Bitcoin = Digital Gold/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1827
- ผู้ติดตาม: 1
Bitcoin = Digital Gold/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
การซื้อบิทคอยน์จำนวน 1.5 พันล้านเหรียญและการประกาศว่าเทสลาจะรับบิทคอยน์เป็นค่าซื้อรถเทสลาของ อีลอน มัสก์ เมื่อสัปดาห์ก่อนนั้น ต้องถือว่าเป็น “ข่าวใหญ่” ในแวดวงธุรกิจ การเงินและการลงทุน หลังจากที่ข่าวออกไปในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 64 ราคาบิทคอยน์ก็ปรับตัวขึ้นถึง 19% เป็นประมาณ 1.4 ล้านบาทไทยและสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ทำให้มูลค่าทั้งหมดหรือ Market Cap. ของบิทคอยน์เท่ากับประมาณ 8.7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 26 ล้านล้านบาทไทย
แน่นอนว่า “อิทธิพล” ของมัสก์ ได้ช่วยขับเคลื่อนราคาของบิทคอยน์ขึ้นไปมาก คนคงจะเชื่อมั่นในตัวมัสก์ว่ามองอะไรไม่ผิด เหนือสิ่งอื่นใด หุ้นเทสลาของเขาก็มีการปรับตัวขึ้นมามโหฬารในช่วงเร็ว ๆ นี้จนมีมูลค่าประมาณ 8.2 แสนล้านดอลลาร์ใกล้เคียงกับมูลค่าของบิทคอยน์ ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา หุ้นเทสลาปรับตัวขึ้นมาประมาณ 5.6 เท่า ในขณะที่บิทคอยน์ก็ขึ้นมาประมาณ 4.6 เท่า ใกล้เคียงกัน
ถ้ามองทางด้านของ “พื้นฐาน” หรือเหตุผลที่ทั้งสองหลักทรัพย์หรือตราสารมีคล้าย ๆ กันอีกอย่างหนึ่งก็คือ เทสลานั้นขายความเป็น “โลกแห่งอนาคต” ของรถยนต์ไฟฟ้าที่ไม่ต้องใช้คนขับที่จะ “ปฏิวัติ” รถยนต์ดั้งเดิมของโลก ในขณะที่บิทคอยน์เองนั้นก็จะเป็น “โลกแห่งอนาคต” ของ “เงิน” ที่จะใช้กันทั่วโลกในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า ดังนั้น ราคาที่ขึ้นมาแรงและเร็วมากจึงเป็นสิ่งที่สะท้อนว่า เทสลาจะยิ่งใหญ่มากในโลกของรถยนต์ ในขณะที่บิทคอยน์ก็จะยิ่งใหญ่มากในโลกของเงินที่เรียกว่า “Cryptocurrency” ที่วันหนึ่งคนจะใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันทั่วโลกแทนระบบเงินตราปัจจุบันที่เป็นดอลลาร์ หยวน หรือบาทและอื่น ๆ ที่เป็นเงินของแต่ละประเทศที่ใช้กันมานาน
ผมเองไม่อยากที่จะพูดถึงข้อโต้เถียงที่ว่า การปรับตัวขึ้นของทั้งเทสลาและบิทคอยน์นั้นเป็นเรื่องของการเก็งกำไรและ/หรือปั่นหุ้นจากนักเก็งกำไรที่กำลังคึกคักกันทั่วโลกอานิสงค์จากเม็ดเงินจำนวนมหาศาลจาก QE ที่รัฐบาลทั่วโลกอัดฉีดเข้าสู่ระบบเพื่อต่อสู้กับโควิด-19 ที่ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำลงในช่วงเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากมีคนพูดกันมากแล้ว แต่อยากจะมี Comment หรือการวิจารณ์ถึงเหตุผลที่พูดกันว่าบิทคอยน์กำลังโตขึ้นเพราะวันหนึ่งมันจะเป็น “เงินเข้าระหัด” ที่คนทั่วโลกจะใช้กัน
