การกลับมาของOishi
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4886
- ผู้ติดตาม: 0
การกลับมาของOishi
โพสต์ที่ 1
งบประกาศแล้วนะ 1.25 โตมากกว่า100% epsปีที่แล้วทั้งปีอีก
สัญญาณ การเติบโตของ eps ของoishiพอจะบอกเราได้ใช่มั๊ยว่า
Oishi turn around จริงๆ
ไม่เข้าใจว่าทําไม Kimeng ปรับประมาณการลง ก่อน งบออก
ทั้งๆที่ ทุกคน ตาม Watson 7-11 โออิชิขายดี
ตอนนี้ลุกWatsonขายขวดละ 16 บาท คนซื้อเต็มเลย
OISHI:Turnaround ชัดเจนในปีนี้ ซิกโก้
6 สิงหาคม พ.ศ. 2550 10:45:00
เราคาดว่า บริษัท โออิชิ กรุ๊ป(OISHI) จะรายงานผลการดําเนินงานที่ ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยประเมินรายได้เท่ากับ 1,189 ล้านบาท เติบโต 9.1% YOY และเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วเติบโต 12.1%
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : รายได้จากธุรกิจเครื่องดื่มเติบโต 12% QOQ เนื่องจากเป็นช่วง Peak Season ของธุรกิจชาเขียวเพราะเป็นฤดูร้อน รวมทั้งผลจากการทําโปรโมชั่นร่วมกับร้าน 7-11 ที่ประสบความสําเร็จ และธุรกิจร้านอาหารที่มีการเติบโต 11.5% QOQ จากการขยาย
สาขาเพิ่มขึ้น และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่กลับมาซึ่งถือว่าเป็นการฟื้นตัวจากไตรมาส 1 ที่ได้รับผลลบมาจากการวางระเบิดเมื่อตอนต้นปี
คาดยังรักษาความสามารถในการทํากําไรได้ดี : เรายังคาดว่าบริษัทยังรักษาระดับอัตรากําไรขั้นต้นไว้ได้ที่ 36% เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา ต้นทุนต่างๆไม่ได้มีการปรับขึ้นแต่อย่างใด ขณะเดียวกันอัตรา SG&A/SALES จะปรับดีขึ้นเป็น 25.5% จากการที่รายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งค่าใช้จ่ายด้านการตลาดและโปรโมชั่นไม่ได้เพิ่มขึ้นมามากนัก เราจึงคาดว่าในไตรมาสนี้ OISHI จะรายงานกําไรสุทธิที่ 122 ล้านบาท เติบโต 17.2%QOQ และฟื้นตัวอย่างชัดเจนจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 97% YOY ซึ่งเมื่อพิจารณาครึ่งปีแรก พบว่ากําไรสุทธิฟื้นตัวชัดเจน โดยมีกําไรสุทธิ 226 ล้านบาท เติบโต 157% YOY
ยังมีมุมมองที่ดีต่อครึ่งปีหลัง: แม้ว่าไตรมาส 2 จะเป็น Peak Season แต่เรายังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อผลประกอบการในครึ่งปีหลัง โดยยังเชื่อว่า OISHI จะยังคงกินส่วนแบ่งการตลาดในตลาดชาเขียวเพิ่มขึ้น ภายใต้สถานการณ์ที่ผู้เล่นในตลาดเริ่มน้อยลงเรื่อยๆ ขณะที่ธุรกิจร้านอาหารจะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยน่าจะเห็นแนวโน้มกําไรขั้นต้น
ธุรกิจอาหารที่เพิ่มขึ้น พิจารณาจากแผนการขยายสาขาที่เน้นไปในแบรนด์ที่สร้างอัตรากําไรที่สูง เรายังประเมินกําไรสุทธิ FY07E ไว้ที่ 436 ล้านบาท เติบโต 134% YOY และเพิ่มขึ้นเป็น 586 ล้านบาท ใน FY08E เติบโต 34% YOY
แนะนํา "ซื้อ" ราคาเหมาะสม 28.11 บาท: ประเมินราคาเหมาะสม OISHI สําหรับ FY08E ไว้ที่ 28.11 บาท ด้วยผลประกอบการที่ Turnaround ในปีนี้ และคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในปีหน้า เรายังแนะนํา "ซื้อ" โดยคํานวณ Total Return ณ ราคาตลาดปัจจุบันเท่ากับ 25.6% อย่างไรก็ดียังมีความเสี่ยงจากการที่หุ้นมีสภาพคล่องค่อนข้างต่ำ ซึ่งบริษัทอยู่ในระหว่างการหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอยู่
สัญญาณ การเติบโตของ eps ของoishiพอจะบอกเราได้ใช่มั๊ยว่า
Oishi turn around จริงๆ
ไม่เข้าใจว่าทําไม Kimeng ปรับประมาณการลง ก่อน งบออก
ทั้งๆที่ ทุกคน ตาม Watson 7-11 โออิชิขายดี
ตอนนี้ลุกWatsonขายขวดละ 16 บาท คนซื้อเต็มเลย
OISHI:Turnaround ชัดเจนในปีนี้ ซิกโก้
6 สิงหาคม พ.ศ. 2550 10:45:00
เราคาดว่า บริษัท โออิชิ กรุ๊ป(OISHI) จะรายงานผลการดําเนินงานที่ ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยประเมินรายได้เท่ากับ 1,189 ล้านบาท เติบโต 9.1% YOY และเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วเติบโต 12.1%
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : รายได้จากธุรกิจเครื่องดื่มเติบโต 12% QOQ เนื่องจากเป็นช่วง Peak Season ของธุรกิจชาเขียวเพราะเป็นฤดูร้อน รวมทั้งผลจากการทําโปรโมชั่นร่วมกับร้าน 7-11 ที่ประสบความสําเร็จ และธุรกิจร้านอาหารที่มีการเติบโต 11.5% QOQ จากการขยาย
สาขาเพิ่มขึ้น และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่กลับมาซึ่งถือว่าเป็นการฟื้นตัวจากไตรมาส 1 ที่ได้รับผลลบมาจากการวางระเบิดเมื่อตอนต้นปี
คาดยังรักษาความสามารถในการทํากําไรได้ดี : เรายังคาดว่าบริษัทยังรักษาระดับอัตรากําไรขั้นต้นไว้ได้ที่ 36% เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา ต้นทุนต่างๆไม่ได้มีการปรับขึ้นแต่อย่างใด ขณะเดียวกันอัตรา SG&A/SALES จะปรับดีขึ้นเป็น 25.5% จากการที่รายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งค่าใช้จ่ายด้านการตลาดและโปรโมชั่นไม่ได้เพิ่มขึ้นมามากนัก เราจึงคาดว่าในไตรมาสนี้ OISHI จะรายงานกําไรสุทธิที่ 122 ล้านบาท เติบโต 17.2%QOQ และฟื้นตัวอย่างชัดเจนจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 97% YOY ซึ่งเมื่อพิจารณาครึ่งปีแรก พบว่ากําไรสุทธิฟื้นตัวชัดเจน โดยมีกําไรสุทธิ 226 ล้านบาท เติบโต 157% YOY
ยังมีมุมมองที่ดีต่อครึ่งปีหลัง: แม้ว่าไตรมาส 2 จะเป็น Peak Season แต่เรายังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อผลประกอบการในครึ่งปีหลัง โดยยังเชื่อว่า OISHI จะยังคงกินส่วนแบ่งการตลาดในตลาดชาเขียวเพิ่มขึ้น ภายใต้สถานการณ์ที่ผู้เล่นในตลาดเริ่มน้อยลงเรื่อยๆ ขณะที่ธุรกิจร้านอาหารจะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยน่าจะเห็นแนวโน้มกําไรขั้นต้น
ธุรกิจอาหารที่เพิ่มขึ้น พิจารณาจากแผนการขยายสาขาที่เน้นไปในแบรนด์ที่สร้างอัตรากําไรที่สูง เรายังประเมินกําไรสุทธิ FY07E ไว้ที่ 436 ล้านบาท เติบโต 134% YOY และเพิ่มขึ้นเป็น 586 ล้านบาท ใน FY08E เติบโต 34% YOY
แนะนํา "ซื้อ" ราคาเหมาะสม 28.11 บาท: ประเมินราคาเหมาะสม OISHI สําหรับ FY08E ไว้ที่ 28.11 บาท ด้วยผลประกอบการที่ Turnaround ในปีนี้ และคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในปีหน้า เรายังแนะนํา "ซื้อ" โดยคํานวณ Total Return ณ ราคาตลาดปัจจุบันเท่ากับ 25.6% อย่างไรก็ดียังมีความเสี่ยงจากการที่หุ้นมีสภาพคล่องค่อนข้างต่ำ ซึ่งบริษัทอยู่ในระหว่างการหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอยู่
-
- Verified User
- โพสต์: 77
- ผู้ติดตาม: 0
การกลับมาของOishi
โพสต์ที่ 2
เป็นไปตามที่คาดครับว่า Q2 จะมากกว่า Q1 หากปีนี้ได้ EPS ซัก 1.7-2.0 ถ้าปีหน้า(2008)ยังคงเพิ่ม Growth ได้อีก ผม Valuation ได้ประมาณ 34 บาทต่อหุ้นครับ(2009F) ต้องดูกันต่อไป และเท่าที่ดู Margin จากร้านอาหารดีขึ้นเยอะครับ Q2 ที่ผ่านมานี้ ส่วน Margin ด้านเครื่องดื่มก็ดีขึ้นเช่นกัน และเครื่องดื่มดูได้ง่ายว่า Brands ไหน(ตระกูลชาทั้งหลาย)ว่าติดตลาดมากกว่ากัน ผมสังเกตตาม บขส หัวลำโพง หรือ จตุจักร ยี่ห้ออื่นๆแทบไม่มีวางขายครับ เป็นจุดแข็งทางด้านระบบ Distribution ที่ดีครับ ในเดือนกันยา OISHI จะฉลองครบ 8 ปีครับ มาดูกันว่าจะมีอะไรมา Surprise กัน
ปล.ใครไป Opp Day มาเล่าให้ฟังหน่อยนะครับ 15/08/50 -11.00-12.30 ที่ตลท.
ปล.ใครไป Opp Day มาเล่าให้ฟังหน่อยนะครับ 15/08/50 -11.00-12.30 ที่ตลท.
-
- Verified User
- โพสต์: 1288
- ผู้ติดตาม: 0
การกลับมาของOishi
โพสต์ที่ 5
กลับจาก opp day มาครับ
ผมไป อาจเก็บได้ไม่ตลอดงานนะครับ
ตอนนี้คุณตัน บอกว่า กำลังการผลิตชาเขียวตอนนี้ใช้แค่ครึ่ง เดียว เหลืออีกบาน
การส่งออกชาเขียว พอมี แต่ก็แค่ 5% ของยอดขายรวม ซึ่งไม่ได้หวังอะไรมาก เพราะเจอค่า shipping+tariff อ่วม
กำลังตีตลาด chilled food โดยใช้ OEM
ได้แก่ ปูอัด เกี๊ยวซ่า เพราะ จะได้ไม่ผลาญ fixed cost ไปปล่าวๆ(โรงงานที่ลุงทุนเผื่อขยายสาขาร้านอาหารโออิชิยังว่างเยอะ)
คุณตันบอกชัดว่าไม่มีแตกพาร์
ตอนนี้ยังไม่คิดจะทำธุรกิจอื่น งานหลักยังเป็น โออิชิ เพียงแต่มีการ"ลุงทุน" ด้วย(อะไร ที่ไหน ไม่ได้พูด)
ในระยะสั้นนี้ จะไม่ขยายออฟฟิส มันเปลือง เอาไว้ยอดขายเป็น 6-7พันล้าน ค่อยว่ากัน
เท่านี้ละครับที่ผมจับใจความมาได้
ผมไป อาจเก็บได้ไม่ตลอดงานนะครับ
ตอนนี้คุณตัน บอกว่า กำลังการผลิตชาเขียวตอนนี้ใช้แค่ครึ่ง เดียว เหลืออีกบาน
การส่งออกชาเขียว พอมี แต่ก็แค่ 5% ของยอดขายรวม ซึ่งไม่ได้หวังอะไรมาก เพราะเจอค่า shipping+tariff อ่วม
กำลังตีตลาด chilled food โดยใช้ OEM
ได้แก่ ปูอัด เกี๊ยวซ่า เพราะ จะได้ไม่ผลาญ fixed cost ไปปล่าวๆ(โรงงานที่ลุงทุนเผื่อขยายสาขาร้านอาหารโออิชิยังว่างเยอะ)
คุณตันบอกชัดว่าไม่มีแตกพาร์
ตอนนี้ยังไม่คิดจะทำธุรกิจอื่น งานหลักยังเป็น โออิชิ เพียงแต่มีการ"ลุงทุน" ด้วย(อะไร ที่ไหน ไม่ได้พูด)
ในระยะสั้นนี้ จะไม่ขยายออฟฟิส มันเปลือง เอาไว้ยอดขายเป็น 6-7พันล้าน ค่อยว่ากัน
เท่านี้ละครับที่ผมจับใจความมาได้
- ดาวหางสีแดง
- Verified User
- โพสต์: 635
- ผู้ติดตาม: 0
การกลับมาของOishi
โพสต์ที่ 6
ขอบคุณมากครับMindTrick เขียน:กลับจาก opp day มาครับ
ผมไป อาจเก็บได้ไม่ตลอดงานนะครับ
ตอนนี้คุณตัน บอกว่า กำลังการผลิตชาเขียวตอนนี้ใช้แค่ครึ่ง เดียว เหลืออีกบาน
การส่งออกชาเขียว พอมี แต่ก็แค่ 5% ของยอดขายรวม ซึ่งไม่ได้หวังอะไรมาก เพราะเจอค่า shipping+tariff อ่วม
กำลังตีตลาด chilled food โดยใช้ OEM
ได้แก่ ปูอัด เกี๊ยวซ่า เพราะ จะได้ไม่ผลาญ fixed cost ไปปล่าวๆ(โรงงานที่ลุงทุนเผื่อขยายสาขาร้านอาหารโออิชิยังว่างเยอะ)
คุณตันบอกชัดว่าไม่มีแตกพาร์
ตอนนี้ยังไม่คิดจะทำธุรกิจอื่น งานหลักยังเป็น โออิชิ เพียงแต่มีการ"ลุงทุน" ด้วย(อะไร ที่ไหน ไม่ได้พูด)
ในระยะสั้นนี้ จะไม่ขยายออฟฟิส มันเปลือง เอาไว้ยอดขายเป็น 6-7พันล้าน ค่อยว่ากัน
เท่านี้ละครับที่ผมจับใจความมาได้
ว่าแต่คุณตัน บอกอะไรเกี่ยวกับการเข้าไปในตลาดน้ำผลไม้บ้างรึเปล่าครับ
ผมมองว่าตลาดน้ำผลไม้(ผักด้วย) เป็นตลาดที่น่าสนใจมากๆ และอยู่ในศักยภาพของบริษัทที่จะเข้าไปแข่งขันได้
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4886
- ผู้ติดตาม: 0
การกลับมาของOishi
โพสต์ที่ 7
เรื่อง Free float แกจะแก้ยังไง คุณตันพูดแต่ละครั้งไม่ตรงกันสักทีMindTrick เขียน:กลับจาก opp day มาครับ
ผมไป อาจเก็บได้ไม่ตลอดงานนะครับ
ตอนนี้คุณตัน บอกว่า กำลังการผลิตชาเขียวตอนนี้ใช้แค่ครึ่ง เดียว เหลืออีกบาน
การส่งออกชาเขียว พอมี แต่ก็แค่ 5% ของยอดขายรวม ซึ่งไม่ได้หวังอะไรมาก เพราะเจอค่า shipping+tariff อ่วม
กำลังตีตลาด chilled food โดยใช้ OEM
ได้แก่ ปูอัด เกี๊ยวซ่า เพราะ จะได้ไม่ผลาญ fixed cost ไปปล่าวๆ(โรงงานที่ลุงทุนเผื่อขยายสาขาร้านอาหารโออิชิยังว่างเยอะ)
คุณตันบอกชัดว่าไม่มีแตกพาร์
ตอนนี้ยังไม่คิดจะทำธุรกิจอื่น งานหลักยังเป็น โออิชิ เพียงแต่มีการ"ลุงทุน" ด้วย(อะไร ที่ไหน ไม่ได้พูด)
ในระยะสั้นนี้ จะไม่ขยายออฟฟิส มันเปลือง เอาไว้ยอดขายเป็น 6-7พันล้าน ค่อยว่ากัน
เท่านี้ละครับที่ผมจับใจความมาได้
บอกนักวิเคราะห์ Kimเล้ง ว่า ยอด Q2ลด ทําให้นักวิเคราะห์ปรับลดตาม
แถมfree float เคยบอกว่า คิดจะแตก สรุปเอาไงกันแน่
แต่ทีรู้แน่ คนซื้อ oishi Watson เต็มเลย 16 บาทเอง เย็นฉำ
แถม แถวสมุทรสาคร มีลังโฟมขายเต็มเลย คนซื้อ เยอะเช่นกัน :D
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4886
- ผู้ติดตาม: 0
การกลับมาของOishi
โพสต์ที่ 8
ตลาดชาพร้อมดื่มพลิก...หวนคืนสู่ยุคทอง!!! - 15/8/2550
ตลาดชาพร้อมดื่มพลิก...หวนคืนสู่ยุคทอง!!!
ตลาดชาพร้อมดื่มกำลังกลับสู่ยุคเฟื่องฟูอีกครั้ง เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน เป็นการบริโภคเครื่องดื่มที่หลากหลายรสชาติ หลากหลายชนิดไปพร้อมกัน จากชามาน้ำผลไม้ กลับไปชา หรือไม่ก็เป็นฟังก์ชั่นแนลดริ๊งค์ ผลจากการบริโภคในลักษณะหลากหลายนี้ทำให้ตลาดชาพร้อมดื่มที่เคยตกมาช่วงหนึ่ง โดยเฉพาะชาเขียว กลับมาเติบโตเป็นเลขสองหลักอีกครั้ง
++ ยุคชาเขียวบูม
ตลาดชาพร้อมดื่มเริ่มบูมขึ้นเมื่อประมาณหกปีที่ผ่านมา ภายกลังการเข้ามาของชาเขียวโดยมีโออิชิเป็นแกนนำในการสร้างตลาดให้เติบโต ทำให้ตลาดเครื่องดื่มประเภทชา ที่ในอดีตมีแต่ชาตำและมีลิปตันเป็นเข้าตลาด กลับเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้เป็นการให้ความรู้แก่ผู้บริโภคเรื่องคุณประโยชน์ของชาเขียวที่มาพร้อมกระแสนิยมอาหารญี่ปุ่น ปละการดำเนินกลยุทธ์การตลาดที่เข้าถึงผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ
ยุทธการลังโฟม ของโออิชิที่จะนำชาเขียวไปวางตามจุดต่างๆในย่านการค้า ในตลาด ที่มีผู้บริโภครวมตัวกันอยู่มาก ตามริมถนนใกล้บริเวณคนรอรถโดยสารลังโฟมจะบรรจุขวดชาเขียวที่แช่ในน้ำแข็งเย็นฉ่อยู่ตลอดเวลา เมื่อประกอบการที่เมืองไทยเป็นเมืองร้อน เมื่อผู้บริโภคกระหายน้ำ หันซ้ายหันขวาก็เจอชาเขียวโออิชิขายอยู่ในลังโฟมแช่น้ำแข็ง จึงทำให้ผู้บริโภคง่ายต่อการตัดสินใจซื้อ
อีกประการหนึ่งคือ ลังโฟมเป็นหน่วยขายที่สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกและลงทุนน้อย จึงสามารถกระจายชาเขียวโออิชิไปถึงผู้บริโภคทั่วประเทศได้ในเวลาอันรวดเร็ว
นอกจากนั้น โออิชิใช้กลยุทธ์การตลาดอื่นๆครบเครื่อง ทั้งโฆษณาผ่านสื่อหลัก การทำอีเว้นท์ การวางจุดขายในย่านชุมชนทุกจุด ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าปลีกทั่วไป โมเดิร์นเทรด ตลาดสด สถานีรถไฟฟ้า
ควาสำเร็จของโออิชิทำให้มีคู่แข่งเข้าสู่สมรภูมิตามลงมามากมาย และแต่ละรายก็ทำการตลาดหนัก เช่น ยูนิฟ, ค่ายสิงห์ ที่ใช้แบรนด์ว่าโมชิ, แม้แต่ยูนิลีเวอร์ ที่มีลิปตันเป็นเจ้าตลาดชาดำ ก็ลงมาเล่นในตลาดชาเขียวด้วย ใช้ชื่อแบรนด์ว่า ลิปตันเวฟ ฯลฯ
เมื่อรวมกระแสความนิยม ประกอบกับกลยุทธ์การตลาดครบเครื่อง ของแต่ละแบรนด์ที่เข้าสู่ตลาด ทำให้ตลาดชาเขียวเติบโตอย่างรวดเร็ว และดึงเอาตลาดชาโดยรวมดตไปด้วย ในช่วงบูมนั้นมีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่า 50% ต่อปี และเคยเติบโตถึง 200% จนมูลค่าตลาดโดยรวมสูงถึงประมาณ 4,500 ล้านบาทเมื่อปี 2547
++ ยุคชาเขียวซบ
กระทั่งประมาณสามปีที่ผ่านมา ตลาดเริ่มเติบโตลดลงอย่างพรวดพราด จากที่เคยโตมากกว่า 50% ถึง 200% ลดเหลือประมาณ 5% เพราะผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนไปดื่มเครื่องดื่มชนิดอื่นมากขึ้น โดยเฉพาะน้ำผลไม้ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และมีค่ายใหญ่อย่างเป๊บซี่ลงมาทำตลาดเต็มตัวด้วยการส่งแบรนด์ทรอปิคานาเข้าสู่ตลาด
เหตุหนึ่งที่ตลาดชาเขียวชลอตัวน่าจะเป็นเพราะพ้นช่วงตามกระแสแฟชั่นชาเขียว ประกอบกับวัฒนธรรมไทย ไม่ใช่วัฒนธรรมชา เหมือนจีน ญี่ปุ่น อังกฤษ อินเดีย ที่ผู้บริโภคคุ้นกับชามาแต่เล็กแต่น้อย และโดยพื้นฐานความนิยมรสชาติคนไทยก็ไม่ชอบรสขมแม้ชาเขียวที่ขายในไทย จะผสมรสชาติมีความหวานอยู่ก็ตาม แต่ก็ยังมีรสขมอยู่ดี แต่กรณีกาแฟนั้นเป็นเพราะคนไทยคุ้นกับรสชาติของการแฟมาตั้งแต่เด็กทั้งในรูปการดื่มโดยตรง และในรูปขนมประเภททอฟฟี่ นี่เป็นอุปสรรคสำคัญที่ในอดีต ตลาดเครื่องดื่มประเภทชาไม่ใหญ่มากนัก
ทั้งที่ยูนิลีเวอร์ ยักษ์ใหญ่สินค้ากลุ่มคอนซูเมอร์และอาหารทำการตลาดเครื่องดื่มประเภทชาต่อเนื่องมาหลายสิบปี นอดจากชาดำแบบชาฝรั่งลิปตันที่มีความสำเร็จในตลาดแล้ว เมื่อประมาณสิบสามปีที่ผ่านมา ลีเวอร์เคยพยายามสร้างตลาดชาดำแบบชาจีน เคยพยายามสร้างแคมเปญการตลาดเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคจาการดื่มกาแฟให้มาดื่มชา และให้ความรู้ผู้บริโภคชามีคุณประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย แต่ก็ไม่สำเร็จ
สำหรับชาเขียว เมื่อการเติบโตของตลาด กลับลดลงมากในเวลาอันสั้น จนเหลือแบรนด์ที่ยังทำตลาดต่อเนื่องอยู่ 3 แบรนด์คือ โออิชิ เป็นผู้นำตลาด ส่วนแบ่งในตลาดชาเขียวประมาณ 70% ยูนิฟส่วนแบ่งตลาดประมาณ 23% และเซนฉะของค่ายอายิโนะโมะโต๊ะ มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 6%
ขณะเดียวกันก็มีผู้ท้าชิงรายใหม่เกิดขึ้นคือ นะมาชะ ที่เป็นแบรนด์ของยักษ์ใหญ่ในธุรกิจเบียร์และเครื่องดื่มค่ายญี่ปุ่น คิริน จับมือกับโอสถสภาในไทย ตัดสินใจส่งชาเขียวนะมาชะบุกตลาดในไทยในช่วงตลาดชลอตัวมาก ใช้จุดขายความเป็นชาเขียวญี่ปุ่นพันธุ์แท้ พร้อมการเปิดตัวที่ยิ่งใหญ่ ใช้เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ เป็นพรีเซ็นเตอร์ มีโฆษณาทีวีต่อเนื่อง
คิรินใช้เงินเพื่อทำการตลาดนะมาชะสูงถึง 300 ล้านบาท สูงมากทีเดียวสำหรับชาเขียว
การทุ่มเงินบุกตลาดอย่างต่อเนื่องจริงจังของนะมาชะ ประกอบกับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มสำเร็จรูปของผู้บริโภคที่กลับมาบริโภคชาเขียวมากขึ้น อาจเป็นเพราะเข้าใจคุณประโยชน์ สลับกับเครื่องตื่มชนิดอื่นน่าจะเป็นผลทำให้ตลาดชาเขียวพลิกกลับมาโตเป็นเลขสองหลักอีกครั้ง
ช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ ชาเขียวโตประมาณ 15% ตัน ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการ โออิชิ กรุ๊ป จำกัด กล่าว
แม้การเติบโตจะไม่พรวดพราดเหมือนช่วงยุคทองในอดีต แต่การเริ่มกลับมาโตเป็นเลขสองหลักอีกครั้งของชาเขียวนับเป็นสัญญาณที่ดี
++ ชาดำบูม
ในช่วงที่ชาเขียวการเติบโตลดลงมากนั้น ชาดำกลับโตขึ้นอย่างเงียบๆ ชาดำโตมากถึงประมาณ 40% ตันกล่าว และเสรืมว่า นี่เป็นข้อมูลจาก เอ.ซี. นีลเส็น
จากตลาดรวมของชาประมาณสี่พันกว่าล้านนั้น เป็นชาเขียวประมาณ 80% ชาดำประมาณ 20% ผู้นำในตลาดชาดำ คือลิปตันของยูนิลีเวอร์ครองส่วนแบ่งตลาดประมาณ 80% อันดับสองคือเนสทีของเนสท์เล่
การเติบโตของตลาดชาดำอาจจะมาจากกลุ่มคนหนุ่มสาวที่เริ่มคุ้นเคยกับรสชาติของชามากขึ้น และให้ความสนใจกับสุขภาพอย่างจริงจัง ประกอบกับกลยุทธ์ของยูนิลีเวอร์ที่จัดจำหน่ายผ่านเสริมสุขเข้าไปวางในร้านอาหารทั่วไป ส่งผลดีต่อตลาดของชาดำ และในด้านรสชาติ ลิปตันไอซ์ทีรสชามะนาว ก็เป็นชาดำที่มีรสชาติดีทีเดียว
ด้วยเหตุที่ตลาดชาดำโตมาก ตันจึงนำโออิชิรุกเข้าสู่ตลาดชาดำ โดยวางตลาด โออิชิ แบล็ค ทีเลมอน ด้วยการใช้เงินเพื่อทำกิจกรรมการตลาดและส่งเสริมการขายมากกว่า 50 ล้านบาท ในปีนี้
ผมคาดหมายว่า เราจะได้ส่วนแบ่งในตลาดชาดำประมาณ 30-40% ตันกล่าว
การรุกโดยตั้งเป้าเช่นนี้เท่ากับว่าโออิชิประกาศท้ารบยูนิลีเวอร์ที่เป็นผู้นำในตลาดนี้มาหลายสิบปีโดยตรง และวิสัยลีเวอร์นั้น เหมือนเสือที่ใครแหย่ไม่ได้เสียด้วย ขณะที่โออิชิเองก็มีกลยุทธ์การตลาดแพรวพราว ในการเข้าถึงผู้บริโภค
สงครามระหว่างสองค่ายนี้ที่น่าจะเกิดในไม่ช้า และอาจเป็นผลดีทำให้ตลาดชาดำเติบโตขึ้นอีก ซึ่งจะส่งผลดีต่อตลาดชาโดยรวม
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=179745
ตลาดชาพร้อมดื่มพลิก...หวนคืนสู่ยุคทอง!!!
ตลาดชาพร้อมดื่มกำลังกลับสู่ยุคเฟื่องฟูอีกครั้ง เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน เป็นการบริโภคเครื่องดื่มที่หลากหลายรสชาติ หลากหลายชนิดไปพร้อมกัน จากชามาน้ำผลไม้ กลับไปชา หรือไม่ก็เป็นฟังก์ชั่นแนลดริ๊งค์ ผลจากการบริโภคในลักษณะหลากหลายนี้ทำให้ตลาดชาพร้อมดื่มที่เคยตกมาช่วงหนึ่ง โดยเฉพาะชาเขียว กลับมาเติบโตเป็นเลขสองหลักอีกครั้ง
++ ยุคชาเขียวบูม
ตลาดชาพร้อมดื่มเริ่มบูมขึ้นเมื่อประมาณหกปีที่ผ่านมา ภายกลังการเข้ามาของชาเขียวโดยมีโออิชิเป็นแกนนำในการสร้างตลาดให้เติบโต ทำให้ตลาดเครื่องดื่มประเภทชา ที่ในอดีตมีแต่ชาตำและมีลิปตันเป็นเข้าตลาด กลับเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้เป็นการให้ความรู้แก่ผู้บริโภคเรื่องคุณประโยชน์ของชาเขียวที่มาพร้อมกระแสนิยมอาหารญี่ปุ่น ปละการดำเนินกลยุทธ์การตลาดที่เข้าถึงผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ
ยุทธการลังโฟม ของโออิชิที่จะนำชาเขียวไปวางตามจุดต่างๆในย่านการค้า ในตลาด ที่มีผู้บริโภครวมตัวกันอยู่มาก ตามริมถนนใกล้บริเวณคนรอรถโดยสารลังโฟมจะบรรจุขวดชาเขียวที่แช่ในน้ำแข็งเย็นฉ่อยู่ตลอดเวลา เมื่อประกอบการที่เมืองไทยเป็นเมืองร้อน เมื่อผู้บริโภคกระหายน้ำ หันซ้ายหันขวาก็เจอชาเขียวโออิชิขายอยู่ในลังโฟมแช่น้ำแข็ง จึงทำให้ผู้บริโภคง่ายต่อการตัดสินใจซื้อ
อีกประการหนึ่งคือ ลังโฟมเป็นหน่วยขายที่สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกและลงทุนน้อย จึงสามารถกระจายชาเขียวโออิชิไปถึงผู้บริโภคทั่วประเทศได้ในเวลาอันรวดเร็ว
นอกจากนั้น โออิชิใช้กลยุทธ์การตลาดอื่นๆครบเครื่อง ทั้งโฆษณาผ่านสื่อหลัก การทำอีเว้นท์ การวางจุดขายในย่านชุมชนทุกจุด ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าปลีกทั่วไป โมเดิร์นเทรด ตลาดสด สถานีรถไฟฟ้า
ควาสำเร็จของโออิชิทำให้มีคู่แข่งเข้าสู่สมรภูมิตามลงมามากมาย และแต่ละรายก็ทำการตลาดหนัก เช่น ยูนิฟ, ค่ายสิงห์ ที่ใช้แบรนด์ว่าโมชิ, แม้แต่ยูนิลีเวอร์ ที่มีลิปตันเป็นเจ้าตลาดชาดำ ก็ลงมาเล่นในตลาดชาเขียวด้วย ใช้ชื่อแบรนด์ว่า ลิปตันเวฟ ฯลฯ
เมื่อรวมกระแสความนิยม ประกอบกับกลยุทธ์การตลาดครบเครื่อง ของแต่ละแบรนด์ที่เข้าสู่ตลาด ทำให้ตลาดชาเขียวเติบโตอย่างรวดเร็ว และดึงเอาตลาดชาโดยรวมดตไปด้วย ในช่วงบูมนั้นมีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่า 50% ต่อปี และเคยเติบโตถึง 200% จนมูลค่าตลาดโดยรวมสูงถึงประมาณ 4,500 ล้านบาทเมื่อปี 2547
++ ยุคชาเขียวซบ
กระทั่งประมาณสามปีที่ผ่านมา ตลาดเริ่มเติบโตลดลงอย่างพรวดพราด จากที่เคยโตมากกว่า 50% ถึง 200% ลดเหลือประมาณ 5% เพราะผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนไปดื่มเครื่องดื่มชนิดอื่นมากขึ้น โดยเฉพาะน้ำผลไม้ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และมีค่ายใหญ่อย่างเป๊บซี่ลงมาทำตลาดเต็มตัวด้วยการส่งแบรนด์ทรอปิคานาเข้าสู่ตลาด
เหตุหนึ่งที่ตลาดชาเขียวชลอตัวน่าจะเป็นเพราะพ้นช่วงตามกระแสแฟชั่นชาเขียว ประกอบกับวัฒนธรรมไทย ไม่ใช่วัฒนธรรมชา เหมือนจีน ญี่ปุ่น อังกฤษ อินเดีย ที่ผู้บริโภคคุ้นกับชามาแต่เล็กแต่น้อย และโดยพื้นฐานความนิยมรสชาติคนไทยก็ไม่ชอบรสขมแม้ชาเขียวที่ขายในไทย จะผสมรสชาติมีความหวานอยู่ก็ตาม แต่ก็ยังมีรสขมอยู่ดี แต่กรณีกาแฟนั้นเป็นเพราะคนไทยคุ้นกับรสชาติของการแฟมาตั้งแต่เด็กทั้งในรูปการดื่มโดยตรง และในรูปขนมประเภททอฟฟี่ นี่เป็นอุปสรรคสำคัญที่ในอดีต ตลาดเครื่องดื่มประเภทชาไม่ใหญ่มากนัก
ทั้งที่ยูนิลีเวอร์ ยักษ์ใหญ่สินค้ากลุ่มคอนซูเมอร์และอาหารทำการตลาดเครื่องดื่มประเภทชาต่อเนื่องมาหลายสิบปี นอดจากชาดำแบบชาฝรั่งลิปตันที่มีความสำเร็จในตลาดแล้ว เมื่อประมาณสิบสามปีที่ผ่านมา ลีเวอร์เคยพยายามสร้างตลาดชาดำแบบชาจีน เคยพยายามสร้างแคมเปญการตลาดเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคจาการดื่มกาแฟให้มาดื่มชา และให้ความรู้ผู้บริโภคชามีคุณประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย แต่ก็ไม่สำเร็จ
สำหรับชาเขียว เมื่อการเติบโตของตลาด กลับลดลงมากในเวลาอันสั้น จนเหลือแบรนด์ที่ยังทำตลาดต่อเนื่องอยู่ 3 แบรนด์คือ โออิชิ เป็นผู้นำตลาด ส่วนแบ่งในตลาดชาเขียวประมาณ 70% ยูนิฟส่วนแบ่งตลาดประมาณ 23% และเซนฉะของค่ายอายิโนะโมะโต๊ะ มีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 6%
ขณะเดียวกันก็มีผู้ท้าชิงรายใหม่เกิดขึ้นคือ นะมาชะ ที่เป็นแบรนด์ของยักษ์ใหญ่ในธุรกิจเบียร์และเครื่องดื่มค่ายญี่ปุ่น คิริน จับมือกับโอสถสภาในไทย ตัดสินใจส่งชาเขียวนะมาชะบุกตลาดในไทยในช่วงตลาดชลอตัวมาก ใช้จุดขายความเป็นชาเขียวญี่ปุ่นพันธุ์แท้ พร้อมการเปิดตัวที่ยิ่งใหญ่ ใช้เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ เป็นพรีเซ็นเตอร์ มีโฆษณาทีวีต่อเนื่อง
คิรินใช้เงินเพื่อทำการตลาดนะมาชะสูงถึง 300 ล้านบาท สูงมากทีเดียวสำหรับชาเขียว
การทุ่มเงินบุกตลาดอย่างต่อเนื่องจริงจังของนะมาชะ ประกอบกับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มสำเร็จรูปของผู้บริโภคที่กลับมาบริโภคชาเขียวมากขึ้น อาจเป็นเพราะเข้าใจคุณประโยชน์ สลับกับเครื่องตื่มชนิดอื่นน่าจะเป็นผลทำให้ตลาดชาเขียวพลิกกลับมาโตเป็นเลขสองหลักอีกครั้ง
ช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ ชาเขียวโตประมาณ 15% ตัน ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการ โออิชิ กรุ๊ป จำกัด กล่าว
แม้การเติบโตจะไม่พรวดพราดเหมือนช่วงยุคทองในอดีต แต่การเริ่มกลับมาโตเป็นเลขสองหลักอีกครั้งของชาเขียวนับเป็นสัญญาณที่ดี
++ ชาดำบูม
ในช่วงที่ชาเขียวการเติบโตลดลงมากนั้น ชาดำกลับโตขึ้นอย่างเงียบๆ ชาดำโตมากถึงประมาณ 40% ตันกล่าว และเสรืมว่า นี่เป็นข้อมูลจาก เอ.ซี. นีลเส็น
จากตลาดรวมของชาประมาณสี่พันกว่าล้านนั้น เป็นชาเขียวประมาณ 80% ชาดำประมาณ 20% ผู้นำในตลาดชาดำ คือลิปตันของยูนิลีเวอร์ครองส่วนแบ่งตลาดประมาณ 80% อันดับสองคือเนสทีของเนสท์เล่
การเติบโตของตลาดชาดำอาจจะมาจากกลุ่มคนหนุ่มสาวที่เริ่มคุ้นเคยกับรสชาติของชามากขึ้น และให้ความสนใจกับสุขภาพอย่างจริงจัง ประกอบกับกลยุทธ์ของยูนิลีเวอร์ที่จัดจำหน่ายผ่านเสริมสุขเข้าไปวางในร้านอาหารทั่วไป ส่งผลดีต่อตลาดของชาดำ และในด้านรสชาติ ลิปตันไอซ์ทีรสชามะนาว ก็เป็นชาดำที่มีรสชาติดีทีเดียว
ด้วยเหตุที่ตลาดชาดำโตมาก ตันจึงนำโออิชิรุกเข้าสู่ตลาดชาดำ โดยวางตลาด โออิชิ แบล็ค ทีเลมอน ด้วยการใช้เงินเพื่อทำกิจกรรมการตลาดและส่งเสริมการขายมากกว่า 50 ล้านบาท ในปีนี้
ผมคาดหมายว่า เราจะได้ส่วนแบ่งในตลาดชาดำประมาณ 30-40% ตันกล่าว
การรุกโดยตั้งเป้าเช่นนี้เท่ากับว่าโออิชิประกาศท้ารบยูนิลีเวอร์ที่เป็นผู้นำในตลาดนี้มาหลายสิบปีโดยตรง และวิสัยลีเวอร์นั้น เหมือนเสือที่ใครแหย่ไม่ได้เสียด้วย ขณะที่โออิชิเองก็มีกลยุทธ์การตลาดแพรวพราว ในการเข้าถึงผู้บริโภค
สงครามระหว่างสองค่ายนี้ที่น่าจะเกิดในไม่ช้า และอาจเป็นผลดีทำให้ตลาดชาดำเติบโตขึ้นอีก ซึ่งจะส่งผลดีต่อตลาดชาโดยรวม
http://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=179745
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4886
- ผู้ติดตาม: 0
การกลับมาของOishi
โพสต์ที่ 9
OISHI เผยตอนนี้มีฟรีโฟลทเพิ่มเป็นกว่า 10%
หลัง ผถห.บางกลุ่มทยอยขายหุ้นออกมา
นายตัน ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
(OISHI) เปิดเผยว่า แม้ก่อนหน้านี้บริษัทจะมีฟรีโฟลทค่อนข้างต่ำ แต่ในปัจจุบันมีผู้
ถือหุ้นบางกลุ่มได้ขายหุ้นออกมาทำให้สัดส่วนฟรีโฟลทเริ่มมากขึ้นเกินกว่าระดับ
10% แล้วดังนั้นในอนาคตจึงเชื่อว่าปริมาณหุ้นที่หมุนเวียนในตลาดจะเริ่มมากขึ้นและ
ไม่มีปัญหาเรื่องดังกล่าว
อย่างไรก็ดีเขากล่าวต่อถึงเรื่องที่นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ได้เข้ามาถือหุ้นใน
บริษัทฯ ว่า ทางบุคคลดังกล่าวไม่ได้เข้ามายุ่งในเรื่องเชิงการบริหารกิจการ แต่ใน
ทางกลับกันบริษัทกลับได้รับประโยชน์ในเรื่องการซื้อของและวัตถุดิบการผลิตที่มีต่อ
หน่วยลดลง
หลัง ผถห.บางกลุ่มทยอยขายหุ้นออกมา
นายตัน ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
(OISHI) เปิดเผยว่า แม้ก่อนหน้านี้บริษัทจะมีฟรีโฟลทค่อนข้างต่ำ แต่ในปัจจุบันมีผู้
ถือหุ้นบางกลุ่มได้ขายหุ้นออกมาทำให้สัดส่วนฟรีโฟลทเริ่มมากขึ้นเกินกว่าระดับ
10% แล้วดังนั้นในอนาคตจึงเชื่อว่าปริมาณหุ้นที่หมุนเวียนในตลาดจะเริ่มมากขึ้นและ
ไม่มีปัญหาเรื่องดังกล่าว
อย่างไรก็ดีเขากล่าวต่อถึงเรื่องที่นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ได้เข้ามาถือหุ้นใน
บริษัทฯ ว่า ทางบุคคลดังกล่าวไม่ได้เข้ามายุ่งในเรื่องเชิงการบริหารกิจการ แต่ใน
ทางกลับกันบริษัทกลับได้รับประโยชน์ในเรื่องการซื้อของและวัตถุดิบการผลิตที่มีต่อ
หน่วยลดลง
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4886
- ผู้ติดตาม: 0
การกลับมาของOishi
โพสต์ที่ 10
OISHI เชื่อ'โออิชิแบล็คที'ครองส่วนแบ่งตลาดชาดำได้ 30-40%
หนุนส่วนแบ่งตลาดรวมเพิ่มเป็น70% จากเดิมอยู่ที่ 65%
นายตัน ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
(OISHI) เปิดเผยว่า ในขณะนี้บริษัทได้มีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ชื่อว่า 'โออิชิแบล็คที' ที่
เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทชาดำ โดยตลาดชาดำในปัจจุบันมีการเติบโต 30-40%ต่อปี
บริษัทจึงคาดว่าจะสามารถครองส่วนแบ่งการตลาดชาประเภทนี้ได้ตามเป้าหมายที่
วางไว้ ซึ่งจะทำให้ส่วนแบ่งการตลาดชาพร้อมดื่มโดยรวมอยู่ที่ 70% จากปัจจุบันอยู่
ที่ 65%
นอกจากนี้บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาตลาดเพื่อจะออกผลิตภัณฑ์ชาตัวใหม่อีก
ภายในปีนี้ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์อาหารประเภทแช่แข็งโดยวางแผนจำหน่ายทางช่อง
การตลาดแก่ผู้บริโภค ได้แก่ สายการบินต่างๆ ร้านสะดวกซื้อเป็นต้น
หนุนส่วนแบ่งตลาดรวมเพิ่มเป็น70% จากเดิมอยู่ที่ 65%
นายตัน ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
(OISHI) เปิดเผยว่า ในขณะนี้บริษัทได้มีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ชื่อว่า 'โออิชิแบล็คที' ที่
เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทชาดำ โดยตลาดชาดำในปัจจุบันมีการเติบโต 30-40%ต่อปี
บริษัทจึงคาดว่าจะสามารถครองส่วนแบ่งการตลาดชาประเภทนี้ได้ตามเป้าหมายที่
วางไว้ ซึ่งจะทำให้ส่วนแบ่งการตลาดชาพร้อมดื่มโดยรวมอยู่ที่ 70% จากปัจจุบันอยู่
ที่ 65%
นอกจากนี้บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาตลาดเพื่อจะออกผลิตภัณฑ์ชาตัวใหม่อีก
ภายในปีนี้ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์อาหารประเภทแช่แข็งโดยวางแผนจำหน่ายทางช่อง
การตลาดแก่ผู้บริโภค ได้แก่ สายการบินต่างๆ ร้านสะดวกซื้อเป็นต้น
-
- Verified User
- โพสต์: 1288
- ผู้ติดตาม: 0
การกลับมาของOishi
โพสต์ที่ 11
เรื่องน้ำผลไม่ไม่แน่ใจครับ
..แต่มีตอนนึง นักศึษาถามเป็นความรู้ทั่วไป ว่า
ถ้าการใช้แบรนด์เดิมมากเกิน แบรน จะเสื่อมได้
คุณตันเลยบอกว่า แบรนของเรา คือ "ญีี่ปุ่น" และ "อร่อย"
ถ้าให้ทำโรตี ขายคงไม่ได้
น้ำผลไม้ ถ้ามันโยงเป็น สองคำที่ว่าได้ ....คงมีทางจะทำได้ครับ ได้ใช้เครื่องเดียวกันเลยด้วย เค้าบอกกลังารผลิตครึ่งหลัง จะกำไรล้วนๆ เพราะ มันมี fixed cost
..แต่มีตอนนึง นักศึษาถามเป็นความรู้ทั่วไป ว่า
ถ้าการใช้แบรนด์เดิมมากเกิน แบรน จะเสื่อมได้
คุณตันเลยบอกว่า แบรนของเรา คือ "ญีี่ปุ่น" และ "อร่อย"
ถ้าให้ทำโรตี ขายคงไม่ได้
น้ำผลไม้ ถ้ามันโยงเป็น สองคำที่ว่าได้ ....คงมีทางจะทำได้ครับ ได้ใช้เครื่องเดียวกันเลยด้วย เค้าบอกกลังารผลิตครึ่งหลัง จะกำไรล้วนๆ เพราะ มันมี fixed cost
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 1
การกลับมาของOishi
โพสต์ที่ 12
มาช่วยแก้ข่าวครับ ปูอัดกับเกี๊ยวซ่าไม่ใช่ chilled food ครับ เป็น frozenกำลังตีตลาด chilled food โดยใช้ OEM
ได้แก่ ปูอัด เกี๊ยวซ่า
อีกนิดนึง ... สงสัยความผิดผมเองที่หน้าเด็กไปนิด มีคนเข้าใจว่าเป็นนักศึกษาด้วย :lol:MindTrick เขียน:เรื่องน้ำผลไม่ไม่แน่ใจครับ
..แต่มีตอนนึง นักศึษาถามเป็นความรู้ทั่วไป ว่า
ถ้าการใช้แบรนด์เดิมมากเกิน แบรน จะเสื่อมได้
คุณตันเลยบอกว่า แบรนของเรา คือ "ญีี่ปุ่น" และ "อร่อย"
ถ้าให้ทำโรตี ขายคงไม่ได้
น้ำผลไม้ ถ้ามันโยงเป็น สองคำที่ว่าได้ ....คงมีทางจะทำได้ครับ ได้ใช้เครื่องเดียวกันเลยด้วย เค้าบอกกลังารผลิตครึ่งหลัง จะกำไรล้วนๆ เพราะ มันมี fixed cost
การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
http://www.yoyoway.com
- กระทิงแดง
- Verified User
- โพสต์: 952
- ผู้ติดตาม: 0
การกลับมาของOishi
โพสต์ที่ 13
[quote="yoyo"]
อีกนิดนึง ... สงสัยความผิดผมเองที่หน้าเด็กไปนิด มีคนเข้าใจว่าเป็นนักศึกษาด้วย
อีกนิดนึง ... สงสัยความผิดผมเองที่หน้าเด็กไปนิด มีคนเข้าใจว่าเป็นนักศึกษาด้วย
"The enemy is a very good teacher" Dalai Lama
"Confidence doesn't come from being right all the time; it comes
from surviving the many occasions of being wrong." B.N. Steenbarger
"Luck is where preparation meets opportunity"
"Confidence doesn't come from being right all the time; it comes
from surviving the many occasions of being wrong." B.N. Steenbarger
"Luck is where preparation meets opportunity"
-
- Verified User
- โพสต์: 1288
- ผู้ติดตาม: 0
การกลับมาของOishi
โพสต์ที่ 14
อ่า โทษทีครับ ผมดันไปติดคำจากในเอกสารที่แจก ก็ว่าอยู่ ทำไม ชิลๆกระทิงแดง เขียน: หน้านักศึกษา แต่สมองระดับ professor นะครับ... :lol: :lol: :lol:
ส่วนตอนคุณถาม ผมไม่้เห็นหน้าคุณน่ะครับ ได้ยินคำถามก็เอาคำพูดมาเฉยๆ ข้าน้อยขออภัย ศิษย์พี่
^
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
-
- Verified User
- โพสต์: 274
- ผู้ติดตาม: 0
การกลับมาของOishi
โพสต์ที่ 15
ขอบคุณครับMindTrick เขียน:กลับจาก opp day มาครับ
ผมไป อาจเก็บได้ไม่ตลอดงานนะครับ
ตอนนี้คุณตัน บอกว่า กำลังการผลิตชาเขียวตอนนี้ใช้แค่ครึ่ง เดียว เหลืออีกบาน
การส่งออกชาเขียว พอมี แต่ก็แค่ 5% ของยอดขายรวม ซึ่งไม่ได้หวังอะไรมาก เพราะเจอค่า shipping+tariff อ่วม
กำลังตีตลาด chilled food โดยใช้ OEM
ได้แก่ ปูอัด เกี๊ยวซ่า เพราะ จะได้ไม่ผลาญ fixed cost ไปปล่าวๆ(โรงงานที่ลุงทุนเผื่อขยายสาขาร้านอาหารโออิชิยังว่างเยอะ)
คุณตันบอกชัดว่าไม่มีแตกพาร์
ตอนนี้ยังไม่คิดจะทำธุรกิจอื่น งานหลักยังเป็น โออิชิ เพียงแต่มีการ"ลุงทุน" ด้วย(อะไร ที่ไหน ไม่ได้พูด)
ในระยะสั้นนี้ จะไม่ขยายออฟฟิส มันเปลือง เอาไว้ยอดขายเป็น 6-7พันล้าน ค่อยว่ากัน
เท่านี้ละครับที่ผมจับใจความมาได้
- Alastor
- Verified User
- โพสต์: 2590
- ผู้ติดตาม: 0
การกลับมาของOishi
โพสต์ที่ 16
อ่านกระทู้แล้วคิดถึงตัวเองเมื่อ 2 ปีก่อน ตอนนั้นผมก็ปลื้ม OISHI สุดๆไปเลย แทบจะกินทุกวัน ใครเตือนเรื่องหุ้นยังไงก็ไม่ฟัง ตอนนั้น ชาเขียว เป็นธุรกิจที่ Faddish แต่ผมตาบอดอ่ะ มองไม่เห็น T-T
พอเรียนรู้มากขึ้น ตอนนี้เริ่มจะเข้าใจแล้วว่า สินค้าพวกอุปโภคบริโภค Barrier of Entry มันต่ำนะครับ พอคนแรกประสบความสำเร็จ คนตามแห่ก็จะเข้ามาแข่งขัน กำไรจะสูงได้ไม่นาน
ถ้าใครสนใจ OISHI ผมแนะนำว่า จากงบการเงินให้มอง Quarterly Gross Margin & Quarterly Inventory Turnover Rate ถ้า Quarter ไหนทั้ง สองตัว เริ่มลด แสดงว่าขายสินค้ายากขึ้น กำไรเริ่มน้อยลงจากการแข่งขัน ถึงตอนนั้นลองคิดดูละกันว่าจะเป็นไงต่อ
ต้องยอมรับว่าคุณ ตัน ทำ Marketing ได้เก่งมาก ทำครบวงจรตั้งแต่ลูกค้า พนักงาน ยัน ผู้ถือหุ้น ไม่เคยได้ยินเรื่องไม่ดีเลย ผมละเชื่อสนิท -_-'
ก็ระวังอย่าให้ ความเชื่ออยู่เหนือความจริง นะครับ Good luck
พอเรียนรู้มากขึ้น ตอนนี้เริ่มจะเข้าใจแล้วว่า สินค้าพวกอุปโภคบริโภค Barrier of Entry มันต่ำนะครับ พอคนแรกประสบความสำเร็จ คนตามแห่ก็จะเข้ามาแข่งขัน กำไรจะสูงได้ไม่นาน
ถ้าใครสนใจ OISHI ผมแนะนำว่า จากงบการเงินให้มอง Quarterly Gross Margin & Quarterly Inventory Turnover Rate ถ้า Quarter ไหนทั้ง สองตัว เริ่มลด แสดงว่าขายสินค้ายากขึ้น กำไรเริ่มน้อยลงจากการแข่งขัน ถึงตอนนั้นลองคิดดูละกันว่าจะเป็นไงต่อ
ต้องยอมรับว่าคุณ ตัน ทำ Marketing ได้เก่งมาก ทำครบวงจรตั้งแต่ลูกค้า พนักงาน ยัน ผู้ถือหุ้น ไม่เคยได้ยินเรื่องไม่ดีเลย ผมละเชื่อสนิท -_-'
ก็ระวังอย่าให้ ความเชื่ออยู่เหนือความจริง นะครับ Good luck
Wir sind das Rar, der Stolz und der Wert
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 1
การกลับมาของOishi
โพสต์ที่ 17
16 สิงหาคม 2007
OISHIเร่ขายล็อคโฮมบุ๊กรายได้Q4
OISHIเตรียมประมูลขายล็อคโฮม เชื่อหากขายได้บุ๊กรายได้เข้ามาทันทีไตรมาส 4/2550 ด้านผู้บริหาร”ตัน ภาสกรนที”ใบ้ปีนี้รายได้แซงเป้าเป็น 4.4 พันล้านบาท หลังคู่แข่งชาเขียวลดลง และส่งสินค้าใหม่”โออิชิแบล็กทีเลมอน”ลุยตลาด และอาหารแช่แข็งลงห้างโลตัสเดือนก.ย. ส่วนเทคนิคโบรกแนะ”เก็งกำไร” ให้แนวรับ 23.80 บาท และแนวต้าน 24.50 บาท
นายตัน ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการ บริษัทโออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)OISHI เปิดเผยว่า บริษัทจะมีการประกาศขายอาคาร ล็อคโฮม ซอยทองหล่อ ซึ่งเป็นห้องจัดเลี้ยง และห้องคาราโอเกะ เนื่องจากมองว่าไม่ใช่ธุรกิจหลักของบริษัท และผลประกอบการของล็อคโฮมก็ไม่มีกำไร จึงตัดสินใจขาย ประกอบกับที่ดินบริเวณดังกล่าวมีราคาสูงขึ้น จึงเชื่อว่าเมื่อบริษัทขายออกไปจะทำให้มีกำไรที่ดีขึ้นเพราะที่ดินดังกล่าวซื้อมาในราคาต่ำมากในช่วงวิกฤติ โดยคาดว่ารายได้ดังกล่าวจะรับรู้เข้ามาไตรมาส4/2550
“ขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าราคาขายล็อคโฮมจะอยู่ที่ระดับใดเพราะบริษัทจะมีการประกาศให้ผู้ที่สนใจซื้อเข้ามาประมูลกัน ซึ่งคาดว่าจะบุ๊กรายได้ในไตรมาส4ปีนี้ โดยอาคารล็อคโฮมมีพื้นที่ประมาณ 4,000 ตารางเมตร ”นายตันกล่าว
สำหรับรายได้ปีนี้ของบริษัทมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 4,400 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าที่บริษัทตั้งเป้าไว้ที่ 4,000 ล้านบาท เนื่องจากตลาดชาเขียวมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง และคู่แข่งได้ลดจำนวนลง อีกทั้งบริษัทได้มีการออกสินค้าใหม่คือ โออิชิแบล็คที เลมอน หรือชาดำรสมะนาว ซึ่งมีอัตราการเติบโตสูงถึง 30-40% ต่อปี โดยคาดว่าบริษัทจะมีส่วนแบ่งการตลาดน้ำชาเขียว เพิ่ม 70% จากปัจจุบันที่มีอยู่ 64% นอกจากนี้จะวางจำหน่ายอาหารแช่แข็ง (Frozen Food) พร้อมบริโภค คือเกี๊ยวซ่า ภายในห้างโลตัสเดือนกันยายนนี้
รวมทั้งในปีนี้จะเปิดสาขาร้านโออิชิอีก 10 สาขา ซึ่งจะทำให้บริษัทมีสาขาในปีนี้เพิ่มเป็น 81-82 สาขา ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทมียอดขายในครึ่งปีหลังเพิ่มขึ้น 13% ซึ่งเท่ากับครึ่งปีแรก ซึ่งจะมีรายได้ทั้งปีนี้เพิ่มขึ้นประมาณ 13%จากปีก่อนที่มีรายได้รวม 3,968.64 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 189 ล้านบาท โดยสัดส่วนรายได้ปีนี้จะมาจากธุรกิจอาหาร 20% ธุรกิจเครื่องดื่ม 80% โดยในครึ่งปีแรก2550บริษัทมีรายได้ประมาณ 2,288.5 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 234 ล้านบาท
นายตัน กล่าวต่อว่า ในช่วงที่ผ่านบริษัทได้มีการปิดร้านอินแอนด์เอาท์ เดอะ เบเกอรี่ คาเฟ่ 21 สาขา ส่งผลให้ปัจจุบันเหลือเพียง 11 สาขาเพื่อลดต้นทุนลงเพราะมียอดขายไม่เติบโตมากนัก โดยในครึ่งปีหลังแรก บริษัทใช้งบลงทุนไปแล้ว 61 ล้านบาท จากที่ตั้งงบขยายสาขา 100 ล้านบาท และซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์ 70 ล้านบาท
ทั้งนี้จากที่SOMERS (U.K.) LIMITED ได้มีการขายหุ้นของบริษัทออกมาจำนวน 4% ในตลาดหลักทรัพย์ฯจากที่ถืออยู่ 6% เชื่อว่าจะช่วยให้หุ้นของบริษัทมีปริมาณหุ้นที่หมุนเวียนในตลาด (ฟรีโฟลท)เพิ่มขึ้น เป็นไปตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯจากเดิมที่มีฟรีโฟลทต่ำประมาณ 8% ทำให้ปัจจุบันเหลือหุ้นเพียง 2%
ด้านนายรณกฤต สารินวงศ์ บริษัทหลักทรัพย์แอ๊ดคินซัน จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า สัญญาณเทคนิคหุ้นOISHI เชื่อว่ายังมีแนวโน้มจะปรับตัวเพิ่มขึ้นไปได้ต่อเนื่อง โดยให้แนวรับ 23.80 บาท และแนวต้าน 24.50 บาท แนะนำ”เก็งกำไรตามกรอบเทคนิค”
OISHI(15 ส.ค.)ปิดที่ 24.00 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาท หรือ 2.13% มูลค่าซื้อขาย 23.24 ล้านบาท
_
OISHIเร่ขายล็อคโฮมบุ๊กรายได้Q4
OISHIเตรียมประมูลขายล็อคโฮม เชื่อหากขายได้บุ๊กรายได้เข้ามาทันทีไตรมาส 4/2550 ด้านผู้บริหาร”ตัน ภาสกรนที”ใบ้ปีนี้รายได้แซงเป้าเป็น 4.4 พันล้านบาท หลังคู่แข่งชาเขียวลดลง และส่งสินค้าใหม่”โออิชิแบล็กทีเลมอน”ลุยตลาด และอาหารแช่แข็งลงห้างโลตัสเดือนก.ย. ส่วนเทคนิคโบรกแนะ”เก็งกำไร” ให้แนวรับ 23.80 บาท และแนวต้าน 24.50 บาท
นายตัน ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการ บริษัทโออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)OISHI เปิดเผยว่า บริษัทจะมีการประกาศขายอาคาร ล็อคโฮม ซอยทองหล่อ ซึ่งเป็นห้องจัดเลี้ยง และห้องคาราโอเกะ เนื่องจากมองว่าไม่ใช่ธุรกิจหลักของบริษัท และผลประกอบการของล็อคโฮมก็ไม่มีกำไร จึงตัดสินใจขาย ประกอบกับที่ดินบริเวณดังกล่าวมีราคาสูงขึ้น จึงเชื่อว่าเมื่อบริษัทขายออกไปจะทำให้มีกำไรที่ดีขึ้นเพราะที่ดินดังกล่าวซื้อมาในราคาต่ำมากในช่วงวิกฤติ โดยคาดว่ารายได้ดังกล่าวจะรับรู้เข้ามาไตรมาส4/2550
“ขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าราคาขายล็อคโฮมจะอยู่ที่ระดับใดเพราะบริษัทจะมีการประกาศให้ผู้ที่สนใจซื้อเข้ามาประมูลกัน ซึ่งคาดว่าจะบุ๊กรายได้ในไตรมาส4ปีนี้ โดยอาคารล็อคโฮมมีพื้นที่ประมาณ 4,000 ตารางเมตร ”นายตันกล่าว
สำหรับรายได้ปีนี้ของบริษัทมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 4,400 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าที่บริษัทตั้งเป้าไว้ที่ 4,000 ล้านบาท เนื่องจากตลาดชาเขียวมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง และคู่แข่งได้ลดจำนวนลง อีกทั้งบริษัทได้มีการออกสินค้าใหม่คือ โออิชิแบล็คที เลมอน หรือชาดำรสมะนาว ซึ่งมีอัตราการเติบโตสูงถึง 30-40% ต่อปี โดยคาดว่าบริษัทจะมีส่วนแบ่งการตลาดน้ำชาเขียว เพิ่ม 70% จากปัจจุบันที่มีอยู่ 64% นอกจากนี้จะวางจำหน่ายอาหารแช่แข็ง (Frozen Food) พร้อมบริโภค คือเกี๊ยวซ่า ภายในห้างโลตัสเดือนกันยายนนี้
รวมทั้งในปีนี้จะเปิดสาขาร้านโออิชิอีก 10 สาขา ซึ่งจะทำให้บริษัทมีสาขาในปีนี้เพิ่มเป็น 81-82 สาขา ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทมียอดขายในครึ่งปีหลังเพิ่มขึ้น 13% ซึ่งเท่ากับครึ่งปีแรก ซึ่งจะมีรายได้ทั้งปีนี้เพิ่มขึ้นประมาณ 13%จากปีก่อนที่มีรายได้รวม 3,968.64 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 189 ล้านบาท โดยสัดส่วนรายได้ปีนี้จะมาจากธุรกิจอาหาร 20% ธุรกิจเครื่องดื่ม 80% โดยในครึ่งปีแรก2550บริษัทมีรายได้ประมาณ 2,288.5 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 234 ล้านบาท
นายตัน กล่าวต่อว่า ในช่วงที่ผ่านบริษัทได้มีการปิดร้านอินแอนด์เอาท์ เดอะ เบเกอรี่ คาเฟ่ 21 สาขา ส่งผลให้ปัจจุบันเหลือเพียง 11 สาขาเพื่อลดต้นทุนลงเพราะมียอดขายไม่เติบโตมากนัก โดยในครึ่งปีหลังแรก บริษัทใช้งบลงทุนไปแล้ว 61 ล้านบาท จากที่ตั้งงบขยายสาขา 100 ล้านบาท และซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์ 70 ล้านบาท
ทั้งนี้จากที่SOMERS (U.K.) LIMITED ได้มีการขายหุ้นของบริษัทออกมาจำนวน 4% ในตลาดหลักทรัพย์ฯจากที่ถืออยู่ 6% เชื่อว่าจะช่วยให้หุ้นของบริษัทมีปริมาณหุ้นที่หมุนเวียนในตลาด (ฟรีโฟลท)เพิ่มขึ้น เป็นไปตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯจากเดิมที่มีฟรีโฟลทต่ำประมาณ 8% ทำให้ปัจจุบันเหลือหุ้นเพียง 2%
ด้านนายรณกฤต สารินวงศ์ บริษัทหลักทรัพย์แอ๊ดคินซัน จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า สัญญาณเทคนิคหุ้นOISHI เชื่อว่ายังมีแนวโน้มจะปรับตัวเพิ่มขึ้นไปได้ต่อเนื่อง โดยให้แนวรับ 23.80 บาท และแนวต้าน 24.50 บาท แนะนำ”เก็งกำไรตามกรอบเทคนิค”
OISHI(15 ส.ค.)ปิดที่ 24.00 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาท หรือ 2.13% มูลค่าซื้อขาย 23.24 ล้านบาท
_
- SEHJU
- Verified User
- โพสต์: 1238
- ผู้ติดตาม: 0
ดี
โพสต์ที่ 21
ชอบคำนี้ครับ จะจำไว้ใช้ตลอดไปเลยครับAlastor เขียน: ก็ระวังอย่าให้ ความเชื่ออยู่เหนือความจริง นะครับ Good luck
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4886
- ผู้ติดตาม: 0
การกลับมาของOishi
โพสต์ที่ 24
มี ข่าวดีจะบอกนะ เรื่องWealth เจ้าของของคุณตัน
ไม่ต้องห่วงว่าคุณตันจะตัน ทํางานไม่เต็มที่นะ
เท่าที่ทราบมาว่า wealthหลักของเค้าเป็น หลักทรัพย์ครับ
ซึงมีผู้จัดการกองทุนบริหารให้ เป็น ตราสารหนี้ซะส่วนใหญ่
ส่วนresort นั้นลูกสาวบริหารครับเค้าไม่ค่อยได้ยุ่งเท่าใหร่ครับ
ดังนั้นเค้าจึงเอากําลังมาลุย โออิชิต่อเพราะสร้างมากับมือความrelationshipมันสูงนะครับ
ไม่ต้องห่วงว่าคุณตันจะตัน ทํางานไม่เต็มที่นะ
เท่าที่ทราบมาว่า wealthหลักของเค้าเป็น หลักทรัพย์ครับ
ซึงมีผู้จัดการกองทุนบริหารให้ เป็น ตราสารหนี้ซะส่วนใหญ่
ส่วนresort นั้นลูกสาวบริหารครับเค้าไม่ค่อยได้ยุ่งเท่าใหร่ครับ
ดังนั้นเค้าจึงเอากําลังมาลุย โออิชิต่อเพราะสร้างมากับมือความrelationshipมันสูงนะครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
การกลับมาของOishi
โพสต์ที่ 26
http://www.manager.co.th/SMEs/ViewNews. ... 0000096965วัดชีพจร "โออิชิ" ฤา "ตัน"ขาลง?
