สงสัยเรื่องค่าเงินครับ ผู้รู้ช่วยตอบด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 1301
- ผู้ติดตาม: 0
สงสัยเรื่องค่าเงินครับ ผู้รู้ช่วยตอบด้วย
โพสต์ที่ 2
น่าจะยากนะ ปรับตัวอ่อนลง 10%-15% ภายใน 6 เดือน
แต่จริงๆไม่รู้ :P
แต่จริงๆไม่รู้ :P
- tatandchin
- Verified User
- โพสต์: 775
- ผู้ติดตาม: 0
สงสัยเรื่องค่าเงินครับ ผู้รู้ช่วยตอบด้วย
โพสต์ที่ 4
ที่ถามคือเทียบกับ ดอลลาร์สหรัฐใช่ไหมครับ
ก็นอกจากดูไทยเองแล้วต้องดูสหรัฐด้วยว่าเศรษฐกิจของเขามีแนวโน้มเป็นอย่างไรดีขึ้น แย่ลงครับ
ก็นอกจากดูไทยเองแล้วต้องดูสหรัฐด้วยว่าเศรษฐกิจของเขามีแนวโน้มเป็นอย่างไรดีขึ้น แย่ลงครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 497
- ผู้ติดตาม: 0
สงสัยเรื่องค่าเงินครับ ผู้รู้ช่วยตอบด้วย
โพสต์ที่ 5
ค่าเงินบาท จุดตายเศรษฐกิจไทย
สุกรี แมนชัยนิมิต Positioning Magazine เมษายน 2550
สถิติมีไว้ให้ทำลาย แต่บางสถิติสำหรับบางอย่างหากถูกทำลายบ่อย ๆ อาจเกิดหายนะขึ้นมาได้ เหมือนอย่างที่เกิดกับภาวะเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็น จุดตาย ที่ทำให้เศรษฐกิจของไทยอาจต้องล่มสลายลง
วิกฤตการณ์ค่าเงินบาทครั้งนี้ จะเป็นเช่นเดียวกับวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 หรือไม่ แต่ที่แน่ๆ นักธุรกิจทุกคนต้องรู้ เพื่อการเตรียมพร้อมขององค์กร สำหรับ จุดยืนของธุรกิจ ที่ต้องรู้ทั้งภาพด้านลึก และระดับกว้าง ระดับเศรษฐกิจมหาภาค ปัญหาค่าเงินบาทเริ่มชัดเจนมาตั้งแต่ปี 2549 จนวันที่ 19 มีนาคม 2550 ที่ค่าเงินบาทเปิดตลาดแตะระดับ 34.82-34.84 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 9 ปีครึ่ง การทำนิวไฮยังไม่หยุดยั้งในวันถัดมา จนมีการคาดการณ์ว่าเงินบาทอาจแข็งค่าไปอยู่ที่ 32 บาท !!!! ในไม่ช้า
สาเหตุที่ ค่าบาทแข็ง ต่อเนื่องเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ เกิดขึ้นจากปัจจัยใด และมาตรการการเข้า สกัด ของแบงก์ชาติ มีมาตรการใดบ้าง แน่นอนมีมากกว่า 1 แต่เหตุใดจึงยังไม่ได้ผล สุดท้ายผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับผลกระทบจาก บาทแข็ง ควรช่วยเหลือตัวเองรับมืออย่างไร POSITIONING มีคำตอบ
สาเหตุปั่น บาทแข็ง
เงินบาท ที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ มีความหมายถึง เงินบาท เป็นที่ต้องการเหมือนสินค้าที่มีผู้ต้องการมาก ก็มักมีราคาสูงขึ้น ในที่นี้คือค่าเงินบาทมีราคาสูงขึ้น เปรียบเทียบได้ว่าจากเดิมที่ต่างชาติเคยใช้เงินเพียง 1 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อแลกเงินบาทได้ถึง 40 บาท แต่ปัจจุบันต้องใช้มากกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐ ถึงจะแลกได้ 40 บาท
สาเหตุที่ทำให้ เงินบาท เป็นที่ต้องการมาก จนแข็งค่าขึ้นมี 5 ปัจจัยคือ
1. ความไม่สมดุลของภาวะเศรษฐกิจโลก (Global Imbalance)
สาเหตุหลักของความไม่สมดุลในปัจจุบัน มาจากเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาชะลอตัว คาดจีดีพีในปี 2007 จะอยู่ในระดับ 2% เท่านั้น อันเนื่องมาจากการบริโภคชะลอตัว และในด้านเศรษฐกิจมหภาคที่ขาดดุลการคลัง ขาดดุลการค้า และส่งผลไปถึงดุลบัญชีเดินสะพัด ขาดดุลถึงเดือนละ 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ คนเริ่มไม่มั่นใจในการถือครองเงินดอลลาร์ แม้จะไม่ขาย แต่ก็หลีกเลี่ยงที่จะถือเพิ่มขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียขยายตัวดี โดยเฉพาะจีน และอินเดีย นำมาสู่สาเหตุที่ 2 คือการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์สหรัฐ
2. การอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ
ไม่ว่าสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจะอ่อนค่าลงตามภาวะความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลก หรือเพราะความจงใจของสหรัฐฯ เอง แต่ขณะนี้ค่าเงินดอลลาร์ได้อ่อนลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ
3. การเพิ่มขึ้นของดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย
ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา จากยอดการส่งออก และดุลบริการที่เพิ่มขึ้น นับเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความต้องการเงินบาทเพิ่มขึ้นในตลาด เพราะเมื่อผู้ส่งออกรับรายได้มาเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ ต้องแลกกลับเป็นเงินบาท
4. การไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติ
ปัจจัยนี้ ธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ให้เหตุผลว่าเพราะโลกปัจจุบันมีการเชื่อมโยงทางการเงินสูง และประเทศไทยเอง ก็เปิดให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนได้สะดวก แต่เพราะเป็นประเทศเล็ก ระบบการเงินเริ่มพัฒนา โดยผู้ร่วมตลาดยังไม่คุ้นเคยกับเครื่องมือทางการเงิน และป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน จึงเปราะบางต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่รวดเร็ว และมีจำนวนสูง
แหล่งที่เงินทุนต่างประเทศไหลเข้า หากเป็นเงินทุนเพื่อลงทุนขยายธุรกิจ หรือตั้งโรงงาน เมื่อเข้ามาแล้ว แลกเป็นบาทมาลงทุน เกิดโรงงาน เกิดการจ้างงาน จ่ายผลตอบแทน หมุนเวียนกลับไปยังผู้ลงทุนเป็นดอลลาร์ จะไม่เป็นปัญหา แต่ภาวะความเป็นจริงคือ อัตราการลงทุนของภาคเอกชนไม่สูงนัก โดยเติบโตไม่ถึง 10% จากเดิมที่เคยเติบโตเกิน 20% ต่อปี
ข้อมูลจากแบงก์ชาติที่เฝ้าจับตาการไหลข้าวของเงินทุนต่างชาติ ยังพบว่ามีการไหลเข้าอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2548 และเร่งตัวมากขึ้นในปี 2549 ส่วนหนึ่งเพื่อซื้อกิจการสื่อสารขนาดใหญ่ บางส่วนมาร่วมทุนกับเอกชนไทยและสถาบันการเงิน และที่แบงก์ชาติจับตามาตลอดคือไหลเข้าเพื่อการเก็งกำไร รวม 2 ปี ไหลเข้าถึง 16,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
5. การเก็งกำไร
การไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติยังพุ่งไปยังตลาดหุ้น แม้ไม่คึกคักนัก แต่ก็มีส่วนทำให้เกิดการเก็งกำไร เพราะตลาดหุ้นไทยที่ไร้ปัจจัยบวก ทำให้เป้าหมายที่ต่างชาติที่เข้าซื้อสุทธินั้นมี เหตุผลหลัก คือซื้อหุ้นเพื่อนำเงินมาพักไว้ก่อน เมื่อเงินบาทแข็งในระดับหนึ่งแล้ว ก็ขายหุ้น และนำเงินบาทไปแลกเงินดอลลาร์ที่ได้จำนวนมากขึ้น เป็นการกินกำไรส่วนต่างอย่างชัดเจน
การเก็งกำไรจนทำให้บาทแข็งค่าขึ้นมีสัญญาณที่เห็นถึงความผิดปกติเกิดขึ้นในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนธันวาคม 2549 ก่อนที่แบงก์ชาติประกาศมาตรการกันสำรอง 30% โดยค่าเงินบาทเคลื่อนไหวเป็นทิศทางเดียว (One-way Appreciation) เงินทุนไหลเข้าจำนวนมาก และมีลักษณะเข้าออกเป็นรายวันในจำนวนที่ผิดปกติ
จากมาตรการกันสำรอง 30% เพื่อจำกัดการถือครองเงินบาทในประเทศ ให้สามารถเคลื่อนไหวในระดับ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงหนึ่ง แต่กลับทำให้เกิดช่องทางการเก็งกำไรเพราะอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างตลาด On Shore และ Off Shore แตกต่างกัน โดยค่าเงินบาทในตลาด Off Shore แข็งกว่าตลาด On Shore
ตลาด On Shore หมายถึงการซื้อขายเงินตราต่างประเทศแลกกับเงินบาท ระหว่างคนไทยด้วยกัน หรือระหว่างคนไทยกับต่างชาติ
ตลาด Off Shore หมายถึงการซื้อขายเงินตราต่างประเทศระหว่างคนต่างชาติด้วยกันเอง
แม้จะมีเกณฑ์กำหนดจำนวนเงินที่สามารถนำออกนอกประเทศได้ แต่ไม่มีใครมั่นใจได้ว่าไม่มีการลักลอบขนเงินออกนอกประเทศไทย หากทำสำเร็จ ณ เดือนมีนาคม อัตราแลกเปลี่ยนในตลาด Off Shore 1 ดอลลาร์เท่ากับ 32-33 บาท ขณะที่อัตรา On Shore อยู่ที่ประมาณ 34-35 บาท ส่วนต่างกำไรอยู่ที่ 1-2 บาทต่อดอลลาร์ (อ่านล้อมกรอบ)
ยิ่งสกัด บาท ยิ่งแข็ง
จาก 5 ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ เงินบาทแข็ง ในลักษณะผันผวนในทิศทางแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้แบงก์ชาติต้องหันมาตื่นตัวในการหามาตรการทำให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้น เพราะนักเศรษฐศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ หรือนักบริหารของทางการต่างตระหนักดีว่าค่าบาทที่มีราคามากขึ้นในขณะนี้ ไม่ได้มาจากพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศที่เติบโตขึ้น
สิ่งที่น่ากังวลคือ ไม่ว่าบาทจะอ่อนหรือแข็ง หากอยู่ในลักษณะผันผวนเกินไป ย่อมส่งสัญญาณร้ายต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในวิกฤตเศรษฐกิจของไทยในปี 2540 ที่ไทยถูกโจมตีค่าเงินบาท จนอ่อนค่าไปแตะเกือบ 50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
บาทแข็งในรอบนี้ ธาริษา ระบุชัดเจนว่า การแข็งค่าของเงินบาทอย่างรวดเร็วไม่สอดคล้องกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย โดยเปรียบเทียบค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นถึง 16.5% ในวันที่ 15 ธันวาคม 2549 เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2548 หรือหากเทียบกับเดือนมีนาคม 2550 แข็งค่าขึ้นกว่า 17% ขณะที่เงินสกุลอื่นแข็งค่าไม่สูงเท่าบาท เช่น เงินวอนเกาหลีใต้แข็งค่าขึ้น 9.5% โดยจีดีพีของไทยเติบโตเพียง 4.7% เท่านั้น และที่เห็นชัดเจนคือการเก็งกำไรจนทำให้บาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว
แต่คำถามคือ ยิ่งแบงก์ชาติพยายามออกมาตรการ หรือใช้แผนปฏิบัติการอะไร ก็ดูเหมือน บาท จะยิ่งดื้อยา แข็งค่าให้เห็นมากขึ้น
เกาไม่ถูกที่คัน
มาตรการที่แบงก์ชาติงัดมาใช้ และเกิดปฏิกิริยารุนแรงคือมาตรการให้ผู้นำเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาในไทย ต้องกันสำรองไว้ 30% จนถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น ยาแรง เกินไป เพราะผลทันตาคือดัชนีตลาดหุ้นร่วงจากนักลงทุนเทขายโดยเฉพาะต่างชาติ จนดัชนีดิ่ง และมาร์เก็ตแค็ปหายไป 8 แสนล้านบาท ที่สำคัญยังทำให้เกิดช่องการเก็งกำไรระหว่างตลาด Off Shore และ On Shore มากขึ้น จนกลายเป็นปมปัญหาที่ยิ่งรัดแน่นอยู่จนถึงทุกวันนี้
มาตรการกันสำรอง 30% ไม่ใช่ความพยายามแรกของแบงก์ชาติในการรักษาอัตราแลกเปลี่ยนให้บาทไม่ผันผวน แต่ตลอดเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา แบงก์ชาติได้ออกแรงเข้าแทรกแซง โดยลงทุนไปแล้วกว่า 1 ล้านล้านบาท ทั้งการออกพันธบัตรเพื่อดูดซับสภาพคล่องในระบบ และโดยเฉพาะการนำเงินเข้าไปซื้อดอลลาร์ในตลาด เพื่อให้ดอลลาร์ในประเทศลดลง เนื่องมาจากความต้องการคนไม่มั่นใจในการถือดอลลาร์ จนปรากฏให้เห็นในฐานะการเงินของแบงก์ชาติว่ามีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ที่มีระดับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูงของโลก โดยเงินทุนสำรองของไทย ณ 30 ธันวาคม 2547 อยู่ที่ 49,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาจนถึง 16 มีนาคม 2550 เพิ่มขึ้นเป็น 69,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
การแทรกแซงเริ่มไม่ได้ผล โดย ดร.ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่าหากมองจากมาตรการแทรกแซงที่แบงก์ชาติทำมาตลอดนั้น ถือว่าทำมานานเกินไป ซึ่งความจริงเงินบาทต้องอ่อนค่าลงบ้าง แต่กลับมีสิ่งผิดปกติคือแข็งค่าขึ้นแบบผันผวนเกินไป ซึ่งตามหลักแล้วไม่ว่าค่าเงินอ่อนหรือแข็งจะต้องไม่เร็วหรือผันผวนจนเกินไป การแทรกแซงลักษณะนี้ทำให้นักเก็งกำไรสามารถคาดการณ์อัตราแลกเปลี่ยนที่แบงก์ชาติต้องการได้
มาตรการลดดอกเบี้ย เพื่อหวังกระตุ้นการลงทุน และลดแรงจูงใจของเงินทุนไหลเข้าที่จะมาเก็งกำไรจากดอกเบี้ย โดยมีเสียงเรียกร้องให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของแบงก์ชาติ ที่จะประชุมกันในเดือนเมษายนนี้ ลดแรงไปถึง 1% นั้น อาจได้ผลในระยะสั้นเท่านั้น แต่ กนง.คงตัดสินไม่ง่ายนัก เพราะปัจจัยราคาน้ำมัน ที่อาจส่งผลถึงเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น และพื้นฐานความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของไทยยังเป็นสิ่งที่แบงก์ชาติต้องคำนึงถึง
กอบศักดิ์ ภูตระกูล เจ้าหน้าที่แบงก์ชาติยังได้เขียนบทความเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของแบงก์ชาติว่าประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศเล็ก พบว่าการขึ้นดอกเบี้ย หรือลดดอกเบี้ย ในทางปฎิบัติอาจไม่ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน เหมือนอย่างที่เกิดขึ้นในประเทศใหญ่ๆ อย่างสหรัฐฯ หรือยุโรป เพราะส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยมีส่วนที่เป็น Risk Premium, แต่ละประเทศมีความเข้มข้นในการเข้าแทรกแซงค่าเงินต่างกัน และการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานของแต่ละประเทศ
แบงก์พาณิชย์ ต้องสงสัย ?
