S&P and W1 Case study

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
Bread & Butter
Verified User
โพสต์: 160
ผู้ติดตาม: 0

S&P and W1 Case study

โพสต์ที่ 1

โพสต์

Now trading at 28.75
Bread & Butter
Verified User
โพสต์: 160
ผู้ติดตาม: 0

S&P and W1 Case study

โพสต์ที่ 2

โพสต์

NP sign posted against S&P
Since Minor International Public Company Limited (MINT)
has informed the information about a Memorandum of Understanding
(MOU) with the shareholder of S & P Syndicate Public Company Limited
(S&P) to purchase ordinary shares for the Company and/or
its subsidiaries to purchase in the amount of approximately
4,000,000 ordinary shares at Baht 29 per share and
approximately 8,000,000 units of warrants at Baht 11 per unit,
collectively equivalent to approximately Baht 204,000,000
consideration and 13.67 % of paid-up capital of S&P.
The transaction is expected to complete within 14 November 2006
subject primarily to the resolution of the Company's Board of Directors.
Details follow the news of MINT on 16 October 2006.
Such Information have an impact on the structure of
shareholder and policy's the management of S&P.
However S&P has not released such information to the SET
which is material to the trading of S&P. Therefore the SET
has posted NP (Notice Pending) sign against S&P since
the first trading session of 16 October 2006 until the company
has disclosed this information to the SET and allow
such informationto be disseminated.
Bread & Butter
Verified User
โพสต์: 160
ผู้ติดตาม: 0

S&P and W1 Case study

โพสต์ที่ 3

โพสต์

วันที่ 13 ตุลาคม 2549

เรื่อง แจ้งการเข้าลงนามในบันทึกความเข้าใจในการเข้า
ลงทุนในบริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด
(มหาชน)
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)
(?บริษัท?) ขอแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าบริษัทฯ
ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกับผู้ถือหุ้นจำนวนสี่รายของ
บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) (?เอส แอนด์ พี?)
ได้แก่
1.นางภัทรา ศิลาอ่อน
2.ร้อยโท วรากร ไรวา
3.นายประเวศวุฒิ  ไรวา
4.นายขจรเดช  ไรวา

เพื่อให้บริษัทฯ และ/หรือบริษัทย่อยของบริษัทฯ เข้า
ลงทุนในหุ้นสามัญและใบสำคัญแสดงสิทธิของบริษัท บริษัท เอส
แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) โดยได้ตกลงในเบื้องต้นที่จะ
เข้าซื้อหุ้นสามัญและใบสำคัญแสดงสิทธิของเอส แอนด์ พี
แบ่งเป็นการซื้อหุ้นสามัญจำนวนประมาณ 4,000,000 หุ้น มูลค่า
หุ้นละ 29 บาท และใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะแปลงสภาพเป็นหุ้น
สามัญ จำนวนประมาณ 8,000,000 หน่วย มูลค่าหน่วยละ 11
บาท คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 204,000,000 บาท และคิดเป็น
สัดส่วนรวมประมาณร้อยละ 13.67 ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว
ในปัจจุบันของเอส แอนด์ พี โดยผู้ถือหุ้นทั้งสี่รายข้างต้นจะเป็นผู้
จัดหาหุ้นสามัญและใบสำคัญแสดงสิทธิจำนวนดังกล่าวมาเสนอ
ขายต่อบริษัทฯ และ/หรือบริษัทย่อย ทั้งนี้ การซื้อขายหุ้นสามัญ
และใบสำคัญแสดงสิทธิดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่เกินวันที่ 14
พฤศจิกายน 2549 ขึ้นอยู่กับการพิจารณาอนุมัติในขั้นสุดท้ายของ
คณะกรรมการบริษัทฯ

บริษัทฯ เชื่อมั่นว่า การลงทุนดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความ
หลากหลายของสินค้าและผลิตภัณฑ์ในธุรกิจอาหารของบริษัทฯ
ช่วยสร้างความร่วมมือระหว่างบริษัทฯ และ เอส แอนด์ พี ในการ
เพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายในด้านการจัดหาวัตถุดิบ
สำหรับธุรกิจอาหาร ซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตราผลกำไรของทั้งสองบริษัท

อนึ่ง ปัจจุบันบริษัทฯ ถือหุ้นสามัญของ เอส แอนด์ พี
ผ่านบริษัทเดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัท
ย่อยของบริษัทฯ เป็นจำนวน 4,672,900  หุ้น และใบสำคัญแสดง
สิทธิ จำนวน 758,700 หน่วย รวมคิดเป็นร้อยละ 6.18 ของทุนจด
ทะเบียนที่ชำระแล้วในปัจจุบันของ เอส แอนด์ พี และภายหลังการ
เข้าซื้อหุ้นและใบสำคัญแสดงสิทธิตามข้อตกลงข้างต้นจะทำให้
บริษัทฯ มีหุ้นสามัญจำนวน 8,672,900 หุ้น และใบสำคัญแสดง
สิทธิจำนวน 8,758,800 หน่วย รวมคิดเป็นร้อยละ 19.85 ของทุน
จดทะเบียนที่ชำระแล้ว ณ ปัจจุบัน ของ เอส แอนด์ พี

    จึงเรียนมาเพื่อทราบ



      (นางปรารถนา มโนมัยพิบูลย์)                              
     กรรมการ
beecool69
Verified User
โพสต์: 44
ผู้ติดตาม: 0

S&P and W1 Case study

โพสต์ที่ 4

โพสต์

หวังว่าจะช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของทั้งสองบริษัทนะครับ
Kao
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1257
ผู้ติดตาม: 0

S&P and W1 Case study

โพสต์ที่ 5

โพสต์

เกือบขายหมูหมดพอร์ต :oops:
โชคดีที่ทยอยขาย ไม่งั้น :'O
"Price is what you pay. Value is what you get."
teetotal
Verified User
โพสต์: 1667
ผู้ติดตาม: 0

S&P and W1 Case study

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ผมซื้อ S&P ตั้งแต่ 4 ปีที่แล้ว  :D
ไม่เคยขายเลยครับ ซื้อสะสมมาเรื่อยๆด้วยเวลาราคาตก
ปันผลดีสม่ำเสมอ ได้ปันผลมาตั้งเยอะแล้ว

กลัวแต่จะมี คู่แข่ง รายใหม่ที่จะเกิดขึ้นแล้วมาแย่งส่วนแบ่งตลาด
ถ้า minor จะมาลงทุนด้วย
ประโยชน์อันจะเกิดจาก SYNERGY การร่วมมือกัน
น่าจะเป็นผลบวกที่น่าสนใจเลยทีเดียว
Bread & Butter
Verified User
โพสต์: 160
ผู้ติดตาม: 0

S&P and W1 Case study

โพสต์ที่ 7

โพสต์

หลักทรัพย์ S&P  
 หัวข้อข่าว การรับหุ้นเพิ่มทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนเพิ่มเติม : S&P  
 วันที่/เวลา 13 ต.ค. 2549 17:05:00  
 
 
 
 การรับหุ้นเพิ่มทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนเพิ่มเติม

    ตามที่บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)(S&P)ได้ดำเนินการเพิ่มทุนจดทะเบียน
และขอให้ตลาดหลักทรัพย์รับหุ้นเพิ่มทุนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนเพิ่มเติมนั้น ตลาดหลักทรัพย์ได้พิจารณา
แล้วเห็นควรกำหนดให้หุ้นเพิ่มทุนของบริษัทดังกล่าวเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้ตั้งแต่
วันที่ 17 ตุลาคม 2549 เป็นต้นไป

ชื่อย่อ                   : S&P
ทุนจดทะเบียนที่ออกและเรียกชำระแล้ว
ทุนเดิม                  : 439,041,500 บาท (หุ้นสามัญ 87,808,300 หุ้น)
ทุนใหม่                  : 445,108,500 บาท (หุ้นสามัญ 89,021,700 หุ้น)
มูลค่าที่ตราไว้             : หุ้นละ 5 บาท
จัดสรรให้                : ผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของ S&P (S&P-W1)
                        จำนวน 1,213,400 หน่วย แปลงเป็นหุ้นสามัญจำนวน 1,213,400 หุ้น
อัตรา                   : 1 หน่วย ต่อ 1 หุ้นสามัญ
ราคาต่อหุ้น               : 18 บาท
วันจองซื้อและชำระเงินค่าหุ้น  : 29 กันยายน 2549
Bread & Butter
Verified User
โพสต์: 160
ผู้ติดตาม: 0

S&P and W1 Case study

โพสต์ที่ 8

โพสต์

กลุ่มไรวาแบ่งขายหุ้น S&P ให้ MINT จำนวน 4 ล้านหุ้น และวอร์แรนต์อีก 8 ล้านหน่วย

  บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) (S&P) ได้รับการแจ้งจากกลุ่ม
ผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้จัดตั้งบริษัทอันได้แก่นางภัทรา ศิลาอ่อน, ร้อยโทวรากร ไรวา,นายประเวศวุฒิ
ไรวา และนายขจรเดช ไรวา (?กลุ่มผู้ถือหุ้น?) ในการลงนามในบันทึกความเข้าใจ ในการ
ที่จะขายหุ้นสามัญและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญของบริษัท ให้แก่
กลุ่มบริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (?MINT?) โดยมีสาระสำคัญดัง
ต่อไปนี้

           1.  กลุ่มผู้ถือหุ้นได้ตกลงในเบื้องต้นที่จะขายหุ้นสามัญและใบสำคัญแสดงสิทธิของ
บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด(มหาชน) โดยแบ่งเป็นการขายหุ้นสามัญ จำนวนประมาณ
4,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 29 บาท และใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ
จำนวนประมาณ  8,000,000 หน่วย  มูลค่าหน่วยละ  11  บาทคิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ  204
 ล้านบาท  ซึ่งจะทำให้สัดส่วนการถือหุ้น เอส แอนด์ พีเปลี่ยนแปลงไปดังนี้

               (1)  เดิมมีหุ้นสามัญ 40,057,668 หุ้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45 ของทุนจดทะเบียน
ชำระแล้ว 89,021,700 หุ้น  มีใบสำคัญแสดงสิทธิ 8,430,615 หน่วย

               (2)  หากมีการขายหุ้นสามัญตามข้อตกลง MOU ประมาณ 4,000,000 หุ้นจะทำให้มี
หุ้นคงเหลือประมาณ 36,057,668 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40.50  ของทุนจดทะเบียนชำระ
แล้ว 89,021,700 หุ้น และหากขายใบสำคัญแสดงสิทธิจำนวน 8,000,000หน่วย จะเหลือประมาณ
 430,615 หน่วย

               (3)  หากกลุ่ม MINT มีการใช้สิทธิใบสำคัญแสดงสิทฺธิจำนวน8,758,800 หน่วย พร้อม
ทั้งรายการตามข้อ(2)และรวมกับ หุ้นสามัญจำนวน 4,672,900 หุ้นแล้ว จะทำให้กลุ่มผู้ถือหุ้นจัด
ตั้งบริษัท มีสัดส่วนการถือหุ้นเป็นร้อยละ  36.88 เทียบจากทุนจดทะเบียนใหม่ภายหลังจากการ
แปลงสภาพของใบสำคัญแสดงสิทธิแล้วคือ 97,780,500 หุ้นเมื่อ MINT มีการใช้สิทธิใบสำคัญ
แสดงสิทธิแล้ว

          2.  สัดส่วนการถือหุ้นของกลุ่ม MINT เมื่อมีการซื้อขายตามข้อตกลง  MOU เป็นดังนี้

              (1)  ก่อนการแปลงสภาพการใช้สิทธิ
                    -  หุ้นสามัญจำนวน 8,672,900 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 9.74 ของทุนจดทะเบียนที่ชำระ
แล้ว ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2549 คือ 89,021,700 หุ้น
                    -  ใบสำคัญแสดงสิทธิ จำนวน 8,758,800 หน่วย

             (2)  ภายหลังจากการแปลงสภาพใบสำคัญแสดงสิทธิ
                   -  หุ้นสามัญเดิมและหุ้นสามัญที่เกิดจากการใช้สิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิ จำนวน
รวม 17,431,700 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 17.83 ของทุนจดทะเบียนภายหลังจากการแปลงสภาพใบ
สำคัญแสดงสิทธิแล้วคือ 97,780,500 หุ้น

         3.  หลังจากที่ MINT เข้าถือหุ้นดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว กลุ่มผู้ถือหุ้นจัดตั้งอันได้แก่ตระกูล
ศิลาอ่อน และตระกูลไรวา  จะยังคงสถานะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และเป็นผู้บริหารหลักในการ
ดำเนินธุรกิจของบริษัทต่อไป  

         ทั้งนี้ การเข้าลงทุนของกลุ่ม MINT นี้ จะเป็นการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจที่จะช่วยเพิ่ม
ความแข็งแกร่งและเสริมศักยภาพในการดำเนินธุรกิจของทั้งสองบริษัทต่อไปในภายหน้า
Bread & Butter
Verified User
โพสต์: 160
ผู้ติดตาม: 0

S&P and W1 Case study

โพสต์ที่ 9

โพสต์

เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป เก็บหุ้น S&P เพิ่ม 3.13% รวมในมือ 5.32%

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)ได้รับแบบ
รายงานการได้มา หุ้นของบมจ. เอส แอนด์ พี ซินดิเคท(S&P)โดย บมจ. เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป
ซึ่งเป็นการได้มา  เมื่อวันที่ 13/10/2549 จำนวนหลักทรัพย์ที่ได้มาคิดเป็น  3.13% ของจำนวน
หลักทรัพย์ที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดจำนวนหลักทรัพย์ภายหลังการได้มาคิดเป็น  5.32% ของ
จำนวนหลักทรัพย์ที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด
Bread & Butter
Verified User
โพสต์: 160
ผู้ติดตาม: 0

S&P and W1 Case study

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ประจำวันที่ 20 ตุลาคม 2549
ชื่อบริษัท วิธีการได้มา/จำหน่าย ชื่อผู้บริหาร ประเภทหลักทรัพย์ วันที่รับเอกสาร วันที่ได้มา/จำหน่าย จำนวน ราคา

S&P ซื้อ เกษสุดา ไรวา หุ้นสามัญ 20/10/2549 18/10/2549 66,400 28.17
S&P ซื้อ ประเวศวุฒิ ไรวา หุ้นสามัญ 20/10/2549 18/10/2549 66,400 28.17

ที่มา : www.sec.or.th
Bread & Butter
Verified User
โพสต์: 160
ผู้ติดตาม: 0

S&P and W1 Case study

โพสต์ที่ 11

โพสต์

S&P ซื้อ ภัทรา ศิลาอ่อน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 26/10/2549 20/10/2549 20,000 10.00
S&P ซื้อ ภัทรา ศิลาอ่อน หุ้นสามัญ 26/10/2549 25/10/2549 35,000 28.00
S&P ซื้อ ภัทรา ศิลาอ่อน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 26/10/2549 25/10/2549 21,000 10.00
Bread & Butter
Verified User
โพสต์: 160
ผู้ติดตาม: 0

S&P and W1 Case study

โพสต์ที่ 12

โพสต์

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่3(F45-3)
                          บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)

                                                         สอบทาน
                                สิ้นสุดวันที่  30 กันยายน      (หน่วย : พันบาท)
                                    ไตรมาสที่ 3          งวด 9 เดือน
             ปี                    2549        2548        2549        2548

  กำไร (ขาดทุน) สุทธิ              63,818      55,350     139,470     135,407
  กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท)      0.73    0.72        1.60        1.79

 ประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน
      ไม่มีเงื่อนไขและไม่มีข้อสังเกต
Bread & Butter
Verified User
โพสต์: 160
ผู้ติดตาม: 0

S&P and W1 Case study

โพสต์ที่ 13

โพสต์

Details of common stocks & warrants changing hands between S & P and MINOR.


เอส แอนด์ พี ซินดิเคท บมจ.(S&P) เกษสุดา  ไรวา ผู้จัดทำ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 16/11/2549 13/11/2549 750,000 11.00 ขาย  
เอส แอนด์ พี ซินดิเคท บมจ.(S&P) เกษสุดา  ไรวา คู่สมรส ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 16/11/2549 13/11/2549 750,000 11.00 ขาย  
เอส แอนด์ พี ซินดิเคท บมจ.(S&P) ขจรเดช  ไรวา ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 16/11/2549 13/11/2549 2,349,041 29.00 ขาย  
เอส แอนด์ พี ซินดิเคท บมจ.(S&P) ขจรเดช  ไรวา ผู้จัดทำ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 16/11/2549 13/11/2549 1,079,229 11.00 ขาย  
เอส แอนด์ พี ซินดิเคท บมจ.(S&P) ขจรเดช  ไรวา คู่สมรส ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 16/11/2549 13/11/2549 1,071,802 11.00 ขาย  
เอส แอนด์ พี ซินดิเคท บมจ.(S&P) ประเวศวุฒิ  ไรวา ผู้จัดทำ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 16/11/2549 13/11/2549 750,000 11.00 ขาย  
เอส แอนด์ พี ซินดิเคท บมจ.(S&P) ประเวศวุฒิ  ไรวา คู่สมรส ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 16/11/2549 13/11/2549 750,000 11.00 ขาย  
เอส แอนด์ พี ซินดิเคท บมจ.(S&P) พรพิไล  ไรวา ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 16/11/2549 13/11/2549 1,322,154 29.00 ขาย  
เอส แอนด์ พี ซินดิเคท บมจ.(S&P) พรพิไล  ไรวา ผู้จัดทำ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 16/11/2549 13/11/2549 1,062,574 11.00 ขาย  
เอส แอนด์ พี ซินดิเคท บมจ.(S&P) พรพิไล  ไรวา คู่สมรส หุ้นสามัญ 16/11/2549 13/11/2549 1,026,878 29.00 ขาย  
เอส แอนด์ พี ซินดิเคท บมจ.(S&P) พรพิไล  ไรวา คู่สมรส ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 16/11/2549 13/11/2549 770,898 11.00 ขาย  
เอส แอนด์ พี ซินดิเคท บมจ.(S&P) พันทิพา  ไรวา ผู้จัดทำ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 16/11/2549 13/11/2549 1,071,802 11.00 ขาย  
เอส แอนด์ พี ซินดิเคท บมจ.(S&P) พันทิพา  ไรวา คู่สมรส หุ้นสามัญ 16/11/2549 13/11/2549 2,349,041 29.00 ขาย  
เอส แอนด์ พี ซินดิเคท บมจ.(S&P) พันทิพา  ไรวา คู่สมรส ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 16/11/2549 13/11/2549 1,079,229 11.00 ขาย  
เอส แอนด์ พี ซินดิเคท บมจ.(S&P) ภัทรา  ศิลาอ่อน ผู้จัดทำ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 16/11/2549 13/11/2549 600,000 11.00 ขาย  
เอส แอนด์ พี ซินดิเคท บมจ.(S&P) ภัทรา  ศิลาอ่อน คู่สมรส ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 16/11/2549 13/11/2549 349,999 11.00 ขาย  
เอส แอนด์ พี ซินดิเคท บมจ.(S&P) วรากร  ไรวา ผู้จัดทำ หุ้นสามัญ 16/11/2549 13/11/2549 1,026,878 29.00 ขาย  
เอส แอนด์ พี ซินดิเคท บมจ.(S&P) วรากร  ไรวา ผู้จัดทำ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 16/11/2549 13/11/2549 770,898 11.00 ขาย  
เอส แอนด์ พี ซินดิเคท บมจ.(S&P) วรากร  ไรวา คู่สมรส หุ้นสามัญ 16/11/2549 13/11/2549 1,322,154 29.00 ขาย  
เอส แอนด์ พี ซินดิเคท บมจ.(S&P) วรากร  ไรวา คู่สมรส ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 16/11/2549 13/11/2549 1,062,574 11.00 ขาย
Bread & Butter
Verified User
โพสต์: 160
ผู้ติดตาม: 0

S&P and W1 Case study

โพสต์ที่ 14

โพสต์

News on 3/11/06

เจาะลึกกลยุทธ์ "S&P"..ถอยเพื่อก้าว ผนึก "วิลเลี่ยม ไฮเน็คกี้" ลึกกว่า Synergy

การ Synergy ผนึกกำลังความร่วมมือทางธุรกิจ อาจไม่ใช่คำตอบเดียว ที่ทำให้กลุ่มผู้ถือหุ้นเอสแอนด์พี "4 พี่น้องตระกูลไรวา" ตัดสินใจขายหุ้น "บิ๊กล็อต" มูลค่า 204 ล้านบาท ให้กับ บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล เติมเต็มอาณาจักรของ วิลเลี่ยม ไฮเน็คกี้



เอส แอนด์ พี มองว่าการแข่งขันระหว่างกันมันเป็นอดีตไปแล้ว แต่ความร่วมมือกัน หรือการ Merging น่าจะเป็นอนาคตมากกว่า


ภายหลังการพูดคุยระหว่างกลุ่มพี่น้อง ภัทรา ศิลาอ่อน พี่สาวคนโต กับน้องชายอีก 3 คน ร้อยโทวรากร ไรวา, ขจรเดช ไรวา และ ประเวศวุฒิ ไรวา จึงมีมติร่วมกันว่าพวกเขาต้องขายหุ้น S&P "บางส่วน" ให้กับ กลุ่มบริษัท บมจ. ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT) ของ วิลเลี่ยม เอลล์วู๊ด ไฮเน็ค หรือ วิลเลี่ยม ไฮเน็คกี้ ผู้ก่อตั้งกลุ่มไมเนอร์

"การแข่งขันระหว่างกันมันเป็นอดีตไปแล้ว แต่ความร่วมมือกัน หรือการ Merging น่าจะเป็นอนาคตมากกว่า" ประเวศวุฒิ ไรวา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. เอส แอนด์ พี ซินดิเคท (S&P) น้องชายคนสุดท้องในจำนวน 4 พี่น้อง กล่าว

พร้อมทั้งเล่าเบื้องหลังว่า "การขายหุ้นไม่ได้ทำให้รวยขึ้น เป็นการมองอนาคตมากกว่า...เป็นช่วงที่เรา (กลุ่มพี่น้อง) คิดว่า น่าจะหาคนมาช่วย พูดตรงๆ ผมก็เกือบเป็นคนสุดท้ายในเจเนอเรชั่นนี้ ผมอายุมากแล้ว คนที่อายุน้อยกว่าผมก็มีภรรยาผม เกษสุดา (ไรวา) ซึ่งคิดว่าเขาก็เหนื่อยพอสมควร เป็นช่วงจังหวะที่คิดว่าน่าจะหาใครมาช่วยเราได้บ้าง "

การตัดสินใจขายหุ้น S&P ของ "4 พี่น้องตระกูลไรวา" จำนวน 4 ล้านหุ้นๆ ละ 29 บาท และใบสำคัญแสดงสิทธิแปลงสภาพ อีก 8 ล้านหน่วยๆ ละ 11 บาท รวมมูลค่า 204 ล้านบาท หรือ เท่ากับ 13.67% นับเป็นดีลที่น่าจับตามองไม่แพ้ ดีลการเทคโอเวอร์ "แมคโดนัลด์" ของ "เสี่ยเมเจอร์" วิชา พูลวรลักษณ์ เลยทีเดียว

การเปิดเกมของ "วิลเลี่ยม ไฮเน็คกี้" เขาต้องการผนึกกำลังทางธุรกิจกับ เอส แอนด์ พี เพื่อเป้าหมายที่มากกว่าการ Synergy กันธรรมดา

ขณะที่ การถอย 1 ก้าวของตระกูลไรวา ก็คือ การรุก 1 ก้าว ในช่องทางธุรกิจที่กว้างกว่าเดิมของ เอส แอนด์ พี

ในด้านของ "วิลเลี่ยม ไฮเน็คกี้" ก็กำลังคิดที่จะต่อยอดธุรกิจร้านอาหารของตัวงเอง ที่ "เดอะพิซซ่า คอมปะนี" "สเวนเซ่นส์" "ซิซซ์เล่อร์" "แดรี่ควีน" และ "เบอร์เกอร์คิง" ก็อยู่ในภาวะเดียวกันกับ เอส แอนด์ พี

ภายหลังการเข้าซื้อหุ้น และใบสำคัญแสดงสิทธิตามข้อตกลง จะทำให้ กลุ่มไมเนอร์ ถือหุ้น S&P จำนวน 8.67 ล้านหุ้น และใบสำคัญแสดงสิทธิ จำนวน 8.75 ล้านหน่วย รวมเป็น 19.85% ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว ณ ปัจจุบัน ของ เอส แอนด์ พี

ส่วนการตัดสินใจเปิดทางให้กลุ่มไมเนอร์ เข้ามาถือหุ้นเพิ่มจาก 6.18% เป็น 19.85% และหากไมเนอร์ มีการใช้สิทธิทั้งหมด จะทำให้กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมจะมีสัดส่วน ถือหุ้น S&P เหลือเพียง 36.88%

"ส่วนโอกาสที่กลุ่มไมเนอร์จะเข้ามาถือหุ้นเพิ่มมากกว่านี้ เป็นเรื่องของอนาคต ถามว่าถ้าเขาเข้ามาถือเพิ่ม (ซื้อในตลาด) เราจะรู้สึกอะไรมั้ย ถ้าเป็นประโยชน์กับบริษัท มันก็ไม่น่าจะเสียหายอะไร "

ประเวศวุฒิ ชั่งน้ำหนักให้เห็นว่าการทำธุรกิจทุกวันนี้ ต้องมองไปที่อนาคตของตัวธุรกิจ มากกว่าที่จะยึดติดกับความเป็นเจ้าของเหมือนเก่า แม้แต่ปัจจุบัน กลุ่มผู้บริหารยุคใหม่ของ เอส แอนด์ พี ก็ไม่ได้มีแต่คนในครอบครัวอีกแล้ว

"จริงๆ ตอนนี้คนในครอบครัวที่ทำงานด้านนี้ก็มีไม่กี่คน ส่วนมากจะนั่งเป็นกรรมการ"

ปัจจุบัน ประเวศวุฒิ อายุ 55 ปี ซึ่งตามข้อกำหนด ถึงวาระที่ต้องเกษียณ แต่คาดว่าตำแหน่ง "เอ็มดี" จะยังไม่มีการเปลี่ยนตัว เพราะนี่ถือเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนสำหรับองค์กรที่มีวัฒนธรรมแบบ "ครอบครัว" มายาวนาน

และก็นับเป็นความฉลาด ของ วิลเลี่ยม ไฮเน็คกี้ เขาเลือกที่จะแทรกซึมอย่างช้าๆ เข้ามาร่วมเป็นหนึ่งเดียวในวัฒนธรรมองค์กรของ เอส แอนด์ พี โดยไม่รีบเร่งเข้ายึดครอง เหมือนอย่างนักธุรกิจทั่วไป

ขณะเดียวกันในเจเนอเรชั่นเดียวกัน ต่อจากประเวศวุฒิ ก็มีเพียง เกษสุดา ไรวา ภรรยา ถัดจากนั้นก็เป็นเจเนอเรชั่นที่สอง อาทิเช่น วิทูร ศิลาอ่อน ลูกชายของภัทรา ศิลาอ่อน

"ตอนนี้ผมก็แก่แล้ว พี่ชายผมก็รีไทร์ มีคุณภัทรา (ศิลาอ่อน) ที่ยังเอ็นจอย ทำงานอยู่ รุ่นต่อไปก็มีที่เข้ามาช่วย แต่ก็ไม่ใช่ทุกคน ใครสนใจเราก็ให้ทำ"

อย่างไรก็ตาม ประเวศวุฒิ ยืนยันว่า การถือหุ้น S&P ของตระกูลคงไม่ลดน้อยลงไปกว่านี้ และในครอบครัว คงไม่มีใครที่ "แตกแถว" ขายหุ้นออกไป เพราะไม่มีใครเดือดร้อน เรื่องเงิน

เขาเล่าด้วยว่า วิลเลี่ยม ไฮเน็คกี้ กับครอบครัวของเรารู้จักกันมานานแล้ว วิลเลี่ยมเคยคุยเรื่องนี้กับพี่สาว..ภัทรา ศิลาอ่อน อยากจะขยายงานทางด้านโปรดักชั่น (ผลิตอาหาร) ซึ่งทางเขาเห็นว่าทางเอส แอนด์ พี ทำโปรดักชั่น ได้ดี

ก่อนหน้านี้ทั้ง 2 ฝ่ายก็เคยจับมือกันก่อตั้ง บริษัท เอสแอนด์พี ไมเนอร์ ฟู้ด จำกัด (ปัจจุบัน คือ บริษัท เอส แอนด์ พี แอสเซท จำกัด) ร่วมกันพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สร้างตึกให้เช่า เปิดเป็นร้านอาหาร และร้านค้าในซอยสุขุมวิท 26

"จริงๆ เราติดต่อกันมานานแล้ว ในหลายๆ ด้าน เอส แอนด์ พี ก็ช่วยผลิตอาหารให้กับไมเนอร์บ้างแล้วเหมือนกัน"

ผู้บริหาร เอส แอนด์ พี ยังบอกอีกว่า ที่ วิลเลี่ยม แสดงความจำนงอยากเข้ามา เขามองว่าการรวมกำลังกันน่าจะมีผลประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย

ก่อนจะไขความลับต่อว่า สิ่งหนึ่งที่เอส แอนด์ พี "มี" แล้วไมเนอร์ ไม่มี ก็คือ "ยี่ห้อ" ไมเนอร์มียี่ห้อเดียว คือ เดอะพิซซ่า คอมปะนี ส่วนอันอื่นเป็นไลเซ่น ผมคิดว่าเรามีจุดแข็งในเรื่องแบรนด์ เพราะเราทุ่มสร้างแบรนด์มาเยอะ

เอส แอนด์ พี และไมเนอร์ มีทั้งบางอย่างที่เหมือนกัน และบางอย่างที่แตกต่างกัน ประเวศวุฒิ อธิบายตรงนี้ว่า ทั้งความเหมือน และความต่าง เป็นจุดที่ทั้ง 2 ค่าย สามารถ Synergy เสริมความแข็งแกร่ง ซึ่งกันและกันได้

"ยกตัวอย่าง ไมเนอร์ มีคอลล์เซ็นเตอร์ เอส แอนด์ พี ก็มี หรือไมเนอร์มีเอาท์เล็ตเยอะเป็นร้อยแห่ง ก็เป็นช่องทางที่เราจะสามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าของเอส แอนด์ พี ได้ ซึ่งเรามีโรงงานผลิตเบเกอรี่ที่นับว่าใหญ่พอสมควร

เราทำอาหารให้ไมเนอร์ได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอาหารอิตาเลียนเราก็ทำได้ เรามีโรงงานไส้กรอกเอง ในด้านการจัดซื้อจัดหา ถ้าเราสามารถร่วมมือกันได้ ก็จะเป็นประโยชน์ในการสร้างอำนาจต่อรองที่ดี หรือด้านจัดหาพื้นที่โลเคชัน การเปิดร้านอาหาร หรืออย่างเอส แอนด์ พี มีกาแฟบลูคัพ แต่ไมเนอร์ไม่มี ก็อาจจะมีโอกาสเข้าไปจัดจำหน่ายในช่องทางของไมเนอร์ ก็ได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย "

แต่เป้าหมายใหญ่จริงๆ ของการ Synergy ครั้งนี้สำหรับเอส แอนด์ พี อยู่ที่การบุกขยายตลาดต่างประเทศ

ประเวศวุฒิ เผยความลับนี้ว่า เอส แอนด์ พี ต้องการเข้าไปในเครือข่ายของไมเนอร์ในต่างประเทศ เพื่อมาขยายธุรกิจร้านอาหารไทย โดยเฉพาะตลาดตะวันออกกลาง จีน อินเดีย ซึ่งมีโอกาสสำหรับอาหารไทยค่อนข้างสูง จากปัจจุบันที่ เอส แอนด์ พี เน้นอยู่แต่ในยุโรป และเอเชียรอบๆ บ้าน

ดังนั้นการขายหุ้นให้กลุ่มไมเนอร์ จึงเป็นการแลกเปลี่ยนกับผลตอบแทนที่ "สมน้ำสมเนื้อ" ขณะที่กลุ่มผู้ถือหุ้นตระกูลไรวา ก็สามารถ Cash Out หุ้นตัวเอง กำเงินสด 204 ล้านบาท โดยมีพันธมิตรที่แข็งแกร่งอย่างไมเนอร์ เข้ามาช่วยต่อยอดธุรกิจ

นับเป็นการแลกเปลี่ยนแบบ..วิน-วิน ที่ชาญฉลาด ไม่มีใครเสียเหลี่ยมใคร


Continued


เอส แอนด์ พี...ยังไม่ถึงจุดพีค!!!

