มีใครมี M-chai บ้างมั้ยครับ
- metro
- Verified User
- โพสต์: 861
- ผู้ติดตาม: 0
มีใครมี M-chai บ้างมั้ยครับ
โพสต์ที่ 3
M-CHAI : MAHACHAI HOSPITAL PUBLIC COMPANY LIMITED (M.Baht)
2006 2005 2004 2003 2002
Assets 875.39 822.86 662.22 634.94 644.32
Liabilities 428.53 402.59 282.86 273.87 300.44
Equity 427.46 402.41 364.01 346.79 322.72
Paid-up Capital 160.00 160.00 160.00 160.00 160.00
Revenue 1,092.41 918.45 793.90 735.96 644.57
Net Profit 49.16 54.40 34.82 43.12 51.79
EPS(Baht) 3.10 3.44 2.20 2.73 3.28
ROA(%)* 10.51 10.98 8.80 10.25 12.41
ROE(%)* 11.85 14.20 9.80 12.88 17.11
Profit Margin(%) 4.50 5.92 4.39 5.86 8.04
P/E 12.37 9.82 9.80 6.28 12.41
P/BV 1.41 1.49 0.95 0.83 1.06
Book Value 26.92 26.78 24.21 22.86 20.74
Dvd. Yield(%) 3.95 3.75 4.35 5.79 5.68
Last Price(Baht) 38.00 40.00 23.00 19.00 22.00
Market Cap. 608.00 640.00 368.00 304.00 352.00
2006 2005 2004 2003 2002
Assets 875.39 822.86 662.22 634.94 644.32
Liabilities 428.53 402.59 282.86 273.87 300.44
Equity 427.46 402.41 364.01 346.79 322.72
Paid-up Capital 160.00 160.00 160.00 160.00 160.00
Revenue 1,092.41 918.45 793.90 735.96 644.57
Net Profit 49.16 54.40 34.82 43.12 51.79
EPS(Baht) 3.10 3.44 2.20 2.73 3.28
ROA(%)* 10.51 10.98 8.80 10.25 12.41
ROE(%)* 11.85 14.20 9.80 12.88 17.11
Profit Margin(%) 4.50 5.92 4.39 5.86 8.04
P/E 12.37 9.82 9.80 6.28 12.41
P/BV 1.41 1.49 0.95 0.83 1.06
Book Value 26.92 26.78 24.21 22.86 20.74
Dvd. Yield(%) 3.95 3.75 4.35 5.79 5.68
Last Price(Baht) 38.00 40.00 23.00 19.00 22.00
Market Cap. 608.00 640.00 368.00 304.00 352.00
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
มีใครมี M-chai บ้างมั้ยครับ
โพสต์ที่ 4
เพิ่งไปใช้บริการไม่มานี้
ลูกค้าค่อนข้างเยอะครับ
เป็น รพ.เกรด b มีลูกค้าประกันสังคมค่อนข้างมาก
ลูกค้าส่วนใหญ่ก็เป็นพนักงานบริษัทที่ตั้งอยู่ใกล้ รพ.ครับ
ได้ข่าวว่าจะสร้างตึกใหม่ แยกประกันสังคมออกไป ดูเหมือนไตรมาส 4 จะกำไรลด ไม่แน่ใจเป็นเพราะประกันสังคมยกเลิกค่าคลอดบุตร ทำฟันหรือเปล่า
ลูกค้าค่อนข้างเยอะครับ
เป็น รพ.เกรด b มีลูกค้าประกันสังคมค่อนข้างมาก
ลูกค้าส่วนใหญ่ก็เป็นพนักงานบริษัทที่ตั้งอยู่ใกล้ รพ.ครับ
ได้ข่าวว่าจะสร้างตึกใหม่ แยกประกันสังคมออกไป ดูเหมือนไตรมาส 4 จะกำไรลด ไม่แน่ใจเป็นเพราะประกันสังคมยกเลิกค่าคลอดบุตร ทำฟันหรือเปล่า
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- metro
- Verified User
- โพสต์: 861
- ผู้ติดตาม: 0
มีใครมี M-chai บ้างมั้ยครับ
โพสต์ที่ 5
ถ้าคิดเฉพาะรายรับ ก็เพิ่มทุกปี แต่บริษัทไม่สามารถรักษา Net Profit Margin ไม่ให้ผันผวนได้ กำไรเลยค่อนข้างผันผวนตามนะครับ
ถ้าพี่ๆมีหุ้นตัวนี้และมีประเด็นน่าสนใจรบกวนด้วยนะครับ
ป.ล. ผมไม่มีหุ้นเลยนะครับ :D
ขอบคุณครับ :D
ถ้าพี่ๆมีหุ้นตัวนี้และมีประเด็นน่าสนใจรบกวนด้วยนะครับ
ป.ล. ผมไม่มีหุ้นเลยนะครับ :D
ขอบคุณครับ :D
-
- Verified User
- โพสต์: 743
- ผู้ติดตาม: 0
มีใครมี M-chai บ้างมั้ยครับ
โพสต์ที่ 7
จ สมุทรสาคร มีรพ เอกชนเยอะมาก
รวมถึง รพ สมุทรสาครเอง ที่ รับผป ปกส
ล่าสุดมี รพ เอกชัย เปิด แต่ปีที่ผ่านมาติดเกณท์ ทำให้รับ ปกส ไม่ได้
ปีนี้ผ่านรึเปล่า ช่วงไหนไม่ทราบ
ถ้าผ่าน ก็คงดึง ฐานลูกค้าจาก รพ รอบๆ ด้วย
สงสัยอยู่เหมือนกันว่า เค้ก จะชิ้นเล็กเกินไปแล้วรึยัง
รวมถึง รพ สมุทรสาครเอง ที่ รับผป ปกส
ล่าสุดมี รพ เอกชัย เปิด แต่ปีที่ผ่านมาติดเกณท์ ทำให้รับ ปกส ไม่ได้
ปีนี้ผ่านรึเปล่า ช่วงไหนไม่ทราบ
ถ้าผ่าน ก็คงดึง ฐานลูกค้าจาก รพ รอบๆ ด้วย
สงสัยอยู่เหมือนกันว่า เค้ก จะชิ้นเล็กเกินไปแล้วรึยัง
-
- Verified User
- โพสต์: 363
- ผู้ติดตาม: 0
มีใครมี M-chai บ้างมั้ยครับ
โพสต์ที่ 8
ผมเห็นป้ายประกาศชักชวนให้เลือกประกันสังคมโรงพยาบาลเอกชัยnearly_vi เขียน:ล่าสุดมี รพ เอกชัย เปิด แต่ปีที่ผ่านมาติดเกณท์ ทำให้รับ ปกส ไม่ได้
ปีนี้ผ่านรึเปล่า ช่วงไหนไม่ทราบ
ถ้าผ่าน ก็คงดึง ฐานลูกค้าจาก รพ รอบๆ ด้วย
ริมถ.พระราม2 แถวๆสี่แยกมหาชัย ตั้งแต่หลายเดือนมาแล้ว
คิดว่าน่าจะผ่านเกณฑ์ให้รับประกันสังคมได้แล้วนะครับ
แต่ผมยังไม่เคยเข้าไปดูที่รพ.เอกชัยเองเลยว่าบริการดีมั้ย
บทที่หนึ่ง "ทำงานหาเงิน"
-
- Verified User
- โพสต์: 593
- ผู้ติดตาม: 0
มีใครมี M-chai บ้างมั้ยครับ
โพสต์ที่ 9
พี่ไปทำอะไรที่มหาชัย ครับลูกอิสาน เขียน:เพิ่งไปใช้บริการไม่มานี้
ลูกค้าค่อนข้างเยอะครับ
เป็น รพ.เกรด b มีลูกค้าประกันสังคมค่อนข้างมาก
ลูกค้าส่วนใหญ่ก็เป็นพนักงานบริษัทที่ตั้งอยู่ใกล้ รพ.ครับ
ได้ข่าวว่าจะสร้างตึกใหม่ แยกประกันสังคมออกไป ดูเหมือนไตรมาส 4 จะกำไรลด ไม่แน่ใจเป็นเพราะประกันสังคมยกเลิกค่าคลอดบุตร ทำฟันหรือเปล่า
ต้องเรียนรู้ให้ได้
Li .. Zhi .. Ren
Li .. Zhi .. Ren
-
- Verified User
- โพสต์: 593
- ผู้ติดตาม: 0
มีใครมี M-chai บ้างมั้ยครับ
โพสต์ที่ 10
มาร์เก็ตติ้งของคนในเสื้อกาวน์
24 มกราคม 2550 10:00 น.
แต้มสีขาวให้ธุรกิจ
นพ.นพพร อนุกูลการกุศล
น้ำใจ การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และความหวังดีต่อกันอย่างจริงใจ ดูเหมือนกำลังเหือดแห้งไปจากสังคมไทยรวมไปถึงอีกหลายประเทศในโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ที่ทุกอย่างถูกตีราคาด้วยเงินตรา ค่านิยมเหล่านี้ทำให้คนในสังคมส่วนใหญ่อนุมานไปว่า หากไม่มีเงินตุงกระเป๋า ก็จะไม่ได้รับความช่วยเหลือไปด้วยโดยปริยาย หากความเข้าใจนี้ขยายวงกว้างและได้รับการยอมรับโดยดุษฎี อาจทำให้ผู้ที่มีสิทธิมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีทั้งกายและใจคือคนที่มีเงินเท่านั้น
ทว่าวันนี้ หมอ นพพร อนุกูลการกุศล กำลังพยายามพิสูจน์ว่า แม้จะไม่มีเงินมากมายก็มีสิทธิมีชีวิตความเป็นอยู่ดีที่ทั้งกายและใจได้ด้วยการเดินตามอุดมการณ์ทางแพทย์ของหมอเอง
ปัจจุบัน นายแพทย์นพพร อนุกูลการกุศล ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง แพทย์อายุรกรรม สาขาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โรคระบบทางเดินอาหารและผู้อำนวยการศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับโรงพยาบาลมหาชัย เบื้องต้นของเส้นทางการแพทย์ หมอนพพร เริ่มจากความสนใจวิชาการแพทย์เพราะเพื่อนฝูงที่รู้จักล้วนแล้วแต่มีพ่อแม่ใส่ชุดกาวน์ ประกอบกับเป็นความหวังของครอบครัวคนจีนที่ต้องการให้ลูกเป็นหมอเพื่อเป็นที่พึ่งพิงยามแก่เฒ่า เหล่านี้ทำให้หมอนพพรมุ่งศึกษาต่อทางด้านการแพทย์ในระดับมหาวิทยาลัย จนจบสาขาแพทย์ศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ.2535
งานที่เป็นต้นกำเนิดน้ำใจของหมอ คือ การไปเป็นนักศึกษาฝึกงานที่โรงพยาบาลนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ที่โรงพยาบาลแห่งนี้ หมอนพพรได้ฝากน้ำใจ อันนอกเหนือกจากการยื้อชีวิตคนไข้ไว้มากมาย อาทิ การเดินตามแพทย์รุ่นพี่ไปตรวจอาการคนไข้กลางดึกทั้งๆ ที่ไม่ใช่เวร หรือแม้แต่การนำดอกไม้ไปวางที่หัวเตียงคนไข้ในตอนเช้าเพื่อให้เกิดความเบิกบานในหัวใจ จนขยายผลเป็นกิจวัตรของโรงพยาบาลที่สละพื้นที่ปลูกแปลงดอกไม้เพื่อนำดอกไม้มาให้กับคนไข้ในตอนเช้า จนเกิดเป็นสวนสาธารณะสำหรับทุกคนในละแวกนั้น
หลังจากจบการฝึกงานและกลับมาศึกษาต่อที่จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จนถึงปี พ.ศ. 2544 หมอจบการศึกษาอายุรกรรมสาขาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบทางเดินอาหาร โดยสาเหตุที่เลือกเป็นผู้เชี่ยวชาญในโรคระบบทางเดินอาหารและตับเพราะเห็นว่าโรคเฉพาะทางโรคนี้ยังไม่ค่อยมีผู้เชี่ยวชาญมากนัก แต่ก็ยอมรับว่าแทพย์เฉพาะทางนี้อาจได้ผลตอบแทนจากวิชาชีพที่ไม่คุ้มค่าเพราะไม่ใช่โรคที่คนเจ็บไข้จะรีบวิ่งมาหาหมอเพราะกลัวการผิดปกติ อีกทั้งคนไทยมักปวดท้องเป็นประจำอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม วิชาชีพแพทย์ที่ถางทางมาตลอดกลับไม่เป็นดังคาด เมื่อรัฐบาลประกาศใช้ นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ในปี 2545
"พอมีประกาศเรื่อง 30 บาทรักษาทุกโรค รู้สึกว่าอยู่ไม่ได้ ไม่สบายใจเพราะนโยบายนี้ทำให้ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วยสั้นลง งานก็มากขึ้นด้วย มันทำให้มีความเสี่ยงในการวินิจฉัย รู้สึกว่าตรวจไม่ได้มาตรฐานเพราะถ้าทำตามมารตรฐานเราเองก็ทำให้ตรวจไม่ทัน ตกเป็นภาระหมอคนอื่นไปอีก ก็เริ่มคิดว่าจะทำอะไร ให้ผู้ช่วยได้รับการตรวจที่ได้มาตรฐานของเรา"
ณ เวลานั้น หมอนพพรได้รับการติดต่อ รพ.มหาชัย รพ.กรุงเทพ และรพ.บำรุงราษฎร์ แต่ทางเลือกสุดท้ายที่หมอนพพรเลือก กลับเป็น รพ.มหาชัย ซึ่งหากเทียบกับโรงพยาบาลที่เหลือแล้ว แน่นอนว่าค่าตอบแทนวิชาชีพย่อมน้อยกว่าเพราะรพ.มหาชัย มีขนาดเล็กกว่า แต่หมอนพพรบอกว่า เรื่องค่าตอบแทนไม่ใช่เรื่องสำคัญ
"สำคัญที่ใครตอบโจทย์ผมได้ ผมใช้เวลาในการพูดคุยวิสัยทัศน์กับผู้บริหารโรงพยาบาลมหาชัยประมาณ 6 เดือน สาเหตุที่ตัดสินใจเลือกโรงพยาบาลมหาชัยเพราะ1 ผู้บริหารโรงพยาบาลเห็นด้วยความอุดมคติของผมที่ว่า หมอต้องไม่ใช่แค่หมอรักษาคนไข้ แต่ต้องเป็นหมอที่ทำอะไรได้มากกว่านั้น และข้อที่ 2 เพราะผมรู้สึกติดค้างคนมหาชัย เพราะได้ทุนจากโรงพยาบาลสมุทรสาคร จึงตัดสินใจกลับไปตอบแทน "
หลังจากเข้ามาทำงานที่โรงพยาบาลต่างจังหวัดเช่นนี้ หมอนพพรได้รับบทบาทสำคัญคือเป็นผู้ก่อตั้งศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับโรงพยาบาลมหาชัย ควบด้วยตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ฯ ดังกล่าว โดยเริ่มทำงานด้วยเจ้าหน้าที่ 3 คนคือ หมอนพพร พยาบาล และผู้ช่วย แต่ผลผลิตจากการทำงานกลับเทียบได้กับฝีมือแพทย์ 4-5 คน และในปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ 11 คน คือหมอ 3 คน พยาบาล 3 คน ผู้ช่วย 3 คน และฝ่ายธุรการ 2 คน สามารถรองรับผู้ป่วยประมาณ 528 คนต่อเดือน
หมอนพพรเล่าย้อนให้ฟังว่า แรกเริ่มที่เปิดศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับโรงพยาบาลมหาชัย เพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญทางนี้ ประกอบกับเห็นตัวเลขสถิติของรพ.ที่พบว่าจำนวนคนไข้ 1 ใน 3 ของจำนวนคนไข้ทั้งหมด จะเจ็บป่วยด้วยอาการปวดท้องเป็นสำคัญ
ขั้นแรกที่หมอเลือกทำคือการสร้างความสบายตาให้คนไข้ หมอเลือกตกแต่งสถานที่ภายในศูนย์ไม่ให้ดูมอซอเพื่อพยุงจิตใจคนไข้ไม่ให้จืดชืดไร้สีสัน โดยตกแต่งในสไตล์เอิร์ธโทน ที่รับรองผู้ป่วยนอกถูกตกแต่งในแบบบูติค ประดับด้วยโซฟานั่งยาวสวยงามไม่ใช่แค่ม้านั่งยาวที่เห็นกันดาษดื่นในสถานพยาบาลทั่วไป และที่สำคัญมีระบบการโทรแจ้งผู้ป่วยให้มาตามวันและเวลาที่ถูกกำหนดไว้เพื่อไม่ให้เสียเวลาผู้ป่วยที่จะทำการตรวจรักษา
"ผมทำเรื่องนัดหมายหรือตกแต่งสถานที่เพราะอยากทำ ผมไม่อยากให้คนไข้ที่มาหารู้สึกว่าต้องใช้เวลาทั้งวันเวลามาหาหมอ และไม่อยากให้รอด้วยความเบื่อหน่ายหรือวิตกจริต ผมจะให้เจ้าหน้าที่โทรเตือนตลอดว่าต้องมาพบผมวันนี้ เวลานี้ ซึ่งคนไข้ส่วนใหญ่พอใจ และผมก็รักษาชนิดที่หากไม่ทำให้ความเจ็บป่วยลดลงก็จะไม่ปล่อยไปเด็ดขาด ข้อนี้เจ้าหน้าที่ในศูนย์และคนไข้ผมรู้ดีและก็พอใจด้วย หากวันหนึ่งผมวินิจฉัยคนไข้คนหนึ่งนานจนเกินเวลาคนไข้รายถัดไป คนไข้ที่ต่อคิวอยู่ก็จะเข้าใจและพอใจหากผมจะวินิจฉัยและรักษาพวกเขาเกินเวลาคนอื่น ถ้าทำให้คนไข้เจ็บปวดลดลงได้ ผมว่ามันเป็นเรื่องที่ดี "
จากจำนวนผู้ป่วยดังกล่าว หมอนพพรได้ริเริ่มนำเข้าเครื่องมือใหม่เพื่อรักษาคนไข้ที่มีอาการเจ็บป่วยเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหารและตับ โดยนำเข้านวัตกรรมเทคโนโลยีการส่องกล้องทางเดินอาหาร ประกอบด้วยแคปซูลส่องกล้องทางเดินอาหาร ( Capsule endoscope ) กล้องส่องทางเดินอาหารที่มีกำลังขยาย ( Magnify endoscope) โปรมแกรมการปรับเปลี่ยนความยาวคลื่นแสง( NBI หรือ FICE ) และกล้องส่องทางเดินอาหารติดลูกบอลลูน( Double balloon endoscope ) ซึ่งหากคำนวณเป็นงบประมาณการลงทุนแล้วพบว่าสูงถึง 7 หลักต่อเครื่องมือหนึ่งประเภท
หมอยอมรับว่า เครื่องมือเหล่านี้มีต้นทุนการนำเข้าที่สูง และกว่าจะถึงจุดคุ้มทุนและสร้างรายได้ให้กับรพ.ก็ต้องกินระยะเวลาพอสมควร แต่หมอมั่นใจว่าเครื่องมือเหล่านี้คุ้มค่าหากเทียบกับอาการเจ็บปวดที่ทุเลาลงภายหลังการได้รับการรักษา ทั้งนี้ หมอจะไม่ใช้เครื่องมือดังกล่าวกับคนไข้ทุกคน จะใช้กับคนที่มีความจำเป็นตามอาการเท่านั้น ไม่ว่าคนไข้รายนั้นจะมีเงินมากมาย หากอาการไม่คุ้มค่ากับการใช้เครื่องมือ หมอก็จะไม่ให้ใช้ ขณะเดียวกันหากคนไข้ที่ทรัพย์จางแต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยเครื่องมือแสนแพงนี้ หมอก็จะเซ็นรับโดยไม่ลังเลเลยแม้แต่น้อย ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายค่อยว่ากันทีหลัง
นับจากวันแรกที่ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับเปิดทำการในปี 2546 ถึงปัจจุบัน หมอนพพรยอมรับว่าค่อนข้างพอใจในผลงาน โดยเบื้องต้นที่เปิดศูนย์ใหม่ๆ มีคนไข้เข้ามาส่องกล้องกับศูนย์นี้ 20 คนต่อเดือน จากเดิมที่มีคนไข้มาส่องกล้องเพียง 20 คนต่อปีเท่านั้น และปัจจุบันมีคนไข้เข้ามาส่องกล้องเพิ่มขึ้นเป็น 60-100 คนต่อเดือน ซึ่งถือว่าเป็นการทำงานที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก
จากน้ำใจของหมอที่ต้องการให้ผู้เจ็บป่วยมีอาการทุเลาลงอย่างแท้จริง ขยายผลสู่การใช้น้ำเงินมาต่อยอดเครื่องมือเพื่อรักษาชีวิตผู้ป่วย ซึ่งทั้งหมดนี้คือดอกผลที่มาความคิดการเอาคุณธรรมนำการตลาดของคุณหมอนพพร
"เราเป็นหมอควรดูแลคนไข้ให้ดีที่สุด จากนั้นผลตอบแทนจะมาเองและมาอย่างคุ้มค่า ถ้าทำการตลาดด้วยเจตนาที่ถูกต้องและดี ธุรกิจจะยั่งยืนเอง" คุณหมอเชื่อเช่นนั้น
โดย ศนิชา ละครพล
น้องใจดีเขาส่งมาให้ เลยลองเอามาให้อ่านดู
ผมว่าโรงพยาบาลต่างจังหวัดแบบนี้
คงจะหาอัตราการเติบโตแบบ โรงพยาบาลในกรุงยาก
แต่ downside risk ก็น้อยเหมือนกันครับ
24 มกราคม 2550 10:00 น.
แต้มสีขาวให้ธุรกิจ
นพ.นพพร อนุกูลการกุศล
น้ำใจ การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และความหวังดีต่อกันอย่างจริงใจ ดูเหมือนกำลังเหือดแห้งไปจากสังคมไทยรวมไปถึงอีกหลายประเทศในโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ที่ทุกอย่างถูกตีราคาด้วยเงินตรา ค่านิยมเหล่านี้ทำให้คนในสังคมส่วนใหญ่อนุมานไปว่า หากไม่มีเงินตุงกระเป๋า ก็จะไม่ได้รับความช่วยเหลือไปด้วยโดยปริยาย หากความเข้าใจนี้ขยายวงกว้างและได้รับการยอมรับโดยดุษฎี อาจทำให้ผู้ที่มีสิทธิมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีทั้งกายและใจคือคนที่มีเงินเท่านั้น
ทว่าวันนี้ หมอ นพพร อนุกูลการกุศล กำลังพยายามพิสูจน์ว่า แม้จะไม่มีเงินมากมายก็มีสิทธิมีชีวิตความเป็นอยู่ดีที่ทั้งกายและใจได้ด้วยการเดินตามอุดมการณ์ทางแพทย์ของหมอเอง
ปัจจุบัน นายแพทย์นพพร อนุกูลการกุศล ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง แพทย์อายุรกรรม สาขาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โรคระบบทางเดินอาหารและผู้อำนวยการศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับโรงพยาบาลมหาชัย เบื้องต้นของเส้นทางการแพทย์ หมอนพพร เริ่มจากความสนใจวิชาการแพทย์เพราะเพื่อนฝูงที่รู้จักล้วนแล้วแต่มีพ่อแม่ใส่ชุดกาวน์ ประกอบกับเป็นความหวังของครอบครัวคนจีนที่ต้องการให้ลูกเป็นหมอเพื่อเป็นที่พึ่งพิงยามแก่เฒ่า เหล่านี้ทำให้หมอนพพรมุ่งศึกษาต่อทางด้านการแพทย์ในระดับมหาวิทยาลัย จนจบสาขาแพทย์ศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ.2535
งานที่เป็นต้นกำเนิดน้ำใจของหมอ คือ การไปเป็นนักศึกษาฝึกงานที่โรงพยาบาลนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ที่โรงพยาบาลแห่งนี้ หมอนพพรได้ฝากน้ำใจ อันนอกเหนือกจากการยื้อชีวิตคนไข้ไว้มากมาย อาทิ การเดินตามแพทย์รุ่นพี่ไปตรวจอาการคนไข้กลางดึกทั้งๆ ที่ไม่ใช่เวร หรือแม้แต่การนำดอกไม้ไปวางที่หัวเตียงคนไข้ในตอนเช้าเพื่อให้เกิดความเบิกบานในหัวใจ จนขยายผลเป็นกิจวัตรของโรงพยาบาลที่สละพื้นที่ปลูกแปลงดอกไม้เพื่อนำดอกไม้มาให้กับคนไข้ในตอนเช้า จนเกิดเป็นสวนสาธารณะสำหรับทุกคนในละแวกนั้น
หลังจากจบการฝึกงานและกลับมาศึกษาต่อที่จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จนถึงปี พ.ศ. 2544 หมอจบการศึกษาอายุรกรรมสาขาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบทางเดินอาหาร โดยสาเหตุที่เลือกเป็นผู้เชี่ยวชาญในโรคระบบทางเดินอาหารและตับเพราะเห็นว่าโรคเฉพาะทางโรคนี้ยังไม่ค่อยมีผู้เชี่ยวชาญมากนัก แต่ก็ยอมรับว่าแทพย์เฉพาะทางนี้อาจได้ผลตอบแทนจากวิชาชีพที่ไม่คุ้มค่าเพราะไม่ใช่โรคที่คนเจ็บไข้จะรีบวิ่งมาหาหมอเพราะกลัวการผิดปกติ อีกทั้งคนไทยมักปวดท้องเป็นประจำอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม วิชาชีพแพทย์ที่ถางทางมาตลอดกลับไม่เป็นดังคาด เมื่อรัฐบาลประกาศใช้ นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ในปี 2545
"พอมีประกาศเรื่อง 30 บาทรักษาทุกโรค รู้สึกว่าอยู่ไม่ได้ ไม่สบายใจเพราะนโยบายนี้ทำให้ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วยสั้นลง งานก็มากขึ้นด้วย มันทำให้มีความเสี่ยงในการวินิจฉัย รู้สึกว่าตรวจไม่ได้มาตรฐานเพราะถ้าทำตามมารตรฐานเราเองก็ทำให้ตรวจไม่ทัน ตกเป็นภาระหมอคนอื่นไปอีก ก็เริ่มคิดว่าจะทำอะไร ให้ผู้ช่วยได้รับการตรวจที่ได้มาตรฐานของเรา"
ณ เวลานั้น หมอนพพรได้รับการติดต่อ รพ.มหาชัย รพ.กรุงเทพ และรพ.บำรุงราษฎร์ แต่ทางเลือกสุดท้ายที่หมอนพพรเลือก กลับเป็น รพ.มหาชัย ซึ่งหากเทียบกับโรงพยาบาลที่เหลือแล้ว แน่นอนว่าค่าตอบแทนวิชาชีพย่อมน้อยกว่าเพราะรพ.มหาชัย มีขนาดเล็กกว่า แต่หมอนพพรบอกว่า เรื่องค่าตอบแทนไม่ใช่เรื่องสำคัญ
"สำคัญที่ใครตอบโจทย์ผมได้ ผมใช้เวลาในการพูดคุยวิสัยทัศน์กับผู้บริหารโรงพยาบาลมหาชัยประมาณ 6 เดือน สาเหตุที่ตัดสินใจเลือกโรงพยาบาลมหาชัยเพราะ1 ผู้บริหารโรงพยาบาลเห็นด้วยความอุดมคติของผมที่ว่า หมอต้องไม่ใช่แค่หมอรักษาคนไข้ แต่ต้องเป็นหมอที่ทำอะไรได้มากกว่านั้น และข้อที่ 2 เพราะผมรู้สึกติดค้างคนมหาชัย เพราะได้ทุนจากโรงพยาบาลสมุทรสาคร จึงตัดสินใจกลับไปตอบแทน "
หลังจากเข้ามาทำงานที่โรงพยาบาลต่างจังหวัดเช่นนี้ หมอนพพรได้รับบทบาทสำคัญคือเป็นผู้ก่อตั้งศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับโรงพยาบาลมหาชัย ควบด้วยตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ฯ ดังกล่าว โดยเริ่มทำงานด้วยเจ้าหน้าที่ 3 คนคือ หมอนพพร พยาบาล และผู้ช่วย แต่ผลผลิตจากการทำงานกลับเทียบได้กับฝีมือแพทย์ 4-5 คน และในปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ 11 คน คือหมอ 3 คน พยาบาล 3 คน ผู้ช่วย 3 คน และฝ่ายธุรการ 2 คน สามารถรองรับผู้ป่วยประมาณ 528 คนต่อเดือน
หมอนพพรเล่าย้อนให้ฟังว่า แรกเริ่มที่เปิดศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับโรงพยาบาลมหาชัย เพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญทางนี้ ประกอบกับเห็นตัวเลขสถิติของรพ.ที่พบว่าจำนวนคนไข้ 1 ใน 3 ของจำนวนคนไข้ทั้งหมด จะเจ็บป่วยด้วยอาการปวดท้องเป็นสำคัญ
ขั้นแรกที่หมอเลือกทำคือการสร้างความสบายตาให้คนไข้ หมอเลือกตกแต่งสถานที่ภายในศูนย์ไม่ให้ดูมอซอเพื่อพยุงจิตใจคนไข้ไม่ให้จืดชืดไร้สีสัน โดยตกแต่งในสไตล์เอิร์ธโทน ที่รับรองผู้ป่วยนอกถูกตกแต่งในแบบบูติค ประดับด้วยโซฟานั่งยาวสวยงามไม่ใช่แค่ม้านั่งยาวที่เห็นกันดาษดื่นในสถานพยาบาลทั่วไป และที่สำคัญมีระบบการโทรแจ้งผู้ป่วยให้มาตามวันและเวลาที่ถูกกำหนดไว้เพื่อไม่ให้เสียเวลาผู้ป่วยที่จะทำการตรวจรักษา
"ผมทำเรื่องนัดหมายหรือตกแต่งสถานที่เพราะอยากทำ ผมไม่อยากให้คนไข้ที่มาหารู้สึกว่าต้องใช้เวลาทั้งวันเวลามาหาหมอ และไม่อยากให้รอด้วยความเบื่อหน่ายหรือวิตกจริต ผมจะให้เจ้าหน้าที่โทรเตือนตลอดว่าต้องมาพบผมวันนี้ เวลานี้ ซึ่งคนไข้ส่วนใหญ่พอใจ และผมก็รักษาชนิดที่หากไม่ทำให้ความเจ็บป่วยลดลงก็จะไม่ปล่อยไปเด็ดขาด ข้อนี้เจ้าหน้าที่ในศูนย์และคนไข้ผมรู้ดีและก็พอใจด้วย หากวันหนึ่งผมวินิจฉัยคนไข้คนหนึ่งนานจนเกินเวลาคนไข้รายถัดไป คนไข้ที่ต่อคิวอยู่ก็จะเข้าใจและพอใจหากผมจะวินิจฉัยและรักษาพวกเขาเกินเวลาคนอื่น ถ้าทำให้คนไข้เจ็บปวดลดลงได้ ผมว่ามันเป็นเรื่องที่ดี "
จากจำนวนผู้ป่วยดังกล่าว หมอนพพรได้ริเริ่มนำเข้าเครื่องมือใหม่เพื่อรักษาคนไข้ที่มีอาการเจ็บป่วยเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหารและตับ โดยนำเข้านวัตกรรมเทคโนโลยีการส่องกล้องทางเดินอาหาร ประกอบด้วยแคปซูลส่องกล้องทางเดินอาหาร ( Capsule endoscope ) กล้องส่องทางเดินอาหารที่มีกำลังขยาย ( Magnify endoscope) โปรมแกรมการปรับเปลี่ยนความยาวคลื่นแสง( NBI หรือ FICE ) และกล้องส่องทางเดินอาหารติดลูกบอลลูน( Double balloon endoscope ) ซึ่งหากคำนวณเป็นงบประมาณการลงทุนแล้วพบว่าสูงถึง 7 หลักต่อเครื่องมือหนึ่งประเภท
หมอยอมรับว่า เครื่องมือเหล่านี้มีต้นทุนการนำเข้าที่สูง และกว่าจะถึงจุดคุ้มทุนและสร้างรายได้ให้กับรพ.ก็ต้องกินระยะเวลาพอสมควร แต่หมอมั่นใจว่าเครื่องมือเหล่านี้คุ้มค่าหากเทียบกับอาการเจ็บปวดที่ทุเลาลงภายหลังการได้รับการรักษา ทั้งนี้ หมอจะไม่ใช้เครื่องมือดังกล่าวกับคนไข้ทุกคน จะใช้กับคนที่มีความจำเป็นตามอาการเท่านั้น ไม่ว่าคนไข้รายนั้นจะมีเงินมากมาย หากอาการไม่คุ้มค่ากับการใช้เครื่องมือ หมอก็จะไม่ให้ใช้ ขณะเดียวกันหากคนไข้ที่ทรัพย์จางแต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยเครื่องมือแสนแพงนี้ หมอก็จะเซ็นรับโดยไม่ลังเลเลยแม้แต่น้อย ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายค่อยว่ากันทีหลัง
นับจากวันแรกที่ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับเปิดทำการในปี 2546 ถึงปัจจุบัน หมอนพพรยอมรับว่าค่อนข้างพอใจในผลงาน โดยเบื้องต้นที่เปิดศูนย์ใหม่ๆ มีคนไข้เข้ามาส่องกล้องกับศูนย์นี้ 20 คนต่อเดือน จากเดิมที่มีคนไข้มาส่องกล้องเพียง 20 คนต่อปีเท่านั้น และปัจจุบันมีคนไข้เข้ามาส่องกล้องเพิ่มขึ้นเป็น 60-100 คนต่อเดือน ซึ่งถือว่าเป็นการทำงานที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก
จากน้ำใจของหมอที่ต้องการให้ผู้เจ็บป่วยมีอาการทุเลาลงอย่างแท้จริง ขยายผลสู่การใช้น้ำเงินมาต่อยอดเครื่องมือเพื่อรักษาชีวิตผู้ป่วย ซึ่งทั้งหมดนี้คือดอกผลที่มาความคิดการเอาคุณธรรมนำการตลาดของคุณหมอนพพร
"เราเป็นหมอควรดูแลคนไข้ให้ดีที่สุด จากนั้นผลตอบแทนจะมาเองและมาอย่างคุ้มค่า ถ้าทำการตลาดด้วยเจตนาที่ถูกต้องและดี ธุรกิจจะยั่งยืนเอง" คุณหมอเชื่อเช่นนั้น
โดย ศนิชา ละครพล
น้องใจดีเขาส่งมาให้ เลยลองเอามาให้อ่านดู
ผมว่าโรงพยาบาลต่างจังหวัดแบบนี้
คงจะหาอัตราการเติบโตแบบ โรงพยาบาลในกรุงยาก
แต่ downside risk ก็น้อยเหมือนกันครับ
ต้องเรียนรู้ให้ได้
Li .. Zhi .. Ren
Li .. Zhi .. Ren
- Linzhi
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1522
- ผู้ติดตาม: 1
มีใครมี M-chai บ้างมั้ยครับ
โพสต์ที่ 12
พูดในมุมผู้ใช้บริการนะครับ
ผู้บริหารพยายามดีครับ แต่ผมว่าบริการกลางๆ ไม่ค่อยเวิร์คมาก
ตึกหรือป้ายอะไรก็ดูโทรมครับ เห็นมีกิจกรรมสัมมนาให้หมอมาพูด แต่ก็ไม่ค่อยได้เรื่อง คนฟังแล้วก็เดินออก ยังมองอนาคตไม่ค่อยออกครับ น่าจะไปเรื่อยๆให้บริการชุมชนบริเวณนั้นที่ขยายตัวมากกว่า
ผู้บริหารพยายามดีครับ แต่ผมว่าบริการกลางๆ ไม่ค่อยเวิร์คมาก
ตึกหรือป้ายอะไรก็ดูโทรมครับ เห็นมีกิจกรรมสัมมนาให้หมอมาพูด แต่ก็ไม่ค่อยได้เรื่อง คนฟังแล้วก็เดินออก ยังมองอนาคตไม่ค่อยออกครับ น่าจะไปเรื่อยๆให้บริการชุมชนบริเวณนั้นที่ขยายตัวมากกว่า