ความพยายามของแบงก์ชาติเริ่มชัดเจน และมองหาต้นเหตุของปัญหาที่แท้จริง เล็งไปที่ธนาคารพาณิชย์ ที่นิ่งเฉยมาโดยตลอดกับภาวะเงินบาทแข็งค่าขึ้น
แบงก์ชาติยอมรับว่า มีธนาคารพาณิชย์มีพฤติกรรมการหาประโยชน์จากค่าเงินบาท จึงได้ขอความร่วมมือไปยังสมาคมธนาคารไทย ให้ธนาคารพาณิชย์ดูแลกันเอง รวมทั้งขอข้อมูลการรายงานการถือครองเงินตราต่างประเทศ
คำให้สัมภาษณ์ของผู้ว่าแบงก์ชาติ ที่แสดงให้เห็นพฤติกรรมชัดเจนของธนาคารพาณิชย์ที่ควรมีส่วนร่วมรับผิดชอบกับบาทที่แข็งค่าขึ้น หลังต้องสงสัยว่าทำกำไรจากค่าเงินไปแล้วจำนวนมาก
นอกจากการให้ธนาคารพาณิชย์ดูแลกันเองแล้ว การเรียกนายธนาคารมาหารือที่แบงก์ชาติเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2550 ธนาคารพาณิชย์ยังได้รับการตอกย้ำว่าแบงก์ชาติขอความร่วมมือธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งในประเทศไทย ไม่ให้ร่วมมือในการเก็งกำไรค่าเงินบาท โดยการเทขายเงินดอลลาร์ด้วย โดยให้ธนาคารพาณิชย์รายงานสถานะการดำรงเงินตราต่างประเทศต่อแบงก์ชาติอย่างตรงเวลา และรายงานอย่างต่อเนื่อง
จากก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2550 ที่เลขาธิการ สมาคมธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ส่งหนังสือลับเฉพาะถึงธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งในประเทศไทย เพื่อขอความร่วมมือในการดูแลค่าเงินบาท ใจความว่า เนื่องด้วย ธปท.ให้ธนาคารพาณิชย์ ปรับการดำรงสถานะการดำรงเงินตราต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งให้เท่ากับวันที่ 1 มกราคม 2550 ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 มีนาคม 2550 และขอให้รายงานสถานะการดำรงเงินตราต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 22-27 มีนาคมนี้ ขึ้นตรงกับผู้ว่าการธนาคารธปท.ในวันถัดไป
ปรับตัวรับมือ
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับค่าเงินบาทที่มีผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงคือผู้ส่งออก และผู้รับรายได้ ค่าจ้างเป็นเงินดอลลาร์ แต่ก็มีผู้ที่ได้รับประโยชน์ คือผู้นำเข้าที่ซื้อในต้นทุนถูกลง สำหรับผู้ได้รับผลกระทบเพราะเงินดอลลาร์ที่ได้รับมาแล้ว เมื่อแปลงกลับเป็นเงินบาทได้รับเงินน้อยลง จึงเกิดคำถามในกลุ่มผู้ส่งออกว่าควรปรับตัว และหาทางป้องกันต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างไร นอกเหนือจากการเรียกร้องให้รัฐเข้าแทรกแซงค่าเงินเพียงอย่างเดียว เพราะแม้ว่าค่าเงินกลับมาอ่อนตัวลง แต่เมื่ออ่อนได้ก็แข็งค่าขึ้นได้อีก การรับมือเพื่อให้เกิดเสถียรภาพกับฐานะการเงินของตัวเองจึงน่าจะเป็นมาตรการที่ดีที่สุด
มาตรการเฉพาะหน้า คือการทำป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน (Hedging) อาจมีต้นทุนเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ถือว่าคุ้มค่ากว่า, ตกลงกับคู่ค้าในการกำหนดราคาที่ชัดเจน และการกำหนดราคาสินค้าเป็นเงินสกุลอื่น ที่ไม่ใช่ดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับมาตรการระยะยาวนั้น ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกควรเริ่มวางแผนการทำกำไรเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มยอดขายและลดต้นทุน การหาตลาดใหม่ การเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการ รวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน
มาตรการเหล่านี้ถูกเรียกร้องจากทางการให้ผู้ส่งออกปรับนำมาใช้มาโดยตลอด แต่ไม่บรรลุผล เพราะเห็นได้จากเมื่อค่าบาทแข็งอย่างรวดเร็ว ผู้ส่งออกก็เริ่มเรียกร้องให้ภาครัฐช่วยเหลือ หรือหามาตรการแก้ไข จนมีการระบุกันว่าหากค่าบาทยังคงแข็งค่าต่อเนื่องหลุดไปอยู่ที่ 32-33 บาท จะมีบริษัทปิดกิจการมากมาย ส่งผลให้คนตกงานเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
บทเรียนจากค่าเงินบาท ไม่ว่าจะค่าเงินบาทอ่อน หรือค่าเงินแข็งอย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบัน น่าจะเป็นบทเรียนอีกบทหนึ่ง และนับเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับตัวในภาคธุรกิจไทยอีกครั้ง ก่อนที่จะสายเกินไปสำหรับเศรษฐกิจประเทศไทย
นโยบายการเงินของไทยแบ่งเป็น 3 ช่วง
ช่วงแรก (หลังสงครามโลกครั้งที่ 2-มิถุนายน 2540 )
การผูกค่าเงินบาทกับค่าเงินสกุลอื่นหรือกับตะกร้าเงิน (Pegged Exchange Rate) ช่วงแรกผูกค่าเงินไว้กับสกุลอื่นหรือทองคำ ต่อมาช่วงพฤศจิกายน 2527-มิถุนายน 2540 ผูกค่าเงินบาทกับตะกร้าเงิน
ภายใต้ระบบตะกร้าเงิน ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Equalization Fund : EEF) จะเป็นผู้ประกาศและปกป้องค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในแต่ละวัน สำหรับการดำเนินนโยบายการเงินในช่วงนี้ มุ่งเน้นให้ปัจจัยภายในประเทศสอดคล้องกับการกำหนดค่าเงิน ภายใต้ระบบดังกล่าวเป็นสำคัญ
ช่วงที่สอง (กรกฎาคม 2540-พฤษภาคม 2543)
การกำหนดเป้าหมายทางการเงิน (Monetary Targeting) หลังจากที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนมาเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 นั้น ประเทศไทยขอรับความช่วยเหลือด้านการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) และกำหนด Policy Anchor แบบใหม่ คือ Monetary Targeting ซึ่งกำหนดเป้าหมายทางการเงิน อิงกับกรอบการจัดทำโปรแกรมกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องระหว่างนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง และเม็ดเงินจากภาคต่างประเทศ หรือ ดุลการชำระเงิน และให้ได้ภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจและระดับราคาตามที่กำหนดไว้ (Ultimate Objectives) ทำให้แบงก์ชาติสามารถกำหนดเป้าหมายฐานเงินรายไตรมาสและรายวัน เพื่อใช้เป็นหลักในการบริหารสภาพคล่องรายวัน เพื่อปรับสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ยในระบบการเงิน มิให้เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างผันผวนจนเกินไป
