ความสัมพันธ์ของราคา warrant กับหุ้นแม่
-
- Verified User
- โพสต์: 113
- ผู้ติดตาม: 0
ความสัมพันธ์ของราคา warrant กับหุ้นแม่
โพสต์ที่ 1
สวัสดีครับ :D
ขอสอบถามเรื่อง warrant หน่อยนะครับ
ไม่เคยซื้อเลย
พอดีได้ MINT-W3 มานิดหน่อย
ดูราคาแล้วงงๆ ครับ :?:
อย่างวันนี้ (28.04.49) ตัว MINT ปิดที่ 11.60 บาท
แต่ MINT-W3 ปิดที่ 7.00 บาท
เมื่อรวมราคาใช้สิทธิที่ 6.00 บาท
ก็เท่ากับว่า ถ้าผมซื้อ MINT-W3 วันนี้ เมื่อผมใช้สิทธิก็ต้องเสียเงิน 13.00 บาท (ไม่รวมค่าธรรมเนียมและภาษี)
ซึ่งมันสูงกว่าราคา MINT ในตลาดอยู่ 1.40 บาท
อย่างนี้ หมายความว่าอย่างไรครับ ???
หมายความว่า ตลาดคาดหวังว่าตัว MINT จะขึ้นไปถึงอย่างน้อยๆ ก็ 13.00 บาท หรือครับ :roll:
อย่างนี้ สู้ผมซื้อ MINT ที่ราคาตลาด แล้วถือรอไปเรื่อยๆ ไม่ดีกว่าหรือครับ
ก็เลยอยากขอความรู้เรื่อง warrant หน่อยน่ะครับ
ว่ามันเป็นยังไง งงครับ :?: :roll:
ขอบคุณครับ :D
ขอสอบถามเรื่อง warrant หน่อยนะครับ
ไม่เคยซื้อเลย
พอดีได้ MINT-W3 มานิดหน่อย
ดูราคาแล้วงงๆ ครับ :?:
อย่างวันนี้ (28.04.49) ตัว MINT ปิดที่ 11.60 บาท
แต่ MINT-W3 ปิดที่ 7.00 บาท
เมื่อรวมราคาใช้สิทธิที่ 6.00 บาท
ก็เท่ากับว่า ถ้าผมซื้อ MINT-W3 วันนี้ เมื่อผมใช้สิทธิก็ต้องเสียเงิน 13.00 บาท (ไม่รวมค่าธรรมเนียมและภาษี)
ซึ่งมันสูงกว่าราคา MINT ในตลาดอยู่ 1.40 บาท
อย่างนี้ หมายความว่าอย่างไรครับ ???
หมายความว่า ตลาดคาดหวังว่าตัว MINT จะขึ้นไปถึงอย่างน้อยๆ ก็ 13.00 บาท หรือครับ :roll:
อย่างนี้ สู้ผมซื้อ MINT ที่ราคาตลาด แล้วถือรอไปเรื่อยๆ ไม่ดีกว่าหรือครับ
ก็เลยอยากขอความรู้เรื่อง warrant หน่อยน่ะครับ
ว่ามันเป็นยังไง งงครับ :?: :roll:
ขอบคุณครับ :D
-
- Verified User
- โพสต์: 5786
- ผู้ติดตาม: 0
ความสัมพันธ์ของราคา warrant กับหุ้นแม่
โพสต์ที่ 2
ปกติราคาที่เหมาะสมของ Warrant กับหุ้นแม่
จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้ครับ
1. ราคาของหุ้นแม่
2. ราคาใช้สิทธิ
3. ความผันผวนของหุ้นแม่ (Volatility)
4. Risk Free Rate
5. อายุของ Warrant
นอกจากมียังมีปัจจัยปลีกย่อยอีก เช่น
1. การจ่ายปันผลของหุ้นแม่ ณ ช่วงที่ warrant ยังไม่หมดอายุ
2. วิธีการ Exercise (Quarterly, Monthly, etc)
3. Dilution Effect
ซึ่งหากจะประเมินราคาที่เหมาะสมจริงๆ ต้องใช้ model การเงินที่ซับซ้อนครับ
โดยเฉพาะ หุ้นที่มี w1, w2, w3 ยิ่งเพิ่มความซับซ้อนมากขึ้น
ผมตอบในประเด็น Leverage แล้วกันนะครับ
สมมติว่าหากเราซื้อหุ้นแม่เลย แล้วถือไปซัก 2 ปี
สมมติให้ราคาของ MINT ปรับตัวขึ้นไปที่ 20 บาท