เป็นความจริงว่าบิทคอยน์นั้นถูกออกแบบมาเพื่อที่จะเป็น “เงิน” ที่ใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้อย่างสะดวกและต้นทุนต่ำ แถมเงินนี้จะไม่เฟ้อเหมือนเงิน “กระดาษ” ที่นักวิชาการเรียกว่าเงิน Fiat เช่น เงินดอลลาร์หรือเงินของประเทศทั้งหลายในโลก เนื่องจากมันจะไม่มีการเพิ่มขึ้นตามอำเภอใจของรัฐบาลที่มักจะ “พิมพ์” เงิน Fiat เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างที่กำลังทำกันอยู่มากมายในช่วงนี้ ดังนั้น ในอนาคต คนจะหันมาใช้เงินบิทคอยน์แทนและจะทำมากขึ้นเรื่อย ๆ และจะ Disrupt เงิน Fiat ในที่สุด
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบันหลังจากที่บิทคอยน์ถูกสร้างขึ้นและมีการซื้อขายกันในตลาดเป็นเวลา 7-8 ปีแล้ว กลับปรากฏว่ามีคนที่ใช้บิทคอยน์ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าน้อยมาก เหตุผลนั้นก็ชัดเจนว่า ข้อแรก มีคนขายสินค้าที่รับเงินบิทคอยน์น้อยมาก เช่นเดียวกับคนที่มีบิทคอยน์ที่จะนำมาซื้อสินค้าก็มีน้อยมาก เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ คนทั่วไปที่ทำงานกินเงินเดือนที่จะทำให้มีเงินนั้น ต่างก็รับเป็นเงิน Fiat คงมีแต่คนที่เล่นหรือลงทุนในบิทคอยน์เท่านั้นที่จะมีเงินนี้ ประการที่สองก็คือ เรื่องของ “ต้นทุน” ที่ต้องใช้ในการโอนหรือแลกเปลี่ยนเงินจากสกุลหนึ่งมาอีกสกุลหนึ่งที่มักจะค่อนข้างสูง ตัวอย่างเช่น การโอนจากเงินบาทไปเป็นเงินเยนหรือเงินด่อง มักจะมีค่าธรรมเนียมและอัตราส่วนต่างซื้อขายที่ค่อนข้างสูง บางทีก็ต้องโอนสองต่อคือเป็นดอลลาร์ก่อนแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นเงินอีกสกุลหนึ่ง การใช้บิทคอยน์อาจจะสามารถลดตรงส่วนนี้ได้ อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่านี่ยังเป็น “อนาคต” เท่านั้น เพราะ ณ. ขณะนี้ ผมคิดว่าการใช้บิทคอยน์ทำธุรกรรมส่วนนี้น่าจะยังมีต้นทุนและความเสี่ยงสูงเกินไป เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ระบบต่าง ๆ เช่นระบบกระเป๋าเงินและการจ่ายเงินทางอิเลคโทรนิคส์ที่มีการคิดค้นขึ้นก็สามารถช่วยลดต้นทุนของการโอนและแลกเปลี่ยนเงินสกุลต่าง ๆ ลงมากจนอาจจะทำให้การใช้บิทคอยน์ไม่จำเป็นแม้แต่ในอนาคต
