ตรวจสอบตัวเองก่อนลงทุน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1827
- ผู้ติดตาม: 1
ตรวจสอบตัวเองก่อนลงทุน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
ก่อนที่จะคิดถึงเรื่องการลงทุนนั้น สิ่งสำคัญอันดับแรกก็คือการตรวจสอบหรือประเมินตัวเราเองว่าสถานะและศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจของเราเป็นอย่างไร จากนั้นเราถึงจะสามารถวางกลยุทธ์และแนวทางที่ถูกต้องที่จะทำให้การลงทุนของเรามีความเหมาะสมที่สุด การวางแผนการเงินแบบ “มาตรฐาน” เช่น เราควรจะจัดพอร์ตการลงทุนที่ประกอบไปด้วยเงินลงทุนระยะสั้นที่เป็นเงินสดเท่านั้นเท่านี้ ต้องมีตราสารหนี้ระยะยาว มีหุ้นและมีตราสารการเงินอื่น ๆ ในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับความสามารถในการรับความเสี่ยงหรืออายุของเรา และสุดท้ายบางทีก็บอกว่าเราควรจะต้องมีประกันชีวิตเพื่อป้องกันความเสี่ยงในกรณีที่เราตายก่อนกำหนด เป็นต้น นั้น ผมคิดว่าเป็นเพียงหลักการกว้าง ๆ ที่ไม่สามารถใช้ได้กับทุกคน ลองมาดูกันว่าอะไรคือปัจจัยที่เราจะต้องคำนึงถึงก่อนเริ่มวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของเรา
เรื่องแรกก็คือ เรามีทรัพย์สินสุทธิเท่าไร? บางคนมีเงินหรือมีทรัพย์สมบัติมากเป็นหลายร้อยหรือเป็นพัน ๆ ล้านบาท เหตุผลในการที่จะทำประกันชีวิตจึงแทบไม่มี เพราะถ้าเขาตาย เงินมรดกก็มากมายพอที่จะทำให้ลูกหลานสบายเต็มที่อยู่แล้ว เงินทุนประกันชีวิตสูงสุดที่ส่วนใหญ่ก็ไม่เกิน 10-20 ล้านบาทนั้นย่อมไม่มีความหมายอะไร เหตุผลที่จะซื้อประกันเพื่อจะได้ผลตอบแทนที่ดี เช่น เฉลี่ยปีละอาจจะถึง 4% เมื่อรวมการได้รับลดหย่อนเรื่องภาษีเงินได้อาจจะถึง 5% ที่คนขายประกันมักพยายามนำมาชักชวนให้ซื้อประกันนั้น ผมคิดว่าในระยะยาวแล้วไม่คุ้มค่าสำหรับคนที่มีเงินมาก เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ เราไม่สามารถ“ลงทุน” ในการประกันชีวิตเป็นเงินมาก ๆ เมื่อเทียบกับเงินทั้งหมดของเราได้
“ความเสี่ยง” สำหรับคนที่มีเงินมากเหลือเฟือและไม่มีหนี้หรือภาระที่อาจจะต้องรับ กับความเสี่ยงของคนที่มีเงินหรือทรัพย์สินสุทธิไม่มากนั้นผมคิดว่าแตกต่างกัน คนที่มีเงินมากพอที่จะสามารถใช้ชีวิตอย่างสุขสบายตลอดชีวิตทั้งของตนเองและลูกหลานอยู่แล้วนั้น ความเสี่ยงที่สำคัญอาจจะไม่ใช่ความเสี่ยงในการลงทุนตามปกติที่เกิดจากตราสารการเงินเช่น หุ้นหรือพันธบัตร หรือเงินฝาก หรือแม้แต่การลงทุนในธุรกิจหรือในอสังหาริมทรัพย์ เพราะการลงทุนเหล่านั้น แม้ว่าเขาจะขาดทุนไปครึ่งหนึ่งหรือขาดทุนไป 75% เงินที่เหลืออยู่ 25% ก็ยังเพียงพอที่เขาอาจจะอยู่ได้อย่างสบาย แต่ความเสี่ยงของเขาจริง ๆ นั้น อาจจะเป็นความเสี่ยงที่เกิดจาก “ระบบ” หรือกฎเกณฑ์ของรัฐหรือประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปที่อาจจะทำลายการลงทุนของเขาจนหมดสิ้นไป สิ่งเหล่านี้ในบ้านเราอาจจะไม่เคยเกิดขึ้น แต่ในบางประเทศเช่น ในยุโรปตะวันออกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองนั้น ผมคิดว่าคนรวยหรือแม้แต่มหาเศรษฐีจำนวนไม่น้อยต้อง “สิ้นเนื้อประดาตัว” เพราะเมื่อเกิดสงคราม โรงงานหรือธุรกิจอาจถูกระเบิดทำลายไป เงินฝากที่มีอยู่ก็เฟ้อเนื่องจากประเทศแพ้สงครามหมดค่าลง บางคนมีที่ดินเหลือแต่หลังสงครามประเทศกลายเป็นคอมมิวนิสต์ที่ดินจึงถูกยึดเป็นของรัฐ ดังนั้น สำหรับคนเหล่านี้ การลงทุนที่สำคัญมากที่จะลดความเสี่ยงจริง ๆ จึงอาจจะอยู่ที่การกระจายการลงทุนไปในหลาย ๆ ประเทศซึ่งจะทำให้ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เขาก็ยังมีเงินพอที่จะใช้ชีวิตที่สุขสบายได้
ข้อตรวจสอบตัวเองต่อมาก็คือเรื่องของรายได้จากการทำงาน ถ้างานของเรานั้นทำเงินได้ดีและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างสม่ำเสมอ เช่น เรามีอาชีพเป็นหมอศัลยกรรม และเราคิดว่าเมื่อถึงเวลาที่เราต้องใช้เงินมากในอนาคตเช่น การส่งลูกเรียนต่างประเทศ เราก็น่าจะมีกำลังที่ทำได้ด้วยรายได้จากเงินเดือน ในกรณีแบบนี้ เราก็สามารถลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงเช่นหุ้นได้มากในขณะนี้ แต่ถ้างานในปัจจุบันนั้นถึงจะมีรายได้ดีแต่ไม่ได้มีความแน่นอนมาก การลงทุนของเราก็อาจจะต้องระมัดระวังมากขึ้น เช่น อาจจะต้องลงทุนในตราสารการเงินที่เสี่ยงน้อยกว่าเช่น การลงทุนในพันธบัตรมากกว่า เป็นต้น หรือในกรณีที่เรามีรายได้ไม่มากแต่มีความมั่นคงในการทำงาน แผนการเงินของเราอาจจะเป็นเรื่องของการพยายามอดออมและกันเงินไว้ลงทุนในหุ้นอย่างสม่ำเสมอ ด้วยวิธีนี้ แม้ว่าเงินที่ลงทุนอาจจะน้อย แต่ด้วยเวลาที่ผ่านไปยาวนาน เราก็อาจจะมีทรัพย์สินที่มากพอและมีชีวิตที่สุขสบายได้ในยามที่เราแก่ตัวลง
เรื่องของอายุก็เป็นปัจจัยสำคัญของการกำหนดแนวทางในการลงทุน ถ้าอายุเราน้อยและมีกำลังทำงานเต็มที่ การลงทุนที่ “เสี่ยง” ประเภทลงทุนในหุ้นร้อยเปอร์เซ็นต์หรือบางทีมากกว่านั้น ก็อาจจะเป็นเรื่องที่ “ไม่เสี่ยง” เพราะเราสามารถ “แก้ตัว” นั่นคือ หาเงินมาใช้เลี้ยงชีวิตตนเองตามอัตภาพได้เสมอ แต่เมื่อเรามีครอบครัวที่ต้องอุปการะหรืออายุมาก 40-50 ปีขึ้นไปแล้ว การลงทุนก็ควรจะ Balance หรือมีความสมดุลขึ้น เช่น ควรจะมีการลงทุนเป็นพอร์ตโฟลิโอที่มีการลงทุนทั้งด้านของหุ้น ตราสารหนี้ และอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งเงินสดและการประกันชีวิต ที่จะทำให้เรามีความสบายใจว่าเงินจะไม่หายไปมากในกรณีที่เกิดเหตุการณ์เลวร้ายหรือเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกัน เราก็ต้องการผลตอบแทนที่ดีพอสมควรที่จะทำให้ความมั่งคั่งของเราไม่ลดลงเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อที่กัดกินค่าของเงินอย่างช้า ๆ ตลอดเวลา
ค่าใช้จ่ายทั้งในปัจจุบันและในอนาคตที่เราจะต้องคาดการณ์ไว้ล่วงหน้านั้น น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญมากอย่างหนึ่งในการวางแผนการเงินและการลงทุน รายจ่ายที่สำคัญมากที่สุดที่ต้องคำนึงถึงก็คือ รายจ่ายทางด้านการศึกษาของลูกและรายจ่ายทางด้านการรักษาพยาบาลของพ่อแม่ถ้าเราเป็นคนที่จะต้องรับผิดชอบ และค่าใช้จ่ายของตัวเราเองเวลาเจ็บไข้ เรื่องของลูกนั้น นอกจากจำนวนที่เรามีหรือต้องการที่จะมีแล้ว เราคงต้องวางแผนว่าจะให้เขาเรียนที่ไหนในระดับประถมถึงมัธยม และระดับปริญญาตรี-โท ในประเทศหรือต่างประเทศ เพราะค่าใช้จ่ายนั้นแตกต่างกันมาก ในเรื่องของการรักษาพยาบาลนั้น โชคดีที่ประเทศเรามีระบบสวัสดิการสังคมที่ดีมาก ดังนั้น ถ้าเราวางแผนที่ดีพอ เราจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากโดยการสมัครในโปรแกรมต่าง ๆ เช่น ประกันสังคม ที่จะทำให้เราได้รับความคุ้มครองด้วยรายจ่ายที่ไม่สูงเกินไป ส่วนในเรื่องของการศึกษานั้น รายจ่ายที่มากน้อยมักจะอยู่ที่เราเลือกว่าจะให้ลูกไปทางสาย “อินเตอร์” หรือสาย “ไทย” ความเห็นของผมก็คือ ในระดับกลาง ๆ ค่อนข้างสูงก็คือ เน้นอินเตอร์ในประเทศจนจบปริญญาตรี แล้วถ้ามีโอกาสก็ไปต่อโทต่างประเทศที่เป็นโปรแกรม 1 ปี นี่น่าจะเพียงพอสำหรับเด็กรุ่นใหม่ที่จะต้อง “ต่อสู้” ในโลกที่เป็น “สากล”
สุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ ความรู้และประสบการณ์ในการลงทุน คนที่มีพื้นฐานทางด้านการคำนวณหรือทางด้านวิทยาศาสตร์นั้น มักจะมีความได้เปรียบในการศึกษาเรื่องของการลงทุน โดยที่ไม่จำเป็นต้องเรียนมาทางสายการเงินหรือทางธุรกิจพวกเขาสามารถศึกษาเรื่องการลงทุนได้ไม่ยากนัก แต่คนที่เป็น “หัวศิลป์” จำนวนไม่น้อยไม่สามารถวิเคราะห์หุ้นได้ แต่นี่ไม่ใช่ประเด็นว่าเราไม่สามารถลงทุนในหุ้นได้ ว่าที่จริง ปีเตอร์ ลินช์ เคยพูดว่า “ถ้าเรารู้ว่าเราโง่เรื่องการเงิน เราก็หายโง่แล้ว” วิธีที่จะลงทุนในหุ้นแบบคนที่ไม่รู้เรื่องหรือวิเคราะห์หุ้นไม่เป็นที่ดีที่สุดก็คือ การซื้อกองทุนอิงดัชนีเช่น SET 50 ไปเรื่อย ๆ เมื่อมีเงินลงทุน ด้วยวิธีนี้ คนที่ไม่เก่งเรื่องหุ้นก็สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีพอใช้ได้ และบ่อยครั้งก็ดีกว่า“มืออาชีพ” ด้วยซ้ำ การมีความรู้และประสบการณ์ในการลงทุนที่ดีนั้น ผมคิดว่าทำให้แผนการเงินหรือการลงทุนของคน ๆ นั้นอาจจะแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากเกณฑ์มาตรฐาน การ “ถือหุ้น 100% ตลอดไป” นั้น ดูเหมือนจะเป็นกลยุทธ์ของ VI ผู้มุ่งมั่น จำนวนมากในทศวรรษนี้ ว่าที่จริง หลายคนที่ประสบความสำเร็จสูงนั้น ลงทุนในหุ้นเกินร้อยเปอร์เซ็นต์ต่อเนื่องยาวนาน ผมเองคิดว่านี่ไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมและอาจจะดีเฉพาะในบางสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม แผน แนวทาง หรือกลยุทธ์การลงทุน นั้นเป็นเรื่องของแต่ละคน เขาอาจจะมีเงินหรือมีทรัพย์สมบัติที่จะสามารถ “รองรับขั้นสุดท้าย” เช่น มีพ่อแม่ที่มีเงินมากพอในกรณีที่เขา “หายนะ” เป็นต้น ดังนั้น เราจึงไม่สามารถจะบอกว่าผิดหรือถูก เราควรจะคิดว่าเรื่องการลงทุนนั้น “ตัวใครตัวมัน”
เรื่องแรกก็คือ เรามีทรัพย์สินสุทธิเท่าไร? บางคนมีเงินหรือมีทรัพย์สมบัติมากเป็นหลายร้อยหรือเป็นพัน ๆ ล้านบาท เหตุผลในการที่จะทำประกันชีวิตจึงแทบไม่มี เพราะถ้าเขาตาย เงินมรดกก็มากมายพอที่จะทำให้ลูกหลานสบายเต็มที่อยู่แล้ว เงินทุนประกันชีวิตสูงสุดที่ส่วนใหญ่ก็ไม่เกิน 10-20 ล้านบาทนั้นย่อมไม่มีความหมายอะไร เหตุผลที่จะซื้อประกันเพื่อจะได้ผลตอบแทนที่ดี เช่น เฉลี่ยปีละอาจจะถึง 4% เมื่อรวมการได้รับลดหย่อนเรื่องภาษีเงินได้อาจจะถึง 5% ที่คนขายประกันมักพยายามนำมาชักชวนให้ซื้อประกันนั้น ผมคิดว่าในระยะยาวแล้วไม่คุ้มค่าสำหรับคนที่มีเงินมาก เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ เราไม่สามารถ“ลงทุน” ในการประกันชีวิตเป็นเงินมาก ๆ เมื่อเทียบกับเงินทั้งหมดของเราได้
“ความเสี่ยง” สำหรับคนที่มีเงินมากเหลือเฟือและไม่มีหนี้หรือภาระที่อาจจะต้องรับ กับความเสี่ยงของคนที่มีเงินหรือทรัพย์สินสุทธิไม่มากนั้นผมคิดว่าแตกต่างกัน คนที่มีเงินมากพอที่จะสามารถใช้ชีวิตอย่างสุขสบายตลอดชีวิตทั้งของตนเองและลูกหลานอยู่แล้วนั้น ความเสี่ยงที่สำคัญอาจจะไม่ใช่ความเสี่ยงในการลงทุนตามปกติที่เกิดจากตราสารการเงินเช่น หุ้นหรือพันธบัตร หรือเงินฝาก หรือแม้แต่การลงทุนในธุรกิจหรือในอสังหาริมทรัพย์ เพราะการลงทุนเหล่านั้น แม้ว่าเขาจะขาดทุนไปครึ่งหนึ่งหรือขาดทุนไป 75% เงินที่เหลืออยู่ 25% ก็ยังเพียงพอที่เขาอาจจะอยู่ได้อย่างสบาย แต่ความเสี่ยงของเขาจริง ๆ นั้น อาจจะเป็นความเสี่ยงที่เกิดจาก “ระบบ” หรือกฎเกณฑ์ของรัฐหรือประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปที่อาจจะทำลายการลงทุนของเขาจนหมดสิ้นไป สิ่งเหล่านี้ในบ้านเราอาจจะไม่เคยเกิดขึ้น แต่ในบางประเทศเช่น ในยุโรปตะวันออกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองนั้น ผมคิดว่าคนรวยหรือแม้แต่มหาเศรษฐีจำนวนไม่น้อยต้อง “สิ้นเนื้อประดาตัว” เพราะเมื่อเกิดสงคราม โรงงานหรือธุรกิจอาจถูกระเบิดทำลายไป เงินฝากที่มีอยู่ก็เฟ้อเนื่องจากประเทศแพ้สงครามหมดค่าลง บางคนมีที่ดินเหลือแต่หลังสงครามประเทศกลายเป็นคอมมิวนิสต์ที่ดินจึงถูกยึดเป็นของรัฐ ดังนั้น สำหรับคนเหล่านี้ การลงทุนที่สำคัญมากที่จะลดความเสี่ยงจริง ๆ จึงอาจจะอยู่ที่การกระจายการลงทุนไปในหลาย ๆ ประเทศซึ่งจะทำให้ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เขาก็ยังมีเงินพอที่จะใช้ชีวิตที่สุขสบายได้
ข้อตรวจสอบตัวเองต่อมาก็คือเรื่องของรายได้จากการทำงาน ถ้างานของเรานั้นทำเงินได้ดีและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างสม่ำเสมอ เช่น เรามีอาชีพเป็นหมอศัลยกรรม และเราคิดว่าเมื่อถึงเวลาที่เราต้องใช้เงินมากในอนาคตเช่น การส่งลูกเรียนต่างประเทศ เราก็น่าจะมีกำลังที่ทำได้ด้วยรายได้จากเงินเดือน ในกรณีแบบนี้ เราก็สามารถลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงเช่นหุ้นได้มากในขณะนี้ แต่ถ้างานในปัจจุบันนั้นถึงจะมีรายได้ดีแต่ไม่ได้มีความแน่นอนมาก การลงทุนของเราก็อาจจะต้องระมัดระวังมากขึ้น เช่น อาจจะต้องลงทุนในตราสารการเงินที่เสี่ยงน้อยกว่าเช่น การลงทุนในพันธบัตรมากกว่า เป็นต้น หรือในกรณีที่เรามีรายได้ไม่มากแต่มีความมั่นคงในการทำงาน แผนการเงินของเราอาจจะเป็นเรื่องของการพยายามอดออมและกันเงินไว้ลงทุนในหุ้นอย่างสม่ำเสมอ ด้วยวิธีนี้ แม้ว่าเงินที่ลงทุนอาจจะน้อย แต่ด้วยเวลาที่ผ่านไปยาวนาน เราก็อาจจะมีทรัพย์สินที่มากพอและมีชีวิตที่สุขสบายได้ในยามที่เราแก่ตัวลง
เรื่องของอายุก็เป็นปัจจัยสำคัญของการกำหนดแนวทางในการลงทุน ถ้าอายุเราน้อยและมีกำลังทำงานเต็มที่ การลงทุนที่ “เสี่ยง” ประเภทลงทุนในหุ้นร้อยเปอร์เซ็นต์หรือบางทีมากกว่านั้น ก็อาจจะเป็นเรื่องที่ “ไม่เสี่ยง” เพราะเราสามารถ “แก้ตัว” นั่นคือ หาเงินมาใช้เลี้ยงชีวิตตนเองตามอัตภาพได้เสมอ แต่เมื่อเรามีครอบครัวที่ต้องอุปการะหรืออายุมาก 40-50 ปีขึ้นไปแล้ว การลงทุนก็ควรจะ Balance หรือมีความสมดุลขึ้น เช่น ควรจะมีการลงทุนเป็นพอร์ตโฟลิโอที่มีการลงทุนทั้งด้านของหุ้น ตราสารหนี้ และอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งเงินสดและการประกันชีวิต ที่จะทำให้เรามีความสบายใจว่าเงินจะไม่หายไปมากในกรณีที่เกิดเหตุการณ์เลวร้ายหรือเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกัน เราก็ต้องการผลตอบแทนที่ดีพอสมควรที่จะทำให้ความมั่งคั่งของเราไม่ลดลงเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อที่กัดกินค่าของเงินอย่างช้า ๆ ตลอดเวลา
ค่าใช้จ่ายทั้งในปัจจุบันและในอนาคตที่เราจะต้องคาดการณ์ไว้ล่วงหน้านั้น น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญมากอย่างหนึ่งในการวางแผนการเงินและการลงทุน รายจ่ายที่สำคัญมากที่สุดที่ต้องคำนึงถึงก็คือ รายจ่ายทางด้านการศึกษาของลูกและรายจ่ายทางด้านการรักษาพยาบาลของพ่อแม่ถ้าเราเป็นคนที่จะต้องรับผิดชอบ และค่าใช้จ่ายของตัวเราเองเวลาเจ็บไข้ เรื่องของลูกนั้น นอกจากจำนวนที่เรามีหรือต้องการที่จะมีแล้ว