 2 millions in stock market
ซื้อหุ้นน้อยตัว ดูกราฟ month อมหุ้นยาวๆ หลายๆเดือน
อยากทำให้เหมือน canslim แต่ยังไม่ได้
ซื้อหุ้นน้อยตัว ดูกราฟ month อมหุ้นยาวๆ หลายๆเดือน
อยากทำให้เหมือน canslim แต่ยังไม่ได้
http://guimanstock.blogspot.com/
บันทึกการลงทุน & รีวิวหนังสือ
บันทึกการลงทุน & รีวิวหนังสือ
- koh
- Verified User
- โพสต์: 273
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เพื่อน ๆ thaivi ลงทุนกันแบบไหน
โพสต์ที่ 10
William J. O'Neil + Peter Lynch
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4641
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เพื่อน ๆ thaivi ลงทุนกันแบบไหน
โพสต์ที่ 11
เล็ก โต ยาว
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 332
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เพื่อน ๆ thaivi ลงทุนกันแบบไหน
โพสต์ที่ 14
ปีเตอร์ ลินซ์
- Unstablemind
- Verified User
- โพสต์: 405
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เพื่อน ๆ thaivi ลงทุนกันแบบไหน
โพสต์ที่ 15
Peter lynch
Its all about getting alpha.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 199
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เพื่อน ๆ thaivi ลงทุนกันแบบไหน
โพสต์ที่ 16
หลักการลงทุนของบัฟเฟตก็มี และไม่จำเป็นต้องมีเงินเป็นภูเขาถึงใช้ได้ หลักการคือหลักการ วิธีใช้ก็ไปประยุกต์เอาWinstein เขียน:ผมไม่ได้ใส่ Warren Buffett เพราะ Buffet เป็นลูกศิษย์ Ben Graham ตอนหนุ่ม ๆ ลงทุนเหมือน Graham ครับ
Buffett เริ่มดู Growth stock มากขึ้นหลังจากที่เจอ Charlie Munger และสุดท้ายเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนเป็นเหมือน Phil Fisher
ถ้าเข้าไปดูประวัติของ Berkshire Hathaway จะเห็นว่าเป็นไปตามนี้เลยครับ อ่านละเอียด ๆ ได้ใน The Snowball เขียนโดย Alice Schroeder
ที่จริงแล้ว ลักษณะเฉพาะตัวของ Buffett เท่าที่ผมทราบมีแค่ 2 ข้อครับ คือ
1 ซื้อเพื่อควบคุมกิจการ ถ้าทำ Tender offer ออกจากตลาดได้ก็จะทำ
2 กิจการถือหุ้นไขว้กัน ซื้อบริษัท A บริษัท A ไปซื้อบริษัท B บริษัท B ไปซื้อบริษัท C และ D และ D ซื้อหุ้น B ฯลฯ กลายเป็นเครือข่ายบริษัทไขว้กัน แต่ปัจจุบันถือหุ้นไขว้กัน ผิดกฎหมายแล้วครับ
ตอนนี้ Berkshire Hathaway เป็น Holding Company เรียกว่าเป็นร่มใหญ่ แต่บริษัทลูกเช่น General Re กับ Coke ถือหุ้นไขว้กันไม่ได้
สองข้อนี้คนที่ไม่ได้เกิดมาเงินกองโตเท่าภูเขาทำไม่ได้หรอกครับ Buffett เองก็รวยแต่เด็กเป็นทุนอยู่แล้ว