ประการสุดท้ายที่ทำให้บิทคอยน์ไม่เป็นที่ยอมรับในการซื้อขายสินค้าหรือบริการก็คือ ความผันผวนของราคาบิทคอยน์ที่เกิดขึ้นอย่างแรงในชั่วเสี้ยววินาที นี่ทำให้คนขายและซื้อต่างก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นมาก เพราะเวลาตกลงราคาหนึ่งแต่ในช่วงจ่ายเงินซึ่งอาจจะห่างกันเพียงไม่กี่นาทีกลายเป็นอีกราคาหนึ่งที่คิดจากฐานของเงิน Fiat ที่ทั้งคู่ใช้อ้างอิงที่แตกต่างกันมาก กำไรหรือขาดทุนที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจหรือความพึงพอใจของคนซื้อและขายก็อาจจะเกิดขึ้น และนั่นก็จะทำให้การซื้อขายสินค้าด้วยบิทคอยน์ไม่ประสบความสำเร็จ การที่เทสลาบอกว่าจะยอมรับเงินบิทคอยน์จากคนที่มาซื้อรถนั้น ก็คงเป็นแค่ “กิมมิก” เพื่อโปรโมตบิทคอยน์มากกว่า คนที่บอกว่าบิทคอยน์จะได้รับการยอมรับมากขึ้นอย่างรวดเร็วคล้าย ๆ กับคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือแทนโทรศัพท์บ้านหรือคนที่ใช้เฟซบุคที่เพิ่มขึ้นเป็นล้านล้านคนนั้นผมคิดว่าจะไม่เกิดขึ้นกับบิทคอยน์ เพราะในกรณีแรกนั้น โทรศัพท์มือถือดีกว่าโทรศัพท์บ้านทุกอย่าง ส่วนเฟซบุคนั้นก็ดีกว่าสื่ออื่น ๆ ที่มีอยู่ก่อนหน้านั้น แต่ในกรณีของบิทคอยน์นั้น มันกำลังต่อสู้อยู่กับเงิน Fiat ที่พัฒนาด้วยดิจิตอลเหมือนกัน ทำให้มันไม่สามารถเอาชนะได้ในด้านของการใช้เงินเพื่อการแลกเปลี่ยนสินค้าได้
ถ้าเช่นนั้น บิทคอยน์ในสถานะที่เป็นอยู่นี้คืออะไร? ผมเองลองคิดดูแล้วก็รู้สึกว่ามันน่าจะคล้าย “ทอง” มากที่สุด จะเรียกว่า “ทองเสมือน” ก็น่าจะได้ หรือถ้าพูดแบบสากลหน่อยก็อาจจะเรียกว่าเป็น “Digital Gold” หรือเป็นทองที่สร้างขึ้นจากดิจิตอล นั่นก็คือ เอาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นบล็อกเชนมาเขียนหรือออกแบบให้มีคุณสมบัติคล้าย ๆ ทองคำ นั่นก็คือ มันมีจำนวนที่กำหนดตายตัวและไม่สามารถสร้างหรือ “ขุด” เพิ่มขึ้นมาง่าย ๆ การขุดต้องใช้เงินหรือทรัพยากรมาก นอกเหนือจากนั้นก็คือ มันต้องมีความน่าเชื่อถือว่ามัน “มีค่า” สามารถทำให้คนยอมรับ ซึ่งอย่างในกรณีของทองคำนั้น ปริมาณที่ค้นพบและขุดขึ้นมาแล้วในโลกมีรวมกันคิดเป็นน้ำหนักประมาณ 244,000 ตัน หรือคิดเป็นปริมาตรเท่ากับสระว่ายน้ำโอลิมปิกประมาณ 3 สระเท่านั้น แต่ถ้าคิดเป็นมูลค่าในราคาปัจจุบันที่ 58.2 ล้านเหรียญต่อตันก็เท่ากับประมาณ 14.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในส่วนของความน่าเชื่อถือนั้น ทองคำได้รับความน่าเชื่อถือว่ามีคุณค่าหรือมูลค่ามากทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงมันก็คือโลหะชนิดหนึ่งซึ่งเอาไปทำอะไรไม่ได้เป็นเรื่องเป็นราว หรือถึงทำได้มันก็มีจำนวนน้อยเกินไปที่จะทำอะไรในโลกนี้ ซึ่งก็จะคล้าย ๆ กับบิทคอยน์ที่ไม่มีอะไรจับต้องได้ มีแต่ตัวเลข
แต่บิทคอยน์เป็นตัวเลขที่ถูก “ล็อค” เอาไว้ที่ 21 ล้านบิทคอยน์ ในขณะที่จำนวนบิทคอยน์ในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 18.5 ล้านบิทคอยน์ ดังนั้น จึงเหลือบิทคอยน์อีกเพียง 2.5 ล้านบิทคอยน์ที่จะค่อย ๆ ถูก “ขุด” ขึ้นมา ซึ่งก็ต้องใช้ต้นทุนและพลังงานจำนวนมากเหมือนการขุดทองคำ ถ้าคิดราคาของบิทคอยน์ในปัจจุบันที่ราคาประมาณบิทคอยน์ละ 47,000 ดอลลาร์ก็จะเป็นมูลค่าตลาดของบิทคอยน์ทั้งหมดที่ประมาณ 870,000 ล้านดอลลาร์ หรือเท่ากับประมาณ 6% ของมูลค่าทองคำทั้งโลก ในส่วนของความน่าเชื่อถือว่าเป็น “สินทรัพย์”ที่มีค่านั้น ผมคิดว่ามันก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ อานิสงค์ส่วนหนึ่งก็เพราะผู้นำโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางธุรกิจอย่างอีลอน มัสก์เข้ามาสนับสนุนโดยการ “ถือบิทคอยน์” เป็น “เงินสำรอง” แทนที่จะถือเงินดอลลาร์ที่ความน่าเชื่อถืออาจจะกำลังลดลงเนื่องจากมีการพิมพ์แบ้งค์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าเขากำลังเข้ามา “เก็งกำไร” และมองบิทคอยน์คล้าย ๆ กับทองที่ราคาวิ่งขึ้นลงได้ตามความต้องการหรือ Demand ที่เพิ่มขึ้นในขณะที่จำนวนบิทคอยน์ที่มีหรือ Supply มีจำกัด
ประเด็นว่าราคาบิทคอยน์ตอนนี้สูงเกินไปหรือยังในระยะยาวนั้น คงต้องดูว่าความต้องการที่จะ สำรองบิทคอยน์โดยคนที่มีเงินมหาศาล เช่น บริษัทหรือองค์กรขนาดใหญ่ซึ่งอาจจะรวมถึงรัฐบาลในอนาคตจะต้องการนำบิทคอยน์มา “สำรอง” คล้าย ๆ ทองคำหรือไม่? ซึ่งก็น่าจะอยู่ที่ความ “น่าเชื่อถือ” ของบิทคอยน์ในอนาคต ทองคำนั้น อยู่กับโลกและได้รับความน่าเชื่อถือมากว่า 6,000 ปีแล้ว แต่บิทคอยน์เพิ่งจะเกิดไม่กี่ปี มันจะ Disrupt หรือทำลายทองคำหรือไม่? ถ้าใช่ มูลค่าก็คงมหาศาลกว่านี้ ถ้าไม่ใช่ ซึ่งอาจจะมาจากประเด็นสารพัด เช่น ปัญหาการถูกแฮ็กและที่อาจจะสำคัญยิงกว่าก็คือ รัฐบาลทั้งหลายอาจจะ “ไม่ยอมรับ” ราคาของบิทคอยน์ก็น่าจะสูงเกินไปและอาจจะ “ถล่ม” ลงมาได้ เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ “เงินคริปโต” ตัวอื่นที่ทำได้แบบบิทคอยน์ก็มีมากมายแม้ว่าจะยังไม่ได้รับความน่าเชื่อถือเท่า ยิ่งไปกว่านั้น ในวันหนึ่งรัฐบาลหลาย ๆ แห่งในโลกก็อาจจะออกคอยน์ของตนเองขึ้นมาแข่งกับบิทคอยน์ก็ได้ และถ้าเป็นอย่างนั้น บิทคอยน์ก็อาจจะลดความสำคัญลงไปมากแม้แต่จะเทียบกับทองคำที่เป็น “ของจริง” เสมอ
แน่นอนว่า “อิทธิพล” ของมัสก์ ได้ช่วยขับเคลื่อนราคาของบิทคอยน์ขึ้นไปมาก คนคงจะเชื่อมั่นในตัวมัสก์ว่ามองอะไรไม่ผิด เหนือสิ่งอื่นใด หุ้นเทสลาของเขาก็มีการปรับตัวขึ้นมามโหฬารในช่วงเร็ว ๆ นี้จนมีมูลค่าประมาณ 8.2 แสนล้านดอลลาร์ใกล้เคียงกับมูลค่าของบิทคอยน์ ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา หุ้นเทสลาปรับตัวขึ้นมาประมาณ 5.6 เท่า ในขณะที่บิทคอยน์ก็ขึ้นมาประมาณ 4.6 เท่า ใกล้เคียงกัน
ถ้ามองทางด้านของ “พื้นฐาน” หรือเหตุผลที่ทั้งสองหลักทรัพย์หรือตราสารมีคล้าย ๆ กันอีกอย่างหนึ่งก็คือ เทสลานั้นขายความเป็น “โลกแห่งอนาคต” ของรถยนต์ไฟฟ้าที่ไม่ต้องใช้คนขับที่จะ “ปฏิวัติ” รถยนต์ดั้งเดิมของโลก ในขณะที่บิทคอยน์เองนั้นก็จะเป็น “โลกแห่งอนาคต” ของ “เงิน” ที่จะใช้กันทั่วโลกในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า ดังนั้น ราคาที่ขึ้นมาแรงและเร็วมากจึงเป็นสิ่งที่สะท้อนว่า เทสลาจะยิ่งใหญ่มากในโลกของรถยนต์ ในขณะที่บิทคอยน์ก็จะยิ่งใหญ่มากในโลกของเงินที่เรียกว่า “Cryptocurrency” ที่วันหนึ่งคนจะใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันทั่วโลกแทนระบบเงินตราปัจจุบันที่เป็นดอลลาร์ หยวน หรือบาทและอื่น ๆ ที่เป็นเงินของแต่ละประเทศที่ใช้กันมานาน
ผมเองไม่อยากที่จะพูดถึงข้อโต้เถียงที่ว่า การปรับตัวขึ้นของทั้งเทสลาและบิทคอยน์นั้นเป็นเรื่องของการเก็งกำไรและ/หรือปั่นหุ้นจากนักเก็งกำไรที่กำลังคึกคักกันทั่วโลกอานิสงค์จากเม็ดเงินจำนวนมหาศาลจาก QE ที่รัฐบาลทั่วโลกอัดฉีดเข้าสู่ระบบเพื่อต่อสู้กับโควิด-19 ที่ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำลงในช่วงเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากมีคนพูดกันมากแล้ว แต่อยากจะมี Comment หรือการวิจารณ์ถึงเหตุผลที่พูดกันว่าบิทคอยน์กำลังโตขึ้นเพราะวันหนึ่งมันจะเป็น “เงินเข้าระหัด” ที่คนทั่วโลกจะใช้กัน
เป็นความจริงว่าบิทคอยน์นั้นถูกออกแบบมาเพื่อที่จะเป็น “เงิน” ที่ใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนกันได้อย่างสะดวกและต้นทุนต่ำ แถมเงินนี้จะไม่เฟ้อเหมือนเงิน “กระดาษ” ที่นักวิชาการเรียกว่าเงิน Fiat เช่น เงินดอลลาร์หรือเงินของประเทศทั้งหลายในโลก เนื่องจากมันจะไม่มีการเพิ่มขึ้นตามอำเภอใจของรัฐบาลที่มักจะ “พิมพ์” เงิน Fiat เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างที่กำลังทำกันอยู่มากมายในช่วงนี้ ดังนั้น ในอนาคต คนจะหันมาใช้เงินบิทคอยน์แทนและจะทำมากขึ้นเรื่อย ๆ และจะ Disrupt เงิน Fiat ในที่สุด
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบันหลังจากที่บิทคอยน์ถูกสร้างขึ้นและมีการซื้อขายกันในตลาดเป็นเวลา 7-8 ปีแล้ว กลับปรากฏว่ามีคนที่ใช้บิทคอยน์ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าน้อยมาก เหตุผลนั้นก็ชัดเจนว่า ข้อแรก มีคนขายสินค้าที่รับเงินบิทคอยน์น้อยมาก เช่นเดียวกับคนที่มีบิทคอยน์ที่จะนำมาซื้อสินค้าก็มีน้อยมาก เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ คนทั่วไปที่ทำงานกินเงินเดือนที่จะทำให้มีเงินนั้น ต่างก็รับเป็นเงิน Fiat คงมีแต่คนที่เล่นหรือลงทุนในบิทคอยน์เท่านั้นที่จะมีเงินนี้ ประการที่สองก็คือ เรื่องของ “ต้นทุน” ที่ต้องใช้ในการโอนหรือแลกเปลี่ยนเงินจากสกุลหนึ่งมาอีกสกุลหนึ่งที่มักจะค่อนข้างสูง ตัวอย่างเช่น การโอนจากเงินบาทไปเป็นเงินเยนหรือเงินด่อง มักจะมีค่าธรรมเนียมและอัตราส่วนต่างซื้อขายที่ค่อนข้างสูง บางทีก็ต้องโอนสองต่อคือเป็นดอลลาร์ก่อนแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นเงินอีกสกุลหนึ่ง การใช้บิทคอยน์อาจจะสามารถลดตรงส่วนนี้ได้ อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่านี่ยังเป็น “อนาคต” เท่านั้น เพราะ ณ. ขณะนี้ ผมคิดว่าการใช้บิทคอยน์ทำธุรกรรมส่วนนี้น่าจะยังมีต้นทุนและความเสี่ยงสูงเกินไป เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ ระบบต่าง ๆ เช่นระบบกระเป๋าเงินและการจ่ายเงินทางอิเลคโทรนิคส์ที่มีการคิดค้นขึ้นก็สามารถช่วยลดต้นทุนของการโอนและแลกเปลี่ยนเงินสกุลต่าง ๆ ลงมากจนอาจจะทำให้การใช้บิทคอยน์ไม่จำเป็นแม้แต่ในอนาคต
ประการสุดท้ายที่ทำให้บิทคอยน์ไม่เป็นที่ยอมรับในการซื้อขายสินค้าหรือบริการก็คือ ความผันผวนของราคาบิทคอยน์ที่เกิดขึ้นอย่างแรงในชั่วเสี้ยววินาที นี่ทำให้คนขายและซื้อต่างก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นมาก เพราะเวลาตกลงราคาหนึ่งแต่ในช่วงจ่ายเงินซึ่งอาจจะห่างกันเพียงไม่กี่นาทีกลายเป็นอีกราคาหนึ่งที่คิดจากฐานของเงิน Fiat ที่ทั้งคู่ใช้อ้างอิงที่แตกต่างกันมาก กำไรหรือขาดทุนที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจหรือความพึงพอใจของคนซื้อและขายก็อาจจะเกิดขึ้น และนั่นก็จะทำให้การซื้อขายสินค้าด้วยบิทคอยน์ไม่ประสบความสำเร็จ การที่เทสลาบอกว่าจะยอมรับเงินบิทคอยน์จากคนที่มาซื้อรถนั้น ก็คงเป็นแค่ “กิมมิก” เพื่อโปรโมตบิทคอยน์มากกว่า คนที่บอกว่าบิทคอยน์จะได้รับการยอมรับมากขึ้นอย่างรวดเร็วคล้าย ๆ กับคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือแทนโทรศัพท์บ้านหรือคนที่ใช้เฟซบุคที่เพิ่มขึ้นเป็นล้านล้านคนนั้นผมคิดว่าจะไม่เกิดขึ้นกับบิทคอยน์ เพราะในกรณีแรกนั้น โทรศัพท์มือถือดีกว่าโทรศัพท์บ้านทุกอย่าง ส่วนเฟซบุคนั้นก็ดีกว่าสื่ออื่น ๆ ที่มีอยู่ก่อนหน้านั้น แต่ในกรณีของบิทคอยน์นั้น มันกำลังต่อสู้อยู่กับเงิน Fiat ที่พัฒนาด้วยดิจิตอลเหมือนกัน ทำให้มันไม่สามารถเอาชนะได้ในด้านของการใช้เงินเพื่อการแลกเปลี่ยนสินค้าได้
ถ้าเช่นนั้น บิทคอยน์ในสถานะที่เป็นอยู่นี้คืออะไร? ผมเองลองคิดดูแล้วก็รู้สึกว่ามันน่าจะคล้าย “ทอง” มากที่สุด จะเรียกว่า “ทองเสมือน” ก็น่าจะได้ หรือถ้าพูดแบบสากลหน่อยก็อาจจะเรียกว่าเป็น “Digital Gold” หรือเป็นทองที่สร้างขึ้นจากดิจิตอล นั่นก็คือ เอาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นบล็อกเชนมาเขียนหรือออกแบบให้มีคุณสมบัติคล้าย ๆ ทองคำ นั่นก็คือ มันมีจำนวนที่กำหนดตายตัวและไม่สามารถสร้างหรือ “ขุด” เพิ่มขึ้นมาง่าย ๆ การขุดต้องใช้เงินหรือทรัพยากรมาก นอกเหนือจากนั้นก็คือ มันต้องมีความน่าเชื่อถือว่ามัน “มีค่า” สามารถทำให้คนยอมรับ ซึ่งอย่างในกรณีของทองคำนั้น ปริมาณที่ค้นพบและขุดขึ้นมาแล้วในโลกมีรวมกันคิดเป็นน้ำหนักประมาณ 244,000 ตัน หรือคิดเป็นปริมาตรเท่ากับสระว่ายน้ำโอลิมปิกประมาณ 3 สระเท่านั้น แต่ถ้าคิดเป็นมูลค่าในราคาปัจจุบันที่ 58.2 ล้านเหรียญต่อตันก็เท่ากับประมาณ 14.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในส่วนของความน่าเชื่อถือนั้น ทองคำได้รับความน่าเชื่อถือว่ามีคุณค่าหรือมูลค่ามากทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงมันก็คือโลหะชนิดหนึ่งซึ่งเอาไปทำอะไรไม่ได้เป็นเรื่องเป็นราว หรือถึงทำได้มันก็มีจำนวนน้อยเกินไปที่จะทำอะไรในโลกนี้ ซึ่งก็จะคล้าย ๆ กับบิทคอยน์ที่ไม่มีอะไรจับต้องได้ มีแต่ตัวเลข
แต่บิทคอยน์เป็นตัวเลขที่ถูก “ล็อค” เอาไว้ที่ 21 ล้านบิทคอยน์ ในขณะที่จำนวนบิทคอยน์ในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 18.5 ล้านบิทคอยน์ ดังนั้น จึงเหลือบิทคอยน์อีกเพียง 2.5 ล้านบิทคอยน์ที่จะค่อย ๆ ถูก “ขุด” ขึ้นมา ซึ่งก็ต้องใช้ต้นทุนและพลังงานจำนวนมากเหมือนการขุดทองคำ ถ้าคิดราคาของบิทคอยน์ในปัจจุบันที่ราคาประมาณบิทคอยน์ละ 47,000 ดอลลาร์ก็จะเป็นมูลค่าตลาดของบิทคอยน์ทั้งหมดที่ประมาณ 870,000 ล้านดอลลาร์ หรือเท่ากับประมาณ 6% ของมูลค่าทองคำทั้งโลก ในส่วนของความน่าเชื่อถือว่าเป็น “สินทรัพย์”ที่มีค่านั้น ผมคิดว่ามันก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ อานิสงค์ส่วนหนึ่งก็เพราะผู้นำโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางธุรกิจอย่างอีลอน มัสก์เข้ามาสนับสนุนโดยการ “ถือบิทคอยน์” เป็น “เงินสำรอง” แทนที่จะถือเงินดอลลาร์ที่ความน่าเชื่อถืออาจจะกำลังลดลงเนื่องจากมีการพิมพ์แบ้งค์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าเขากำลังเข้ามา “เก็งกำไร” และมองบิทคอยน์คล้าย ๆ กับทองที่ราคาวิ่งขึ้นลงได้ตามความต้องการหรือ Demand ที่เพิ่มขึ้นในขณะที่จำนวนบิทคอยน์ที่มีหรือ Supply มีจำกัด
ประเด็นว่าราคาบิทคอยน์ตอนนี้สูงเกินไปหรือยังในระยะยาวนั้น คงต้องดูว่าความต้องการที่จะ สำรองบิทคอยน์โดยคนที่มีเงินมหาศาล เช่น บริษัทหรือองค์กรขนาดใหญ่ซึ่งอาจจะรวมถึงรัฐบาลในอนาคตจะต้องการนำบิทคอยน์มา “สำรอง” คล้าย ๆ ทองคำหรือไม่? ซึ่งก็น่าจะอยู่ที่ความ “น่าเชื่อถือ” ของบิทคอยน์ในอนาคต ทองคำนั้น อยู่กับโลกและได้รับความน่าเชื่อถือมากว่า 6,000 ปีแล้ว แต่บิทคอยน์เพิ่งจะเกิดไม่กี่ปี มันจะ Disrupt หรือทำลายทองคำหรือไม่? ถ้าใช่ มูลค่าก็คงมหาศาลกว่านี้ ถ้าไม่ใช่ ซึ่งอาจจะมาจากประเด็นสารพัด เช่น ปัญหาการถูกแฮ็กและที่อาจจะสำคัญยิงกว่าก็คือ รัฐบาลทั้งหลายอาจจะ “ไม่ยอมรับ” ราคาของบิทคอยน์ก็น่าจะสูงเกินไปและอาจจะ “ถล่ม” ลงมาได้ เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ “เงินคริปโต” ตัวอื่นที่ทำได้แบบบิทคอยน์ก็มีมากมายแม้ว่าจะยังไม่ได้รับความน่าเชื่อถือเท่า ยิ่งไปกว่านั้น ในวันหนึ่งรัฐบาลหลาย ๆ แห่งในโลกก็อาจจะออกคอยน์ของตนเองขึ้นมาแข่งกับบิทคอยน์ก็ได้ และถ้าเป็นอย่างนั้น บิทคอยน์ก็อาจจะลดความสำคัญลงไปมากแม้แต่จะเทียบกับทองคำที่เป็น “ของจริง” เสมอ
- ส.สลึง
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3750
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Bitcoin = Digital Gold/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 3
สุดท้าย
เงินกระดาษ หรือ coin ในโลกเสมือน
ล้วนเป็นสิ่งสมมุติที่มนุษย์สร้างขึ้นครับ
ว่ากันตามจริง
มนุษย์ไม่ได้ต้องการเงิน หรือว่า coin หรอก
มนุษย์ต้องการแค่กินอิ่มนอนหลับเท่านั้นเอง
ถ้าอนุมานว่าเงินหรือ coin มีคุณค่า
จากความน่าเชื่อถือ หรือการให้การยอมรับ
จากคนหมู่มาก หรือจากใครก็ตามแต่
การเป็นเจ้าของกิจการ
ที่ช่วยให้มนุษย์กินอิ่มนอนหลับได้
ก็คงมีคุณค่าไม่แพ้กัน
เงินกระดาษ หรือ coin ในโลกเสมือน
ล้วนเป็นสิ่งสมมุติที่มนุษย์สร้างขึ้นครับ
ว่ากันตามจริง
มนุษย์ไม่ได้ต้องการเงิน หรือว่า coin หรอก
มนุษย์ต้องการแค่กินอิ่มนอนหลับเท่านั้นเอง
ถ้าอนุมานว่าเงินหรือ coin มีคุณค่า
จากความน่าเชื่อถือ หรือการให้การยอมรับ
จากคนหมู่มาก หรือจากใครก็ตามแต่
การเป็นเจ้าของกิจการ
ที่ช่วยให้มนุษย์กินอิ่มนอนหลับได้
ก็คงมีคุณค่าไม่แพ้กัน
"วิถีรักษ์โลก บ้าน 1 หลัง รถ 1 คัน สาว 1 คน กางเกงใน 1 ตัว" <( ̄︶ ̄)> ...
- IndyVI
- Verified User
- โพสต์: 14944
- ผู้ติดตาม: 2
Re: Bitcoin = Digital Gold/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 4
FM.96.5 | รู้ใช้เข้าใจเงิน | (15-02-64) คุยกับ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
https://youtu.be/IBJLZmDcmPM?t=1379
https://youtu.be/IBJLZmDcmPM?t=1379
Investment success doesn’t come from “buying good things,” but rather from “buying things well.
# Howard Mark #
# Howard Mark #