กำไรเท่ากัน แต่ความรู้สึกไม่เหมือนกัน (Contrast Effect)
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
กำไรเท่ากัน แต่ความรู้สึกไม่เหมือนกัน (Contrast Effect)
โพสต์ที่ 1
https://storylog.co/story/56a0d7822519ec78788b9c40
สมมุตินะครับว่าเราเคยจับจ้องมองหุ้นของบริษัทหนึ่ง เรานั่งไล่อ่านงบแล้วพบว่า กำไรของบริษัทในปีนี้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วตั้ง 20% จาก 200 ล้านบาท เป็น 240 ล้านบาท เราคงรู้สึกดีใช่ไหมครับ
นอกจากนั้น ถ้าเราไปเปรียบเทียบกับบริษัทอีกบริษัทหนึ่งที่เราก็จับจ้องมองไว้อยู่เหมือนกัน แต่บริษัทนั้น กำไรกลับลดลงตั้ง 10%
อย่างนี้เราเริ่มจะรู้สึกว่าบริษัทแรกดีมากขึ้นไปอีกเลยใช่ไหมครับ
เอาใหม่นะครับ ถ้าสถานการณ์เปลี่ยนไป กำไรของบริษัทที่เรามองอยู่ (บริษัทแรก) ลดลง 50% จากปีที่แล้ว คือเคยได้กำไร 480 ล้านบาท ตอนนี้เหลือเพียง 240 ล้านบาท เราคงเริ่มรู้สึกไม่ดีกับบริษัทแรกใช่ไหมครับ
แล้วถ้าอีกบริษัทหนึ่งที่เราก็มองไว้เหมือนกัน กำไรดันเพิ่มขึ้นตั้ง 10% คราวนี้รู้สึกอย่างไรครับ
คำตอบคือ ก็คงรู้สึกแย่กับบริษัทแรกมากขึ้นไปอีก !!!
ทั้ง ๆ ที่ทั้งในกรณีที่ 1 และ 2 ที่ผมยกตัวอย่างนั้น บริษัทแรกมีกำไร 240 ล้านบาทเท่ากัน
แต่ความรู้สึกต่างกันราวฟ้ากับเหว
ความรู้สึกนี้ไม่แปลกหรอกครับ มันก็เป็นความรู้สึกเหมือนตอนเราเด็ก ๆ แล้วคุณครูเคยให้ทดลองให้เราเอามือซ้ายจุ่มน้ำร้อน มือขวาจุ่มน้ำเย็น แล้วสักพักให้เอามือสองมือมาจุ่มน้ำธรรมดาพร้อม ๆ กัน ทั้ง ๆ ที่น้ำธรรมดาในอ่างนั้นอุณหภูมิเท่ากันทั้งอ่าง แต่มือซ้ายเรากับรู้สึกเย็น (เพราะเคยจุ่มน้ำร้อนมาก่อน) ในขณะที่มือขวาเรารู้สึกร้อน (เพราะเคยจุ่มน้ำเย็นมาก่อน)
ซึ่งจริง ๆ การทดลองนี้มีมาตั้งนานแล้วครับ เป็นการทดลองของนักปรัชญาที่ชื่อว่า John Locke
ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 โน่นแน่ะ
สิ่งที่เราเจอมีชื่อเรียกว่า Contrast effect ครับ
คือคนเรามักจะมีความรู้สึกในเชิงเปรียบเทียบเสมอ เวลาเราบอกว่าบริษัทดีหรือไม่ดี บางทีมันไม่ได้มาจากตัวเลขผลประกอบการอย่างเดียวหรอกครับ มันมาจากประสบการณ์ของแต่ละคนด้วย
ดังนั้นเวลาไปถามนักวิเคราะห์ หรือ กูรูท่านใด ฟังแล้ว ต้องระวังด้วยนะครับ เนื่องจากคำว่า “ดี” ของแต่ละท่านนั้น มันอาจจะมี Contrast effect แฝงอยู่ก็เป็นได้
เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งเชื่อเขา 100% ในทันทีนะครับ
ติดตามอ่านบทความอื่น ๆ ได้ทาง https://storylog.co/Nopadol
สมมุตินะครับว่าเราเคยจับจ้องมองหุ้นของบริษัทหนึ่ง เรานั่งไล่อ่านงบแล้วพบว่า กำไรของบริษัทในปีนี้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วตั้ง 20% จาก 200 ล้านบาท เป็น 240 ล้านบาท เราคงรู้สึกดีใช่ไหมครับ