บริษัทอยู่ในอุตสาหกรรมที่เติบโต มีความสามารถในการแข่งขัน มีผู้บริหารที่ดีและเก่ง ราคาที่ซื้อมี MOS เพียงพอ
-
- Verified User
- โพสต์: 61
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เพื่อน ๆ thaivi ลงทุนกันแบบไหน
โพสต์ที่ 17
หลักๆ ผมชอบ Peter Lynch, John Neff ครับ
แต่ทำไมวิธีการเลือกหุ้นผมเป็นแบบนี้ก็ไม่รู้ 555
1.ผมชอบที่มี net profit margin เยอะกว่า ปีก่อนๆ (ถ้ายอดขายโตด้วยนี่เยี่ยมเลย)
2.เล่นตามเทรน อุตสาหกรรมไหนที่จะมี story ในอนาคตอันใกล้ผมเอา
3.สังเกตุสิ่งต่างๆ รอบๆตัวครับ อันนี้ได้เยอะเลย
4.ผมจะมีกระดานแปะไว้หัวนอน เขียนชื่อตัวที่สนใจไว้ แล้วจะซื้อในราคาที่ เหมาะสม
5. ถือ จนกว่าจะถึงมูลค่าที่ประเมิณไว้ หรือเป้าหมายที่ตั้ง หรือเจอตัวใหม่ที่น่าสนใจกว่าจริงๆ
แต่ทำไมวิธีการเลือกหุ้นผมเป็นแบบนี้ก็ไม่รู้ 555
1.ผมชอบที่มี net profit margin เยอะกว่า ปีก่อนๆ (ถ้ายอดขายโตด้วยนี่เยี่ยมเลย)
2.เล่นตามเทรน อุตสาหกรรมไหนที่จะมี story ในอนาคตอันใกล้ผมเอา
3.สังเกตุสิ่งต่างๆ รอบๆตัวครับ อันนี้ได้เยอะเลย
4.ผมจะมีกระดานแปะไว้หัวนอน เขียนชื่อตัวที่สนใจไว้ แล้วจะซื้อในราคาที่ เหมาะสม
5. ถือ จนกว่าจะถึงมูลค่าที่ประเมิณไว้ หรือเป้าหมายที่ตั้ง หรือเจอตัวใหม่ที่น่าสนใจกว่าจริงๆ
Imagination is more important than knowledge... Albert Einstein!
-
- Verified User
- โพสต์: 874
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เพื่อน ๆ thaivi ลงทุนกันแบบไหน
โพสต์ที่ 18
แบบอ.ลูกอิสานครับ
หลากแนว รวดเร็ว หรอยแรง
เสียดายยังไม่มีตำราสไตล์ อ.ลูกอิสาน
เลยใช้วิธีเรียนแบบสังเกต ถาม onjob trainingไปก่อน
อ.ท่านอื่นก็น่าจะดีนะฮะ
เพียงแต่ท่านไม่ได้ถ่ายทอด
หรือไม่ก็ยังไม่ได้อยู่ไกลชิด
ตอนนี้เลยได้เรียนรู้สไตล์อ.ลูกอิสานก่อน
ท่านอื่นคงได้มีโอกาสสักวัน
ตอนนี้อยู่ห่างๆอย่างหื่นๆ(ที่จะเรียนรู้)ไปก่อน อิ อิ
หลากแนว รวดเร็ว หรอยแรง
เสียดายยังไม่มีตำราสไตล์ อ.ลูกอิสาน
เลยใช้วิธีเรียนแบบสังเกต ถาม onjob trainingไปก่อน
อ.ท่านอื่นก็น่าจะดีนะฮะ
เพียงแต่ท่านไม่ได้ถ่ายทอด
หรือไม่ก็ยังไม่ได้อยู่ไกลชิด
ตอนนี้เลยได้เรียนรู้สไตล์อ.ลูกอิสานก่อน
ท่านอื่นคงได้มีโอกาสสักวัน
ตอนนี้อยู่ห่างๆอย่างหื่นๆ(ที่จะเรียนรู้)ไปก่อน อิ อิ
samatah
- Unstablemind
- Verified User
- โพสต์: 405
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เพื่อน ๆ thaivi ลงทุนกันแบบไหน
โพสต์ที่ 19
ใครอยากได้แกนแท้ของ Peter lynch แนะนำให้ดูคลิปนี้
http://www.youtube.com/watch?v=P5RroqvVCPc
http://www.youtube.com/watch?v=P5RroqvVCPc
Its all about getting alpha.