เราคงต้องวางแผนว่าจะให้เขาเรียนที่ไหนในระดับประถมถึงมัธยม และระดับปริญญาตรี-โท ในประเทศหรือต่างประเทศ เพราะค่าใช้จ่ายนั้นแตกต่างกันมาก ในเรื่องของการรักษาพยาบาลนั้น โชคดีที่ประเทศเรามีระบบสวัสดิการสังคมที่ดีมาก ดังนั้น ถ้าเราวางแผนที่ดีพอ เราจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากโดยการสมัครในโปรแกรมต่าง ๆ เช่น ประกันสังคม ที่จะทำให้เราได้รับความคุ้มครองด้วยรายจ่ายที่ไม่สูงเกินไป ส่วนในเรื่องของการศึกษานั้น รายจ่ายที่มากน้อยมักจะอยู่ที่เราเลือกว่าจะให้ลูกไปทางสาย “อินเตอร์” หรือสาย “ไทย” ความเห็นของผมก็คือ ในระดับกลาง ๆ ค่อนข้างสูงก็คือ เน้นอินเตอร์ในประเทศจนจบปริญญาตรี แล้วถ้ามีโอกาสก็ไปต่อโทต่างประเทศที่เป็นโปรแกรม 1 ปี นี่น่าจะเพียงพอสำหรับเด็กรุ่นใหม่ที่จะต้อง “ต่อสู้” ในโลกที่เป็น “สากล”
สุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ ความรู้และประสบการณ์ในการลงทุน คนที่มีพื้นฐานทางด้านการคำนวณหรือทางด้านวิทยาศาสตร์นั้น มักจะมีความได้เปรียบในการศึกษาเรื่องของการลงทุน โดยที่ไม่จำเป็นต้องเรียนมาทางสายการเงินหรือทางธุรกิจพวกเขาสามารถศึกษาเรื่องการลงทุนได้ไม่ยากนัก แต่คนที่เป็น “หัวศิลป์” จำนวนไม่น้อยไม่สามารถวิเคราะห์หุ้นได้ แต่นี่ไม่ใช่ประเด็นว่าเราไม่สามารถลงทุนในหุ้นได้ ว่าที่จริง ปีเตอร์ ลินช์ เคยพูดว่า “ถ้าเรารู้ว่าเราโง่เรื่องการเงิน เราก็หายโง่แล้ว” วิธีที่จะลงทุนในหุ้นแบบคนที่ไม่รู้เรื่องหรือวิเคราะห์หุ้นไม่เป็นที่ดีที่สุดก็คือ การซื้อกองทุนอิงดัชนีเช่น SET 50 ไปเรื่อย ๆ เมื่อมีเงินลงทุน ด้วยวิธีนี้ คนที่ไม่เก่งเรื่องหุ้นก็สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีพอใช้ได้ และบ่อยครั้งก็ดีกว่า“มืออาชีพ” ด้วยซ้ำ การมีความรู้และประสบการณ์ในการลงทุนที่ดีนั้น ผมคิดว่าทำให้แผนการเงินหรือการลงทุนของคน ๆ นั้นอาจจะแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากเกณฑ์มาตรฐาน การ “ถือหุ้น 100% ตลอดไป” นั้น ดูเหมือนจะเป็นกลยุทธ์ของ VI ผู้มุ่งมั่น จำนวนมากในทศวรรษนี้ ว่าที่จริง หลายคนที่ประสบความสำเร็จสูงนั้น ลงทุนในหุ้นเกินร้อยเปอร์เซ็นต์ต่อเนื่องยาวนาน ผมเองคิดว่านี่ไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมและอาจจะดีเฉพาะในบางสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม แผน แนวทาง หรือกลยุทธ์การลงทุน นั้นเป็นเรื่องของแต่ละคน เขาอาจจะมีเงินหรือมีทรัพย์สมบัติที่จะสามารถ “รองรับขั้นสุดท้าย” เช่น มีพ่อแม่ที่มีเงินมากพอในกรณีที่เขา “หายนะ” เป็นต้น ดังนั้น เราจึงไม่สามารถจะบอกว่าผิดหรือถูก เราควรจะคิดว่าเรื่องการลงทุนนั้น “ตัวใครตัวมัน”
-
- Verified User
- โพสต์: 3
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตรวจสอบตัวเองก่อนลงทุน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 2
Thai VI Article เขียน:[/size]โค้ด: เลือกทั้งหมด
ก่อนที่จะคิดถึงเรื่องการลงทุนนั้น สิ่งสำคัญอันดับแรกก็คือการตรวจสอบหรือประเมินตัวเราเองว่าสถานะและศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจของเราเป็นอย่างไร จากนั้นเราถึงจะสามารถวางกลยุทธ์และแนวทางที่ถูกต้องที่จะทำให้การลงทุนของเรามีความเหมาะสมที่สุด การวางแผนการเงินแบบ “มาตรฐาน” เช่น เราควรจะจัดพอร์ตการลงทุนที่ประกอบไปด้วยเงินลงทุนระยะสั้นที่เป็นเงินสดเท่านั้นเท่านี้ ต้องมีตราสารหนี้ระยะยาว มีหุ้นและมีตราสารการเงินอื่น ๆ ในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับความสามารถในการรับความเสี่ยงหรืออายุของเรา และสุดท้ายบางทีก็บอกว่าเราควรจะต้องมีประกันชีวิตเพื่อป้องกันความเสี่ยงในกรณีที่เราตายก่อนกำหนด เป็นต้น นั้น ผมคิดว่าเป็นเพียงหลักการกว้าง ๆ ที่ไม่สามารถใช้ได้กับทุกคน ลองมาดูกันว่าอะไรคือปัจจัยที่เราจะต้องคำนึงถึงก่อนเริ่มวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของเรา เรื่องแรกก็คือ เรามีทรัพย์สินสุทธิเท่าไร? บางคนมีเงินหรือมีทรัพย์สมบัติมากเป็นหลายร้อยหรือเป็นพัน ๆ ล้านบาท เหตุผลในการที่จะทำประกันชีวิตจึงแทบไม่มี เพราะถ้าเขาตาย เงินมรดกก็มากมายพอที่จะทำให้ลูกหลานสบายเต็มที่อยู่แล้ว เงินทุนประกันชีวิตสูงสุดที่ส่วนใหญ่ก็ไม่เกิน 10-20 ล้านบาทนั้นย่อมไม่มีความหมายอะไร เหตุผลที่จะซื้อประกันเพื่อจะได้ผลตอบแทนที่ดี เช่น เฉลี่ยปีละอาจจะถึง 4% เมื่อรวมการได้รับลดหย่อนเรื่องภาษีเงินได้อาจจะถึง 5% ที่คนขายประกันมักพยายามนำมาชักชวนให้ซื้อประกันนั้น ผมคิดว่าในระยะยาวแล้วไม่คุ้มค่าสำหรับคนที่มีเงินมาก เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ เราไม่สามารถ“ลงทุน” ในการประกันชีวิตเป็นเงินมาก ๆ เมื่อเทียบกับเงินทั้งหมดของเราได้ “ความเสี่ยง” สำหรับคนที่มีเงินมากเหลือเฟือและไม่มีหนี้หรือภาระที่อาจจะต้องรับ กับความเสี่ยงของคนที่มีเงินหรือทรัพย์สินสุทธิไม่มากนั้นผมคิดว่าแตกต่างกัน คนที่มีเงินมากพอที่จะสามารถใช้ชีวิตอย่างสุขสบายตลอดชีวิตทั้งของตนเองและลูกหลานอยู่แล้วนั้น ความเสี่ยงที่สำคัญอาจจะไม่ใช่ความเสี่ยงในการลงทุนตามปกติที่เกิดจากตราสารการเงินเช่น หุ้นหรือพันธบัตร หรือเงินฝาก หรือแม้แต่การลงทุนในธุรกิจหรือในอสังหาริมทรัพย์ เพราะการลงทุนเหล่านั้น แม้ว่าเขาจะขาดทุนไปครึ่งหนึ่งหรือขาดทุนไป 75% เงินที่เหลืออยู่ 25% ก็ยังเพียงพอที่เขาอาจจะอยู่ได้อย่างสบาย แต่ความเสี่ยงของเขาจริง ๆ นั้น อาจจะเป็นความเสี่ยงที่เกิดจาก “ระบบ” หรือกฎเกณฑ์ของรัฐหรือประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปที่อาจจะทำลายการลงทุนของเขาจนหมดสิ้นไป สิ่งเหล่านี้ในบ้านเราอาจจะไม่เคยเกิดขึ้น แต่ในบางประเทศเช่น ในยุโรปตะวันออกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองนั้น ผมคิดว่าคนรวยหรือแม้แต่มหาเศรษฐีจำนวนไม่น้อยต้อง “สิ้นเนื้อประดาตัว” เพราะเมื่อเกิดสงคราม โรงงานหรือธุรกิจอาจถูกระเบิดทำลายไป เงินฝากที่มีอยู่ก็เฟ้อเนื่องจากประเทศแพ้สงครามหมดค่าลง บางคนมีที่ดินเหลือแต่หลังสงครามประเทศกลายเป็นคอมมิวนิสต์ที่ดินจึงถูกยึดเป็นของรัฐ ดังนั้น สำหรับคนเหล่านี้ การลงทุนที่สำคัญมากที่จะลดความเสี่ยงจริง ๆ จึงอาจจะอยู่ที่การกระจายการลงทุนไปในหลาย ๆ ประเทศซึ่งจะทำให้ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เขาก็ยังมีเงินพอที่จะใช้ชีวิตที่สุขสบายได้ ข้อตรวจสอบตัวเองต่อมาก็คือเรื่องของรายได้จากการทำงาน ถ้างานของเรานั้นทำเงินได้ดีและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างสม่ำเสมอ เช่น เรามีอาชีพเป็นหมอศัลยกรรม และเราคิดว่าเมื่อถึงเวลาที่เราต้องใช้เงินมากในอนาคตเช่น การส่งลูกเรียนต่างประเทศ เราก็น่าจะมีกำลังที่ทำได้ด้วยรายได้จากเงินเดือน ในกรณีแบบนี้ เราก็สามารถลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงเช่นหุ้นได้มากในขณะนี้ แต่ถ้างานในปัจจุบันนั้นถึงจะมีรายได้ดีแต่ไม่ได้มีความแน่นอนมาก การลงทุนของเราก็อาจจะต้องระมัดระวังมากขึ้น เช่น อาจจะต้องลงทุนในตราสารการเงินที่เสี่ยงน้อยกว่าเช่น การลงทุนในพันธบัตรมากกว่า เป็นต้น หรือในกรณีที่เรามีรายได้ไม่มากแต่มีความมั่นคงในการทำงาน แผนการเงินของเราอาจจะเป็นเรื่องของการพยายามอดออมและกันเงินไว้ลงทุนในหุ้นอย่างสม่ำเสมอ ด้วยวิธีนี้ แม้ว่าเงินที่ลงทุนอาจจะน้อย แต่ด้วยเวลาที่ผ่านไปยาวนาน เราก็อาจจะมีทรัพย์สินที่มากพอและมีชีวิตที่สุขสบายได้ในยามที่เราแก่ตัวลง เรื่องของอายุก็เป็นปัจจัยสำคัญของการกำหนดแนวทางในการลงทุน ถ้าอายุเราน้อยและมีกำลังทำงานเต็มที่ การลงทุนที่ “เสี่ยง” ประเภทลงทุนในหุ้นร้อยเปอร์เซ็นต์หรือบางทีมากกว่านั้น ก็อาจจะเป็นเรื่องที่ “ไม่เสี่ยง” เพราะเราสามารถ “แก้ตัว” นั่นคือ หาเงินมาใช้เลี้ยงชีวิตตนเองตามอัตภาพได้เสมอ แต่เมื่อเรามีครอบครัวที่ต้องอุปการะหรืออายุมาก 40-50 ปีขึ้นไปแล้ว การลงทุนก็ควรจะ Balance หรือมีความสมดุลขึ้น เช่น ควรจะมีการลงทุนเป็นพอร์ตโฟลิโอที่มีการลงทุนทั้งด้านของหุ้น ตราสารหนี้ และอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งเงินสดและการประกันชีวิต ที่จะทำให้เรามีความสบายใจว่าเงินจะไม่หายไปมากในกรณีที่เกิดเหตุการณ์เลวร้ายหรือเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกัน เราก็ต้องการผลตอบแทนที่ดีพอสมควรที่จะทำให้ความมั่งคั่งของเราไม่ลดลงเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อที่กัดกินค่าของเงินอย่างช้า ๆ ตลอดเวลา ค่าใช้จ่ายทั้งในปัจจุบันและในอนาคตที่เราจะต้องคาดการณ์ไว้ล่วงหน้านั้น น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญมากอย่างหนึ่งในการวางแผนการเงินและการลงทุน รายจ่ายที่สำคัญมากที่สุดที่ต้องคำนึงถึงก็คือ รายจ่ายทางด้านการศึกษาของลูกและรายจ่ายทางด้านการรักษาพยาบาลของพ่อแม่ถ้าเราเป็นคนที่จะต้องรับผิดชอบ และค่าใช้จ่ายของตัวเราเองเวลาเจ็บไข้ เรื่องของลูกนั้น นอกจากจำนวนที่เรามีหรือต้องการที่จะมีแล้ว เราคงต้องวางแผนว่าจะให้เขาเรียนที่ไหนในระดับประถมถึงมัธยม และระดับปริญญาตรี-โท ในประเทศหรือต่างประเทศ เพราะค่าใช้จ่ายนั้นแตกต่างกันมาก ในเรื่องของการรักษาพยาบาลนั้น โชคดีที่ประเทศเรามีระบบสวัสดิการสังคมที่ดีมาก ดังนั้น ถ้าเราวางแผนที่ดีพอ เราจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากโดยการสมัครในโปรแกรมต่าง ๆ เช่น ประกันสังคม ที่จะทำให้เราได้รับความคุ้มครองด้วยรายจ่ายที่ไม่สูงเกินไป ส่วนในเรื่องของการศึกษานั้น รายจ่ายที่มากน้อยมักจะอยู่ที่เราเลือกว่าจะให้ลูกไปทางสาย “อินเตอร์” หรือสาย “ไทย” ความเห็นของผมก็คือ ในระดับกลาง ๆ ค่อนข้างสูงก็คือ เน้นอินเตอร์ในประเทศจนจบปริญญาตรี แล้วถ้ามีโอกาสก็ไปต่อโทต่างประเทศที่เป็นโปรแกรม 1 ปี นี่น่าจะเพียงพอสำหรับเด็กรุ่นใหม่ที่จะต้อง “ต่อสู้” ในโลกที่เป็น “สากล” สุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ ความรู้และประสบการณ์ในการลงทุน คนที่มีพื้นฐานทางด้านการคำนวณหรือทางด้านวิทยาศาสตร์นั้น มักจะมีความได้เปรียบในการศึกษาเรื่องของการลงทุน โดยที่ไม่จำเป็นต้องเรียนมาทางสายการเงินหรือทางธุรกิจพวกเขาสามารถศึกษาเรื่องการลงทุนได้ไม่ยากนัก แต่คนที่เป็น “หัวศิลป์” จำนวนไม่น้อยไม่สามารถวิเคราะห์หุ้นได้ แต่นี่ไม่ใช่ประเด็นว่าเราไม่สามารถลงทุนในหุ้นได้ ว่าที่จริง ปีเตอร์ ลินช์ เคยพูดว่า “ถ้าเรารู้ว่าเราโง่เรื่องการเงิน เราก็หายโง่แล้ว” วิธีที่จะลงทุนในหุ้นแบบคนที่ไม่รู้เรื่องหรือวิเคราะห์หุ้นไม่เป็นที่ดีที่สุดก็คือ การซื้อกองทุนอิงดัชนีเช่น SET 50 ไปเรื่อย ๆ เมื่อมีเงินลงทุน ด้วยวิธีนี้ คนที่ไม่เก่งเรื่องหุ้นก็สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีพอใช้ได้ และบ่อยครั้งก็ดีกว่า“มืออาชีพ” ด้วยซ้ำ การมีความรู้และประสบการณ์ในการลงทุนที่ดีนั้น ผมคิดว่าทำให้แผนการเงินหรือการลงทุนของคน ๆ นั้นอาจจะแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากเกณฑ์มาตรฐาน การ “ถือหุ้น 100% ตลอดไป” นั้น ดูเหมือนจะเป็นกลยุทธ์ของ VI ผู้มุ่งมั่น จำนวนมากในทศวรรษนี้ ว่าที่จริง หลายคนที่ประสบความสำเร็จสูงนั้น ลงทุนในหุ้นเกินร้อยเปอร์เซ็นต์ต่อเนื่องยาวนาน ผมเองคิดว่านี่ไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมและอาจจะดีเฉพาะในบางสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม แผน แนวทาง หรือกลยุทธ์การลงทุน นั้นเป็นเรื่องของแต่ละคน เขาอาจจะมีเงินหรือมีทรัพย์สมบัติที่จะสามารถ “รองรับขั้นสุดท้าย” เช่น มีพ่อแม่ที่มีเงินมากพอในกรณีที่เขา “หายนะ” เป็นต้น ดังนั้น เราจึงไม่สามารถจะบอกว่าผิดหรือถูก เราควรจะคิดว่าเรื่องการลงทุนนั้น “ตัวใครตัวมัน”
-
- Verified User
- โพสต์: 68
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตรวจสอบตัวเองก่อนลงทุน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 5
-
- Verified User
- โพสต์: 68
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตรวจสอบตัวเองก่อนลงทุน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 6
แก้/ข เล่น เป็น เล่า
- simpleBE
- Verified User
- โพสต์: 2335
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตรวจสอบตัวเองก่อนลงทุน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 7
ขอบคุณครับ
อ่านแล้ว วีไอสายศิลป์แบบผมต้องเจียมตัวให้มากๆ
อ่านแล้ว วีไอสายศิลป์แบบผมต้องเจียมตัวให้มากๆ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 232
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตรวจสอบตัวเองก่อนลงทุน/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 8
สังเกตุว่า ดร. พูดแบบนี้หลายทีแล้วครับพักหลัง หรือแกมีลางสังหรณ์sombat_21 เขียน:Thai VI Article เขียน:[/size]โค้ด: เลือกทั้งหมด
การมีความรู้และประสบการณ์ในการลงทุนที่ดีนั้น ผมคิดว่าทำให้แผนการเงินหรือการลงทุนของคน ๆ นั้นอาจจะแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากเกณฑ์มาตรฐาน การ “ถือหุ้น 100% ตลอดไป” นั้น ดูเหมือนจะเป็นกลยุทธ์ของ VI ผู้มุ่งมั่น จำนวนมากในทศวรรษนี้ ว่าที่จริง หลายคนที่ประสบความสำเร็จสูงนั้น ลงทุนในหุ้นเกินร้อยเปอร์เซ็นต์ต่อเนื่องยาวนาน ผมเองคิดว่านี่ไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมและอาจจะดีเฉพาะในบางสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม แผน แนวทาง หรือกลยุทธ์การลงทุน นั้นเป็นเรื่องของแต่ละคน เขาอาจจะมีเงินหรือมีทรัพย์สมบัติที่จะสามารถ “รองรับขั้นสุดท้าย” เช่น มีพ่อแม่ที่มีเงินมากพอในกรณีที่เขา “หายนะ” เป็นต้น ดังนั้น เราจึงไม่สามารถจะบอกว่าผิดหรือถูก เราควรจะคิดว่าเรื่องการลงทุนนั้น “ตัวใครตัวมัน”
แต่ก็เห็นด้วยอย่างยิ่งเลยครับ เรื่องการลงทุนนั้น "ตัวใครตัวมัน" ดีกว่า
Things are almost never clear on Wall Street,
or when they are, then it’s too late to profit from them.
or when they are, then it’s too late to profit from them.