VI (Fundamentalist) VS. Technicalist ผมจะเลือกทางไหนดี?.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 876
- ผู้ติดตาม: 0
VI (Fundamentalist) VS. Technicalist ผมจะเลือกทางไหนดี?.
โพสต์ที่ 1
ผมเป็นสมาชิกใหม่ในห้องนี้ครับ ตอนนี้กำลังศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการลงทุนในหุ้นอยู่ เทรดมาประมาณ 2 ปีกว่าๆแล้ว
ตอนแรกก็อ่านและศึกษาทาง Fundamental แต่รู้สึกว่าไม่ประสบความสำเร็จ ก็เลยเปลี่ยนมาทาง Technical ดีขึ้นมาหน่อยครับ แต่ก็ยังไม่ถึงกับกำไรเป็นกอบเป็นกำ (ปีที่แล้วทำกำไรได้ 4%)
ตอนนี้อยากจะลองกลับมาศึกษาทาง VI อย่างเป็นจริงเป็นจังบ้าง ก็เลยมีคำถามอยากจะถามทางผู้เชี่ยวชาญทางด้าน VI นะครับ รบกวนช่วยๆกันตอบหน่อยนะครับ จะเป็นพระคุณมากเลย เพราะปัญหาพวกนี้เป็นสิ่งที่คาใจผมมากเลย
1. วิธี stop loss ของ VI มีหรือไม่ ผมเห็นหุ้นที่ยกขึ้นมาวิเคราะห์ในห้องนี้มักมีสภาพคล่องน้อยๆทั้งนั้น หากเราวิเคราะห์แล้ว หุ้นรูดลง มูลค่าเงินของเราไม่หายไปครั้งละ 20-30% เลยหรือครับ ประเภทว่ากว่าจะรู้ว่า fundamental เปลี่ยน ก็สายไปเสียแล้ว อะไรทำนองนั้น
2. ผมเคยลองเรียนรู้ทางด้านการวิเคราะห์ fundamental แล้วพบว่า การวิเคราะห์แค่งบการเงินนั้นเหมือนการวิเคราะห์ย้อนหลัง การจะมองไปข้างหน้านั้นต้องทุ่มเทเวลาอย่างมาก อาศัยแค่การอ่านข้อมูลที่บ้านคงไม่พอ คนมีงานประจำทำไม่น่าจะทำได้ดี อีกทั้งข้อมูลหลายๆอย่างก็ไม่ได้เปิดเผยให้คนทั่วไปทราบได้ง่ายๆด้วย ไม่ทราบว่าผมคิดถูกหรือไม่
3. อันนี้ถามเล่นๆนะครับ ท่านคิดว่า ถ้ามีคน 100 คนพยายามเป็น VI จะมีกี่คนที่สำเร็จ (เอาแค่ทำกำไรได้ปีละ 10% ขึ้นไปสม่ำเสมอก็พอ)
ตอนแรกก็อ่านและศึกษาทาง Fundamental แต่รู้สึกว่าไม่ประสบความสำเร็จ ก็เลยเปลี่ยนมาทาง Technical ดีขึ้นมาหน่อยครับ แต่ก็ยังไม่ถึงกับกำไรเป็นกอบเป็นกำ (ปีที่แล้วทำกำไรได้ 4%)
ตอนนี้อยากจะลองกลับมาศึกษาทาง VI อย่างเป็นจริงเป็นจังบ้าง ก็เลยมีคำถามอยากจะถามทางผู้เชี่ยวชาญทางด้าน VI นะครับ รบกวนช่วยๆกันตอบหน่อยนะครับ จะเป็นพระคุณมากเลย เพราะปัญหาพวกนี้เป็นสิ่งที่คาใจผมมากเลย
1. วิธี stop loss ของ VI มีหรือไม่ ผมเห็นหุ้นที่ยกขึ้นมาวิเคราะห์ในห้องนี้มักมีสภาพคล่องน้อยๆทั้งนั้น หากเราวิเคราะห์แล้ว หุ้นรูดลง มูลค่าเงินของเราไม่หายไปครั้งละ 20-30% เลยหรือครับ ประเภทว่ากว่าจะรู้ว่า fundamental เปลี่ยน ก็สายไปเสียแล้ว อะไรทำนองนั้น
2. ผมเคยลองเรียนรู้ทางด้านการวิเคราะห์ fundamental แล้วพบว่า การวิเคราะห์แค่งบการเงินนั้นเหมือนการวิเคราะห์ย้อนหลัง การจะมองไปข้างหน้านั้นต้องทุ่มเทเวลาอย่างมาก อาศัยแค่การอ่านข้อมูลที่บ้านคงไม่พอ คนมีงานประจำทำไม่น่าจะทำได้ดี อีกทั้งข้อมูลหลายๆอย่างก็ไม่ได้เปิดเผยให้คนทั่วไปทราบได้ง่ายๆด้วย ไม่ทราบว่าผมคิดถูกหรือไม่
3. อันนี้ถามเล่นๆนะครับ ท่านคิดว่า ถ้ามีคน 100 คนพยายามเป็น VI จะมีกี่คนที่สำเร็จ (เอาแค่ทำกำไรได้ปีละ 10% ขึ้นไปสม่ำเสมอก็พอ)
-
- Verified User
- โพสต์: 320
- ผู้ติดตาม: 0
VI (Fundamentalist) VS. Technicalist ผมจะเลือกทางไหนดี?.
โพสต์ที่ 2
1. ผมว่าแต่ละคนมีความเป็น วิไอ ไม่เท่ากัน บางคน 100% 50% 30%
เอ่อ.. ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่า วิไอ มีคัทลอสหรือเปล่า แต่รู้ว่าเขายินดีซื้อเพิ่ม เมื่อราคาลงมา หากพื้นฐานบริษัทยังดี (แต่ยังไม่ค่อยเห็น วิไอ ยินดีขายเมื่อราคาเพิ่ม ขณะพื้นฐานบริษัทดีเท่าเดิม)
2. ถูก แต่คุณต้องให้เครดิตนักวิเคราะห์ ที่ทำงานใกล้ชิดกับข้อมูลกว่าเรา บทวิเคราะห์จะมี forecast ระยะ1 ปีข้างหน้าอยู่ด้วย เอา concensus แบบให้น้ำหนักฉบับล่าๆ ผสมกับมุมมองส่วนตัวของคุณ และความรู้เทคนิคเคิลที่คุณมีอยู่
3. ไม่ทราบครับ
เอ่อ.. ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่า วิไอ มีคัทลอสหรือเปล่า แต่รู้ว่าเขายินดีซื้อเพิ่ม เมื่อราคาลงมา หากพื้นฐานบริษัทยังดี (แต่ยังไม่ค่อยเห็น วิไอ ยินดีขายเมื่อราคาเพิ่ม ขณะพื้นฐานบริษัทดีเท่าเดิม)
2. ถูก แต่คุณต้องให้เครดิตนักวิเคราะห์ ที่ทำงานใกล้ชิดกับข้อมูลกว่าเรา บทวิเคราะห์จะมี forecast ระยะ1 ปีข้างหน้าอยู่ด้วย เอา concensus แบบให้น้ำหนักฉบับล่าๆ ผสมกับมุมมองส่วนตัวของคุณ และความรู้เทคนิคเคิลที่คุณมีอยู่
3. ไม่ทราบครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1301
- ผู้ติดตาม: 0
VI (Fundamentalist) VS. Technicalist ผมจะเลือกทางไหนดี?.
