ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
- Linzhi
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1522
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 61
To the Moon 2021 (6 Mar 2021)
.
ช่วงที่ผ่านมาใครที่ลงทุนหุ้นกลาง/เล็ก ในตลาดหุ้นฮ่องกงหรือ Nasdaq จะเจอสภาพ correction ที่ค่อนข้างแรง หุ้นบางตัวลดลงมากกว่า 50% จากจุดสูงสุดในเวลาเพียงไม่กี่อาทิตย์
.
ในขณะเดียวกันกองทุน ETF ARK ที่เป็นกระแสมาก ๆ ตั้งแต่ต้นปี กองทุนไทยเปิดขายและขายหมดแบบเทน้ำเทท่า ARK ที่ทุกคนที่ซื้อไว้หวังว่าจะรวย ราคาก็ปรับตัวลดลงมา 20-30% จนเป็นกระแสตีกลับกลายเป็นหนังคนละม้วน
.
ผมคิดว่ามีสิ่งที่นักลงทุนเราเรียนรู้ได้ในเรื่องนี้คือ
.
1. ความตื่นเต้นคือความอันตราย
ต้นปีนี้ต้องยอมรับว่าหุ้นต่างประเทศขึ้นแบบไม่น่าเชื่อ หุ้นบางตัวขึ้น 2x, 5x, 10x ในเวลาไม่กี่เดือน เกิดกระแส SPAC นี่คือ "แสงไฟระดับพระอาทิตย์" ที่ดึงเอา "เม่าทั่วโลก" เข้าไปสู่แสงไฟ ดีที่รอบนี้ไม่นานฟองสบู่ก็แตก ทำให้ผลกระทบยังคงเป็นวงจำกัดในหุ้นไม่กี่ตัว ไม่กี่กลุ่ม ในวงการลงทุนอะไรๆที่น่าเบื่อมักจะปลอดภัย อะไรที่ตื่นเต้นจน "hype" มักจะอันตราย
.
2. ความขี้เกียจคือความอันตราย
ในทางกลับกัน กระแสหุ้นต่างประเทศนั้นมีมานานแล้ว บางคนก็มัวตั้งท่า แต่พอเริ่มมีคนพูดซ้ำแล้วซ้ำเล่า พอเราเริ่มลงทุนก็อยู่บนดอยพอดี นั่นแปลว่า Status Quo bias เรามากเกินไป โอกาสมักจะเกิดจากการ "ขวนขวาย" ไม่ใช่เกิดจากการที่ให้คนอื่นมาบอก จงขวนขวายไปเรื่อย ๆ
.
3. อีโก้คือความอันตราย
หุ้นที่ขึ้นเยอะเกินพื้นฐานจะตกลงมาเสมอ ส่วนหุ้นที่ตกมากเกินพื้นฐานก็จะขึ้นเสมอ ไม่ว่าพื้นฐานหุ้นนั้นจะเป็นหุ้นระดับโลก หรือหุ้นระดับตำบล บางครั้งกำไรที่เราได้มามากเกินไปคือสิ่งที่เกิน Mean ความสามารถของเรา หรือความสามารถของหุ้นที่เราถือในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ Regression to mean คือกฎที่ทรงพลัง จงดู "ประวัติศาสตร์ระยะยาว" เพราะนี่คือสิ่งที่ทรงพลังที่สุด อย่าฟังลมปากของคนที่ทำน้อย ๆ แต่พูดอนาคตยาว ๆ จงฟังคนที่ทำมายาว ๆ แต่พูดสั้น ๆ มากกว่า
.
4. True Passion & Faith คือความปลอดภัย
ผมเห็นหลายคนบอกว่าลงทุนหุ้นต่างประเทศสนุกมาก ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อะไรเยอะ แต่พอช่วงนี้หุ้นอเมริกาเริ่มทำกำไรได้ไม่มาก หุ้นไทยกำไรเยอะกว่า ก็รู้สึกว่าหุ้นต่างประเทศไม่สนุกซะแล้ว การค้นหาและทำสิ่งที่ตัวเองรักอย่างแท้จริงและทำอย่างต่อเนื่อง ผลกำไรจะได้มาเอง พยายามมองยาว อย่ามองสั้น และอย่า Bias
.
เส้นทางการลงทุนต่างประเทศเพิ่งเริ่มต้น แต่เส้นทางยาวไกลมาก ปีนี้ก็อาจจะทำให้คนหลายคนพับแผน ผมเห็นคนหนีหุ้นไทยไปเวียดนาม แล้วก็หนีเวียดนามไปหุ้นอเมริกา ประสบการณ์ผมบอกได้เลยว่าทุกตลาดดีหมดถ้าเรามีความรู้มากพอ สิ่งที่ควรทำคือหา "จุดที่เราได้เปรียบ" และหา "จุดที่หุ้นเราได้เปรียบ" + "กระจายความเสี่ยงแบบเหมาะสม" + "วางกองกำลังในยุทธศาสตร์ให้ครบ" ต้นไม้มันต้องรอ ถึงจะโตอย่างแข็งแรง
.
ถ้ามัวแต่หนีเสือ ย้ายไปย้ายมา จะปะจรเข้แน่นอนครับ
.
ปล. ผมไม่ได้จะเขียนกระทบใครนะครับ เขียนทบทวน ช่วงนี้เหมือนได้เห็น case เยอะดี ขอบันทึกไว้หน่อย
.
ช่วงที่ผ่านมาใครที่ลงทุนหุ้นกลาง/เล็ก ในตลาดหุ้นฮ่องกงหรือ Nasdaq จะเจอสภาพ correction ที่ค่อนข้างแรง หุ้นบางตัวลดลงมากกว่า 50% จากจุดสูงสุดในเวลาเพียงไม่กี่อาทิตย์
.
ในขณะเดียวกันกองทุน ETF ARK ที่เป็นกระแสมาก ๆ ตั้งแต่ต้นปี กองทุนไทยเปิดขายและขายหมดแบบเทน้ำเทท่า ARK ที่ทุกคนที่ซื้อไว้หวังว่าจะรวย ราคาก็ปรับตัวลดลงมา 20-30% จนเป็นกระแสตีกลับกลายเป็นหนังคนละม้วน
.
ผมคิดว่ามีสิ่งที่นักลงทุนเราเรียนรู้ได้ในเรื่องนี้คือ
.
1. ความตื่นเต้นคือความอันตราย
ต้นปีนี้ต้องยอมรับว่าหุ้นต่างประเทศขึ้นแบบไม่น่าเชื่อ หุ้นบางตัวขึ้น 2x, 5x, 10x ในเวลาไม่กี่เดือน เกิดกระแส SPAC นี่คือ "แสงไฟระดับพระอาทิตย์" ที่ดึงเอา "เม่าทั่วโลก" เข้าไปสู่แสงไฟ ดีที่รอบนี้ไม่นานฟองสบู่ก็แตก ทำให้ผลกระทบยังคงเป็นวงจำกัดในหุ้นไม่กี่ตัว ไม่กี่กลุ่ม ในวงการลงทุนอะไรๆที่น่าเบื่อมักจะปลอดภัย อะไรที่ตื่นเต้นจน "hype" มักจะอันตราย
.
2. ความขี้เกียจคือความอันตราย
ในทางกลับกัน กระแสหุ้นต่างประเทศนั้นมีมานานแล้ว บางคนก็มัวตั้งท่า แต่พอเริ่มมีคนพูดซ้ำแล้วซ้ำเล่า พอเราเริ่มลงทุนก็อยู่บนดอยพอดี นั่นแปลว่า Status Quo bias เรามากเกินไป โอกาสมักจะเกิดจากการ "ขวนขวาย" ไม่ใช่เกิดจากการที่ให้คนอื่นมาบอก จงขวนขวายไปเรื่อย ๆ
.
3. อีโก้คือความอันตราย
หุ้นที่ขึ้นเยอะเกินพื้นฐานจะตกลงมาเสมอ ส่วนหุ้นที่ตกมากเกินพื้นฐานก็จะขึ้นเสมอ ไม่ว่าพื้นฐานหุ้นนั้นจะเป็นหุ้นระดับโลก หรือหุ้นระดับตำบล บางครั้งกำไรที่เราได้มามากเกินไปคือสิ่งที่เกิน Mean ความสามารถของเรา หรือความสามารถของหุ้นที่เราถือในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ Regression to mean คือกฎที่ทรงพลัง จงดู "ประวัติศาสตร์ระยะยาว" เพราะนี่คือสิ่งที่ทรงพลังที่สุด อย่าฟังลมปากของคนที่ทำน้อย ๆ แต่พูดอนาคตยาว ๆ จงฟังคนที่ทำมายาว ๆ แต่พูดสั้น ๆ มากกว่า
.
4. True Passion & Faith คือความปลอดภัย
ผมเห็นหลายคนบอกว่าลงทุนหุ้นต่างประเทศสนุกมาก ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อะไรเยอะ แต่พอช่วงนี้หุ้นอเมริกาเริ่มทำกำไรได้ไม่มาก หุ้นไทยกำไรเยอะกว่า ก็รู้สึกว่าหุ้นต่างประเทศไม่สนุกซะแล้ว การค้นหาและทำสิ่งที่ตัวเองรักอย่างแท้จริงและทำอย่างต่อเนื่อง ผลกำไรจะได้มาเอง พยายามมองยาว อย่ามองสั้น และอย่า Bias
.
เส้นทางการลงทุนต่างประเทศเพิ่งเริ่มต้น แต่เส้นทางยาวไกลมาก ปีนี้ก็อาจจะทำให้คนหลายคนพับแผน ผมเห็นคนหนีหุ้นไทยไปเวียดนาม แล้วก็หนีเวียดนามไปหุ้นอเมริกา ประสบการณ์ผมบอกได้เลยว่าทุกตลาดดีหมดถ้าเรามีความรู้มากพอ สิ่งที่ควรทำคือหา "จุดที่เราได้เปรียบ" และหา "จุดที่หุ้นเราได้เปรียบ" + "กระจายความเสี่ยงแบบเหมาะสม" + "วางกองกำลังในยุทธศาสตร์ให้ครบ" ต้นไม้มันต้องรอ ถึงจะโตอย่างแข็งแรง
.
ถ้ามัวแต่หนีเสือ ย้ายไปย้ายมา จะปะจรเข้แน่นอนครับ
.
ปล. ผมไม่ได้จะเขียนกระทบใครนะครับ เขียนทบทวน ช่วงนี้เหมือนได้เห็น case เยอะดี ขอบันทึกไว้หน่อย
แนบไฟล์
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
There is no secret ingredient. It's just you.
- Linzhi
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1522
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 62
โครงการร้อยคนร้อยเหรียญ (17 Apr 2021)
.
เคยสงสัยฟองสบู่แรกของมนุษย์คือ Tulip mania ที่เกิดขึ้นในประเทศเนเธอร์แลนด์มั๊ยครับ ผมจะเขียนแบบไม่น่าเคยอ่านที่ไหน
.
Background ประเทศนี้เป็นจุดกำเนิดนวัตกรรมหลายอย่างรวมถึงตลาดหุ้นด้วย ผมไปเที่ยวและชอบประเทศนี้มาก ไปมาหมด ตึกที่เคยเป็นตลาดหุ้นแรกของโลก ที่นึงอยู่ Bruge ตอนนี้เป็น Pub อีกที่ Antwerp เค้า renovate ไปทำเป็นโรงละคร แอบมุดเข้าไปโดนไล่ออกมา 55555
.
ช่วงปี 1636 ที่มีฟองสบู่ทิวลิปนี้ มีลักษณะ macroeconomics คล้าย ๆ กับช่วงปัจจุบัน คือเป็น golden age ที่มีปัญหาโครงสร้างซ่อนอยู่เยอะมาก
.
ทุกคนมักจะสงสัยว่าทำไมคนยุคนั้นถึงขายซื้อทิวลิปกันในราคาแพงมหาโหดขนาดนี้ ราคาหัวนึงทะลุล้านบาท(เทียบเงินปัจจุบัน)
.
ผมลองแอบคิด ๆ ดูว่าบทสนทนาในยุคนั้นจะเป็นยังไง ถ้าไปอ่านใน FB ยุคนั้น คงมีคนมาโพสต์บอกว่าก็มันมีคนชอบไงครับ (Network Effect) ทุกคนชอบกันหมด ซื้อไปไม่ขาดทุน มีคนรับซื้อมากมาย ตลาดรอง สภาพคล่องมีเต็มไปหมด
.
แถมมี used case เอาไปเพาะพันธุ์ได้ (Farming) วันนี้ซื้อมาหนึ่งหัว ถ้าเอาไปเพาะ ปีหน้ามีหลายๆหัว สร้างมูลค่าเพิ่มได้ เอาไปค้ำประกันกู้เงินได้ ราชสำนักก็ชอบเอาไปประดับประดา เอาไปเป็นเครื่องบรรณาการ บางหัวเป็น unique ด้วยผลิตเพิ่มยาก นักเขียนดัง ๆ บางคนรับค่าจ้างเป็นหัวทิวลิป
.
แถมถ้าเอาใช้ปลูกมาประดับ มันใช้แล้วหมดไปด้วย มีการ burn ทิ้งอีก หัวที่ไม่ปลูกอายุ 12 เดือนก็ถูก burn ทิ้งอัตโนมัติ ไม่มีเฟ้อแน่นอน
.
ในอนาคตอาจจะเป็นสื่อกลางการซื้อขายได้อีก ดีกว่าเงินกระดาษที่รัฐบาลพิมพ์แล้วพังไปตั้งหลายรอบ
.
ที่ดินคุณอาจจะถูกรัฐยึด ถ้ามีปัญหาการเมืองอะไรคุณเอาหัวทิวลิปใส่เป้ วิ่งหนีไปได้เลย เป็นที่เก็บและย้ายความมั่งคั่งชั้นยอด
.
ราคาขึ้นตลอดแบบนี้ใครไม่ซื้อก็ตกรถ แสดงว่าไม่เคยศึกษามันเลย
.
มุมมองผมในเวลานี้ ถ้าในนิยามของ Intelligent investor ไม่ว่ามองมุมไหน coins ก็คือ speculation และเป็นฟองสบู่ แต่อย่างว่าผมเขียนเตือนไปเด็กรุ่นใหม่ ๆ อยู่กันคนละ Channel กับผม อิอิ
.
แต่ผมก็คิดว่าไม่มีเหตุผลอะไร ถ้าคนที่เก็งกำไรหุ้นอยู่ จะไม่ไปเก็งเหรียญแทน ผมว่าดีกว่าเยอะ นี่อาจจะเป็นเหตุผลหลักของการคงอยู่ในช่วงนี้ของ Crypto เป็น casino of the world ไปก่อน
.
ผมมีบัญชี Crypto ลองมันบ้าง ผมสนใจตามแต่ยังไม่อยู่ในโหมดลงทุน และแถมอยากเปิดห้องร้อยคนร้อยเหรียญใน ThaiVI ด้วย แต่ก็คิดว่ามันยังไม่ถึงเวลา แต่อยากทำจริง ๆ นะ แต่ผมต้องการ coin investor จำนวนมากๆ ในการสร้าง wisdom ให้เกิด
.
ผมเชียร์ให้ทุกคนรวยๆๆกับ Crypto แต่ถ้าเกิดมีเวลาเลิกรา ขอให้เรา lock กำไรขายกินเงินฝรั่งทุกคนแล้วกันครับ
.
เคยสงสัยฟองสบู่แรกของมนุษย์คือ Tulip mania ที่เกิดขึ้นในประเทศเนเธอร์แลนด์มั๊ยครับ ผมจะเขียนแบบไม่น่าเคยอ่านที่ไหน
.
Background ประเทศนี้เป็นจุดกำเนิดนวัตกรรมหลายอย่างรวมถึงตลาดหุ้นด้วย ผมไปเที่ยวและชอบประเทศนี้มาก ไปมาหมด ตึกที่เคยเป็นตลาดหุ้นแรกของโลก ที่นึงอยู่ Bruge ตอนนี้เป็น Pub อีกที่ Antwerp เค้า renovate ไปทำเป็นโรงละคร แอบมุดเข้าไปโดนไล่ออกมา 55555
.
ช่วงปี 1636 ที่มีฟองสบู่ทิวลิปนี้ มีลักษณะ macroeconomics คล้าย ๆ กับช่วงปัจจุบัน คือเป็น golden age ที่มีปัญหาโครงสร้างซ่อนอยู่เยอะมาก
.
ทุกคนมักจะสงสัยว่าทำไมคนยุคนั้นถึงขายซื้อทิวลิปกันในราคาแพงมหาโหดขนาดนี้ ราคาหัวนึงทะลุล้านบาท(เทียบเงินปัจจุบัน)
.
ผมลองแอบคิด ๆ ดูว่าบทสนทนาในยุคนั้นจะเป็นยังไง ถ้าไปอ่านใน FB ยุคนั้น คงมีคนมาโพสต์บอกว่าก็มันมีคนชอบไงครับ (Network Effect) ทุกคนชอบกันหมด ซื้อไปไม่ขาดทุน มีคนรับซื้อมากมาย ตลาดรอง สภาพคล่องมีเต็มไปหมด
.
แถมมี used case เอาไปเพาะพันธุ์ได้ (Farming) วันนี้ซื้อมาหนึ่งหัว ถ้าเอาไปเพาะ ปีหน้ามีหลายๆหัว สร้างมูลค่าเพิ่มได้ เอาไปค้ำประกันกู้เงินได้ ราชสำนักก็ชอบเอาไปประดับประดา เอาไปเป็นเครื่องบรรณาการ บางหัวเป็น unique ด้วยผลิตเพิ่มยาก นักเขียนดัง ๆ บางคนรับค่าจ้างเป็นหัวทิวลิป
.
แถมถ้าเอาใช้ปลูกมาประดับ มันใช้แล้วหมดไปด้วย มีการ burn ทิ้งอีก หัวที่ไม่ปลูกอายุ 12 เดือนก็ถูก burn ทิ้งอัตโนมัติ ไม่มีเฟ้อแน่นอน
.
ในอนาคตอาจจะเป็นสื่อกลางการซื้อขายได้อีก ดีกว่าเงินกระดาษที่รัฐบาลพิมพ์แล้วพังไปตั้งหลายรอบ
.
ที่ดินคุณอาจจะถูกรัฐยึด ถ้ามีปัญหาการเมืองอะไรคุณเอาหัวทิวลิปใส่เป้ วิ่งหนีไปได้เลย เป็นที่เก็บและย้ายความมั่งคั่งชั้นยอด
.
ราคาขึ้นตลอดแบบนี้ใครไม่ซื้อก็ตกรถ แสดงว่าไม่เคยศึกษามันเลย
.
มุมมองผมในเวลานี้ ถ้าในนิยามของ Intelligent investor ไม่ว่ามองมุมไหน coins ก็คือ speculation และเป็นฟองสบู่ แต่อย่างว่าผมเขียนเตือนไปเด็กรุ่นใหม่ ๆ อยู่กันคนละ Channel กับผม อิอิ
.
แต่ผมก็คิดว่าไม่มีเหตุผลอะไร ถ้าคนที่เก็งกำไรหุ้นอยู่ จะไม่ไปเก็งเหรียญแทน ผมว่าดีกว่าเยอะ นี่อาจจะเป็นเหตุผลหลักของการคงอยู่ในช่วงนี้ของ Crypto เป็น casino of the world ไปก่อน
.
ผมมีบัญชี Crypto ลองมันบ้าง ผมสนใจตามแต่ยังไม่อยู่ในโหมดลงทุน และแถมอยากเปิดห้องร้อยคนร้อยเหรียญใน ThaiVI ด้วย แต่ก็คิดว่ามันยังไม่ถึงเวลา แต่อยากทำจริง ๆ นะ แต่ผมต้องการ coin investor จำนวนมากๆ ในการสร้าง wisdom ให้เกิด
.
ผมเชียร์ให้ทุกคนรวยๆๆกับ Crypto แต่ถ้าเกิดมีเวลาเลิกรา ขอให้เรา lock กำไรขายกินเงินฝรั่งทุกคนแล้วกันครับ
แนบไฟล์
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
There is no secret ingredient. It's just you.
- Linzhi
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1522
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 63
Quick take วีไอกับการลงทุนต่างประเทศ update q1/21 (12 May 2021)
.
