ใครยังไม่ได้อ่านก้อ่านซะ
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
ใครยังไม่ได้อ่านก้อ่านซะ
โพสต์ที่ 1
ผมว่าเป็นการเปรียบเทียบที่เห็นภาพและเตือนสติพวกเราได้เป็นอย่างดีครับ
นิทานอีสป โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ตั้งแต่ต้นปีมาจนถึงวันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน 2546 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ได้ปรับตัวขึ้นประมาณ 27% แล้ว และตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเดือนที่ผ่านมามีความคึกคักเหมือนกระทิงเปลี่ยว หุ้นขนาดใหญ่และหุ้นยอดนิยมทั้งหลายมีการปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจนหลายคน ขึ้นรถ แทบไม่ทัน
ในภาวะที่ตลาดหุ้นบูมนั้น จากการสังเกตของผมที่ผ่านมาหลายปี หุ้นที่เป็น Value Stock มักจะปรับตัวขึ้นช้า หุ้นหลายตัวกลับมีราคาลดลงสวนภาวะตลาด ทฤษฎีของผมก็คือคนขายหุ้นที่เป็น Value Stock เพื่อเอาเงินไปเล่นหุ้นที่กำลังวิ่ง
ถามว่า ในฐานะของ Value Investor เราควรทำอย่างไรเมื่อพบกับสถานการณ์แบบนี้?
โดยส่วนตัวผมไม่ทำอะไร ผมเคยทำอย่างไรผมก็ทำอย่างนั้น หลักการของ Value Investment ที่สำคัญมากข้อหนึ่งก็คือ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ขึ้นลงนั้นไม่ใช่เงื่อนไขหรือสัญญาณการซื้อหรือขายหุ้น
ถ้าถามต่อว่า การอยู่เฉย ๆ จะไม่ทำให้ผลตอบแทนการลงทุนแบบ Value Investment ด้อยลงในภาวะที่ตลาดหุ้นกำลังบูมหรือ? ทำไมไม่เปลี่ยนไปเล่นหุ้นเก็งกำไรชั่วคราวซึ่งเห็นชัดว่าจะได้กำไรอย่างรวดเร็วเป็นกอบเป็นกำแทนที่จะผูกติดกับหุ้นที่รอกินปันผลไม่กี่เปอร์เซ็นต์และต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน
คำตอบของผมก็คือ ไม่มีใครรู้ว่าภาวะตลาดจะเป็นอย่างไรในวันพรุ่งนี้แม้ว่าหุ้นจะวิ่งมาเป็นเดือน เพราะฉะนั้นถ้าคุณไม่ใช่นักเก็งกำไร หรือไม่ได้เล่นแบบเก็งกำไรมาแต่แรกก็จงทำใจและยินดีกับคนที่เขาเล่นแบบนั้นมาตลอด สิ่งที่คุณควรจะหวังก็คือ หวังว่าในที่สุดหุ้น Value ของคุณก็จะขึ้นไปตามพื้นฐานของมัน หรือตามภาวะตลาดเมื่อหุ้นเก็งกำไรขึ้นกันไปหมดแล้ว
ในอีกด้านหนึ่ง ดัชนีตลาดหลักทรัพย์อาจจะผันผวนตกลงมาเมื่อไรก็ได้ เพราะเวลาหุ้นขึ้นก็ไม่เคยมีใครบอกว่ามันกำลังจะวิ่งแล้ว เพราะฉะนั้นการเล่นหุ้นโดยอิงภาวะตลาดนั้นเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงสูงและอาจจะเปลี่ยนชะตากรรมของคนที่เล่นได้ง่าย ๆ
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาและเพื่อที่จะเป็นเครื่องเตือนใจนักลงทุนทั้งหลายทั้งปวง ผมจึงอยากที่จะเสนอนิทานอีสป 3 เรื่อง สำหรับคน 3 กลุ่มในตลาดหุ้นที่กำลังเริงรื่น หรือที่กำลังผิดหวังและสัปสนดังต่อไปนี้
สำหรับนักลงทุนกลุ่มแรกที่เป็นนักเก็งกำไรที่มีอยู่มากในตลาดหุ้นและกำลังมีความสุขจากผลตอบแทนที่ได้รับนั้น โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าปีนี้จะเป็นปีที่ดีของพวกเขา แต่ในความรื่นเริงนี้ ควรจะคิดถึงนิทานเรื่องแมลงวันกับโถน้ำผึ้งซึ่งเล่ากันอย่างนี้ครับ:
แมลงวันฝูงหนึ่งพบโถน้ำผึ้งล้มตะแคงและมีน้ำผึ้งไหลออกจากปากโถนองอยู่บนพื้น ฝูงแมลงวันจึงพากันลงดูดกันด้วยความเอร็ดอร่อยแม้อิ่มแล้วก็ยังไม่ยอมบินจากไป คงเดินวนเวียนอยู่เช่นนั้นเพราะติดใจในรสชาดความหอมหวาน ทำให้ขาและปีกของพวกมันถูกน้ำผึ้งจับติดจนไม่อาจขยับตัวได้
โธ่เอ๋ยพวกเรา นี่เพราะความไม่รู้จักพอ หลงเพลิดเพลินในความสุขจึงทำให้ต้องพบกับเคราะห์กรรมเช่นนี้ แมลงวันทั้งหลายต่างพากันร้องคร่ำครวญ
นักลงทุนกลุ่มที่สองที่เป็น Value Investor แต่กำลังสับสนและอาจจะมีความโลภที่อยากจะได้ผลตตอบแทนที่ดีกว่าในภาวะที่ตลาดกำลังบูมอย่างแรง ก่อนที่จะคิดละทิ้งการลงทุนแบบ Value Investment ไปลองเสี่ยงกับการเก็งกำไร ควรที่จะฟังนิทานเรื่องสุนัขกับเงาครับ:
สุนัขตัวหนึ่งลักเนื้อจากตลาดคาบวิ่งข้ามสะพานมา ขณะอยู่บนสะพานมันเหลือบเห็นเงาของตังเองในน้ำ แต่เข้าใจว่าเป็นสุนัขอีกตัวหนึ่งซึ่งคาบเนื้อชิ้นใหญ่กว่า มันอ้าปากหมายจะงับแย่งชิ้นเนื้อจากสุนัขที่มองเห็นในน้ำ เนื้อในปากของมันจึงตกน้ำจมหายไป
สุนัขโง่ตัวนี้ต้องสูญเสียทั้งเนื้อของตนและเนื้อที่ตนคิดอยากจะได้
สำหรับนักลงทุนกลุ่มสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ Value Investor พันธุ์แท้ที่อาจจะกำลังหดหู่กับผลงานการลงทุนของตนเอง และอาจจะถูกเยาะเย้ยถากถางจากคนอื่นหรือบางทีอาจจะคิดไปเอง ผมคิดว่าไม่มีนิทานอีสปเรื่องไหนดีเท่ากับเรื่องนี้นั่นก็คือ กระต่ายกับเต่า:
กระต่ายตัวหนึ่งหลงทนงในฝีเท้าของตนว่าสามารถวิ่งได้รวดเร็วดุจสายลม วันหนึ่งพบเต่าคลานต้วมเตี้ยมผ่านหน้าไป กระต่ายจึงกล่าววาจาเยาะเย้ยด้วยความคึกคะนอง
มัวแต่คลานเชื่องช้าอยู่แบบนี้เมื่อไหร่จะไปถึงจุดหมายปลายทางเล่าเพื่อน อย่างนี้ข้าต่อให้คลานล่วงหน้าไปก่อนสักครึ่งวันก็คงวิ่งตามทัน
ไม่ต้องต่อให้ข้าหรอก เต่ารู้สึกไม่พอใจ กระต่ายขี้โม้อย่างเจ้าไม่เห็นว่าจะเก่งกาจตรงไหน ไม่เชื่อเรามาลองวิ่งแข่งกันก็ได้
ว่าไงนะ กระต่ายแทบไม่เชื่อหูตัวเอง เจ้านะหรือกล้าท้าแข่งกับข้า ฮะฮะฮะ
เมื่อเริ่มการแข่งขัน กระต่ายวิ่งออกจากจุดเริ่มต้นสุดฝีเท้า ครั้นถึงครึ่งทางเหลียวกลับมาไม่พบแม้เงาของคู่แข่ง ก็ชะล่าใจ เข้านอนพักใต้ร่มไม้และเผลอหลับไป
เจ้ากระต่ายสะดุ้งตื่นขึ้นมาเมื่อได้ยินเสียงไชโยโห่ร้อง เห็นรอยเท้าสัตว์ต่าง ๆ มากมายบนทางที่ใช้แข่งขันรู้สึกผิดสังเกต มันรีบวิ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วและพบว่าเต่ากำลังวิ่งเข้าเส้นชัย เจ้ากระต่ายออกแรงวิ่งสุดฝีเท้าแต่ก็สายไปแล้ว พวกสัตว์ป่าต่างห้อมล้อมเข้าไปแสดงความยินดีกับเต่าตัวแรกที่สามารถเอาชนะกระต่ายได้ในการวิ่งแข่งขัน
สำหรับการลงทุนระยะยาวแล้ว ผมคิดว่าเต่าจะสามารถเอาชนะกระต่ายได้เสมอเพราะเป้าหมายการลงทุนระยะยาวนั้น มักจะต้องผ่านอุปสรรคมากมายเปรียบเสมือนหนองน้ำป่าเขา และทุ่งหญ้าที่เต็มไปด้วยงูพิษ เต่าที่สามารถเดินทางได้ในทุกสภาพภูมิประเทศและมีเกราะป้องกันตัวอย่างดี ย่อมสามารถไปถึงจุดมุ่งหมายที่อยู่ไกลออกไปในขณะที่กระต่ายนั้นไม่สามารถฝ่าอุปสรรคที่โหดร้ายและสุดท้ายก็อาจจะตกเป็นเหยื่อของงูและสัตว์กินเนื้ออื่น ๆ
นิทานอีสปทั้ง 3 เรื่องนี้ถูกเล่าขานต่อกันมาช้านาน ว่ากันว่าอีสปมีชีวิตอยู่เมื่อกว่า 2500 ปีมาแล้ว ถึงวันนี้ผมคิดว่าข้อคิดข้อเตือนใจของอีสปก็ยังทันสมัยอยู่เสมอและน่าจะเป็นเครื่องเตือนใจให้กับนักลงทุนไทยในภาวะเช่นนี้ได้ดีกว่าสุภาษิตใด ๆ
นิทานอีสป โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ตั้งแต่ต้นปีมาจนถึงวันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน 2546 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ได้ปรับตัวขึ้นประมาณ 27% แล้ว และตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเดือนที่ผ่านมามีความคึกคักเหมือนกระทิงเปลี่ยว หุ้นขนาดใหญ่และหุ้นยอดนิยมทั้งหลายมีการปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจนหลายคน ขึ้นรถ แทบไม่ทัน
ในภาวะที่ตลาดหุ้นบูมนั้น จากการสังเกตของผมที่ผ่านมาหลายปี หุ้นที่เป็น Value Stock มักจะปรับตัวขึ้นช้า หุ้นหลายตัวกลับมีราคาลดลงสวนภาวะตลาด ทฤษฎีของผมก็คือคนขายหุ้นที่เป็น Value Stock เพื่อเอาเงินไปเล่นหุ้นที่กำลังวิ่ง
ถามว่า ในฐานะของ Value Investor เราควรทำอย่างไรเมื่อพบกับสถานการณ์แบบนี้?
โดยส่วนตัวผมไม่ทำอะไร ผมเคยทำอย่างไรผมก็ทำอย่างนั้น หลักการของ Value Investment ที่สำคัญมากข้อหนึ่งก็คือ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่ขึ้นลงนั้นไม่ใช่เงื่อนไขหรือสัญญาณการซื้อหรือขายหุ้น
ถ้าถามต่อว่า การอยู่เฉย ๆ จะไม่ทำให้ผลตอบแทนการลงทุนแบบ Value Investment ด้อยลงในภาวะที่ตลาดหุ้นกำลังบูมหรือ? ทำไมไม่เปลี่ยนไปเล่นหุ้นเก็งกำไรชั่วคราวซึ่งเห็นชัดว่าจะได้กำไรอย่างรวดเร็วเป็นกอบเป็นกำแทนที่จะผูกติดกับหุ้นที่รอกินปันผลไม่กี่เปอร์เซ็นต์และต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน
คำตอบของผมก็คือ ไม่มีใครรู้ว่าภาวะตลาดจะเป็นอย่างไรในวันพรุ่งนี้แม้ว่าหุ้นจะวิ่งมาเป็นเดือน เพราะฉะนั้นถ้าคุณไม่ใช่นักเก็งกำไร หรือไม่ได้เล่นแบบเก็งกำไรมาแต่แรกก็จงทำใจและยินดีกับคนที่เขาเล่นแบบนั้นมาตลอด สิ่งที่คุณควรจะหวังก็คือ หวังว่าในที่สุดหุ้น Value ของคุณก็จะขึ้นไปตามพื้นฐานของมัน หรือตามภาวะตลาดเมื่อหุ้นเก็งกำไรขึ้นกันไปหมดแล้ว
ในอีกด้านหนึ่ง ดัชนีตลาดหลักทรัพย์อาจจะผันผวนตกลงมาเมื่อไรก็ได้ เพราะเวลาหุ้นขึ้นก็ไม่เคยมีใครบอกว่ามันกำลังจะวิ่งแล้ว เพราะฉะนั้นการเล่นหุ้นโดยอิงภาวะตลาดนั้นเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงสูงและอาจจะเปลี่ยนชะตากรรมของคนที่เล่นได้ง่าย ๆ
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาและเพื่อที่จะเป็นเครื่องเตือนใจนักลงทุนทั้งหลายทั้งปวง ผมจึงอยากที่จะเสนอนิทานอีสป 3 เรื่อง สำหรับคน 3 กลุ่มในตลาดหุ้นที่กำลังเริงรื่น หรือที่กำลังผิดหวังและสัปสนดังต่อไปนี้
สำหรับนักลงทุนกลุ่มแรกที่เป็นนักเก็งกำไรที่มีอยู่มากในตลาดหุ้นและกำลังมีความสุขจากผลตอบแทนที่ได้รับนั้น โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าปีนี้จะเป็นปีที่ดีของพวกเขา แต่ในความรื่นเริงนี้ ควรจะคิดถึงนิทานเรื่องแมลงวันกับโถน้ำผึ้งซึ่งเล่ากันอย่างนี้ครับ:
แมลงวันฝูงหนึ่งพบโถน้ำผึ้งล้มตะแคงและมีน้ำผึ้งไหลออกจากปากโถนองอยู่บนพื้น ฝูงแมลงวันจึงพากันลงดูดกันด้วยความเอร็ดอร่อยแม้อิ่มแล้วก็ยังไม่ยอมบินจากไป คงเดินวนเวียนอยู่เช่นนั้นเพราะติดใจในรสชาดความหอมหวาน ทำให้ขาและปีกของพวกมันถูกน้ำผึ้งจับติดจนไม่อาจขยับตัวได้
โธ่เอ๋ยพวกเรา นี่เพราะความไม่รู้จักพอ หลงเพลิดเพลินในความสุขจึงทำให้ต้องพบกับเคราะห์กรรมเช่นนี้ แมลงวันทั้งหลายต่างพากันร้องคร่ำครวญ
นักลงทุนกลุ่มที่สองที่เป็น Value Investor แต่กำลังสับสนและอาจจะมีความโลภที่อยากจะได้ผลตตอบแทนที่ดีกว่าในภาวะที่ตลาดกำลังบูมอย่างแรง ก่อนที่จะคิดละทิ้งการลงทุนแบบ Value Investment ไปลองเสี่ยงกับการเก็งกำไร ควรที่จะฟังนิทานเรื่องสุนัขกับเงาครับ:
สุนัขตัวหนึ่งลักเนื้อจากตลาดคาบวิ่งข้ามสะพานมา ขณะอยู่บนสะพานมันเหลือบเห็นเงาของตังเองในน้ำ แต่เข้าใจว่าเป็นสุนัขอีกตัวหนึ่งซึ่งคาบเนื้อชิ้นใหญ่กว่า มันอ้าปากหมายจะงับแย่งชิ้นเนื้อจากสุนัขที่มองเห็นในน้ำ เนื้อในปากของมันจึงตกน้ำจมหายไป
สุนัขโง่ตัวนี้ต้องสูญเสียทั้งเนื้อของตนและเนื้อที่ตนคิดอยากจะได้
สำหรับนักลงทุนกลุ่มสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ Value Investor พันธุ์แท้ที่อาจจะกำลังหดหู่กับผลงานการลงทุนของตนเอง และอาจจะถูกเยาะเย้ยถากถางจากคนอื่นหรือบางทีอาจจะคิดไปเอง ผมคิดว่าไม่มีนิทานอีสปเรื่องไหนดีเท่ากับเรื่องนี้นั่นก็คือ กระต่ายกับเต่า:
กระต่ายตัวหนึ่งหลงทนงในฝีเท้าของตนว่าสามารถวิ่งได้รวดเร็วดุจสายลม วันหนึ่งพบเต่าคลานต้วมเตี้ยมผ่านหน้าไป กระต่ายจึงกล่าววาจาเยาะเย้ยด้วยความคึกคะนอง
มัวแต่คลานเชื่องช้าอยู่แบบนี้เมื่อไหร่จะไปถึงจุดหมายปลายทางเล่าเพื่อน อย่างนี้ข้าต่อให้คลานล่วงหน้าไปก่อนสักครึ่งวันก็คงวิ่งตามทัน
ไม่ต้องต่อให้ข้าหรอก เต่ารู้สึกไม่พอใจ กระต่ายขี้โม้อย่างเจ้าไม่เห็นว่าจะเก่งกาจตรงไหน ไม่เชื่อเรามาลองวิ่งแข่งกันก็ได้
ว่าไงนะ กระต่ายแทบไม่เชื่อหูตัวเอง เจ้านะหรือกล้าท้าแข่งกับข้า ฮะฮะฮะ
เมื่อเริ่มการแข่งขัน กระต่ายวิ่งออกจากจุดเริ่มต้นสุดฝีเท้า ครั้นถึงครึ่งทางเหลียวกลับมาไม่พบแม้เงาของคู่แข่ง ก็ชะล่าใจ เข้านอนพักใต้ร่มไม้และเผลอหลับไป
เจ้ากระต่ายสะดุ้งตื่นขึ้นมาเมื่อได้ยินเสียงไชโยโห่ร้อง เห็นรอยเท้าสัตว์ต่าง ๆ มากมายบนทางที่ใช้แข่งขันรู้สึกผิดสังเกต มันรีบวิ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วและพบว่าเต่ากำลังวิ่งเข้าเส้นชัย เจ้ากระต่ายออกแรงวิ่งสุดฝีเท้าแต่ก็สายไปแล้ว พวกสัตว์ป่าต่างห้อมล้อมเข้าไปแสดงความยินดีกับเต่าตัวแรกที่สามารถเอาชนะกระต่ายได้ในการวิ่งแข่งขัน
สำหรับการลงทุนระยะยาวแล้ว ผมคิดว่าเต่าจะสามารถเอาชนะกระต่ายได้เสมอเพราะเป้าหมายการลงทุนระยะยาวนั้น มักจะต้องผ่านอุปสรรคมากมายเปรียบเสมือนหนองน้ำป่าเขา และทุ่งหญ้าที่เต็มไปด้วยงูพิษ เต่าที่สามารถเดินทางได้ในทุกสภาพภูมิประเทศและมีเกราะป้องกันตัวอย่างดี ย่อมสามารถไปถึงจุดมุ่งหมายที่อยู่ไกลออกไปในขณะที่กระต่ายนั้นไม่สามารถฝ่าอุปสรรคที่โหดร้ายและสุดท้ายก็อาจจะตกเป็นเหยื่อของงูและสัตว์กินเนื้ออื่น ๆ
นิทานอีสปทั้ง 3 เรื่องนี้ถูกเล่าขานต่อกันมาช้านาน ว่ากันว่าอีสปมีชีวิตอยู่เมื่อกว่า 2500 ปีมาแล้ว ถึงวันนี้ผมคิดว่าข้อคิดข้อเตือนใจของอีสปก็ยังทันสมัยอยู่เสมอและน่าจะเป็นเครื่องเตือนใจให้กับนักลงทุนไทยในภาวะเช่นนี้ได้ดีกว่าสุภาษิตใด ๆ
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
ใครยังไม่ได้อ่านก้อ่านซะ
โพสต์ที่ 6
หลายคนอ่านกหลายความคิดครับ บางคนบอกว่าเป็นการบัฟกันระหว่างVIกับVS บางคนว่ามันเป็นความสะเพร่าของอีตาอีสปเองที่เขียนนิทานไม่ละเอียดพอ
จริงๆแล้วตอนผมอ่านทีแรกเลย ความคิดผมมันไม่ได้ฟุ้งไปไกลขนาดนั้นครับ ผมเห็นเพียงแค่ว่า
อาจารย์ท่านยกนิทานมาเตือนสตินักลงทุนทุกสไตในเวลาเดียวกัน....
ท่านเตือนนักเก็งกำไร ไม่ให้เพลินจนเกินไปจนไม่ได้ดูว่าขาใหญ่เขาไปกันหมดแล้ว คล้ายกับน้ำผึ้งที่เหลือติดก้นไห แมลงกลุ่มสุดท้ายก็ปีกติดแข็งไปกับน้ำผึ้งที่ติดไห เห็นกันมาแล้วครับเมื่อตลาดวายเมื่อ5-6ปีที่ผ่านมา.....ดังที่พี่ปรัชญาเล่าให้ฟัง
ท่านเตือนVIที่กำลังทนกับความเย้ายวนของเส้นกราฟที่นับวันมันจะพุ่งสูงชันเข้าทุกทีว่า ให้ดูตาม้าตาเรือซะก่อนที่จะทำอะไร เพราะหากว่ามันพลาดขึ้นมาละก็ ....อดหมดทุกอย่าง ดังเช่นหมาในนิทาน
ท่านให้กำลังในVIที่ยังยึดมั่นให้คงความอดทน และรักษาวินัยไว้ให้เหนียวแน่น ดังเช่นเต่าที่พยายามเดินไปเลื่อยๆอย่างไม่ย่อท้อ และไม่มีสิ่งใดมาทำอันตรายได้ เพราะมีกระดองที่แข็งแกร่งปกป้องอยู่ เสมือนเราได้เลือกหุ้นที่ดีมีคุณภาพคงทนได้ทุกสภาพการณ์ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ผมได้รับจากบทความนี้ของท่านอ.นิเวศน์
จริงๆแล้วตอนผมอ่านทีแรกเลย ความคิดผมมันไม่ได้ฟุ้งไปไกลขนาดนั้นครับ ผมเห็นเพียงแค่ว่า
อาจารย์ท่านยกนิทานมาเตือนสตินักลงทุนทุกสไตในเวลาเดียวกัน....
ท่านเตือนนักเก็งกำไร ไม่ให้เพลินจนเกินไปจนไม่ได้ดูว่าขาใหญ่เขาไปกันหมดแล้ว คล้ายกับน้ำผึ้งที่เหลือติดก้นไห แมลงกลุ่มสุดท้ายก็ปีกติดแข็งไปกับน้ำผึ้งที่ติดไห เห็นกันมาแล้วครับเมื่อตลาดวายเมื่อ5-6ปีที่ผ่านมา.....ดังที่พี่ปรัชญาเล่าให้ฟัง
ท่านเตือนVIที่กำลังทนกับความเย้ายวนของเส้นกราฟที่นับวันมันจะพุ่งสูงชันเข้าทุกทีว่า ให้ดูตาม้าตาเรือซะก่อนที่จะทำอะไร เพราะหากว่ามันพลาดขึ้นมาละก็ ....อดหมดทุกอย่าง ดังเช่นหมาในนิทาน
ท่านให้กำลังในVIที่ยังยึดมั่นให้คงความอดทน และรักษาวินัยไว้ให้เหนียวแน่น ดังเช่นเต่าที่พยายามเดินไปเลื่อยๆอย่างไม่ย่อท้อ และไม่มีสิ่งใดมาทำอันตรายได้ เพราะมีกระดองที่แข็งแกร่งปกป้องอยู่ เสมือนเราได้เลือกหุ้นที่ดีมีคุณภาพคงทนได้ทุกสภาพการณ์ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ผมได้รับจากบทความนี้ของท่านอ.นิเวศน์
- mrj
- Verified User
- โพสต์: 12
- ผู้ติดตาม: 0
เก็บมาฝาก ...
โพสต์ที่ 7
เดินสวนกระแส : กองทุนปลุกหุ้น( ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ , 27มิ. ย. 46 )
----------------------------------------
การจัดตั้งกองทุน ระดมเงินจากประชาชน เพื่อลงทุนในหุ้น กำลังกลายเป็นแฟชั่น ไม่เว้นแม้แต่ตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งโดดร่วมวง
ตลาดหลักทรัพย์ประกาศตั้งกองทุนประมาณ 10 แห่ง โดยร่วมมือกับบริษัทโบรกเกอร์และบลจ. และเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาลงทุน
กองทุนที่จะจัดตั้งจะเป็นกองทุนเปิด ซึ่งตลาดหลักทรัพย์จะควักเงินลงขัน และขายหน่วยลงทุนให้ประชาชนที่สนใจ นำเงินที่ได้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยแต่ละกองทุนจะลงทุนในหุ้นไม่เกิน 25 บริษัท
ถ้าฟังเหตุผลของการจัดตั้งกองทุนแล้ว ไม่น่าจะมีอะไรเสียหาย แต่ก็มีเสียงวิจารณ์ถึงบทบาทของตลาดหลักทรัพย์ ที่มีหน้าที่ดูแลการซื้อขายหุ้นให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม หรือมีฐานะเป็นเจ้ามือ แต่การจัดตั้งกองทุน หมายถึงเจ้ามือกำลังจะลงมาเล่นเอง ทั้งที่เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อแสวงหาผลกำไร
และในอดีตตลาดหลักทรัพย์ก็ไม่เคยจัดตั้งกองทุนที่จะซื้อหุ้น แม้ในช่วงภาวะวิกฤติ โดยปล่อยให้บริษัทโบรกเกอร์ เป็นหัวหอกในการจัดตั้งกองทุนกู้วิกฤติตลาดหุ้น
วันนี้ตลาดหุ้นกำลังคึกคัก ตลาดหลักทรัพย์จึงชิงจังหวะ จัดตั้งกองทุนหากำไรจากหุ้น บทบาทของตลาดหลักทรัพย์ในการจัดตั้งกองทุนจะเหมาะสมหรือไม่ คงจะเป็นสิ่งที่วิพากษ์วิจารณ์กันต่อไป
แต่การที่หน่วยงานภาครัฐ แห่จัดตั้งกองทุนกันในช่วงนี้ ถือเป็นความเคลื่อนไหวในตลาดทุนที่น่าสนใจ เพราะในอดีตเคยมีการแห่จัดตั้งกองทุนในช่วงเวลาเดียวกัน มีเป้าหมายระดมเงินจากประชาชนเหมือนกัน สุดท้ายนักลงทุนที่ซื้อหน่วยลงทุนบาดเจ็บ เพราะกองทุนขาดทุนจากการซื้อหุ้นกันป่นปี้
เมื่อช่วงปลายปี 2536 ซึ่งตลาดหุ้นกลับมาสู่ความคึกคัก ทำให้บรรดา บลจ.ที่มีอยู่ทั้งหมด 8 แห่ง แห่จัดตั้งกองทุนรวม กองทุนรวมหุ้นตั้งกันเป็นรายสัปดาห์ แต่ละกองทุนระดมเงินจากประชาชนประมาณ 3-5 พันล้านบาท โดยในช่วงเวลาไม่กี่เดือน กองทุนรวมระดมเงินไปหว่านลงในตลาดหุ้นหลายหมื่นล้านบาท
การจัดตั้งกองทุนรวมในช่วงนั้น กระตุ้นให้นักลงทุนรายย่อยแห่เข้าตลาดหุ้น เพิ่มอุณหภูมิความร้อนแรงของการเก็งกำไร โดยนักลงทุนรายย่อยประเมินว่า เงินที่กองทุนรวมระดมมาจำนวนหลายหมื่นล้านบาท เมื่อนำเข้ามาซื้อหุ้น จะผลักดันให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น จึงแห่ซื้อหุ้นดักหน้ากองทุน
ช่วงเวลาเพียง 3 เดือน ระหว่างสิ้นเดือน ก.ย. 2536-ต้น ม.ค.2537 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์พุ่งทะยานจาก 900 จุด ขึ้นไปสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 1,753 จุด แต่ขณะที่นักลงทุนรายย่อย กำลังมัวเมาในการเก็งกำไร กองทุนรวมที่ระดมเงินมาหลายหมื่นล้านบาท ปรากฏว่านักลงทุนต่างประเทศได้ทยอยขายหุ้นทำกำไรออก
นักลงทุนรายย่อย กองทุนรวมในประเทศ เข้าไปรับซื้อหุ้นราคาแพงจากฝรั่ง ซึ่งเทขายหุ้นขนกำไรกลับบ้านอย่างสบาย ขณะที่กองทุนรวมในประเทศสาหัส เพราะมูลค่าหน่วยลงทุนที่เสนอขาย 10 บาท ราคาลดเหลือ 2-3 บาท จนทำให้ประชาชนเข็ดขยาดการลงทุนผ่านกองทุนรวมมาหลายปี
ตลาดหลักทรัพย์อาจมีเจตนาดี โดยหวังสร้างทางเลือกให้ประชาชน อาจมีเจตนาดี ในการส่งสัญญาณให้ประชาชนรู้ว่า ตลาดหุ้นกำลังมีผลตอบแทนที่ดี จึงจัดกิจกรรมนำร่อง เพื่อตอกย้ำความเชื่อมั่น
แต่ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยเหมือนปลายปี 2536 หรือไม่ กองทุนของตลาดหลักทรัพย์จะเป็นกองทุนที่ปลุกใจแมลงเม่า ให้แห่กันบินเข้ากองไฟ เก็งกำไรกันฝุ่นตลบ จนตลาดหุ้นโอเวอร์ฮีทหรือไม่
เงินของตลาดหลักทรัพย์ ถ้าจะพังไปคงไม่เท่าไร แต่เงินออมของชาวบ้านตาดำๆ ช่วยระวังกันหน่อย อย่าปลุกระดมจนถูกขนมาผลาญในตลาดหุ้น
.
----------------------------------------
การจัดตั้งกองทุน ระดมเงินจากประชาชน เพื่อลงทุนในหุ้น กำลังกลายเป็นแฟชั่น ไม่เว้นแม้แต่ตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งโดดร่วมวง
ตลาดหลักทรัพย์ประกาศตั้งกองทุนประมาณ 10 แห่ง โดยร่วมมือกับบริษัทโบรกเกอร์และบลจ. และเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาลงทุน
กองทุนที่จะจัดตั้งจะเป็นกองทุนเปิด ซึ่งตลาดหลักทรัพย์จะควักเงินลงขัน และขายหน่วยลงทุนให้ประชาชนที่สนใจ นำเงินที่ได้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยแต่ละกองทุนจะลงทุนในหุ้นไม่เกิน 25 บริษัท
ถ้าฟังเหตุผลของการจัดตั้งกองทุนแล้ว ไม่น่าจะมีอะไรเสียหาย แต่ก็มีเสียงวิจารณ์ถึงบทบาทของตลาดหลักทรัพย์ ที่มีหน้าที่ดูแลการซื้อขายหุ้นให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม หรือมีฐานะเป็นเจ้ามือ แต่การจัดตั้งกองทุน หมายถึงเจ้ามือกำลังจะลงมาเล่นเอง ทั้งที่เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อแสวงหาผลกำไร
และในอดีตตลาดหลักทรัพย์ก็ไม่เคยจัดตั้งกองทุนที่จะซื้อหุ้น แม้ในช่วงภาวะวิกฤติ โดยปล่อยให้บริษัทโบรกเกอร์ เป็นหัวหอกในการจัดตั้งกองทุนกู้วิกฤติตลาดหุ้น
วันนี้ตลาดหุ้นกำลังคึกคัก ตลาดหลักทรัพย์จึงชิงจังหวะ จัดตั้งกองทุนหากำไรจากหุ้น บทบาทของตลาดหลักทรัพย์ในการจัดตั้งกองทุนจะเหมาะสมหรือไม่ คงจะเป็นสิ่งที่วิพากษ์วิจารณ์กันต่อไป
แต่การที่หน่วยงานภาครัฐ แห่จัดตั้งกองทุนกันในช่วงนี้ ถือเป็นความเคลื่อนไหวในตลาดทุนที่น่าสนใจ เพราะในอดีตเคยมีการแห่จัดตั้งกองทุนในช่วงเวลาเดียวกัน มีเป้าหมายระดมเงินจากประชาชนเหมือนกัน สุดท้ายนักลงทุนที่ซื้อหน่วยลงทุนบาดเจ็บ เพราะกองทุนขาดทุนจากการซื้อหุ้นกันป่นปี้
เมื่อช่วงปลายปี 2536 ซึ่งตลาดหุ้นกลับมาสู่ความคึกคัก ทำให้บรรดา บลจ.ที่มีอยู่ทั้งหมด 8 แห่ง แห่จัดตั้งกองทุนรวม กองทุนรวมหุ้นตั้งกันเป็นรายสัปดาห์ แต่ละกองทุนระดมเงินจากประชาชนประมาณ 3-5 พันล้านบาท โดยในช่วงเวลาไม่กี่เดือน กองทุนรวมระดมเงินไปหว่านลงในตลาดหุ้นหลายหมื่นล้านบาท
การจัดตั้งกองทุนรวมในช่วงนั้น กระตุ้นให้นักลงทุนรายย่อยแห่เข้าตลาดหุ้น เพิ่มอุณหภูมิความร้อนแรงของการเก็งกำไร โดยนักลงทุนรายย่อยประเมินว่า เงินที่กองทุนรวมระดมมาจำนวนหลายหมื่นล้านบาท เมื่อนำเข้ามาซื้อหุ้น จะผลักดันให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น จึงแห่ซื้อหุ้นดักหน้ากองทุน
ช่วงเวลาเพียง 3 เดือน ระหว่างสิ้นเดือน ก.ย. 2536-ต้น ม.ค.2537 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์พุ่งทะยานจาก 900 จุด ขึ้นไปสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 1,753 จุด แต่ขณะที่นักลงทุนรายย่อย กำลังมัวเมาในการเก็งกำไร กองทุนรวมที่ระดมเงินมาหลายหมื่นล้านบาท ปรากฏว่านักลงทุนต่างประเทศได้ทยอยขายหุ้นทำกำไรออก
นักลงทุนรายย่อย กองทุนรวมในประเทศ เข้าไปรับซื้อหุ้นราคาแพงจากฝรั่ง ซึ่งเทขายหุ้นขนกำไรกลับบ้านอย่างสบาย ขณะที่กองทุนรวมในประเทศสาหัส เพราะมูลค่าหน่วยลงทุนที่เสนอขาย 10 บาท ราคาลดเหลือ 2-3 บาท จนทำให้ประชาชนเข็ดขยาดการลงทุนผ่านกองทุนรวมมาหลายปี
ตลาดหลักทรัพย์อาจมีเจตนาดี โดยหวังสร้างทางเลือกให้ประชาชน อาจมีเจตนาดี ในการส่งสัญญาณให้ประชาชนรู้ว่า ตลาดหุ้นกำลังมีผลตอบแทนที่ดี จึงจัดกิจกรรมนำร่อง เพื่อตอกย้ำความเชื่อมั่น
แต่ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยเหมือนปลายปี 2536 หรือไม่ กองทุนของตลาดหลักทรัพย์จะเป็นกองทุนที่ปลุกใจแมลงเม่า ให้แห่กันบินเข้ากองไฟ เก็งกำไรกันฝุ่นตลบ จนตลาดหุ้นโอเวอร์ฮีทหรือไม่
เงินของตลาดหลักทรัพย์ ถ้าจะพังไปคงไม่เท่าไร แต่เงินออมของชาวบ้านตาดำๆ ช่วยระวังกันหน่อย อย่าปลุกระดมจนถูกขนมาผลาญในตลาดหุ้น
.
- mrj
- Verified User
- โพสต์: 12
- ผู้ติดตาม: 0
เก็บมาฝาก ...
โพสต์ที่ 8
เดินสวนกระแส : กองทุนปลุกหุ้น ( ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ , 27มิ. ย. 46 )
----------------------------------------
การจัดตั้งกองทุน ระดมเงินจากประชาชน เพื่อลงทุนในหุ้น กำลังกลายเป็นแฟชั่น ไม่เว้นแม้แต่ตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งโดดร่วมวง
ตลาดหลักทรัพย์ประกาศตั้งกองทุนประมาณ 10 แห่ง โดยร่วมมือกับบริษัทโบรกเกอร์และบลจ. และเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาลงทุน
กองทุนที่จะจัดตั้งจะเป็นกองทุนเปิด ซึ่งตลาดหลักทรัพย์จะควักเงินลงขัน และขายหน่วยลงทุนให้ประชาชนที่สนใจ นำเงินที่ได้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยแต่ละกองทุนจะลงทุนในหุ้นไม่เกิน 25 บริษัท
ถ้าฟังเหตุผลของการจัดตั้งกองทุนแล้ว ไม่น่าจะมีอะไรเสียหาย แต่ก็มีเสียงวิจารณ์ถึงบทบาทของตลาดหลักทรัพย์ ที่มีหน้าที่ดูแลการซื้อขายหุ้นให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม หรือมีฐานะเป็นเจ้ามือ แต่การจัดตั้งกองทุน หมายถึงเจ้ามือกำลังจะลงมาเล่นเอง ทั้งที่เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อแสวงหาผลกำไร
และในอดีตตลาดหลักทรัพย์ก็ไม่เคยจัดตั้งกองทุนที่จะซื้อหุ้น แม้ในช่วงภาวะวิกฤติ โดยปล่อยให้บริษัทโบรกเกอร์ เป็นหัวหอกในการจัดตั้งกองทุนกู้วิกฤติตลาดหุ้น
วันนี้ตลาดหุ้นกำลังคึกคัก ตลาดหลักทรัพย์จึงชิงจังหวะ จัดตั้งกองทุนหากำไรจากหุ้น บทบาทของตลาดหลักทรัพย์ในการจัดตั้งกองทุนจะเหมาะสมหรือไม่ คงจะเป็นสิ่งที่วิพากษ์วิจารณ์กันต่อไป
แต่การที่หน่วยงานภาครัฐ แห่จัดตั้งกองทุนกันในช่วงนี้ ถือเป็นความเคลื่อนไหวในตลาดทุนที่น่าสนใจ เพราะในอดีตเคยมีการแห่จัดตั้งกองทุนในช่วงเวลาเดียวกัน มีเป้าหมายระดมเงินจากประชาชนเหมือนกัน สุดท้ายนักลงทุนที่ซื้อหน่วยลงทุนบาดเจ็บ เพราะกองทุนขาดทุนจากการซื้อหุ้นกันป่นปี้
เมื่อช่วงปลายปี 2536 ซึ่งตลาดหุ้นกลับมาสู่ความคึกคัก ทำให้บรรดา บลจ.ที่มีอยู่ทั้งหมด 8 แห่ง แห่จัดตั้งกองทุนรวม กองทุนรวมหุ้นตั้งกันเป็นรายสัปดาห์ แต่ละกองทุนระดมเงินจากประชาชนประมาณ 3-5 พันล้านบาท โดยในช่วงเวลาไม่กี่เดือน กองทุนรวมระดมเงินไปหว่านลงในตลาดหุ้นหลายหมื่นล้านบาท
การจัดตั้งกองทุนรวมในช่วงนั้น กระตุ้นให้นักลงทุนรายย่อยแห่เข้าตลาดหุ้น เพิ่มอุณหภูมิความร้อนแรงของการเก็งกำไร โดยนักลงทุนรายย่อยประเมินว่า เงินที่กองทุนรวมระดมมาจำนวนหลายหมื่นล้านบาท เมื่อนำเข้ามาซื้อหุ้น จะผลักดันให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น จึงแห่ซื้อหุ้นดักหน้ากองทุน
ช่วงเวลาเพียง 3 เดือน ระหว่างสิ้นเดือน ก.ย. 2536-ต้น ม.ค.2537 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์พุ่งทะยานจาก 900 จุด ขึ้นไปสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 1,753 จุด แต่ขณะที่นักลงทุนรายย่อย กำลังมัวเมาในการเก็งกำไร กองทุนรวมที่ระดมเงินมาหลายหมื่นล้านบาท ปรากฏว่านักลงทุนต่างประเทศได้ทยอยขายหุ้นทำกำไรออก
นักลงทุนรายย่อย กองทุนรวมในประเทศ เข้าไปรับซื้อหุ้นราคาแพงจากฝรั่ง ซึ่งเทขายหุ้นขนกำไรกลับบ้านอย่างสบาย ขณะที่กองทุนรวมในประเทศสาหัส เพราะมูลค่าหน่วยลงทุนที่เสนอขาย 10 บาท ราคาลดเหลือ 2-3 บาท จนทำให้ประชาชนเข็ดขยาดการลงทุนผ่านกองทุนรวมมาหลายปี
ตลาดหลักทรัพย์อาจมีเจตนาดี โดยหวังสร้างทางเลือกให้ประชาชน อาจมีเจตนาดี ในการส่งสัญญาณให้ประชาชนรู้ว่า ตลาดหุ้นกำลังมีผลตอบแทนที่ดี จึงจัดกิจกรรมนำร่อง เพื่อตอกย้ำความเชื่อมั่น
แต่ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยเหมือนปลายปี 2536 หรือไม่ กองทุนของตลาดหลักทรัพย์จะเป็นกองทุนที่ปลุกใจแมลงเม่า ให้แห่กันบินเข้ากองไฟ เก็งกำไรกันฝุ่นตลบ จนตลาดหุ้นโอเวอร์ฮีทหรือไม่
เงินของตลาดหลักทรัพย์ ถ้าจะพังไปคงไม่เท่าไร แต่เงินออมของชาวบ้านตาดำๆ ช่วยระวังกันหน่อย อย่าปลุกระดมจนถูกขนมาผลาญในตลาดหุ้น
.
----------------------------------------
การจัดตั้งกองทุน ระดมเงินจากประชาชน เพื่อลงทุนในหุ้น กำลังกลายเป็นแฟชั่น ไม่เว้นแม้แต่ตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งโดดร่วมวง
ตลาดหลักทรัพย์ประกาศตั้งกองทุนประมาณ 10 แห่ง โดยร่วมมือกับบริษัทโบรกเกอร์และบลจ. และเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาลงทุน
กองทุนที่จะจัดตั้งจะเป็นกองทุนเปิด ซึ่งตลาดหลักทรัพย์จะควักเงินลงขัน และขายหน่วยลงทุนให้ประชาชนที่สนใจ นำเงินที่ได้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยแต่ละกองทุนจะลงทุนในหุ้นไม่เกิน 25 บริษัท
ถ้าฟังเหตุผลของการจัดตั้งกองทุนแล้ว ไม่น่าจะมีอะไรเสียหาย แต่ก็มีเสียงวิจารณ์ถึงบทบาทของตลาดหลักทรัพย์ ที่มีหน้าที่ดูแลการซื้อขายหุ้นให้เป็นไปด้วยความยุติธรรม หรือมีฐานะเป็นเจ้ามือ แต่การจัดตั้งกองทุน หมายถึงเจ้ามือกำลังจะลงมาเล่นเอง ทั้งที่เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อแสวงหาผลกำไร
และในอดีตตลาดหลักทรัพย์ก็ไม่เคยจัดตั้งกองทุนที่จะซื้อหุ้น แม้ในช่วงภาวะวิกฤติ โดยปล่อยให้บริษัทโบรกเกอร์ เป็นหัวหอกในการจัดตั้งกองทุนกู้วิกฤติตลาดหุ้น
วันนี้ตลาดหุ้นกำลังคึกคัก ตลาดหลักทรัพย์จึงชิงจังหวะ จัดตั้งกองทุนหากำไรจากหุ้น บทบาทของตลาดหลักทรัพย์ในการจัดตั้งกองทุนจะเหมาะสมหรือไม่ คงจะเป็นสิ่งที่วิพากษ์วิจารณ์กันต่อไป
แต่การที่หน่วยงานภาครัฐ แห่จัดตั้งกองทุนกันในช่วงนี้ ถือเป็นความเคลื่อนไหวในตลาดทุนที่น่าสนใจ เพราะในอดีตเคยมีการแห่จัดตั้งกองทุนในช่วงเวลาเดียวกัน มีเป้าหมายระดมเงินจากประชาชนเหมือนกัน สุดท้ายนักลงทุนที่ซื้อหน่วยลงทุนบาดเจ็บ เพราะกองทุนขาดทุนจากการซื้อหุ้นกันป่นปี้
เมื่อช่วงปลายปี 2536 ซึ่งตลาดหุ้นกลับมาสู่ความคึกคัก ทำให้บรรดา บลจ.ที่มีอยู่ทั้งหมด 8 แห่ง แห่จัดตั้งกองทุนรวม กองทุนรวมหุ้นตั้งกันเป็นรายสัปดาห์ แต่ละกองทุนระดมเงินจากประชาชนประมาณ 3-5 พันล้านบาท โดยในช่วงเวลาไม่กี่เดือน กองทุนรวมระดมเงินไปหว่านลงในตลาดหุ้นหลายหมื่นล้านบาท
การจัดตั้งกองทุนรวมในช่วงนั้น กระตุ้นให้นักลงทุนรายย่อยแห่เข้าตลาดหุ้น เพิ่มอุณหภูมิความร้อนแรงของการเก็งกำไร โดยนักลงทุนรายย่อยประเมินว่า เงินที่กองทุนรวมระดมมาจำนวนหลายหมื่นล้านบาท เมื่อนำเข้ามาซื้อหุ้น จะผลักดันให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น จึงแห่ซื้อหุ้นดักหน้ากองทุน
ช่วงเวลาเพียง 3 เดือน ระหว่างสิ้นเดือน ก.ย. 2536-ต้น ม.ค.2537 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์พุ่งทะยานจาก 900 จุด ขึ้นไปสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 1,753 จุด แต่ขณะที่นักลงทุนรายย่อย กำลังมัวเมาในการเก็งกำไร กองทุนรวมที่ระดมเงินมาหลายหมื่นล้านบาท ปรากฏว่านักลงทุนต่างประเทศได้ทยอยขายหุ้นทำกำไรออก
นักลงทุนรายย่อย กองทุนรวมในประเทศ เข้าไปรับซื้อหุ้นราคาแพงจากฝรั่ง ซึ่งเทขายหุ้นขนกำไรกลับบ้านอย่างสบาย ขณะที่กองทุนรวมในประเทศสาหัส เพราะมูลค่าหน่วยลงทุนที่เสนอขาย 10 บาท ราคาลดเหลือ 2-3 บาท จนทำให้ประชาชนเข็ดขยาดการลงทุนผ่านกองทุนรวมมาหลายปี
ตลาดหลักทรัพย์อาจมีเจตนาดี โดยหวังสร้างทางเลือกให้ประชาชน อาจมีเจตนาดี ในการส่งสัญญาณให้ประชาชนรู้ว่า ตลาดหุ้นกำลังมีผลตอบแทนที่ดี จึงจัดกิจกรรมนำร่อง เพื่อตอกย้ำความเชื่อมั่น
แต่ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยเหมือนปลายปี 2536 หรือไม่ กองทุนของตลาดหลักทรัพย์จะเป็นกองทุนที่ปลุกใจแมลงเม่า ให้แห่กันบินเข้ากองไฟ เก็งกำไรกันฝุ่นตลบ จนตลาดหุ้นโอเวอร์ฮีทหรือไม่
เงินของตลาดหลักทรัพย์ ถ้าจะพังไปคงไม่เท่าไร แต่เงินออมของชาวบ้านตาดำๆ ช่วยระวังกันหน่อย อย่าปลุกระดมจนถูกขนมาผลาญในตลาดหุ้น
.
- BOONPARUEY
- Verified User
- โพสต์: 184
- ผู้ติดตาม: 0
ใครยังไม่ได้อ่านก้อ่านซะ
โพสต์ที่ 13
... เตือนสติ ...
... ตามนี้น ...
... :cheers: ...
... ตามนี้น ...
... :cheers: ...
... " บุญ คือ เสบียงของคนไม่ประมาท " พุทธตรัส ...