รถที่ไม่ต้องใช้คนขับ/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1827
- ผู้ติดตาม: 1
รถที่ไม่ต้องใช้คนขับ/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
ถ้าจะถามว่าธุรกิจอะไรที่จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่าง “ใหญ่หลวง” และอาจทำลายผู้เล่นรายเดิมและสร้างผู้เล่นรายใหม่ให้เกิดขึ้น รวมทั้งเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้งานของสินค้าจนเราคิดไม่ถึงเช่นเดียวกับระเบียบและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ และประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น มันก็ยังจะส่งผลกระทบไปถึงธุรกิจและธุรกรรมที่เกี่ยวข้องมากมายมหาศาลในระยะเวลาอาจจะ 10-20 ปีข้างหน้าละก็ ผมคิดว่ามันคือการ “เกิดขึ้น” ของ “รถที่ไม่ต้องใช้คนขับ” แต่สามารถขับเคลื่อนพาเราหรือพาตัวมันเองไปที่จุดหมายได้ หรือพารถเข้าไปจอดในที่จอดรถได้โดยเราไม่ต้องทำอะไรยกเว้นสั่งให้มันทำ และนี่ก็จะเป็นการ “ปฏิวัติ” แบบแผนการใช้ชีวิตของคนอีกครั้งหนึ่งโดยความก้าวหน้าของ IT และอินเตอร์เน็ตที่ก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีนี้
สิ่งที่ผมพูดนั้น ไม่ใช่เป็นการคาดเดาแบบนักพยากรณ์ศาสตร์ที่พยายาม “มองอนาคต” ซึ่งในอดีตที่ผ่านมานั้นเดาผิดมากกว่าถูกและห่างไกลจากความเป็นจริงค่อนข้างมาก แต่สิ่งที่ผมพูดคือเรื่องรถที่ไม่ต้องใช้คนขับนั้น ขณะนี้ในทางทฤษฎีและทางปฏิบัตินั้น ถือว่ามันเป็นไปได้แล้ว การทดลองที่ทำโดยบริษัทกูเกิลที่ให้รถยนต์ขับเคลื่อนในท้องถนนจริงในสถานที่หลากหลายนั้นเป็นผลสำเร็จแล้ว โดยที่สถิติการขับเคลื่อนที่ผ่านมานั้นทำได้ดีกว่าคนขับทั่วไปมาก รถสามารถแล่นไปตามจุดหมายที่กำหนดอย่างสมบูรณ์และอุบัติเหตุเกิดขึ้นน้อยมากและมักเกิดจากรถคันอื่น พูดง่าย ๆ อุปกรณ์หรือเครื่องมือควบคุมที่ประกอบไปด้วยเครื่องนำทางและแผนที่ กล้องที่เป็นเหมือน “สายตา” จับภาพต่าง ๆ รวมถึงรถ คน สัตว์และไฟจราจรได้ใกล้เคียงกับคน และการควบคุมรถทำได้เร็วและถูกต้องกว่าคนจริง ๆ เป็นต้น ที่น่าทึ่งยิ่งกว่านั้นก็คือ มันสามารถที่จะ “เรียนรู้” เพื่อที่จะสามารถเข้าใจสิ่งของและสภาพแวดล้อมรวมถึงการควบคุมรถให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อมันผ่านประสบการณ์นั้นมาด้วย ถ้าจะพูดไป มันคงจะคล้าย ๆ กับคนเหมือนกันนั่นคือ คนที่ขับรถมานานก็จะมีประสบการณ์และขับรถได้ดีขึ้น—โอ พระเจ้า
สิ่งที่ทำให้รถที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองยังไม่สามารถถูกนำออกมาใช้ได้กว้างขวางนั้นไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยี แต่มันเป็นเรื่องใหญ่ ๆ ที่สำคัญ 2-3 เรื่องนั่นก็คือ ข้อแรก กฎหมายและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ควบคุมการใช้รถยนต์ที่ถูกเขียนขึ้นมานับร้อยปีที่อิงอยู่กับสมมุติฐานว่ามีคนขับรถที่จะต้องเป็นผู้ขับที่ต้องรับผิดชอบต่อความผิดพลาดของตนเองเวลาเกิดอุบัติเหตุหรือทำผิดกฎจราจร แต่ในเรื่องนี้ก็มีความพยายามของรัฐหลายแห่งที่จะแก้ไข โดยล่าสุดที่ต้องถือว่าเป็น Breakthrough หรือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญก็คือ กรมการขนส่งของสหรัฐเพิ่งประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าจะเข้ามาดูและแก้ปัญหาเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ซึ่งรวมถึงเรื่องของกฎหมาย กฎเกณฑ์ คำถามเกี่ยวกับเรื่องของการประกันภัย และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความไม่สบายใจต่าง ๆ ของสังคมเช่นเรื่องอุบัติเหตุและอื่น ๆ เช่นเดียวกับการที่อาจจะต้องกำหนดมาตรฐานเพื่อที่จะใช้กับรัฐทั้งหลายโดยไม่ขัดแย้งกัน
อุปสรรคข้อสองที่น่าจะสำคัญยิ่งกว่าก็คือ รถที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองนั้นผมเข้าใจว่าจะต้องเป็นรถที่ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ไม่ใช่รถที่ใช้น้ำมัน และนี่ก็ทำให้รถยนต์ที่ไม่ต้องใช้คนขับยังไม่แพร่หลายเนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าเองยังไม่แพร่หลายเนื่องจากสองประเด็นใหญ่นั่นก็คือ มันยังมีราคาแพงกว่ารถใช้น้ำมันมาก แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ รถไฟฟ้ายังไม่ค่อยคล่องตัวในการใช้เนื่องจากสถานีชาร์จไฟแบตเตอรี่ยังมีน้อย เวลาเดินทางไปในที่ต่าง ๆ ก็อาจจะไม่สะดวก แต่ทั้งสองประเด็นนี้ก็กำลังได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็ว ประการแรก ราคารถไฟฟ้านั้น ถ้ามีการใช้และการผลิตมากขึ้น ต้นทุนก็จะต่ำลง นอกจากนั้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของการผลิตแบตเตอรี่ที่เป็นต้นทุนใหญ่ของรถไฟฟ้านั้นดีขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งสุดท้ายแล้ว รถไฟฟ้าก็อาจจะมีราคาถูกลงเรื่อย ๆ จนถูกกว่ารถยนต์ใช้น้ำมันก็ได้เนื่องจากรถไฟฟ้านั้นไม่ต้องมีเครื่องยนต์ที่ต้องมีอุปกรณ์และชิ้นส่วนที่ซับซ้อนมาก ส่วนเรื่องสถานีชาร์จไฟแบตเตอรี่นั้น ผมคิดว่าถ้ามีรถไฟฟ้ามากขึ้น สถานีก็น่าจะเกิดตามมาไม่ยาก เพราะสถานที่ก็อาจจะเป็นปั๊มน้ำมันนั่นเองก็น่าจะได้
สิ่งที่ผมคาดว่าเราจะเห็นนั้นน่าจะเป็นเรื่องของการที่รถใช้ไฟฟ้าเริ่มเข้ามาแล่นบนท้องถนนมากขึ้น ซึ่งที่จริงในขณะนี้ในสหรัฐเองรถยนต์ไฟฟ้าของเทสลาก็เริ่มเป็นที่นิยมขึ้น ยอดขายโตขึ้นแม้ว่าจะยังเป็นหลักหมื่นคัน แต่ก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นรถ “คุณภาพเยี่ยม” เหนือกว่ารถดั้งเดิมมาก คนที่ขับในปัจจุบันนั้นน่าจะเป็นคน “มีระดับ” ที่ยอมจ่ายแพงและอาจจะยังไม่สะดวกในการใช้มากนัก แต่ในเร็ว ๆ นี้ เทสลาก็จะออกรถโมเดลใหม่ที่เป็น Mass หรือราคาถูกลงและขายให้กับคนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งดูเหมือนว่าน่าจะประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งและคนเชื่อว่านี่จะเป็น “เมกาเทรนด์” ความหมายก็คือการเกิดขึ้นของรถไฟฟ้ารอบนี้เป็น “ของจริง” ที่จะต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จนโลกอาจจะค่อย ๆ เปลี่ยนรถจากการใช้น้ำมันเป็นไฟฟ้าจากแบตเตอรี และสัญญาณที่สะท้อนออกมาก็คือ ราคาหุ้นของเทสลาที่มีการซื้อขายกันล่าสุดนั้นสูงลิ่ว มูลค่าหุ้นเท่ากับประมาณ 27 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือเกือบล้านล้านบาทไทยทั้ง ๆ ที่ยังขาดทุนและมีรายได้น้อยมาก แต่คนเชื่อว่าเทสลาจะเป็นผู้นำที่โดดเด่นในเรื่องของรถไฟฟ้า และก็แน่นอนว่าเทสลาก็กำลังทำและทดสอบรถที่ไม่ต้องมีคนขับแบบเดียวกับกูเกิลและเผลอ ๆ จะเร็วกว่าเนื่องจากเขามีรถไฟฟ้าที่ใช้งานได้อยู่แล้ว
ธุรกิจที่ผูกอยู่กับรถยนต์ใช้น้ำมันนั้น แน่นอน มีมานานและเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เป็นร้อยปีแล้ว นอกจากธุรกิจรถยนต์เองแล้ว ธุรกิจที่ใหญ่มาก “คับโลก” ก็คือธุรกิจค้นหาน้ำมันดิบ การกลั่นและจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูป ธุรกิจประกันภัยรถยนต์ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่นการซ่อมเครื่องยนต์และบริการอื่น ๆ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ในระยะที่ไม่ยาวนักน่าจะไม่เกิน 20 ปีเราก็น่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงไปอย่างใหญ่หลวง เช่นเดียวกับหุ้นของบริษัทที่ยิ่งใหญ่ทั้งหลายนั้นก็จะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลง หลายบริษัทอาจจะหายไปหรือลดระดับลงไปมาก บริษัทใหม่ ๆ อาจจะเกิดขึ้นและเติบโตอย่างรวดเร็ว บางครั้งแม้ว่ายอดขายยังน้อยและกำไรยังไม่มีแต่ก็อาจจะมี Market Cap. ที่ใหญ่กว่าบริษัทยักษ์ใหญ่เก่า ๆ ที่อยู่มาเป็น 100 ปี ได้