1. การลงทุนต่างประเทศเป็นการกระจายความเสี่ยง ซื้อ ETF กองทุน ระยะยาวน่าจะดีกว่าซื้อ SET50 ไทย กระจายหลายประเทศสามารถลดความผันผวน เพิ่มผลตอบแทนได้
.
2. ถ้าเลือกหุ้น ลงทุนเอง ใช้พลังและเวลาในการสะสมความรู้ ยากกว่าหุ้นไทย ผลลัพท์ขึ้นกับความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์
.
3. ส่วนตัวคิดว่าไม่เหมาะกับมือใหม่ ถ้ายังไม่ชำนาญ ควรลงทุนหุ้นไทยให้ดีก่อน แล้วค่อย ๆ แบ่งไป
.
4. ส่วนตัวผมค่อนข้างชอบ สนุกท้าทายดี ได้ความรู้ ผลตอบแทนยังไม่รู้ แต่รู้สึกมันกระจายความเสี่ยงได้ดีขึ้น potential portfolio ในอนาคตดูดีขึ้น
.
5. ThaiVI ตอนนี้ ยังคงส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง เราใช้ทรัพยากร 80% สำหรับหุ้นไทย และ 20% สำหรับเปิดประตูสู่หุ้นต่างประเทศ
.
1. การลงทุนต่างประเทศเป็นการกระจายความเสี่ยง ซื้อ ETF กองทุน ระยะยาวน่าจะดีกว่าซื้อ SET50 ไทย กระจายหลายประเทศสามารถลดความผันผวน เพิ่มผลตอบแทนได้
.
2. ถ้าเลือกหุ้น ลงทุนเอง ใช้พลังและเวลาในการสะสมความรู้ ยากกว่าหุ้นไทย ผลลัพท์ขึ้นกับความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์
.
3. ส่วนตัวคิดว่าไม่เหมาะกับมือใหม่ ถ้ายังไม่ชำนาญ ควรลงทุนหุ้นไทยให้ดีก่อน แล้วค่อย ๆ แบ่งไป
.
4. ส่วนตัวผมค่อนข้างชอบ สนุกท้าทายดี ได้ความรู้ ผลตอบแทนยังไม่รู้ แต่รู้สึกมันกระจายความเสี่ยงได้ดีขึ้น potential portfolio ในอนาคตดูดีขึ้น
.
5. ThaiVI ตอนนี้ ยังคงส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง เราใช้ทรัพยากร 80% สำหรับหุ้นไทย และ 20% สำหรับเปิดประตูสู่หุ้นต่างประเทศ
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
There is no secret ingredient. It's just you.
- Linzhi
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1522
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 64
อนาคตประเทศไทย (8 Jun 2021)
.
ผมนั่งอ่านบทความอาจารย์นิเวศน์ ประจวบกับ The Economist ฉบับล่าสุด ซึ่งถอดบทเรียนเรื่องการวิเคราะห์ประเทศผ่านเลนส์ Geopolitics ได้อย่างน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
.
เนื้อหาเกริ่นว่าสาเหตุใดทำไมแค่ช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ยุโรปถึงได้ถดถอยในบทบาทเวทีเศรษฐกิจโลก เดิมธุรกิจ Top100 ในยุโรปมีขนาด Market Cap ใกล้เคียงสหรัฐ แต่ปัจจุบันเหลือเพียงหนึ่งในสี่ ซึ่งผมคิดว่ามีแนวคิดดี ๆ นำมาปรับใช้ได้จำนวนมาก
.
1. เหตุผลแรกบริษัทในยุโรป มีการบริหารจัดการด้อยกว่า ในการแข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกันตลอด 20 ปี ลองนึกถึงบริษัทอย่าง SIEMENS, NOKIA, Carrefour เทียบกับบริษัทชั้นนำของอเมริกา
.
2. ยุโรปเลือก "ผิดอุตสาหกรรม" โดยพัฒนาอุตสาหกรรมที่ล้าสมัย หรือเรียกว่า old economy ขาดการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ ๆ เช่น Tech, Consumer Internet
.
3. เหตุผลที่สาม ซึ่งน่าจะเป็นเหตุผลหลัก ที่นำไปสู่ความผิดพลาดในสองเหตุผลแรกคือ ยุโรปขาด "บริษัทใหม่ๆ" การที่เน้นให้บริษัทเดิม ๆ มีอายุยืน ๆ อาจจะทำให้ผู้คนขาดความเป็นเจ้าของกิจการ ขาดความกล้าคิด สร้างสรรค์ บริษัทใหญ่ ๆ ในอเมริกาเช่น Tesla, Amazon, Netflix, Facebook ล้วนมีผู้นำและ founder อายุน้อยๆ เกิดใหม่ แตกต่างจากบริษัทในยุโรปที่มีแต่ผู้บริหารระดับสูงอายุมากที่ต้องไต่เต้าขึ้นมาในสายบังคับบัญชา หรือไต่เต้าขึ้นมาตามระบบครอบครัว
.
นอกจากนั้นยังมีเหตุผลอื่น ๆ เช่น ผู้ประกอบการในยุโรปไม่ได้คิดคำว่า "European Union" แต่คิดเฉพาะตลาดในประเทศเป็นหลัก ทำให้หลายบริษัทขาด Economies of Scale เช่นอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในยุโรปมีมากกว่า 100 แห่ง อุตสาหกรรมค้าปลีกก็มีเป็น 100 บริษัท แตกต่างจากอเมริกา (หรือจีน) ที่มีจำนวนไม่กี่บริษัท ทำให้เกิดความได้เปรียบต่อขนาดเป็นอย่างมาก
.
และอีกเหตุผลย่อย ๆ คือ ยุโรปให้โอกาส "ผู้พ่ายแพ้" น้อยกว่าประเทศอเมริกาหรือจีน คนจึงกลัวความล้มเหลว สังคมไม่ให้รางวัลหรือไม่ให้โอกาสคนที่กล้าเสี่ยง ผู้คนจึงนิยมเลือกทำงานประจำ รับเงินเดือนและให้ระบบรัฐสวัสดิการดูแลตอนเกษียณ (อันที่จริงปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากระบบรัฐสวัสดิการ ทำให้ยุโรปป่วยมายาวนาน)
.
Economist ตั้งชื่อบทความว่า The land that ambition forgot บางครั้งเราอาจจะต้องสมดุลระหว่าง Work - Life Balance และที่สำคัญกว่านั้นคือ "การเลือก" ที่ถูกต้อง
.
ในเล่มนี้ยังพูดถึงความล้มเหลวของประเทศที่ตรงกันข้ามจากยุโรป คือบราซิลอีกด้วย ประเทศที่มีแต่คนรุ่นใหม่อายุน้อย ไม่ได้ขาดความทะเยอทะยานแบบยุโรป แต่เหตุผลคือนโยบายรัฐที่มองระยะสั้น ประเทศซึ่งขาดผู้นำใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพ (ประชาชนต้องเลือก Who is lesser evil) ทำให้บราซิลในปัจจุบันมี GDP per capita เล็กกว่าไทยแล้ว ผมยังไม่อยากเชื่อเลยครับ
.
ใครมีโอกาสชักชวนให้อ่านครับ และชักชวนให้คิดต่อว่าอนาคตประเทศไทยจะเป็นไปในทางไหน และเราจะอยู่ตรงไหนของจิกซอว์นั้น
.
ณ ขณะนี้คนส่วนมากจะเริ่มได้ไปฉีดวัคซีนแล้ว เป็นโอกาสดีที่จะเป็นจุดที่เราตระหนักคิดวางแผนว่าปีหน้า สิบปีข้างหน้า ชีวิตบทใหม่ Post Covid จะมีหน้าตาเป็นอย่างไรครับ
.
ผมนั่งอ่านบทความอาจารย์นิเวศน์ ประจวบกับ The Economist ฉบับล่าสุด ซึ่งถอดบทเรียนเรื่องการวิเคราะห์ประเทศผ่านเลนส์ Geopolitics ได้อย่างน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
.
เนื้อหาเกริ่นว่าสาเหตุใดทำไมแค่ช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ยุโรปถึงได้ถดถอยในบทบาทเวทีเศรษฐกิจโลก เดิมธุรกิจ Top100 ในยุโรปมีขนาด Market Cap ใกล้เคียงสหรัฐ แต่ปัจจุบันเหลือเพียงหนึ่งในสี่ ซึ่งผมคิดว่ามีแนวคิดดี ๆ นำมาปรับใช้ได้จำนวนมาก
.
1. เหตุผลแรกบริษัทในยุโรป มีการบริหารจัดการด้อยกว่า ในการแข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกันตลอด 20 ปี ลองนึกถึงบริษัทอย่าง SIEMENS, NOKIA, Carrefour เทียบกับบริษัทชั้นนำของอเมริกา
.
2. ยุโรปเลือก "ผิดอุตสาหกรรม" โดยพัฒนาอุตสาหกรรมที่ล้าสมัย หรือเรียกว่า old economy ขาดการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ ๆ เช่น Tech, Consumer Internet
.
3. เหตุผลที่สาม ซึ่งน่าจะเป็นเหตุผลหลัก ที่นำไปสู่ความผิดพลาดในสองเหตุผลแรกคือ ยุโรปขาด "บริษัทใหม่ๆ" การที่เน้นให้บริษัทเดิม ๆ มีอายุยืน ๆ อาจจะทำให้ผู้คนขาดความเป็นเจ้าของกิจการ ขาดความกล้าคิด สร้างสรรค์ บริษัทใหญ่ ๆ ในอเมริกาเช่น Tesla, Amazon, Netflix, Facebook ล้วนมีผู้นำและ founder อายุน้อยๆ เกิดใหม่ แตกต่างจากบริษัทในยุโรปที่มีแต่ผู้บริหารระดับสูงอายุมากที่ต้องไต่เต้าขึ้นมาในสายบังคับบัญชา หรือไต่เต้าขึ้นมาตามระบบครอบครัว
.
นอกจากนั้นยังมีเหตุผลอื่น ๆ เช่น ผู้ประกอบการในยุโรปไม่ได้คิดคำว่า "European Union" แต่คิดเฉพาะตลาดในประเทศเป็นหลัก ทำให้หลายบริษัทขาด Economies of Scale เช่นอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในยุโรปมีมากกว่า 100 แห่ง อุตสาหกรรมค้าปลีกก็มีเป็น 100 บริษัท แตกต่างจากอเมริกา (หรือจีน) ที่มีจำนวนไม่กี่บริษัท ทำให้เกิดความได้เปรียบต่อขนาดเป็นอย่างมาก
.
และอีกเหตุผลย่อย ๆ คือ ยุโรปให้โอกาส "ผู้พ่ายแพ้" น้อยกว่าประเทศอเมริกาหรือจีน คนจึงกลัวความล้มเหลว สังคมไม่ให้รางวัลหรือไม่ให้โอกาสคนที่กล้าเสี่ยง ผู้คนจึงนิยมเลือกทำงานประจำ รับเงินเดือนและให้ระบบรัฐสวัสดิการดูแลตอนเกษียณ (อันที่จริงปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากระบบรัฐสวัสดิการ ทำให้ยุโรปป่วยมายาวนาน)
.
Economist ตั้งชื่อบทความว่า The land that ambition forgot บางครั้งเราอาจจะต้องสมดุลระหว่าง Work - Life Balance และที่สำคัญกว่านั้นคือ "การเลือก" ที่ถูกต้อง
.
ในเล่มนี้ยังพูดถึงความล้มเหลวของประเทศที่ตรงกันข้ามจากยุโรป คือบราซิลอีกด้วย ประเทศที่มีแต่คนรุ่นใหม่อายุน้อย ไม่ได้ขาดความทะเยอทะยานแบบยุโรป แต่เหตุผลคือนโยบายรัฐที่มองระยะสั้น ประเทศซึ่งขาดผู้นำใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพ (ประชาชนต้องเลือก Who is lesser evil) ทำให้บราซิลในปัจจุบันมี GDP per capita เล็กกว่าไทยแล้ว ผมยังไม่อยากเชื่อเลยครับ
.
ใครมีโอกาสชักชวนให้อ่านครับ และชักชวนให้คิดต่อว่าอนาคตประเทศไทยจะเป็นไปในทางไหน และเราจะอยู่ตรงไหนของจิกซอว์นั้น
.
ณ ขณะนี้คนส่วนมากจะเริ่มได้ไปฉีดวัคซีนแล้ว เป็นโอกาสดีที่จะเป็นจุดที่เราตระหนักคิดวางแผนว่าปีหน้า สิบปีข้างหน้า ชีวิตบทใหม่ Post Covid จะมีหน้าตาเป็นอย่างไรครับ
แนบไฟล์
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
There is no secret ingredient. It's just you.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 262
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 65
ผมได้ลองไปอ่าน Economic Principles ของ Ray Dalio มาซึ่งเกี่ยวกับกลไกของเศรษฐกิจและ long term debt cycle ผมเห็นด้วยกับเค้าว่าในอเมริกาตอนนี้มีปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่าง haves และ have-nots (พวกที่มีและไม่มี assets) ซึ่งเป็นหนึ่งในความไม่สมดุล ที่เกิดขึ้น โดยมาจากเหตุผลหลายประการเช่น การทำ QE ที่ไม่ effective และ tech disruption ทำให้คนตกงานมากขึ้น ส่วนเงินที่ print ออกมาก็มีบางส่วนถูกนำไปซื้อหรือเล่นหุ้นโดยไม่ได้ถูกนำไปหมุนเวียนในเศรษฐกิจ ผ่านการจ้างงานและการใช้จ่าย ถ้าปัญหาความเหลื่อมล้ำยังไม่ถูกแก้ไขโดยเร็ว มันก็จะเป็นดินพอกหางหมูที่ถ่วงการเดินไปข้างหน้าของเศรษฐกิจก็ได้ มันไม่ใช่แค่ในไทยครับ มันเป็นเกือบทุกที่
ตอนนี้ผมเริ่มไม่ค่อยมั่นใจในการลงทุนในหุ้น tech/growth ตปท. สักเท่าไหร่ พวกนี้เป็นหุ้นแห่งอนาคตที่มีพฐดีเยี่ยม แต่ผมไม่รู้ว่าพวกนี้มัน hype แค่ไหน มัน hype ไปมากกว่าพฐเปล่า ผมเคยโดนหุ้นโรงไฟฟ้ามาแล้ว มันเป็นบทเรียนที่เจ็บจริง ไม่ค่อยมั่นใจในการลงทุนในหุ้นที่ hype บทเรียนนี้ทำให้ผมรอดดอยหุ้น DELTA มาได้โดยไม่ซื้อมันที่ 802
ตอนนี้ผมเริ่มไม่ค่อยมั่นใจในการลงทุนในหุ้น tech/growth ตปท. สักเท่าไหร่ พวกนี้เป็นหุ้นแห่งอนาคตที่มีพฐดีเยี่ยม แต่ผมไม่รู้ว่าพวกนี้มัน hype แค่ไหน มัน hype ไปมากกว่าพฐเปล่า ผมเคยโดนหุ้นโรงไฟฟ้ามาแล้ว มันเป็นบทเรียนที่เจ็บจริง ไม่ค่อยมั่นใจในการลงทุนในหุ้นที่ hype บทเรียนนี้ทำให้ผมรอดดอยหุ้น DELTA มาได้โดยไม่ซื้อมันที่ 802
- นายมานะ
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1167
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 66
โรงไฟฟ้ามันไม่ได้มีลักษณะของ Winner take all เหมือน Tech นะครับ และไม่ใช่ธุรกิจที่สามารถเติบโตแบบก้าวกระโดดในระยะยาวได้ด้วย การเติบโตของโรงไฟฟ้าต้องใช้ Capex มาก ในขณะที่ Tech software สามารถเติบโตได้โดยมี operating leverage มหาศาล โดยรวมแล้วบริบทของหุ้นโรงไฟฟ้าแตกต่างจากหุ้น Tech อย่างสิ้นเชิงPeter1011 เขียน: ↑อาทิตย์ มิ.ย. 13, 2021 3:32 pmผมได้ลองไปอ่าน Economic Principles ของ Ray Dalio มาซึ่งเกี่ยวกับกลไกของเศรษฐกิจและ long term debt cycle ผมเห็นด้วยกับเค้าว่าในอเมริกาตอนนี้มีปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่าง haves และ have-nots (พวกที่มีและไม่มี assets) ซึ่งเป็นหนึ่งในความไม่สมดุล ที่เกิดขึ้น โดยมาจากเหตุผลหลายประการเช่น การทำ QE ที่ไม่ effective และ tech disruption ทำให้คนตกงานมากขึ้น ส่วนเงินที่ print ออกมาก็มีบางส่วนถูกนำไปซื้อหรือเล่นหุ้นโดยไม่ได้ถูกนำไปหมุนเวียนในเศรษฐกิจ ผ่านการจ้างงานและการใช้จ่าย ถ้าปัญหาความเหลื่อมล้ำยังไม่ถูกแก้ไขโดยเร็ว มันก็จะเป็นดินพอกหางหมูที่ถ่วงการเดินไปข้างหน้าของเศรษฐกิจก็ได้ มันไม่ใช่แค่ในไทยครับ มันเป็นเกือบทุกที่
ตอนนี้ผมเริ่มไม่ค่อยมั่นใจในการลงทุนในหุ้น tech/growth ตปท. สักเท่าไหร่ พวกนี้เป็นหุ้นแห่งอนาคตที่มีพฐดีเยี่ยม แต่ผมไม่รู้ว่าพวกนี้มัน hype แค่ไหน มัน hype ไปมากกว่าพฐเปล่า ผมเคยโดนหุ้นโรงไฟฟ้ามาแล้ว มันเป็นบทเรียนที่เจ็บจริง ไม่ค่อยมั่นใจในการลงทุนในหุ้นที่ hype บทเรียนนี้ทำให้ผมรอดดอยหุ้น DELTA มาได้โดยไม่ซื้อมันที่ 802
ถ้าพูดถึง Sector Tech อาจจะมีหุ้นบางกลุ่มหรือบางตัว hype เกิน valuation ได้ครับ และก็มีโอกาสที่สถานการณ์จะเป็นแบบนี้ได้ยาวนาน แต่ถ้าศึกษาเป็นรายบริษัท ผมคิดว่ายังมีโอกาสที่จะหาหุ้นที่ undervalue ได้อยู่ครับ การมองในเชิงเหมารวมผมคิดว่าเป็น bias ศึกษาเป็นรายกรณีไปน่าจะดีกว่าครับ
ขอขอบคุณนายกหลินฯ ที่รวบรวม content ดีๆ ไว้ในนี้ด้วยครับ จะได้ไม่หายไปตามเวลา
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 262
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 67
ผมบอกคุณรึยังว่าหุ้นโรงไฟฟ้ามันมีลักษณะเหมือนกับ หุ้น Tech การที่ผมไปโดนหุ้นรฟฟ. นั้นทำให้ผมตระหนักว่าเราไม่ควรไปลงทุนในสิ่งที่เราไม่เข้าใจ ไม่งั้นเราก็อาจจะโดนอีกได้ ผมไม่เข้าใจหุ้น Tech และต้องใช้เวลาเข้าใจอีกนาน ผมก็เลยไม่กล้าลงทุนตอนนี้ คุณยังมองว่ามันเป็นการมองในเชิงเหมารวม/bias หรือไงนายมานะ เขียน: ↑อังคาร มิ.ย. 15, 2021 12:38 amโรงไฟฟ้ามันไม่ได้มีลักษณะของ Winner take all เหมือน Tech นะครับ และไม่ใช่ธุรกิจที่สามารถเติบโตแบบก้าวกระโดดในระยะยาวได้ด้วย การเติบโตของโรงไฟฟ้าต้องใช้ Capex มาก ในขณะที่ Tech software สามารถเติบโตได้โดยมี operating leverage มหาศาล โดยรวมแล้วบริบทของหุ้นโรงไฟฟ้าแตกต่างจากหุ้น Tech อย่างสิ้นเชิง
ถ้าพูดถึง Sector Tech อาจจะมีหุ้นบางกลุ่มหรือบางตัว hype เกิน valuation ได้ครับ และก็มีโอกาสที่สถานการณ์จะเป็นแบบนี้ได้ยาวนาน แต่ถ้าศึกษาเป็นรายบริษัท ผมคิดว่ายังมีโอกาสที่จะหาหุ้นที่ undervalue ได้อยู่ครับ การมองในเชิงเหมารวมผมคิดว่าเป็น bias ศึกษาเป็นรายกรณีไปน่าจะดีกว่าครับ
ขอขอบคุณนายกหลินฯ ที่รวบรวม content ดีๆ ไว้ในนี้ด้วยครับ จะได้ไม่หายไปตามเวลา
- นายมานะ
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1167
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 68
ถ้าคอมเม้นของผมทำให้คุณ Peter1011 รู้สึกไม่ดีก็ต้องขอโทษด้วยครับPeter1011 เขียน: ↑อังคาร มิ.ย. 15, 2021 1:28 pmผมบอกคุณรึยังว่าหุ้นโรงไฟฟ้ามันมีลักษณะเหมือนกับ หุ้น Tech การที่ผมไปโดนหุ้นรฟฟ. นั้นทำให้ผมตระหนักว่าเราไม่ควรไปลงทุนในสิ่งที่เราไม่เข้าใจ ไม่งั้นเราก็อาจจะโดนอีกได้ ผมไม่เข้าใจหุ้น Tech และต้องใช้เวลาเข้าใจอีกนาน ผมก็เลยไม่กล้าลงทุนตอนนี้ คุณยังมองว่ามันเป็นการมองในเชิงเหมารวม/bias หรือไง
อย่างไรก็ดีผมคิดว่าการมองหุ้นกลุ่ม Tech แบบเหมารวมทั้ง sector เป็นวิธีคิดแบบ Stereotype ซึ่งเป็น bias ประเภทหนึ่งครับ
คำว่า bias นี้ ส่วนตัวผมไม่ได้มองว่าเป็นคำ negative และไม่ได้มีเจตนามุ่งร้ายต่อคุณ Peter1011 ครับ เอาเป็นว่าต่อไปผมคงต้องปรับวิธีการโพสใหม่ พยายามลดการปะทะให้น้อยลง จะได้ไม่ไปเผลอกระทบความรู้สึกใคร โดยไม่ได้เจตนา
- nuthjira
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 233
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 69
ผมว่าไม่ว่าคอมเม้นของคุณ Peter1011 หรือคอมเม้นของพี่ นายมานะ ล้วนเป็นประโยชน์กับบอร์ด ThaiVI ไม่มากก็น้อย
การ discuss กันช่วยให้เราเห็นมุมมองที่หลากหลาย ลดอคติ หรือ อีโก้ ที่เรามีได้มากขึ้น
ผมคงเสียดายถ้าคอมเม้นดีๆจากสมาชิกค่อยๆลดไปยังไงก็ยังอยากให้พี่ นายมานะ และคุณ Peter1011 คอมเม้นอยู่นะครับ : ))
การ discuss กันช่วยให้เราเห็นมุมมองที่หลากหลาย ลดอคติ หรือ อีโก้ ที่เรามีได้มากขึ้น
ผมคงเสียดายถ้าคอมเม้นดีๆจากสมาชิกค่อยๆลดไปยังไงก็ยังอยากให้พี่ นายมานะ และคุณ Peter1011 คอมเม้นอยู่นะครับ : ))
....ความโลภจะนำนักลงทุนส่วนมาก ไปแสวงหาทางลัดเพื่อความสำเร็จในการลงทุน
แทนที่จะคาดหวังผลตอบแทนทบต้นที่เหมาะสมในระยะยาว ....
แทนที่จะคาดหวังผลตอบแทนทบต้นที่เหมาะสมในระยะยาว ....
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 70
อยากแนะนำให้ลองอ่านหนังสือเล่มนี้ครับ น่าจะช่วยให้เรามีแนวทางในการหาคำตอบได้ว่า ราคาที่ซื้อขายอยู่ในตลาด ณ ขณะนี้ มันใส่ความคาดหวังมากน้อยขนาดไหน มี hype อยู่หรือเปล่า มีแค่ไหน และมากกว่าพื้นฐานหรือเปล่า
https://www.amazon.com/Expectations-Inv ... B01J0FP7JE
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1399
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 71
ผมมีความสงสัยเกี่ยวกับ Winner take all ครับ
โดยธรรมชาติหากปล่อยเอาไว้นานๆ บริษัทใหญ่กว่าและใหญ่มากๆ เช่น tencent, alibaba ก็จะครองตลาดและทำให้ net profit margin หนาไปเรื่อยๆ
ไม่ว่ามันจะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมใดๆก็ตาม ผมมองว่ามันคือภัยคุกคามต่อความมั่นคงของมนุษย์ ถึงแม้มันจะสร้างความก้าวหน้ามหาศาลแก่โลกของเราก็ตาม ดังนั้นผมเลยคิดข้ามไปอีกหลายปีข้างหน้าว่า วันหนึ่งมันจะต้องมีกฎหมายข้อบังคับอะไรออกมาเพื่อให้มันไม่มีผู้ชนะไม่กี่ราย
ผมกำลังนึกถึงเกี่ยวกับ e-commerce ระหว่างผู้ให้บริการบน platform อย่าง lazada, shopee และ platform ขนส่ง ซึ่งตอนนี้ผมมองว่า ผู้ขนส่งทั้งหลายกำลังเสียเปรียบเพราะ platform อย่าง lazada alibaba jd ก็เข้ามาแข่งขันกับคู่ค้า ในขณะที่กลุ่มขนส่งเองก็คงตะหนักถึงภัยนี้อยู่ตลอดเวลา
หากมองไปข้างหน้า ถ้า ระบบ logistic สมบูรณ์แบบมากๆ ผู้ค้าสามารถค้าขายโดยไม่ต้องพึ่งพา lazada ได้หรือไม่ แล้วเลือกพึ่งพาระบบ logistics ที่สมบูรณ์แบบมากๆ ถ้าเป็นแบบนี้แล้ว winner take all จะยังเกิดกับ platform lazada, shopee , jd หรือใครก็ตาม อยู่หรือไม่
ส่วนตัวผมว่าเรื่อง winner take all อาจจะเกิดได้ในช่วง 20 ปีก่อนถึง 5-10 ปีข้างหน้า แต่ผมยังมองว่ามันจะไม่เกิดขึ้นไม่ง่ายในอีก 10 ปีถัดไป เพราะเรื่องภัยต่อ mankind และมันยังเป็นภัยต่อคู่แข่งด้วยกันอย่างร้ายแรง และภัยคุกคามทั้งหลายมักจะถูกจัดการด้วยกฎหมายระเบียบ และความอยู่รอด
ผมสังเกตว่า เมื่อก่อน ms excel คือ spread sheet ที่คนขาดไม่ได้และคู่แข่งทั้งหลายก็ล้มตายกันมากมายและดูเหมือนว่า winner take all แต่ทุกวันนี้ผมว่ามันไม่ใช่แล้ว มี spread sheet มากขึ้น ที่สามารถมาทดแทนได้และทำให้ได้ดีเพียงพอกับความต้องการของคนส่วนใหญ่ ซึ่งกว่ามันจะถึงจุดนี้ได้มันต้องพึ่งพาระบบนิเวศของการแข่งขันที่เหมาะสมก่อน
รถยนต์ไร้คนขับ หากจะไม่มี winner ก็อาจจะเป็นการณี มีเทคโนโลยี่รวมศูนย์เช่นการจัดการแบบ smart city เมื่อเราสามารถออกแบบเมืองได้ เราก็สามารถออกแบบระบบไร้คนขับง่ายๆขึ้นมาได้(ผมว่ามันง่ายมากนะ)แต่เงื่อนไขที่จะเกิดได้ก็คือรถยนต์ในท้องถนนต้องเป็นรถสาธารณะ ลองคิดดูว่าหากรถในกทม.เป็นสาธารณะทั้งหมด เช่นมีบริการ 5แสนคัน และสามารถเข้าไปส่งในซอยต่างๆได้ เรียกใช้งานได้สะดวก วิ่งได้ในราคาถูก(เพราะวัสดุอุปกรณ์ความปลอดภัยบางอย่างถูกตัดทิ้งไป และค่าพลังงานต่อกม.ก็ถูกจากการใช้พลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน) รถไม่ติด ประกันไม่มี ไม่ต้องหาที่จอด เพราะเป็นของหลวงจอดตรงไหนก็ได้ .... (ลองนึกถึงการเช่ารถจักรยานในจีน) การขับเคลื่อนแบบนี้ไม่ต้องใช้อะไรที่มันต้องเรียนรู้มาก(ไม่ต้องอาศัย big data) แต่ใช้ระบบsensors และการอ่านสัญญาลักษณ์บนถนนและป้ายข้างทางแทน และระบบดาวเทียมระบุตำแหน่งประกอบ เป็นต้น ก็จะทำให้ความจำเป็นในการใช้รถไร้คนขับแบบทุกวันนี้ลดความสำคัญลง แต่ระบบแบบนี้ต้องทำกับเมืองต้นแบบ จะนำมาปฎิบัติเลยยังไม่ได้ในเมืองปัจจุบัน
ผมยกตัวอย่างมาผมมองว่าตอนนี้ธุรกิจเหล่านี้ยังไม่นิ่ง ยังต้องใช้เวลาเพื่อให้มันเป็นธุรกิจปัจจุบัน ไม่ใช่ new หรือ old
ไม่รู้ว่าความเห็นผมพอเป็นไปได้ไหม
โดยธรรมชาติหากปล่อยเอาไว้นานๆ บริษัทใหญ่กว่าและใหญ่มากๆ เช่น tencent, alibaba ก็จะครองตลาดและทำให้ net profit margin หนาไปเรื่อยๆ
ไม่ว่ามันจะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมใดๆก็ตาม ผมมองว่ามันคือภัยคุกคามต่อความมั่นคงของมนุษย์ ถึงแม้มันจะสร้างความก้าวหน้ามหาศาลแก่โลกของเราก็ตาม ดังนั้นผมเลยคิดข้ามไปอีกหลายปีข้างหน้าว่า วันหนึ่งมันจะต้องมีกฎหมายข้อบังคับอะไรออกมาเพื่อให้มันไม่มีผู้ชนะไม่กี่ราย
ผมกำลังนึกถึงเกี่ยวกับ e-commerce ระหว่างผู้ให้บริการบน platform อย่าง lazada, shopee และ platform ขนส่ง ซึ่งตอนนี้ผมมองว่า ผู้ขนส่งทั้งหลายกำลังเสียเปรียบเพราะ platform อย่าง lazada alibaba jd ก็เข้ามาแข่งขันกับคู่ค้า ในขณะที่กลุ่มขนส่งเองก็คงตะหนักถึงภัยนี้อยู่ตลอดเวลา
หากมองไปข้างหน้า ถ้า ระบบ logistic สมบูรณ์แบบมากๆ ผู้ค้าสามารถค้าขายโดยไม่ต้องพึ่งพา lazada ได้หรือไม่ แล้วเลือกพึ่งพาระบบ logistics ที่สมบูรณ์แบบมากๆ ถ้าเป็นแบบนี้แล้ว winner take all จะยังเกิดกับ platform lazada, shopee , jd หรือใครก็ตาม อยู่หรือไม่
ส่วนตัวผมว่าเรื่อง winner take all อาจจะเกิดได้ในช่วง 20 ปีก่อนถึง 5-10 ปีข้างหน้า แต่ผมยังมองว่ามันจะไม่เกิดขึ้นไม่ง่ายในอีก 10 ปีถัดไป เพราะเรื่องภัยต่อ mankind และมันยังเป็นภัยต่อคู่แข่งด้วยกันอย่างร้ายแรง และภัยคุกคามทั้งหลายมักจะถูกจัดการด้วยกฎหมายระเบียบ และความอยู่รอด
ผมสังเกตว่า เมื่อก่อน ms excel คือ spread sheet ที่คนขาดไม่ได้และคู่แข่งทั้งหลายก็ล้มตายกันมากมายและดูเหมือนว่า winner take all แต่ทุกวันนี้ผมว่ามันไม่ใช่แล้ว มี spread sheet มากขึ้น ที่สามารถมาทดแทนได้และทำให้ได้ดีเพียงพอกับความต้องการของคนส่วนใหญ่ ซึ่งกว่ามันจะถึงจุดนี้ได้มันต้องพึ่งพาระบบนิเวศของการแข่งขันที่เหมาะสมก่อน
รถยนต์ไร้คนขับ หากจะไม่มี winner ก็อาจจะเป็นการณี มีเทคโนโลยี่รวมศูนย์เช่นการจัดการแบบ smart city เมื่อเราสามารถออกแบบเมืองได้ เราก็สามารถออกแบบระบบไร้คนขับง่ายๆขึ้นมาได้(ผมว่ามันง่ายมากนะ)แต่เงื่อนไขที่จะเกิดได้ก็คือรถยนต์ในท้องถนนต้องเป็นรถสาธารณะ ลองคิดดูว่าหากรถในกทม.เป็นสาธารณะทั้งหมด เช่นมีบริการ 5แสนคัน และสามารถเข้าไปส่งในซอยต่างๆได้ เรียกใช้งานได้สะดวก วิ่งได้ในราคาถูก(เพราะวัสดุอุปกรณ์ความปลอดภัยบางอย่างถูกตัดทิ้งไป และค่าพลังงานต่อกม.ก็ถูกจากการใช้พลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน) รถไม่ติด ประกันไม่มี ไม่ต้องหาที่จอด เพราะเป็นของหลวงจอดตรงไหนก็ได้ .... (ลองนึกถึงการเช่ารถจักรยานในจีน) การขับเคลื่อนแบบนี้ไม่ต้องใช้อะไรที่มันต้องเรียนรู้มาก(ไม่ต้องอาศัย big data) แต่ใช้ระบบsensors และการอ่านสัญญาลักษณ์บนถนนและป้ายข้างทางแทน และระบบดาวเทียมระบุตำแหน่งประกอบ เป็นต้น ก็จะทำให้ความจำเป็นในการใช้รถไร้คนขับแบบทุกวันนี้ลดความสำคัญลง แต่ระบบแบบนี้ต้องทำกับเมืองต้นแบบ จะนำมาปฎิบัติเลยยังไม่ได้ในเมืองปัจจุบัน
ผมยกตัวอย่างมาผมมองว่าตอนนี้ธุรกิจเหล่านี้ยังไม่นิ่ง ยังต้องใช้เวลาเพื่อให้มันเป็นธุรกิจปัจจุบัน ไม่ใช่ new หรือ old
ไม่รู้ว่าความเห็นผมพอเป็นไปได้ไหม
มาคุยกันได้ที่นี่ครับ https://www.facebook.com/value.investing.freedom
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 72
ผมเข้าใจว่า winner take all จะเกิดขึ้นได้ถ้าธุรกิจนั้นมีลักษณะของ demand side economy of scales ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของธุรกิจ platform บางประเภทที่มีลักษณะเป็น strong Network effect
อย่าง classic case ของพวกนี้ คือ พวก user generated content platform หรือ social platform ซึ่งจุดเสี่ยงของธุรกิจพวกนี้ คือ ตอน technology เปลี่ยน ทำให้ physical platform หลักที่ platform พวกนี้ไป piggybacking ถูกแทนที่ แล้วจะปรับตัวไป piggybacking บน physical platform ใหม่ได้ทันไหม ซึ่งก็เป็นสาเหตุที่ Facebook ลงทุนอย่างหนักใน VR เพราะ เค้าพยายามปิดความเสี่ยงนี้
อย่างธุรกิจที่พี่ wj ยกมาส่วนใหญ่เป็น supply side economy of scales หรือไม่ก็เป็น weak Network effect ซึ่งพวกนี้ทำได้แค่ winner takes most หรือไม่ก็เป็นแค่ perfect competitive market ที่ margin บางๆ ได้แค่นั้นครับ
อย่าง Amazon หรือ Netflix ก็เป็นแค่ scale Business ธรรมดา ที่ต้องต่อสู้/แข่งขันสูงๆ ไปจนวันตาย เค้าถึงต้อง day 1 ไปเรื่อยๆ ไม่มี day 2 เพราะถ้า day 2 เมื่อไหร่ ก็เสี่ยงที่จะถูกฆ่าตายครับ
หน้าที่ของนักลงทุนสไตล์ผม คือ จับภาพอนาคตให้ได้ว่า platform ไหน คือ สิ่งที่จะมีกินรวบในอีก 10-20 ปีข้างหน้า ธุรกิจที่เป็น strong global Network effect ในโลกนี้มีน้อยมากครับ เหมาะกับการที่จะใช้ concept ของบัฟเฟตต์ ที่ให้คิดซะว่า ชีวิตนี้มีโอกาสลงทุนแค่ 20 ตัวพอ
ส่วนความเสี่ยงเรื่องฟ้องร้อง Monopoly เสียค่าปรับ ต่างๆ นานา เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเป็นระยะๆ อยู่แล้วสำหรับธุรกิจที่เป็น winner take all ซึ่งก็ควรใส่ลงไปใน assumption เอาไว้เลยครับ ว่ามาเรื่อยๆ มาเรียงๆ
ธรรมชาติของธุรกิจที่ winner take all ตัวธุรกิจหลัก จริงๆ แล้วมันจะ generate operating margin ที่สูงมาก ซึ่งธุรกิจพวกนี้จะแก้ปัญหาในการโดนเพ่งเล็ง โดยการลงทุน r&d หนักๆ หรือให้บริการอะไรใหม่ๆ ฟรีๆ ทางหนึ่งเพื่อลด operating margin ลง อีกทางหนึ่ง คือ สร้างคูเมือง ป้องกันคู่แข่ง สร้างธุรกิจใหม่ ไปพร้อมๆ กัน
อย่าง classic case ของพวกนี้ คือ พวก user generated content platform หรือ social platform ซึ่งจุดเสี่ยงของธุรกิจพวกนี้ คือ ตอน technology เปลี่ยน ทำให้ physical platform หลักที่ platform พวกนี้ไป piggybacking ถูกแทนที่ แล้วจะปรับตัวไป piggybacking บน physical platform ใหม่ได้ทันไหม ซึ่งก็เป็นสาเหตุที่ Facebook ลงทุนอย่างหนักใน VR เพราะ เค้าพยายามปิดความเสี่ยงนี้
อย่างธุรกิจที่พี่ wj ยกมาส่วนใหญ่เป็น supply side economy of scales หรือไม่ก็เป็น weak Network effect ซึ่งพวกนี้ทำได้แค่ winner takes most หรือไม่ก็เป็นแค่ perfect competitive market ที่ margin บางๆ ได้แค่นั้นครับ
อย่าง Amazon หรือ Netflix ก็เป็นแค่ scale Business ธรรมดา ที่ต้องต่อสู้/แข่งขันสูงๆ ไปจนวันตาย เค้าถึงต้อง day 1 ไปเรื่อยๆ ไม่มี day 2 เพราะถ้า day 2 เมื่อไหร่ ก็เสี่ยงที่จะถูกฆ่าตายครับ
หน้าที่ของนักลงทุนสไตล์ผม คือ จับภาพอนาคตให้ได้ว่า platform ไหน คือ สิ่งที่จะมีกินรวบในอีก 10-20 ปีข้างหน้า ธุรกิจที่เป็น strong global Network effect ในโลกนี้มีน้อยมากครับ เหมาะกับการที่จะใช้ concept ของบัฟเฟตต์ ที่ให้คิดซะว่า ชีวิตนี้มีโอกาสลงทุนแค่ 20 ตัวพอ
ส่วนความเสี่ยงเรื่องฟ้องร้อง Monopoly เสียค่าปรับ ต่างๆ นานา เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเป็นระยะๆ อยู่แล้วสำหรับธุรกิจที่เป็น winner take all ซึ่งก็ควรใส่ลงไปใน assumption เอาไว้เลยครับ ว่ามาเรื่อยๆ มาเรียงๆ
ธรรมชาติของธุรกิจที่ winner take all ตัวธุรกิจหลัก จริงๆ แล้วมันจะ generate operating margin ที่สูงมาก ซึ่งธุรกิจพวกนี้จะแก้ปัญหาในการโดนเพ่งเล็ง โดยการลงทุน r&d หนักๆ หรือให้บริการอะไรใหม่ๆ ฟรีๆ ทางหนึ่งเพื่อลด operating margin ลง อีกทางหนึ่ง คือ สร้างคูเมือง ป้องกันคู่แข่ง สร้างธุรกิจใหม่ ไปพร้อมๆ กัน
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- นายมานะ
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1167
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 73
ผมเพิ่งโพสประเด็นคล้ายๆ กันผ่านทาง FB ขอนำมาแปะไว้ที่นี่เผื่อเป็นประโยชน์ครับ
เพิ่มเติมจากบทความ: เป็นความคิดเห็นของผมนะครับ และเขียนก่อนจะได้อ่านข้อความของพี่ wj และอ.ตี่ ถ้าเพื่อนๆ พี่ๆ มีคอมเม้นเพิ่มเติม รบกวนด้วยครับไม่ใช่ทุก platform business จะ take all market เสมอไป?
เมื่อพูดถึง platform business เรามักนึกถึงปรากฏการณ์ที่เรียกว่า network effect ซึ่งมักจะทำให้บริษัทใดๆ ที่เมื่อชนะในการแข่งขันแล้ว จะอยู่ในสถานะ winner takes all จนยากที่จะมีผู้ท้าชิงมาโค่นล้ม
ตัวอย่างของบริษัทที่เรานึกถึงน่าจะเป็น Facebook, Uber, AirBNB หรือ Shopee ฯลฯ
โดยบริษัทยุคใหม่เหล่านี้มักถูกจัดกลุ่มเรียกว่า new economy ในขณะที่ธุรกิจแบบ pipeline business ซึ่งทำธุรกิจในรูปแบบเดิมๆ คือ ผลิตสินค้า และขนส่งไปสู่ช่องทางขาย ถูกเรียกว่า old economy
แต่อันที่จริง platform business ไม่ใช่เรื่องใหม่ ธุรกิจที่มีลักษณะ market place ในรูปแบบดั้งเดิมเองก็มีมานานแล้ว เช่น
ห้างสรรพสินค้า เป็นตัวกลางระหว่าง ลูกค้ากับผู้เช่า (ร้านค้า)
สถานีโทรทัศน์ เป็นตัวกลางระหว่าง คนดูกับผู้ผลิตรายการ
โรงภาพยนตร์ เป็นตัวกลางระหว่าง คนดูกับสตูดิโอภาพยนตร์
เรียกได้ว่าธุรกิจใดๆ ที่สร้าง platform ตรงกลางมาเพื่อจับคู่ผู้ผลิต (producer, seller) กับผู้บริโภค (consumer, buyer) ต่างก็เป็นธุรกิจที่มี network effect ด้วยกันทั้งนั้น เราจะสังเกตได้ว่าทั้งห้างฯ ช่องทีวี และโรงหนัง เมื่อ 10-20 ปีก่อน ต่างก็เคยเป็นธุรกิจที่มี moats สูงมาก โดยแต่ละธุรกิจมีผู้เล่นรายใหญ่เพียง 2-3 รายเท่านั้น
แต่ทำไมปัจจุบันธุรกิจเหล่านี้กลับถูกมองเป็น old economy ไปเสียแล้ว?
ห้างฯ กำลังถูกท้าทายโดย Shopee ช่องทีวีและโรงหนังกำลังถูกท้าทายโดย YouTube, Netflix (รวมถึง new player อย่าง Disney+) ไม่ใช่ว่าทุกๆ ธุรกิจ platform มี moats ที่แข็งแกร่งจนแพ้ได้ยากหรอกหรือ?
แล้วไหนจะคำถามอื่นๆ เช่น ทำไม Lazada ที่มาก่อนถึงแพ้ Shopee? ทำไม Metaverse จึงมีโอกาสจะมา disrupt Facebook? ไหนจะ Robo-taxi ที่อาจจะมาทดแทน Uber อีกล่ะ?
ผมมองว่าสาเหตุคืออย่างนี้ครับ
ธุรกิจ platform นั้นได้เปรียบ pipeline ไหนแง่ที่ เมื่อ platform ใดมีสถานะเป็นผู้ชนะแล้ว platform นั้นจะสามารถ scale ได้ง่ายและรวดเร็วกว่า
ห้างฯ ไม่จำเป็นต้องสร้างเชนสุกี้หรือร้านขนมหวานได้เก่งเทพ เพื่อขยายไปทั่วประเทศ เขาแค่เลือกร้านที่พิสูจน์แล้วว่าได้รับความนิยมสูงที่สุด
ช่องทีวีและโรงหนังเองก็ไม่ต้องสร้าง content ด้วยตัวเอง เขาแค่เลือก content จากสตูดิโอที่เก่งที่สุด
ทำให้บริษัทเหล่านี้ไม่ต้องพัฒนาทักษะที่หลากหลายเพื่อขยายธุรกิจ เซ็นทรัลสามารถแบ่งงานยากๆ อย่างการสร้างร้านสุกี้ 400 สาขาไปให้ MK ทำ หรือแบ่งงานยากๆ อย่างโรงภาพยนตร์ไปให้ Major หรือ SF ทำ
การกระจาย supply-side ไปให้คนอื่นทำ คือสิ่งที่ธุรกิจ platform ได้เปรียบ pipeline
(ถ้ายังจำกันได้ นี่คือหลักคิดพื้นฐานของ Adam Smith)
อย่างไรก็ดี ข้อจำกัดของ platform อย่างห้างฯ หรือโรงหนัง คือเขาเป็น physical platform ทำให้การขยายตัวช้ากว่า digital platform อย่าง Shopee และ Netflix
หากต้องการจะขายสินค้าให้คนไทยทั่วประเทศ เราอาจต้องสร้างหน้าร้านอย่างน้อย 77 แห่งใน 77 จังหวัด แต่ในโลกดิจิตอล แค่สร้างหน้าร้าน 2 แห่งบน Shopee และ Lazada ก็เข้าถึงคนไทยทั้งประเทศได้ทันที
Major และ SF มีจำนวนโรงหนังรวมกันมากกว่า 1,000 โรงเพื่อฉายให้คนไทย 70 ล้านคน ในขณะที่ Netflix ไม่จำเป็นต้องใช้โรงหนักสักโรง เพื่อเข้าถึงคนหลายพันล้านคน ขอเพียงพวกเขามีโทรศัพท์มือถือ
Platform ขยายได้เร็วและง่ายกว่า pipeline ในขณะเดียวกัน digital ก็ขยายตัวได้ง่ายและเร็วกว่า physical นี่เป็นเหตุให้ธุรกิจ software platform กลายมาเป็น winner ในหลากหลายอุตสาหกรรม
อย่างไรก็ดี ไม่ใช่ว่าแค่เป็น software platform แล้วคุณจะอยู่ในสถานะ winner takes all ได้เสมอไป
Facebook(รวม IG) ครอบครองมากกว่า 70% ของ market share ในตลาด social media แต่นี่เรากำลังพูดถึงรายได้เท่านั้นนะครับ เพราะถ้ามองที่กำไรขั้นต้น ตัวเลขจะเปลี่ยนเป็นมากกว่า 90% ทันที
นี่คือตัวอย่างของ winner takes all ผู้ชนะเพียงคนเดียวเก็บเกี่ยว 90% ของผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรม
แต่นี่ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกธุรกิจ platform เราจะเห็นได้ว่า AirBNB ยังมีรายได้เพียง 1 ใน 3 ของบริษัท Booking แม้ว่า AirBNB จะเติบโตมากกว่า และถูก(บางคน)คาดหมายว่าจะมา disrupt Booking ก็ตามที
ในขณะที่ Uber เองก็มี market share ประมาณ 70% ในหลายประเทศทั่วโลก แต่บริษัทก็ยังคงขาดทุน และหาก Uber ดำเนินกลยุทธ์ผิดพลาด เมื่อเทคโนโลยี Robo-taxi มาถึง Uber ก็อาจสูญเสียความสามารถในฐานะ platform ตรงกลางระหว่าง driver และ rider ก็เป็นได้
สาเหตุที่ AirBNB และ Uber ไม่ได้แข็งแกร่งเหมือน Facebook นั้นอาจมองได้ในหลายมิติไม่ว่าจะเป็น
1. AirBNB และ Uber เป็นกึ่ง digital platform เพราะยังต้องมีกระบวนการบนโลก physical ต่างจาก Facebook ที่เป็น pure digital
2. AirBNB และ Uber มีการเติบโตของ supply-side ช้ากว่า กล่าวคือขั้นตอนการเปลี่ยน ห้องว่างให้เป็นโรงแรม (AirBNB) หรือเปลี่ยนรถว่างให้เป็นแท็กซี่ (Uber) นั้น ยากกว่าการเปลี่ยนเวลาว่างของคนให้เป็น content (Facebook)
3. Stage ของทั้ง 3 บริษัทเองก็แตกต่างกันมาก ทั้งปีที่ก่อตั้ง ความเร็วในการขยายตัว และความเก่งของคู่แข่ง Facebook เกิดขึ้นมาทีหลังคู่แข่งอย่าง Friendster, Hi5 หรือ Myspace แต่คู่แข่งก็ด้อยกว่ามาก ในขณะที่ AirBNB เจอคู่แข่งที่เก่งมากและเกิดมาก่อนหลายปีอย่าง Booking และ Expedia ส่วน Uber นั้น คู่แข่งในหลายประเทศอาจไม่ได้แข็งนัก แต่เนื่องจากเป็นสาธารณูปโภค ทำให้ต้องต่อสู้กับนโยบายรัฐทั้งในเรื่องค่าบริการ สวัสดิการพนักงาน และรถโดยสารสาธารณะ เช่น รถไฟใต้ดิน
(ในขณะที่ Lazada แม้ว่าจะเป็น first mover แต่ก็เข้ามาในช่วงที่ตลาดยังไม่พร้อม โดย Shopee เข้ามาทีหลังในช่วงที่ตลาดกำลังขยายตัว และมีกลยุทธ์ที่เหมาะกับพฤติกรรมของคนไทยมากกว่า+การบริหารที่โฟกัสมากกว่า จนชนะขาด)
4. Multi-homing effect กล่าวคือในบางธุรกิจอย่าง AirBNB หรือ Uber นั้น ผู้ให้เช่าห้อง/driver มีแนวโน้มที่จะไม่อยู่บน platform เดียวเสมอไป ต่างจากในเคสของ social media ที่ผู้ผลิต content (แม้จะอยู่หลายที่)มักโฟกัสบน platform ของ Facebook เพราะมีฐานของ audience มากที่สุด
5. ในเคสของ Uber นั้น network effect เป็นเพียงแค่ระดับ local/multi-local เท่านั้น แตกต่างจาก Facebook หรือ AirBNB ที่เป็น global effect
สรุป
เราจะเห็นได้ว่าไม่ใช่ทุก platform business เป็นธุรกิจที่จะไร้พ่าย การเปลี่ยนผ่านจาก physical มาเป็น digital ทำให้ old economy platform กลายมาเป็นผู้เพลี้ยงพล้ำ และในอนาคตข้างหน้า การเปลี่ยน device จาก mobile ไปเป็น headset แบบใหม่ (VR, AR) รวมถึงการมาของเทคโนโลยี Robo-taxi ก็อาจทำให้เกิดผู้ชนะ(และผู้แพ้)รายใหม่ได้อีกครั้ง
แม้เป็น platform business model เหมือนกัน ก็ใช่ว่าจะอยู่ในสถานะ winner takes all ได้แบบเดียวกัน ต้องศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่ลึกลงไปในรายละเอียดว่าลักษณะของธุรกิจเป็นอย่างไร เช่น ความพร้อมของ ecosystem อื่นๆ, ความเร็วในการขยาย supply-side, multi-homing effect ฯลฯ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1399
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 74
ขอบคุณทั้งสองท่านครับ ได้ความรู้เพิ่มมากครับ
มาคุยกันได้ที่นี่ครับ https://www.facebook.com/value.investing.freedom
- Linzhi
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1522
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 75
ผมขอเสริมเฉพาะประเด็นเรื่องความคุกคามต่อมนุษย์ หรือเศรษฐกิจตลาด
เรื่อง Winner take all นี่ผมอยากให้ไปอ่าน Zero to One ของ Peter Theil ครับ น่าจะครบถ้วน
เป็น Bible ในรูปแบบเดียวกับมุมมองเรื่องเงินตราของหนังสือ Rich Dad เลยครับ
และเรื่องนี้มันไม่ได้เป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น มันเกิดขึ้นมาก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมอีก
ในมุมเศรษฐกิจ digital ในอนาคต ผมกลับมองว่ามันเกิดขึ้นยากกว่าในอดีตครับ เพราะมันมี counter strategy มากมาย
อย่างไรก็ดี unit economic ของ digital economy มันดีมาก ๆ ไม่ต้อง take all ก็พอเปลี่ยนชีวิตนักลงทุนแล้วครับ
ส่วนราคาหุ้นแนะนำตามอ.ตี่ เล่มนี้กำลังจะออก Revised & update edition ด้วยครับ
เรื่อง Winner take all นี่ผมอยากให้ไปอ่าน Zero to One ของ Peter Theil ครับ น่าจะครบถ้วน
เป็น Bible ในรูปแบบเดียวกับมุมมองเรื่องเงินตราของหนังสือ Rich Dad เลยครับ
และเรื่องนี้มันไม่ได้เป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น มันเกิดขึ้นมาก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมอีก
ในมุมเศรษฐกิจ digital ในอนาคต ผมกลับมองว่ามันเกิดขึ้นยากกว่าในอดีตครับ เพราะมันมี counter strategy มากมาย
อย่างไรก็ดี unit economic ของ digital economy มันดีมาก ๆ ไม่ต้อง take all ก็พอเปลี่ยนชีวิตนักลงทุนแล้วครับ
ส่วนราคาหุ้นแนะนำตามอ.ตี่ เล่มนี้กำลังจะออก Revised & update edition ด้วยครับ
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
There is no secret ingredient. It's just you.
- นายมานะ
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1167
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 76
ขอสอบถามอ.ตี่เพิ่มเติมจากคอมเม้นด้านบนนะครับ (ขอไม่ quote มานะครับจะได้ไม่รก) คำถามจะยาวนิดนึงนะครับ
1. เท่าที่ผมศึกษา เข้าใจว่า platform ที่เป็น strong network effect น่าจะมีอยู่ 2 กลุ่มคือ
- UGC platform เช่น Facebook, IG, YouTube
- OS platform = iOS, Android, Windows
โดยกลุ่มแรกมี demand-side EOS อยู่ ในขณะที่กลุ่ม OS platform ไม่มี demand-side EOS แต่มี cross-side effect ที่แข็งแกร่ง และมี scale advantage สูง โดยใช้กลยุทธ์คือไปล็อกเข้ากับ ecosystem ด้วยการผลิต hardware เอง (iOS) หรือไปเป็นพาร์ทเนอร์สำคัญกับผู้ผลิต (Android, Windows)
(เห็นได้ชัดว่าวันนี้อำนาจต่อรองของ iOS+Android แข็งมาก เรียกเก็บ 30% ได้เลย แต่แนวโน้มก็เหมือนว่าความแข็งแกร่งตรงนี้จะเริ่มอ่อนลงเมื่อ supplier แต่ละรายเริ่มแกร่งขึ้น ถ้าเป็นใหญ่มากๆ อย่าง E-commerce, Netflix ก็ต้องปล่อยผ่าน ส่วนเคสของ Epic ก็น่าสนใจ ถึงกับต้องแก้เกมด้วยการลด % ให้ developer รายเล็ก แต่ยังเก็บ 30% กับรายกลางอยู่ ชวนให้ตั้งคำถามว่าในอนาคตตัวเลข 30% นี้จะถูกบีบให้ลดลงทั้งระบบได้หรือไม่)
โดย strong network effect เมื่อเกิดแล้วจะทำให้ platform นั้นๆ มีสถานะเป็นผู้ที่เก็บเกี่ยวประโยชน์ส่วนใหญ่ (gross profit) จากอุตสาหกรรมหนึ่งๆ ได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี/ทางสังคม ที่เกิดขึ้น
ในแง่ของเทคโนโลยี เช่น การเปลี่ยนผ่านจาก pc มาเป็น mobile ทำให้ iOS, Android เข้ามา capture value แทนที่จะเป็นผู้ที่เคยครองตลาด PC OS อย่าง Microsoft
ในแง่ของเทคโนโลยี+สังคม เช่น ในเคสของ Facebook คือ พฤติกรรมการใช้งาน social media ตั้งแต่ Gen Z ลงมาเปลี่ยนไป ด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น 1. เด็กไม่อยากอยู่ใน platform เดียวกับพ่อแม่ (FB) จึงเลือกใช้ platform ที่ต่างไป (IG, SNAP, TWTR) 2. แค่อยากบอกเล่า/ระบาย เรื่องราวในช่วงเวลาหนึ่งๆ (story) 3. เน้นภาพมากกว่า text (IG, Snap) ซึ่งเหตุผลโดยรวมๆ กันนี้ทำให้ social media เองก็สามารถครองสถานะ strong network effect ได้แค่ช่วงเวลาหนึ่งๆ จนกว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี (device) หรือสังคม (demographic shift)
คำถามคือ 1.1 ผมมองว่า UGC, OS เป็น strong ในขณะที่นอกเหนือจากนั้น เช่น market place, payment, cloud service เป็นแค่ weak network effect ผมเข้าใจถูกมั้ยครับ
1.2 ที่ UGC platform แข็งแกร่งเป็นพิเศษ เพราะ User ส่วนใหญ่ที่สร้าง core interaction เป็นรายเล็กและมักสร้างโดยหวัง self-esteem ไม่ใช่เพื่อเงิน ทำให้มีต้นทุนในการเพิ่ม supply-side ถูกกว่า platform แบบอื่น ประกอบกับเมื่อมอง bargaining power แล้ว บริษัทที่เป็น platform จะได้เปรียบอยู่ตลอด แตกต่างจากเคสอื่นๆ ที่ฝั่ง producer หรือ consumer มักจะมีทั้งรายเล็ก กลาง ใหญ่ ซึ่งจะมีอำนาจต่อรองในระดับหนึ่งได้
2. การศึกษา platform strategy อาจจะช่วยให้เราหาหุ้นลงทุนใน time frame ประมาณ 5-10 ปีได้(แล้วแต่ว่าเราเข้าไปลงทุนใน stage ไหน) แต่ในเคสที่ยาวนากว่านั้นคือระดับ 10 ปีขึ้นไป การศึกษา platform strategy เป็นแค่ส่วนประกอบหนึ่ง อีกส่วนประกอบหลักที่ทำให้ธุรกิจใดๆ จะแข็งแกร่งหรือไม่คือ pace of innovation ที่มาจาก culture, founder
โดยตัวผมเองมีปัญหาเรื่องการศึกษา culture หรือ founder เพราะเป็นเรื่องที่ subjective มาก การแยกคุณภาพของระดับ S ออกมาจากกลุ่มก้อนระดับ A จำนวนมากถือว่าทำได้ยาก อ.ตี่พอมีคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องนี้มั้ยครับ (ทุกวันนี้วิธีแก้ของผมคือก็อ่านเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ก็แค่พอช่วยได้บางส่วน)
3. ในเคสของ Tencent หรือ Alibaba ที่เกิดสภาวะ (weak?) network effect จากหลายๆ เหตุผลทั้งจากตัว platform หลัก (wechat, taobao), จากกลยุทธ์การหาพันธมิตรเพื่อสร้าง payment platform และจากการกีดกันการแข่งขันจากต่างประเทศของรัฐบาลจีน ทำให้ 2 บริษัทนี้มี network effect ที่ไม่ได้มาจาก platform อันใดอันหนึ่ง แต่มาจากการรวมกันของหลาย party โดยมี payment เป็นตัวเชื่อม ไม่แน่ใจว่าเมื่อมองแบบ as a whole company บริษัทอย่าง Tencent, Baba อ.ตี่ก็ยังมองว่าเป็นเพียงแค่ weak network effect หรือไม่ และเพราะอะไรครับ
4.1 อยู่ในธุรกิจที่ TAM ใหญ่ (ride hailing = 1-2% miles/อื่นๆ เช่น Food/Freight ยังเล็ก)
