ผู้ถือหุ้น

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
กุหลาบงามหลังฝน
Verified User
โพสต์: 1598
ผู้ติดตาม: 0

ผู้ถือหุ้น

โพสต์ที่ 1

โพสต์

รายชื่อผู้ถือหุ้นใน set.or.th มีการปรับปรุงทุกกี่เดือน
อย่ามัวติดกับเรื่องในอดีต กังวลกับเรื่องในอนาคต จนลืมว่าปัจจุบันต้องทำอะไร
ภาพประจำตัวสมาชิก
สุมาอี้
Verified User
โพสต์: 4576
ผู้ติดตาม: 0

ผู้ถือหุ้น

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ปรับปรุงเมื่อมีการปิดสมุดทะเบียน เช่น มีการประชุมผู้ถือหุ้น ครับ
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
กุหลาบงามหลังฝน
Verified User
โพสต์: 1598
ผู้ติดตาม: 0

ผู้ถือหุ้น

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณคับ
อย่ามัวติดกับเรื่องในอดีต กังวลกับเรื่องในอนาคต จนลืมว่าปัจจุบันต้องทำอะไร
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: ผู้ถือหุ้น

โพสต์ที่ 4

โพสต์

อัพเดทวงการ “ผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหว” (1) : สถานะความรู้
โดย : สฤณี อาชวานันทกุล


ผู้เขียนเขียนถึง “ผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหว” (shareholder activist) มาแล้วหลายตอน ยังไม่เคยสรุปสถานะความรู้ของเราเสียทีว่า ตกลงมัน “คุ้ม”

(กับการเสียเงินและเวลา) หรือเปล่าที่ผู้ถือหุ้นจะเป็นนักเคลื่อนไหว เป็นแล้วเปลี่ยนแปลงบริษัทในทางที่ดีขึ้นได้จริงหรือ มีเงื่อนไขอะไรบ้างที่ทำให้ผู้ถือหุ้นอยากเคลื่อนไหว ทำไมผู้ถือหุ้นแนวนี้บางคนหรือบางองค์กรถึงได้สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงมากกว่า


แรงจูงใจและบทบาทของผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหวเป็นประเด็นที่นักวิชาการศึกษามานานหลายปี ตั้งแต่ก่อนทศวรรษ 1970 เมื่อการแบ่งแยกระหว่าง “ความเป็นเจ้าของ” (ผู้ถือหุ้น) กับ “การจัดการ” (คณะกรรมการและผู้บริหาร) แพร่สะพัดไปทั่วโลกจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรสากลในโลกธุรกิจสมัยใหม่


อัลเบิร์ต เฮิร์ชแมน นักเศรษฐศาสตร์การเมืองชาวเยอรมัน อธิบายในหนังสือคลาสสิกเรื่อง “Exit, Voice, and Loyalty” ตั้งแต่ปี 1970 ว่า ผู้ถือหุ้นที่ไม่พอใจกับบริษัทมีทางเลือกสองทางที่จะแสดงความไม่พอใจ คือ ขายหุ้น (exit) หรือออกเสียง (voice) เขาเสนอว่าเวลาผู้ถือหุ้นที่ไม่พอใจขายหุ้นของบริษัทนั้นออกไป ราคาหุ้นที่ลดต่ำลงก็น่าจะเป็นสัญญาณเตือนบริษัทว่าผู้ถือหุ้นบางคนหรือหลายคนกำลังไม่พอใจกับนโยบายหรือการจัดการของบริษัท ในแง่นี้กล่าวได้ว่าตลาดหุ้นในตัวของมันเองก็เป็น “กลไกกำกับวินัย” ที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม ในเมื่อผู้ถือหุ้นเหล่านี้ขายหุ้นออกไปแล้ว พวกเขาก็ไม่มีโอกาสได้รับประโยชน์ใดๆ จากการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ถ้าหากบริษัทปรับปรุงตัวเองหลังจากที่เห็นหุ้นตก


ในทางกลับกัน กลยุทธ์ออกเสียง (voice) หมายถึง กรณีที่ผู้ถือหุ้นพยายามเปลี่ยนแปลงนโยบายหรือพฤติกรรมของบริษัทโดยไม่ทิ้งสถานะผู้ถือหุ้น เฮิร์ชแมนชี้ว่าผู้ถือหุ้นที่ใช้กลยุทธ์นี้จึงสนใจผลพวงจากการออกเสียงของพวกเขา และถูกกระทบโดยตรง มากกว่าผู้ถือหุ้นที่ขายหุ้นทิ้ง พูดอีกอย่าง คือ การเคลื่อนไหวของผู้ถือหุ้นถ้ามองจากมุมที่แคบที่สุด มีเป้าหมายอยู่ที่การผลักดันการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้เกิดขึ้นในบริษัท ไม่ใช่หนีออกจากสถานการณ์ที่ตนไม่พอใจ


ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา นโยบายและมาตรการส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นมีบทบาทในการกำกับดูแลบริษัทได้ทวีความเข้มข้นอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งอยู่บนฐานความคิดว่าการตรวจสอบของผู้ถือหุ้นจะช่วยให้บริษัทใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากขึ้น ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม นอกจากนี้ การที่บริษัทถูกตรวจสอบอย่างแข็งขันจากผู้ถือหุ้นยังเพิ่มความน่าเชื่อถือของตัวบริษัทเอง เพิ่มความมั่นใจให้กับนักลงทุน กดดันให้บริษัทเปิดเผยข้อมูล และทำให้บริษัทที่ไร้ประสิทธิภาพอยู่ยากกว่าเดิม ทั้งหมดนี้ จะดึงดูดทุนให้ไหลเข้ามามากขึ้น ธุรกิจต่างๆ เข้าถึงทุนในราคาถูกกว่าเดิม เหล่านี้เป็นเหตุผลที่อธิบายว่าทำไมผู้กำกับดูแลตลาดทุนทั่วโลกจึงได้ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนการเคลื่อนไหวของผู้ถือหุ้น


อย่างไรก็ตาม ธรรมาภิบาลเกิดขึ้นเองลอยๆ ไม่ได้ฉันใด การเคลื่อนไหวของผู้ถือหุ้นที่จะทำให้บริษัทเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นก็เกิดขึ้นเองลอยๆ ไม่ได้ฉันนั้น เนื่องจากต้องอาศัยการประสานงานระหว่างกัน เสียทั้งเงินและเวลา อีกทั้งคณะกรรมการบริษัทก็อาจไม่ฟังเสียงของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย นักเศรษฐศาสตร์ โรเบิร์ต คลาร์ก เคยตั้งข้อสังเกตว่า การเคลื่อนไหวของผู้ถือหุ้นที่ “ได้ผล” จริงๆ คือ การใช้มันเป็นเครื่องมือบังคับให้กรรมการและผู้บริหารต้องรับผิดต่อนโยบายหรือพฤติกรรมแย่ๆ ที่บั่นทอนบริษัท ด้วยการเข้าซื้อกิจการ


ในเมื่อความเป็นเจ้าของคือหุ้นเปลี่ยนมือกันได้ผ่านการซื้อขาย ใครก็ตามที่เชื่อมั่นว่าบริษัทมีศักยภาพสูง เพียงแต่บริหารจัดการแย่ ก็สามารถทำกำไรได้จากเสนอซื้อกิจการในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด เสร็จแล้วก็เปลี่ยนตัวคณะกรรมการและผู้บริหารทั้งชุด แต่งตั้งชุดใหม่มาปฏิรูปบริษัท สร้างผลกำไรมากขึ้น ดันมูลค่าตลาดให้สูงกว่าราคาที่จ่ายซื้อกิจการ


ถ้าไม่นับกรณี “เคลื่อนไหวสุดขั้ว” คือ ระดมทุนมาซื้อกิจการเพื่อเปลี่ยนตัวคณะกรรมการและผู้บริหารใหม่ทั้งชุด การเคลื่อนไหวธรรมดาๆ คือ นักลงทุนรายย่อยหรือนักลงทุนสถาบันใช้สิทธิของตัวเองในฐานะผู้ถือหุ้นเรียกร้องให้บริษัทเปลี่ยนแปลงนั้นก็เผชิญกับอุปสรรคตั้งแต่ขั้น “แรงจูงใจ” ที่จะทำเลยทีเดียว


