รวม "พม่า"

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 61

โพสต์

เมียนมาร์ลุยปฏิรูปการสื่อสาร กรุยทางสู่ AEC

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ 2013 เวลา 20:53 น. ■

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของเมียนมาร์ได้เชิญชวนนักลงทุนต่างชาติยื่นประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม และปิดรับเอกสารแสดงความสนใจไปเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556 คาดว่าจะสามารถเริ่มประมูลได้ภายในกลางปี ทั้งนี้ ทางการพม่าได้วางแผนที่จะแปรรูปกิจการให้แก่ผู้ให้บริการเอกชน 4 ราย แบ่งเป็นนักลงทุนภายในประเทศ 2 ราย และต่างประเทศ 2 ราย มีเงื่อนไขว่าต้องให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 80% ภายใน 3 ปี อายุสัญญา 20 ปี

http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=621
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 62

โพสต์

ขุมทองมัณฑะเลย์ แห่งเมียนมาร์
พุธที่ 27 กุมภาพันธ์ 2013 เวลา 00:14 น. ■ THAN AEC AEC - AEC news

เมียนมาร์ ดึงต่างชาติ ชวนท้องถิ่น ลงทุนโรงแรมรวม 292 แห่ง รับท่องเที่ยวบูม เตรียมพื้นที่กว่าหมื่นไร่ สร้างเขตอุตสาหกรรมและย่านธุรกิจใหม่ ตั้งเป้าดูดเม็ดเงินเข้าประเทศ 16,740 ล้านบาท

สื่อท้องถิ่นของเมียนมาร์ระบุว่า ขณะนี้ทางรัฐบาลเมียนมาร์ได้จัดสรรพื้นที่ในโซนทาดาอู (Tada-U) ใกล้กับเขตมัณฑะเลย์ (Mandalay) ให้นักลงทุนต่างชาติสร้างโรงแรม 100 แห่ง และนักลงทุนในประเทศ 192 แห่ง โดยต้องการให้เป็นโซนการท่องเที่ยวแห่งใหม่ของประเทศ

การสร้างโรงแรมจะอยู่บนพื้นที่เปล่าที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ทั้งหมด ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของเขตธุรกิจและอุตสาหกรรมที่สร้างขึ้นใหม่ โดยนักลงทุนต่างชาติจะได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐให้สร้างโรงงานเพื่อเป็นการรองรับแรงงานของเมียนมาร์ ซึ่งจะทำให้นักธุรกิจต่างชาติเดินทางเข้ามาจำนวนมากและต้องการโรงแรมเพื่อการพักอาศัย

นอกจากนี้เขตมัณฑะเลย์เป็นประตูสู่นครพุกาม (Bagan) ซึ่งเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงด้านมรดกทางวัฒนธรรมและโบราณสถานที่มีชื่อ เช่น วัดและเจดีย์เป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังสหพันธ์การท่องเที่ยวแห่งเมียนมาร์แถลงว่า พื้นที่จัดสรรในการสร้างโรงแรมสำหรับนักลงทุนต่างชาติจะครอบคลุม 236.5 เฮกเตอร์ (2.365 ตารางกิโลเมตร) และ 410 เฮกเตอร์ (4.1 ตารางกิโลเมตร) สำหรับนักลงทุนท้องถิ่น

ทั้งนี้โซนการท่องเที่ยวทาดาอูแห่งใหม่ จะครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 2,221 เฮกเตอร์ หรือประมาณ 1 หมื่นไร่เศษ) โดยคาดหวังว่าจะสามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนเข้ามาได้ถึง 560 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 16,740 ล้านบาท)

"การพัฒนาโซนโรงแรม จะอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัทเมียนมาร์ ทัวริสซึ่ม เดเวลลอปเมนท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของสหพันธ์" เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลเมียนมาร์กล่าว

นอกจากนี้ยังได้มีการวางแผนที่จะสร้างช็อปปิ้งมอลล์บนพื้นที่ 24.6 เฮกเตอร์ พร้อมกับจัดสรรพื้นที่ขนาด 13 เฮกเตอร์ เพื่อสร้างธนาคารและสำนักงานที่ให้บริการด้านการเงินต่างๆ อีกด้วย

