การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
MarginofSafety
Verified User
โพสต์: 5786
ผู้ติดตาม: 0
อาทิตย์ ม.ค. 07, 2007 9:49 pm
ลองฟังทัศนะของ Peter Lynch นะครับ
ถ้าคุณไม่สามารถบอกตัวเองว่า "เมื่อผมขาดทุน 15% ผมจะซื้อเพิ่ม"
และห้ามตัวเองตลอดกาลในความคิดที่ว่า "เมื่อผมขาดทุน 25% ผมจะขาย"
คุณก็ไม่สามารถทำกำไรได้ดีในหุ้น
การตัดขาดทุนโดยอัตโนมัติที่ราคาที่กำหนดไว้ ซึ่งปกติมักกำหนดที่ 10% ของราคาที่ซื้อมา เป็นเรื่องจริงที่ว่าเมื่อคุณตั้งราคาตัดขาดทุนไว้
คุณลิมิตการขาดทุนของคุณไว้ที่ 10% แต่ด้วยความผันผวนของตลาดในวันนี้ หุ้นแต่ละตัวเกือบจะชนลิมิตนี้ในเวลาอันสั้น มันเป็นเรื่องประหลาดที่การตั้งขายตัดขาดทุนดูเหมือนจะรับประกันว่าหุ้นจะตกลงมา 10% หุ้นจะถูกขาย แทนที่จะป้องกันการขาดทุน นักลงทุนได้เปลี่ยนการที่กำลังขาดทุนเป็นการขาดทุนไปแล้ว คุณคงจะเสีย Taco Bell ไปแล้ว 10 ครั้ง ถ้ามีการตั้งขาดตัดขาดทุนเอาไว้!
ผมคิดว่ามันอาจจะจำเป็นสำหรับ Trading System หรือการเก็งกำไรระยะสั้น
แต่ไม่จำเป็นสำหรับ VI ที่วิเคราะห์พื้นฐานของบริษัทได้ทะลุปรุโปร่ง
เว้นเสียแต่ว่าเราวิเคราะห์ผิด ซึ่งก็ควรทำการขายทิ้งทันทีเมื่อพบว่าตัวเองวิเคราะห์ผิดครับ
"Winners never quit, and quitters never win."
อองตวน
Verified User
โพสต์: 320
ผู้ติดตาม: 0
จันทร์ ม.ค. 08, 2007 1:39 am
ที่ peter lynch ยกมาก็เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่ง แต่ก็มีอีกตัวอย่างอื่นที่การ cut loss ช่วยให้รอดพ้นการเสียหายที่รุนแรงได้เหมือนกัน
หากรู้ตัวดีว่าราคาของเรา ไม่ได้มี มาร์จิ้นออฟเซฟตี้ สักเท่าไหร่ การกำหนดจุดออกแต่เริ่มซื้อผมเห็นด้วยครับ ส่วนกี่เปอร์เซ็นต์นีอยู่ที่เจ้าของหุ้นพอใจละกัน
ผมแนะนำในฐานะไม่ใช่วีไอพันธ์แท้นะครับ แต่ชอบฟังวิไอคุยกัน ได้สาระและความรู้ดี
MarginofSafety
Verified User
โพสต์: 5786
ผู้ติดตาม: 0
จันทร์ ม.ค. 08, 2007 7:35 am
ลองดูอีกตัวอย่างจาก Warren Buffett
Unless you can watch your stock holding decline by 50% without becoming panic-stricken, you should not be in the stock market.
อย่างไรก็ดี เราไม่ได้วิเคราะห์ธุรกิจได้เก่งเหมือน Buffett ดังนั้นหากทำตาม
โดยปราศจากความเข้าใจในธุรกิจ ก็นำไปสู่ความเสียหายอย่างหนักได้
"Winners never quit, and quitters never win."
MarginofSafety
Verified User
โพสต์: 5786
ผู้ติดตาม: 0
จันทร์ ม.ค. 08, 2007 7:40 am
บทความจาก ดร.นิเวศน์
Trading System
คนที่ศึกษาติดตามเกี่ยวกับกลยุทธ์หรือวิธีการลงทุนมักจะได้พบกับกลยุทธ์การซื้อขายหุ้นประเภทที่มีการกำหนดหลักเกณฑ์แน่นอนเป็นระบบ เช่น ซื้อหุ้นมาแล้วถ้าราคาลดลง 10% ก็ให้ขายตัดขาดทุน แต่ถ้าหุ้นขึ้นไป 20% ก็ Take Profit คือขายทำกำไร บางทีก็บอกว่า Let Profit Run คือปล่อยให้หุ้นขึ้นไปเรื่อย ๆ แต่ถ้าหุ้นกลับตกลงมาใหม่ก็ให้ขายเมื่อยังมีกำไรไม่ต่ำกว่า 10% ปัญหามักจะเกิดเวลาหุ้นอยู่เฉย ๆ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เป็นไปตามกฎที่กำหนดไว้
ยกตัวอย่างเช่นกลยุทธ์การซื้อขายหุ้นบอกว่าเมื่อซื้อหุ้น A มาจำนวนหนึ่งแล้ว พอมีกำไร 30% ก็ให้ขายส่วนหนึ่งเพื่อ ลดต้นทุน นั่นคือเอากำไรที่ได้จากการขายมาหักออกจากต้นทุนที่ซื้อหุ้น A มา พอหุ้นขึ้นไปอีกเป็นกำไร 50% ก็ให้ขายไปอีกส่วนหนึ่งเพื่อ ลดต้นทุน ลงไปอีก จนสุดท้าย เมื่อเงินที่ได้จากการขายหุ้นนั้นเท่ากับเงินลงทุนครั้งแรก ก็แปลว่าเราได้ทุนคืนหมด ไม่มีต้นทุนแล้ว หุ้น A ที่เหลืออยู่เป็น ของฟรี ซึ่งจะถือไว้นานเท่าไรก็ได้ เพราะขายได้เท่าไรก็กำไรเท่านั้น ปัญหาของกลยุทธ์หรือระบบการซื้อขายหุ้นแบบนี้ก็คือไม่ได้บอกว่าถ้าซื้อหุ้น A มาแล้วราคาเกิดตกลงไปจะทำอย่างไร
การซื้อขายหุ้นแบบ อัตโนมัติ ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดนี้ ในทางวิชาการเรียกว่า Mechanical Rule แต่เรียกให้เข้าใจกันง่าย ๆ ในที่นี้ว่า Trading System หรือระบบการซื้อขายหุ้นนี้ ใครจะกำหนดอย่างไรก็ได้ และจะเรียกชื่อให้เท่แค่ไหนก็ไม่มีใครว่า คนร้อยคนอาจจะมี Trading System 100 แบบ ตามความคิดของแต่ละคนที่อาจจะเคยลองใช้แล้วเห็นว่าดี บางทีก็มีการแนะนำต่อกันในอินเตอร์เน็ต หรือไม่ก็เขียนเป็นหนังสือขายก็มี แต่ส่วนใหญ่แล้วความนิยมใน Trading System แต่ละแบบก็จะหายไปเมื่อเวลาผ่านไปเหมือนแฟชั่น
สำหรับ Value Investor ที่มีความเชี่ยวชาญแล้ว Trading System เป็นเรื่องที่ไม่มีสาระอะไรนัก ส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสร้างวินัยในการที่จะ ลดความเสี่ยง ให้กับคนที่ ไม่รู้อะไรมากนัก เพราะฉะนั้นจึงต้องอาศัยระบบที่จะมาช่วยในการตัดสินใจแทนการวิเคราะห์คุณค่าของหุ้นอย่างละเอียดรอบคอบ
ผมเองไม่ได้มีความรู้สึกต่อต้านการใช้ Trading System โดยเฉพาะสำหรับคนที่ยัง ทำใจ ไม่ค่อยได้เวลาหุ้นขึ้นหรือลงอย่างแรง หรือเวลาตลาดกำลังเฟื่องหรือเงียบเหงาหมดหวัง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ การเลือกใช้ Trading System ที่ไม่เหมาะสมซึ่งอาจจะไปหักล้างวิจารณญาณในการลงทุนที่ดีของเรา คำแนะนำสุดท้ายของผมก็คือ เวลาเลือกตัวหุ้นนั้น เราควรใช้หลักการพิจารณาแบบ Value Investment ส่วนเรื่องของการซื้อขายนั้น ถ้าอยากจะใช้ Trading System ผมก็คิดว่าไม่มีอะไรเสียหายมากนักแม้ผมจะคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่มีประโยชน์
ส่วนตัวผมเห็นด้วยกับ Peter Lynch และ ดร.นิเวศน์ทุกประการ
ส่วนของ Buffett นั้นคงยากที่จะทำได้เหมือนท่าน ที่หุ้นตกไป 50% ยังเฉยๆ
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=9672
"Winners never quit, and quitters never win."
beammy
Verified User
โพสต์: 3345
ผู้ติดตาม: 0
จันทร์ ม.ค. 08, 2007 10:00 am
เข้ามาดู ...
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1
จันทร์ ม.ค. 08, 2007 1:14 pm
ไม่มีการตั้งขาดทุน
แต่ศึกษาว่าทำไมมันขาดทุนมากกว่า
เพื่อที่จะได้ซื้อตัวอื่นแล้วไม่ขาดทุน
บ้างครั้งมองดูในหุ้นที่ขาดทุนอาจจะแนะนำคนอื่นซื้อ
ได้ดีกว่าเราก็ได้
tt
Verified User
โพสต์: 1150
ผู้ติดตาม: 0
จันทร์ ม.ค. 08, 2007 3:58 pm
เห็นด้วยถ้าคุณเก่งเหมือน ดร นิเวศน์ หรือ ปีเตอร์ลินซ์ ที่จะถือไว้ไม่ขาย
แต่ถ้าคุณคิดแต่ว่าคุณเป็น VI ถ้าศึกษาดีแล้วหุ้นตกเท่าไรก็ไม่ขาย
ผมว่าอันตรายมากๆ อย่างน้อยคุณต้องคิดเผื่อทางหนีทีไล่บ้างการทำ
ตามคนอื่นโดยไม่ดูความสามารถตัวเองนี่อันตรายจริงๆนะครับ
qingwen
Verified User
โพสต์: 487
ผู้ติดตาม: 0
จันทร์ ม.ค. 08, 2007 4:59 pm
ผมไม่เคย cut loss ครับ
เคยแต่ปรับพอร์ต
ตัวอย่างการตัดสินใจที่ถูกต้องคือขาย FANCY ไปซื้ออะไรจำไม่ได้
ไม่ได้กำไรตัวใหม่เลยปรับพอร์ตอีกที
ที่แน่ๆถ้าเก็บไว้จนวันนี้ คงช้ำ
对不起,请问一下.
存货是什么意思 ?
MarginofSafety
Verified User
โพสต์: 5786
ผู้ติดตาม: 0
จันทร์ ม.ค. 08, 2007 10:17 pm
tt เขียน: เห็นด้วยถ้าคุณเก่งเหมือน ดร นิเวศน์ หรือ ปีเตอร์ลินซ์ ที่จะถือไว้ไม่ขาย
แต่ถ้าคุณคิดแต่ว่าคุณเป็น VI ถ้าศึกษาดีแล้วหุ้นตกเท่าไรก็ไม่ขาย
ผมว่าอันตรายมากๆ อย่างน้อยคุณต้องคิดเผื่อทางหนีทีไล่บ้างการทำ
ตามคนอื่นโดยไม่ดูความสามารถตัวเอง นี่อันตรายจริงๆนะครับ
ถ้าคุณกำลังพูดกับผม
ผมอยากถามว่าคนที่เป็น VI ต้องถือหุ้นไว้แล้วไม่ขายเหรอครับ คุณเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า
แล้วการที่คุณจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของ VI ที่ประสบความสำเร็จที่ผมเรียบเรียงมาดังกล่าว
มันเกี่ยวอะไรกับการที่ผมต้องเก่งเหมือนท่านเหล่านั้น
ผมเข้าใจว่า จขกท. เค้าต้องการแนวคิดของ VI เกี่ยวกับมุมมองของการ Cut Loss
ผมถึงได้เรียบเรียงมาให้อ่าน ว่าต้นตำรับ VI เค้าคิดกันอย่างไร
ผมว่าถ้าคุณจะเสนอแนวคิด หรือประโยชน์ของการ Cut Loss คุณก็สามารถทำได้โดยอิสระ โดยไม่จำเป็นต้องดูถูกผู้อื่น
"Winners never quit, and quitters never win."
jody4003
Verified User
โพสต์: 372
ผู้ติดตาม: 0
จันทร์ ม.ค. 08, 2007 11:46 pm
HVI เขียน:
ถ้าคุณกำลังพูดกับผม
ผมอยากถามว่าคนที่เป็น VI ต้องถือหุ้นไว้แล้วไม่ขายเหรอครับ คุณเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า
แล้วการที่คุณจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของ VI ที่ประสบความสำเร็จที่ผมเรียบเรียงมาดังกล่าว
มันเกี่ยวอะไรกับการที่ผมต้องเก่งเหมือนท่านเหล่านั้น
ผมเข้าใจว่า จขกท. เค้าต้องการแนวคิดของ VI เกี่ยวกับมุมมองของการ Cut Loss
ผมถึงได้เรียบเรียงมาให้อ่าน ว่าต้นตำรับ VI เค้าคิดกันอย่างไร
ผมว่าถ้าคุณจะเสนอแนวคิด หรือประโยชน์ของการ Cut Loss คุณก็สามารถทำได้โดยอิสระ โดยไม่จำเป็นต้องดูถูกผู้อื่น
เอ่อ ผมว่าคุณ tt ไม่ได้หมายถึงใครนะ คุณ HVI ใจเย็นๆครับ และก็เป็นคำเตือนที่ดีและไม่ควรละเลยซะด้วย
เพราะถ้าจะแปลอีกอย่างให้เป็นภาษา VI ก็คือ จงอยู่ใน วงกลมแห่งความรอบรู้ :lol:
MarginofSafety
Verified User
โพสต์: 5786
ผู้ติดตาม: 0
อังคาร ม.ค. 09, 2007 1:06 am
[quote="jody4003"]
เอ่อ ผมว่าคุณ tt ไม่ได้หมายถึงใครนะ คุณ HVI ใจเย็นๆครับ และก็เป็นคำเตือนที่ดีและไม่ควรละเลยซะด้วย
เพราะถ้าจะแปลอีกอย่างให้เป็นภาษา VI ก็คือ จงอยู่ใน วงกลมแห่งความรอบรู้
"Winners never quit, and quitters never win."
worapong
Verified User
โพสต์: 929
ผู้ติดตาม: 0
อังคาร ม.ค. 09, 2007 8:14 am
ผมจำๆมาจากวอร์เรน แล้วก็พยายามนำไปปฏิบัติอยู่ครับ คือผมคิดว่าเราต้องการธุรกิจที่เราสามารถเข้าใจได้ มีอนาคตที่ดี ดำเนินธุรกิจโดยคนดีมีความสามารถ และสามารถหาซื้อได้ในราคาที่น่าดึงดูดใจ ทั้งก่อนซื้อและหลังจากซื้อหุ้นแล้ว ผมก็พยายามศึกษาหาข้อมูลเพิ่มตลอด เพื่อดูว่า หุ้นที่เรามีอยู่นั้น ยังเข้าเกณฑ์นี้หรือไม่ ถ้ายังเข้าเกณฑ์ก็ถือต่อไป ถ้าต่อมาราคามันไม่ได้ดึงดูด หรือพบว่าอนาคตระยะยาวมันเปลี่ยนไปก็ต้องขายออกไป แล้วก็ถือเงินไว้จนกว่าจะเจอตัวใหม่ที่น่ากอดครับ ผมคิดว่าถ้าผมทำได้อย่างนี้ ผลตอบแทนในระยะยาวน่าจะดีพอสมควรครับ ไม่กล้าคิดถึงขนาดว่าจะต้องได้ ปีละหลายๆสิบเปอร์เซ็นต์นะครับ แต่เมื่อเราได้ผลตอบแทนสูงเกินกว่าค่าใช้จ่าย แล้วเราเอากำไรที่ได้ไปลงทุนต่อ ทบต้นไปเรื่อยๆ ก็คิดว่าสักวันหนึ่งก็น่าจะเป็นเศรษฐีน้อยๆได้ครับ ผมเองก็มีเป้าหมายระยะยาวที่เวอร์ๆเหมือนกันนะครับ แต่ก็ไม่ได้ไปจริงจัง ยึดติดมาก เพียงแต่เอามาเป็นแนวทาง เป็นกำลังใจ เพื่อให้ปฏิบัติไปในแนวทางของวีไอที่ดี ไม่หลงไปจากแนวทางของวีไอครับ ผมก็คิดเอาเองแบบนี้นะครับ โดยส่วนตัวชอบแนวทางนี้ แต่ไม่ได้แปลว่ามันจะดีที่สุด บางคนอาจชอบแบบอื่น แล้วทำได้ดีด้วย แต่แนวทางนี้ ทำให้สบายใจ ทุกครั้งที่ลงทุนหรือวิเคราะห์ด้วยแนวคิดแบบนี้ จะสบายใจ แต่พอเริ่มต้นด้วยความคิดว่า เราจะต้องได้กำไรเยอะๆ ก็จะเครียด อึดอัด มันรู้สึกร้อน ประมาณนี้นะครับ เวลาผมเห็นคนอื่นที่ใช้แนวทางนี้แล้วประสบความสำเร็จ เช่นวอร์เรน บัฟเฟต ดอกเตอร์นิเวศน์ คุณอินวิซิเบิ้ลแฮนด์ พี่Chatchai พี่ลูกอิสาน พี่สามัญชน พี่นริศ และอีกหลายๆท่าน ผมก็เอามาเป็นกำลังใจนะครับ ว่าเฮ้ย วีไอนี่มันทำได้จริงนะ เค้าทำกันได้ตั้งหลายคน เพราะการลงทุนแนววีไอนั้น ต้องอาศัยกำลังใจที่ดี บ่อยครั้ง เราต้องทนดูหุ้นเราราคาลงไปเรื่อยๆ ซึ่งถ้าไม่มีกำลังใจที่ดีแล้ว ย่อมไม่อาจลงทุนแนววีไอให้ประสบความสำเร็จได้ครับ
margin of safety
circle of competence
waiting for the perfect pitch
nanchan
Verified User
โพสต์: 2938
ผู้ติดตาม: 0
อังคาร ม.ค. 09, 2007 9:14 am
การCut Loss เป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำ(บ่อยๆ)
เพราะมันจะเคยตัว ติดเป็นนิสัย
ผมอาจจะพิจารณาคัทลอส เมื่อเห็นภาพของหุ้นตัวที่ถือไม่ชัดเจนหรือเรียกว่า
มีอะไรมากกระทบทำให้หุ้นมีพื้นฐานที่เปลี่ยนไป
หรือ ผมอาจจะคัทลอสเมื่อพิจารณาว่าตลาดตอนนี้ไม่น่าลงทุนเท่าไร
และผมควรจะมีเงินสดเหลือเกิน30%
เหตุที่ต้องมีเงินสดเหลือ เพราะผมคิดว่าเมื่อตลาดกลับมาดี
ผมสามารถนำเงินส่วนที่เหลือมาลงทุนและทำกำไรได้เกินส่วนที่ขาดทุนไป
หรือ ผมอาจจะคัทลอสเมื่อผมคิดว่าผมคิดได้เร็วกว่าผู้อื่นแล้ว
ซึ่งไม่ใช่ตอนนี้แน่นอน
ผมอาจจะคัทลอสเมื่อเผลออารมณ์ไปซื้อหุ้นแห่ตามชาวบ้านโดยไม่ได้มองปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
หรือผมอาจจะคัทลอส เมื่อเห็นว่ากราฟทำท่าจะลงโดยเฉพาะระยะสัปดาห์
ไม่ว่าจะวิธีไหน ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมว่ากลยุทธการคัทลอสเป็นวิธีที่ห่วยแตกที่สุด
แต่ไม่ใช่ไม่ควรเรียนรู้ เพราะคุณอาจจะได้ใช้มันซักวัน
เฝ้าดูไป โดยใจที่เป็นกลาง
nanchan
Verified User
โพสต์: 2938
ผู้ติดตาม: 0
อังคาร ม.ค. 09, 2007 9:22 am
คำถามที่ว่ากีเปอร์เซ็นต์
ผมว่ามันตอบยากเหมือนกัน แต่ผมก็เคยถือหุ้นขาดทุนร่วม15%โดยไม่ได้คัทลอส (ถือเยอะด้วย) ก็คือตัวSiam เมื่อกลางปีที่แล้ว ทุน3.8 ร่วงลงมาประมาณ3.3 ผมก็ไม่ได้ทำอะไรกะมัน มาซื้อเพิ่มตอนกลับตัวที่3.46 3.5
และมาขายทิ้งแถว5บาทกว่า
อันนี้คือตัวอย่างการไม่คัทลอส
แต่ไงถ้าหุ้นลงมาถึง20%ผมว่าคุณควรพิจารณาดูว่าตัวหุ้นที่คุณซื้อมีอะไรเปลี่ยนแปลงพื้นฐานไปมากไหม คุณอาจต้องเช็คให้ละเอียดมากกว่าตอนซื้อด้วยซ้ำ ถ้าคำตอบคือไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย
ผมว่าคุณควรจะเช็คตัวคุณเองซะมากกว่า
หากลยุทธที่ควร หาจังหวะที่เหมาะ หาหุ้นที่ดี
เฝ้าดูไป โดยใจที่เป็นกลาง
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 1
อังคาร ม.ค. 09, 2007 10:59 am
เห็นด้วยถ้าคุณเก่งเหมือน ดร นิเวศน์ หรือ ปีเตอร์ลินซ์ ที่จะถือไว้ไม่ขาย
แต่ถ้าคุณคิดแต่ว่าคุณเป็น VI ถ้าศึกษาดีแล้วหุ้นตกเท่าไรก็ไม่ขาย
ผมว่าอันตรายมากๆ อย่างน้อยคุณต้องคิดเผื่อทางหนีทีไล่บ้างการทำ
ตามคนอื่นโดยไม่ดูความสามารถตัวเองนี่อันตรายจริงๆนะครับ
ผมเห็นด้วยกับน้องหวีนะครับ ข้อความนี้ถ้าว่าตามตัวหนังสือแล้ว จะเข้าใจได้ชัดๆว่าพูดถึงน้องหวี ซึ่งแฝงความหมายดูถูกอย่างที่น้องหวีเข้าใจจริงๆ คุณ tt สามารถเลี่ยงได้มากมายหลายวิธีที่จะไม่ทำอย่างนี้ เช่น
เห็นด้วยถ้าคุณเก่งเหมือน ดร นิเวศน์ หรือ ปีเตอร์ลินซ์ หรือบัฟเฟตต์ ที่จะถือไว้ไม่ขาย
เห็นไหมครับ แค่แทรกเนื้อหาไปอีกนิดก็จะไม่กลายเป็นการพาดพิงถึงน้องหวีทันที เพราะน้องหวีเองก็บอกอยู่แล้วว่าทำตามบัฟเฟตต์ไม่ได้และไม่กล้าทำเพราะไม่เก่งเท่าบัฟเฟตต์
หรือมีวิธีอื่นๆอีกมากมายเยอะแยะ
แต่เมื่อดูจากประวัติการโพสท์ที่ผ่านมา คุณ tt ก็โพสท์ในลักษณะที่สุภาพเสมอมา ดังนั้นผมจึงเข้าใจว่าโดยเจตนาคุณ tt คงไม่คิดอะไรอย่างนั้น
แต่ว่าเจตนานั้นเป็นเรื่องของจิตใจภายในซึ่งพิสูจน์ไม่ได้ว่าเป็นอย่างไร คุณ tt ควรจะชี้แจงเจตนาให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้ผู้อื่นเดือดร้อน
เมื่อเราพูดไปแล้ว คำพูดจะเป็นนายเรา ตรงนี้สำคัญครับ ไม่ใช่เจตนาแต่อย่างไร
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 1
อังคาร ม.ค. 09, 2007 11:02 am
ทีนี้ไม่เกี่ยวกับใครแล้ว ผมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับ คำว่า
ปรับให้เข้ากับตัวเอง
มาอภิปรายกับเพื่อนๆเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กัน
ในความเห็นผมนั้น คำๆนี้เป็นคำพูดของคนดังๆเก่งๆ ซึ่งฟังดูแล้วก็เท่ห์ หลายๆคนเข้าใจที่มาที่ไปก็ดีไป แต่อีกหลายๆคนไม่เข้าใจ แล้วก็ทำตามเลยเพราะเป็นคำพูดที่เห็นว่าเท่ห์และโก้และที่สำคัญ ทำได้ง่ายและสบายกว่ากันเยอะ
ฟังเผินๆก็จะเห็นว่าคำพูดนี้ ก็ถูกต้องแล้วนี่ ก็เราไม่เหมือนเขา เราก็ต้องปรับให้เหมาะกับตัวเรา แต่เชื่อไหมครับว่าคนที่ปรับให้เหมาะกับตัวเองแล้วประสบผลสำเร็จมีน้อยยิ่งกว่าน้อย ในขณะที่ไม่สำเร็จมีมากมายเหลือเกิน ถามว่ามีสักกี่คนที่ดัดแปลงวิธีของคนดังๆเก่งๆ(ให้เข้ากับตัวเอง)แล้วสามารถเอาชนะเจ้าของทฤษฎีเดิมได้ คำตอบคือน้อยมากครับ
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 1
อังคาร ม.ค. 09, 2007 11:08 am
แต่ถามว่ามีไหม ก็พอมีครับ แล้วอะไรคือข้อแตกต่างระหว่างคนที่ทำสำเร็จกับไม่สำเร็จ
คำตอบคือ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ครับ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เปิดโอกาสให้เราตั้งสมมติฐานได้อย่างเสรี จะเสนอวิธีใหม่ๆแหวกแนวอย่างไรก็ได้ แต่สิ่งสำคัญคือ คุณจะต้องทดสอบสมมติฐานโดยการทดลองหรือเก็บข้อมูลหรือทำวิจัยหรืออะไรก็ตามที่จะสามารถพิสูจน์ได้ตามหลักวิชาการ และจะต้องทนทานต่อการพิสูจน์ด้วย
ถ้าขาดกระบวนการนี้
ไอเดียใหม่ๆที่ว่าก็ไม่ต่างอะไรจากไสยศาสตร์ คิดเอง เออเอง ชอบเอง เชื่อเอง ซึ่งจะไม่สำเร็จในที่สุด
หรืออีกมุมมองหนึ่ง การที่เรา ปรับให้เข้ากับตัวเอง โดยไม่ได้พึ่งพากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก็หมายความว่า คุณละทิ้งทฤษฎีที่มีคนพิสูจน์แล้ว มาหาทฤษฎีของคุณเองซึ่งคุณชอบและถนัด แต่ถามจริงๆว่า ทฤษฎีของคุณเคยผ่านการทดสอบแล้วหรือยัง ทดสอบตามหลักวิชาการนะครับ ไม่ใช่ตามหลักทัศนคติชอบไม่ชอบและการสังเกตุนิดๆหน่อยๆจากประสบการณ์ส่วนตัว
ทฤษฎีที่ยังไม่ผ่านการทดสอบจึงเปรียบเสมือนก้อนเมฆหรือเมฆหมอกยามเช้าที่พร้อมจะสลายตัวเมื่อโดนแสงอาทิตย์แห่งสัจจธรรม
ผมจึงเห็นด้วยกับแนวคิดน้องหวีเต็มๆ และก็ชื่นชมมากๆ
การ ปรับให้เข้ากับตัวเอง แบบผิดๆจึงไม่ต่างจากการกระโดดจากตึกสูงร้อยชั้น หวังมายืนบนก้อนเมฆของตัวเอง
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
tt
Verified User
โพสต์: 1150
ผู้ติดตาม: 0
อังคาร ม.ค. 09, 2007 11:24 am
ขอโทษนะครับ ถ้าทำให้อารมณ์เสีย อย่าคิดมาก ไม่ได้เจตนาจะว่าคุณหรือใคร เพราะเวลาอ่านกระทู้ผมแทบไม่เคยดูเลยว่าใครเขียน (ยกเว้นพี่ chatchai) เป็นการอ่านตั้งแต่ต้นแล้วนำเสนอมุมของผม ซึ่งผมเห็นว่าข้อความของปรมาจารย์ต่างๆที่นำมา post กัน มันมีอันตรายซ่อนอยู่ในตัว
สำหรับคุณที่มีความสามารถก็ OK แต่ มือใหม่ทั้งหลายถ้าเอาแต่ท่องข้อความเหล่านี้โดยไม่คิดให้ดีละก็ .... เหมือนที่มีคนยกตัวอย่าง fancy นี่แหละ ที่สมัยก่อนฮิตพอๆกับ ILINK สมัยนี้ อย่าคิดมากครับ สงสัยอ่านอย่างเดียวจะดีกว่าแฮะไม่น่าเลยเรา