การเผื่อค่าหนี้สูญ
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
การเผื่อค่าหนี้สูญ
โพสต์ที่ 1
สมมุติว่าบริษัทขายเชื่อ แล้วมีลูกหนี้ที่ไม่ยอมจ่ายหนี้ซะที เลยจำเป็นต้องเผื่อว่าจะกลายเป็นหนี้สูญ
การเผื่อค่าหนี้สูญนี้ถือเป็นรายจ่ายที่ไม่ใช่เงินสดในงบการเงิน อยากทราบว่าจะต้องบันทึกในงบ กำไรขาดทุน ว่าอะไรครับ ใช่เอาไปรวมกับ Cost of Goods Sole หรือเปล่า ขอบคุณครับ
การเผื่อค่าหนี้สูญนี้ถือเป็นรายจ่ายที่ไม่ใช่เงินสดในงบการเงิน อยากทราบว่าจะต้องบันทึกในงบ กำไรขาดทุน ว่าอะไรครับ ใช่เอาไปรวมกับ Cost of Goods Sole หรือเปล่า ขอบคุณครับ
I do not sleep. I dream.
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
การเผื่อค่าหนี้สูญ
โพสต์ที่ 3
บางบริษัทดีหน่อย แยกออกมาให้ชัดเจนในงบกำไรขาดทุน
แต่ถ้าไม่มากมายส่วนใหญ่จะใส่ในค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
เช่นในq2 ปี 2005 uec มีการตั้งค่าเผื่อ 14 ล้าน ดูได้จากงบกระแสเงินสด แต่ในงบกำไรขาดทุนรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายขายครับ..
แต่ถ้าไม่มากมายส่วนใหญ่จะใส่ในค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
เช่นในq2 ปี 2005 uec มีการตั้งค่าเผื่อ 14 ล้าน ดูได้จากงบกระแสเงินสด แต่ในงบกำไรขาดทุนรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายขายครับ..
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
การเผื่อค่าหนี้สูญ
โพสต์ที่ 4
ตอนแรกผมไม่แน่ใจว่า อยู่ท่ COGS หรือ SG&A แต่ถ้าอ่านตามที่คุณ ลูกอีสาน บอก ก็น่าจะอยู่ SG&A นะครับ เพราะการคำนวณ COGS ไม่เกี่ยวกับการสำรองลูกหนี้การค้านี่หว่า
ขอบคุณมากครับ
ขอบคุณมากครับ
I do not sleep. I dream.
- champ
- Verified User
- โพสต์: 1280
- ผู้ติดตาม: 0
การเผื่อค่าหนี้สูญ
โพสต์ที่ 5
5. ลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับ-สุทธิ
ประกอบด้วย
2549 2548
บาท บาท
เช็ครับลงวันที่ล่วงหน้า 11,184,528.28 12,103,804.76
เช็คคืน 1,811,287.12 1,856,139.56
ลูกหนี้การค้า
ยังไม่ถึงกำหนดชำระ 22,562,718.17 11,067,355.89
เกินกำหนด 1-30 วัน 14,944,304.61 10,953,635.78
เกินกำหนด 31-60 วัน 2,175,482.18 6,563,028.63
เกินกำหนด 61-120 วัน 1,946,392.25 4,833,306.21
เกินกำหนด 121-180 วัน 2,851,377.76 2,100,131.45
เกินกำหนด 180 วัน 7,855,483.55 1,817,728.39
รวมลูกหนี้การค้า 52,335,758.52 37,335,186.35
รวมลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับ 65,331,573.92 51,295,130.67
หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (5,436,316.14) (2,504,291.34)
สุทธิ 59,895,257.78 48,790,839.33
ผมสงสัยค่าเผื่อหนี้ 5,436,316.14 ตัวนี้ครับ
ที่พี่ลูกอีสานบอกลงในค่าใช้จ่ายในการขาย
ไม่ได้แยกออกมาให้ดู ทีนี้พอไปดูในงบกระแสเงินสด
2549 2548
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
กำไร(ขาดทุน)สุทธิ 25,977,306.20 16,886,098.31
ปรับรายการกระทบกำไร(ขาดทุน)สุทธิเป็นเงินสดรับ(จ่าย)จากกิจกรรมดำเนินงาน
หนี้สงสัยจะสูญ - ลูกหนี้การค้า 2,932,024.80 1,513,388.73
ทำไมมันมีแค่ 2,932,024 ครับพี่
ไม่เข้าใจตรงนี้ครับ
รบกวนช่วยอธิบายหน่อยครับ
ประกอบด้วย
2549 2548
บาท บาท
เช็ครับลงวันที่ล่วงหน้า 11,184,528.28 12,103,804.76
เช็คคืน 1,811,287.12 1,856,139.56
ลูกหนี้การค้า
ยังไม่ถึงกำหนดชำระ 22,562,718.17 11,067,355.89
เกินกำหนด 1-30 วัน 14,944,304.61 10,953,635.78
เกินกำหนด 31-60 วัน 2,175,482.18 6,563,028.63
เกินกำหนด 61-120 วัน 1,946,392.25 4,833,306.21
เกินกำหนด 121-180 วัน 2,851,377.76 2,100,131.45
เกินกำหนด 180 วัน 7,855,483.55 1,817,728.39
รวมลูกหนี้การค้า 52,335,758.52 37,335,186.35
รวมลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับ 65,331,573.92 51,295,130.67
หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (5,436,316.14) (2,504,291.34)
สุทธิ 59,895,257.78 48,790,839.33
ผมสงสัยค่าเผื่อหนี้ 5,436,316.14 ตัวนี้ครับ
ที่พี่ลูกอีสานบอกลงในค่าใช้จ่ายในการขาย
ไม่ได้แยกออกมาให้ดู ทีนี้พอไปดูในงบกระแสเงินสด
2549 2548
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
กำไร(ขาดทุน)สุทธิ 25,977,306.20 16,886,098.31
ปรับรายการกระทบกำไร(ขาดทุน)สุทธิเป็นเงินสดรับ(จ่าย)จากกิจกรรมดำเนินงาน
หนี้สงสัยจะสูญ - ลูกหนี้การค้า 2,932,024.80 1,513,388.73
ทำไมมันมีแค่ 2,932,024 ครับพี่
ไม่เข้าใจตรงนี้ครับ
รบกวนช่วยอธิบายหน่อยครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
การเผื่อค่าหนี้สูญ
โพสต์ที่ 6
ปกติลูกหนี้การค้าจะมีการประมาณการหนี้ที่จะเก็บไม่ได้หักออกไป หรือค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญนั่นเอง สุทธิแล้วนะได้เป็นลูกหนี้การค้าสุทธิ ซึ่งจะนำไปแสดงในงบดุล ถ้าอยากจะดูว่ามีค่าเผื่อเท่าไหร่ ก็เข้าไปดูในหมายเหตุงบการเงินที่คุณแชมป์เข้าใจถูกต้องแล้ว
ถ้าดูตัวเลขที่คุณแชมป์สงสัย
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญปี 2549 (5,436,316.14)
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญปี 2548 (2,504,291.34)
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในระหว่างปี 2549 มีการตั้งค่าเผื่อเพิ่มขึ้นจากปี 2548 เท่ากับ (5,436,316.14-2,504,291.34) = 2,932,024.80 ซึ่งแสดงในงบกระแสเงินสดพอดีครับ..
ถ้าดูตัวเลขที่คุณแชมป์สงสัย
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญปี 2549 (5,436,316.14)
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญปี 2548 (2,504,291.34)
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในระหว่างปี 2549 มีการตั้งค่าเผื่อเพิ่มขึ้นจากปี 2548 เท่ากับ (5,436,316.14-2,504,291.34) = 2,932,024.80 ซึ่งแสดงในงบกระแสเงินสดพอดีครับ..
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว