อดีต VS อนาคตที่คนรุ่นใหม่อาจ ไม่ต้องมีหุ้นไทย ในมุมมองของ ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
พูดคุย เจาะลึก โดย เฟิร์น ศิรัถยา อิศรภักดี
สรุปจากความเข้าใจของ แอดมิน เพจ Seminar Knowledge
ตลาดหลักทรัพย์ไทย เปิดทำการวันแรก 30 เมษายน 2518
อายุตลาดหลักทรัพย์ไทย ครบ 46 ปีแล้ว
ตลาดหลักทรัพย์ไทยช่วงที่1 พศ. 2518-2538
ถือว่าเป็นยุคเก็งกำไรอย่างแท้จริง ช่วงนี้ คนทำงานยังไม่เข้ามาลงทุน
มีแต่เศรษฐีมีเงิน ก็เข้ามาเก็งกำไร
เหมือนปลาใหญ่ไล่กินเหยื่อ พอเหยื่อหมด ก็มาไล่กินปลาเล็ก
(ประกอบกับไทย เริ่มมีEastern Seaboard ทำให้เกิดการจ้างแรงงาน
มีเงินทุนไหลจากต่างประเทศ จาก BIBF การกู้เงินจากต่างประเทศก็ง่าย
ดอกเบี้ยถูกกว่าไทยเยอะ
ทำให้หุ้นไทย หลังจากเกิดพฤษภา ทมิฬ เพิ่มอย่างรวดเร็ว
ประกอบ กองทุนรวม เริ่มขยับขยาย จาก เมื่อก่อนมีแค่ บลจ เอ็มเอฟซี เพียงแห่งเดียว
ก็เริ่มอนุญาตให้เปิดบลจ เพิ่มขึ้น ทำให้ระดมเงินทุนจากประชาชนเข้ามาลงทุนหุ้นได้
จำได้ว่า ตอน ipo ถ้าไม่ได้จอง หรือไม่มีเงินฝากอยู่เยอะ ก็จองไม่ได้ )
ตอนนั้นบรรยากาศคึกคักมาก คนมีเงินที่ชอบเสี่ยงดวง ก็เข้ามาเล่นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
โดย จะเข้าไปนั่งในห้องค้าหลักทรัพย์ ซึ่งตอนนั้น ถือเป็นสังคมการลงทุนอีกแบบนึง
(มีการหาข้อมูลจากห้องค้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข่าวลือบ้างจริงบ้าง นำข้อมูลมาเก็งกำไร
แต่เดี๋ยวนี้ เนื่องจากสามารถซื้อขาย ผ่านมือถือได้ ห้องค้าต่างๆก็ยุบหายไป)
หลังจากดัชนีพุ่งทำ new highในวันที่ 4มค 2537 ที่ 1789 จุด
ก็ปรับตัวลดลงมาตลอด สร้างความเสียหายให้กับนักลงทุนรายย่อยมากมาย
จนกระทั่ง นักลงทุนกลุ่มนี้ที่ขาดทุนหนัก และ หายจากตลาดหุ้นไป
ตลาดหลักทรัพย์ไทย ช่วงที่2 พศ. 2540
ซึ่งเปลี่ยนจาก การเก็งกำไร มาเป็นยุควีไอ ช่วงแรกๆ
(ดร นิเวศน์ เริ่มก่อนลงทุนก่อนนั้น ตอนดัชนีประมาณ 800 จุด แต่เลือกลงทุนหุ้นที่
มีปันผล 10% ดังนั้นตอนดัชนีตกต่ำสุด 204 จุด ปรากฏว่า หุ้นที่ถือไม่ขาดทุนแถมได้ปันผลด้วย
ตอนนั้น พอร์ตเริ่มต้น 10 ล้านบาท ปันผล 1ล้านบาท ก็สามารถอยู่ได้แล้ว
ถือว่า อาจารย์มีอิสรภาพทางการเงินแล้วตั้งแต่ช่วงนั้น อาจารย์ก็ออกหนังสือ ตีแตก ซึ่งถือเป็นหนังสือที่
คนลงทุนแนววีไอ จะอ่านเป็นเล่มแรก จะพูดถึงกลยุทธ์การลงทุนหุ้นที่ผ่านมาของอาจารย์)
หลักการ คือ หาหุ้นที่ราคาถูก ปันผลดี ซึ่งตอนนั้น หุ้นดีๆ ปันผลสูง PE แค่5 เท่าเอง และ ถือหุ้นยาวๆไป
อาจารย์ถือหุ้นบางตัวถึง 20 ปี
ช่วงนั้นก็มีก่อตั้ง สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า(ประเทศไทย) ขึ้นมา
นักลงทุนวีไอที่ลงทุนช่วงแรก ก็มี พี่ พีรนารถ และ ไก่ ธันวา อดีต CEO IBM และ อดีตนายกสมาคมThaiviคนแรก
ที่ลงทุนในแนววีไอ จนถึงตอนนี้
(ช่วงหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง ทางการอยากส่งเสริมตลาดหุ้นไทย เลยมีการริเริ่ม
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองประหยัดภาษี RMF,LTF ทำให้มีเงินสถาบันเข้ามาลงทุนในหุ้นเยอะขึ้น)
นักลงทุนที่เข้ามาลงทุน มีการศึกษาดีขึ้น จนถึง เคยเป็นที่1ในการสอบข้าวของประเทศไทย
มีทั้ง วิศวกร หมอ เข้ามาลงทุนแทน ส่วนนักลงทุนที่ลงทุนก่อนหน้านั้นช่วงต้มยำกุ้ง ขาดทุน
ก็สาปแช่ง และ ห้ามลูกหลานเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย
ตลาดหลักทรัพย์ไทย ช่วงที่ 3 เปลี่ยนจาก หุ้นvalue มาเป็น value growth
หลังจากเกิด วิกฤต Subprime ทำให้ดัชนีหุ้นไทยตกจาก 900 จุด มาที่ 380 จุด
แนวทางการลงทุนของนักลงทุนวีไอรุ่นใหม่ตอนนั้น เปลี่ยนจาก การลงทุนแบบ value
มาเป็น Value growth ถือเป็น วีไอยุคที่สอง เพราะว่า หุ้นราคาถูกๆแบบช่วงที่2 หายาก
และระยะเวลาในการถือหุ้น ก็สั้นลง ไม่ได้ถือยาวเหมือน ยุควีไอตอนแรก
ดัชนีก็ปรับจาก 380 จุดมาที่ 1,650 จุด ในปี พศ 2556
สร้างวีไอมากมายในช่วงนั้น ถือเป็นยุคทองของวีไออีกยุคนึง
ตลาดหลักทรัพย์ไทย ช่วงที่4 ปี พศ 2559
เปลี่ยนจาก Value growth เป็น growth อย่างเดียว
ช่วงนี้ อาจารย์บอกว่า การลงทุนแนววีไอ ช่วงนี้ไม่ค่อยworkแล้ว (อาจมาจาก หุ้นมีราคาแพงมาก
หาหุ้นแนววีไอยากขึ้น ) คนก็เลยไปหาหุ้นgrowth ลงทุน
ซึ่งอาจารย์เคยเตือนว่า หุ้นgrowth จริงๆอาจไม่growthจริง เช่นหุ้นที่ขยายตลาดไปต่างประเทศ
อาจไม่โตจริง ซึ่งหลังจากนั้นปีเดียว คนก็เริ่มเห็นจริง ทำให้ราคาหุ้นกลุ่มนางฟ้าตกสวรรค์กันหมด
ตอนนี้อาจารย์ เริ่มมีย้ายเงินลงทุนส่วนนึงไปลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนาม ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียด
ได้จากบทความที่สรุปก่อนหน้านี้
ดังนั้น พอร์ต อาจารย์ แบ่งเป็น ไทย 80% และ เวีดยนาม 20%
อาจารย์บอกว่า ต่อไป เราอาศัยอยู่ประเทศนึง แต่ไปลงทุนในอีกประเทศนึงได้
ตลาดหลักทรัพย์ไทยยังไม่ได้ถึง ยุคที่5คือ ยุคลงทุนใน passive fund ซึ่งเหมาะกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
สำหรับคนที่พึ่งเริ่มเข้ามาลงทุน ก็สามารถลงทุนใน ETF ได้โดย น้องเฟิร์น สรุปจากที่อาจารย์เคยพูดดังนี้
แบ่งเป็น4 ส่วน โดยลงใน เวียดนาม , จีน , US , อินเดีย
อาจารย์บอกว่า อินเดีย น่าสนใจ แต่ยังไม่ได้ลงทุน