ธุรกิจน้ำมันที่กำลังตกต่ำมากในวันนี้อาจจะเกิดจากความไม่สมดุลของอุปทานและอุปสงค์ชั่วคราว แต่มันก็อาจจะเป็นไปได้ว่าคนอาจจะคาดการณ์ไปในอนาคตแล้วว่า “เวลาหรือยุคของน้ำมัน” อาจจะกำลังหมดลงเพราะรถไฟฟ้าที่ไม่ต้องใช้คนขับกำลังมาแทนที่ ดังนั้น หุ้นน้ำมันอาจจะไม่กลับมาเหมือนเดิมอีกต่อไป บริษัทผลิตรถยนต์ดั้งเดิมเองนั้น แม้ว่าหลายบริษัทก็เริ่มหันมาให้ความสนใจกับรถไฟฟ้า แต่เนื่องจากอาจจะไม่ทุ่มเทเต็มที่เนื่องจากกลัวว่ามันจะมาทำลายรถที่ใช้น้ำมัน ซึ่งนั่นก็อาจจะทำให้ปรับตัวไม่ทันถูกบริษัทผลิตรถยนต์ที่เน้นรถไฟฟ้าและไม่ต้องใช้คนขับแย่งส่วนแบ่งตลาดไป หุ้นของบริษัทผลิตรถยนต์จึงมีความไม่แน่นอนสูง
ธุรกิจที่เกี่ยวข้องเช่น การประกันภัยรถยนต์เองนั้นก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปมหาศาลถ้าพบว่าการใช้รถไฟฟ้าและขับเคลื่อนด้วยระบบ ITทำให้เกิดอุบัติเหตุน้อยลงมาก เบี้ยประกันก็อาจจะลดลง ในส่วนของเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนหรือผู้ให้บริการเช่น อู่ซ่อมรถยนต์เองนั้น งานก็อาจจะน้อยลง เช่นเดียวกับพนักงานขับรถที่อาจจะมีความจำเป็นน้อยลงไปเรื่อย ๆ ส่วนในด้านที่ดีเองนั้น ต้นทุนของบริษัทที่ต้องใช้พนักงานขับรถสูงเช่นบริษัทโลจิสติกที่ทำเรื่องของการขนส่งอาจจะสามารถลดคนลงได้มาก อย่างไรก็ตาม นี่ก็เป็นการได้กำไรเพิ่มในระยะสั้น แต่ในระยะยาวแล้วทุกรายก็จะทำอย่างเดียวกันกำไรที่เพิ่มก็จะหายไป คนที่จะได้ผลประโยชน์เต็มที่ที่สุดนั้น ผมคิดว่าก็คือคนธรรมดาที่จะได้สินค้าที่ดีเยี่ยมคือ ไม่ต้องขับรถหรือขับอย่างสบายและประสบอุบัติเหตุน้อยลง ต้นทุนของระบบเศรษฐกิจโดยรวมก็ต่ำลงส่งผลให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งหมดนี้ผมคิดว่าเราส่วนใหญ่จะได้เห็นในช่วงชีวิตของเรานี้
สิ่งที่ผมพูดนั้น ไม่ใช่เป็นการคาดเดาแบบนักพยากรณ์ศาสตร์ที่พยายาม “มองอนาคต” ซึ่งในอดีตที่ผ่านมานั้นเดาผิดมากกว่าถูกและห่างไกลจากความเป็นจริงค่อนข้างมาก แต่สิ่งที่ผมพูดคือเรื่องรถที่ไม่ต้องใช้คนขับนั้น ขณะนี้ในทางทฤษฎีและทางปฏิบัตินั้น ถือว่ามันเป็นไปได้แล้ว การทดลองที่ทำโดยบริษัทกูเกิลที่ให้รถยนต์ขับเคลื่อนในท้องถนนจริงในสถานที่หลากหลายนั้นเป็นผลสำเร็จแล้ว โดยที่สถิติการขับเคลื่อนที่ผ่านมานั้นทำได้ดีกว่าคนขับทั่วไปมาก รถสามารถแล่นไปตามจุดหมายที่กำหนดอย่างสมบูรณ์และอุบัติเหตุเกิดขึ้นน้อยมากและมักเกิดจากรถคันอื่น พูดง่าย ๆ อุปกรณ์หรือเครื่องมือควบคุมที่ประกอบไปด้วยเครื่องนำทางและแผนที่ กล้องที่เป็นเหมือน “สายตา” จับภาพต่าง ๆ รวมถึงรถ คน สัตว์และไฟจราจรได้ใกล้เคียงกับคน และการควบคุมรถทำได้เร็วและถูกต้องกว่าคนจริง ๆ เป็นต้น ที่น่าทึ่งยิ่งกว่านั้นก็คือ มันสามารถที่จะ “เรียนรู้” เพื่อที่จะสามารถเข้าใจสิ่งของและสภาพแวดล้อมรวมถึงการควบคุมรถให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อมันผ่านประสบการณ์นั้นมาด้วย ถ้าจะพูดไป มันคงจะคล้าย ๆ กับคนเหมือนกันนั่นคือ คนที่ขับรถมานานก็จะมีประสบการณ์และขับรถได้ดีขึ้น—โอ พระเจ้า
สิ่งที่ทำให้รถที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองยังไม่สามารถถูกนำออกมาใช้ได้กว้างขวางนั้นไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยี แต่มันเป็นเรื่องใหญ่ ๆ ที่สำคัญ 2-3 เรื่องนั่นก็คือ ข้อแรก กฎหมายและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ควบคุมการใช้รถยนต์ที่ถูกเขียนขึ้นมานับร้อยปีที่อิงอยู่กับสมมุติฐานว่ามีคนขับรถที่จะต้องเป็นผู้ขับที่ต้องรับผิดชอบต่อความผิดพลาดของตนเองเวลาเกิดอุบัติเหตุหรือทำผิดกฎจราจร แต่ในเรื่องนี้ก็มีความพยายามของรัฐหลายแห่งที่จะแก้ไข โดยล่าสุดที่ต้องถือว่าเป็น Breakthrough หรือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญก็คือ กรมการขนส่งของสหรัฐเพิ่งประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าจะเข้ามาดูและแก้ปัญหาเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ซึ่งรวมถึงเรื่องของกฎหมาย กฎเกณฑ์ คำถามเกี่ยวกับเรื่องของการประกันภัย และเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความไม่สบายใจต่าง ๆ ของสังคมเช่นเรื่องอุบัติเหตุและอื่น ๆ เช่นเดียวกับการที่อาจจะต้องกำหนดมาตรฐานเพื่อที่จะใช้กับรัฐทั้งหลายโดยไม่ขัดแย้งกัน
อุปสรรคข้อสองที่น่าจะสำคัญยิ่งกว่าก็คือ รถที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองนั้นผมเข้าใจว่าจะต้องเป็นรถที่ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ไม่ใช่รถที่ใช้น้ำมัน และนี่ก็ทำให้รถยนต์ที่ไม่ต้องใช้คนขับยังไม่แพร่หลายเนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าเองยังไม่แพร่หลายเนื่องจากสองประเด็นใหญ่นั่นก็คือ มันยังมีราคาแพงกว่ารถใช้น้ำมันมาก แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ รถไฟฟ้ายังไม่ค่อยคล่องตัวในการใช้เนื่องจากสถานีชาร์จไฟแบตเตอรี่ยังมีน้อย เวลาเดินทางไปในที่ต่าง ๆ ก็อาจจะไม่สะดวก แต่ทั้งสองประเด็นนี้ก็กำลังได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็ว ประการแรก ราคารถไฟฟ้านั้น ถ้ามีการใช้และการผลิตมากขึ้น ต้นทุนก็จะต่ำลง นอกจากนั้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของการผลิตแบตเตอรี่ที่เป็นต้นทุนใหญ่ของรถไฟฟ้านั้นดีขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งสุดท้ายแล้ว รถไฟฟ้าก็อาจจะมีราคาถูกลงเรื่อย ๆ จนถูกกว่ารถยนต์ใช้น้ำมันก็ได้เนื่องจากรถไฟฟ้านั้นไม่ต้องมีเครื่องยนต์ที่ต้องมีอุปกรณ์และชิ้นส่วนที่ซับซ้อนมาก ส่วนเรื่องสถานีชาร์จไฟแบตเตอรี่นั้น ผมคิดว่าถ้ามีรถไฟฟ้ามากขึ้น สถานีก็น่าจะเกิดตามมาไม่ยาก เพราะสถานที่ก็อาจจะเป็นปั๊มน้ำมันนั่นเองก็น่าจะได้
สิ่งที่ผมคาดว่าเราจะเห็นนั้นน่าจะเป็นเรื่องของการที่รถใช้ไฟฟ้าเริ่มเข้ามาแล่นบนท้องถนนมากขึ้น ซึ่งที่จริงในขณะนี้ในสหรัฐเองรถยนต์ไฟฟ้าของเทสลาก็เริ่มเป็นที่นิยมขึ้น ยอดขายโตขึ้นแม้ว่าจะยังเป็นหลักหมื่นคัน แต่ก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นรถ “คุณภาพเยี่ยม” เหนือกว่ารถดั้งเดิมมาก คนที่ขับในปัจจุบันนั้นน่าจะเป็นคน “มีระดับ” ที่ยอมจ่ายแพงและอาจจะยังไม่สะดวกในการใช้มากนัก แต่ในเร็ว ๆ นี้ เทสลาก็จะออกรถโมเดลใหม่ที่เป็น Mass หรือราคาถูกลงและขายให้กับคนทั่วไปมากขึ้น ซึ่งดูเหมือนว่าน่าจะประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งและคนเชื่อว่านี่จะเป็น “เมกาเทรนด์” ความหมายก็คือการเกิดขึ้นของรถไฟฟ้ารอบนี้เป็น “ของจริง” ที่จะต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จนโลกอาจจะค่อย ๆ เปลี่ยนรถจากการใช้น้ำมันเป็นไฟฟ้าจากแบตเตอรี และสัญญาณที่สะท้อนออกมาก็คือ ราคาหุ้นของเทสลาที่มีการซื้อขายกันล่าสุดนั้นสูงลิ่ว มูลค่าหุ้นเท่ากับประมาณ 27 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือเกือบล้านล้านบาทไทยทั้ง ๆ ที่ยังขาดทุนและมีรายได้น้อยมาก แต่คนเชื่อว่าเทสลาจะเป็นผู้นำที่โดดเด่นในเรื่องของรถไฟฟ้า และก็แน่นอนว่าเทสลาก็กำลังทำและทดสอบรถที่ไม่ต้องมีคนขับแบบเดียวกับกูเกิลและเผลอ ๆ จะเร็วกว่าเนื่องจากเขามีรถไฟฟ้าที่ใช้งานได้อยู่แล้ว
ธุรกิจที่ผูกอยู่กับรถยนต์ใช้น้ำมันนั้น แน่นอน มีมานานและเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เป็นร้อยปีแล้ว นอกจากธุรกิจรถยนต์เองแล้ว ธุรกิจที่ใหญ่มาก “คับโลก” ก็คือธุรกิจค้นหาน้ำมันดิบ การกลั่นและจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูป ธุรกิจประกันภัยรถยนต์ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่นการซ่อมเครื่องยนต์และบริการอื่น ๆ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ในระยะที่ไม่ยาวนักน่าจะไม่เกิน 20 ปีเราก็น่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงไปอย่างใหญ่หลวง เช่นเดียวกับหุ้นของบริษัทที่ยิ่งใหญ่ทั้งหลายนั้นก็จะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลง หลายบริษัทอาจจะหายไปหรือลดระดับลงไปมาก บริษัทใหม่ ๆ อาจจะเกิดขึ้นและเติบโตอย่างรวดเร็ว บางครั้งแม้ว่ายอดขายยังน้อยและกำไรยังไม่มีแต่ก็อาจจะมี Market Cap. ที่ใหญ่กว่าบริษัทยักษ์ใหญ่เก่า ๆ ที่อยู่มาเป็น 100 ปี ได้
ธุรกิจน้ำมันที่กำลังตกต่ำมากในวันนี้อาจจะเกิดจากความไม่สมดุลของอุปทานและอุปสงค์ชั่วคราว แต่มันก็อาจจะเป็นไปได้ว่าคนอาจจะคาดการณ์ไปในอนาคตแล้วว่า “เวลาหรือยุคของน้ำมัน” อาจจะกำลังหมดลงเพราะรถไฟฟ้าที่ไม่ต้องใช้คนขับกำลังมาแทนที่ ดังนั้น หุ้นน้ำมันอาจจะไม่กลับมาเหมือนเดิมอีกต่อไป บริษัทผลิตรถยนต์ดั้งเดิมเองนั้น แม้ว่าหลายบริษัทก็เริ่มหันมาให้ความสนใจกับรถไฟฟ้า แต่เนื่องจากอาจจะไม่ทุ่มเทเต็มที่เนื่องจากกลัวว่ามันจะมาทำลายรถที่ใช้น้ำมัน ซึ่งนั่นก็อาจจะทำให้ปรับตัวไม่ทันถูกบริษัทผลิตรถยนต์ที่เน้นรถไฟฟ้าและไม่ต้องใช้คนขับแย่งส่วนแบ่งตลาดไป หุ้นของบริษัทผลิตรถยนต์จึงมีความไม่แน่นอนสูง
ธุรกิจที่เกี่ยวข้องเช่น การประกันภัยรถยนต์เองนั้นก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปมหาศาลถ้าพบว่าการใช้รถไฟฟ้าและขับเคลื่อนด้วยระบบ ITทำให้เกิดอุบัติเหตุน้อยลงมาก เบี้ยประกันก็อาจจะลดลง ในส่วนของเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนหรือผู้ให้บริการเช่น อู่ซ่อมรถยนต์เองนั้น งานก็อาจจะน้อยลง เช่นเดียวกับพนักงานขับรถที่อาจจะมีความจำเป็นน้อยลงไปเรื่อย ๆ ส่วนในด้านที่ดีเองนั้น ต้นทุนของบริษัทที่ต้องใช้พนักงานขับรถสูงเช่นบริษัทโลจิสติกที่ทำเรื่องของการขนส่งอาจจะสามารถลดคนลงได้มาก อย่างไรก็ตาม นี่ก็เป็นการได้กำไรเพิ่มในระยะสั้น แต่ในระยะยาวแล้วทุกรายก็จะทำอย่างเดียวกันกำไรที่เพิ่มก็จะหายไป คนที่จะได้ผลประโยชน์เต็มที่ที่สุดนั้น ผมคิดว่าก็คือคนธรรมดาที่จะได้สินค้าที่ดีเยี่ยมคือ ไม่ต้องขับรถหรือขับอย่างสบายและประสบอุบัติเหตุน้อยลง ต้นทุนของระบบเศรษฐกิจโดยรวมก็ต่ำลงส่งผลให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งหมดนี้ผมคิดว่าเราส่วนใหญ่จะได้เห็นในช่วงชีวิตของเรานี้
- นายมานะ
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1167
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รถที่ไม่ต้องใช้คนขับ/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 2
เมื่อเดือนกว่าๆ ที่ผ่านมาเพิ่งเขียนบทความเรื่องนี้ แปลกใจเลยครับที่อาจารย์ก็เขียนถึงเหมือนกัน ^^"
ผมเข้าใจว่าน่าจะมีประเด็นหนึ่งที่อาจารย์เข้าใจผิดคือเรื่องที่ว่า self-driving car ต้องใช้ไฟฟ้า เพราะเทคโนโลยี self-driving นี่พัฒนาได้กับรถยนต์ทั้งที่ใช้น้ำมันและไฟฟ้า (แต่ในอนาคต Google ก็คงจะเน้นไปที่ไฟฟ้าเป็นหลักเหมือนกัน)
ผมเข้าใจว่าน่าจะมีประเด็นหนึ่งที่อาจารย์เข้าใจผิดคือเรื่องที่ว่า self-driving car ต้องใช้ไฟฟ้า เพราะเทคโนโลยี self-driving นี่พัฒนาได้กับรถยนต์ทั้งที่ใช้น้ำมันและไฟฟ้า (แต่ในอนาคต Google ก็คงจะเน้นไปที่ไฟฟ้าเป็นหลักเหมือนกัน)
-
- Verified User
- โพสต์: 428
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รถที่ไม่ต้องใช้คนขับ/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 3
เห็นด้วยกับทั้งสองท่านครับ
แต่มีความเห็นเพิ่มเติมบ้างดังนี้
1.เกี่ยวกับเรื่องการประกันภัย (มีผลทางลบต่อบริษัทประกันภัยอย่างมาก)
ผมที่ถือหุ้นบริษัทประกันภัยมากที่สุดในพอร์ต เมื่ออ่านบทความนี้ผมก็มีความกังวลพอสมควร
แต่เมื่อคิดดีๆ ผมคิดว่ารถแบบนี้ คงใช้เวลา3-5ปี(สำหรับเมืองไทย) จึงมีจำนวนมากพอที่เริ่มมีผลต่อการประกันภัย
บางคนที่ผมคุยด้วยเชื่อว่ารถแบบนี้ ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 20ปี ซึ่งผมไม่เห็นด้วย อนาคตทุกอย่างมันเร็ว
ผมว่า 3-5ปีนี่แหละ น่าจะเป็นเวลาที่ใกล้เคียงดังนั้นภายใน 3ปีผมก็ยังเย็นใจได้ แต่ทุกอย่างในโลกมันเป็น
ไดนามิค เมื่อรถไร้คนขับสามารถลดอุบัติเหตุได้เข้าใกล้ศูนย์ การประกันภัยอุบัติเหตุ ราคาก็ต้องถูกมากจน
ถ้าบริษัทประกันภัยไม่ทำอะไรก็เจ้งแน่นอน(motor insurance>non motor insuranc) ถ้าผมเป็นบริษัทประกันภัย
ผมจะประกันมันทุกอย่าง ประกันอุบัติเหตุ ประกันมอเตอร์ไฟฟ้า แบบเตอรี่ ระบบคอมพิวเตอร์ (ถ้าไม่มีเจตนาทำ
ให้เสียหาย) ดังนั้นค่าเบี้ยประกันก็จะไม่ถูกลง ส่วนเบี้ยจะคิดยังงัยบริษัทประกันภัยคำนวณได้อยู่แล้ว
เหตุที่บริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยมีค่า PE สูงกว่าบริษัทประกันภัยเพราะประกันชีวิตเอาไปลดหย่อนภาษีได้
ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง PE บริษัทประกันภัยจะเข้าใกล้ PE บริษัทประกันชีวิต
2.ผมคิดว่า รถไร้คนขับ ยังงัย ก็ต้องใช้รถไฟฟ้า เพราะ การออกแบบให้รถไฟฟ้า ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ง่ายกว่า
รถยนต์แบบเดิม และบางที รถไร้คนขับคือออฟชั่นของรถไฟฟ้า หรือ รถไฟฟ้าต้องมีส่วนที่สามารถใส่ออฟชั่นเพิ่ม
ให้กลายเป็นรถไร้คนขับได้เลย บางทีการผลิตออฟชั่นไร้คนขับอาจจะไม่ต้องผลิตจากบริษัทผลิตรถก็ได้
แต่มีความเห็นเพิ่มเติมบ้างดังนี้
1.เกี่ยวกับเรื่องการประกันภัย (มีผลทางลบต่อบริษัทประกันภัยอย่างมาก)
ผมที่ถือหุ้นบริษัทประกันภัยมากที่สุดในพอร์ต เมื่ออ่านบทความนี้ผมก็มีความกังวลพอสมควร
แต่เมื่อคิดดีๆ ผมคิดว่ารถแบบนี้ คงใช้เวลา3-5ปี(สำหรับเมืองไทย) จึงมีจำนวนมากพอที่เริ่มมีผลต่อการประกันภัย
บางคนที่ผมคุยด้วยเชื่อว่ารถแบบนี้ ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 20ปี ซึ่งผมไม่เห็นด้วย อนาคตทุกอย่างมันเร็ว
ผมว่า 3-5ปีนี่แหละ น่าจะเป็นเวลาที่ใกล้เคียงดังนั้นภายใน 3ปีผมก็ยังเย็นใจได้ แต่ทุกอย่างในโลกมันเป็น
ไดนามิค เมื่อรถไร้คนขับสามารถลดอุบัติเหตุได้เข้าใกล้ศูนย์ การประกันภัยอุบัติเหตุ ราคาก็ต้องถูกมากจน
ถ้าบริษัทประกันภัยไม่ทำอะไรก็เจ้งแน่นอน(motor insurance>non motor insuranc) ถ้าผมเป็นบริษัทประกันภัย
ผมจะประกันมันทุกอย่าง ประกันอุบัติเหตุ ประกันมอเตอร์ไฟฟ้า แบบเตอรี่ ระบบคอมพิวเตอร์ (ถ้าไม่มีเจตนาทำ
ให้เสียหาย) ดังนั้นค่าเบี้ยประกันก็จะไม่ถูกลง ส่วนเบี้ยจะคิดยังงัยบริษัทประกันภัยคำนวณได้อยู่แล้ว
เหตุที่บริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยมีค่า PE สูงกว่าบริษัทประกันภัยเพราะประกันชีวิตเอาไปลดหย่อนภาษีได้
ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง PE บริษัทประกันภัยจะเข้าใกล้ PE บริษัทประกันชีวิต
2.ผมคิดว่า รถไร้คนขับ ยังงัย ก็ต้องใช้รถไฟฟ้า เพราะ การออกแบบให้รถไฟฟ้า ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ง่ายกว่า
รถยนต์แบบเดิม และบางที รถไร้คนขับคือออฟชั่นของรถไฟฟ้า หรือ รถไฟฟ้าต้องมีส่วนที่สามารถใส่ออฟชั่นเพิ่ม
ให้กลายเป็นรถไร้คนขับได้เลย บางทีการผลิตออฟชั่นไร้คนขับอาจจะไม่ต้องผลิตจากบริษัทผลิตรถก็ได้
- นายมานะ
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1167
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รถที่ไม่ต้องใช้คนขับ/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 4
ส่วนตัวผมไม่คิดว่าในประเทศเราจะเกิดขึ้นภายใน 3-5 ปีนะครับ ถ้ามองด้านเทคโนโลยีอย่างเดียวโอกาสเป็นไปได้สูงมาก แต่ถ้ามองเรื่อง regulation จากการเสียประโยชน์ของหลายๆ กลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น
- ผู้ผลิตรถยนต์ ผู้ผลิตชิ้นส่วน ดีลเลอร์รถ อู่ซ่อมรถ
- บริษัทไฟแนนซ์และประกัน
- กลุ่มโรงพยาบาลและทนาย
- บริษัทปิโตรเลียม
- บริษัทก่อสร้าง (ถนน ทางด่วน ป้ายโฆษณา ไฟจราจร)
- บริษัทขนส่ง (แท็กซี่ รถไฟฟ้า)
ผมคิดว่าปัญหาตรงนี้สำหรับบ้านเราน่าจะทำให้การเข้ามาของรถยนต์ไฟฟ้าหรือหรือไร้คนขับใช้เวลาพอสมควรครับ ส่วนทาง USA นั้นอาจจะเร็วกว่าเรามาก แต่ก็ยังมีปัญหาในด้านของความเชื่อมั่นและเรื่อง moral hazard ที่คนในสังคมจะต้องใช้เวลาในการปรับตัวอยู่ครับ
ในประเด็นด้านบริษัทประกันนั้น ผมคิดว่าภาพในระยะยาวที่เกิดขึ้น รูปแบบของบริการจะออกมาเป็น Self-driving electric taxi (คล้ายๆ Google+Tesla+Uber) ซึ่งถ้า platform แบบนี้เกิดขึ้น สิ่งที่ตามมาคือการให้บริการของแท็กซี่ไร้คนขับนี้จะสะดวกมาก จนทำให้ความจำเป็นที่คนทั่วๆ ไปต้องเป็นเจ้าของรถยนต์มีน้อยลงอย่างมาก ซึ่งถ้า platform ในลักษณะนี้มี player ที่ทำได้ดีกว่าคนอื่นมากๆ จนเกิด network effect ขึ้นด้วยแล้ว ก็น่าจะทำให้เหลือผู้เล่นหลักเพียงแค่ไม่กี่ราย ซึ่งถ้าภาพที่เกิดขึ้นเป็นอย่างที่ผมมโนตามนี้บริษัทประกันภัยคงต้องปรับตัวเยอะหน่อยครับ
- ผู้ผลิตรถยนต์ ผู้ผลิตชิ้นส่วน ดีลเลอร์รถ อู่ซ่อมรถ
- บริษัทไฟแนนซ์และประกัน
- กลุ่มโรงพยาบาลและทนาย
- บริษัทปิโตรเลียม
- บริษัทก่อสร้าง (ถนน ทางด่วน ป้ายโฆษณา ไฟจราจร)
- บริษัทขนส่ง (แท็กซี่ รถไฟฟ้า)
ผมคิดว่าปัญหาตรงนี้สำหรับบ้านเราน่าจะทำให้การเข้ามาของรถยนต์ไฟฟ้าหรือหรือไร้คนขับใช้เวลาพอสมควรครับ ส่วนทาง USA นั้นอาจจะเร็วกว่าเรามาก แต่ก็ยังมีปัญหาในด้านของความเชื่อมั่นและเรื่อง moral hazard ที่คนในสังคมจะต้องใช้เวลาในการปรับตัวอยู่ครับ
ในประเด็นด้านบริษัทประกันนั้น ผมคิดว่าภาพในระยะยาวที่เกิดขึ้น รูปแบบของบริการจะออกมาเป็น Self-driving electric taxi (คล้ายๆ Google+Tesla+Uber) ซึ่งถ้า platform แบบนี้เกิดขึ้น สิ่งที่ตามมาคือการให้บริการของแท็กซี่ไร้คนขับนี้จะสะดวกมาก จนทำให้ความจำเป็นที่คนทั่วๆ ไปต้องเป็นเจ้าของรถยนต์มีน้อยลงอย่างมาก ซึ่งถ้า platform ในลักษณะนี้มี player ที่ทำได้ดีกว่าคนอื่นมากๆ จนเกิด network effect ขึ้นด้วยแล้ว ก็น่าจะทำให้เหลือผู้เล่นหลักเพียงแค่ไม่กี่ราย ซึ่งถ้าภาพที่เกิดขึ้นเป็นอย่างที่ผมมโนตามนี้บริษัทประกันภัยคงต้องปรับตัวเยอะหน่อยครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รถที่ไม่ต้องใช้คนขับ/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 5
เท่าที่ทราบมา จากการอ่าน แต่ลืมไปแล้วว่าอ่านจากที่ไหน
รัฐแคลลิฟอเนีย จะออก ก.ม. ให้รถที่ไม่ต้องใช้คนขับวิ่งได้
แต่ว่ายังไงก็ต้องมีคนขับอยู่ด้วยนะครับ คล้ายๆ กับ Autopilot
ของเครื่องบิน คือยังไงก็ตามเราไม่รู้ว่าระบบคอมพิวเตอร์มัน
จะเฟลตอนไหนนะครับ ซึ่งอาจจะ 1 ใน 1,000,000 แต่ก็มี
โอกาสเกิด เราไม่รู้ว่า Sensor จะผิดพลาดไหม มันไม่มี
อะไรร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังนั้นยังไงก็ต้องมี Manual Override
อยู่ดี
รัฐแคลลิฟอเนีย จะออก ก.ม. ให้รถที่ไม่ต้องใช้คนขับวิ่งได้
แต่ว่ายังไงก็ต้องมีคนขับอยู่ด้วยนะครับ คล้ายๆ กับ Autopilot
ของเครื่องบิน คือยังไงก็ตามเราไม่รู้ว่าระบบคอมพิวเตอร์มัน
จะเฟลตอนไหนนะครับ ซึ่งอาจจะ 1 ใน 1,000,000 แต่ก็มี
โอกาสเกิด เราไม่รู้ว่า Sensor จะผิดพลาดไหม มันไม่มี
อะไรร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังนั้นยังไงก็ต้องมี Manual Override
อยู่ดี
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รถที่ไม่ต้องใช้คนขับ/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 6
ผมมองว่าประเทศต้นแบบที่จะทำ รถที่ไม่ต้องใช้คนขับ สำเร็จประเทศแรกๆ ต้องเป็นประเทศที่ระบบขนส่งดีๆ
แล้วคนในประเทศต้องมีวินัยสูงในระดับนึงครับ เพราะรถพวกนี้มีความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ต่ำมาก สมมุติเจอหลุ่ม เจอบ่อ เจอรถปาด ฝนตกถนนลื่น กิ่งไม้หักขวางทาง เจอตำรวจตั้งด่านกั้น ปิดเส้นนั้นเส้นทางนี้ เค้าก็ไปไม่ถูกได้นะครับ
รถพวกนี้ลดอุบัติเหตุ รถปัญหารถติดได้ก็จริง แต่ถ้ามาวิ่งกับคนขับรถจริงๆ แล้วขับรถกันแบบบ้านเรา ผมก็นึกภาพไม่ออกเหมือนกันว่าจะเป็นยังไง แต่ถ้ามีเมืองต้นแบบ ที่รถส่วนใหญ่ขับโดนหุ่นยนต์ อันนี้แน่นอนครับ ว่าจะลดอุบัติเหตุ ลดปัญหาการจราจรได้มหาศาลแน่ๆ
แล้วคนในประเทศต้องมีวินัยสูงในระดับนึงครับ เพราะรถพวกนี้มีความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ต่ำมาก สมมุติเจอหลุ่ม เจอบ่อ เจอรถปาด ฝนตกถนนลื่น กิ่งไม้หักขวางทาง เจอตำรวจตั้งด่านกั้น ปิดเส้นนั้นเส้นทางนี้ เค้าก็ไปไม่ถูกได้นะครับ
รถพวกนี้ลดอุบัติเหตุ รถปัญหารถติดได้ก็จริง แต่ถ้ามาวิ่งกับคนขับรถจริงๆ แล้วขับรถกันแบบบ้านเรา ผมก็นึกภาพไม่ออกเหมือนกันว่าจะเป็นยังไง แต่ถ้ามีเมืองต้นแบบ ที่รถส่วนใหญ่ขับโดนหุ่นยนต์ อันนี้แน่นอนครับ ว่าจะลดอุบัติเหตุ ลดปัญหาการจราจรได้มหาศาลแน่ๆ
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รถที่ไม่ต้องใช้คนขับ/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 7
ผมว่าคุณ leaderinshadow น่าจะยังไม่เคยดู TED Talk อันนี้นะครับleaderinshadow เขียน:ผมมองว่าประเทศต้นแบบที่จะทำ รถที่ไม่ต้องใช้คนขับ สำเร็จประเทศแรกๆ ต้องเป็นประเทศที่ระบบขนส่งดีๆ
แล้วคนในประเทศต้องมีวินัยสูงในระดับนึงครับ เพราะรถพวกนี้มีความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ต่ำมาก สมมุติเจอหลุ่ม เจอบ่อ เจอรถปาด ฝนตกถนนลื่น กิ่งไม้หักขวางทาง เจอตำรวจตั้งด่านกั้น ปิดเส้นนั้นเส้นทางนี้ เค้าก็ไปไม่ถูกได้นะครับ
รถพวกนี้ลดอุบัติเหตุ รถปัญหารถติดได้ก็จริง แต่ถ้ามาวิ่งกับคนขับรถจริงๆ แล้วขับรถกันแบบบ้านเรา ผมก็นึกภาพไม่ออกเหมือนกันว่าจะเป็นยังไง แต่ถ้ามีเมืองต้นแบบ ที่รถส่วนใหญ่ขับโดนหุ่นยนต์ อันนี้แน่นอนครับ ว่าจะลดอุบัติเหตุ ลดปัญหาการจราจรได้มหาศาลแน่ๆ
https://www.ted.com/talks/chris_urmson_ ... anguage=en
สถานการณ์จริง รถสามารถจัดการรถจักรยานทีขี่ฝ่าไฟแดง ในมุมอับที่มองไม่เห็น ถนนที่กำลังก่อสร้าง ตลอดจนคนแก่ที่นั่งรถ Wheel Chair ไฟฟ้า ไล่จับเป็ด ได้อย่างไม่มีปัญหาอะไรครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รถที่ไม่ต้องใช้คนขับ/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 8
โอ้ๆ ขอบคุณมากๆครับ ยังไม่ได้เคยดูจริงๆ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 368
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รถที่ไม่ต้องใช้คนขับ/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 9
น้ำมันราคาถูกแบบนี้ เป็นไปได้มั้ยครับว่า รถไฟฟ้าจะได้รับความสนใจน้อยลง หรือ ชะลอการเริ่มความนิยมใช้งานจริง คนส่วนใหญ่ น่าจะยังใส่ใจ ต้นทุน/กม. ที่ถูกกว่า มากกว่า สิ่งแวดล้อม
- Highway_Star
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 452
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รถที่ไม่ต้องใช้คนขับ/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 10
Laziness is king ครับEquanimity เขียน:น้ำมันราคาถูกแบบนี้ เป็นไปได้มั้ยครับว่า รถไฟฟ้าจะได้รับความสนใจน้อยลง หรือ ชะลอการเริ่มความนิยมใช้งานจริง คนส่วนใหญ่ น่าจะยังใส่ใจ ต้นทุน/กม. ที่ถูกกว่า มากกว่า สิ่งแวดล้อม
คนเราเมื่อถูกป้อนอะไรก็ตามที่ทำให้ชีวิตขี้เกียจได้ โอกาสที่จะยอมกลับไปลำบาก จัดว่าต่ำมากๆ
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รถที่ไม่ต้องใช้คนขับ/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 11
รู้สึกว่าปัญหาที่เกิดจากรถคันอื่น รถไร้คนขับยังแก้ไขได้ไม่ดีเท่าที่ควร ตรงนี้อาจจะต้องให้เวลาเค้าปรับปรุงหน่อย
อุบัติเหตุครั้งแรก รถยนต์ไร้คนขับของ Google วิ่งไปชนรถประจำทาง
https://www.blognone.com/node/78488
อุบัติเหตุครั้งแรก รถยนต์ไร้คนขับของ Google วิ่งไปชนรถประจำทาง
https://www.blognone.com/node/78488
อุบัติเหตุครั้งแรก รถยนต์ไร้คนขับของ Google วิ่งไปชนรถประจำทาง
เกิดอุบัติเหตุรถยนต์ไร้คนขับของ Google ชนเข้ากับรถประจำทางคันหนึ่งในมลรัฐแคลิฟอร์เนียเมื่อวันที่ 14 ก.พ. ที่ผ่านมา จุดเกิดเหตุอยู่ไม่ไกลจากสำนักงานใหญ่ของ Google
รถของ Google ขับมาด้วยความเร็ว 3 กม./ชม. พยายามวิ่งเข้ามาในเลนและชนเข้ากลางคันรถประจำทางที่กำลังวิ่งอยู่ในเลน วิศวกรที่นั่งควบคุมรถของ Google กล่าวว่าเขาคิดว่ารถประจำทางที่วิ่งมาด้วยความเร็ว 24 กม./ชม. จะชะลอรถ เพื่อให้รถของ Google วิ่งแทรกเข้ามาในเลนได้ เขาจึงไม่ได้แทรกแซงระบบขับเคลื่อนด้วยตัวเองของรถ เหตุการณ์นี้ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ
อุบัติเหตุครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่รถของ Google เป็นต้นเหตุ ก่อนหน้านี้รถยนต์ไร้คนขับของ Google ทำผลงานได้ดีมาโดยตลอด แม้เคยเกิดอุบัติเหตุมาแล้วหลายครั้ง แต่ล้วนเป็นอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย และทั้งหมดเป็นความผิดของรถคันอื่น
Google ยอมรับว่าครั้งนี้เป็นความผิดพลาดของตัวรถของ Google เอง เพราะถ้ารถไม่เคลื่อนเข้าไปในเลนก็จะไม่เกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากระบบคิดว่ารถประจำทางจะชะลอเพื่อให้รถของ Google เข้ามาในเลน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็จะมีพื้นที่เหลือพอที่จะแทรกเข้าไปได้
เหตุการณ์นี้ทำให้ Google ต้องกลับไปปรับปรุงชุดคำสั่งของระบบขับเคลื่อนด้วยตนเองใหม่ หลังจากนี้ระบบจะระวังรถบัสและรถขนาดใหญ่มากขึ้น เนื่องจากรถประเภทนี้มีแนวโน้มไม่ให้ทางมากกว่ารถชนิดอื่น และคาดว่าระบบจะรับมือกับเหตุการณ์ในอนาคตได้ดีขึ้น
อุบัติเหตุครั้งนี้อาจทำให้ความพยายามผลักดันรถยนต์ไร้คนขับต้องชะงักลงไปอีก เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเพียง 4 วันหลังจากที่หน่วยงานรับผิดชอบด้านความปลอดภัยบนทางหลวงแห่งสหรัฐ (US National Highway Traffic Safety Administration) กำลังพิจารณาให้ระบบขับเคลื่อนด้วยตนเอง เทียบเท่ากับคนขับที่เป็นมนุษย์ ซึ่งจะปูทางไปสู่การผลิตรถยนต์ไร้คนขับแบบไม่มีอุปกรณ์ควบคุม เช่น พวงมาลัย และคันเหยียบต่างๆ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2846
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รถที่ไม่ต้องใช้คนขับ/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 13
[quote="นายมานะ"]ส่วนตัวผมไม่คิดว่าในประเทศเราจะเกิดขึ้นภายใน 3-5 ปีนะครับ ถ้ามองด้านเทคโนโลยีอย่างเดียวโอกาสเป็นไปได้สูงมาก แต่ถ้ามองเรื่อง regulation จากการเสียประโยชน์ของหลายๆ กลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น
- ผู้ผลิตรถยนต์ ผู้ผลิตชิ้นส่วน ดีลเลอร์รถ อู่ซ่อมรถ
- บริษัทไฟแนนซ์และประกัน
- กลุ่มโรงพยาบาลและทนาย
- บริษัทปิโตรเลียม
- บริษัทก่อสร้าง (ถนน ทางด่วน ป้ายโฆษณา ไฟจราจร)
- บริษัทขนส่ง (แท็กซี่ รถไฟฟ้า)
ผมคิดว่าปัญหาตรงนี้สำหรับบ้านเราน่าจะทำให้การเข้ามาของรถยนต์ไฟฟ้าหรือหรือไร้คนขับใช้เวลาพอสมควรครับ ส่วนทาง USA นั้นอาจจะเร็วกว่าเรามาก แต่ก็ยังมีปัญหาในด้านของความเชื่อมั่นและเรื่อง moral hazard ที่คนในสังคมจะต้องใช้เวลาในการปรับตัวอยู่ครับ
ในประเด็นด้านบริษัทประกันนั้น ผมคิดว่าภาพในระยะยาวที่เกิดขึ้น รูปแบบของบริการจะออกมาเป็น Self-driving electric taxi (คล้ายๆ Google+Tesla+Uber) ซึ่งถ้า platform แบบนี้เกิดขึ้น สิ่งที่ตามมาคือการให้บริการของแท็กซี่ไร้คนขับนี้จะสะดวกมาก จนทำให้ความจำเป็นที่คนทั่วๆ ไปต้องเป็นเจ้าของรถยนต์มีน้อยลงอย่างมาก ซึ่งถ้า platform ในลักษณะนี้มี player ที่ทำได้ดีกว่าคนอื่นมากๆ จนเกิด network effect ขึ้นด้วยแล้ว ก็น่าจะทำให้เหลือผู้เล่นหลักเพียงแค่ไม่กี่ราย ซึ่งถ้าภาพที่เกิดขึ้นเป็นอย่างที่ผมมโนตามนี้บริษัทประกันภัยคงต้องปรับตัวเยอะหน่อยครับ[/quote]
เห็นด้วยครับ เรื่องรถยนต์ในอนาคต นั้นตอนนี้ มีกระแสที่แรงมากๆ 2 เรื่องด้วยกันคือ
1. รถยนต์ไร้คนขับ เช่น Google car
2. การ share รถยนต์ เช่น uber
จนกระทั่งมันอาจจะกลายเป็นทั้งสองอย่างรวมกัน
วิถีชีวิตของมนุษย์ น่าจะสะดวกขึ้น เวลาที่ขับรถเอาไปทำอย่างอื่นได้
asset คือตัวรถยนต์เองสามารถ utilize ได้มากขึ้นไม่ต้องจอดเฉยๆ
( เช่น เราทำงานอยู่ รถยนต์เราก็ช่วยเราหาเงินโดยไปเป็น uber เป็นต้น )
หากเกิดขึ้นได้ พวก อุตสาหกรรม ที่ได้ผลกระทบ และ ปรับตัวไม่ทัน อาจจะสูญหายไปเยอะ
บริษัทใหม่ๆ สามารถจับ trend ได้ น่าจะมีเกิดขึ้นได้อีกเยอะครับ
- ผู้ผลิตรถยนต์ ผู้ผลิตชิ้นส่วน ดีลเลอร์รถ อู่ซ่อมรถ
- บริษัทไฟแนนซ์และประกัน
- กลุ่มโรงพยาบาลและทนาย
- บริษัทปิโตรเลียม
- บริษัทก่อสร้าง (ถนน ทางด่วน ป้ายโฆษณา ไฟจราจร)
- บริษัทขนส่ง (แท็กซี่ รถไฟฟ้า)
ผมคิดว่าปัญหาตรงนี้สำหรับบ้านเราน่าจะทำให้การเข้ามาของรถยนต์ไฟฟ้าหรือหรือไร้คนขับใช้เวลาพอสมควรครับ ส่วนทาง USA นั้นอาจจะเร็วกว่าเรามาก แต่ก็ยังมีปัญหาในด้านของความเชื่อมั่นและเรื่อง moral hazard ที่คนในสังคมจะต้องใช้เวลาในการปรับตัวอยู่ครับ
ในประเด็นด้านบริษัทประกันนั้น ผมคิดว่าภาพในระยะยาวที่เกิดขึ้น รูปแบบของบริการจะออกมาเป็น Self-driving electric taxi (คล้ายๆ Google+Tesla+Uber) ซึ่งถ้า platform แบบนี้เกิดขึ้น สิ่งที่ตามมาคือการให้บริการของแท็กซี่ไร้คนขับนี้จะสะดวกมาก จนทำให้ความจำเป็นที่คนทั่วๆ ไปต้องเป็นเจ้าของรถยนต์มีน้อยลงอย่างมาก ซึ่งถ้า platform ในลักษณะนี้มี player ที่ทำได้ดีกว่าคนอื่นมากๆ จนเกิด network effect ขึ้นด้วยแล้ว ก็น่าจะทำให้เหลือผู้เล่นหลักเพียงแค่ไม่กี่ราย ซึ่งถ้าภาพที่เกิดขึ้นเป็นอย่างที่ผมมโนตามนี้บริษัทประกันภัยคงต้องปรับตัวเยอะหน่อยครับ[/quote]
เห็นด้วยครับ เรื่องรถยนต์ในอนาคต นั้นตอนนี้ มีกระแสที่แรงมากๆ 2 เรื่องด้วยกันคือ
1. รถยนต์ไร้คนขับ เช่น Google car
2. การ share รถยนต์ เช่น uber
จนกระทั่งมันอาจจะกลายเป็นทั้งสองอย่างรวมกัน
วิถีชีวิตของมนุษย์ น่าจะสะดวกขึ้น เวลาที่ขับรถเอาไปทำอย่างอื่นได้
asset คือตัวรถยนต์เองสามารถ utilize ได้มากขึ้นไม่ต้องจอดเฉยๆ
( เช่น เราทำงานอยู่ รถยนต์เราก็ช่วยเราหาเงินโดยไปเป็น uber เป็นต้น )
หากเกิดขึ้นได้ พวก อุตสาหกรรม ที่ได้ผลกระทบ และ ปรับตัวไม่ทัน อาจจะสูญหายไปเยอะ
บริษัทใหม่ๆ สามารถจับ trend ได้ น่าจะมีเกิดขึ้นได้อีกเยอะครับ
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รถที่ไม่ต้องใช้คนขับ/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 14
Tesla Model S เปิดโหมด Autopilot เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงเป็นครั้งแรก คนขับเสียชีวิตทันที
รถยนต์ไฟฟ้า Tesla ได้รับอัพเดตเพิ่มฟีเจอร์ขับอัตโนมัติ หรือ Autopilot มาตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว มีคนใช้มากมาย ล่าสุดเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงจากการใช้ฟีเจอร์นี้เป็นครั้งแรก ส่งผลให้คนขับเสียชีวิตทันที
อุบัติเหตุนี้เกิดขึ้นบริเวณทางแยกบนทางหลวงในเมือง Williston รัฐฟลอริดา ผู้ขับรถ Tesla Model S คือนาย Joshua D. Brown อายุ 40 ปี ก่อนเขามาถึงทางแยก มีรถบรรทุกขนาดใหญ่กำลังเลี้ยวขวางถนนอยู่ รถยนต์ Tesla ของ Brown แยกแยะระหว่างด้านข้างของรถบรรทุกซึ่งเป็นสีขาว กับท้องฟ้าที่ค่อนข้างสว่างไม่ออก ทำให้ไม่ได้เบรก พุ่งชนและลอดใต้รถบรรทุกไป ชายล่างของตัวเทรลเลอร์ฉีกหลังคารถ Tesla ออกทั้งแผ่น รถของ Brown ไปจอดนิ่งห่างจากจุดเกิดอุบัติเหตุไปหลายร้อยฟุต เขาเสียชีวิตทันที
คนขับรถบรรทุก Frank Baressi อายุ 62 ปี กล่าวว่าหลังจากชน เขาไปดูรถ Tesla พบว่าบนหน้าจอกำลังเล่นภาพยนตร์ Harry Potter อยู่ แต่ไม่เป็นที่แน่ชัดว่ารถ Tesla อนุญาตให้ชมภาพยนต์ขณะรถกำลังวิ่งอยู่ได้หรือไม่ และในรายงานของตำรวจก็ไม่มีการกล่าวถึงภาพยนตร์นี้ด้วย
ภายหลังจากอุบัติเหตุ Tesla Motors ออกแถลงการณ์บนบล็อกของบริษัท แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งชี้แจงว่าระบบ Autopilot ยังต้องการความสนใจจากคนขับตลอดเวลา และต้องเตรียมพร้อมที่จะเข้าควบคุมรถได้ทุกเมื่อ โดยรถจะตรวจสอบเรื่อยๆ ว่ามือของผู้ขับยังจับพวงมาลัยอยู่หรือไม่ หากไม่จับจะส่งสัญญาณเสียงเตือน พร้อมกับขึ้นข้อความบนหน้าจอ และหากยังไม่จับ รถจะชะลอความเร็วลงเรื่อยๆ จนกว่าจะมีปฏิกิริยาจากผู้ขับขี่
นาย Brown เป็นผู้ที่ชื่นชอบรถ Tesla มาก เขาอัพโหลดวิดีโอการใช้งานรถขึ้น ช่อง YouTube ส่วนตัวอยู่บ่อยครั้ง และชมว่าเป็นรถที่ดีที่สุดเท่าที่เขาเคยเป็นเจ้าของมา โดยวิดีโอล่าสุดของเขามีผู้ชมเกือบ 2 ล้านวิว เป็นเหตุการณ์ที่มีรถเครนขนาดเล็กปาดเข้ามาในเลน ซึ่งรถของเขาได้หักหลบและชะลอความเร็วลงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุได้อย่างน่าประทับใจ วิดีโอนี้ดังมากจน Elon Musk ซีอีโอของบริษัทเคยเอาไปทวีตบนบัญชีทวิตเตอร์ส่วนตัวด้วย
https://www.blognone.com/node/82888
รถยนต์ไฟฟ้า Tesla ได้รับอัพเดตเพิ่มฟีเจอร์ขับอัตโนมัติ หรือ Autopilot มาตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว มีคนใช้มากมาย ล่าสุดเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงจากการใช้ฟีเจอร์นี้เป็นครั้งแรก ส่งผลให้คนขับเสียชีวิตทันที
อุบัติเหตุนี้เกิดขึ้นบริเวณทางแยกบนทางหลวงในเมือง Williston รัฐฟลอริดา ผู้ขับรถ Tesla Model S คือนาย Joshua D. Brown อายุ 40 ปี ก่อนเขามาถึงทางแยก มีรถบรรทุกขนาดใหญ่กำลังเลี้ยวขวางถนนอยู่ รถยนต์ Tesla ของ Brown แยกแยะระหว่างด้านข้างของรถบรรทุกซึ่งเป็นสีขาว กับท้องฟ้าที่ค่อนข้างสว่างไม่ออก ทำให้ไม่ได้เบรก พุ่งชนและลอดใต้รถบรรทุกไป ชายล่างของตัวเทรลเลอร์ฉีกหลังคารถ Tesla ออกทั้งแผ่น รถของ Brown ไปจอดนิ่งห่างจากจุดเกิดอุบัติเหตุไปหลายร้อยฟุต เขาเสียชีวิตทันที
คนขับรถบรรทุก Frank Baressi อายุ 62 ปี กล่าวว่าหลังจากชน เขาไปดูรถ Tesla พบว่าบนหน้าจอกำลังเล่นภาพยนตร์ Harry Potter อยู่ แต่ไม่เป็นที่แน่ชัดว่ารถ Tesla อนุญาตให้ชมภาพยนต์ขณะรถกำลังวิ่งอยู่ได้หรือไม่ และในรายงานของตำรวจก็ไม่มีการกล่าวถึงภาพยนตร์นี้ด้วย
ภายหลังจากอุบัติเหตุ Tesla Motors ออกแถลงการณ์บนบล็อกของบริษัท แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งชี้แจงว่าระบบ Autopilot ยังต้องการความสนใจจากคนขับตลอดเวลา และต้องเตรียมพร้อมที่จะเข้าควบคุมรถได้ทุกเมื่อ โดยรถจะตรวจสอบเรื่อยๆ ว่ามือของผู้ขับยังจับพวงมาลัยอยู่หรือไม่ หากไม่จับจะส่งสัญญาณเสียงเตือน พร้อมกับขึ้นข้อความบนหน้าจอ และหากยังไม่จับ รถจะชะลอความเร็วลงเรื่อยๆ จนกว่าจะมีปฏิกิริยาจากผู้ขับขี่
นาย Brown เป็นผู้ที่ชื่นชอบรถ Tesla มาก เขาอัพโหลดวิดีโอการใช้งานรถขึ้น ช่อง YouTube ส่วนตัวอยู่บ่อยครั้ง และชมว่าเป็นรถที่ดีที่สุดเท่าที่เขาเคยเป็นเจ้าของมา โดยวิดีโอล่าสุดของเขามีผู้ชมเกือบ 2 ล้านวิว เป็นเหตุการณ์ที่มีรถเครนขนาดเล็กปาดเข้ามาในเลน ซึ่งรถของเขาได้หักหลบและชะลอความเร็วลงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุได้อย่างน่าประทับใจ วิดีโอนี้ดังมากจน Elon Musk ซีอีโอของบริษัทเคยเอาไปทวีตบนบัญชีทวิตเตอร์ส่วนตัวด้วย
https://www.blognone.com/node/82888
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รถที่ไม่ต้องใช้คนขับ/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 16
Elon Musk เผยแผนการขั้นสุดยอดของ Tesla ต่อไปรถจะวิ่งทำงานหาเงินให้เจ้าของได้
https://www.blognone.com/node/83740
ไม่กี่วันก่อน Elon Musk โพสต์บทความลงบนบล็อกของ Tesla เขาเรียกมันว่า “แผนการขั้นสุดยอด ตอนที่ 2” หรือ “Master Plan, Part Deux” (Deux แปลว่า 2 ในภาษาฝรั่งเศส) เป็นแนวทางที่ Tesla ต้องการมุ่งหน้าไป อีกทั้งยังมีการเปิดเผยข้อมูลผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วย ผมอ่านแล้วคิดว่าทำให้เห็นภาพรวมระยะยาวของ Tesla ได้ดีมาก เลยแปลมาลงอีกทีครับ
ก่อนจะมาถึงแผนการขั้นที่ 2 ก็ต้องมีขั้นที่ 1 ก่อน ซึ่ง Elon เคยเขียนไว้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว สรุปออกมาได้ 4 ข้อ ดังนี้ โดยในวงเล็บเป็นข้อความของผมเอง
ผลิตรถยนต์จำนวนน้อยๆ และขายแพง (Tesla Roadster)
ใช้เงินที่ได้จากข้อ 1 มาพัฒนารถยนต์ที่จะขายได้มากขึ้น และราคาถูกลง (Tesla Model S, Model X)
ใช้เงินที่ได้จากข้อ 2 มาพัฒนารถยนต์ที่จะผลิตได้จำนวนมาก และคนส่วนใหญ่สามารถซื้อได้ (Tesla Model 3)
ให้บริการด้านพลังงานแสงอาทิตย์ (SolarCity)
เส้นทางความเป็นมาของข้อ 1 ถึง 3 ผมเคยเขียนไว้ครั้งนึงแล้วตอนที่ Tesla Model 3 เปิดตัว ลองกดเข้าไปอ่านกันได้
Elon Musk บอกว่าการที่เขาต้องเริ่มจากข้อ 1 (ผลิตจำนวนน้อย) เพราะมันเป็นทุกสิ่งที่เขาทำได้จากการขาย PayPal ให้ eBay ไปในราคา 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตอนนั้นเขาคิดว่าโอกาสที่ Tesla จะไปรอดนั้นต่ำมาก เลยไม่อยากไปขอเงินทุนจากคนอื่นมา ทำให้ต้องใช้เงินตัวเอง โดยบริษัทรถยนต์หน้าใหม่ก็แทบจะไม่มีใครไปรอด และในปี 2016 มีบริษัทรถยนต์ในสหรัฐฯ เพียง 2 เจ้าที่ไม่ล้มละลาย คือ Ford และ Tesla นั่นเอง Elon บอกว่าการตั้งบริษัทรถยนต์ก็โง่พออยู่แล้ว และการตั้งบริษัทรถยนต์ไฟฟ้ายิ่งโง่ยกกำลัง 2 เลย
การผลิตรถยนต์ในจำนวนน้อย แปลว่าโรงงานก็ไม่ต้องใหญ่มาก ซับซ้อนน้อยลง ถึงแม้ว่าการผลิตเกือบทั้งหมดต้องทำด้วยมือก็ตาม และแน่นอนว่าพอผลิตจำนวนน้อยก็ต้องขายแพง ไม่เกี่ยงว่าสิ่งที่ผลิตจะเป็นรถยนต์ซีดานหรือรถสปอร์ต (แล้วทำไมต้องผลิตรถยนต์ธรรมดาขายล่ะ?) เขาบอกว่ามีคนที่พร้อมจะจ่ายหนักสำหรับรถสปอร์ต แต่ไม่มีใครอยากจ่ายเงิน 1 แสนดอลลาร์เพื่อ Honda Civic พลังงานไฟฟ้าหรอก ต่อให้มันจะดูเท่แค่ไหนก็เถอะ
เหตุผลหนึ่งที่ Elon เขียนแผนการขั้นที่ 1 ไว้ก็เพื่อป้องกันข้อครหาว่า Tesla ผลิตรถยนต์สำหรับคนรวยเท่านั้น เช่นตั้งบริษัทอินดี้มาเพราะรู้สึกว่ายังมีแบรนด์รถสปอร์ตไม่เพียงพอ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม เขาบอกว่ายังมีบทความโจมตี Tesla ออกมามากมายนับไม่ถ้วนอยู่ดี
เหตุผลหลักของแผนการขั้นที่ 1 คืออธิบายการกระทำต่างๆ ของ Tesla ในภาพรวม หลักๆ แล้วก็คือการเร่งให้คนหันมาใช้พลังงานที่ยั่งยืน ทำให้มนุษย์สามารถจินตนาการถึงอนาคตได้ไกล และยังดำรงชีวิตได้อยู่ (ไม่ใช่คิดว่าอีก 10 ปี 100 ปี น้ำมันหมดโลก อยู่กันไม่ได้) เขาย้ำว่า “ความยั่งยืน” ไม่ใช่ของงี่เง่า หรืออินดี้แต่อย่างใด แต่มันสำคัญกับทุกคน
Elon บอกว่าเมื่อถึงจุดหนึ่ง เราก็ต้องเปลี่ยนไปใช้พลังงานที่ยั่งยืน หรือไม่อย่างนั้นแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลก็จะหมดลง และมนุษยชาติก็จะล่มสลาย ยังไงเราก็ต้องเลิกใช้น้ำมัน และนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมดก็เห็นด้วยว่าปริมาณคาร์บอนในชั้นบรรยากาศและในมหาสมุทรเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ ยิ่งเราหันมาใช้พลังงานที่ยั่งยืนได้เร็วแค่ไหน ก็ยิ่งดีเท่านั้น
เพื่อให้พวกเราเข้าถึงพลังงานที่ยั่งยืนได้เร็วขึ้น Elon เปิดเผยแผนการขั้นที่ 2 ดังนี้
รวมการกำเนิดพลังงานและการเก็บพลังงานเข้าด้วยกัน
สร้างโซลาร์เซลล์ที่รวมระบบเข้ากับแบตเตอรี่แบบไร้รอยต่อสำหรับบ้านแต่ละหลัง จากนั้นก็ขยายสเกลไปทั่วโลก สั่งครั้งเดียว, ติดตั้งครั้งเดียว, ติดต่อบริการที่เดียว, ใช้แอพแอพเดียว
โซลูชันแบบนี้ไม่สามารถทำได้ถ้า Tesla และ SolarCity เป็นคนละบริษัทกัน (Tesla เพิ่งเสนอเข้าซื้อ SolarCity ไปเดือนก่อน) ขณะนี้ Tesla พร้อมแล้วที่จะขยายการผลิต Powerwall และ SolarCity ก็พร้อมที่จะผลิตแผงโซลาร์เซลล์ที่แตกต่างจากคนอื่นเช่นกัน ตอนนี้ถึงเวลาที่จะนำทั้งสองมารวมกันแล้ว
Tesla Powerwall ชาร์จไฟเก็บไว้ตอนกลางวัน เอามาใช้ตอนกลางคืน
ขยายตัวเพื่อให้ครอบคลุมการขนส่งทางบกส่วนใหญ่
ขณะนี้ Tesla มีคำตอบสำหรับรถเก๋งแบบพรีเมี่ยมและรถ SUV แล้ว (Model S และ X) แต่สองอย่างนี้ยังเป็นเพียงส่วนเล็กๆ เท่านั้น ซึ่งการมาของ Model 3 จะช่วยให้ทำตลาดได้กว้างขึ้น โดย Elon บอกว่ารถยนต์ที่ราคาถูกกว่า Model 3 จะไม่จำเป็นแล้ว เหตุผลอยู่ในย่อหน้าถัดๆ ไป (ใครหวังว่าจะมี Tesla ราคาถูกมากๆ ก็อดไปนะครับ)
สิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับการเร่งการมาถึงของอนาคตที่ยั่งยืนคือต้องขยายความสามารถในการผลิตให้เร็วที่สุด เขาบอกว่า Tesla โฟกัสอย่างหนักไปที่การสร้างเครื่องจักรที่ผลิตเครื่องจักร พวกเขาต้องการเปลี่ยนตัวโรงงานเองให้เป็นสินค้า ทฤษฎีฟิสิกส์พื้นฐานด้านการผลิตยานพาหนะบอกไว้ว่าการพัฒนาไปอีก 5-10 เท่า (จากของเดิม) จะเกิดขึ้นที่เวอร์ชันที่ 3 หรือภายในรอบ 2 ปี ซึ่งขณะนี้โรงงานผลิต Model 3 อยู่ที่เวอร์ชัน 0.5 ซึ่งต้องรอถึงปี 2018 กว่าจะถึงเวอร์ชัน 1.0
นอกจากรถยนต์ที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว เรายังต้องการรถยนต์ไฟฟ้าอีก 2 ประเภท คือรถบรรทุกสำหรับงานหนัก (heavy-duty) และรถประเภทรถเมล์ที่จุคนได้มาก โดยทั้งสองอย่างยังอยู่ในขั้นแรกของการวิจัย และน่าจะพร้อมสำหรับการเปิดตัวภายในปีหน้า ซึ่ง Elon Musk เรียกรถบรรทุกไฟฟ้าว่า Tesla Semi เขาเชื่อว่ามันจะลดค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งลงได้ ในขณะที่มีความปลอดภัยสูงขึ้น รวมถึงการควบคุมก็สนุกอีกด้วย
ส่วนเรื่องรถเมล์แบบใหม่ เขาบอกว่ามันเข้าท่าที่จะลดขนาดรถบัสในปัจจุบันลง แล้วเอาคนขับออกไปทำงานเป็นผู้ควบคุมกลุ่มยานพาหานะแทน (fleet manager) ปัญหารถติดน่าจะลดลง เนื่องจากรถจะเร่งและเบรคตามจังหวะการไหลของรถคันอื่นๆ (รถคันข้างหน้าขยับแล้วก็เคลื่อนตามทันที ไม่เว้นห่างหรือออกตัวช้า) อีกทั้งรถเมล์แบบใหม่นี้จะส่งผู้โดยสารทุกคนถึงจุดหมาย ไม่มีเส้นทางเดินรถตายตัว ใช้การเรียกรถผ่านแอพแทน (ระบบน่าจะคำนวณให้ว่าคนที่จะไปบริเวณนี้ควรส่งรถคันไหนมารับ) ส่วนคนที่ไม่มีสมาร์ทโฟนก็สามารถกดปุ่มเรียกรถได้จากป้ายรถเมล์เช่นกัน อีกทั้งยังออกแบบให้รองรับวีลแชร์, รถเข็นเด็ก และจักรยานอีกด้วย
การขับอัตโนมัติ
เมื่อเทคโนโลยีก้าวไปข้างหน้า รถยนต์ Tesla ทุกคันจะติดตั้งฮาร์ดแวร์สำหรับการขับอัตโนมัติเต็มรูปแบบ (fully self-driving) พร้อมความสามารถรองรับความล้มเหลวในระบบได้ (fail-operational capability) กล่าวคือถึงแม้จะมีระบบใดๆ ก็ตามในรถเกิดเสีย แต่รถจะยังสามารถขับต่อไปได้เองอย่างปลอดภัย Elon Musk ย้ำว่าการปรับแต่งซอฟต์แวร์จะใช้เวลานานกว่าการแค่เอากล้อง, เรดาร์, โซนาร์ และอุปกรณ์คิดคำนวณมาติดตั้งเข้ากับรถ
ถึงแม้ซอฟต์แวร์จะถูกปรับแต่งมาให้ทำงานได้ดีกว่ามนุษย์มากแล้ว เราก็ยังต้องรอให้รัฐรับรองการขับอัตโนมัติเต็มรูปแบบอีกนานอยู่ดี ทาง Tesla คาดว่าหน่วยงานรัฐทั่วโลกต้องการเห็นผลงานการขับอัตโนมัติเป็นระยะทางถึง 6 พันล้านไมล์ หรือ 1 หมื่นล้านกิโลเมตรเลยทีเดียว โดยขณะนี้มีการเรียนรู้ของรถอยู่ที่ 5 ล้านกิโลเมตรต่อวัน
Elon ระบุว่าที่ Tesla เปิดระบบ Autopilot ให้ใช้กันตอนนี้เพราะเมื่อใช้งานอย่างถูกต้อง ก็ปลอดภัยมากกว่าการขับด้วยมือแล้ว รวมถึง Tesla จะไม่หยุดการใช้งาน Autopilot เพราะกลัวสื่อมวลชนแย่ๆ อีกด้วย
ตามรายงานของ National Highway Traffic Safety Administration (NHTSA) เมื่อปี 2015 ระบุว่าอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่ร้ายแรงถึงชีวิตเพิ่มขึ้น 8% คือเสียชีวิต 1 คนทุกๆ ระยะทาง 89 ล้านไมล์ ซึ่งสถิติของ Autopilot กำลังจะดีขึ้นเป็น 2 เท่าของตัวเลขนั้นและจะดีขึ้นทุกๆ วัน โดยเขาบอกว่ามันไม่มีเหตุผลที่จะปิดระบบ Autopilot ดังที่มีคนพยายามเรียกร้อง เหมือนกับการที่เราไม่ควรเลิกใช้ระบบ Autopilot ในเครื่องบินนั่นเอง
นอกจากนี้ Elon ยังบอกว่าที่ Tesla ใส่คำว่า beta ให้กับระบบ Autopilot เพราะต้องการลด “ความคาดหวัง” ของลูกค้า และทำให้พวกเขาคิดว่าระบบยังพัฒนาต่อได้อีก ซึ่งจริงๆ แล้วระบบนี้ไม่ได้เป็นซอฟต์แวร์ขั้น beta อยู่แล้ว ก่อนการปล่อยอัพเดตจะมีการทดสอบภายในอย่างเข้มข้น และ Tesla จะปลดคำว่า beta ออกก็ต่อเมื่อสถิติทั้งหมดชี้ว่ามันปลอดภัยกว่ายานพาหนะในสหรัฐอเมริกา 10 เท่า
การแบ่งปัน
เมื่อการขับอัตโนมัติเต็มรูปแบบถูกรับรองโดยหน่วยงานรัฐ แปลว่าเจ้าของรถจะสามารถเรียกรถให้ขับมาหาจากที่ไหนก็ได้ พอเราก้าวขึ้นรถ เราสามารถนอนหลับ, อ่านหนังสือ หรือทำอะไรก็ได้จนถึงจุดหมายปลายทาง
ในอนาคต Tesla จะจัดให้มีกลุ่มรถยนต์เพื่อการแบ่งปัน เจ้าของรถ Tesla ทุกคนสามารถเอารถตัวเองเข้าร่วมโครงการได้ผ่านแอพ และปล่อยให้รถสร้างรายได้โดยการวิ่งรับส่งคนขณะที่เราทำงาน, ไปเที่ยวต่างประเทศ หรือเวลาใดๆ ที่ไม่ได้ใช้รถ เขาระบุว่าน่าจะสร้างรายได้ได้มากกว่าค่าผ่อนรถรายเดือนเสียอีก การทำแบบนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าของรถลงได้มาก จนถึงจุดที่เกือบทุกคนสามารถซื้อ Tesla มาใช้ได้ (ช่วงที่ไม่ใช้รถก็เอาไปวิ่งหาเงิน แล้วใช้เงินที่ได้มาไปช่วยผ่อนรถ) ซึ่ง Elon บอกว่าโดยปกติคนทั่วไปใช้รถเพียง 5-10% ของเวลาใน 1 วันเท่านั้น เอาเวลาที่ไม่ใช้ไปวิ่งหาเงินดีกว่า
สำหรับเมืองที่มีความต้องการสูงกว่าปริมาณรถที่มีคนเอารถเข้ามาร่วม ทาง Tesla จะจัดรถมาเสริมให้ด้วย
สรุป แผนการขั้นสุดยอด ตอนที่ 2 แยกได้เป็น 4 หัวข้อหลัก คือ
สร้างโซลาร์เซลล์สำหรับบ้าน และรวมระบบเข้ากับแบตเตอรี่สำหรับเก็บไฟ
ขยายไลน์การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้ครอบคลุมการขนส่งทางบกส่วนใหญ่
พัฒนาระบบขับอัตโนมัติที่ปลอดภัยกว่าการขับเอง 10 เท่า ผ่านระบบเรียนรู้ด้วยตัวเอง (รถสอนรถ)
ทำให้รถวิ่งหารายได้ให้เจ้าของตอนที่ไม่มีการใช้งาน
ผมอ่านแล้วคิดว่าหลังจากนี้เราคงไม่อาจเรียก Tesla ว่าเป็นบริษัทรถยนต์ได้อีกแล้วนะครับ
https://www.blognone.com/node/83740
ไม่กี่วันก่อน Elon Musk โพสต์บทความลงบนบล็อกของ Tesla เขาเรียกมันว่า “แผนการขั้นสุดยอด ตอนที่ 2” หรือ “Master Plan, Part Deux” (Deux แปลว่า 2 ในภาษาฝรั่งเศส) เป็นแนวทางที่ Tesla ต้องการมุ่งหน้าไป อีกทั้งยังมีการเปิดเผยข้อมูลผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วย ผมอ่านแล้วคิดว่าทำให้เห็นภาพรวมระยะยาวของ Tesla ได้ดีมาก เลยแปลมาลงอีกทีครับ
ก่อนจะมาถึงแผนการขั้นที่ 2 ก็ต้องมีขั้นที่ 1 ก่อน ซึ่ง Elon เคยเขียนไว้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว สรุปออกมาได้ 4 ข้อ ดังนี้ โดยในวงเล็บเป็นข้อความของผมเอง
ผลิตรถยนต์จำนวนน้อยๆ และขายแพง (Tesla Roadster)
ใช้เงินที่ได้จากข้อ 1 มาพัฒนารถยนต์ที่จะขายได้มากขึ้น และราคาถูกลง (Tesla Model S, Model X)
ใช้เงินที่ได้จากข้อ 2 มาพัฒนารถยนต์ที่จะผลิตได้จำนวนมาก และคนส่วนใหญ่สามารถซื้อได้ (Tesla Model 3)
ให้บริการด้านพลังงานแสงอาทิตย์ (SolarCity)
เส้นทางความเป็นมาของข้อ 1 ถึง 3 ผมเคยเขียนไว้ครั้งนึงแล้วตอนที่ Tesla Model 3 เปิดตัว ลองกดเข้าไปอ่านกันได้
Elon Musk บอกว่าการที่เขาต้องเริ่มจากข้อ 1 (ผลิตจำนวนน้อย) เพราะมันเป็นทุกสิ่งที่เขาทำได้จากการขาย PayPal ให้ eBay ไปในราคา 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตอนนั้นเขาคิดว่าโอกาสที่ Tesla จะไปรอดนั้นต่ำมาก เลยไม่อยากไปขอเงินทุนจากคนอื่นมา ทำให้ต้องใช้เงินตัวเอง โดยบริษัทรถยนต์หน้าใหม่ก็แทบจะไม่มีใครไปรอด และในปี 2016 มีบริษัทรถยนต์ในสหรัฐฯ เพียง 2 เจ้าที่ไม่ล้มละลาย คือ Ford และ Tesla นั่นเอง Elon บอกว่าการตั้งบริษัทรถยนต์ก็โง่พออยู่แล้ว และการตั้งบริษัทรถยนต์ไฟฟ้ายิ่งโง่ยกกำลัง 2 เลย
การผลิตรถยนต์ในจำนวนน้อย แปลว่าโรงงานก็ไม่ต้องใหญ่มาก ซับซ้อนน้อยลง ถึงแม้ว่าการผลิตเกือบทั้งหมดต้องทำด้วยมือก็ตาม และแน่นอนว่าพอผลิตจำนวนน้อยก็ต้องขายแพง ไม่เกี่ยงว่าสิ่งที่ผลิตจะเป็นรถยนต์ซีดานหรือรถสปอร์ต (แล้วทำไมต้องผลิตรถยนต์ธรรมดาขายล่ะ?) เขาบอกว่ามีคนที่พร้อมจะจ่ายหนักสำหรับรถสปอร์ต แต่ไม่มีใครอยากจ่ายเงิน 1 แสนดอลลาร์เพื่อ Honda Civic พลังงานไฟฟ้าหรอก ต่อให้มันจะดูเท่แค่ไหนก็เถอะ
เหตุผลหนึ่งที่ Elon เขียนแผนการขั้นที่ 1 ไว้ก็เพื่อป้องกันข้อครหาว่า Tesla ผลิตรถยนต์สำหรับคนรวยเท่านั้น เช่นตั้งบริษัทอินดี้มาเพราะรู้สึกว่ายังมีแบรนด์รถสปอร์ตไม่เพียงพอ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม เขาบอกว่ายังมีบทความโจมตี Tesla ออกมามากมายนับไม่ถ้วนอยู่ดี
เหตุผลหลักของแผนการขั้นที่ 1 คืออธิบายการกระทำต่างๆ ของ Tesla ในภาพรวม หลักๆ แล้วก็คือการเร่งให้คนหันมาใช้พลังงานที่ยั่งยืน ทำให้มนุษย์สามารถจินตนาการถึงอนาคตได้ไกล และยังดำรงชีวิตได้อยู่ (ไม่ใช่คิดว่าอีก 10 ปี 100 ปี น้ำมันหมดโลก อยู่กันไม่ได้) เขาย้ำว่า “ความยั่งยืน” ไม่ใช่ของงี่เง่า หรืออินดี้แต่อย่างใด แต่มันสำคัญกับทุกคน
Elon บอกว่าเมื่อถึงจุดหนึ่ง เราก็ต้องเปลี่ยนไปใช้พลังงานที่ยั่งยืน หรือไม่อย่างนั้นแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลก็จะหมดลง และมนุษยชาติก็จะล่มสลาย ยังไงเราก็ต้องเลิกใช้น้ำมัน และนักวิทยาศาสตร์ทั้งหมดก็เห็นด้วยว่าปริมาณคาร์บอนในชั้นบรรยากาศและในมหาสมุทรเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ ยิ่งเราหันมาใช้พลังงานที่ยั่งยืนได้เร็วแค่ไหน ก็ยิ่งดีเท่านั้น
เพื่อให้พวกเราเข้าถึงพลังงานที่ยั่งยืนได้เร็วขึ้น Elon เปิดเผยแผนการขั้นที่ 2 ดังนี้
รวมการกำเนิดพลังงานและการเก็บพลังงานเข้าด้วยกัน
สร้างโซลาร์เซลล์ที่รวมระบบเข้ากับแบตเตอรี่แบบไร้รอยต่อสำหรับบ้านแต่ละหลัง จากนั้นก็ขยายสเกลไปทั่วโลก สั่งครั้งเดียว, ติดตั้งครั้งเดียว, ติดต่อบริการที่เดียว, ใช้แอพแอพเดียว
โซลูชันแบบนี้ไม่สามารถทำได้ถ้า Tesla และ SolarCity เป็นคนละบริษัทกัน (Tesla เพิ่งเสนอเข้าซื้อ SolarCity ไปเดือนก่อน) ขณะนี้ Tesla พร้อมแล้วที่จะขยายการผลิต Powerwall และ SolarCity ก็พร้อมที่จะผลิตแผงโซลาร์เซลล์ที่แตกต่างจากคนอื่นเช่นกัน ตอนนี้ถึงเวลาที่จะนำทั้งสองมารวมกันแล้ว
Tesla Powerwall ชาร์จไฟเก็บไว้ตอนกลางวัน เอามาใช้ตอนกลางคืน
ขยายตัวเพื่อให้ครอบคลุมการขนส่งทางบกส่วนใหญ่
ขณะนี้ Tesla มีคำตอบสำหรับรถเก๋งแบบพรีเมี่ยมและรถ SUV แล้ว (Model S และ X) แต่สองอย่างนี้ยังเป็นเพียงส่วนเล็กๆ เท่านั้น ซึ่งการมาของ Model 3 จะช่วยให้ทำตลาดได้กว้างขึ้น โดย Elon บอกว่ารถยนต์ที่ราคาถูกกว่า Model 3 จะไม่จำเป็นแล้ว เหตุผลอยู่ในย่อหน้าถัดๆ ไป (ใครหวังว่าจะมี Tesla ราคาถูกมากๆ ก็อดไปนะครับ)
สิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับการเร่งการมาถึงของอนาคตที่ยั่งยืนคือต้องขยายความสามารถในการผลิตให้เร็วที่สุด เขาบอกว่า Tesla โฟกัสอย่างหนักไปที่การสร้างเครื่องจักรที่ผลิตเครื่องจักร พวกเขาต้องการเปลี่ยนตัวโรงงานเองให้เป็นสินค้า ทฤษฎีฟิสิกส์พื้นฐานด้านการผลิตยานพาหนะบอกไว้ว่าการพัฒนาไปอีก 5-10 เท่า (จากของเดิม) จะเกิดขึ้นที่เวอร์ชันที่ 3 หรือภายในรอบ 2 ปี ซึ่งขณะนี้โรงงานผลิต Model 3 อยู่ที่เวอร์ชัน 0.5 ซึ่งต้องรอถึงปี 2018 กว่าจะถึงเวอร์ชัน 1.0
นอกจากรถยนต์ที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว เรายังต้องการรถยนต์ไฟฟ้าอีก 2 ประเภท คือรถบรรทุกสำหรับงานหนัก (heavy-duty) และรถประเภทรถเมล์ที่จุคนได้มาก โดยทั้งสองอย่างยังอยู่ในขั้นแรกของการวิจัย และน่าจะพร้อมสำหรับการเปิดตัวภายในปีหน้า ซึ่ง Elon Musk เรียกรถบรรทุกไฟฟ้าว่า Tesla Semi เขาเชื่อว่ามันจะลดค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งลงได้ ในขณะที่มีความปลอดภัยสูงขึ้น รวมถึงการควบคุมก็สนุกอีกด้วย
ส่วนเรื่องรถเมล์แบบใหม่ เขาบอกว่ามันเข้าท่าที่จะลดขนาดรถบัสในปัจจุบันลง แล้วเอาคนขับออกไปทำงานเป็นผู้ควบคุมกลุ่มยานพาหานะแทน (fleet manager) ปัญหารถติดน่าจะลดลง เนื่องจากรถจะเร่งและเบรคตามจังหวะการไหลของรถคันอื่นๆ (รถคันข้างหน้าขยับแล้วก็เคลื่อนตามทันที ไม่เว้นห่างหรือออกตัวช้า) อีกทั้งรถเมล์แบบใหม่นี้จะส่งผู้โดยสารทุกคนถึงจุดหมาย ไม่มีเส้นทางเดินรถตายตัว ใช้การเรียกรถผ่านแอพแทน (ระบบน่าจะคำนวณให้ว่าคนที่จะไปบริเวณนี้ควรส่งรถคันไหนมารับ) ส่วนคนที่ไม่มีสมาร์ทโฟนก็สามารถกดปุ่มเรียกรถได้จากป้ายรถเมล์เช่นกัน อีกทั้งยังออกแบบให้รองรับวีลแชร์, รถเข็นเด็ก และจักรยานอีกด้วย
การขับอัตโนมัติ
เมื่อเทคโนโลยีก้าวไปข้างหน้า รถยนต์ Tesla ทุกคันจะติดตั้งฮาร์ดแวร์สำหรับการขับอัตโนมัติเต็มรูปแบบ (fully self-driving) พร้อมความสามารถรองรับความล้มเหลวในระบบได้ (fail-operational capability) กล่าวคือถึงแม้จะมีระบบใดๆ ก็ตามในรถเกิดเสีย แต่รถจะยังสามารถขับต่อไปได้เองอย่างปลอดภัย Elon Musk ย้ำว่าการปรับแต่งซอฟต์แวร์จะใช้เวลานานกว่าการแค่เอากล้อง, เรดาร์, โซนาร์ และอุปกรณ์คิดคำนวณมาติดตั้งเข้ากับรถ
ถึงแม้ซอฟต์แวร์จะถูกปรับแต่งมาให้ทำงานได้ดีกว่ามนุษย์มากแล้ว เราก็ยังต้องรอให้รัฐรับรองการขับอัตโนมัติเต็มรูปแบบอีกนานอยู่ดี ทาง Tesla คาดว่าหน่วยงานรัฐทั่วโลกต้องการเห็นผลงานการขับอัตโนมัติเป็นระยะทางถึง 6 พันล้านไมล์ หรือ 1 หมื่นล้านกิโลเมตรเลยทีเดียว โดยขณะนี้มีการเรียนรู้ของรถอยู่ที่ 5 ล้านกิโลเมตรต่อวัน
Elon ระบุว่าที่ Tesla เปิดระบบ Autopilot ให้ใช้กันตอนนี้เพราะเมื่อใช้งานอย่างถูกต้อง ก็ปลอดภัยมากกว่าการขับด้วยมือแล้ว รวมถึง Tesla จะไม่หยุดการใช้งาน Autopilot เพราะกลัวสื่อมวลชนแย่ๆ อีกด้วย
ตามรายงานของ National Highway Traffic Safety Administration (NHTSA) เมื่อปี 2015 ระบุว่าอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่ร้ายแรงถึงชีวิตเพิ่มขึ้น 8% คือเสียชีวิต 1 คนทุกๆ ระยะทาง 89 ล้านไมล์ ซึ่งสถิติของ Autopilot กำลังจะดีขึ้นเป็น 2 เท่าของตัวเลขนั้นและจะดีขึ้นทุกๆ วัน โดยเขาบอกว่ามันไม่มีเหตุผลที่จะปิดระบบ Autopilot ดังที่มีคนพยายามเรียกร้อง เหมือนกับการที่เราไม่ควรเลิกใช้ระบบ Autopilot ในเครื่องบินนั่นเอง
นอกจากนี้ Elon ยังบอกว่าที่ Tesla ใส่คำว่า beta ให้กับระบบ Autopilot เพราะต้องการลด “ความคาดหวัง” ของลูกค้า และทำให้พวกเขาคิดว่าระบบยังพัฒนาต่อได้อีก ซึ่งจริงๆ แล้วระบบนี้ไม่ได้เป็นซอฟต์แวร์ขั้น beta อยู่แล้ว ก่อนการปล่อยอัพเดตจะมีการทดสอบภายในอย่างเข้มข้น และ Tesla จะปลดคำว่า beta ออกก็ต่อเมื่อสถิติทั้งหมดชี้ว่ามันปลอดภัยกว่ายานพาหนะในสหรัฐอเมริกา 10 เท่า
การแบ่งปัน
เมื่อการขับอัตโนมัติเต็มรูปแบบถูกรับรองโดยหน่วยงานรัฐ แปลว่าเจ้าของรถจะสามารถเรียกรถให้ขับมาหาจากที่ไหนก็ได้ พอเราก้าวขึ้นรถ เราสามารถนอนหลับ, อ่านหนังสือ หรือทำอะไรก็ได้จนถึงจุดหมายปลายทาง
ในอนาคต Tesla จะจัดให้มีกลุ่มรถยนต์เพื่อการแบ่งปัน เจ้าของรถ Tesla ทุกคนสามารถเอารถตัวเองเข้าร่วมโครงการได้ผ่านแอพ และปล่อยให้รถสร้างรายได้โดยการวิ่งรับส่งคนขณะที่เราทำงาน, ไปเที่ยวต่างประเทศ หรือเวลาใดๆ ที่ไม่ได้ใช้รถ เขาระบุว่าน่าจะสร้างรายได้ได้มากกว่าค่าผ่อนรถรายเดือนเสียอีก การทำแบบนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าของรถลงได้มาก จนถึงจุดที่เกือบทุกคนสามารถซื้อ Tesla มาใช้ได้ (ช่วงที่ไม่ใช้รถก็เอาไปวิ่งหาเงิน แล้วใช้เงินที่ได้มาไปช่วยผ่อนรถ) ซึ่ง Elon บอกว่าโดยปกติคนทั่วไปใช้รถเพียง 5-10% ของเวลาใน 1 วันเท่านั้น เอาเวลาที่ไม่ใช้ไปวิ่งหาเงินดีกว่า
สำหรับเมืองที่มีความต้องการสูงกว่าปริมาณรถที่มีคนเอารถเข้ามาร่วม ทาง Tesla จะจัดรถมาเสริมให้ด้วย
สรุป แผนการขั้นสุดยอด ตอนที่ 2 แยกได้เป็น 4 หัวข้อหลัก คือ
สร้างโซลาร์เซลล์สำหรับบ้าน และรวมระบบเข้ากับแบตเตอรี่สำหรับเก็บไฟ
ขยายไลน์การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้ครอบคลุมการขนส่งทางบกส่วนใหญ่
พัฒนาระบบขับอัตโนมัติที่ปลอดภัยกว่าการขับเอง 10 เท่า ผ่านระบบเรียนรู้ด้วยตัวเอง (รถสอนรถ)
ทำให้รถวิ่งหารายได้ให้เจ้าของตอนที่ไม่มีการใช้งาน
ผมอ่านแล้วคิดว่าหลังจากนี้เราคงไม่อาจเรียก Tesla ว่าเป็นบริษัทรถยนต์ได้อีกแล้วนะครับ