ช่วงที่สาม (23 พฤษภาคม 2543-ปัจจุบัน)
การกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) แบงก์ชาติได้พิจารณาปัจจัยต่างๆ ในระบบการเงิน ทั้งปัจจุบันและในอนาคตแล้วเห็นว่า การใช้ปริมาณเงินเป็นเป้าหมายจะมีประสิทธิผลน้อยกว่าการใช้เงินเฟ้อเป็นเป้าหมาย เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเงินและการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจไม่มีเสถียรภาพ นอกจากนี้ การที่ระบบการเงินในประเทศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการสินเชื่อของภาคเอกชน รวมทั้งความสามารถของระบบการเงิน ในการขยายสินเชื่อในแต่ละช่วงมีความไม่แน่นอน แบงก์ชาติจึงเปลี่ยนมาใช้อัตราเงินเฟ้อเป็นเป้าหมายในการดำเนินนโยบายการเงินในปัจจุบันแทน
การดำเนินนโยบายการเงิน ในกรอบ Inflation Targeting นั้น แบงก์ชาติดำเนินการภายใต้กรอบกฎหมายปัจจุบัน โดยอาศัยอำนาจผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ชุดแรกขึ้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2543 โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการ ร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของธนาคารแห่งประเทศไทย รวมจำนวน 9 ท่าน ในการกำหนดทิศทางนโยบายการเงินของประเทศ เพื่อรักษาเสถียรภาพของระดับราคา ตลอดจนพัฒนากรอบ Inflation Targeting ให้ เหมาะสมกับประเทศไทย
*หมายเหตุ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2550 ธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการแบงก์ชาติยืนยันข่าวลือที่ว่าแบงก์ชาติยืนยันว่าไม่มีนโยบายตรึงค่าเงินบาทที่ 36 บาทดอลลาร์สหรัฐ (Fixed Exchange Rate) หรือกำหนดช่วงความเคลื่อนไหวค่าเงินบาท (กึ่งลอยตัว) โดยระบุว่า ธปท.ไม่มีแนวคิดจะเปลี่ยนแปลงนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็นการกลับไปใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ หรือการกำหนดช่วงการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท เนื่องจากไม่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจของไทย เพราะการผูกติดค่าเงินกับสกุลใดสกุลหนึ่งจะส่งผลทำให้ต้องผูกติดดอกเบี้ยไว้ด้วย และไม่สามารถปรับอัตราดอกเบี้ยไปตามสภาพเศรษฐกิจของประเทศ
แบงก์ชาติไม่เคยมีการศึกษาที่จะกลับไปใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ เพราะระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวเป็นระบบที่ใช้กันเป็นการทั่วไปเกือบทั้งโลก หากกลับไปใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ก็เท่ากับเป็นการประกันราคาสินค้า ณ จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่หมิ่นเหม่ที่จะเกิดวิกฤติมาก ยกตัวอย่างการผูกติดค่าเงินไว้กับดอลลาร์ภายใต้ Currency Board เช่นเดียวกับฮ่องกง จะทำให้ต้องปรับอัตราดอกเบี้ยไปตามสหรัฐฯ และจะต้องปรับราคาไปด้วย
สุกรี แมนชัยนิมิต Positioning Magazine เมษายน 2550
สถิติมีไว้ให้ทำลาย แต่บางสถิติสำหรับบางอย่างหากถูกทำลายบ่อย ๆ อาจเกิดหายนะขึ้นมาได้ เหมือนอย่างที่เกิดกับภาวะเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็น จุดตาย ที่ทำให้เศรษฐกิจของไทยอาจต้องล่มสลายลง
วิกฤตการณ์ค่าเงินบาทครั้งนี้ จะเป็นเช่นเดียวกับวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 หรือไม่ แต่ที่แน่ๆ นักธุรกิจทุกคนต้องรู้ เพื่อการเตรียมพร้อมขององค์กร สำหรับ จุดยืนของธุรกิจ ที่ต้องรู้ทั้งภาพด้านลึก และระดับกว้าง ระดับเศรษฐกิจมหาภาค ปัญหาค่าเงินบาทเริ่มชัดเจนมาตั้งแต่ปี 2549 จนวันที่ 19 มีนาคม 2550 ที่ค่าเงินบาทเปิดตลาดแตะระดับ 34.82-34.84 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทำสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 9 ปีครึ่ง การทำนิวไฮยังไม่หยุดยั้งในวันถัดมา จนมีการคาดการณ์ว่าเงินบาทอาจแข็งค่าไปอยู่ที่ 32 บาท !!!! ในไม่ช้า
สาเหตุที่ ค่าบาทแข็ง ต่อเนื่องเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ เกิดขึ้นจากปัจจัยใด และมาตรการการเข้า สกัด ของแบงก์ชาติ มีมาตรการใดบ้าง แน่นอนมีมากกว่า 1 แต่เหตุใดจึงยังไม่ได้ผล สุดท้ายผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับผลกระทบจาก บาทแข็ง ควรช่วยเหลือตัวเองรับมืออย่างไร POSITIONING มีคำตอบ
สาเหตุปั่น บาทแข็ง
เงินบาท ที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ มีความหมายถึง เงินบาท เป็นที่ต้องการเหมือนสินค้าที่มีผู้ต้องการมาก ก็มักมีราคาสูงขึ้น ในที่นี้คือค่าเงินบาทมีราคาสูงขึ้น เปรียบเทียบได้ว่าจากเดิมที่ต่างชาติเคยใช้เงินเพียง 1 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อแลกเงินบาทได้ถึง 40 บาท แต่ปัจจุบันต้องใช้มากกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐ ถึงจะแลกได้ 40 บาท
สาเหตุที่ทำให้ เงินบาท เป็นที่ต้องการมาก จนแข็งค่าขึ้นมี 5 ปัจจัยคือ
1. ความไม่สมดุลของภาวะเศรษฐกิจโลก (Global Imbalance)
สาเหตุหลักของความไม่สมดุลในปัจจุบัน มาจากเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาชะลอตัว คาดจีดีพีในปี 2007 จะอยู่ในระดับ 2% เท่านั้น อันเนื่องมาจากการบริโภคชะลอตัว และในด้านเศรษฐกิจมหภาคที่ขาดดุลการคลัง ขาดดุลการค้า และส่งผลไปถึงดุลบัญชีเดินสะพัด ขาดดุลถึงเดือนละ 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ คนเริ่มไม่มั่นใจในการถือครองเงินดอลลาร์ แม้จะไม่ขาย แต่ก็หลีกเลี่ยงที่จะถือเพิ่มขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียขยายตัวดี โดยเฉพาะจีน และอินเดีย นำมาสู่สาเหตุที่ 2 คือการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์สหรัฐ
2. การอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ
ไม่ว่าสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐจะอ่อนค่าลงตามภาวะความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลก หรือเพราะความจงใจของสหรัฐฯ เอง แต่ขณะนี้ค่าเงินดอลลาร์ได้อ่อนลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ
3. การเพิ่มขึ้นของดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย
ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา จากยอดการส่งออก และดุลบริการที่เพิ่มขึ้น นับเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความต้องการเงินบาทเพิ่มขึ้นในตลาด เพราะเมื่อผู้ส่งออกรับรายได้มาเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ ต้องแลกกลับเป็นเงินบาท
4. การไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติ
ปัจจัยนี้ ธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ให้เหตุผลว่าเพราะโลกปัจจุบันมีการเชื่อมโยงทางการเงินสูง และประเทศไทยเอง ก็เปิดให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนได้สะดวก แต่เพราะเป็นประเทศเล็ก ระบบการเงินเริ่มพัฒนา โดยผู้ร่วมตลาดยังไม่คุ้นเคยกับเครื่องมือทางการเงิน และป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน จึงเปราะบางต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่รวดเร็ว และมีจำนวนสูง
แหล่งที่เงินทุนต่างประเทศไหลเข้า หากเป็นเงินทุนเพื่อลงทุนขยายธุรกิจ หรือตั้งโรงงาน เมื่อเข้ามาแล้ว แลกเป็นบาทมาลงทุน เกิดโรงงาน เกิดการจ้างงาน จ่ายผลตอบแทน หมุนเวียนกลับไปยังผู้ลงทุนเป็นดอลลาร์ จะไม่เป็นปัญหา แต่ภาวะความเป็นจริงคือ อัตราการลงทุนของภาคเอกชนไม่สูงนัก โดยเติบโตไม่ถึง 10% จากเดิมที่เคยเติบโตเกิน 20% ต่อปี
ข้อมูลจากแบงก์ชาติที่เฝ้าจับตาการไหลข้าวของเงินทุนต่างชาติ ยังพบว่ามีการไหลเข้าอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2548 และเร่งตัวมากขึ้นในปี 2549 ส่วนหนึ่งเพื่อซื้อกิจการสื่อสารขนาดใหญ่ บางส่วนมาร่วมทุนกับเอกชนไทยและสถาบันการเงิน และที่แบงก์ชาติจับตามาตลอดคือไหลเข้าเพื่อการเก็งกำไร รวม 2 ปี ไหลเข้าถึง 16,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
5. การเก็งกำไร
การไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติยังพุ่งไปยังตลาดหุ้น แม้ไม่คึกคักนัก แต่ก็มีส่วนทำให้เกิดการเก็งกำไร เพราะตลาดหุ้นไทยที่ไร้ปัจจัยบวก ทำให้เป้าหมายที่ต่างชาติที่เข้าซื้อสุทธินั้นมี เหตุผลหลัก คือซื้อหุ้นเพื่อนำเงินมาพักไว้ก่อน เมื่อเงินบาทแข็งในระดับหนึ่งแล้ว ก็ขายหุ้น และนำเงินบาทไปแลกเงินดอลลาร์ที่ได้จำนวนมากขึ้น เป็นการกินกำไรส่วนต่างอย่างชัดเจน
การเก็งกำไรจนทำให้บาทแข็งค่าขึ้นมีสัญญาณที่เห็นถึงความผิดปกติเกิดขึ้นในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนธันวาคม 2549 ก่อนที่แบงก์ชาติประกาศมาตรการกันสำรอง 30% โดยค่าเงินบาทเคลื่อนไหวเป็นทิศทางเดียว (One-way Appreciation) เงินทุนไหลเข้าจำนวนมาก และมีลักษณะเข้าออกเป็นรายวันในจำนวนที่ผิดปกติ
จากมาตรการกันสำรอง 30% เพื่อจำกัดการถือครองเงินบาทในประเทศ ให้สามารถเคลื่อนไหวในระดับ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงหนึ่ง แต่กลับทำให้เกิดช่องทางการเก็งกำไรเพราะอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างตลาด On Shore และ Off Shore แตกต่างกัน โดยค่าเงินบาทในตลาด Off Shore แข็งกว่าตลาด On Shore
ตลาด On Shore หมายถึงการซื้อขายเงินตราต่างประเทศแลกกับเงินบาท ระหว่างคนไทยด้วยกัน หรือระหว่างคนไทยกับต่างชาติ
ตลาด Off Shore หมายถึงการซื้อขายเงินตราต่างประเทศระหว่างคนต่างชาติด้วยกันเอง
แม้จะมีเกณฑ์กำหนดจำนวนเงินที่สามารถนำออกนอกประเทศได้ แต่ไม่มีใครมั่นใจได้ว่าไม่มีการลักลอบขนเงินออกนอกประเทศไทย หากทำสำเร็จ ณ เดือนมีนาคม อัตราแลกเปลี่ยนในตลาด Off Shore 1 ดอลลาร์เท่ากับ 32-33 บาท ขณะที่อัตรา On Shore อยู่ที่ประมาณ 34-35 บาท ส่วนต่างกำไรอยู่ที่ 1-2 บาทต่อดอลลาร์ (อ่านล้อมกรอบ)
ยิ่งสกัด บาท ยิ่งแข็ง
จาก 5 ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ เงินบาทแข็ง ในลักษณะผันผวนในทิศทางแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้แบงก์ชาติต้องหันมาตื่นตัวในการหามาตรการทำให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้น เพราะนักเศรษฐศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ หรือนักบริหารของทางการต่างตระหนักดีว่าค่าบาทที่มีราคามากขึ้นในขณะนี้ ไม่ได้มาจากพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศที่เติบโตขึ้น
สิ่งที่น่ากังวลคือ ไม่ว่าบาทจะอ่อนหรือแข็ง หากอยู่ในลักษณะผันผวนเกินไป ย่อมส่งสัญญาณร้ายต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในวิกฤตเศรษฐกิจของไทยในปี 2540 ที่ไทยถูกโจมตีค่าเงินบาท จนอ่อนค่าไปแตะเกือบ 50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
บาทแข็งในรอบนี้ ธาริษา ระบุชัดเจนว่า การแข็งค่าของเงินบาทอย่างรวดเร็วไม่สอดคล้องกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย โดยเปรียบเทียบค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นถึง 16.5% ในวันที่ 15 ธันวาคม 2549 เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2548 หรือหากเทียบกับเดือนมีนาคม 2550 แข็งค่าขึ้นกว่า 17% ขณะที่เงินสกุลอื่นแข็งค่าไม่สูงเท่าบาท เช่น เงินวอนเกาหลีใต้แข็งค่าขึ้น 9.5% โดยจีดีพีของไทยเติบโตเพียง 4.7% เท่านั้น และที่เห็นชัดเจนคือการเก็งกำไรจนทำให้บาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว
แต่คำถามคือ ยิ่งแบงก์ชาติพยายามออกมาตรการ หรือใช้แผนปฏิบัติการอะไร ก็ดูเหมือน บาท จะยิ่งดื้อยา แข็งค่าให้เห็นมากขึ้น
เกาไม่ถูกที่คัน
มาตรการที่แบงก์ชาติงัดมาใช้ และเกิดปฏิกิริยารุนแรงคือมาตรการให้ผู้นำเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาในไทย ต้องกันสำรองไว้ 30% จนถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น ยาแรง เกินไป เพราะผลทันตาคือดัชนีตลาดหุ้นร่วงจากนักลงทุนเทขายโดยเฉพาะต่างชาติ จนดัชนีดิ่ง และมาร์เก็ตแค็ปหายไป 8 แสนล้านบาท ที่สำคัญยังทำให้เกิดช่องการเก็งกำไรระหว่างตลาด Off Shore และ On Shore มากขึ้น จนกลายเป็นปมปัญหาที่ยิ่งรัดแน่นอยู่จนถึงทุกวันนี้
มาตรการกันสำรอง 30% ไม่ใช่ความพยายามแรกของแบงก์ชาติในการรักษาอัตราแลกเปลี่ยนให้บาทไม่ผันผวน แต่ตลอดเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา แบงก์ชาติได้ออกแรงเข้าแทรกแซง โดยลงทุนไปแล้วกว่า 1 ล้านล้านบาท ทั้งการออกพันธบัตรเพื่อดูดซับสภาพคล่องในระบบ และโดยเฉพาะการนำเงินเข้าไปซื้อดอลลาร์ในตลาด เพื่อให้ดอลลาร์ในประเทศลดลง เนื่องมาจากความต้องการคนไม่มั่นใจในการถือดอลลาร์ จนปรากฏให้เห็นในฐานะการเงินของแบงก์ชาติว่ามีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ที่มีระดับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูงของโลก โดยเงินทุนสำรองของไทย ณ 30 ธันวาคม 2547 อยู่ที่ 49,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาจนถึง 16 มีนาคม 2550 เพิ่มขึ้นเป็น 69,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
การแทรกแซงเริ่มไม่ได้ผล โดย ดร.ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่าหากมองจากมาตรการแทรกแซงที่แบงก์ชาติทำมาตลอดนั้น ถือว่าทำมานานเกินไป ซึ่งความจริงเงินบาทต้องอ่อนค่าลงบ้าง แต่กลับมีสิ่งผิดปกติคือแข็งค่าขึ้นแบบผันผวนเกินไป ซึ่งตามหลักแล้วไม่ว่าค่าเงินอ่อนหรือแข็งจะต้องไม่เร็วหรือผันผวนจนเกินไป การแทรกแซงลักษณะนี้ทำให้นักเก็งกำไรสามารถคาดการณ์อัตราแลกเปลี่ยนที่แบงก์ชาติต้องการได้
มาตรการลดดอกเบี้ย เพื่อหวังกระตุ้นการลงทุน และลดแรงจูงใจของเงินทุนไหลเข้าที่จะมาเก็งกำไรจากดอกเบี้ย โดยมีเสียงเรียกร้องให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของแบงก์ชาติ ที่จะประชุมกันในเดือนเมษายนนี้ ลดแรงไปถึง 1% นั้น อาจได้ผลในระยะสั้นเท่านั้น แต่ กนง.คงตัดสินไม่ง่ายนัก เพราะปัจจัยราคาน้ำมัน ที่อาจส่งผลถึงเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น และพื้นฐานความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของไทยยังเป็นสิ่งที่แบงก์ชาติต้องคำนึงถึง
กอบศักดิ์ ภูตระกูล เจ้าหน้าที่แบงก์ชาติยังได้เขียนบทความเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของแบงก์ชาติว่าประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศเล็ก พบว่าการขึ้นดอกเบี้ย หรือลดดอกเบี้ย ในทางปฎิบัติอาจไม่ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน เหมือนอย่างที่เกิดขึ้นในประเทศใหญ่ๆ อย่างสหรัฐฯ หรือยุโรป เพราะส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยมีส่วนที่เป็น Risk Premium, แต่ละประเทศมีความเข้มข้นในการเข้าแทรกแซงค่าเงินต่างกัน และการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานของแต่ละประเทศ
แบงก์พาณิชย์ ต้องสงสัย ?
ความพยายามของแบงก์ชาติเริ่มชัดเจน และมองหาต้นเหตุของปัญหาที่แท้จริง เล็งไปที่ธนาคารพาณิชย์ ที่นิ่งเฉยมาโดยตลอดกับภาวะเงินบาทแข็งค่าขึ้น
แบงก์ชาติยอมรับว่า มีธนาคารพาณิชย์มีพฤติกรรมการหาประโยชน์จากค่าเงินบาท จึงได้ขอความร่วมมือไปยังสมาคมธนาคารไทย ให้ธนาคารพาณิชย์ดูแลกันเอง รวมทั้งขอข้อมูลการรายงานการถือครองเงินตราต่างประเทศ
คำให้สัมภาษณ์ของผู้ว่าแบงก์ชาติ ที่แสดงให้เห็นพฤติกรรมชัดเจนของธนาคารพาณิชย์ที่ควรมีส่วนร่วมรับผิดชอบกับบาทที่แข็งค่าขึ้น หลังต้องสงสัยว่าทำกำไรจากค่าเงินไปแล้วจำนวนมาก
นอกจากการให้ธนาคารพาณิชย์ดูแลกันเองแล้ว การเรียกนายธนาคารมาหารือที่แบงก์ชาติเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2550 ธนาคารพาณิชย์ยังได้รับการตอกย้ำว่าแบงก์ชาติขอความร่วมมือธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งในประเทศไทย ไม่ให้ร่วมมือในการเก็งกำไรค่าเงินบาท โดยการเทขายเงินดอลลาร์ด้วย โดยให้ธนาคารพาณิชย์รายงานสถานะการดำรงเงินตราต่างประเทศต่อแบงก์ชาติอย่างตรงเวลา และรายงานอย่างต่อเนื่อง
จากก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2550 ที่เลขาธิการ สมาคมธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ส่งหนังสือลับเฉพาะถึงธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งในประเทศไทย เพื่อขอความร่วมมือในการดูแลค่าเงินบาท ใจความว่า เนื่องด้วย ธปท.ให้ธนาคารพาณิชย์ ปรับการดำรงสถานะการดำรงเงินตราต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งให้เท่ากับวันที่ 1 มกราคม 2550 ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 มีนาคม 2550 และขอให้รายงานสถานะการดำรงเงินตราต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 22-27 มีนาคมนี้ ขึ้นตรงกับผู้ว่าการธนาคารธปท.ในวันถัดไป
ปรับตัวรับมือ
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับค่าเงินบาทที่มีผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงคือผู้ส่งออก และผู้รับรายได้ ค่าจ้างเป็นเงินดอลลาร์ แต่ก็มีผู้ที่ได้รับประโยชน์ คือผู้นำเข้าที่ซื้อในต้นทุนถูกลง สำหรับผู้ได้รับผลกระทบเพราะเงินดอลลาร์ที่ได้รับมาแล้ว เมื่อแปลงกลับเป็นเงินบาทได้รับเงินน้อยลง จึงเกิดคำถามในกลุ่มผู้ส่งออกว่าควรปรับตัว และหาทางป้องกันต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างไร นอกเหนือจากการเรียกร้องให้รัฐเข้าแทรกแซงค่าเงินเพียงอย่างเดียว เพราะแม้ว่าค่าเงินกลับมาอ่อนตัวลง แต่เมื่ออ่อนได้ก็แข็งค่าขึ้นได้อีก การรับมือเพื่อให้เกิดเสถียรภาพกับฐานะการเงินของตัวเองจึงน่าจะเป็นมาตรการที่ดีที่สุด