โพสต์ที่ 3
ข้อ 2 ไม่ถูกมั่ง เพราะดูกราฟ ก็อยู่บนข้อมูลย้อนหลังเหมือนกัน จริงๆการวิเคราะห์ทุกประเภทก็ต้องใช้ข้อมูลย้อนหลังเพื่อเป็นฐานในการดูอนาคตนะ ไม่งั้นก็ต้องใช้ time machine นั่งไปดูอนาคตเลย
-
- ผู้ติดตาม: 0
VI (Fundamentalist) VS. Technicalist ผมจะเลือกทางไหนดี?.
โพสต์ที่ 5
2. ปัจจัยพื้นฐานมีทั้งเป็นตัวเลขและไม่เป็นตัวเลขครับ งบการเงินเป็นเพียงส่วนนิดเดียว ยังมีเรื่องอื่นๆอีก ควรหาหนังสือที่แต่งโดย peter lynch มาอ่านดูครับ ท่านแจกแจงไว้ครบทุกมิติเลย แต่ไม่ละเอียดยิบนะ เล่มแปลไทยก็ออกมาทั้งสองเล่มแล้ว
- drchatri
- Verified User
- โพสต์: 767
- ผู้ติดตาม: 0
VI (Fundamentalist) VS. Technicalist ผมจะเลือกทางไหนดี?.
โพสต์ที่ 6
ลองเข้าไปอ่านดูซิครับ รับรองว่าได้ไอเดียแน่ๆครับ
http://thai-value-investor.blogspot.com/
http://thai-value-investor.blogspot.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 1608
- ผู้ติดตาม: 0
VI (Fundamentalist) VS. Technicalist ผมจะเลือกทางไหนดี?.
โพสต์ที่ 7
ได้ 4 เปอร์เซนต์ต่อปี
ฝากธนาคารกินดอกดีกว่าไหมครับ ไม่เครียดด้วย
เซียน ๆ VI ในนี้ได้มากกว่า 20 เปอร์เซนต์กันนะครับ
ผมเป็นพวกประเภท ข ยังได้ 10+ เลย
เรื่องกราฟก็เป็นการดูย้อนหลังเหมือนกันแหละครับ
ฝากธนาคารกินดอกดีกว่าไหมครับ ไม่เครียดด้วย
เซียน ๆ VI ในนี้ได้มากกว่า 20 เปอร์เซนต์กันนะครับ
ผมเป็นพวกประเภท ข ยังได้ 10+ เลย
เรื่องกราฟก็เป็นการดูย้อนหลังเหมือนกันแหละครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 876
- ผู้ติดตาม: 0
VI (Fundamentalist) VS. Technicalist ผมจะเลือกทางไหนดี?.
โพสต์ที่ 8
โธ่ Dr.T ครับ ก็ผมเรียนท่านแล้วว่าเพิ่งหัดเทรด สองปีครึ่งเนี่ยยังคลำๆอยู่เลยครับ มาเริ่มเรียนรู้จริงไม่นานมานี้เอง ไม่หมดตัวก็เก่งแล้วครับ กับสภาพตลาดแบบสองปีที่แล้วเนี่ย
เท่าที่ศึกษาคนที่เทรดด้วย technical เก่งๆเนี่ยก็สามารถทำได้ 20% up เหมือนกันครับ
ส่วนเรื่องการดูกราฟนั้นเป็นการดูข้อมูลย้อนหลังเหมือนกันนั้นจริงๆแล้วคนที่เทรดด้วยเทคนิคนั้นจะใช้กราฟในการวางกลยุทธไปข้างหน้ามากกว่าการนั่งดูย้อนหลังครับ
เมื่อวานไปงานสัปดาห์หนังสือมา ซื้อหนังสือของ ปีเตอร์ ลินช์ กะ Common stock uncommon profit มา กะจะมาศึกษาสักหน่อยครับ
เท่าที่ศึกษาคนที่เทรดด้วย technical เก่งๆเนี่ยก็สามารถทำได้ 20% up เหมือนกันครับ
ส่วนเรื่องการดูกราฟนั้นเป็นการดูข้อมูลย้อนหลังเหมือนกันนั้นจริงๆแล้วคนที่เทรดด้วยเทคนิคนั้นจะใช้กราฟในการวางกลยุทธไปข้างหน้ามากกว่าการนั่งดูย้อนหลังครับ
เมื่อวานไปงานสัปดาห์หนังสือมา ซื้อหนังสือของ ปีเตอร์ ลินช์ กะ Common stock uncommon profit มา กะจะมาศึกษาสักหน่อยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 511
- ผู้ติดตาม: 0
VI (Fundamentalist) VS. Technicalist ผมจะเลือกทางไหนดี?.
โพสต์ที่ 9
ขอเอาใจช่วยคุณ Noonino ครับ
ซื้อหนังสือมาอ่านเลยครับ สนับสนุนๆ จะได้มีแนวทางที่ชัดเจนในการลงทุน
แนะนำให้อ่านหลายๆรอบนะครับ โดยเฉพาะ Buffet และ Lynch (อ่านรอบเดียวจะมึนเอาได้ อิอิ )
ถาอ่านง่ายหน่อยก็ ลงทุนอย่างวอร์เรน บัฟเฟตต์ที่คุณพรชัยแปล เล่มนี้อ่านง่าย เหมาะกับผู้เริ่มต้นครับ
ขอให้โชคดีในการลงทุนนะครับ
ซื้อหนังสือมาอ่านเลยครับ สนับสนุนๆ จะได้มีแนวทางที่ชัดเจนในการลงทุน
แนะนำให้อ่านหลายๆรอบนะครับ โดยเฉพาะ Buffet และ Lynch (อ่านรอบเดียวจะมึนเอาได้ อิอิ )
ถาอ่านง่ายหน่อยก็ ลงทุนอย่างวอร์เรน บัฟเฟตต์ที่คุณพรชัยแปล เล่มนี้อ่านง่าย เหมาะกับผู้เริ่มต้นครับ
ขอให้โชคดีในการลงทุนนะครับ
VI ฝึกหัด
- worapong
- Verified User
- โพสต์: 929
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI (Fundamentalist) VS. Technicalist ผมจะเลือกทางไหนดี?.
โพสต์ที่ 10
จะเลือกทางไหนดีนี่คงต้องคิดสองเรื่องนะครับคือเรื่องผลตอบแทนแล้วก็ความสบายใจ ผมเองชอบแนววีไอ แต่ก็ไม่ได้คิดว่าแนวเทคนิคเป็นเรื่องเหลวไหล ผมชอบแนววีไอเพราะผมเองทำได้ดีพอสมควร ดีกว่าฝากธนาคารครับ แล้วที่สำคัญ ผมนอนหลับทุกคืน ไม่เคยนอนม่หลับเพราะหุ้น (อาจนอนไม่หลับเพราะจิตหงุดเงี้ยวบ้างครับ หุ หุ ) แถมผมยังมีเวลามากขึ้นในการออกกำลังกาย คุยกับเพื่อน นั่งดื่มชา ฟังเพลง ไม่ต้องนั่งเฝ้าจอทั้งวัน ผมมีเพื่อนคนหนึ่งเป็นอเมริกัน สายเลือดญี่ปุ่น เค้าใช้แนวเทคนิค ได้กำไรเฉลี่ย15% ต่อปี ทำมานานแล้วครับ เค้าก็ดูมีความสุขดี ตัวท่านเป็นอย่างไรลองพิจารณาดูเองนะครับ
1.วีไอไม่ได้สตอปลอสแบบเทคนิค แต่เราจะขายถ้าเราวิเคราะห์ผิด เช่น บริษัทมันอาจดีน้อยกว่าที่คิดไว้ หรือหุ้นมันแพงเกินไป หรือพบว่าผู้บริหารตุกติกมากเกินกว่าจะรับได้ หรือเจอหุ้นใหม่ที่น่าลงทุนกว่าเดิม
2.การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานนั้นก็ไม่ได้ง่ายแค่ดูงบครับ ไม่งั้นนักบัญชีก็เป็นมหาเศรษฐีกันหมดแล้ว แต่ก็ไม่ได้ยากจนเกินไป คนที่มีเวลาไม่มากนักก็พอทำได้ครับ ขอเพียงจัดสรรเวลา เช่นวันละหนึ่งหรือสองชั่วโมง มาอ่านแล้วก็คิด ก็น่าจะทำได้แล้วครับ แล้วคุณก็สามารถคิดได้เรื่อยๆ ไม่ต้องนั่งบนโต๊ะก็ได้ บางคนอาจคิดตอนวิ่งอยู่ บางคนคิดตอนช็อปปิ้ง แต่อย่าคิดตอนขับรถนะครับ มันอันตราย ตอนอยู่กับแฟนก็ห้ามคุยแต่เรื่องหุ้นนะครับ เด๋วจะถูกงอนครับ
3.อันนี้ อย่าคิดเป็นสถิติเลยครับ การสำเร็จหรือล้มเหลว ไม่มีอะไรเกี่ยวกับสถิติเลย มันขึ้นกับตัวเรา หุ้นที่เราซื้อ แล้วก็ราคาที่เราเข้าซื้อ ความสำเร็จหรือล้มเหลว คงขึ้นกับ circle of competence ของแต่ละคนและ margin of safety ตอนที่เราเข้าซื้อมากกว่าครับ แต่ถ้าหวังแค่ 10% ผมคิดว่าถ้าคุณอดทนเพียงพอ แล้วก็ลงทุนอย่างมีเหตุผล น่าจะทำได้นะครับ เพราะว่า ผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดอยู่ราวๆ7-8% มั๊ง ถ้าคุณตัดหุ้นเน่าที่มีมากในตลาดออกไป แล้วเก็บแต่หุ้นที่พอใช้ได้เข้าพอร์ต ก็น่าจะทำได้แล้ว แต่ถ้าคุณแยกไม่ออกว่าหุ้นไหนเน่าหุ้นไหนดี อันนี้ก็ไม่ควรมาเป็นวีไอครับ เพราะนอกจากจะขาดทุนแล้ว อาจโดนภรรเมียตบตีครับ
อ้อ ผมคิดเอาเองว่าตัวเองเป็นวีไอนะครับ เพราะผมชอบวิเคราะห์แบบวีไอ แล้วผมก็ถือได้นานพอสมควร ผลตอบแทนก็พอทนไหวครับ
1.วีไอไม่ได้สตอปลอสแบบเทคนิค แต่เราจะขายถ้าเราวิเคราะห์ผิด เช่น บริษัทมันอาจดีน้อยกว่าที่คิดไว้ หรือหุ้นมันแพงเกินไป หรือพบว่าผู้บริหารตุกติกมากเกินกว่าจะรับได้ หรือเจอหุ้นใหม่ที่น่าลงทุนกว่าเดิม
2.การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานนั้นก็ไม่ได้ง่ายแค่ดูงบครับ ไม่งั้นนักบัญชีก็เป็นมหาเศรษฐีกันหมดแล้ว แต่ก็ไม่ได้ยากจนเกินไป คนที่มีเวลาไม่มากนักก็พอทำได้ครับ ขอเพียงจัดสรรเวลา เช่นวันละหนึ่งหรือสองชั่วโมง มาอ่านแล้วก็คิด ก็น่าจะทำได้แล้วครับ แล้วคุณก็สามารถคิดได้เรื่อยๆ ไม่ต้องนั่งบนโต๊ะก็ได้ บางคนอาจคิดตอนวิ่งอยู่ บางคนคิดตอนช็อปปิ้ง แต่อย่าคิดตอนขับรถนะครับ มันอันตราย ตอนอยู่กับแฟนก็ห้ามคุยแต่เรื่องหุ้นนะครับ เด๋วจะถูกงอนครับ
3.อันนี้ อย่าคิดเป็นสถิติเลยครับ การสำเร็จหรือล้มเหลว ไม่มีอะไรเกี่ยวกับสถิติเลย มันขึ้นกับตัวเรา หุ้นที่เราซื้อ แล้วก็ราคาที่เราเข้าซื้อ ความสำเร็จหรือล้มเหลว คงขึ้นกับ circle of competence ของแต่ละคนและ margin of safety ตอนที่เราเข้าซื้อมากกว่าครับ แต่ถ้าหวังแค่ 10% ผมคิดว่าถ้าคุณอดทนเพียงพอ แล้วก็ลงทุนอย่างมีเหตุผล น่าจะทำได้นะครับ เพราะว่า ผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดอยู่ราวๆ7-8% มั๊ง ถ้าคุณตัดหุ้นเน่าที่มีมากในตลาดออกไป แล้วเก็บแต่หุ้นที่พอใช้ได้เข้าพอร์ต ก็น่าจะทำได้แล้ว แต่ถ้าคุณแยกไม่ออกว่าหุ้นไหนเน่าหุ้นไหนดี อันนี้ก็ไม่ควรมาเป็นวีไอครับ เพราะนอกจากจะขาดทุนแล้ว อาจโดนภรรเมียตบตีครับ
อ้อ ผมคิดเอาเองว่าตัวเองเป็นวีไอนะครับ เพราะผมชอบวิเคราะห์แบบวีไอ แล้วผมก็ถือได้นานพอสมควร ผลตอบแทนก็พอทนไหวครับ
Noonino เขียน:ผมเป็นสมาชิกใหม่ในห้องนี้ครับ ตอนนี้กำลังศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการลงทุนในหุ้นอยู่ เทรดมาประมาณ 2 ปีกว่าๆแล้ว
ตอนแรกก็อ่านและศึกษาทาง Fundamental แต่รู้สึกว่าไม่ประสบความสำเร็จ ก็เลยเปลี่ยนมาทาง Technical ดีขึ้นมาหน่อยครับ แต่ก็ยังไม่ถึงกับกำไรเป็นกอบเป็นกำ (ปีที่แล้วทำกำไรได้ 4%)
ตอนนี้อยากจะลองกลับมาศึกษาทาง VI อย่างเป็นจริงเป็นจังบ้าง ก็เลยมีคำถามอยากจะถามทางผู้เชี่ยวชาญทางด้าน VI นะครับ รบกวนช่วยๆกันตอบหน่อยนะครับ จะเป็นพระคุณมากเลย เพราะปัญหาพวกนี้เป็นสิ่งที่คาใจผมมากเลย
1. วิธี stop loss ของ VI มีหรือไม่ ผมเห็นหุ้นที่ยกขึ้นมาวิเคราะห์ในห้องนี้มักมีสภาพคล่องน้อยๆทั้งนั้น หากเราวิเคราะห์แล้ว หุ้นรูดลง มูลค่าเงินของเราไม่หายไปครั้งละ 20-30% เลยหรือครับ ประเภทว่ากว่าจะรู้ว่า fundamental เปลี่ยน ก็สายไปเสียแล้ว อะไรทำนองนั้น
2. ผมเคยลองเรียนรู้ทางด้านการวิเคราะห์ fundamental แล้วพบว่า การวิเคราะห์แค่งบการเงินนั้นเหมือนการวิเคราะห์ย้อนหลัง การจะมองไปข้างหน้านั้นต้องทุ่มเทเวลาอย่างมาก อาศัยแค่การอ่านข้อมูลที่บ้านคงไม่พอ คนมีงานประจำทำไม่น่าจะทำได้ดี อีกทั้งข้อมูลหลายๆอย่างก็ไม่ได้เปิดเผยให้คนทั่วไปทราบได้ง่ายๆด้วย ไม่ทราบว่าผมคิดถูกหรือไม่
3. อันนี้ถามเล่นๆนะครับ ท่านคิดว่า ถ้ามีคน 100 คนพยายามเป็น VI จะมีกี่คนที่สำเร็จ (เอาแค่ทำกำไรได้ปีละ 10% ขึ้นไปสม่ำเสมอก็พอ)
margin of safety
circle of competence
waiting for the perfect pitch
circle of competence
waiting for the perfect pitch
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
VI (Fundamentalist) VS. Technicalist ผมจะเลือกทางไหนดี?.
โพสต์ที่ 11
Dr.T wrote
แค่ safe ตัวเดียวก็ฟาดไปกว่าสามเด้งแล้วนะนั่น !!!!!! 10+ มาจากไหน.....
worapong wrote
แค่ scnyl ตัวเดียวก็ซัดไปสามเด้งกว่าๆ(ทุน 18 บาทตอนนี้ 75 แถมมีเกินครึ่งพอร์ทด้วย)ต้องถือว่าสุดยอดปรมาจารย์แล้วครับ ไม่ใช่แค่พอทนไหวนะน้องรัก :lol:
อืม.......วีไอชอบถ่อมตัวกันจัง...
oh!!!! no !!!เซียน ๆ VI ในนี้ได้มากกว่า 20 เปอร์เซนต์กันนะครับ
ผมเป็นพวกประเภท ข ยังได้ 10+ เลย
แค่ safe ตัวเดียวก็ฟาดไปกว่าสามเด้งแล้วนะนั่น !!!!!! 10+ มาจากไหน.....
worapong wrote
:lovl: :lovl: :lovl: :lovl:อ้อ ผมคิดเอาเองว่าตัวเองเป็นวีไอนะครับ เพราะผมชอบวิเคราะห์แบบวีไอ แล้วผมก็ถือได้นานพอสมควร ผลตอบแทนก็พอทนไหวครับ
แค่ scnyl ตัวเดียวก็ซัดไปสามเด้งกว่าๆ(ทุน 18 บาทตอนนี้ 75 แถมมีเกินครึ่งพอร์ทด้วย)ต้องถือว่าสุดยอดปรมาจารย์แล้วครับ ไม่ใช่แค่พอทนไหวนะน้องรัก :lol:
อืม.......วีไอชอบถ่อมตัวกันจัง...
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
- Raphin Phraiwal
- Verified User
- โพสต์: 1342
- ผู้ติดตาม: 0
VI (Fundamentalist) VS. Technicalist ผมจะเลือกทางไหนดี?.
โพสต์ที่ 12
คงเป็นคุณสมบัติประการหนึ่งของการเป็น VI ครับ หรืออาจเป็นผลพลอยได้หรืออาการข้างเคียง (Side Effect) ของการเป็น VI ก็ได้ครับ :lol: (นึกถึงสโลแกนปัจจุบันของพี่หมอโหน่ง low profile @ high profit)สามัญชน เขียน:อืม.......วีไอชอบถ่อมตัวกันจัง...
อีกข้อหนึ่งที่ผมคิดได้คือคนเป็น VI มักเป็นคนที่ฝักใฝ่ธรรม อาจเป็นเพราะมองอะไรแล้ว มองถึงแก่นแท้ของสิ่งนั้นครับ
ความเห็นส่วนตัวนะครับ ผิดถูกอย่างไรก็ขออภัยด้วยครับ
รักในหลวงครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
VI (Fundamentalist) VS. Technicalist ผมจะเลือกทางไหนดี?.
โพสต์ที่ 14
น้องวรพงค์โพสต์ชัดเจนแล้วครับ
มองจากภาพใหญ่ นักลงทุนดังๆของโลก ผมยังไม่เจอ(อาจจะมี) ที่ร่ำรวยจาก ta เลย แต่ถ้าแบบใช้เหตุใช้ผล นี่พอจะมี
การเริ่มต้นเป็นสิ่งที่สำคัญนะครับ ถ้าเลือกผิดคิดจนตัวตายเลยนะครับ ต่อให้เก่งฉลาดมากๆ เลือกทางผิด ก็คงแพ้คนที่ไม่เก่งมาก แต่เลือกเดินถูกทาง
มองจากภาพใหญ่ นักลงทุนดังๆของโลก ผมยังไม่เจอ(อาจจะมี) ที่ร่ำรวยจาก ta เลย แต่ถ้าแบบใช้เหตุใช้ผล นี่พอจะมี
การเริ่มต้นเป็นสิ่งที่สำคัญนะครับ ถ้าเลือกผิดคิดจนตัวตายเลยนะครับ ต่อให้เก่งฉลาดมากๆ เลือกทางผิด ก็คงแพ้คนที่ไม่เก่งมาก แต่เลือกเดินถูกทาง
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 876
- ผู้ติดตาม: 0
VI (Fundamentalist) VS. Technicalist ผมจะเลือกทางไหนดี?.
โพสต์ที่ 15
ขอบคุณทุกท่านครับ อ่านคุณ worapong อธิบายแล้วคิดเปรียบเทียบ VI กะ Technical เหมือนเรื่องมังกรหยกครับ ก๊วยเจ๋งฝึกคัมภีร์นพยมทางด้านดี ส่วนเอี้ยคังกลับฝึกกรงเล็บกระดูกขาว ไม่ได้บอกว่า technical เป็นฝ่ายมารนะครับ แต่เปรียบเทียบว่า technical นั้นฝึกเร็วกว่า เหมือนกรงเล็บกระดูกขาวครับ
ทั้งสองวิชามีเป้าหมายเหมือนกันคือเก่งชนะคนอื่นได้ (ทำกำไรได้) แต่อยู่ที่คนใช้นั่นแหละครับว่าจะมีความสุขกับมันหรือเปล่า
ถ้าเรายึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง กำไรพอประมาณ ไม่หวังเหมือนถูกหวย ผมว่าอะไรก็ดีทั้งนั้นแหละครับ ขอให้เรามีความสุขกับมันก็พอ
จะเป็น VI กลัวอย่างเดียว ผมกลัววิเคราะห์ผิด กว่าจะรู้ว่าผิดก็ขาดทุนไป หลาย % นั่นแหละครับ เพราะวิชานี้ต้องใช้เวลากว่าจะเห็นผลครับ แหะๆๆๆ
ทั้งสองวิชามีเป้าหมายเหมือนกันคือเก่งชนะคนอื่นได้ (ทำกำไรได้) แต่อยู่ที่คนใช้นั่นแหละครับว่าจะมีความสุขกับมันหรือเปล่า
ถ้าเรายึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง กำไรพอประมาณ ไม่หวังเหมือนถูกหวย ผมว่าอะไรก็ดีทั้งนั้นแหละครับ ขอให้เรามีความสุขกับมันก็พอ
จะเป็น VI กลัวอย่างเดียว ผมกลัววิเคราะห์ผิด กว่าจะรู้ว่าผิดก็ขาดทุนไป หลาย % นั่นแหละครับ เพราะวิชานี้ต้องใช้เวลากว่าจะเห็นผลครับ แหะๆๆๆ
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 1
VI (Fundamentalist) VS. Technicalist ผมจะเลือกทางไหนดี?.
โพสต์ที่ 16
1. ไม่รู้ว่า vi จะเรียกว่า cutloss กันรึเปล่านะครับ แต่ในมุมมองผม vi จะไม่ขายหุ้นทิ้งเพราะราคาลดลงครับ แต่จะขายทิ้งเมื่อวิเคราะห์ผิด หรือไปเจอหุ้นอื่นที่ดีกว่า
2. งบการเงินเป็นการมองอดีตและปัจจุบันของบริษัท ช่วยให้เราประเมินอนาคตได้คร่าวๆ การมองอนาคตให้ได้ อาศัยการอ่านเยอะๆครับ แต่จริงๆก็ไม่น่าจะเยอะมาก ผมเองก็เจอ vi ที่ทำงานประจำเยอะแยะ แถมกำไรนี่ไม่ต้องพูดถึงเกิน 100% ก็มีให้เห็นเยอะ เพราะงั้นผมว่าเรื่องทำงานประจำไม่น่าเกี่ยว ผมเองยังเคยทิ้งหุ้นไว้เฉยๆแทบจะไม่ทำอะไรประมาณ 8 เดือน เพราะไปเรียนภาษา กลับมา port โตเพิ่มอีกหลายเท่า ใช้เวลาติดตามงบการเงินของบริษัทที่เราถือ 3 เดือนครั้งเท่านั้นเอง
3. ตอบยากครับ แต่ผมเชื่อว่าคนที่เอาดีได้จากการเป็น vi มีเยอะว่า technic ครับ เพราะผมไม่เคยคนเซียนที่รวยจริงๆจังจากการใช้ technic แต่เซียนที่เป็น vi นี่นับไม่ถ้วนครับ
2. งบการเงินเป็นการมองอดีตและปัจจุบันของบริษัท ช่วยให้เราประเมินอนาคตได้คร่าวๆ การมองอนาคตให้ได้ อาศัยการอ่านเยอะๆครับ แต่จริงๆก็ไม่น่าจะเยอะมาก ผมเองก็เจอ vi ที่ทำงานประจำเยอะแยะ แถมกำไรนี่ไม่ต้องพูดถึงเกิน 100% ก็มีให้เห็นเยอะ เพราะงั้นผมว่าเรื่องทำงานประจำไม่น่าเกี่ยว ผมเองยังเคยทิ้งหุ้นไว้เฉยๆแทบจะไม่ทำอะไรประมาณ 8 เดือน เพราะไปเรียนภาษา กลับมา port โตเพิ่มอีกหลายเท่า ใช้เวลาติดตามงบการเงินของบริษัทที่เราถือ 3 เดือนครั้งเท่านั้นเอง
3. ตอบยากครับ แต่ผมเชื่อว่าคนที่เอาดีได้จากการเป็น vi มีเยอะว่า technic ครับ เพราะผมไม่เคยคนเซียนที่รวยจริงๆจังจากการใช้ technic แต่เซียนที่เป็น vi นี่นับไม่ถ้วนครับ
การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
http://www.yoyoway.com
- worapong
- Verified User
- โพสต์: 929
- ผู้ติดตาม: 0
VI (Fundamentalist) VS. Technicalist ผมจะเลือกทางไหนดี?.
โพสต์ที่ 17
ว้าว ว้าว กำลังภายในขั้นสูงสุดแล้วครับเนี่ย อย่างนี้คงฝึกทั้งพลังเก้าเอี๊ยงแล้วก็เคลื่อนย้ายจักรวาลบวกไท้เก็กมั๊งเนี่ยyoyo เขียน:ผมเองยังเคยทิ้งหุ้นไว้เฉยๆแทบจะไม่ทำอะไรประมาณ 8 เดือน เพราะไปเรียนภาษา กลับมา port โตเพิ่มอีกหลายเท่า
ลี่ห้าย ลี่ห้าย
margin of safety
circle of competence
waiting for the perfect pitch
circle of competence
waiting for the perfect pitch
- worapong
- Verified User
- โพสต์: 929
- ผู้ติดตาม: 0
VI (Fundamentalist) VS. Technicalist ผมจะเลือกทางไหนดี?.
โพสต์ที่ 18
ท่าทางจะชอบหนังกำลังภายในนะครับเนี่ย ขอคุยเรื่องหนังกำลังภายในหน่อยแล้วกัน เพราะชอบเหมือนกัน ในเรื่องมังกรหยกมันมีสุดยอดวิชาสองขั้ว คือเก้าเอี๊ยงเป็นพลังร้อน กะเก้าอิม เป็นพลังเย็น อันที่จริงมันต้องฝึกนานทั้งคู่นะครับ แต่เก้าอิมมันมีช็อตคัท คือฝึกเฉพาะกงเล็บกระดูกขาวก่อนได้เลย แต่มันค่อนข้างฉาบฉวย กำลังภายในมันยังไม่แข็งแกร่ง แต่ถ้าฝึกเก้าอิมจนถึงขั้นสุดยอด ก็จะร้ายกาจมาก เหมือนตอนที่หลานของเอี้ยก้วยมั๊ง ออกมาช่วยพวกเตียบ่อกี้ในภาคกระบี่อิงฟ้าดาบฆ่ามังกรครับ ทั้งร้ายกาจ ทั้งรูปโฉมงดงาม
กลับมาเรื่องหุ้นต่อครับ เรื่องกลัวว่าเป็นวีไอแล้ววิเคราะห์ผิดนี่ไม่ต้องกลัวครับ เพราะวอร์เรนเองก็ผิดพลาดหลายครั้ง แต่การเป็นวีไอทำให้เราหัดคิด หัดวิเคราะห์ ถ้าเราผิดแล้วเอากลับมาคิด คราวหน้าจะไม่ผิดซ้ำเรื่องเดิม เราก็จะเก่งขึ้นทีละนิด ทีละหน่อยครับ กว่าคุณจะรู้ตัวอีกทีก็อาจสำเร็จวิทยายุทธ์ขั้นสูงแล้ว แล้วมันก็ไม่มีอะไรจะยืนยันได้ว่าแนวเทคนิคจะไม่ผิดพลาดนะครับ ลองนึกภาพดูนะครับ ถ้าคุณเล่นแบบเทคนิค สมมุติว่าซื้อขาย สัปดาห์ละครั้ง แล้วขาดทุนครั้งละห้าเปอร์เซ็นต์ ในหนึ่งปี คุณจะเหลือเงินเพียง 7% ของเงินต้น ผมไม่ได้บอกว่าคุณจะพลาดทุกครั้งนะครับ แค่ยกตัวอย่างให้ดู ถ้าอยากลองเปลี่ยนมาเป็นแนวพื้นฐานจริงๆก็อาจเริ่มโดยไม่ใช้เงินก็ได้ครับ ลองวิเคราะห์ดู แล้วจดใส่กระดาษไว้ หลังจากเวลาผ่านไป เอากลับมาดูผล ถ้าทำได้ดีกว่าแนวที่ใช้อยู่ก็ค่อยเปลี่ยน ถ้าไม่ดีขึ้นก็ใช้ของเดิมๆไปแล้วกันครับ
กลับมาเรื่องหุ้นต่อครับ เรื่องกลัวว่าเป็นวีไอแล้ววิเคราะห์ผิดนี่ไม่ต้องกลัวครับ เพราะวอร์เรนเองก็ผิดพลาดหลายครั้ง แต่การเป็นวีไอทำให้เราหัดคิด หัดวิเคราะห์ ถ้าเราผิดแล้วเอากลับมาคิด คราวหน้าจะไม่ผิดซ้ำเรื่องเดิม เราก็จะเก่งขึ้นทีละนิด ทีละหน่อยครับ กว่าคุณจะรู้ตัวอีกทีก็อาจสำเร็จวิทยายุทธ์ขั้นสูงแล้ว แล้วมันก็ไม่มีอะไรจะยืนยันได้ว่าแนวเทคนิคจะไม่ผิดพลาดนะครับ ลองนึกภาพดูนะครับ ถ้าคุณเล่นแบบเทคนิค สมมุติว่าซื้อขาย สัปดาห์ละครั้ง แล้วขาดทุนครั้งละห้าเปอร์เซ็นต์ ในหนึ่งปี คุณจะเหลือเงินเพียง 7% ของเงินต้น ผมไม่ได้บอกว่าคุณจะพลาดทุกครั้งนะครับ แค่ยกตัวอย่างให้ดู ถ้าอยากลองเปลี่ยนมาเป็นแนวพื้นฐานจริงๆก็อาจเริ่มโดยไม่ใช้เงินก็ได้ครับ ลองวิเคราะห์ดู แล้วจดใส่กระดาษไว้ หลังจากเวลาผ่านไป เอากลับมาดูผล ถ้าทำได้ดีกว่าแนวที่ใช้อยู่ก็ค่อยเปลี่ยน ถ้าไม่ดีขึ้นก็ใช้ของเดิมๆไปแล้วกันครับ
Noonino เขียน:ขอบคุณทุกท่านครับ อ่านคุณ worapong อธิบายแล้วคิดเปรียบเทียบ VI กะ Technical เหมือนเรื่องมังกรหยกครับ ก๊วยเจ๋งฝึกคัมภีร์นพยมทางด้านดี ส่วนเอี้ยคังกลับฝึกกรงเล็บกระดูกขาว ไม่ได้บอกว่า technical เป็นฝ่ายมารนะครับ แต่เปรียบเทียบว่า technical นั้นฝึกเร็วกว่า เหมือนกรงเล็บกระดูกขาวครับ
ทั้งสองวิชามีเป้าหมายเหมือนกันคือเก่งชนะคนอื่นได้ (ทำกำไรได้) แต่อยู่ที่คนใช้นั่นแหละครับว่าจะมีความสุขกับมันหรือเปล่า
ถ้าเรายึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง กำไรพอประมาณ ไม่หวังเหมือนถูกหวย ผมว่าอะไรก็ดีทั้งนั้นแหละครับ ขอให้เรามีความสุขกับมันก็พอ
จะเป็น VI กลัวอย่างเดียว ผมกลัววิเคราะห์ผิด กว่าจะรู้ว่าผิดก็ขาดทุนไป หลาย % นั่นแหละครับ เพราะวิชานี้ต้องใช้เวลากว่าจะเห็นผลครับ แหะๆๆๆ
margin of safety
circle of competence
waiting for the perfect pitch
circle of competence
waiting for the perfect pitch
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 876
- ผู้ติดตาม: 0
VI (Fundamentalist) VS. Technicalist ผมจะเลือกทางไหนดี?.
โพสต์ที่ 19
อ่า จริงๆแล้ว Technical มันไม่ได้รุนแรงขนาดนั้นหรอกครับ ถ้าหากว่าเราเทรดอย่างมีวินัย นะครับ หลักเศรษฐกิจพอเพียงเนี่ยใช้ได้เลยครับ (หลังจากเริ่มเทรดอย่างมีวินัยเนี่ย ครึ่งปีหลังมานี่ผมก็กำไรมาประมาณ 7% แล้วล่ะครับ)
แต่ผมมีความรู้สึกอยากรู้ (ไปหมด)น่ะครับ มันเหมือนคนบ้าวิชา อันโน้นก็อยากเรียน อันนี้ก็อยากเรียนน่ะครับ ก็เลยอยากลองศึกษาทาง VI ดูบ้างครับ
ไม่รู้จะฟุ้งซ่านจนธาตุไฟแตกไปซะก่อนหรือเปล่า หรือไม่ก็วิชามาตีกันเอง ถ้าอย่างนั้นคงไม่ดีแน่
แต่ผมมีความรู้สึกอยากรู้ (ไปหมด)น่ะครับ มันเหมือนคนบ้าวิชา อันโน้นก็อยากเรียน อันนี้ก็อยากเรียนน่ะครับ ก็เลยอยากลองศึกษาทาง VI ดูบ้างครับ
ไม่รู้จะฟุ้งซ่านจนธาตุไฟแตกไปซะก่อนหรือเปล่า หรือไม่ก็วิชามาตีกันเอง ถ้าอย่างนั้นคงไม่ดีแน่
-
- Verified User
- โพสต์: 2
- ผู้ติดตาม: 0
ชอบแนวคิดของ vi มากๆๆ
โพสต์ที่ 20
แต่ดันเริ่มมาฝึกวิชากำลังภายในเมื่อ 2-3 เดือนมานี้เอง...... ปริมาณกำลังภายในจึงอยู่ในขั้น.....ต่ำมาก..... อยากจะขอถามพี่ๆร่วมสำนักหน่อยค่ะ ว่าเราจะเริ่มเลือกหุ้นตัวไหนมาวิเคราะห์ และจะเริ่มยังไง....ถึงจะได้เป็นจ้าวยุทธ super rookie... เพราะหุ้นมีมากตัวจนตาลาย..... มีตะแกรงร่อนหุ้น แต่ไม่รู้ว่าจะไปเริ่มร่อนโซนไหนก่อน..... อ่ะคะ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1067
- ผู้ติดตาม: 0
VI (Fundamentalist) VS. Technicalist ผมจะเลือกทางไหนดี?.
โพสต์ที่ 21
... จุดเริ่มต้นของคนเราไม่สำคัญ
มันสำคัญที่ว่าเขาวิ่งได้เร็วแค่ไหนตะหาก ...
มันสำคัญที่ว่าเขาวิ่งได้เร็วแค่ไหนตะหาก ...
-
- Verified User
- โพสต์: 715
- ผู้ติดตาม: 0
VI (Fundamentalist) VS. Technicalist ผมจะเลือกทางไหนดี?.
โพสต์ที่ 22
ในภาคดาบมังกรหยกเนี่ย เท่าที่ผมอ่านนิยาย กับดูหนัง ไม่มีหลานเอี้ยก้วย (ในภาคนิยายไม่แน่ใจเพราะอ่านนานแล้ว) แต่พออ่านการ์ตูน ฉบับของบูรพัฒน์ มีหลานเอี้ยก้วยคือเก้าเอี๊ยงเป็นพลังร้อน กะเก้าอิม เป็นพลังเย็น อันที่จริงมันต้องฝึกนานทั้งคู่นะครับ แต่เก้าอิมมันมีช็อตคัท คือฝึกเฉพาะกงเล็บกระดูกขาวก่อนได้เลย แต่มันค่อนข้างฉาบฉวย กำลังภายในมันยังไม่แข็งแกร่ง แต่ถ้าฝึกเก้าอิมจนถึงขั้นสุดยอด ก็จะร้ายกาจมาก เหมือนตอนที่หลานของเอี้ยก้วยมั๊ง ออกมาช่วยพวกเตียบ่อกี้ในภาคกระบี่อิงฟ้าดาบฆ่ามังกรครับ ทั้งร้ายกาจ ทั้งรูปโฉมงดงาม
ไม่ทราบว่า ของคุณ worapong นี่ยึดตามในนิยายรึเปล่าครับ ที่บอกว่าเป็นหลานเอี้ยก้วย
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 876
- ผู้ติดตาม: 0
VI (Fundamentalist) VS. Technicalist ผมจะเลือกทางไหนดี?.
โพสต์ที่ 25
หลานของเอี้ยก้วยในฉบับนวนิยายก็มีครับ แต่ว่ากิมย้งไม่ได้เขียนบอกอย่างตรงๆ ถ้าจำไม่ผิดจะเป็นหญิงชุดเหลืองเข้ามาข่วยเตียบ้อกี้ ตอนท้ายๆเรื่อง ช่วยเสร็จก็ไป ไม่บอกว่าตนเองเป็นใคร แต่พูดเป็นนัยๆทำนองว่ามาจากสุสานคนเป็นครับ ซึ่งก็เป็นที่ๆเอี้ยก้วยกะเซียวเล่งนึ่งกลับไปใช้ชีวิตร่วมกันนั่นเอง เราจึงอาจจะอนุมานได้ว่าเป็นหลานของเอี้ยก้วย เพราะระยะเวลาระหว่างภาคเอี้ยก้วย กะเตียบ้อกี๋เนี่ยจะห่างกันประมาณ 90 ปีครับ
- worapong
- Verified User
- โพสต์: 929
- ผู้ติดตาม: 0
VI (Fundamentalist) VS. Technicalist ผมจะเลือกทางไหนดี?.
โพสต์ที่ 26
"รู้อะไรให้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล"nanchan เขียน:ใช้ทั้งสองอย่างไม่ได้เหรอ
อันนี้ไม่ได้หมายถึงต้องรู้แค่เรื่องเดียว แต่ต้องรู้ให้จริง จนเชี่ยวชาญ ย่อมสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์แน่นอน รู้จริงกับคิดว่ารู้จริงต่างกันมากนะครับ ถ้าคิดว่ารู้จริงทั้งๆที่ไม่ใช่ อันนี้หายนะดีๆนี่เองครับ ไม่ว่าแนวพื้นฐานหรือเทคนิค หรือวิชาชีพอื่นๆของเรา ตอนที่รู้น้อยก็อย่าทุ่มมาก ศึกษาจนเชี่ยวแล้วค่อยทุ่มก็ได้ แล้วภาษิตบทนี้ไม่รู้ว่าจริงๆแล้วเค้าเขียนแบบนี้จะถูกหรือผิดนะครับ ตอนเรียนไม่ค่อยตั้งใจเรียนครับ
"รู้อะไรก็ไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี"
อันนี้สิสุดยอด เรื่องสำคัญที่สุดในการลงทุนคือต้องเอาตัวรอดให้ได้ เพราะถ้าเอาตัวรอดไม่ได้ทุกอย่างก็ถือว่าไม่มีประโยชน์ ไม่ว่าศึกษาวิชาดีแค่ไหน ถ้าเอามาลงทุนแล้วเจ๊งตลอด อันนี้ต้องถือว่าผิด ต้องถอยมาหนึ่งก้าว คิดใหม่ ทำใหม่ ตั้งสติ แล้วเก็บสตางค์ แล้วค่อยลุยใหม่ครับ
margin of safety
circle of competence
waiting for the perfect pitch
circle of competence
waiting for the perfect pitch
-
- Verified User
- โพสต์: 1976
- ผู้ติดตาม: 0
VI (Fundamentalist) VS. Technicalist ผมจะเลือกทางไหนดี?.
โพสต์ที่ 27
การหาข้อผิดพลาดและปรับปรุงการลงทุนของตัวเองเป็นสิ่งสำคัญครับ
การเปลี่ยนทัศนคติ และช่องว่างระหว่างทัศนคติบวกกับลบควรมีช่วงพอสมควรเพื่อรองรับการตัดสินใจพลาด
สิ่งเหล่านี้ ทำได้ จะขายหมูน้อยลง การคัตลอสจะเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ไงลองพยายามดูนะครับ
การเปลี่ยนทัศนคติ และช่องว่างระหว่างทัศนคติบวกกับลบควรมีช่วงพอสมควรเพื่อรองรับการตัดสินใจพลาด
สิ่งเหล่านี้ ทำได้ จะขายหมูน้อยลง การคัตลอสจะเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ไงลองพยายามดูนะครับ
- worapong
- Verified User
- โพสต์: 929
- ผู้ติดตาม: 0
VI (Fundamentalist) VS. Technicalist ผมจะเลือกทางไหนดี?.
โพสต์ที่ 28
ตัดมาฝากครับ
Money Game : Growth VS Value
กลยุทธ์ลงทุนใน Growth stock (หุ้นเติบโตสูง) หรือ Value stock (หุ้นที่เน้นมูลค่า ในทางปัจจัยพื้นฐาน หรือ Cheap valuations) ซึ่งจะเป็นเหรียญสองด้าน ซึ่งเดินขนานกันในบางจังหวะของการลงทุน การลงทุนใน Growth stock จะให้ผลตอบแทนสูง แต่ในบางจังหวะการลงทุนใน Value stock จะให้ผลตอบแทนสูงกว่า เนื่องจากการลงทุนในหุ้นจะขึ้นอยู่กับการคาดหวัง และการคาดการณ์ (Perception) มากกว่าความเป็นจริง (Reality)
นักลงทุนที่ชาญฉลาดจะต้องคาดการณ์ที่เหนือความคาดหมายของตลาดให้ได้ (Earning surprises) และทิศทางของการปรับเปลี่ยนผลดำเนินงาน (Directions of revisions to consensus exceptions) การหาจังหวะลงทุนให้ถูกต้อง ซึ่งสามารถหาได้จาก วงจรการคาดหวังของผลกำไร (Earnings Expectations Life Cycles) ดังนี้
จากวงจรดังกล่าว นักลงทุนที่เน้น Growth (หุ้นเติบโตสูง) จะเริ่มศึกษาการลงทุนในหุ้นทันทีที่นักวิเคราะห์เริ่มปรับประมาณการกำไรขึ้น ในขณะที่นักลงทุนประเภทเน้นมูลค่าเริ่มศึกษาการลงทุนทันทีที่นักวิเคราะห์ปรับผลการดำเนินงานลง ซึ่งจะเห็นว่านักลงทุนเน้น Growth และนักลงทุนเน้นมูลค่า (Value) จัดเป็นเหรียญ 2 ด้านซึ่งเดินขนานกัน
นักลงทุนที่เน้น Growth จะต้องค้นหาหุ้นที่มี Growth Momentum คือ ผลกำไรเติบโตต่อเนื่อง เมื่อไรก็ตามที่ Growth Momentum ลดลง หุ้นนั้นจะไม่เป็นที่น่าสนใจเลย โดยปกติหุ้นที่เน้นการเติบโตจะมี 4 ประเภท คือ
หนึ่ง.. ประมาณการของผลกำไรเติบโตมาก (Projection Earnings Growth)
สอง.. การปรับผลกำไรให้สูงขึ้นของนักวิเคราะห์ในหุ้นนั้น (Upward Earning Revision)
สาม.. ผลกำไรออกมาดี และ Surprise ตลาด (Positive Earnings Surprise)
และ สี่.. หุ้นที่ผลกำไรต่อเนื่อง (Earnings Momentum) จากการศึกษาในการเคลื่อนไหวของหุ้นในอดีต ราคาหุ้นจะตอบสนองต่อกรณีที่สองและสามมากที่สุด นั่นคือ การปรับประมาณผลกำไรเพิ่มขึ้นของนักวิเคราะห์ และการที่หุ้นที่มีผลกำไรที่ Surprise นักลงทุน ในขณะที่นักลงทุนที่เน้นมูลค่า (Value) จะค้นหาหุ้นที่ถูกลืมและมีความคาดหวังต่ำ (Low expectation) เผื่อถ้ามี Earning surprise ขึ้นมา หุ้นตัวนั้นจะปรับตัวขึ้นทันที มีงานวิจัยที่ผมได้ศึกษามา ปรากฏการณ์ที่น่าสนใจดังนี้คือ หุ้นที่เน้นมูลค่า (Value stocks) จะให้ผลตอบแทนที่สูง ในสามกรณีดังนี้คือ
หนึ่ง ผลกำไรของหุ้นทั่วไปในตลาดหลักทรัพย์ดีต่อเนื่อง (Continued earnings momentum)
สอง การคาดการณ์ของดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น และ
สาม การจ่ายเงินปันผลเพิ่ม สัดส่วนรายได้ลง (Payout Ratio) อย่างเช่นหุ้นบ้านเราในช่วงสองปี (ปี พ.ศ. 2547 และปี 2548) ที่ผ่านมา หุ้นที่ P/E ต่ำจะให้ผลตอบแทนสูง ในขณะที่หุ้นเติบโตสูง (Growth stocks) จะให้ผลตอบแทนสูงในกรณีดังต่อไปนี้
หนึ่ง.. ผลกำไรของหุ้นทั่วไปในตลาดหลักทรัพย์เริ่มลดลง ทำให้หุ้นที่มีการเติบโตโดดเด่นจะได้รับความสนใจเป็นพิเศษ สอง.. การคาดการณ์ว่าดอกเบี้ยจะลดลง และการจ่ายเงินปันผลเทียบสัดส่วนของรายได้เพิ่มขึ้น (Rising Ratio)
ซึ่งเราได้เห็นปรากฏการณ์ในหุ้นบ้านเราช่วงนี้ นั่นเอง (ปี พ.ศ.2549)
margin of safety
circle of competence
waiting for the perfect pitch
circle of competence
waiting for the perfect pitch