=== หนังสือ The Black Swan by Taleb ===

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ผักกาด
Verified User
โพสต์: 234
ผู้ติดตาม: 1

=== หนังสือ The Black Swan by Taleb ===

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ก่อนจะรีวิวเล่มนี้ เราไปอ่านรีวิวของคนอื่นเยอะมาก แทบจะทุกคนเริ่มต้นด้วยคุณสมบัติของ Black Swan 3 ประการ และไม่พูดในรีวิวเกินกว่าหน้า 36 ของหนังสือ (ที่พูดถึงการแบ่งดินแดน ออกเป็น Mediocristan และ Extremistan)

ดังนั้น เราจะไม่เริ่มรีวิวด้วยการพิมพ์คุณสมบัติ 3 ประการของ Black Swan (ถือว่าหาอ่านได้ตามกูเกิลค่ะ)

... ดูกราฟวงจรชีวิตของไก่งวงจากรูป ... ไก่งวง เติบโตขึ้นมาเพราะมีมนุษย์คอยให้อาหาร ไก่งวงมีความสุข ทุกๆวันมันได้กินอาหาร จนมันพัฒนา “ความเชื่อ” ว่าเผ่าพันธุ์มนุษย์นี่แหละ เพื่อนแท้ มันคิดว่าวันต่อๆไป ชีวิตก้อจะเป็นเช่นนี้ เพราะเจ้าไก่งวงเอาสิ่งที่มันได้เรียนรู้จากเมื่อวาน มาคาดการณ์วันนี้ และพรุ่งนี้ ... ในเย็นวันพุธของวันที่ 1,000 มันมีความสุขไปถึงขีดสุดที่มันได้กินอาหารเป็นเวลา 1,000 วัน และพรุ่งนี้จะเป็นวันขอบคุณพระเจ้า ... ในวันที่ 1,001 เจ้าไก่งวงดวงกุด ก้อถูกเชือดเพื่อมาเซ่นบนโต๊ะอาหารสำหรับวันขอบคุณพระเจ้า ใช่แล้วค่ะ วันที่ 1,000 กับอีก 1 วันนั้น เป็น Black Swan ของเจ้าไก่งวงชะตาขาด! มันเป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมายของไก่งวง.... มันไม่รู้ตัวเลยว่าจุดที่มันมีความสุขที่สุด ก้อเป็นจุดที่มีความเสี่ยงสูงสุดเช่นกัน

แต่มองในมุมของคนเชือดไก่ วันที่ 1,000 กับอีก 1 วันนั้นไม่ใช่ Black Swan ของเค้า เพราะเค้ารู้อยู่แล้วว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้น ผิดกับมุมของไก่งวงที่มันไม่รู้อะไรเลย

Taleb บอกว่า Black Swanนั้นเป็นปัญหาของ suckers (คนโง่, ขี้แพ้, เจ้างั่ง) หรือจะเรียกอีกอย่างนึงว่า Black Swan จะเกิดขึ้นโดยมีความสัมพันธ์กับความคาดหวัง

แล้ววงจรชีวิตไก่งวงสอนอะไร... มันสอนเราว่าข้อมูลในอดีตอาจจะไม่ได้บอกอะไรเราเลยก้อได้ ถ้าวันรุ่งขึ้น เป็นวันขอบคุณพระเจ้า...อาเมน

แล้วเอามาประยุกต์ใช้กับเรื่องอื่นๆอย่างไรได้บ้าง... Taleb บอกว่า ก้อมือคู่เดียวกันกับมือที่คอยให้อาหารไก่งวงนี้แหละ ที่เป็นมือคู่เดียวกันกับที่มาบีบคอเราตอนภาวะสงคราม ... หรือตอนเกิดวิกฤต



ปัญหาของ Black Swan ที่ Taleb ตั้งคำถามคือ:

- เรารู้อนาคตได้อย่างไร ในเมื่อเรามีความรู้จากสิ่งที่ผ่านมาแล้วในอดีตเท่านั้น?
- เรากล้าพูดว่าได้อย่างไรว่าสามารถสรุปคุณสมบัติของสิ่งที่เราไม่รู้ (ที่มันเป็นเรื่องที่ไม่มีขีดจำกัด) จากพื้นฐานของสิ่งที่เรารู้ (ที่มันเป็นมีข้อจำกัด)?

... และนี่คือจุดเริ่มต้นของการเกิด Black Swan


Taleb ไม่ใช่คนธรรมดาค่ะ แต่เป็นลูกหลานรัฐมนตรี ตั้งแต่เล็กๆ เขาเห็นคุณปู่ซึ่งเคยเป็นรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม และกระทรวงมหาดไทย ก่อนที่จะเกิดสงครามเลบานอน ...คุณปู่ฉลาดและจะมีคนคอยข้อมูลป้อนมาเข้าตลอด Taleb ก็ไม่เคยเห็นว่าคุณปู่มีความได้เปรียบมากไปกว่าคนขับรถของเขา ที่จะคาดการณ์ได้ว่ากำลังจะเกิดสงครามเลบานอนนะ แต่ว่ามันมีความแตกต่างระหว่างความรู้ของคนเป็นรัฐมนตรี กับความรู้ของคนขับรถ คือคนขับรถจะไม่เชื่อว่าเขาเข้าใจ ซึ่งแตกต่างจากคนที่ได้เรียนมา


**
Taleb บอกว่าที่จริงแล้วพวกเขาไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญและพวกเขาก็รู้ว่าเขาไม่ได้เป็น ไม่มีใครรู้อะไรทั้งนั้น... แต่คนที่อยู่กลุ่มอีลีธ (คนชั้นสูง, ไฮโซ, เซเลบ, หรือ เซียน) มักคิดว่าพวกเค้ารู้มากกว่าคนส่วนที่เหลือของประเทศ เพราะพวกเค้าเป็นกลุ่มอีลีธ และถ้าใครเกิดได้ไปเป็นสมาชิกของกลุ่มอีลีธ เค้าคนนั้นก็จะรู้มากกว่าคนอื่นๆที่ไม่ได้เป็นอีลีธโดยอัตโนมัติ (หนังสือเขียนแบบนี้เลยจ้า) เค้าประชดนะคะ

Taleb ต้องการจะสื่อว่า อย่ามั่นใจ อย่าให้ค่าในสิ่งที่เรารู้มากเกินไป ควรเน้นในสิ่งที่เรายังไม่รู้ เพราะเราไม่รู้ว่าอะไรที่เราไม่รู้นั้นมีมากมายแคไหน ( ประเด็นนี้ Ray Dalio ก้อพูดแบบนี้ค่ะ) แทนที่จะยอมรับว่าสิ่งที่เรารู้มันไม่ตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่กลายเป็นว่าคนเราวิ่งไปหาหลักฐานมาอธิบายย้อนหลังในสิ่งตัวเองรู้ (หลักฐานอะไรก้อได้ที่มันสอดคล้องเรื่องที่เรากำลังคิด... เรายิ่งเอามันมาเชื่อมโยง.. ... ยิ่งทำให้ตัวเองมั่นใจ) ยิ่งเป็นการหลอกตัวเองเข้าไปอีก


คนที่เจ๊งจนชื่อติดอยู่ในตำนานเพราะมั่นใจในความรู้ของตัวเองมากเกินไปทั้งนั้น

อย่างตอนที่เกิดเหตุการณ์ Black Monday ในเดือนตุลา ปี 1987 ก้อเกิดสิ่งที่เราไม่รู้ (นักเศรษฐศาสตร์คิดว่าพวกเค้ารู้ คงกำลังควบคุมมันได้ ... แต่เปล่าเลย)

**ก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่กี่เดือน ขนาดนักข่าวสายการเมืองที่ยืนอยู่ใจกลางเมืองที่กำลังจะเกิดสงคราม ...ยังไม่รู้เลยว่ากำลังจะเกิดการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ครั้งใหญ่ตามมา ... เพราะ Taleb ไปอ่านในหนังสือเรื่อง Berlin Diary ที่นักข่าวคนนี้เขียนบันทึก เเบบวันต่อวันเลย ... การบันทึก ณ. วินาที นั้นทำให้ไม่เกิดการปรุงแต่ง เค้าอ่านไม่เจอเรื่องที่นักข่าวคิดว่าน่าจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เลย.... คนเราชอบมองย้อนกลับไปแล้วเอามาแต่งตำราประวัติศาสตร์ ซึ่งมันทำให้ fact บิดเบือน เพราะใส่ความคิดคนเขียนเข้าไป .... Diary เล่มนั้นเลยกลายเป็นหนังสือเปลี่ยนชีวิตของ Taleb เลยค่ะ (เขียนตำราย้อนหลังมันง่าย เพราะเกมมันเฉลยเเล้ว)

ตอนที่ Taleb เรียนอยู่ที่ Wharton มีเพื่อนร่วมมหาวิทยาลัยแนะนำให้เค้าเลือกอาชีพที่มัน “scalable” แปลว่าอะไร คือสามารถทำเงินได้ อย่างไม่จำกัด โดยที่ไม่ต้องเพิ่มจำนวนชั่วทำงานมากเท่าไร เค้ายกตัวอย่าง คนทำขนม, หมอฟัน, หมอนวด, โสเภณี, ที่ปรึกษา อาชีพอะไรแบบนี้เป็นอาชีพที่ “non-scalable” คือการหาเงินถูกจำกัดด้วยจำนวนชั่วโมง และจำเป็นต้องไปอยู่ในสถานที่แห่งหนึ่งเพื่อสร้างานบริการนั้น

แต่ถ้าเป็นอาชีพที่ มัน “scalable” หรือปรับขนาดได้ อย่างเช่น นักเขียนหนังสือ หรือ นักเก็งกำไร (หรือลงทุนในหุ้น) สามารถทำเงินได้เพิ่มขึ้น โดยที่ใช้ทรัพยากรเท่าเดิม อย่างเช่น จะคีย์คำสั่งซื้อขาย 100,000 หุ้น หรือ 1,000,000 หุ้นก้อใช้พลังงานเท่าเดิม นักเขียนหนังสืออย่างเช่น J.K. Rowling ที่เขียน Harry Potter เขียนต้นฉบับเดียว พิมพ์ขายได้เป็นล้านๆเล่ม ...

**แต่ Taleb มองว่า ถ้าให้เค้าแนะนำ เค้าจะเลือกอาชีพที่มัน non-scalable .... เพราะอะไร? เพราะการทำอาชีพที่ scalable คุณต้องเป็นผู้ชนะเท่านั้น มันมีการแข่งขันสูง, มันเครียด และถ้าเราไม่ใช่ผู้ชนะ เราจะไม่มีที่ให้ยืน มันเป็นดินแดนแห่ง Extremistan ..... เค้าบอกว่าคำแนะแนวสายอาชีพนี้ ทำให้เค้าค้นพบเรื่องของความไม่แน่นอน และสนใจศึกษาเรื่องความไม่แน่นอนดังกล่าวค่ะ


ดินแดนแห่ง Mediocristan เป็นดินแดนของพวกที่เป็นอะไรกลางๆ, หาค่าเฉลี่ยได้, คาดการณ์ หรือ ทำนายอะไรได้ง่ายๆ การเปลี่ยนแปลงภายในวันนึง, หรือช่วงนึง ไม่ได้กระทบผลรวมของทั้งหมดอย่างมีนัยยะสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น จำนวนแคลอรี่ที่เรากินเข้าไปทั้งชีวิต จะประมาณ 800,000 แคลต่อปี ต่อให้วันนั้นเราจะยัดเข้าไปแบบจะฆ่าตัวตายด้วยการกินก้อตาม ^^ แคลอรี่ในวันนั้นก้อจะไม่ไปกินส่วนแบ่งของผลรวมแคลอรี่ทั้งปีอย่างมีนัยยะสำคัญ ... ในโลกของ Mediocristan จะเป็นค่าพวก ความสูง, น้ำหนัก, รายได้จากการอบขนม, รายได้หมอฟัน เป็นต้น ... ดินแดนนี้เรียกว่า Type 1 randomness มันเป็นดินแดนแบบยูโธเปีย หาได้ยาก


แต่สำหรับ ดินแดนแห่ง Extremistan จะเป็นดินแดนของพวกสุดขั้ว, พวกเทพ, พวกตัวดึง mean อย่างเช่นรายได้ของ Bill Gates เพียงคนเดียว อาจจะกินสัดส่วนถึง 99.99% ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดพันคนก็ได้ มันเป็นดินแดนของพวก winner takes all และที่ดินแดนแห่งนี้แหละ ที่มักจะเกิด Black Swan ... ดินแดนนี้เรียกว่า Type 2 randomness


Taleb ไม่ชอบการสมมติเรื่องการกระจายตัวแบบปกติ (normal distribution) หรือที่เรามักจะรู้จักว่า กราฟระฆังคว่ำ หรือ bell curve หรือ การกระจายตัวแบบเกาส์เซี่ยน (Gaussian) ถ้าคนที่เคยเรียนวิชาสถิติมา อาจารย์จะสอนเรื่องนี้ทุกคน ... เค้าเรียกมันว่า Great Intellectual Fraud (GIF) เพราะอะไร?

.... เพราะมันเป็นการสมมติค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ภายใต้การกระจายตัวแบบปกติ ก่อให้เกิดความผิดพลาดจากอุปกรณ์ หรือเครื่องมือ (Ludic Fallacy) ... เค้าอธิบายร่ายยาวถึงที่มาที่ไป (แต่เราไม่เขียนนะคะ เพราะว่ามันคณิตศาสตร์จ๋า โพสไปคนมาถามเราตอบไม่ได้อีก แต่ใน fooled by Randomness อธิบายไว้เช่นกัน เช่นโต๊ะรูเล็ตต์ อาจจะไม่ได้กลมจริงๆ อะไรแบบนี้) แต่เค้าสรุปมาให้ว่า ความแปรปรวนตามนิยามเกาส์เซี่ยนนั้นจะเกิด headwind ที่ ทำให้ค่าความน่าจะเป็นลดลงในอัตราที่เพิ่มมากขึ้นเมื่อเราเคลื่อนที่ออกจากค่าเฉลี่ย (mean)



... แปลว่าอะไร? แปลว่าถ้าเราเอาสมมติฐานว่าข้อมูลมีการกระจายตัวแบบปกติ จับมันยัดเข้าไปในโมเดลคณิตศาสตร์, โมเดลทางเศรษฐศาสตร์ เราจะได้ค่าความน่าจะเป็น (โอกาสในการเกิด) ต่ำกว่าความเป็นจริง .... ถ้าเราคำนวนความเสี่ยงด้วยโมเดลที่มีสมมติฐานแบบนี้ เราอาจจะพาตัวเอง ... หรือเงินของคนอื่น (ในกรณีกองทุน) ไปเสี่ยงมากขึ้น โดยที่เราไม่รู้ตัว (แต่เราคิดว่าเรารู้).... เงินของช้านนนนนนนนนนน รบกวนพี่ๆกองทุนรีบกลับไปดูโมเดลของตัวเองด่วนๆค่ะ


กองทุนLTCM ที่เป็นเฮดจ์ฟันด์ที่ล้มละลายไม่เป็นท่า ก้อใช้สมมติฐานการกระจายตัวแบบปกติในโมเดลของพวกเค้าค่ะ (ที่ถูกเขียนเป็นหนังสือ When Genius Failed)

** โดยเฉพาะในตลาดการเงิน ... มันจะมีสิ่งที่เรียกว่า fat tail หรือหางอ้วนๆ คือมันเป็นการกระจายตัวของข้อมูลที่ไปกระจุกอยู่ที่หางของกราฟระฆังคว่ำ

เราพบว่าพี่โจ๊ก นรินทร์ เคยคุยถึงเรื่อง หางอ้วนนี้แล้ว เราก้อปมาแปะไว้ตรงนี้เลยค่ะ ... กราบขออนุญาตพี่โจ๊กไว้ ณ. ที่นี้เลยนะคะ


http://dekisugi.net/archives/38
JANUARY 7, 2007 BY DEKISUGI

FatTail กับการลงทุน

ในทางสถิตินั้น ถ้าเราไม่รู้ว่าตัวแปรสุ่มมีการกระจายเป็นอย่างไร เรามักสมมติว่ามันมีการกระจายเป็นโค้งปกติเพื่อความง่าย ในทางการเงินเราก็มักสมมติว่าผลตอบแทนของการลงทุนในหุ้นมีการกระจายเป็นโค้งปกติด้วย

แต่จากการนำ Daily return ของดัชนี S&P 500 ในช่วง 30 ปีมา plot ลงบนแผนภูมิแจกแจงความถี่พบว่า การกระจายมีลักษณะคล้ายโค้งปกติแต่มียอดเขาทีสูงชันกว่าและมีหางที่อ้วนกว่า พูดง่ายๆ ก็คือ ผลตอบแทนของหุ้นมีลักษณะของ Fat Tail


ถ้าเราลองสังเกตราคาปกติของดัชนีตลาดหุ้นเราจะพบว่าส่วนใหญ่แล้ว ถ้าไม่มีข่าวใหญ่ในวันนั้น ดัชนีมักเปลี่ยนอยู่ในช่วงไม่เกินหนึ่งเปอร์เซนต์ ซึ่งเป็นกรณีที่เกิดบ่อยทีสุด แต่ถ้าวันไหนมีข่าวใหญ่มากดัชนีก็อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ถึงในระดับสองหรือสามเปอร์เซนต์ แต่ก็ไม่บ่อยนัก นี่ก็เป็นลักษณะที่เหมือนกับโค้งปกติทั่วไป

แต่เนื่องจากผลตอบแทนของหุ้นเป็น Fat Tail ด้วย มันจึงมีกรณีสุดโต่งที่ซ่อนอยู่บ่อยกว่าที่เราคิด กรณีสุดโต่งเหล่านี้คือกรณีที่ดัชนีหุ้นเปลี่ยนแปลงในวันเดียวเกิน 10% กรณีเหล่านี้แม้จะเกิดขึ้นได้น้อยแต่ก็เกิดขึ้นได้บ่อยกว่าที่นักลงทุนคิดเนื่องจาก Fat Tail
พวก Financial Engineer ที่คำนวณ VaR มักสมมติให้ผลตอบแทนของหุ้นเป็นโค้งปกติ การทำเช่นนี้จะทำให้ผลที่ได้มักจะ underestimate กรณีสุดโต่งไปมาก พวกเขาจะรู้สึกประหลาดใจมากในวันที่กรณีสุดโต่งมาถึง เพราะพวกเขาจะพบว่ากลไกป้องกันความเสี่ยงที่ตนได้คำนวณไว้แล้วอย่างดีมักจะเอาไม่อยู่

นอกจากนี้ Fat Tail ยังหลอกให้นักลงทุนรู้สึกว่าการเล่นมาร์จินนั้นจะช่วยทำให้ risk-adjusted return ของนักลงทุนสูงขึ้นได้ Leverage ช่วยทำให้ผลตอบแทนในวันส่วนใหญ่ที่เป็นวันปกติของการเล่นมาร์จินสูงกว่าการไม่เล่นมาร์จิน ผลตอบแทนที่สูงขึ้นนี้แลกมาด้วยความเสี่ยงที่จะขาดทุนหนักขึ้นเป็นทวีคูณในวันที่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น ความเสี่ยงที่ว่านี้ก็คือความเสี่ยงที่จะโดน Force sell ในช่วงที่ไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดกับตลาดหุ้นเลยติดต่อกันหลายๆ ปี นักลงทุนจะค่อยๆ เริ่มรู้สึกว่า การเล่นมาร์จินนั้นมี Value added มากขึ้นทีละน้อย

อันที่จริงผมสังเกตเห็นว่า การลงทุนแทบทุกชนิดมีลักษณะเป็น Fat Tail อย่างรุนแรง ลองคิดถึงการ write options ดูสิครับ เวลาคุณ write call options ให้ใครสักคนหนึ่ง คุณจะได้กิน premium เปล่าๆ ประมาณ 95% of the time ส่วนอีก 5% of the time นั้น options ที่เขียนไว้จะ in the money และทำให้เจ้ามืออย่างคุณต้องขาดทุนมหาศาล เป็นต้น
ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับนักลงทุนในตลาดหุ้นไทย Fat Tail ที่เกิดขึ้น 3 ครั้งติดต่อกันในเวลาอันสั้นทำให้ผลตอบแทนที่เคยรุ่งโรจน์ของทุกคนลดฮวบลงอย่างน่าใจหาย แต่เอาเถอะ Fat Tail มีทั้งทางลบและทางบวก ผมสังเกตเห็นว่าคนที่ประสบความสำเร็จกับหุ้นอย่างสูงส่วนใหญ่แล้วมักจะรวยมาจากการซื้อหุ้นครั้งสำคัญแค่ไม่กี่ครั้งในชีวิตทั้งสิ้น อย่างวอเรน บัฟเฟต เองก็รวยมาจากการซื้อหุ้นแค่ 5-6 ครั้ง เท่านั้น ครั้งอื่นๆ อีกนับครั้งที่ไม่ถ้วนที่เขาซื้อตลอดชีวิตของเขานั้นแทบจะไม่มีนัยสำคัญอะไรเลย (ต่อให้เขาไม่ซื้อครั้งเหล่านั้นเลยก็ไม่ได้ทำให้ความรวยของเขาผิดไปจากตอนนี้มากนัก) ดังนั้น การซื้อหุ้นครั้งที่ทำให้คุณรวยขึ้นอย่างมหาศาลนั้นแต่ละคนเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน บางคนเข้ามาปีแรกเจอเลย บางคนขาดทุนสิบปีติดต่อกันมาได้ปีที่ 11 ปีเดียวรวยไปเลยก็มี ดวงใครดวงมันไม่ต้องไปอิจฉาคนอื่น ช่วงนี้ทุกท่านอย่าพึ่งถอดใจคิดว่าตัวเองล้มเหลว ที่จริงแล้วอาจเป็นเพราะครั้งสำคัญในชีวิตของคุณยังมาไม่ถึงเท่านั้นเองครับ

**จบส่วนของพี่โจ๊กค่ะ


เเละขอจบการรีวิวเพียงเท่านี้

ขอบคุณค่ะ

ภาพประจำตัวสมาชิก
VALUEKUN
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 123
ผู้ติดตาม: 0

Re: === หนังสือ The Black Swan by Taleb ===

โพสต์ที่ 2

โพสต์

กราบงามๆ นึงทีให้กระทู้นี้ ขอบคุณครับ :bow:
helterSkelter
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 5
ผู้ติดตาม: 0

Re: === หนังสือ The Black Swan by Taleb ===

โพสต์ที่ 3

โพสต์

รีวิวหนังสือได้ดีมากๆ เลยครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ksanasen
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 50
ผู้ติดตาม: 1

Re: === หนังสือ The Black Swan by Taleb ===

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ชอบหนังสือเล่มนี้มากเช่นกันฮะ

เมื่อซักสองปีก่อนผมไปตามอ่าน paper เรื่อง crypto / bitcoin ที่เขาเขียนออกมา ก็เห็นด้วยกับแกครับ

วันก่อนจะไปหาหนังสือเล่ม Skin in the Game ที่ร้านหนังสือแต่ไม่เจอ เลยมาหาใน youtube นั่งฟัง lectures ที่เขาไปพูดใน Google Talks ก็พอได้ idea ครับ

แนะนำให้ลองฟังเรื่อง Antifragility ด้วยครับผม : )
ผักกาด
Verified User
โพสต์: 234
ผู้ติดตาม: 1

Re: === หนังสือ The Black Swan by Taleb ===

โพสต์ที่ 5

โพสต์

เพิ่งเห็นโพสนี้เด้งมา อยู่หน้าเเรก ก็เลยอยากจะเติมให้สักหน่อยค่ะ
.
.
ทำไมการกระจายตัวแบบปกติ (normal distribution) หรือแบบระฆังคว่ำถึงก่อให้เกิดความผิดพลาดแบบ Ludic Fallacy ได้

ปัญหาหลักของ (ระฆังคว่ำ) เกาส์เซียน คือกลุ่มตัวอย่างส่วนมากจะอยู่ในโซนของค่าปานกลาง (mediocre), ค่าเฉลี่ย นั่นคือจะมีการเบี่ยงเบนจะลดลงอย่างรวดเร็ว (แบบเอกซ์โพเนนเชียล) และมากขึ้นเรื่อยๆเมื่อค่าตัวอย่างยิ่งเคลื่อนที่ห่างจากค่าเฉลี่ย ถ้าเรามีข้อมูลเพียงแค่จุดเดียว ยิ่งเพิ่มความเร็วของอัตราที่ลดลงเมื่อข้อมูลนั้นวิ่งออกจากศูนย์กลาง (ซึ่งก็คือค่าเฉลี่ย) ในหนังสือใช้คำว่า increase in the speed of decline

ยกตัวอย่างของการกระจายตัวของความมั่งคั่ง โดยสมมติให้เป็นตามกฎของเกาส์เซียน
ผู้คนที่มีความมั่งคั่งสุทธิมากกว่า 1 ล้านเหรียญยูโร: 1 ใน 63
มากกว่า 2 ล้านยูโร: 1 ใน 127,000
มากกว่า 3 ล้านยูโร: 1 ใน 14,000,000,000
มากกว่า 4 ล้านยูโร: 1 ใน 886,000,000,000,000,000
มากกว่า 8 ล้านยูโร: 1 ใน 16,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000

การจะเจอคนที่รวยขึ้นแค่ 4 ล้านยูโร กลับมีโอกาสน้อยมากๆๆๆๆๆๆๆ
เราจะเห็นความลู่ออก (divergence) ของค่าที่อยู่ห่างจาก 1 ล้านเหรียญยูโร ห่างออกไปเรื่อยๆ

นั่นจะทำให้เราละเลยต่อค่าผิดปกติ (outliers) ได้

ทีนี้ลองมาเปรียบเทียบ แต้มต่อโอกาสที่จะร่ำรวยในยุโรป แบบใน เมนเดลโบรเตี่ยน (หรือ Mandelbrotian)

ผู้คนที่มีความมั่งคั่งสุทธิมากกว่า 1 ล้านเหรียญยูโร: 1 ใน 62.5
มากกว่า 2 ล้านยูโร: 1 ใน 250
มากกว่า 4 ล้านยูโร: 1 ใน 1,000
มากกว่า 8 ล้านยูโร: 1 ใน 4,000
มากกว่า 16 ล้านยูโร: 1 ใน 16,000
มากกว่า 32 ล้านยูโร: 1 ใน 64,000
มากกว่า 320 ล้านยูโร: 1 ใน 6,400,000

ความเร็วในการลดลงของตัวอย่างนี้ค่อนข้างคงที่ (หรือเรียกว่าแทบไม่ลดลงเลย)!
.
.
ผักกาด
Verified User
โพสต์: 234
ผู้ติดตาม: 1

Re: === หนังสือ The Black Swan by Taleb ===

โพสต์ที่ 6

โพสต์

.
.
ทาเลบ บอกว่า ต้องลองกลยุทธ์แบบ Barbell สิ ถึงจะรับมือกับ Black Swan ได้

Barbell Strategy

ทาเลบพยายามที่จะทำให้แนวคิดของกลยุทธ์ “บาร์ยกน้ำหนัก” (Barbell strategy) สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ ทาเลบใช้ในฐานะเทรดเดอร์แบบนี้คค่ะ

เพราะตอนนี้เรารู้แล้วว่าพวกเราเปราะบางต่อความผิดพลาดในการคาดการณ์ และยอมรับว่า “วิธีการวัดความเสี่ยง” ส่วนใหญ่มีข้อบกพร่อง เพราะว่ามันมี Black Swan อยู่

ดังนั้นกลยุทธ์ คือการเป็นคนอนุรักษ์นิยมสุดขั้ว และดุดันให้สุดโต่ง แทนการเป็นเทรดเดอร์อนุรักษ์นิยมและดุดันแบบครึ่งๆกลางๆ
.
.
นั่นคือ

แทนที่จะใส่เงินไปกับการลงทุนที่มี “ความเสี่ยงปานกลาง” (ทาเลบถามว่า ว่าแต่เราจะรู้ได้อย่างไงว่ามันมีความเสี่ยงปานกลาง?) เค้าแนะนำว่า ต้องใส่เงินสัก 85-90% ในตราสารทางการเงินที่มีความปลอดภัยขั้นสุด อย่างเช่นพันธบัตร ซึ่งเป็นตราสารทางการเงินที่ปลอดภัยที่สุดเท่าที่จะหาได้บนโลกใบนี้ ส่วนเงินที่เหลืออีก 10-15% ให้ใส่ไปการเก็งกำไรแบบสุดขั้ว เลือกแบบที่มีพลังทวีคูณให้มาก (leveraged) ที่สุด (อย่างเช่น options) หรือการลงทุนในพอร์ตโฟลิโอที่บริหารคล้ายๆ Venture Capital แนวที่ชอบก็ได้
.
.
การทำแบบนี้เราจะไม่ต้องแขวนชีวิตไว้กับความผิดพลาดจากการบริหารความเสี่ยง จะไม่มี Black Swan ไหนๆที่สามารถทำร้ายเราได้ เราจะมีไข่ในตระกร้าที่มีความปลอดภัยขั้นสุด หรือจะพูดได้ว่าเรายังสามารถมีพอร์ตโฟลิโอเพื่อการเก็งกำไร แต่ยังคงแน่ใจได้ว่ามันจะต้านทานความเสียหาย (ถ้าเป็นไปได้) ที่เกินกว่า 15% ได้ ตอนนี้เราได้ “เล็ม” เอาความเสี่ยงที่ไม่สามารถคำนวนได้ออกไปแล้ว ซึ่งมันเป็นความเสี่ยงที่จะทำอันตรายต่อพอร์ตได้ แทนที่จะทำให้พอร์ตโฟลิโอของเรามีความเสี่ยงแบบกลางๆ เรากำลังทำให้ข้างหนึ่งของพอร์ตโฟลิโอมีความเสี่ยงสูงมาก และอีกข้างหนึ่งของพอร์ตโฟลิโอแทบไม่มีความเสี่ยงเลย

ค่าเฉลี่ย (ของพอร์ต) จะเป็นความเสี่ยงแบบกลางๆ แต่ประกอบไปด้วยการเผชิญกับ Black Swan ในด้านบวก ภาษาทางเทคนิคสิ่งนี้ว่า ผลรวมเชิงคอนเวกซ์ “convex combination”
.
.
ภาพประจำตัวสมาชิก
ksanasen
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 50
ผู้ติดตาม: 1

Re: === หนังสือ The Black Swan by Taleb ===

โพสต์ที่ 7

โพสต์

เห็นพวก VI เก๋า ๆ ที่ยังไม่รู้จะลงทุนในอะไรที่ชัวร์ ๆ ดี ก็อาจจะมี idea ประมาณนั้นมังครับ คือถือ cash & near cash assets ไว้เยอะ ๆ อย่าง Buffett/Munger-Berkshire หรือ Klarman-Baupost เก็บไว้เป็นกระสุนเมื่อโอกาสดี ๆ มาและความเสี่ยงน้อยมาก ๆ ค่อยจัดเต็ม (แต่ไม่ได้อยาก cash ถือเยอะ for the sake of อยากถือ cash เยอะนะ) ครับ

ล่าสุดที่ได้อ่านแนวคิดของ Nick Sleep ก็บอกว่า ไม่ต้อง optimize พวก assets ที่มีไว้ให้ generate yield ได้สูงสุดตลอดเวลาหรอก หรือทำตัวยุ่ง/fully invested ถือ cash เป็น slack ไว้บ้างก็ได้ : )
โพสต์โพสต์