โครงสร้างด้านสาธารณูปโภคอื่นๆ เช่น สถานีรถไฟและรถโดยสารประจำทาง ท่าเรือ สนามกอล์ฟ โรงเรียนสำหรับช่วงพักร้อน ตลาดกลางคืน หมู่บ้านงานฝีมือท้องถิ่น โซนสันทนาการ และโรงงานกำจัดของเสีย ก็รวมอยู่ในโครงการครั้งนี้ด้วย

การส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลเมียนมาร์ เนื่องจากขณะนี้เมียนมาร์กลายมาเป็นขุมทองของนักธุรกิจต่างชาติไม่ว่าจะเป็นในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ การขนส่ง การธนาคาร การท่องเที่ยว แต่ประเทศยัง ขาดแคลนโรงแรมเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจอย่างมากโดยราคาห้องพักในกรุงย่างกุ้ง ขณะนี้มีราคาสูงกว่าปกติถึง 3 เท่า เนื่องจากจำนวนห้องพักที่ยังมีไม่มากพอ

ขณะนี้ประเทศที่ลงทุนอุตสาหกรรมโรงแรมในเมียนมาร์ใหญ่สุดคือสิงคโปร์ด้วยเม็ดเงินจำนวนทั้งหมด 597 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามติดมาด้วยไทย ญี่ปุ่น ฮ่องกง มาเลเซีย และสหราชอาณาจักร โรงแรมจากประเทศไทยได้เข้าลงทุนในเมียนมาร์แล้วคิดเป็นเม็ดเงินจำนวน 263.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (8.3 พันล้านบาท) เพื่อสร้างที่พักจำนวน 1,896 ห้อง ภายใต้ 11 แบรนด์ ประกอบด้วย อันดามันคลับ กันดอจี พาเลสนิกโก้ (ชาเทรียม) มัณฑะเลย์ฮิลล์ แอนด์ เพิร์ล ลากูน่า

ปัจจุบันเมียนมาร์มี 6 สายการบิน ซึ่งเชื่อมโยงจากกรุงย่างกุ้งไปยัง กรุงเนย์ปิตอว์ เมืองบากัน และเขตมัณฑะเลย์และบริษัททัวร์ที่ได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้องจำนวน 759 บริษัท โดยเป็นบริษัทที่มีเจ้าของเป็นต่างชาติทั้งหมดจำนวน 1 บริษัท เป็นบริษัทต่างชาติร่วมกับท้องถิ่นจำนวน 15 บริษัท และเป็นบริษัทท้องถิ่นจำนวน 743 บริษัท

ในรายงานยังระบุว่า นายโซ ตินต์(Soe Tint) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงโยธาธิการ ได้กล่าวถึงเรื่องที่ทางรัฐบาลเมียนมาร์มีความยินดีให้นักลง ทุนต่างชาติเข้ามาร่วมในการสร้างบ้านราคาถูก ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลได้เริ่มไว้ประกอบด้วยโครงการบ้านราคาถูก“อิระ วุน” (Ayeyar Wun) และ “ยาดานา” (Yadana) โดยทั้งสองโครงการนี้เปิดรับทั้งนักลงทุนท้องถิ่นและต่างชาติที่สนใจ

http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=621
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 63

โพสต์

ซีพีเอส จับมือรัฐบาลเมียนมาร์ รุกธุรกิจนำร่อง หนุนปลูกยางพารา –ปาล์ม 500 ไร่

ปิดแผน"ซีพีเอส"รุกธุรกิจนำร่อง จับมือรัฐบาลเมียนมาร์ หนุนปลูกยางพารา –ปาล์ม 500 ไร่ ควบคู่หาลู่ทางในประเทศ พร้อมกางแผนธุรกิจ 10 ปีของกลุ่มเตรียมตั้งโรงสกัดน้ำมันปาล์ม โรงงานยางแท่ง 28 จุด ครอบคลุมอีสาน/เหนือตอนล่าง หวังอำนวยความสะดวกแก่เกษตรกร โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง

นายจิระศักดิ์ เสงี่ยมกิตติกุล ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพีเอส เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ในปีนี้ทางซีพีเอส ร่วมกับรัฐบาลเมียนมาร์ จะส่งเสริมปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน จำนวนพื้นที่ 500 ไร่ โดยแบ่งเป็นยางพารา 300 ไร่ และ ปาล์มน้ำมัน 200 ไร่ พร้อมระบบสปริงเกอร์ ทั้งนี้ในการคัดเลือกพันธุ์กล้ายาง และปาล์มชนิดใดไปปลูกจะได้ส่งทีมงานไปศึกษาคุณภาพของดินก่อนว่าจะใช้พันธุ์ใดจึงจะเหมาะสม และจะให้องค์ความรู้ต่างๆ เพื่อให้ชาวเมียนมาร์บริหารจัดการได้

"เป็นลักษณะการลงทุนแบบให้เปล่า แต่จะควบคู่กับการดูลู่ทางธุรกิจในประเทศไปด้วย แต่ยังไม่คิดที่จะไปตั้งสำนักงาน อาจจะต้องใช้พื้นที่ว่างของสำนักงานสาขาที่เป็นธุรกิจในเครือข้าวโพดไปพลางก่อน เพราะมองว่าเป็นประเทศที่น่าสนใจลงทุน และคาดว่าจะปลูกได้ดี เพราะภูมิประเทศใกล้เคียงกับไทย และบางพื้นที่อาจจะอุดมสมบูรณ์กว่าในเมืองไทยด้วยซ้ำไป"

นายจิระศักดิ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ทางซีพีเอสยังมีแผนระยะยาว 10 ปี ทั้งแผนธุรกิจยางพารา ปาล์มน้ำมัน และเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยการจะลงทุนโรงงานเพื่อรองรับธุรกิจต้นน้ำ โดยในส่วนของยางพารา ได้เตรียมวางแผนลงทุน 10 ปี สร้างโรงงานยางแท่ง 28 จุด เน้นจังหวัดที่อยู่ในบริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งในปีนี้จะเริ่มตั้งโรงงานที่จังหวัดเลย มีกำลังการผลิต 5-10 ตันต่อวัน

ปัจจุบันทางกลุ่มมีพื้นที่ปลูกเองกว่า 2 พันไร่ที่จังหวัดกำแพงเพชร และได้รวมพื้นที่ของเกษตรกรที่เป็นคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่งรวมกว่า 7 หมื่นไร่ ซึ่งมีแผนจะตั้งโรงงานผลิตยางแท่งขึ้นมารองรับ 1 แห่ง อนาคตจะขยายพื้นที่ปลูกต่อเนื่อง เพราะเป็นสินค้าที่มีอนาคต มีการบริโภคสูง โดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ และสาเหตุที่ตั้งโรงงานยางแท่งครอบคลุม เพื่ออำนวยความสะดวกให้เกษตรกรโดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง และที่สำคัญยังเป็นการช่วยลดค่าโลจิสติกซ์ของบริษัทได้อีกด้วย

ส่วนธุรกิจปาล์มน้ำมันก็เช่นเดียวกับยางพารา ที่ในอนาคตจะต้องมีโรงสกัดน้ำมันปาล์ม และจะต้องทำให้ครอบคลุมครบวงจร ไม่ใช่เพียงแต่สนับสนุนอุตสาหกรรมต้นน้ำเพียงอย่างเดียว ปัจจุบันได้มีการทำคอนแทร็กต์กับเกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมันแล้วเกือบ 4 หมื่นไร่ในภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งแผนงานในช่วง 2-3 ปีนี้จะได้เห็นโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มอย่างแน่นอน ส่วนทำเลนั้นยังไม่ขอเปิดเผยว่าจะตั้งอยู่ที่จังหวัดใด

ด้านธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าว นายวิชัย พูนพิริยะทรัพย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธุรกิจข้าวครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า ในปีนี้ธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวตั้งเป้ายอดขาย 1 หมื่นตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มียอดขาย 4 พันตัน โดยแบ่งกำลังการผลิต เป็นโรงงานผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท 7 พันตัน และส่วนที่เหลือผลิตที่โรงงานผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวกำแพงเพชร

"ล่าสุดเราได้การบ้านจากชาวนา ที่อยากให้ซีพีทำเมล็ดพันธุ์อายุสั้น ผลผลิตดี กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษา เพื่อวางแผนผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวขาว 5% ที่เป็นสายพันธุ์แท้ เพราะมองว่าตลาดกำลังไปได้ดี เพราะดูจากความต้องการของชาวนา จะเห็นว่า ข้าวเมล็ดสายพันธุ์แท้ซีพี 111 จะมียอดขายดีกว่าพันธุ์ลูกผสม ซีพี 304 "

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,823 วันที่ 3 - 6 มีนาคม พ.ศ. 2556
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=423
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 64

โพสต์

พม่าจะเริ่มสร้างสนามบินนานาชาติแห่งใหม่เดือน ก.ค. นี้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 มีนาคม 2556 14:50 น.


สนามบินนานาชาตินครย่างกุ้งอาจไม่สามารถรองรับผู้โดยสารได้เพียงพอกับความต้องการหลังนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจหลั่งไหลเดินทางมาเยือนพม่ามากขึ้น กรมการบินพลเรือนพม่าระบุว่า สนามบินนานาชาติหงสาวดีที่จะมีขนาดใหญ่เป็น 9 เท่า ของสนามบินปัจจุบัน จะเริ่มลงมือก่อสร้างในเดือนก.ค. นี้ และคาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 3 ปีข้างหน้า . --(ภาพ : wikipedia.org).

ซินหัว - พม่าจะเริ่มสร้างสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ คือ สนามบินนานาชาติหงสาวดี ในเดือน ก.ค. นี้ สื่อท้องถิ่นของพม่ารายงาน

สนามบินนานาชาติแห่งใหม่นี้คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปีจึงจะแล้วเสร็จ โดยสนามบินตั้งอยู่ในเขตพะโค ครอบคลุมพื้นที่กว่า 22,781 ไร่ หนังสือพิมพ์นิวส์วีค รายงาน

รายงานของกรมการบินพลเรือน (DCA) ระบุว่า มี 7 บริษัทที่ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้นในแง่ของความแข็งแกร่งทางการเงิน ประสบการณ์การก่อสร้าง บุคลากรมีทักษะ และทรัพยากรเครื่องมือในการก่อสร้าง เพื่อเข้าร่วมประมูลโครงการก่อสร้างสนามบินนานาชาติหงสาวดี บริษัทที่ผ่านเกณฑ์เหล่านี้จะต้องเสนอราคาอย่างเป็นทางการเพื่อประมูลโครงการที่จะดำเนินการผ่านความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน การร่วมทุน หรือในระบบ BOT (ก่อสร้าง-ดำเนินการ-โอน) โดยต้องสอดคล้องกับกฎหมายลงทุนต่างชาติของพม่า

สนามบินแห่งใหม่นี้ถูกออกแบบให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 10 ล้านคนต่อปี และสนามบินนานาชาติหงสาวดี จะเป็นสนามบินนานาชาติแห่งที่ 4 ในพม่า ถัดจาก ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ และเนปีดอ

พม่ายังมีแผนที่จะแปรรูปรัฐวิสาหกิจสนามบินภายในประเทศทุกแห่งเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการบินพลเรือน ปัจจุบัน พม่ามีสนามบินให้บริการในประเทศทั้งหมด 29 แห่ง.
http://manager.co.th/IndoChina/ViewNews ... 0000027893
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 65

โพสต์

อียูให้สัญญาช่วยพม่าเรื่องเศรษฐกิจ-ชนกลุ่มน้อย
วันที่ 6 มีนาคม 2556 11:57 โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

เต็ง เส่ง ประสบความสำเร็จในการเยือนสหภาพยุโรปเป็นครั้งแรกในฐานะประธานาธิบดีพม่า หลังผู้นำอียูให้คำมั่นช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ

ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ของพม่า ประสบความสำเร็จในการเยือนยุโรปครั้งประวัติศาสตร์เป็นเวลา 10 วัน และมีโอกาสเข้าพบนายโฮเซ่ มานูเอล บาร์รอสโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป นาย เฮอร์มาน ฟาน รอมปุย ประธานอียู และนางแคเธอรีน แอชตัน หัวหน้าฝ่ายนโยบายต่างประเทศของอียู

นายฟาน รอมปุย เผยว่า สหภาพยุโรปเป็นพันธมิตรในระยะยาวที่เต็มไปด้วยความมุ่งมั่นที่จะให้การช่วยเหลือพม่าอย่างเต็มที่ หลังพม่ามีการปฎิรูปในประเทศอย่างชัดเจน ขณะที่นายบาร์รอสโซ่ กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอียูและพม่ากำลังคืบหน้าไปในทางที่ดี มีการเจรจา ช่วยเหลือ ทำการค้า และการลงทุนมากขึ้น

สหภาพยุโรป เปิดเผยว่า ตอนนี้ทางสหภาพพร้อมที่จะพิจารณาความเป็นไปได้ในการทำข้อตกลงการลงทุนทวิภาคี โดยนางแอชตัน จะเยือนพม่าปลายปีนี้เพื่อพิจารณาให้การช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่พม่าต่อไป ก่อนหน้านี้ สหภาพยุโรปเพิ่มการช่วยเหลือพม่าขึ้นกว่า 2 เท่าในปี 2555-2556 เป็นประมาณ 150 ล้านยูโร

นอกจากนี้ สหภาพยุโรปยังได้เสนอให้กลับไปใช้ข้อตกลงเกี่ยวกับการให้สิทธิพิเศษทางภาษีแก่รัฐบาลพม่าอีกด้วย
อย่างไรก็ดี ผู้นำพม่าได้เรียกร้องให้สหภาพยุโรปยกเลิกการคว่ำบาตรพม่าทั้งหมดในทันที โดยระบุว่า พม่าเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก โดยปธน.เต็ง เส่ง กล่าวหลังประชุมร่วมกับนาย มาร์ติน ชูลซ์ ประธานรัฐสภายุโรป ว่า แม้พม่าออกกฎหมายการลงทุนของต่างชาติฉบับใหม่เพื่อดึงดูดให้บริษัทต่างชาติเข้าไปลงทุนในทรัพยากรแร่ที่มีอยู่อย่างมหาศาล แต่อุปสรรคใหญ่ คือ มาตรการคว่ำบาตร

ทั้งนี้ เมื่อเดือนเม.ย. ปีที่แล้ว อียูได้ระงับมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจแก่พม่าในเกือบทุกด้าน ยกเว้นมาตรการคว่ำบาตรทางอาวุธยุทโธปกรณ์ เป็นการชั่วคราวนาน 1 ปี เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้ประเมินสถานการณ์การปฏิรูประบอบประชาธิปไตยในพม่าอีกครั้ง ก่อนที่จะมีการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรในระยะยาว หรือเป็นการถาวรต่อไป
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%A2.html
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 66

โพสต์

ได้เอกสารนี้มาหลายอาทิตย์แล้ว แต่เพิ่งมีเวลาเอามาลงตอนนี้

koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 67

โพสต์

ภาคผลิต หอบแสนล. จ่อลงทุนใหม่'พม่า'
วันพุธที่ 06 มีนาคม 2013 เวลา 10:10 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 - คอลัมน์ : ข่าวหน้า1

16 กลุ่มทุนใหญ่ แห่ยึดเมียนมาร์เป็นฐานผลิต และฐานตลาดแห่งใหม่ เผยเม็ดเงินลงทุนใหม่กว่า 1.1 แสนล้านบาท ปูพรมอุตสาหกรรมพื้นฐานทั้งปูนซีเมนต์ น้ำมันครบวงจร โรงไฟฟ้า นิคมอุตสาหกรรม วัสดุก่อสร้าง โรงบำบัดน้ำเสีย น้ำประปา การ์เมนต์ โรงงานน้ำตาล ยันห้าง-โรงเบียร์ขณะพบหลากหลายปัญหาอุปสรรคสกัดดาวรุ่ง ทั้งกฎหมายยังไม่เอื้ออำนวย ค่าเช่าที่ดินแพงเว่อร์