4.2 หลายคนมองว่าธุรกิจนี้ barrier ต่ำ เพราะ margin บางและ multi-homing effect แต่ข้อเท็จจริงคือในรอบ 5-6 ปีมานี้ไม่มี new player ในธุรกิจนี้เลย และคู่แข่งอันดับ 2-3 ก็อ่อนแอลงเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับ Uber ที่ยังขยายขีดความสามารถและขยาย TAM เรื่อยๆ จนเริ่มมี scale advantage
4.3 เนื่องจากเป็น utility ทำให้รัฐบาลพยายามเข้ามาควบคุม ทั้งเรื่องราคา และสวัสดิการพนักงาน (บางเคสที่พิเศษหน่อยอย่าง Didi จะน่ากลัวเป็นพิเศษเพราะรถไฟสาธารณะดีและถูกมาก)
โดยสรุปคือถ้าเป็นบริษัทลักษณะแบบนี้คือเป็น weak/multi-local network effect แต่ด้วยเหตุผลหลายๆ อย่างทำให้กลายเป็น player เดียวที่น่าจะมี scale advantage ในธุรกิจที่ใหญ่และสำคัญมากจนรัฐบาลต้องมาควบคุม
ปัญหาของผมคือในเคสแบบนี้(ผมอาจจะยังศึกษาไม่มากพอเอง) ผมไม่แน่ใจว่าเราจะแปลงมาเป็นสมมติฐานในแง่ expense profile/operating margin ยังไง
คำถามยาวและเยอะ รบกวนเท่าที่อ.สะดวกนะครับ ขอบคุณครับ
1. เท่าที่ผมศึกษา เข้าใจว่า platform ที่เป็น strong network effect น่าจะมีอยู่ 2 กลุ่มคือ
- UGC platform เช่น Facebook, IG, YouTube
- OS platform = iOS, Android, Windows
โดยกลุ่มแรกมี demand-side EOS อยู่ ในขณะที่กลุ่ม OS platform ไม่มี demand-side EOS แต่มี cross-side effect ที่แข็งแกร่ง และมี scale advantage สูง โดยใช้กลยุทธ์คือไปล็อกเข้ากับ ecosystem ด้วยการผลิต hardware เอง (iOS) หรือไปเป็นพาร์ทเนอร์สำคัญกับผู้ผลิต (Android, Windows)
(เห็นได้ชัดว่าวันนี้อำนาจต่อรองของ iOS+Android แข็งมาก เรียกเก็บ 30% ได้เลย แต่แนวโน้มก็เหมือนว่าความแข็งแกร่งตรงนี้จะเริ่มอ่อนลงเมื่อ supplier แต่ละรายเริ่มแกร่งขึ้น ถ้าเป็นใหญ่มากๆ อย่าง E-commerce, Netflix ก็ต้องปล่อยผ่าน ส่วนเคสของ Epic ก็น่าสนใจ ถึงกับต้องแก้เกมด้วยการลด % ให้ developer รายเล็ก แต่ยังเก็บ 30% กับรายกลางอยู่ ชวนให้ตั้งคำถามว่าในอนาคตตัวเลข 30% นี้จะถูกบีบให้ลดลงทั้งระบบได้หรือไม่)
โดย strong network effect เมื่อเกิดแล้วจะทำให้ platform นั้นๆ มีสถานะเป็นผู้ที่เก็บเกี่ยวประโยชน์ส่วนใหญ่ (gross profit) จากอุตสาหกรรมหนึ่งๆ ได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี/ทางสังคม ที่เกิดขึ้น
ในแง่ของเทคโนโลยี เช่น การเปลี่ยนผ่านจาก pc มาเป็น mobile ทำให้ iOS, Android เข้ามา capture value แทนที่จะเป็นผู้ที่เคยครองตลาด PC OS อย่าง Microsoft
ในแง่ของเทคโนโลยี+สังคม เช่น ในเคสของ Facebook คือ พฤติกรรมการใช้งาน social media ตั้งแต่ Gen Z ลงมาเปลี่ยนไป ด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น 1. เด็กไม่อยากอยู่ใน platform เดียวกับพ่อแม่ (FB) จึงเลือกใช้ platform ที่ต่างไป (IG, SNAP, TWTR) 2. แค่อยากบอกเล่า/ระบาย เรื่องราวในช่วงเวลาหนึ่งๆ (story) 3. เน้นภาพมากกว่า text (IG, Snap) ซึ่งเหตุผลโดยรวมๆ กันนี้ทำให้ social media เองก็สามารถครองสถานะ strong network effect ได้แค่ช่วงเวลาหนึ่งๆ จนกว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี (device) หรือสังคม (demographic shift)
คำถามคือ 1.1 ผมมองว่า UGC, OS เป็น strong ในขณะที่นอกเหนือจากนั้น เช่น market place, payment, cloud service เป็นแค่ weak network effect ผมเข้าใจถูกมั้ยครับ
1.2 ที่ UGC platform แข็งแกร่งเป็นพิเศษ เพราะ User ส่วนใหญ่ที่สร้าง core interaction เป็นรายเล็กและมักสร้างโดยหวัง self-esteem ไม่ใช่เพื่อเงิน ทำให้มีต้นทุนในการเพิ่ม supply-side ถูกกว่า platform แบบอื่น ประกอบกับเมื่อมอง bargaining power แล้ว บริษัทที่เป็น platform จะได้เปรียบอยู่ตลอด แตกต่างจากเคสอื่นๆ ที่ฝั่ง producer หรือ consumer มักจะมีทั้งรายเล็ก กลาง ใหญ่ ซึ่งจะมีอำนาจต่อรองในระดับหนึ่งได้
2. การศึกษา platform strategy อาจจะช่วยให้เราหาหุ้นลงทุนใน time frame ประมาณ 5-10 ปีได้(แล้วแต่ว่าเราเข้าไปลงทุนใน stage ไหน) แต่ในเคสที่ยาวนากว่านั้นคือระดับ 10 ปีขึ้นไป การศึกษา platform strategy เป็นแค่ส่วนประกอบหนึ่ง อีกส่วนประกอบหลักที่ทำให้ธุรกิจใดๆ จะแข็งแกร่งหรือไม่คือ pace of innovation ที่มาจาก culture, founder
โดยตัวผมเองมีปัญหาเรื่องการศึกษา culture หรือ founder เพราะเป็นเรื่องที่ subjective มาก การแยกคุณภาพของระดับ S ออกมาจากกลุ่มก้อนระดับ A จำนวนมากถือว่าทำได้ยาก อ.ตี่พอมีคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องนี้มั้ยครับ (ทุกวันนี้วิธีแก้ของผมคือก็อ่านเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ก็แค่พอช่วยได้บางส่วน)
3. ในเคสของ Tencent หรือ Alibaba ที่เกิดสภาวะ (weak?) network effect จากหลายๆ เหตุผลทั้งจากตัว platform หลัก (wechat, taobao), จากกลยุทธ์การหาพันธมิตรเพื่อสร้าง payment platform และจากการกีดกันการแข่งขันจากต่างประเทศของรัฐบาลจีน ทำให้ 2 บริษัทนี้มี network effect ที่ไม่ได้มาจาก platform อันใดอันหนึ่ง แต่มาจากการรวมกันของหลาย party โดยมี payment เป็นตัวเชื่อม ไม่แน่ใจว่าเมื่อมองแบบ as a whole company บริษัทอย่าง Tencent, Baba อ.ตี่ก็ยังมองว่าเป็นเพียงแค่ weak network effect หรือไม่ และเพราะอะไรครับ
4. จาก quote นี้นอกจาก MSFT หรือ GOOG ที่โดนกันไปแล้ว ผมนึกถึง Uber ซึ่งน่าจะเป็นแค่ระดับ weak network effect แต่ตัวบริษัทมีความน่าสนใจในแง่ที่ส่วนความเสี่ยงเรื่องฟ้องร้อง Monopoly เสียค่าปรับ ต่างๆ นานา เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเป็นระยะๆ อยู่แล้วสำหรับธุรกิจที่เป็น winner take all ซึ่งก็ควรใส่ลงไปใน assumption เอาไว้เลยครับ ว่ามาเรื่อยๆ มาเรียงๆ
4.1 อยู่ในธุรกิจที่ TAM ใหญ่ (ride hailing = 1-2% miles/อื่นๆ เช่น Food/Freight ยังเล็ก)
4.2 หลายคนมองว่าธุรกิจนี้ barrier ต่ำ เพราะ margin บางและ multi-homing effect แต่ข้อเท็จจริงคือในรอบ 5-6 ปีมานี้ไม่มี new player ในธุรกิจนี้เลย และคู่แข่งอันดับ 2-3 ก็อ่อนแอลงเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับ Uber ที่ยังขยายขีดความสามารถและขยาย TAM เรื่อยๆ จนเริ่มมี scale advantage
4.3 เนื่องจากเป็น utility ทำให้รัฐบาลพยายามเข้ามาควบคุม ทั้งเรื่องราคา และสวัสดิการพนักงาน (บางเคสที่พิเศษหน่อยอย่าง Didi จะน่ากลัวเป็นพิเศษเพราะรถไฟสาธารณะดีและถูกมาก)
โดยสรุปคือถ้าเป็นบริษัทลักษณะแบบนี้คือเป็น weak/multi-local network effect แต่ด้วยเหตุผลหลายๆ อย่างทำให้กลายเป็น player เดียวที่น่าจะมี scale advantage ในธุรกิจที่ใหญ่และสำคัญมากจนรัฐบาลต้องมาควบคุม
ปัญหาของผมคือในเคสแบบนี้(ผมอาจจะยังศึกษาไม่มากพอเอง) ผมไม่แน่ใจว่าเราจะแปลงมาเป็นสมมติฐานในแง่ expense profile/operating margin ยังไง
คำถามยาวและเยอะ รบกวนเท่าที่อ.สะดวกนะครับ ขอบคุณครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1399
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 77
ส่วนตัวผมเพิ่งได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับโลกอุตสาหกรรมใหม่ได้เล่มเดียวในชีวิต (และขอบคุณด้านบนที่แนะนำหนังสือครับ) ปกติผมชอบเรื่องธรรมชาติและด้านฟิสิกส์มากกว่าเลยใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการดูวิวัฒนาการของจักรวาล,อวกาศ , สาระพัดสารคดี มากกว่าดูหุ้นหรือธุรกิจ
ผมขอใช้จินตนาการและความรู้ที่มีไม่มากนัก ออกความเห็นนะครับ
OS platform จะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันได้เกิดจาก "complier" ที่สามารถ compile code ที่เลือกได้ว่าจะนำไปใช้บน os ใดก็ได้ (ซึ่งจริงๆแล้วทุกวันนี้เราก็มีบ้างแล้ว แต่อาจจะมีข้อจำกัดสำหรับ app ที่ซับซ้อน)
ผมขออธิบายดังนี้
- ผมได้ใช้ ipad มาซัก 5 เดือน แต่ผมก็ไม่ได้ใช้อะไรของ ios ที่ติดมากับเครื่องเลย ผมดาว์นโหลดโปรแกรมต่างๆของฝั่ง google และ ms มาใน ipad เช่น email, google drive, one drive,google maps ... เพราะผมติดกับ app ของเดิมๆ(นี่ก็เป็น barrier ชั้นยอดของ google รวมถึง iosและ ms) ผมมองว่าผมไม่ได้ยึดติดกับ os แต่ผมยึดติดกับบริการที่ผมคุ้นชิน
- หากผู้ใช้จะไปใช้งาน os อื่นๆเช่นของ samsung, Huawei สิ่งที่ผู้ใช้กังวลใจก็คือ app. โดยเฉพาะ app เกี่ยวกับการเงิน
- ผมขอเดาว่า complier แต่ละค่ายนั้นสร้างมาเพื่อ complier ให้กับ os ตนเอง จะไม่มี option ตัวเลือกที่จะให้ c#.net compile แล้วใช้ upload ใน AppStore ของ apple ได้ ตรงนี้จะทำให้เป็น barrier ให้กับค่ายตัวเอง และ apple ก็มี compiler เป็นของตัวเองและก็ compile ไปรันบน window ไม่ได้
- แต่ถ้ามี complier ที่สามารถมี option เลือกได้ว่าจะออกมารันบน OS ใดๆก็ได้ ผมว่ามันสามารถเกิด OS Platform ที่ 4 ที่ 5 ได้(ขอใช้ OS04) เพราะทุกวันนี้ os platform เหล่านี้อาศัยความแข็งเกร่งของ app ที่มีผู้พันฒนาเป็นล้านราย
-หาก developer มีแรงจูงใจให้ย้าย platform ไปยัง OS04 และไม่เก็บเงินกับ user เพิ่มหากหันไปใช้บน OS04 (บาง app. รันบน imac และ ios โดยที่ใช้บัญชีเดียวกันได้โดยไม่เก็บเงินเพิ่ม) อาจจะมีการไม่เก็บเงินสำหรับการใช้มากกว่า os เดียวได้
- อย่างไรก็ตาม youtube ก็ยังหากินกับ OS04 ได้เช่นเดิม แต่การยึดติดกับ OS platform ใดก็จะมีความสำคัญน้อยลง และอาจจะกลายเป็น hardware ที่มีความสำคัญ
- ผมมองว่า net profit margin ที่บาง เป็น barrier ที่ดีอย่างหนึ่งของกิจการ
ขอมีความเห็นเท่านี้ก่อนครับ
ผมขอใช้จินตนาการและความรู้ที่มีไม่มากนัก ออกความเห็นนะครับ
OS platform จะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันได้เกิดจาก "complier" ที่สามารถ compile code ที่เลือกได้ว่าจะนำไปใช้บน os ใดก็ได้ (ซึ่งจริงๆแล้วทุกวันนี้เราก็มีบ้างแล้ว แต่อาจจะมีข้อจำกัดสำหรับ app ที่ซับซ้อน)
ผมขออธิบายดังนี้
- ผมได้ใช้ ipad มาซัก 5 เดือน แต่ผมก็ไม่ได้ใช้อะไรของ ios ที่ติดมากับเครื่องเลย ผมดาว์นโหลดโปรแกรมต่างๆของฝั่ง google และ ms มาใน ipad เช่น email, google drive, one drive,google maps ... เพราะผมติดกับ app ของเดิมๆ(นี่ก็เป็น barrier ชั้นยอดของ google รวมถึง iosและ ms) ผมมองว่าผมไม่ได้ยึดติดกับ os แต่ผมยึดติดกับบริการที่ผมคุ้นชิน
- หากผู้ใช้จะไปใช้งาน os อื่นๆเช่นของ samsung, Huawei สิ่งที่ผู้ใช้กังวลใจก็คือ app. โดยเฉพาะ app เกี่ยวกับการเงิน
- ผมขอเดาว่า complier แต่ละค่ายนั้นสร้างมาเพื่อ complier ให้กับ os ตนเอง จะไม่มี option ตัวเลือกที่จะให้ c#.net compile แล้วใช้ upload ใน AppStore ของ apple ได้ ตรงนี้จะทำให้เป็น barrier ให้กับค่ายตัวเอง และ apple ก็มี compiler เป็นของตัวเองและก็ compile ไปรันบน window ไม่ได้
- แต่ถ้ามี complier ที่สามารถมี option เลือกได้ว่าจะออกมารันบน OS ใดๆก็ได้ ผมว่ามันสามารถเกิด OS Platform ที่ 4 ที่ 5 ได้(ขอใช้ OS04) เพราะทุกวันนี้ os platform เหล่านี้อาศัยความแข็งเกร่งของ app ที่มีผู้พันฒนาเป็นล้านราย
-หาก developer มีแรงจูงใจให้ย้าย platform ไปยัง OS04 และไม่เก็บเงินกับ user เพิ่มหากหันไปใช้บน OS04 (บาง app. รันบน imac และ ios โดยที่ใช้บัญชีเดียวกันได้โดยไม่เก็บเงินเพิ่ม) อาจจะมีการไม่เก็บเงินสำหรับการใช้มากกว่า os เดียวได้
- อย่างไรก็ตาม youtube ก็ยังหากินกับ OS04 ได้เช่นเดิม แต่การยึดติดกับ OS platform ใดก็จะมีความสำคัญน้อยลง และอาจจะกลายเป็น hardware ที่มีความสำคัญ
- ผมมองว่า net profit margin ที่บาง เป็น barrier ที่ดีอย่างหนึ่งของกิจการ
ขอมีความเห็นเท่านี้ก่อนครับ
มาคุยกันได้ที่นี่ครับ https://www.facebook.com/value.investing.freedom
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 78
คำถามตู้ยาวและโหดมากเลยครับ ถ้าจะตอบอะไรไปก็รู้สึกว่าได้โชว์โง่เต็มไปหมดอย่างแน่นอน ดังนั้นขอสรุปรวบยอดสั้นๆ แบบนี้แทนแล้วกันนะครับ จะได้เบี่ยงประเด็น เพราะ ผมก็ไม่รู้ ไม่ได้ศึกษาอะไรเยอะมากพอที่จะตอบคำถามตู้แบบตรงไปตรงมาได้
โดยส่วนตัวผมเชื่อว่า Strong Network Effect เกิดจาก Platform ลักษณะพิเศษ ที่ Producer กับ Consumer ที่สามารถ Switch ข้ามกันไปข้ามกันมาได้ง่าย และ Incentive ของการที่ Consumer ตัดสินใจไปเป็น Producer ไม่ได้เกิดจากเงิน แต่มันถูก Drive มาจาก Self-Esteem บ้าง แต่ถ้าเทพสุด ก็คือ ความรู้สึกอยากแบ่งปัน (จาคะ) คล้ายๆ กับที่ตู้รู้สึกว่าอยากเป็นครู อยากเป็นอาจารย์ อยากแบ่งปันองค์ความรู้ให้กับเพื่อนๆ หรือคนที่ยังขาดอยู่
ถ้า Platform ที่มีลักษณะที่ Incentive ที่ Drive การกระทำเกิดจากเงินหรือผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ Platform ลักษณะนี้ในอนาคตจะถูก Disrupt ได้ ไม่ต้องให้มีเทคโนโลยีอะไรใหม่ๆ หรอกครับ เอาแค่มีคนที่ Execute ได้ดีกว่า เหนือกว่า หรืออาจถูกทุ่มตลาด อัดโปรโมชั่น จนขาดสภาพคล่อง ก็สามารถตายออกจากตลาดไปได้
ลักษณะของ Platform ที่เป็น Strong Network Effect จึงมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในสังคมเฉพาะกลุ่ม เฉพาะทาง ขอบเขตพื้นที่ๆ Local ตัวอย่างที่น่าสนใจลองไปศึกษา อย่างเช่น Nextdoor นี่ผมว่ามันเป็น Strong Network Effect ที่ Very Local มากๆ ที่ผมเชื่อว่ามันจะเป็น Platform ที่ประสบความสำเร็จในระยะยาว แต่อาจจะเกิดในพื้นที่จำกัด แล้วเมื่อประสบความสำเร็จมากขึ้น ก็จะมี Platform Me Too อื่นๆ ที่เลียนแบบ สุดท้าย Strong Network Effect ระดับ Local ก็ยังไม่ค่อยดีสักเท่าไร เป็นต้น
ลักษณะธุรกิจ Platform ที่เป็น Strong Global Network Effect นี่มีน้อยยิ่งกว่าน้อย ใน 5-10 ปี จะมีกิจการแบบนี้โผล่มาสักครั้ง ซึ่งโดยส่วนตัวผมคิดว่า Platform แบบนี้จะต้องประกอบอะไรบางอย่างที่พิเศษจริงๆ ซึ่งแต่ละ Platform เหล่านี้มันเป็น Winner Take All ทั้งหมด ดังนั้นทุกๆ Platform มันจะไม่มีสูตรสำเร็จ ไม่มี Case Study ไม่มีประวัติศาสตร์อะไรให้ศึกษาทั้งนั้น เพราะ ถ้ามันเป็น Winner Take All มันคงจะไม่เหลือพื้นที่ให้กับ Me Too Platform ผมเลยไม่สามารถบอกได้ว่าอะไรเป็นปัจจัยที่จะ Identify ได้อย่างชัดเจนว่าจะไปหาที่ไหน อย่างไร