ลองสมมติว่าบริษัทเจ้าปัญหาแห่งหนึ่งมีหุ้นทั้งหมด 110 หุ้น ซื้อขายในตลาดที่ราคา 10 บาทต่อหุ้น ปัจจุบันผู้ถือหุ้นที่อยากเคลื่อนไหวถือหุ้นอยู่ 10 หุ้น คือ เกือบ 10 เปอร์เซ็นต์ สมมติต่อไปว่าผู้ถือหุ้นคิดถูกที่ว่า ถ้าหากบริษัทสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ ราคาหุ้นจะพุ่งเป็น 20 บาท ถ้าหากผู้ถือหุ้นรายนี้สามารถเคลื่อนไหวได้สำเร็จ เช่น กดดันให้คณะกรรมการบริษัทเปลี่ยนนโยบาย หุ้น 10 หุ้นของผู้ถือหุ้นรายนี้จะสร้างกำไรเพิ่มขึ้น (20-10 บาท) x 10 หุ้น = 100 บาทเท่านั้น ในขณะที่ผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ที่ไม่ออกมาเคลื่อนไหวจะได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติรวมกันเท่ากับ (110-10 หุ้น) x 10 บาท = 1,000 บาท เท่ากับว่าผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหวสร้างประโยชน์ให้คนอื่นฟรีๆ 1,000 บาท ตัวเองเสียทั้งเงินและเวลาแต่ได้ประโยชน์เพียง 100 บาท


กล่าวได้ว่าประโยชน์ (มูลค่าเพิ่ม) จากการเคลื่อนไหวของผู้ถือหุ้นนั้นจัดเป็น “สินค้าสาธารณะ” (public good) ประเภทหนึ่ง นั่นคือ การผลิตมันมีต้นทุน แต่คนที่ลงทุนผลิตไม่อาจกีดกันไม่ให้ผู้ถือหุ้นคนอื่นได้ประโยชน์ไปด้วยตามสัดส่วนหุ้นที่ถือ ทำให้หลายคนไม่อยากผลิต รอ “ตีตั๋วฟรี” (free rider) ดีกว่า


นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์การเงินยังพบว่ามีอุปสรรคอื่นๆ ที่ลดแรงจูงใจของผู้ถือหุ้นในการออกมาเคลื่อนไหว ยกตัวอย่างเช่น นักลงทุนสถาบันส่วนใหญ่อย่างเช่นกองทุนรวม ล้วนต้องแข่งขันกันอย่างรุนแรงเพื่อดึงดูดเม็ดเงินของลูกค้ารายย่อยและลูกค้าบริษัท ทำให้อ่อนไหวต่อต้นทุนมาก ไม่อยากเจียดเงินและเวลาของผู้จัดการกองทุนมาทำสิ่งที่ต้องใช้เวลาและไม่แน่นอนว่าจะได้ประโยชน์คุ้มค่า รอตีตั๋วฟรีดีกว่า


ยังไม่นับข้อเท็จจริงที่ว่า นักลงทุนสถาบันจำนวนมากเป็นบริษัทลูกของธนาคาร ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท ไม่อยากสั่นคลอนความสัมพันธ์อันดีกับผู้บริหารและคณะกรรมการ เพราะต่อให้ตัวเองได้ประโยชน์จากการเคลื่อนไหว บริษัทแม่คือธนาคารอาจเสียประโยชน์มากกว่าก็เป็นได้ เช่น บริษัทเปลี่ยนไปใช้บริการของธนาคารอื่น


ผลลัพธ์ของสถานการณ์ทั้งหมดนี้ คือ การเคลื่อนไหวของผู้ถือหุ้นในฐานะ “สินค้าสาธารณะ” ถูกผลิตออกมาน้อยกว่าที่ควรเป็น


คำถามต่อไป คือ เมื่อเป็นอย่างนี้ ผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหวที่สร้างการเปลี่ยนแปลงจริงๆ ที่ผ่านมามีลักษณะอย่างไร?


โปรดติดตามตอนต่อไป
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

Re: ผู้ถือหุ้น

โพสต์ที่ 5

โพสต์

อัพเดทวงการ “ผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหว” (จบ) : ICCR, PSPD และ มาร์ค โมเบียส
โดย : สฤณี อาชวานันทกุล


การเคลื่อนไหวของผู้ถือหุ้น หมายถึง การใช้ความเป็นเจ้าของบริษัทผ่านการถือหุ้นผลักดันให้กรรมการและผู้บริหารเปลี่ยนแปลงบริษัทในทางที่ดีกว่าเดิม

ไม่ใช่แค่ถือหุ้นรอปันผลและกำไรเฉยๆ


ในเมื่อการเคลื่อนไหวของผู้ถือหุ้นนั้นเสียทั้งเวลาและอาจต้องเสียเงินด้วย ขณะที่ประโยชน์เกิดในระยะยาวและตกอยู่กับผู้ถือหุ้นทุกคน การเคลื่อนไหวแบบนี้จึงมักจะมีคนรอ “ตีตั๋วฟรี” มากกว่าคนที่ลงมือทำ และดังนั้นจึงเกิดไม่ง่ายในทุกสังคม


แต่ไม่ง่ายไม่ได้แปลว่าไม่มี ทั่วโลกมีตัวอย่าง “ผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหว” จำนวนมากที่ออกแรงอย่างแข็งขัน ชักชวนผู้ถือหุ้นคนอื่นๆ ให้ร่วมผลักดัน หลายคนหลายองค์กรสามารถเปลี่ยนแปลงบริษัทที่พวกเขาลงทุนให้มีความโปร่งใสมากขึ้น รับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ตั้งแต่ผู้บริโภคไปจนถึงสิ่งแวดล้อมและชุมชนมากกว่าเดิม


วิธีการเคลื่อนไหวของผู้ถือหุ้นมีหลากหลายรูปแบบ ที่ใช้กันมากที่สุดและได้ผลดีที่สุด คือ วิธีที่ไม่กระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระยะยาวระหว่างผู้ถือหุ้นกับผู้บริหาร เช่น การพบปะหารือกับผู้บริหาร การยื่นจดหมายเรียกร้อง (shareholder resolution) โดยการรณรงค์กับผู้ถือหุ้นรายอื่นทั้งหน้าฉาก (ชักชวนผ่านสื่อและเว็บไซต์) และหลังฉาก (ส่งจดหมายล่ารายชื่อ)


สำหรับวิธี “เผชิญหน้า” อย่างเช่นการออกมาเรียกร้องผ่านสื่อ หรือทำแคมเปญคว่ำบาตร ผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหวส่วนใหญ่จะใช้เป็นทางเลือกสุดท้าย เฉพาะในประเด็นเร่งด่วนที่ผู้ถือหุ้นใช้ไม้อ่อนทุกไม้ไปแล้วแต่ผู้บริหารยังไม่แยแส


การเคลื่อนไหวของผู้ถือหุ้นมักไม่ต่างจากการผลักดันการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นอื่นๆ คือมักจะต้องใช้เวลานาน ค่อยๆ สะสมเสียงสนับสนุนไปทีละน้อยจนถึงจุดที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจริง


แปลว่าผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหวส่วนใหญ่จะต้อง “หัวรั้น” กว่าคนทั่วไป และจะหัวรั้นได้ก็แปลว่าต้อง “อิน” กับประเด็นที่อยากเปลี่ยนแปลงบริษัทมากพอที่จะอดทนและ “กัดไม่ปล่อย”


นักลงทุนสถาบันนาม Interfaith Center for Corporate Responsibility (ย่อว่า ICCR) ในสหรัฐอเมริกา มีชื่อเสียงยาวนานกว่า 40 ปี ในฐานะผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหว สมาชิกขององค์กรนี้คือองค์กรทางศาสนาเกือบ 300 แห่งในอเมริกาที่ลงทุนในตลาดหุ้น ส่วนใหญ่นักถือศาสนาคริสต์ มีเม็ดเงินลงทุนรวมกันกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเม็ดเงินขนาดนี้สามารถกระตุ้นให้บริษัทตั้งใจฟังเป็นอย่างดีเวลาที่ ICCR ส่งจดหมายในฐานะผู้ถือหุ้น


ประเด็นที่ ICCR ให้ความสำคัญส่วนใหญ่เป็นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เช่น เรียกร้องให้บริษัทรับผิดชอบต่อความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม เปิดเผยปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละปี ประกาศเป้าลดก๊าซเรือนกระจก เปลี่ยนนโยบายการจ่ายผลตอบแทนผู้บริหาร เช่น อธิบายเหตุผลที่ขึ้นเงินเดือนและโบนัสอย่างชัดเจน ตลอดจนประเด็นเชิงศีลธรรมต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับคำสอนทางศาสนา เช่น การต่อต้านการทรมานสัตว์ ต่อต้านการใช้แรงงานเด็กในบริษัทหรือบริษัทคู่ค้า เป็นต้น


ICCR โดดเด่นในฐานะผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหวชั้นแนวหน้าของอเมริกา ปีหนึ่งๆ ยื่นจดหมายเรียกร้องบริษัทที่สมาชิกถือหุ้นเกินร้อยฉบับ ผลักดันให้ผู้ถือหุ้นลงมติเรื่องต่างๆ บางปีหลายสิบเรื่อง มีสมาชิกที่ขยันไปประชุมและท้าทายผู้บริหารบริษัทมากมาย ยกตัวอย่าง เช่น แม่ชีดาลี จากโบสถ์คริสต์นิกายโดมินิกัน วัย 50 ปี หมดเวลาในแต่ละวันไปกับการพบปะพูดคุยกับผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน ร่างจดหมายเรียกร้อง และวางแผนว่าจะผลักดันให้บริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่อย่าง เจเนอรัล อิเล็กทริก กับ เอ็กซอน โมบิล รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นได้อย่างไร


ในวงการผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหว แม่ชีดาลีโด่งดังในฐานะน้อยคนที่สามารถทำให้ แจ็ค เวลช์ อดีตซีอีโอผู้ยิ่งยงแห่ง เจเนอรัล อิเล็กทริก จนมุมจนเฉไฉเปลี่ยนเรื่องไปวาระอื่น ในการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 1998 หลังจากที่ถูกแม่ชีรุกไล่ด้วยคำถามแหลมคมว่า เหตุใดบริษัทจึงไม่รับผิดชอบกำจัดมลพิษจากโรงงานของบริษัทที่ปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำในรัฐนิวยอร์ก เธอเปรียบเทียบจุดยืนของเวลช์ที่อ้างว่าไม่ใช่มลพิษว่า เหมือนกับผู้บริหารบริษัทบุหรี่ซึ่งครั้งหนึ่งเคยสาบานว่าบุหรี่ไม่มีพิษภัยใดๆ


หันมาดูเอเชีย ผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหวที่โด่งดังและประสบความสำเร็จสูงสุดไม่ใช่นักลงทุนสถาบัน แต่เป็นเอ็นจีโอนาม สมาพันธ์ประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (People’s Solidarity for Participatory Democracy ย่อว่า PSPD) ภายใต้การนำของ ดร.จัง ฮา ซุง ตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจปี 1997 เป็นต้นมา PSPD ใช้อำนาจในฐานะผู้ถือหุ้น ฟ้องและชนะคดีกรรมการหรือผู้บริหารฉ้อฉลหลายสิบคดี แชโบลยักษ์ใหญ่อย่าง ซัมซุง, เอสเค เทเลคอม, แดวู ฯลฯ ถูกศาลตัดสินให้จ่ายค่าชดเชยจำนวนมหาศาลให้แก่ผู้ถือหุ้น ความสำเร็จในการรณรงค์ของ PSPD กับผู้ถือหุ้นรายย่อย นำไปสู่การลดทอนอำนาจของตระกูลผู้ก่อตั้งในแชโบล กฎหมายปราบปรามคอร์รัปชัน กฎหมายคุ้มครองผู้ให้เบาะแส กฎหมายคุ้มครองผู้ถือหุ้น อีกทั้งยังยกระดับธรรมาภิบาลของภาคเอกชนเกาหลีใต้ให้ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และน่าทึ่งที่สุดในทวีปเอเชีย


ดร. มาร์ค โมเบียส ประธานกรรมการบริหาร เท็มเพิลตัน แอสเส็ท แมเนจเม้นท์ ผู้จัดการกองทุนและผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหวในประเด็นธรรมาภิบาลชั้นแนวหน้าของโลก กล่าวในปี 2012 ว่า “เวลาที่เราลงทุนในบริษัท เราก็เป็นเจ้าของส่วนเสี้ยวของบริษัท ดังนั้นจึงต้องรับผิดชอบต่อการดำเนินงานของบริษัท ...ถ้าหากเราเชื่อว่าบริษัทกำลังไปผิดทาง เราในฐานะผู้ถือหุ้นก็จะต้องเคลื่อนไหวและออกมาส่งเสียง ...เราอาจเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อย แต่ถ้าหากเราพูดในสิ่งที่เชื่อว่าถูกต้อง เราก็อาจสามารถผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นได้”


ประสบการณ์ของผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหวชั้นนำอย่างแนวร่วมองค์กรทางศาสนา ICCR, เอ็นจีโอ PSPD และนักลงทุนสถาบัน มาร์ค โมเบียส บอกเราว่า “สินค้าสาธารณะ” ชื่อการเคลื่อนไหวของผู้ถือหุ้นนั้น แม้จะผลิตยากแต่ก็ใช่ว่าจะผลิตไม่ได้ และผู้ถือหุ้นที่ “อิน” กับประเด็นจริงๆ ก็จะอดทนเพียงพอที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลง แม้ว่ามันอาจเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช่ฟ้าดินถล่มทลายก็ตาม


แต่ในประเทศไทยซึ่งองค์กรทางศาสนาจำนวนมากยังติดข้อกฎหมาย ลงทุนในบริษัทจดทะเบียนไม่ได้ (ลำพังงบการเงินของวัดหลายแห่งก็ยังไม่โปร่งใส) เอ็นจีโอส่วนใหญ่ยังไม่สนใจจะเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท และนักลงทุนสถาบันส่วนใหญ่ยังใส่ใจกับผลตอบแทนและต้นทุนมากกว่า “ความรับผิดชอบ” ในฐานะเจ้าของบริษัท


ผู้เขียนก็สงสัยว่า “ผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหว” รายแรกจะเป็นใครกันหนอ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
ภาพประจำตัวสมาชิก
anubist
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1373
ผู้ติดตาม: 0

Re: ผู้ถือหุ้น

โพสต์ที่ 6

โพสต์

pak เขียน:อัพเดทวงการ “ผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหว” (จบ) : ICCR, PSPD และ มาร์ค โมเบียส
โดย : สฤณี อาชวานันทกุล


การเคลื่อนไหวของผู้ถือหุ้น หมายถึง การใช้ความเป็นเจ้าของบริษัทผ่านการถือหุ้นผลักดันให้กรรมการและผู้บริหารเปลี่ยนแปลงบริษัทในทางที่ดีกว่าเดิม

ไม่ใช่แค่ถือหุ้นรอปันผลและกำไรเฉยๆ


ในเมื่อการเคลื่อนไหวของผู้ถือหุ้นนั้นเสียทั้งเวลาและอาจต้องเสียเงินด้วย ขณะที่ประโยชน์เกิดในระยะยาวและตกอยู่กับผู้ถือหุ้นทุกคน การเคลื่อนไหวแบบนี้จึงมักจะมีคนรอ “ตีตั๋วฟรี” มากกว่าคนที่ลงมือทำ และดังนั้นจึงเกิดไม่ง่ายในทุกสังคม


แต่ไม่ง่ายไม่ได้แปลว่าไม่มี ทั่วโลกมีตัวอย่าง “ผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหว” จำนวนมากที่ออกแรงอย่างแข็งขัน ชักชวนผู้ถือหุ้นคนอื่นๆ ให้ร่วมผลักดัน หลายคนหลายองค์กรสามารถเปลี่ยนแปลงบริษัทที่พวกเขาลงทุนให้มีความโปร่งใสมากขึ้น รับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ตั้งแต่ผู้บริโภคไปจนถึงสิ่งแวดล้อมและชุมชนมากกว่าเดิม


วิธีการเคลื่อนไหวของผู้ถือหุ้นมีหลากหลายรูปแบบ ที่ใช้กันมากที่สุดและได้ผลดีที่สุด คือ วิธีที่ไม่กระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระยะยาวระหว่างผู้ถือหุ้นกับผู้บริหาร เช่น การพบปะหารือกับผู้บริหาร การยื่นจดหมายเรียกร้อง (shareholder resolution) โดยการรณรงค์กับผู้ถือหุ้นรายอื่นทั้งหน้าฉาก (ชักชวนผ่านสื่อและเว็บไซต์) และหลังฉาก (ส่งจดหมายล่ารายชื่อ)


สำหรับวิธี “เผชิญหน้า” อย่างเช่นการออกมาเรียกร้องผ่านสื่อ หรือทำแคมเปญคว่ำบาตร ผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหวส่วนใหญ่จะใช้เป็นทางเลือกสุดท้าย เฉพาะในประเด็นเร่งด่วนที่ผู้ถือหุ้นใช้ไม้อ่อนทุกไม้ไปแล้วแต่ผู้บริหารยังไม่แยแส


การเคลื่อนไหวของผู้ถือหุ้นมักไม่ต่างจากการผลักดันการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นอื่นๆ คือมักจะต้องใช้เวลานาน ค่อยๆ สะสมเสียงสนับสนุนไปทีละน้อยจนถึงจุดที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจริง


แปลว่าผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหวส่วนใหญ่จะต้อง “หัวรั้น” กว่าคนทั่วไป และจะหัวรั้นได้ก็แปลว่าต้อง “อิน” กับประเด็นที่อยากเปลี่ยนแปลงบริษัทมากพอที่จะอดทนและ “กัดไม่ปล่อย”


นักลงทุนสถาบันนาม Interfaith Center for Corporate Responsibility (ย่อว่า ICCR) ในสหรัฐอเมริกา มีชื่อเสียงยาวนานกว่า 40 ปี ในฐานะผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหว สมาชิกขององค์กรนี้คือองค์กรทางศาสนาเกือบ 300 แห่งในอเมริกาที่ลงทุนในตลาดหุ้น ส่วนใหญ่นักถือศาสนาคริสต์ มีเม็ดเงินลงทุนรวมกันกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเม็ดเงินขนาดนี้สามารถกระตุ้นให้บริษัทตั้งใจฟังเป็นอย่างดีเวลาที่ ICCR ส่งจดหมายในฐานะผู้ถือหุ้น


ประเด็นที่ ICCR ให้ความสำคัญส่วนใหญ่เป็นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เช่น เรียกร้องให้บริษัทรับผิดชอบต่อความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม เปิดเผยปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละปี ประกาศเป้าลดก๊าซเรือนกระจก เปลี่ยนนโยบายการจ่ายผลตอบแทนผู้บริหาร เช่น อธิบายเหตุผลที่ขึ้นเงินเดือนและโบนัสอย่างชัดเจน ตลอดจนประเด็นเชิงศีลธรรมต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับคำสอนทางศาสนา เช่น การต่อต้านการทรมานสัตว์ ต่อต้านการใช้แรงงานเด็กในบริษัทหรือบริษัทคู่ค้า เป็นต้น


ICCR โดดเด่นในฐานะผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหวชั้นแนวหน้าของอเมริกา ปีหนึ่งๆ ยื่นจดหมายเรียกร้องบริษัทที่สมาชิกถือหุ้นเกินร้อยฉบับ ผลักดันให้ผู้ถือหุ้นลงมติเรื่องต่างๆ บางปีหลายสิบเรื่อง มีสมาชิกที่ขยันไปประชุมและท้าทายผู้บริหารบริษัทมากมาย ยกตัวอย่าง เช่น แม่ชีดาลี จากโบสถ์คริสต์นิกายโดมินิกัน วัย 50 ปี หมดเวลาในแต่ละวันไปกับการพบปะพูดคุยกับผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน ร่างจดหมายเรียกร้อง และวางแผนว่าจะผลักดันให้บริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่อย่าง เจเนอรัล อิเล็กทริก กับ เอ็กซอน โมบิล รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นได้อย่างไร


ในวงการผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหว แม่ชีดาลีโด่งดังในฐานะน้อยคนที่สามารถทำให้ แจ็ค เวลช์ อดีตซีอีโอผู้ยิ่งยงแห่ง เจเนอรัล อิเล็กทริก จนมุมจนเฉไฉเปลี่ยนเรื่องไปวาระอื่น ในการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 1998 หลังจากที่ถูกแม่ชีรุกไล่ด้วยคำถามแหลมคมว่า เหตุใดบริษัทจึงไม่รับผิดชอบกำจัดมลพิษจากโรงงานของบริษัทที่ปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำในรัฐนิวยอร์ก เธอเปรียบเทียบจุดยืนของเวลช์ที่อ้างว่าไม่ใช่มลพิษว่า เหมือนกับผู้บริหารบริษัทบุหรี่ซึ่งครั้งหนึ่งเคยสาบานว่าบุหรี่ไม่มีพิษภัยใดๆ


หันมาดูเอเชีย ผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหวที่โด่งดังและประสบความสำเร็จสูงสุดไม่ใช่นักลงทุนสถาบัน แต่เป็นเอ็นจีโอนาม สมาพันธ์ประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (People’s Solidarity for Participatory Democracy ย่อว่า PSPD) ภายใต้การนำของ ดร.จัง ฮา ซุง ตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจปี 1997 เป็นต้นมา PSPD ใช้อำนาจในฐานะผู้ถือหุ้น ฟ้องและชนะคดีกรรมการหรือผู้บริหารฉ้อฉลหลายสิบคดี แชโบลยักษ์ใหญ่อย่าง ซัมซุง, เอสเค เทเลคอม, แดวู ฯลฯ ถูกศาลตัดสินให้จ่ายค่าชดเชยจำนวนมหาศาลให้แก่ผู้ถือหุ้น ความสำเร็จในการรณรงค์ของ PSPD กับผู้ถือหุ้นรายย่อย นำไปสู่การลดทอนอำนาจของตระกูลผู้ก่อตั้งในแชโบล กฎหมายปราบปรามคอร์รัปชัน กฎหมายคุ้มครองผู้ให้เบาะแส กฎหมายคุ้มครองผู้ถือหุ้น อีกทั้งยังยกระดับธรรมาภิบาลของภาคเอกชนเกาหลีใต้ให้ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และน่าทึ่งที่สุดในทวีปเอเชีย