จากที่รัฐบาลสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ หรือพม่าเดิมได้นำพาประเทศสู่ความเป็นประชาธิปไตย และเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ส่งผลให้ถนนการค้า-การลงทุนทุกสายจากทุกภูมิภาคทั่วโลกได้หลั่งไหล เข้าไปศึกษา รวมถึงส่วนหนึ่งได้ตัดสินใจที่จะลงหลักปักฐานในการใช้เมียนมาร์เป็นฐานการผลิต และฐานการตลาดแห่งใหม่เป็นจำนวนมาก ไม่เว้นแม้แต่ภาคธุรกิจของไทยที่ขณะนี้ได้ปรากฏความชัดเจนของรูปธรรมการลงทุนมากขึ้นตามลำดับ

-16 กลุ่มทุนแห่ปักฐาน
นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการสภาธุรกิจไทย-เมียนมาร์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้มีธุรกิจภาคเอกชนของไทยทั้งรายใหญ่ และระดับกลางได้ให้ความสนใจเข้าไปลงทุนในเมียนมาร์เป็นจำนวนมาก ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลล่าสุดของสภาธุรกิจฯ พบว่ามีกลุ่มบริษัทที่มีการเปิดเผยตัวเลขเม็ดเงินการลงทุนที่เป็นรูปธรรมแล้ว และยังไม่ทราบเม็ดเงินการลงทุนรวม 16 กลุ่มบริษัท เบื้องต้นมีมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 1.18 แสนล้านบาท (ไม่รวมโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษและท่าเรือน้ำลึกทวาย)
สำหรับ 16 กลุ่มบริษัทประกอบด้วย 1...............................................
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=417
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 68

โพสต์

+++ เมียนมาร์จะสร้างศูนย์สินค้าโภคภัณฑ์นานาชาติ
วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม 2013 เวลา 20:18 น.
เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รัฐบาลเมียนมาร์อนุมัติสร้าง "ศูนย์กลางการค้าและแลกเปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์" แห่งใหม่ใกล้กับสำนักงาน Republic of the Union of Myanmar Federation of Chambers of Commerce and Industry (UMFCCI) เป็นความร่วมมือกันระหว่าง UMFCCI กับองค์กรพันธมิตร และตัวแทนขายส่งต่างๆ โดยในปัจจุบันเมียนมาร์มีศูนย์กลางแลกเปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งหมด 44 แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ มีศูนย์ใหญ่ที่สุดคือ "ศูนย์บุเรงนอง" (Bayintnaung center)
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=621

+++คาร์ลสเบิร์ก เข้าเมียนมาร์
วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม 2013 เวลา 20:21 น.
คาร์ลสเบิร์กประกาศร่วมลงทุนกับบริษัทเมียนมาร์ โกลเด้น สตาร์ เปิดโรงงานผลิตเบียร์ภายใต้ชื่อ “เมียนมาร์คาร์ลสเบิร์ก” ในเมืองพะโค (หงสาวดี) มีกำลังการผลิตขนาด 100 ล้านลิตรต่อปี คาดว่าจะสามารถสร้างเสร็จภายในเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคม 2557 โดยการร่วมทุนครั้งนี้คาร์ลสเบิร์กถือสัดส่วนร้อยละ 51 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ปริมาณการบริโภคเบียร์ต่อหัวของเมียนมาร์อยู่ที่ 4 ลิตร และมีโอกาสเติบโตเพิ่มขึ้น 6-7 % ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยอัตราการบริโภคเบียร์ทั้งหมดในพม่าอยู่ที่ 350 ล้านลิตรต่อปี
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=621

+++ต่างชาติรุมตอมภาคเกษตรเมียนมาร์
วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม 2013 เวลา 20:23 น
บริษัทมิตซุย แอนด์ โค จำกัด จากญี่ปุ่น และบริษัทวิน่า แคปปิตอล จากเวียดนามได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) กับทาง Myanmar Agribusiness Public Corporation Limited (MAPCO) เพื่อร่วมลงทุนโรงงานแปรรูปอาหารและพลังงานขนาดใหญ่ในเมืองย่างกุ้ง อิรวดี พะโค (หงสาวดี) และเนย์ปิตอว์ ส่วนทางด้านบริษัทแดวู จากเกาหลีใต้วางแผนจะเข้าลงทุนภายในปี 2556 นี้
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=621
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 69

โพสต์

พม่าสั่งเลิกแบนสินค้าจากไทย 166 รายการ คาดค้าชายแดนอนาคตทะลุแสนล้าน
26 มีนาคม 2556 เวลา 12:13 น. |

นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ ผวจ.ตาก เปิดเผยว่า เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า แจ้งว่า รัฐบาลพม่าเห็นชอบเปิดด่านเมียวดี ตรงข้ามด่านแม่สอด จ.ตาก เป็นด่านพรมแดนถาวร ทำให้ผู้ได้วีซ่าเดินทางเข้าประเทศพม่าได้ ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.เป็นต้นไป จากเดิมจะต้องขอวีซ่าและเดินทางเข้าพม่าที่กรุงย่างกุ้งเท่านั้น การเปิดด่านพรมแดนเมียวดีจะส่งผลดีต่อการท่องเที่ยว โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการไปนมัสการพระธาตุอินทร์แขวน

นอกจากนี้ ขณะนี้พม่าได้ประกาศยกเลิกคำสั่งไม่ให้นำเข้าสินค้าจากไทย 166 รายการ และสินค้าส่งออก 152 รายการ รวมสินค้าทั้งนำเข้าและส่งออกที่พม่ายกเลิกคำสั่งห้าม 318 รายการ เพื่อให้การค้าชายแดนเป็นไปอย่างเสรีมากขึ้น และเป็นการเตรียมรองรับการเป็นประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ในปี 2558

ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวคณะผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีชายแดนติดต่อกับพม่า 10 จังหวัด รับทราบภายหลังการเข้าพบและร่วมประชุมกับเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงย่างกุ้ง เพื่อติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยและพม่า

สำหรับการค้าชายแดนด่านแม่สอดเมียวดี เมื่อปี 2555 มีมูลค่าเกือบ 4 หมื่นล้านบาท และคาดว่าการยกเลิกคำสั่งห้ามดังกล่าว จะทำให้มูลค่าการค้าชายแดนปี 2556 ทะลุนับแสนล้านบาท เพราะพม่ามีความต้องการสินค้าจากไทยสูงมาก

นอกจากนี้ รัฐบาลจะนำส่วนหนึ่งของเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท มาพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด เพื่อให้เกิด “นครแม่สอด” เป็นประตูเปิดเข้าสู่เออีซี โดยจะเชื่อมต่อกับอินเดียที่กำลังสร้างทางจากมณีปุระ รัฐอัสสัม มายังชายแดนพม่าด้านแม่สอด ระยะทางกว่า 300 กม. ทำให้มีเส้นทางเชื่อมแม่สอดกอกาเรกผันอัน เข้าพม่า เชื่อมไปอินเดียได้
http://www.posttoday.com/%E0%B8%98%E0%B ... 7%E0%B8%A2
koschy
Verified User
โพสต์: 426
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวม "พม่า"

โพสต์ที่ 70

โพสต์

พม่าส่งออกข้าวให้ญี่ปุ่นอีกครั้งในรอบ 45 ปี
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 มีนาคม 2556 12:56 น.

นายเต็งหล่าย (Thein Hlaing) ชาวนาวัย 62 ปี กับนาข้าวของเขาในเขตรอบนอกของกรุงย่างกุ้ง ในภาพวันที่ 24 ต.ค.2554 ไม่กี่ปีมานี้พม่าผลิตข้าวได้มากขึ้นจนเหลือบริโภคภายในและกลายมาเป็นประเทศส่งออกอีกครั้งหนึ่ง ตามตัวเลขอย่างเป็นทางการ ปีที่แล้วเป็นปีแรกที่พม่าขายข้าวได้ทะลุ 1 ล้านตัน แต่หากย้อนกลับไปเมื่อกว่า 40 ก่อนที่บ้านเมืองสงบ ประเทศนี้เคยเป็นผู้ส่งออกข้าวเบอร์ 1 ของโลก.

ไฟแนนเชียลไทม์ส - พม่าจะกลับมาส่งออกข้าวให้แก่ญี่ปุ่นอีกครั้งหลังระงับไปนาน 45 ปี ที่จะกลายเป็นเครื่องหมายสำคัญในความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างพม่าและญี่ปุ่น

มิตซุย บริษัทการค้าที่เป็นผู้ควบคุมการจัดส่งข้าวครั้งแรกระหว่าง 2 ประเทศนับตั้งแต่ปี 2511 ระบุว่า การขนส่งข้าวจำนวน 5,000 ตัน จะมีขึ้นในเดือน พ.ค. นี้ โดยจะขนส่งออกจากท่าเรือนครย่างกุ้ง ไปยังเมืองนาโกยา ของญี่ปุ่น โดยคำสั่งซื้อข้าวครั้งนี้เป็นของกระทรวงเกษตรญี่ปุ่นที่อาจขายข้าวให้แก่ผู้ผลิตสินค้าในท้องถิ่น เช่นเบียร์ ขนมปังกรอบ เป็นต้น

ข้อตกลงซื้อขายข้าวครั้งนี้ เป็นตัวอย่างของความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้นระหว่างญี่ปุ่นและพม่า นับตั้งแต่รัฐบาลของประธานาธิบดีเต็งเส่งขึ้นบริหารประเทศเมื่อ 2 ปีก่อน และผลักดันการปฏิรูปเศรษฐกิจ และประชาธิปไตย หลังอยู่ภายใต้การปกครองของทหารหลายทศวรรษ

หลังจากญี่ปุ่นยกเลิกหนี้ค้างชำระ จำนวน 3,200 ล้านดอลลาร์ ให้แก่พม่าในเดือน มี.ค. ปีก่อน ส่งผลให้ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วรายแรกที่จัดการกับหนี้ค้างชำระของพม่า เพื่อเปิดทางให้บริษัทเอกชนของญี่ปุ่นกลับมาดำเนินกิจการในพม่าได้อีกครั้ง

ภาคการเกษตรของพม่า ถูกมองว่าเป็นโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจ แต่การผลิตยังมีอุปสรรคหลายประการ เช่น การขาดแคลนปุ๋ย ระบบชลประทานที่ย่ำแย่ และเครือข่ายการขายสินค้าที่ไม่มีประสิทธิภาพ

มิตซุย เป็นบริษัทค้าขายรายใหญ่อันดับ 2 ของญี่ปุ่น หากวัดจากผลประกอบการ ได้เริ่มซื้อข้าวเมื่อฤดูร้อนที่ผ่านมาจากบริษัทเอกชนที่ตั้งขึ้นใหม่ คือบริษัท Myanmar Agribusiness Public Corporation (Mapco) และในเป้าหมายที่จะสร้างความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นกับบริษัท Mapco บริษัทมิตซุยยังวางแผนที่จะสร้างโรงสีข้าว 3 แห่ง ที่สามารถรองรับข้าวได้ 300,000 ตันต่อปี ด้วยมูลค่าลงทุนประมาณ 15,000 ล้านเยน

การส่งออกข้าวทั้งหมดของพม่าเมื่อปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 600,000 ตัน ตามการรายงานของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ทำให้พม่าเป็นผู้ผลิตข้าวรายใหญ่เป็นอันดับที่ 10 ของโลก และภายใน 5 ปี รัฐบาลพม่าหวังที่จะเพิ่มปริมาณส่งออกข้าวให้ได้ 5 ล้านตัน ซึ่งจะทำให้พม่าเป็นรองเวียดนาม (7.4) อินเดีย (7.6) และไทย (8)

พม่าเคยเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับต้นของโลกเมื่อครั้งยังอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ เคยส่งออกข้าวมากถึง 3.4 ล้านตัน ในปี 2477 แต่ภาคส่วนนี้ต้องสูญเสียทิศทางไปในช่วงการปกครองของรัฐบาลทหารที่ยาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ ที่เพิ่งสิ้นสุดลงในปี 2554.

http://manager.co.th/IndoChina/ViewNews ... 0000037695