ทุกอย่างมัน Dynamic ทุกๆ New Platform ที่จะกลายเป็น Winner Take All มันจะเป็น Structural Break Out ใน Status Quo อยู่เสมอ ถ้ามันเป็นอะไรที่ใครๆ ก็มองเห็น มี Case Study รับรองได้ว่า มันก็จะมีคู่แข่ง มีการแข่งขัน และการที่จะ Launch Platform จน Demand Economy of Scales จะ Kick In มันก็จะเหนื่อยเสมอ ดังนั้นเวลาจะหา ต้องไปหาในพื้นที่ๆ แปลกๆ ที่ไม่มีใครเชื่อ หรือไม่มีใครสนใจ หรือบังเอิญว่าได้โอกาสทำอะไรบางอย่างมาก่อนคนอื่น อย่างที่เราเคยคุยกับเกี่ยวกับเรื่อง NVDA ว่า เหตุปัจจัยมันประจบเหมาะให้บริษัท ได้เริ่มสร้าง Eco System มาก่อนคนอื่น แล้วอยู่ๆ ก็เกิด Deep Learning ขึ้น ในขณะที่ Google ชนะ เนื่องจากคนอื่นงงๆ ไปกับกลยุทธ์ในยุคก่อนที่เน้นหาเงิน แต่ Google เน้นให้เปล่า แล้วค่อยหาเงินที่หลัง
อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่า หากจิตของเราถูกฝึกมาอย่างดีแล้ว มีสติ สมาธิ และปัญญา ที่สมบูรณ์ระดับหนึ่ง หากเราตั้งเข็มทิศของการรับข้อมูลเอาไว้อย่างถูกต้อง ปล่อยให้ข้อมูลไหลผ่านการรับรู้เข้ามาเรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกประมวลด้วยขีดความสามารถของจิตที่ถูกฝึกเอาไว้ ลักษณะการประมวลผลของจิตที่เป็น Quantum ในระหว่างที่จิตสงบเป็นสมาธิ ตัวเลือกต่างๆ ในชีวิต ในการลงทุน มันปรากฎ สว่างขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ ที่จะทำให้เราเดินไปในทิศทางที่ถูก
ทีนี้ ถ้าหากเราใช้ Concept ว่าชีวิตเรา เราเลือกลงทุนได้แค่ 20 ครั้ง 20 ตัว แบบที่บัฟเฟต์ ให้โจทย์เอาไว้ แถมผมเป็นคนที่มีเวลาให้กับการลงทุนน้อย ทิศทางของการรับข้อมูลของผม จึงเป็นไปเพื่อค้นหากิจการที่นานๆ จะเกิดที ผมจะไม่เสียเวลาไปกับการอ่านอะไรเยอะๆ รู้อะไรกว้างๆ มากๆ ถามอะไรตอบได้ รู้หมดทุกอย่าง ผมยอมเลือกที่ไม่ค่อยจะรู้เรื่องอะไรเยอะแยะเต็มไปหมด ขอรู้แค่เรื่องไม่กี่เรื่องที่มีส่วนช่วยให้หาหุ้น 20 ตัวในชีวิตเจอก็พอ
ผมเลยไม่เคยเสียเวลาไปกับการศึกษา Platform อย่าง Alibaba หรือ Amazon แม้แต่ครั้งเดียว รู้แค่ว่ากิจการทำอะไร ลงทุนอะไร ยิ่งใหญ่ขนาดไหน ใช้บริการบ้าง แต่ผมไม่เคยเปิดงบ อ่านสัมภาษณ์ วิเคราะห์อะไรแม้แต่ครั้งเดียว เพราะ ผมตัดธุรกิจที่เป็น Physical ทิ้งไปซะตั้งแต่ต้น เนื่องจาก เมื่อไหร่ที่เป็น Physical มันก็ยังมีต้นทุน มีอะไรที่หากในอนาคต สามารถคิดค้นเทคโนโลยีใหม่เจอ สิ่งเดิมก็อาจจะถูก Disrupt ได้ ยกตัวอย่างเช่น หากในอนาคต มีบริษัทๆ หนึ่งคิดค้นเทคโนโลยี Teleportation สินค้าได้ หรือ อาจจะเป็นเทคโนโลยี 3-D Printer แบบใหม่ ที่สร้างสสารอะไรขึ้นก็ได้ในเวลารวดเร็ว กิจการแบบ Alibaba หรือ Amazon ก็จะถูก Disrupt หายวับไปกับตา เอาแค่มีคนทุ่มตลาด แจกเงินหนักๆ ลูกค้าก็พร้อมจะไปหาคนแจกเงินแล้ว
หรืออย่างธุรกิจ FinTech หรือ Payment สุดท้ายแล้ววันหนึ่งก็จะมีคนสร้างระบบให้คนใช้ฟรี ไม่มี Transaction Cost เพื่อต้องการข้อมูล หรือใช้ในทางการตลาดเพื่อขายสินค้าประเภทอื่น สุดท้าย Platform พวกนี้ก็ต้องอยู่ท่ามกลางสงครามที่ไม่มีวันจบวันสิ้น
ซึ่งจะเห็นได้ว่า Platform e-Commerce หรือ FinTech จุดเริ่มต้นของ Platform พวกนี้ คิดถึงเรื่องเงินก่อน ถ้าแม้ Platform พวกนี้จะบอกว่าตัวเองคิดถึงลูกค้าก่อน แต่ประเด็นที่คิดถึงลูกค้า ก็คิดเรื่อง ทำยังไงให้ลูกค้าประหยัดเงิน ประหยัดเวลา ซึ่งสุดท้ายก็เกี่ยวกับเงินอยู่ดี
โดยส่วนตัวเลยเชื่อว่า Platform ที่จะเป็น Strong Network Effect ได้ เราต้องดูคุณภาพ Founder และ วัฒนธรรมองค์ก่อน ที่ไม่ได้คิดเรื่องเงิน หรือมีเป้าหมายเพื่อเงิน แต่ Mission ขององค์กรต้องการทำอะไรบางอย่างให้โลกนี้ดีขึ้น แบบที่เกิดขึ้นจริง สัมผัสได้ ให้เปล่าไปก่อน และพร้อมที่จะให้ไปอย่างยาวนาน สุดท้ายเงินจะตามมาเอง และเงินที่ตามมาอัตราการทำกำไรก็จะสูงมาก และถึงแม้จะหาเงินไม่ได้ สิ่งที่ให้ลูกค้าไปฟรีๆ เปล่าๆ จะสร้างคูเมืองของบริษัทให้กว้างขึ้นๆ ถือได้ว่าเป็นเงินลงทุนที่ใช้ในการสร้างคูเมืองในการป้องกันศัตรูก็ว่าได้
ทีนี้ถ้าหากเราศึกษา Platform ที่เป็น Winner Take All เข้าไปลึกๆ จริงๆ แล้ว หากเราถอด Core Product ที่ทำเงินให้กับองค์กรจริงๆ มาหา Operating Profit Margin เราจะพบว่า Product พวกนี้ Margin จะสูงถึง 80-90% เลยทีเดียว ซึ่งบริษัทพวกนี้จะพยายามเอากำไรพวกนี้มาใช้จ่ายไปกับการลงทุน เพื่ออนาคต และเพื่อไม่ให้เป็นที่เพ่งเล็ง เวลาทำ Valuation กิจการพวกนี้เราจะประเมินมูลค่าได้ต่ำกว่าความเป็นจริงเสมอไป เพราะ Profit Margin ที่เราใส่ไปใน Valuation Model มันต่ำเกินจริง
ในขณะที่ Platform พวก Weak Network Effect พวกนี้ ต้องแข่งขันหนัก เผาเงิน แจกโปรโมชั่น แล้วพวกนี้ก็สร้างฝันสวยหรูว่า CAC ที่ใช้ไปมันสร้าง LTV ได้สูงนะ คุ้มเงินที่จ่ายนะ ซึ่ง Platform พวกนี้ก็จะไปยกเอา Platform ที่เป็น Winner Take All มาขายฝันให้กับเรา ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว คูเมืองมันไม่ได้แข็งแรงขนาดนั้น
ด้วยเหตุนี้ ถ้าหากเราสามารถ Identify ได้ว่าพวกนี้เป็น Weak Network Effect การที่เราจะไปยอมเชื่อผู้บริหารให้ไปดู Adjusted EBITDA แทน หรือให้ไปดู Key Metric อื่นๆ บางทีเราก็ต้องตั้งคำถามนิดนึงว่า คุณภาพของ Product/Service หรือ Incentive/Drive ของลูกค้ามันเชื่อแบบนั้นได้จริงๆ ไหม
โดยส่วนตัวผมเชื่อว่า Strong Network Effect เกิดจาก Platform ลักษณะพิเศษ ที่ Producer กับ Consumer ที่สามารถ Switch ข้ามกันไปข้ามกันมาได้ง่าย และ Incentive ของการที่ Consumer ตัดสินใจไปเป็น Producer ไม่ได้เกิดจากเงิน แต่มันถูก Drive มาจาก Self-Esteem บ้าง แต่ถ้าเทพสุด ก็คือ ความรู้สึกอยากแบ่งปัน (จาคะ) คล้ายๆ กับที่ตู้รู้สึกว่าอยากเป็นครู อยากเป็นอาจารย์ อยากแบ่งปันองค์ความรู้ให้กับเพื่อนๆ หรือคนที่ยังขาดอยู่
ถ้า Platform ที่มีลักษณะที่ Incentive ที่ Drive การกระทำเกิดจากเงินหรือผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ Platform ลักษณะนี้ในอนาคตจะถูก Disrupt ได้ ไม่ต้องให้มีเทคโนโลยีอะไรใหม่ๆ หรอกครับ เอาแค่มีคนที่ Execute ได้ดีกว่า เหนือกว่า หรืออาจถูกทุ่มตลาด อัดโปรโมชั่น จนขาดสภาพคล่อง ก็สามารถตายออกจากตลาดไปได้
ลักษณะของ Platform ที่เป็น Strong Network Effect จึงมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในสังคมเฉพาะกลุ่ม เฉพาะทาง ขอบเขตพื้นที่ๆ Local ตัวอย่างที่น่าสนใจลองไปศึกษา อย่างเช่น Nextdoor นี่ผมว่ามันเป็น Strong Network Effect ที่ Very Local มากๆ ที่ผมเชื่อว่ามันจะเป็น Platform ที่ประสบความสำเร็จในระยะยาว แต่อาจจะเกิดในพื้นที่จำกัด แล้วเมื่อประสบความสำเร็จมากขึ้น ก็จะมี Platform Me Too อื่นๆ ที่เลียนแบบ สุดท้าย Strong Network Effect ระดับ Local ก็ยังไม่ค่อยดีสักเท่าไร เป็นต้น
ลักษณะธุรกิจ Platform ที่เป็น Strong Global Network Effect นี่มีน้อยยิ่งกว่าน้อย ใน 5-10 ปี จะมีกิจการแบบนี้โผล่มาสักครั้ง ซึ่งโดยส่วนตัวผมคิดว่า Platform แบบนี้จะต้องประกอบอะไรบางอย่างที่พิเศษจริงๆ ซึ่งแต่ละ Platform เหล่านี้มันเป็น Winner Take All ทั้งหมด ดังนั้นทุกๆ Platform มันจะไม่มีสูตรสำเร็จ ไม่มี Case Study ไม่มีประวัติศาสตร์อะไรให้ศึกษาทั้งนั้น เพราะ ถ้ามันเป็น Winner Take All มันคงจะไม่เหลือพื้นที่ให้กับ Me Too Platform ผมเลยไม่สามารถบอกได้ว่าอะไรเป็นปัจจัยที่จะ Identify ได้อย่างชัดเจนว่าจะไปหาที่ไหน อย่างไร
ทุกอย่างมัน Dynamic ทุกๆ New Platform ที่จะกลายเป็น Winner Take All มันจะเป็น Structural Break Out ใน Status Quo อยู่เสมอ ถ้ามันเป็นอะไรที่ใครๆ ก็มองเห็น มี Case Study รับรองได้ว่า มันก็จะมีคู่แข่ง มีการแข่งขัน และการที่จะ Launch Platform จน Demand Economy of Scales จะ Kick In มันก็จะเหนื่อยเสมอ ดังนั้นเวลาจะหา ต้องไปหาในพื้นที่ๆ แปลกๆ ที่ไม่มีใครเชื่อ หรือไม่มีใครสนใจ หรือบังเอิญว่าได้โอกาสทำอะไรบางอย่างมาก่อนคนอื่น อย่างที่เราเคยคุยกับเกี่ยวกับเรื่อง NVDA ว่า เหตุปัจจัยมันประจบเหมาะให้บริษัท ได้เริ่มสร้าง Eco System มาก่อนคนอื่น แล้วอยู่ๆ ก็เกิด Deep Learning ขึ้น ในขณะที่ Google ชนะ เนื่องจากคนอื่นงงๆ ไปกับกลยุทธ์ในยุคก่อนที่เน้นหาเงิน แต่ Google เน้นให้เปล่า แล้วค่อยหาเงินที่หลัง
อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่า หากจิตของเราถูกฝึกมาอย่างดีแล้ว มีสติ สมาธิ และปัญญา ที่สมบูรณ์ระดับหนึ่ง หากเราตั้งเข็มทิศของการรับข้อมูลเอาไว้อย่างถูกต้อง ปล่อยให้ข้อมูลไหลผ่านการรับรู้เข้ามาเรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกประมวลด้วยขีดความสามารถของจิตที่ถูกฝึกเอาไว้ ลักษณะการประมวลผลของจิตที่เป็น Quantum ในระหว่างที่จิตสงบเป็นสมาธิ ตัวเลือกต่างๆ ในชีวิต ในการลงทุน มันปรากฎ สว่างขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ ที่จะทำให้เราเดินไปในทิศทางที่ถูก
ทีนี้ ถ้าหากเราใช้ Concept ว่าชีวิตเรา เราเลือกลงทุนได้แค่ 20 ครั้ง 20 ตัว แบบที่บัฟเฟต์ ให้โจทย์เอาไว้ แถมผมเป็นคนที่มีเวลาให้กับการลงทุนน้อย ทิศทางของการรับข้อมูลของผม จึงเป็นไปเพื่อค้นหากิจการที่นานๆ จะเกิดที ผมจะไม่เสียเวลาไปกับการอ่านอะไรเยอะๆ รู้อะไรกว้างๆ มากๆ ถามอะไรตอบได้ รู้หมดทุกอย่าง ผมยอมเลือกที่ไม่ค่อยจะรู้เรื่องอะไรเยอะแยะเต็มไปหมด ขอรู้แค่เรื่องไม่กี่เรื่องที่มีส่วนช่วยให้หาหุ้น 20 ตัวในชีวิตเจอก็พอ
ผมเลยไม่เคยเสียเวลาไปกับการศึกษา Platform อย่าง Alibaba หรือ Amazon แม้แต่ครั้งเดียว รู้แค่ว่ากิจการทำอะไร ลงทุนอะไร ยิ่งใหญ่ขนาดไหน ใช้บริการบ้าง แต่ผมไม่เคยเปิดงบ อ่านสัมภาษณ์ วิเคราะห์อะไรแม้แต่ครั้งเดียว เพราะ ผมตัดธุรกิจที่เป็น Physical ทิ้งไปซะตั้งแต่ต้น เนื่องจาก เมื่อไหร่ที่เป็น Physical มันก็ยังมีต้นทุน มีอะไรที่หากในอนาคต สามารถคิดค้นเทคโนโลยีใหม่เจอ สิ่งเดิมก็อาจจะถูก Disrupt ได้ ยกตัวอย่างเช่น หากในอนาคต มีบริษัทๆ หนึ่งคิดค้นเทคโนโลยี Teleportation สินค้าได้ หรือ อาจจะเป็นเทคโนโลยี 3-D Printer แบบใหม่ ที่สร้างสสารอะไรขึ้นก็ได้ในเวลารวดเร็ว กิจการแบบ Alibaba หรือ Amazon ก็จะถูก Disrupt หายวับไปกับตา เอาแค่มีคนทุ่มตลาด แจกเงินหนักๆ ลูกค้าก็พร้อมจะไปหาคนแจกเงินแล้ว
หรืออย่างธุรกิจ FinTech หรือ Payment สุดท้ายแล้ววันหนึ่งก็จะมีคนสร้างระบบให้คนใช้ฟรี ไม่มี Transaction Cost เพื่อต้องการข้อมูล หรือใช้ในทางการตลาดเพื่อขายสินค้าประเภทอื่น สุดท้าย Platform พวกนี้ก็ต้องอยู่ท่ามกลางสงครามที่ไม่มีวันจบวันสิ้น
ซึ่งจะเห็นได้ว่า Platform e-Commerce หรือ FinTech จุดเริ่มต้นของ Platform พวกนี้ คิดถึงเรื่องเงินก่อน ถ้าแม้ Platform พวกนี้จะบอกว่าตัวเองคิดถึงลูกค้าก่อน แต่ประเด็นที่คิดถึงลูกค้า ก็คิดเรื่อง ทำยังไงให้ลูกค้าประหยัดเงิน ประหยัดเวลา ซึ่งสุดท้ายก็เกี่ยวกับเงินอยู่ดี
โดยส่วนตัวเลยเชื่อว่า Platform ที่จะเป็น Strong Network Effect ได้ เราต้องดูคุณภาพ Founder และ วัฒนธรรมองค์ก่อน ที่ไม่ได้คิดเรื่องเงิน หรือมีเป้าหมายเพื่อเงิน แต่ Mission ขององค์กรต้องการทำอะไรบางอย่างให้โลกนี้ดีขึ้น แบบที่เกิดขึ้นจริง สัมผัสได้ ให้เปล่าไปก่อน และพร้อมที่จะให้ไปอย่างยาวนาน สุดท้ายเงินจะตามมาเอง และเงินที่ตามมาอัตราการทำกำไรก็จะสูงมาก และถึงแม้จะหาเงินไม่ได้ สิ่งที่ให้ลูกค้าไปฟรีๆ เปล่าๆ จะสร้างคูเมืองของบริษัทให้กว้างขึ้นๆ ถือได้ว่าเป็นเงินลงทุนที่ใช้ในการสร้างคูเมืองในการป้องกันศัตรูก็ว่าได้
ทีนี้ถ้าหากเราศึกษา Platform ที่เป็น Winner Take All เข้าไปลึกๆ จริงๆ แล้ว หากเราถอด Core Product ที่ทำเงินให้กับองค์กรจริงๆ มาหา Operating Profit Margin เราจะพบว่า Product พวกนี้ Margin จะสูงถึง 80-90% เลยทีเดียว ซึ่งบริษัทพวกนี้จะพยายามเอากำไรพวกนี้มาใช้จ่ายไปกับการลงทุน เพื่ออนาคต และเพื่อไม่ให้เป็นที่เพ่งเล็ง เวลาทำ Valuation กิจการพวกนี้เราจะประเมินมูลค่าได้ต่ำกว่าความเป็นจริงเสมอไป เพราะ Profit Margin ที่เราใส่ไปใน Valuation Model มันต่ำเกินจริง
ในขณะที่ Platform พวก Weak Network Effect พวกนี้ ต้องแข่งขันหนัก เผาเงิน แจกโปรโมชั่น แล้วพวกนี้ก็สร้างฝันสวยหรูว่า CAC ที่ใช้ไปมันสร้าง LTV ได้สูงนะ คุ้มเงินที่จ่ายนะ ซึ่ง Platform พวกนี้ก็จะไปยกเอา Platform ที่เป็น Winner Take All มาขายฝันให้กับเรา ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว คูเมืองมันไม่ได้แข็งแรงขนาดนั้น
ด้วยเหตุนี้ ถ้าหากเราสามารถ Identify ได้ว่าพวกนี้เป็น Weak Network Effect การที่เราจะไปยอมเชื่อผู้บริหารให้ไปดู Adjusted EBITDA แทน หรือให้ไปดู Key Metric อื่นๆ บางทีเราก็ต้องตั้งคำถามนิดนึงว่า คุณภาพของ Product/Service หรือ Incentive/Drive ของลูกค้ามันเชื่อแบบนั้นได้จริงๆ ไหม
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- นายมานะ
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1167
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 79
หลังอ่านคอมเม้นของอ.ตี่จบ ผมเลยได้โอกาสไปหยิบหนังสือ Originals ที่เขียนโดยอ. Adam Grant มาอ่าน แล้วพบว่าผมเข้าใจคำตอบของอ.ตี่มากขึ้นครับ
ผมคิดว่าตัวเองติดกับดักตามสไตล์นักลงทุนไทย ที่มัวแต่หา the next xxx มากเกินไป ตามสไตล์ที่ผมเคยใช้กับหุ้นไทย (ศึกษา business model ของต่างประเทศ เพื่อมาหาผู้ชนะในไทย) แต่กับธุรกิจที่มีลักษณะ winner takes all จริงๆ เราคงไม่มีวันหาบริษัทที่มี business model คล้ายกับ current winner ได้แน่นอน สิ่งที่เราควรตามหาจึงไม่ใช่ platform ที่คล้ายๆ กับ current winner แต่เป็น platform/business model ที่ 1. มีลักษณะเฉพาะของตัวเองหรืออยู่ใน positioning เฉพาะตัว ที่คนอื่นยากจะเลียนแบบ และ/หรือ 2. อยู่ใน niche market ที่ไม่ใช่คู่แข่งของ current winner แต่มีโอกาสจะทดแทน (disrupt) current winner ในแบบที่คนทั่วไปฟังแล้วคงจะงงๆ ว่ามันจะเป็นไปได้ไง
disclaimer: ข้อความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ไม่ได้มีเจตนาจะบอกว่าผมคิดถูก คนส่วนใหญ่คิดผิด แต่อย่างใด เพียงแต่อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้นครับ เผื่อเพื่อนๆ สนใจอยากลองอ่านกันครับ
ผมคิดว่าตัวเองติดกับดักตามสไตล์นักลงทุนไทย ที่มัวแต่หา the next xxx มากเกินไป ตามสไตล์ที่ผมเคยใช้กับหุ้นไทย (ศึกษา business model ของต่างประเทศ เพื่อมาหาผู้ชนะในไทย) แต่กับธุรกิจที่มีลักษณะ winner takes all จริงๆ เราคงไม่มีวันหาบริษัทที่มี business model คล้ายกับ current winner ได้แน่นอน สิ่งที่เราควรตามหาจึงไม่ใช่ platform ที่คล้ายๆ กับ current winner แต่เป็น platform/business model ที่ 1. มีลักษณะเฉพาะของตัวเองหรืออยู่ใน positioning เฉพาะตัว ที่คนอื่นยากจะเลียนแบบ และ/หรือ 2. อยู่ใน niche market ที่ไม่ใช่คู่แข่งของ current winner แต่มีโอกาสจะทดแทน (disrupt) current winner ในแบบที่คนทั่วไปฟังแล้วคงจะงงๆ ว่ามันจะเป็นไปได้ไง
disclaimer: ข้อความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ไม่ได้มีเจตนาจะบอกว่าผมคิดถูก คนส่วนใหญ่คิดผิด แต่อย่างใด เพียงแต่อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้นครับ เผื่อเพื่อนๆ สนใจอยากลองอ่านกันครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 262
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 80
คุณ มานะ
คุณ picatos
ผมขอเสริมว่าการที่จะเกิด technology ใหม่ขึ้นมา มันก็ต้องมี growth in productivity ไม่ใช่แค่การผลิตแต่รวมถึง creativity ใหม่ๆ ที่แหวกแนว ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อ ถ้าหากว่า slope ของกราฟข้างบนตำ่ลงนั้นแปลว่า growth in productivity มีน้อย พวก winner takes all ก็จะมีโอกาสที่เป็น winner takes all นานขึ้น ในทางตรงกันข้ามถ้า growth in productivity สูงขึ้น ก็อาจจะมีคู่แข่งที่จะคอยมาหาจุดบกพร่อง หรือพยายามเพิ่ม efficiency ของ platform นั้นๆ ผมมองมา winner takes all แต่ละที่ก็น่าจะมี lifespan ที่ขึ้นอยู่กับ การพัฒนาของคู่แข่ง
สำหรับไทยนั้น slope ก็น่าจะยังตำ่แต่ก็ไม่ flat เพราะผมได้มองเห็นพัฒนาการในหลายๆ ด้าน แต่ผมเชื่อว่าถ้ามีการปฏิรูปการศึกษาใหม่ รวมถึงการผ่อนความเป็น seniority และอคติ ในระบบโรงเรียน ก็น่าจะไปได้สวย
คุณ wj
เห็นด้วยครับplatform/business model ที่มีลักษณะเฉพาะของตัวเองหรืออยู่ใน positioning เฉพาะตัว ที่คนอื่นยากจะเลียนแบบ
คุณ picatos
เห็นด้วยครับดังนั้นเวลาจะหา ต้องไปหาในพื้นที่ๆ แปลกๆ ที่ไม่มีใครเชื่อ หรือไม่มีใครสนใจ หรือบังเอิญว่าได้โอกาสทำอะไรบางอย่างมาก่อนคนอื่น
ผมขอเสริมว่าการที่จะเกิด technology ใหม่ขึ้นมา มันก็ต้องมี growth in productivity ไม่ใช่แค่การผลิตแต่รวมถึง creativity ใหม่ๆ ที่แหวกแนว ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อ ถ้าหากว่า slope ของกราฟข้างบนตำ่ลงนั้นแปลว่า growth in productivity มีน้อย พวก winner takes all ก็จะมีโอกาสที่เป็น winner takes all นานขึ้น ในทางตรงกันข้ามถ้า growth in productivity สูงขึ้น ก็อาจจะมีคู่แข่งที่จะคอยมาหาจุดบกพร่อง หรือพยายามเพิ่ม efficiency ของ platform นั้นๆ ผมมองมา winner takes all แต่ละที่ก็น่าจะมี lifespan ที่ขึ้นอยู่กับ การพัฒนาของคู่แข่ง
สำหรับไทยนั้น slope ก็น่าจะยังตำ่แต่ก็ไม่ flat เพราะผมได้มองเห็นพัฒนาการในหลายๆ ด้าน แต่ผมเชื่อว่าถ้ามีการปฏิรูปการศึกษาใหม่ รวมถึงการผ่อนความเป็น seniority และอคติ ในระบบโรงเรียน ก็น่าจะไปได้สวย
คุณ wj
ผมเคยลองเขียน app ลงบน iPhone ซึ่งตอนนั้น Apple ได้ออก compiler language ใหม่ชื่อ SwiftUI และมี interface บน xcode ที่ใช้งานง่าย ซึ่งผมมองว่าน่าจะสะดวกกว่า C# แต่ app นี้ไม่สามารถนำไปลงใน android ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ javaOS platform จะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันได้เกิดจาก "complier" ที่สามารถ compile code ที่เลือกได้ว่าจะนำไปใช้บน os ใดก็ได้ (ซึ่งจริงๆแล้วทุกวันนี้เราก็มีบ้างแล้ว แต่อาจจะมีข้อจำกัดสำหรับ app ที่ซับซ้อน)
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 81
จำได้ว่าตอนผมลงทุน Google กับ Facebook โดยส่วนตัวมองว่ามันเป็น winner takes all แถมราคาตอนนั้นก็ดีมาก forward p/e แค่ 10 เท่า แต่นำเสนอนักลงทุนระดับท็อปๆ ของไทยไปหลายสิบคน แต่ไม่มีใครสนใจสักคนนายมานะ เขียน: ↑จันทร์ ก.ค. 05, 2021 11:38 pmหลังอ่านคอมเม้นของอ.ตี่จบ ผมเลยได้โอกาสไปหยิบหนังสือ Originals ที่เขียนโดยอ. Adam Grant มาอ่าน แล้วพบว่าผมเข้าใจคำตอบของอ.ตี่มากขึ้นครับ
ผมคิดว่าตัวเองติดกับดักตามสไตล์นักลงทุนไทย ที่มัวแต่หา the next xxx มากเกินไป ตามสไตล์ที่ผมเคยใช้กับหุ้นไทย (ศึกษา business model ของต่างประเทศ เพื่อมาหาผู้ชนะในไทย) แต่กับธุรกิจที่มีลักษณะ winner takes all จริงๆ เราคงไม่มีวันหาบริษัทที่มี business model คล้ายกับ current winner ได้แน่นอน สิ่งที่เราควรตามหาจึงไม่ใช่ platform ที่คล้ายๆ กับ current winner แต่เป็น platform/business model ที่ 1. มีลักษณะเฉพาะของตัวเองหรืออยู่ใน positioning เฉพาะตัว ที่คนอื่นยากจะเลียนแบบ และ/หรือ 2. อยู่ใน niche market ที่ไม่ใช่คู่แข่งของ current winner แต่มีโอกาสจะทดแทน (disrupt) current winner ในแบบที่คนทั่วไปฟังแล้วคงจะงงๆ ว่ามันจะเป็นไปได้ไง
disclaimer: ข้อความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ไม่ได้มีเจตนาจะบอกว่าผมคิดถูก คนส่วนใหญ่คิดผิด แต่อย่างใด เพียงแต่อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้นครับ เผื่อเพื่อนๆ สนใจอยากลองอ่านกันครับ
บางทีการลงทุนในหุ้นที่จะเป็น winner takes all ก็ต้องอาศัยความเป็น original ของตัวเองพอสมควรนะครับ เชื่อในสิ่งที่ตัวเองเห็น กล้าที่จะทำในสิ่งที่ไม่มีคนสนใจ และไม่เห็นด้วย
จริงๆ ตู้เป็นคนแรกเลยนะ ที่ยอมเชื่อที่จะซื้อ nvda ตามผม ก่อนหน้านั้นไม่เคยเชียร์คนซื้อหุ้นต่างประเทศใครสำเร็จสักคน ถถถถ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1399
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 82
ขอบคุณครับ คุณ Peter1011 สำหรับข้อแนะนำ
จริงๆแล้วเหตุผลตรงในคำถามเรื่อง ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นตปท.?
ผมว่าโอกาสครับ และโอกาสนี้คือโอกาสสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้แก่ตนเองครับ
ผมเห็นว่าหลายประเทศมีการเติบโต และมีธรรมภิบาลดี เมื่อเทียบกับประเทศไทย
ประเทศเรามันมองไม่เห็นอนาคตครับ ผมยกตัวอย่างเช่น
1.ในปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าเราเกินความต้องการ 3x% และจะมากขึ้นไปอีกหลายปีต่อนี้เนื่องจากมีโรงไฟฟ้าเข้าระบบเพิ่ม แต่รัฐบาลยังเดินหน้าสร้างโครงการผลิตไฟฟ้า solar ของกองทับบก
2.เรากำลังเดินหน้าเข้าสูงสังคมสูงวัย แต่เรายากจน พอโดนโควิดก็ยิ่งจนไปอีก
3.โกงกินสูงขึ้นเรื่อยๆ
4.เริ่มมีกฎหมายคุ้มครองชนชั้นปกครองออกมาใน 2-3 ปีทีผ่านมา เช่น ห้ามเปิดเผยเอกสารราชการ, ห้ามวิจารรัฐบาล , เพิ่มโทษผู้วิจารณ์.... มาตลาดหลายสิปี, เอาที่ดินสปก.มาขายได้ ทำพาณิชย์ได้
5.วัคซีน ใครดูก็ออกครับว่ามันหมายถึงอะไรที่ต้อง ซื้อของห่วยและแพง
นั้นแหละครับที่เป็นเหตุผลหลัก นี่โชคดีของเรานะครับที่การออกไปลงทุนในตปท.ง่าย แต่ยังไม่ดีสำหรับคนรุ่นใหม่ที่ยังมีเงินไม่มากพอที่จะเอาไปลงทุนเองได้
จริงๆแล้วเหตุผลตรงในคำถามเรื่อง ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นตปท.?
ผมว่าโอกาสครับ และโอกาสนี้คือโอกาสสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้แก่ตนเองครับ
ผมเห็นว่าหลายประเทศมีการเติบโต และมีธรรมภิบาลดี เมื่อเทียบกับประเทศไทย
ประเทศเรามันมองไม่เห็นอนาคตครับ ผมยกตัวอย่างเช่น
1.ในปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าเราเกินความต้องการ 3x% และจะมากขึ้นไปอีกหลายปีต่อนี้เนื่องจากมีโรงไฟฟ้าเข้าระบบเพิ่ม แต่รัฐบาลยังเดินหน้าสร้างโครงการผลิตไฟฟ้า solar ของกองทับบก
2.เรากำลังเดินหน้าเข้าสูงสังคมสูงวัย แต่เรายากจน พอโดนโควิดก็ยิ่งจนไปอีก
3.โกงกินสูงขึ้นเรื่อยๆ
4.เริ่มมีกฎหมายคุ้มครองชนชั้นปกครองออกมาใน 2-3 ปีทีผ่านมา เช่น ห้ามเปิดเผยเอกสารราชการ, ห้ามวิจารรัฐบาล , เพิ่มโทษผู้วิจารณ์.... มาตลาดหลายสิปี, เอาที่ดินสปก.มาขายได้ ทำพาณิชย์ได้
5.วัคซีน ใครดูก็ออกครับว่ามันหมายถึงอะไรที่ต้อง ซื้อของห่วยและแพง
นั้นแหละครับที่เป็นเหตุผลหลัก นี่โชคดีของเรานะครับที่การออกไปลงทุนในตปท.ง่าย แต่ยังไม่ดีสำหรับคนรุ่นใหม่ที่ยังมีเงินไม่มากพอที่จะเอาไปลงทุนเองได้
มาคุยกันได้ที่นี่ครับ https://www.facebook.com/value.investing.freedom
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 83
ไปอ่านเจออันนี้มา Network Effect Bible PDFนายมานะ เขียน: ↑พฤหัสฯ. ก.ค. 01, 2021 3:05 pmขอสอบถามอ.ตี่เพิ่มเติมจากคอมเม้นด้านบนนะครับ (ขอไม่ quote มานะครับจะได้ไม่รก) คำถามจะยาวนิดนึงนะครับ
1. เท่าที่ผมศึกษา เข้าใจว่า platform ที่เป็น strong network effect น่าจะมีอยู่ 2 กลุ่มคือ
- UGC platform เช่น Facebook, IG, YouTube
- OS platform = iOS, Android, Windows
...
...
...
โดยสรุปคือถ้าเป็นบริษัทลักษณะแบบนี้คือเป็น weak/multi-local network effect แต่ด้วยเหตุผลหลายๆ อย่างทำให้กลายเป็น player เดียวที่น่าจะมี scale advantage ในธุรกิจที่ใหญ่และสำคัญมากจนรัฐบาลต้องมาควบคุม
...
ส่วนอันนี้เป็น link ไปที่ venture เจ้านี้ที่เน้นเรื่อง Network effect https://www.nfx.com/post/network-effects-bible
ในเว็บของ NfX ให้ความรู้ดีๆ เกี่ยวกับ Network effect เยอะมากเลยครับ เท่าที่ดูผ่านๆ อ่านไปก็ตื่นเต้นไป
สุดยอดมากเลยครับ น่าจะมีทุกคำตอบที่ตู้สงสัย
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 84
พอดีพึ่งสังเกตเห็นว่ามีคำถามนี้ ที่น่าสนใจที่จะตอบ แต่ยังไม่ได้ตอบนายมานะ เขียน: ↑พฤหัสฯ. ก.ค. 01, 2021 3:05 pm...
โดยสรุปคือถ้าเป็นบริษัทลักษณะแบบนี้คือเป็น weak/multi-local network effect แต่ด้วยเหตุผลหลายๆ อย่างทำให้กลายเป็น player เดียวที่น่าจะมี scale advantage ในธุรกิจที่ใหญ่และสำคัญมากจนรัฐบาลต้องมาควบคุม
ปัญหาของผมคือในเคสแบบนี้(ผมอาจจะยังศึกษาไม่มากพอเอง) ผมไม่แน่ใจว่าเราจะแปลงมาเป็นสมมติฐานในแง่ expense profile/operating margin ยังไง
...
การ valuation คือ การเปลี่ยนปัจจัยเชิงคุณภาพให้เป็นปัจจัยเชิงปริมาณ คุณภาพของกิจการแบบนี้เราจะแปลงเป็นตัวเลขอย่างไรดีนะ
ตอบสั้นๆ ง่ายๆ คือ ธุรกิจที่เป็น weak/local Network effect จะไปสะท้อนที่ revenue ที่ต่ำกว่า strong จาก
1) สามารถครอง market share ได้ต่ำกว่า จาก retention rate ที่ต่ำกว่า และ multi homing
2) TAM ที่เล็กกว่า ขึ้นอยู่กับว่าเข้าไปชนะตลาดไหนได้บ้าง เพราะ เป็น local Network effect
[ให้ระวัง การที่บริษัท Scale ได้เร็ว ไม่ได้หมายความว่า Network effect สูง]
ในการคิดความเป็นไปได้ของรายได้ ให้คิดแยกเป็นตลาด และอย่า assume market share สูงเกินไป ลักษณะของ weak จะมีผู้ชนะหลายราย ไม่ได้กินรวบ โดยส่วนตัวถ้าเป็น weak ผมให้ market share เต็มที่ได้ที่ 40% ถ้าเป็นผู้ชนะ เพราะ คิดว่าน่าจะมีคนชนะได้สัก 2-3 ราย
ในมุมของค่าใช้จ่าย weak จะมีค่าใช้จ่ายในการ accquire และ retention ที่สูงกว่า strong ส่งผลให้ operating margin ต่ำกว่าธุรกิจที่เป็น strong โดยส่วนตัวเวลาทำ valuation จุดที่เป็น terminal ไม่เคยให้ operating margin เกิน 20% เพราะ พวก mature business ที่เป็น strong ปกติก็ทำได้แค่ 30-40% เท่านั้น และถ้าเป็นพวก market place แบบ e-commerce อาจจะให้ operating margin ได้แค่ 10% เพราะ retail จริงๆ มันได้ต่ำกว่านี้เยอะ ให้ 10% นี่ก็ใจดีมากแล้ว แต่ก็ต้องไปดูว่ารับรู้รายได้ยังไง ถ้ารับรู้รายได้เป็นค่าธรรมเนียม หรือ ค่าโฆษณา ก็อาจจะไปอยู่ที่ประมาณ 20% ได้ เพราะ gpm สูงกว่า
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- Verified User
- โพสต์: 117
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 86
ข้อมูลครับ
https://reut.rs/3z5hmQF
https://reut.rs/3z5hmQF
อายุใกล้ 70 , ถ้าผิดพลาด ก็ ขออภัย ครับ
เขียนไว้กันลืม: รู้จักรอ เมื่อถึงเวลาต้องรอ รู้จักลงทุน เมื่อถึงเวลาลงทุน
เขียนไว้กันลืม: รู้จักรอ เมื่อถึงเวลาต้องรอ รู้จักลงทุน เมื่อถึงเวลาลงทุน
- Linzhi
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1522
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 87
ชีวิต หุ้น Squid game และ Metaverse
.
ผมนั่งดู Squid game จบก็คิดขึ้นมาหลาย ๆ อย่าง
.
ใน Squid game ผู้เล่นต่าง “ล้มเหลว” ในโลกปัจจุบันของตัวเอง
ผลักดันให้ผู้เล่น ยอมเข้าไปในเกม รับกติกาโลกใหม่ที่รู้สึกว่ายุติธรรมกว่า
.
แข่งเพื่อเอาชนะ แม้ว่าจะเอาชีวิตเข้าแลก ชีวิตที่พวกเขาคิดว่าไม่เหลือค่าอะไรแล้ว
.
อันที่จริงมนุษย์ต้องการสิ่งที่เรียกว่า “โลกใหม่” มาแต่ไหนแต่ไร
โลกใหม่ใน Digital Era เรียกว่า Metaverse
.
ยุค Analog ยังไม่มีชื่อ แต่ผมว่าความหมายเดียวกัน แค่เป็น Digital กับ Analog
.
เมื่อหลายพันปีก่อน มนุษย์สร้างศาสนาขึ้นมา และนั่นน่าจะเป็น Metaverse แรก ๆ
.
โลกหลังความตายที่ดีกว่าโลกปัจจุบัน ทำให้คนต้องพยายามทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อไปสู่โลกนั้น
.
อันที่จริงอาจจะมีก่อนหน้านั้นอีก Homo Sapien ย้ายถิ่นฐานออกจากทุ่งหญ้าซาวันน่า
เพื่อไปหาดินแดนใหม่ ๆ ที่ดีกว่าเดิม
.
การค้นพบทวีปใหม่ ๆ ล้วนแต่เป็นการหา Metaverse ใหม่ทั้งสิ้น
.
การค้นพบลุ่มแม่น้ำพระจันทร์เสี้ยว ไทกริส ยูเฟรตีส
ชาวอังกฤษที่ย้ายไปตั้งรกรากในอเมริกายุค 1600s
ชาวจีนโพ้นทะเลที่หนีออกจากบ้านเกิดเมืองนอนตัวเองไปยังที่ต่าง ๆ
.
กลับมายุค Digital ….
.
ผมว่าสิ่งที่ใกล้เคียงกับ Metaverse ที่สุดในเวลานี้คือ เกม
ซึ่งสร้างมาจนเด่นชัดสุดคือยุคเกม 8 bits เป็นต้นมา
.
เราสามารถแปลงตัวเองเป็นอัศวินผู้กล้า ในโลกยุคกลาง ปราบมังกรได้
.
ภาพไม่สวยไม่สำคัญ แต่เกม 8 bits ก็สามารถพาจินตนาการเราก็ไปไกลมาก ๆ แล้ว
.
อย่างไรก็ดีสิ่งที่สำคัญกว่าคือ เล่นไปแล้วได้อะไร ให้กับชีวิตจริงบ้าง ?
.
ถ้าได้แค่ความสนุก มันก็ยังไม่พอ
เล่นแล้วควรจะทำให้ชีวิตในโลกจริงดีขึ้นด้วย (aka เล่นแล้วได้เงิน)
.
คำถามคือเงินจริงจะมาจากไหนได้ในโลก Metaverse
.
โมเดลธุรกิจโบราณพัน ๆ ปีคือ เงินมักจะมาจาก “คนดู” ไม่ใช่ “คนเล่น"
.
เหมือน VIP ใน Squid game เหมือนผู้ชม Gladiator ผู้ชมเกมฟุตบอล
.
game ที่แปลงร่างเป็น e-sport ได้ คือการก้าวสู่โลก metaverse version 2.0
.
คนเราจ่ายเงินเพื่อดูสิ่งเหล่านี้แต่ไหนแต่เรา คนเราชอบเดิมพัน
.
ผู้เล่น 456 ที่ไม่ชอบ Squid Game
แต่สุดท้ายก็ทำตัวเหมือน VIP อยู่ดี เอาชีวิตคนริมถนนท่ามกลางหิมะมาเดิมพันกับผู้เล่น 001
.
โลกนี้ยังคงต้องการสิ่งที่เรียกว่า Second life เกมที่ยุติธรรม อยาก reset ชีวิตและเริ่มต้นใหม่
.
โลกในอดีตน่าจะยาก แต่พอมี Digital ก็เกิด Metaverse ใหม่ ๆ มีโอกาสนั้นมากขึ้น
.
แต่ Metaverse ที่เป็นเกมจริง ๆ ไม่ใช่เกมต้มตุ๋นนั้น โลกใหม่ที่ยุติธรรม
โลกใหม่ที่ให้โอกาส จริง ๆ ก็มีแค่หยิบมือเดียวอยู่ดี
.
Metaverse ยากที่จะมีอันเดียว ขณะที่โลกมีความหลากหลาย แตกต่างทางวัฒนธรรมอารยธรรม
.
ส่ิงสำคัญคือการ “เลือก” ที่จะ “เล่น” ใน Metaverse ไหน
.
จงหา Metaverse ของตัวเองให้เจอครับ
.
ผมนั่งดู Squid game จบก็คิดขึ้นมาหลาย ๆ อย่าง
.
ใน Squid game ผู้เล่นต่าง “ล้มเหลว” ในโลกปัจจุบันของตัวเอง
ผลักดันให้ผู้เล่น ยอมเข้าไปในเกม รับกติกาโลกใหม่ที่รู้สึกว่ายุติธรรมกว่า
.
แข่งเพื่อเอาชนะ แม้ว่าจะเอาชีวิตเข้าแลก ชีวิตที่พวกเขาคิดว่าไม่เหลือค่าอะไรแล้ว
.
อันที่จริงมนุษย์ต้องการสิ่งที่เรียกว่า “โลกใหม่” มาแต่ไหนแต่ไร
โลกใหม่ใน Digital Era เรียกว่า Metaverse
.
ยุค Analog ยังไม่มีชื่อ แต่ผมว่าความหมายเดียวกัน แค่เป็น Digital กับ Analog
.
เมื่อหลายพันปีก่อน มนุษย์สร้างศาสนาขึ้นมา และนั่นน่าจะเป็น Metaverse แรก ๆ
.
โลกหลังความตายที่ดีกว่าโลกปัจจุบัน ทำให้คนต้องพยายามทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อไปสู่โลกนั้น
.
อันที่จริงอาจจะมีก่อนหน้านั้นอีก Homo Sapien ย้ายถิ่นฐานออกจากทุ่งหญ้าซาวันน่า
เพื่อไปหาดินแดนใหม่ ๆ ที่ดีกว่าเดิม
.
การค้นพบทวีปใหม่ ๆ ล้วนแต่เป็นการหา Metaverse ใหม่ทั้งสิ้น
.
การค้นพบลุ่มแม่น้ำพระจันทร์เสี้ยว ไทกริส ยูเฟรตีส
ชาวอังกฤษที่ย้ายไปตั้งรกรากในอเมริกายุค 1600s
ชาวจีนโพ้นทะเลที่หนีออกจากบ้านเกิดเมืองนอนตัวเองไปยังที่ต่าง ๆ
.
กลับมายุค Digital ….
.
ผมว่าสิ่งที่ใกล้เคียงกับ Metaverse ที่สุดในเวลานี้คือ เกม
ซึ่งสร้างมาจนเด่นชัดสุดคือยุคเกม 8 bits เป็นต้นมา
.
เราสามารถแปลงตัวเองเป็นอัศวินผู้กล้า ในโลกยุคกลาง ปราบมังกรได้
.
ภาพไม่สวยไม่สำคัญ แต่เกม 8 bits ก็สามารถพาจินตนาการเราก็ไปไกลมาก ๆ แล้ว
.
อย่างไรก็ดีสิ่งที่สำคัญกว่าคือ เล่นไปแล้วได้อะไร ให้กับชีวิตจริงบ้าง ?
.
ถ้าได้แค่ความสนุก มันก็ยังไม่พอ
เล่นแล้วควรจะทำให้ชีวิตในโลกจริงดีขึ้นด้วย (aka เล่นแล้วได้เงิน)
.
คำถามคือเงินจริงจะมาจากไหนได้ในโลก Metaverse
.
โมเดลธุรกิจโบราณพัน ๆ ปีคือ เงินมักจะมาจาก “คนดู” ไม่ใช่ “คนเล่น"
.
เหมือน VIP ใน Squid game เหมือนผู้ชม Gladiator ผู้ชมเกมฟุตบอล
.
game ที่แปลงร่างเป็น e-sport ได้ คือการก้าวสู่โลก metaverse version 2.0
.
คนเราจ่ายเงินเพื่อดูสิ่งเหล่านี้แต่ไหนแต่เรา คนเราชอบเดิมพัน
.
ผู้เล่น 456 ที่ไม่ชอบ Squid Game
แต่สุดท้ายก็ทำตัวเหมือน VIP อยู่ดี เอาชีวิตคนริมถนนท่ามกลางหิมะมาเดิมพันกับผู้เล่น 001
.
โลกนี้ยังคงต้องการสิ่งที่เรียกว่า Second life เกมที่ยุติธรรม อยาก reset ชีวิตและเริ่มต้นใหม่
.
โลกในอดีตน่าจะยาก แต่พอมี Digital ก็เกิด Metaverse ใหม่ ๆ มีโอกาสนั้นมากขึ้น
.
แต่ Metaverse ที่เป็นเกมจริง ๆ ไม่ใช่เกมต้มตุ๋นนั้น โลกใหม่ที่ยุติธรรม
โลกใหม่ที่ให้โอกาส จริง ๆ ก็มีแค่หยิบมือเดียวอยู่ดี
.
Metaverse ยากที่จะมีอันเดียว ขณะที่โลกมีความหลากหลาย แตกต่างทางวัฒนธรรมอารยธรรม
.
ส่ิงสำคัญคือการ “เลือก” ที่จะ “เล่น” ใน Metaverse ไหน
.
จงหา Metaverse ของตัวเองให้เจอครับ
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
There is no secret ingredient. It's just you.
- Linzhi
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1522
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 88
Metaverse 17 ปีก่อนของผม = หุ้นไทย
Metaverse 1 ปีก่อนของผม = หุ้นต่างประเทศ
Metaverse ตลอดกาลของผม = thaivi.org
Metaverse 1 ปีก่อนของผม = หุ้นต่างประเทศ
Metaverse ตลอดกาลของผม = thaivi.org
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
There is no secret ingredient. It's just you.
-
- Verified User
- โพสต์: 2636
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 89
คิดว่า metaverse จะมาช่วยเสริมการเรียน การทำงานออนไลน์ไหมครับ
เท่าที่ผมตามอ่านหรือดูคลิป ผมว่าต่อไปโลกของภาพยนตร์ ละคร น่าจะใช้ประโยชน์ได้เยอะ ในเรื่องฉากเสมือนจริงต่างๆ
ปล. ไม่รู้ว่าการผ่าตัดทางไกล จะเรียกว่า metaverse ได้ไหม
เท่าที่ผมตามอ่านหรือดูคลิป ผมว่าต่อไปโลกของภาพยนตร์ ละคร น่าจะใช้ประโยชน์ได้เยอะ ในเรื่องฉากเสมือนจริงต่างๆ
ปล. ไม่รู้ว่าการผ่าตัดทางไกล จะเรียกว่า metaverse ได้ไหม
" สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย "
" Whatever your mind can conceive and believe it can achieve "
" Whatever your mind can conceive and believe it can achieve "
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 262
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ? มาแชร์กันครับ
โพสต์ที่ 90
แต่ก่อนผมเคยเชื่อว่าเข้ามาลงทุนในหุ้นแบบระยะยาว ผมจะไม่ต้องไปแข่งกับใคร แต่สืบเนื่องจาก
และ
และที่สำคัญที่สุด ผมได้เห็นนลท.ระยะยาวโดยเฉพาะกองทุนที่เข้าไปถือหุ้นพฐ.ดีเป็นจำนวนมาก ทำให้ราคาได้เต็มหรือเกินมูลค่า DCF ไปแล้ว ราคาหุ้นส่วนใหญ่อาจจะไม่เติบโตแม้ว่าผลประกอบการณ์ยังเติบโตได้ดี
เหตุการณ์พวกนี้ทำให้ผมตระหนักว่าผมก็ไม่ได้ต่างไปจากพวกเขาเลยและผมคิดผิดโดยสิ้นเชิง นั่นก็หมายความว่าผมคงไม่มีโอกาส (is unlikely) ในการเอาชนะตลาดได้หรือทำผลตอบแทนดีๆได้ ผมเริ่มถามตัวเองหลายๆครั้งว่า
1. ผมต้องการอะไรจากตลาดทั้งในไทยและต่างประเทศ
2. ผมมีอะไรที่แตกต่างจากคนอื่นๆหรือไม่
3. ถ้าคนส่วนใหญ่เข้ามาในตลาด จะทำให้ราคาหุ้นส่วนใหญ่ไม่เติบโตหรือไม่
4. ในเมื่อวิธีการลงทุนของคนดังๆหลายๆคนเช่น Buffett, Dalio, Fisher, Lynch, Munger, Theil ได้ถูกเผยแพร่ออกมา มันจะใช้ได้หรือไม่ ถ้าคนส่วนใหญ่นำไปใช้ แล้วความสำเร็จของคนเหล่านี้เป็น survivalship bias หรือไม่
และล่าสุดมันก็กลายเป็น
5. ผมควรย้ายไป index fund หรือไม่ เพราะแรงที่ลงไปกับความเครียดที่ได้มา มันได้ไม่เท่าผลตอบแทน หรือว่าจะรออีกสามถึงสี่ปีเพราะว่าปีแรกมันเร็วเกินไปที่จะสรุป
6. ตลาดทั้งในไทยและต่างประเทศ/index funds จะยังสามารถให้ผลตอบแทนในภาพรวมสู้ทรัพย์สินอื่น (cryptocurrencies, NFT, ที่ดิน, bonds, ...) ได้หรือไม่
แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าที่พิมพ์มาไม่ได้เกี่ยวกับคำถาม "ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ?" แต่ผมได้ "คำใบ้" จากในกระทู้ ที่หลายๆท่านเขียนไว้ ที่ผมมองว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อคำถามข้างบนเช่น
และ
investment biker เขียน: ↑อังคาร ส.ค. 18, 2020 12:13 amหุ้น Tech ขนาดใหญ่ เป็นหุ้นที่มีนักลงทุน นักวิเคราะห์ เก่งๆ ทั่วโลกติดตาม โอกาสที่นักลงทุนไทยจะหาแอลฟ่าจากหุ้นเหล่านั้น ถือว่ายากมาก เราไม่น่าจะมีอะไรที่ได้เปรียบนักลงทุนเก่งๆ ที่อยู่ในจีน ในอเมริกาเลย
picatos เขียน: ↑อาทิตย์ ส.ค. 29, 2021 5:57 pmสมัยก่อนผมไม่ค่อยเชื่อว่าตลาดมีประสิทธิภาพ ยิ่งตอนแรกๆ ที่ลงทุนแรกๆ ในไทย ในช่วงปี 2003 เพราะ เรารู้สึกว่าเราเข้าใจพื้นฐานคนไทย ได้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในตลาดไทย ในการลงทุนช่วงนั้น ผมคิดว่าการลงแรง เข้าไปแกะ ไปศึกษา จะสามารถสร้างความได้เปรียบในการลงทุน และถูกเปลี่ยนมาเป็นผลตอบแทนที่สูงกว่าปกติเหนือตลาดได้
picatos เขียน: ↑อาทิตย์ ส.ค. 29, 2021 5:57 pmเวลาผ่านไป พอได้ไปลงทุนต่างประเทศ แรกๆ ในช่วงปี 2012-2013 เราก็ไปด้วยความคิดเห็นแบบนี้ คิดว่าถ้าเราลงทุนในกิจการที่เราอิน และ เข้าใจจริงๆ เราจะมีข้อได้เปรียบแบบนี้อยู่ ผลลัพธ์กลับไม่เหมือนกัน ตลาดที่ US เป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าตลาดไทยมาก เท่าที่ผมสัมผัสมา ถ้าเป็นหุ้น big cap ที่คนลงทุนกันเยอะๆ ถ้ามันไม่ใช่จุดเปลี่ยนของกิจการ ที่มี uncertainty สูงๆ จริงๆ มันเป็นเรื่องยากพอสมควร ที่คุณจะชนะตลาดได้มากๆ แบบในไทย บางปีคุณอาจจะชนะบ้าง บางปีคุณอาจจะแพ้บ้าง แต่โดยรวมๆ การที่จะชนะได้อย่างต่อเนื่องเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย
ทำให้ผมฉุดคิดได้ว่าตอนนี้มีคนเข้ามาหรือให้ความสนใจกับตลาดหุ้นเป็นจำนวนมาก ทั้งนลท.ระยะยาวและเก็งกำไร ซึ่งแต่ละคนนั้นก็ทะเยอทะยานในการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ที่จะนำมาประกอบการตัดสินใจในการลงทุนของพวกเขา รวมถึงช่อง youtube, line, facebook page, etc. ต่างๆที่เกิดมากมายในช่วงห้าปีย้อนหลังpicatos เขียน: ↑อาทิตย์ ส.ค. 29, 2021 5:57 pmเครื่องมือ เครื่องไม้ แนวคิดที่มืออาชีพต่างประเทศเค้าใช้กันมันสุดๆ จริงๆ ครับ เค้าใส่ Assumption เอาไว้เลยว่างบแต่บรรทัด ตัวเลขไหน เค้าให้ความสำคัญ พองบออก Feed เข้าระบบอัตโนมัติ ระบบทำการโยนซื้อขายอัตโนมัติตอนงบออก ดังนั้น เกมส์ๆ นี้ คำถาม คือ คุณจะเอาตัวรอดให้ได้อย่างไร ในเมื่อคุณแพ้เรื่องความเร็วและความสามารถในการวิเคราะห์งบแน่ๆ
และที่สำคัญที่สุด ผมได้เห็นนลท.ระยะยาวโดยเฉพาะกองทุนที่เข้าไปถือหุ้นพฐ.ดีเป็นจำนวนมาก ทำให้ราคาได้เต็มหรือเกินมูลค่า DCF ไปแล้ว ราคาหุ้นส่วนใหญ่อาจจะไม่เติบโตแม้ว่าผลประกอบการณ์ยังเติบโตได้ดี
เหตุการณ์พวกนี้ทำให้ผมตระหนักว่าผมก็ไม่ได้ต่างไปจากพวกเขาเลยและผมคิดผิดโดยสิ้นเชิง นั่นก็หมายความว่าผมคงไม่มีโอกาส (is unlikely) ในการเอาชนะตลาดได้หรือทำผลตอบแทนดีๆได้ ผมเริ่มถามตัวเองหลายๆครั้งว่า
1. ผมต้องการอะไรจากตลาดทั้งในไทยและต่างประเทศ
2. ผมมีอะไรที่แตกต่างจากคนอื่นๆหรือไม่
3. ถ้าคนส่วนใหญ่เข้ามาในตลาด จะทำให้ราคาหุ้นส่วนใหญ่ไม่เติบโตหรือไม่
4. ในเมื่อวิธีการลงทุนของคนดังๆหลายๆคนเช่น Buffett, Dalio, Fisher, Lynch, Munger, Theil ได้ถูกเผยแพร่ออกมา มันจะใช้ได้หรือไม่ ถ้าคนส่วนใหญ่นำไปใช้ แล้วความสำเร็จของคนเหล่านี้เป็น survivalship bias หรือไม่
และล่าสุดมันก็กลายเป็น
5. ผมควรย้ายไป index fund หรือไม่ เพราะแรงที่ลงไปกับความเครียดที่ได้มา มันได้ไม่เท่าผลตอบแทน หรือว่าจะรออีกสามถึงสี่ปีเพราะว่าปีแรกมันเร็วเกินไปที่จะสรุป
6. ตลาดทั้งในไทยและต่างประเทศ/index funds จะยังสามารถให้ผลตอบแทนในภาพรวมสู้ทรัพย์สินอื่น (cryptocurrencies, NFT, ที่ดิน, bonds, ...) ได้หรือไม่
แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าที่พิมพ์มาไม่ได้เกี่ยวกับคำถาม "ทำไมเราต้องลงทุนหุ้นต่างประเทศ?" แต่ผมได้ "คำใบ้" จากในกระทู้ ที่หลายๆท่านเขียนไว้ ที่ผมมองว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อคำถามข้างบนเช่น
picatos เขียน: ↑อาทิตย์ ส.ค. 29, 2021 5:57 pmสุดท้ายถ้าคุณลงทุนต่างประเทศ โดยเน้นไปที่ความสุขและความสนุกในการได้เห็นและศึกษากิจการดีๆ ทำสิ่งดีๆ ที่เป็นประโยชน์ให้กับโลก ใส่เงินเข้าไปตามระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมกับความเข้าใจและ Valuation มีความเชื่อ และทัศนคติที่ถูกต้อง มีเครื่องมือหน้าตักอย่างเหมาะสม คุณจะสนุกกับมันครับ
Linzhi เขียน: ↑พฤหัสฯ. ต.ค. 14, 2021 10:02 amผมเชื่อแบบเดียวกับ Simon Sinek ว่าเกมส์การลงทุนมันเป็น infinite game ซึ่งการจะไปคิดเรื่องแพ้ชนะสุดท้ายแล้ว มันเหนื่อยและจะทำให้ตัวเราเองเมื่อพลาดจะกลายเป็นคนที่ drop out ออกไปจากเกมส์ ในการเล่น infinite game เราจะมองไปยาวๆ มี just cause ของเรา ที่จะทำให้เรามีแรงบันดาลใจที่จะเรียนเกมส์ไปได้ยาวๆ อย่างมีความสุข ภายใต้ขอบเขตของเวลาที่ไม่จำกัด
Linzhi เขียน: ↑พฤหัสฯ. ต.ค. 14, 2021 10:02 amแต่ถ้าเราออกไปต่างประเทศด้วยมุมมองว่าไม่ได้จะไปแข่งขัน ไม่ได้จะไปเอาชนะอะไรกับใคร แค่สนุกกับการได้เรียนรู้ สนุกกับการลงทุน สนุกกว่าการได้เห็นอะไรใหม่ๆ อะไรเจ๋งๆ สนุกกับการที่ได้เรียนรู้ว่าตัวเราช่างเล็กขนาดไหนกัน ทุกๆ วันของการได้เรียนรู้ที่จะหลงอยู่กลางป่า จะเป็นวันที่มีความหมายกับคุณ
และผมอยากทิ้งท้ายว่ากระทู้นี้แค่กระทู้เดียวเป็นกระทู้ที่มีค่ามากสำหรับผมมากกว่าห้องร้อยคนร้อยหุ้นนะครับ 55555