นอกจากนั้น ถ้าเราไปเปรียบเทียบกับบริษัทอีกบริษัทหนึ่งที่เราก็จับจ้องมองไว้อยู่เหมือนกัน แต่บริษัทนั้น กำไรกลับลดลงตั้ง 10%
อย่างนี้เราเริ่มจะรู้สึกว่าบริษัทแรกดีมากขึ้นไปอีกเลยใช่ไหมครับ
เอาใหม่นะครับ ถ้าสถานการณ์เปลี่ยนไป กำไรของบริษัทที่เรามองอยู่ (บริษัทแรก) ลดลง 50% จากปีที่แล้ว คือเคยได้กำไร 480 ล้านบาท ตอนนี้เหลือเพียง 240 ล้านบาท เราคงเริ่มรู้สึกไม่ดีกับบริษัทแรกใช่ไหมครับ
แล้วถ้าอีกบริษัทหนึ่งที่เราก็มองไว้เหมือนกัน กำไรดันเพิ่มขึ้นตั้ง 10% คราวนี้รู้สึกอย่างไรครับ
คำตอบคือ ก็คงรู้สึกแย่กับบริษัทแรกมากขึ้นไปอีก !!!
ทั้ง ๆ ที่ทั้งในกรณีที่ 1 และ 2 ที่ผมยกตัวอย่างนั้น บริษัทแรกมีกำไร 240 ล้านบาทเท่ากัน
แต่ความรู้สึกต่างกันราวฟ้ากับเหว
ความรู้สึกนี้ไม่แปลกหรอกครับ มันก็เป็นความรู้สึกเหมือนตอนเราเด็ก ๆ แล้วคุณครูเคยให้ทดลองให้เราเอามือซ้ายจุ่มน้ำร้อน มือขวาจุ่มน้ำเย็น แล้วสักพักให้เอามือสองมือมาจุ่มน้ำธรรมดาพร้อม ๆ กัน ทั้ง ๆ ที่น้ำธรรมดาในอ่างนั้นอุณหภูมิเท่ากันทั้งอ่าง แต่มือซ้ายเรากับรู้สึกเย็น (เพราะเคยจุ่มน้ำร้อนมาก่อน) ในขณะที่มือขวาเรารู้สึกร้อน (เพราะเคยจุ่มน้ำเย็นมาก่อน)
ซึ่งจริง ๆ การทดลองนี้มีมาตั้งนานแล้วครับ เป็นการทดลองของนักปรัชญาที่ชื่อว่า John Locke
ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 โน่นแน่ะ
สิ่งที่เราเจอมีชื่อเรียกว่า Contrast effect ครับ
คือคนเรามักจะมีความรู้สึกในเชิงเปรียบเทียบเสมอ เวลาเราบอกว่าบริษัทดีหรือไม่ดี บางทีมันไม่ได้มาจากตัวเลขผลประกอบการอย่างเดียวหรอกครับ มันมาจากประสบการณ์ของแต่ละคนด้วย
ดังนั้นเวลาไปถามนักวิเคราะห์ หรือ กูรูท่านใด ฟังแล้ว ต้องระวังด้วยนะครับ เนื่องจากคำว่า “ดี” ของแต่ละท่านนั้น มันอาจจะมี Contrast effect แฝงอยู่ก็เป็นได้
เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งเชื่อเขา 100% ในทันทีนะครับ
ติดตามอ่านบทความอื่น ๆ ได้ทาง https://storylog.co/Nopadol
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กำไรเท่ากัน แต่ความรู้สึกไม่เหมือนกัน (Contrast Effect)
โพสต์ที่ 3
อยากแชร์บทความทึ่ีคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์น่ะครับ แต่ถ้าท่านเห็นว่าไม่เหมาะสมกับ Webboard นี้ ต้องขออภัยด้วยครับ เอาเป็นว่าต่อไปจะไม่ post เนื้อหาลักษณะนี้ใน Webboard นี้แล้วกันนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 60
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กำไรเท่ากัน แต่ความรู้สึกไม่เหมือนกัน (Contrast Effect)
โพสต์ที่ 4
โพสต์ต่อเถอะครับ ผมตามอ่านอยู่pinguwing เขียน:อยากแชร์บทความทึ่ีคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์น่ะครับ แต่ถ้าท่านเห็นว่าไม่เหมาะสมกับ Webboard นี้ ต้องขออภัยด้วยครับ เอาเป็นว่าต่อไปจะไม่ post เนื้อหาลักษณะนี้ใน Webboard นี้แล้วกันนะครับ
หรือมีเพจไหมครับ จะไปกดติดตาม
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กำไรเท่ากัน แต่ความรู้สึกไม่เหมือนกัน (Contrast Effect)
โพสต์ที่ 5
ตาม Page นี้ก็ได้ครับ จะได้ไม่รบกวนท่านอื่น ๆ ด้วยน่ะครับ ขอบคุณที่ติดตามนะครับ https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking/rainforce เขียน:โพสต์ต่อเถอะครับ ผมตามอ่านอยู่pinguwing เขียน:อยากแชร์บทความทึ่ีคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์น่ะครับ แต่ถ้าท่านเห็นว่าไม่เหมาะสมกับ Webboard นี้ ต้องขออภัยด้วยครับ เอาเป็นว่าต่อไปจะไม่ post เนื้อหาลักษณะนี้ใน Webboard นี้แล้วกันนะครับ
หรือมีเพจไหมครับ จะไปกดติดตาม
-
- Verified User
- โพสต์: 222
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กำไรเท่ากัน แต่ความรู้สึกไม่เหมือนกัน (Contrast Effect)
โพสต์ที่ 6
ผมก็ติดตามอ่านเหมือนกัน บทความก็เกี่ยวกับจิตวิทยาการลงทุนน่าจะpostได้นะครับ
- Highway_Star
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 452
- ผู้ติดตาม: 1
Re: กำไรเท่ากัน แต่ความรู้สึกไม่เหมือนกัน (Contrast Effect)
โพสต์ที่ 7
เอาจริงๆ ผมว่าแค่โปรโมทนิดหน่อยก็น่าจะโอเคอยู่นะครับ
แปะไว้นิดๆ หน่อยๆ คงไม่เป็นไรเพราะมี link กลับไปที่เวบนั้นอยู่แล้ว
แต่นี่แปะไว้เยอะไปหน่อยครับ ดูๆ แล้วนอกจากจะเหมือนโปรโมท
ยังจะเหมือนจะเอา backlink จากเวบ thaivi ด้วย (เหมือนจะ dofollow ด้วยนะครับ)
บทความมันก็ดีอยู่ครับ แต่มันเยอะไปหน่อย คหสต.นะครับ
แปะไว้นิดๆ หน่อยๆ คงไม่เป็นไรเพราะมี link กลับไปที่เวบนั้นอยู่แล้ว
แต่นี่แปะไว้เยอะไปหน่อยครับ ดูๆ แล้วนอกจากจะเหมือนโปรโมท
ยังจะเหมือนจะเอา backlink จากเวบ thaivi ด้วย (เหมือนจะ dofollow ด้วยนะครับ)
บทความมันก็ดีอยู่ครับ แต่มันเยอะไปหน่อย คหสต.นะครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กำไรเท่ากัน แต่ความรู้สึกไม่เหมือนกัน (Contrast Effect)
โพสต์ที่ 8
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นนะครับ จริง ๆ link ที่ผม post นั้น เป็น link ของ Storylog ที่ผมใช้เขียนเป็นประจำ ไม่ใช่ Web ของผมเลยครับ แต่เข้าใจประเด็นที่ท่านเขียนมาครับ ต้องขออภัยอีกครั้งหากรบกวนนะครับHighway_Star เขียน:เอาจริงๆ ผมว่าแค่โปรโมทนิดหน่อยก็น่าจะโอเคอยู่นะครับ
แปะไว้นิดๆ หน่อยๆ คงไม่เป็นไรเพราะมี link กลับไปที่เวบนั้นอยู่แล้ว
แต่นี่แปะไว้เยอะไปหน่อยครับ ดูๆ แล้วนอกจากจะเหมือนโปรโมท
ยังจะเหมือนจะเอา backlink จากเวบ thaivi ด้วย (เหมือนจะ dofollow ด้วยนะครับ)
บทความมันก็ดีอยู่ครับ แต่มันเยอะไปหน่อย คหสต.นะครับ
- Highway_Star
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 452
- ผู้ติดตาม: 1
Re: กำไรเท่ากัน แต่ความรู้สึกไม่เหมือนกัน (Contrast Effect)
โพสต์ที่ 9
แหม่พี่ มันไม่ได้รบกวนครับ เป็นสิทธิ์ของพี่เลยครับที่จะแปะหรือแบ่งปันอะไร เพราะหลายอันก็มีประโยชน์ดีครับpinguwing เขียน: ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นนะครับ จริง ๆ link ที่ผม post นั้น เป็น link ของ Storylog ที่ผมใช้เขียนเป็นประจำ ไม่ใช่ Web ของผมเลยครับ แต่เข้าใจประเด็นที่ท่านเขียนมาครับ ต้องขออภัยอีกครั้งหากรบกวนนะครับ
ส่วน link นั้นทำเป็นลายเซ็นใต้ข้อความก็ได้ครับผม
- nuthjira
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 233
- ผู้ติดตาม: 1
Re: กำไรเท่ากัน แต่ความรู้สึกไม่เหมือนกัน (Contrast Effect)
โพสต์ที่ 10
ขอเป็นกำลังใจให้โพสต์ต่ออีกเสียงนึงครับ
....ความโลภจะนำนักลงทุนส่วนมาก ไปแสวงหาทางลัดเพื่อความสำเร็จในการลงทุน
แทนที่จะคาดหวังผลตอบแทนทบต้นที่เหมาะสมในระยะยาว ....
แทนที่จะคาดหวังผลตอบแทนทบต้นที่เหมาะสมในระยะยาว ....
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 289
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กำไรเท่ากัน แต่ความรู้สึกไม่เหมือนกัน (Contrast Effect)
โพสต์ที่ 13
เป็นไปได้ไหมที่จะโพสต่อๆกันในหน้าเดียวที่เป็นหัวข้อใหญ่ เช่นใช้ชื่อว่า "กลเม็ดจิตวิทยาการลงทุน" เผื่อให้ง่ายต่อการค้นหาภายหลังและอ่านต่อเนื่องเป็น series ได้ และอาจอยู่ในส่วน บทความการลงทุนครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กำไรเท่ากัน แต่ความรู้สึกไม่เหมือนกัน (Contrast Effect)
โพสต์ที่ 14
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ ผมเข้าไปดูในส่วน "บทความการลงทุน" แล้ว แต่รู้สึกว่าเราจะไป post ไม่ได้มั้งครับ เพราะเห็นเป็นเฉพาะบทความสำหรับกูรูต่าง ๆ ของ Thaivi เท่านั้น เช่น ท่าน ดร. นิเวศน์ หรือท่านอื่น ๆ น่ะครับ ส่วนการใช้หัวข้อใหญ่ ขอบคุณครับ เดี๋ยวผมลองทำดูครับsatit เขียน:เป็นไปได้ไหมที่จะโพสต่อๆกันในหน้าเดียวที่เป็นหัวข้อใหญ่ เช่นใช้ชื่อว่า "กลเม็ดจิตวิทยาการลงทุน" เผื่อให้ง่ายต่อการค้นหาภายหลังและอ่านต่อเนื่องเป็น series ได้ และอาจอยู่ในส่วน บทความการลงทุนครับ