เส้นทางธุรกิจที่ยาวนานมากว่า 30 ปี และจำนวนสาขามากกว่า 230 สาขา อาจเป็น "จุดพีค" ของ เอส แอนด์ พี แล้ว ใช่หรือไม่!!!

---------------------------------------


" ยังไม่ถึงจุดพีค เพราะมันไม่มีจุดพีค " ประเวศวุฒิ ปฏิเสธ พร้อมทั้งกล่าวว่า ยังไม่ถึงจุดอะไรเลย..ผมว่านะ เราก็ยังต้องดำเนินการต่อไป ยังมองเห็นทางข้างหน้าอยู่ ถ้าใครคิดว่าพีคแล้ว ก็คงแย่เมื่อนั้น

ทางโตต่อไปของเอส แอนด์ พี ประเวศวุฒิ ชี้ให้เห็นว่า เฉพาะตลาดในประเทศเอง ยังมีช่องทางอีกมากที่จะขยาย ในเรื่องของอาหารที่จะหันมาบุกหนักมากขึ้น หลังจากทุกวันนี้เมื่อพูดถึงเอส แอนด์ พี ลูกค้าจะนึกถึงเบเกอรี่ และขนมเค้ก เป็นอันดับหนึ่ง แต่ถ้าอยากจะทานข้าวอาจไม่ได้มาที่เอส แอนด์ พี

" ปัจจุบัน เรามีร้านอาหารประมาณ 80 ร้าน ซึ่งเรายังไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ เพราะครึ่งหนึ่งจะเป็นการขายพวกเบเกอรี่ เราคิดว่าน่าจะเน้นความสำคัญมาโปรโมทด้านอาหารไทยมากขึ้น เพราะด้านเค้ก เราแทบไม่มีคู่แข่ง แต่สำหรับอาหาร เราไม่ใช่เจ้าตลาด แต่คิดว่าน่าจะมีโอกาส มีช่องว่างอีกเยอะ นอกจากนี้ เรายังมีคอนเซปต์อื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารไทยด้วย เช่น พวกอาหารฝรั่ง"

นอกจากนี้ ในช่วงปีถัดไป ตลาดต่างประเทศจะเป็นหลักที่ เอส แอนด์ พี จะขยายธุรกิจออกไป อาทิเช่น จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง

" ธุรกิจในต่างประเทศดีมาก ประสบความสำเร็จค่อนข้างสูง ยอดขายก็สูง จากสัดส่วนโดยรวมประมาณ 20% ในอนาคตอยากให้ต่างประเทศมากกว่านี้ เพราะในประเทศเองก็ค่อนข้างจะเต็ม เรามีสาขา 240 แห่ง ถึงแม้ไม่ครบทุกจังหวัด แต่จังหวัดที่เป็นเมเจอร์ จังหวัดท่องเที่ยวก็มีแล้ว การขยายก็ยังไปได้พอสมควร แต่ต่างประเทศ เราสามารถขายได้ในราคาที่ดีกว่า มาร์จินสูงกว่า แต่ก็มีข้อลำบากที่ต้องรักษาคุณภาพให้ได้"

โดยเฉลี่ยแล้ว ยอดขายของเอสแอนด์พีจะเติบโตขึ้นทุกปี ปีละ 10-15% โดยปีที่ผ่านมา มีรายได้ 3,361 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.2% จาก 2,995 ล้านบาทในปี 2547 มีกำไรสุทธิจำนวน 204 ล้านบาท สามารถทำกำไรต่อหุ้นในปี 2548 เป็นเงิน 2.68 บาทต่อหุ้น ส่วนผลประกอบการครึ่งปีแรกปี 2549 (ม.ค.-มิ.ย.) มีรายได้ 1,648.20 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 92.6 ล้านบาท หรือ 6% มีกำไรสุทธิ 75.6 ล้านบาท ต่ำกว่างวดเดียวกันของปีก่อน 4.4 ล้านบาท หรือ 5.5%

สำหรับในปีหน้า คาดว่าตัวเลขการขยายสาขาใหม่ ขั้นต่ำจะไม่น้อยไปกว่าปีนี้อยู่ที่ประมาณ 30 สาขา ซึ่งถือเป็นว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างน้อย

" ถ้าจะให้เปิดสาขาเร็วเราก็เปิดได้ แต่ยังมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เรื่องเงินทุนไม่ใช่ปัญหา แต่ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปิดสาขาอยู่ที่คน ซึ่งตอนนี้หาพนักงานยาก ไม่ว่าจะระดับไหนก็ตาม และธุรกิจบริการมีเยอะมาก และทุกคนแข่งขันหาคนกันหมด ก็ต้องปรับแผนวิธีการทำงาน ใช้คนน้อยลง เอาเครื่องจักรมาใช้มากขึ้น"

ปัจจุบัน เอสแอนด์พี เป็นหนึ่งในบริษัทขนาดใหญ่ที่ทำธุรกิจร้านอาหาร และเบเกอรี่ ซึ่งมีสาขามากกว่า 230 สาขาในประเทศไทย ภายใต้แบรนด์ S&P , Patio, Patra, Vanilla, มังกรทอง และ Blue Cup Coffee อีกทั้งยังผลิตและจำหน่ายเบเกอรี่ และอาหารแช่แข็ง รวมไปถึงไส้กรอก แฮม และพาสต้า

นอกจากนี้ ยังขยายสาขาร้านอาหารไทยในต่างประเทศ 19 แห่ง ใน 5 ประเทศ ภายใต้ชื่อร้าน Patara, Siam Kitchen, Thai และ Patio

ทั้งนี้โครงสร้างรายได้หลักของเอส แอนด์ พีมาจากธุรกิจร้านอาหารและเบเกอรี่ 85% ของรายได้รวม โดยมาจากในประเทศ 66% และต่างประเทศ 19% รายได้ที่เหลืออีกประมาณ 15% มาจากการที่บริษัทประกอบธุรกิจ ขายส่งสินค้า รวมถึงการให้บริการอื่นๆ เช่น บริการส่งอาหารถึงบ้าน และจัดเลี้ยงนอกสถานที่
Bread & Butter
Verified User
โพสต์: 160
ผู้ติดตาม: 0

S&P and W1 Case study

โพสต์ที่ 15

โพสต์

Today, S&P closed at 33.50
New high for the period of 10 years, let see what will be a final chapter. Coming soon or never coming.
tanate@man
Verified User
โพสต์: 209
ผู้ติดตาม: 0

S&P and W1 Case study

โพสต์ที่ 16

โพสต์

น่าศึกษาครับเพราะไม่รู้ว่าจะหมู่หรือจ่า ผมก็ถือตัวนี้มากว่าสามปีแล้วครับ
Mr. Big
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1913
ผู้ติดตาม: 0

S&P and W1 Case study

โพสต์ที่ 17

โพสต์

เจ้ามือเปลี่ยนรูปแบบไปแล้วครับ ลองดู minor ประกอบหลังจากที่ mint เข้ามาซื้อสิครับ
Bread & Butter
Verified User
โพสต์: 160
ผู้ติดตาม: 0

S&P and W1 Case study

โพสต์ที่ 18

โพสต์

At last, my forecast target price of 36.00 is broken.
What the hell is going on with S&P?
Beware !!!!!
matrix
Verified User
โพสต์: 1717
ผู้ติดตาม: 0

S&P and W1 Case study

โพสต์ที่ 19

โพสต์

Bread & Butter เขียน:At last, my forecast target price of 36.00 is broken.
What the hell is going on with S&P?
Beware !!!!!
I don't think so.
I guess it's time to make the 2th step...
follow the first step last month deals.

ผมไม่คิดเช่น... คุณขนมปังเนยครับ...
มีใครบางคนใช้ข้อมูลภายใน...
แอบซื้อเพื่ออะไรบางอย่างครับ    :wink:
ภาพประจำตัวสมาชิก
โอ@
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4246
ผู้ติดตาม: 0

S&P and W1 Case study

โพสต์ที่ 20

โพสต์

ผมก็ไม่คิดว่าใครมาทำราคานะครับ กับรูปแบบอย่างนี้

ถ้าให้ S&P PE 20 ก็ 40 กว่าบาทนะครับ
MINT PE 29 แหนะ

อันนี้ลองคิดแบบนายตลาดดู
_________
ภาพประจำตัวสมาชิก
Saran
Verified User
โพสต์: 2377
ผู้ติดตาม: 1

S&P and W1 Case study

โพสต์ที่ 21

โพสต์

8)
ประจวบ
Verified User
โพสต์: 304
ผู้ติดตาม: 0

S&P and W1 Case study

โพสต์ที่ 22

โพสต์

ผมว่ามีinsiderแน่นอนครับ
ต้องรอดูอีกซักระยะนึง
แล้วก็จะรู้ว่าใครเป็นคนเข้ามาเก็บช่วงนี้

งวดที่แล้วก่อนที่จะประกาศขายหุ้นให้mint2สัปดาห์
ราคาในกระดานซัก24บาท
โบรกเกอร์มาถามผมว่าจะขายหุ้นมั้ย
มีคนเค้าจะขอซื้อ24.5นอกกระดาน
มีเท่าไหร่เอาหมด
ยังสงสัยว่าใครมาซื้อวะ
พอประกาศออกมาก็ถึงบางอ้อ
ว่าตระกูลไรวาเค้ามาไล่ซื้อนอกกระดาน
หนักแน่นในแนวทางviพันธ์แท้
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

S&P and W1 Case study

โพสต์ที่ 23

โพสต์

ยังมึนๆ อยู่เลยครับกับวอร์แรนท์ตัวแรกในชีวิต ต่อไปนี้ไม่กล้า post ถึงหุ้นสภาพคล่องน้อยๆ อีกแล้วไม่รู้เหมือนกันว่าเกิดอะไรขึ้นแต่กันไว้ดีกว่าแก้

หากพี่ประจวบบังเอิญทราบข่าวว่าเกิดอะไรขึ้น อย่าลืม PM เผื่อแผ่น้องๆ ชาว S&P ในเวบนี้ด้วยนะครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าอย่างสูงครับ  :bow:
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Saran
Verified User
โพสต์: 2377
ผู้ติดตาม: 1

S&P and W1 Case study

โพสต์ที่ 24

โพสต์

พูดถึงตอนแปลงวอร์แรนท์เป็นหุ้น ผมเคยแปลง S&P-W1 แค่ตัวเดียวเองอะครับ พอแปลงมาแล้วพอร์ทผมมันโชว์ต้นทุนแค่ราคาพาร์เองอะ ไม่รู้ว่าพี่คนอื่นๆ จะเป็นเหมือนกันหรือป่าวครับ ผมใช้ของซิมิโก้อยู่ครับ

ตอนนี้เลยเห็นพอร์ทตัวเองแล้วรู้สึกดี (S&P ทุน 5 บาท ราคาปิดที่ 36.25 บาท กำไร 725%)
adi
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 0

S&P and W1 Case study

โพสต์ที่ 25

โพสต์

Saran เขียน:พูดถึงตอนแปลงวอร์แรนท์เป็นหุ้น ผมเคยแปลง S&P-W1 แค่ตัวเดียวเองอะครับ พอแปลงมาแล้วพอร์ทผมมันโชว์ต้นทุนแค่ราคาพาร์เองอะ ไม่รู้ว่าพี่คนอื่นๆ จะเป็นเหมือนกันหรือป่าวครับ ผมใช้ของซิมิโก้อยู่ครับ

ตอนนี้เลยเห็นพอร์ทตัวเองแล้วรู้สึกดี (S&P ทุน 5 บาท ราคาปิดที่ 36.25 บาท กำไร 725%)
ของผมมันโชว์ต้นทุนที่ exercise price ครับ ผมใช้ scbs

ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
sunnyvi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 186
ผู้ติดตาม: 0

แชร์ประสบการ

โพสต์ที่ 26

โพสต์

หุ้นอาหารแห่งหนึ่ง  ผมคิดว่าเป็นหุ้นแวลู
ตั้งใจซื้อไว้ระยะยาว...วมาก
เป็นจำนวนมากที่สุดของพอร์ต
พอเก็บได้เกือบครึ่งของที่ตั้งใจ
ก็ถึงวันประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น

ด้วยความดีใจก็ไปฟังอย่างตั้งใจ  อาหารเบรคอร่อยที่สุดอีกต่างหาก

ทุกอย่างฟังดีไปหมด
ผมถามท่านผบห.ว่า
ทำไมไม่เห็นคนรอที่ร้านอาหารของเราเลย
ขณะที่ร้านอื่น  เห็นคนเข้าคิวยาว

ท่านตอบทีเล่นทีจริงว่า

ร้านอาหารที่กินแล้วรอไม่น่าจะดี คุณชอบไปรอหรือ
ไปแล้วได้กินเลยดีกว่า  และของเราบางสาขาก็คนแน่น

พอผมกลับมานั่งคิด  ก็รู้สึกไปว่า หรือผบห ไม่อยากไฟต็เต็มที่ต่อ

เลยชะลอไป กะว่ารอปีหน้าก่อนราคาหุ้นน่าจะตกอีกหน่อย
เพราะผลประกอบการเริ่มชะลอลง หลังจากดีมาตลอด  แล้วค่อยเก็บให้ครบ


พอมีการขายห้นลอตใหญ่  ราคาพุ่งใหญ่ จึงรู้ว่าปีหน้าไม่ได้ซื้อราคาเดิม
อีกแล้ว  ซ้ำยังมีคนสนใจทำให้ราคาไปอีกไกล


ต่อมา ได้เห็นบทสัมภาษณ์ผบห.อีกท่านนึงทางนสพ ธุรกิจว่า ทราบอยู่แล้วว่าเวลานึกถึงร้านอาหาร เราไม่ได้เป็นเบอร์หนึ่ง ที่คนกินนึกถึง
แต่ทางผบห.ทราบและกำลังจะปรับปรุง  (ซึ่งความเห็นส่วนตัวคิดว่า ห้นส่วนใหม่  สามารถช่วยให้บริหาร  ส่งเสริมการขายต่างๆ ได้ถึงลูกถึงคน เพิ่มขึ้นอีกค่อนข้างแน่)


ถ้าวันไปประชุมผมได้รับคำตอบนี้
ต้องลุยเต็มที่ไปแล้ว

ขอแชร์ว่า  
1.สิ่งที่เราฟังเวลาประชุม ต้องมากรองอีกที

และต้องระวังว่าคำพูดบางอย่างของผบห.
อาจจะมาเปลี่ยนความคิดที่เราศึกษามานานให้เราเป๋ไปได้เหมือนกัน

2. ระวัง ถ้าหุ้นที่เราคิดว่าดี ต้องซื้อไปเลย
แม้ระยะสั้นๆ อาจตกอีกนิด  แต่เมื่อมีคนเห็นคุณค่าแล้ว
ราคาจะไล่ตาม จนไม่ได้ซึอที่ราคาแวลูอีก

3.อันนี้ต้องถามความเห็นพวกเราว่า  
_insanely  high  price`  คือ ราคาเท่าไรครับ
ขายไปแล้ววันหลังจะไม่ม่ทางได้คืน
เดินให้ถึงจุดหมาย
อย่างมีความสุข
ภาพประจำตัวสมาชิก
โอ@
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4246
ผู้ติดตาม: 0

S&P and W1 Case study

โพสต์ที่ 27

โพสต์

ผมว่า S&P อาจจะเป็นตัวนึงที่เรียกได้ว่า ปัจจัยพื้นฐานเปลี่ยนกระทันหันครับ
เพียงแค่วันเดียว การเข้ามาร่วมทุนของ MINT อาจจะมีผลทำให้การทำตลาดนั้นเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
_________
Frankie
Verified User
โพสต์: 999
ผู้ติดตาม: 0

S&P and W1 Case study

โพสต์ที่ 28

โพสต์

แอบย่องเข้าไปรับมาเลี้ยงดูนิดหน่อย โอ้โห เพิ่งเห็นพฤติกรรม bid หลอก offer หลอกเยอะจัง นี่ขนาดสภาพคล่องของหุ้นแค่นี้อ่ะนะ
We are new KIDS.
We don' t SMOKE.
ร่วมรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่
Bread & Butter
Verified User
โพสต์: 160
ผู้ติดตาม: 0

S&P and W1 Case study

โพสต์ที่ 29

โพสต์

ชื่อบริษัท วิธีการได้มา/จำหน่าย ชื่อผู้บริหาร ประเภทหลักทรัพย์ วันที่รับเอกสาร วันที่ได้มา/จำหน่าย จำนวน ราคา

S&P ซื้อ เกษสุดา ไรวา หุ้นสามัญ 22/12/2549 19/12/2549 35,800 28.71
S&P ซื้อ ประเวศวุฒิ ไรวา หุ้นสามัญ 22/12/2549 19/12/2549 35,800 28.71
Bread & Butter
Verified User
โพสต์: 160
ผู้ติดตาม: 0

S&P and W1 Case study

โพสต์ที่ 30

โพสต์

ที่  สจญ.  004/2550
                                                  วันที่   7   มกราคม  2550

เรื่อง    ขอรายงานสรุปการใช้สิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญ  

เรียน   กรรมการและผู้จัดการ
        ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

           บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ขอรายงานสรุปการใช้สิทธิ
ของใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญของบริษัท (S&P-W1) ครั้งที่ 15 ในวันที่ 29
ธันวาคม  2549   ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

      - อัตราส่วน ใบสำคัญแสดงสิทธิ    1   หน่วย    ต่อ   1  หุ้นสามัญ
      - ราคาการใช้สิทธิในการซื้อหุ้นสามัญหุ้นละ     18    บาท
      - จำนวนหุ้นสามัญที่บริษัทจัดสรรไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิ 35,000,000 หุ้น
      - มีผู้ขอใช้สิทธิ จำนวน        42     ราย
      - ใบสำคัญแสดงสิทธิที่ใช้สิทธิ จำนวน    11,438,900    หน่วย
      - หุ้นสามัญที่ได้จากการใช้สิทธิ จำนวน   11,438,900    หุ้น
      - จำนวนเงินที่ได้รับจากการใช้สิทธิ      205,900,200.-  บาท
      - คงเหลือจำนวนใบสำคัญแสดงสิทธิที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ
        ไทยอีกจำนวน        4,539,001       หน่วย

             จึงเรียนมาเพื่อทราบ

                                           ขอแสดงความนับถือ


                                       (  นายประเวศวุฒิ    ไรวา  )
                                           กรรมการผู้จัดการใหญ่
                          บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)
โพสต์โพสต์