(สมมติให้ปรับตัวเยอะๆเลยนะครับ จะได้เห็นชัดๆ)
คิดเป็นผลตอบแทน (20-11.6) / 11.6 x 100 = 72.4%
ทีนี้ลองเทียบกับการซื้อ MINT-W3 ที่ราคาปัจจุบัน คือ 7 บาท
ขณะที่ MINT อยู่ที่ 20 บาทนั้น ตัว MINT-W3 จะอยู่แถวๆ 14 บาท (อาจจะต่ำกว่าเล็กน้อย)
เนื่องจากใกล้หมดอายุเต็มทีแล้ว หาก MINT-W3 ราคาต่ำกว่า 14 บาทมาก
ก็จะมีความต้องการซื้อมาก และดันราคาขึ้นไป
เนื่องจากเห็นโอกาสที่จะได้ MINT มาในราคาถูกกว่า
และช่องว่างตรงนี้ก็จะแคบลงเรื่อยๆ
ดังนั้นสมมติฐานที่ MINT-W3 ควรที่จะราคา 14 บาทจึงสมเหตุสมผล
ลองคิดเป็นผลตอบแทนจากการลงทุนใน MINT-W3 ก็คือ 100%
จะเห็นว่าสูงกว่าการลงทุนใน MINT กว่า 30%
Warrant จึงเป็นของโปรดของนักเก็งกำไรครับ
ซึ่งบางครั้งราคาอาจจะไม่มีเหตุผลเท่าที่ควร
และไม่สอดคล้องกับราคาทางทฤษฎีหรือ Fair Price ก็ได้
เนื่องจากแรงซื้อเพราะการเก็งกำไรของนักลงทุน
จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้ครับ
1. ราคาของหุ้นแม่
2. ราคาใช้สิทธิ
3. ความผันผวนของหุ้นแม่ (Volatility)
4. Risk Free Rate
5. อายุของ Warrant
นอกจากมียังมีปัจจัยปลีกย่อยอีก เช่น
1. การจ่ายปันผลของหุ้นแม่ ณ ช่วงที่ warrant ยังไม่หมดอายุ
2. วิธีการ Exercise (Quarterly, Monthly, etc)
3. Dilution Effect
ซึ่งหากจะประเมินราคาที่เหมาะสมจริงๆ ต้องใช้ model การเงินที่ซับซ้อนครับ
โดยเฉพาะ หุ้นที่มี w1, w2, w3 ยิ่งเพิ่มความซับซ้อนมากขึ้น
ผมตอบในประเด็น Leverage แล้วกันนะครับ
สมมติว่าหากเราซื้อหุ้นแม่เลย แล้วถือไปซัก 2 ปี
สมมติให้ราคาของ MINT ปรับตัวขึ้นไปที่ 20 บาท
(สมมติให้ปรับตัวเยอะๆเลยนะครับ จะได้เห็นชัดๆ)
คิดเป็นผลตอบแทน (20-11.6) / 11.6 x 100 = 72.4%
ทีนี้ลองเทียบกับการซื้อ MINT-W3 ที่ราคาปัจจุบัน คือ 7 บาท
ขณะที่ MINT อยู่ที่ 20 บาทนั้น ตัว MINT-W3 จะอยู่แถวๆ 14 บาท (อาจจะต่ำกว่าเล็กน้อย)
เนื่องจากใกล้หมดอายุเต็มทีแล้ว หาก MINT-W3 ราคาต่ำกว่า 14 บาทมาก
ก็จะมีความต้องการซื้อมาก และดันราคาขึ้นไป
เนื่องจากเห็นโอกาสที่จะได้ MINT มาในราคาถูกกว่า
และช่องว่างตรงนี้ก็จะแคบลงเรื่อยๆ
ดังนั้นสมมติฐานที่ MINT-W3 ควรที่จะราคา 14 บาทจึงสมเหตุสมผล
ลองคิดเป็นผลตอบแทนจากการลงทุนใน MINT-W3 ก็คือ 100%
จะเห็นว่าสูงกว่าการลงทุนใน MINT กว่า 30%
Warrant จึงเป็นของโปรดของนักเก็งกำไรครับ
ซึ่งบางครั้งราคาอาจจะไม่มีเหตุผลเท่าที่ควร
และไม่สอดคล้องกับราคาทางทฤษฎีหรือ Fair Price ก็ได้
เนื่องจากแรงซื้อเพราะการเก็งกำไรของนักลงทุน
"Winners never quit, and quitters never win."
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
ความสัมพันธ์ของราคา warrant กับหุ้นแม่
โพสต์ที่ 3
หุ้นแม่ราคาขนาดนี้ก็น่ากลัวมั่กๆแล้วครับ
หุ้นลูกราคานี้ยิ่งหนาวไปกันใหญ่(สำหรับผมนะ)
ผมว่ามีหุ้นที่มี margin of safety เหลืออยู่นา.......
หุ้นลูกราคานี้ยิ่งหนาวไปกันใหญ่(สำหรับผมนะ)
ผมว่ามีหุ้นที่มี margin of safety เหลืออยู่นา.......
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
-
- Verified User
- โพสต์: 113
- ผู้ติดตาม: 0
ความสัมพันธ์ของราคา warrant กับหุ้นแม่
โพสต์ที่ 4
ขอบคุณครับ คุณ HVI และคุณสามัญชน
วันนี้นั่งอ่านหนังสือชี้ชวนของ MINT
เพิ่งเปิดไปเจอสูตรคำนวณมูลค่า Wrrant
มันยุ่งยากมาก มีตัวแปรมากอย่างที่คุณ HVI ว่าไว้จริงๆครับ
แต่คุณ HVI ก็อธิบายได้เห็นภาพดีครับ
ขอบคุณมากๆ
ก็คงจะเป็นของโปรดของนักเก็งกำไรจริงๆ
เพราะต้องคอยเฝ้าทั้งแม่ทั้งลูก
เห็นด้วยกับคุณสามัญชนครับที่ว่าราคามันน่ากลัวทั้งแม่ทั้งลูก
ผมเองก็ประเมินมูลค่าหุ้นไม่ค่อยเป็นหรอกครับ แต่ก็รู้สึกว่ามันขึ้นเอาๆ น่ากลัวจริงๆ
อยากซื้อเพิ่มแต่ก็ยังไม่รู้ตัวเองเหมือนกันครับ ว่าจะซื้อที่กี่บาทดี
เพราะโดยธุรกิจแล้วผมชอบนะ
ติดตรงที่ไม่รู้ว่าจะซื้อที่เท่าไหร่
คงต้องเก็บเงินไว้ก่อน รอจังหวะตลาดลดราคาแล้วค่อยซื้อ
แต่ลึกๆ ก็ยังเกรงว่าจะพลาดเหมือนที่ปรมาจารย์บัฟเฟตต์พลาด วอลมาร์ท
คุณสามัญชนพอจะแนะวิธีประเมินมูลค่าหุ้นได้ไหมครับ ว่าต้องทำไงบ้าง
วันนี้นั่งอ่านหนังสือชี้ชวนของ MINT
เพิ่งเปิดไปเจอสูตรคำนวณมูลค่า Wrrant
มันยุ่งยากมาก มีตัวแปรมากอย่างที่คุณ HVI ว่าไว้จริงๆครับ
แต่คุณ HVI ก็อธิบายได้เห็นภาพดีครับ
ขอบคุณมากๆ
ก็คงจะเป็นของโปรดของนักเก็งกำไรจริงๆ
เพราะต้องคอยเฝ้าทั้งแม่ทั้งลูก
เห็นด้วยกับคุณสามัญชนครับที่ว่าราคามันน่ากลัวทั้งแม่ทั้งลูก
ผมเองก็ประเมินมูลค่าหุ้นไม่ค่อยเป็นหรอกครับ แต่ก็รู้สึกว่ามันขึ้นเอาๆ น่ากลัวจริงๆ
อยากซื้อเพิ่มแต่ก็ยังไม่รู้ตัวเองเหมือนกันครับ ว่าจะซื้อที่กี่บาทดี
เพราะโดยธุรกิจแล้วผมชอบนะ
ติดตรงที่ไม่รู้ว่าจะซื้อที่เท่าไหร่
คงต้องเก็บเงินไว้ก่อน รอจังหวะตลาดลดราคาแล้วค่อยซื้อ
แต่ลึกๆ ก็ยังเกรงว่าจะพลาดเหมือนที่ปรมาจารย์บัฟเฟตต์พลาด วอลมาร์ท
คุณสามัญชนพอจะแนะวิธีประเมินมูลค่าหุ้นได้ไหมครับ ว่าต้องทำไงบ้าง
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
ความสัมพันธ์ของราคา warrant กับหุ้นแม่
โพสต์ที่ 5
warrant price = intrinsic value + speculative value
intrinsic value = current stock price - exercise price
speculative value ขึ้นอยู่กับความหวือหวาของตัวแม่
เข้าใจว่า speculative value มีค่าเป็นบวกเสมอไม่มีทางเป็นลบได้ (ไม่แน่ใจ ใครจะช่วยยืนยันที)
ดังนั้น warrant price ในทางทฤษฎี ต้องมีค่าสูงกว่า ราคาตัวแม่ในปัจจุบัน - ราคาใช้สิทธิ์เสมอ (สมมติว่า conversion ratio 1:1) จึงไม่แปลกที่เห็นราคา warrant สูงเกิน intrinsic value แต่ถ้าไปเจอต่ำกว่านี่สิแปลก ต้องหาคำอธิบาย :?: :?: :?:
intrinsic value = current stock price - exercise price
speculative value ขึ้นอยู่กับความหวือหวาของตัวแม่
เข้าใจว่า speculative value มีค่าเป็นบวกเสมอไม่มีทางเป็นลบได้ (ไม่แน่ใจ ใครจะช่วยยืนยันที)
ดังนั้น warrant price ในทางทฤษฎี ต้องมีค่าสูงกว่า ราคาตัวแม่ในปัจจุบัน - ราคาใช้สิทธิ์เสมอ (สมมติว่า conversion ratio 1:1) จึงไม่แปลกที่เห็นราคา warrant สูงเกิน intrinsic value แต่ถ้าไปเจอต่ำกว่านี่สิแปลก ต้องหาคำอธิบาย :?: :?: :?:
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 5786
- ผู้ติดตาม: 0
ความสัมพันธ์ของราคา warrant กับหุ้นแม่
โพสต์ที่ 7
ซื้อ IT-W1 แล้วยืม IT มาขาย Short หรือเปล่าครับKao เขียน:มีหลายครั้งที่ Specultive value ของ IT-W1 ติดลบมากถึง 30-40สตางค์
ผมเลยอดใจไม่ไหว Arbitrage IT หมดปอด
ถ้าใช่ ไม่ทราบว่าใช้บริการยืมหุ้นของ Broker ไหนครับ
หรือว่าขาย IT ใน port ตัวเองแล้วเปลี่ยนมาซื้อ IT-W1
"Winners never quit, and quitters never win."
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1257
- ผู้ติดตาม: 0
ความสัมพันธ์ของราคา warrant กับหุ้นแม่
โพสต์ที่ 10
เป็นส่วนต่างที่เกิดจากทำArbitrageครับ ได้มา25-40สตางค์ต่อหุ้น เสียค่าคอม13.54%ของส่วนต่างที่ได้มา (0.21%ของมูลค่าซื้อขายทั้งหมด)JL เขียน: เป็นค่าอะไร คิดยังไงครับ
"Price is what you pay. Value is what you get."
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
ความสัมพันธ์ของราคา warrant กับหุ้นแม่
โพสต์ที่ 11
หลายบริษัทราคาวอร์แรนต์+ค่าแปลง สูงกว่าหุ้นแม่
และอีกหลายบริษัทวอร์แรนต์+ค่าแปลง เท่าๆกับหรือต่ำกว่าหุ้นแม่
เหตุผลก็คือนักลงทุนมองโอกาสการเติบโตของผลกำไรแต่ละบริษัทแตกต่างกัน
กรณีวอร์แรนต์+ค่าแปลง สูงกว่าหุ้นแม่ เพราะนักลงทุนมองว่าบริษัทนั้นๆมีอนาคตในการเติบโตของผลกำไรสูง ซึ่งจะทำให้ราคาหุ้นแม่สูงขึ้น
และราคาหุ้นแม่สูงขึ้น ราคาวอร์แรนต์ก็จะสูงขึ้นตามไปด้วยเท่ากัน แต่เนื่องจากราคาวอร์แรนต์มีราคาต่ำกว่าหุ้นแม่เสมอ ดังนั้นหากราคาเพิ่มเท่ากัน(ทั้งหุ้นแม่และวอร์) แต่เราใช้เงินลงทุนน้อยกว่าในการซื้อวอร์แรนต์ทำให้ได้กำไรมากว่าครับ
เช่น
MINT ราคาตลาด 10 บาท
MINT-W3 6 บาท
ราคาแปลง 5 บาท
ผ่านไป 1 ปี กำไรของบริษัทเพิ่มขึ้นมาก
ราคา MINT ขยับเป็น 15 บาท
ราคา MINT-W3 ควรจะขยับเป็น 11 บาทหรือใกล้เคียง
นักลงทุนที่ถือหุ้น MINT จะได้กำไร (15-10)/10 เท่ากับ 50%
นักลงทุนที่ถือ MINT-W3 จะได้กำไร (11-6)/6 เท่ากับ 83 %
ดังนั้นสำหรับหุ้นที่มีอัตราการเติบโตสูง นักลงทุนจะให้ราคาวอร์แรนต์ซื้อขายที่ราคาสูงกว่าหุ้นแม่+ค่าแปลง หรือที่เรียกว่าให้พรีเมี่ยมนั่นเอง ในกรณีนี้คือ (6+5)-10 เท่ากับ 1 บาท
ราคาหุ้นแม่/ราคาวอร์ เรียกว่าอัตราส่วนขยายผลหรือ Gearing
เป็นอัตราส่วนที่แสดงว่าราคาหุ้นแม่ขึ้นไป 1% จำทำให้ราคาวอร์เปลี่ยนแปลงไป x % ในกรณีนี้ Gearing คือ 10/6 = 1.66 = x
และอีกหลายบริษัทวอร์แรนต์+ค่าแปลง เท่าๆกับหรือต่ำกว่าหุ้นแม่
เหตุผลก็คือนักลงทุนมองโอกาสการเติบโตของผลกำไรแต่ละบริษัทแตกต่างกัน
กรณีวอร์แรนต์+ค่าแปลง สูงกว่าหุ้นแม่ เพราะนักลงทุนมองว่าบริษัทนั้นๆมีอนาคตในการเติบโตของผลกำไรสูง ซึ่งจะทำให้ราคาหุ้นแม่สูงขึ้น
และราคาหุ้นแม่สูงขึ้น ราคาวอร์แรนต์ก็จะสูงขึ้นตามไปด้วยเท่ากัน แต่เนื่องจากราคาวอร์แรนต์มีราคาต่ำกว่าหุ้นแม่เสมอ ดังนั้นหากราคาเพิ่มเท่ากัน(ทั้งหุ้นแม่และวอร์) แต่เราใช้เงินลงทุนน้อยกว่าในการซื้อวอร์แรนต์ทำให้ได้กำไรมากว่าครับ
เช่น
MINT ราคาตลาด 10 บาท
MINT-W3 6 บาท
ราคาแปลง 5 บาท
ผ่านไป 1 ปี กำไรของบริษัทเพิ่มขึ้นมาก
ราคา MINT ขยับเป็น 15 บาท
ราคา MINT-W3 ควรจะขยับเป็น 11 บาทหรือใกล้เคียง
นักลงทุนที่ถือหุ้น MINT จะได้กำไร (15-10)/10 เท่ากับ 50%
นักลงทุนที่ถือ MINT-W3 จะได้กำไร (11-6)/6 เท่ากับ 83 %
ดังนั้นสำหรับหุ้นที่มีอัตราการเติบโตสูง นักลงทุนจะให้ราคาวอร์แรนต์ซื้อขายที่ราคาสูงกว่าหุ้นแม่+ค่าแปลง หรือที่เรียกว่าให้พรีเมี่ยมนั่นเอง ในกรณีนี้คือ (6+5)-10 เท่ากับ 1 บาท
ราคาหุ้นแม่/ราคาวอร์ เรียกว่าอัตราส่วนขยายผลหรือ Gearing
เป็นอัตราส่วนที่แสดงว่าราคาหุ้นแม่ขึ้นไป 1% จำทำให้ราคาวอร์เปลี่ยนแปลงไป x % ในกรณีนี้ Gearing คือ 10/6 = 1.66 = x
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
ความสัมพันธ์ของราคา warrant กับหุ้นแม่
โพสต์ที่ 12
Thonburi Funds wrote
ถ้าไม่มีผมไม่กล้าครับ.....
ผมก็ไม่เก่งนะครับ แต่ถ้าหุ้นที่มีค่า pb เกือบๆ 6 เท่า pe 30 เท่า และยังมีตัวลูกรอเปลี่ยนสภาพอีกละก็ ผมจะกล้าซื้อก็ต่อเมื่อต้องเป็นธุรกิจที่ดีแบบสุดยอดเลยอ่ะครับ ต้องยิ่งกว่าปราสาทแข็งแรงใหญ่โตคูเมืองลึกๆมีจระเข้ว่ายในคู แถมมีปืนกลปืนเลเซอร์ไว้คอยยิงข้าศึกด้วยครับ.....คุณสามัญชนพอจะแนะวิธีประเมินมูลค่าหุ้นได้ไหมครับ ว่าต้องทำไงบ้าง
ถ้าไม่มีผมไม่กล้าครับ.....
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด