พี่ๆ ช่วยเข้ามาแนะนำด้านการศึกษาครับ
- oatty
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2444
- ผู้ติดตาม: 0
พี่ๆ ช่วยเข้ามาแนะนำด้านการศึกษาครับ
โพสต์ที่ 2
ถ้าจะเอาอย่างบัฟเฟตต์ ก็ต้องเรียนเศรษฯ
หรือปีเตอร์ ลินซ์ ก็ต้องประวัติศาสตร์ ปรัชญา จิตวิทยา
หรือปีเตอร์ ลินซ์ ก็ต้องประวัติศาสตร์ ปรัชญา จิตวิทยา
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
แนะนำครับ
โพสต์ที่ 5
ทางเลือกที่1) ป.ตรี เรียนเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ หรือบัญชี
จบแล้วต่อ MBA
ทางเลือกที่2)ป.ตรีเรียนบริหารธุรกิจ จบแล้วต่อ ป.โท การเงิน หรือการลงทุน
แต่ไม่ว่าจะเลือกทางไหน สิ่งที่น้องต้องทำควบคู่กันไปด้วยคือ
1)น้องต้องศึกษาตำราวีไอควบคู่ไปด้วย และ
2)เข้าศึกษาประสบการณ์ที่ thaivi.com และ
3)ฝึกเล่นเกมส์การลงทุนเสมือนจริงไปด้วยครับ
หากทำได้เต็มที รับรองกว่าจะจบป.โท น้องจะเก่งสุดๆ
:lol: :lol: :lol:
จบแล้วต่อ MBA
ทางเลือกที่2)ป.ตรีเรียนบริหารธุรกิจ จบแล้วต่อ ป.โท การเงิน หรือการลงทุน
แต่ไม่ว่าจะเลือกทางไหน สิ่งที่น้องต้องทำควบคู่กันไปด้วยคือ
1)น้องต้องศึกษาตำราวีไอควบคู่ไปด้วย และ
2)เข้าศึกษาประสบการณ์ที่ thaivi.com และ
3)ฝึกเล่นเกมส์การลงทุนเสมือนจริงไปด้วยครับ
หากทำได้เต็มที รับรองกว่าจะจบป.โท น้องจะเก่งสุดๆ
:lol: :lol: :lol:
- por_jai
- Verified User
- โพสต์: 14338
- ผู้ติดตาม: 0
พี่ๆ ช่วยเข้ามาแนะนำด้านการศึกษาครับ
โพสต์ที่ 8
8) ดูแล้ววัยรุ่นใจร้อนevolution เขียน:แล้วมันมีบริหารการลงทุนในระดับ ป.ตรีเลยมั้ยครับ
เขาว่าชมดูดอกไม้ ทุ่งหญ้าระหว่างทาง ไปปราสาท
ก็เป็นความสุขง่ายๆอย่างนึงนะครับ
ไม่ได้ว่าไปเร็วไม่ดี
แต่จากประสบการณ์สายกลาง ผสมผสานดีกว่า
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
-
- Verified User
- โพสต์: 551
- ผู้ติดตาม: 0
พี่ๆ ช่วยเข้ามาแนะนำด้านการศึกษาครับ
โพสต์ที่ 9
อย่าเรียนตรีบริหารเลยคะ มาเรียนต่อยอดตอนเอ็มบีเอก้ได้
เรียนอะไรที่อยากเรียนดีกว่า
ประวัติสาสตร์ ปรัชญา เศรษฐศาสตร์ อะไรก็ได้
จริงๆ อยากให้เลือกสาขาวิชาที่สอนให้เราจัดระบบความคิด
อย่างวิศวะ สถาปัตย์ เศรษฐศาสตร์ หรือแม้แต่นิติศาสตร์เอง ก็เป็นสาขาที่สอนระบบความคิดทั้งนั้น
เรียนอะไรที่อยากเรียนดีกว่า
ประวัติสาสตร์ ปรัชญา เศรษฐศาสตร์ อะไรก็ได้
จริงๆ อยากให้เลือกสาขาวิชาที่สอนให้เราจัดระบบความคิด
อย่างวิศวะ สถาปัตย์ เศรษฐศาสตร์ หรือแม้แต่นิติศาสตร์เอง ก็เป็นสาขาที่สอนระบบความคิดทั้งนั้น
just one life, use it!
-
- Verified User
- โพสต์: 1822
- ผู้ติดตาม: 0
พี่ๆ ช่วยเข้ามาแนะนำด้านการศึกษาครับ
โพสต์ที่ 10
เห็นด้วยอย่างมาก ปอตรี คืออาชีพที่อยากทำอยากเป็น ปอโทคือเสริมให้ก้าวหน้าtriathlon เขียน:อย่าเรียนตรีบริหารเลยคะ มาเรียนต่อยอดตอนเอ็มบีเอก้ได้
เรียนอะไรที่อยากเรียนดีกว่า
ประวัติสาสตร์ ปรัชญา เศรษฐศาสตร์ อะไรก็ได้
จริงๆ อยากให้เลือกสาขาวิชาที่สอนให้เราจัดระบบความคิด
อย่างวิศวะ สถาปัตย์ เศรษฐศาสตร์ หรือแม้แต่นิติศาสตร์เอง ก็เป็นสาขาที่สอนระบบความคิดทั้งนั้น
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news07/07/07
โพสต์ที่ 11
เปิดสอนคนการเงิน - 7/7/2550
เปิดสอนคนการเงิน
สถาบันสอนหลักสูตรนักวิเคราะห์การเงิน อาศัยช่องว่างจับกลุ่มเป้าหมายเป็นรายแรก พร้อมจับมือกับนิด้า คอยเป็นพี่เลี้ยงเปิดหลักสูตร FIRM เน้นเรียนวิเคราะห์และการบริหารความเสี่ยง เพื่อรองรับตลาดแรงงานในอนาคต
ด้วยจุดเด่นของหลักสูตรนักวิเคราะห์ทางการเงิน หรือ ซีเอฟเอ ที่ต้องอาศัยการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ทำให้สถาบันไฟแนนเชียล เซอร์วิส อะคาเดมี่ ซึ่งเป็นสถาบันที่อยู่ในหน่วยงานของบริษัทเอ็นเทอร์เพรอเนอร์ส รีสอร์ซ เซ็นเตอร์ จำกัด มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์และได้ร่วมมือกับนักธุรกิจที่ใจกล้าเปิดสถาบันจัดการอบรมหลักสูตรซีเอฟเอโดยมีลูกค้าและนักเรียนจากสถาบันการเงินต่างๆ มากมาย อาทิเช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต) ธนาคารกรุงเทพ
นายโฮเวิร์ด วูน ไป ฮู เจ้าของสถาบันไฟแนนเชียล เซอร์วิส อะคาเดมี่ (Financial Services Academy) ซึ่งเป็นนักธุรกิจใจกล้ารายนั้น เล่าถึงที่มาว่า เริ่มเข้ามาเปิดธุรกิจในไทยตั้งแต่ปี 2547 ด้วยเงินลงทุนประมาณ 3 ล้านบาท เพื่อเปิดสถาบันอบรมเกี่ยวกับบริหารธุรกิจของสถาบันการเงิน ในขณะที่กำลังรอจังหวะเปิดการสอนเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและโรงพยาบาล รวมทั้งการสอนพิเศษด้านการลงมือทำธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
สาเหตุที่เขาเลือกเปิดอบรมด้านบริหารธุรกิจโดยเฉพาะหลักสูตรนักวิเคราะห์ทางการเงิน เป็นอันดับแรก เนื่องจากยังไม่มีใครทำธุรกิจในลักษณะเช่นนี้ ดังนั้นจึงมีช่องว่างให้สามารถเจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมายระดับมืออาชีพ ซึ่งปัจจุบันมีนักเรียนที่จบหลักสูตรฝึกอบรมแล้วไปสมัครสอบหลักสูตรนักวิเคราะห์ทางการเงินที่สมาคมซีเอฟเอ ไทยแลนด์ ประมาณ 200 คน ภายใน 3 ปีที่ผ่านมา โดยเฉลี่ยเรียน 40-50 คนต่อห้อง ค่าเล่าเรียน
สำหรับวิธีการที่ดึงดูดนักเรียนให้สมัครฝึกอบรม นายโฮเวิร์ด เลือกใช้การลงโฆษณาในหน้าเว็บไซต์ เนื่องจากราคาถูกกว่าช่องทางอื่น รวมไปถึงการเข้าไปร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อช่วยดูแลหลักสูตรดังกล่าวอย่างกรณีที่ร่วมมือกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ในเชิงพันธมิตรธุรกิจ เพื่อช่วยกันคิดค้นหลักสูตร FIRM ซึ่งเป็นตัวย่อของ Financial Investment Risk Management ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตและเป็นหลักสูตรแรกที่เปิดการสอนเพื่อรองรับนักวิเคราะห์ทางการเงินมืออาชีพ
ด้านดร.กำพล ปัญญาโกเมศ ผู้อำนวยการหลักสูตร FIRM สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หลักสูตร FIRM จะเน้นเรื่องการวิเคราะห์และการบริหารความเสี่ยงด้วยการนำเอาหลักสูตร CFA (Chartered Financial Analyst) และหลักสูตร FRM (Financial Risk Management) ซึ่งเป็นหลักสูตรความเชี่ยวชาญเฉพาะวิชาชีพทางด้านการเงินที่เป็นที่ยอมรับในระดับโลกเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ผู้เรียนจะได้รับการปูพื้นฐานเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการออกไปสู่ตลาดงานที่เน้นความรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และการสอบให้ได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อรองรับความต้องการแรงงานด้านการเงินเฉลี่ยปีละ 300 คนแต่ปัจจุบันสามารถผลิตได้เพียง 100 คนเท่านั้น โดยรุ่นแรกเปิดรับประมาณ 40 คน หลักสูตร 1 ปีครึ่ง ค่าเล่าเรียนทั้งหมดกว่า 4 แสนบาท เหมาะสำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีในทุกสาขาที่มีความสนใจทางการด้านการเงิน โดยจะต้องมีการทดสอบภาษาอังกฤษ และความถนัดทางด้านธุรกิจก่อนการเปิดเทอมต่อไป
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=176937
เปิดสอนคนการเงิน
สถาบันสอนหลักสูตรนักวิเคราะห์การเงิน อาศัยช่องว่างจับกลุ่มเป้าหมายเป็นรายแรก พร้อมจับมือกับนิด้า คอยเป็นพี่เลี้ยงเปิดหลักสูตร FIRM เน้นเรียนวิเคราะห์และการบริหารความเสี่ยง เพื่อรองรับตลาดแรงงานในอนาคต
ด้วยจุดเด่นของหลักสูตรนักวิเคราะห์ทางการเงิน หรือ ซีเอฟเอ ที่ต้องอาศัยการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ทำให้สถาบันไฟแนนเชียล เซอร์วิส อะคาเดมี่ ซึ่งเป็นสถาบันที่อยู่ในหน่วยงานของบริษัทเอ็นเทอร์เพรอเนอร์ส รีสอร์ซ เซ็นเตอร์ จำกัด มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์และได้ร่วมมือกับนักธุรกิจที่ใจกล้าเปิดสถาบันจัดการอบรมหลักสูตรซีเอฟเอโดยมีลูกค้าและนักเรียนจากสถาบันการเงินต่างๆ มากมาย อาทิเช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต) ธนาคารกรุงเทพ
นายโฮเวิร์ด วูน ไป ฮู เจ้าของสถาบันไฟแนนเชียล เซอร์วิส อะคาเดมี่ (Financial Services Academy) ซึ่งเป็นนักธุรกิจใจกล้ารายนั้น เล่าถึงที่มาว่า เริ่มเข้ามาเปิดธุรกิจในไทยตั้งแต่ปี 2547 ด้วยเงินลงทุนประมาณ 3 ล้านบาท เพื่อเปิดสถาบันอบรมเกี่ยวกับบริหารธุรกิจของสถาบันการเงิน ในขณะที่กำลังรอจังหวะเปิดการสอนเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและโรงพยาบาล รวมทั้งการสอนพิเศษด้านการลงมือทำธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
สาเหตุที่เขาเลือกเปิดอบรมด้านบริหารธุรกิจโดยเฉพาะหลักสูตรนักวิเคราะห์ทางการเงิน เป็นอันดับแรก เนื่องจากยังไม่มีใครทำธุรกิจในลักษณะเช่นนี้ ดังนั้นจึงมีช่องว่างให้สามารถเจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมายระดับมืออาชีพ ซึ่งปัจจุบันมีนักเรียนที่จบหลักสูตรฝึกอบรมแล้วไปสมัครสอบหลักสูตรนักวิเคราะห์ทางการเงินที่สมาคมซีเอฟเอ ไทยแลนด์ ประมาณ 200 คน ภายใน 3 ปีที่ผ่านมา โดยเฉลี่ยเรียน 40-50 คนต่อห้อง ค่าเล่าเรียน
สำหรับวิธีการที่ดึงดูดนักเรียนให้สมัครฝึกอบรม นายโฮเวิร์ด เลือกใช้การลงโฆษณาในหน้าเว็บไซต์ เนื่องจากราคาถูกกว่าช่องทางอื่น รวมไปถึงการเข้าไปร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อช่วยดูแลหลักสูตรดังกล่าวอย่างกรณีที่ร่วมมือกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ในเชิงพันธมิตรธุรกิจ เพื่อช่วยกันคิดค้นหลักสูตร FIRM ซึ่งเป็นตัวย่อของ Financial Investment Risk Management ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตและเป็นหลักสูตรแรกที่เปิดการสอนเพื่อรองรับนักวิเคราะห์ทางการเงินมืออาชีพ
ด้านดร.กำพล ปัญญาโกเมศ ผู้อำนวยการหลักสูตร FIRM สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หลักสูตร FIRM จะเน้นเรื่องการวิเคราะห์และการบริหารความเสี่ยงด้วยการนำเอาหลักสูตร CFA (Chartered Financial Analyst) และหลักสูตร FRM (Financial Risk Management) ซึ่งเป็นหลักสูตรความเชี่ยวชาญเฉพาะวิชาชีพทางด้านการเงินที่เป็นที่ยอมรับในระดับโลกเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ผู้เรียนจะได้รับการปูพื้นฐานเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการออกไปสู่ตลาดงานที่เน้นความรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และการสอบให้ได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อรองรับความต้องการแรงงานด้านการเงินเฉลี่ยปีละ 300 คนแต่ปัจจุบันสามารถผลิตได้เพียง 100 คนเท่านั้น โดยรุ่นแรกเปิดรับประมาณ 40 คน หลักสูตร 1 ปีครึ่ง ค่าเล่าเรียนทั้งหมดกว่า 4 แสนบาท เหมาะสำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีในทุกสาขาที่มีความสนใจทางการด้านการเงิน โดยจะต้องมีการทดสอบภาษาอังกฤษ และความถนัดทางด้านธุรกิจก่อนการเปิดเทอมต่อไป
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=176937
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news07/07/07
โพสต์ที่ 12
'ซีเอฟเอ' เส้นทางนักการเงินมือทองเพิ่มมูลค่าอาชีพเทียบมาตรฐานสากล - 7/7/2550
'ซีเอฟเอ' เส้นทางนักการเงินมือทองเพิ่มมูลค่าอาชีพเทียบมาตรฐานสากล
"สยามรัฐ" แกะรอยเส้นทางนักการเงินชั้นนำ เพิ่มมูลค่าองค์ความรู้ด้วยหลักสูตรซีเอฟเอ 3 ระดับ สร้างปรากฏการณ์ดึงดูดคนรุ่นใหม่แห่สมัครสอบเพิ่มขึ้นทุกปี หวังเดินตามต้นแบบผู้บริหารระดับแนวหน้า เพื่อสร้างชื่อเสียงและความมั่งคั่งในอาชีพทุกวันนี้หากเจอตัวอักษรย่อ "ซีเอฟเอ" (CFA) ใส่ไว้ท้ายชื่อในนามบัตรของนักการเงินท่านใด เท่ากับว่าคุณได้รู้จักบุคลากรในสายการเงินและการลงทุนระดับมืออาชีพ ซึ่งเป็นมีมาตรฐานยอมรับทั่วโลก
ย้อนกลับไปเมื่อ 60 ปีที่แล้ว หลักสูตรนักวิเคราะห์ทางการเงิน หรือ Chartered Financial Analyst (CFA) มีต้นกำเนิดทางฝั่งซีกโลกตะวันตก ในสหรัฐอเมริกา จากการรวมตัวกันของสมาคมนักวิเคราะห์การเงิน 4 แห่ง คือ จากเมืองบอสตัน, ชิคาโก, นิวยอร์ค และฟิลาเดลเฟีย ก่อตั้งเป็นสมาพันธ์นักวิเคราะห์การเงินแห่งชาติ หรือ (Financial Analysts Federation : FAF) เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเรียนรู้ซึ่งกันและกันโดยเฉพาะเรื่องเทคนิคการวิเคราะห์ทางการเงิน
หลังจากนั้นได้ผ่านการรวมกิจการกับ Institute of Chartered Financial Analysts หรือ ICFA จัดตั้งเป็นสมาคมชื่อ the Association of Investment Management and Research หรือ AIMR และพัฒนามาเป็นสมาคม CFA Institute จนได้รับคำกล่าวขานว่าเป็นผู้สร้างมาตรฐานสูงสุดของการลงทุนด้วยจริยธรรมและความซื่อสัตย์ โดยมีหลักสูตรซีเอฟเอ เป็นธงนำ
เปิดตำนาน 'ซีเอฟเอ' เมืองไทยต่อมากระแสความนิยมของซีเอฟเอ จากฝั่งทวีปตะวันตกได้ข้ามซีกโลกไปยังฝั่งตะวันออก นั่นคือ บรรดาประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อาทิเช่น จีน อินเดีย เวียดนาม อียิปต์ รัสเซีย รวมถึงประเทศไทยด้วยตรงกับคำบอกเล่าของนายพิสิต จึงประดิษฐภัณฑ์ เลขาธิการ สมาคม ซีเอฟเอ ไทยแลนด์ เกี่ยวกับจุดเริ่มต้นสมาคมแห่งนี้ถูกก่อตั้งขึ้นได้ 4 ปีกว่า ท่ามกลางกระแสความนิยมหลักสูตรซีเอฟเอจากเมืองนอกจะไหลทะลักเข้ามายังแวดวงการเงินในไทยได้สักระยะหนึ่งแล้วก็ตาม ซึ่งก่อนหน้านั้นมีหลายบริษัทได้จัดส่งพนักงานไปสมัครสอบหลักสูตรนี้จากต่างประเทศนับตั้งแต่ช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ส่งผลให้มีผู้สนใจสอบหลักสูตรซีเอฟเอเพิ่มขึ้น
อีกทั้งทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เริ่มให้ความสำคัญกับหลักสูตรซีเอฟเอโดยมีการกำหนดให้นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ผู้จัดการกองทุน เจ้าหน้าที่แนะนำการลงทุน และวาณิชธนากร จะต้องสอบผ่านขั้นที่ 1 เป็นอย่างต่ำ ซึ่งหลักสูตรมี 3 ระดับโดยใช้เวลาสอบ 3 ปี คือ ขั้นที่ 1 เป็นการปูพื้นฐาน ขั้นที่ 2 ต้องรู้เรื่องบัญชี เพื่อใช้วิเคราะห์การเงิน การประเมินคุณค่า และสุดท้ายขั้นที่ 3 จะเน้นเรื่องการบริหารพอร์ตลงทุน หลังจากนั้นยังต้องมีประสบการณ์ทำงานตรงตามสายงานที่เกี่ยวข้องในระยะเวลา 4 ปี ถึงจะถือว่า "สอบผ่าน" อย่างสมบูรณ์แบบ
ด้วยเหตุนี้ นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ถือเป็นสมาชิกสมาคม CFA Institute ซึ่งปัจจุบันนั่งเก้าอี้ประธานสมาคม ซีเอฟเอ ไทยแลนด์ ได้รับคำแนะนำจากสหรัฐฯ ว่า สมาชิกในไทยน่าจะรวมตัวกันเป็นสมาคม เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักหลักสูตรซีเอฟเอมากขึ้น และรองรับความต้องการของผู้เรียนให้สามารถสอบในเมืองไทย จึงรวบรวมผู้ที่สอบผ่านหลักสูตรซีเอฟเอเข้ามาเป็นสมาชิก โดยในปีแรกที่ก่อตั้งมีสมาชิก 20 คน และปัจจุบันมีสมาชิกเพิ่มเป็น 154 คน
แห่สมัครสอบสู่วงการเช่นเดียวกับตัวเลขจำนวนคนสมัครสอบทั้ง 3 ระดับรวมกันมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นตามลำดับ สังเกตุเห็นได้จากปีนี้ทางสมาคม ซีเอฟเอ ไทยแลนด์ คาดว่า จะมีผู้สมัครสอบ 900 คน ส่วนปี 2549 มีจำนวน 840 คน ปี 2548 มีจำนวน 810 คน และปี 2547 มีจำนวน 650 คน ขณะที่คนสอบผ่านทั้ง 3 ระดับ ในปี 2549 ที่ผ่านมามีจำนวนทั้งสิ้น 55 คน ปี 2548 มีจำนวน 20 คน และปี 2547 มีจำนวน 28 คน นับว่ายังน้อยอยู่แต่ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นระยะ
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีผู้สนใจสอบหลักสูตรซีเอฟเอมากขึ้น คงเป็นเพราะกำลังหลงใหล "เสน่ห์" ของหลักสูตรนี้เปรียบเสมือนใบเบิกทางสู่วงการการเงินทั่วโลก ซึ่งเป็นหลักสูตรระดับสากล เช่น สอบผ่านหลักสูตรที่ประเทศไทยหรือต่างประเทศ ก็ถือเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด พร้อมทั้งเป็นหลักสูตรที่มีการเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกการเงินไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา บทความ หนังสือที่ใช้อ่าน และที่สำคัญคือ อาศัยการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
ต้นแบบนักการเงินมือทองสิ่งเหล่านี้จึงกลายเป็นเสน่ห์ดึงดูดใจคนที่อยากจะเข้าวงการโดยมีรุ่นพี่หลายคนที่มีชื่อเสียงระดับแถวหน้าอยู่ในแวดวงการเงินเป็น "ต้นแบบ" ดังจะเห็นรายชื่อ "นายมนตรี ศรไพศาล" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) คือ ผู้สอบผ่านหลักสูตรซีเอฟเอ ทั้ง 3 ระดับ ภายหลังจากเรียนจบปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ (การเงิน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อมาเมื่อราวปี 2531 เข้าสู่เส้นธุรกิจการเงินเริ่มต้นจากผู้อำนวยการฝ่ายคอมพิวเตอร์บริษัทหลักทรัพย์ เจ เอฟ ธนาคม จำกัด และตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ สายงานวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ วิคเคอร์ส บัลลาส ประเทศไทย) จำกัด ก่อนจะเข้านั่งเก้าอี้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ที่มีส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 ของไทย
นายมนตรี ผู้บริหารที่มีเสียงหัวเราะเปิดเผยไม่เหมือนใคร ใช้เวลาเรียนและสอบหลักสูตรซีเอฟเอ ถึง 6 ปีเต็ม จึงสอบผ่านทั้ง 3 ระดับ เนื่องจากเขาได้เห็นจุดเด่นที่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ทันต่อกระแสโลกการเงินและมองว่าหลักสูตรนี้มีประโยชน์กับผู้ที่สนใจเข้าสู่อาชีพนักการเงินอย่างแน่นอน เมื่อวัดจากความต้องการมันสมองนักการเงินระดับหัวกระทิยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก
ส่งผลให้ผู้บริหารที่ชื่อ "มนตรี ศรไพศาล" กลายเป็นหนึ่งในต้นแบบของนักศึกษารุ่นใหม่ ด้วย "ชื่อเสียง" และ "ความมั่งคั่ง" จากเส้นทางอาชีพนักการเงิน ซึ่งพบว่าเขาเป็นผู้บริหารที่มั่งคั่งที่สุดของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่ม "SET 50" รอบปี 2549 โดยมีค่าตอบแทนทั้งในรูปของเงินเดือนและโบนัสประจำปี รวมทั้งเงินสำรองเลี้ยงชีพ เฉลี่ยขั้นต่ำปีละกว่า 27.6 ล้านบาท หรือเดือนละ 2.3 ล้านบาท
ไม่เพียงเท่านั้นพี่ชายของนายมนตรี นั่นคือ "ดร.สมจินต์ ศรไพศาล" กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ จำกัด ก็อยู่ในบัญชีรายชื่อผู้สอบผ่านหลักสูตรซีเอฟเอ เช่นกัน โดยเริ่มสมัครสอบเมื่อคราวไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น และมีเพื่อนต่างชาติคนหนึ่งพูดขึ้นว่า ถ้าใครสอบได้หลักสูตรซีเอฟเอ จะรับรองว่าได้งานในประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างแน่นอน ถือเป็นความท้าทายจนทำให้เขาตัดสินใจเรียน
แม้กระทั่งนายชนิตร ชาญชัยณรงค์ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ซึ่งเรียนจบคณะวิศวกรรมศาสตร์ทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ยังต้องหันเหชีวิตสู่แวดวงการลงทุน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคว้าใบประกาศนียบัตรหลักสูตรซีเอฟเอ มาให้ได้ เพื่อเพิ่มมูลค่าของตัวเองสอดคล้องกับแนวโน้มในปัจจุบันมีนักศึกษาเรียนจบปริญญาตรีทุกคณะ กำลังแสวงหาหลักสูตรที่เป็นที่ยอมรับและสร้างประสบการณ์ใหม่ เห็นได้ชัดเจนจากตัวเลขจำนวนผู้สมัครสอบในแต่ละปีนั้น พบว่าส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 30-31 ปี ซึ่งคือวัยทำงานที่พยายามหาจุดขายของตัวเอง ด้วยหลักสูตรที่อาศัยการเรียนรู้เองแล้วไปสอบ ซึ่งค่าสมัครสอบอยู่ในระดับที่ไม่ได้แพง เช่น เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ค่าสมัครสอบบวกกับค่าลงทะเบียนหลักสูตรในระดับ 1 เฉลี่ยประมาณ 26,000 บาท-40,000 บาท ส่วนระดับ 2 จ่ายประมาณ 10,000 บาท นับเป็นการลงทุนเพื่อการศึกษาที่คุ้มค่า หากมองถึงการเติบโตของอาชีพในอนาคต
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=176938
'ซีเอฟเอ' เส้นทางนักการเงินมือทองเพิ่มมูลค่าอาชีพเทียบมาตรฐานสากล
"สยามรัฐ" แกะรอยเส้นทางนักการเงินชั้นนำ เพิ่มมูลค่าองค์ความรู้ด้วยหลักสูตรซีเอฟเอ 3 ระดับ สร้างปรากฏการณ์ดึงดูดคนรุ่นใหม่แห่สมัครสอบเพิ่มขึ้นทุกปี หวังเดินตามต้นแบบผู้บริหารระดับแนวหน้า เพื่อสร้างชื่อเสียงและความมั่งคั่งในอาชีพทุกวันนี้หากเจอตัวอักษรย่อ "ซีเอฟเอ" (CFA) ใส่ไว้ท้ายชื่อในนามบัตรของนักการเงินท่านใด เท่ากับว่าคุณได้รู้จักบุคลากรในสายการเงินและการลงทุนระดับมืออาชีพ ซึ่งเป็นมีมาตรฐานยอมรับทั่วโลก
ย้อนกลับไปเมื่อ 60 ปีที่แล้ว หลักสูตรนักวิเคราะห์ทางการเงิน หรือ Chartered Financial Analyst (CFA) มีต้นกำเนิดทางฝั่งซีกโลกตะวันตก ในสหรัฐอเมริกา จากการรวมตัวกันของสมาคมนักวิเคราะห์การเงิน 4 แห่ง คือ จากเมืองบอสตัน, ชิคาโก, นิวยอร์ค และฟิลาเดลเฟีย ก่อตั้งเป็นสมาพันธ์นักวิเคราะห์การเงินแห่งชาติ หรือ (Financial Analysts Federation : FAF) เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเรียนรู้ซึ่งกันและกันโดยเฉพาะเรื่องเทคนิคการวิเคราะห์ทางการเงิน
หลังจากนั้นได้ผ่านการรวมกิจการกับ Institute of Chartered Financial Analysts หรือ ICFA จัดตั้งเป็นสมาคมชื่อ the Association of Investment Management and Research หรือ AIMR และพัฒนามาเป็นสมาคม CFA Institute จนได้รับคำกล่าวขานว่าเป็นผู้สร้างมาตรฐานสูงสุดของการลงทุนด้วยจริยธรรมและความซื่อสัตย์ โดยมีหลักสูตรซีเอฟเอ เป็นธงนำ
เปิดตำนาน 'ซีเอฟเอ' เมืองไทยต่อมากระแสความนิยมของซีเอฟเอ จากฝั่งทวีปตะวันตกได้ข้ามซีกโลกไปยังฝั่งตะวันออก นั่นคือ บรรดาประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อาทิเช่น จีน อินเดีย เวียดนาม อียิปต์ รัสเซีย รวมถึงประเทศไทยด้วยตรงกับคำบอกเล่าของนายพิสิต จึงประดิษฐภัณฑ์ เลขาธิการ สมาคม ซีเอฟเอ ไทยแลนด์ เกี่ยวกับจุดเริ่มต้นสมาคมแห่งนี้ถูกก่อตั้งขึ้นได้ 4 ปีกว่า ท่ามกลางกระแสความนิยมหลักสูตรซีเอฟเอจากเมืองนอกจะไหลทะลักเข้ามายังแวดวงการเงินในไทยได้สักระยะหนึ่งแล้วก็ตาม ซึ่งก่อนหน้านั้นมีหลายบริษัทได้จัดส่งพนักงานไปสมัครสอบหลักสูตรนี้จากต่างประเทศนับตั้งแต่ช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ส่งผลให้มีผู้สนใจสอบหลักสูตรซีเอฟเอเพิ่มขึ้น
อีกทั้งทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เริ่มให้ความสำคัญกับหลักสูตรซีเอฟเอโดยมีการกำหนดให้นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ผู้จัดการกองทุน เจ้าหน้าที่แนะนำการลงทุน และวาณิชธนากร จะต้องสอบผ่านขั้นที่ 1 เป็นอย่างต่ำ ซึ่งหลักสูตรมี 3 ระดับโดยใช้เวลาสอบ 3 ปี คือ ขั้นที่ 1 เป็นการปูพื้นฐาน ขั้นที่ 2 ต้องรู้เรื่องบัญชี เพื่อใช้วิเคราะห์การเงิน การประเมินคุณค่า และสุดท้ายขั้นที่ 3 จะเน้นเรื่องการบริหารพอร์ตลงทุน หลังจากนั้นยังต้องมีประสบการณ์ทำงานตรงตามสายงานที่เกี่ยวข้องในระยะเวลา 4 ปี ถึงจะถือว่า "สอบผ่าน" อย่างสมบูรณ์แบบ
ด้วยเหตุนี้ นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ถือเป็นสมาชิกสมาคม CFA Institute ซึ่งปัจจุบันนั่งเก้าอี้ประธานสมาคม ซีเอฟเอ ไทยแลนด์ ได้รับคำแนะนำจากสหรัฐฯ ว่า สมาชิกในไทยน่าจะรวมตัวกันเป็นสมาคม เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักหลักสูตรซีเอฟเอมากขึ้น และรองรับความต้องการของผู้เรียนให้สามารถสอบในเมืองไทย จึงรวบรวมผู้ที่สอบผ่านหลักสูตรซีเอฟเอเข้ามาเป็นสมาชิก โดยในปีแรกที่ก่อตั้งมีสมาชิก 20 คน และปัจจุบันมีสมาชิกเพิ่มเป็น 154 คน
แห่สมัครสอบสู่วงการเช่นเดียวกับตัวเลขจำนวนคนสมัครสอบทั้ง 3 ระดับรวมกันมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นตามลำดับ สังเกตุเห็นได้จากปีนี้ทางสมาคม ซีเอฟเอ ไทยแลนด์ คาดว่า จะมีผู้สมัครสอบ 900 คน ส่วนปี 2549 มีจำนวน 840 คน ปี 2548 มีจำนวน 810 คน และปี 2547 มีจำนวน 650 คน ขณะที่คนสอบผ่านทั้ง 3 ระดับ ในปี 2549 ที่ผ่านมามีจำนวนทั้งสิ้น 55 คน ปี 2548 มีจำนวน 20 คน และปี 2547 มีจำนวน 28 คน นับว่ายังน้อยอยู่แต่ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นระยะ
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีผู้สนใจสอบหลักสูตรซีเอฟเอมากขึ้น คงเป็นเพราะกำลังหลงใหล "เสน่ห์" ของหลักสูตรนี้เปรียบเสมือนใบเบิกทางสู่วงการการเงินทั่วโลก ซึ่งเป็นหลักสูตรระดับสากล เช่น สอบผ่านหลักสูตรที่ประเทศไทยหรือต่างประเทศ ก็ถือเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด พร้อมทั้งเป็นหลักสูตรที่มีการเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกการเงินไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา บทความ หนังสือที่ใช้อ่าน และที่สำคัญคือ อาศัยการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
ต้นแบบนักการเงินมือทองสิ่งเหล่านี้จึงกลายเป็นเสน่ห์ดึงดูดใจคนที่อยากจะเข้าวงการโดยมีรุ่นพี่หลายคนที่มีชื่อเสียงระดับแถวหน้าอยู่ในแวดวงการเงินเป็น "ต้นแบบ" ดังจะเห็นรายชื่อ "นายมนตรี ศรไพศาล" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) คือ ผู้สอบผ่านหลักสูตรซีเอฟเอ ทั้ง 3 ระดับ ภายหลังจากเรียนจบปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ (การเงิน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อมาเมื่อราวปี 2531 เข้าสู่เส้นธุรกิจการเงินเริ่มต้นจากผู้อำนวยการฝ่ายคอมพิวเตอร์บริษัทหลักทรัพย์ เจ เอฟ ธนาคม จำกัด และตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ สายงานวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ วิคเคอร์ส บัลลาส ประเทศไทย) จำกัด ก่อนจะเข้านั่งเก้าอี้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ที่มีส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 1 ของไทย
นายมนตรี ผู้บริหารที่มีเสียงหัวเราะเปิดเผยไม่เหมือนใคร ใช้เวลาเรียนและสอบหลักสูตรซีเอฟเอ ถึง 6 ปีเต็ม จึงสอบผ่านทั้ง 3 ระดับ เนื่องจากเขาได้เห็นจุดเด่นที่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ทันต่อกระแสโลกการเงินและมองว่าหลักสูตรนี้มีประโยชน์กับผู้ที่สนใจเข้าสู่อาชีพนักการเงินอย่างแน่นอน เมื่อวัดจากความต้องการมันสมองนักการเงินระดับหัวกระทิยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก
ส่งผลให้ผู้บริหารที่ชื่อ "มนตรี ศรไพศาล" กลายเป็นหนึ่งในต้นแบบของนักศึกษารุ่นใหม่ ด้วย "ชื่อเสียง" และ "ความมั่งคั่ง" จากเส้นทางอาชีพนักการเงิน ซึ่งพบว่าเขาเป็นผู้บริหารที่มั่งคั่งที่สุดของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่ม "SET 50" รอบปี 2549 โดยมีค่าตอบแทนทั้งในรูปของเงินเดือนและโบนัสประจำปี รวมทั้งเงินสำรองเลี้ยงชีพ เฉลี่ยขั้นต่ำปีละกว่า 27.6 ล้านบาท หรือเดือนละ 2.3 ล้านบาท
ไม่เพียงเท่านั้นพี่ชายของนายมนตรี นั่นคือ "ดร.สมจินต์ ศรไพศาล" กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ จำกัด ก็อยู่ในบัญชีรายชื่อผู้สอบผ่านหลักสูตรซีเอฟเอ เช่นกัน โดยเริ่มสมัครสอบเมื่อคราวไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น และมีเพื่อนต่างชาติคนหนึ่งพูดขึ้นว่า ถ้าใครสอบได้หลักสูตรซีเอฟเอ จะรับรองว่าได้งานในประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างแน่นอน ถือเป็นความท้าทายจนทำให้เขาตัดสินใจเรียน
แม้กระทั่งนายชนิตร ชาญชัยณรงค์ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ซึ่งเรียนจบคณะวิศวกรรมศาสตร์ทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ยังต้องหันเหชีวิตสู่แวดวงการลงทุน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคว้าใบประกาศนียบัตรหลักสูตรซีเอฟเอ มาให้ได้ เพื่อเพิ่มมูลค่าของตัวเองสอดคล้องกับแนวโน้มในปัจจุบันมีนักศึกษาเรียนจบปริญญาตรีทุกคณะ กำลังแสวงหาหลักสูตรที่เป็นที่ยอมรับและสร้างประสบการณ์ใหม่ เห็นได้ชัดเจนจากตัวเลขจำนวนผู้สมัครสอบในแต่ละปีนั้น พบว่าส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 30-31 ปี ซึ่งคือวัยทำงานที่พยายามหาจุดขายของตัวเอง ด้วยหลักสูตรที่อาศัยการเรียนรู้เองแล้วไปสอบ ซึ่งค่าสมัครสอบอยู่ในระดับที่ไม่ได้แพง เช่น เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ค่าสมัครสอบบวกกับค่าลงทะเบียนหลักสูตรในระดับ 1 เฉลี่ยประมาณ 26,000 บาท-40,000 บาท ส่วนระดับ 2 จ่ายประมาณ 10,000 บาท นับเป็นการลงทุนเพื่อการศึกษาที่คุ้มค่า หากมองถึงการเติบโตของอาชีพในอนาคต
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=176938