เจียงไคเช็กกับการลงทุน โดย เฉลิมเดช ลีวงศ์เจริญ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 843
- ผู้ติดตาม: 1
เจียงไคเช็กกับการลงทุน โดย เฉลิมเดช ลีวงศ์เจริญ
โพสต์ที่ 1
เจียงไคเช็กกับการลงทุน
เจียงไคเช็กถือเป็นบิดาผู้ก่อตั้งประเทศไต้หวัน เป็นบุคคลที่มีชีวประวัติที่น่าสนใจมากคนหนึ่ง เกิดในปี ค.ศ. 1887 ในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ชิงที่กษัตริย์องค์ท้าย ๆ ค่อนข้างอ่อนแอและอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “ซูสี ไทเฮา” ที่มีนโยบายปกครองจีนแบบคอนเซอร์เวทีฟ “พยายามปิดประเทศ” ไม่ก้าวทันโลก
ในวัย 19 ปี เจียงไคเช็กได้เดินทางไปศึกษาวิชาทหารที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งขณะนั้นเป็นชาติที่มีนโยบายแบบเปิด คือรับวิทยาการใหม่ ๆ จากโลกตะวันตก จนมีความเจริญก้าวหน้ากว่าจีนโดยเฉพาะวิชาการด้านการทหาร
กลุ่มนักเรียนหนุ่มที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศต่อมากลายเป็นกำลังสำคัญในการปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์ชิงที่อ่อนแออย่างมากได้อย่างง่ายดาย จากนั้นกลุ่ม Nationalist Party ที่นำโดยเจียงไคเช็กสามารถเคลื่อนกำลังพลจากฐานที่มั่นหลักในกวางเจาขึ้นเหนือจนถึงกรุงปักกิ่ง จนสามารถรวบรวมดินแดนด้านตะวันออกซึ่งเป็นฐานที่มั่นหลักของจีนให้เป็นปึกแผ่นได้อีกครั้ง โดยมีกลุ่มของเหมา เจ๋อตุงที่มีแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ อยู่ในเมืองฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นเขตที่ด้อยพัฒนา
ก่อนที่เจียงไคเช็กจะรวบรวมจีนได้ทั้งหมด ในปี ค.ศ. 1931 ญี่ปุ่นถือโอกาสที่จีนยังวุ่นวายเริ่มเข้ายึดครองแมนจูเรียและต่อมาเข้าโจมตีเซี่ยงไฮ้และนานกิง กองกำลังของทั้งเจียงไคเช็กและเหมา เจ๋อตุงต่างฝ่ายต่างต่อต้านญี่ปุ่น แต่เป็นเจียงไคเช็กที่เป็นฝ่ายที่สู้กับญี่ปุ่นเป็นหลักเพราะฐานที่มั่นหลักอยู่ทางตะวันออกที่เป็นที่ตั้งของหัวเมืองสำคัญ ขณะที่ฝ่ายเหมา เจ๋อตุงอาศัยการรบแบบกองโจรแบบหนีหลีกเลี่ยงการปะทะกับญี่ปุ่นโดยตรง
หลังจากรบต้านกับญี่ปุ่นนานถึง 8 ปี ในที่สุดญี่ปุ่นก็แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1945 จากการโดนอเมริกาบอมบ์ด้วยระเบิดปรมาณู เจียงไคเช็กประกาศชัยชนะเหนือญี่ปุ่น เป็นฮีโร่ของชาวจีนอย่างสง่างาม
จากนั้นจึงดำเนินการรบกับเหมา เจ๋อตุงเพื่อรวบรวมจีนอีกครั้ง แต่ผลของสงครามอย่างยาวนาน ทำให้เกิดความอดอยากแร้นแค้นทั่วประเทศจีน ผลคือแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ กลายเป็นแนวคิดที่โดนใจคนจนซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในสภาวะเช่นนั้น ทำให้ฝ่ายเหมา เจ๋อตุงได้รับการสนับสนุนจากคนส่วนใหญ่ของประเทศ
จุดแตกหักคือการส่งกองทัพ Nationalist Army ที่ดีที่สุด เข้าโจมตีดินแดนทางเหนือ ผลคือทหารที่ดีที่สุดของเจียงไคเช็กเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ยับเยิน สูญเสีย Elite Army ไปถึง 1.5 ล้านคน
จากนั้น Nationalist Army ก็เป็นฝ่ายถอยจนในที่สุดต้องหนีมาอยู่ที่เกาะไต้หวันที่มั่นสุดท้าย จนต่อมากลายเป็นประเทศไต้หวันในปัจจุบัน
เรื่องราวชีวประวัติของเจียงไคเช็กให้บทเรียนสำคัญที่อาจนำไปใช้กับการลงทุน อย่างแรกคือในสภาวะที่มีความไม่แน่นอนสูงในช่วงปลายราชวงศ์ชิง วิกฤตดังกล่าวกลายเป็นโอกาสให้ทหารหนุ่มที่มาจากครอบครัวธรรมดากลายเป็นบุคคลที่เกือบยึดครองประเทศจีนได้ทั้งหมด หากจีนไม่ถูกญี่ปุ่นรุกรานเสียก่อน
ดังนั้น เรานักลงทุนรายย่อยควรดีใจหากเกิดวิกฤตในตลาดหุ้น เพราะนั่นเป็นช่วงนาทีทองที่รายย่อยอาจกลายเป็นรายใหญ่ได้ในระยะเวลาอันสั้น
สอง การที่ฝ่ายเจียงไคเช็กรุกขึ้นทางเหนือโดยหมายพิชิตฝ่ายเหมา เจ๋อตุงให้ได้โดยเร็ว ถือเป็นความผิดพลาดที่เจียงไคเช็กอาจจะประมาทเกินไป การได้รับชัยชนะเหนือญี่ปุ่นคงคล้าย ๆ กับช่วงเวลาที่พอร์ตนักลงทุนทำ All time high ซึ่งเป็นช่วงที่เรามักจะการ์ดตก หากประมาทอาจโดนน็อกได้
สาม ความประมาทจากข้อสอง ส่งผลให้เจียงไคเช็กเสียทหารที่ดีที่สุดถึง 1.5 ล้านคน ในการลงทุนถือเป็นสิ่งที่นักลงทุนต้องหลีกเลี่ยงให้ได้ อย่างที่เราต้องท่องเอาไว้ว่า ทุกการลงทุนที่ยิ่งใหญ่ต้องอย่าขาดทุนไว้ก่อน
สุดท้าย ในฐานะนักลงทุน เราต้องเข้าใจว่าในชีวิตเรา อาจมีปัจจัยบางอย่างที่เราควบคุมไม่ได้ เช่น กำลังจะเผด็จศึกฝ่ายเหมา เจ๋อตุง แต่โดนญี่ปุ่นเข้ามาโจมตีเสียก่อน การลงทุนอาจมีปัจจัยที่ทำให้เราผิดคาดได้เสมอ เราในฐานะนักลงทุนคงต้องพยายามให้ดีที่สุด ผลจะเป็นอย่างไรคงต้องทำใจยอมรับ
อย่างไรก็ตามหากเราคิดใหญ่ไว้ก่อนแม้ว่าเราอาจจะไม่ได้ครอบครองประเทศจีน แต่ก็ยังได้ครองเกาะไต้หวัน เสมือนว่าหากโชคไม่ดี การลงทุนอาจไม่ทำให้เรารวยเป็นพันล้าน แต่อาจทำให้เรามีเงินพอใช้ยามเกษียณ หรือมีอิสรภาพทางการเงินได้ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่น่าพอใจ นั่นเอง
Happy investing
เจียงไคเช็กถือเป็นบิดาผู้ก่อตั้งประเทศไต้หวัน เป็นบุคคลที่มีชีวประวัติที่น่าสนใจมากคนหนึ่ง เกิดในปี ค.ศ. 1887 ในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ชิงที่กษัตริย์องค์ท้าย ๆ ค่อนข้างอ่อนแอและอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “ซูสี ไทเฮา” ที่มีนโยบายปกครองจีนแบบคอนเซอร์เวทีฟ “พยายามปิดประเทศ” ไม่ก้าวทันโลก
ในวัย 19 ปี เจียงไคเช็กได้เดินทางไปศึกษาวิชาทหารที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งขณะนั้นเป็นชาติที่มีนโยบายแบบเปิด คือรับวิทยาการใหม่ ๆ จากโลกตะวันตก จนมีความเจริญก้าวหน้ากว่าจีนโดยเฉพาะวิชาการด้านการทหาร
กลุ่มนักเรียนหนุ่มที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศต่อมากลายเป็นกำลังสำคัญในการปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์ชิงที่อ่อนแออย่างมากได้อย่างง่ายดาย จากนั้นกลุ่ม Nationalist Party ที่นำโดยเจียงไคเช็กสามารถเคลื่อนกำลังพลจากฐานที่มั่นหลักในกวางเจาขึ้นเหนือจนถึงกรุงปักกิ่ง จนสามารถรวบรวมดินแดนด้านตะวันออกซึ่งเป็นฐานที่มั่นหลักของจีนให้เป็นปึกแผ่นได้อีกครั้ง โดยมีกลุ่มของเหมา เจ๋อตุงที่มีแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ อยู่ในเมืองฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นเขตที่ด้อยพัฒนา
ก่อนที่เจียงไคเช็กจะรวบรวมจีนได้ทั้งหมด ในปี ค.ศ. 1931 ญี่ปุ่นถือโอกาสที่จีนยังวุ่นวายเริ่มเข้ายึดครองแมนจูเรียและต่อมาเข้าโจมตีเซี่ยงไฮ้และนานกิง กองกำลังของทั้งเจียงไคเช็กและเหมา เจ๋อตุงต่างฝ่ายต่างต่อต้านญี่ปุ่น แต่เป็นเจียงไคเช็กที่เป็นฝ่ายที่สู้กับญี่ปุ่นเป็นหลักเพราะฐานที่มั่นหลักอยู่ทางตะวันออกที่เป็นที่ตั้งของหัวเมืองสำคัญ ขณะที่ฝ่ายเหมา เจ๋อตุงอาศัยการรบแบบกองโจรแบบหนีหลีกเลี่ยงการปะทะกับญี่ปุ่นโดยตรง
หลังจากรบต้านกับญี่ปุ่นนานถึง 8 ปี ในที่สุดญี่ปุ่นก็แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1945 จากการโดนอเมริกาบอมบ์ด้วยระเบิดปรมาณู เจียงไคเช็กประกาศชัยชนะเหนือญี่ปุ่น เป็นฮีโร่ของชาวจีนอย่างสง่างาม
จากนั้นจึงดำเนินการรบกับเหมา เจ๋อตุงเพื่อรวบรวมจีนอีกครั้ง แต่ผลของสงครามอย่างยาวนาน ทำให้เกิดความอดอยากแร้นแค้นทั่วประเทศจีน ผลคือแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ กลายเป็นแนวคิดที่โดนใจคนจนซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในสภาวะเช่นนั้น ทำให้ฝ่ายเหมา เจ๋อตุงได้รับการสนับสนุนจากคนส่วนใหญ่ของประเทศ
จุดแตกหักคือการส่งกองทัพ Nationalist Army ที่ดีที่สุด เข้าโจมตีดินแดนทางเหนือ ผลคือทหารที่ดีที่สุดของเจียงไคเช็กเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ยับเยิน สูญเสีย Elite Army ไปถึง 1.5 ล้านคน
จากนั้น Nationalist Army ก็เป็นฝ่ายถอยจนในที่สุดต้องหนีมาอยู่ที่เกาะไต้หวันที่มั่นสุดท้าย จนต่อมากลายเป็นประเทศไต้หวันในปัจจุบัน
เรื่องราวชีวประวัติของเจียงไคเช็กให้บทเรียนสำคัญที่อาจนำไปใช้กับการลงทุน อย่างแรกคือในสภาวะที่มีความไม่แน่นอนสูงในช่วงปลายราชวงศ์ชิง วิกฤตดังกล่าวกลายเป็นโอกาสให้ทหารหนุ่มที่มาจากครอบครัวธรรมดากลายเป็นบุคคลที่เกือบยึดครองประเทศจีนได้ทั้งหมด หากจีนไม่ถูกญี่ปุ่นรุกรานเสียก่อน
ดังนั้น เรานักลงทุนรายย่อยควรดีใจหากเกิดวิกฤตในตลาดหุ้น เพราะนั่นเป็นช่วงนาทีทองที่รายย่อยอาจกลายเป็นรายใหญ่ได้ในระยะเวลาอันสั้น
สอง การที่ฝ่ายเจียงไคเช็กรุกขึ้นทางเหนือโดยหมายพิชิตฝ่ายเหมา เจ๋อตุงให้ได้โดยเร็ว ถือเป็นความผิดพลาดที่เจียงไคเช็กอาจจะประมาทเกินไป การได้รับชัยชนะเหนือญี่ปุ่นคงคล้าย ๆ กับช่วงเวลาที่พอร์ตนักลงทุนทำ All time high ซึ่งเป็นช่วงที่เรามักจะการ์ดตก หากประมาทอาจโดนน็อกได้
สาม ความประมาทจากข้อสอง ส่งผลให้เจียงไคเช็กเสียทหารที่ดีที่สุดถึง 1.5 ล้านคน ในการลงทุนถือเป็นสิ่งที่นักลงทุนต้องหลีกเลี่ยงให้ได้ อย่างที่เราต้องท่องเอาไว้ว่า ทุกการลงทุนที่ยิ่งใหญ่ต้องอย่าขาดทุนไว้ก่อน
สุดท้าย ในฐานะนักลงทุน เราต้องเข้าใจว่าในชีวิตเรา อาจมีปัจจัยบางอย่างที่เราควบคุมไม่ได้ เช่น กำลังจะเผด็จศึกฝ่ายเหมา เจ๋อตุง แต่โดนญี่ปุ่นเข้ามาโจมตีเสียก่อน การลงทุนอาจมีปัจจัยที่ทำให้เราผิดคาดได้เสมอ เราในฐานะนักลงทุนคงต้องพยายามให้ดีที่สุด ผลจะเป็นอย่างไรคงต้องทำใจยอมรับ
อย่างไรก็ตามหากเราคิดใหญ่ไว้ก่อนแม้ว่าเราอาจจะไม่ได้ครอบครองประเทศจีน แต่ก็ยังได้ครองเกาะไต้หวัน เสมือนว่าหากโชคไม่ดี การลงทุนอาจไม่ทำให้เรารวยเป็นพันล้าน แต่อาจทำให้เรามีเงินพอใช้ยามเกษียณ หรือมีอิสรภาพทางการเงินได้ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่น่าพอใจ นั่นเอง
Happy investing
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 160
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เจียงไคเช็กกับการลงทุน โดย เฉลิมเดช ลีวงศ์เจริญ
โพสต์ที่ 3
เกิดอะไรขึ้นที่ไต้หวันหรอครับ ผมสนใจตลาดนี้อยู่เหมือนกันnut776 เขียน:โดนผมเต็มๆเลยช่วงนี้ทำใจไม่ได้ จิตตก
ฟ้าสีเท่า หมดอาลัยตายอยาก ยอมรับไต้หวันไม่ได้
ผมว่าจุดที่พลาดของท่านเจียงไม่ใช่นโยบายที่ขายได้ไม่ได้ แต่ท่านดูแลคนรอบตัวไม่ดีจนไปมีดคีคอรัปชั่นจนเสียเครดิตมากๆ แล้วก็ต้องยอมรับว่าท่านเหม่ก็มีฝีมือกว่าจริงๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 3350
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เจียงไคเช็กกับการลงทุน โดย เฉลิมเดช ลีวงศ์เจริญ
โพสต์ที่ 4
ไม่ๆๆคับ เปรียบเปรยตาม บทความเฉยๆคับNight90 เขียน:เกิดอะไรขึ้นที่ไต้หวันหรอครับ ผมสนใจตลาดนี้อยู่เหมือนกันnut776 เขียน:โดนผมเต็มๆเลยช่วงนี้ทำใจไม่ได้ จิตตก
ฟ้าสีเท่า หมดอาลัยตายอยาก ยอมรับไต้หวันไม่ได้
ผมว่าจุดที่พลาดของท่านเจียงไม่ใช่นโยบายที่ขายได้ไม่ได้ แต่ท่านดูแลคนรอบตัวไม่ดีจนไปมีดคีคอรัปชั่นจนเสียเครดิตมากๆ แล้วก็ต้องยอมรับว่าท่านเหม่ก็มีฝีมือกว่าจริงๆ
หมายถึง ในบทความเขาว่า พลาดจีนไป ได้ครองแค่ไต้หวัน
ผมกะเดินเกมผิดพลาด ไม่ได้จีน เหมือนบทความคับ
show me money.