มาตรการเฉพาะหน้า คือการทำป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน (Hedging) อาจมีต้นทุนเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ถือว่าคุ้มค่ากว่า, ตกลงกับคู่ค้าในการกำหนดราคาที่ชัดเจน และการกำหนดราคาสินค้าเป็นเงินสกุลอื่น ที่ไม่ใช่ดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับมาตรการระยะยาวนั้น ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกควรเริ่มวางแผนการทำกำไรเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มยอดขายและลดต้นทุน การหาตลาดใหม่ การเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการ รวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงาน
มาตรการเหล่านี้ถูกเรียกร้องจากทางการให้ผู้ส่งออกปรับนำมาใช้มาโดยตลอด แต่ไม่บรรลุผล เพราะเห็นได้จากเมื่อค่าบาทแข็งอย่างรวดเร็ว ผู้ส่งออกก็เริ่มเรียกร้องให้ภาครัฐช่วยเหลือ หรือหามาตรการแก้ไข จนมีการระบุกันว่าหากค่าบาทยังคงแข็งค่าต่อเนื่องหลุดไปอยู่ที่ 32-33 บาท จะมีบริษัทปิดกิจการมากมาย ส่งผลให้คนตกงานเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
บทเรียนจากค่าเงินบาท ไม่ว่าจะค่าเงินบาทอ่อน หรือค่าเงินแข็งอย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบัน น่าจะเป็นบทเรียนอีกบทหนึ่ง และนับเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับตัวในภาคธุรกิจไทยอีกครั้ง ก่อนที่จะสายเกินไปสำหรับเศรษฐกิจประเทศไทย
นโยบายการเงินของไทยแบ่งเป็น 3 ช่วง
ช่วงแรก (หลังสงครามโลกครั้งที่ 2-มิถุนายน 2540 )
การผูกค่าเงินบาทกับค่าเงินสกุลอื่นหรือกับตะกร้าเงิน (Pegged Exchange Rate) ช่วงแรกผูกค่าเงินไว้กับสกุลอื่นหรือทองคำ ต่อมาช่วงพฤศจิกายน 2527-มิถุนายน 2540 ผูกค่าเงินบาทกับตะกร้าเงิน
ภายใต้ระบบตะกร้าเงิน ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Equalization Fund : EEF) จะเป็นผู้ประกาศและปกป้องค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในแต่ละวัน สำหรับการดำเนินนโยบายการเงินในช่วงนี้ มุ่งเน้นให้ปัจจัยภายในประเทศสอดคล้องกับการกำหนดค่าเงิน ภายใต้ระบบดังกล่าวเป็นสำคัญ
ช่วงที่สอง (กรกฎาคม 2540-พฤษภาคม 2543)
การกำหนดเป้าหมายทางการเงิน (Monetary Targeting) หลังจากที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนมาเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 นั้น ประเทศไทยขอรับความช่วยเหลือด้านการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) และกำหนด Policy Anchor แบบใหม่ คือ Monetary Targeting ซึ่งกำหนดเป้าหมายทางการเงิน อิงกับกรอบการจัดทำโปรแกรมกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องระหว่างนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง และเม็ดเงินจากภาคต่างประเทศ หรือ ดุลการชำระเงิน และให้ได้ภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจและระดับราคาตามที่กำหนดไว้ (Ultimate Objectives) ทำให้แบงก์ชาติสามารถกำหนดเป้าหมายฐานเงินรายไตรมาสและรายวัน เพื่อใช้เป็นหลักในการบริหารสภาพคล่องรายวัน เพื่อปรับสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ยในระบบการเงิน มิให้เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างผันผวนจนเกินไป
ช่วงที่สาม (23 พฤษภาคม 2543-ปัจจุบัน)
การกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) แบงก์ชาติได้พิจารณาปัจจัยต่างๆ ในระบบการเงิน ทั้งปัจจุบันและในอนาคตแล้วเห็นว่า การใช้ปริมาณเงินเป็นเป้าหมายจะมีประสิทธิผลน้อยกว่าการใช้เงินเฟ้อเป็นเป้าหมาย เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเงินและการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจไม่มีเสถียรภาพ นอกจากนี้ การที่ระบบการเงินในประเทศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการสินเชื่อของภาคเอกชน รวมทั้งความสามารถของระบบการเงิน ในการขยายสินเชื่อในแต่ละช่วงมีความไม่แน่นอน แบงก์ชาติจึงเปลี่ยนมาใช้อัตราเงินเฟ้อเป็นเป้าหมายในการดำเนินนโยบายการเงินในปัจจุบันแทน
การดำเนินนโยบายการเงิน ในกรอบ Inflation Targeting นั้น แบงก์ชาติดำเนินการภายใต้กรอบกฎหมายปัจจุบัน โดยอาศัยอำนาจผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ชุดแรกขึ้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2543 โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการ ร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของธนาคารแห่งประเทศไทย รวมจำนวน 9 ท่าน ในการกำหนดทิศทางนโยบายการเงินของประเทศ เพื่อรักษาเสถียรภาพของระดับราคา ตลอดจนพัฒนากรอบ Inflation Targeting ให้ เหมาะสมกับประเทศไทย
*หมายเหตุ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2550 ธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการแบงก์ชาติยืนยันข่าวลือที่ว่าแบงก์ชาติยืนยันว่าไม่มีนโยบายตรึงค่าเงินบาทที่ 36 บาทดอลลาร์สหรัฐ (Fixed Exchange Rate) หรือกำหนดช่วงความเคลื่อนไหวค่าเงินบาท (กึ่งลอยตัว) โดยระบุว่า ธปท.ไม่มีแนวคิดจะเปลี่ยนแปลงนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็นการกลับไปใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ หรือการกำหนดช่วงการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท เนื่องจากไม่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจของไทย เพราะการผูกติดค่าเงินกับสกุลใดสกุลหนึ่งจะส่งผลทำให้ต้องผูกติดดอกเบี้ยไว้ด้วย และไม่สามารถปรับอัตราดอกเบี้ยไปตามสภาพเศรษฐกิจของประเทศ
