ค่าเสื่อมเครื่องจักร อยู่ในส่วน direct labor costรึเปล่าครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
prasits
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 219
ผู้ติดตาม: 1

ค่าเสื่อมเครื่องจักร อยู่ในส่วน direct labor costรึเปล่าครับ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

คือสงสัยว่า
เวลาบริษัทมีการลงทุนในทรัพย์สิน

ในส่วนของอาคาร/ เครื่องจักรของโรงงานนี่  เค้าจะเอาไปรวมไปใน direct labor cost รึเปล่าครับ  

ประเด็นคือ  ต้องการทราบว่า Gross MArgin นั้น  หักค่าเสื่อมเครื่องจักรแล้วหรือยังครับ

หรือว่าแยกออกมาเป็นค่าใช้จ่ายแยกเลย (ค่าเสื่อม)

กรณี  ถ้ามันรวมๆ กันเป็นก้อนเลย    เราจะลองแกะ หรือแยกออกมาได้หรือไม่ครับ  (ถ้าดูจากงบที่เค้าเปิดเผย)  ว่าค่าเสื่อมนั้นเป็น
ค่าเสื่อมทางตรง (ใช้ในการผลิตสินค้า)  และ
ค่าเสื่อมทางอ้อม (เช่นอาคาร สำนักงาน)  ได้หรือไม่

ขอบคุณครับ
ลูกอิสาน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 6483
ผู้ติดตาม: 1

ค่าเสื่อมเครื่องจักร อยู่ในส่วน direct labor costรึเปล่าครับ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เท่าที่พอทราบนะครับ

gross profit margin หรือกำไรขั้นต้น = ยอดขาย-ต้นทุนขาย

ต้นทุนขาย = ต้นทุนคงที่ +ต้นทุนผันแปร

ต้นทุนคงที่ เช่น ค่าเสื่อมเครื่องจักร อาคาร ยานพาหนะ

ต้นทุนผันแปร เช่น วัตถุดิบ ค่าแรง(direct labor cost) ค่าโสหุ้ย เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ

ดังนั้นจะเห็นว่ากำไรขั้นต้นได้หักค่าเสื่อมแล้วครับ

ส่วนค่าเสื่อมต่างๆ แยกเป็นรายการย่อยๆ สามารถดูได้จากหมายเหตุงบการเงินครับ
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
Kao
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1257
ผู้ติดตาม: 0

ค่าเสื่อมเครื่องจักร อยู่ในส่วน direct labor costรึเปล่าครับ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

เท่าที่ทราบเหมือนกันครับ

ต้นทุนขายน่าจะเป็นต้นทุนทางตรงที่ก่อให้รายได้ ขึ้นอยู่กับว่าบริษัททำธุรกิจอะไร

ค้าปลีก => ต้นทุนขาย = ต้นทุนของสินค้าที่ขายได้ (ค่าเสื่อมไม่รวมในต้นทุนขาย)

ศูนย์การค้า => ต้นทุนขาย = ค่าเสื่อมราคาอาคารศูนย์การค้าและงานระบบ
"Price is what you pay. Value is what you get."
ภาพประจำตัวสมาชิก
Mon money
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 3134
ผู้ติดตาม: 0

ค่าเสื่อมเครื่องจักร อยู่ในส่วน direct labor costรึเปล่าครับ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

เวลาบริษัทมีการลงทุนในทรัพย์สิน

ในส่วนของอาคาร/ เครื่องจักรของโรงงานนี่  เค้าจะเอาไปรวมไปใน direct labor cost รึเปล่าครับ
ไม่รวมครับ คืองี้

Product cost = Direct labour cost + Direct Material cost + Manufacturing Overhead cost

ไอ้เจ้าManufacturing Overhead cost นี่แหละที่เป็นค่าเสื่อมเครื่องจักร ค่าแรงของผู้บริหารที่ใช้ในการผลิตให้เกิดproduct เป็นการ Cost Alocation
ประเด็นคือ  ต้องการทราบว่า Gross MArgin นั้น  หักค่าเสื่อมเครื่องจักรแล้วหรือยังครับ
Gross Margin = Rev. - Cost of Goods sold

Cost of goods sold ก็จะเท่ากับ Product cost ณ ช่วงเวลาที่ผลิตสินค้านั้นขึ้นมา

ฉนั้นคำตอบก็คือ กำไรขั้นต้นนั้นหักค่เสื่อมเครื่องจักรและอุปกรณ์ไปแล้วครับ แต่อาจจะมีค่าเสื่อมบางอย่างเกี่ยวกับการขายและบริหารไปอยู่ใน "ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร" บ้างครับ เช่นค่าเสื่อมสำนักงาน
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
Pythoon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 136
ผู้ติดตาม: 0

ค่าเสื่อมเครื่องจักร อยู่ในส่วน direct labor costรึเปล่าครับ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ที่ผมเข้าใจ (ไม่รู้ถูกหรือเปล่า) เพราะไม่ได้เรียนบัญชีมาโดยตรง

ผมยกตัวอย่างบริษัทที่มี โรงงานในการผลิต กับ office ในการขายแยกกันอย่างชัดเจน (เช่น ตั้งอยู่คนละที่)
สามารถแยกต้นทุนเป็น
1. ต้นทุนใช้ในการผลิต - ดูส่วนที่ใช้ในโรงงานผลิตเป็นหลัก เช่น เครื่องจักร โรงงาน ค่าน้ำ-ไฟ ค่าแรงงาน คอมพิวเตอร์ (เน้นว่าในโรงงาน) , อื่นๆ

2. ต้นทุนทางการขายและบริหาร ดูส่วนที่เป็น office เป้นหลัก ตึก ค่่าน้ำ-ไฟ ค่าแรงงาน คอมพิวเตอร์ (เน้นว่าใน office ),อื่นๆ

แยกค่าเสื่อมก็ต้องแยกเป็น 2 อย่าง
ค่าเสื่อมเครื่องจักร โรงงาน อยุ่ใน Cost of Goods sold
ค่าเสื่อมตึก office , รถยนต์ เช่น รถผู้บริหาร อยู่ในส่วนบริหาร ....

แต่ของบางอย่งผมก้ไม่แน่ใจ เช่น ่รถที่วิ่งจาก โรงงานไป office ไม่รู้เป้นต้นทุนส่วนไหนกันแน่ (คงแล้วแต่มุมมองผู้บริหาร)

เป็นความเข้าใจแบบงูๆปลาๆนะครับ รอผู้ชำนาญมา confirm อีกที
prasits
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 219
ผู้ติดตาม: 1

..

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณ  สำหรับคำตอบครับ
กูรูขอบสนาม
Verified User
โพสต์: 987
ผู้ติดตาม: 0

ค่าเสื่อมเครื่องจักร อยู่ในส่วน direct labor costรึเปล่าครับ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

" แต่ของบางอย่งผมก้ไม่แน่ใจ เช่น ่รถที่วิ่งจาก โรงงานไป office ไม่รู้เป้นต้นทุนส่วนไหนกันแน่ (คงแล้วแต่มุมมองผู้บริหาร)"

อยู่ที่ว่ารถคันนั้นลงบัญชีเป็นทรัพย์สินของโรงงานหรือออฟฟิศครับ ส่วนใหญ่จะผลักเป็นค่าใช้จ่ายของโรงงานมากกว่า
โพสต์โพสต์