BITKUB
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 31
ตอนนี้รอ คุณท๊อป จิรายุทธ เขียนหนังสือ
เพื่อเล่าประสบการณ์ เกร็ดในการสร้างธุรกิจ ในเส้นทางของตัวเอง
ฟังมากมายแล้ว แต่ทว่า สุดท้ายคือ เขียนเป็นเล่มออกมาให้อ่านกัน
ว่า เส้นทางมันเป็นเช่นไร
ถึงแม้นว่าขายไม่ดี แต่ทว่า มันคือชีวิตประวัติของคนที่อาจจะกล่าวได้ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง
เพื่อเล่าประสบการณ์ เกร็ดในการสร้างธุรกิจ ในเส้นทางของตัวเอง
ฟังมากมายแล้ว แต่ทว่า สุดท้ายคือ เขียนเป็นเล่มออกมาให้อ่านกัน
ว่า เส้นทางมันเป็นเช่นไร
ถึงแม้นว่าขายไม่ดี แต่ทว่า มันคือชีวิตประวัติของคนที่อาจจะกล่าวได้ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 32
บิทคับ จับมือ กลุ่มทองแตง เปิดตัวบริษัทร่วมทุน Bitkub World Tech
วันที่ 16 มกราคม 2565 - 16:47 น.
บิทคับ เตรียมแถลงข่าวร่วมกลุ่มทองแตง เปิดตัว บริษัทร่วมทุน”Bitkub World Tech” วันที่ 17 ม.คนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด เตรียมแถลงข่าวเปิดตัว “Bitkub World Tech” ซึ่งเป็นบริษัทร่วมลงทุนระหว่างบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด และกลุ่มทองแตง ซึ่งจะเปิดตัวในวันจันทร์ที่ 17 มกราคม 2565 นี้ โดยในงานนี้จะมีคุณวิชัย ทองแตง และ คุณ จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภาเข้าร่วมงานด้วย
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด จับมือกับกลุ่มเดอะมอลล์กรุ๊ป จัดตั้ง “บริษัท บิทคับ เอ็ม จำกัด” ขึ้น ในสัดส่วน 50 : 50 เพื่อร่วมกันวางกลยุทธ์การขับเคลื่อนการสร้างระบบนิเวศสินทรัพย์ดิจิทัล ผ่านการผลักดัน BITKUB M SOCIAL ให้เป็นดิจิทัลคอมมิวนิตี้แห่งแรกของไทย และเป็นศูนย์กลางของการแลกเปลี่ยนความรู้การจัดสัมมนาและการประชุมทางด้านเศรษฐกิจดิจิทัล การปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล
วันที่ 16 มกราคม 2565 - 16:47 น.
บิทคับ เตรียมแถลงข่าวร่วมกลุ่มทองแตง เปิดตัว บริษัทร่วมทุน”Bitkub World Tech” วันที่ 17 ม.คนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด เตรียมแถลงข่าวเปิดตัว “Bitkub World Tech” ซึ่งเป็นบริษัทร่วมลงทุนระหว่างบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด และกลุ่มทองแตง ซึ่งจะเปิดตัวในวันจันทร์ที่ 17 มกราคม 2565 นี้ โดยในงานนี้จะมีคุณวิชัย ทองแตง และ คุณ จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภาเข้าร่วมงานด้วย
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด จับมือกับกลุ่มเดอะมอลล์กรุ๊ป จัดตั้ง “บริษัท บิทคับ เอ็ม จำกัด” ขึ้น ในสัดส่วน 50 : 50 เพื่อร่วมกันวางกลยุทธ์การขับเคลื่อนการสร้างระบบนิเวศสินทรัพย์ดิจิทัล ผ่านการผลักดัน BITKUB M SOCIAL ให้เป็นดิจิทัลคอมมิวนิตี้แห่งแรกของไทย และเป็นศูนย์กลางของการแลกเปลี่ยนความรู้การจัดสัมมนาและการประชุมทางด้านเศรษฐกิจดิจิทัล การปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 33
บิทคับ ไบแนนซ์ สงครามที่กำลังจะเกิดขึ้น ในประเทศไทย /โดย ลงทุนแมน
“ฝั่งเขียว” บิทคับ เป็นศูนย์ซื้อขายคริปโท ที่มีมาร์เก็ตแชร์มากสุดในประเทศไทย
มีแบ็กอัปเป็น SCB ที่เมื่อไม่นานมานี้ประกาศว่าจะซื้อหุ้น 51% ในศูนย์ซื้อขายบิทคับ
โดยในตอนนี้ SCB มีผู้ใช้งาน SCB EASY แอปพลิเคชันของธนาคารกว่า 12.4 ล้านบัญชี
“ฝั่งเหลือง” ไบแนนซ์ เป็นศูนย์ซื้อขายคริปโท ที่มีมาร์เก็ตแชร์มากสุดในโลก
มีแบ็กอัปเป็น GULF เจ้าของธุรกิจโรงไฟฟ้า และในระยะหลังเริ่มเข้าไปลงทุนในหลายธุรกิจ
หนึ่งในนั้นก็คือ INTUCH ผู้ถือหุ้นใหญ่ใน ADVANC เจ้าของ AIS มีผู้ใช้บริการในมือ 43.7 ล้านบัญชี
ซึ่งแน่นอนว่าหากไบแนนซ์ เข้ามาเปิดศูนย์ซื้อขายคริปโทในประเทศไทย ก็จะต้องเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดจากบิทคับโดยตรง
แต่รู้หรือไม่ว่า ถึงตอนนี้ไบแนนซ์จะยังไม่ได้รับใบอนุญาตจาก ก.ล.ต. แต่คนไทยหลายคนก็มีการใช้งานไบแนนซ์อยู่แล้ว
ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องล่าสุดที่ไบแนนซ์ได้นำภาษาไทยออกไปจากแพลตฟอร์มเพื่อให้สื่อถึงว่าไบแนนซ์ในเวอร์ชันเดิมไม่ได้มีเจตนาจะทำธุรกิจในไทย เพื่อหลีกเลี่ยงกับการขัดแย้งกับ ก.ล.ต. ไทย และก็ได้มาเฉลยวันนี้ว่าไบแนนซ์จะทำแพลตฟอร์มอีกเวอร์ชันหนึ่งสำหรับคนไทยโดยเฉพาะ นั่นเอง..
แล้วไบแนนซ์จะต้องทำอย่างไร ? ถึงจะได้ใบอนุญาต เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยได้อย่างถูกต้อง
เพราะในโลกคริปโทเคอร์เรนซีเวลาไม่เคยรอใคร ถ้าก้าวช้าไปหนึ่งจังหวะ นั่นอาจหมายถึงการพลาดโอกาสที่จะครองตลาดนั้น
หนึ่งในหนทางที่เป็นทางลัดก็คือ ร่วมมือเป็นพาร์ตเนอร์กับผู้ประกอบการยักษ์ใหญ่ที่มีจุดเด่นด้านการได้รับสัมปทานหรือขอใบอนุญาตในประเทศไทย
รู้หรือไม่ว่า GULF เป็นเจ้าของโรงไฟฟ้ามากมายในประเทศไทย ซึ่งโรงไฟฟ้าเหล่านั้นต้องผ่านขั้นตอนทางกฎหมายที่ต้องขอใบอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากมาย
ซึ่ง ไบแนนซ์ รู้ดีว่าประสบการณ์การทำธุรกิจของ GULF นี่แหละ ที่จะเป็นทางลัดในการได้รับใบอนุญาตจาก ก.ล.ต.
แล้วทำไม ไบแนนซ์ ถึงสนใจตลาดคริปโทเคอร์เรนซีในประเทศไทย ?
คำตอบก็คือ ตอนนี้ตลาดคริปโทเคอร์เรนซีในประเทศไทยสุกงอมจนถึงขีดสุด
ไม่ว่าเราจะขับรถไปทางไหนก็จะเห็นแต่ป้ายโฆษณาเชิญชวนให้เข้าไป “เปลี่ยนอนาคต” ด้วยคริปโทเคอร์เรนซี
เรียกได้ว่าผู้เล่นก่อนหน้าได้ทำงาน “ปูทาง” สร้างการรับรู้ถึงคริปโทเคอร์เรนซี ให้กับคนไทยไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ในขณะเดียวกันในใจของทุกคนก็รู้ดีว่าไบแนนซ์คืออันดับ 1 ของโลกในวงการคริปโทเคอร์เรนซีที่ยังไม่ได้เข้ามาในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
ดังนั้นการเข้ามาของไบแนนซ์ในช่วงนี้จึงถือว่าเป็นช่วงจังหวะเวลาที่เป็นจุดพีกในการแย่งส่วนแบ่งจากเจ้าตลาดเดิมในประเทศไทย
อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ
GULF ยังเป็นเจ้าของทางอ้อมในผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์ในไทยอันดับ 1 อย่าง AIS
ถ้าถามว่า AIS ลูกค้ามีเท่าไร ? คำตอบก็คือ 43.7 ล้านบัญชี ซึ่งก็เรียกได้ว่าจำนวนนี้เกินกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรประเทศไทย..
แต่ทางฝั่งบิทคับเอง ก็ยังได้เปรียบไบแนนซ์อยู่มาก เพราะว่าบิทคับเป็นเจ้าตลาดเดิม ซึ่งครองส่วนแบ่งการตลาดมากถึง 90% และมีสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่อย่าง SCB คอยสนับสนุนอยู่
ซึ่งแน่นอนว่าความเชี่ยวชาญในด้านธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเงินของ SCB ก็น่าจะทำให้สินค้าและบริการใหม่ ๆ เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต สามารถขอใบอนุญาตจาก ก.ล.ต. ได้ไม่ยากเย็นนัก
จากเรื่องทั้งหมด
สรุปง่าย ๆ ก็คือ ผู้เล่นคริปโทเคอร์เรนซีเดิม อาจจะเห็นอุปสรรคใหญ่ก็คือการกำกับดูแลจากภาครัฐ
ดังนั้นวิธีแก้ก็คือ หาพาร์ตเนอร์เป็นบริษัทไทยรายใหญ่ที่เชี่ยวชาญเรื่องนี้เสียเลย..
สำหรับผู้บริโภค
ดีลของ GULF ที่ร่วมมือกับไบแนนซ์ ก็อาจจะกระทบกับผู้ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีพอสมควร เพราะจากเดิมหลายคนเลือกช่องทางไบแนนซ์เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการกำกับดูแลจากภาครัฐ
แต่มาวันนี้ ไบแนนซ์ เลือกที่จะเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยกับ GULF ก็แปลว่าอยากทำธุรกิจอย่างถูกต้องโดยได้รับใบอนุญาต เหตุผลก็อาจเป็นเพราะไบแนนซ์ครองตลาดที่ไม่ถูกกำกับดูแลอยู่แล้ว แต่ไบแนนซ์ก็ไม่อยากสูญเสียตลาดที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลให้คนอื่นไป สุดท้ายก็เลยทำ 2 ตลาดเสียเลย
นั่นหมายความว่า ในอนาคต คนไทยอาจจะต้องเลือกว่าจะเทรดกับไบแนนซ์เวอร์ชันไหน
สิ่งที่อาจเกิดขึ้นก็คือ ไบแนนซ์จะแยกออกมาเป็น 2 เวอร์ชัน นั่นคือ
1. ไบแนนซ์เดิมที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของใคร
2. ไบแนนซ์ไทยแลนด์ที่อยู่ในการกำกับดูแลของ ก.ล.ต. (คล้ายกับ Binance.US ในสหรัฐอเมริกา)
ถึงตรงนี้ เราก็น่าจะสรุปได้ว่าสงครามระหว่าง บิทคับ และ ไบแนนซ์ กำลังจะเริ่มขึ้นเร็ว ๆ นี้ ในรูปแบบการต่อสู้ที่เปลี่ยนแปลงไป
และเรื่องดังกล่าว ไม่ว่าจะฝั่งเขียวหรือฝั่งเหลืองชนะ ก็น่าจะทำให้คนไทย เข้าถึงสินทรัพย์ดิจิทัล ได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก และถึงเราจะไม่อยากเข้าถึงมัน มันก็จะมาอยู่ตรงหน้า ให้เราลองใช้อยู่ดี..
จากข่าวความร่วมมือของ GULF กับไบแนนซ์เมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา ก็เรียกได้ว่าสถานการณ์การแข่งขันในการแย่งส่วนแบ่งการซื้อขายคริปโทในประเทศไทย จะต้องดุเดือดขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคต
“ฝั่งเขียว” บิทคับ เป็นศูนย์ซื้อขายคริปโท ที่มีมาร์เก็ตแชร์มากสุดในประเทศไทย
มีแบ็กอัปเป็น SCB ที่เมื่อไม่นานมานี้ประกาศว่าจะซื้อหุ้น 51% ในศูนย์ซื้อขายบิทคับ
โดยในตอนนี้ SCB มีผู้ใช้งาน SCB EASY แอปพลิเคชันของธนาคารกว่า 12.4 ล้านบัญชี
“ฝั่งเหลือง” ไบแนนซ์ เป็นศูนย์ซื้อขายคริปโท ที่มีมาร์เก็ตแชร์มากสุดในโลก
มีแบ็กอัปเป็น GULF เจ้าของธุรกิจโรงไฟฟ้า และในระยะหลังเริ่มเข้าไปลงทุนในหลายธุรกิจ
หนึ่งในนั้นก็คือ INTUCH ผู้ถือหุ้นใหญ่ใน ADVANC เจ้าของ AIS มีผู้ใช้บริการในมือ 43.7 ล้านบัญชี
ซึ่งแน่นอนว่าหากไบแนนซ์ เข้ามาเปิดศูนย์ซื้อขายคริปโทในประเทศไทย ก็จะต้องเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดจากบิทคับโดยตรง
แต่รู้หรือไม่ว่า ถึงตอนนี้ไบแนนซ์จะยังไม่ได้รับใบอนุญาตจาก ก.ล.ต. แต่คนไทยหลายคนก็มีการใช้งานไบแนนซ์อยู่แล้ว
ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องล่าสุดที่ไบแนนซ์ได้นำภาษาไทยออกไปจากแพลตฟอร์มเพื่อให้สื่อถึงว่าไบแนนซ์ในเวอร์ชันเดิมไม่ได้มีเจตนาจะทำธุรกิจในไทย เพื่อหลีกเลี่ยงกับการขัดแย้งกับ ก.ล.ต. ไทย และก็ได้มาเฉลยวันนี้ว่าไบแนนซ์จะทำแพลตฟอร์มอีกเวอร์ชันหนึ่งสำหรับคนไทยโดยเฉพาะ นั่นเอง..
แล้วไบแนนซ์จะต้องทำอย่างไร ? ถึงจะได้ใบอนุญาต เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยได้อย่างถูกต้อง
เพราะในโลกคริปโทเคอร์เรนซีเวลาไม่เคยรอใคร ถ้าก้าวช้าไปหนึ่งจังหวะ นั่นอาจหมายถึงการพลาดโอกาสที่จะครองตลาดนั้น
หนึ่งในหนทางที่เป็นทางลัดก็คือ ร่วมมือเป็นพาร์ตเนอร์กับผู้ประกอบการยักษ์ใหญ่ที่มีจุดเด่นด้านการได้รับสัมปทานหรือขอใบอนุญาตในประเทศไทย
รู้หรือไม่ว่า GULF เป็นเจ้าของโรงไฟฟ้ามากมายในประเทศไทย ซึ่งโรงไฟฟ้าเหล่านั้นต้องผ่านขั้นตอนทางกฎหมายที่ต้องขอใบอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากมาย
ซึ่ง ไบแนนซ์ รู้ดีว่าประสบการณ์การทำธุรกิจของ GULF นี่แหละ ที่จะเป็นทางลัดในการได้รับใบอนุญาตจาก ก.ล.ต.
แล้วทำไม ไบแนนซ์ ถึงสนใจตลาดคริปโทเคอร์เรนซีในประเทศไทย ?
คำตอบก็คือ ตอนนี้ตลาดคริปโทเคอร์เรนซีในประเทศไทยสุกงอมจนถึงขีดสุด
ไม่ว่าเราจะขับรถไปทางไหนก็จะเห็นแต่ป้ายโฆษณาเชิญชวนให้เข้าไป “เปลี่ยนอนาคต” ด้วยคริปโทเคอร์เรนซี
เรียกได้ว่าผู้เล่นก่อนหน้าได้ทำงาน “ปูทาง” สร้างการรับรู้ถึงคริปโทเคอร์เรนซี ให้กับคนไทยไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ในขณะเดียวกันในใจของทุกคนก็รู้ดีว่าไบแนนซ์คืออันดับ 1 ของโลกในวงการคริปโทเคอร์เรนซีที่ยังไม่ได้เข้ามาในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
ดังนั้นการเข้ามาของไบแนนซ์ในช่วงนี้จึงถือว่าเป็นช่วงจังหวะเวลาที่เป็นจุดพีกในการแย่งส่วนแบ่งจากเจ้าตลาดเดิมในประเทศไทย
อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ
GULF ยังเป็นเจ้าของทางอ้อมในผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์ในไทยอันดับ 1 อย่าง AIS
ถ้าถามว่า AIS ลูกค้ามีเท่าไร ? คำตอบก็คือ 43.7 ล้านบัญชี ซึ่งก็เรียกได้ว่าจำนวนนี้เกินกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรประเทศไทย..
แต่ทางฝั่งบิทคับเอง ก็ยังได้เปรียบไบแนนซ์อยู่มาก เพราะว่าบิทคับเป็นเจ้าตลาดเดิม ซึ่งครองส่วนแบ่งการตลาดมากถึง 90% และมีสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่อย่าง SCB คอยสนับสนุนอยู่
ซึ่งแน่นอนว่าความเชี่ยวชาญในด้านธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเงินของ SCB ก็น่าจะทำให้สินค้าและบริการใหม่ ๆ เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต สามารถขอใบอนุญาตจาก ก.ล.ต. ได้ไม่ยากเย็นนัก
จากเรื่องทั้งหมด
สรุปง่าย ๆ ก็คือ ผู้เล่นคริปโทเคอร์เรนซีเดิม อาจจะเห็นอุปสรรคใหญ่ก็คือการกำกับดูแลจากภาครัฐ
ดังนั้นวิธีแก้ก็คือ หาพาร์ตเนอร์เป็นบริษัทไทยรายใหญ่ที่เชี่ยวชาญเรื่องนี้เสียเลย..
สำหรับผู้บริโภค
ดีลของ GULF ที่ร่วมมือกับไบแนนซ์ ก็อาจจะกระทบกับผู้ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีพอสมควร เพราะจากเดิมหลายคนเลือกช่องทางไบแนนซ์เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการกำกับดูแลจากภาครัฐ
แต่มาวันนี้ ไบแนนซ์ เลือกที่จะเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยกับ GULF ก็แปลว่าอยากทำธุรกิจอย่างถูกต้องโดยได้รับใบอนุญาต เหตุผลก็อาจเป็นเพราะไบแนนซ์ครองตลาดที่ไม่ถูกกำกับดูแลอยู่แล้ว แต่ไบแนนซ์ก็ไม่อยากสูญเสียตลาดที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลให้คนอื่นไป สุดท้ายก็เลยทำ 2 ตลาดเสียเลย
นั่นหมายความว่า ในอนาคต คนไทยอาจจะต้องเลือกว่าจะเทรดกับไบแนนซ์เวอร์ชันไหน
สิ่งที่อาจเกิดขึ้นก็คือ ไบแนนซ์จะแยกออกมาเป็น 2 เวอร์ชัน นั่นคือ
1. ไบแนนซ์เดิมที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของใคร
2. ไบแนนซ์ไทยแลนด์ที่อยู่ในการกำกับดูแลของ ก.ล.ต. (คล้ายกับ Binance.US ในสหรัฐอเมริกา)
ถึงตรงนี้ เราก็น่าจะสรุปได้ว่าสงครามระหว่าง บิทคับ และ ไบแนนซ์ กำลังจะเริ่มขึ้นเร็ว ๆ นี้ ในรูปแบบการต่อสู้ที่เปลี่ยนแปลงไป
และเรื่องดังกล่าว ไม่ว่าจะฝั่งเขียวหรือฝั่งเหลืองชนะ ก็น่าจะทำให้คนไทย เข้าถึงสินทรัพย์ดิจิทัล ได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก และถึงเราจะไม่อยากเข้าถึงมัน มันก็จะมาอยู่ตรงหน้า ให้เราลองใช้อยู่ดี..
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 34
“บิทคับ” จับตา กัลฟ์ผนึกBinance โดดชิงเค้กตลาดเทรดคริปโทฯในไทย
ขาใหญ่ “บิทคับ” เฝ้าจับตาแผนพัฒนาศูนย์เทรดคริปโทฯ หลังกัลฟ์ดอดร่วมมือBinance ยังต้องรอชัดเจนก่อน ไม่หวั่นย้ำตลาดคริปโทฯมีโอกาสโต จากไทยกำลังก้าวสู่ยุคไฟแนนซ์3.0 แต่แนวทางกำกับต้องไม่เป็นอุปสรรค เสนอเลื่อนเก็บภาษีคริปโทฯ 2 ปี
หลังจาก บมจ. กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ หรือ GULF ให้บริษัทลูก กัลฟ์ อินโนวา จับมือ Binance เตรียมศึกษาและจัดทำแผนพัฒนาศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในไทย โดยชี้แจ้งผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในช่วงเย็นวันนี้(17ม.ค.)
ขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกัน บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือ บิทคับ อยู่ระหว่างแถลงข่าวลงนามความร่วมมือ (MOU) กับกลุ่มทองแตง จับมือเป็นพันธมิตรจัดตั้ง "บริษัท บิทคับ เวิลด์เทค จำกัด" เป็นความร่วมมือพัฒนาการศึกษา โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างให้เด็กไทย คนไทยมีความรู้มีทักษะ ตามเป้าหมาย“สร้างโอกาส สร้างอาชีพ สู่โลกอนาคต”
โดยภายหลังการแถลงข่าวเสร็จสิ้น นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือ บิทคับ กล่าวถึงกรณีความร่วมมือระหว่าง ทางกัลฟ์และBinance ว่า ขณะนี้เห็นว่ายังเป็นเพียงร่วมมือ เพื่อศึกษาก่อน เราก็ต้องรอดูแผนการจัดตั้งให้ชัดเจนว่าจะทำศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างไร หากมีความชัดเจนแล้ว เราถึงจะสามารถประเมินได้ว่าจะส่งผลอย่างไรบ้าง
แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับแนวโน้มการเติบโตของตลาดคริปโทฯในไทย เรา เชื่อว่า ในปีนี้ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ทั้งจากตลาดNFT Defi Gamefi ที่จะเห็นตลาดขยายตัวมากขึ้นจากธุรกิจเรียลเซ็กเตอร์ที่เข้ามาเชื่อมโยงในธุรกิจใหม่นี้
อีกทั้งการเข้ามาปี2565 เป็นจุดเริ่มทุนของเว็บ3.0 เป็นการมาถึงของ บล็อกเชน, internet of thing, AI, VR และMetaverse เป็นต้น เข้ามาปฏิวัติทำให้เศรษฐกิจโลกพัฒนาสู่ Digital economy ซึ่งผู้คนไม่จำเป็นต้องจับต้องสินทรัพย์เหล่านั้น
“ ตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมาโลกเปลี่ยนแปลงเร็ว และโควิดเป็นตัวเร่งหลายวงการ เศรษฐกิจที่ดังเดิมยุคเก่าได้รับผลกระทบเยอะ แต่มีเศรษฐกิจยุคใหม่ หรือ new economy ที่เติบโตมหาศาล”
ขณะเดียวมองว่าสิ่งที่จะเป็นอุปสรรคต้องการเติบโตในอนาคต คือการกำกับดูแล ซึ่งต้องพิจารณาให้รอบด้านสอดรับกับสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้น
อย่างเช่น การเก็บภาษีคริปโทฯ ซึ่งปัจจุบันทกฎหมายที่ใช้นั้นยังมีความไม่ชัดเจน ส่วนตัวเสนอให้มีการเลื่อนการจัดเก็บภาษีคริปโทฯไปก่อน 2 ปี เพื่อที่จะดำเนินการข้อกฎหมายต่างๆให้เป็นปัจจุบันมากขึ้นก่อน
ขาใหญ่ “บิทคับ” เฝ้าจับตาแผนพัฒนาศูนย์เทรดคริปโทฯ หลังกัลฟ์ดอดร่วมมือBinance ยังต้องรอชัดเจนก่อน ไม่หวั่นย้ำตลาดคริปโทฯมีโอกาสโต จากไทยกำลังก้าวสู่ยุคไฟแนนซ์3.0 แต่แนวทางกำกับต้องไม่เป็นอุปสรรค เสนอเลื่อนเก็บภาษีคริปโทฯ 2 ปี
หลังจาก บมจ. กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ หรือ GULF ให้บริษัทลูก กัลฟ์ อินโนวา จับมือ Binance เตรียมศึกษาและจัดทำแผนพัฒนาศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในไทย โดยชี้แจ้งผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในช่วงเย็นวันนี้(17ม.ค.)
ขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกัน บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือ บิทคับ อยู่ระหว่างแถลงข่าวลงนามความร่วมมือ (MOU) กับกลุ่มทองแตง จับมือเป็นพันธมิตรจัดตั้ง "บริษัท บิทคับ เวิลด์เทค จำกัด" เป็นความร่วมมือพัฒนาการศึกษา โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างให้เด็กไทย คนไทยมีความรู้มีทักษะ ตามเป้าหมาย“สร้างโอกาส สร้างอาชีพ สู่โลกอนาคต”
โดยภายหลังการแถลงข่าวเสร็จสิ้น นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือ บิทคับ กล่าวถึงกรณีความร่วมมือระหว่าง ทางกัลฟ์และBinance ว่า ขณะนี้เห็นว่ายังเป็นเพียงร่วมมือ เพื่อศึกษาก่อน เราก็ต้องรอดูแผนการจัดตั้งให้ชัดเจนว่าจะทำศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างไร หากมีความชัดเจนแล้ว เราถึงจะสามารถประเมินได้ว่าจะส่งผลอย่างไรบ้าง
แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับแนวโน้มการเติบโตของตลาดคริปโทฯในไทย เรา เชื่อว่า ในปีนี้ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ทั้งจากตลาดNFT Defi Gamefi ที่จะเห็นตลาดขยายตัวมากขึ้นจากธุรกิจเรียลเซ็กเตอร์ที่เข้ามาเชื่อมโยงในธุรกิจใหม่นี้
อีกทั้งการเข้ามาปี2565 เป็นจุดเริ่มทุนของเว็บ3.0 เป็นการมาถึงของ บล็อกเชน, internet of thing, AI, VR และMetaverse เป็นต้น เข้ามาปฏิวัติทำให้เศรษฐกิจโลกพัฒนาสู่ Digital economy ซึ่งผู้คนไม่จำเป็นต้องจับต้องสินทรัพย์เหล่านั้น
“ ตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมาโลกเปลี่ยนแปลงเร็ว และโควิดเป็นตัวเร่งหลายวงการ เศรษฐกิจที่ดังเดิมยุคเก่าได้รับผลกระทบเยอะ แต่มีเศรษฐกิจยุคใหม่ หรือ new economy ที่เติบโตมหาศาล”
ขณะเดียวมองว่าสิ่งที่จะเป็นอุปสรรคต้องการเติบโตในอนาคต คือการกำกับดูแล ซึ่งต้องพิจารณาให้รอบด้านสอดรับกับสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้น
อย่างเช่น การเก็บภาษีคริปโทฯ ซึ่งปัจจุบันทกฎหมายที่ใช้นั้นยังมีความไม่ชัดเจน ส่วนตัวเสนอให้มีการเลื่อนการจัดเก็บภาษีคริปโทฯไปก่อน 2 ปี เพื่อที่จะดำเนินการข้อกฎหมายต่างๆให้เป็นปัจจุบันมากขึ้นก่อน
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 35
Bitkub ผนึก วิชัย ทองแตง ผุดบริษัทอัพสกิลคนรับเทรนด์โลก
วันที่ 17 มกราคม 2565 - 18:53 น.
Bitkub ผนึก วิชัย ทองแตง ตั้งบริษัทร่วมทุน “Bitkub World Tech” ลุยปั้นคนดิจิทัลรับเทรนด์โลก
วันที่ 17 มกราคม 2565 นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทได้ร่วมกับกลุ่มทองแตง ตั้งบริษัทร่วมทุน ภายใต้ชื่อ “Bitkub World Tech” ขึ้น
โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นสัดส่วน 50% เท่ากัน เพื่อสร้างบุคลากรด้านบล็อกเชนให้เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเตรียมจะเริ่มต้นในวันที่ 20 มกราคมนี้ที่แรก กับ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานีและจะขยายต่อไปยังสถาบันการศึกษาจังหวัดอื่น ๆ ต่อไป
อย่างไรก็ตาม บริษัทตั้งเป้าหมายว่า “Bitkub World Tech” นี้จะช่วยสร้างบุคลากรด้านบล็อกเชนที่มีศักยภาพให้แก่บิทคับได้ โดยปีนี้มีแผนจะขยายบุคลากรอีก 500 คน จากปัจจุบันที่มีทีมงาน 1,480 คน
“หลักสูตรของ Bitkub World Tech จะให้ความรู้ด้านบล็อกเชนเป็นหลัก พร้อมปรับหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่นสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดต่อเนื่อง ซึ่งจะแตกต่างจาก บิทคับ อะคาเดมีที่จะให้ความรู้เรื่องการเทรดคริปโทเคอร์เรนซีเป็นหลัก”
บิทคับ ผนึก วิชัย ทองแตง
นายวิชัย ทองแตง ผู้บริหารกลุ่มทองแตง กล่าวว่า การเข้ามาลงทุนพัฒนาเรื่องบุคลากรครั้งนี้ เพราะต้องการสร้างสะพานที่เชื่อมระหว่างคนยุคเก่าและคนยุคใหม่ เข้าด้วยกัน เพื่อสร้างโอกาสในอนาคตร่วมกัน
“ที่ผ่านมาเราได้ทำความเข้าใจและศึกษา บิทคับ มาพอสมควร ซึ่งโครงการนี้จะขยายความร่วมมือไปทุกหย่อมหญ้า เพื่อจะสร้างสรรค์สิ่งที่ดี” นายวิชัยกล่าว
วันที่ 17 มกราคม 2565 - 18:53 น.
Bitkub ผนึก วิชัย ทองแตง ตั้งบริษัทร่วมทุน “Bitkub World Tech” ลุยปั้นคนดิจิทัลรับเทรนด์โลก
วันที่ 17 มกราคม 2565 นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทได้ร่วมกับกลุ่มทองแตง ตั้งบริษัทร่วมทุน ภายใต้ชื่อ “Bitkub World Tech” ขึ้น
โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นสัดส่วน 50% เท่ากัน เพื่อสร้างบุคลากรด้านบล็อกเชนให้เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเตรียมจะเริ่มต้นในวันที่ 20 มกราคมนี้ที่แรก กับ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานีและจะขยายต่อไปยังสถาบันการศึกษาจังหวัดอื่น ๆ ต่อไป
อย่างไรก็ตาม บริษัทตั้งเป้าหมายว่า “Bitkub World Tech” นี้จะช่วยสร้างบุคลากรด้านบล็อกเชนที่มีศักยภาพให้แก่บิทคับได้ โดยปีนี้มีแผนจะขยายบุคลากรอีก 500 คน จากปัจจุบันที่มีทีมงาน 1,480 คน
“หลักสูตรของ Bitkub World Tech จะให้ความรู้ด้านบล็อกเชนเป็นหลัก พร้อมปรับหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่นสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดต่อเนื่อง ซึ่งจะแตกต่างจาก บิทคับ อะคาเดมีที่จะให้ความรู้เรื่องการเทรดคริปโทเคอร์เรนซีเป็นหลัก”
บิทคับ ผนึก วิชัย ทองแตง
นายวิชัย ทองแตง ผู้บริหารกลุ่มทองแตง กล่าวว่า การเข้ามาลงทุนพัฒนาเรื่องบุคลากรครั้งนี้ เพราะต้องการสร้างสะพานที่เชื่อมระหว่างคนยุคเก่าและคนยุคใหม่ เข้าด้วยกัน เพื่อสร้างโอกาสในอนาคตร่วมกัน
“ที่ผ่านมาเราได้ทำความเข้าใจและศึกษา บิทคับ มาพอสมควร ซึ่งโครงการนี้จะขยายความร่วมมือไปทุกหย่อมหญ้า เพื่อจะสร้างสรรค์สิ่งที่ดี” นายวิชัยกล่าว
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 36
จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา วางรากฐานเศรษฐกิจไทย ก้าวสู่โลกอนาคตยุคที่ 3
22 ม.ค. 2565 เวลา 15:00 น.
โลกธุรกิจที่กำลังถูก Disrupt อย่างหนักจากการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนลยี และสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสุดพลิกพันจากโรคระบาดโควิด-19 การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง คือ หนึ่งในหนทางที่จะพาทุกคนปรับตัว พาธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับโลกธุรกิจในยุคใหม่นี้
บนเวทีงานสัมมนาออนไลน์ Chula Metaverse 2022:Meeting Business Masters in the Metaverse Era จัดโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
"จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา" ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือ บิทคับ กล่าวในหัวข้อ มองไปข้างหน้ากับเทคโนโลยีแห่งอนาคต ทั้ง AI Blockchain และ Metaverse กับบทบาทสำคัญทางธุรกิจของเทคโนโลยีเหล่านี้ว่า ในวันนี้โลกอนาคตกำลังยุคที่ 3 ในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือเรียกว่า Web 3.0 คือ การพัฒนาบนหลายๆ เทคโนโลยีแห่งอนาคตร่วมกัน ทั้ง AI Blockchain BigData AR VR Metaverse NFT Cryptocurrency และ IoT
“ตอนนี้เราเริ่มเห็นประโยชน์การเก็บเดต้าโดยใช้ระบบเอไอมาประมวลผล และถูกจัดเก็บในระบบดีเซ็นทรัลไลซ์ ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน ทำให้สามารถนำเดต้ามาใช้ประโยชน์และตรวจสอบร่วมกันได้ ซึ่งจะไม่ใช่แต่ภาพและเสี่ยง แต่หลังจากนี้จะเป็น โฮโลแกรม เช่น AR หรือ VR มองว่า อาจจะเร็วกว่า 5 ปีข้างหน้า น่าจะเห็นทุกคนมีอวาต้าของตนเองที่เก็บ DNA ในบล็อกเชน นี่คือ Web 3.0 ที่ไทย ต้องปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงในอีก 10 ปีข้างหน้า และการพัฒนาจะยิ่งรวดกว่า 100 ปีที่ผ่านมา”
ตลอด 2-3 ปีที่ผ่านโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และโควิด -19 เป็นตัวเร่งในหลายวงการ เศรษฐกิจยุคดังเดิมยุคเก่าได้รับผลกระทบ แต่เศรษฐกิจยุคใหม่ยังเติบโตได้มหาศาล และที่ผ่านมาไทยพลาดมาแล้วในยุคWeb. 1.0 และ Web 2.0 มาแล้ว เพราะกลัวที่จะเปลี่ยนแปลง
"จิรายุส" กล่าวว่า แต่สำหรับ บิทคับ เห็นโลกอนาคตที่เป็นดิจิทัลอีคอนอมี จึงต้องมีกลุ่มบริษัทที่เกี่ยวข้องมาพัฒนาวางโครงสร้างพื้นฐานของโลกดิจิทัล เพื่อสร้างธุรกิจอีกมากมายบนโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ ให้เกิดการจ้างงานและดึงจีดีพีไทยขึ้นอีกมหาศาล
"บิทคับ" จึงพยายามพัฒนาประเทศไทยบนเทคโนโลยี เพื่อวางรากฐานของโลกอนาคตในยุค 3.0 ขึ้นมา เช่น ดีเซ็นทรัลไลซ์แฟลตฟอร์ม ปัจจุบันถือว่าสำเร็จแล้ว และกำลังพัฒนาไฟแนนซ์เชียลแฟลตฟอร์ม การโอนเงินบนคริปโทเคอเรนซีและบล็อกเชน ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวงการการเงินได้ไทย
“เรามุ่งพัฒนาโคงสร้างพื้นฐานสิ่งเหล่านี้ที่เป็นของคนไทย ก่อนที่ต่างชาติจะมาเป็นเจ้าของและให้บริการคนไทย เงินก็จะไหลออกนอกประเทศ ภาษีก็ไม่ต้องจ่าย เราพยายามวางเป้าหมายในโลกของวางเป้าหมายเป็น National Champions ของคนไทยบ้าง เพื่อไปบุกประเทศอื่นๆ และนำเงินเข้าประเทศ เหมือนแกร็บของ มาเลเซีย โกเจ็กของอินโดนีเซีย และแอปเปิ้ลของสหรัฐ”
ขณะที่ NFT และ คริปโทเคอเรนซี่ ภาคธุรกิจสามารถนำมาประยุกต์ใช้พัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ได้
"จิรายุส" กล่าวว่า หลังจากปีนี้เป็นต้นไป NFT กำลังเติบโตขึ้นได้เหมือน บิทคอยน์และอีธีเลียม ที่เติบโตขึ้นมาในเมื่อ 8-10 ปีที่ผ่านมา และหาก เมตาเวิร์มา สร้างโมเดลธุรกิจใหม่แบบ 360 องศา เชื่อกันระหว่าง 3 โลก แก่ โลกยุคเดิม โลกอีคอมเมิร์สดิจิทัล โลกเมตาเวิร์ส จะมีแคมเปญการตลาดมากขึ้น และจะเปลี่ยนโมเดลธุรกิจใหมาได้ ตอนนี้เทคโนโลยีพร้อมแล้ว อยู่ที่ว่า เราจะมีจิตนาการให้ไปทางไหน
NFT คือ บล็อกเชนที่ทำให้สิ่งที่อยู่ตัวรอบตัว สามารถมีมูลค่าขึ้นมาได้ ไม่ว่าจะเป็น ประสบการณ์ที่หาซื้อไม่ได้ แบรนด์ดิ้ง ศิลปะ และทุกคนสามารถแลกเปลี่ยนสิทธิได้ จะเข้ามาทำให้เกิดโมเดลธุรกิจใหม่ ปฏิบัติในหลายวงการ เช่น เล่นเกม เรียน ออกกำลังกาย ฟังเพลง ดูโฆษณา แล้วได้เงิน เพื่อที่มาขายเหรียญต่อทำกำไร ให้คนที่มีเงินแต่ไม่มีเวลา จะสร้างบิซิเนสโมเดลใหม่ๆ ที่เรียกว่า “คริปโทอีคอนอมี”
ยกตัวอย่างเช่น บิทคับ ร่วมกับ มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ สร้าง NFT ยกระดับเวทีนางงาม ทำให้ตอนนี้มิสยูนิเวิร์ส โลกและฟิลิปปินส์ติดต่อมาให้ทำ NFT เหมือนในไทย ดังนั้น NFT สามารถเปลี่ยนต้นทุนให้เป็นรายได้ เช่น เอาการ์ดมาแลกรีดีม เป็นโมเมนต์ต่างๆ ได้บัตรจับมือหรือทานอาหาร เพื่อกระตุ้นยอดขาย จากสิ่งที่เงินซื้อไม่ได้
ซีอีโอต้องเปลี่ยนรับโอกาส ในโลกอนาคตยุคที่ 3
"จิรายุส" แนะว่า ภาคธุรกิจ ควรปรับตัวในการเปลี่ยนแปลงอีก 10 ปีข้างหน้า เมื่อการเปลี่ยนแปลงยิ่งเร็วและแรง โอกาสจะยิ่งมาก แต่ อาจเป็นความเสี่ยงได้สำหรับซีอีโอที่ยึดติดในโลกยุคเดิม ก็จะเกิดการเปลี่ยนถ่ายของโอกาสตามมา
ดังนั้น ซีอีโอในโลกยุคใหม่ ยังคงมีหน้าที่มองเห็นโลกอนาคต คือ เห็นว่าเงินเปลี่ยนไปในกระเป๋าไหน รู้ว่ากระแสลมกำลังไปทางด้านไหนก็ไปทางด้านนั้น ไม่จำเป็นต้องสวนกระแสลมที่เร็วและแรง
สำหรับคนในองค์กร ต้องมีคุณสมบัติ 3 สิ่ง คือ business expertise technology expertise Creative expertise เมื่อ3 คุณสมบัติรวมกัน คือสิ่งที่กูเกิลเรียกว่า "Smart Creative" ซึ่งซีอีโอต้องเอาคนเก่งที่สุดในองค์กรไปหาโอกาสใหม่ สร้าง S Curve ใหม่ๆ ตลอดเวลา อย่าเอาคนเก่งๆ มาแก้ไขปัญหาในองค์กร และอย่าให้องค์กรแก่ตามลูกค้า
และย้ำว่าสำคัญสำหรับโลกอนาคตอย่างมาก เป็นการพัฒนา Skillset ที่ไม่ใช่ IQ หรือ EQ แต่เป็น AQ คือความสามารถUnlearn สิ่งเก่า ที่เคยประสบความสำเร็จในอดต และ Relearn พร้อมเรียนรู่สิ่งใหม่ ปรับตัวและความเปลี่ยนแปลงได้ดี
22 ม.ค. 2565 เวลา 15:00 น.
โลกธุรกิจที่กำลังถูก Disrupt อย่างหนักจากการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนลยี และสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสุดพลิกพันจากโรคระบาดโควิด-19 การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง คือ หนึ่งในหนทางที่จะพาทุกคนปรับตัว พาธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับโลกธุรกิจในยุคใหม่นี้
บนเวทีงานสัมมนาออนไลน์ Chula Metaverse 2022:Meeting Business Masters in the Metaverse Era จัดโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
"จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา" ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือ บิทคับ กล่าวในหัวข้อ มองไปข้างหน้ากับเทคโนโลยีแห่งอนาคต ทั้ง AI Blockchain และ Metaverse กับบทบาทสำคัญทางธุรกิจของเทคโนโลยีเหล่านี้ว่า ในวันนี้โลกอนาคตกำลังยุคที่ 3 ในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือเรียกว่า Web 3.0 คือ การพัฒนาบนหลายๆ เทคโนโลยีแห่งอนาคตร่วมกัน ทั้ง AI Blockchain BigData AR VR Metaverse NFT Cryptocurrency และ IoT
“ตอนนี้เราเริ่มเห็นประโยชน์การเก็บเดต้าโดยใช้ระบบเอไอมาประมวลผล และถูกจัดเก็บในระบบดีเซ็นทรัลไลซ์ ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน ทำให้สามารถนำเดต้ามาใช้ประโยชน์และตรวจสอบร่วมกันได้ ซึ่งจะไม่ใช่แต่ภาพและเสี่ยง แต่หลังจากนี้จะเป็น โฮโลแกรม เช่น AR หรือ VR มองว่า อาจจะเร็วกว่า 5 ปีข้างหน้า น่าจะเห็นทุกคนมีอวาต้าของตนเองที่เก็บ DNA ในบล็อกเชน นี่คือ Web 3.0 ที่ไทย ต้องปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงในอีก 10 ปีข้างหน้า และการพัฒนาจะยิ่งรวดกว่า 100 ปีที่ผ่านมา”
ตลอด 2-3 ปีที่ผ่านโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และโควิด -19 เป็นตัวเร่งในหลายวงการ เศรษฐกิจยุคดังเดิมยุคเก่าได้รับผลกระทบ แต่เศรษฐกิจยุคใหม่ยังเติบโตได้มหาศาล และที่ผ่านมาไทยพลาดมาแล้วในยุคWeb. 1.0 และ Web 2.0 มาแล้ว เพราะกลัวที่จะเปลี่ยนแปลง
"จิรายุส" กล่าวว่า แต่สำหรับ บิทคับ เห็นโลกอนาคตที่เป็นดิจิทัลอีคอนอมี จึงต้องมีกลุ่มบริษัทที่เกี่ยวข้องมาพัฒนาวางโครงสร้างพื้นฐานของโลกดิจิทัล เพื่อสร้างธุรกิจอีกมากมายบนโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ ให้เกิดการจ้างงานและดึงจีดีพีไทยขึ้นอีกมหาศาล
"บิทคับ" จึงพยายามพัฒนาประเทศไทยบนเทคโนโลยี เพื่อวางรากฐานของโลกอนาคตในยุค 3.0 ขึ้นมา เช่น ดีเซ็นทรัลไลซ์แฟลตฟอร์ม ปัจจุบันถือว่าสำเร็จแล้ว และกำลังพัฒนาไฟแนนซ์เชียลแฟลตฟอร์ม การโอนเงินบนคริปโทเคอเรนซีและบล็อกเชน ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวงการการเงินได้ไทย
“เรามุ่งพัฒนาโคงสร้างพื้นฐานสิ่งเหล่านี้ที่เป็นของคนไทย ก่อนที่ต่างชาติจะมาเป็นเจ้าของและให้บริการคนไทย เงินก็จะไหลออกนอกประเทศ ภาษีก็ไม่ต้องจ่าย เราพยายามวางเป้าหมายในโลกของวางเป้าหมายเป็น National Champions ของคนไทยบ้าง เพื่อไปบุกประเทศอื่นๆ และนำเงินเข้าประเทศ เหมือนแกร็บของ มาเลเซีย โกเจ็กของอินโดนีเซีย และแอปเปิ้ลของสหรัฐ”
ขณะที่ NFT และ คริปโทเคอเรนซี่ ภาคธุรกิจสามารถนำมาประยุกต์ใช้พัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ได้
"จิรายุส" กล่าวว่า หลังจากปีนี้เป็นต้นไป NFT กำลังเติบโตขึ้นได้เหมือน บิทคอยน์และอีธีเลียม ที่เติบโตขึ้นมาในเมื่อ 8-10 ปีที่ผ่านมา และหาก เมตาเวิร์มา สร้างโมเดลธุรกิจใหม่แบบ 360 องศา เชื่อกันระหว่าง 3 โลก แก่ โลกยุคเดิม โลกอีคอมเมิร์สดิจิทัล โลกเมตาเวิร์ส จะมีแคมเปญการตลาดมากขึ้น และจะเปลี่ยนโมเดลธุรกิจใหมาได้ ตอนนี้เทคโนโลยีพร้อมแล้ว อยู่ที่ว่า เราจะมีจิตนาการให้ไปทางไหน
NFT คือ บล็อกเชนที่ทำให้สิ่งที่อยู่ตัวรอบตัว สามารถมีมูลค่าขึ้นมาได้ ไม่ว่าจะเป็น ประสบการณ์ที่หาซื้อไม่ได้ แบรนด์ดิ้ง ศิลปะ และทุกคนสามารถแลกเปลี่ยนสิทธิได้ จะเข้ามาทำให้เกิดโมเดลธุรกิจใหม่ ปฏิบัติในหลายวงการ เช่น เล่นเกม เรียน ออกกำลังกาย ฟังเพลง ดูโฆษณา แล้วได้เงิน เพื่อที่มาขายเหรียญต่อทำกำไร ให้คนที่มีเงินแต่ไม่มีเวลา จะสร้างบิซิเนสโมเดลใหม่ๆ ที่เรียกว่า “คริปโทอีคอนอมี”
ยกตัวอย่างเช่น บิทคับ ร่วมกับ มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ สร้าง NFT ยกระดับเวทีนางงาม ทำให้ตอนนี้มิสยูนิเวิร์ส โลกและฟิลิปปินส์ติดต่อมาให้ทำ NFT เหมือนในไทย ดังนั้น NFT สามารถเปลี่ยนต้นทุนให้เป็นรายได้ เช่น เอาการ์ดมาแลกรีดีม เป็นโมเมนต์ต่างๆ ได้บัตรจับมือหรือทานอาหาร เพื่อกระตุ้นยอดขาย จากสิ่งที่เงินซื้อไม่ได้
ซีอีโอต้องเปลี่ยนรับโอกาส ในโลกอนาคตยุคที่ 3
"จิรายุส" แนะว่า ภาคธุรกิจ ควรปรับตัวในการเปลี่ยนแปลงอีก 10 ปีข้างหน้า เมื่อการเปลี่ยนแปลงยิ่งเร็วและแรง โอกาสจะยิ่งมาก แต่ อาจเป็นความเสี่ยงได้สำหรับซีอีโอที่ยึดติดในโลกยุคเดิม ก็จะเกิดการเปลี่ยนถ่ายของโอกาสตามมา
ดังนั้น ซีอีโอในโลกยุคใหม่ ยังคงมีหน้าที่มองเห็นโลกอนาคต คือ เห็นว่าเงินเปลี่ยนไปในกระเป๋าไหน รู้ว่ากระแสลมกำลังไปทางด้านไหนก็ไปทางด้านนั้น ไม่จำเป็นต้องสวนกระแสลมที่เร็วและแรง
สำหรับคนในองค์กร ต้องมีคุณสมบัติ 3 สิ่ง คือ business expertise technology expertise Creative expertise เมื่อ3 คุณสมบัติรวมกัน คือสิ่งที่กูเกิลเรียกว่า "Smart Creative" ซึ่งซีอีโอต้องเอาคนเก่งที่สุดในองค์กรไปหาโอกาสใหม่ สร้าง S Curve ใหม่ๆ ตลอดเวลา อย่าเอาคนเก่งๆ มาแก้ไขปัญหาในองค์กร และอย่าให้องค์กรแก่ตามลูกค้า
และย้ำว่าสำคัญสำหรับโลกอนาคตอย่างมาก เป็นการพัฒนา Skillset ที่ไม่ใช่ IQ หรือ EQ แต่เป็น AQ คือความสามารถUnlearn สิ่งเก่า ที่เคยประสบความสำเร็จในอดต และ Relearn พร้อมเรียนรู่สิ่งใหม่ ปรับตัวและความเปลี่ยนแปลงได้ดี
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 37
ดีล SCBX ฮุบ Bitkub เริ่มเสี่ยง… ได้ไม่คุ้มเสีย?
By Admin -March 8, 2022
นับถอยหลัง Bitkub ขึ้นยานแม่ SCBX เสียงท้วงติงเริ่มปะทุ ได้คุ้มเสียหรือไม่ จะฝ่าด่านแบงก์ชาติอย่างไร เหตุมูลค่าดีลสูงจัด ใช่ Fair Value หรือไม่ ท่ามกลางความเสี่ยงของตลาดซิ่ง ปัจจัยแวดล้อมเปลี่ยนเร็ว คู่แข่งใหม่-เก่า Binance จ่อเขย่าขวัญ ขณะที่ตัวเลขรายได้กับวอลุ่มซื้อขายดูค้านสายตา โดยเฉพาะจ้าง Market Maker เทรดฟรีไม่มีพูดถึง และบททดสอบการโดนแฮกที่บิทคับยังต้องพิสูจน์ ปลอดภัยจริงหรือ? ขณะที่วิถีสตาร์ทอัพ “ท็อป-จิรายุส” Exit พร้อมเงินก้อนโต 1.78 หมื่นล้าน
ช่วงนี้กลุ่มไทยพาณิชย์อยู่ระหว่างปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และโครงสร้างการถือหุ้น ตามยุทธศาสตร์องค์กรที่ต้องการสร้างการเติบโตและมูลค่าในระยะยาวตามบริบทของโลกการเงินที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพิ่งประกาศเริ่มกระบวนการแลกหุ้นระหว่างธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) สู่บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) (SCBX) เพื่อเดินเครื่องนำยานแม่ SCBX เข้าตลาดหลักทรัพย์แทนที่ SCB
ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนของ SCBX ที่มุ่งมั่นจะไม่ใช่แค่ทำธุรกรรมธนาคารแบบดั้งเดิมเริ่มมาตั้งแต่ปีที่แล้ว และหนึ่งในการปรับโครงสร้างธุรกิจการเงินที่ประกาศเมื่อวันที่ 2 พ.ย. สร้างความสั่นสะเทือนวงการ กล่าวกันว่าเป็น “ซูเปอร์ดีล” หรือ “เซอร์ไพรส์ดีล” คือ การจะซื้อหุ้น 51% จากบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด หรือ Bitkub สตาร์ทอัพเจ้าของตลาดซื้อขายคริปโตเคอร์เรนซี ที่เติบโตพรวดพราดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่าการลงทุนสูงกว่า 17,850 ล้านบาท
ความเคลื่อนไหวในครั้งนั้นมีการวิเคราะห์กันว่าทั้ง SCBX และบิทคับ จะ WIN-WIN ด้วยกันทั้งคู่ ซึ่งราคาหุ้นของ SCB และ Kubcoin เหรียญของบิทคับเองราคาพุ่งไปกว่า 200% จากการแห่แหนเก็งกำไรแบบเย้ยฟ้าท้าดิน ท่ามกลางความประหลาดใจระคนสงสัยว่า พื้นฐานที่แท้จริงอยู่ตรงไหน มิหนำซ้ำเวลานั้นว่าไปแล้ว ดีลยังไม่จบไปเอาความมั่นใจมาจากไหนกัน? งานนั้นใครลาก ใครปั่น และใครได้ ใครเสีย? ล้วนแล้วแต่เป็นพฤติกรรมที่ชวนให้น่าตรวจสอบ (โปรดติดตามอ่านรายละเอียดได้ในตอนต่อไป)
เนื่องเพราะดีลนี้ตามขั้นตอนทำธุรกรรมการซื้อขายหุ้นจะอยู่ภายใต้การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยมีเงื่อนไขว่า ผลการสอบทานธุรกิจ (Due Diligence) ของ Bitkub ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญต้องออกมาเป็นที่น่าพอใจ หรือเรียกว่า “ตรงปก” และคู่สัญญาได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุในสํญญาซื้อขายหุ้นครบถ้วน
ยังไม่ทันปัง ฤาจะพังเสียก่อน?
มีรายงานว่า กลุ่มไทยพาณิชย์ ได้ดำเนินการสอบทานธุรกิจ (Due Diligence) และยื่นคำขอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยในการลงทุนใน Bitkub เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาแล้ว แต่ยังไม่มีใครยืนยันรายละเอียดว่า หลังจากทำดีลดิลิเจนท์แล้วมีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ หรือมูลค่าการซื้อขายระหว่างกันหรือไม่ ซึ่งหมายความว่า ขณะนี้ซูเปอร์ดีลระหว่าง SCBX กับ Bitkub อยู่ในการพิจารณาของแบงก์ชาติ
ผลการพิจารณาของแบงก์ชาติจะออกหัวหรือก้อยยังต้องติดตามกัน แต่จากสัญญาณที่แบงก์ชาติในฐานะผู้กำกับดูแลตลาดเงินดูเหมือนจะมีความเข้มข้นในการปกป้องความเสี่ยง เน้นมาตรการปลอดภัยไว้ก่อน หลายฝ่ายเชื่อว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะฝ่าด่านธปท.
ยิ่งในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน ผลกระทบจากภัยพิบัติโควิดระบาด มาจนถึงวิกฤตสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้สินทรัพย์ดิจิทัลมีความผัวผวนอย่างหนัก ตลาดคริปโตเคอร์เรนซีอยู่ในภาวะดิ่งเหวที่มองไม่เห็นก้นเหว ซึ่งหวั่นวิตกกันว่า ตลาดเทรดคริปโตฯ ที่ได้ชื่อว่า “ตลาดซิ่ง” ขึ้น-ลง ไม่มีเพดาน ไม่ต่างกับรถไฟเหาะตีลังกา จะเข้าสู่วงจร ‘ภาวะหมี’ แตกต่างจาก ‘ภาวะกระทิง’ ช่วงเฟื่องฟูปี 2564 ที่ SCBX จะเข้าซื้อ Bitkub เหมือนที่เคยเกิดขึ้นช่วง 3-4 ปีก่อนนี้ทำให้มูลค่าหดหายไปมหาศาล
กล่าวได้ว่า ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อคริปโตฯ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือนหลังจากที่ SCB ประกาศจะซื้อหุ้นบิทคับดังกล่าว มิพักต้องสงสัยว่า เวลานี้มูลค่าของตลาดคริปโตฯ ของบิทคับจะหายไปแค่ไหน ขณะที่นักลงทุนขยาดที่จะลงทุนเพิ่ม ติดอยู่บนดอยสูง เกิดความเสียหายโดยที่การฟื้นตัวยังมองไม่เห็น ย่อมส่งผลต่อ รายได้จากค่าต๋งในการเทรดและกำไรของบิทคับโดยตรง
ประกอบกับความเข้มงวดของแบงก์ชาติที่ผ่านมา ตีกรอบไว้ชัดเจนเป็นกฎเหล็กไว้ว่า ถึงแม้ธนาคารพาณิชย์จะปรับโครงสร้างธุรกิจการเงินอย่างไร แบงก์ต่างๆ ยังมีหน้าที่รับเงินฝากจากประชาชน เพราะฉะนั้นการดำเนินการใดๆ ที่จะนำความเสี่ยงมาสู่แบงก์ ธปท.จะไม่ยอมให้เกิดขึ้น พูดง่ายๆ ว่า กรณีของบิทคับก็ไม่มีข้อยกเว้น ต้องไม่นำความเสี่ยงใดๆมาสู่แบงก์ไม่ว่าจะในมิติใดก็ตาม
ปกติแล้ววงจรของตลาดคริปโตฯ ผันผวนขึ้นสูงสุดเป็นพันๆ เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ลงได้เป็นพันๆ เปอร์เซ็นต์เช่นกัน เป็นวงจรที่สลับไปมาอยู่เสมอ ตอนนี้ภาวะยิ่งผันผวนหนัก นั่นทำให้บิทคับ ถูกมองว่าอยู่ในโซนมีความเสี่ยงสูง ดีลที่ไทยพาณิชย์คาดหวังไว้สูงจะเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต นำยานแม่ตะบึงไปในจักรวาล ถึงเวลานี้เริ่มมีคำถามถึง “ความเสี่ยง” ที่จะได้มากกว่าความคุ้มค่าหรือไม่? หรืออีกนัหนึ่ง ว่า ความปังยังไม่เกิด หรือ ความพังจะมาก่อน?
คำถามคือ แล้วผู้คุมกฎอย่างแบงก์ชาติ-ก.ล.ต.จะยอมหรือ?
SCBX ได้คุ้มเสีย? ที่แน่ๆ Bitkub นับเงินเพลิน
เดิมความปังของ SCBX ที่ว่ามาจากการคาดการณ์ว่าความเป็นเจ้าของในบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด จะเปลี่ยนมือมาเป็น SCBS ภายในไตรมาสแรกปีนี้ และหลายฝ่ายเชื่อว่านี่คือการตอบโจทย์ในแผนกระโดดขึ้นยานแม่ SCBX ของ SCB เพราะเดิมการเป็นเพียงแค่ธนาคาร ทำให้จะลงทุนในธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมจึงเป็นเรื่องที่ยาก จึงจำเป็นต้องใช้บริษัทลูกเข้าทำ แม้ตัวเองจะเป็นผู้ลงทุน
เงื่อนไขดังกล่าวจึงเป็นที่มาในการตั้ง Holding Company เพื่อตั้งบริษัทลูกขึ้นมาหลายบริษัท เพื่อมองหาโอกาสใหม่ๆ ในการขยายกิจการท่ามกลางธุรกิจธนาคารที่เผชิญการเปลี่ยนแปลง ขณะที่ในธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล หากธนาคารเข้าลงทุนโดยตรงจะเจออุปสรรค โดยเฉพาะเรื่องการสำรองเงินเผื่อฉุกเฉินที่ธนาคารต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แต่ SCB มองเห็นว่าสินทรัพย์ดิจิทัลถือเป็น New Growth ที่น่าสนใจลงทุน เพราะจะช่วยให้ SCBX สามารถสร้างคุณค่าใหม่ที่สามารถเติบโตในระยะยาวไปกับโลกใหม่ได้ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ยานแม่ ในการยกระดับสู่กลุ่มบริษัทเทคโนโลยีการเงิน สามารถตอบสนองความต้องการใหม่ของผู้บริโภค และสามารถเข้าสู่สนามการแข่งขันแบบใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นโดยเร็วในอีก 3-5 ปีข้างหน้า
ทั้งที่ Bitkub นั้นคือ Decentralized Finance (Defi) หรือการกระจายศูนย์ทางการเงิน ซึ่งระบบเดิมจะมีธนาคารเป็นผู้ดูแล แต่ Defi นั้นจะเป็นการทำธุรกรรมที่ไม่ผ่านธนาคาร ซึ่งเหมือนสิ่งที่ย้อนแย้งกัน
ประการสำคัญ ด้วยปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วนับแต่เข้าสู่ปีเสือ 2565 หากตลาดเทรดคริปโตฯ ดำดิ่งเช่นนี้ ซึ่งคาดกันว่า ไซเคิลจะอยู่ที่ประมาณ 3-4 ปีกว่า ผลประกอบการที่คาดหวังไว้ในการลงทุน Bitkub ย่อมไม่เป็นไปตามที่คาดอย่างแน่นอน นั่นจะผลักดันให้กลุ่มไทยพาณิชย์กลายเป็นเสือลำบาก มูลค่าการลงทุน 1.78 หมื่นล้านจะต้องมีคำถามว่าคุ้มหรือไม่เมื่อต้องแบกรับ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับ Bitkub โดยหลีกเลี่ยงไม่ได้
เมื่อเทียบกับกำไรของบิทคับที่แปรผันตามตลาดเทรดคริปโตฯ ก่อนนี้ มีกำไรเกือบๆ 2 พันล้านบาทต่อปี ถือว่ามี Valuation ที่เหมาะสม จากนี้ไปยังจะเหมาะสมอยู่อีกหรือไม่ กับโอกาสการที่จะเติบโตเพิ่มขึ้นมีหรือไม่? นี่เป็นคำถามที่นักวิเคราะห์เริ่มมองกัน
SCBX ประเมินไว้ว่า หลังเข้าบริหารกิจการบิทคับ ข้อดีของ Bitkub คือ การเป็นกระดานเทรดสัญชาติไทยที่มีผู้เปิดบัญชีอยู่กว่า 3 ล้านบัญชี สามารถแลกเปลี่ยนจากเงินบาทเป็นเหรียญดิจิทัลได้เลย ขณะเดียวกัน ด้วยเหตุที่ Bitkub สามารถผูกบัญชีธนาคารไว้กับบัญชีผู้ใช้ ดังนั้นการที่ SCB เข้ามาถือหุ้น 51% ย่อมได้รับประโยชน์ในเรื่องนี้ เพราะปัจจุบันการจะถอนเงินจาก Bitkub เข้าบัญชีธนาคารต้องเสียค่าธรรมเนียม และ SCB สามารถดึงลูกค้าเข้ามาเปิดบัญชีกับตัวเองได้เพิ่มเพียงแค่ลดค่าธรรมเนียมให้น้อยกว่าเจ้าอื่นๆ
นอกจากนี้ ดีลครั้งนี้จะทำให้ SCB ได้เทคโนโลยีของ Bitkub เข้ามาโดยไม่จำเป็นต้องเริ่มลงทุนจากศูนย์ หรือเริ่มตั้งแต่ตั้งไข่ ขณะเดียวกัน Bitkub จะได้รับเงินทุนจำนวนมากเพื่อใช้ในการพัฒนาระบบจาก SCB
แต่ด้วยดีลนี้เป็นดีลขนาดใหญ่ และหากเป็นดีลขนาดใหญ่โดยทั่วไปจะต้องมีการพิจารณาจากบอร์ด และการทำข้อตกลงร่วมกัน จากนั้นจะใช้ระยะเวลาในการคิดคำนวณหามูลค่าลงทุนที่เป็น Fiar Value ด้วยกันทั้งสองฝ่าย เมื่อได้ราคามายังจำเป็นต้องมีการเจรจาต่อรองกันอีกรอบ
จากข้อมูลทั้งหมดที่นำเสนอข้างต้น จึงกลายเป็นคำถามว่า “สรุปแล้วดีลนี้มัน win-win หรือได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่ายจริงหรือไม่?”
หันมาดูฝากของ Bitkub บ้าง สำหรับ Bitkub ถือเป็น 1 ใน 7 กระดานเทรดเหรียญดิจิทัลของไทย ซึ่งได้ไลเซนส์จากคณะกรรมการกำกับและดูแลหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ก่อตั้งโดย “ท็อป” จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาหลังจากก่อตั้งบริษัท ท็อปกลายเป็นเน็ตไอดอลของนักเทรดคริปโตฯ มือใหม่ Bitkub เป็นที่รู้จักในหมู่คนรุ่นใหม่ บรรดาสตาร์ทอัป นักเรียนนักศึกษา ไปจนรายย่อยที่ต้องการเข้าสู่ตลาดเทรดคริปโตฯ เก็งกำไร
Bitkub นั้นขี่กระแสบิตคอยน์ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ประกอบกับการปูพรมทำการตลาดแบบออฟไลน์-ออนไลน์ ให้ทุกคนได้เห็นและคุ้นชื่อ คิดถึง บิตคอยน์ คิดถึงบิทคับ ชวนเชื่อว่า นี่เป็นโลกใหม่ แพลตฟอร์มที่จะเชื่อมทุกคนไปสู่โลกอนาคต
ว่ากันว่า ก่อนที่ท็อปจะปิดดีลกับไทยพาณิชย์ เขาเร่เสนอขายหุ้นให้บรรดาเศรษฐีทั่วฟ้าเมืองไทย แต่ไม่ได้รับความสนใจ ซึ่งน่าคิดว่า ทำไม? เพราะอะไร? เศรษฐีนายทุนทั้งหลายจึงปฏิเสธที่จะลงทุน? ต่อมานักวิเคราะห์เชื่อกันว่า สาเหตุที่หลายคนปฏิเสธ บิทคับอาจจะเห็นว่า มูลค่าที่ท็อปเสนอมานั้นสูงเกินจริง ขณะที่คริปโตฯ เป็นเรื่องของความเสี่ยงที่ไม่แตกต่างจาก “บ่อนพนัน” โอกาสที่จะให้ผลประโยชน์คุ้มค่าในการลงทุนนั้นประเมินยาก
วันนี้ โดยหากไม่นำไปเปรียบเทียบกับ Binance ซึ่งเป็นกระดานเทรดระดับโลกที่คนไทยนิยมเปิดบัญชี Bitkub ใช้เวลาเพียง 3 ปีสามารถเป็นกระดานเทรดที่มีคนใช้มากที่สุดในไทย ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 3 ล้านบัญชี ทำให้ครองส่วนแบ่งการตลาดในไทยประมาณ 90% และมีมูลค่าการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในช่วง 9 เดือนแรกในปี 2564 มากกว่า 1.03 ล้านล้านบาท
เมื่อข่าวว่าท็อปจบดีลกับไทยพาณิชย์ได้เมื่อวันที่ 2 พ.ย.2564 จึงทำให้หลายคนประหลาดใจ แน่นอนว่า ฝ่าย SCBX ก็ไม่ได้จีบแค่ท็อปคนเดียว แต่สิ่งที่เป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ในกลุ่มแฟนคลับของบิทคับ คือ ทำไมเขาจึงยอมเสียการบริหารบริษัทที่ตัวเองก่อตั้งมากับมือโดยยอมขายให้ไทยพาณิชย์มากถึง 51% เหลือสถานะแค่ผู้ถือหุ้นจนแฟนคลับบางกลุ่มรับไม่ได้ถอนตัว ปิดบัญชีไปเลยก็มี
ก่อนหน้านี้ เคยมีการซื้อขายหุ้นในธุรกิจตลาดเทรดคริปโตฯ และโบรกเกอร์คริปโตฯ รายอื่นๆ ให้ผู้เล่นรายใหญ่เกิดขึ้นบ้าง เช่น การเข้าถือหุ้นใน Zipmex ของธนาคารกรุงศรีฯ แต่ก็ไม่ใช่สัดส่วนที่สูงถึง 51% เหมือนกรณี SCBX กับบิทคับ
ในวงการสตาร์ทอัป ว่ากันว่า จุดหมายปลายทางของธุรกิจเมื่อถึงจุดๆ หนึ่งหรือจุดพีก ผู้ก่อตั้งที่มองเห็นโอกาสมักจะขายธุรกิจเพื่อทำกำไร หรือ “EXIT” ออกมาพร้อมกับเงินก้อนโตที่ได้จากนักลงทุน หรือผู้เล่นรายใหญ่ที่เข้ามาเทกโอเวอร์กิจการ เพื่อไปหาความท้าทายใหม่ หรือปั้นธุรกิจใหม่ย่อมดีกว่า และเป็นวิถีที่สตาร์ทอัพกระทำกัน เพราะ “จังหวะ” คือ “โอกาส” นั่นเอง
“SCB เวลานั้นต้องการหาการฟื้นตัว หาธุรกิจใหม่เพื่อการเติบโต และอุตสาหกรรมที่เติบโตเร็วคือ Start Up โดย Start Up ที่เป็นไฟแนนซ์และเติบโตเร็วที่สุดก็ต้องตลาดคริปโตเคอร์เรนซี นั่นจึงทำให้ก่อนที่จะมาจบดีลกับ Bitkub นั้น SCB มีการส่งทีมงานผู้คุยกับ Exchange ที่มีใบไลเซนส์จากคณะกรรมการกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทุกราย เพราะเขาสนใจเข้าลงทุนเพื่อให้มาเป็นธุรกิจหลักในอนาคต แต่หลายบริษัทเขามองต่างว่า นี่คือธุรกิจหลักที่กำลังเติบโตอยู่ในปัจจุบัน และไม่ต้องการให้มีใครเข้ามาควบคุมหรือแบ่งปันอำนาจเลยมีการปฏิเสธไป แต่เผอิญการพูดคุยกัย Bitkub มันประสบความสำเร็จ จึงเกิดดีลนี้ขึ้น” แหล่งข่าวในวงการตลาดคริปโตฯ แสดงความเห็น
“นอกจากนี้ นี่เป็นความฉลาดท็อป-จิรายุสเจ้าของ Bitkub ที่มองออกว่า ตลาดในช่วงนั้นสำหรับบิทคับน่าจะเป็นจุดสูงสุด (Peak) แล้ว ดังนั้น การที่ได้รับโอกาสเป็นเม็ดเงินที่เหมาะสม จึงไม่แปลกที่ยอมขายหุ้นบางส่วนออกมาเพื่อทำกำไร มันก็เหมือนกับหลายธุรกิจอื่นๆ ที่เคยเป็นข่าวก่อนหน้านี้ เมื่อมีรายใหญ่เข้ามาซื้อกิจการส่วนมากก็จะเป็นช่วงที่อยู่บนจุดสูงสุดของบริษัทนั้นแล้ว ขายไปแล้วได้กำไรได้เงิน อนาคตจะออกไปเปิดใหม่อีกย่อมทำได้” แหล่งข่าวกล่าวและว่า นี่เป็นอีกสิ่งที่จะทำให้ในอนาคตตลาดคริปโตฯ เมืองไทยหวือหวานั่นคือราคาประเมินในดีลดังกล่าวที่สูงมาก นั่นย่อมทำให้ต่อไป หากธนาคารไหนสนใจจะเข้าเทกโอเวอร์ Exchange แบบนี้ต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมหาศาลเข้ามาลงทุน บนความเสี่ยงที่มีอยู่
นั่นหมายความว่า เมื่อไรก็ตามที่ซูเปอร์ดีลนี้จบสมบูรณ์ SCBX เดินไปบนความเสี่ยงของธุรกิจบิทคับแต่สำหรับกับ “ท็อป-จิรายุส” มีแต่ได้กับได้ มีคนมาช่วยรับความเสี่ยงไป และ ยัง Exit ออกมาด้วยเม็ดเงิน 1.78 หมื่นล้าน นับกันเพลินๆ มองหาโอกาสใหม่ให้ตัวเองสบายๆ และยังสร้างชื่อเสียงให้ตัวเอง หลัง SCBX ใส่เงินลงทุนมา บิทคับ ที่ก่อตั้งกลายเป็น “ยูนิคอร์น” ติดปีกบินเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในแวดวงสตาร์ทอัปเมืองไทยอีกด้วย
ดังจะเห็นได้จากการที่บริษัทลูกในเครือบิทคับในส่วนที่ท็อป-จิรายุส ยังดูแลเริ่มขยับร่วมมือกับพันธมิตร เปิดธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับสินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นๆ (โปรดติดตามอ่านรายละเอียดได้ในตอนถัดไป)
3.5 หมื่นล้านบาทสูงไปหรือเปล่า?
ทีนี้กลับมาย้อนดูความเสี่ยงของ SCBX กันทีละประเด็น เริ่มกันที่มูลค่าของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ที่ถูกคำนวณว่าสูงถึง 3.5 หมื่นล้านบาท และ SCB ต้องใช้เงินสูงถึง 1.78 หมื่นล้านบาท เพื่อให้ได้สิทธิในการเข้าถือหุ้น 51% นั้น จนปัจจุบันนี้ก็มีหลายเสียงที่มองว่า มูลค่าดังกล่าวนั้นสูงมาก สูงจนอาจเรียกได้ว่าสูงจนเกินไป แม้จะมีรายได้ 9 เดือนแรกปี 2564 ที่ระดับ 3.27 พันล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 1.53 พันล้านบาท นั่นเพราะทุกธุรกิจย่อมมีความเสี่ยง ไม่พ้นแม้แต่ตลาดคริปโตเคอร์เรนซี่ เพราะอาจจะไม่ได้รับความนิยมมากเท่ากับปัจจุบัน โดยราคาเหรียญสำคัญอาจจะลดลงไป ซึ่งจะมีผลให้รายได้ของบริษัทลดลงไปด้วย
รายได้กับวอลุ่มที่ชวนสงสัย
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่ชวนสงสัย นั่นคือ รายได้กับปริมาณการซื้อขายของ Bitkub เพราะจากข้อมูลที่นำเสนอมาด้วยวอลุ่มซื้อขายรวม 9 เดือน 1.03 ล้านล้านบาท กับค่าธรรมเนียม 0.25% นั้นไม่สามารถออกดอกผลมาเป็นรายได้ถึงระดับ 3.27 พันล้านบาทได้ และน่าจะอยู่ที่ประมาณ 2.5 พันล้านบาท
“เขาอาจจะมีรายได้จากค่าฟีในการถอนเงินเข้ามาเสริม แต่เชื่อว่ามันไม่ได้เยอะขนาดนั้น เพราะหากต้องการให้ได้รายได้ระดับนั้นมันต้องใช้ Trading Volume ประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท คือมากขึ้นอีก 2 แสนล้านบาท อันนี้มันทำให้น่าสงสัย”
Market Maker นัยแฝงของค่าฟี
แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า การจะออกเหรียญแต่ละเหรียญนั้นมันมีต้นทุนหลายด้าน นั่นรวมถึงการมี Market Maker หรือบุคคลที่ถูกเชิญเข้ามาช่วยดูแลสภาพคล่อง เพื่อให้ตลาดเทรดนั้นมีความเคลื่อนไหว เพราะว่าไปแล้ว ตลาดเทรดในไทยยังเป็นกลุ่มเฉพาะนักลงทุนในตลาดไม่ได้มากเหมือนตลาดหุ้นที่มีมานาน จำเป็นต้องอาศัยกลุ่มคนมาสร้างสภาพคล่อง ซึ่งบางเหรียญ Market Maker อาจมีมากกว่า 3-5 ราย ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับ Trading Volume ที่ข้อมูลของบิทคับเปิดเผยมา ปริมาณการซื้อขายแท้จริงจึงไม่น่าจะถึง เพราะส่วนนี้รวมต้องไม่ลืมนับ Maket Maker เข้าไปด้วย
“มากที่สุดอาจเหลือแค่ 1 ใน 3 จากข้อมูลที่นำเสนอออกมา และเราต้องไม่ลืมว่า Maket Maker พวกนี้เข้าเทรดฟรี โดยไม่มีการคิดค่าฟี หรือค่าธรรมเนียม นั่นยิ่งทำให้ตัวเลขรายได้ไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น”
กัลฟ์กับไบแนนซ์เขย่าขวัญ SCBX – บิทคับ
ประเด็นถัดมาถือว่าเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงทางธุรกิจนั่นคือ โอกาสที่จะเกิด “คู่แข่งขัน” นั้นค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการเข้ามาโดยตรงจากต่างประเทศ หรือการผนึกกำลังเป็นพันธมิตรร่วมกับธนาคารอื่นๆ ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีแนวคิดเดียวกันกับ SCB เกิดขึ้น นั่นย่อมหมายถึงสงครามในการแย่งชิงจำนวนบัญชีลูกค้าในอนาคตที่มีความเป็นไปได้มาก แม้ Bitkub จะออกตัวนำเจ้าอื่นๆ ไปก่อนก็ตาม แต่หากเกิดสงครามแย่งชิงลูกค้าทำให้ต้องเกิดการตลาดลดราคาค่าบริการ ซึ่งจะนำไปสู่การไม่คุ้มค่ากับการลงทุนตามมา
กรณีของบริษัทกัลฟ์ เอ็นเนอร์จีดีเวลลอปเม้นท์ ส่งกัลฟ์ อินโนวา ลงนามบันทึกความร่วมมือกับกลุ่มไบแนนซ์ (Binance) ซึ่งดำเนินธุรกิจ ตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลรายใหญ่เบอร์ต้นๆ ของโลกที่มีปริมาณการซื้อขายมากเป็นอันดับ 1 ของโลก ที่นักเทรดคริปโตฯ เมืองไทยรู้จักกันดีจะเข้ามาเปิดแนวรุกเปิดตลาดในไทย กำลังได้รับการจับตาว่า จะเข้ามาเปลี่ยนเกมตลาดคริปโตฯ ที่บิทคับครองส่วนแบ่งตลาดอยู่อย่างแน่นอน
งานนี้นักวิเคราะห์มองกันว่า บิทคับ ที่เคยดำเนินธุรกิจแบบไร้คู่แข่งจะเจอศึกหนัก และเรื่องนี้ถือเป็นความเสี่ยงของ SCBX ที่แม้จะคาดไว้แล้ว แต่ก็ไม่คิดว่าจะมาเร็วขนาดนี้
1.78 หมื่นล้านบาทคืนทุนเมื่อใด?
มาถึงคำถามที่ขณะนี้กำลังเป็นประเด็น นั่นคือ โอกาสในการคืนทุนของ SCBX จะต้องรอถึงเมื่อใด นักวิเคราะห์แสดงความเห็นว่า หากคำนวณจากตัวเลขที่ Bitkub นำเสนอในช่วงที่เป็นข่าวคืองวด 9 เดือนแรกปี 2564 มาคำนวณโอกาสในการคืนทุนภายใน 1-2 ปีนั้นยังเป็นไปได้ยากเพราะตลาดคริปโตฯ เมืองไทยแม้จะเติบโตต่อเนื่อง แต่ยังไม่ใหญ่มากพอกับตลาดในต่างประเทศ อีกทั้งการจะทำให้เติบโตได้ต้องมีโปรดักต์ที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดนักลงทุนรายใหญ่จากต่างประเทศเข้ามาลงทุน
เมื่อประมวลจากความเสี่ยงที่เกิดขึ้นดังที่กล่าวมาการคืนทุนอาจจะใช้เวลานานกว่าเดิม ที่เหลือต้องพยายามอย่างหนักเพื่อรอให้ไซเคิลของคริปโตเคอร์เรนซีหวนกลับมาอยู่ในภาวะกระทิง และผลักดันแผนในการทำ IPO ของบิทคับที่คาดว่าจะระดมทุนได้อีกรอบให้ลุล่วงโดยเร็ว แต่ปัญหาที่จะตามมาก็คือ ปัจจัยเสี่ยงกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานของบิทคับ SCBX น่าจะต้องทำใจกับมูลค่าที่ลดลง และประเด็นที่ไม่เคยมีใครมอง นั่นคือ การลงทุนในเรื่องเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเร็ว และการให้ความสำคัญในเรื่องระบบหลังบ้านและด้าน SECURITY เพราะ Bitkub เคยมีปัญหารับออเดอร์ไม่ทัน และยังไม่เคยเจอบททดสอบที่สำคัญ เช่น การโดนแฮกข้อมูล (Hack) ในฐานะ Exchange ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นกับ Exchange รายใหญ่มามากแล้ว
“ถ้าโดนแฮกขึ้นก็ไม่รู้จะเกิดอะไรกับ SCB ยิ่งโดนหลังจากดีลนี้จบแล้วยิ่งน่ากังวล เพราะเวลาแฮกกันเขาไม่ได้แฮกกันน้อยๆ มันเป็นเม็ดเงินจำนวนมาก และการที่ Exchange โดนแฮก มันหมายถึงต้องรับผิดชอบในส่วนที่สูญหายไปของลูกค้าด้วย ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่ต้องติดตามว่าจะรับมือกับเรื่องดังกล่าวอย่างไร”
งานนี้ต้องติดตามกันต่อไป เมื่อ SCBX กระโดดขี่หลังยูนิคอร์น Bitkub บทสรุปสุดท้ายจะเป็นอย่างไร
(โปรดติดตามอ่านตอนที่ 2 ย้อนรอยซูเปอร์ดีล หุ้นพุ่ง-Kubcoin ทะลุเมฆ ใครปั่น ใครได้ ใครเสีย ในวันจันทร์ถัดไป)
By Admin -March 8, 2022
นับถอยหลัง Bitkub ขึ้นยานแม่ SCBX เสียงท้วงติงเริ่มปะทุ ได้คุ้มเสียหรือไม่ จะฝ่าด่านแบงก์ชาติอย่างไร เหตุมูลค่าดีลสูงจัด ใช่ Fair Value หรือไม่ ท่ามกลางความเสี่ยงของตลาดซิ่ง ปัจจัยแวดล้อมเปลี่ยนเร็ว คู่แข่งใหม่-เก่า Binance จ่อเขย่าขวัญ ขณะที่ตัวเลขรายได้กับวอลุ่มซื้อขายดูค้านสายตา โดยเฉพาะจ้าง Market Maker เทรดฟรีไม่มีพูดถึง และบททดสอบการโดนแฮกที่บิทคับยังต้องพิสูจน์ ปลอดภัยจริงหรือ? ขณะที่วิถีสตาร์ทอัพ “ท็อป-จิรายุส” Exit พร้อมเงินก้อนโต 1.78 หมื่นล้าน
ช่วงนี้กลุ่มไทยพาณิชย์อยู่ระหว่างปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจทางการเงิน และโครงสร้างการถือหุ้น ตามยุทธศาสตร์องค์กรที่ต้องการสร้างการเติบโตและมูลค่าในระยะยาวตามบริบทของโลกการเงินที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพิ่งประกาศเริ่มกระบวนการแลกหุ้นระหว่างธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) สู่บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) (SCBX) เพื่อเดินเครื่องนำยานแม่ SCBX เข้าตลาดหลักทรัพย์แทนที่ SCB
ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนของ SCBX ที่มุ่งมั่นจะไม่ใช่แค่ทำธุรกรรมธนาคารแบบดั้งเดิมเริ่มมาตั้งแต่ปีที่แล้ว และหนึ่งในการปรับโครงสร้างธุรกิจการเงินที่ประกาศเมื่อวันที่ 2 พ.ย. สร้างความสั่นสะเทือนวงการ กล่าวกันว่าเป็น “ซูเปอร์ดีล” หรือ “เซอร์ไพรส์ดีล” คือ การจะซื้อหุ้น 51% จากบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด หรือ Bitkub สตาร์ทอัพเจ้าของตลาดซื้อขายคริปโตเคอร์เรนซี ที่เติบโตพรวดพราดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่าการลงทุนสูงกว่า 17,850 ล้านบาท
ความเคลื่อนไหวในครั้งนั้นมีการวิเคราะห์กันว่าทั้ง SCBX และบิทคับ จะ WIN-WIN ด้วยกันทั้งคู่ ซึ่งราคาหุ้นของ SCB และ Kubcoin เหรียญของบิทคับเองราคาพุ่งไปกว่า 200% จากการแห่แหนเก็งกำไรแบบเย้ยฟ้าท้าดิน ท่ามกลางความประหลาดใจระคนสงสัยว่า พื้นฐานที่แท้จริงอยู่ตรงไหน มิหนำซ้ำเวลานั้นว่าไปแล้ว ดีลยังไม่จบไปเอาความมั่นใจมาจากไหนกัน? งานนั้นใครลาก ใครปั่น และใครได้ ใครเสีย? ล้วนแล้วแต่เป็นพฤติกรรมที่ชวนให้น่าตรวจสอบ (โปรดติดตามอ่านรายละเอียดได้ในตอนต่อไป)
เนื่องเพราะดีลนี้ตามขั้นตอนทำธุรกรรมการซื้อขายหุ้นจะอยู่ภายใต้การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยมีเงื่อนไขว่า ผลการสอบทานธุรกิจ (Due Diligence) ของ Bitkub ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญต้องออกมาเป็นที่น่าพอใจ หรือเรียกว่า “ตรงปก” และคู่สัญญาได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุในสํญญาซื้อขายหุ้นครบถ้วน
ยังไม่ทันปัง ฤาจะพังเสียก่อน?
มีรายงานว่า กลุ่มไทยพาณิชย์ ได้ดำเนินการสอบทานธุรกิจ (Due Diligence) และยื่นคำขอต่อธนาคารแห่งประเทศไทยในการลงทุนใน Bitkub เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาแล้ว แต่ยังไม่มีใครยืนยันรายละเอียดว่า หลังจากทำดีลดิลิเจนท์แล้วมีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ หรือมูลค่าการซื้อขายระหว่างกันหรือไม่ ซึ่งหมายความว่า ขณะนี้ซูเปอร์ดีลระหว่าง SCBX กับ Bitkub อยู่ในการพิจารณาของแบงก์ชาติ
ผลการพิจารณาของแบงก์ชาติจะออกหัวหรือก้อยยังต้องติดตามกัน แต่จากสัญญาณที่แบงก์ชาติในฐานะผู้กำกับดูแลตลาดเงินดูเหมือนจะมีความเข้มข้นในการปกป้องความเสี่ยง เน้นมาตรการปลอดภัยไว้ก่อน หลายฝ่ายเชื่อว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะฝ่าด่านธปท.
ยิ่งในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน ผลกระทบจากภัยพิบัติโควิดระบาด มาจนถึงวิกฤตสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้สินทรัพย์ดิจิทัลมีความผัวผวนอย่างหนัก ตลาดคริปโตเคอร์เรนซีอยู่ในภาวะดิ่งเหวที่มองไม่เห็นก้นเหว ซึ่งหวั่นวิตกกันว่า ตลาดเทรดคริปโตฯ ที่ได้ชื่อว่า “ตลาดซิ่ง” ขึ้น-ลง ไม่มีเพดาน ไม่ต่างกับรถไฟเหาะตีลังกา จะเข้าสู่วงจร ‘ภาวะหมี’ แตกต่างจาก ‘ภาวะกระทิง’ ช่วงเฟื่องฟูปี 2564 ที่ SCBX จะเข้าซื้อ Bitkub เหมือนที่เคยเกิดขึ้นช่วง 3-4 ปีก่อนนี้ทำให้มูลค่าหดหายไปมหาศาล
กล่าวได้ว่า ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อคริปโตฯ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือนหลังจากที่ SCB ประกาศจะซื้อหุ้นบิทคับดังกล่าว มิพักต้องสงสัยว่า เวลานี้มูลค่าของตลาดคริปโตฯ ของบิทคับจะหายไปแค่ไหน ขณะที่นักลงทุนขยาดที่จะลงทุนเพิ่ม ติดอยู่บนดอยสูง เกิดความเสียหายโดยที่การฟื้นตัวยังมองไม่เห็น ย่อมส่งผลต่อ รายได้จากค่าต๋งในการเทรดและกำไรของบิทคับโดยตรง
ประกอบกับความเข้มงวดของแบงก์ชาติที่ผ่านมา ตีกรอบไว้ชัดเจนเป็นกฎเหล็กไว้ว่า ถึงแม้ธนาคารพาณิชย์จะปรับโครงสร้างธุรกิจการเงินอย่างไร แบงก์ต่างๆ ยังมีหน้าที่รับเงินฝากจากประชาชน เพราะฉะนั้นการดำเนินการใดๆ ที่จะนำความเสี่ยงมาสู่แบงก์ ธปท.จะไม่ยอมให้เกิดขึ้น พูดง่ายๆ ว่า กรณีของบิทคับก็ไม่มีข้อยกเว้น ต้องไม่นำความเสี่ยงใดๆมาสู่แบงก์ไม่ว่าจะในมิติใดก็ตาม
ปกติแล้ววงจรของตลาดคริปโตฯ ผันผวนขึ้นสูงสุดเป็นพันๆ เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ลงได้เป็นพันๆ เปอร์เซ็นต์เช่นกัน เป็นวงจรที่สลับไปมาอยู่เสมอ ตอนนี้ภาวะยิ่งผันผวนหนัก นั่นทำให้บิทคับ ถูกมองว่าอยู่ในโซนมีความเสี่ยงสูง ดีลที่ไทยพาณิชย์คาดหวังไว้สูงจะเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต นำยานแม่ตะบึงไปในจักรวาล ถึงเวลานี้เริ่มมีคำถามถึง “ความเสี่ยง” ที่จะได้มากกว่าความคุ้มค่าหรือไม่? หรืออีกนัหนึ่ง ว่า ความปังยังไม่เกิด หรือ ความพังจะมาก่อน?
คำถามคือ แล้วผู้คุมกฎอย่างแบงก์ชาติ-ก.ล.ต.จะยอมหรือ?
SCBX ได้คุ้มเสีย? ที่แน่ๆ Bitkub นับเงินเพลิน
เดิมความปังของ SCBX ที่ว่ามาจากการคาดการณ์ว่าความเป็นเจ้าของในบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด จะเปลี่ยนมือมาเป็น SCBS ภายในไตรมาสแรกปีนี้ และหลายฝ่ายเชื่อว่านี่คือการตอบโจทย์ในแผนกระโดดขึ้นยานแม่ SCBX ของ SCB เพราะเดิมการเป็นเพียงแค่ธนาคาร ทำให้จะลงทุนในธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมจึงเป็นเรื่องที่ยาก จึงจำเป็นต้องใช้บริษัทลูกเข้าทำ แม้ตัวเองจะเป็นผู้ลงทุน
เงื่อนไขดังกล่าวจึงเป็นที่มาในการตั้ง Holding Company เพื่อตั้งบริษัทลูกขึ้นมาหลายบริษัท เพื่อมองหาโอกาสใหม่ๆ ในการขยายกิจการท่ามกลางธุรกิจธนาคารที่เผชิญการเปลี่ยนแปลง ขณะที่ในธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล หากธนาคารเข้าลงทุนโดยตรงจะเจออุปสรรค โดยเฉพาะเรื่องการสำรองเงินเผื่อฉุกเฉินที่ธนาคารต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แต่ SCB มองเห็นว่าสินทรัพย์ดิจิทัลถือเป็น New Growth ที่น่าสนใจลงทุน เพราะจะช่วยให้ SCBX สามารถสร้างคุณค่าใหม่ที่สามารถเติบโตในระยะยาวไปกับโลกใหม่ได้ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ยานแม่ ในการยกระดับสู่กลุ่มบริษัทเทคโนโลยีการเงิน สามารถตอบสนองความต้องการใหม่ของผู้บริโภค และสามารถเข้าสู่สนามการแข่งขันแบบใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นโดยเร็วในอีก 3-5 ปีข้างหน้า
ทั้งที่ Bitkub นั้นคือ Decentralized Finance (Defi) หรือการกระจายศูนย์ทางการเงิน ซึ่งระบบเดิมจะมีธนาคารเป็นผู้ดูแล แต่ Defi นั้นจะเป็นการทำธุรกรรมที่ไม่ผ่านธนาคาร ซึ่งเหมือนสิ่งที่ย้อนแย้งกัน
ประการสำคัญ ด้วยปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วนับแต่เข้าสู่ปีเสือ 2565 หากตลาดเทรดคริปโตฯ ดำดิ่งเช่นนี้ ซึ่งคาดกันว่า ไซเคิลจะอยู่ที่ประมาณ 3-4 ปีกว่า ผลประกอบการที่คาดหวังไว้ในการลงทุน Bitkub ย่อมไม่เป็นไปตามที่คาดอย่างแน่นอน นั่นจะผลักดันให้กลุ่มไทยพาณิชย์กลายเป็นเสือลำบาก มูลค่าการลงทุน 1.78 หมื่นล้านจะต้องมีคำถามว่าคุ้มหรือไม่เมื่อต้องแบกรับ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับ Bitkub โดยหลีกเลี่ยงไม่ได้
เมื่อเทียบกับกำไรของบิทคับที่แปรผันตามตลาดเทรดคริปโตฯ ก่อนนี้ มีกำไรเกือบๆ 2 พันล้านบาทต่อปี ถือว่ามี Valuation ที่เหมาะสม จากนี้ไปยังจะเหมาะสมอยู่อีกหรือไม่ กับโอกาสการที่จะเติบโตเพิ่มขึ้นมีหรือไม่? นี่เป็นคำถามที่นักวิเคราะห์เริ่มมองกัน
SCBX ประเมินไว้ว่า หลังเข้าบริหารกิจการบิทคับ ข้อดีของ Bitkub คือ การเป็นกระดานเทรดสัญชาติไทยที่มีผู้เปิดบัญชีอยู่กว่า 3 ล้านบัญชี สามารถแลกเปลี่ยนจากเงินบาทเป็นเหรียญดิจิทัลได้เลย ขณะเดียวกัน ด้วยเหตุที่ Bitkub สามารถผูกบัญชีธนาคารไว้กับบัญชีผู้ใช้ ดังนั้นการที่ SCB เข้ามาถือหุ้น 51% ย่อมได้รับประโยชน์ในเรื่องนี้ เพราะปัจจุบันการจะถอนเงินจาก Bitkub เข้าบัญชีธนาคารต้องเสียค่าธรรมเนียม และ SCB สามารถดึงลูกค้าเข้ามาเปิดบัญชีกับตัวเองได้เพิ่มเพียงแค่ลดค่าธรรมเนียมให้น้อยกว่าเจ้าอื่นๆ
นอกจากนี้ ดีลครั้งนี้จะทำให้ SCB ได้เทคโนโลยีของ Bitkub เข้ามาโดยไม่จำเป็นต้องเริ่มลงทุนจากศูนย์ หรือเริ่มตั้งแต่ตั้งไข่ ขณะเดียวกัน Bitkub จะได้รับเงินทุนจำนวนมากเพื่อใช้ในการพัฒนาระบบจาก SCB
แต่ด้วยดีลนี้เป็นดีลขนาดใหญ่ และหากเป็นดีลขนาดใหญ่โดยทั่วไปจะต้องมีการพิจารณาจากบอร์ด และการทำข้อตกลงร่วมกัน จากนั้นจะใช้ระยะเวลาในการคิดคำนวณหามูลค่าลงทุนที่เป็น Fiar Value ด้วยกันทั้งสองฝ่าย เมื่อได้ราคามายังจำเป็นต้องมีการเจรจาต่อรองกันอีกรอบ
จากข้อมูลทั้งหมดที่นำเสนอข้างต้น จึงกลายเป็นคำถามว่า “สรุปแล้วดีลนี้มัน win-win หรือได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่ายจริงหรือไม่?”
หันมาดูฝากของ Bitkub บ้าง สำหรับ Bitkub ถือเป็น 1 ใน 7 กระดานเทรดเหรียญดิจิทัลของไทย ซึ่งได้ไลเซนส์จากคณะกรรมการกำกับและดูแลหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ก่อตั้งโดย “ท็อป” จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาหลังจากก่อตั้งบริษัท ท็อปกลายเป็นเน็ตไอดอลของนักเทรดคริปโตฯ มือใหม่ Bitkub เป็นที่รู้จักในหมู่คนรุ่นใหม่ บรรดาสตาร์ทอัป นักเรียนนักศึกษา ไปจนรายย่อยที่ต้องการเข้าสู่ตลาดเทรดคริปโตฯ เก็งกำไร
Bitkub นั้นขี่กระแสบิตคอยน์ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ประกอบกับการปูพรมทำการตลาดแบบออฟไลน์-ออนไลน์ ให้ทุกคนได้เห็นและคุ้นชื่อ คิดถึง บิตคอยน์ คิดถึงบิทคับ ชวนเชื่อว่า นี่เป็นโลกใหม่ แพลตฟอร์มที่จะเชื่อมทุกคนไปสู่โลกอนาคต
ว่ากันว่า ก่อนที่ท็อปจะปิดดีลกับไทยพาณิชย์ เขาเร่เสนอขายหุ้นให้บรรดาเศรษฐีทั่วฟ้าเมืองไทย แต่ไม่ได้รับความสนใจ ซึ่งน่าคิดว่า ทำไม? เพราะอะไร? เศรษฐีนายทุนทั้งหลายจึงปฏิเสธที่จะลงทุน? ต่อมานักวิเคราะห์เชื่อกันว่า สาเหตุที่หลายคนปฏิเสธ บิทคับอาจจะเห็นว่า มูลค่าที่ท็อปเสนอมานั้นสูงเกินจริง ขณะที่คริปโตฯ เป็นเรื่องของความเสี่ยงที่ไม่แตกต่างจาก “บ่อนพนัน” โอกาสที่จะให้ผลประโยชน์คุ้มค่าในการลงทุนนั้นประเมินยาก
วันนี้ โดยหากไม่นำไปเปรียบเทียบกับ Binance ซึ่งเป็นกระดานเทรดระดับโลกที่คนไทยนิยมเปิดบัญชี Bitkub ใช้เวลาเพียง 3 ปีสามารถเป็นกระดานเทรดที่มีคนใช้มากที่สุดในไทย ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 3 ล้านบัญชี ทำให้ครองส่วนแบ่งการตลาดในไทยประมาณ 90% และมีมูลค่าการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในช่วง 9 เดือนแรกในปี 2564 มากกว่า 1.03 ล้านล้านบาท
เมื่อข่าวว่าท็อปจบดีลกับไทยพาณิชย์ได้เมื่อวันที่ 2 พ.ย.2564 จึงทำให้หลายคนประหลาดใจ แน่นอนว่า ฝ่าย SCBX ก็ไม่ได้จีบแค่ท็อปคนเดียว แต่สิ่งที่เป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ในกลุ่มแฟนคลับของบิทคับ คือ ทำไมเขาจึงยอมเสียการบริหารบริษัทที่ตัวเองก่อตั้งมากับมือโดยยอมขายให้ไทยพาณิชย์มากถึง 51% เหลือสถานะแค่ผู้ถือหุ้นจนแฟนคลับบางกลุ่มรับไม่ได้ถอนตัว ปิดบัญชีไปเลยก็มี
ก่อนหน้านี้ เคยมีการซื้อขายหุ้นในธุรกิจตลาดเทรดคริปโตฯ และโบรกเกอร์คริปโตฯ รายอื่นๆ ให้ผู้เล่นรายใหญ่เกิดขึ้นบ้าง เช่น การเข้าถือหุ้นใน Zipmex ของธนาคารกรุงศรีฯ แต่ก็ไม่ใช่สัดส่วนที่สูงถึง 51% เหมือนกรณี SCBX กับบิทคับ
ในวงการสตาร์ทอัป ว่ากันว่า จุดหมายปลายทางของธุรกิจเมื่อถึงจุดๆ หนึ่งหรือจุดพีก ผู้ก่อตั้งที่มองเห็นโอกาสมักจะขายธุรกิจเพื่อทำกำไร หรือ “EXIT” ออกมาพร้อมกับเงินก้อนโตที่ได้จากนักลงทุน หรือผู้เล่นรายใหญ่ที่เข้ามาเทกโอเวอร์กิจการ เพื่อไปหาความท้าทายใหม่ หรือปั้นธุรกิจใหม่ย่อมดีกว่า และเป็นวิถีที่สตาร์ทอัพกระทำกัน เพราะ “จังหวะ” คือ “โอกาส” นั่นเอง
“SCB เวลานั้นต้องการหาการฟื้นตัว หาธุรกิจใหม่เพื่อการเติบโต และอุตสาหกรรมที่เติบโตเร็วคือ Start Up โดย Start Up ที่เป็นไฟแนนซ์และเติบโตเร็วที่สุดก็ต้องตลาดคริปโตเคอร์เรนซี นั่นจึงทำให้ก่อนที่จะมาจบดีลกับ Bitkub นั้น SCB มีการส่งทีมงานผู้คุยกับ Exchange ที่มีใบไลเซนส์จากคณะกรรมการกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ทุกราย เพราะเขาสนใจเข้าลงทุนเพื่อให้มาเป็นธุรกิจหลักในอนาคต แต่หลายบริษัทเขามองต่างว่า นี่คือธุรกิจหลักที่กำลังเติบโตอยู่ในปัจจุบัน และไม่ต้องการให้มีใครเข้ามาควบคุมหรือแบ่งปันอำนาจเลยมีการปฏิเสธไป แต่เผอิญการพูดคุยกัย Bitkub มันประสบความสำเร็จ จึงเกิดดีลนี้ขึ้น” แหล่งข่าวในวงการตลาดคริปโตฯ แสดงความเห็น
“นอกจากนี้ นี่เป็นความฉลาดท็อป-จิรายุสเจ้าของ Bitkub ที่มองออกว่า ตลาดในช่วงนั้นสำหรับบิทคับน่าจะเป็นจุดสูงสุด (Peak) แล้ว ดังนั้น การที่ได้รับโอกาสเป็นเม็ดเงินที่เหมาะสม จึงไม่แปลกที่ยอมขายหุ้นบางส่วนออกมาเพื่อทำกำไร มันก็เหมือนกับหลายธุรกิจอื่นๆ ที่เคยเป็นข่าวก่อนหน้านี้ เมื่อมีรายใหญ่เข้ามาซื้อกิจการส่วนมากก็จะเป็นช่วงที่อยู่บนจุดสูงสุดของบริษัทนั้นแล้ว ขายไปแล้วได้กำไรได้เงิน อนาคตจะออกไปเปิดใหม่อีกย่อมทำได้” แหล่งข่าวกล่าวและว่า นี่เป็นอีกสิ่งที่จะทำให้ในอนาคตตลาดคริปโตฯ เมืองไทยหวือหวานั่นคือราคาประเมินในดีลดังกล่าวที่สูงมาก นั่นย่อมทำให้ต่อไป หากธนาคารไหนสนใจจะเข้าเทกโอเวอร์ Exchange แบบนี้ต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมหาศาลเข้ามาลงทุน บนความเสี่ยงที่มีอยู่
นั่นหมายความว่า เมื่อไรก็ตามที่ซูเปอร์ดีลนี้จบสมบูรณ์ SCBX เดินไปบนความเสี่ยงของธุรกิจบิทคับแต่สำหรับกับ “ท็อป-จิรายุส” มีแต่ได้กับได้ มีคนมาช่วยรับความเสี่ยงไป และ ยัง Exit ออกมาด้วยเม็ดเงิน 1.78 หมื่นล้าน นับกันเพลินๆ มองหาโอกาสใหม่ให้ตัวเองสบายๆ และยังสร้างชื่อเสียงให้ตัวเอง หลัง SCBX ใส่เงินลงทุนมา บิทคับ ที่ก่อตั้งกลายเป็น “ยูนิคอร์น” ติดปีกบินเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในแวดวงสตาร์ทอัปเมืองไทยอีกด้วย
ดังจะเห็นได้จากการที่บริษัทลูกในเครือบิทคับในส่วนที่ท็อป-จิรายุส ยังดูแลเริ่มขยับร่วมมือกับพันธมิตร เปิดธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับสินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นๆ (โปรดติดตามอ่านรายละเอียดได้ในตอนถัดไป)
3.5 หมื่นล้านบาทสูงไปหรือเปล่า?
ทีนี้กลับมาย้อนดูความเสี่ยงของ SCBX กันทีละประเด็น เริ่มกันที่มูลค่าของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ที่ถูกคำนวณว่าสูงถึง 3.5 หมื่นล้านบาท และ SCB ต้องใช้เงินสูงถึง 1.78 หมื่นล้านบาท เพื่อให้ได้สิทธิในการเข้าถือหุ้น 51% นั้น จนปัจจุบันนี้ก็มีหลายเสียงที่มองว่า มูลค่าดังกล่าวนั้นสูงมาก สูงจนอาจเรียกได้ว่าสูงจนเกินไป แม้จะมีรายได้ 9 เดือนแรกปี 2564 ที่ระดับ 3.27 พันล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 1.53 พันล้านบาท นั่นเพราะทุกธุรกิจย่อมมีความเสี่ยง ไม่พ้นแม้แต่ตลาดคริปโตเคอร์เรนซี่ เพราะอาจจะไม่ได้รับความนิยมมากเท่ากับปัจจุบัน โดยราคาเหรียญสำคัญอาจจะลดลงไป ซึ่งจะมีผลให้รายได้ของบริษัทลดลงไปด้วย
รายได้กับวอลุ่มที่ชวนสงสัย
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่ชวนสงสัย นั่นคือ รายได้กับปริมาณการซื้อขายของ Bitkub เพราะจากข้อมูลที่นำเสนอมาด้วยวอลุ่มซื้อขายรวม 9 เดือน 1.03 ล้านล้านบาท กับค่าธรรมเนียม 0.25% นั้นไม่สามารถออกดอกผลมาเป็นรายได้ถึงระดับ 3.27 พันล้านบาทได้ และน่าจะอยู่ที่ประมาณ 2.5 พันล้านบาท
“เขาอาจจะมีรายได้จากค่าฟีในการถอนเงินเข้ามาเสริม แต่เชื่อว่ามันไม่ได้เยอะขนาดนั้น เพราะหากต้องการให้ได้รายได้ระดับนั้นมันต้องใช้ Trading Volume ประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท คือมากขึ้นอีก 2 แสนล้านบาท อันนี้มันทำให้น่าสงสัย”
Market Maker นัยแฝงของค่าฟี
แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า การจะออกเหรียญแต่ละเหรียญนั้นมันมีต้นทุนหลายด้าน นั่นรวมถึงการมี Market Maker หรือบุคคลที่ถูกเชิญเข้ามาช่วยดูแลสภาพคล่อง เพื่อให้ตลาดเทรดนั้นมีความเคลื่อนไหว เพราะว่าไปแล้ว ตลาดเทรดในไทยยังเป็นกลุ่มเฉพาะนักลงทุนในตลาดไม่ได้มากเหมือนตลาดหุ้นที่มีมานาน จำเป็นต้องอาศัยกลุ่มคนมาสร้างสภาพคล่อง ซึ่งบางเหรียญ Market Maker อาจมีมากกว่า 3-5 ราย ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับ Trading Volume ที่ข้อมูลของบิทคับเปิดเผยมา ปริมาณการซื้อขายแท้จริงจึงไม่น่าจะถึง เพราะส่วนนี้รวมต้องไม่ลืมนับ Maket Maker เข้าไปด้วย
“มากที่สุดอาจเหลือแค่ 1 ใน 3 จากข้อมูลที่นำเสนอออกมา และเราต้องไม่ลืมว่า Maket Maker พวกนี้เข้าเทรดฟรี โดยไม่มีการคิดค่าฟี หรือค่าธรรมเนียม นั่นยิ่งทำให้ตัวเลขรายได้ไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น”
กัลฟ์กับไบแนนซ์เขย่าขวัญ SCBX – บิทคับ
ประเด็นถัดมาถือว่าเป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงทางธุรกิจนั่นคือ โอกาสที่จะเกิด “คู่แข่งขัน” นั้นค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการเข้ามาโดยตรงจากต่างประเทศ หรือการผนึกกำลังเป็นพันธมิตรร่วมกับธนาคารอื่นๆ ซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีแนวคิดเดียวกันกับ SCB เกิดขึ้น นั่นย่อมหมายถึงสงครามในการแย่งชิงจำนวนบัญชีลูกค้าในอนาคตที่มีความเป็นไปได้มาก แม้ Bitkub จะออกตัวนำเจ้าอื่นๆ ไปก่อนก็ตาม แต่หากเกิดสงครามแย่งชิงลูกค้าทำให้ต้องเกิดการตลาดลดราคาค่าบริการ ซึ่งจะนำไปสู่การไม่คุ้มค่ากับการลงทุนตามมา
กรณีของบริษัทกัลฟ์ เอ็นเนอร์จีดีเวลลอปเม้นท์ ส่งกัลฟ์ อินโนวา ลงนามบันทึกความร่วมมือกับกลุ่มไบแนนซ์ (Binance) ซึ่งดำเนินธุรกิจ ตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลรายใหญ่เบอร์ต้นๆ ของโลกที่มีปริมาณการซื้อขายมากเป็นอันดับ 1 ของโลก ที่นักเทรดคริปโตฯ เมืองไทยรู้จักกันดีจะเข้ามาเปิดแนวรุกเปิดตลาดในไทย กำลังได้รับการจับตาว่า จะเข้ามาเปลี่ยนเกมตลาดคริปโตฯ ที่บิทคับครองส่วนแบ่งตลาดอยู่อย่างแน่นอน
งานนี้นักวิเคราะห์มองกันว่า บิทคับ ที่เคยดำเนินธุรกิจแบบไร้คู่แข่งจะเจอศึกหนัก และเรื่องนี้ถือเป็นความเสี่ยงของ SCBX ที่แม้จะคาดไว้แล้ว แต่ก็ไม่คิดว่าจะมาเร็วขนาดนี้
1.78 หมื่นล้านบาทคืนทุนเมื่อใด?
มาถึงคำถามที่ขณะนี้กำลังเป็นประเด็น นั่นคือ โอกาสในการคืนทุนของ SCBX จะต้องรอถึงเมื่อใด นักวิเคราะห์แสดงความเห็นว่า หากคำนวณจากตัวเลขที่ Bitkub นำเสนอในช่วงที่เป็นข่าวคืองวด 9 เดือนแรกปี 2564 มาคำนวณโอกาสในการคืนทุนภายใน 1-2 ปีนั้นยังเป็นไปได้ยากเพราะตลาดคริปโตฯ เมืองไทยแม้จะเติบโตต่อเนื่อง แต่ยังไม่ใหญ่มากพอกับตลาดในต่างประเทศ อีกทั้งการจะทำให้เติบโตได้ต้องมีโปรดักต์ที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดนักลงทุนรายใหญ่จากต่างประเทศเข้ามาลงทุน
เมื่อประมวลจากความเสี่ยงที่เกิดขึ้นดังที่กล่าวมาการคืนทุนอาจจะใช้เวลานานกว่าเดิม ที่เหลือต้องพยายามอย่างหนักเพื่อรอให้ไซเคิลของคริปโตเคอร์เรนซีหวนกลับมาอยู่ในภาวะกระทิง และผลักดันแผนในการทำ IPO ของบิทคับที่คาดว่าจะระดมทุนได้อีกรอบให้ลุล่วงโดยเร็ว แต่ปัญหาที่จะตามมาก็คือ ปัจจัยเสี่ยงกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานของบิทคับ SCBX น่าจะต้องทำใจกับมูลค่าที่ลดลง และประเด็นที่ไม่เคยมีใครมอง นั่นคือ การลงทุนในเรื่องเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเร็ว และการให้ความสำคัญในเรื่องระบบหลังบ้านและด้าน SECURITY เพราะ Bitkub เคยมีปัญหารับออเดอร์ไม่ทัน และยังไม่เคยเจอบททดสอบที่สำคัญ เช่น การโดนแฮกข้อมูล (Hack) ในฐานะ Exchange ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นกับ Exchange รายใหญ่มามากแล้ว
“ถ้าโดนแฮกขึ้นก็ไม่รู้จะเกิดอะไรกับ SCB ยิ่งโดนหลังจากดีลนี้จบแล้วยิ่งน่ากังวล เพราะเวลาแฮกกันเขาไม่ได้แฮกกันน้อยๆ มันเป็นเม็ดเงินจำนวนมาก และการที่ Exchange โดนแฮก มันหมายถึงต้องรับผิดชอบในส่วนที่สูญหายไปของลูกค้าด้วย ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่ต้องติดตามว่าจะรับมือกับเรื่องดังกล่าวอย่างไร”
งานนี้ต้องติดตามกันต่อไป เมื่อ SCBX กระโดดขี่หลังยูนิคอร์น Bitkub บทสรุปสุดท้ายจะเป็นอย่างไร
(โปรดติดตามอ่านตอนที่ 2 ย้อนรอยซูเปอร์ดีล หุ้นพุ่ง-Kubcoin ทะลุเมฆ ใครปั่น ใครได้ ใครเสีย ในวันจันทร์ถัดไป)
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 38
KUBCOIN เจ้ามือรวย แมงเม่าม้วยมรณา
By Admin -March 14, 2022
ย้อนรอยอภินิหาร “Kubcoin” จากเหรียญมโนสู่เหรียญทองคำ ราคาจาก 30 บาทลากขึ้นไป 500 กว่าบาท หรือขึ้น 1,800% ก่อนเจ้ามือทุบจนแมงเม่าแดดิ้น ก.ล.ต. ลั่นตรวจสอบถึงที่สุด สะท้อนภาพความน่าเชื่อถือตลาดไทย เหรียญไทย อันตรายไม่ต่างจากบ่อนพนัน ฝันเทียบสากลยังห่างไกล คนต้องมนต์ต้องคิดให้หนัก
จากกรณี “ซูเปอร์ดีล” ที่กลุ่มธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB)” จะเข้าซื้อหุ้นบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (Bitkub) 51% คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.78 หมื่นล้าน เพื่อเป็นทางลัดเข้าสู่ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Exchange) เริ่มมีคำถามว่า จะได้คุ้มกับเสียหรือไม่? (ดังรายละเอียดตอนที่ 1) ขณะที่ฝั่งของสตาร์ทอัพ บิทคับ (Bitkub) โดย กลุ่มของ “ท็อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา”ผู้ก่อตั้งวิเคราะห์กันว่า มีได้กับได้ โดยเด้งแรกที่ได้คือ เงินจากการขายหุ้นให้ SCBX ที่ส่งผลให้จากสตาร์ทอัพที่เพิ่งก่อตั้งมาเพียงไม่กี่ปีกลายร่างเป็น “ยูนิคอร์น” ตัวใหม่ของประเทศ และ อีกเด้ง คือ มูลค่าราคาของ Kubcoin เหรียญของ Bitkub เองที่ราคาพุ่งสร้างอภินิหารที่ตามมาด้วยข้อสงสัยมากมาย
KUB Cion เริ่มจากเหรียญมโน??
ตามข้อมูลในไวท์เปเปอร์ V1 ของ Bitkub ระบุว่า Bitkub Coin (KUB) คือ เหรียญประจําเครือข่าย Bitkub Chain (เปรียบได้กับ Ether บน Ethereum Network) ทำหน้าที่หลักในการขับเคลื่อนเครือข่ายกระจายศูนย์ โดยจะมีหน้าที่เป็น Gas เช่นการสร้างบล็อกเชนใหม่ การทําธุรกรรมบนเครือข่าย Bitkub Chain หรือ เครือข่าย Smart Contracts เช่น การโอนทรัพย์สิน, การจัดเก็บข้อมูลและอื่นๆ และ สามารถนําไปแลกเป็น Fee Credits หรือค่าธรรมเนียมในการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลบนกระดานเทรด Bitkub
เรียกว่า Kub เป็น Utility Token ที่บิทคับเขียนแผนวาดฝันโฆษณาชี้ชวนกับนักลงทุน จะให้เป็นตัวอย่างของเหรียญคริปโตพันธุ์ไทยที่จะผลักดันให้มีการใช้เชื่อมต่อการทำธุรกรรมต่างๆ บนเครือข่ายของพวกเขา ไม่ต่างจากเครือข่ายของอีเทอร์เลียมในระดับสากล โดย Bitkub จะทำการออกเหรียญทั้งหมด 1,000 ล้านเหรียญ คำนวณมูลค่าที่เหมาะสมไว้ที่ราคา 30 บาทต่อ 1เหรียญ หรือ จะระดมทุนได้กว่า 30,000 ล้านบาท!
ทว่า ในแวดวงสตาร์ตอัพขณะนั้นหลังจากได้เข้าไปดูไวท์เปเปอร์ V1 ของบิทคับต่างพากันประหลาดใจไม่น้อย ที่แผนนอกจากจะให้รายละเอียดไม่มากนัก ไม่ต่างกับการ “มโน” ที่ KUB ไม่มีมูลค่าอะไรในตัวเอง หรือ ปัจจัยพื้นฐานอะไรรองรับ แต่กลับการเล่นใหญ่ด้วยการตั้งเป้าระดมกว่า 30,000 ล้าน และ ชี้ชวนให้เห็นว่า Kubcoin คือเงินอนาคตจะมาเปลี่ยนโลกธุรกิจ “Kubcoin is Futureof Thailand” ทำไมหน่วยงานกำกับดูแลถึงกล้าปล่อยให้มีการระดมทุนหลายหมื่นล้านได้เลยหรือ?
มิหนำซ้ำ ยังมีคำถามว่า เจ้าของสามารถเสกเหรียญขึ้นมาเพื่อขายเอาเงินไปใช้ในโครงการ แถมยังเทรดในตลาดตัวเองเก็งกำไรสูงต่ำหูดับตับไหม้ ลักษณะไม่แตกต่างจากยกบ่อนพนันออนไลน์ขึ้นมาเล่นอย่างถูกกฎหมายใช่หรือไม่??
ที่สำคัญ จากไวท์เปเปอร์ แสดงให้เห็นถึง บิทคับ ตั้งใจปล่อยเหรียญออกมาขายในตลาดตัวเองเรื่อยๆ โดยอ้างว่า เป็นค่าพัฒนาธุรกิจ สภาพคล่อง และพันธมิตรธุรกิจ ซึ่งถ้าเป็นไปตามโรดแมปย่อมหมายถึงเม็ดเงินมหาศาลที่จะเข้ากระเป๋าเจ้าของเหรียญอย่างง่ายดาย
อภินิหาร Kubcoin จาก 30 บ. ราคาปั่นขึ้นไป 1,833%
Kubcoin เปิดตัวเมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2564 แต่ไม่ได้สวยหรูอย่างที่นักเทรดคิด โดยการซื้อขายเปิดด้วยตัวแดง จากการเทขายอย่างหนัก ราคาร่วงจาก 30 บาทไหลรูดลงไปอยู่ที่ระดับต่ำสุดที่ 12 บาท นักวิเคราะห์มองว่า นั่นคือ ภาพสะท้อนความเชื่อมั่นและปัจจัยพื้นฐานที่มีต่อ Kubcoin และเจ้ามือถือโอกาสทำกำไรตั้งแต่แรกเลย
ราคา Kubcoin ที่เปิดตัวไม่สวยด้วยแดงเลือดสาดทำให้บรรดานักลงทุนเรียกร้องผ่านโซเชียลทวิตข้อความเรียกร้องให้ท็อป จิรายุส ที่สร้างตัวตนให้แฟนคลับบนโลกออนไลน์รับรู้ถึงคนที่จะเปลี่ยนโลก เปลี่ยนชีวิตนักเทรด ให้เชื่อมั่นในเหรียญ Kub ออกมาช่วยเหรียญหน่อย ซึ่ง ท็อป ก็ขานรับได้โพสต์ลงทวิตเตอร์ว่า “เดี๋ยวคอยดูกัน”
ว่ากันว่า ใน 2 วันแรกที่ Kubcoin สามารถขายได้ 50 ล้านเหรียญ จากนั้นราคาก็ร่วงลงมาเหลือ 13-14 บาท เนื่องจากคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. มองเห็นสัญญานอันตราย จึงตั้งกฎว่าห้ามบุคคลที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ซื้อขายออกเหรียญเองเทรดเองเพราะขัดแย้งผลประโยชน์ แม้จะไม่มีผลย้อนหลัง แต่ทำให้ศูนย์ซื้อขายอื่น ๆ ทำไม่ได้จนเกิดเป็นดราม่ากัน
หลังจากนั้น ปรากฏในเวลาต่อมาเพียง 1 เดือน บิทคับ ต้องออกประกาศไวท์เปเปอร์ V2 ออกมา ซึ่งหนึ่งในประเด็นสำคัญ คือ การ “เผาเหรียญ” ทิ้ง 89% หรือ จาก 1,000 ล้านเหรียญให้เหลือเพียง 110 ล้านเหรียญ เพื่อดึงราคา และ สภาพคล่องให้กับ Kubcoin
ทว่า จุดเปลี่ยนของ Kubcoin ก่อนที่ราคาถูกปั่นทะลุเมฆก็ต้องบอกว่า มาจากข่าวการเข้ามาซื้อหุ้นของผู้เล่นรายใหญ่ SCBX ค่ำคืนวันที่ 2 พ.ย. 2564
ราคาเหรียญขยับจากเดิมที่ระดับ 30 – 33 บาท ต่อ 1 เหรียญ พุ่งสูงขึ้นถึง 98 บาทต่อเหรียญ หรือกว่า 196%
จากนั้น “สตอรี่” เพื่อสนับสนุนให้เหรียญดูมีค่ามีราคาต่างๆ ก็ผุดขึ้นมาเป็นราววางพล็อตซีรีส์เกาหลีนั่นคือ เมื่อวันที่ 26 พ.ย. “ท็อป จิรายุส” นำทีมเปิดตัว “Bitkub NFT” ซึ่งเป็น Official Project แพลตฟอร์มของ Bitkub Chain ประโคมโอ่ว่า เพื่อให้คนไทยทุกคนสามารถเข้ามาสัมผัสและเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่กำลังเป็นกระแสระดับโลก
สิ่งที่ช่วยเพิ่มแรงดึงดูดของ Bitkub NFT คือการดึงคนที่มีชื่อเสี่ยง เข้ามาร่วมซื้อขาย อาทิ บี้ เดอะสกา, ปลื้ม VRZO, เก๋ไก๋สไลเดอร์ ฯลฯ เข้ามาเปิดขายในแพลตฟอร์มดังกล่าว
ข่าวดีประกอบกับ การตีปี๊บสร้างกระแสจากอินฟูเอนเซอร์ทำให้ราคา Kubcoin ในช่วงนั้นซึ่งขยับขึ้นไปอยู่ที่ 123 บาทต่อ 1 เหรียญ ส่งผลจิตวิทยาทำให้บรรดานักเทรดมือใหม่ นักเรียน นักศีกษา เหล่านักลงทุนรายย่อยมองเห็นโอกาสเข้าตลาดหากำไร ไม่ต้องคิดมากแห่แหนเข้ามาเทรด Kubcoin กันอย่างคึกคัก ยิ่งทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นไปอย่างบ้าคลั่ง กระทั่งดีดตัวเพิ่มขึ้นไปจนถึงระดับ 500 บาทต่อ 1 เหรียญ เพิ่มขึ้น 306.50% ทำจุดสูงใหม่เป็นประวัติการณ์ (All Time High) เป็นอภิหารที่ไม่มีวันลืมเลือนของนักเทรด หรือนักรบของบิทคับ
ปรากฏการณ์ดังกล่าว ทำให้สาวกหรือผู้ที่ชื่นชอบใน Bitkub ที่ทำกำไรได้สุดโต่ง ประกาศจะแก้ผ้าวิ่งหน้าบริษัท Bitkub ทำเอา “ท็อป จิรายุส” ปลื้มส่งข้อความผ่านทวิตฯ กลับว่าถ้าจะวิ่งขอเป็น Bikini สีเขียวจะดีกว่า
ขณะที่ ณ เวลานั้น นักวิเคราะห์หลายคนที่กังวลว่าราคาของเหรียญอาจมีการปรับฐานร่วงลงได้ตามกลยุทธ์ Sell on Fact ส่วนด้านเหตุและผลของคำกล่าวอ้าง ในเวลานั้นคือ มูลค่าราคาเหรียญ KUB ที่ระดับ 500 บาทต่อ1 เหรียญนั้นมาจากสภาวะตลาดที่มีการเข้าซื้อมากจนเกินไป (Over bought)
แต่ใช่ว่า Kubcoin จะหยุดเพียงเท่านี้ เพราะหลังจากดูเหมือนจะหมดสตอรี่สร้างราคาให้เหรียญ จนราคาร่วงลงมาต่ำกว่า 240 บาทต่อเหรียญอีกครั้ง ปรากฏ Kubcoin ก็สร้างอภินิหารสำแดงเดชส่งท้ายปี ในวันที่ 28 พ.ย. เมื่อทางกลุ่มประกาศข่าวดี Kubcoin ถูกนำไปเทรดในกระดานระดับโลกแล้วถึง 3 ตลาด จนราคาขยับไปที่ 580 บาทต่อ 1 เหรียญ หรือ 1,833% จากราคาตั้งต้นของเหรียญที่ระดับ 30 บาทต่อ 1 เหรียญ
วันมหาวิปโยคปั่นแล้วทุบ?
อย่างไรก็ดี การลงทุนมีความเสี่ยง การเทรดคริปโตที่ว่ากันว่าเป็นตลาดซิ่ง ที่ขึ้นสูงสุดสอยอยู่บนดอยฟ้ากว้างฉันใดก็ดำดิ่งลงก้นเหวได้พลันเช่นกัน หรือเรียกว่า กำไรเป็นพัน% ก็ต้องเตรียมตัวทำใจขาดทุนได้เป็นพัน% โดยเฉพาะเมื่อปัจจัยเปลี่ยนแปลงเร็ว และ เจตนาของขาใหญ่ ที่จงใจปั่นราคาแล้วทุบ?
ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า เป็นวันวิปโยคของบรรดานักลงทุนรายย่อยในตลาดบิทคับ ขณะที่ยังเมามันส์กับการเก็งกำไร สรรเสริญท็อป จิรายุส เป็นสุดยอดเจ้าพ่อคริปโตฯผู้เสกความมั่งคั่งให้นักลงทุนได้ จู่ๆ หลังจากราคา Kub ขึ้นไปทำจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ได้ไม่นาน ก็มีแรงเทขายอย่างหนักในช่วงเช้าวันที่ 30 พ.ย. 2564 ส่งผลให้ราคาเหรียญดิ่งเหวลงไปอยู่ต่ำสุดของวันที่ 150 บาท หรือ ร่วงไป 70%
วันเดียวกันกับที่ Kub ร่วงหนักอีกสองเหรียญสัญชาติไทย Jfincoin และ Six Coin ที่เทรดในตลาดของ Bitkub ก็กอดคอกันในร่วงพร้อมกันอย่างน่าผิดสังเกต ลักษณะเหมือนการปั่นราคาแล้วทุบลงมาในจังหวะแพตเทิร์นเดียวกัน ซึ่งในแวดวงนักลงทุนว่ากันว่า เป็นหายนะของแมงเม่าอย่างแท้จริง ที่ถูกเกมปั่นราคาหลอกให้เข้ามาซื้อในราคาที่สูงก่อนที่เหมือนมีใครถอดปลั๊กตลาด Bitkub แบบน่าสงสัยว่า มันเกิดอะไรขึ้น?
ราคาที่ร่วงอย่างน่าตกใจ ทำให้รายย่อยนักเทรดทั้งหลายร้องระงมไปทั่วโซเซียล ไม่เว้นแม้แต่ “เจ ชนาธิป สรงกระสินธ์” นักฟุตบอลทีมชาติไทย คนดังถึงกับโพสต์ความในใจพร้อมแคปหน้าจอกราฟแสดงราคาเหรียญ Kubcoin ลงโซเชียลส่วนตัว ฝากถึง บิทคับในวันมหาวิปโยควันนั้นว่า “ทำกันได้ลงคอนะ Kub” โดยมีแฟนๆ และสาวกบิทคับออกมาแสดงความเห็นร่วมชะตากรรมเดียวกันและแชร์ไปจำนวนมาก
เจ้ามือรวย แมงเม่าม้วยมรณา
ประเด็นดังกล่าว หลายฝ่ายเชื่อว่า เหรียญที่เทรดในตลาดบิทคับ ย่อมมีผู้กำกับ หรือ “เจ้ามือ” ทำราคาเหรียญ KUB ที่ไม่น่าขยับขึ้นได้ให้ขึ้นได้ราวกับร่ายเวทมนต์ นอกจากนี้ยิ่งทำให้เชื่อว่า การขยับของเหรียญ KUB ไม่ได้มาจากปัจจัยพื้นฐานของเหรียญ หากแต่มาจากอารมณ์ร่วมของนักลงทุน และ “พลังยุทธ์” มากกว่า หนี่งในนั้นก็เป็นผู้ก่อตั้งเองที่ขยันทวิตข้อความสนับสนุนเหรียญของตัวเอง
หากจะถามว่า Kub ที่ถูกปั่นราคาให้บินสูงขึ้นเรื่อยๆ จาก 30 บาทมาไกลถึง 500 กว่าบาทแน่นอน เจ้ามือกินรวบ รวยอู้ฟู่ แต่สำหรับรายย่อยมันคือ หายนะ การหมดเนื้อหมดตัว ใครที่ขายไม่ทัน ออกไม่ได้ แม้จะรู้ว่า การลงทุนมีความเสี่ยง แต่คำถามคือ หากเป็นเรื่องของการทำราคา ปั่นเหรียญ อินไซต์เดอร์การซื้อขายอย่างยุติธรรมมันควรมีหรือไม่? หรือจะปล่อยให้พวกเขาแมงเม่าม้วยมรณาไปอย่างไม่อินังขังขอบ ตกเป็นเหยื่อของเจ้ามือที่โกยเงินเข้ากระเป๋าไปเรียบร้อย
ปั่นคริปโตน่ากลัวพอกับปั่นหุ้น
จากข้อมูลที่กล่าวมา ทำให้พอทราบว่าลักษณะการเคลื่อนไหวของราคาเหรียญคริปโตฯ ทุกวันนี้ ไม่ต่างอะไรจากหุ้นปั่นในอดีต ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะเจอคำถามว่า “ขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือขึ้นโดยเหตุผลรองรับไม่เพียงพอ” และใครที่ได้ที่เสียกับลการขึ้นของราคาหุ้น จะเป็นป้าแม้วที่ขายส้มตำอยู่หน้าออฟฟิศ หรือน้าปูแม่บ้านหรือเปล่า? หรือ “คนที่คุณรู้ว้าใคร?”
สิ่งเหล่านี้ ทำให้ต้องย้อนกลับมาถึง คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีความสามารถในการตรวจสอบมากน้อยเพียงใด เพราะนี่คือเหรียญคริปโตฯ ไม่ใช่หุ้นที่มี “ซิลลิ่ง –ฟลอร์” มาช่วยติดเบรก หรือส่งสัญญาณเตือน อีกทั้งถ้ามีการเตือนเกิดขึ้น บรรดาสาวกในวงการคริปโตฯ คงไม่พอใจหากราคาเหรียญถ้าจะเหวี่ยงขึ้นเหวี่ยงลงแล้วต้องถูกห้าม หรือถูกเบรก และมองว่าเป็นการปิดกั้นเสรี
ขณะเดียวกันหากมองในมุมของการลงทุนหุ้น เรื่องราวบางเรื่องที่เหรียญคริปโตนำมาสร้างกระแสปั่นราคา หนีไม่พ้นกับคำว่า “Insider” การเอาข้อมูลภายในมาหาผลประโยชน์ จึงถือเป็นเรื่องสำคัญของหน่วยงานที่กำกับดูแลควรให้ความใส่ใจต่อเหตุการณ์เหล่านี้
นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวถึงกระแสการปั่นราคาเหรียญคริปโตฯ ที่เกิดขึ้นว่า ก.ล.ต.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างการตรวจสอบถึงความไม่เป็นธรรมของราคาเหรียญคริปโตฯ ด้วยเช่นกัน เพราะลักษณะของการสร้างราคามีความใกล้เคียงกับการปั่นหุ้น แต่จำเป็นต้องดูให้ชัดเจน ต้องใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูล ทำให้ต้องใช้เวลา และต้องไปดูว่าใครมีส่วนเกี่ยวข้อง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมันมีข่าวอะไรถึงทำให้ราคามันปรับขึ้น
“อย่างไรก็ตาม ก็ต้องให้โอกาสชี้แจง ที่ผ่านมาราคาเหรียญคริปโตฯ ถือว่าร้อนเกินควร ตอนนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อเท็จจริง มันเป็นหน้าที่ ก.ล.ต.เรามีอำนาจหน้าที่ ที่ผ่านมาเขามีแต่ปั่นหุ้น ตอนนี้ก็อาจมีการปั่นเหรียญ อยู่ดีๆขึ้นราคาได้งัยเราต้องดูสภาพผิดปกติ มีใครเข้ามาทำราคา ใครเอาเปรียบผู้ลงทุน และเนื่องจากมันเป็นคดีอาญา จึงต้องใช้เวลาในการพิจารณาอย่างชัดเจน ต้องรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อไม่ให้มีข้อสงสัย”
KUB ส่งเสริมหรือทำลายความน่าเชื่อถือคริปโตไทย?
จากปรากฏการณ์ อภินิหาร Kubcion นับแต่เป็นเหรียญในไวท์เปเปอร์ถูกปล่อยออกมาเทรดใน Bitkub Exchange แพลตฟอร์มเทรดคริปโตฯ สัญชาติไทยจนถึงการ “ปั่นราคา” อยู่เหนือเหตุผลของปัจจัยพื้นฐานดูเหมือนว่า ตอนนี้จะเริ่มมีคำถามว่า แท้ที่จริง การออก Kub ของบิทคับเพื่อส่งเสริมหรือทำลายความน่าเชื่อถือให้กับวงการสินทรัพย์ดิจิตอลไทยกันแน่?
คำอธิบายในไวท์เปเปอร์ดูเหมือนจะทำเป็นตัวอย่างให้องค์กรธุรกิจ กลุ่มนายทุนได้เห็นถึง ด้านของการพัฒนาส่งเสริมการเชื่อมต่อโลกอนาคต แรกๆ หากองค์กรธุรกิจกระโจนลงมา หรือ คนที่มีชื่อเสียงไม่ต้องการตกเทรนด์ อาจจะดีในแง่ส่งเสริมภาพลักษณ์ของตนเองให้ดูดีทันสมัย แต่ในระยะยาวมันอาจจะตรงกันข้ามก็ได้ ใครเลยจะรู้
เนื่องเพราะ ทำไปทำมา Kubcoin กลับสื่อไปอีกด้าน นั่นคือ ด้านมืด เงินอนาคตหาได้อย่างง่ายดาย หลอกนักเทรดมือไหม่ คนรุ่นใหม่หวังรวยโดยโชคช่วยให้เข้ามาสัประยุทธ์ในตลาดที่เต็มไปด้วยการสร้างราคาเหรียญ เก็งกำไร ไม่ต่างกับการพนัน เป็นตลาดที่พร้อมจะสร้างความร่ำรวยให้กับเจ้าของเหรียญอย่างนั้นหรือ??
เหรียญอย่าง KUB, SIX, JFIN มีการซื้อขายคิดเป็นเกือบ 70% ของยอดการซื้อขายทั้งหมด แซงหน้าเหรียญยอดนิยมอย่าง BTC อย่างไม่เห็นฝุ่น ย่อมไม่มีเหตุผลอื่นนอกจากการเก็งกำไรการขึ้น-ลงอย่างรุนแรงของเหรียญของคนไทย ที่มีการซื้อขายเฉพาะในวงคนไทยเป็นส่วนใหญ่ สะท้อนภาพว่า เหรียญสามารถถูกปั่นราคาได้ง่ายใช้เงินไม่มากปริมาณ supply ของเหรียญน้อย อาศัย Market marker ที่ถูกจ้างมา และข่าวความร่วมมือนู่นนี่นั่นก็ทำให้ราคาเปลี่ยนแปลงได้ตามปรารถนาของ “เจ้ามือ” จน “แมงเม่า” นักลงทุนหน้าใหม่ หลงแสงเข้ามาติดกับดัก เหรียญที่ถูกปั่นราคาขึ้นไปก็พร้อมที่จะเทขายเพื่อทำกำไรอย่างที่เห็น
ขณะที่การตรวจสอบของก.ล.ต.แม้จะเปิดวอร์รูมติดตามตรวจสอบ ฟังว่า ได้ตรวจสอบกรณีของ 3 เหรียญไทยสร้างราคาหรือไม่ไปแล้วตั้งแต่เกิดเรื่อง แต่ก็ถูกมองว่า ล่าช้า จึงมีคำกล่าวว่า ขนาดปั่นหุ้นยังจับได้ยาก ปั่นคริปโต การจะจับมือใครดมนั้นยิ่งไม่ต้องคาดหวัง
ความน่าเชื่อของตลาดคริปโตฯ ไทยจึงยังเป็นเครื่องหมายคำถามตัวโตๆ ซึ่งการพัฒนาส่งเสริมสินทรัพย์ดิจิทัลไม่ใช่เรื่องผิดแปลกเพราะแนวโน้มโลกการเงินเปลี่ยนแปลงเร็ว ไทยก็ต้องปรับตัวตาม แต่ใครก็ตามที่เอากระแสมาขี่ ทำโฆษณา เอาความคิดสร้างความร่ำรวย สร้างความเชื่อผิดๆ ให้ตลาด มิหนำซ้ำกระทำเป็นตัวอย่าง ย่อมเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง
โปรดติดตาม “Bitkub” ยูนิคอร์นสายพันธุ์อันตราย?? ได้ในตอนที่ 3 วันจันทร์หน้า
By Admin -March 14, 2022
ย้อนรอยอภินิหาร “Kubcoin” จากเหรียญมโนสู่เหรียญทองคำ ราคาจาก 30 บาทลากขึ้นไป 500 กว่าบาท หรือขึ้น 1,800% ก่อนเจ้ามือทุบจนแมงเม่าแดดิ้น ก.ล.ต. ลั่นตรวจสอบถึงที่สุด สะท้อนภาพความน่าเชื่อถือตลาดไทย เหรียญไทย อันตรายไม่ต่างจากบ่อนพนัน ฝันเทียบสากลยังห่างไกล คนต้องมนต์ต้องคิดให้หนัก
จากกรณี “ซูเปอร์ดีล” ที่กลุ่มธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB)” จะเข้าซื้อหุ้นบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (Bitkub) 51% คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.78 หมื่นล้าน เพื่อเป็นทางลัดเข้าสู่ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Exchange) เริ่มมีคำถามว่า จะได้คุ้มกับเสียหรือไม่? (ดังรายละเอียดตอนที่ 1) ขณะที่ฝั่งของสตาร์ทอัพ บิทคับ (Bitkub) โดย กลุ่มของ “ท็อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา”ผู้ก่อตั้งวิเคราะห์กันว่า มีได้กับได้ โดยเด้งแรกที่ได้คือ เงินจากการขายหุ้นให้ SCBX ที่ส่งผลให้จากสตาร์ทอัพที่เพิ่งก่อตั้งมาเพียงไม่กี่ปีกลายร่างเป็น “ยูนิคอร์น” ตัวใหม่ของประเทศ และ อีกเด้ง คือ มูลค่าราคาของ Kubcoin เหรียญของ Bitkub เองที่ราคาพุ่งสร้างอภินิหารที่ตามมาด้วยข้อสงสัยมากมาย
KUB Cion เริ่มจากเหรียญมโน??
ตามข้อมูลในไวท์เปเปอร์ V1 ของ Bitkub ระบุว่า Bitkub Coin (KUB) คือ เหรียญประจําเครือข่าย Bitkub Chain (เปรียบได้กับ Ether บน Ethereum Network) ทำหน้าที่หลักในการขับเคลื่อนเครือข่ายกระจายศูนย์ โดยจะมีหน้าที่เป็น Gas เช่นการสร้างบล็อกเชนใหม่ การทําธุรกรรมบนเครือข่าย Bitkub Chain หรือ เครือข่าย Smart Contracts เช่น การโอนทรัพย์สิน, การจัดเก็บข้อมูลและอื่นๆ และ สามารถนําไปแลกเป็น Fee Credits หรือค่าธรรมเนียมในการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลบนกระดานเทรด Bitkub
เรียกว่า Kub เป็น Utility Token ที่บิทคับเขียนแผนวาดฝันโฆษณาชี้ชวนกับนักลงทุน จะให้เป็นตัวอย่างของเหรียญคริปโตพันธุ์ไทยที่จะผลักดันให้มีการใช้เชื่อมต่อการทำธุรกรรมต่างๆ บนเครือข่ายของพวกเขา ไม่ต่างจากเครือข่ายของอีเทอร์เลียมในระดับสากล โดย Bitkub จะทำการออกเหรียญทั้งหมด 1,000 ล้านเหรียญ คำนวณมูลค่าที่เหมาะสมไว้ที่ราคา 30 บาทต่อ 1เหรียญ หรือ จะระดมทุนได้กว่า 30,000 ล้านบาท!
ทว่า ในแวดวงสตาร์ตอัพขณะนั้นหลังจากได้เข้าไปดูไวท์เปเปอร์ V1 ของบิทคับต่างพากันประหลาดใจไม่น้อย ที่แผนนอกจากจะให้รายละเอียดไม่มากนัก ไม่ต่างกับการ “มโน” ที่ KUB ไม่มีมูลค่าอะไรในตัวเอง หรือ ปัจจัยพื้นฐานอะไรรองรับ แต่กลับการเล่นใหญ่ด้วยการตั้งเป้าระดมกว่า 30,000 ล้าน และ ชี้ชวนให้เห็นว่า Kubcoin คือเงินอนาคตจะมาเปลี่ยนโลกธุรกิจ “Kubcoin is Futureof Thailand” ทำไมหน่วยงานกำกับดูแลถึงกล้าปล่อยให้มีการระดมทุนหลายหมื่นล้านได้เลยหรือ?
มิหนำซ้ำ ยังมีคำถามว่า เจ้าของสามารถเสกเหรียญขึ้นมาเพื่อขายเอาเงินไปใช้ในโครงการ แถมยังเทรดในตลาดตัวเองเก็งกำไรสูงต่ำหูดับตับไหม้ ลักษณะไม่แตกต่างจากยกบ่อนพนันออนไลน์ขึ้นมาเล่นอย่างถูกกฎหมายใช่หรือไม่??
ที่สำคัญ จากไวท์เปเปอร์ แสดงให้เห็นถึง บิทคับ ตั้งใจปล่อยเหรียญออกมาขายในตลาดตัวเองเรื่อยๆ โดยอ้างว่า เป็นค่าพัฒนาธุรกิจ สภาพคล่อง และพันธมิตรธุรกิจ ซึ่งถ้าเป็นไปตามโรดแมปย่อมหมายถึงเม็ดเงินมหาศาลที่จะเข้ากระเป๋าเจ้าของเหรียญอย่างง่ายดาย
อภินิหาร Kubcoin จาก 30 บ. ราคาปั่นขึ้นไป 1,833%
Kubcoin เปิดตัวเมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2564 แต่ไม่ได้สวยหรูอย่างที่นักเทรดคิด โดยการซื้อขายเปิดด้วยตัวแดง จากการเทขายอย่างหนัก ราคาร่วงจาก 30 บาทไหลรูดลงไปอยู่ที่ระดับต่ำสุดที่ 12 บาท นักวิเคราะห์มองว่า นั่นคือ ภาพสะท้อนความเชื่อมั่นและปัจจัยพื้นฐานที่มีต่อ Kubcoin และเจ้ามือถือโอกาสทำกำไรตั้งแต่แรกเลย
ราคา Kubcoin ที่เปิดตัวไม่สวยด้วยแดงเลือดสาดทำให้บรรดานักลงทุนเรียกร้องผ่านโซเชียลทวิตข้อความเรียกร้องให้ท็อป จิรายุส ที่สร้างตัวตนให้แฟนคลับบนโลกออนไลน์รับรู้ถึงคนที่จะเปลี่ยนโลก เปลี่ยนชีวิตนักเทรด ให้เชื่อมั่นในเหรียญ Kub ออกมาช่วยเหรียญหน่อย ซึ่ง ท็อป ก็ขานรับได้โพสต์ลงทวิตเตอร์ว่า “เดี๋ยวคอยดูกัน”
ว่ากันว่า ใน 2 วันแรกที่ Kubcoin สามารถขายได้ 50 ล้านเหรียญ จากนั้นราคาก็ร่วงลงมาเหลือ 13-14 บาท เนื่องจากคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. มองเห็นสัญญานอันตราย จึงตั้งกฎว่าห้ามบุคคลที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ซื้อขายออกเหรียญเองเทรดเองเพราะขัดแย้งผลประโยชน์ แม้จะไม่มีผลย้อนหลัง แต่ทำให้ศูนย์ซื้อขายอื่น ๆ ทำไม่ได้จนเกิดเป็นดราม่ากัน
หลังจากนั้น ปรากฏในเวลาต่อมาเพียง 1 เดือน บิทคับ ต้องออกประกาศไวท์เปเปอร์ V2 ออกมา ซึ่งหนึ่งในประเด็นสำคัญ คือ การ “เผาเหรียญ” ทิ้ง 89% หรือ จาก 1,000 ล้านเหรียญให้เหลือเพียง 110 ล้านเหรียญ เพื่อดึงราคา และ สภาพคล่องให้กับ Kubcoin
ทว่า จุดเปลี่ยนของ Kubcoin ก่อนที่ราคาถูกปั่นทะลุเมฆก็ต้องบอกว่า มาจากข่าวการเข้ามาซื้อหุ้นของผู้เล่นรายใหญ่ SCBX ค่ำคืนวันที่ 2 พ.ย. 2564
ราคาเหรียญขยับจากเดิมที่ระดับ 30 – 33 บาท ต่อ 1 เหรียญ พุ่งสูงขึ้นถึง 98 บาทต่อเหรียญ หรือกว่า 196%
จากนั้น “สตอรี่” เพื่อสนับสนุนให้เหรียญดูมีค่ามีราคาต่างๆ ก็ผุดขึ้นมาเป็นราววางพล็อตซีรีส์เกาหลีนั่นคือ เมื่อวันที่ 26 พ.ย. “ท็อป จิรายุส” นำทีมเปิดตัว “Bitkub NFT” ซึ่งเป็น Official Project แพลตฟอร์มของ Bitkub Chain ประโคมโอ่ว่า เพื่อให้คนไทยทุกคนสามารถเข้ามาสัมผัสและเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่กำลังเป็นกระแสระดับโลก
สิ่งที่ช่วยเพิ่มแรงดึงดูดของ Bitkub NFT คือการดึงคนที่มีชื่อเสี่ยง เข้ามาร่วมซื้อขาย อาทิ บี้ เดอะสกา, ปลื้ม VRZO, เก๋ไก๋สไลเดอร์ ฯลฯ เข้ามาเปิดขายในแพลตฟอร์มดังกล่าว
ข่าวดีประกอบกับ การตีปี๊บสร้างกระแสจากอินฟูเอนเซอร์ทำให้ราคา Kubcoin ในช่วงนั้นซึ่งขยับขึ้นไปอยู่ที่ 123 บาทต่อ 1 เหรียญ ส่งผลจิตวิทยาทำให้บรรดานักเทรดมือใหม่ นักเรียน นักศีกษา เหล่านักลงทุนรายย่อยมองเห็นโอกาสเข้าตลาดหากำไร ไม่ต้องคิดมากแห่แหนเข้ามาเทรด Kubcoin กันอย่างคึกคัก ยิ่งทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นไปอย่างบ้าคลั่ง กระทั่งดีดตัวเพิ่มขึ้นไปจนถึงระดับ 500 บาทต่อ 1 เหรียญ เพิ่มขึ้น 306.50% ทำจุดสูงใหม่เป็นประวัติการณ์ (All Time High) เป็นอภิหารที่ไม่มีวันลืมเลือนของนักเทรด หรือนักรบของบิทคับ
ปรากฏการณ์ดังกล่าว ทำให้สาวกหรือผู้ที่ชื่นชอบใน Bitkub ที่ทำกำไรได้สุดโต่ง ประกาศจะแก้ผ้าวิ่งหน้าบริษัท Bitkub ทำเอา “ท็อป จิรายุส” ปลื้มส่งข้อความผ่านทวิตฯ กลับว่าถ้าจะวิ่งขอเป็น Bikini สีเขียวจะดีกว่า
ขณะที่ ณ เวลานั้น นักวิเคราะห์หลายคนที่กังวลว่าราคาของเหรียญอาจมีการปรับฐานร่วงลงได้ตามกลยุทธ์ Sell on Fact ส่วนด้านเหตุและผลของคำกล่าวอ้าง ในเวลานั้นคือ มูลค่าราคาเหรียญ KUB ที่ระดับ 500 บาทต่อ1 เหรียญนั้นมาจากสภาวะตลาดที่มีการเข้าซื้อมากจนเกินไป (Over bought)
แต่ใช่ว่า Kubcoin จะหยุดเพียงเท่านี้ เพราะหลังจากดูเหมือนจะหมดสตอรี่สร้างราคาให้เหรียญ จนราคาร่วงลงมาต่ำกว่า 240 บาทต่อเหรียญอีกครั้ง ปรากฏ Kubcoin ก็สร้างอภินิหารสำแดงเดชส่งท้ายปี ในวันที่ 28 พ.ย. เมื่อทางกลุ่มประกาศข่าวดี Kubcoin ถูกนำไปเทรดในกระดานระดับโลกแล้วถึง 3 ตลาด จนราคาขยับไปที่ 580 บาทต่อ 1 เหรียญ หรือ 1,833% จากราคาตั้งต้นของเหรียญที่ระดับ 30 บาทต่อ 1 เหรียญ
วันมหาวิปโยคปั่นแล้วทุบ?
อย่างไรก็ดี การลงทุนมีความเสี่ยง การเทรดคริปโตที่ว่ากันว่าเป็นตลาดซิ่ง ที่ขึ้นสูงสุดสอยอยู่บนดอยฟ้ากว้างฉันใดก็ดำดิ่งลงก้นเหวได้พลันเช่นกัน หรือเรียกว่า กำไรเป็นพัน% ก็ต้องเตรียมตัวทำใจขาดทุนได้เป็นพัน% โดยเฉพาะเมื่อปัจจัยเปลี่ยนแปลงเร็ว และ เจตนาของขาใหญ่ ที่จงใจปั่นราคาแล้วทุบ?
ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า เป็นวันวิปโยคของบรรดานักลงทุนรายย่อยในตลาดบิทคับ ขณะที่ยังเมามันส์กับการเก็งกำไร สรรเสริญท็อป จิรายุส เป็นสุดยอดเจ้าพ่อคริปโตฯผู้เสกความมั่งคั่งให้นักลงทุนได้ จู่ๆ หลังจากราคา Kub ขึ้นไปทำจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ได้ไม่นาน ก็มีแรงเทขายอย่างหนักในช่วงเช้าวันที่ 30 พ.ย. 2564 ส่งผลให้ราคาเหรียญดิ่งเหวลงไปอยู่ต่ำสุดของวันที่ 150 บาท หรือ ร่วงไป 70%
วันเดียวกันกับที่ Kub ร่วงหนักอีกสองเหรียญสัญชาติไทย Jfincoin และ Six Coin ที่เทรดในตลาดของ Bitkub ก็กอดคอกันในร่วงพร้อมกันอย่างน่าผิดสังเกต ลักษณะเหมือนการปั่นราคาแล้วทุบลงมาในจังหวะแพตเทิร์นเดียวกัน ซึ่งในแวดวงนักลงทุนว่ากันว่า เป็นหายนะของแมงเม่าอย่างแท้จริง ที่ถูกเกมปั่นราคาหลอกให้เข้ามาซื้อในราคาที่สูงก่อนที่เหมือนมีใครถอดปลั๊กตลาด Bitkub แบบน่าสงสัยว่า มันเกิดอะไรขึ้น?
ราคาที่ร่วงอย่างน่าตกใจ ทำให้รายย่อยนักเทรดทั้งหลายร้องระงมไปทั่วโซเซียล ไม่เว้นแม้แต่ “เจ ชนาธิป สรงกระสินธ์” นักฟุตบอลทีมชาติไทย คนดังถึงกับโพสต์ความในใจพร้อมแคปหน้าจอกราฟแสดงราคาเหรียญ Kubcoin ลงโซเชียลส่วนตัว ฝากถึง บิทคับในวันมหาวิปโยควันนั้นว่า “ทำกันได้ลงคอนะ Kub” โดยมีแฟนๆ และสาวกบิทคับออกมาแสดงความเห็นร่วมชะตากรรมเดียวกันและแชร์ไปจำนวนมาก
เจ้ามือรวย แมงเม่าม้วยมรณา
ประเด็นดังกล่าว หลายฝ่ายเชื่อว่า เหรียญที่เทรดในตลาดบิทคับ ย่อมมีผู้กำกับ หรือ “เจ้ามือ” ทำราคาเหรียญ KUB ที่ไม่น่าขยับขึ้นได้ให้ขึ้นได้ราวกับร่ายเวทมนต์ นอกจากนี้ยิ่งทำให้เชื่อว่า การขยับของเหรียญ KUB ไม่ได้มาจากปัจจัยพื้นฐานของเหรียญ หากแต่มาจากอารมณ์ร่วมของนักลงทุน และ “พลังยุทธ์” มากกว่า หนี่งในนั้นก็เป็นผู้ก่อตั้งเองที่ขยันทวิตข้อความสนับสนุนเหรียญของตัวเอง
หากจะถามว่า Kub ที่ถูกปั่นราคาให้บินสูงขึ้นเรื่อยๆ จาก 30 บาทมาไกลถึง 500 กว่าบาทแน่นอน เจ้ามือกินรวบ รวยอู้ฟู่ แต่สำหรับรายย่อยมันคือ หายนะ การหมดเนื้อหมดตัว ใครที่ขายไม่ทัน ออกไม่ได้ แม้จะรู้ว่า การลงทุนมีความเสี่ยง แต่คำถามคือ หากเป็นเรื่องของการทำราคา ปั่นเหรียญ อินไซต์เดอร์การซื้อขายอย่างยุติธรรมมันควรมีหรือไม่? หรือจะปล่อยให้พวกเขาแมงเม่าม้วยมรณาไปอย่างไม่อินังขังขอบ ตกเป็นเหยื่อของเจ้ามือที่โกยเงินเข้ากระเป๋าไปเรียบร้อย
ปั่นคริปโตน่ากลัวพอกับปั่นหุ้น
จากข้อมูลที่กล่าวมา ทำให้พอทราบว่าลักษณะการเคลื่อนไหวของราคาเหรียญคริปโตฯ ทุกวันนี้ ไม่ต่างอะไรจากหุ้นปั่นในอดีต ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะเจอคำถามว่า “ขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือขึ้นโดยเหตุผลรองรับไม่เพียงพอ” และใครที่ได้ที่เสียกับลการขึ้นของราคาหุ้น จะเป็นป้าแม้วที่ขายส้มตำอยู่หน้าออฟฟิศ หรือน้าปูแม่บ้านหรือเปล่า? หรือ “คนที่คุณรู้ว้าใคร?”
สิ่งเหล่านี้ ทำให้ต้องย้อนกลับมาถึง คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีความสามารถในการตรวจสอบมากน้อยเพียงใด เพราะนี่คือเหรียญคริปโตฯ ไม่ใช่หุ้นที่มี “ซิลลิ่ง –ฟลอร์” มาช่วยติดเบรก หรือส่งสัญญาณเตือน อีกทั้งถ้ามีการเตือนเกิดขึ้น บรรดาสาวกในวงการคริปโตฯ คงไม่พอใจหากราคาเหรียญถ้าจะเหวี่ยงขึ้นเหวี่ยงลงแล้วต้องถูกห้าม หรือถูกเบรก และมองว่าเป็นการปิดกั้นเสรี
ขณะเดียวกันหากมองในมุมของการลงทุนหุ้น เรื่องราวบางเรื่องที่เหรียญคริปโตนำมาสร้างกระแสปั่นราคา หนีไม่พ้นกับคำว่า “Insider” การเอาข้อมูลภายในมาหาผลประโยชน์ จึงถือเป็นเรื่องสำคัญของหน่วยงานที่กำกับดูแลควรให้ความใส่ใจต่อเหตุการณ์เหล่านี้
นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวถึงกระแสการปั่นราคาเหรียญคริปโตฯ ที่เกิดขึ้นว่า ก.ล.ต.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างการตรวจสอบถึงความไม่เป็นธรรมของราคาเหรียญคริปโตฯ ด้วยเช่นกัน เพราะลักษณะของการสร้างราคามีความใกล้เคียงกับการปั่นหุ้น แต่จำเป็นต้องดูให้ชัดเจน ต้องใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูล ทำให้ต้องใช้เวลา และต้องไปดูว่าใครมีส่วนเกี่ยวข้อง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมันมีข่าวอะไรถึงทำให้ราคามันปรับขึ้น
“อย่างไรก็ตาม ก็ต้องให้โอกาสชี้แจง ที่ผ่านมาราคาเหรียญคริปโตฯ ถือว่าร้อนเกินควร ตอนนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อเท็จจริง มันเป็นหน้าที่ ก.ล.ต.เรามีอำนาจหน้าที่ ที่ผ่านมาเขามีแต่ปั่นหุ้น ตอนนี้ก็อาจมีการปั่นเหรียญ อยู่ดีๆขึ้นราคาได้งัยเราต้องดูสภาพผิดปกติ มีใครเข้ามาทำราคา ใครเอาเปรียบผู้ลงทุน และเนื่องจากมันเป็นคดีอาญา จึงต้องใช้เวลาในการพิจารณาอย่างชัดเจน ต้องรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อไม่ให้มีข้อสงสัย”
KUB ส่งเสริมหรือทำลายความน่าเชื่อถือคริปโตไทย?
จากปรากฏการณ์ อภินิหาร Kubcion นับแต่เป็นเหรียญในไวท์เปเปอร์ถูกปล่อยออกมาเทรดใน Bitkub Exchange แพลตฟอร์มเทรดคริปโตฯ สัญชาติไทยจนถึงการ “ปั่นราคา” อยู่เหนือเหตุผลของปัจจัยพื้นฐานดูเหมือนว่า ตอนนี้จะเริ่มมีคำถามว่า แท้ที่จริง การออก Kub ของบิทคับเพื่อส่งเสริมหรือทำลายความน่าเชื่อถือให้กับวงการสินทรัพย์ดิจิตอลไทยกันแน่?
คำอธิบายในไวท์เปเปอร์ดูเหมือนจะทำเป็นตัวอย่างให้องค์กรธุรกิจ กลุ่มนายทุนได้เห็นถึง ด้านของการพัฒนาส่งเสริมการเชื่อมต่อโลกอนาคต แรกๆ หากองค์กรธุรกิจกระโจนลงมา หรือ คนที่มีชื่อเสียงไม่ต้องการตกเทรนด์ อาจจะดีในแง่ส่งเสริมภาพลักษณ์ของตนเองให้ดูดีทันสมัย แต่ในระยะยาวมันอาจจะตรงกันข้ามก็ได้ ใครเลยจะรู้
เนื่องเพราะ ทำไปทำมา Kubcoin กลับสื่อไปอีกด้าน นั่นคือ ด้านมืด เงินอนาคตหาได้อย่างง่ายดาย หลอกนักเทรดมือไหม่ คนรุ่นใหม่หวังรวยโดยโชคช่วยให้เข้ามาสัประยุทธ์ในตลาดที่เต็มไปด้วยการสร้างราคาเหรียญ เก็งกำไร ไม่ต่างกับการพนัน เป็นตลาดที่พร้อมจะสร้างความร่ำรวยให้กับเจ้าของเหรียญอย่างนั้นหรือ??
เหรียญอย่าง KUB, SIX, JFIN มีการซื้อขายคิดเป็นเกือบ 70% ของยอดการซื้อขายทั้งหมด แซงหน้าเหรียญยอดนิยมอย่าง BTC อย่างไม่เห็นฝุ่น ย่อมไม่มีเหตุผลอื่นนอกจากการเก็งกำไรการขึ้น-ลงอย่างรุนแรงของเหรียญของคนไทย ที่มีการซื้อขายเฉพาะในวงคนไทยเป็นส่วนใหญ่ สะท้อนภาพว่า เหรียญสามารถถูกปั่นราคาได้ง่ายใช้เงินไม่มากปริมาณ supply ของเหรียญน้อย อาศัย Market marker ที่ถูกจ้างมา และข่าวความร่วมมือนู่นนี่นั่นก็ทำให้ราคาเปลี่ยนแปลงได้ตามปรารถนาของ “เจ้ามือ” จน “แมงเม่า” นักลงทุนหน้าใหม่ หลงแสงเข้ามาติดกับดัก เหรียญที่ถูกปั่นราคาขึ้นไปก็พร้อมที่จะเทขายเพื่อทำกำไรอย่างที่เห็น
ขณะที่การตรวจสอบของก.ล.ต.แม้จะเปิดวอร์รูมติดตามตรวจสอบ ฟังว่า ได้ตรวจสอบกรณีของ 3 เหรียญไทยสร้างราคาหรือไม่ไปแล้วตั้งแต่เกิดเรื่อง แต่ก็ถูกมองว่า ล่าช้า จึงมีคำกล่าวว่า ขนาดปั่นหุ้นยังจับได้ยาก ปั่นคริปโต การจะจับมือใครดมนั้นยิ่งไม่ต้องคาดหวัง
ความน่าเชื่อของตลาดคริปโตฯ ไทยจึงยังเป็นเครื่องหมายคำถามตัวโตๆ ซึ่งการพัฒนาส่งเสริมสินทรัพย์ดิจิทัลไม่ใช่เรื่องผิดแปลกเพราะแนวโน้มโลกการเงินเปลี่ยนแปลงเร็ว ไทยก็ต้องปรับตัวตาม แต่ใครก็ตามที่เอากระแสมาขี่ ทำโฆษณา เอาความคิดสร้างความร่ำรวย สร้างความเชื่อผิดๆ ให้ตลาด มิหนำซ้ำกระทำเป็นตัวอย่าง ย่อมเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง
โปรดติดตาม “Bitkub” ยูนิคอร์นสายพันธุ์อันตราย?? ได้ในตอนที่ 3 วันจันทร์หน้า
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 39
Bitkub ยูนิคอร์น สายพันธุ์อันตราย?! (ตอนที่ 3)
By Admin -March 21, 2022
ข่าวเชิงวิเคราะห์ “ชำแหละ Bitkub ยูนิคอร์นสายพันธ์อันตราย??” ความยาวทั้งหมด 5 ตอน อัปเดตทุกวันจันทร์ ตอนที่ 3 โดย iBit
เบื้องหลังเติบโต 1,000% กว่า 3 ปีติดของบิทคับ คู่แข่งปิดกิจการแบบน่าฉงน แรงโปรโมตหนัก กวาดบัญชีมือใหม่ไม่เลือกเป้าหมาย ประวัติถูก ก.ล.ต. ลงโทษระบบ “หลังบ้าน” ไม่รัดกุม ไร้ประสิทธิภาพ รับลูกค้าเกินตัว ขณะที่ KYC มีปัญหา “บัญชีม้า-นอมินี” โผล่มาเพียบ? สร้างราคาเหรียญได้ง่าย ปล่อยคนนอกเข้าบริหาร สุ่มตรวจยังเจอ Market Maker ไม่มีที่ไปที่มาพฤติกรรมน่าสงสัย
กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ตัดสินใจที่จะซื้อหุ้น “บิทคับ ออนไลน์” เจ้าของแพลตฟอร์มศูนย์การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือคริปโตเคอร์เรนซี Exchange จำนวน 51% คิดเป็นมูลค่า 1.78 หมื่นล้านบาท จากกลุ่มบิทคับ ซึ่งกำลังมองกันว่า งานนี้ SCBX จะได้คุ้มกับที่เสียหรือไม่? ขณะที่กลุ่ม Bitkub นอกจากนอนรอรับเงินไหลเข้ากระเป๋ามูลค่ามหาศาลจาก SCBX ยังมี “อภินิหาร KUB” เหรียญสัญชาติไทยที่ทำกำไรให้เจ้ามือกว่า 1,800% ในระยะเวลาไม่กี่เดือนเป็นของแถม (ตามที่นำเสนอไปในตอนที่ 1 และ 2)
หลังจากถูกแจ็กพอตรางวัลใหญ่ด้วยดีล 1.78 หมื่นล้านจากไทยพาณิชย์ ซึ่งทำให้กลุ่มบิทคับที่เริ่มต้นด้วยทุนหลักร้อยล้าน ประกาศต่อวงการอย่างภาคภูมิใจได้ว่า ตัวเองพัฒนาจากบริษัทสตาร์ทอัปธรรมดาไปสู่ “Unicorn (ยูนิคอร์น)” หรือ ธุรกิจ Startup ที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 33,000 ล้านบาท ในเวลาไม่กี่ปี
ทว่า เบื้องหลังธุรกิจดาวรุ่งพุ่งแรงมีประเด็นที่ต้องถาม แท้ที่จริงนั้นบิทคับเติบโตมาอย่างดีจริงหรือ?
บริษัท บิทคับ ออนไลน์ เป็นหนึ่งบริษัทในเครือบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือกลุ่มบิทคับ กลุ่มที่ทำธุรกิจบล็อกเชน และคริปโตเคอร์เรนซี ก่อตั้งเมื่อปี 2018 โดยนอกจากบิทคับ ออนไลน์ กลุ่มบิทคับยังมีบริษัทในเครืออีก 3 บริษัท ซึ่งแต่ละบริษัทถูกวางไว้เป็นบริษัทสร้างโครงสร้าง หรืออินฟราสตรักเจอร์เชื่อมต่อกับโลกดิจิทัล และการเข้าถึงเงินดิจิทัลในโลกออนไลน์ ได้แก่
บริษัท บิทคับ บล็อกเชน เทคโนโลยี จํากัด จะเป็นผู้ให้บริการด้าน Blockchain Full Solution Service และเป็นที่ปรึกษาด้าน ICO (Initial Coin Offering) แก่องค์กรหรือผู้ประกอบการที่ต้องการยกระดับธุรกิจด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน
บริษัท บิทคับ แล็บส์ จํากัด ผู้ให้บริการด้านการให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกเชน สินทรัพย์ดิจิทัล และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และบริษัท บิทคับ เวนเจอร์ส จํากัด เป็นบริษัทที่ลงทุนในโปรโตคอลต่างๆ ลงทุนในสตาร์ทอัปต่าง ๆ ที่เสริมส่งไปด้วยกันได้กับกลุ่มบิทคับ
แม้กลุ่มบิทคับจะขายบิทคับออนไลน์ศูนย์ซื้อขายคริปโตฯ ให้ SCBX แบบยอมถูกเทกโอเวอร์ยกอำนาจบริหารจัดการไปให้ แต่การมีอีก 3 บริษัทในเครือยังถือเป็นฐานที่มั่นสำคัญของกลุ่ม โดยเฉพาะบิทคับ บล็อกเชน ซึ่งถูกวางให้เป็นตัวหลักในการโกยรายได้กับองค์กรธุรกิจและบุคคลที่ต้องการเข้าถึงเงินดิจิทัล โดยขณะนี้ได้รุกทำการตลาดอย่างหนักกับคนที่มีชื่อเสียง เซเลบ นักธุรกิจ วงการต่างๆ เช่น วงการอุตสาหกรรมบันเทิง วงการโฆษณา อินฟลูเอนเซอร์ (โปรดติดตามอ่านได้ในตอนที่ 4)
3 ปีเศษนับแต่ก่อตั้งธุรกิจศูนย์ซื้อขายคริปโตฯ บิทคับออนไลน์ เป็นตัวหลักที่ทำรายได้ให้กลุ่มบิทคับเป็นกอบเป็นกำ แต่ละปีมีอัตราการเติบโตสูงจนน่าตกใจ
ท็อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บิทคับ กล่าวหลายครั้งในหลายสื่อว่าผลประกอบการของบิทคับเติบโตกว่า 1,000% ติดต่อมา 3 ปีต่อเนื่อง ดีกว่าธุรกิจอื่นๆ ที่แค่เติบโต 10% ก็ถือว่าดีมากแล้ว
ถามว่าอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้บิทคับมีอัตราการเติบโตสูงมากขนาดนั้น จิรายุส บอกว่า มีหลายปัจจัย แต่ “จังหวะเวลา” หรือไทมิ่งดี เป็นปัจจัยหลัก กล่าวคือ บิทคับอัปเกรดมากับกระแสขาขึ้นของ “บิตคอยน์” โดยประโคมว่า เป็นกลุ่มแรกๆ ทำสิ่งที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ แต่เป็นเทรนด์ของโลก
เรียกว่า บิทคับ ได้บิตคอยน์มาเป็นตัวเรียกแขกสำหรับตลาดซื้อขายคริปโตฯ ของตนเองก็ไม่ผิดนัก แต่การเติบโตพรวดพราดราวกับขีปนาวุธพุ่งสู่ท้องฟ้าของบิทคับไม่ได้มีแค่เรื่องของกระแสที่เป็นโชคช่วย
เบื้องหลังเติบโตปีละ 1,000%
ปัจจัยแรก สิ่งที่ทำให้บิทคับเติบโตกว่า 1,000% หลังจากที่ก่อตั้งในปี 2561 ว่ากันว่า ก่อนตลาดบิทคับจะฮิตติดลมบนของนักเล่นคริปโตฯ เคยมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาบุกเบิกธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในไทย และเป็นรายแรกๆ ที่ได้ไลเซนส์จากสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ชื่อว่าบริษัท บิทคอยน์ จำกัด หรือ BX
ด้วยมาตรฐานของต่างชาติที่เข้าใจในเทคโนโลยีและสินทรัพย์ดิจิทัล BX จึงค่อยๆ ได้รับความน่าเชื่อถือจากคนไทยที่เริ่มเข้าใจเข้ามาเปิดบัญชีเป็นลูกค้ามากขึ้นเรื่อยๆ
การดำเนินงานของบริษัทมีแนวโน้มที่จะเติบโตไปด้วยดี เพราะกระแสของบิตคอยน์ในตลาดการเงินดิจิทัลโลกขณะนั้นกำลังเป็นที่นิยม เป็น “ขาขึ้น” ที่ใครๆ ก็พูดถึงและระยะยาวก็คาดกันว่า BX จะเป็น Exchange ลำดับต้นๆ ของไทยได้ไม่ยาก แต่จู่ๆ หลังจากบิทคับเปิดดำเนินการได้ไม่นานนัก ผู้ถือหุ้นของบริษัทนี้กลับตัดสินใจทิ้งกิจการ เอาไลเซนส์ที่ขอมาอย่างยากเย็นคืนกลับให้ ก.ล.ต. ท่ามกลางความงุนงงของวงการคริปโตฯ ไทย พร้อมกันกับข่าวลือที่แพร่สะพัดในวงการว่ามีกลุ่มบุคคลไปกดดันนักลงทุนชาวต่างชาติรายนี้ให้เปิดทางให้กิจการของคนไทยได้แจ้งเกิดแทนที่ จนในที่สุดต้องคืนไลเซนส์ให้ ก.ล.ต.ไป
จริงเท็จเพียงใดก็เป็นเรื่องที่เล่าขานกันในวงการมาถึงทุกวันนี้ แต่การปิดตลาดทั้งที่กำลังรุ่งของศูนย์การซื้อขายคริปโตฯ โดยบริษัทต่างชาติ ใครที่ได้ประโยชน์? พิสูจน์ได้ในเวลาต่อมา
การปิดตัวของ BX ถูกบันทึกไว้ในเอกสารเผยแพร่ข่าวของ ก.ล.ต. ฉบับที่ 105/2562 ระบุว่า ตามที่บริษัท บิทคอยน์ จำกัด ประกาศ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2562 เวลา 6.06 น. ว่า บริษัท บิทคอยน์ จำกัด ได้ตัดสินใจยุติบทบาทการประกอบธุรกิจเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือการให้บริการด้านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Asset Wallet) เนื่องจากบริษัทฯ ได้เล็งเห็นถึงโอกาสในการพัฒนาธุรกิจในทางอื่นๆ แทนการประกอบธุรกิจเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ดังนั้นภายหลังจากวันที่ 30 กันยายน 2562 ลูกค้าจะไม่สามารถทำการซื้อขาย แลกเปลี่ยน (เทรดดิ้ง) ผ่านเว็บไซต์ BX.in.th ได้อีกต่อไป
จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท บิทคับ แคปปิตอลกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ให้สัมภาษณ์ตอนนั้นว่า จากกรณีบริษัท บิทคอยน์ จำกัด ประกาศยุติการประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล มีผู้ลงทุนโอนย้ายเข้ามาใช้บริการเปิดบัญชีกับ Bitkub เฉลี่ยวันละ 25,000 บัญชี ส่งผลให้ Bitkub ก้าวขึ้นมาเป็นตลาดเทรดคริปโตฯ ในไทยอันดับ 1
ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าภายในสิ้นปีเดียวกันนั้นจะมีจำนวนผู้ลงทุนมาเปิดบัญชีกับ Bitkub ไม่ต่ำกว่า 200,000 บัญชี เติบโตขึ้นเป็นเท่าตัวจากปัจจุบันที่มีประมาณ 100,000 บัญชี และนับว่าเติบโตเร็วกว่าเป้าหมายเดิมที่คาดว่าจะไปถึง 200,000 บัญชีในช่วงสิ้นปี 2563
“แนวโน้มธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลยังมีโอกาสเติบโตได้อีกในอนาคตตามรายได้ค่าธรรมเนียมเข้ามาเพิ่มขึ้น และในกรณีที่ผู้ลงทุนหันไปใช้บริการกระดานเทรดคริปโตฯ ของต่างประเทศ มองว่าเป็นสิ่งที่อันตรายมากกว่า เพราะจะไม่มีการแจ้งล่วงหน้าให้ผู้ลงทุนทราบว่าจะปิดตัวอาจทำให้เกิดความเสียหายได้ ซึ่งมีความแตกต่างจากของไทย” จิรายุส กล่าว
รุกการตลาดแบบกวาดลูกค้าดะ
การหายไปของ BX เหมือนคู่แข่งสำคัญถูกตัดออกไปจากเกมการแข่งขัน เปิดโอกาสให้บิทคับรุกทำการตลาดอย่างหนัก โดยบิทคับมีเป้าหมายกวาดลูกค้าคนรุ่นใหม่และนักเสี่ยงโชคมือใหม่ให้เข้ามาเปิดบัญชีมากที่สุด เพื่อหวังวอลุ่มเทรดในตลาด และกำไรจากค่าฟีสูงสุด ดังจะเห็นได้จากการทำการตลาดแบบปูพรม ลด แลก แจก แถม เรียกว่า ขอ “กวาดดะ” ไม่เลือกกลุ่มเป้าหมาย อาศัยยุคเฟื่องฟูของบิตคอยน์ ปรับเกณฑ์เงื่อนไขการเปิดบัญชีให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่แค่มีเงินไม่มากก็ลงทุนได้ โดยแคมเปญโฆษณาที่ว่า “10 บาทก็ลงทุนได้” นั่นทำให้มีลูกค้าแห่แหนมาเปิดบัญชีที่บิทคับมากขึ้นเรื่อยๆ
บิทคับ ลงทุนกับการโฆษณาประชาสัมพันธ์ในทุกช่องทางทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ โดยเฉพาะสื่อนอกบ้านอย่างป้ายบิลบอร์ดตามทางด่วน หรือทุกจุดที่คนมองเห็น ไพรม์แอเรีย ที่ใครๆ ก็มองเห็น โดยป้ายมีพรีเซ็นเตอร์เป็นหนุ่มในภาพลักษณ์ “โอปป้า” ซึ่งก็คือตัวเอง ท็อป จิรายุส เองกับเหรียญคริปโตฯ และสโลแกน “คิดถึงบิตคอยน์ คิดถึงบิทคับ” หรือ “บิทคับ เชื่อมต่อธุรกิจสู่โลกอนาคต” เรียกว่าป้ายท็อป และบิทคับ ตามหลอกหลอนผู้คนไปทั่วบ้านทั่วเมือง
มีการประเมินกันในวงการเอเยนซี ค่าเช่าป้ายโฆษณาของบิทคับ ป้ายในบางจุดที่เป็นไพรม์แอเรีย หรือจุดสำคัญ ต้องจ่ายป้ายละ 7-8 แสนต่อเดือนต่อป้าย รวมที่เช่าไปทั่วกรุงและต่างจังหวัดหลายแห่งเข้ามาแล้วเม็ดเงินส่วนนี้ต้องไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาทต่อปี ถือว่าต่ำกว่าช่วงปกติที่ไม่ใช่ช่วงโควิดแบบนี้ ซึ่งขณะที่รวมสื่ออื่นๆ และกิจกรรมประชาสัมพันธ์ บิทคับน่าจะใช้จ่ายเงินส่วนนี้ปีละราวๆ 1,000 ล้าน
โฆษณาที่ตั้งใจกวาดดะนี้ถือเป็นหนึ่งปัจจัยทำให้ บิทคับ ได้ลูกค้าเป็นนักเรียน นักศึกษา มนุษย์เงินเดือน นักเทรดมือใหม่ นักเสี่ยงโชคที่ไร้ประสบการณ์ต่างหลั่งไหลเข้ามาสู่ตลาดคริปโตฯ บิทคับ ทั้งๆ ที่เป็นคนกลุ่มเสี่ยงสูง มีภูมิคุ้มกันความรู้เรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลไม่มาก
แรกๆ ตลาดของบิทคับมีเหรียญให้เทรดน้อย ขณะสภาพคล่องไม่ค่อยมี อุปมาเหมือนตลาดสดที่มีพ่อค้าแม่ค้าน้อยแผง คนเดินตลาดน้อย เจ้าของตลาดจึงว่าจ้าง Market maker ถึง 17 รายมาช่วยสร้างสภาพคล่องให้ดูเหมือนตลาดคึกคัก และยิ่งปล่อยเหรียญ KUB ของบิทคับเองออกมาเทรดในตลาดตัวเอง บวกกับเหรียญสัญชาติไทยที่เข้ามาสร้าง “อภินิหาร” ร่วมกันในอย่าง SIX JFIN เรื่องราคาที่พุ่งไม่หยุดขึ้นเป็น “มายาภาพ” ที่ดึงดูดแมลงเม่าบินเข้ากองไฟอีกนับล้านๆ บัญชี นี่เป็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดที่กลุ่มบิทคับไม่ได้กล่าวถึง ระบบไม่รัดกุม-ทำธุรกิจไม่มีประสิทธิภาพ
การเติบโตอย่างน่าตกใจของบิทคับนำมาซึ่งปัญหาภายในของบริษัทที่ไม่พร้อม เนื่องเพราะธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล โดยเฉพาะศูนย์ซื้อขาย หรือตลาดคริปโตฯ ไม่ต่างกับตลาดหุ้นที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคมตลาดเงินตลาดทุนและนักลงทุนให้ได้รับความยุติธรรมและตรวจสอบได้ ความสำคัญจึงอยู่ที่ระบบ “หลังบ้าน” และ “การปฏิบัติการ” ที่มีมาตรฐาน ได้รับความน่าเชื่อ
แต่การเปิดรับลูกค้าโดยมองเป้าหมายการเติบโต และรายได้ของตลาดเป็นหลัก ทำให้ บิทคับ กระทำการผิดพลาดในต่างกรรมต่างวาระ
ข้อมูล ณ วันที่ 11 มีนาคม 2565 พบว่า บิทคับ มีประวัติการถูกลงโทษจาก ก.ล.ต. หลายครั้ง ดังนี้
-ในช่วงเดือนมกราคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (“บิทคับ”) ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล รายงานเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อระบบสารสนเทศที่มีความสำคัญ ประเภทระบบหยุดชะงัก (system disruption) ต่อสำนักงานล่าช้ากว่าระยะเวลาที่ประกาศกำหนด เป็นจำนวน 6 ครั้ง
-ระหว่างวันที่ 8 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 7 มีนาคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (“บิทคับ”) ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล มีระบบงานในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (compliance) “ไม่รัดกุมเพียงพอ” ที่จะทำให้บริษัท บิทคับ สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ ไม่กำกับดูแลให้ฝ่ายผลิตภัณฑ์ติดตามคุณสมบัติของเหรียญดิจิทัลสกุล CTXC จึงไม่ได้ update version ของเหรียญ ทำให้เหรียญดังกล่าวที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบิทคับไม่สามารถซื้อขายได้ในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น และมีการปรับตัวของราคาผิดปกติอย่างมาก
-ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2563 ถึงวันที่ 20 มกราคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (“บิทคับ”) ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล มีระบบงานที่เกี่ยวกับการรับและจัดการข้อร้องเรียน และการจัดให้มีช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า รวมทั้งจำนวนและความรู้ความสามารถของบุคลากรไม่เหมาะสมและเพียงพอให้บิทคับประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (“บิทคับ”) ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (trading rules) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยหยุดซื้อขายเหรียญดิจิทัลสกุล JFIN Coin (JFIN) และ Infinitus (INF) ชั่วคราว
bitkub
-ระหว่างวันที่ 2 ถึงวันที่ 21 มกราคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (“บิทคับ”) ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล มีระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขาย ระบบรับฝากและถอนทรัพย์สิน และระบบการแสดงยอดทรัพย์สินของลูกค้าไม่เหมาะสมและเพียงพอให้บิทคับประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
-ระหว่างวันที่ 6 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (“บิทคับ”) ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล มีระบบงานที่รองรับการรวบรวมและประเมินข้อมูลลูกค้าไม่เหมาะสมและเพียงพอให้บริษัท บิทคับ ประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรื่องที่ผิดพลาดหนัก และถูกปรับเป็นเงินจำนวนกว่า 1.2 ล้าน เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 8 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 ซึ่ง ก.ล.ต. ระบุ ว่า “บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (“บิทคับ”) ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล มีระบบงานที่ช่วยเสริมสร้างและรักษากลไกการทำงานของระบบซื้อขายให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย (surveillance) ไม่รัดกุมเพียงพอที่จะทำให้บิทคับทราบธุรกรรมที่อาจเข้าข่ายเป็น “การผลักดันราคา” จากการแจ้งเตือนของระบบในทันที”
-ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (“บิทคับ”) ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าในระบบที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเมื่อทำธุรกรรมเท่านั้น (cold wallet) น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าทั้งหมดที่เก็บรักษาไว้ เป็นเวลา 33 วัน
-ระหว่างวันที่ 5 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 24 มกราคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ยินยอมให้บุคคลที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการงาน นี่คือบันทึกประวัติการถูกลงโทษบิทคับที่ทำผิดพลาดของ ก.ล.ต. สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตของบิทคับนั้นไม่ได้มาพร้อมกับการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มองได้ว่า การสร้างราคาเหรียญ หรืออภิหารของ 3 เหรียญสัญชาติไทยอาศัยรูโหว่ของระบบของบิทคับ หรือไม่ ซึ่งหากถามว่า บิทคับ รู้เห็นเป็นใจปล่อยเพราะได้ประโยชน์ด้วยหรือไม่ ก็เป็นอีกประเด็นที่สงสัยกัน มิหนำซ้ำ การปล่อยให้ “คนนอก” เข้ามามีส่วนบริหารจัดการถือเป็นเรื่องที่คนวงการการเงินที่มีธรรมาภิบาลมองว่า เป็นอันตรายอย่างยิ่ง
บัญชีม้า-นอมินี -มาร์เกตเมกเกอร์ต้องสงสัยโผล่
นอกจากประวัติการถูกลงโทษ ที่อธิบายนัยของการทำธุรกิจของบิทคับ การเข้าตรวจสอบการดำเนินงานตามปกติ (routine inspection) และการสุ่มตรวจของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ของ ก.ล.ต. ก็เป็นอีกประเด็นที่น่าสนใจ
ยกตัวอย่าง บิทคับ เคยมีปัญหาปรากฏเหตุระบบการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทขัดข้องในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2563 ต่อเนื่องถึงต้นเดือนมกราคม 2564 อันส่งผลกระทบก่อให้เกิดความเสียหายต่อลูกค้าของบริษัทเป็นวงกว้าง
คณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุมครั้งที่ 3/2564 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 มีมติอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35 วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.2561 (“พ.ร.ก.สินทรัพย์ ดิจิทัลฯ”) สั่งการให้บริษัทระงับการเปิดรับลูกค้าใหม่ รวมถึงลูกค้าที่อยู่ระหว่างการดำเนินการยืนยันหรือเพื่อพิสูจน์ตัวตนเพื่อเปิดบัญชี จนกว่าจะแสดงให้มั่นใจได้ว่า บริษัทได้ปรับปรุงและมีระบบงานต่างๆ และบุคลากรที่มีความเหมาะสมและเพียงพอตามลักษณะ ขนาด และปริมาณธุรกิจเพื่อให้สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในการตรวจสอบครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1-26 มีนาคม 2564 โดยมีขอบเขตข้อมูลที่ใช้ในการสุ่มตรวจระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 รวมทั้งติดตามและตรวจสอบการปรับปรุง แก้ไขระบบงานต่างๆ ได้แก่ (1) ระบบการซื้อขาย (2) ระบบที่ให้ลูกค้าสามารถถอนทรัพย์สินได้ทันที หากเกิดเหตุระบบซื้อขายขัดข้อง (3) BCP (4) ระบบการรับลูกค้า การยืนยันและพิสูจน์ตัวตนของลูกค้า (5) ระบบรับเรื่องร้องเรียน และ (6) ระบบที่ช่วยเสริมสร้างและรักษากลไกการทำงานของระบบซื้อขายให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย (Market Surveillance) และบุคลากรของบริษัทตามการสั่งการของคณะกรรมการ ก.ล.ต.
จากการตรวจสอบพบปัญหาว่า การเปิดบัญชีของบิทคับทำได้ล่าช้า โดยบริษัทระบุสาเหตุว่า เกิดจากมีผู้สนใจเปิดบัญชีเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากเดิมเฉลี่ยวันละ 1,000 บัญชีเป็นวันละ 15,000 บัญชี ขณะที่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการที่ตรวจสอบข้อมูลลูกค้าก่อนการอนุมัติเพียง 30 คน จึงไม่เพียงพอต่อปริมาณคำขอเปิดบัญชี รวมทั้งเกิดความล่าช้า ซึ่งจากเดิมที่บริษัทกำหนดเวลาดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 24 ชั่วโมง เป็น 3-5 วัน ส่งผลให้ลูกค้ารอนานกว่า 2 สัปดาห์โดย ณ วันที่ 16 มกราคม 2564 บริษัทมียอดคำขอเปิดบัญชีคงค้าง 11,000 ราย ทั้งนี้ บริษัทได้จัดจ้างพนักงาน Outsource 130 อัตรา เพื่อตรวจสอบข้อมูลคำขอเปิดบัญชี
ทว่า การจ้าง Outsource จำนวนมากกลับทำให้บิทคับมีปัญหามากกว่าเดิม คณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุม ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2564 มีข้อสังเกต คือ บริษัทเร่งจัดการแก้ไขปัญหาโดยการรับพนักงาน Outsource เป็นจำนวนมาก ทำให้บริษัทอาจมีความเสี่ยงในการเร่งคุณภาพการทำ KYC หรือการพิสูจน์ตัวตนของลูกค้าที่อาจไม่สามารถระบุตัวตนที่แท้จริง และผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
เพราะฉะนั้นเอง ก.ล.ต.จึงเข้าไปตรวจสอบการปฏิบัติงานเพิ่มเติม พบว่า บริษัทจัดทำ KYC ได้เฉลี่ยวันละ 15,000 บัญชี จึงมีข้อสังเกตว่า บริษัทได้ดำเนินการตามระบบการอนุมัติการเปิดบัญชีที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือไม่ โดยเฉพาะการอนุมัติการเปิดบัญชี กรณีลูกค้าที่จัดอยู่ในกลุ่มประเภทที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณารับลูกค้าของบริษัทก่อน
ประเด็นนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ และหากที่ก่อนนี้ ผู้ก่อตั้งบิทคับ ระบุว่า บริษัทมีลูกค้าเพิ่มขึ้นกว่าจำนวนมากหลัง BX ปิดตัวไปหลายแสนบัญชีที่เข้ามาในช่วงระหว่างนั้น ผ่านระบบ KYC เข้ามาได้อย่างไร? และใครเลยจะรู้ได้ว่า บัญชีกว่า 3 ล้านบัญชีที่บิทคับกวาดมาจะมีบัญชีตัวแทน หรือ “นอมินี” หรือบัญชีม้า อยู่มากน้อยแค่ไหนหลุดลอดมา
ก.ล.ต.ยังระบุว่า การที่บริษัทมีลูกค้าเปิดบัญชีคงค้างเป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถเปิดบัญชีให้ลูกค้าได้ทันภายใน 24 ชั่วโมงตามที่ได้เปิดเผยแก่ผู้ลงทุน ซึ่งแม้บริษัทจะประกาศในเว็บไซต์ว่าจะชดเชยให้ลูกค้าโดยการเครดิตเงินเข้าบัญชีให้ 500 บาท แต่ในหลักการบริษัทควรรับลูกค้าเฉพาะเท่าที่สามารถให้บริการได้ตามที่เปิดเผยไว้ ไม่ใช่รับลูกค้าเกินกำลังและชดใช้ความเสียหายในภายหลัง
แม้ว่าบริษัทจะรายงานว่าได้ปรับปรุงไปตามที่ ก.ล.ต.สั่งการ แต่ภายหลังการสุ่มตรวจของ ก.ล.ต. ระบุว่า ระบบเปิดบัญชี และการพิสูจน์ตัวตนของลูกค้า และผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงของลูกค้าบิทคับ (“enhanced KYC/CDD”) ของกลุ่มลูกค้าที่เป็น “market maker” จำนวน 17 ราย พบว่า มีจำนวน 4 รายที่ไม่รัดกุม โดยบริษัทยังไม่ได้ enhanced KYC/CDD ซึ่งลูกค้า 4 รายดังกล่าวมียอดทรัพย์สินเป็นเงินสดและเหรียญเป็นจำนวนมากไม่สอดคล้องกับเอกสารหลักฐานที่แสดงศักยภาพทางการเงินของลูกค้าที่นำมา
ประเด็นนี้มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจาก การพิสูจน์ตัวตนไม่ได้ว่าลูกค้าเป็นใคร หรือมีบัญชีม้า หรือนอมินีจำนวนมากในตลาด ย่อมทำให้เปิดช่องในการฟอกเงิน เลี่ยงภาษี ทำราคาซื้อขาย หรือปั่นเหรียญ ทำรายการที่ไม่เหมาะสม หรือธุรกรรมที่กระทำการผิดกฎหมาย
ซื้อขายไม่เป็นธรรม ปั่นราคา อินไซต์ ทำได้ง่าย?
แน่นอนว่า การเติบโตของวอลุ่มเทรด และค่าฟี เป็นรายได้หลักของตลาดหุ้น แต่ตลาดก็ต้องลงทุนระบบหลังบ้าน และเข้มงวดต่อการบริหารจัดการ จึงจะถือว่ามีมาตรการให้การซื้อขายมีความเป็นธรรม ปั่นราคาไม่ได้ หรือ ไม่มีการนำข้อมูลภายใน หรืออินไซต์มาใช้เพื่อประโยชน์ของคนบางกลุ่ม ในตลาดคริปโตฯ ก็ไม่แตกต่างกัน จึงมีคำถามว่าจะมีประโยชน์อะไรต่อวงการการเงินหากไส้ในของระบบ “หลังบ้าน” ในการตรวจสอบบัญชีที่ว่ามีมากถึง 3 ล้านของบิทคับ ไม่เป็นไปตามที่เปิดเผยต่อผู้ลงทุน หรือในไวท์เปเปอร์
ที่ผ่านมา ก.ล.ต. ขอให้บริษัทปฏิบัติตามแนวทางที่บริษัทนำเสนอมาให้ ก.ล.ต. และขอให้เสร็จตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ระบบงานและการกำกับระบบซื้อขายการตรวจสอบการสร้างราคา การกระทำที่ไม่เป็นธรรมในการซื้อขายเหรียญเป็นไปตาม พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล เช่น การใช้ข้อมูลภายในเป็นต้น
ต่อมา บิทคับได้กำหนดกระบวนการเพื่อให้เป็นไปตามที่ ก.ล.ต.สั่ง แต่การตรวจสอบ สภาพการซื้อขายที่ผิดปกติไม่ได้กำหนดขั้นตอนและกรอบระยะเวลาในการดำเนิน
อีกทั้งในกรณีที่เกิดสภาพการซื้อขายที่ผิดปกติแล้ว บริษัทไม่ได้กำหนดขั้นตอน กรอบระยะเวลาที่เหมาะสมในการดำเนินการ รวมถึงการกำหนดกรอบเวลาในการดำเนินการเก็บรวบรวมหลักฐาน การตรวจสอบ และการรายงานต่อสำนักงาน ก.ล.ต.
บริษัทอ้างว่า ได้ปรับปรุงแก้ไขแล้วโดยอยู่ระหว่างพิจารณานำระบบการตรวจสอบที่ได้มาตรฐาน (ระบบของ Nasdaq) มาใช้งานด้าน Market Surveillance โดยอยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น คาดว่าจะสามารถเริ่มใช้งานได้ในไตรมาส 1 ปี 2565
นั่นหมายความ ว่า การสร้างราคา ปั่นและทุบเหรียญ 3 เหรียญสัญชาติไทย Kubcoin ของบิทคับเอง JFin และ SIX ที่ร่ำลือกันนั้น ก็แทบไม่ต้องหาคำตอบกันละว่า ทำไมจึงเกิดอภินิหารกับปรากฏการณ์ราคาทะลุแก๊สได้ถึง 1,800% และถูกเจ้ามือเทขายทำกำไรอู้ฟู่ ปล่อยให้นักเทรดมือใหม่ไร้ประสบการณ์สิ้นเนื้อประดาตัวเมื่อปลายปีที่ผ่านมา แบบที่ระบบปล่อยผ่าน ใช่หรือไม่?
ทั้งหมดนี้เป็นการเติบโตของบิทคับที่ผู้ก่อตั้งอย่าง ท็อป จิรายุส ภาคภูมิใจ?
…และ บิทคับ ควรเป็นยูนิคอร์นที่จะวิ่งตะบึงเชื่อมธุรกิจสู่โลกอนาคต หรือเป็นยูนิคอร์นสายพันธุ์อันตราย?? วิญญูชนย่อมสามารถวิเคราะห์หาคำตอบกันเองได้ วิทาลิก บูเทริน ผู้ก่อตั้ง Ethereum กล่าวในบทวิเคราะห์ของนิตยสารไทม์ล่าสุดว่า เขากังวลกับอันตรายต่อนักลงทุนที่กระตือรือร้นอยากรวยถ่ายเดียว ขณะที่นักลงทุนเจ้าของธุรกิจพยายามโน้มน้าวให้เห็นแต่ด้านความมั่งคั่งแบบที่ไร้ยางอาย เอาแต่ครอบงำการรับรู้ของสาธารณชน หรืออาศัยความไม่รู้คริปโตฯ ของคนมาปั่นความร่ำรวยสร้างความมั่งคั่งให้ตนเอง ซึ่งนั่น ทำให้ตลาดคริปโตฯ กลายเป็นบ่อนพนันดีๆ นี่เอง
แน่นอนว่า คริปโตฯ หรือสินทรัพย์ดิจิทัลย่อมมีประโยชน์มากมาย แต่ก็มีเส้นแบ่งบางๆ ระหว่างโทษมหันต์หากนำไปใช้ในทางที่ผิดก็จะกลายเป็นเพียงเครื่องมือในการเก็งกำไรทางการเงิน การเลี่ยงภาษี การฟอกเงิน และการหลอกลวงที่เหลือเชื่อ ซึ่งพฤติกรรมนี้น่ากลัว และอันตราย บ่อนทำลายวงการสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างยิ่ง
By Admin -March 21, 2022
ข่าวเชิงวิเคราะห์ “ชำแหละ Bitkub ยูนิคอร์นสายพันธ์อันตราย??” ความยาวทั้งหมด 5 ตอน อัปเดตทุกวันจันทร์ ตอนที่ 3 โดย iBit
เบื้องหลังเติบโต 1,000% กว่า 3 ปีติดของบิทคับ คู่แข่งปิดกิจการแบบน่าฉงน แรงโปรโมตหนัก กวาดบัญชีมือใหม่ไม่เลือกเป้าหมาย ประวัติถูก ก.ล.ต. ลงโทษระบบ “หลังบ้าน” ไม่รัดกุม ไร้ประสิทธิภาพ รับลูกค้าเกินตัว ขณะที่ KYC มีปัญหา “บัญชีม้า-นอมินี” โผล่มาเพียบ? สร้างราคาเหรียญได้ง่าย ปล่อยคนนอกเข้าบริหาร สุ่มตรวจยังเจอ Market Maker ไม่มีที่ไปที่มาพฤติกรรมน่าสงสัย
กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ตัดสินใจที่จะซื้อหุ้น “บิทคับ ออนไลน์” เจ้าของแพลตฟอร์มศูนย์การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือคริปโตเคอร์เรนซี Exchange จำนวน 51% คิดเป็นมูลค่า 1.78 หมื่นล้านบาท จากกลุ่มบิทคับ ซึ่งกำลังมองกันว่า งานนี้ SCBX จะได้คุ้มกับที่เสียหรือไม่? ขณะที่กลุ่ม Bitkub นอกจากนอนรอรับเงินไหลเข้ากระเป๋ามูลค่ามหาศาลจาก SCBX ยังมี “อภินิหาร KUB” เหรียญสัญชาติไทยที่ทำกำไรให้เจ้ามือกว่า 1,800% ในระยะเวลาไม่กี่เดือนเป็นของแถม (ตามที่นำเสนอไปในตอนที่ 1 และ 2)
หลังจากถูกแจ็กพอตรางวัลใหญ่ด้วยดีล 1.78 หมื่นล้านจากไทยพาณิชย์ ซึ่งทำให้กลุ่มบิทคับที่เริ่มต้นด้วยทุนหลักร้อยล้าน ประกาศต่อวงการอย่างภาคภูมิใจได้ว่า ตัวเองพัฒนาจากบริษัทสตาร์ทอัปธรรมดาไปสู่ “Unicorn (ยูนิคอร์น)” หรือ ธุรกิจ Startup ที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 33,000 ล้านบาท ในเวลาไม่กี่ปี
ทว่า เบื้องหลังธุรกิจดาวรุ่งพุ่งแรงมีประเด็นที่ต้องถาม แท้ที่จริงนั้นบิทคับเติบโตมาอย่างดีจริงหรือ?
บริษัท บิทคับ ออนไลน์ เป็นหนึ่งบริษัทในเครือบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือกลุ่มบิทคับ กลุ่มที่ทำธุรกิจบล็อกเชน และคริปโตเคอร์เรนซี ก่อตั้งเมื่อปี 2018 โดยนอกจากบิทคับ ออนไลน์ กลุ่มบิทคับยังมีบริษัทในเครืออีก 3 บริษัท ซึ่งแต่ละบริษัทถูกวางไว้เป็นบริษัทสร้างโครงสร้าง หรืออินฟราสตรักเจอร์เชื่อมต่อกับโลกดิจิทัล และการเข้าถึงเงินดิจิทัลในโลกออนไลน์ ได้แก่
บริษัท บิทคับ บล็อกเชน เทคโนโลยี จํากัด จะเป็นผู้ให้บริการด้าน Blockchain Full Solution Service และเป็นที่ปรึกษาด้าน ICO (Initial Coin Offering) แก่องค์กรหรือผู้ประกอบการที่ต้องการยกระดับธุรกิจด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน
บริษัท บิทคับ แล็บส์ จํากัด ผู้ให้บริการด้านการให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกเชน สินทรัพย์ดิจิทัล และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และบริษัท บิทคับ เวนเจอร์ส จํากัด เป็นบริษัทที่ลงทุนในโปรโตคอลต่างๆ ลงทุนในสตาร์ทอัปต่าง ๆ ที่เสริมส่งไปด้วยกันได้กับกลุ่มบิทคับ
แม้กลุ่มบิทคับจะขายบิทคับออนไลน์ศูนย์ซื้อขายคริปโตฯ ให้ SCBX แบบยอมถูกเทกโอเวอร์ยกอำนาจบริหารจัดการไปให้ แต่การมีอีก 3 บริษัทในเครือยังถือเป็นฐานที่มั่นสำคัญของกลุ่ม โดยเฉพาะบิทคับ บล็อกเชน ซึ่งถูกวางให้เป็นตัวหลักในการโกยรายได้กับองค์กรธุรกิจและบุคคลที่ต้องการเข้าถึงเงินดิจิทัล โดยขณะนี้ได้รุกทำการตลาดอย่างหนักกับคนที่มีชื่อเสียง เซเลบ นักธุรกิจ วงการต่างๆ เช่น วงการอุตสาหกรรมบันเทิง วงการโฆษณา อินฟลูเอนเซอร์ (โปรดติดตามอ่านได้ในตอนที่ 4)
3 ปีเศษนับแต่ก่อตั้งธุรกิจศูนย์ซื้อขายคริปโตฯ บิทคับออนไลน์ เป็นตัวหลักที่ทำรายได้ให้กลุ่มบิทคับเป็นกอบเป็นกำ แต่ละปีมีอัตราการเติบโตสูงจนน่าตกใจ
ท็อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บิทคับ กล่าวหลายครั้งในหลายสื่อว่าผลประกอบการของบิทคับเติบโตกว่า 1,000% ติดต่อมา 3 ปีต่อเนื่อง ดีกว่าธุรกิจอื่นๆ ที่แค่เติบโต 10% ก็ถือว่าดีมากแล้ว
ถามว่าอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้บิทคับมีอัตราการเติบโตสูงมากขนาดนั้น จิรายุส บอกว่า มีหลายปัจจัย แต่ “จังหวะเวลา” หรือไทมิ่งดี เป็นปัจจัยหลัก กล่าวคือ บิทคับอัปเกรดมากับกระแสขาขึ้นของ “บิตคอยน์” โดยประโคมว่า เป็นกลุ่มแรกๆ ทำสิ่งที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ แต่เป็นเทรนด์ของโลก
เรียกว่า บิทคับ ได้บิตคอยน์มาเป็นตัวเรียกแขกสำหรับตลาดซื้อขายคริปโตฯ ของตนเองก็ไม่ผิดนัก แต่การเติบโตพรวดพราดราวกับขีปนาวุธพุ่งสู่ท้องฟ้าของบิทคับไม่ได้มีแค่เรื่องของกระแสที่เป็นโชคช่วย
เบื้องหลังเติบโตปีละ 1,000%
ปัจจัยแรก สิ่งที่ทำให้บิทคับเติบโตกว่า 1,000% หลังจากที่ก่อตั้งในปี 2561 ว่ากันว่า ก่อนตลาดบิทคับจะฮิตติดลมบนของนักเล่นคริปโตฯ เคยมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาบุกเบิกธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในไทย และเป็นรายแรกๆ ที่ได้ไลเซนส์จากสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ชื่อว่าบริษัท บิทคอยน์ จำกัด หรือ BX
ด้วยมาตรฐานของต่างชาติที่เข้าใจในเทคโนโลยีและสินทรัพย์ดิจิทัล BX จึงค่อยๆ ได้รับความน่าเชื่อถือจากคนไทยที่เริ่มเข้าใจเข้ามาเปิดบัญชีเป็นลูกค้ามากขึ้นเรื่อยๆ
การดำเนินงานของบริษัทมีแนวโน้มที่จะเติบโตไปด้วยดี เพราะกระแสของบิตคอยน์ในตลาดการเงินดิจิทัลโลกขณะนั้นกำลังเป็นที่นิยม เป็น “ขาขึ้น” ที่ใครๆ ก็พูดถึงและระยะยาวก็คาดกันว่า BX จะเป็น Exchange ลำดับต้นๆ ของไทยได้ไม่ยาก แต่จู่ๆ หลังจากบิทคับเปิดดำเนินการได้ไม่นานนัก ผู้ถือหุ้นของบริษัทนี้กลับตัดสินใจทิ้งกิจการ เอาไลเซนส์ที่ขอมาอย่างยากเย็นคืนกลับให้ ก.ล.ต. ท่ามกลางความงุนงงของวงการคริปโตฯ ไทย พร้อมกันกับข่าวลือที่แพร่สะพัดในวงการว่ามีกลุ่มบุคคลไปกดดันนักลงทุนชาวต่างชาติรายนี้ให้เปิดทางให้กิจการของคนไทยได้แจ้งเกิดแทนที่ จนในที่สุดต้องคืนไลเซนส์ให้ ก.ล.ต.ไป
จริงเท็จเพียงใดก็เป็นเรื่องที่เล่าขานกันในวงการมาถึงทุกวันนี้ แต่การปิดตลาดทั้งที่กำลังรุ่งของศูนย์การซื้อขายคริปโตฯ โดยบริษัทต่างชาติ ใครที่ได้ประโยชน์? พิสูจน์ได้ในเวลาต่อมา
การปิดตัวของ BX ถูกบันทึกไว้ในเอกสารเผยแพร่ข่าวของ ก.ล.ต. ฉบับที่ 105/2562 ระบุว่า ตามที่บริษัท บิทคอยน์ จำกัด ประกาศ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2562 เวลา 6.06 น. ว่า บริษัท บิทคอยน์ จำกัด ได้ตัดสินใจยุติบทบาทการประกอบธุรกิจเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล หรือการให้บริการด้านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Asset Wallet) เนื่องจากบริษัทฯ ได้เล็งเห็นถึงโอกาสในการพัฒนาธุรกิจในทางอื่นๆ แทนการประกอบธุรกิจเป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ดังนั้นภายหลังจากวันที่ 30 กันยายน 2562 ลูกค้าจะไม่สามารถทำการซื้อขาย แลกเปลี่ยน (เทรดดิ้ง) ผ่านเว็บไซต์ BX.in.th ได้อีกต่อไป
จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท บิทคับ แคปปิตอลกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ให้สัมภาษณ์ตอนนั้นว่า จากกรณีบริษัท บิทคอยน์ จำกัด ประกาศยุติการประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล มีผู้ลงทุนโอนย้ายเข้ามาใช้บริการเปิดบัญชีกับ Bitkub เฉลี่ยวันละ 25,000 บัญชี ส่งผลให้ Bitkub ก้าวขึ้นมาเป็นตลาดเทรดคริปโตฯ ในไทยอันดับ 1
ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าภายในสิ้นปีเดียวกันนั้นจะมีจำนวนผู้ลงทุนมาเปิดบัญชีกับ Bitkub ไม่ต่ำกว่า 200,000 บัญชี เติบโตขึ้นเป็นเท่าตัวจากปัจจุบันที่มีประมาณ 100,000 บัญชี และนับว่าเติบโตเร็วกว่าเป้าหมายเดิมที่คาดว่าจะไปถึง 200,000 บัญชีในช่วงสิ้นปี 2563
“แนวโน้มธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลยังมีโอกาสเติบโตได้อีกในอนาคตตามรายได้ค่าธรรมเนียมเข้ามาเพิ่มขึ้น และในกรณีที่ผู้ลงทุนหันไปใช้บริการกระดานเทรดคริปโตฯ ของต่างประเทศ มองว่าเป็นสิ่งที่อันตรายมากกว่า เพราะจะไม่มีการแจ้งล่วงหน้าให้ผู้ลงทุนทราบว่าจะปิดตัวอาจทำให้เกิดความเสียหายได้ ซึ่งมีความแตกต่างจากของไทย” จิรายุส กล่าว
รุกการตลาดแบบกวาดลูกค้าดะ
การหายไปของ BX เหมือนคู่แข่งสำคัญถูกตัดออกไปจากเกมการแข่งขัน เปิดโอกาสให้บิทคับรุกทำการตลาดอย่างหนัก โดยบิทคับมีเป้าหมายกวาดลูกค้าคนรุ่นใหม่และนักเสี่ยงโชคมือใหม่ให้เข้ามาเปิดบัญชีมากที่สุด เพื่อหวังวอลุ่มเทรดในตลาด และกำไรจากค่าฟีสูงสุด ดังจะเห็นได้จากการทำการตลาดแบบปูพรม ลด แลก แจก แถม เรียกว่า ขอ “กวาดดะ” ไม่เลือกกลุ่มเป้าหมาย อาศัยยุคเฟื่องฟูของบิตคอยน์ ปรับเกณฑ์เงื่อนไขการเปิดบัญชีให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่แค่มีเงินไม่มากก็ลงทุนได้ โดยแคมเปญโฆษณาที่ว่า “10 บาทก็ลงทุนได้” นั่นทำให้มีลูกค้าแห่แหนมาเปิดบัญชีที่บิทคับมากขึ้นเรื่อยๆ
บิทคับ ลงทุนกับการโฆษณาประชาสัมพันธ์ในทุกช่องทางทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ โดยเฉพาะสื่อนอกบ้านอย่างป้ายบิลบอร์ดตามทางด่วน หรือทุกจุดที่คนมองเห็น ไพรม์แอเรีย ที่ใครๆ ก็มองเห็น โดยป้ายมีพรีเซ็นเตอร์เป็นหนุ่มในภาพลักษณ์ “โอปป้า” ซึ่งก็คือตัวเอง ท็อป จิรายุส เองกับเหรียญคริปโตฯ และสโลแกน “คิดถึงบิตคอยน์ คิดถึงบิทคับ” หรือ “บิทคับ เชื่อมต่อธุรกิจสู่โลกอนาคต” เรียกว่าป้ายท็อป และบิทคับ ตามหลอกหลอนผู้คนไปทั่วบ้านทั่วเมือง
มีการประเมินกันในวงการเอเยนซี ค่าเช่าป้ายโฆษณาของบิทคับ ป้ายในบางจุดที่เป็นไพรม์แอเรีย หรือจุดสำคัญ ต้องจ่ายป้ายละ 7-8 แสนต่อเดือนต่อป้าย รวมที่เช่าไปทั่วกรุงและต่างจังหวัดหลายแห่งเข้ามาแล้วเม็ดเงินส่วนนี้ต้องไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาทต่อปี ถือว่าต่ำกว่าช่วงปกติที่ไม่ใช่ช่วงโควิดแบบนี้ ซึ่งขณะที่รวมสื่ออื่นๆ และกิจกรรมประชาสัมพันธ์ บิทคับน่าจะใช้จ่ายเงินส่วนนี้ปีละราวๆ 1,000 ล้าน
โฆษณาที่ตั้งใจกวาดดะนี้ถือเป็นหนึ่งปัจจัยทำให้ บิทคับ ได้ลูกค้าเป็นนักเรียน นักศึกษา มนุษย์เงินเดือน นักเทรดมือใหม่ นักเสี่ยงโชคที่ไร้ประสบการณ์ต่างหลั่งไหลเข้ามาสู่ตลาดคริปโตฯ บิทคับ ทั้งๆ ที่เป็นคนกลุ่มเสี่ยงสูง มีภูมิคุ้มกันความรู้เรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลไม่มาก
แรกๆ ตลาดของบิทคับมีเหรียญให้เทรดน้อย ขณะสภาพคล่องไม่ค่อยมี อุปมาเหมือนตลาดสดที่มีพ่อค้าแม่ค้าน้อยแผง คนเดินตลาดน้อย เจ้าของตลาดจึงว่าจ้าง Market maker ถึง 17 รายมาช่วยสร้างสภาพคล่องให้ดูเหมือนตลาดคึกคัก และยิ่งปล่อยเหรียญ KUB ของบิทคับเองออกมาเทรดในตลาดตัวเอง บวกกับเหรียญสัญชาติไทยที่เข้ามาสร้าง “อภินิหาร” ร่วมกันในอย่าง SIX JFIN เรื่องราคาที่พุ่งไม่หยุดขึ้นเป็น “มายาภาพ” ที่ดึงดูดแมลงเม่าบินเข้ากองไฟอีกนับล้านๆ บัญชี นี่เป็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดที่กลุ่มบิทคับไม่ได้กล่าวถึง ระบบไม่รัดกุม-ทำธุรกิจไม่มีประสิทธิภาพ
การเติบโตอย่างน่าตกใจของบิทคับนำมาซึ่งปัญหาภายในของบริษัทที่ไม่พร้อม เนื่องเพราะธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล โดยเฉพาะศูนย์ซื้อขาย หรือตลาดคริปโตฯ ไม่ต่างกับตลาดหุ้นที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคมตลาดเงินตลาดทุนและนักลงทุนให้ได้รับความยุติธรรมและตรวจสอบได้ ความสำคัญจึงอยู่ที่ระบบ “หลังบ้าน” และ “การปฏิบัติการ” ที่มีมาตรฐาน ได้รับความน่าเชื่อ
แต่การเปิดรับลูกค้าโดยมองเป้าหมายการเติบโต และรายได้ของตลาดเป็นหลัก ทำให้ บิทคับ กระทำการผิดพลาดในต่างกรรมต่างวาระ
ข้อมูล ณ วันที่ 11 มีนาคม 2565 พบว่า บิทคับ มีประวัติการถูกลงโทษจาก ก.ล.ต. หลายครั้ง ดังนี้
-ในช่วงเดือนมกราคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (“บิทคับ”) ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล รายงานเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อระบบสารสนเทศที่มีความสำคัญ ประเภทระบบหยุดชะงัก (system disruption) ต่อสำนักงานล่าช้ากว่าระยะเวลาที่ประกาศกำหนด เป็นจำนวน 6 ครั้ง
-ระหว่างวันที่ 8 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 7 มีนาคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (“บิทคับ”) ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล มีระบบงานในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (compliance) “ไม่รัดกุมเพียงพอ” ที่จะทำให้บริษัท บิทคับ สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ ไม่กำกับดูแลให้ฝ่ายผลิตภัณฑ์ติดตามคุณสมบัติของเหรียญดิจิทัลสกุล CTXC จึงไม่ได้ update version ของเหรียญ ทำให้เหรียญดังกล่าวที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบิทคับไม่สามารถซื้อขายได้ในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น และมีการปรับตัวของราคาผิดปกติอย่างมาก
-ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2563 ถึงวันที่ 20 มกราคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (“บิทคับ”) ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล มีระบบงานที่เกี่ยวกับการรับและจัดการข้อร้องเรียน และการจัดให้มีช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า รวมทั้งจำนวนและความรู้ความสามารถของบุคลากรไม่เหมาะสมและเพียงพอให้บิทคับประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (“บิทคับ”) ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (trading rules) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยหยุดซื้อขายเหรียญดิจิทัลสกุล JFIN Coin (JFIN) และ Infinitus (INF) ชั่วคราว
bitkub
-ระหว่างวันที่ 2 ถึงวันที่ 21 มกราคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (“บิทคับ”) ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล มีระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขาย ระบบรับฝากและถอนทรัพย์สิน และระบบการแสดงยอดทรัพย์สินของลูกค้าไม่เหมาะสมและเพียงพอให้บิทคับประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
-ระหว่างวันที่ 6 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (“บิทคับ”) ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล มีระบบงานที่รองรับการรวบรวมและประเมินข้อมูลลูกค้าไม่เหมาะสมและเพียงพอให้บริษัท บิทคับ ประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรื่องที่ผิดพลาดหนัก และถูกปรับเป็นเงินจำนวนกว่า 1.2 ล้าน เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 8 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 ซึ่ง ก.ล.ต. ระบุ ว่า “บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (“บิทคับ”) ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล มีระบบงานที่ช่วยเสริมสร้างและรักษากลไกการทำงานของระบบซื้อขายให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย (surveillance) ไม่รัดกุมเพียงพอที่จะทำให้บิทคับทราบธุรกรรมที่อาจเข้าข่ายเป็น “การผลักดันราคา” จากการแจ้งเตือนของระบบในทันที”
-ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (“บิทคับ”) ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าในระบบที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเมื่อทำธุรกรรมเท่านั้น (cold wallet) น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าทั้งหมดที่เก็บรักษาไว้ เป็นเวลา 33 วัน
-ระหว่างวันที่ 5 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 24 มกราคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ยินยอมให้บุคคลที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการงาน นี่คือบันทึกประวัติการถูกลงโทษบิทคับที่ทำผิดพลาดของ ก.ล.ต. สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตของบิทคับนั้นไม่ได้มาพร้อมกับการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มองได้ว่า การสร้างราคาเหรียญ หรืออภิหารของ 3 เหรียญสัญชาติไทยอาศัยรูโหว่ของระบบของบิทคับ หรือไม่ ซึ่งหากถามว่า บิทคับ รู้เห็นเป็นใจปล่อยเพราะได้ประโยชน์ด้วยหรือไม่ ก็เป็นอีกประเด็นที่สงสัยกัน มิหนำซ้ำ การปล่อยให้ “คนนอก” เข้ามามีส่วนบริหารจัดการถือเป็นเรื่องที่คนวงการการเงินที่มีธรรมาภิบาลมองว่า เป็นอันตรายอย่างยิ่ง
บัญชีม้า-นอมินี -มาร์เกตเมกเกอร์ต้องสงสัยโผล่
นอกจากประวัติการถูกลงโทษ ที่อธิบายนัยของการทำธุรกิจของบิทคับ การเข้าตรวจสอบการดำเนินงานตามปกติ (routine inspection) และการสุ่มตรวจของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ของ ก.ล.ต. ก็เป็นอีกประเด็นที่น่าสนใจ
ยกตัวอย่าง บิทคับ เคยมีปัญหาปรากฏเหตุระบบการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทขัดข้องในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2563 ต่อเนื่องถึงต้นเดือนมกราคม 2564 อันส่งผลกระทบก่อให้เกิดความเสียหายต่อลูกค้าของบริษัทเป็นวงกว้าง
คณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุมครั้งที่ 3/2564 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 มีมติอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35 วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.2561 (“พ.ร.ก.สินทรัพย์ ดิจิทัลฯ”) สั่งการให้บริษัทระงับการเปิดรับลูกค้าใหม่ รวมถึงลูกค้าที่อยู่ระหว่างการดำเนินการยืนยันหรือเพื่อพิสูจน์ตัวตนเพื่อเปิดบัญชี จนกว่าจะแสดงให้มั่นใจได้ว่า บริษัทได้ปรับปรุงและมีระบบงานต่างๆ และบุคลากรที่มีความเหมาะสมและเพียงพอตามลักษณะ ขนาด และปริมาณธุรกิจเพื่อให้สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในการตรวจสอบครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1-26 มีนาคม 2564 โดยมีขอบเขตข้อมูลที่ใช้ในการสุ่มตรวจระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 รวมทั้งติดตามและตรวจสอบการปรับปรุง แก้ไขระบบงานต่างๆ ได้แก่ (1) ระบบการซื้อขาย (2) ระบบที่ให้ลูกค้าสามารถถอนทรัพย์สินได้ทันที หากเกิดเหตุระบบซื้อขายขัดข้อง (3) BCP (4) ระบบการรับลูกค้า การยืนยันและพิสูจน์ตัวตนของลูกค้า (5) ระบบรับเรื่องร้องเรียน และ (6) ระบบที่ช่วยเสริมสร้างและรักษากลไกการทำงานของระบบซื้อขายให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย (Market Surveillance) และบุคลากรของบริษัทตามการสั่งการของคณะกรรมการ ก.ล.ต.
จากการตรวจสอบพบปัญหาว่า การเปิดบัญชีของบิทคับทำได้ล่าช้า โดยบริษัทระบุสาเหตุว่า เกิดจากมีผู้สนใจเปิดบัญชีเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากเดิมเฉลี่ยวันละ 1,000 บัญชีเป็นวันละ 15,000 บัญชี ขณะที่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการที่ตรวจสอบข้อมูลลูกค้าก่อนการอนุมัติเพียง 30 คน จึงไม่เพียงพอต่อปริมาณคำขอเปิดบัญชี รวมทั้งเกิดความล่าช้า ซึ่งจากเดิมที่บริษัทกำหนดเวลาดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 24 ชั่วโมง เป็น 3-5 วัน ส่งผลให้ลูกค้ารอนานกว่า 2 สัปดาห์โดย ณ วันที่ 16 มกราคม 2564 บริษัทมียอดคำขอเปิดบัญชีคงค้าง 11,000 ราย ทั้งนี้ บริษัทได้จัดจ้างพนักงาน Outsource 130 อัตรา เพื่อตรวจสอบข้อมูลคำขอเปิดบัญชี
ทว่า การจ้าง Outsource จำนวนมากกลับทำให้บิทคับมีปัญหามากกว่าเดิม คณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุม ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2564 มีข้อสังเกต คือ บริษัทเร่งจัดการแก้ไขปัญหาโดยการรับพนักงาน Outsource เป็นจำนวนมาก ทำให้บริษัทอาจมีความเสี่ยงในการเร่งคุณภาพการทำ KYC หรือการพิสูจน์ตัวตนของลูกค้าที่อาจไม่สามารถระบุตัวตนที่แท้จริง และผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
เพราะฉะนั้นเอง ก.ล.ต.จึงเข้าไปตรวจสอบการปฏิบัติงานเพิ่มเติม พบว่า บริษัทจัดทำ KYC ได้เฉลี่ยวันละ 15,000 บัญชี จึงมีข้อสังเกตว่า บริษัทได้ดำเนินการตามระบบการอนุมัติการเปิดบัญชีที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือไม่ โดยเฉพาะการอนุมัติการเปิดบัญชี กรณีลูกค้าที่จัดอยู่ในกลุ่มประเภทที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณารับลูกค้าของบริษัทก่อน
ประเด็นนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ และหากที่ก่อนนี้ ผู้ก่อตั้งบิทคับ ระบุว่า บริษัทมีลูกค้าเพิ่มขึ้นกว่าจำนวนมากหลัง BX ปิดตัวไปหลายแสนบัญชีที่เข้ามาในช่วงระหว่างนั้น ผ่านระบบ KYC เข้ามาได้อย่างไร? และใครเลยจะรู้ได้ว่า บัญชีกว่า 3 ล้านบัญชีที่บิทคับกวาดมาจะมีบัญชีตัวแทน หรือ “นอมินี” หรือบัญชีม้า อยู่มากน้อยแค่ไหนหลุดลอดมา
ก.ล.ต.ยังระบุว่า การที่บริษัทมีลูกค้าเปิดบัญชีคงค้างเป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถเปิดบัญชีให้ลูกค้าได้ทันภายใน 24 ชั่วโมงตามที่ได้เปิดเผยแก่ผู้ลงทุน ซึ่งแม้บริษัทจะประกาศในเว็บไซต์ว่าจะชดเชยให้ลูกค้าโดยการเครดิตเงินเข้าบัญชีให้ 500 บาท แต่ในหลักการบริษัทควรรับลูกค้าเฉพาะเท่าที่สามารถให้บริการได้ตามที่เปิดเผยไว้ ไม่ใช่รับลูกค้าเกินกำลังและชดใช้ความเสียหายในภายหลัง
แม้ว่าบริษัทจะรายงานว่าได้ปรับปรุงไปตามที่ ก.ล.ต.สั่งการ แต่ภายหลังการสุ่มตรวจของ ก.ล.ต. ระบุว่า ระบบเปิดบัญชี และการพิสูจน์ตัวตนของลูกค้า และผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงของลูกค้าบิทคับ (“enhanced KYC/CDD”) ของกลุ่มลูกค้าที่เป็น “market maker” จำนวน 17 ราย พบว่า มีจำนวน 4 รายที่ไม่รัดกุม โดยบริษัทยังไม่ได้ enhanced KYC/CDD ซึ่งลูกค้า 4 รายดังกล่าวมียอดทรัพย์สินเป็นเงินสดและเหรียญเป็นจำนวนมากไม่สอดคล้องกับเอกสารหลักฐานที่แสดงศักยภาพทางการเงินของลูกค้าที่นำมา
ประเด็นนี้มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจาก การพิสูจน์ตัวตนไม่ได้ว่าลูกค้าเป็นใคร หรือมีบัญชีม้า หรือนอมินีจำนวนมากในตลาด ย่อมทำให้เปิดช่องในการฟอกเงิน เลี่ยงภาษี ทำราคาซื้อขาย หรือปั่นเหรียญ ทำรายการที่ไม่เหมาะสม หรือธุรกรรมที่กระทำการผิดกฎหมาย
ซื้อขายไม่เป็นธรรม ปั่นราคา อินไซต์ ทำได้ง่าย?
แน่นอนว่า การเติบโตของวอลุ่มเทรด และค่าฟี เป็นรายได้หลักของตลาดหุ้น แต่ตลาดก็ต้องลงทุนระบบหลังบ้าน และเข้มงวดต่อการบริหารจัดการ จึงจะถือว่ามีมาตรการให้การซื้อขายมีความเป็นธรรม ปั่นราคาไม่ได้ หรือ ไม่มีการนำข้อมูลภายใน หรืออินไซต์มาใช้เพื่อประโยชน์ของคนบางกลุ่ม ในตลาดคริปโตฯ ก็ไม่แตกต่างกัน จึงมีคำถามว่าจะมีประโยชน์อะไรต่อวงการการเงินหากไส้ในของระบบ “หลังบ้าน” ในการตรวจสอบบัญชีที่ว่ามีมากถึง 3 ล้านของบิทคับ ไม่เป็นไปตามที่เปิดเผยต่อผู้ลงทุน หรือในไวท์เปเปอร์
ที่ผ่านมา ก.ล.ต. ขอให้บริษัทปฏิบัติตามแนวทางที่บริษัทนำเสนอมาให้ ก.ล.ต. และขอให้เสร็จตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ระบบงานและการกำกับระบบซื้อขายการตรวจสอบการสร้างราคา การกระทำที่ไม่เป็นธรรมในการซื้อขายเหรียญเป็นไปตาม พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล เช่น การใช้ข้อมูลภายในเป็นต้น
ต่อมา บิทคับได้กำหนดกระบวนการเพื่อให้เป็นไปตามที่ ก.ล.ต.สั่ง แต่การตรวจสอบ สภาพการซื้อขายที่ผิดปกติไม่ได้กำหนดขั้นตอนและกรอบระยะเวลาในการดำเนิน
อีกทั้งในกรณีที่เกิดสภาพการซื้อขายที่ผิดปกติแล้ว บริษัทไม่ได้กำหนดขั้นตอน กรอบระยะเวลาที่เหมาะสมในการดำเนินการ รวมถึงการกำหนดกรอบเวลาในการดำเนินการเก็บรวบรวมหลักฐาน การตรวจสอบ และการรายงานต่อสำนักงาน ก.ล.ต.
บริษัทอ้างว่า ได้ปรับปรุงแก้ไขแล้วโดยอยู่ระหว่างพิจารณานำระบบการตรวจสอบที่ได้มาตรฐาน (ระบบของ Nasdaq) มาใช้งานด้าน Market Surveillance โดยอยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น คาดว่าจะสามารถเริ่มใช้งานได้ในไตรมาส 1 ปี 2565
นั่นหมายความ ว่า การสร้างราคา ปั่นและทุบเหรียญ 3 เหรียญสัญชาติไทย Kubcoin ของบิทคับเอง JFin และ SIX ที่ร่ำลือกันนั้น ก็แทบไม่ต้องหาคำตอบกันละว่า ทำไมจึงเกิดอภินิหารกับปรากฏการณ์ราคาทะลุแก๊สได้ถึง 1,800% และถูกเจ้ามือเทขายทำกำไรอู้ฟู่ ปล่อยให้นักเทรดมือใหม่ไร้ประสบการณ์สิ้นเนื้อประดาตัวเมื่อปลายปีที่ผ่านมา แบบที่ระบบปล่อยผ่าน ใช่หรือไม่?
ทั้งหมดนี้เป็นการเติบโตของบิทคับที่ผู้ก่อตั้งอย่าง ท็อป จิรายุส ภาคภูมิใจ?
…และ บิทคับ ควรเป็นยูนิคอร์นที่จะวิ่งตะบึงเชื่อมธุรกิจสู่โลกอนาคต หรือเป็นยูนิคอร์นสายพันธุ์อันตราย?? วิญญูชนย่อมสามารถวิเคราะห์หาคำตอบกันเองได้ วิทาลิก บูเทริน ผู้ก่อตั้ง Ethereum กล่าวในบทวิเคราะห์ของนิตยสารไทม์ล่าสุดว่า เขากังวลกับอันตรายต่อนักลงทุนที่กระตือรือร้นอยากรวยถ่ายเดียว ขณะที่นักลงทุนเจ้าของธุรกิจพยายามโน้มน้าวให้เห็นแต่ด้านความมั่งคั่งแบบที่ไร้ยางอาย เอาแต่ครอบงำการรับรู้ของสาธารณชน หรืออาศัยความไม่รู้คริปโตฯ ของคนมาปั่นความร่ำรวยสร้างความมั่งคั่งให้ตนเอง ซึ่งนั่น ทำให้ตลาดคริปโตฯ กลายเป็นบ่อนพนันดีๆ นี่เอง
แน่นอนว่า คริปโตฯ หรือสินทรัพย์ดิจิทัลย่อมมีประโยชน์มากมาย แต่ก็มีเส้นแบ่งบางๆ ระหว่างโทษมหันต์หากนำไปใช้ในทางที่ผิดก็จะกลายเป็นเพียงเครื่องมือในการเก็งกำไรทางการเงิน การเลี่ยงภาษี การฟอกเงิน และการหลอกลวงที่เหลือเชื่อ ซึ่งพฤติกรรมนี้น่ากลัว และอันตราย บ่อนทำลายวงการสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างยิ่ง
แนบไฟล์
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 40
ลัทธิ Bitkub ตัวป่วนวงการ! สวน “ธปท.-ก.ล.ต.” คุมเข้ม
By Admin -March 28, 2022
ข่าวเชิงวิเคราะห์ “ชำแหละ Bitkub ยูนิคอร์นสายพันธ์ุอันตราย??” ความยาวทั้งหมด 5 ตอน อัปเดตทุกวันจันทร์ ตอนที่ 4 โดย iBit
เบื้องหลัง แบงก์ชาติ-ก.ล.ต. ออกกฎเกณฑ์ คุมเข้าธุรกิจคริปโตฯ เพราะ Bitkub สวนทาง “Regulator” อย่างบ้าคลั่งทำป่วนวงการ จับตาผลกระทบ สั่งห้ามใช้คริปโต ฯ ชำระค่าสินค้า-บริการ ห้ามแบงก์พาณิชย์ลงทุนเกิน 3% กระเทือนธุรกิจหลากหลาย หรือ แม้แต่ดีล SCBX ก็อาจจะต้องทบทวน!
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ประกาศควบคุมการทำธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นซึ่งเป็นการส่งสัญญาณอย่างมีนัยสำคัญว่า หลังจากได้เฝ้าติดตามการดำเนินธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลมาตั้งแต่เริ่มต้นจนวันนี้นั้น Regulator มองเห็นอะไรในความเป็นไปของวงการคริปโตเคอร์เรนซีของไทย
การส่งสัญญาณนี้ย่อมจะมีผลต่อทิศทางธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่น่าสนใจว่า เบื้องหลังคำสั่ง และการควบคุมที่เข้มงวดนั้น สะท้อนให้เห็นถึงอะไร?
แน่นอนว่า เหรียญมีสองด้าน สินทรัพย์ดิจิทัลด้านหนึ่งคือประโยชน์ในการพัฒนาวงการตลาดเงินตลาดทุน แต่อีกด้านหนึ่งคือโทษมหันต์ซึ่งน่ากังวลถึงอันตรายอย่างยิ่ง
เหมือนที่ “วิทาลิก บูเทริน” ผู้ก่อตั้ง Ethereum แสดงความกังวลต่อสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในวงการคริปโตฯเป็นไปในด้านมืดมากกว่าด้านดี กล่าวคือ มีใครหรือกลุ่มคนพยายามใช้ “กระแส” และ ”Disruption” มาขายฝัน “ความเชื่อ” ใช้ คริปโตฯ ที่ได้ชื่อว่า เป็น “Easy Money” หรือ ”เครื่องมือทางการเงิน”เพื่อสร้างความร่ำรวยมั่งคั่ง สนับสนุนให้ศูนย์ซื้อขายฯ เป็นบ่อนพนัน การเก็งกำไร แหล่งฟอกเงิน เลี่ยงภาษี หรือ ธุรกรรมอื่นๆ ที่เสี่ยงต่อการละเมิดกฎหมาย
ก.ล.ต. – แบงก์ชาติ เข้มดับไฟ
มาดูกันว่า Regulator ออกกฎเกณฑ์อะไรบ้างล่าสุด สำนักงาน ก.ล.ต. รายงานว่า หลังจากที่ประชุมเมื่อวันที่ 3 มี.ค. มีมติเห็นชอบหลักการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในการจำกัดการให้บริการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้าและบริการ ซึ่งปรับปรุงตามข้อเสนอแนะที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง (ระหว่างวันที่ 25 ม.ค.-8 ก.พ. 2565) ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
หลังจากได้ทำการตรวจสอบมาในระยะเวลาหนึ่ง และเห็นถึงตัวเร่งที่สำคัญที่จะทำให้ความเสี่ยงในการใช้เหรียญชำระค่าสินค้า และบริการมีเพิ่มมากขึ้น โดยตัวเร่งดังกล่าวมาจากการทำธุรกรรมทางการเงินที่ง่ายขึ้น มีการสแกนคิวอาร์โค้ดชำระค่าสินค้า และบริการเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีต ซึ่งการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ (Means of Payment) อาจจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจ รวมถึงความเสี่ยงต่อประชาชนหรือผู้ลงทุนและธุรกิจ
เพราะฉะนั้น ธปท. และ ก.ล.ต. จำเป็นต้องเข้ามากำกับดูแล โดยหลักเกณฑ์การกำกับดูแลในครั้งนี้ โดยระบุว่าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลทุกประเภท จะต้องไม่ให้บริการ สนับสนุนหรือส่งเสริมการชำระค่าสินค้าและบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล ดัง 6 ข้อต่อไปนี้
1.ไม่โฆษณา ชักชวน หรือแสดงตนว่าพร้อมเป็นผู้ให้บริการรับชำระค่าสินค้าและบริการ
2.ไม่จัดทำระบบ หรือเครื่องมือในการชำระค่าสินค้าและบริการ
3.ไม่เปิด Wallet เพื่อนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ
4.ไม่ให้บริการโอนเงินบาท ซึ่งเป็นการโอนจากบัญชีของลูกค้าไปยังบัญชีของบุคคลอื่น
5.ไม่ให้บริการโอนสินทรัพย์ดิจิทัลจากบัญชีของลูกค้าไปยังบัญชีอื่น
6.ไม่ให้บริการอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการสนับสนุนการรับชำระค่าสินค้าและบริการ
โดยหลักเกณฑ์กำกับการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 เป็นต้นไป ซึ่งผู้ประกอบการที่ให้บริการอยู่ก่อนและพบว่าเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์ จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ประกาศมีผลบังคับใช้ และหากลูกค้ามีบัญชีเปิดไว้สำหรับซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อนำไปใช้ในการชำระสินค้าและบริการให้ผู้ประกอบการ ทาง ก.ล.ต. จะมีการส่งข้อความเพื่อแจ้งเตือน หากยังดำเนินการอยู่จะต้องถูกดำเนินการรวมถึงถูกระงับการใช้บริการชั่วคราว หรือยกเลิกการให้บริการ
นอกจากนี้ ก.ล.ต. ยังกำหนดให้ผู้ให้บริการต้องตรวจสอบบัญชีต่าง ๆ ว่ามีพฤติกรรมเข้าข่ายการใช้บัญชีเพื่อรับชำระค่าสินค้าและบริการหรือไม่ พฤติกรรมเหล่านี้ เช่น การรับสินทรัพย์ดิจิทัลเข้ามาและขายออกทันที หรือการถอนสินทรัพย์ดิจิทัลออกไปและกลับเข้ามาในอีกบัญชีในตัวเงินใกล้เคียงกัน
นั่นเพราะความเสี่ยงที่เกิดจากการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ในการชำระค่าสินค้าและบริการ ทำให้เกิดผลกระทบ 2 กลุ่มคือประชาชนและผู้ประกอบการที่ราคาอาจผันผวน เนื่องจากยอดการใช้จ่ายของผู้ซื้อหรือรายรับของผู้ขายมีความไม่แน่นอนซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการฟอกเงินและเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรม และอีกกลุ่มคือระบบเศรษฐกิจการเงินซึ่งเป็นผลกระทบใหญ่ที่ทำให้แบงก์ชาติจะไม่สามารถเข้ามาดูแลภาวะการเงินได้ เนื่องจากคนจะถือครองเงินบาทน้อยลง ซึ่งแบงก์ชาติไม่สามารถปล่อยสภาพคล่องในรูปแบบที่ไม่ใช่เงินบาทได้ ขณะที่ ธปท.ได้ควบคุมธนาคารพาณิชย์ โดย
1. ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset : DA) ที่ได้รับการอนุญาตและมีหน่วยงานการกำกับดูแล เช่น DA exchange, Broker, dealer ธนาคารพาณิชย์ลงทุนได้ไม่เกิน 3% ของเงินกองทุน กรณีที่เป็นกลุ่มธุรกิจการเงิน (โฮลดิ้ง) ลงทุนได้เกิน 3% ของเงินกองทุน แต่จะนำส่วนเกินไปหักเงินกองทุน ทำให้เงินกองทุนลดลงได้
2. ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset : DA) ที่ไม่มีการกำกับดูแล เช่น Metaverse และ Defi ธปท. กำหนดให้ทำอยู่ในขอบเขต (Sandbox) โดยจะมีการพิจารณา 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการรับเข้าทดสอบ จะพิจารณาถึงประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ และต้นทุนลดลง และขั้นตอนหลังการทดสอบก่อนจะให้บริการวงกว้าง จะพิจารณาประโยชน์ต่อภาพรวมหรือไม่ โดยการทดสอบดังกล่าวยังคงอยู่ในเพดาน 3%
จับตาสะเทือนถึงดีล SCBX
จากประกาศของ ก.ล.ต. และ ธปท. คราวนี้จะส่งผลกระทบต่อ “ซูเปอร์ดีล” ระหว่าง SCBX และ บิทคับ หรือไม่อย่างไร? คนในวงการวิเคราะห์ว่า ดูเหมือน Regulator จะเน้นไปที่การป้องกันความเสี่ยง โดยเฉพาะเรื่องของการนำสินทรัพย์ดิจิทัลไปชำระราคาสินค้าและบริการ ขณะเดียวกันแบงก์ชาติกังวลต่อการลงทุนของธนาคารพาณิชย์ในธุรกิจนี้โดยจำกัดการลงทุนไว้ไม่เกิน 3% ของกองทุน แม้จะไม่ถึงกับทำให้ดีลล่ม
แต่การดำเนินธุรกิจของ SCBX ที่เข้าไปแบกรับเอาธุรกิจของบิทคับมาด้วยมูลค่าลงทุน 17,800 ล้านบาทนั้น ย่อมไม่เป็นไปตามแผนที่วาดหวังไว้สวยหรูขยายนู้นทำนี่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นทำให้เกิดคำถามว่า Due diligence ที่ทำไป ตัวแปร ปัจจัยเปลี่ยน เกิดโอเวอร์แวลู หรือ มูลค่าที่แพงเกินจริง ตามมา ใครจะรับผิดชอบ?
ขณะที่มีรายงานจาก ธปท. แจ้งว่า ขณะนี้แม้กลุ่มธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์จะเข้ามาคุยกับแบงก์ชาติถึงการลงทุนในบิทคับ แต่ยังไม่มีการยื่นขออนุญาตลงทุนอย่างเป็นทางการ ดังนั้น ธปท. จึงยังไม่ได้พิจารณากรณีนี้ ซึ่งคาดว่า SCBX รอดูความชัดเจนของเกณฑ์การกำกับดูแลของแบงก์ชาติ และระหว่างนี้ทั้งสองบริษัทยังอยู่ระหว่างทำ Due diligence โดยยังไม่รู้ว่า ท้ายที่สุดราคาตกลงซื้อขายจะอยู่ที่เท่าไหร่
บิทคับ ยูนิคอร์นไม่กลัวน้ำร้อน
ตัวอย่างดังกล่าว เป็นปฏิบัติการล่าสุด แต่ที่ผ่านมา แบงก์ชาติ และ ก.ล.ต. นอกจากควบคุมและตรวจสอบ (อ่านรายละเอียดในตอนที่ 3) พบว่า การทำธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลของไทย มีปัญหา “ไม่รัดกุม” และ ทำธุรกิจไม่มีประสิทธิภาพ ต้องสั่งการและแก้ไขเพื่อควบคุมในหลายเรื่อง
ยิ่งเกิดปรากฏการณ์การเติบโตของ “Bitkub” กับ “Kub” เหรียญของบิทคับที่ออกมาเทรดในตลาดของตัวเอง จากมูลค่าที่มีปัจจัยอ้างอิงเพียง 30 บาทต่อเหรียญและเป็นเหรียญมีสิทธิประโยชน์เพื่อใช้เป็นส่วนลดค่าธรรมเนียมในการซื้อขายคริปโตฯ ในตลาดของตัวเอง กลับซื้อขายเก็งกำไรปั่นราคาขึ้นไปเหรียญละ 400-500 บาท หรือ 1,800% ซึ่งตอบคำถามไม่ได้ว่า ทำไมมูลค่าเกินจริงไปมากขนาดนั้น? ใครทำราคา ใครได้ประโยชน์? ยิ่งทำให้ แบงก์ชาติ และ ก.ล.ต. ยิ่งต้องหาทางดับไฟแต่ต้นลม
แต่จากตัวอย่างที่ Kub ราคาพุ่ง มูลค่าเหรียญแพงระยับกลับกลายเป็นแม่เหล็กที่ใช้ดึงดูด ธุรกิจที่คิดจะออกเหรียญตัวเอง หรือ คนดัง คนมีชื่อเสียงในวงการต่างๆ ที่คิดจะเชื่อมต่อตัวเองเข้ากับโลกการเงินดิจิทัล โดยมองเห็นด้านความมั่งคั่ง ร่ำรวย มาก่อนตามอย่าง โดยที่ บิทคับเอง ก็มองเห็นโอกาสที่จะใช้ Kub เป็นตัวกลางในชำระการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า หรือ ทำธุริกจให้บริการแก่คนกลุ่มต่างๆ
ตลอดเวลาที่ผ่านมา บิทคับ แม้จะถูกกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดของ แบงก์ชาติ และ ก.ล.ต. สกัด แต่ก็ไม่ได้ทำให้ บิทคับ ชะงักงัน เช่น “Bitkub NFT” ซึ่งเป็น Official Project แพลตฟอร์มใหม่ล่าสุดของ Bitkub Chain เป็นตัวปลุกปั้นใช้ดึงดูดพันธมิตรจำนวนมากให้เข้ามาร่วมวงศ์ไพบูลย์กับกลุ่ม “Bitkub” ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ช่วยทำให้ KUB Coin และ Bitkub Exchange ถูกเพิ่ม “ราคา” และ “ความเชื่อ” ขึ้นไปอีก ในทำนอง หากใครไม่เข้าร่วม เดี๋ยวอาจตกขบวนไปไม่ทัน
ไม่เพียงเท่านี้ ในโลกโซเชียลมีเดีย พบว่า ท็อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งบิทคับ ได้มีการพบปะเจรจาหรือรับประทานอาหารกับกลุ่มชนชั้นสูง อาทิ เจ้าของธุรกิจ ไฮโซ ดาราที่มีชื่อเสียง อย่างต่อเนื่อง แม้จะไม่เป็นที่แน่ชัดถึงหัวข้อในการสนทนา แต่ที่ชัดเจนคือกลุ่มคนเหล่านี้ซึ่งมียอดผู้ติดตามในโลกโซเชียลในจำนวนที่สูง แสดงความเห็นถึงผลการพูดคุยหรือพบปะผู้บริหารของ Bitkub ล้วนออกไปในทางที่ชื่นชม
ผลสำเร็จ หรือส่อให้เห็นถึงโอกาสในการเกิดการร่วมทุนเพื่อลงทุนหรือทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Bitkub เพื่อรอรับผลตอบแทนจากการลงทุนในระดับสูง ซึ่งส่อถึงเจตนาโฆษณาแฝงผ่านบุคคลที่มีชื่อเสี่ยงเพื่อดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากกลุ่มผู้ติดตาม
ทว่า หลังจากที่ ธปท. และ ก.ล.ต. คุมเข้มธุรกิจคริปโตฯ มากขึ้นเรื่อย ๆ ก็มีคำถามตามมาว่า บรรดากลุ่มที่เข้าทำธุรกิจกับ บืทคับ จะเดินหน้ากันอย่างไร?
ปัจจุบันพบว่ามีบริษัทจำนวนมากจากหลากหลายธุรกิจเข้าร่วมการเป็น Node Validator ในโลกของ Bitkub Blockchain ซึ่งหมายถึง บุคคลที่มีหน้าที่ ‘Validate & Verify’ ตรวจสอบและยืนยันธุรกรรม โดยธุรกรรมที่ได้รับการยืนยันแล้วจะถูกบันทึกลงบัญชีใน Blockchain และกลายเป็นการบันทึกข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (Distributed ledger) แม้กฎเกณฑ์การควบคุมจากหน่วยงานรัฐจะยังคลุมเครือ หรือไม่มีความชัดเจน จนอาจมีผลต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคตก็ตาม
จากข้อมูลที่รวบรวม พบว่า กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นกลุ่มแรก ๆ ที่สนใจในธุรกิจนี้ โดยหลายรายให้ความสนใจต่อการรับแลกสกุลเงินดิจิทัล เพื่อเพิ่มช่องทางในการซื้อบ้านและคอนโดฯ ให้กับลูกค้าในทุกโครงการของบริษัท
นอกจากนี้บางบริษัทมองเห็นช่องทางในการเข้าถึงแหล่งเงินเพิ่มเติมผ่าน ICO (Initial Coin Offering) กับ Bitkub หรือการเสนอขายเหรียญดิจิทัลครั้งแรกแก่ประชาชนซึ่งแตกต่างจากวิธีการเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไป หรือที่เรียกว่า IPO (Initial Public Offering) เนื่องจากเหรียญดังกล่าวนี้ไม่ใช่สิทธิการเป็นเจ้าของ ผู้ลงทุนจึงไม่ได้รับเงินปันผล สิทธิเข้าร่วมประชุม หรือสิทธิอื่นๆ ที่จะได้รับในฐานะหุ้นส่วน
โดยบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ตัดสินใจเข้ามาร่วมเป็นพาร์ตเนอร์ธุรกิจกับกลุ่ม Bitkub เช่น บมจ.แสนสิริ, บมจ.ไซมิส แอสเสท (SA), บมจ.ชาญอิสสระ ดีเวล็อปเมนท์ (CI), บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ (ANAN), บมจ.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ (ORI), บมจ.ริชี่เพลซ 2002 (RICHY) และ บมจ.เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ (MJD) หรือแม้แต่กลุ่มธุรกิจโรงแรมและอาหารอย่าง บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT)
กลุ่มบันเทิงไม่น้อยหน้า
ถัดมาคือกลุ่มธุรกิจบันเทิง มีรายงานว่า GMM Grammy มองว่านี่คือจิ๊กซอว์สำคัญต่อการเติบโตของธุรกิจเพลงในรูปแบบ MUSIC NFT เพื่อรับกระแสโลกในยุคปัจจุบัน โดยเชื่อว่าจะเป็นน่านน้ำรายได้ใหม่ของแกรมมี่ในระยะยาว จึงได้จับมือกับ Bitkub เพื่อจะวางสินค้าให้เข้าไปอยู่ในแพลตฟอร์ม MUSIC NFT
ขณะที่ บมจ.อาร์เอส (RS) ประกาศเปิดตัว Popcoin สมาร์ท มาร์เก็ตติ้ง แพลตฟอร์มด้วยการใช้เทคโนโลยี Blockchain มาสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจ
ค้าปลีก – ร้านอาหารกลัวตกขบวน
มีรายงานว่า บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ได้จับมือกับ “บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์” ร่วมทุนจัดตั้ง บริษัท บิทคับ เอ็ม จำกัด ขึ้น ในสัดส่วน 50:50 ซึ่งเดอะมอลล์ มีแผนจะเปิดให้มีการนำสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Currency) มาแลกสินค้าและบริการที่ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าในเครือเดอะมอลล์ กรุ๊ป โดยไม่มีค่าธรรมเนียม เพื่อกระตุ้นยอดขายในห้างสรรพสินค้าของกลุ่ม
ขณะที่ บมจ.ทีพีซีเอส (TPCS) ในเครือสหพัฒน์ ผู้ดำเนินธุรกิจการผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภท B2B และ B2C ได้ร่วมเป็นหนึ่งในผู้ตรวจสอบธุรกรรม (Validator Node) ของ Bitkub Chain เพื่อผลักดันให้เกิดการใช้งานบล็อกเชนบนภาคธุรกิจจริง
ไม่เพียงเท่านั้น “ลาซาด้า” (Lazada) เว็บชอปปิ้งรายใหญ่ได้จับมือ “ยืมมั้ย” (Yuemmai) และ Bitkub เปิดตัว “LazMall YES Official Store” ครั้งแรกบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย สร้างมิติใหม่ ของการชอปสมาร์ทโฟนออก Bundle Deal สุดพิเศษ ที่ได้ทั้งโทรศัพท์มือถือ และ “YES” (เยส) สกุลเงินคริปโตฯ ใหม่ล่าสุด เพื่อนำไปใช้ลงทุนบน Bitkub Exchange โดยตั้งเป้าขายโทรศัพท์มือถือ 100,000 เครื่อง มูลค่ากว่า 400 กว่าล้านบาท ภายในปีนี้
ด้าน บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด เจ้าของแบรนด์ “บาร์บีคิวพลาซ่า” ก็ได้จับมือกับ Bitkub Chain ออก GO(N)FT ที่มาในรูปแบบ Loyalty Campaign มอบสิทธิพิเศษ ผ่าน GO(N)FT ให้สมาชิก
ลัทธิบิทคับตัวการทำป่วน?
กล่าวได้ว่าที่ผ่านมา Bitkub เดินหน้าเกมการตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างอิมแพกต์ให้กับแบรนด์ของตน ให้เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือจากนักลงทุนไทย ผ่านเกมการตลาดทั้งการโฆษณาชวนเชื่อว่าเงินลงทุนเพียงแค่เล็กน้อยก็มีโอกาสคว้ากำไรเม็ดงามจากการลงทุนได้ หรือการดึงพันธมิตรภาคเอกชนเข้ามาช่วยสานต่อหรือขยายเครือข่ายทางธุรกิจ เพิ่มความน่าเชื่อถือ ไม่เว้นแม้แต่การพบปะผู้มีชื่อเสียงเพื่อฉายภาพการเติบโตของสินทรัพย์ดิจิทัลที่หากไม่เข้าร่วมอาจพลาดโอกาสสร้างตัว หรือ กำไรก้อนโต
ท็อป จิรายุส เคยให้สัมภาษณ์ว่า เขาบริหารธุรกิจ บิทคับ ภายใต้ความเชื่อ ไม่แตกต่างจาก “ลัทธิ” หรือ พูดให้ง่าย ๆ บิทคับ คือ ลัทธิ ลัทธิบิทคับ วันนี้เติบโตขึ้น จาก 3 ปีก่อนที่มีพนักงานไม่กี่ร้อยขยับเพิ่มมาอยู่ที่ 1,600 คน และคาดว่าจะเปิดรับเพิ่มเพื่อเป้าหมายที่วางไว้ 2,000 คน
เมื่อปีที่แล้ว บริษัทจ่ายโบนัสให้พนักงานกว่า 12 เดือน ทำให้ถูกโจษจันไปทั่วว่า บิทคับเป็นบริษัทในฝันของคนรุ่นใหม่ ออฟฟิศที่คนอยากทำงาน เป็นสตาร์ทอัปที่ติดอันดับท็อปเทนเคียงข้างบริษัทใหญ่ที่คนอยากทำงานมากที่สุด
ทว่า ในโลกโซเชียล ก็มีคำกล่าวอีกด้านว่า แม้ Bitkub คือ เงินดีมาก โบนัสปัง แต่ถ้าคนที่ทำงานไม่อินความเป็น “Bitkuber” ภายใน 3 เดือนคือโดนไล่ออก คือ ทำเป็นลัทธิกันเลยทีเดียว
Bitkuber เป็นคำเรียกกันของกลุ่มบิทคับที่แทนความหมายว่า “หนึ่งในพวกเรา” ตรงกันข้ามกับ Bitkubie คนที่ไม่แน่ใจว่าจะใช่เป็นพวกเราหรือไม่ ที่เป็นไปตาม “ทัศนคติ” และปรัชญาการมองคนของกลุ่มผู้ก่อตั้งที่เจตนาให้เป็นเช่นนี้ หรือ ไม่ต่างกับการเป็น “ลัทธิ” นั่นเอง
ตามความเชื่อของกลุ่มบิทคับมองว่า พนักงาน หรือ คนที่จะทำงานให้บิทคับต้องเชื่อในเรื่องเดียวกัน เป็นลัทธิเดียวกัน วิธีคิดแบบนี้เลียนแบบมาจากสตาร์ทอัปที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศ ในความคิดของพวกเขา เห็นว่า บริษัทที่ยิ่งใหญ่ต้องมีลักษณะคล้ายลัทธิ
“คนที่บิทคับคือคนส่วนน้อยที่เชื่อมั่นในอะไรบางอย่างเหมือนกัน เชื่อว่า เทกแอ็กชันทุกวันจะเปลี่ยนแปลงสังคม เปลี่ยนแปลงโลกได้ ยกตัวอย่าง ความเชื่อในคริปโตฯ และ เทคโนโลยีบล็อกเชน เมื่อทำงานไปได้ระยะหนึ่งก็จะประเมินว่า ลัทธิตัวเองแข็งแกร่งแค่ไหนแล้ว จะมีคำที่ใช้เรียกของลัทธิตัวเอง เช่น Bitkuber หรือคนที่เป็น one of us และ Bitkubie คือ คนที่ไม่ชัวร์จะเป็น Bitkuber” ท็อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บิทคับ เคยกล่าวไว้
ในกลุ่มของผู้ก่อตั้ง ท็อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บิทคับ เป็นคีย์แมนที่ถูกผลักดันให้ออกหน้า หรือ “เจ้าลัทธิ” บิทคับ ด้วยวัยเพียง 30 ต้น ๆ แต่มีอาณาจักรธุรกิจมูลค่ากว่า 3.3 หมื่นล้าน เชี่ยวชาญเรื่องโลกดิจิทัล คริปโตฯ จึงทำให้เขากลายเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มบิทคับ จึงมีภาพของเขาไปปรากฎกับเซเลบ คนดัง พร้อมกับคนทั่วไปตั้งแต่อยู่ในบ้านและออกนอกบ้านมองไปทางไหนจะมี โฆษณาของบิทคับ และภาพของท็อป จิรายุส ตามไปทุกที่
แนวคิด “ลัทธิ” เดียวกันนี้ถูกนำไปใช้กับธุรกิจของ Bitkub ทำการตลาดอย่างบ้าคลั่ง ซึ่งทำให้ผู้เข้าร่วมต่างมีความเชื่อ มีความหวังว่า จะเป็นอนาคตใหม่ของธุรกิจ หลาย ๆ แห่งทุ่มเงินงบประมาณ หรือ เตรียมการปรับโครงสร้างธุรกิจ โดยที่ตอนนั้นไม่มีปัญหาเรื่องของกฎเกณฑ์ ธปท.หรือ ก.ล.ต. ออกมากำหนด ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น เมื่อกฎเกณฑ์ทุกอย่างเปลี่ยนไป แผนการทำธุรกิจที่จะดำเนินไปย่อมมีปัญหาสะดุดหรือหยุดชะงักไป ซึ่งตอนนี้ เริ่มมีคำถามว่า ผลกระทบความเสียหายจะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด
ยกตัวอย่างเช่น การชำระแลกเปลี่ยนสินค้าด้วยคริปโตฯ ไม่ได้ ห้ามโฆษณา ห้ามโอนสินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้ จะทำอย่างไรกันสำหรับกลุ่มธุรกิจที่ดำเนินการไปแล้ว
บรรดากลุ่มทุนต่างๆ ที่ร่วมกับบิทคับย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่า ผลกระทบกระเทือนต่อธุรกิจนี้เพราะ บิทคับ “เล่นใหญ่” เดินเกมอย่าง “บ้าคลั่ง” อีกทั้ง การทำให้ Kubcoin หรือ ศูนย์การซื้อขายคริปโตฯ ถูกมองเป็นตลาดที่เต็มไปด้วยการเก็งกำไร เป็น “ตลาดซิ่ง” ที่เกิดความสงสัยในความน่าเชื่อถือตามหลักธรรมาภิบาลไปแล้ว แทนที่การพัฒนาจะเป็นไปอย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งน่าเสียดายสำหรับประโยชน์จองสินทรัพย์ดิจิทัล เรียกว่า ทำตัวเอง ทั้งสิ้น
เรื่องนี้คงโทษว่า ธปท.กับ ก.ล.ต. เห็นจะไม่ได้ ในฐานะ Regulator ย่อมต้องมอง “ความเสี่ยง” ของธุรกิจ และ ประชาชนมาก่อน บิทคับต่างหากที่ต้องทบทวนและถามตัวเองว่า แนวทางที่บิทคับดำเนินธุรกิจนั้นเป็นอย่างไร?
การกระทำที่ผ่านมาเข้าข่ายขัดแย้งกับเกณฑ์ควบคุมและข้อห้ามของฝั่ง ก.ล.ต. และแบงก์ชาติ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาจำนวนมากที่จะตามมาในอนาคต ทั้งต่อธุรกิจ และ คนที่เข้าร่วมขบวนรถไฟเกาะเทรนด์คริปโตฯ โดยที่ไร้ประสบการณ์ ความรู้ความเข้าใจ และ ความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างต่อระบบเศรษฐกิจได้ทุกเมื่อ หรือไม่อย่างไร?
กฎเกณฑ์ทั้งหลายย่อมสะท้อนภาพเบื้องหลังทำไม แบงก์ชาติ และ ก.ล.ต. จึงออกมาคุมเข้มกับธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลมาก หรืออีกนัยหนึ่ง ทั้งหมดทั้งมวลนี้เพราะ ลัทธิบิทคับ เป็นตัวป่วนวงการ ทำตัวเอง และกำลังทำให้ธุรกิจอื่นๆ เกิดปัญหาเดือดร้อนตามมาใช่หรือไม่?
ขณะที่ต่อให้บิทคับจะไม่กระทบในแง่ผลประกอบการ แต่รอยด่างที่ทำให้วงการธุรกิจคริปโตฯ ปั่นป่วน เพราะความอหังการคิดเพียงจะ “WIN” ในธุรกิจ จนทำให้ Regulator ต้องเทกแอ็กชันครั้งแล้วครั้งเล่านี้จะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาวงการการเงินอย่างไม่ต้องสงสัย
By Admin -March 28, 2022
ข่าวเชิงวิเคราะห์ “ชำแหละ Bitkub ยูนิคอร์นสายพันธ์ุอันตราย??” ความยาวทั้งหมด 5 ตอน อัปเดตทุกวันจันทร์ ตอนที่ 4 โดย iBit
เบื้องหลัง แบงก์ชาติ-ก.ล.ต. ออกกฎเกณฑ์ คุมเข้าธุรกิจคริปโตฯ เพราะ Bitkub สวนทาง “Regulator” อย่างบ้าคลั่งทำป่วนวงการ จับตาผลกระทบ สั่งห้ามใช้คริปโต ฯ ชำระค่าสินค้า-บริการ ห้ามแบงก์พาณิชย์ลงทุนเกิน 3% กระเทือนธุรกิจหลากหลาย หรือ แม้แต่ดีล SCBX ก็อาจจะต้องทบทวน!
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ประกาศควบคุมการทำธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นซึ่งเป็นการส่งสัญญาณอย่างมีนัยสำคัญว่า หลังจากได้เฝ้าติดตามการดำเนินธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลมาตั้งแต่เริ่มต้นจนวันนี้นั้น Regulator มองเห็นอะไรในความเป็นไปของวงการคริปโตเคอร์เรนซีของไทย
การส่งสัญญาณนี้ย่อมจะมีผลต่อทิศทางธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่น่าสนใจว่า เบื้องหลังคำสั่ง และการควบคุมที่เข้มงวดนั้น สะท้อนให้เห็นถึงอะไร?
แน่นอนว่า เหรียญมีสองด้าน สินทรัพย์ดิจิทัลด้านหนึ่งคือประโยชน์ในการพัฒนาวงการตลาดเงินตลาดทุน แต่อีกด้านหนึ่งคือโทษมหันต์ซึ่งน่ากังวลถึงอันตรายอย่างยิ่ง
เหมือนที่ “วิทาลิก บูเทริน” ผู้ก่อตั้ง Ethereum แสดงความกังวลต่อสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในวงการคริปโตฯเป็นไปในด้านมืดมากกว่าด้านดี กล่าวคือ มีใครหรือกลุ่มคนพยายามใช้ “กระแส” และ ”Disruption” มาขายฝัน “ความเชื่อ” ใช้ คริปโตฯ ที่ได้ชื่อว่า เป็น “Easy Money” หรือ ”เครื่องมือทางการเงิน”เพื่อสร้างความร่ำรวยมั่งคั่ง สนับสนุนให้ศูนย์ซื้อขายฯ เป็นบ่อนพนัน การเก็งกำไร แหล่งฟอกเงิน เลี่ยงภาษี หรือ ธุรกรรมอื่นๆ ที่เสี่ยงต่อการละเมิดกฎหมาย
ก.ล.ต. – แบงก์ชาติ เข้มดับไฟ
มาดูกันว่า Regulator ออกกฎเกณฑ์อะไรบ้างล่าสุด สำนักงาน ก.ล.ต. รายงานว่า หลังจากที่ประชุมเมื่อวันที่ 3 มี.ค. มีมติเห็นชอบหลักการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในการจำกัดการให้บริการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้าและบริการ ซึ่งปรับปรุงตามข้อเสนอแนะที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง (ระหว่างวันที่ 25 ม.ค.-8 ก.พ. 2565) ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
หลังจากได้ทำการตรวจสอบมาในระยะเวลาหนึ่ง และเห็นถึงตัวเร่งที่สำคัญที่จะทำให้ความเสี่ยงในการใช้เหรียญชำระค่าสินค้า และบริการมีเพิ่มมากขึ้น โดยตัวเร่งดังกล่าวมาจากการทำธุรกรรมทางการเงินที่ง่ายขึ้น มีการสแกนคิวอาร์โค้ดชำระค่าสินค้า และบริการเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีต ซึ่งการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ (Means of Payment) อาจจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจ รวมถึงความเสี่ยงต่อประชาชนหรือผู้ลงทุนและธุรกิจ
เพราะฉะนั้น ธปท. และ ก.ล.ต. จำเป็นต้องเข้ามากำกับดูแล โดยหลักเกณฑ์การกำกับดูแลในครั้งนี้ โดยระบุว่าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลทุกประเภท จะต้องไม่ให้บริการ สนับสนุนหรือส่งเสริมการชำระค่าสินค้าและบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล ดัง 6 ข้อต่อไปนี้
1.ไม่โฆษณา ชักชวน หรือแสดงตนว่าพร้อมเป็นผู้ให้บริการรับชำระค่าสินค้าและบริการ
2.ไม่จัดทำระบบ หรือเครื่องมือในการชำระค่าสินค้าและบริการ
3.ไม่เปิด Wallet เพื่อนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ
4.ไม่ให้บริการโอนเงินบาท ซึ่งเป็นการโอนจากบัญชีของลูกค้าไปยังบัญชีของบุคคลอื่น
5.ไม่ให้บริการโอนสินทรัพย์ดิจิทัลจากบัญชีของลูกค้าไปยังบัญชีอื่น
6.ไม่ให้บริการอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการสนับสนุนการรับชำระค่าสินค้าและบริการ
โดยหลักเกณฑ์กำกับการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 เป็นต้นไป ซึ่งผู้ประกอบการที่ให้บริการอยู่ก่อนและพบว่าเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์ จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ประกาศมีผลบังคับใช้ และหากลูกค้ามีบัญชีเปิดไว้สำหรับซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อนำไปใช้ในการชำระสินค้าและบริการให้ผู้ประกอบการ ทาง ก.ล.ต. จะมีการส่งข้อความเพื่อแจ้งเตือน หากยังดำเนินการอยู่จะต้องถูกดำเนินการรวมถึงถูกระงับการใช้บริการชั่วคราว หรือยกเลิกการให้บริการ
นอกจากนี้ ก.ล.ต. ยังกำหนดให้ผู้ให้บริการต้องตรวจสอบบัญชีต่าง ๆ ว่ามีพฤติกรรมเข้าข่ายการใช้บัญชีเพื่อรับชำระค่าสินค้าและบริการหรือไม่ พฤติกรรมเหล่านี้ เช่น การรับสินทรัพย์ดิจิทัลเข้ามาและขายออกทันที หรือการถอนสินทรัพย์ดิจิทัลออกไปและกลับเข้ามาในอีกบัญชีในตัวเงินใกล้เคียงกัน
นั่นเพราะความเสี่ยงที่เกิดจากการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ในการชำระค่าสินค้าและบริการ ทำให้เกิดผลกระทบ 2 กลุ่มคือประชาชนและผู้ประกอบการที่ราคาอาจผันผวน เนื่องจากยอดการใช้จ่ายของผู้ซื้อหรือรายรับของผู้ขายมีความไม่แน่นอนซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการฟอกเงินและเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรม และอีกกลุ่มคือระบบเศรษฐกิจการเงินซึ่งเป็นผลกระทบใหญ่ที่ทำให้แบงก์ชาติจะไม่สามารถเข้ามาดูแลภาวะการเงินได้ เนื่องจากคนจะถือครองเงินบาทน้อยลง ซึ่งแบงก์ชาติไม่สามารถปล่อยสภาพคล่องในรูปแบบที่ไม่ใช่เงินบาทได้ ขณะที่ ธปท.ได้ควบคุมธนาคารพาณิชย์ โดย
1. ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset : DA) ที่ได้รับการอนุญาตและมีหน่วยงานการกำกับดูแล เช่น DA exchange, Broker, dealer ธนาคารพาณิชย์ลงทุนได้ไม่เกิน 3% ของเงินกองทุน กรณีที่เป็นกลุ่มธุรกิจการเงิน (โฮลดิ้ง) ลงทุนได้เกิน 3% ของเงินกองทุน แต่จะนำส่วนเกินไปหักเงินกองทุน ทำให้เงินกองทุนลดลงได้
2. ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset : DA) ที่ไม่มีการกำกับดูแล เช่น Metaverse และ Defi ธปท. กำหนดให้ทำอยู่ในขอบเขต (Sandbox) โดยจะมีการพิจารณา 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการรับเข้าทดสอบ จะพิจารณาถึงประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ และต้นทุนลดลง และขั้นตอนหลังการทดสอบก่อนจะให้บริการวงกว้าง จะพิจารณาประโยชน์ต่อภาพรวมหรือไม่ โดยการทดสอบดังกล่าวยังคงอยู่ในเพดาน 3%
จับตาสะเทือนถึงดีล SCBX
จากประกาศของ ก.ล.ต. และ ธปท. คราวนี้จะส่งผลกระทบต่อ “ซูเปอร์ดีล” ระหว่าง SCBX และ บิทคับ หรือไม่อย่างไร? คนในวงการวิเคราะห์ว่า ดูเหมือน Regulator จะเน้นไปที่การป้องกันความเสี่ยง โดยเฉพาะเรื่องของการนำสินทรัพย์ดิจิทัลไปชำระราคาสินค้าและบริการ ขณะเดียวกันแบงก์ชาติกังวลต่อการลงทุนของธนาคารพาณิชย์ในธุรกิจนี้โดยจำกัดการลงทุนไว้ไม่เกิน 3% ของกองทุน แม้จะไม่ถึงกับทำให้ดีลล่ม
แต่การดำเนินธุรกิจของ SCBX ที่เข้าไปแบกรับเอาธุรกิจของบิทคับมาด้วยมูลค่าลงทุน 17,800 ล้านบาทนั้น ย่อมไม่เป็นไปตามแผนที่วาดหวังไว้สวยหรูขยายนู้นทำนี่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นทำให้เกิดคำถามว่า Due diligence ที่ทำไป ตัวแปร ปัจจัยเปลี่ยน เกิดโอเวอร์แวลู หรือ มูลค่าที่แพงเกินจริง ตามมา ใครจะรับผิดชอบ?
ขณะที่มีรายงานจาก ธปท. แจ้งว่า ขณะนี้แม้กลุ่มธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์จะเข้ามาคุยกับแบงก์ชาติถึงการลงทุนในบิทคับ แต่ยังไม่มีการยื่นขออนุญาตลงทุนอย่างเป็นทางการ ดังนั้น ธปท. จึงยังไม่ได้พิจารณากรณีนี้ ซึ่งคาดว่า SCBX รอดูความชัดเจนของเกณฑ์การกำกับดูแลของแบงก์ชาติ และระหว่างนี้ทั้งสองบริษัทยังอยู่ระหว่างทำ Due diligence โดยยังไม่รู้ว่า ท้ายที่สุดราคาตกลงซื้อขายจะอยู่ที่เท่าไหร่
บิทคับ ยูนิคอร์นไม่กลัวน้ำร้อน
ตัวอย่างดังกล่าว เป็นปฏิบัติการล่าสุด แต่ที่ผ่านมา แบงก์ชาติ และ ก.ล.ต. นอกจากควบคุมและตรวจสอบ (อ่านรายละเอียดในตอนที่ 3) พบว่า การทำธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลของไทย มีปัญหา “ไม่รัดกุม” และ ทำธุรกิจไม่มีประสิทธิภาพ ต้องสั่งการและแก้ไขเพื่อควบคุมในหลายเรื่อง
ยิ่งเกิดปรากฏการณ์การเติบโตของ “Bitkub” กับ “Kub” เหรียญของบิทคับที่ออกมาเทรดในตลาดของตัวเอง จากมูลค่าที่มีปัจจัยอ้างอิงเพียง 30 บาทต่อเหรียญและเป็นเหรียญมีสิทธิประโยชน์เพื่อใช้เป็นส่วนลดค่าธรรมเนียมในการซื้อขายคริปโตฯ ในตลาดของตัวเอง กลับซื้อขายเก็งกำไรปั่นราคาขึ้นไปเหรียญละ 400-500 บาท หรือ 1,800% ซึ่งตอบคำถามไม่ได้ว่า ทำไมมูลค่าเกินจริงไปมากขนาดนั้น? ใครทำราคา ใครได้ประโยชน์? ยิ่งทำให้ แบงก์ชาติ และ ก.ล.ต. ยิ่งต้องหาทางดับไฟแต่ต้นลม
แต่จากตัวอย่างที่ Kub ราคาพุ่ง มูลค่าเหรียญแพงระยับกลับกลายเป็นแม่เหล็กที่ใช้ดึงดูด ธุรกิจที่คิดจะออกเหรียญตัวเอง หรือ คนดัง คนมีชื่อเสียงในวงการต่างๆ ที่คิดจะเชื่อมต่อตัวเองเข้ากับโลกการเงินดิจิทัล โดยมองเห็นด้านความมั่งคั่ง ร่ำรวย มาก่อนตามอย่าง โดยที่ บิทคับเอง ก็มองเห็นโอกาสที่จะใช้ Kub เป็นตัวกลางในชำระการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า หรือ ทำธุริกจให้บริการแก่คนกลุ่มต่างๆ
ตลอดเวลาที่ผ่านมา บิทคับ แม้จะถูกกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดของ แบงก์ชาติ และ ก.ล.ต. สกัด แต่ก็ไม่ได้ทำให้ บิทคับ ชะงักงัน เช่น “Bitkub NFT” ซึ่งเป็น Official Project แพลตฟอร์มใหม่ล่าสุดของ Bitkub Chain เป็นตัวปลุกปั้นใช้ดึงดูดพันธมิตรจำนวนมากให้เข้ามาร่วมวงศ์ไพบูลย์กับกลุ่ม “Bitkub” ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ช่วยทำให้ KUB Coin และ Bitkub Exchange ถูกเพิ่ม “ราคา” และ “ความเชื่อ” ขึ้นไปอีก ในทำนอง หากใครไม่เข้าร่วม เดี๋ยวอาจตกขบวนไปไม่ทัน
ไม่เพียงเท่านี้ ในโลกโซเชียลมีเดีย พบว่า ท็อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งบิทคับ ได้มีการพบปะเจรจาหรือรับประทานอาหารกับกลุ่มชนชั้นสูง อาทิ เจ้าของธุรกิจ ไฮโซ ดาราที่มีชื่อเสียง อย่างต่อเนื่อง แม้จะไม่เป็นที่แน่ชัดถึงหัวข้อในการสนทนา แต่ที่ชัดเจนคือกลุ่มคนเหล่านี้ซึ่งมียอดผู้ติดตามในโลกโซเชียลในจำนวนที่สูง แสดงความเห็นถึงผลการพูดคุยหรือพบปะผู้บริหารของ Bitkub ล้วนออกไปในทางที่ชื่นชม
ผลสำเร็จ หรือส่อให้เห็นถึงโอกาสในการเกิดการร่วมทุนเพื่อลงทุนหรือทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Bitkub เพื่อรอรับผลตอบแทนจากการลงทุนในระดับสูง ซึ่งส่อถึงเจตนาโฆษณาแฝงผ่านบุคคลที่มีชื่อเสี่ยงเพื่อดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากกลุ่มผู้ติดตาม
ทว่า หลังจากที่ ธปท. และ ก.ล.ต. คุมเข้มธุรกิจคริปโตฯ มากขึ้นเรื่อย ๆ ก็มีคำถามตามมาว่า บรรดากลุ่มที่เข้าทำธุรกิจกับ บืทคับ จะเดินหน้ากันอย่างไร?
ปัจจุบันพบว่ามีบริษัทจำนวนมากจากหลากหลายธุรกิจเข้าร่วมการเป็น Node Validator ในโลกของ Bitkub Blockchain ซึ่งหมายถึง บุคคลที่มีหน้าที่ ‘Validate & Verify’ ตรวจสอบและยืนยันธุรกรรม โดยธุรกรรมที่ได้รับการยืนยันแล้วจะถูกบันทึกลงบัญชีใน Blockchain และกลายเป็นการบันทึกข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (Distributed ledger) แม้กฎเกณฑ์การควบคุมจากหน่วยงานรัฐจะยังคลุมเครือ หรือไม่มีความชัดเจน จนอาจมีผลต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคตก็ตาม
จากข้อมูลที่รวบรวม พบว่า กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นกลุ่มแรก ๆ ที่สนใจในธุรกิจนี้ โดยหลายรายให้ความสนใจต่อการรับแลกสกุลเงินดิจิทัล เพื่อเพิ่มช่องทางในการซื้อบ้านและคอนโดฯ ให้กับลูกค้าในทุกโครงการของบริษัท
นอกจากนี้บางบริษัทมองเห็นช่องทางในการเข้าถึงแหล่งเงินเพิ่มเติมผ่าน ICO (Initial Coin Offering) กับ Bitkub หรือการเสนอขายเหรียญดิจิทัลครั้งแรกแก่ประชาชนซึ่งแตกต่างจากวิธีการเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไป หรือที่เรียกว่า IPO (Initial Public Offering) เนื่องจากเหรียญดังกล่าวนี้ไม่ใช่สิทธิการเป็นเจ้าของ ผู้ลงทุนจึงไม่ได้รับเงินปันผล สิทธิเข้าร่วมประชุม หรือสิทธิอื่นๆ ที่จะได้รับในฐานะหุ้นส่วน
โดยบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ตัดสินใจเข้ามาร่วมเป็นพาร์ตเนอร์ธุรกิจกับกลุ่ม Bitkub เช่น บมจ.แสนสิริ, บมจ.ไซมิส แอสเสท (SA), บมจ.ชาญอิสสระ ดีเวล็อปเมนท์ (CI), บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ (ANAN), บมจ.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ (ORI), บมจ.ริชี่เพลซ 2002 (RICHY) และ บมจ.เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ (MJD) หรือแม้แต่กลุ่มธุรกิจโรงแรมและอาหารอย่าง บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT)
กลุ่มบันเทิงไม่น้อยหน้า
ถัดมาคือกลุ่มธุรกิจบันเทิง มีรายงานว่า GMM Grammy มองว่านี่คือจิ๊กซอว์สำคัญต่อการเติบโตของธุรกิจเพลงในรูปแบบ MUSIC NFT เพื่อรับกระแสโลกในยุคปัจจุบัน โดยเชื่อว่าจะเป็นน่านน้ำรายได้ใหม่ของแกรมมี่ในระยะยาว จึงได้จับมือกับ Bitkub เพื่อจะวางสินค้าให้เข้าไปอยู่ในแพลตฟอร์ม MUSIC NFT
ขณะที่ บมจ.อาร์เอส (RS) ประกาศเปิดตัว Popcoin สมาร์ท มาร์เก็ตติ้ง แพลตฟอร์มด้วยการใช้เทคโนโลยี Blockchain มาสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจ
ค้าปลีก – ร้านอาหารกลัวตกขบวน
มีรายงานว่า บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ได้จับมือกับ “บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์” ร่วมทุนจัดตั้ง บริษัท บิทคับ เอ็ม จำกัด ขึ้น ในสัดส่วน 50:50 ซึ่งเดอะมอลล์ มีแผนจะเปิดให้มีการนำสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Currency) มาแลกสินค้าและบริการที่ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าในเครือเดอะมอลล์ กรุ๊ป โดยไม่มีค่าธรรมเนียม เพื่อกระตุ้นยอดขายในห้างสรรพสินค้าของกลุ่ม
ขณะที่ บมจ.ทีพีซีเอส (TPCS) ในเครือสหพัฒน์ ผู้ดำเนินธุรกิจการผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภท B2B และ B2C ได้ร่วมเป็นหนึ่งในผู้ตรวจสอบธุรกรรม (Validator Node) ของ Bitkub Chain เพื่อผลักดันให้เกิดการใช้งานบล็อกเชนบนภาคธุรกิจจริง
ไม่เพียงเท่านั้น “ลาซาด้า” (Lazada) เว็บชอปปิ้งรายใหญ่ได้จับมือ “ยืมมั้ย” (Yuemmai) และ Bitkub เปิดตัว “LazMall YES Official Store” ครั้งแรกบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย สร้างมิติใหม่ ของการชอปสมาร์ทโฟนออก Bundle Deal สุดพิเศษ ที่ได้ทั้งโทรศัพท์มือถือ และ “YES” (เยส) สกุลเงินคริปโตฯ ใหม่ล่าสุด เพื่อนำไปใช้ลงทุนบน Bitkub Exchange โดยตั้งเป้าขายโทรศัพท์มือถือ 100,000 เครื่อง มูลค่ากว่า 400 กว่าล้านบาท ภายในปีนี้
ด้าน บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด เจ้าของแบรนด์ “บาร์บีคิวพลาซ่า” ก็ได้จับมือกับ Bitkub Chain ออก GO(N)FT ที่มาในรูปแบบ Loyalty Campaign มอบสิทธิพิเศษ ผ่าน GO(N)FT ให้สมาชิก
ลัทธิบิทคับตัวการทำป่วน?
กล่าวได้ว่าที่ผ่านมา Bitkub เดินหน้าเกมการตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างอิมแพกต์ให้กับแบรนด์ของตน ให้เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือจากนักลงทุนไทย ผ่านเกมการตลาดทั้งการโฆษณาชวนเชื่อว่าเงินลงทุนเพียงแค่เล็กน้อยก็มีโอกาสคว้ากำไรเม็ดงามจากการลงทุนได้ หรือการดึงพันธมิตรภาคเอกชนเข้ามาช่วยสานต่อหรือขยายเครือข่ายทางธุรกิจ เพิ่มความน่าเชื่อถือ ไม่เว้นแม้แต่การพบปะผู้มีชื่อเสียงเพื่อฉายภาพการเติบโตของสินทรัพย์ดิจิทัลที่หากไม่เข้าร่วมอาจพลาดโอกาสสร้างตัว หรือ กำไรก้อนโต
ท็อป จิรายุส เคยให้สัมภาษณ์ว่า เขาบริหารธุรกิจ บิทคับ ภายใต้ความเชื่อ ไม่แตกต่างจาก “ลัทธิ” หรือ พูดให้ง่าย ๆ บิทคับ คือ ลัทธิ ลัทธิบิทคับ วันนี้เติบโตขึ้น จาก 3 ปีก่อนที่มีพนักงานไม่กี่ร้อยขยับเพิ่มมาอยู่ที่ 1,600 คน และคาดว่าจะเปิดรับเพิ่มเพื่อเป้าหมายที่วางไว้ 2,000 คน
เมื่อปีที่แล้ว บริษัทจ่ายโบนัสให้พนักงานกว่า 12 เดือน ทำให้ถูกโจษจันไปทั่วว่า บิทคับเป็นบริษัทในฝันของคนรุ่นใหม่ ออฟฟิศที่คนอยากทำงาน เป็นสตาร์ทอัปที่ติดอันดับท็อปเทนเคียงข้างบริษัทใหญ่ที่คนอยากทำงานมากที่สุด
ทว่า ในโลกโซเชียล ก็มีคำกล่าวอีกด้านว่า แม้ Bitkub คือ เงินดีมาก โบนัสปัง แต่ถ้าคนที่ทำงานไม่อินความเป็น “Bitkuber” ภายใน 3 เดือนคือโดนไล่ออก คือ ทำเป็นลัทธิกันเลยทีเดียว
Bitkuber เป็นคำเรียกกันของกลุ่มบิทคับที่แทนความหมายว่า “หนึ่งในพวกเรา” ตรงกันข้ามกับ Bitkubie คนที่ไม่แน่ใจว่าจะใช่เป็นพวกเราหรือไม่ ที่เป็นไปตาม “ทัศนคติ” และปรัชญาการมองคนของกลุ่มผู้ก่อตั้งที่เจตนาให้เป็นเช่นนี้ หรือ ไม่ต่างกับการเป็น “ลัทธิ” นั่นเอง
ตามความเชื่อของกลุ่มบิทคับมองว่า พนักงาน หรือ คนที่จะทำงานให้บิทคับต้องเชื่อในเรื่องเดียวกัน เป็นลัทธิเดียวกัน วิธีคิดแบบนี้เลียนแบบมาจากสตาร์ทอัปที่ประสบความสำเร็จในต่างประเทศ ในความคิดของพวกเขา เห็นว่า บริษัทที่ยิ่งใหญ่ต้องมีลักษณะคล้ายลัทธิ
“คนที่บิทคับคือคนส่วนน้อยที่เชื่อมั่นในอะไรบางอย่างเหมือนกัน เชื่อว่า เทกแอ็กชันทุกวันจะเปลี่ยนแปลงสังคม เปลี่ยนแปลงโลกได้ ยกตัวอย่าง ความเชื่อในคริปโตฯ และ เทคโนโลยีบล็อกเชน เมื่อทำงานไปได้ระยะหนึ่งก็จะประเมินว่า ลัทธิตัวเองแข็งแกร่งแค่ไหนแล้ว จะมีคำที่ใช้เรียกของลัทธิตัวเอง เช่น Bitkuber หรือคนที่เป็น one of us และ Bitkubie คือ คนที่ไม่ชัวร์จะเป็น Bitkuber” ท็อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บิทคับ เคยกล่าวไว้
ในกลุ่มของผู้ก่อตั้ง ท็อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บิทคับ เป็นคีย์แมนที่ถูกผลักดันให้ออกหน้า หรือ “เจ้าลัทธิ” บิทคับ ด้วยวัยเพียง 30 ต้น ๆ แต่มีอาณาจักรธุรกิจมูลค่ากว่า 3.3 หมื่นล้าน เชี่ยวชาญเรื่องโลกดิจิทัล คริปโตฯ จึงทำให้เขากลายเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มบิทคับ จึงมีภาพของเขาไปปรากฎกับเซเลบ คนดัง พร้อมกับคนทั่วไปตั้งแต่อยู่ในบ้านและออกนอกบ้านมองไปทางไหนจะมี โฆษณาของบิทคับ และภาพของท็อป จิรายุส ตามไปทุกที่
แนวคิด “ลัทธิ” เดียวกันนี้ถูกนำไปใช้กับธุรกิจของ Bitkub ทำการตลาดอย่างบ้าคลั่ง ซึ่งทำให้ผู้เข้าร่วมต่างมีความเชื่อ มีความหวังว่า จะเป็นอนาคตใหม่ของธุรกิจ หลาย ๆ แห่งทุ่มเงินงบประมาณ หรือ เตรียมการปรับโครงสร้างธุรกิจ โดยที่ตอนนั้นไม่มีปัญหาเรื่องของกฎเกณฑ์ ธปท.หรือ ก.ล.ต. ออกมากำหนด ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น เมื่อกฎเกณฑ์ทุกอย่างเปลี่ยนไป แผนการทำธุรกิจที่จะดำเนินไปย่อมมีปัญหาสะดุดหรือหยุดชะงักไป ซึ่งตอนนี้ เริ่มมีคำถามว่า ผลกระทบความเสียหายจะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด
ยกตัวอย่างเช่น การชำระแลกเปลี่ยนสินค้าด้วยคริปโตฯ ไม่ได้ ห้ามโฆษณา ห้ามโอนสินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้ จะทำอย่างไรกันสำหรับกลุ่มธุรกิจที่ดำเนินการไปแล้ว
บรรดากลุ่มทุนต่างๆ ที่ร่วมกับบิทคับย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่า ผลกระทบกระเทือนต่อธุรกิจนี้เพราะ บิทคับ “เล่นใหญ่” เดินเกมอย่าง “บ้าคลั่ง” อีกทั้ง การทำให้ Kubcoin หรือ ศูนย์การซื้อขายคริปโตฯ ถูกมองเป็นตลาดที่เต็มไปด้วยการเก็งกำไร เป็น “ตลาดซิ่ง” ที่เกิดความสงสัยในความน่าเชื่อถือตามหลักธรรมาภิบาลไปแล้ว แทนที่การพัฒนาจะเป็นไปอย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งน่าเสียดายสำหรับประโยชน์จองสินทรัพย์ดิจิทัล เรียกว่า ทำตัวเอง ทั้งสิ้น
เรื่องนี้คงโทษว่า ธปท.กับ ก.ล.ต. เห็นจะไม่ได้ ในฐานะ Regulator ย่อมต้องมอง “ความเสี่ยง” ของธุรกิจ และ ประชาชนมาก่อน บิทคับต่างหากที่ต้องทบทวนและถามตัวเองว่า แนวทางที่บิทคับดำเนินธุรกิจนั้นเป็นอย่างไร?
การกระทำที่ผ่านมาเข้าข่ายขัดแย้งกับเกณฑ์ควบคุมและข้อห้ามของฝั่ง ก.ล.ต. และแบงก์ชาติ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาจำนวนมากที่จะตามมาในอนาคต ทั้งต่อธุรกิจ และ คนที่เข้าร่วมขบวนรถไฟเกาะเทรนด์คริปโตฯ โดยที่ไร้ประสบการณ์ ความรู้ความเข้าใจ และ ความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างต่อระบบเศรษฐกิจได้ทุกเมื่อ หรือไม่อย่างไร?
กฎเกณฑ์ทั้งหลายย่อมสะท้อนภาพเบื้องหลังทำไม แบงก์ชาติ และ ก.ล.ต. จึงออกมาคุมเข้มกับธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลมาก หรืออีกนัยหนึ่ง ทั้งหมดทั้งมวลนี้เพราะ ลัทธิบิทคับ เป็นตัวป่วนวงการ ทำตัวเอง และกำลังทำให้ธุรกิจอื่นๆ เกิดปัญหาเดือดร้อนตามมาใช่หรือไม่?
ขณะที่ต่อให้บิทคับจะไม่กระทบในแง่ผลประกอบการ แต่รอยด่างที่ทำให้วงการธุรกิจคริปโตฯ ปั่นป่วน เพราะความอหังการคิดเพียงจะ “WIN” ในธุรกิจ จนทำให้ Regulator ต้องเทกแอ็กชันครั้งแล้วครั้งเล่านี้จะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาวงการการเงินอย่างไม่ต้องสงสัย
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 41
Bitkub เทียบ Binance ค่าต๋งแพง-ค่าถอนโหด กับดักแมงเม่า
By Admin -April 4, 2022
ข่าวเชิงวิเคราะห์ “บิทคับ ยูนิคอร์นสายพันธุ์อันตราย!?” ตอนที่ 5 โดย iBit
เทียบแพลตฟอร์มบิทคับกับไบแนนซ์ พบเก็บค่าธรรมเนียมแพงกว่าเท่าตัว ค่าถอนโขกส่วนต่างระยับ 17 บาทต่อรายการ ไม่เปิดฟีเจอร์ป้องลูกค้าตัดขาดทุน ผวาระบบล่มซ้ำ–แฮกเกอร์เจาะ โอ่เชื่อมต่ออนาคตแต่วันนี้ยังเชื่อมต่อระบบดั้งเดิม แถมขายให้แบงก์ นวัตกรรมไม่ใหม่ จับตาพร้อม “Exit” 100% บทสรุปสุดท้ายยูนิคอร์นไทย = Marketing Company
กรณีกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCBX มีความต้องการจะซื้อหุ้น บิทคับ ออนไลน์ ผู้ให้บริการศูนย์การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล จำนวน 51% คิดเป็นมูลค่ากว่า 17,850 ล้านบาท โดยนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 2564 ที่ประกาศข่าวออกมา ผ่านมาถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 5 เดือนแล้วดีลนี้แม้แต่การยื่นขออนุญาตอย่างเป็นทางการจากธนาคารแห่งประเทศไทยก็ยังไม่เกิดขึ้น!
ความล่าช้าของดีลนี้ วิเคราะห์กันว่า มีความเป็นไปได้ทั้ง SCBX และ กลุ่ม บิทคับ อาจจะกำลังต่อรองกันอย่างหนัก ภายหลัง SCBX ได้เข้าตรวจสอบวิเคราะห์สถานะทางธุรกิจ หรือ ดีลดิลิเจนท์ พบเห็นอะไรที่ “ไม่ตรงปก” หรือไม่? เช่น ปัญหาบัญชีสมาชิกที่ยังไม่รู้ว่า ในจำนวน 3 ล้านบัญชีมี ผู้ลงทุนตัวจริงที่พิสูจน์ตัวตนได้เท่าไหร่ ที่พิสูจน์ไม่ได้ เป็น “นอมินี” หรือ “บัญชีม้า” ปะปนอยู่มากน้อยแค่ไหน ปริมาณการซื้อขาย รายได้ ที่อาจจะไม่ได้เป็นไปอย่างที่ “บิทคับ” โฆษณาชี้ชวน (ตามที่เคยวิเคราะห์ไว้ในตอนที่ผ่านมา) เป็นต้น
ขณะที่ เกณฑ์การควบคุมดูแล จาก “ Regulator” ทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และ ตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่เห็น “ความเสี่ยง” จากการเข้าตรวจสอบบิทคับ และ ที่เกิดจากการทำตลาดอย่าง “บ้าคลั่ง” ของบิทคับก็ดี จนต้องออกประกาศ เปลี่ยนแปลงเงื่อนไข หรือ ข้อ “ห้าม” ไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิตัลดำเนินการในหลายอย่างที่เป็นความเสี่ยงแก่ ผู้ลงทุน องค์กรธุรกิจ และ ระบบเศรษฐกิจ มาอย่างต่อเนื่องตลอด 5 เดือนที่ผ่านมา และ ยังจะนำออกมาบังคับใช้อีกหลายมาตรการภายในกลางปีนี้
ยิ่งกรณีของ “KUB” เหรียญที่บิทคับออกมาแล้วซื้อขายในตลาดของตัวเอง ต่อมาเกิดอภินิหารที่อธิบายโดยปัจจัยพื้นฐานไม่ได้ว่า ทำไมราคาของเหรียญจึงพุ่งทะลุฟ้า จากราคา 30 บาทขึ้นไปถึง 500 กว่าบาท หรือ บวกขึ้นไปเกือบๆ 1,800% ก่อนจะถูกเทขายราคาไหลรูดลงมา ซึ่งอธิบายได้อย่างเดียวว่า นี่คือ “การสร้างราคา” หรือ “ ปั่น” เหรียญเล่น “เก็งกำไร” ในตลาดทำให้ เจ้ามือรวย คนที่ซวย ก็คือ รายย่อย หรือ แมงเม่าทิ่บินเข้ากองไฟ โดยที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้เข้าตรวจสอบแล้วซึ่งอีกไม่นานคงจะมีคำตอบให้สังคมอย่างแน่นอน
ว่ากันว่า ปรากฏการณ์ปั่น “KUB” เย้ยฟ่าท้าดิน หากเทียบกับ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ถ้าออกหุ้นเอง เทรดเอง ลักษณะนี้ย่อมมีการใช้ข้อมูลภายใน การสร้างราคา เพื่อประโยชน์ของตัวตลาดเองอย่างไม่ต้องนำสืบ ตลาดนั้นๆก็จะไม่ต่างกับ “บ่อนพนัน” และ ย่อมเกิดคำถามกับ SCBX ที่จะให้ บล.หลักทรัพย์ของตัวเองเข้าไปถือหุ้นใน “บ่อนพนัน” เช่นนี้หรือ?
เงินลงทุน 17,850 ล้านบาท โดยเหตุผลต้องการเชื่อมต่อกับโลกการเงินดิจิทัล หรือ โลกอนาคต เป็น “วิชั่น” ที่ไม่อาจจะปฎิเสธเทรนด์ของโลกการเงิน แต่สิ่งที่เป็นไปและจะได้มาคือ “ตลาดซื้อขายคริปโต” ที่ภาพกลายเป็นแหล่งพนันไปแล้ว เชื่อได้ว่า SCBX เองก็ต้องคิดหนัก
ไบแนนซ์ ตัวเปลี่ยนเกม
นอกจากนี้ อีกปัจจัยที่ SCBX จะต้องคิดหนักแน่ๆ คือ การเข้าสู่ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลไทยของ Cryptocurrency Exchange เบอร์หนึ่งโลก อย่าง Binance แม้บิทคับจะเคลมว่า ตัวเองเป็นเจ้าตลาดของศูนย์การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในไทย แต่สำหรับนักลงทุนคริปโตฯ ไทยรู้จัก ไบแนนซ์มาก่อนบิทคับตั้งนานแล้ว และเปิดบัญชีกับ ไบแนนซ์ ไม่น้อย ซึ่งเป็นไปได้สูงว่า จำนวนบัญชีและปริมาณการซื้อขายในปัจจุบันของคนไทยอาจจะมากกว่า บิทคับ เสียด้วยซ้ำ
การมาของไบแนนซ์ จะเป็นตัวเปรียบเทียบ และเปลี่ยนเกมตลาดคริปโตฯ เมืองไทยอย่างไม่ต้องสงสัย ด้วยมาตรฐานแพลตฟอร์มที่เป็นสากลระดับโลก และพิสูจน์ตัวเองด้านระบบการซื้อขาย และความปลอดภัย ระดับของเทคโนโลยีที่พัฒนาอยู่ตลอด จะเป็นจุดที่นักลงทุน จะสัมผัสเปรียบเทียบกันได้ เรียกว่า ไบแนนซ์อยู่เหนือบิทคับทุกประตู
สิ่งสำคัญที่สุดของ Cryptocurrency Exchange หรือ แม้แต่ตลาดหุ้น ก็คือ การซื้อขายที่เป็นธรรม ไบแนนซ์ ที่ขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งโลกย่อมต้องได้รับความเชื่อถือจากนักลงทุน แต่สำหรับ บิทคับ นั้นยังเต็มไปด้วยคำถาม
ขณะที่บิทคับเริ่มต้นมา 3 ปีเศษ มีรายงานจากการเข้าตรวจสอบของ ก.ล.ต.บ่งชี้พบข้อบกพร่อง การทำธุรกิจไม่รัดกุมเพียงพอ ระบบขาดประสิทธิภาพ อยู่เป็นระยะ ตั้งแต่การเปิดบัญชี การพิสูจน์ตัวตนจองลูกค้า Market Marker การซื้อขาย การปล่อยให้มีการสร้างราคาของ KUB ไปจนถึง รวมไปถึงการปล่อยให้ “คนนอก” เข้ามามีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการในตลาดซึ่งเป็นข้อที่หนักหนาสาหัสกับธรรมาภิบาลที่จำเป็นต้องมีสำหรับ Exchange
วันที่ ไบแนนซ์ ซึ่งจับมือกับ กัลฟ์ ยักษ์ใหญ่ธุรกิจพลังงาน เปิดศูนย์การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในไทยเมื่อไหร่ ภาพการเปรียบเทียบระหว่าง Exchange สองรายนี้จะยิ่งชัดขึ้น
เทียบ ไบแนนซ์ VS บิทคับ กระดูกคนละเบอร์
ลองมาเปรียบเทียบ ไบแนนซ์ กับ บิทคับ กันดู จากการสัมผัสของลูกค้าที่เปิดทั้งสองบัญชีใช้บริการซื้อขายคริปโตฯ โดยส่วนใหญ่ เห็นว่า โดยพื้นฐาน เปิดบัญชีกับไบแนนซ์สะดวกและรวดเร็วกว่า แม้จะปลอดภัยสูงกว่าบิทคับแต่ก็ถ้าผ่านการพิสูจน์ตัวตนได้ใช้เวลาไม่ถึง 30 นาที กับบิทคับต้องใช้เวลานาน 15-30 วัน การใช้งาน “ล็อกอิน” ไบแนนซ์เข้าง่าย แต่บิทคับขั้นตอนยุ่งยาก
ขณะที่จำนวนเหรียญในกระดานเทรดไบแนนซ์มีมากกว่าบิทคับหลายเท่าตัว ซึ่งมาพร้อมกับสภาพคล่องที่แตกต่างกันด้วยปริมาณการซื้อขายหมุนเวียนที่มากกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์ต่อวัน ขณะที่บิทคับเทรดเฉลี่ยวันละไม่ถึง 1 ล้านดอลลาร์สภาพคล่องถือว่าน้อยกว่ามากไม่นับรวมเรื่องของการการโอนเหรียญคริปโต ฯ ระหว่างกระดานเทรดหรือระหว่างแพลตฟอร์ม ไบแนนซ์มีความหลากหลายและทางเลือกมากกว่า
ค่าธรรมเนียมบิทคับแพง–ค่าถอนโหด
ค่าธรรมเนียมในการเทรด ไบแนนซ์ คิด 0.1% หรือ ซื้อ–ขายไปกลับ อยู่ที่ 0.2% หากใช้เหรียญ BNB หรือ เหรียญไบแนนซ์ เป็นส่วนลดค่าธรรมเนียมได้ 25% ขณะที่ บิทคับ จะคิดค่าธรรมเนียมในการเทรด 0.25% ไปกลับซื้อ–ขาย เก็บค่าต๋ง 0.50% ถือว่าแพงกว่า ไบแนนซ์เกือบเท่าตัว และ เมื่อมีการถอนบิทคับก็จะคิดค่าธรรมเนียม 20 บาทต่อรายการกับนักลงทุน ซึ่งว่ากันว่า เป็นค่าธรรมเนียมที่ “มหาโหด” ที่คนในวงการการเงินมองว่า บิทคับเอากำไรเกินควร ทั้ง ๆ ที่ แบงก์คิดค่าธรรมเนียมค่าบริการกับบิทคับเพียง 3 บาทต่อรายการ แต่บิทคับเอามาเรียกเก็บจากลูกค้าเพิ่มถึง 17 บาท
ฟีเจอร์แตกต่าง บิทคับไม่มี Stop Limit
ในด้านฟังก์ชั่นหรือฟีเจอร์เครื่องมือทางเลือกในการลงทุน ไบแนนซ์ มีมากกว่า ใช้งานง่ายกว่า บิทคับ ไม่ว่าจะเป็น การเทรดเหรียญแบบ Spot, Futures และ Options ตลอดจนการเทรดแบบใช้มาร์จิน ซื้อขายกันเองแบบ P2P รวมไปถึงการปล่อยกู้รับผลตอบแทน หรือ เก็บเหรียญเพื่อรับดอกเบี้ย
ที่สำคัญ ระบบการซื้อหรือขายของบิทคับ เล่นหรือลงทุนได้แบบ Spot อย่างเดียวซึ่งอาจจะเป็นสวรรค์ของนักลงทุนทำกำไรในช่วงตลาดขาขึ้น แต่สำหรับขาลงนั้น ต้องบอกว่า นรกมาเยือนผู้ลงทุนมือใหม่มีโอกาสที่จะขึ้นไปพำนัก “บนดอย” แขวนตัวเองอยู่ไปราคาสูงไม่สามารถบริหารจัดการพอร์ตของตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ได้
ยิ่งหากดูรายละเอียดของการทำคำสั่งซื้อ–ขายเปรียบเทียบกันของสองแพลตฟอร์ม บิทคับ มักถูกลูกค้านักเล่นบ่นกรณีไม่สามารถกดซื้อหรือขายในราคาตลาดได้แบบเรียลไทม์บ่อยครั้ง จนสูญเสียโอกาสได้ราคาที่อยากจะซื้อหรือขาย
ขณะที่ ฟีเจอร์ “Stop Limit order” หรือ เครื่องมือ “Cut Loss” ที่จะช่วยปกป้องผู้ลงทุนจากความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง สามารถกำหนดราคาเอาไว้ล่วงหน้าเมื่อถึงระดับที่ไม่สามารถแบกรับการขาดทุนระบบก็จะเตือนให้ขาย หรือ ขายให้ทันที หากไม่ได้ติดตามหรือมอนิเตอร์การลงทุนของตัวเองแบบ 24 ชั่วโมง หรือ เฝ้ากระดานเทรดได้ทั้งวันทั้งคืน ไบแนนซ์นั้นมีฟีเจอร์นี้เอาไว้ช่วยนักลงทุน แต่สำหรับบิทคับให้ใช้เฉพาะ บิตคอยน์ และ อีเทอร์เรียม ในวงการนักลงทุนคริปโตฯ ถือว่า เป็นข้อเสียอย่างร้ายแรงในสายตาของนักเทรด
ดังที่เกิดโศกนาฎกรรม กับการกอดคอดิ่งเหวของ 3 เหรียญ KUB JFIN และ SIX ที่ถูกเทขายเหมือนตั้งใจจากเจ้ามือทำ “ปลั๊กหลุด” อย่างเป็นปริศนา ในช่วงกลางคืนของวันที่ 30 พ.ย. 2564 มีผลกระทบกับรายย่อยชนิดที่ไม่สามารถตัดขาดทุนได้ทัน เหตุการณ์นั้นต้องบันทึกเอาไว้ในบัญชีหนังหมาของ ก.ล.ต.ว่า มีพิรุธในการสร้างราคาปั่นและทุบเหรียญของใคร และ ใครที่ได้ประโยชน์จากรูโหว่ของระบบของ บิทคับ
ผวาระบบล่มหลอน–โดนแฮกเกอร์ทดสอบ
จุดที่นักลงทุนหรือลูกค้ายังคาใจบิทคับที่ปฎิเสธไม่ได้ว่า เป็นความเสี่ยงที่ไม่มีใครกล้าการันตีจะไม่เกิดขึ้นอีก โดยเฉพาะปัญหา “ระบบล่ม” ของเครือข่ายบิทคับที่เคยเกิดขึ้น ทำให้การซื้อขายหยุดชะงักเมื่อวันที่ 2 วันที่ 3 และวันที่ 16 มกราคม 2564
รวมไปถึงระบบสำคัญ เช่น ระบบการฝากถอนเงินและสินทรัพย์ดิจิทัล ระบบการแสดงข้อมูลทรัพย์สินลูกค้า ระบบการให้บริการติดต่อลูกค้า ทั้งหลายเหล่านี้เป็นปัญหาที่ก.ล.ต.ได้สั่งการให้บิทคับแก้ไขและเยียวยาผู้เสียหายมาโดยตลอด เพราะมีลูกค้าร้องเรียนจำนวนมาก เมื่อเทียบกับไบแนนซ์แล้วสิ่งต่างๆ เหล่านี้แทบจะไม่ค่อยเกิดขึ้น
อีกประการที่พูดกันในวงในเทคโนโลยีก็คือ ระบบการป้องกันความปลอดภัยจากการโจมตีของ “แฮกเกอร์” ซึ่งถือว่าสำคัญมากของตลาดซื้อขายคริปโตฯ โดยแม้ว่า แฮกเกอร์ จะเลือก Exchange ที่เป็นเจ้าใหญ่ มีชื่อเสียงของโลก แต่ไม่มีใครกล้ารับประกันได้ว่าจะไม่เกิดขึ้นกับบิทคับ ซึ่งก็เป็นเครื่องหมายคำถามตัวโตๆว่า บิทคับ พร้อมหรือไม่สำหรับการทดสอบอันตรายจากแฮกเกอร์
ที่ผ่านมา แฮกเกอร์ เจาะเข้าระบบของเครือข่ายบล็อกเชนของเจ้าใหญ่ๆหลายราย โดยรายล่าสุดเมื่อวันที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมาบล็อกเชน โรนิน เน็ตเวิร์กก็เพิ่งถูกแฮกเกอร์โอนเงินออกจากระบบ คิดเป็นมูลค่ากว่า 20,455ล้านบาท มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในโลกของคริปโตเคอเรนซี่เมื่อเทียบกับความเสียหายครั้งก่อนหน้าหลายครั้ง
บิทคับ = มาร์เก็ตติ้งคอมปะนี
จากทั้งหมด บทสรุปของบิทคับ จากสตาร์ทอัพอับเกรดขึ้นมาเป็น “ยูนิคอร์น” ภายในเวลาอันรวดเร็ว โดยการขี่กระแสขาขึ้นของ “บิตคอยน์” พร้อมกับความพยายามในการสร้าง “ลัทธิ“ หรือ การสร้างบุคคลิกให้กับธุรกิจและตัวของ “ท็อป” จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ให้เป็นดั่ง “เจ้าลัทธิ” ที่ปลุกเร้าเจ้าของธุรกิจ และ คนดัง ด้วยการทุ่มงบประมาณการตลาดให้เชื่อไปในแนวทางเดียวกันกับบิทคับ
บิทคับ คือ ผู้ที่จะมาเปลี่ยนแปลงโลกการเงิน และ เชื่อมต่ออนาคต ด้วยนวัตกรรมใหม่ พร้อมกับการปูพรมกวาดต้อนนักลงทุนหน้าใหม่ไร้ประสบการณ์ นักเรียนมัธยม เด็กมหาวิทยาลัย ที่ยังไม่มีรายได้เป็นของตัวเองด้วยแคมเปญเช่น 10 บาทก็ลงทุนได้ เมื่อเทียบกับ ไบแนนซ์ หรือ แม้แต่ ศูนย์การซื้อขายคริปโตฯ ของไทยด้วยกันเองก็จะไม่ “บ้าคลั่ง”เช่นนี้ เห็นข้อแตกต่างอย่างชัดเจน ว่าบิทคับนั้นเอาการตลาดนำหน้าเพื่อรายได้ เพื่อผลกำไรทางธุรกิจ มากกว่าผลลัพท์การพัฒนาตลาดคริปโต
จิรายุส มักพูดเสมอถึง การเปลี่ยนแปลงโลกการเงินดิจิทัลที่จะเข้ามาดีสทรับ หรือทำธุรกิจให้ชะงักงันได้หากไม่เข้าร่วมขบวนคล้ายๆ “เขียนเสือให้วัวกลัว” ส่วนของบิทคับรอ “จับปลาตอนน้ำขุ่น” เมื่อธุรกิจตอบรับเข้าร่วมลัทธิ บนความไม่รู้เรื่องของคริปโตฯ และเทคโนโลยีก็ต้องจ่ายค่าบริการและ “ราคาที่ต้องจ่าย” เพราะวาดหวังจะออกเหรียญของตัวเอง ทำกำไรเหมือน KUB ของบิทคับที่ทำตัวอย่างให้ดูแล้ว
ในความเป็นจริง เมื่อแบงก์ชาติออกกฎคุมเข้ม เช่น ห้ามนำเหรียญมาชำระสินค้าหรือบริการ นี่ก็ไปไม่เป็นหลายราย หรือ กระทั่งล่าสุด ก.ล.ต.ออกหลักเกณฑ์กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจัดทำและส่งรายงานข้อมูลการซื้อขาย การแลกเปลี่ยน และการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าเพื่อประโยชน์ในการสอบทานทรัพย์สินของลูกค้า
นั่นหมายความว่า ก.ล.ต.ไม่ไว้ใจ บริษัทที่ดูแลคริปโต ฯ ของลูกค้าอาจจะไม่ปฎิบัติตามข้อกำหนดส่งผลให้นักลงทุนมีความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งความเสี่ยงนี้ย่อมกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจและเงื่อนไขทางการเงินของบริษัทต่างๆ อาจจะมีการเล่นแร่แปรธาตุไว้นอกงบการเงิน ไปปล่อยกู้กันเอง หลีกภาษี หรือ แม้แต่ ฟอกเงิน
ดังที่เป็นกระแสกังวลกันทั่วโลกของหมู่ Regulator ว่า สินทรัพย์ดิจิทัล ถูกใช้เพื่อการมุ่งหวังทำกำไร สร้างความมั่งคั่ง ให้คนบางกลุ่มมากกว่า มุ่งพัฒนาเพื่อโลกการเงินในอนาคต โดยการทำทุกวิถีทางที่จะหาองค์กรธุรกิจมาเป็นลูกค้ายกกระแสเปลี่ยนแปลงมากล่าวอ้าง
เพราะฉะนั้นเวลาที่ จิรายุส เสนอผ่านสื่อจะโน้มน้าวให้เจ้าของธุริกิจ หรือ ชนชั้นนำของสังคม กลุ่มอีลิท ดารา เซเลบ ผ่านการตั้งหลักสูตร หรือ โปรแกรม เช่น The chosen one เปลี่ยนองค์กร เปลี่ยนชีวิตให้หนีจากกับดัก “รายได้ปานกลาง” ที่ทำกันแค่ สร้างผลผลิต และ บริการ โดยบอกว่า เมืองไทยบริษัทใหญ่ ๆ ในตลาดหลักทรัพย์เมื่อ 30 ปีที่แล้วเป็นยังไง ทุกวันนี้ก็ยังเหมือนเดิม สูญเสียโอกาสมหาศาลใน ไปยึดติดกับการทำธุรกิจแบบเดิมๆ ซึ่งก็พอจะอยู่รอดในยุคนั้นเท่านั้น
วันนี้ทุกคนต้องสามารถสร้างธุรกิจในเลเยอร์ที่ 3 – 4- 5 ขึ้นมาได้ เหมือนกับ บิทคับ ที่ยกระดับจากสตาร์ทอัพมาเป็น ยูนิคอร์น และ กำลังจะก้าวต่อไปในอีกระดับที่สูงกว่า เพื่อรองรับการเติบโตสู่โลกใหม่ และ ทุกคนก็ควรสนับสนุนให้บิทคับไปถึง level 4 คือ super app อยู่เหนือตลาด ถึงตรงนั้น ก็ต้องถามว่า คนไทย ประเทศไทยได้อะไรจากบิทคับ?
ด้วยนโยบายการขับเคลื่อนธุรกิจดังกล่าวของบิทคับ จึงไม่แปลกที่คนในวงการเทคโนโลยี จะมองว่า บิทคับ เป็นเพียง Marketing Company ที่หากให้วิเคราะห์กันจริงๆ เทคโนโลยี หรือ นวัตกรรม ของบิทคับที่ว่า เป็นนวัตกรรมใหม่ที่จะมาเปลี่ยนโลก เชื่อมต่ออนาคต ไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้มีผู้พัฒนาเอาไว้อยู่แล้ว
ตรงกันข้าม วันนี้ระบบสำคัญของบิทคับก็ยังพึ่งพาเชื่อมต่อกับ การเงินแบบดั้งเดิมอยู่มาก เรียกว่า นำของที่มีผู้คิดค้นไว้เอาป้ายสติกเกอร์ใหม่ของตัวเองมาแปะทับเท่านั้นเอง
ที่หัวเราะไม่ออกร่ำไห้มิได้ คือ การบอกว่า โลกการเงินแบบเก่าซึ่งหมายถึงระบบการเงินที่พึ่งพาแบงก์ จะถูกดิสรับด้วยเทคโนโลยีเงินดิจิทัล ทำการตลาดให้คนเชื่อมั่นเข้าสู่ธุรกิจเงินดิจิทัล แต่บิทคับกลับเสนอขายหุ้นบิทคับให้กับกลุ่มธนาคาร และ เชื่อว่า บรรดาผู้ก่อตั้ง รวมทั้ง จิรายุส เองก็ยังต้องฝากเงินในระบบธนาคารแบบดั้งเดิมเพื่อความปลอดภัยของตนเอง
ถึงวันนี้ คนในวงการเทคโนโลยีหลายคนรู้สึก “ผิดหวัง” และ “เสียดาย” ที่ให้โอกาสบิทคับมาเชื่อมต่อระบบ โดยไม่เพียงไม่ให้เครดิต ยังนำระบบนั้นๆไปทำการตลาดเสนอลูกค้าโกยกำไร
แน่นอนว่า จิรายุส ก็รู้ซึ่งถึงข้อนี้ดี ระหว่างการพัฒนาสินทรัพย์ไปสู่โลกอนาคตจริงๆ บนความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการจัดการที่ดำเนินการเพื่อปกป้องทรัพย์สินดิจิทัลไม่ใช่เรื่องง่าย รวมถึงความเสี่ยงและความไม่แน่นอนด้านเทคโนโลยี กฎหมายและกฎระเบียบของ แบงก์ชาติ และ ก.ล.ต.โดยเฉพาะการทำธุรกิจ “Exchange” นั้นอยู่บนความไม่แน่นอนไปด้วย ไม่เช่นนั้นคงไม่พยายามจะ “Exit” ออกจากธุรกิจที่ตั้งมากับมือ แว่วว่า ใน 49% ที่เหลือในบิทคับออนไลน์ ทางบิทคับโฮลดิ้งส์ก็กำลังวางแผนที่จะเสนอขายให้กับผู้สนใจอยากจะกระโจนเข้ามาเป็นเจ้าของตลาดซื้อขายคริปโตฯ
หากมองตามวิถีของสตาร์ทอัพเมื่อถึงจุดพีคแล้วต้องรีบ Exit ให้หมดเพื่อ “Win” ในธุรกิจก็มีความเป็นไปได้สูงที่กลุ่มบิทคับจะทำ
นั่นหมายความว่า เป้าหมายใหม่ของบิทคับ หรือ Bitkub The next chapter อยู่ที่ Bitkub Chain Bitkub Next กับโปรแกรม The chosen one ที่เป็นกลุ่ม elite insider เหรียญสุดอันตราย ท่ามกลางความพินาศฉิบหายของแมงเม่า ใน Bitkub exchange ก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของ SCBX ที่ไปวัดดวงเอาในวันข้างหน้า
ประการสำคัญบทสรุปสุดท้าย ซีรีส์บิทคับ ตีแผ่เรื่องของธุรกิจคริปโตฯ ในอีกด้านจะเป็นอย่างไรที่มุ่งแต่ฉกฉวยหากำไร สร้างความร่ำรวยให้คนบางกลุ่ม มาถึงตรงนี้ 5 ตอน SCBX จะมีคำตอบอย่างไรให้กับบรรดาผู้ถือหุ้นโดยเฉพาะสำนักงานทรัพย์สินฯ ผู้ถือหุ้นใหญ่ กับการจะทะเล่อทะล่าละเลงเงินลงทุน 17,850 ล้านให้กับ Bitkub Exchange หรือกลุ่มของ จิรายุส นั้นคุ้มค่ากับความเสี่ยงหรือไม่อย่างไร นี่ก็ต้องติดตามกันต่อไป
By Admin -April 4, 2022
ข่าวเชิงวิเคราะห์ “บิทคับ ยูนิคอร์นสายพันธุ์อันตราย!?” ตอนที่ 5 โดย iBit
เทียบแพลตฟอร์มบิทคับกับไบแนนซ์ พบเก็บค่าธรรมเนียมแพงกว่าเท่าตัว ค่าถอนโขกส่วนต่างระยับ 17 บาทต่อรายการ ไม่เปิดฟีเจอร์ป้องลูกค้าตัดขาดทุน ผวาระบบล่มซ้ำ–แฮกเกอร์เจาะ โอ่เชื่อมต่ออนาคตแต่วันนี้ยังเชื่อมต่อระบบดั้งเดิม แถมขายให้แบงก์ นวัตกรรมไม่ใหม่ จับตาพร้อม “Exit” 100% บทสรุปสุดท้ายยูนิคอร์นไทย = Marketing Company
กรณีกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCBX มีความต้องการจะซื้อหุ้น บิทคับ ออนไลน์ ผู้ให้บริการศูนย์การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล จำนวน 51% คิดเป็นมูลค่ากว่า 17,850 ล้านบาท โดยนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 2564 ที่ประกาศข่าวออกมา ผ่านมาถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 5 เดือนแล้วดีลนี้แม้แต่การยื่นขออนุญาตอย่างเป็นทางการจากธนาคารแห่งประเทศไทยก็ยังไม่เกิดขึ้น!
ความล่าช้าของดีลนี้ วิเคราะห์กันว่า มีความเป็นไปได้ทั้ง SCBX และ กลุ่ม บิทคับ อาจจะกำลังต่อรองกันอย่างหนัก ภายหลัง SCBX ได้เข้าตรวจสอบวิเคราะห์สถานะทางธุรกิจ หรือ ดีลดิลิเจนท์ พบเห็นอะไรที่ “ไม่ตรงปก” หรือไม่? เช่น ปัญหาบัญชีสมาชิกที่ยังไม่รู้ว่า ในจำนวน 3 ล้านบัญชีมี ผู้ลงทุนตัวจริงที่พิสูจน์ตัวตนได้เท่าไหร่ ที่พิสูจน์ไม่ได้ เป็น “นอมินี” หรือ “บัญชีม้า” ปะปนอยู่มากน้อยแค่ไหน ปริมาณการซื้อขาย รายได้ ที่อาจจะไม่ได้เป็นไปอย่างที่ “บิทคับ” โฆษณาชี้ชวน (ตามที่เคยวิเคราะห์ไว้ในตอนที่ผ่านมา) เป็นต้น
ขณะที่ เกณฑ์การควบคุมดูแล จาก “ Regulator” ทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย และ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และ ตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่เห็น “ความเสี่ยง” จากการเข้าตรวจสอบบิทคับ และ ที่เกิดจากการทำตลาดอย่าง “บ้าคลั่ง” ของบิทคับก็ดี จนต้องออกประกาศ เปลี่ยนแปลงเงื่อนไข หรือ ข้อ “ห้าม” ไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิตัลดำเนินการในหลายอย่างที่เป็นความเสี่ยงแก่ ผู้ลงทุน องค์กรธุรกิจ และ ระบบเศรษฐกิจ มาอย่างต่อเนื่องตลอด 5 เดือนที่ผ่านมา และ ยังจะนำออกมาบังคับใช้อีกหลายมาตรการภายในกลางปีนี้
ยิ่งกรณีของ “KUB” เหรียญที่บิทคับออกมาแล้วซื้อขายในตลาดของตัวเอง ต่อมาเกิดอภินิหารที่อธิบายโดยปัจจัยพื้นฐานไม่ได้ว่า ทำไมราคาของเหรียญจึงพุ่งทะลุฟ้า จากราคา 30 บาทขึ้นไปถึง 500 กว่าบาท หรือ บวกขึ้นไปเกือบๆ 1,800% ก่อนจะถูกเทขายราคาไหลรูดลงมา ซึ่งอธิบายได้อย่างเดียวว่า นี่คือ “การสร้างราคา” หรือ “ ปั่น” เหรียญเล่น “เก็งกำไร” ในตลาดทำให้ เจ้ามือรวย คนที่ซวย ก็คือ รายย่อย หรือ แมงเม่าทิ่บินเข้ากองไฟ โดยที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้เข้าตรวจสอบแล้วซึ่งอีกไม่นานคงจะมีคำตอบให้สังคมอย่างแน่นอน
ว่ากันว่า ปรากฏการณ์ปั่น “KUB” เย้ยฟ่าท้าดิน หากเทียบกับ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ถ้าออกหุ้นเอง เทรดเอง ลักษณะนี้ย่อมมีการใช้ข้อมูลภายใน การสร้างราคา เพื่อประโยชน์ของตัวตลาดเองอย่างไม่ต้องนำสืบ ตลาดนั้นๆก็จะไม่ต่างกับ “บ่อนพนัน” และ ย่อมเกิดคำถามกับ SCBX ที่จะให้ บล.หลักทรัพย์ของตัวเองเข้าไปถือหุ้นใน “บ่อนพนัน” เช่นนี้หรือ?
เงินลงทุน 17,850 ล้านบาท โดยเหตุผลต้องการเชื่อมต่อกับโลกการเงินดิจิทัล หรือ โลกอนาคต เป็น “วิชั่น” ที่ไม่อาจจะปฎิเสธเทรนด์ของโลกการเงิน แต่สิ่งที่เป็นไปและจะได้มาคือ “ตลาดซื้อขายคริปโต” ที่ภาพกลายเป็นแหล่งพนันไปแล้ว เชื่อได้ว่า SCBX เองก็ต้องคิดหนัก
ไบแนนซ์ ตัวเปลี่ยนเกม
นอกจากนี้ อีกปัจจัยที่ SCBX จะต้องคิดหนักแน่ๆ คือ การเข้าสู่ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลไทยของ Cryptocurrency Exchange เบอร์หนึ่งโลก อย่าง Binance แม้บิทคับจะเคลมว่า ตัวเองเป็นเจ้าตลาดของศูนย์การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในไทย แต่สำหรับนักลงทุนคริปโตฯ ไทยรู้จัก ไบแนนซ์มาก่อนบิทคับตั้งนานแล้ว และเปิดบัญชีกับ ไบแนนซ์ ไม่น้อย ซึ่งเป็นไปได้สูงว่า จำนวนบัญชีและปริมาณการซื้อขายในปัจจุบันของคนไทยอาจจะมากกว่า บิทคับ เสียด้วยซ้ำ
การมาของไบแนนซ์ จะเป็นตัวเปรียบเทียบ และเปลี่ยนเกมตลาดคริปโตฯ เมืองไทยอย่างไม่ต้องสงสัย ด้วยมาตรฐานแพลตฟอร์มที่เป็นสากลระดับโลก และพิสูจน์ตัวเองด้านระบบการซื้อขาย และความปลอดภัย ระดับของเทคโนโลยีที่พัฒนาอยู่ตลอด จะเป็นจุดที่นักลงทุน จะสัมผัสเปรียบเทียบกันได้ เรียกว่า ไบแนนซ์อยู่เหนือบิทคับทุกประตู
สิ่งสำคัญที่สุดของ Cryptocurrency Exchange หรือ แม้แต่ตลาดหุ้น ก็คือ การซื้อขายที่เป็นธรรม ไบแนนซ์ ที่ขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งโลกย่อมต้องได้รับความเชื่อถือจากนักลงทุน แต่สำหรับ บิทคับ นั้นยังเต็มไปด้วยคำถาม
ขณะที่บิทคับเริ่มต้นมา 3 ปีเศษ มีรายงานจากการเข้าตรวจสอบของ ก.ล.ต.บ่งชี้พบข้อบกพร่อง การทำธุรกิจไม่รัดกุมเพียงพอ ระบบขาดประสิทธิภาพ อยู่เป็นระยะ ตั้งแต่การเปิดบัญชี การพิสูจน์ตัวตนจองลูกค้า Market Marker การซื้อขาย การปล่อยให้มีการสร้างราคาของ KUB ไปจนถึง รวมไปถึงการปล่อยให้ “คนนอก” เข้ามามีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการในตลาดซึ่งเป็นข้อที่หนักหนาสาหัสกับธรรมาภิบาลที่จำเป็นต้องมีสำหรับ Exchange
วันที่ ไบแนนซ์ ซึ่งจับมือกับ กัลฟ์ ยักษ์ใหญ่ธุรกิจพลังงาน เปิดศูนย์การซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในไทยเมื่อไหร่ ภาพการเปรียบเทียบระหว่าง Exchange สองรายนี้จะยิ่งชัดขึ้น
เทียบ ไบแนนซ์ VS บิทคับ กระดูกคนละเบอร์
ลองมาเปรียบเทียบ ไบแนนซ์ กับ บิทคับ กันดู จากการสัมผัสของลูกค้าที่เปิดทั้งสองบัญชีใช้บริการซื้อขายคริปโตฯ โดยส่วนใหญ่ เห็นว่า โดยพื้นฐาน เปิดบัญชีกับไบแนนซ์สะดวกและรวดเร็วกว่า แม้จะปลอดภัยสูงกว่าบิทคับแต่ก็ถ้าผ่านการพิสูจน์ตัวตนได้ใช้เวลาไม่ถึง 30 นาที กับบิทคับต้องใช้เวลานาน 15-30 วัน การใช้งาน “ล็อกอิน” ไบแนนซ์เข้าง่าย แต่บิทคับขั้นตอนยุ่งยาก
ขณะที่จำนวนเหรียญในกระดานเทรดไบแนนซ์มีมากกว่าบิทคับหลายเท่าตัว ซึ่งมาพร้อมกับสภาพคล่องที่แตกต่างกันด้วยปริมาณการซื้อขายหมุนเวียนที่มากกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์ต่อวัน ขณะที่บิทคับเทรดเฉลี่ยวันละไม่ถึง 1 ล้านดอลลาร์สภาพคล่องถือว่าน้อยกว่ามากไม่นับรวมเรื่องของการการโอนเหรียญคริปโต ฯ ระหว่างกระดานเทรดหรือระหว่างแพลตฟอร์ม ไบแนนซ์มีความหลากหลายและทางเลือกมากกว่า
ค่าธรรมเนียมบิทคับแพง–ค่าถอนโหด
ค่าธรรมเนียมในการเทรด ไบแนนซ์ คิด 0.1% หรือ ซื้อ–ขายไปกลับ อยู่ที่ 0.2% หากใช้เหรียญ BNB หรือ เหรียญไบแนนซ์ เป็นส่วนลดค่าธรรมเนียมได้ 25% ขณะที่ บิทคับ จะคิดค่าธรรมเนียมในการเทรด 0.25% ไปกลับซื้อ–ขาย เก็บค่าต๋ง 0.50% ถือว่าแพงกว่า ไบแนนซ์เกือบเท่าตัว และ เมื่อมีการถอนบิทคับก็จะคิดค่าธรรมเนียม 20 บาทต่อรายการกับนักลงทุน ซึ่งว่ากันว่า เป็นค่าธรรมเนียมที่ “มหาโหด” ที่คนในวงการการเงินมองว่า บิทคับเอากำไรเกินควร ทั้ง ๆ ที่ แบงก์คิดค่าธรรมเนียมค่าบริการกับบิทคับเพียง 3 บาทต่อรายการ แต่บิทคับเอามาเรียกเก็บจากลูกค้าเพิ่มถึง 17 บาท
ฟีเจอร์แตกต่าง บิทคับไม่มี Stop Limit
ในด้านฟังก์ชั่นหรือฟีเจอร์เครื่องมือทางเลือกในการลงทุน ไบแนนซ์ มีมากกว่า ใช้งานง่ายกว่า บิทคับ ไม่ว่าจะเป็น การเทรดเหรียญแบบ Spot, Futures และ Options ตลอดจนการเทรดแบบใช้มาร์จิน ซื้อขายกันเองแบบ P2P รวมไปถึงการปล่อยกู้รับผลตอบแทน หรือ เก็บเหรียญเพื่อรับดอกเบี้ย
ที่สำคัญ ระบบการซื้อหรือขายของบิทคับ เล่นหรือลงทุนได้แบบ Spot อย่างเดียวซึ่งอาจจะเป็นสวรรค์ของนักลงทุนทำกำไรในช่วงตลาดขาขึ้น แต่สำหรับขาลงนั้น ต้องบอกว่า นรกมาเยือนผู้ลงทุนมือใหม่มีโอกาสที่จะขึ้นไปพำนัก “บนดอย” แขวนตัวเองอยู่ไปราคาสูงไม่สามารถบริหารจัดการพอร์ตของตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ได้
ยิ่งหากดูรายละเอียดของการทำคำสั่งซื้อ–ขายเปรียบเทียบกันของสองแพลตฟอร์ม บิทคับ มักถูกลูกค้านักเล่นบ่นกรณีไม่สามารถกดซื้อหรือขายในราคาตลาดได้แบบเรียลไทม์บ่อยครั้ง จนสูญเสียโอกาสได้ราคาที่อยากจะซื้อหรือขาย
ขณะที่ ฟีเจอร์ “Stop Limit order” หรือ เครื่องมือ “Cut Loss” ที่จะช่วยปกป้องผู้ลงทุนจากความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง สามารถกำหนดราคาเอาไว้ล่วงหน้าเมื่อถึงระดับที่ไม่สามารถแบกรับการขาดทุนระบบก็จะเตือนให้ขาย หรือ ขายให้ทันที หากไม่ได้ติดตามหรือมอนิเตอร์การลงทุนของตัวเองแบบ 24 ชั่วโมง หรือ เฝ้ากระดานเทรดได้ทั้งวันทั้งคืน ไบแนนซ์นั้นมีฟีเจอร์นี้เอาไว้ช่วยนักลงทุน แต่สำหรับบิทคับให้ใช้เฉพาะ บิตคอยน์ และ อีเทอร์เรียม ในวงการนักลงทุนคริปโตฯ ถือว่า เป็นข้อเสียอย่างร้ายแรงในสายตาของนักเทรด
ดังที่เกิดโศกนาฎกรรม กับการกอดคอดิ่งเหวของ 3 เหรียญ KUB JFIN และ SIX ที่ถูกเทขายเหมือนตั้งใจจากเจ้ามือทำ “ปลั๊กหลุด” อย่างเป็นปริศนา ในช่วงกลางคืนของวันที่ 30 พ.ย. 2564 มีผลกระทบกับรายย่อยชนิดที่ไม่สามารถตัดขาดทุนได้ทัน เหตุการณ์นั้นต้องบันทึกเอาไว้ในบัญชีหนังหมาของ ก.ล.ต.ว่า มีพิรุธในการสร้างราคาปั่นและทุบเหรียญของใคร และ ใครที่ได้ประโยชน์จากรูโหว่ของระบบของ บิทคับ
ผวาระบบล่มหลอน–โดนแฮกเกอร์ทดสอบ
จุดที่นักลงทุนหรือลูกค้ายังคาใจบิทคับที่ปฎิเสธไม่ได้ว่า เป็นความเสี่ยงที่ไม่มีใครกล้าการันตีจะไม่เกิดขึ้นอีก โดยเฉพาะปัญหา “ระบบล่ม” ของเครือข่ายบิทคับที่เคยเกิดขึ้น ทำให้การซื้อขายหยุดชะงักเมื่อวันที่ 2 วันที่ 3 และวันที่ 16 มกราคม 2564
รวมไปถึงระบบสำคัญ เช่น ระบบการฝากถอนเงินและสินทรัพย์ดิจิทัล ระบบการแสดงข้อมูลทรัพย์สินลูกค้า ระบบการให้บริการติดต่อลูกค้า ทั้งหลายเหล่านี้เป็นปัญหาที่ก.ล.ต.ได้สั่งการให้บิทคับแก้ไขและเยียวยาผู้เสียหายมาโดยตลอด เพราะมีลูกค้าร้องเรียนจำนวนมาก เมื่อเทียบกับไบแนนซ์แล้วสิ่งต่างๆ เหล่านี้แทบจะไม่ค่อยเกิดขึ้น
อีกประการที่พูดกันในวงในเทคโนโลยีก็คือ ระบบการป้องกันความปลอดภัยจากการโจมตีของ “แฮกเกอร์” ซึ่งถือว่าสำคัญมากของตลาดซื้อขายคริปโตฯ โดยแม้ว่า แฮกเกอร์ จะเลือก Exchange ที่เป็นเจ้าใหญ่ มีชื่อเสียงของโลก แต่ไม่มีใครกล้ารับประกันได้ว่าจะไม่เกิดขึ้นกับบิทคับ ซึ่งก็เป็นเครื่องหมายคำถามตัวโตๆว่า บิทคับ พร้อมหรือไม่สำหรับการทดสอบอันตรายจากแฮกเกอร์
ที่ผ่านมา แฮกเกอร์ เจาะเข้าระบบของเครือข่ายบล็อกเชนของเจ้าใหญ่ๆหลายราย โดยรายล่าสุดเมื่อวันที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมาบล็อกเชน โรนิน เน็ตเวิร์กก็เพิ่งถูกแฮกเกอร์โอนเงินออกจากระบบ คิดเป็นมูลค่ากว่า 20,455ล้านบาท มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในโลกของคริปโตเคอเรนซี่เมื่อเทียบกับความเสียหายครั้งก่อนหน้าหลายครั้ง
บิทคับ = มาร์เก็ตติ้งคอมปะนี
จากทั้งหมด บทสรุปของบิทคับ จากสตาร์ทอัพอับเกรดขึ้นมาเป็น “ยูนิคอร์น” ภายในเวลาอันรวดเร็ว โดยการขี่กระแสขาขึ้นของ “บิตคอยน์” พร้อมกับความพยายามในการสร้าง “ลัทธิ“ หรือ การสร้างบุคคลิกให้กับธุรกิจและตัวของ “ท็อป” จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ให้เป็นดั่ง “เจ้าลัทธิ” ที่ปลุกเร้าเจ้าของธุรกิจ และ คนดัง ด้วยการทุ่มงบประมาณการตลาดให้เชื่อไปในแนวทางเดียวกันกับบิทคับ
บิทคับ คือ ผู้ที่จะมาเปลี่ยนแปลงโลกการเงิน และ เชื่อมต่ออนาคต ด้วยนวัตกรรมใหม่ พร้อมกับการปูพรมกวาดต้อนนักลงทุนหน้าใหม่ไร้ประสบการณ์ นักเรียนมัธยม เด็กมหาวิทยาลัย ที่ยังไม่มีรายได้เป็นของตัวเองด้วยแคมเปญเช่น 10 บาทก็ลงทุนได้ เมื่อเทียบกับ ไบแนนซ์ หรือ แม้แต่ ศูนย์การซื้อขายคริปโตฯ ของไทยด้วยกันเองก็จะไม่ “บ้าคลั่ง”เช่นนี้ เห็นข้อแตกต่างอย่างชัดเจน ว่าบิทคับนั้นเอาการตลาดนำหน้าเพื่อรายได้ เพื่อผลกำไรทางธุรกิจ มากกว่าผลลัพท์การพัฒนาตลาดคริปโต
จิรายุส มักพูดเสมอถึง การเปลี่ยนแปลงโลกการเงินดิจิทัลที่จะเข้ามาดีสทรับ หรือทำธุรกิจให้ชะงักงันได้หากไม่เข้าร่วมขบวนคล้ายๆ “เขียนเสือให้วัวกลัว” ส่วนของบิทคับรอ “จับปลาตอนน้ำขุ่น” เมื่อธุรกิจตอบรับเข้าร่วมลัทธิ บนความไม่รู้เรื่องของคริปโตฯ และเทคโนโลยีก็ต้องจ่ายค่าบริการและ “ราคาที่ต้องจ่าย” เพราะวาดหวังจะออกเหรียญของตัวเอง ทำกำไรเหมือน KUB ของบิทคับที่ทำตัวอย่างให้ดูแล้ว
ในความเป็นจริง เมื่อแบงก์ชาติออกกฎคุมเข้ม เช่น ห้ามนำเหรียญมาชำระสินค้าหรือบริการ นี่ก็ไปไม่เป็นหลายราย หรือ กระทั่งล่าสุด ก.ล.ต.ออกหลักเกณฑ์กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจัดทำและส่งรายงานข้อมูลการซื้อขาย การแลกเปลี่ยน และการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าเพื่อประโยชน์ในการสอบทานทรัพย์สินของลูกค้า
นั่นหมายความว่า ก.ล.ต.ไม่ไว้ใจ บริษัทที่ดูแลคริปโต ฯ ของลูกค้าอาจจะไม่ปฎิบัติตามข้อกำหนดส่งผลให้นักลงทุนมีความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งความเสี่ยงนี้ย่อมกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจและเงื่อนไขทางการเงินของบริษัทต่างๆ อาจจะมีการเล่นแร่แปรธาตุไว้นอกงบการเงิน ไปปล่อยกู้กันเอง หลีกภาษี หรือ แม้แต่ ฟอกเงิน
ดังที่เป็นกระแสกังวลกันทั่วโลกของหมู่ Regulator ว่า สินทรัพย์ดิจิทัล ถูกใช้เพื่อการมุ่งหวังทำกำไร สร้างความมั่งคั่ง ให้คนบางกลุ่มมากกว่า มุ่งพัฒนาเพื่อโลกการเงินในอนาคต โดยการทำทุกวิถีทางที่จะหาองค์กรธุรกิจมาเป็นลูกค้ายกกระแสเปลี่ยนแปลงมากล่าวอ้าง
เพราะฉะนั้นเวลาที่ จิรายุส เสนอผ่านสื่อจะโน้มน้าวให้เจ้าของธุริกิจ หรือ ชนชั้นนำของสังคม กลุ่มอีลิท ดารา เซเลบ ผ่านการตั้งหลักสูตร หรือ โปรแกรม เช่น The chosen one เปลี่ยนองค์กร เปลี่ยนชีวิตให้หนีจากกับดัก “รายได้ปานกลาง” ที่ทำกันแค่ สร้างผลผลิต และ บริการ โดยบอกว่า เมืองไทยบริษัทใหญ่ ๆ ในตลาดหลักทรัพย์เมื่อ 30 ปีที่แล้วเป็นยังไง ทุกวันนี้ก็ยังเหมือนเดิม สูญเสียโอกาสมหาศาลใน ไปยึดติดกับการทำธุรกิจแบบเดิมๆ ซึ่งก็พอจะอยู่รอดในยุคนั้นเท่านั้น
วันนี้ทุกคนต้องสามารถสร้างธุรกิจในเลเยอร์ที่ 3 – 4- 5 ขึ้นมาได้ เหมือนกับ บิทคับ ที่ยกระดับจากสตาร์ทอัพมาเป็น ยูนิคอร์น และ กำลังจะก้าวต่อไปในอีกระดับที่สูงกว่า เพื่อรองรับการเติบโตสู่โลกใหม่ และ ทุกคนก็ควรสนับสนุนให้บิทคับไปถึง level 4 คือ super app อยู่เหนือตลาด ถึงตรงนั้น ก็ต้องถามว่า คนไทย ประเทศไทยได้อะไรจากบิทคับ?
ด้วยนโยบายการขับเคลื่อนธุรกิจดังกล่าวของบิทคับ จึงไม่แปลกที่คนในวงการเทคโนโลยี จะมองว่า บิทคับ เป็นเพียง Marketing Company ที่หากให้วิเคราะห์กันจริงๆ เทคโนโลยี หรือ นวัตกรรม ของบิทคับที่ว่า เป็นนวัตกรรมใหม่ที่จะมาเปลี่ยนโลก เชื่อมต่ออนาคต ไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้มีผู้พัฒนาเอาไว้อยู่แล้ว
ตรงกันข้าม วันนี้ระบบสำคัญของบิทคับก็ยังพึ่งพาเชื่อมต่อกับ การเงินแบบดั้งเดิมอยู่มาก เรียกว่า นำของที่มีผู้คิดค้นไว้เอาป้ายสติกเกอร์ใหม่ของตัวเองมาแปะทับเท่านั้นเอง
ที่หัวเราะไม่ออกร่ำไห้มิได้ คือ การบอกว่า โลกการเงินแบบเก่าซึ่งหมายถึงระบบการเงินที่พึ่งพาแบงก์ จะถูกดิสรับด้วยเทคโนโลยีเงินดิจิทัล ทำการตลาดให้คนเชื่อมั่นเข้าสู่ธุรกิจเงินดิจิทัล แต่บิทคับกลับเสนอขายหุ้นบิทคับให้กับกลุ่มธนาคาร และ เชื่อว่า บรรดาผู้ก่อตั้ง รวมทั้ง จิรายุส เองก็ยังต้องฝากเงินในระบบธนาคารแบบดั้งเดิมเพื่อความปลอดภัยของตนเอง
ถึงวันนี้ คนในวงการเทคโนโลยีหลายคนรู้สึก “ผิดหวัง” และ “เสียดาย” ที่ให้โอกาสบิทคับมาเชื่อมต่อระบบ โดยไม่เพียงไม่ให้เครดิต ยังนำระบบนั้นๆไปทำการตลาดเสนอลูกค้าโกยกำไร
แน่นอนว่า จิรายุส ก็รู้ซึ่งถึงข้อนี้ดี ระหว่างการพัฒนาสินทรัพย์ไปสู่โลกอนาคตจริงๆ บนความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการจัดการที่ดำเนินการเพื่อปกป้องทรัพย์สินดิจิทัลไม่ใช่เรื่องง่าย รวมถึงความเสี่ยงและความไม่แน่นอนด้านเทคโนโลยี กฎหมายและกฎระเบียบของ แบงก์ชาติ และ ก.ล.ต.โดยเฉพาะการทำธุรกิจ “Exchange” นั้นอยู่บนความไม่แน่นอนไปด้วย ไม่เช่นนั้นคงไม่พยายามจะ “Exit” ออกจากธุรกิจที่ตั้งมากับมือ แว่วว่า ใน 49% ที่เหลือในบิทคับออนไลน์ ทางบิทคับโฮลดิ้งส์ก็กำลังวางแผนที่จะเสนอขายให้กับผู้สนใจอยากจะกระโจนเข้ามาเป็นเจ้าของตลาดซื้อขายคริปโตฯ
หากมองตามวิถีของสตาร์ทอัพเมื่อถึงจุดพีคแล้วต้องรีบ Exit ให้หมดเพื่อ “Win” ในธุรกิจก็มีความเป็นไปได้สูงที่กลุ่มบิทคับจะทำ
นั่นหมายความว่า เป้าหมายใหม่ของบิทคับ หรือ Bitkub The next chapter อยู่ที่ Bitkub Chain Bitkub Next กับโปรแกรม The chosen one ที่เป็นกลุ่ม elite insider เหรียญสุดอันตราย ท่ามกลางความพินาศฉิบหายของแมงเม่า ใน Bitkub exchange ก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของ SCBX ที่ไปวัดดวงเอาในวันข้างหน้า
ประการสำคัญบทสรุปสุดท้าย ซีรีส์บิทคับ ตีแผ่เรื่องของธุรกิจคริปโตฯ ในอีกด้านจะเป็นอย่างไรที่มุ่งแต่ฉกฉวยหากำไร สร้างความร่ำรวยให้คนบางกลุ่ม มาถึงตรงนี้ 5 ตอน SCBX จะมีคำตอบอย่างไรให้กับบรรดาผู้ถือหุ้นโดยเฉพาะสำนักงานทรัพย์สินฯ ผู้ถือหุ้นใหญ่ กับการจะทะเล่อทะล่าละเลงเงินลงทุน 17,850 ล้านให้กับ Bitkub Exchange หรือกลุ่มของ จิรายุส นั้นคุ้มค่ากับความเสี่ยงหรือไม่อย่างไร นี่ก็ต้องติดตามกันต่อไป
แนบไฟล์
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 42
แฉบิทคับเดินสายล้างสมองเยาวชน ผู้บริหาร SCBX พยายามปิดฟ้าด้วยฝ่ามือ (ตอนพิเศษ)
By Admin -April 7, 2022
ข่าวเชิงวิเคราะห์ “บิทคับยูนิคอร์นสายพันธุ์อันตราย?” ตอนพิเศษ โดย iBit
ผ่าแผนตลาดอำมหิตของบิทคับสร้างคอมมูนิตี้ล้างสมองเด็ก จ้างอินฟลูเอนเซอร์เจาะโรงเรียน-มหา’ลัย กล่อม ก่อน “ท็อป-จิรายุส” สวมบท “ไลฟ์โค้ช” ปิดจ็อบขายฝันมอมเมาชวนล่าคริปโตฯ รู้ทั้งรู้ แต่ผู้บริหาร SCB กลับกำลังปิดฟ้าด้วยฝ่ามือ!!?
ดีล 17,850 ล้านระหว่างไทยพาณิชย์กับบิทคับมีการประเมินกันว่า “ท็อป” จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้ง และ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จะมีเงินไหลเข้ากระเป๋าส่วนตัวคิดเป็นมูลค่า 4,260 ล้านบาท
จิรายุส นั้นถือหุ้น 23.87% ถือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่สุดในบิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ที่ถือหุ้น 99% ใน ”บิทคับออนไลน์” เจ้าของ Exchange ตลาดซื้อขายคริปโตเคอเรนซีที่ไทยพาณิชย์จะซื้อหุ้น 51% เพื่อครอบครอง
ขณะที่ไทยพาณิชย์ จะได้อะไร? ยังเป็นคำถามบนความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ความไม่แน่นอนของอนาคตสินทรัพย์ดิจิทัล และ ความเข้มงวดของการกำกับดูแลของแบงก์ชาติและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
ทำไม? ไทยพาณิชย์ต้องทุ่มเงินมหาศาล เพื่อ Exchange ที่อนาคตไม่แน่นอน ทำไม? ต้องสนับสนุนตลาดที่มีภาพลักษณ์ของ “บ่อนพนัน” ความผันผวนสูง
จากตัวอย่างของ KUB Coin เหรียญของบิทคับ และ เหรียญสัญชาติไทยเช่น JFIN และ SIX ที่เจ้ามือแสดงอิทธิฤทธิ์สร้างราคา-ปั่นเหรียญ จนกลายเป็นหายนะของรายย่อย ด้วยราคาขึ้นลงมากกว่า 1,800%
ไม่นับรวม ประเด็นที่ ก.ล.ต. เข้าตรวจสอบระบบการซื้อขาย พบข้อบกพร่อง ทำธุรกิจไม่รัดกุม ไร้ประสิทธิภาพ หรือ ตรวจพบ “นอมินี” หรือ “บัญชีม้า” ที่ไม่สามารถพิสูจน์ตัวตนได้ ถูกสั่งให้แก้ไข และ โดนลงโทษมาก็หลายครั้ง นับแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน
ขณะเดียวกัน การทำธุรกิจ Exchange ของ บิทคับ ออนไลน์ เมื่อเปรียบเทียบกับแพลตฟอร์มระดับโลกอย่าง ไบแนนซ์ ยังพบว่า บิทคับทั้งเก็บค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่สูง 0.25% เก็บค่าบริการในการถอน 20 บาทต่อรายการโดยที่ธนาคารคิดเพียง 3 บาท
ผ่าแผนตลาดอำมหิต
แน่นอนว่า ปัจจัยภาพลักษณ์ติดลบนี้ ย่อมเป็นภาระที่ธนาคารไทยพาณิชย์จะต้อง “แบกหม้อก้นดำ” หรือ มารับเคราะห์แทนบิทคับโฮลดิ้งส์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทว่า เรื่องของบิทคับไม่ได้มีเพียงเท่านี้ หากถามคนในวงการเทคโนโลยี หรือ แวดวงการเงินการธนาคาร สิ่งที่พวกเขารับไม่ได้มากที่สุดในการทำธุรกิจของบิทคับ และ ท็อป จิรายุส คืออะไร? เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์เห็นว่า กลยุทธ์การตลาดที่บ้าคลั่ง โดยเฉพาะ การทำตลาดกับ เยาวชน เด็กนักเรียน นักศึกษา เพื่อโน้มน้าวให้ เข้ามาเป็นลูกค้าเปิดบัญชีเทรดคริปโตฯ กับบิทคับ
จิรายุส มักกล่าวเสมอว่า บิทคับ เป็นสตาร์ทอัปที่มีการเติบโตสูงปีละ 1,000% และ จะเติบโตยิ่งๆ ขึ้นไปกว่านี้ได้อีก ซึ่งหากจะรักษาการอัตราการเติบโตของธุรกิจ และ กำไรเอาไว้ได้ วิเคราะห์กันว่า Exchange จะต้องมีผู้เข้ามาเปิดบัญชีเทรดกันมากขึ้น ฐานลูกค้า ยิ่งขยายนั่นหมายถึงค่าธรรมเนียม ค่าบริการ และ รายได้ที่จะมากขึ้น โดยเป้าหมายอยู่ที่ 7 ล้านบัญชี
ในปี 2565 “บิทคับ ออนไลน์” ตั้งเป้าหมายจะขยายฐานลูกค้าให้ได้ 7 ล้านราย จากเดิมที่เคลมว่ามีอยู่แล้ว 3 ล้านบัญชี หรือ เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว และมีสินทรัพย์ดิจิทัลให้เลือกซื้อขายมากกว่า 100 สกุลในกระดาน Bitkub จากที่มีอยู่ 50 กว่าเหรียญในปัจจุบัน
จากเป้าหมายดังกล่าว ทำให้หลายฝ่ายเชื่อ วิธีทำให้ลูกค้าเพิ่มเป็น 7 ล้านรายให้ได้ คาดว่ากว่าครึ่งน่าจะมาจากกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่หรือนักเรียนนักศึกษานั่นเอง และนั่นย่อมทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดการลงทุนผิดพลาดเพิ่มสูงขึ้น เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ไร้ประสบการณ์การลงทุน ขณะที่เป้าหมายของบริษัทสำเร็จผลท่ามกลางเงินจำนวนมากของผู้ปกครองที่ต้องสูญเสียไปใครต้องรับผิดชอบ?
นี่คือแผนการตลาดที่อำมหิต และเป็นอันตรายต่ออนาคตของชาติ ที่กำลังหวั่นวิตกกัน
เห็นได้ชัดตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน บิทคับ ขยายฐานลูกค้า เจาะตลาดเยาวชนคนรุ่นใหม่ โหมกระพือด้วยแคมเปญต่างๆ ด้วยการเจาะเข้าสู่สถานศึกษา โรงเรียน และ มหาวิทยาลัย เพื่อให้มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของตน
รวมไปถึงการใช้โฆษณา ที่มีตัวของ จิรายุส ลงทุนเป็นพีอาร์ด้วยตนเอง ดังจะเห็นจากป้ายโฆษณาทั้งออฟไลน์และออนไลน์อยู่แทบจะทุกจุดที่มองเห็น จนวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่เด็กนักเรียน นักศึกษา ว่า ทุกวันนี้ไปไหนมาไหน แม้แต่เล่นมือถือเข้าอินเทอร์เน็ตเห็นหน้าท็อป จิรายุส มากกว่า หน้าพ่อแม่ไปแล้ว หรือ มากกว่าป้ายผู้สมัครชิงผู้ว่าฯ กทม. ก็ป้ายท็อป จิรายุส นี่แหละ
กลยุทธ์ตลาดของ Bitkub วิธีการคือสูตรสำเร็จด้วยการนำเสนอ “สิ่งใหม่” จากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง และ นวัตกรรม ที่ทำดีไซน์ออกมาทำให้ดูเหมือนว่า เยาวชนต้องมีองค์ความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีบล็อกเชน และ สินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้น “เชื่อมทุกโอกาสสู่โลกแห่งอนาคต” แต่สุดท้าย ก็คือการแอบแฝงชักชวนให้เด็กนักเรียนและนักศึกษาต้องเชื่อมต่อกับบิทคับด้วยการเปิดบัญชีเสียก่อนจึงจะเรียนรู้ได้
วิธีการสมัครเปิดบัญชีก็แสนง่ายดายด้วยแคมเปญ “10 บาท” ก็ลงทุนได้ ที่เป็นกับดัก ดักรออยู่ ทำให้มีนักเรียน นักศึกษา ถูกกวาดต้อนเข้ามาเป็นสมาชิกบิทคับจำนวนมาก
เชื่อได้ว่า ผู้ปกครองของบรรดานักเรียน นักศึกษา เหล่านี้ ก็กำลังปวดหัวกับ การที่ลูกหลานมาขอคำยินยอม ที่ไม่สามารถเข้าใจได้ ว่า คริปโตฯ คืออะไร ทำไมต้องใช้เงินไปลงทุน และ อนาคตอะไร นอกจากการเทรดเหรียญที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินทอง ไม่ต่างกับการ เล่นพนัน ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาภายในครอบครัวตามมา
ไล่จับเด็กตั้งแต่มัธยม
การทำตลาดเพื่อให้ได้มาซึ่งเป้าหมายเยาวชนของบิทคับมีอะไรบ้าง ลองมาไล่เรียงกัน บิทคับและจิรายุส พยายามนำความคิด ความเชื่อเดียวกันกับ Bitkuber ที่ว่า การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลกำลังเป็นเทรนด์ยอดฮิต ซึ่งคนในเจเนอเรชันนี้จำเป็นต้องตามให้ทันเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต กล้าที่จะลุกขึ้นปฏิวัติตัวเองเพื่อไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า หรือความมั่งคั่งร่ำรวย ครอบงำความคิดของเยาวชน หรือ อีกนัยยหนึ่ง ก็คือ การปลูกฝังความเชื่อ ล้างสมองเด็กให้คิดถึง ความร่ำรวยที่จะมาพร้อมกับโอกาสของสินทรัพย์ดิจิทัล
กลยุทธ์เริ่มด้วยการสร้างชุมชน หรือ คอมมูนิตี้ เช่นเดียวกันกับ The Chosen one สำหรับกลุ่มชนชั้นดารา เซเลบ หรือ เจ้าของธุรกิจ คอมมูนี้ตีสำหรับเด็กของ บิทคับ จะทำผ่าน Bitkub Academy
ยกตัวอย่างเช่น Bitkub Academy จับมือกับ รร.อัสสัมชัญ จัดหลักสูตรเทคโนโลยีบล็อกเชนและคริปโตเคอเรนซี ให้นักเรียน ม.ปลาย ที่สนใจ โดยจัดเต็มตลอดภาคเรียนที่ 2/2564
คำเสนอเชิญชวนเด็ก ม.ปลาย.เหล่านี้ ระบุว่า จะได้พัฒนาความรู้ธุรกิจและทักษะแห่งอนาคต Blockchain เป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคต ที่นักเรียนอัสสัมชัญจะมีโอกาสก้าวทันนวัตกรรมของโลก รองรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ทางด้านการเงินธุรกิจ และผลักดันให้ประเทศพร้อมเดินหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการ AC Cryptocurrency & Blockchain Club : Cryptocurrency NFT Defi Learning บอกว่า เป็นหลักสูตรการสอนให้กับนักเรียนอย่างเต็มที่เริ่มตั้งแต่พื้นฐานและเนื้อหาสุดเข้มข้นไม่ว่าจะเป็น Blockchain & Cryptocurrency Decentralized Finance WHAT IS NFTS AND WHY IT IS COMMON? GAMEFI & HOWTO MAKE PROFITS แน่นอนว่า การเรียนรู้ต้องประกอบไปด้วยการสร้าง Community นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการจะได้เข้ากลุ่ม Line เพื่อร่วมพูดคุย ปรึกษา แนะนำ การพัฒนา แนวทางเกี่ยวกับ Blockchain จากรุ่นพี่อัสสัมชัญผู้อยู่ในวงการ Blockchain ด้วย
ทว่า มีตัวอย่างของเยาวชนที่สะท้อนผ่านสื่อโซเซียลฯ ที่เมื่อได้เห็นหรือฟัง ท็อป จิรายุส เซเลบคริปโตฯ แล้วเปิดบัญชีเทรดกับบิทคับแล้วไปได้ไม่สวยเหมือนโฆษณา พอร์ตไม่ปังมีแต่พังเพราะ ขาดทุนและแขวนอยู่บนดอยด้วยราคาที่สูงลิบ
นอกจาก รร. อัสสัมชัญ แล้วบิทคับยังมีอีกหลายโครงการที่เข้าสู่โรงเรียนชื่อดังอื่นๆ และ ระดับอุดมศึกษา พยายามเข้าไปวางหลักสูตร การเรียน การสอน เพื่อให้สถานศึกษานำไปบรรจุให้นักศึกษาได้เรียนรู้ ด้วยการสนับสนุนของบิทคับ และ ถือโอกาสไทอินโฆษณาไปด้วย
ดังตัวอย่าง “Bitkub Academy” ที่ไปร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จัดทำความร่วมมือ MOU ร่วมกันจัดกิจกรรมให้ความรู้บล็อกเชนและคริปโตฯ ในรูปแบบออนไลน์ให้กับนักศึกษา กับโครงการ Bitkub Cryptonity
โดยจะจัดกิจกรรมผ่านการเรียนการสอนทั้งหมด 3 ครั้ง แบ่งออกเป็นหัวข้อต่างๆ ได้แก่ Let’s Play with Crypto เรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์โลกการเงินตั้งแต่อดีตถึง Cryptocurrency และเรียนรู้เรื่องราวโลก Cryptocurrency , What is Blockchain? How Does it Work? เรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีตั้งแต่อดีตถึงเทคโนโลยี Blockchain
สิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้ โดย เป็นข้อที่วิพากษ์วิจารณ์ในหมู่นักศึกษากันว่า บรรดาอาจารย์ ครูผู้สอน กลายเป็นพีอาร์ให้บิทคับ มากกว่าจะให้ความรู้เรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลจริงๆ
“Bitkub ICON” เฟ้นสตาร์ไปหาแมงเม่า
สำหรับระดับมหาวิทยาลัย เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา “Bitkub” เดินเกมไล่จับกลุ่มนักศึกษาผ่านการจัดแคมเปญเฟ้นหา “Bitkub ICON” กลุ่มแรกของประเทศไทย จำนวน 16 คนจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ครอบคลุม 4 ภูมิภาคตามสัดส่วน ทั้งภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
โดย Bitkub ICON ถูกประโคมโอ่ว่า คือ ตัวแทนของคนรุ่นใหม่ ที่มีความเป็นผู้นำ กล้าแสดงออก มีความสนใจในเทคโนโลยีบล็อกเชน และสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งจะได้รับเงินรางวัลและเป็นตัวแทนของ Bitkub ในการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนสังคมการเงินแห่งโลกยุคดิจิทัล และสร้างคอมมูนิตี้ให้ทุกคนเข้าถึงได้
นอกจากนี้ Bitkub ICON จะนำความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกเชน และสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้เรียนรู้จากบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ไปจัดทำกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ต่อให้คนในชุมชนและคนในมหาวิทยาลัยของตนเอง รวมทั้งจัดตั้งคอมมูนิตี้หรือชมรมในมหาวิทยาลัย เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่อนาคตไปด้วยกัน
ทั้งนี้ Bitkub รายงานว่า แคมเปญ Bitkub ICON ได้รับผลตอบรับดีเกินคาดจากนักศึกษา จากหลายมหาวิทยาลัยกว่า 40 แห่ง
เรียกว่า บิทคับ พยายามอย่างมากในการสร้างคอมมูนิตี้ที่จะเป็นเครือข่ายขยายไปเรื่อยๆ ครอบคลุมครอบงำเด็กทุกระดับ หรือ นักลงทุนรายใหม่ที่ไร้ประสบการณ์ให้มากที่สุด
จับมือกับวิชัย จับเด็กอาชีวะ
กลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา Bitkub และกลุ่มนายวิชัย ทองแตง นักธุรกิจชื่อดัง ลงนาม MOU จับมือเป็นพันธมิตรจัดตั้งบริษัทร่วมทุน บริษัท บิทคับ เวิลด์เทค จำกัด (BITKUB WORLDTECH) โดยระบุว่า เพื่อพัฒนาการศึกษาโดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างให้เด็กไทย มีทักษะ ตามเป้าหมาย “สร้างโอกาส สร้างอาชีพ สู่โลกอนาคต”
“วิชัย ทองแตง” ระบุว่า “บิทคับ เวิลด์เทค” จะมุ่ง 3 ด้าน คือ 1. จะไม่นำเทคโนโลยี มาโกงและหลอกลวงผู้อื่น 2. จะเรียนรู้ที่จะสร้างสรรค์สังคมที่ดีมีคุณธรรม และ 3. เราจะแบ่งปันความรู้และโอกาสให้แก่ผู้อื่น
จากนั้นเพียง 1 เดือน “บิทคับ เวิลด์เทค” ได้จัดโครงการ “ปั้น” อาชีวะสู่ Digital Transformation ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานีและมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
จ้างอินฟลูเอนเซอร์นำกล่อม – ท็อป ปิดจ็อบ
นอกจากการจับมือกับสถานศึกษา เสนอหลักสูตรคริปโตฯแล้ว เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชนมากขึ้น บิทคับ ยังว่าจ้างบรรดา “ยูทูบเบอร์” “อินฟลูเอนเซอร์” ที่บรรดาเด็กและเยาวชนติดตามตระเวนให้ไปร่วมพูดคุย เป็นวิทยากรในเวที หรือ อีเวนต์ที่ บิทคับ ให้ออกเงินจัดงาน
อินฟลูเอนเซอร์ ที่ถูกว่าจ้างมีหลากหลายสาขาอาชีพ มีทักษะในการสื่อสาร แต่อาจจะไม่มีความรู้เรื่องเทคโนโลยี สินทรัพย์ดิจิทัล แต่ท็อป-จิรายุ ไม่ได้ขัดข้องขอให้แต่ละคนสามารถโน้มน้าวคน แฟนคลับ ให้เข้ามาคอมมูนิตี้ของบิทคับก็ถือว่าบรรลุเป้าหมาย โดยตัวเขา จะเข้ามาปิดจ็อบ ด้วยการทำหน้าที่ไม่ต่างจาก “ไลฟ์โค้ช” พูดให้แรงบันดาลใจ ให้เยาวชน มีความรู้สึกดีกับ “ความเชื่อ” ที่บิทคับนำเสนอ
อาทิ เช่น เมื่อวันที่ 27 ก.พ. ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนภาคใต้ จัดงานวันการศึกษาเอกชนภาคใต้ ครั้งที่ 6 ซึ่งว่ากันว่า บริษัท บิทคับ เวิลด์เท็ค จำกัด ให้การสนับสนุน ณ โรงแรมรอยัล ภูเก็ต ซิตี้ จังหวัดภูเก็ต
ภายใต้หัวข้อ “Metaverse กับการศึกษาในอนาคต” ในวันนั้น ว่ากันว่า มีอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังร่วมงานหลายคน และ เจ้าของธุรกิจ “After yum” ที่มีลูกค้าและแฟนคลับติดตามเป็นจำนวนมากเปิดเวที แล้ว จิรายุส ก็ขึ้นมาเป็นไลฟ์โค้ช ให้กับผู้ฟัง
อีเวนต์การตลาดกับสถาบันการศึกษาเช่นนี้ ฟังว่า จะเดินสายจัดไปทั่วประเทศตามหัวเมืองใหญ่ และ จะมีที่ประเทศเพื่อนบ้านเช่น ลาว ด้วย
แทรกซึมทุกไลฟ์สไตล์เด็ก
นอกจากคอมมูนิตี้เด็กนักเรียน นักศึกษา กลยุทธ์การตลาดของบิทคับ ยังมุ่งเข้าหาไลฟ์สไตล์ของเด็กรุ่นใหม่ในทุกๆ กิจกรรมที่พวกเขาสนใจ
ตัวอย่างเช่น เข้าไปสนับสนุนกิจกรรมการแข่งขัน อีสปอร์ต หรือ วงการเกม เช่น สนับสนุน ทีม เบคอนไทม์ ทีมอีสปอร์ต ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากทั้งในระดับประเทศและเอเชีย โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งแต่ละรายเป็นกลุ่มเพื่อนวัยรุ่นที่ชื่นชอบในการเล่นเกมมีแฟน ๆ ที่เป็นเด็กและเยาวชนติดตามจำนวนมาก โดยล่าสุดก็เพิ่งจะคว้าแชมป์แต่ก็มีเรื่องที่เป็นดราม่าในโซเชียลฯ เมื่อบิทคับให้ถ่ายทอดสดผ่านเพจของตนเอง หวังจะให้แฟนๆ ผู้รักอีสปอร์ตเข้ามารับชม แต่กลับปิดกั้นโอกาสแฟนคลับที่ตั้งตารอติดตามไลฟ์ผ่านเพจของเบคอนไทม์ไม่สามารถรับชมได้จึงกลายเป็นดราม่าขึ้นมา
จากหลากหลายกลยุทธ์การตลาดที่แทรกซึมไปในทุกที่ของบิทคับ พิสูจน์ได้ว่า คำกล่าวที่ว่า บิทคับ เท่ากับ มาร์เกตติ้ง คอมปะนี หรือ บริษัทด้านการตลาด นั้นไม่ได้ผิดไปนัก หลายฝ่ายเริ่มหวั่นเกรงว่า การปลูกฝังชุดความคิดแบบนี้ จะกลายเป็นการมอมเมาเยาวชน ให้เห็นดีเห็นงามกับโอกาสในการได้กำไรสูง ๆจากการลงทุนหรือจากบล็อกเชน โดยเฉพาะการซื้อขายเหรียญคริปโตฯ ที่ราคาผันผวน หรือ “ตลาดซิ่ง” ทั้งที่ปัจจุบันหลายคนยังไม่เคยเข้าใจต่อความเสี่ยงจากการลงทุนที่อาจเกิดความเสียหายมากกว่าจะได้มาง่ายๆ
นอกจากนี้ยังมีคำถามที่คาใจคือ มีนักศึกษาในสัดส่วนเท่าใด ที่ไม่ได้แบมือขอเงินพ่อแม่ใช้ หรือมีเงินพอที่จะสามารถกระโดดเข้ามาสู่บล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัลได้ด้วยเงินของตนเอง
ไทยพาณิชย์ปัดตอบคำถาม
เรียกได้ว่า Bitkub จัดเต็มไล่ล่ากลุ่มคนรุ่นใหม่ ทั้งไลฟ์โค้ช ซีอีโอรุ่นใหม่หมื่นล้าน เพื่อดึงดูดใจให้เข้ามาเป็นสาวกล่าคริปโตฯ ไปด้วยกันกับบริษัท จึงแผนตลาดอำมหิตบิทคับ ล้างสมองเด็กให้ไล่ล่าคริปโตฯ ทั้งๆ ที่ประสบการณ์อ่อนด้อย ตัวเองร่ำรวยจากการเก็บค่าต๋ง ค่าบริการ กอบโกยรายได้จากตลาดซื้อขาย แต่ความหายนะและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากความเสี่ยงของการลงทุน เป็นอย่างไรไม่รับรู้ไม่สนใจอย่างนั้นหรือ?
จากสตาร์ทอัป ก้าวขึ้นเป็นยูนิคอร์น และ วาดหวังจะเป็น ซูเปอร์แอปฯ โกอินเตอร์ แต่ถามว่า คนไทย ประเทศไทย ได้อะไรกับการเติบโตของบิทคับในลักษณะนี้
เยาวชนเหล่านี้ควรเป็นอนาคตของชาติ และ สังคม กลับต้องมาติดกับดัก บิทคับ ที่ชักชวนให้คนมาซื้อขายเหรียญดิจิทัลที่ราคาผันผวนสูง ฤาไทยพาณิชย์ต้องการแบบนี้หรือ?
ยิ่งถ้ามองบรรดาผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารไทยพาณิชย์ ณ ปัจจุบัน ธนาคารที่น่าภาคภูมิใจในฐานะธนาคารที่เก่าเเก่ที่สุดในไทย ที่มีอายุกว่า 115 ปี มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดมากที่สุดในวงการธนาคารไทยที่ 228,353.45 ล้านบาท โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่ ดังนี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวนหุ้น 793,832,359 คิดเป็น 23.38% กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 392,649,100 คิดเป็น 11.56% กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 392,649,100 คิดเป็น 11.56% บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวนหุ้น 346,262,309 คิดเป็น 10.20% และ สำนักงานประกันสังคม จำนวนหุ้น 109,198,100 คิดเป็น 3.22%
ยิ่งต้องมีคำถามถึง คณะกรรมการธนาคาร ตลอดจนผู้บริหารธนาคารไทยพาณิชย์ ควรละหรือที่จะหอบเงิน 17,850 ล้านบาทไปลงทุน Exchange หรือ Marketing company ดังที่กล่าวมาแล้วในบทวิเคราะห์ “บิทคับยูนิคอร์นสายพันธ์ุอันตราย?” ทั้งหมด 5 ตอน?
ตอนที่ 1 ดีล SCBX ฮุบ Bitkub เริ่มเสี่ยง… ได้ไม่คุ้มเสีย?
ตอนที่ 2 KUBCOIN เจ้ามือรวย แมงเม่าม้วยมรณา
ตอนที่ 3 Bitkub ยูนิคอร์น สายพันธุ์อันตราย?!
ตอนที่ 4 ลัทธิ Bitkub ตัวป่วนวงการ! สวน “ธปท.-ก.ล.ต.” คุมเข้ม
ตอนที่ 5 Bitkub เทียบ Binance ค่าต๋งแพง-ค่าถอนโหด กับดักแมงเม่า
ประเด็นคำถามนี้ มีรายงานว่า ในที่ประชุมสามัญประจำปีของธนาคารพาณิชย์ที่จะจัดขึ้น วันที่ 4 เมษายนที่ผ่านมา โดยวิธีประชุมอี-มีตติ้ง ปรากฏว่า ผู้ถือหุ้นหลายคนได้ถามคำถามเกี่ยวกับการลงทุนในบิทคับของ SCBX แต่ฝ่ายบริหารได้ตัดและปิดกั้นคำถามเหล่านี้โดยไม่ได้ตอบคำถามเลยแม้แต่คำถามเดียว
คำถามคือบรรดาผู้บริหารไทยพาณิชย์ที่ต้องบริหารสินทรัพย์ต่างพระเนตรพระกรรณพวกนี้กำลังปิดบังอะไรอยู่ คิดว่าจะปิดฟ้าด้วยฝ่ามือได้หรือ และสมควรหรือที่จะเข้าไปลงทุนในกิจการที่กำลังล้างสมองเยาวชนไทยให้กลายเป็นสาวกบิทคับเบอร์ของนายท็อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา
By Admin -April 7, 2022
ข่าวเชิงวิเคราะห์ “บิทคับยูนิคอร์นสายพันธุ์อันตราย?” ตอนพิเศษ โดย iBit
ผ่าแผนตลาดอำมหิตของบิทคับสร้างคอมมูนิตี้ล้างสมองเด็ก จ้างอินฟลูเอนเซอร์เจาะโรงเรียน-มหา’ลัย กล่อม ก่อน “ท็อป-จิรายุส” สวมบท “ไลฟ์โค้ช” ปิดจ็อบขายฝันมอมเมาชวนล่าคริปโตฯ รู้ทั้งรู้ แต่ผู้บริหาร SCB กลับกำลังปิดฟ้าด้วยฝ่ามือ!!?
ดีล 17,850 ล้านระหว่างไทยพาณิชย์กับบิทคับมีการประเมินกันว่า “ท็อป” จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้ง และ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จะมีเงินไหลเข้ากระเป๋าส่วนตัวคิดเป็นมูลค่า 4,260 ล้านบาท
จิรายุส นั้นถือหุ้น 23.87% ถือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่สุดในบิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ที่ถือหุ้น 99% ใน ”บิทคับออนไลน์” เจ้าของ Exchange ตลาดซื้อขายคริปโตเคอเรนซีที่ไทยพาณิชย์จะซื้อหุ้น 51% เพื่อครอบครอง
ขณะที่ไทยพาณิชย์ จะได้อะไร? ยังเป็นคำถามบนความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ความไม่แน่นอนของอนาคตสินทรัพย์ดิจิทัล และ ความเข้มงวดของการกำกับดูแลของแบงก์ชาติและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
ทำไม? ไทยพาณิชย์ต้องทุ่มเงินมหาศาล เพื่อ Exchange ที่อนาคตไม่แน่นอน ทำไม? ต้องสนับสนุนตลาดที่มีภาพลักษณ์ของ “บ่อนพนัน” ความผันผวนสูง
จากตัวอย่างของ KUB Coin เหรียญของบิทคับ และ เหรียญสัญชาติไทยเช่น JFIN และ SIX ที่เจ้ามือแสดงอิทธิฤทธิ์สร้างราคา-ปั่นเหรียญ จนกลายเป็นหายนะของรายย่อย ด้วยราคาขึ้นลงมากกว่า 1,800%
ไม่นับรวม ประเด็นที่ ก.ล.ต. เข้าตรวจสอบระบบการซื้อขาย พบข้อบกพร่อง ทำธุรกิจไม่รัดกุม ไร้ประสิทธิภาพ หรือ ตรวจพบ “นอมินี” หรือ “บัญชีม้า” ที่ไม่สามารถพิสูจน์ตัวตนได้ ถูกสั่งให้แก้ไข และ โดนลงโทษมาก็หลายครั้ง นับแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน
ขณะเดียวกัน การทำธุรกิจ Exchange ของ บิทคับ ออนไลน์ เมื่อเปรียบเทียบกับแพลตฟอร์มระดับโลกอย่าง ไบแนนซ์ ยังพบว่า บิทคับทั้งเก็บค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่สูง 0.25% เก็บค่าบริการในการถอน 20 บาทต่อรายการโดยที่ธนาคารคิดเพียง 3 บาท
ผ่าแผนตลาดอำมหิต
แน่นอนว่า ปัจจัยภาพลักษณ์ติดลบนี้ ย่อมเป็นภาระที่ธนาคารไทยพาณิชย์จะต้อง “แบกหม้อก้นดำ” หรือ มารับเคราะห์แทนบิทคับโฮลดิ้งส์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทว่า เรื่องของบิทคับไม่ได้มีเพียงเท่านี้ หากถามคนในวงการเทคโนโลยี หรือ แวดวงการเงินการธนาคาร สิ่งที่พวกเขารับไม่ได้มากที่สุดในการทำธุรกิจของบิทคับ และ ท็อป จิรายุส คืออะไร? เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์เห็นว่า กลยุทธ์การตลาดที่บ้าคลั่ง โดยเฉพาะ การทำตลาดกับ เยาวชน เด็กนักเรียน นักศึกษา เพื่อโน้มน้าวให้ เข้ามาเป็นลูกค้าเปิดบัญชีเทรดคริปโตฯ กับบิทคับ
จิรายุส มักกล่าวเสมอว่า บิทคับ เป็นสตาร์ทอัปที่มีการเติบโตสูงปีละ 1,000% และ จะเติบโตยิ่งๆ ขึ้นไปกว่านี้ได้อีก ซึ่งหากจะรักษาการอัตราการเติบโตของธุรกิจ และ กำไรเอาไว้ได้ วิเคราะห์กันว่า Exchange จะต้องมีผู้เข้ามาเปิดบัญชีเทรดกันมากขึ้น ฐานลูกค้า ยิ่งขยายนั่นหมายถึงค่าธรรมเนียม ค่าบริการ และ รายได้ที่จะมากขึ้น โดยเป้าหมายอยู่ที่ 7 ล้านบัญชี
ในปี 2565 “บิทคับ ออนไลน์” ตั้งเป้าหมายจะขยายฐานลูกค้าให้ได้ 7 ล้านราย จากเดิมที่เคลมว่ามีอยู่แล้ว 3 ล้านบัญชี หรือ เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว และมีสินทรัพย์ดิจิทัลให้เลือกซื้อขายมากกว่า 100 สกุลในกระดาน Bitkub จากที่มีอยู่ 50 กว่าเหรียญในปัจจุบัน
จากเป้าหมายดังกล่าว ทำให้หลายฝ่ายเชื่อ วิธีทำให้ลูกค้าเพิ่มเป็น 7 ล้านรายให้ได้ คาดว่ากว่าครึ่งน่าจะมาจากกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่หรือนักเรียนนักศึกษานั่นเอง และนั่นย่อมทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดการลงทุนผิดพลาดเพิ่มสูงขึ้น เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ไร้ประสบการณ์การลงทุน ขณะที่เป้าหมายของบริษัทสำเร็จผลท่ามกลางเงินจำนวนมากของผู้ปกครองที่ต้องสูญเสียไปใครต้องรับผิดชอบ?
นี่คือแผนการตลาดที่อำมหิต และเป็นอันตรายต่ออนาคตของชาติ ที่กำลังหวั่นวิตกกัน
เห็นได้ชัดตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน บิทคับ ขยายฐานลูกค้า เจาะตลาดเยาวชนคนรุ่นใหม่ โหมกระพือด้วยแคมเปญต่างๆ ด้วยการเจาะเข้าสู่สถานศึกษา โรงเรียน และ มหาวิทยาลัย เพื่อให้มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของตน
รวมไปถึงการใช้โฆษณา ที่มีตัวของ จิรายุส ลงทุนเป็นพีอาร์ด้วยตนเอง ดังจะเห็นจากป้ายโฆษณาทั้งออฟไลน์และออนไลน์อยู่แทบจะทุกจุดที่มองเห็น จนวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่เด็กนักเรียน นักศึกษา ว่า ทุกวันนี้ไปไหนมาไหน แม้แต่เล่นมือถือเข้าอินเทอร์เน็ตเห็นหน้าท็อป จิรายุส มากกว่า หน้าพ่อแม่ไปแล้ว หรือ มากกว่าป้ายผู้สมัครชิงผู้ว่าฯ กทม. ก็ป้ายท็อป จิรายุส นี่แหละ
กลยุทธ์ตลาดของ Bitkub วิธีการคือสูตรสำเร็จด้วยการนำเสนอ “สิ่งใหม่” จากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง และ นวัตกรรม ที่ทำดีไซน์ออกมาทำให้ดูเหมือนว่า เยาวชนต้องมีองค์ความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีบล็อกเชน และ สินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้น “เชื่อมทุกโอกาสสู่โลกแห่งอนาคต” แต่สุดท้าย ก็คือการแอบแฝงชักชวนให้เด็กนักเรียนและนักศึกษาต้องเชื่อมต่อกับบิทคับด้วยการเปิดบัญชีเสียก่อนจึงจะเรียนรู้ได้
วิธีการสมัครเปิดบัญชีก็แสนง่ายดายด้วยแคมเปญ “10 บาท” ก็ลงทุนได้ ที่เป็นกับดัก ดักรออยู่ ทำให้มีนักเรียน นักศึกษา ถูกกวาดต้อนเข้ามาเป็นสมาชิกบิทคับจำนวนมาก
เชื่อได้ว่า ผู้ปกครองของบรรดานักเรียน นักศึกษา เหล่านี้ ก็กำลังปวดหัวกับ การที่ลูกหลานมาขอคำยินยอม ที่ไม่สามารถเข้าใจได้ ว่า คริปโตฯ คืออะไร ทำไมต้องใช้เงินไปลงทุน และ อนาคตอะไร นอกจากการเทรดเหรียญที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินทอง ไม่ต่างกับการ เล่นพนัน ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาภายในครอบครัวตามมา
ไล่จับเด็กตั้งแต่มัธยม
การทำตลาดเพื่อให้ได้มาซึ่งเป้าหมายเยาวชนของบิทคับมีอะไรบ้าง ลองมาไล่เรียงกัน บิทคับและจิรายุส พยายามนำความคิด ความเชื่อเดียวกันกับ Bitkuber ที่ว่า การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลกำลังเป็นเทรนด์ยอดฮิต ซึ่งคนในเจเนอเรชันนี้จำเป็นต้องตามให้ทันเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต กล้าที่จะลุกขึ้นปฏิวัติตัวเองเพื่อไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า หรือความมั่งคั่งร่ำรวย ครอบงำความคิดของเยาวชน หรือ อีกนัยยหนึ่ง ก็คือ การปลูกฝังความเชื่อ ล้างสมองเด็กให้คิดถึง ความร่ำรวยที่จะมาพร้อมกับโอกาสของสินทรัพย์ดิจิทัล
กลยุทธ์เริ่มด้วยการสร้างชุมชน หรือ คอมมูนิตี้ เช่นเดียวกันกับ The Chosen one สำหรับกลุ่มชนชั้นดารา เซเลบ หรือ เจ้าของธุรกิจ คอมมูนี้ตีสำหรับเด็กของ บิทคับ จะทำผ่าน Bitkub Academy
ยกตัวอย่างเช่น Bitkub Academy จับมือกับ รร.อัสสัมชัญ จัดหลักสูตรเทคโนโลยีบล็อกเชนและคริปโตเคอเรนซี ให้นักเรียน ม.ปลาย ที่สนใจ โดยจัดเต็มตลอดภาคเรียนที่ 2/2564
คำเสนอเชิญชวนเด็ก ม.ปลาย.เหล่านี้ ระบุว่า จะได้พัฒนาความรู้ธุรกิจและทักษะแห่งอนาคต Blockchain เป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคต ที่นักเรียนอัสสัมชัญจะมีโอกาสก้าวทันนวัตกรรมของโลก รองรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ทางด้านการเงินธุรกิจ และผลักดันให้ประเทศพร้อมเดินหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการ AC Cryptocurrency & Blockchain Club : Cryptocurrency NFT Defi Learning บอกว่า เป็นหลักสูตรการสอนให้กับนักเรียนอย่างเต็มที่เริ่มตั้งแต่พื้นฐานและเนื้อหาสุดเข้มข้นไม่ว่าจะเป็น Blockchain & Cryptocurrency Decentralized Finance WHAT IS NFTS AND WHY IT IS COMMON? GAMEFI & HOWTO MAKE PROFITS แน่นอนว่า การเรียนรู้ต้องประกอบไปด้วยการสร้าง Community นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการจะได้เข้ากลุ่ม Line เพื่อร่วมพูดคุย ปรึกษา แนะนำ การพัฒนา แนวทางเกี่ยวกับ Blockchain จากรุ่นพี่อัสสัมชัญผู้อยู่ในวงการ Blockchain ด้วย
ทว่า มีตัวอย่างของเยาวชนที่สะท้อนผ่านสื่อโซเซียลฯ ที่เมื่อได้เห็นหรือฟัง ท็อป จิรายุส เซเลบคริปโตฯ แล้วเปิดบัญชีเทรดกับบิทคับแล้วไปได้ไม่สวยเหมือนโฆษณา พอร์ตไม่ปังมีแต่พังเพราะ ขาดทุนและแขวนอยู่บนดอยด้วยราคาที่สูงลิบ
นอกจาก รร. อัสสัมชัญ แล้วบิทคับยังมีอีกหลายโครงการที่เข้าสู่โรงเรียนชื่อดังอื่นๆ และ ระดับอุดมศึกษา พยายามเข้าไปวางหลักสูตร การเรียน การสอน เพื่อให้สถานศึกษานำไปบรรจุให้นักศึกษาได้เรียนรู้ ด้วยการสนับสนุนของบิทคับ และ ถือโอกาสไทอินโฆษณาไปด้วย
ดังตัวอย่าง “Bitkub Academy” ที่ไปร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จัดทำความร่วมมือ MOU ร่วมกันจัดกิจกรรมให้ความรู้บล็อกเชนและคริปโตฯ ในรูปแบบออนไลน์ให้กับนักศึกษา กับโครงการ Bitkub Cryptonity
โดยจะจัดกิจกรรมผ่านการเรียนการสอนทั้งหมด 3 ครั้ง แบ่งออกเป็นหัวข้อต่างๆ ได้แก่ Let’s Play with Crypto เรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์โลกการเงินตั้งแต่อดีตถึง Cryptocurrency และเรียนรู้เรื่องราวโลก Cryptocurrency , What is Blockchain? How Does it Work? เรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีตั้งแต่อดีตถึงเทคโนโลยี Blockchain
สิ่งที่เกิดขึ้นขณะนี้ โดย เป็นข้อที่วิพากษ์วิจารณ์ในหมู่นักศึกษากันว่า บรรดาอาจารย์ ครูผู้สอน กลายเป็นพีอาร์ให้บิทคับ มากกว่าจะให้ความรู้เรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลจริงๆ
“Bitkub ICON” เฟ้นสตาร์ไปหาแมงเม่า
สำหรับระดับมหาวิทยาลัย เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา “Bitkub” เดินเกมไล่จับกลุ่มนักศึกษาผ่านการจัดแคมเปญเฟ้นหา “Bitkub ICON” กลุ่มแรกของประเทศไทย จำนวน 16 คนจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ครอบคลุม 4 ภูมิภาคตามสัดส่วน ทั้งภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
โดย Bitkub ICON ถูกประโคมโอ่ว่า คือ ตัวแทนของคนรุ่นใหม่ ที่มีความเป็นผู้นำ กล้าแสดงออก มีความสนใจในเทคโนโลยีบล็อกเชน และสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งจะได้รับเงินรางวัลและเป็นตัวแทนของ Bitkub ในการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนสังคมการเงินแห่งโลกยุคดิจิทัล และสร้างคอมมูนิตี้ให้ทุกคนเข้าถึงได้
นอกจากนี้ Bitkub ICON จะนำความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกเชน และสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้เรียนรู้จากบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ไปจัดทำกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ต่อให้คนในชุมชนและคนในมหาวิทยาลัยของตนเอง รวมทั้งจัดตั้งคอมมูนิตี้หรือชมรมในมหาวิทยาลัย เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่อนาคตไปด้วยกัน
ทั้งนี้ Bitkub รายงานว่า แคมเปญ Bitkub ICON ได้รับผลตอบรับดีเกินคาดจากนักศึกษา จากหลายมหาวิทยาลัยกว่า 40 แห่ง
เรียกว่า บิทคับ พยายามอย่างมากในการสร้างคอมมูนิตี้ที่จะเป็นเครือข่ายขยายไปเรื่อยๆ ครอบคลุมครอบงำเด็กทุกระดับ หรือ นักลงทุนรายใหม่ที่ไร้ประสบการณ์ให้มากที่สุด
จับมือกับวิชัย จับเด็กอาชีวะ
กลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา Bitkub และกลุ่มนายวิชัย ทองแตง นักธุรกิจชื่อดัง ลงนาม MOU จับมือเป็นพันธมิตรจัดตั้งบริษัทร่วมทุน บริษัท บิทคับ เวิลด์เทค จำกัด (BITKUB WORLDTECH) โดยระบุว่า เพื่อพัฒนาการศึกษาโดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างให้เด็กไทย มีทักษะ ตามเป้าหมาย “สร้างโอกาส สร้างอาชีพ สู่โลกอนาคต”
“วิชัย ทองแตง” ระบุว่า “บิทคับ เวิลด์เทค” จะมุ่ง 3 ด้าน คือ 1. จะไม่นำเทคโนโลยี มาโกงและหลอกลวงผู้อื่น 2. จะเรียนรู้ที่จะสร้างสรรค์สังคมที่ดีมีคุณธรรม และ 3. เราจะแบ่งปันความรู้และโอกาสให้แก่ผู้อื่น
จากนั้นเพียง 1 เดือน “บิทคับ เวิลด์เทค” ได้จัดโครงการ “ปั้น” อาชีวะสู่ Digital Transformation ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานีและมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
จ้างอินฟลูเอนเซอร์นำกล่อม – ท็อป ปิดจ็อบ
นอกจากการจับมือกับสถานศึกษา เสนอหลักสูตรคริปโตฯแล้ว เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชนมากขึ้น บิทคับ ยังว่าจ้างบรรดา “ยูทูบเบอร์” “อินฟลูเอนเซอร์” ที่บรรดาเด็กและเยาวชนติดตามตระเวนให้ไปร่วมพูดคุย เป็นวิทยากรในเวที หรือ อีเวนต์ที่ บิทคับ ให้ออกเงินจัดงาน
อินฟลูเอนเซอร์ ที่ถูกว่าจ้างมีหลากหลายสาขาอาชีพ มีทักษะในการสื่อสาร แต่อาจจะไม่มีความรู้เรื่องเทคโนโลยี สินทรัพย์ดิจิทัล แต่ท็อป-จิรายุ ไม่ได้ขัดข้องขอให้แต่ละคนสามารถโน้มน้าวคน แฟนคลับ ให้เข้ามาคอมมูนิตี้ของบิทคับก็ถือว่าบรรลุเป้าหมาย โดยตัวเขา จะเข้ามาปิดจ็อบ ด้วยการทำหน้าที่ไม่ต่างจาก “ไลฟ์โค้ช” พูดให้แรงบันดาลใจ ให้เยาวชน มีความรู้สึกดีกับ “ความเชื่อ” ที่บิทคับนำเสนอ
อาทิ เช่น เมื่อวันที่ 27 ก.พ. ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนภาคใต้ จัดงานวันการศึกษาเอกชนภาคใต้ ครั้งที่ 6 ซึ่งว่ากันว่า บริษัท บิทคับ เวิลด์เท็ค จำกัด ให้การสนับสนุน ณ โรงแรมรอยัล ภูเก็ต ซิตี้ จังหวัดภูเก็ต
ภายใต้หัวข้อ “Metaverse กับการศึกษาในอนาคต” ในวันนั้น ว่ากันว่า มีอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังร่วมงานหลายคน และ เจ้าของธุรกิจ “After yum” ที่มีลูกค้าและแฟนคลับติดตามเป็นจำนวนมากเปิดเวที แล้ว จิรายุส ก็ขึ้นมาเป็นไลฟ์โค้ช ให้กับผู้ฟัง
อีเวนต์การตลาดกับสถาบันการศึกษาเช่นนี้ ฟังว่า จะเดินสายจัดไปทั่วประเทศตามหัวเมืองใหญ่ และ จะมีที่ประเทศเพื่อนบ้านเช่น ลาว ด้วย
แทรกซึมทุกไลฟ์สไตล์เด็ก
นอกจากคอมมูนิตี้เด็กนักเรียน นักศึกษา กลยุทธ์การตลาดของบิทคับ ยังมุ่งเข้าหาไลฟ์สไตล์ของเด็กรุ่นใหม่ในทุกๆ กิจกรรมที่พวกเขาสนใจ
ตัวอย่างเช่น เข้าไปสนับสนุนกิจกรรมการแข่งขัน อีสปอร์ต หรือ วงการเกม เช่น สนับสนุน ทีม เบคอนไทม์ ทีมอีสปอร์ต ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากทั้งในระดับประเทศและเอเชีย โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งแต่ละรายเป็นกลุ่มเพื่อนวัยรุ่นที่ชื่นชอบในการเล่นเกมมีแฟน ๆ ที่เป็นเด็กและเยาวชนติดตามจำนวนมาก โดยล่าสุดก็เพิ่งจะคว้าแชมป์แต่ก็มีเรื่องที่เป็นดราม่าในโซเชียลฯ เมื่อบิทคับให้ถ่ายทอดสดผ่านเพจของตนเอง หวังจะให้แฟนๆ ผู้รักอีสปอร์ตเข้ามารับชม แต่กลับปิดกั้นโอกาสแฟนคลับที่ตั้งตารอติดตามไลฟ์ผ่านเพจของเบคอนไทม์ไม่สามารถรับชมได้จึงกลายเป็นดราม่าขึ้นมา
จากหลากหลายกลยุทธ์การตลาดที่แทรกซึมไปในทุกที่ของบิทคับ พิสูจน์ได้ว่า คำกล่าวที่ว่า บิทคับ เท่ากับ มาร์เกตติ้ง คอมปะนี หรือ บริษัทด้านการตลาด นั้นไม่ได้ผิดไปนัก หลายฝ่ายเริ่มหวั่นเกรงว่า การปลูกฝังชุดความคิดแบบนี้ จะกลายเป็นการมอมเมาเยาวชน ให้เห็นดีเห็นงามกับโอกาสในการได้กำไรสูง ๆจากการลงทุนหรือจากบล็อกเชน โดยเฉพาะการซื้อขายเหรียญคริปโตฯ ที่ราคาผันผวน หรือ “ตลาดซิ่ง” ทั้งที่ปัจจุบันหลายคนยังไม่เคยเข้าใจต่อความเสี่ยงจากการลงทุนที่อาจเกิดความเสียหายมากกว่าจะได้มาง่ายๆ
นอกจากนี้ยังมีคำถามที่คาใจคือ มีนักศึกษาในสัดส่วนเท่าใด ที่ไม่ได้แบมือขอเงินพ่อแม่ใช้ หรือมีเงินพอที่จะสามารถกระโดดเข้ามาสู่บล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัลได้ด้วยเงินของตนเอง
ไทยพาณิชย์ปัดตอบคำถาม
เรียกได้ว่า Bitkub จัดเต็มไล่ล่ากลุ่มคนรุ่นใหม่ ทั้งไลฟ์โค้ช ซีอีโอรุ่นใหม่หมื่นล้าน เพื่อดึงดูดใจให้เข้ามาเป็นสาวกล่าคริปโตฯ ไปด้วยกันกับบริษัท จึงแผนตลาดอำมหิตบิทคับ ล้างสมองเด็กให้ไล่ล่าคริปโตฯ ทั้งๆ ที่ประสบการณ์อ่อนด้อย ตัวเองร่ำรวยจากการเก็บค่าต๋ง ค่าบริการ กอบโกยรายได้จากตลาดซื้อขาย แต่ความหายนะและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากความเสี่ยงของการลงทุน เป็นอย่างไรไม่รับรู้ไม่สนใจอย่างนั้นหรือ?
จากสตาร์ทอัป ก้าวขึ้นเป็นยูนิคอร์น และ วาดหวังจะเป็น ซูเปอร์แอปฯ โกอินเตอร์ แต่ถามว่า คนไทย ประเทศไทย ได้อะไรกับการเติบโตของบิทคับในลักษณะนี้
เยาวชนเหล่านี้ควรเป็นอนาคตของชาติ และ สังคม กลับต้องมาติดกับดัก บิทคับ ที่ชักชวนให้คนมาซื้อขายเหรียญดิจิทัลที่ราคาผันผวนสูง ฤาไทยพาณิชย์ต้องการแบบนี้หรือ?
ยิ่งถ้ามองบรรดาผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคารไทยพาณิชย์ ณ ปัจจุบัน ธนาคารที่น่าภาคภูมิใจในฐานะธนาคารที่เก่าเเก่ที่สุดในไทย ที่มีอายุกว่า 115 ปี มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดมากที่สุดในวงการธนาคารไทยที่ 228,353.45 ล้านบาท โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่ ดังนี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวนหุ้น 793,832,359 คิดเป็น 23.38% กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 392,649,100 คิดเป็น 11.56% กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 392,649,100 คิดเป็น 11.56% บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวนหุ้น 346,262,309 คิดเป็น 10.20% และ สำนักงานประกันสังคม จำนวนหุ้น 109,198,100 คิดเป็น 3.22%
ยิ่งต้องมีคำถามถึง คณะกรรมการธนาคาร ตลอดจนผู้บริหารธนาคารไทยพาณิชย์ ควรละหรือที่จะหอบเงิน 17,850 ล้านบาทไปลงทุน Exchange หรือ Marketing company ดังที่กล่าวมาแล้วในบทวิเคราะห์ “บิทคับยูนิคอร์นสายพันธ์ุอันตราย?” ทั้งหมด 5 ตอน?
ตอนที่ 1 ดีล SCBX ฮุบ Bitkub เริ่มเสี่ยง… ได้ไม่คุ้มเสีย?
ตอนที่ 2 KUBCOIN เจ้ามือรวย แมงเม่าม้วยมรณา
ตอนที่ 3 Bitkub ยูนิคอร์น สายพันธุ์อันตราย?!
ตอนที่ 4 ลัทธิ Bitkub ตัวป่วนวงการ! สวน “ธปท.-ก.ล.ต.” คุมเข้ม
ตอนที่ 5 Bitkub เทียบ Binance ค่าต๋งแพง-ค่าถอนโหด กับดักแมงเม่า
ประเด็นคำถามนี้ มีรายงานว่า ในที่ประชุมสามัญประจำปีของธนาคารพาณิชย์ที่จะจัดขึ้น วันที่ 4 เมษายนที่ผ่านมา โดยวิธีประชุมอี-มีตติ้ง ปรากฏว่า ผู้ถือหุ้นหลายคนได้ถามคำถามเกี่ยวกับการลงทุนในบิทคับของ SCBX แต่ฝ่ายบริหารได้ตัดและปิดกั้นคำถามเหล่านี้โดยไม่ได้ตอบคำถามเลยแม้แต่คำถามเดียว
คำถามคือบรรดาผู้บริหารไทยพาณิชย์ที่ต้องบริหารสินทรัพย์ต่างพระเนตรพระกรรณพวกนี้กำลังปิดบังอะไรอยู่ คิดว่าจะปิดฟ้าด้วยฝ่ามือได้หรือ และสมควรหรือที่จะเข้าไปลงทุนในกิจการที่กำลังล้างสมองเยาวชนไทยให้กลายเป็นสาวกบิทคับเบอร์ของนายท็อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 43
ดีล “SCBX-Bitkub” ส่อแวว ล่ม-เลื่อน-หลุดราคาคุย ขัดกับมายาภาพที่ “ท๊อป จิรายุส” พยายามสร้าง
เผยแพร่: 11 เม.ย. 2565 07:19 ปรับปรุง: 11 เม.ย. 2565 07:19 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
ผู้ถือหุ้น “ไทยพาณิชย์” ยังคาใจ ผู้บริหารไม่เคลียร์ประเด็นเข้าซื้อ “บิทคับ” 51% ขณะที่ ธปท. ยังไม่ได้รับแผน “ซุปเปอร์ดีล” อย่างเป็นทางการ แค่เข้ามาหารือรายละเอียด เตรียมคลอดเกณฑ์คุมเข้มแบงก์พาณิชย์ลงทุนธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลได้ไม่เกิน 3% ของเงินกองทุนภายในกลางปีนี้ ด้านโบรกเกอร์ ประเมินดีลต้องเลือนออกไปหลังไตรมาส 2 คาดต่อรองราคาใหม่ต่ำกว่า 1.78 หมื่นล้านบาท หลังวอลุ่มเทรดลดฮวบกว่า 60%
แผนการปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจของ “ไทยพาณิชย์”(SCB) สู่ บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) (SCBX) ถือเป็นโปรเจกต์ที่น่าจะได้รับการตอบรับจากทุกฝ่าย โดย SCBX ได้กำหนดระยะเวลาการแลกหุ้นไว้ 30 วันทำการ ตั้งแต่ 2 มี.ค. 65 จนถึง 18 เม.ย. 65 ซึ่งจะเป็นวันที่ครบกำหนดเป็นวันสุดท้าย
แต่ประเด็นที่ถูกจับตามองและสร้างความกังวลให้แก่ผู้ถือหุ้น คือ แผนการเข้าซื้อหุ้นบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด หรือ Bitkub ในสัดส่วน 51% มูลค่ากว่า 1.78 หมื่นล้านบาท จากบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด โดยมีผู้ก่อตั้งคือ "ท๊อป" จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา หรือ “ซุปเปอร์ดีล” ที่ยังไม่ได้รับการคลี่คลายหรือคำตอบที่ชัดเจนของผู้บริหารของธนาคารไทยพาณิชย์
แผนการตลาดแบบทุ่มงบการทำประชาสัมพันธ์อย่างบ้าคลั่งของ “บิทคับ” ทำให้ผู้ใช้ยานพาหนะขับขี่ผ่านเส้นทางใดต้องเจอป้ายโฆษณา “บิทคับ” ที่ใช้ “ท๊อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา” ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด เป็นสัญลักษณ์สื่อถึงการ “เชื่อมทุกโอกาสสู่โลกแห่งอนาคต” ที่กระจายอยู่ทั่วไปในกทม. โดยในที่ประชุมสามัญประจำปีของธนาคารพาณิชย์ที่จะจัดขึ้น วันที่ 4 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยวิธีประชุมอี-มี๊ตติ้ง ปรากฏว่า ผู้ถือหุ้นหลายคนได้ถามคำถามเกี่ยวกับการลงทุนในบิทคับของ SCBX แต่ฝ่ายบริหารได้ตัดและปิดกั้นคำถามเหล่านี้โดยไม่ได้ตอบคำถามเลยแม้แต่คำถามเดียว ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัยแก่ผู้ถือหุ้นเป็นอย่างมาก
"ไทยพาณิชย์" ยังไม่ยื่นขออนุมัติจาก ธปท.
ขณะที่ ดร.รุ่ง มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้สัมภาษณ์กับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ยังไม่ได้ยื่นแผนการลงทุนในบิทคับอย่างเป็นทางการ มีเพียงการเข้ามาคุยเรื่องในรายละเอียดเท่านั้น กดังนั้น ธปท.จึงยังไม่ได้มีการพิจารณากรณีดังกล่าว ส่วนหนึ่งทาง SCBX อาจรอดูความชัดเจนของเกณฑ์การกำกับดูแลของธปท.ด้วย
“เนื่องจากปัจจุบันทั้ง 2 บริษัท ยังอยู่ระหว่างการสอบทานธุรกิจ (Due diligence) อยู่ โดยยังไม่รู้ว่าในท้ายสุดราคาตกลงซื้อขายจริงจะอยู่ที่เท่าไร และภายใต้การจัดโครงสร้างของธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เป็นกลุ่มธุรกิจการเงิน (โฮลดิ้ง) ภายใต้บริษัท เอสซีบี เอกซ์ (SCBX) หากเกินเพดาน 3% ของเงินกองทุน ก็สามารถทำได้ แต่จะคิดในกองทุนที่แพงขึ้น หรือเงินกองทุนจะย่อมลง”
แบงก์ชาติคุมเข้มธนาคารลงทุน DA
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประกาศหลักเกณฑ์ควบคุมธนาคารพาณิชย์ลงทุนในธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล โดยคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ประมาณกลางปี 65 นี้ ประกอบด้วย
1.ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset : DA) ที่ได้รับการอนุญาตและมีหน่วยงานการกำกับดูแล เช่น DA exchange, Broker, dealer ธนาคารพาณิชย์ลงทุนได้ไม่เกิน 3% ของเงินกองทุน กรณีที่เป็นกลุ่มธุรกิจการเงิน (โฮลดิ้ง) ลงทุนได้เกิน 3% ของเงินกองทุน แต่จะนำส่วนเกินไปหักเงินกองทุน ทำให้เงินกองทุนลดลงได้
2. ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset : DA) ที่ไม่มีการกำกับดูแล เช่น Metaverse และ Defi ธปท.กำหนดให้ทำอยู่ในขอบเขต (Sandbox) โดยจะมีการพิจารณา 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการรับเข้าทดสอบ จะพิจารณาถึงประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ และต้นทุนลดลง และ ขั้นตอนหลังการทดสอบก่อนจะให้บริการวงกว้าง จะพิจารณาประโยชน์ต่อภาพรวมหรือไม่ โดยการทดสอบดังกล่าวยังคงอยู่ในเพดาน 3%
นอกจากนี้ ธปท.ยังกำหนดให้แยกคณะกรรมการระหว่างธนาคารพาณิชย์ และกลุ่มธุรกิจโฮลดิ้งที่ทำเรื่องของธุรกิจ DA โดยเฉพาะอย่างชัดเจน รวมถึงระบบไอที ระบบคอร์แบงกิ้งออกจากกันอย่างเด็ดขาดเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดต่อระบบของธนาคารพาณิชย์ ขณะเดียวกันธนาคารพาณิชย์จะต้องไม่ส่งเสริมหรือเชิญชวนประชาชนทั่วไปลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลผ่านสาขาธนาคารและเว็บไซต์ เพราะการลงทุน DA ไม่เหมาะกับลูกค้าทุกคน ยกเว้นกับกลุ่มลูกค้ามั่งคั่ง (HNW) ตามเกณฑ์ของก.ล.ต. ที่มีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับการลงทุน แต่ธนาคารจะเป็นการให้ข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น
โบรก ฯ คาดมูลค่าดีลต่ำกว่า 1.78 หมื่นล้าน
ด้านนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ได้ประเมินว่า แผนการเข้าซื้อบิทคับของกลุ่มไทยพาณิชย์ จะยังคงเดินหน้าต่อไป แต่อาจจะต้องเลื่อนสรุปแผนออกไปเป็นหลังไตรมาส 2 จากเดิมที่กำหนดไว้ที่ไตรมาสแรกปีนี้ เพื่อรอความชัดเจนหลักเกณฑ์ของ ธปท. ที่จะประกาศมีผลบังคับใช้ภายในกลางปีนี้ ขณะที่ธนาคารไทยพาณิชย์เองก็เตรียมแผนปรับโครงสร้างเป็นโฮลดิ้งส์ เพื่อให้เข้าหลักเกณฑ์ของธปท.
ส่วนทางเลือกของกลุ่มธนาคารพาณิชย์เองมี 3 ทางเลือก คือ 1. ปรับโครงสร้างเป็นบริษัทโฮลดิ้งส์ ขอผ่อนผันหลักเกณฑ์การลงทุนเกินเพดานได้หรือไม่ 2.ต่อรองราคาซื้อขายให้ต่ำลง หรือ 3.ลดสัดส่วนการถือหุ้นในบิทคับ เพื่อให้สอดคล้องกับเพดานข้อกำหนดของ ธปท.
ด้านบล.โนมูระ พัฒนสิน ประเมินว่า มูลค่าการซื้อขายบิทคับ มีโอกาสต่ำกว่าที่ไทยพาณิชย์เคยระบุไว้ก่อนหน้านี้ที่ 1.78 หมื่นล้านบาท เมื่อพิจารณามูลค่าการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลรายเดือน ของก.ล.ต. ในเดือน ก.พ. 65 อยู่ที่ประมาณ 1 แสนล้านบาท ลดลงกว่า 60% เมื่อเทียบกับมูลค่าการซื้อขายในเดือน พ.ย. 64
ขณะที่จำนวนบัญชีที่มีการ Active เดือนก.พ. 65 อยู่ที่ 4.95 แสนบัญชี ลดลงจากเดือนพ.ย.ปี 64 ถึง 29% จึงอาจเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ใช้เป็นอำนาจต่อรองราคาการซื้อบิทคับได้
จากการนำเสนอข่าวเชิงวิเคราะห์ “Bitkub ยูนิคอร์นสายพันธุ์อันตราย”ความยาว 5 ตอน และตอนพิเศษ ที่ผ่านมา ได้สะท้อนภาพปัญหาต่างๆ อาทิ ความเสี่ยงได้คุ้มเสียหรือไม่? เพราะข้อมูลตัวเลขของบิทคับหลายตัวนำเสนอยังค้านสายตาหลายคน รวมถึงการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นจากผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะ “ไบแนนซ์” ยักษ์ใหญ่ระดับโลกที่ประกาศจับมือกับบมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลล็อปเม้นท์ ท่ามกลางกระแสตลาดคริปโตเคอร์เรนซีช่วงขาลง
ป้ายโฆษณา “บิทคับ” ที่ใช้ “ท๊อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา” ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด เป็นสัญลักษณ์การสื่อสารขณะที่ ก.ล.ต.และ ธปท.ประกาศควบคุมการทำธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น ด้วยการห้ามไม่ให้ใช้เงินดิจิทัลชำระค่าสินค้าและบริการ กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ห้ามไม่ให้มีการโฆษณา ชักชวน หรือแสดงตนว่าพร้อมเป็นผู้ให้บริการรับชำระค่าสินค้าและบริการ และไม่ให้บริการอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการสนับสนุนการรับชำระค่าสินค้าและบริการ
ส่วน “บิทคับ” เองก็โหมทำการตลาดอย่างบ้าคลัง จนดันราคา “Kub Coin” พุ่งทะยานกว่า 1,800% จากราคา 30 บาท ไปสูงสุดที่ 500 บาท ไม่ว่าจะให้ตัว “ท๊อป จิรายุส” เป็นไลฟ์โคช การใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง หรือมีอิทธิพล (Influencer) ดึงภาคธุรกิจระดมทุนด้วยการออก ICO หรือ NFT แม้กระทั่งการร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเจาะตลาดกลุ่มเยาวชน นักเรียน นักศึกษา เพื่อกระตุ้นความสนใจตลาดคริปโตเคอร์เรนซี ขณะที่ระบบของ “บิทคับ” เองยังไม่มีความพร้อมและประสิทธิภาพรัดกุมเพียงพอ จน ก.ล.ต. ต้องเข้าไปตรวจสอบ และเปรียบเทียบปรับ มาหลายครั้งตลอดปี 64 ดังรายละเอียดดังนี้
และเป็นที่น่าสังเกตว่า ดีล “SCBX-บิทคับ” ยังจบไม่ลง เป็นไปได้หรือไม่ว่า จากการเข้าไปทำดีลดิลิเจนท์แล้วพบว่า ป้ายโฆษณาไม่ตรงปก เสมือน … ข้างนอกสุกใส ข้างใน …!? หรือไม่
เผยแพร่: 11 เม.ย. 2565 07:19 ปรับปรุง: 11 เม.ย. 2565 07:19 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
ผู้ถือหุ้น “ไทยพาณิชย์” ยังคาใจ ผู้บริหารไม่เคลียร์ประเด็นเข้าซื้อ “บิทคับ” 51% ขณะที่ ธปท. ยังไม่ได้รับแผน “ซุปเปอร์ดีล” อย่างเป็นทางการ แค่เข้ามาหารือรายละเอียด เตรียมคลอดเกณฑ์คุมเข้มแบงก์พาณิชย์ลงทุนธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลได้ไม่เกิน 3% ของเงินกองทุนภายในกลางปีนี้ ด้านโบรกเกอร์ ประเมินดีลต้องเลือนออกไปหลังไตรมาส 2 คาดต่อรองราคาใหม่ต่ำกว่า 1.78 หมื่นล้านบาท หลังวอลุ่มเทรดลดฮวบกว่า 60%
แผนการปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจของ “ไทยพาณิชย์”(SCB) สู่ บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) (SCBX) ถือเป็นโปรเจกต์ที่น่าจะได้รับการตอบรับจากทุกฝ่าย โดย SCBX ได้กำหนดระยะเวลาการแลกหุ้นไว้ 30 วันทำการ ตั้งแต่ 2 มี.ค. 65 จนถึง 18 เม.ย. 65 ซึ่งจะเป็นวันที่ครบกำหนดเป็นวันสุดท้าย
แต่ประเด็นที่ถูกจับตามองและสร้างความกังวลให้แก่ผู้ถือหุ้น คือ แผนการเข้าซื้อหุ้นบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด หรือ Bitkub ในสัดส่วน 51% มูลค่ากว่า 1.78 หมื่นล้านบาท จากบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด โดยมีผู้ก่อตั้งคือ "ท๊อป" จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา หรือ “ซุปเปอร์ดีล” ที่ยังไม่ได้รับการคลี่คลายหรือคำตอบที่ชัดเจนของผู้บริหารของธนาคารไทยพาณิชย์
แผนการตลาดแบบทุ่มงบการทำประชาสัมพันธ์อย่างบ้าคลั่งของ “บิทคับ” ทำให้ผู้ใช้ยานพาหนะขับขี่ผ่านเส้นทางใดต้องเจอป้ายโฆษณา “บิทคับ” ที่ใช้ “ท๊อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา” ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด เป็นสัญลักษณ์สื่อถึงการ “เชื่อมทุกโอกาสสู่โลกแห่งอนาคต” ที่กระจายอยู่ทั่วไปในกทม. โดยในที่ประชุมสามัญประจำปีของธนาคารพาณิชย์ที่จะจัดขึ้น วันที่ 4 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยวิธีประชุมอี-มี๊ตติ้ง ปรากฏว่า ผู้ถือหุ้นหลายคนได้ถามคำถามเกี่ยวกับการลงทุนในบิทคับของ SCBX แต่ฝ่ายบริหารได้ตัดและปิดกั้นคำถามเหล่านี้โดยไม่ได้ตอบคำถามเลยแม้แต่คำถามเดียว ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัยแก่ผู้ถือหุ้นเป็นอย่างมาก
"ไทยพาณิชย์" ยังไม่ยื่นขออนุมัติจาก ธปท.
ขณะที่ ดร.รุ่ง มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้สัมภาษณ์กับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ยังไม่ได้ยื่นแผนการลงทุนในบิทคับอย่างเป็นทางการ มีเพียงการเข้ามาคุยเรื่องในรายละเอียดเท่านั้น กดังนั้น ธปท.จึงยังไม่ได้มีการพิจารณากรณีดังกล่าว ส่วนหนึ่งทาง SCBX อาจรอดูความชัดเจนของเกณฑ์การกำกับดูแลของธปท.ด้วย
“เนื่องจากปัจจุบันทั้ง 2 บริษัท ยังอยู่ระหว่างการสอบทานธุรกิจ (Due diligence) อยู่ โดยยังไม่รู้ว่าในท้ายสุดราคาตกลงซื้อขายจริงจะอยู่ที่เท่าไร และภายใต้การจัดโครงสร้างของธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) เป็นกลุ่มธุรกิจการเงิน (โฮลดิ้ง) ภายใต้บริษัท เอสซีบี เอกซ์ (SCBX) หากเกินเพดาน 3% ของเงินกองทุน ก็สามารถทำได้ แต่จะคิดในกองทุนที่แพงขึ้น หรือเงินกองทุนจะย่อมลง”
แบงก์ชาติคุมเข้มธนาคารลงทุน DA
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประกาศหลักเกณฑ์ควบคุมธนาคารพาณิชย์ลงทุนในธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล โดยคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ประมาณกลางปี 65 นี้ ประกอบด้วย
1.ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset : DA) ที่ได้รับการอนุญาตและมีหน่วยงานการกำกับดูแล เช่น DA exchange, Broker, dealer ธนาคารพาณิชย์ลงทุนได้ไม่เกิน 3% ของเงินกองทุน กรณีที่เป็นกลุ่มธุรกิจการเงิน (โฮลดิ้ง) ลงทุนได้เกิน 3% ของเงินกองทุน แต่จะนำส่วนเกินไปหักเงินกองทุน ทำให้เงินกองทุนลดลงได้
2. ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset : DA) ที่ไม่มีการกำกับดูแล เช่น Metaverse และ Defi ธปท.กำหนดให้ทำอยู่ในขอบเขต (Sandbox) โดยจะมีการพิจารณา 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการรับเข้าทดสอบ จะพิจารณาถึงประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ และต้นทุนลดลง และ ขั้นตอนหลังการทดสอบก่อนจะให้บริการวงกว้าง จะพิจารณาประโยชน์ต่อภาพรวมหรือไม่ โดยการทดสอบดังกล่าวยังคงอยู่ในเพดาน 3%
นอกจากนี้ ธปท.ยังกำหนดให้แยกคณะกรรมการระหว่างธนาคารพาณิชย์ และกลุ่มธุรกิจโฮลดิ้งที่ทำเรื่องของธุรกิจ DA โดยเฉพาะอย่างชัดเจน รวมถึงระบบไอที ระบบคอร์แบงกิ้งออกจากกันอย่างเด็ดขาดเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดต่อระบบของธนาคารพาณิชย์ ขณะเดียวกันธนาคารพาณิชย์จะต้องไม่ส่งเสริมหรือเชิญชวนประชาชนทั่วไปลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลผ่านสาขาธนาคารและเว็บไซต์ เพราะการลงทุน DA ไม่เหมาะกับลูกค้าทุกคน ยกเว้นกับกลุ่มลูกค้ามั่งคั่ง (HNW) ตามเกณฑ์ของก.ล.ต. ที่มีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับการลงทุน แต่ธนาคารจะเป็นการให้ข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น
โบรก ฯ คาดมูลค่าดีลต่ำกว่า 1.78 หมื่นล้าน
ด้านนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ได้ประเมินว่า แผนการเข้าซื้อบิทคับของกลุ่มไทยพาณิชย์ จะยังคงเดินหน้าต่อไป แต่อาจจะต้องเลื่อนสรุปแผนออกไปเป็นหลังไตรมาส 2 จากเดิมที่กำหนดไว้ที่ไตรมาสแรกปีนี้ เพื่อรอความชัดเจนหลักเกณฑ์ของ ธปท. ที่จะประกาศมีผลบังคับใช้ภายในกลางปีนี้ ขณะที่ธนาคารไทยพาณิชย์เองก็เตรียมแผนปรับโครงสร้างเป็นโฮลดิ้งส์ เพื่อให้เข้าหลักเกณฑ์ของธปท.
ส่วนทางเลือกของกลุ่มธนาคารพาณิชย์เองมี 3 ทางเลือก คือ 1. ปรับโครงสร้างเป็นบริษัทโฮลดิ้งส์ ขอผ่อนผันหลักเกณฑ์การลงทุนเกินเพดานได้หรือไม่ 2.ต่อรองราคาซื้อขายให้ต่ำลง หรือ 3.ลดสัดส่วนการถือหุ้นในบิทคับ เพื่อให้สอดคล้องกับเพดานข้อกำหนดของ ธปท.
ด้านบล.โนมูระ พัฒนสิน ประเมินว่า มูลค่าการซื้อขายบิทคับ มีโอกาสต่ำกว่าที่ไทยพาณิชย์เคยระบุไว้ก่อนหน้านี้ที่ 1.78 หมื่นล้านบาท เมื่อพิจารณามูลค่าการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลรายเดือน ของก.ล.ต. ในเดือน ก.พ. 65 อยู่ที่ประมาณ 1 แสนล้านบาท ลดลงกว่า 60% เมื่อเทียบกับมูลค่าการซื้อขายในเดือน พ.ย. 64
ขณะที่จำนวนบัญชีที่มีการ Active เดือนก.พ. 65 อยู่ที่ 4.95 แสนบัญชี ลดลงจากเดือนพ.ย.ปี 64 ถึง 29% จึงอาจเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้กลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ใช้เป็นอำนาจต่อรองราคาการซื้อบิทคับได้
จากการนำเสนอข่าวเชิงวิเคราะห์ “Bitkub ยูนิคอร์นสายพันธุ์อันตราย”ความยาว 5 ตอน และตอนพิเศษ ที่ผ่านมา ได้สะท้อนภาพปัญหาต่างๆ อาทิ ความเสี่ยงได้คุ้มเสียหรือไม่? เพราะข้อมูลตัวเลขของบิทคับหลายตัวนำเสนอยังค้านสายตาหลายคน รวมถึงการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นจากผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะ “ไบแนนซ์” ยักษ์ใหญ่ระดับโลกที่ประกาศจับมือกับบมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลล็อปเม้นท์ ท่ามกลางกระแสตลาดคริปโตเคอร์เรนซีช่วงขาลง
ป้ายโฆษณา “บิทคับ” ที่ใช้ “ท๊อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา” ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด เป็นสัญลักษณ์การสื่อสารขณะที่ ก.ล.ต.และ ธปท.ประกาศควบคุมการทำธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น ด้วยการห้ามไม่ให้ใช้เงินดิจิทัลชำระค่าสินค้าและบริการ กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ห้ามไม่ให้มีการโฆษณา ชักชวน หรือแสดงตนว่าพร้อมเป็นผู้ให้บริการรับชำระค่าสินค้าและบริการ และไม่ให้บริการอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการสนับสนุนการรับชำระค่าสินค้าและบริการ
ส่วน “บิทคับ” เองก็โหมทำการตลาดอย่างบ้าคลัง จนดันราคา “Kub Coin” พุ่งทะยานกว่า 1,800% จากราคา 30 บาท ไปสูงสุดที่ 500 บาท ไม่ว่าจะให้ตัว “ท๊อป จิรายุส” เป็นไลฟ์โคช การใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง หรือมีอิทธิพล (Influencer) ดึงภาคธุรกิจระดมทุนด้วยการออก ICO หรือ NFT แม้กระทั่งการร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเจาะตลาดกลุ่มเยาวชน นักเรียน นักศึกษา เพื่อกระตุ้นความสนใจตลาดคริปโตเคอร์เรนซี ขณะที่ระบบของ “บิทคับ” เองยังไม่มีความพร้อมและประสิทธิภาพรัดกุมเพียงพอ จน ก.ล.ต. ต้องเข้าไปตรวจสอบ และเปรียบเทียบปรับ มาหลายครั้งตลอดปี 64 ดังรายละเอียดดังนี้
และเป็นที่น่าสังเกตว่า ดีล “SCBX-บิทคับ” ยังจบไม่ลง เป็นไปได้หรือไม่ว่า จากการเข้าไปทำดีลดิลิเจนท์แล้วพบว่า ป้ายโฆษณาไม่ตรงปก เสมือน … ข้างนอกสุกใส ข้างใน …!? หรือไม่
แนบไฟล์
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 44
ท๊อป Bitkub พบกับ เลขา ก.ล.ต. และแบงก์ชาติ บนเวทีเดียวกัน | Cracking Crypto EP.7
https://www.youtube.com/watch?v=SYPotZGp_b8&t=638s
https://www.youtube.com/watch?v=SYPotZGp_b8&t=638s
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 45
“บิทคับ”เชื่อมอนาคตหรือบ่อนดิจิทัล Ep135 (live)
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 46
คริปโตเคอร์เรนซีคืออะไร? : Sondhitalk EP135
รู้จัก คริปโตเคอร์เรนซี “เงินดิจิทัล” ที่จะมาแทน เงินกระดาษ-เงินเหรียญโลหะ
แผนอำมหิตบิทคับ : Sondhitalk EP135
ผ่าแผนการตลาดอำมหิตของบิทคับ สร้างคอมมูนิตี้ล้างสมองเยาวชน ขายฝันล่าคริปโตฯ ที่แท้บ่อนการพนัน
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 47
ยอดบัญชีเทรดคริปโทฯ ทยอยลดลงต่อเนื่องตั้งเดือนเดือน ม.ค.
วันที่ 30 เมษายน 2565 - 12:30 น.
สำนักงาน ก.ล.ต.เผยข้อมูลตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลรายสัปดาห์ ( 25 เม.ย.65) เผยปัจจุบันมูลค่าตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลทั่วโลกอยู่ที่ 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ ซื้อขายต่อวัน 88.05 พันล้านดอลลาร์ พบว่าจำนวนบัญชีที่มีการเคลื่อนไหว (Active) ลดลงโดย เม.ย. จำนวนบัญชีทั้งหมด 4.05 แสนบัญชี ทยอยลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ ม.ค.ที่ 6.82 แสนบัญชี
วันที่ 30 เมษายน 2565 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เผยว่า ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลทั่วโลกมีมูลค่าตาม Market cap. หรือ มูลค่าตามราคาตลาด อยู่ที่ประมาณ 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีมูลค่าการซื้อขายล่าสุดอยู่ที่ 88.05 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อวัน
ในปี 2565 มูลค่าซื้อขายสะสมแยกประเภทสินทรัพย์พบว่าค่อนข้างกระจายตัว นำโดยธีเทอร์ (Tether) มีมูลค่าซื้อขายอยู่ที่ 5.91 หมื่นล้านบาทตามด้วยบิตคอยน์ (Bitcoin) ที่ 5.15% และกาล่า (GALA) ที่ 3.59% ตามลำดับ (ข้อมูล ณ 25 เม.ย.65)
ทั้งนี้พบว่าสินทรัพย์ดิจิทัลที่ผลตอบแทนติดลบมากที่สุดนำโดย เหรียญคับ(KUB) -32.75% ตามด้วยอีเธอเรียม -21.60% นอกจากนี้ XRP และบิตคอยน์ยังคงติดลบ -17.26% และ -13.06%
อย่างไรก็ตามถ่านหิน (Coal) ยังคงให้ผลตอบแทนสูงสุดตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 88.74% ตามด้วยน้ำมัน (Oil) 32.58% และอะลูมิเนียม (Aluminium) ที่ 8.39% ส่วนทองคำ 4.59% ส่วนดัชนีหุ้นไทย (SET) อยู่ที่ 0.30%
ทั้งนี้พบว่ามูลค่าซื้อขายทั้งหมดมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่เดือนพ.ย.64 ขณะที่ในเดือนเม.ย. (ณ 25 เม.ย.65) มีมูลค่าการซื้อขายอยู่ที่ 1.17 แสนล้านบาท
ขณะที่จำนวนบัญชีที่มีการเคลื่อนไหว (Active) ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือน ม.ค. ที่เคยมีจำนวนบัญชีทั้งหมด 6.82 แสนบัญชี โดยในเดือนเม.ย.( ณ 25 เม.ย.65 ) มีจำนวนบัญชีทั้งหมดอยู่ที่ 4.05 แสนบัญชี
นอกจากนี้พบว่านิติบุคคลต่างชาติเริ่มเป็นผู้ซื้อหลักในตลาดดิจิทัลไทยในเดือนมี.ค.ต่อเนื่องมาจนถึงเม.ย.ที่นิติบุคคลต่างชาติมียอดซื้อสุทธิทั้งสิ้น 1.7 หมื่นล้านบาท ขณะที่บุคคลธรรมดาในประเทศมียอดซื้อสุทธิอยู่ที่ 8 พันล้านบาท และบุคคลธรรมดาต่างชาติขายสุทธิมากสุดที่ 2.5 หมื่นล้านบาท
วันที่ 30 เมษายน 2565 - 12:30 น.
สำนักงาน ก.ล.ต.เผยข้อมูลตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลรายสัปดาห์ ( 25 เม.ย.65) เผยปัจจุบันมูลค่าตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลทั่วโลกอยู่ที่ 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ ซื้อขายต่อวัน 88.05 พันล้านดอลลาร์ พบว่าจำนวนบัญชีที่มีการเคลื่อนไหว (Active) ลดลงโดย เม.ย. จำนวนบัญชีทั้งหมด 4.05 แสนบัญชี ทยอยลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ ม.ค.ที่ 6.82 แสนบัญชี
วันที่ 30 เมษายน 2565 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เผยว่า ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลทั่วโลกมีมูลค่าตาม Market cap. หรือ มูลค่าตามราคาตลาด อยู่ที่ประมาณ 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีมูลค่าการซื้อขายล่าสุดอยู่ที่ 88.05 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อวัน
ในปี 2565 มูลค่าซื้อขายสะสมแยกประเภทสินทรัพย์พบว่าค่อนข้างกระจายตัว นำโดยธีเทอร์ (Tether) มีมูลค่าซื้อขายอยู่ที่ 5.91 หมื่นล้านบาทตามด้วยบิตคอยน์ (Bitcoin) ที่ 5.15% และกาล่า (GALA) ที่ 3.59% ตามลำดับ (ข้อมูล ณ 25 เม.ย.65)
ทั้งนี้พบว่าสินทรัพย์ดิจิทัลที่ผลตอบแทนติดลบมากที่สุดนำโดย เหรียญคับ(KUB) -32.75% ตามด้วยอีเธอเรียม -21.60% นอกจากนี้ XRP และบิตคอยน์ยังคงติดลบ -17.26% และ -13.06%
อย่างไรก็ตามถ่านหิน (Coal) ยังคงให้ผลตอบแทนสูงสุดตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 88.74% ตามด้วยน้ำมัน (Oil) 32.58% และอะลูมิเนียม (Aluminium) ที่ 8.39% ส่วนทองคำ 4.59% ส่วนดัชนีหุ้นไทย (SET) อยู่ที่ 0.30%
ทั้งนี้พบว่ามูลค่าซื้อขายทั้งหมดมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่เดือนพ.ย.64 ขณะที่ในเดือนเม.ย. (ณ 25 เม.ย.65) มีมูลค่าการซื้อขายอยู่ที่ 1.17 แสนล้านบาท
ขณะที่จำนวนบัญชีที่มีการเคลื่อนไหว (Active) ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือน ม.ค. ที่เคยมีจำนวนบัญชีทั้งหมด 6.82 แสนบัญชี โดยในเดือนเม.ย.( ณ 25 เม.ย.65 ) มีจำนวนบัญชีทั้งหมดอยู่ที่ 4.05 แสนบัญชี
นอกจากนี้พบว่านิติบุคคลต่างชาติเริ่มเป็นผู้ซื้อหลักในตลาดดิจิทัลไทยในเดือนมี.ค.ต่อเนื่องมาจนถึงเม.ย.ที่นิติบุคคลต่างชาติมียอดซื้อสุทธิทั้งสิ้น 1.7 หมื่นล้านบาท ขณะที่บุคคลธรรมดาในประเทศมียอดซื้อสุทธิอยู่ที่ 8 พันล้านบาท และบุคคลธรรมดาต่างชาติขายสุทธิมากสุดที่ 2.5 หมื่นล้านบาท
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 48
บิทคับ ประกาศงบรายได้ 5 พันล้าน กำไร 2 พันล้าน
ทุกคนน่าจะสงสัยว่าบิทคับมีรายได้เท่าไร
ถึงได้มีเงินซื้อโฆษณาไปทุกหนทุกแห่ง
ล่าสุด งบการเงินปี 2564
บิทคับ ออนไลน์ มีรายได้ 5,509 ล้านบาท
กำไร 2,545 ล้านบาท
(เสียภาษี 719 ล้านบาท)
ถ้ามูลค่าที่ P/E 10 เท่า ก็คือ 25,450 ล้านบาท
20 เท่า 50,900 ล้านบาท
ราคาที่ SCB จะซื้อคือ 35,000 ล้านบาท หรือก็คือ 13.7 เท่าของกำไรปี 2564
บิทคอยน์อาจจะเปลี่ยนอนาคตของใครหลายคน
และหนึ่งในคนที่เปลี่ยนมากที่สุด ก็น่าจะเป็น บิทคับ..
ถ้าให้คำนวณกลับ รายได้ 5,166 ล้านบาท ที่ค่าธรรมเนียม 0.25% แปลว่าปีที่แล้วมีคนซื้อในขายในบิทคับประมาณ 2,000,000,000,000 บาท หรืออ่านว่า 2 ล้านล้านบาท กว่า 10% ของ GDP ไทย เลยทีเดียว..
ทุกคนน่าจะสงสัยว่าบิทคับมีรายได้เท่าไร
ถึงได้มีเงินซื้อโฆษณาไปทุกหนทุกแห่ง
ล่าสุด งบการเงินปี 2564
บิทคับ ออนไลน์ มีรายได้ 5,509 ล้านบาท
กำไร 2,545 ล้านบาท
(เสียภาษี 719 ล้านบาท)
ถ้ามูลค่าที่ P/E 10 เท่า ก็คือ 25,450 ล้านบาท
20 เท่า 50,900 ล้านบาท
ราคาที่ SCB จะซื้อคือ 35,000 ล้านบาท หรือก็คือ 13.7 เท่าของกำไรปี 2564
บิทคอยน์อาจจะเปลี่ยนอนาคตของใครหลายคน
และหนึ่งในคนที่เปลี่ยนมากที่สุด ก็น่าจะเป็น บิทคับ..
ถ้าให้คำนวณกลับ รายได้ 5,166 ล้านบาท ที่ค่าธรรมเนียม 0.25% แปลว่าปีที่แล้วมีคนซื้อในขายในบิทคับประมาณ 2,000,000,000,000 บาท หรืออ่านว่า 2 ล้านล้านบาท กว่า 10% ของ GDP ไทย เลยทีเดียว..
แนบไฟล์
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 49
ซื้ออนาคตหรือบ่อนการพนัน? : Sondhitalk EP135
อภิมหาดีล SCBX – บิทคับ ความเสี่ยง ได้คุ้มเสียหรือไม่?
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 50
บิทคับฯฟาดกำไรพุ่งกระฉูด 2.5 พันลบ.ปี 64 รายได้ค่าธรรมเนียมกว่า 5 พันลบ.
01/05/2022 16:21
”บิทคับ ออนไลน์”โตก้าวกระโดดไกล ปี 64 โกยกำไรสูงลิ่ว 2.5 พันล้านบาท เร่งตัวขึ้นกว่า 1 พันล้านบาทในไตรมาส 4 เทียบกับ 9 เดือนทำได้จำนวน 1,533 ล้านบาท ที่ประกาศตอนเสนอขายหุ้น 51% ให้ SCB มูลค่าเบื้องต้น 17,850 ล้านบาท บริษัทมีรายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการถึง 5,166.76 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,840.88 ล้านบาทหรือ 1,485.48%จากปีก่อน
บริษัท บิทคับ ออนไลน์ เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานประจำปี 2564 ว่า มีกำไรสุทธิ 2,545.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากถึง 2,465.5 ล้านบาท หรือจำนวน 3,084.96% เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2563 ที่มีกำไรสุทธิ 79.92 ล้านบาท โดยมาจากรายได้รวมจำนวน 5,509.91 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,179.32 ล้านบาท คิดเป็นประมาณ 1,566.69% จากปี 2563 ที่ทำได้ จำนวน 330.59 ล้านบาท
ในปี 2564 บริษัทฯมีรายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการจำนวน 5,166.76 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,840.88 ล้านบาท คิดเป็น 1,485.48 % เทียบกับปีก่อนที่มีจำนวน 325.88 ล้านบาท และมีรายได้อื่นๆ 343.15 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนมีเพียง 4.69 ล้านบาท ขณะที่มีค่าใช้จ่ายรวม 2,244.29 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,017.39 ล้านบาท หรือ 889.11 % เทียบกับจำนวน 226.90 ล้านบาท
ธนาคารไทยพาณิชย์ ปัจจุบันเป็นบริษัท เอสซีบี เอกซ์ (SCB) ประกาศว่าจะเข้าซื้อหุ้นบิทคับ ออนไลน์ จำนวน 51% ของทุนชำระแล้ว มูลค่ารวม 17,850 ล้านบาท ส่วนหนึ่งพิจารณาจากผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนปี 2564 มีกำไรสุทธิ 1,533 ล้านบาท รายได้รวม 3,279 ล้านบาท จากส่วนแบ่งตลาดประมาณ 92% คิดเป็นมูลค่าการซื้อขายรวม 1.03 ล้านล้านบาท ปี 2563 กำไรสุทธิ 79.91 บาท และปี 2562 ขาดทุนสุทธิ 14.52 ล้านบาท
01/05/2022 16:21
”บิทคับ ออนไลน์”โตก้าวกระโดดไกล ปี 64 โกยกำไรสูงลิ่ว 2.5 พันล้านบาท เร่งตัวขึ้นกว่า 1 พันล้านบาทในไตรมาส 4 เทียบกับ 9 เดือนทำได้จำนวน 1,533 ล้านบาท ที่ประกาศตอนเสนอขายหุ้น 51% ให้ SCB มูลค่าเบื้องต้น 17,850 ล้านบาท บริษัทมีรายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการถึง 5,166.76 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,840.88 ล้านบาทหรือ 1,485.48%จากปีก่อน
บริษัท บิทคับ ออนไลน์ เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานประจำปี 2564 ว่า มีกำไรสุทธิ 2,545.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากถึง 2,465.5 ล้านบาท หรือจำนวน 3,084.96% เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2563 ที่มีกำไรสุทธิ 79.92 ล้านบาท โดยมาจากรายได้รวมจำนวน 5,509.91 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,179.32 ล้านบาท คิดเป็นประมาณ 1,566.69% จากปี 2563 ที่ทำได้ จำนวน 330.59 ล้านบาท
ในปี 2564 บริษัทฯมีรายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการจำนวน 5,166.76 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,840.88 ล้านบาท คิดเป็น 1,485.48 % เทียบกับปีก่อนที่มีจำนวน 325.88 ล้านบาท และมีรายได้อื่นๆ 343.15 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนมีเพียง 4.69 ล้านบาท ขณะที่มีค่าใช้จ่ายรวม 2,244.29 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,017.39 ล้านบาท หรือ 889.11 % เทียบกับจำนวน 226.90 ล้านบาท
ธนาคารไทยพาณิชย์ ปัจจุบันเป็นบริษัท เอสซีบี เอกซ์ (SCB) ประกาศว่าจะเข้าซื้อหุ้นบิทคับ ออนไลน์ จำนวน 51% ของทุนชำระแล้ว มูลค่ารวม 17,850 ล้านบาท ส่วนหนึ่งพิจารณาจากผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนปี 2564 มีกำไรสุทธิ 1,533 ล้านบาท รายได้รวม 3,279 ล้านบาท จากส่วนแบ่งตลาดประมาณ 92% คิดเป็นมูลค่าการซื้อขายรวม 1.03 ล้านล้านบาท ปี 2563 กำไรสุทธิ 79.91 บาท และปี 2562 ขาดทุนสุทธิ 14.52 ล้านบาท
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 51
ก.ล.ต.สั่งปรับ’บิทคับ’ 2.53 ล้านบาท ยังไม่รวมจ่ายรายวัน รับจดเหรียญผิดเกณฑ์
05/05/2022 19:35
คณะกรรมการเปรียบเทียบสั่งปรับ”บิทคับ ออนไลน์”เบื้องต้น 2.53 ล้านบาท แถมปรับรายวันจนกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้อง หลังพบบอร์ดรับจดทะเบียน Bitkub Coin (เหรียญ KUB) เข้าซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และไม่คำนึงถึงมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (COI)
รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 5 พ.ค.2565 คณะกรรมการเปรียบเทียบสั่งบริษัท บิทคับ ออนไลน์ เป็นเงิน 2,533,500 บาท ในการจดทะเบียน Bitkub Coin (เหรียญ KUB) เข้าซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท บิทคับ ออนไลน์
ทั้งนี้คณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลพิจารณาและมีมติอนุมัติเหรียญ KUB เข้าซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกและเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และไม่ได้คำนึงถึงมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (COI)
คณะกรรมการเปรียบเทียบได้กำหนดค่าปรับรายวันจนกว่าบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จะปฏิบัติในเรื่องที่ฝ่าฝืนกฎหมายให้ถูกต้องภายในกำหนดเวลา
05/05/2022 19:35
คณะกรรมการเปรียบเทียบสั่งปรับ”บิทคับ ออนไลน์”เบื้องต้น 2.53 ล้านบาท แถมปรับรายวันจนกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้อง หลังพบบอร์ดรับจดทะเบียน Bitkub Coin (เหรียญ KUB) เข้าซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และไม่คำนึงถึงมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (COI)
รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 5 พ.ค.2565 คณะกรรมการเปรียบเทียบสั่งบริษัท บิทคับ ออนไลน์ เป็นเงิน 2,533,500 บาท ในการจดทะเบียน Bitkub Coin (เหรียญ KUB) เข้าซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท บิทคับ ออนไลน์
ทั้งนี้คณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลพิจารณาและมีมติอนุมัติเหรียญ KUB เข้าซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกและเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และไม่ได้คำนึงถึงมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (COI)
คณะกรรมการเปรียบเทียบได้กำหนดค่าปรับรายวันจนกว่าบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จะปฏิบัติในเรื่องที่ฝ่าฝืนกฎหมายให้ถูกต้องภายในกำหนดเวลา
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 52
ราคา KUB ร่วงหนักกว่า 19% หลังก.ล.ต.สั่งปรับบอร์ด "บิทคับ" เลือกเหรียญเข้ากระดานเทรดผิดหลักเกณฑ์
เผยแพร่: 6 พ.ค. 2565 11:47 ปรับปรุง: 6 พ.ค. 2565 11:47 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
ราคาเหรียญ Bitkub Coin (KUB) ร่วงแรงกว่า 19% หลัง ก.ล.ต. ประกาศเปรียบเทียบปรับ คณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด จำนวน 5 ราย เหตุพิจารณาคัดเลือกเหรียญ KUB เข้ากระดานเทรดไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และไม่ได้คำนึงถึงมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (COI)
รายงานข่าวจาก CoinMarketCap แจ้งว่า นักลงทุนเทขายเหรียญ Bitkub Coin (KUB) ออกมาอย่างต่อเนื่อง หลังสำนักงาน ก.ล.ต. เปรียบเทียบปรับบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด และคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทจำนวน 5 ราย เหตุพิจารณาคัดเลือกเหรียญ KUB เข้ากระดานเทรดไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และไม่ได้คำนึงถึงมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (COI)
โดยณ เวลา 11.35 น. ราคาปรับตัวลดลงแตะที่ระดับ 144.30 บาท ลดลง 19.46%
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ออกประกาศเปรียบเทียบปรับคณะกรรมการบริหาร บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ("BO") จำนวน 6 รายใน ฐานความผิดต่างๆ ได้แก่ 1.นายนิธิวัฒน์ มณีสินธุ์ 2.นายสุกฤษฏิ์ พุทธวิริยะ 3.นายปิยพงษ์ โคตรชนะ 4.นายพงศกร สุตันตยาวลี 5.นายอรรถกฤต ชิมผลาพิบูลย์ และ 6.บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ซึ่งบุคคลทั้ง 5 ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (BO) โดยมีความผิดตามมาตรา 94 / พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งคณะกรรมการทั้ง 5 รายดังกล่าวนั้น มีหน้าที่รับผิดชอบในการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะนำมาให้บริการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ("BO") แต่ได้กระทำการหรือละเว้นกระทำการอันเป็นหน้าที่พึงต้องกระทำ เป็นเหตุให้ BO คัดเลือก Bitkub Coin (เหรียญ KUB) เข้าซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกและเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. อีกทั้งไม่ได้คำนึงถึงมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (COI) ซึ่งทาง ก.ล.ต. ได้ดำเนินการมีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 9/2565 โดยปรับเป็นเงินรายละ 2,533,500.00 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 15,201,000 บาท
โดยคณะกรรมการเปรียบเทียบได้กำหนดค่าปรับรายวันจนกว่าบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด จะปฏิบัติในเรื่องที่ฝ่าฝืนกฎหมายให้ถูกต้อง
เผยแพร่: 6 พ.ค. 2565 11:47 ปรับปรุง: 6 พ.ค. 2565 11:47 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
ราคาเหรียญ Bitkub Coin (KUB) ร่วงแรงกว่า 19% หลัง ก.ล.ต. ประกาศเปรียบเทียบปรับ คณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด จำนวน 5 ราย เหตุพิจารณาคัดเลือกเหรียญ KUB เข้ากระดานเทรดไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และไม่ได้คำนึงถึงมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (COI)
รายงานข่าวจาก CoinMarketCap แจ้งว่า นักลงทุนเทขายเหรียญ Bitkub Coin (KUB) ออกมาอย่างต่อเนื่อง หลังสำนักงาน ก.ล.ต. เปรียบเทียบปรับบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด และคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทจำนวน 5 ราย เหตุพิจารณาคัดเลือกเหรียญ KUB เข้ากระดานเทรดไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และไม่ได้คำนึงถึงมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (COI)
โดยณ เวลา 11.35 น. ราคาปรับตัวลดลงแตะที่ระดับ 144.30 บาท ลดลง 19.46%
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ออกประกาศเปรียบเทียบปรับคณะกรรมการบริหาร บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ("BO") จำนวน 6 รายใน ฐานความผิดต่างๆ ได้แก่ 1.นายนิธิวัฒน์ มณีสินธุ์ 2.นายสุกฤษฏิ์ พุทธวิริยะ 3.นายปิยพงษ์ โคตรชนะ 4.นายพงศกร สุตันตยาวลี 5.นายอรรถกฤต ชิมผลาพิบูลย์ และ 6.บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ซึ่งบุคคลทั้ง 5 ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (BO) โดยมีความผิดตามมาตรา 94 / พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งคณะกรรมการทั้ง 5 รายดังกล่าวนั้น มีหน้าที่รับผิดชอบในการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะนำมาให้บริการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ("BO") แต่ได้กระทำการหรือละเว้นกระทำการอันเป็นหน้าที่พึงต้องกระทำ เป็นเหตุให้ BO คัดเลือก Bitkub Coin (เหรียญ KUB) เข้าซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกและเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. อีกทั้งไม่ได้คำนึงถึงมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (COI) ซึ่งทาง ก.ล.ต. ได้ดำเนินการมีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 9/2565 โดยปรับเป็นเงินรายละ 2,533,500.00 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 15,201,000 บาท
โดยคณะกรรมการเปรียบเทียบได้กำหนดค่าปรับรายวันจนกว่าบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด จะปฏิบัติในเรื่องที่ฝ่าฝืนกฎหมายให้ถูกต้อง
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 53
ก.ล.ต.ลงดาบปรับ Bitkub และบอร์ดอ่วม 15 ล้านบาท เหตุคัดเลือกเหรียญ KUB เข้ากระดานเทรดไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์
เผยแพร่: 5 พ.ค. 2565 22:01 ปรับปรุง: 5 พ.ค. 2565 22:01 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
ก.ล.ต.ประกาศเปรียบเทียบปรับคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (BO) จำนวน 5 ราย เหตุพิจารณาคัดเลือกเหรียญ KUB เข้ากระดานเทรดไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และไม่ได้คำนึงถึงมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (COI)
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ออกประกาศเปรียบเทียบปรับคณะกรรมการบริหาร บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (BO) จำนวน 6 รายใน ฐานความผิดต่างๆ ได้แก่ 1.นายนิธิวัฒน์ มณีสินธุ์ 2.นายสุกฤษฏิ์ พุทธวิริยะ 3.นายปิยพงษ์ โคตรชนะ 4.นายพงศกร สุตันตยาวลี 5.นายอรรถกฤต ชิมผลาพิบูลย์ และ 6.บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ซึ่งบุคคลทั้ง 5 ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (BO) โดยมีความผิดตามมาตรา 94 พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งคณะกรรมการทั้ง 5 รายดังกล่าวนั้นมีหน้าที่รับผิดชอบในการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะนำมาให้บริการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (BO) แต่ได้กระทำการหรือละเว้นกระทำการอันเป็นหน้าที่พึงต้องกระทำ เป็นเหตุให้ BO คัดเลือก Bitkub Coin (เหรียญ KUB) เข้าซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกและเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. อีกทั้งไม่ได้คำนึงถึงมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (COI) ซึ่งทาง ก.ล.ต. ได้ดำเนินการมีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 9/2565 โดยปรับเป็นเงินรายละ 2,533,500.00 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 15,201,000 บาท
อย่างไรก็ดี คณะกรรมการเปรียบเทียบได้กำหนดค่าปรับรายวันจนกว่าบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด จะปฏิบัติในเรื่องที่ฝ่าฝืนกฎหมายให้ถูกต้อง
ทั้งนี้ ค่าปรับที่ปรากฏดังกล่าวยังไม่รวมจำนวนค่าปรับรายวันตั้งแต่วันถัดจากวันที่เปรียบเทียบความผิดจนถึงวันที่บริษัทได้ปฏิบัติถูกต้องภายในกำหนดเวลาตามการเปรียบเทียบความผิด
เผยแพร่: 5 พ.ค. 2565 22:01 ปรับปรุง: 5 พ.ค. 2565 22:01 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
ก.ล.ต.ประกาศเปรียบเทียบปรับคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (BO) จำนวน 5 ราย เหตุพิจารณาคัดเลือกเหรียญ KUB เข้ากระดานเทรดไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และไม่ได้คำนึงถึงมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (COI)
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ออกประกาศเปรียบเทียบปรับคณะกรรมการบริหาร บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (BO) จำนวน 6 รายใน ฐานความผิดต่างๆ ได้แก่ 1.นายนิธิวัฒน์ มณีสินธุ์ 2.นายสุกฤษฏิ์ พุทธวิริยะ 3.นายปิยพงษ์ โคตรชนะ 4.นายพงศกร สุตันตยาวลี 5.นายอรรถกฤต ชิมผลาพิบูลย์ และ 6.บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ซึ่งบุคคลทั้ง 5 ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (BO) โดยมีความผิดตามมาตรา 94 พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งคณะกรรมการทั้ง 5 รายดังกล่าวนั้นมีหน้าที่รับผิดชอบในการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะนำมาให้บริการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (BO) แต่ได้กระทำการหรือละเว้นกระทำการอันเป็นหน้าที่พึงต้องกระทำ เป็นเหตุให้ BO คัดเลือก Bitkub Coin (เหรียญ KUB) เข้าซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกและเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. อีกทั้งไม่ได้คำนึงถึงมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (COI) ซึ่งทาง ก.ล.ต. ได้ดำเนินการมีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 9/2565 โดยปรับเป็นเงินรายละ 2,533,500.00 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 15,201,000 บาท
อย่างไรก็ดี คณะกรรมการเปรียบเทียบได้กำหนดค่าปรับรายวันจนกว่าบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด จะปฏิบัติในเรื่องที่ฝ่าฝืนกฎหมายให้ถูกต้อง
ทั้งนี้ ค่าปรับที่ปรากฏดังกล่าวยังไม่รวมจำนวนค่าปรับรายวันตั้งแต่วันถัดจากวันที่เปรียบเทียบความผิดจนถึงวันที่บริษัทได้ปฏิบัติถูกต้องภายในกำหนดเวลาตามการเปรียบเทียบความผิด
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 54
“บิทคับ” ยันคุณสมบัติเหรียญ KUB ตามเกณฑ์ “Listing Rule” เดินหน้าซื้อขายปกติ
“บิทคับ” เดินหน้าเทรดเหรียญ KUB ยืนยันคุณสมบัติตามเกณฑ์ Listing Rule โดยที่ผ่านมายึดมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม รวมทั้งมีการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการร่วมกับทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง
บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ออกแถลงการณ์ว่า ตามที่คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ ภายใต้พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับฯ) ได้มีคำสั่งเปรียบเทียบปรับบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด และคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทฯ กรณีการจดทะเบียนเหรียญ KUB (Bitkub Coin) เข้าซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทฯ นั้น
สำหรับตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทประกอบธุรกิจด้วยความมุ่งมั่นอย่างยิ่งในการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้องครบถ้วนตามหลักบรรษัทภิบาลและจริยธรรมทางธุรกิจ โดยในส่วนการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับเหรียญ KUB (Bitkub Coin) บริษัทพิจารณาคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะนำเข้าสู่ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลแต่ละครั้ง จากหลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule) เดียวกัน
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้พิจารณาทบทวนคุณสมบัติของเหรียญ KUB (Bitkub Coin) แล้ว และขอเรียนว่า เหรียญ KUB ยังคงมีคุณสมบัติเพียงพอและเป็นไปตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule) ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. ตามที่ได้เคยพิจารณาคัดเลือกไว้ และยังคงอยู่ในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ดำเนินการโดยบริษัทฯ ตามปกติ
พร้อมกันนี้บริษัทฯ ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มความสามารถในการดำเนินการตามขั้นตอนการพิจารณาคุณสมบัติและหลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule) ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. มาโดยตลอด โดยขอแจ้งดังต่อไปนี้
1.บริษัทฯ พิจารณาคุณสมบัติและหลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule) โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของนักลงทุนและคำนึงถึงความเสี่ยงของเหรียญเป็นสำคัญ ซึ่งบริษัทฯ ได้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเหรียญเพื่อให้นักลงทุนและประชาชนทั่วไปได้ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเหรียญก่อนการเปิดให้ซื้อขายทุกครั้ง
2.บริษัทฯ ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการปฏิบัติตามกระบวนการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing) เช่น มีการหารือกับส่วนงานที่เกี่ยวข้อง และการขอ Profile listing ID ก่อนที่จะนำเข้าสู่ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทฯ เป็นต้น เพื่อให้กระบวนการดังกล่าวเป็นไปตามหลักการและขั้นตอนที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. นอกจากนี้ หลังจากที่ได้รับทราบประเด็นข้อสังเกตจากสำนักงาน ก.ล.ต. แล้ว บริษัทฯ ได้มีการปรับปรุงการดำเนินการที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับแจ้งแล้ว
3.บริษัทฯ มีการติดตามความคืบหน้าของการพัฒนาโครงการที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลอยู่เป็นประจำ และมีการแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบผ่านช่องทางของบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ
อย่างไรก็ตามบริษัท ยืนยันว่าได้ตระหนักถึงหลักบรรษัทภิบาลมาโดยตลอด ซึ่งให้ความสำคัญและยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม โดยถือประโยชน์ของลูกค้า นักลงทุน ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายเป็นที่ตั้ง รวมทั้งมีการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการร่วมกับทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและมาตรฐานในธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ดีให้เกิดขึ้นต่อไป
“บิทคับ” เดินหน้าเทรดเหรียญ KUB ยืนยันคุณสมบัติตามเกณฑ์ Listing Rule โดยที่ผ่านมายึดมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม รวมทั้งมีการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการร่วมกับทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง
บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ออกแถลงการณ์ว่า ตามที่คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ ภายใต้พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับฯ) ได้มีคำสั่งเปรียบเทียบปรับบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด และคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทฯ กรณีการจดทะเบียนเหรียญ KUB (Bitkub Coin) เข้าซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทฯ นั้น
สำหรับตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทประกอบธุรกิจด้วยความมุ่งมั่นอย่างยิ่งในการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้องครบถ้วนตามหลักบรรษัทภิบาลและจริยธรรมทางธุรกิจ โดยในส่วนการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับเหรียญ KUB (Bitkub Coin) บริษัทพิจารณาคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะนำเข้าสู่ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลแต่ละครั้ง จากหลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule) เดียวกัน
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้พิจารณาทบทวนคุณสมบัติของเหรียญ KUB (Bitkub Coin) แล้ว และขอเรียนว่า เหรียญ KUB ยังคงมีคุณสมบัติเพียงพอและเป็นไปตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule) ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. ตามที่ได้เคยพิจารณาคัดเลือกไว้ และยังคงอยู่ในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ดำเนินการโดยบริษัทฯ ตามปกติ
พร้อมกันนี้บริษัทฯ ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มความสามารถในการดำเนินการตามขั้นตอนการพิจารณาคุณสมบัติและหลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule) ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. มาโดยตลอด โดยขอแจ้งดังต่อไปนี้
1.บริษัทฯ พิจารณาคุณสมบัติและหลักเกณฑ์การคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule) โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของนักลงทุนและคำนึงถึงความเสี่ยงของเหรียญเป็นสำคัญ ซึ่งบริษัทฯ ได้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเหรียญเพื่อให้นักลงทุนและประชาชนทั่วไปได้ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเหรียญก่อนการเปิดให้ซื้อขายทุกครั้ง
2.บริษัทฯ ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการปฏิบัติตามกระบวนการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing) เช่น มีการหารือกับส่วนงานที่เกี่ยวข้อง และการขอ Profile listing ID ก่อนที่จะนำเข้าสู่ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทฯ เป็นต้น เพื่อให้กระบวนการดังกล่าวเป็นไปตามหลักการและขั้นตอนที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. นอกจากนี้ หลังจากที่ได้รับทราบประเด็นข้อสังเกตจากสำนักงาน ก.ล.ต. แล้ว บริษัทฯ ได้มีการปรับปรุงการดำเนินการที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับแจ้งแล้ว
3.บริษัทฯ มีการติดตามความคืบหน้าของการพัฒนาโครงการที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลอยู่เป็นประจำ และมีการแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบผ่านช่องทางของบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ
อย่างไรก็ตามบริษัท ยืนยันว่าได้ตระหนักถึงหลักบรรษัทภิบาลมาโดยตลอด ซึ่งให้ความสำคัญและยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม โดยถือประโยชน์ของลูกค้า นักลงทุน ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายเป็นที่ตั้ง รวมทั้งมีการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการร่วมกับทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและมาตรฐานในธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ดีให้เกิดขึ้นต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 55
แค่ 6 เดือน “BITKUB” ถูก ก.ล.ต. เรียกค่าปรับถึง 10 ครั้ง
วันที่ 6 พฤษภาคม 2565 - 15:30 น.
ก.ล.ต.เปิดเผยข้อมูลคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ “บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด” ถูก ก.ล.ต. ลงดาบเปรียบเทียบปรับถึง 10 ครั้ง ในระยะเวลา 6 เดือน รวมเงินที่จ่ายค่าปรับ 6.69 ล้านบาท
วันที่ 6 พฤษภาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานข้อมูลการบังคับใช้กฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กรณีคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ ได้มีคำสั่งเปรียบเทียบปรับ บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ในช่วงเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 จนถึงวันที่ 5 พฤษภาคม 2565 รวมกว่า 10 ครั้ง คิดเป็นมูลค่าเงินที่ต้องจ่ายรวม 6,695,000 บาท
1.วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 มีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 1/2564 ตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ระหว่างวันที่ 5 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 24 มกราคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ยินยอมให้บุคคลที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัท เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการงาน โดยเปรียบเทียบปรับไป 190,000 บาท
2.วันที่ 21 ธันวาคม 2564 มีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 2/2564 ตามมาตรา 30 พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าในระบบที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเมื่อทำธุรกรรมเท่านั้น (cold wallet) น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าทั้งหมดที่เก็บรักษาไว้ เป็นเวลา 33 วัน โดยเปรียบเทียบปรับไป 858,000 บาท
3.วันที่ 21 ธันวาคม 2564 มีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 2/2564 ตามมาตรา 30 พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (trading rules) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยหยุดซื้อขายเหรียญดิจิทัลสกุล JFIN Coin (JFIN) และ Infinitus (INF) ชั่วคราว โดยเปรียบเทียบปรับไป 300,000 บาท
4.วันที่ 21 ธันวาคม 2564 มีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 2/2564 ตามมาตรา 30 พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ระหว่างวันที่ 8 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 7 มีนาคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล มีระบบงานในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (compliance) ไม่รัดกุมเพียงพอที่จะทำให้บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กล่าวคือ ไม่กำกับดูแลให้ฝ่ายผลิตภัณฑ์ติดตามคุณสมบัติของเหรียญดิจิทัลสกุล CTXC จึงไม่ได้ update version ของเหรียญ ทำให้เหรียญดังกล่าวที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบิทคับไม่สามารถซื้อขายได้ในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น และมีการปรับตัวของราคาผิดปกติอย่างมาก โดยเปรียบเทียบปรับไป 230,500 บาท
5. วันที่ 21 ธันวาคม 2564 มีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 2/2564 ตามมาตรา 30 พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ระหว่างวันที่ 8 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล มีระบบงานที่ช่วยเสริมสร้างและรักษากลไกการทำงานของระบบซื้อขายให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย(surveillance) ไม่รัดกุมเพียงพอที่จะทำให้บิทคับทราบธุรกรรมที่อาจเข้าข่ายเป็นการผลักดันราคาจากการแจ้งเตือนของระบบในทันที โดยเปรียบเทียบปรับไป 1,265,000 บาท
6. วันที่ 21 ธันวาคม 2564 มีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 2/2564 ตามมาตรา 30 พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2563 ถึงวันที่ 20 มกราคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (“บิทคับ”) ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล มีระบบงานที่เกี่ยวกับการรับและจัดการข้อร้องเรียน และการจัดให้มีช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า
รวมทั้งจำนวนและความรู้ความสามารถของบุคลากรไม่เหมาะสมและเพียงพอให้บิทคับประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเปรียบเทียบปรับไป 160,500 บาท
7. วันที่ 21 ธันวาคม 2564 มีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 2/2564 ตามมาตรา 30 พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ระหว่างวันที่ 6 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล มีระบบงานที่รองรับการรวบรวมและประเมินข้อมูลลูกค้าไม่เหมาะสมและเพียงพอให้บริษัท บิทคับ ประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเปรียบเทียบปรับไป 398,500 บาท
8. วันที่ 21 ธันวาคม 2564 มีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 2/2564 ตามมาตรา 30 พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ในช่วงเดือนมกราคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล รายงานเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อระบบสารสนเทศที่มีความสำคัญ ประเภทระบบหยุดชะงัก (system disruption) ต่อสำนักงานล่าช้ากว่าระยะเวลาที่ประกาศกำหนด เป็นจำนวน 6 ครั้ง โดยเปรียบเทียบปรับไป 454,000 บาท
9. วันที่ 21 ธันวาคม 2564 มีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 2/2564 ตามมาตรา 30 พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ระหว่างวันที่ 2 ถึงวันที่ 21 มกราคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล มีระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขาย ระบบรับฝากและถอนทรัพย์สิน และระบบการแสดงยอดทรัพย์สินของลูกค้า ไม่เหมาะสมและเพียงพอให้บิทคับประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ โดยเปรียบเทียบปรับไป 305,000 บาท
10. วันที่ 5 พฤษภาคม 2565 มีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 4/2565 ตามมาตรา 30 พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ในการจดทะเบียน Bitkub Coin (เหรียญ KUB) เข้าซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (“BO”) BO
โดยคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลพิจารณาและมีมติอนุมัติเหรียญ KUB เข้าซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกและเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และไม่ได้คำนึงถึงมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (COI) โดยเปรียบเทียบปรับไป 2,533,500 ล้านบาท
ทั้งนี้คณะกรรมการเปรียบเทียบได้กำหนดค่าปรับรายวันจนกว่าบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด จะปฏิบัติในเรื่องที่ฝ่าฝืนกฎหมายให้ถูกต้อง ทั้งนี้ค่าปรับที่ปรากฏดังกล่าวยังไม่รวมจำนวนค่าปรับรายวันตั้งแต่วันถัดจากวันที่เปรียบเทียบความผิดจนถึงวันที่บริษัทได้ปฏิบัติถูกต้องภายในกำหนดเวลาตามการเปรียบเทียบความผิด
หมายเหตุ เงินค่าปรับตามการเปรียบเทียบความผิดอาญา ค่าปรับทางแพ่ง และเงินชดใช้เท่ากับผลประโยชน์ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการกระทำความผิดพร้อมดอกเบี้ย สำนักงาน ก.ล.ต. นำส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
วันที่ 6 พฤษภาคม 2565 - 15:30 น.
ก.ล.ต.เปิดเผยข้อมูลคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ “บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด” ถูก ก.ล.ต. ลงดาบเปรียบเทียบปรับถึง 10 ครั้ง ในระยะเวลา 6 เดือน รวมเงินที่จ่ายค่าปรับ 6.69 ล้านบาท
วันที่ 6 พฤษภาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานข้อมูลการบังคับใช้กฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กรณีคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ ได้มีคำสั่งเปรียบเทียบปรับ บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ในช่วงเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 จนถึงวันที่ 5 พฤษภาคม 2565 รวมกว่า 10 ครั้ง คิดเป็นมูลค่าเงินที่ต้องจ่ายรวม 6,695,000 บาท
1.วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 มีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 1/2564 ตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ระหว่างวันที่ 5 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 24 มกราคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ยินยอมให้บุคคลที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัท เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการงาน โดยเปรียบเทียบปรับไป 190,000 บาท
2.วันที่ 21 ธันวาคม 2564 มีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 2/2564 ตามมาตรา 30 พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล เก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าในระบบที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเมื่อทำธุรกรรมเท่านั้น (cold wallet) น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าทั้งหมดที่เก็บรักษาไว้ เป็นเวลา 33 วัน โดยเปรียบเทียบปรับไป 858,000 บาท
3.วันที่ 21 ธันวาคม 2564 มีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 2/2564 ตามมาตรา 30 พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (trading rules) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. โดยหยุดซื้อขายเหรียญดิจิทัลสกุล JFIN Coin (JFIN) และ Infinitus (INF) ชั่วคราว โดยเปรียบเทียบปรับไป 300,000 บาท
4.วันที่ 21 ธันวาคม 2564 มีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 2/2564 ตามมาตรา 30 พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ระหว่างวันที่ 8 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 7 มีนาคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล มีระบบงานในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (compliance) ไม่รัดกุมเพียงพอที่จะทำให้บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กล่าวคือ ไม่กำกับดูแลให้ฝ่ายผลิตภัณฑ์ติดตามคุณสมบัติของเหรียญดิจิทัลสกุล CTXC จึงไม่ได้ update version ของเหรียญ ทำให้เหรียญดังกล่าวที่ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบิทคับไม่สามารถซื้อขายได้ในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น และมีการปรับตัวของราคาผิดปกติอย่างมาก โดยเปรียบเทียบปรับไป 230,500 บาท
5. วันที่ 21 ธันวาคม 2564 มีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 2/2564 ตามมาตรา 30 พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ระหว่างวันที่ 8 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล มีระบบงานที่ช่วยเสริมสร้างและรักษากลไกการทำงานของระบบซื้อขายให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย(surveillance) ไม่รัดกุมเพียงพอที่จะทำให้บิทคับทราบธุรกรรมที่อาจเข้าข่ายเป็นการผลักดันราคาจากการแจ้งเตือนของระบบในทันที โดยเปรียบเทียบปรับไป 1,265,000 บาท
6. วันที่ 21 ธันวาคม 2564 มีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 2/2564 ตามมาตรา 30 พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2563 ถึงวันที่ 20 มกราคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (“บิทคับ”) ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล มีระบบงานที่เกี่ยวกับการรับและจัดการข้อร้องเรียน และการจัดให้มีช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า
รวมทั้งจำนวนและความรู้ความสามารถของบุคลากรไม่เหมาะสมและเพียงพอให้บิทคับประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเปรียบเทียบปรับไป 160,500 บาท
7. วันที่ 21 ธันวาคม 2564 มีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 2/2564 ตามมาตรา 30 พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ระหว่างวันที่ 6 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล มีระบบงานที่รองรับการรวบรวมและประเมินข้อมูลลูกค้าไม่เหมาะสมและเพียงพอให้บริษัท บิทคับ ประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเปรียบเทียบปรับไป 398,500 บาท
8. วันที่ 21 ธันวาคม 2564 มีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 2/2564 ตามมาตรา 30 พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ในช่วงเดือนมกราคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล รายงานเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อระบบสารสนเทศที่มีความสำคัญ ประเภทระบบหยุดชะงัก (system disruption) ต่อสำนักงานล่าช้ากว่าระยะเวลาที่ประกาศกำหนด เป็นจำนวน 6 ครั้ง โดยเปรียบเทียบปรับไป 454,000 บาท
9. วันที่ 21 ธันวาคม 2564 มีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 2/2564 ตามมาตรา 30 พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ระหว่างวันที่ 2 ถึงวันที่ 21 มกราคม 2564 บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล มีระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขาย ระบบรับฝากและถอนทรัพย์สิน และระบบการแสดงยอดทรัพย์สินของลูกค้า ไม่เหมาะสมและเพียงพอให้บิทคับประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ โดยเปรียบเทียบปรับไป 305,000 บาท
10. วันที่ 5 พฤษภาคม 2565 มีคำสั่งเปรียบเทียบที่ 4/2565 ตามมาตรา 30 พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล ในการจดทะเบียน Bitkub Coin (เหรียญ KUB) เข้าซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด (“BO”) BO
โดยคณะกรรมการคัดเลือกสินทรัพย์ดิจิทัลพิจารณาและมีมติอนุมัติเหรียญ KUB เข้าซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกและเพิกถอนสินทรัพย์ดิจิทัล (Listing Rule) ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. และไม่ได้คำนึงถึงมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (COI) โดยเปรียบเทียบปรับไป 2,533,500 ล้านบาท
ทั้งนี้คณะกรรมการเปรียบเทียบได้กำหนดค่าปรับรายวันจนกว่าบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด จะปฏิบัติในเรื่องที่ฝ่าฝืนกฎหมายให้ถูกต้อง ทั้งนี้ค่าปรับที่ปรากฏดังกล่าวยังไม่รวมจำนวนค่าปรับรายวันตั้งแต่วันถัดจากวันที่เปรียบเทียบความผิดจนถึงวันที่บริษัทได้ปฏิบัติถูกต้องภายในกำหนดเวลาตามการเปรียบเทียบความผิด
หมายเหตุ เงินค่าปรับตามการเปรียบเทียบความผิดอาญา ค่าปรับทางแพ่ง และเงินชดใช้เท่ากับผลประโยชน์ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการกระทำความผิดพร้อมดอกเบี้ย สำนักงาน ก.ล.ต. นำส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 56
รางวัลบ่อนพนันดีเด่น? : Sondhitalk (ผู้เฒ่าเล่าเรื่อง) EP.136
"ดีอี-ลุงตู่" มอบรางวัล “บิทคับ” ทั้งที่ยังมีข้อครหา ปั่นเหรียญ-มอมเมาเยาวชน?
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 57
luna eclipse (ปรากฏการณ์ราหูอมจันทร์ หรือ UST กับ Luna)
เกิดเหตุการณ์ ของ stable Coin :UST ที่หลุดจากการตรึงราคา 1UST เทียบเท่ากับ 1 dollar US นั้น
มันมีหลายแง่หลายมุมในเรื่องของ Exchange คือ
เรื่องแรก คือ เมื่อ ประมาณวันที่ 12 may 2022 ถึง 13 may 2022
ราคา Luna บน Bitkub ราคาสูงกว่า Exchange อื่นๆเช่น Binance ,coinbase เป็นต้น
ปรากฏการณ์ต้องระวัง เพราะหากว่า Listed coin หรือ listed token บน Exchange มีการแตกต่างกันมาก คือ ราคา Luna บน Bitkub ยังอยู่ระดับ 300-400 บาทต่อ 1 Luna แต่ราคาใน foregin exchange นั้นไล่เป็นน้ำลงไประดับต่ำกว่า 100 บาท
อันนี้ ระวังเป็นช่องโหว่ง ที่ต้องอุด ในด้านของการทำ arbitrage ระหว่าง exchange เลยทีเดียว
จุดนี้ ต้องระวังต่อคือ เป็นช่องการโจมตรีตัว Exchange และ ค่าเงินบาทได้ด้วย
เรื่องที่สอง คือการ SP เหรียญ Luna เมื่อ 14 may 2022 ที่เปิดให้ โอนเข้าและโอนออกของ Luna เท่านั้น จนตอนประมาณ 1500 น. ถึงเปิดให้ซื้อขายอีกครั้ง ตาม Exchange ต่างประเทศที่กลับมาให้ซื้อขาย Luna ได้
อันนี้ก็ ต้องดูกันต่อไปว่า ได้ทำการกฏเกณฑ์การห้ามซื้อขายหรือเปล่า เพราะมีนักลงทุนในเหรียญคลิปโต นั้นรวมกัน ในเรื่องการหยุดห้ามซื้อขาย
เรื่องที่สามกระแสในเรื่องของ Luna และ UST อันนี้เรียกว่า อ่านกันไม่ไหวในช่วงนี้
ต้องอาศัยข้อมูล twitter เป็นหลัก เป็นช่องทางในการรับรู้ข่าวสาร
ดังนั้นที่ อีลอน ซื้อ Twitter พร้อมพันธมิตร นั้นคือ การเข้าครอบครองสื่อที่มีอิทธิพลสูงของโลกในขณะเลยทีเดียว
ส่วนจุดจบของ UST กับ Luna ยังไม่มีข้อสรุป แต่ปรากฏการณ์นี้ทำให้ stable coin ประเภทที่เป็น Algorithm ก็มีคำถามอีกครั้ง หลังจากปี 2021 ก็มีเคสของ IRON Finance เกิดขึ้น ซึ่งคราวนั้น เมืองไทยไม่มีปัญหากระทบเท่าไร
แต่รอบนี้กระทบกันเต็มๆ
ในคืนวันที่ 12 may 2022 มีการโจมตรี Stable coin ที่มี Asset หนุนหลังและเห็น Stable coin ที่ใหญ่ที่สุดคือ USDT (1USDT เท่ากับ 1 us dollar) ทำให้อยู่ที่ 1 USDT แลกได้แค่ 0.95 us dollar แต่ใช้เวลาไม่นานก็สามารถกลับมาได้
ดังนั้น โจทย์เรื่องของ Stable coin ตอนนี้ตีกลับไปอยู่ที่ ธนาคารกลางของแต่ละประเทศที่กำลังออก Stable coin ของตัวเอง ในช่วงปี 2022 นี้ นั้นเอง
ต้องศึกษาก่อการโจมตรีทั้ง UST (UST+Luna) และ USDT ไว้เลยว่า ในอนาคต มันมีอีกแน่นอน เหมือนการโจมตรีค่าเงินบาทในสมัย ต้มยำกุ้งนั้นเอง
เขียนไว้เพื่อเป็นช่องในการอ่านต่อในอนาคต
เกิดเหตุการณ์ ของ stable Coin :UST ที่หลุดจากการตรึงราคา 1UST เทียบเท่ากับ 1 dollar US นั้น
มันมีหลายแง่หลายมุมในเรื่องของ Exchange คือ
เรื่องแรก คือ เมื่อ ประมาณวันที่ 12 may 2022 ถึง 13 may 2022
ราคา Luna บน Bitkub ราคาสูงกว่า Exchange อื่นๆเช่น Binance ,coinbase เป็นต้น
ปรากฏการณ์ต้องระวัง เพราะหากว่า Listed coin หรือ listed token บน Exchange มีการแตกต่างกันมาก คือ ราคา Luna บน Bitkub ยังอยู่ระดับ 300-400 บาทต่อ 1 Luna แต่ราคาใน foregin exchange นั้นไล่เป็นน้ำลงไประดับต่ำกว่า 100 บาท
อันนี้ ระวังเป็นช่องโหว่ง ที่ต้องอุด ในด้านของการทำ arbitrage ระหว่าง exchange เลยทีเดียว
จุดนี้ ต้องระวังต่อคือ เป็นช่องการโจมตรีตัว Exchange และ ค่าเงินบาทได้ด้วย
เรื่องที่สอง คือการ SP เหรียญ Luna เมื่อ 14 may 2022 ที่เปิดให้ โอนเข้าและโอนออกของ Luna เท่านั้น จนตอนประมาณ 1500 น. ถึงเปิดให้ซื้อขายอีกครั้ง ตาม Exchange ต่างประเทศที่กลับมาให้ซื้อขาย Luna ได้
อันนี้ก็ ต้องดูกันต่อไปว่า ได้ทำการกฏเกณฑ์การห้ามซื้อขายหรือเปล่า เพราะมีนักลงทุนในเหรียญคลิปโต นั้นรวมกัน ในเรื่องการหยุดห้ามซื้อขาย
เรื่องที่สามกระแสในเรื่องของ Luna และ UST อันนี้เรียกว่า อ่านกันไม่ไหวในช่วงนี้
ต้องอาศัยข้อมูล twitter เป็นหลัก เป็นช่องทางในการรับรู้ข่าวสาร
ดังนั้นที่ อีลอน ซื้อ Twitter พร้อมพันธมิตร นั้นคือ การเข้าครอบครองสื่อที่มีอิทธิพลสูงของโลกในขณะเลยทีเดียว
ส่วนจุดจบของ UST กับ Luna ยังไม่มีข้อสรุป แต่ปรากฏการณ์นี้ทำให้ stable coin ประเภทที่เป็น Algorithm ก็มีคำถามอีกครั้ง หลังจากปี 2021 ก็มีเคสของ IRON Finance เกิดขึ้น ซึ่งคราวนั้น เมืองไทยไม่มีปัญหากระทบเท่าไร
แต่รอบนี้กระทบกันเต็มๆ
ในคืนวันที่ 12 may 2022 มีการโจมตรี Stable coin ที่มี Asset หนุนหลังและเห็น Stable coin ที่ใหญ่ที่สุดคือ USDT (1USDT เท่ากับ 1 us dollar) ทำให้อยู่ที่ 1 USDT แลกได้แค่ 0.95 us dollar แต่ใช้เวลาไม่นานก็สามารถกลับมาได้
ดังนั้น โจทย์เรื่องของ Stable coin ตอนนี้ตีกลับไปอยู่ที่ ธนาคารกลางของแต่ละประเทศที่กำลังออก Stable coin ของตัวเอง ในช่วงปี 2022 นี้ นั้นเอง
ต้องศึกษาก่อการโจมตรีทั้ง UST (UST+Luna) และ USDT ไว้เลยว่า ในอนาคต มันมีอีกแน่นอน เหมือนการโจมตรีค่าเงินบาทในสมัย ต้มยำกุ้งนั้นเอง
เขียนไว้เพื่อเป็นช่องในการอ่านต่อในอนาคต
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 58
SCBX ยังไม่ตัดสินใจซื้อ Bitkub รอผลสรุปต่อราคา มิ.ย. นี้ "ไปต่อหรือล้มดีล"
อย่าเพิ่งวางใจ ดีลของ SCBX ที่ประกาศจะเข้าซื้อ "บิทคับ ออนไลน์" สัดส่วน 51% ยังไม่มีความแน่นอน หลังบิ๊ก "เอสซีบี เอกซ์" เผยยังไม่ตัดใจจ่ายเงินซื้อเกือบ 18,000 ล้านบาท มองอาจแพงไป หลังตลาดคริปโทฯ ผันผวนหนัก รอผล Due Diligence ออก พร้อมขอต่อราคาลง เดือน มิ.ย. นี้ รู้ผลสรุปเดินหน้าต่อหรือล้มดีล
แหล่งข่าวระดับสูงจาก บมจ.เอสซีบี เอกซ์ (SCB) เปิดเผยกับทีมข่าว "SPOTLIGHT" ว่า ปัจจุบันทีมผู้บริหาร เอสซีบี เอกซ์ และที่ปรึกษาทางการเงินอยู่ระหว่างการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะและการประเมินทรัพย์สิน(Due Diligence) ของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ผู้ทำธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของประเทศไทย (Digital Asset Exchange) ซึ่งเอสซีบี เอกซ์ เคยประกาศว่าจะซื้อหุ้นสัดส่วน 51% ใน บริษัท บิทคับ ออนไลน์ ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
ที่มีมูลค่ารวมประมาณ 17,850 ล้านบาท จากบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ที่มี ท๊อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา เป็นผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารในปัจจุบัน ซึ่งทีมผู้บริหารเอสซีบี เอกซ์ และที่ปรึกษาทางการเงินจะทำการ Due Diligence เสร็จสิ้นในเดือน มิ.ย. 2565 นี้ และจะนำข้อมูลส่งต่อให้คณะกรรมการ(บอร์ด) ของ เอสซีบี เอกซ์ พิจาณาต่อไป
ดังนั้นในขณะนี้ เอสซีบี เอกซ์ ขอยืนยันว่ายังไม่ได้มีข้อสรุปตัดสินใจว่าจะซื้อหุ้น ของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ หรือไม่ เนื่องจากในการตัดสินใจเข้าลงทุนที่ใช้เงินลงทุนที่มีมูลค่าสูงมากๆ นั้่น ในขั้นตอนการดำเนินการปกติ และตามเงื่อนไขสัญญาที่ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงร่วมกันไว้ ฝั่งผู้ซื้อมีสิทธิ์จะรอผลสรุปของการทำ Due Diligence ของกิจการของ บริษัท บิทคับ ออนไลน์ ให้ออกมาก่อน
เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประกอบการตัดสินใจว่าจะซื้อ โดยพิจารณาถึงราคาที่ตกลงกันไว้ในเบื้องต้นนั้น มีความเหมาะสมกับมูลค่ากิจการและเงินลงทุนจะจ่ายไปหรือไม่ จากนั้นเมื่อได้ข้อสรุปภายในของฝั่งผู้ซื้อแล้วจากนั้นจึงจะมีการเจรจากับฝั่งผู้ขายอีกครั้ง
เนื่องจากปัจจุบันต้องยอมว่าสถานการณ์ภาพรวมของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลหรือคริปโทเคอร์เรนซีทั่วโลกมีความผันผวนสูงมาก และราคาปัจจุบันถือว่าตกลดลงมากค่อนข้างเมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงที่ประกาศดีล ดังนั้นหลังจากผลการ Due Diligence ของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ ออกมาแล้ว
"เอสซีบี เอกซ์" ขอต่อลดลงราคาซื้อ "บิทคับ ออนไลน์"
โดยทีมผู้ของบริษัท เอสซีบี เอกซ์ น่าจะมีการต่อรองเพื่อขอลดราคาซื้อหุ้นของ บิทคับ ออนไลน์ ลงจากราคาเดิมที่ตกลงกันไว้ในช่วงต้นจากฝ่ายผู้ขายเป็นตามสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปที่อธิบายไปข้างต้น รวมถึงยังต้องดูปัจจัยในด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องและขออนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลทั้่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
"ตอนนี้ เอสซีบี เอกซ์ ยังไม่ได้สรุปว่าจะซื้อ บิทคับ ออนไลน์ หรือไม่ เพราะต้องนำผลของการ Due Diligence ที่จะเสร็จในเดือน มิ.ย. นี้มาพิจารณาศึกษาให้รอบครอบก่อนเป็นขั้นตอนปกติของการทำดีลขนาดใหญ่ที่ใช้เงินลงทุนจำนวนมากที่ผู้ซื้อกับผู้ขายต้องเซ็นสัญญาเบื้องต้นไว้ก่อนเพื่อให้ฝั่งผู้ซื้อทำ Due Diligence เมื่อออกมาแล้วก็นำมาศึกษาเพื่อหาข้อสรุปตัดสินใจว่าจะซื้อตามที่เคยประกาศไว้หรืออาจไม่ซื้่อล้มดีลไปเลย
หากผลการศึกษาออกมาพบว่าดีลไม่เหมาะสมที่เราจะเข้าไปลงทุน ซึ่งสถานการณ์ตอนนี้ตลาดคริปโทเคอร์เรนซีตอนนี้ผันผวนมาและราคาลงไปค่อนข้างมากแล้ว ดังนั้นคิดว่าราคาของ บิทคับ ออนไลน์ ก็ควรจะต้องลดลงจากเดิมตามที่เคยประกาศไว้ด้วยเพราะอาจแพงไปกับสถานการณ์ตอนนี้" แหล่งข่าวกล่าวกับ SPOTLIGHT
ก่อนหน้านี้แหล่งข่าวระดับสูงที่ปรึกษาทางการเงิน(FA) เปิดเผยกับทีมข่าว "SPOTLIGHT" ว่า เอสซีบี เอกซ์ อยู่ระหว่างการเจรจาต่อรองขอลดราคาซื้อหุ้นของ บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จากราคาเดิมมูลค่ารวมประมาณ 17,850 ล้านบาท จากบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ดังนั้นส่งผลให้ดีลการเข้าลงทุนซื้อหุ้น บริษัท บิทคับ ออนไลน์ ของ SCB ต้องมีการเลื่อนจากแผนงานเดิมที่ต้องการจะปิดดีลชำระเงินค่าหุ้นและเข้าไปถือหุ้นใน บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จากกำหนดการเดิมที่จะต้องเกิดขึ้นในไตรมาส 1 ปีนี้
เนื่องจากทีมผู้บริหาร SCB ได้พยายามในการเจรจาและต้องการใช้เวลาในการต่อรองเพื่อขอลดราคาลง เพราะปัจจุบันราคาที่เคยตกลงซื้อขายไว้ถือว่าแพงมากเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ภาพตลาดคริปโทเคอเรนซี่กำลังเป็นช่วงขาลงซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและมูลค่าของกิจการของ บิทคับ ออนไลน์ที่ต้องลดลงไปด้วย
อย่าเพิ่งวางใจ ดีลของ SCBX ที่ประกาศจะเข้าซื้อ "บิทคับ ออนไลน์" สัดส่วน 51% ยังไม่มีความแน่นอน หลังบิ๊ก "เอสซีบี เอกซ์" เผยยังไม่ตัดใจจ่ายเงินซื้อเกือบ 18,000 ล้านบาท มองอาจแพงไป หลังตลาดคริปโทฯ ผันผวนหนัก รอผล Due Diligence ออก พร้อมขอต่อราคาลง เดือน มิ.ย. นี้ รู้ผลสรุปเดินหน้าต่อหรือล้มดีล
แหล่งข่าวระดับสูงจาก บมจ.เอสซีบี เอกซ์ (SCB) เปิดเผยกับทีมข่าว "SPOTLIGHT" ว่า ปัจจุบันทีมผู้บริหาร เอสซีบี เอกซ์ และที่ปรึกษาทางการเงินอยู่ระหว่างการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะและการประเมินทรัพย์สิน(Due Diligence) ของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ผู้ทำธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของประเทศไทย (Digital Asset Exchange) ซึ่งเอสซีบี เอกซ์ เคยประกาศว่าจะซื้อหุ้นสัดส่วน 51% ใน บริษัท บิทคับ ออนไลน์ ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
ที่มีมูลค่ารวมประมาณ 17,850 ล้านบาท จากบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ที่มี ท๊อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา เป็นผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารในปัจจุบัน ซึ่งทีมผู้บริหารเอสซีบี เอกซ์ และที่ปรึกษาทางการเงินจะทำการ Due Diligence เสร็จสิ้นในเดือน มิ.ย. 2565 นี้ และจะนำข้อมูลส่งต่อให้คณะกรรมการ(บอร์ด) ของ เอสซีบี เอกซ์ พิจาณาต่อไป
ดังนั้นในขณะนี้ เอสซีบี เอกซ์ ขอยืนยันว่ายังไม่ได้มีข้อสรุปตัดสินใจว่าจะซื้อหุ้น ของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ หรือไม่ เนื่องจากในการตัดสินใจเข้าลงทุนที่ใช้เงินลงทุนที่มีมูลค่าสูงมากๆ นั้่น ในขั้นตอนการดำเนินการปกติ และตามเงื่อนไขสัญญาที่ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงร่วมกันไว้ ฝั่งผู้ซื้อมีสิทธิ์จะรอผลสรุปของการทำ Due Diligence ของกิจการของ บริษัท บิทคับ ออนไลน์ ให้ออกมาก่อน
เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประกอบการตัดสินใจว่าจะซื้อ โดยพิจารณาถึงราคาที่ตกลงกันไว้ในเบื้องต้นนั้น มีความเหมาะสมกับมูลค่ากิจการและเงินลงทุนจะจ่ายไปหรือไม่ จากนั้นเมื่อได้ข้อสรุปภายในของฝั่งผู้ซื้อแล้วจากนั้นจึงจะมีการเจรจากับฝั่งผู้ขายอีกครั้ง
เนื่องจากปัจจุบันต้องยอมว่าสถานการณ์ภาพรวมของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลหรือคริปโทเคอร์เรนซีทั่วโลกมีความผันผวนสูงมาก และราคาปัจจุบันถือว่าตกลดลงมากค่อนข้างเมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงที่ประกาศดีล ดังนั้นหลังจากผลการ Due Diligence ของบริษัท บิทคับ ออนไลน์ ออกมาแล้ว
"เอสซีบี เอกซ์" ขอต่อลดลงราคาซื้อ "บิทคับ ออนไลน์"
โดยทีมผู้ของบริษัท เอสซีบี เอกซ์ น่าจะมีการต่อรองเพื่อขอลดราคาซื้อหุ้นของ บิทคับ ออนไลน์ ลงจากราคาเดิมที่ตกลงกันไว้ในช่วงต้นจากฝ่ายผู้ขายเป็นตามสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปที่อธิบายไปข้างต้น รวมถึงยังต้องดูปัจจัยในด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องและขออนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลทั้่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
"ตอนนี้ เอสซีบี เอกซ์ ยังไม่ได้สรุปว่าจะซื้อ บิทคับ ออนไลน์ หรือไม่ เพราะต้องนำผลของการ Due Diligence ที่จะเสร็จในเดือน มิ.ย. นี้มาพิจารณาศึกษาให้รอบครอบก่อนเป็นขั้นตอนปกติของการทำดีลขนาดใหญ่ที่ใช้เงินลงทุนจำนวนมากที่ผู้ซื้อกับผู้ขายต้องเซ็นสัญญาเบื้องต้นไว้ก่อนเพื่อให้ฝั่งผู้ซื้อทำ Due Diligence เมื่อออกมาแล้วก็นำมาศึกษาเพื่อหาข้อสรุปตัดสินใจว่าจะซื้อตามที่เคยประกาศไว้หรืออาจไม่ซื้่อล้มดีลไปเลย
หากผลการศึกษาออกมาพบว่าดีลไม่เหมาะสมที่เราจะเข้าไปลงทุน ซึ่งสถานการณ์ตอนนี้ตลาดคริปโทเคอร์เรนซีตอนนี้ผันผวนมาและราคาลงไปค่อนข้างมากแล้ว ดังนั้นคิดว่าราคาของ บิทคับ ออนไลน์ ก็ควรจะต้องลดลงจากเดิมตามที่เคยประกาศไว้ด้วยเพราะอาจแพงไปกับสถานการณ์ตอนนี้" แหล่งข่าวกล่าวกับ SPOTLIGHT
ก่อนหน้านี้แหล่งข่าวระดับสูงที่ปรึกษาทางการเงิน(FA) เปิดเผยกับทีมข่าว "SPOTLIGHT" ว่า เอสซีบี เอกซ์ อยู่ระหว่างการเจรจาต่อรองขอลดราคาซื้อหุ้นของ บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จากราคาเดิมมูลค่ารวมประมาณ 17,850 ล้านบาท จากบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ดังนั้นส่งผลให้ดีลการเข้าลงทุนซื้อหุ้น บริษัท บิทคับ ออนไลน์ ของ SCB ต้องมีการเลื่อนจากแผนงานเดิมที่ต้องการจะปิดดีลชำระเงินค่าหุ้นและเข้าไปถือหุ้นใน บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จากกำหนดการเดิมที่จะต้องเกิดขึ้นในไตรมาส 1 ปีนี้
เนื่องจากทีมผู้บริหาร SCB ได้พยายามในการเจรจาและต้องการใช้เวลาในการต่อรองเพื่อขอลดราคาลง เพราะปัจจุบันราคาที่เคยตกลงซื้อขายไว้ถือว่าแพงมากเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ภาพตลาดคริปโทเคอเรนซี่กำลังเป็นช่วงขาลงซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและมูลค่าของกิจการของ บิทคับ ออนไลน์ที่ต้องลดลงไปด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 59
ท๊อป จิรายุส ตอบชัด ดีล SCB-Bitkub ยังไม่เปลี่ยน มองรายใหม่ ‘กัลฟ์ ไบแนนซ์’ ช่วยขยายตลาดโตเร็วขึ้น
โดย สกุลชัย เก่งอนันตานนท์
18.05.2022
จากงานแถลงข่าวการลงนามความร่วมมือระหว่างบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (Bitkub) และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายที่จะร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้และความสามารถของบุคลากร เพื่อให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกไปสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล
ท๊อป-จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Bitkub เปิดเผยว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า โลกของเราจะเปลี่ยนไปอย่างมาก ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยได้ประโยชน์จากอุตสาหกรรมเก่าๆ แต่ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า เราควรจะพึ่งพาเศรษฐกิจดิจิทัลมากขึ้น
“ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ในอาเซียนมีคนใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 70 ล้านคน และ 9 ใน 10 คน เป็นผู้ที่จับจ่ายใช้สอยผ่านอินเทอร์เน็ต เพราะฉะนั้นเราควรจะมุ่งเป้าไปสู่การเป็นดิจิทัลฮับของอาเซียน”
พร้อมกันนี้ ท๊อป จิรายุส ยังได้เปิดเผยถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับ LUNA หรือ Terra ที่มูลค่าหายไปจำนวนมหาศาล โดยมองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าตลาดของสินทรัพย์ดิจิทัลจะกระทบไปด้วยทั้งหมด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อวงการโดยรวมในระยะสั้น อาจเรียกได้ว่าเป็น Noise และหากดูจากจำนวนคนที่เทรดโดยจับคู่กับ UST ยังมีน้อยมาก และอีกส่วนหนึ่งก็เป็นรอบวัฏจักรอยู่แล้ว ซึ่งขณะนี้เป็นช่วงที่เรียกว่า Crypto Winter
หากมองระยะยาวจะเห็นว่าบริษัทใหญ่ๆ ยังคงเตรียมพร้อมสำหรับการวางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับสินทรัพย์ดิจิทัล และในอนาคตตลาดของสินทรัพย์ดิจิทัลจะใหญ่ขึ้นมากๆ โดยจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในอีก 3-5 ปีข้างหน้า
“ในระยะสั้นคงจะเป็น Noise ที่กระทบต่อความเชื่อมั่นของคนในระยะสั้น เหมือนกับเหตุการณ์ในอดีต เช่น ช่วงเกิดรถยนต์ใหม่ๆ และชนคนตาย คนก็จะมองรถยนต์เป็น Death Machine หรือช่วงฟองสบู่อินเทอร์เน็ต คนก็สูญเสียความเชื่อมั่นต่ออินเทอร์เน็ต แต่หลังจากเหตุการณ์นั้น คนที่สามารถยืนระยะได้นานพอก็แทบจะประสบความสำเร็จมหาศาลทั้งหมด สุดท้ายความรู้และความเข้าใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุด พอทุกคนมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็จะไม่เกิดความกลัว”
ทั้งนี้ หากดูผลกระทบต่อมูลค่าตลาดคริปโตโดยรวมอาจไม่ได้มีผลกระทบมากนักเทียบกับก่อนเกิดเหตุการณ์ขึ้น และในมุมกลับกันก็เป็นเหมือนการสร้างการรับรู้ ให้คนเก่งๆ เข้ามาศึกษาและช่วยกันแก้ไขปัญหามากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การเข้ามาลงทุนในตลาดคริปโต ซึ่งทุกๆ 4 ปีที่ผ่านมาจะเกิดปีทองจากเหตุการณ์ Bitcoin Halving ราคาปรับตัวขึ้นเป็น 1,000% แต่เมื่อขึ้นแรงก็ลงแรง เพราะฉะนั้นคนที่จะเข้ามาลงทุนควรจะใช้เงินเย็น และต้องรับความผันผวนในระดับ 50-70% ให้ไหว สำหรับ Bitcoin Halving ครั้งหน้าคือปี 2567 และต้องเข้าใจว่ามันคือวัฏจักรของตลาดคริปโต
“เป็นเรื่องปกติของตลาดการเงิน เมื่อตลาดยังเล็กความผันผวนก็จะสูง เมื่อคนเริ่มเข้ามาในตลาดมากขึ้นความผันผวนก็จะลดลง ซึ่งเราเห็นได้ชัดเจนว่าความผันผวนของ Bitcoin ลดลงหากดูจากการปรับฐานในแต่ละครั้ง และเริ่มเห็นเงินทุนของนักลงทุนสถาบันไหลเข้ามามากขึ้น กฎหมายก็ชัดเจนมากขึ้น โดยรวมคือทุกคนควรเริ่มต้นจากการมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องก่อนเริ่มลงทุน”
ส่วนเรื่องของพัฒนาการของตลาดคริปโตในไทย Bitkub ยังคงเชื่อว่าตลาดจะยังขยายตัวขึ้นทุกปีในระยะนี้ และการเข้ามาของคู่แข่งที่มากขึ้น เช่น กัลฟ์ ไบแนนซ์ ที่เกิดจากการร่วมทุนระหว่าง Binance กับ GULF จะยิ่งช่วยกันส่งเสริมให้ตลาดขยายตัวได้มากขึ้น ส่วนความคืบหน้าเกี่ยวกับดีลที่ธนาคารไทยพาณิชย์เข้าซื้อ Bitkub ขณะนี้ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดใดๆ ได้
โดย สกุลชัย เก่งอนันตานนท์
18.05.2022
จากงานแถลงข่าวการลงนามความร่วมมือระหว่างบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (Bitkub) และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายที่จะร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้และความสามารถของบุคลากร เพื่อให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกไปสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล
ท๊อป-จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Bitkub เปิดเผยว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า โลกของเราจะเปลี่ยนไปอย่างมาก ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยได้ประโยชน์จากอุตสาหกรรมเก่าๆ แต่ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า เราควรจะพึ่งพาเศรษฐกิจดิจิทัลมากขึ้น
“ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ในอาเซียนมีคนใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 70 ล้านคน และ 9 ใน 10 คน เป็นผู้ที่จับจ่ายใช้สอยผ่านอินเทอร์เน็ต เพราะฉะนั้นเราควรจะมุ่งเป้าไปสู่การเป็นดิจิทัลฮับของอาเซียน”
พร้อมกันนี้ ท๊อป จิรายุส ยังได้เปิดเผยถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับ LUNA หรือ Terra ที่มูลค่าหายไปจำนวนมหาศาล โดยมองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าตลาดของสินทรัพย์ดิจิทัลจะกระทบไปด้วยทั้งหมด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อวงการโดยรวมในระยะสั้น อาจเรียกได้ว่าเป็น Noise และหากดูจากจำนวนคนที่เทรดโดยจับคู่กับ UST ยังมีน้อยมาก และอีกส่วนหนึ่งก็เป็นรอบวัฏจักรอยู่แล้ว ซึ่งขณะนี้เป็นช่วงที่เรียกว่า Crypto Winter
หากมองระยะยาวจะเห็นว่าบริษัทใหญ่ๆ ยังคงเตรียมพร้อมสำหรับการวางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับสินทรัพย์ดิจิทัล และในอนาคตตลาดของสินทรัพย์ดิจิทัลจะใหญ่ขึ้นมากๆ โดยจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในอีก 3-5 ปีข้างหน้า
“ในระยะสั้นคงจะเป็น Noise ที่กระทบต่อความเชื่อมั่นของคนในระยะสั้น เหมือนกับเหตุการณ์ในอดีต เช่น ช่วงเกิดรถยนต์ใหม่ๆ และชนคนตาย คนก็จะมองรถยนต์เป็น Death Machine หรือช่วงฟองสบู่อินเทอร์เน็ต คนก็สูญเสียความเชื่อมั่นต่ออินเทอร์เน็ต แต่หลังจากเหตุการณ์นั้น คนที่สามารถยืนระยะได้นานพอก็แทบจะประสบความสำเร็จมหาศาลทั้งหมด สุดท้ายความรู้และความเข้าใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุด พอทุกคนมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็จะไม่เกิดความกลัว”
ทั้งนี้ หากดูผลกระทบต่อมูลค่าตลาดคริปโตโดยรวมอาจไม่ได้มีผลกระทบมากนักเทียบกับก่อนเกิดเหตุการณ์ขึ้น และในมุมกลับกันก็เป็นเหมือนการสร้างการรับรู้ ให้คนเก่งๆ เข้ามาศึกษาและช่วยกันแก้ไขปัญหามากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การเข้ามาลงทุนในตลาดคริปโต ซึ่งทุกๆ 4 ปีที่ผ่านมาจะเกิดปีทองจากเหตุการณ์ Bitcoin Halving ราคาปรับตัวขึ้นเป็น 1,000% แต่เมื่อขึ้นแรงก็ลงแรง เพราะฉะนั้นคนที่จะเข้ามาลงทุนควรจะใช้เงินเย็น และต้องรับความผันผวนในระดับ 50-70% ให้ไหว สำหรับ Bitcoin Halving ครั้งหน้าคือปี 2567 และต้องเข้าใจว่ามันคือวัฏจักรของตลาดคริปโต
“เป็นเรื่องปกติของตลาดการเงิน เมื่อตลาดยังเล็กความผันผวนก็จะสูง เมื่อคนเริ่มเข้ามาในตลาดมากขึ้นความผันผวนก็จะลดลง ซึ่งเราเห็นได้ชัดเจนว่าความผันผวนของ Bitcoin ลดลงหากดูจากการปรับฐานในแต่ละครั้ง และเริ่มเห็นเงินทุนของนักลงทุนสถาบันไหลเข้ามามากขึ้น กฎหมายก็ชัดเจนมากขึ้น โดยรวมคือทุกคนควรเริ่มต้นจากการมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องก่อนเริ่มลงทุน”
ส่วนเรื่องของพัฒนาการของตลาดคริปโตในไทย Bitkub ยังคงเชื่อว่าตลาดจะยังขยายตัวขึ้นทุกปีในระยะนี้ และการเข้ามาของคู่แข่งที่มากขึ้น เช่น กัลฟ์ ไบแนนซ์ ที่เกิดจากการร่วมทุนระหว่าง Binance กับ GULF จะยิ่งช่วยกันส่งเสริมให้ตลาดขยายตัวได้มากขึ้น ส่วนความคืบหน้าเกี่ยวกับดีลที่ธนาคารไทยพาณิชย์เข้าซื้อ Bitkub ขณะนี้ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดใดๆ ได้
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: BITKUB
โพสต์ที่ 60
บ่อนดิจิทัล บทเรียนคนรุ่นใหม่!!! : Sondhitalk (ผู้เฒ่าเล่าเรื่อง) EP.138
ฟองสบู่ “บ่อนพนันดิจิทัล” บทเรียนคนรุ่นใหม่เทรดเหรียญคริปโตฯ