ดร. มาร์ค โมเบียส ประธานกรรมการบริหาร เท็มเพิลตัน แอสเส็ท แมเนจเม้นท์ ผู้จัดการกองทุนและผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหวในประเด็นธรรมาภิบาลชั้นแนวหน้าของโลก กล่าวในปี 2012 ว่า “เวลาที่เราลงทุนในบริษัท เราก็เป็นเจ้าของส่วนเสี้ยวของบริษัท ดังนั้นจึงต้องรับผิดชอบต่อการดำเนินงานของบริษัท ...ถ้าหากเราเชื่อว่าบริษัทกำลังไปผิดทาง เราในฐานะผู้ถือหุ้นก็จะต้องเคลื่อนไหวและออกมาส่งเสียง ...เราอาจเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อย แต่ถ้าหากเราพูดในสิ่งที่เชื่อว่าถูกต้อง เราก็อาจสามารถผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นได้”


ประสบการณ์ของผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหวชั้นนำอย่างแนวร่วมองค์กรทางศาสนา ICCR, เอ็นจีโอ PSPD และนักลงทุนสถาบัน มาร์ค โมเบียส บอกเราว่า “สินค้าสาธารณะ” ชื่อการเคลื่อนไหวของผู้ถือหุ้นนั้น แม้จะผลิตยากแต่ก็ใช่ว่าจะผลิตไม่ได้ และผู้ถือหุ้นที่ “อิน” กับประเด็นจริงๆ ก็จะอดทนเพียงพอที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลง แม้ว่ามันอาจเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช่ฟ้าดินถล่มทลายก็ตาม


แต่ในประเทศไทยซึ่งองค์กรทางศาสนาจำนวนมากยังติดข้อกฎหมาย ลงทุนในบริษัทจดทะเบียนไม่ได้ (ลำพังงบการเงินของวัดหลายแห่งก็ยังไม่โปร่งใส) เอ็นจีโอส่วนใหญ่ยังไม่สนใจจะเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท และนักลงทุนสถาบันส่วนใหญ่ยังใส่ใจกับผลตอบแทนและต้นทุนมากกว่า “ความรับผิดชอบ” ในฐานะเจ้าของบริษัท


ผู้เขียนก็สงสัยว่า “ผู้ถือหุ้นนักเคลื่อนไหว” รายแรกจะเป็นใครกันหนอ
หวังว่าสักวันสมาคมจะทำได้แบบนี้
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

Re: ผู้ถือหุ้น

โพสต์ที่ 7

โพสต์

anubist เขียน:หวังว่าสักวันสมาคมจะทำได้แบบนี้
นักลงทุนจาก ThaiVI เคยร่วมกันลงคะแนนเสียงคัดค้านการออก ESOP ที่ผู้ถือหุ้นคิดว่าไม่เป็นธรรมของ WG มาแล้วครับ

เนื่องจากเห็นว่า ราคาแปลงสภาพที่ 10 บาทเป็นราคาที่ต่ำเกินไป เมื่อเทียบกับราคาตลาดที่ประมาณ 35 บาทในขณะนั้น

ซึ่งทำให้มติการออก ESOP ในปีนั้นตกไป

และปีต่อมา ผู้บริหารก็ยินยอมที่จะเปลี่ยนแปลงราคาแปลงสภาพขึ้นเป็น 31.50 บาท

ผมคิดว่า เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นเหตุการณ์ที่แสดงถึงการรวมพลังของนักลงทุนรายย่อยอย่างแท้จริง และถ้าเราไม่มีแหล่งที่จะพบปะพูดคุยกันเหมือน ThaiVI นักลงทุนรายย่อยก็คงจะรวมตัวกันไม่ได้

สมาคมส่งเสริมนักลงทุนไทยก็ไม่มีคะแนนเสียงมากเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรได้
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
โพสต์โพสต์