แบงก์ชาติไม่เคยมีการศึกษาที่จะกลับไปใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ เพราะระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวเป็นระบบที่ใช้กันเป็นการทั่วไปเกือบทั้งโลก หากกลับไปใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ก็เท่ากับเป็นการประกันราคาสินค้า ณ จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่หมิ่นเหม่ที่จะเกิดวิกฤติมาก ยกตัวอย่างการผูกติดค่าเงินไว้กับดอลลาร์ภายใต้ Currency Board เช่นเดียวกับฮ่องกง จะทำให้ต้องปรับอัตราดอกเบี้ยไปตามสหรัฐฯ และจะต้องปรับราคาไปด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 269
- ผู้ติดตาม: 0
สงสัยเรื่องค่าเงินครับ ผู้รู้ช่วยตอบด้วย
โพสต์ที่ 6
ปัจจัย กำหนดค่าเงิน เกือบทุกปัจจัยชี้ไปทางเดียวกัน คือ ดอลล่าห์ต้องอ่อนค่า แปลอีกอย่าง บาท ที่ปกติมักถูกเทียบกับดอลล่าห์ จะต้องแข็งค่าขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ ผมกำลังกังวลเกี่ยวกับ GDP ไทย ซึ่งปัจจุบันนี้ 60-70% ของ GDP มาจากภาคการส่งออก ดังนั้นถ้าหาก บาทแข็งไปเรื่อยๆจนกระทบภาคส่งออกหนักหนัก มากมาก GDP เราคงแย่แน่
แต่สิ่งหนึ่งที่ผมสงสัยคือ แม้ปัจจัยทุกอย่างบอกว่าบาทจะต้องแข็ง US ต้องอ่อน แต่ผมก็อยากทราบว่า มันควรจะแข็งไปจนถึงไหนกันแน่ เพราะความรู้สึกลึกๆผมว่า บาทเราแข็ง OVER ไปหน่อยรึเปล่า หรือว่ามันต้องเป็นเท่านี้จริงจริง รบกวนเพื่อนเพื่อนพี่พี่ ช่วยสอนหน่อยครับว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่ามันควรแข็งหรืออ่อนแค่ไหน ครับ มันต้องดูอะไรบ้างครับ
แต่สิ่งหนึ่งที่ผมสงสัยคือ แม้ปัจจัยทุกอย่างบอกว่าบาทจะต้องแข็ง US ต้องอ่อน แต่ผมก็อยากทราบว่า มันควรจะแข็งไปจนถึงไหนกันแน่ เพราะความรู้สึกลึกๆผมว่า บาทเราแข็ง OVER ไปหน่อยรึเปล่า หรือว่ามันต้องเป็นเท่านี้จริงจริง รบกวนเพื่อนเพื่อนพี่พี่ ช่วยสอนหน่อยครับว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่ามันควรแข็งหรืออ่อนแค่ไหน ครับ มันต้องดูอะไรบ้างครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
สงสัยเรื่องค่าเงินครับ ผู้รู้ช่วยตอบด้วย
โพสต์ที่ 7
ถ้าอยากจะรู้ว่า เงินบาทแข็งเกินจริงไหม และเงินบาทควรที่จะอยู่ที่เท่าไร
ก็คงต้องย้อนกลับไปดูเหตุผลว่า อะไรทำให้ค่าเงินดอลล่าร์อ่อน และค่าเงินบาทแข็งครับ
ถ้าค่าเงินดอลล่าร์อ่อนลง หรือเงินบาทแข็งขึ้น จนกระทั่งปัจจัยเหล่านั้นหมดไป ก็ตรงนั้นแหละครับ
แต่ปัจจัยต่างๆก็เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่คงที่ ดังนั้นค่าเงินที่เหมาะสมก็คงจะเปลี่ยนแปลงไปตลอดเช่นกัน
ก็คงต้องย้อนกลับไปดูเหตุผลว่า อะไรทำให้ค่าเงินดอลล่าร์อ่อน และค่าเงินบาทแข็งครับ
ถ้าค่าเงินดอลล่าร์อ่อนลง หรือเงินบาทแข็งขึ้น จนกระทั่งปัจจัยเหล่านั้นหมดไป ก็ตรงนั้นแหละครับ
แต่ปัจจัยต่างๆก็เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่คงที่ ดังนั้นค่าเงินที่เหมาะสมก็คงจะเปลี่ยนแปลงไปตลอดเช่นกัน
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
- san
- Verified User
- โพสต์: 1675
- ผู้ติดตาม: 0
สงสัยเรื่องค่าเงินครับ ผู้รู้ช่วยตอบด้วย
โพสต์ที่ 9
เฮ้อ อีกไม่นาน ค่าเงินบาท ก็จะเท่ากับ 25 บาท เหมือนก่อนปี 40 แล้ว นะครับ
แต่ว่า ตอนนี้ ราคาก๋วยเตี๋ยว ราคาอาหาร แพงกว่าตอนนั้นอีกนะครับ
ฝูงจิ้งจอกผมทอง+ผมดำ ทำงานแล้ว.....เริ่มได้ผลแล้วมังครับ คนเริ่มตกใจกลัว
นึกถึงการจับปลาแบบ ที่เขาเอาพายไปตีน้ำ เพื่อให้ปลาตกใจ กระโดดออกมา เืพื่อให้จับได้ง่ายๆ
ปี 40 ผู้ส่งออกรวย.....
ผู้บริโภค..กับผู้ประกอบการ เพื่อธุรกรรมในประเทศ.....
ตอนนั้น เพื่อนผมจากคนรวยล้น......เป็นจนติดดิน
มีทั้งแบบ ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย เพราะว่าจะเอาเงินที่ไหนมาจ่าย
อีกแบบ ไม่มี เลยหนี.....
คราาาว.....นั้น
ส่วนของกิจกรรมเพื่อการค้า การผลิต ในส่วนเพื่อการบริโภคภายในประเทศตาย ......ส่วนเพื่อการส่งออกรุ่ง...
คราวนี้หล่ะ.....
ส่วนส่งออกจะตาย
ส่วนเพื่อการบริโภคจะตายหรือว่ารุ่ง ในเมื่อคนงานตกงาน ไม่มีกำลังซื้อ คราวนี้บริษัทก็จะิยิ่งเจ้ง ปลดคนงานออก
เิงินหยวนของจีน ยิ่งอ่อนกว่าเรา แล้วก็กำลังผลิตยังมีมหาศาลมาก สงสัย หน่วยผลิตในประเทศ ที่ผลิตสินค้าเพื่อการบริโภคในประเทศตัวเดียวกับที่จีนผลิตก็คงเจ๊ง
เฮ้อ...
อย่างที่ หลวงพ่อฤาษีลิงดำคนก่อน เคยเจอใบตาลระบุว่า......ยุคถัดไปจะเป็นยุค ถิ่นกาขาว........
แต่ว่า ตอนนี้ ราคาก๋วยเตี๋ยว ราคาอาหาร แพงกว่าตอนนั้นอีกนะครับ
ฝูงจิ้งจอกผมทอง+ผมดำ ทำงานแล้ว.....เริ่มได้ผลแล้วมังครับ คนเริ่มตกใจกลัว
นึกถึงการจับปลาแบบ ที่เขาเอาพายไปตีน้ำ เพื่อให้ปลาตกใจ กระโดดออกมา เืพื่อให้จับได้ง่ายๆ
ปี 40 ผู้ส่งออกรวย.....
ผู้บริโภค..กับผู้ประกอบการ เพื่อธุรกรรมในประเทศ.....
ตอนนั้น เพื่อนผมจากคนรวยล้น......เป็นจนติดดิน
มีทั้งแบบ ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย เพราะว่าจะเอาเงินที่ไหนมาจ่าย
อีกแบบ ไม่มี เลยหนี.....
คราาาว.....นั้น
ส่วนของกิจกรรมเพื่อการค้า การผลิต ในส่วนเพื่อการบริโภคภายในประเทศตาย ......ส่วนเพื่อการส่งออกรุ่ง...
คราวนี้หล่ะ.....
ส่วนส่งออกจะตาย
ส่วนเพื่อการบริโภคจะตายหรือว่ารุ่ง ในเมื่อคนงานตกงาน ไม่มีกำลังซื้อ คราวนี้บริษัทก็จะิยิ่งเจ้ง ปลดคนงานออก
เิงินหยวนของจีน ยิ่งอ่อนกว่าเรา แล้วก็กำลังผลิตยังมีมหาศาลมาก สงสัย หน่วยผลิตในประเทศ ที่ผลิตสินค้าเพื่อการบริโภคในประเทศตัวเดียวกับที่จีนผลิตก็คงเจ๊ง
เฮ้อ...
อย่างที่ หลวงพ่อฤาษีลิงดำคนก่อน เคยเจอใบตาลระบุว่า......ยุคถัดไปจะเป็นยุค ถิ่นกาขาว........
ขอบคุณ รุ่นพี่ๆ รุ่นน้องๆ ครูบา อาจารย์ ในนี้ ที่แนะนำเรื่อง วิธีการลงทุนที่ดี นะครับ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