-
- Verified User
- โพสต์: 314
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เพื่อน ๆ thaivi ลงทุนกันแบบไหน
โพสต์ที่ 20
ถ้ามีแค่ 5 แบบตาม จขกท. ผม mix สไตล์ 1-4 ครับโดยเลือกเฉพาะแบบที่ (ผม) คิดว่าดีและเข้ากับแนวคิดผม (นั่นหมายความว่าผมก็ต้องสามารถเข้าใจได้อย่าง "ลึกซึ้ง") และพยายามหาแนวคิดใหม่ๆรอบตัวจากปราชญ์เดินดิน เพราะผมเชื่อคล้ายๆทฤษฎีชาวสวนอย่างหนึ่งแม้กระทั่งความรู้ว่า ความรู้/หนังสือ/หลักการที่หลายๆคนตามหาตามอ่านกัน ถ้าเราอ่าน เราก็จะกลายเป็นแค่คนอีกคนที่มีความรู้เหมือนคนอีกล้านๆคนที่นิยมกันอยู่แล้ว ซึ่งก็ไม่ได้สามารถทำให้เราสามารถมองได้ทะลุกว่า ลึกกว่า แตกต่างกว่า โอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าคนอื่นๆ แต่ถ้าเราไม่อ่านเราก็จะกลายเป็นคนหลังเขาและขาดความรู้พื้นฐานที่ไม่ควรมองข้ามไป
เฉกเช่น หุ้นที่ดีแต่คนยังไม่ค้นพบ โอกาสที่เราจะทำกำไรจากหุ้นนั้นมากกว่าเมื่อเราได้เข้าไปศึกษาตอนที่มัน undervalue .. ผมเชื่อว่าความรู้ก็เช่นกัน อย่าไปมองว่าเราจะต้องฟังคนที่ประสบความสำเร็จแล้วเท่านั้น คนที่มีชื่อเสียงเท่านั้น คนที่มีใบประกาศนียบัตรหลายๆใบการันตีแล้วเท่านั้น แต่ความรู้ของปราชญ์เดินดินหลายๆคนที่อยู่รอบๆตัวเรานี่ละ อาจเป็นความรู้ที่ undervalue ที่คนทั่วๆไปยังไม่ค้นพบ ถ้าจินตนาการแบบเพ้อๆ ผมคงอยากได้ฟังนักลงทุนที่มีชื่อเสียงสมัยที่เขายังเด็กที่พูดถึงสิ่งที่เขาจะลงทุนตอนเขามีเงินเพียงไม่กี่หมื่นดอลล่าร์ มากกว่าตอนที่เขามีเป็นพันๆๆล้านดอลล่าร์ เพราะสำหรับ starter อย่างผม ผมอยากเข้าใจ strategy และ "ความรู้สึก" ของคนที่เขามีแต่ตัว, สมองและเงินไม่กี่ดอลล่าร์ในกระเป๋า ว่าเขาทำอย่างไรและกล้าได้อย่างไร มากกว่าการ claim สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต เพราะนักวิเคราะห์หลายๆคนเก่งที่จะวิเคราะห์อดีต แต่อาจมีไม่กี่คนที่กล้าจะทำนายอนาคตและลงทุนแบบกรีดเลือดกรีดเนื้อตามนั้น ส่วนเรื่องที่เราได้ฟังนั้นจะน่าเชื่อถือหรือไม่ ถูกหรือผิด โม้หรือไม่โม้ คงมีแต่เราเท่านั้นละครับที่จะตัดสอนได้
เพ้อเจ้อไปเรื่อยนะครับ อย่าถือสาเลย ไม่ได้กระทบเจาะจงใครทั้งสิ้น สุดท้ายแล้วผมว่าแก่นแท้การลงทุนในหุ้น ก็คือการที่เราไปซื้อต่อกิจการของคนอื่นมาบางส่วนเพื่อที่เราจะมาเป็นเจ้าของกิจการในส่วนนั้นๆ เพราะฉะนั้นถ้าเราลงทุนอย่างมีสติว่า "เรา" คือ "เจ้าของกิจการ" แล้ว "เรา" อยากเป็น "เจ้าของกิจการ" นั้นหรือไม่ ทำไม ตอบตัวเองได้ .. ผมว่าโอกาสล้มเหลวคงมีน้อยมากครับ (ถึงจะไม่ได้ประสบความสำเร็จแบบรวยระเบิดก็ตาม)
"Only those who dare to go too far can find out how far one can go" .. Dr.Bishop from Fringe
เฉกเช่น หุ้นที่ดีแต่คนยังไม่ค้นพบ โอกาสที่เราจะทำกำไรจากหุ้นนั้นมากกว่าเมื่อเราได้เข้าไปศึกษาตอนที่มัน undervalue .. ผมเชื่อว่าความรู้ก็เช่นกัน อย่าไปมองว่าเราจะต้องฟังคนที่ประสบความสำเร็จแล้วเท่านั้น คนที่มีชื่อเสียงเท่านั้น คนที่มีใบประกาศนียบัตรหลายๆใบการันตีแล้วเท่านั้น แต่ความรู้ของปราชญ์เดินดินหลายๆคนที่อยู่รอบๆตัวเรานี่ละ อาจเป็นความรู้ที่ undervalue ที่คนทั่วๆไปยังไม่ค้นพบ ถ้าจินตนาการแบบเพ้อๆ ผมคงอยากได้ฟังนักลงทุนที่มีชื่อเสียงสมัยที่เขายังเด็กที่พูดถึงสิ่งที่เขาจะลงทุนตอนเขามีเงินเพียงไม่กี่หมื่นดอลล่าร์ มากกว่าตอนที่เขามีเป็นพันๆๆล้านดอลล่าร์ เพราะสำหรับ starter อย่างผม ผมอยากเข้าใจ strategy และ "ความรู้สึก" ของคนที่เขามีแต่ตัว, สมองและเงินไม่กี่ดอลล่าร์ในกระเป๋า ว่าเขาทำอย่างไรและกล้าได้อย่างไร มากกว่าการ claim สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต เพราะนักวิเคราะห์หลายๆคนเก่งที่จะวิเคราะห์อดีต แต่อาจมีไม่กี่คนที่กล้าจะทำนายอนาคตและลงทุนแบบกรีดเลือดกรีดเนื้อตามนั้น ส่วนเรื่องที่เราได้ฟังนั้นจะน่าเชื่อถือหรือไม่ ถูกหรือผิด โม้หรือไม่โม้ คงมีแต่เราเท่านั้นละครับที่จะตัดสอนได้
เพ้อเจ้อไปเรื่อยนะครับ อย่าถือสาเลย ไม่ได้กระทบเจาะจงใครทั้งสิ้น สุดท้ายแล้วผมว่าแก่นแท้การลงทุนในหุ้น ก็คือการที่เราไปซื้อต่อกิจการของคนอื่นมาบางส่วนเพื่อที่เราจะมาเป็นเจ้าของกิจการในส่วนนั้นๆ เพราะฉะนั้นถ้าเราลงทุนอย่างมีสติว่า "เรา" คือ "เจ้าของกิจการ" แล้ว "เรา" อยากเป็น "เจ้าของกิจการ" นั้นหรือไม่ ทำไม ตอบตัวเองได้ .. ผมว่าโอกาสล้มเหลวคงมีน้อยมากครับ (ถึงจะไม่ได้ประสบความสำเร็จแบบรวยระเบิดก็ตาม)
"Only those who dare to go too far can find out how far one can go" .. Dr.Bishop from Fringe
Invincible MOS is knowing what you're doing
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 51
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เพื่อน ๆ thaivi ลงทุนกันแบบไหน
โพสต์ที่ 21
ขอบคุณ Unstable mind สำหรับ link ของ Peter Lynch ครับ ใจความใกล้เคียงกับหนังสือสองเล่มมาก (Beating the street, One up on Wallstreet) ดูแล้วรู้สึกได้ทบทวน เล่มแรกทำให้ผมกล้าซื้อหุ้นกลุ่ม Leasing กับ ธนาคาร
ผมเปิดหนังสือทบทวนเกี่ยวกับ John Neff สังเกตได้ว่า Peter Lynch กับ John Neff ลงทุนคล้ายกันมาก ต่างกันที่ John Neff ดูจะเน้น p/e ต่ำ (value stock) มากกว่า รู้สึกว่าประสบการณ์สองคนนี้สอนสิ่งเดียวกัน แต่มองคนละด้าน
แล้วก็คุณ Pedbombam ข่วยแนะนำหนังสือของ Peter Krass เห็นใน amazon แล้วอยากได้มาก ขอตั้งกระทู้ใหม่เรื่องหนังสือ
ที่จริงแล้ว กระทู้นี้ผมตั้งหัวข้อพลาดไปนิดนึงครับ น่าจะตั้งว่า 'การเลือกหุ้น' มากกว่า เพราะเนื้อหาเน้นการเลือกหุ้นจริง ๆ ที่จริงการลงทุนมีส่วนอื่น ๆ อีกหลายอย่าง
ข้อแตกต่างของนักลงทุนระดับตำนานแต่ละคนอีกอย่างที่ชัดก็คือ Buffett เป็นคนเดียวที่สามารถถือเงินสดเยอะ (>20%) ในวันที่ไม่มีอะไรจะซื้อ คนอื่น ๆ ถือเงินสดน้อย (เพราะถูกบังคับตามกฎของผู้จัดการกองทุน) ส่วน George Soros ใช้ Leverage เยอะครับ [ถ้ามี NAV = 100 เงินสดเหลือ 10 โซรอสอาจจะเทรดวันละ 50 โดยเป็นเงินกู้ระยะสั้นทั้งหมด อันนี้ผมเดานะครับ ตัวเลขอาจไม่ใกล้ความจริง เพราะไม่ได้ติดตามกลยุทธของ Soros] ผมคิดว่าการถือเงินสดในวันที่ถูกต้อง และกล้าตัดสินใจซื้อธุรกิจที่ถูกต้อง (ถึงจะราคาแพง) ทำให้ Buffett ประสบความสำเร็จสูงกว่าคนอื่น [เรื่องเงินสดนี่ยกเว้น Ben Graham ด้วย ไม่มีใครรู้ เขาไม่ได้เขียนไว้ใน Intelligent Investor]
ผมเปิดหนังสือทบทวนเกี่ยวกับ John Neff สังเกตได้ว่า Peter Lynch กับ John Neff ลงทุนคล้ายกันมาก ต่างกันที่ John Neff ดูจะเน้น p/e ต่ำ (value stock) มากกว่า รู้สึกว่าประสบการณ์สองคนนี้สอนสิ่งเดียวกัน แต่มองคนละด้าน
แล้วก็คุณ Pedbombam ข่วยแนะนำหนังสือของ Peter Krass เห็นใน amazon แล้วอยากได้มาก ขอตั้งกระทู้ใหม่เรื่องหนังสือ
ที่จริงแล้ว กระทู้นี้ผมตั้งหัวข้อพลาดไปนิดนึงครับ น่าจะตั้งว่า 'การเลือกหุ้น' มากกว่า เพราะเนื้อหาเน้นการเลือกหุ้นจริง ๆ ที่จริงการลงทุนมีส่วนอื่น ๆ อีกหลายอย่าง
ข้อแตกต่างของนักลงทุนระดับตำนานแต่ละคนอีกอย่างที่ชัดก็คือ Buffett เป็นคนเดียวที่สามารถถือเงินสดเยอะ (>20%) ในวันที่ไม่มีอะไรจะซื้อ คนอื่น ๆ ถือเงินสดน้อย (เพราะถูกบังคับตามกฎของผู้จัดการกองทุน) ส่วน George Soros ใช้ Leverage เยอะครับ [ถ้ามี NAV = 100 เงินสดเหลือ 10 โซรอสอาจจะเทรดวันละ 50 โดยเป็นเงินกู้ระยะสั้นทั้งหมด อันนี้ผมเดานะครับ ตัวเลขอาจไม่ใกล้ความจริง เพราะไม่ได้ติดตามกลยุทธของ Soros] ผมคิดว่าการถือเงินสดในวันที่ถูกต้อง และกล้าตัดสินใจซื้อธุรกิจที่ถูกต้อง (ถึงจะราคาแพง) ทำให้ Buffett ประสบความสำเร็จสูงกว่าคนอื่น [เรื่องเงินสดนี่ยกเว้น Ben Graham ด้วย ไม่มีใครรู้ เขาไม่ได้เขียนไว้ใน Intelligent Investor]