เส้นทาง "ตัน" เจ้าพ่อชาเขียวพร้อมดื่ม หลังเป็นเพียงมือปืนรับจ้างในอาณาจักร "โออิชิ"
ท่ามกลางสถานการณ์ตลาดเครื่องดื่มขาลง การต่อยอดแบรนด์ที่แข็งแกร่ง จากธุรกิจชาเขียวที่เป็นผู้คุมเกม ไปสู่สมรภูมิใหม่ในเซกเมนต์ชาดำ ที่พลิกชะตาเปลี่ยนบทบาทจากผู้นำตลาดเป็นผู้ตาม
ติดตามภารกิจสร้างทางรอด! เบนเขมโฟกัสเพิ่มสัดส่วนกลุ่มอาหาร ผลักดันขึ้นเป็นธุรกิจสร้างรายได้
แม้ว่า โออิชิ จะดำเนินธุรกิจเครื่องดื่ม และอาหาร แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า "ชาเขียวพร้อมดื่ม" เป็นธุรกิจ
จุดเริ่มต้นที่สร้างชื่อให้กับ ตัน ภาสกรนที สร้างเนื้อสร้างตัวไต่อันดับขึ้นมาเป็น "เสี่ยตัน" เป็นเศรษฐีใหม่ในปัจจุบัน และยิ่งล่ำซำมากขึ้นหลังจาก "ทีซีซี กรุ๊ป ของ เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี เข้ามาเทกโอเวอร์ "โออิชิ กรุ๊ป" (OISHI) ทุ่มเงินกว่า 3,300 ล้านบาท เพื่อซื้อหุ้น 55% จาก "ตัน ภาสกรนที" ในเดือนมกราคม 2549
การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ถือหุ้นดังกล่าวส่งผลทำให้ "แม่ทัพใหญ่โออิชิ" เปลี่ยนสถานะจากเป็นเจ้าของกิจการ 100% มารับบทบาทเป็นมือปืนรับจ้าง บริหารธุรกิจเครื่องดื่มและอาหารภายใต้แบรนด์ "โออิชิ" ที่ตนเองปั้นมากับมือ และที่โดดเด่นทำให้ "โออิชิ" แจ้งเกิดก็คือเป็นแบรนด์แอมบาสซาเดอร์ การนำตนเองเข้าไปผูกติดกับแบรนด์ ซึ่งเป็นการสร้างแบรนด์ ตัน และตัวสินค้าให้เป็นหนึ่งเดียวอย่างเหนียวแน่น และเมื่อแบรนด์ "โออิชิ" เติบโตจนถึงจุดสูงสุด ได้ออกลูกออกหลานต่อยอดไปสู่ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มกลุ่มใหม่ๆ
ในปัจจุบัน บทบาทของ ตัน ต้องเปลี่ยนจากผู้นำ กลายเป็นผู้ตามมากขี้น เพราะธุรกิจชาเขียวที่เคยสร้างรายได้อย่างงดงามเป็นช่วงขาลง เมื่อกระแสความนิยมชาเขียวลดลง ส่งผลทำให้ขนาดตลาดที่เคยขึ้นสูงสุดมูลค่าตลาดระดับ 1 หมื่นล้านบาท ลดฮวบมาเหลือเพียง 4,000 ล้านบาท
สงครามชาเขียวที่เคยแข่งขันกันอย่างรุนแรง เพราะเจ้าตลาดโออิชิ เปิดเกมส่งโปรโมชั่นแคมเปญ "รวยฟ้าผ่า 30 ฝา 30 ล้าน" ออกมาในปี 2545 ได้ผ่านช่วงพีคสุดขีดและค่อยๆลดกระแสความแรงลงตามลำดับ
ทุกค่ายทั้งผู้เล่นในตลาดฝั่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มอัดลม ที่อดใจไม่ไหวหันมาปั้นแบรนด์ใหม่ลงเล่นในตลาดชาเขียวทั้งค่ายโคคา โคล่า ที่ส่ง "ชิเซน" ตามติดด้วย "โมชิ" ของค่ายเบียร์สิงห์
ซึ่งสุดท้ายแล้วทั้ง 2 ค่าย ก็ยอมยกธงขาวขอวางมือจากตลาดชาเขียวหันไปเอาดีในเครื่องดื่มที่ตนเองถนัดเช่นเดิม
สภาพตลาดชาเขียววันนี้ จากเดิมที่มีผู้เล่นในตลาดมากกว่า 20 แบรนด์ ปัจจุบันมีเพียงผู้เล่นหลักที่มุ่งเน้นการสร้างภาพลักษณ์แบรนด์เพื่อหวังผลทางด้านแบรนด์ในระยะยาวเพียง 4-5 แบรนด์ทั้ง โออิชิ ยูนิฟ เชนย่า เซนชะ นะมาชะและฟูจิ โดยผู้นำตลาดยังคงเป็น "โออิชิ" ที่รักษาส่วนแบ่งตลาดกว่า 60% ได้อย่างเหนียวแน่น
สำหรับการเคลื่อนไหวของตัวจริงที่อยู่ในตลาดขณะนี้ 2 ค่ายหลังมีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง โดยนะมาชะ ของสยาม คิริน ยักษ์เครื่องดื่มจากญี่ปุ่น ทุ่มงบการตลาดสูงถึง 150 ล้านบาท เพื่อสื่อสารการตลาดผ่านคาแรกเตอร์แพนด้า สื่อสารกับผู้บริโภค ส่วนค่ายอาหารญี่ปุ่นก็ออกมารุกหนัก ด้วยการสร้างการจดจำแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักผ่านภาพยนตร์โฆษณาผ่านสื่อทีวี อีกทั้งขยายช่องทางจำหน่ายเพิ่มเติมจากที่มีจำหน่ายเฉพาะร้านอาหารญี่ปุ่นฟูจิไปสู่ช่องทางโมเดิร์นเทรด
การรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวนั้น มีการแตกไลน์ไปหาเครื่องดื่มเซกเมนต์ใหม่ๆ โดยอาศัยแบรนด์ "โออิชิ" ที่มีความแข็งแกร่งจากชาเขียวต่อยอดไปสู่ธุรกิจเครื่องดื่ม 3 ขา ที่เริ่มต้นจากชาเขียว และค่อยๆเสริมทัพตามมา โดยสยายปีกไปสู่เครื่องดื่มเซกเมนต์ใหม่ๆ ทั้งเครื่องดื่ม ฟังก์ชันนัลดริงก์ ภายใต้แบรนด์ อะมิโน โอเค และล่าสุดปิดท้ายด้วยการเปิดตัวน้ำผลไม้ เซกิ ทว่า แบรนด์ "โออิชิ" ยังคงเป็นผลิตภัณฑ์หลักที่สร้างรายได้ให้กลุ่มเครื่องดื่มทั้งหมด
รวมทั้งวางกลยุทธ์ Brand Extention แตกแบรนด์ "โออิชิ" ขยายแนวรุกไปสู่ตลาดชาพร้อมดื่มทุกเซกเมนต์ ซึ่งเป็นโมเดลที่ไปในทางเดียวกับบริษัทชาที่ญี่ปุ่น ซึ่งจะมีชาพร้อมดื่มออกมาทำตลาดครบทุกแคทิกอรี่ และวางตำแหน่งแบรนด์ "โออิชิ" ให้เป็นสินค้าชาพร้อมดื่มทุกประเภท
สำหรับแนวทางการออกสินค้าใหม่ จะใช้เวลาว่างจากการตรากตรำงานวางแผนนโยบายการทำธุรกิจให้แบรนด์ติดอันดับในใจผู้บริโภคคนไทยคือ การบินไปดูงานในต่างประเทศถึงกระแสความนิยมในเครื่องดื่มซึ่งจะนำมาเป็นแนวทางในการแตกไลน์เครื่องดื่มกลุ่มใหม่ๆของโออิชิ
"การมองเทรนด์เครื่องดื่มที่จะเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยแต่ละเซกเมนต์นั้น จะศึกษาจากตลาดเครื่องดื่มประเทศเพื่อนบ้านรอบๆเป็นเข็มทิศในการเปิดตัวเครื่องดื่มแต่ละประเภทออกมาทำตลาด และถ้าเครื่องดื่มประเภทไหนติดตลาดในประเทศญี่ปุ่น หรือไต้หวัน รับรองได้ว่ากระแสความนิยมนั้น จะนำมาใช้ที่เมืองไทยได้อย่างแน่นอน " นั่นเป็นการให้สัมภาษณ์ของ ตัน ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ที่เคยกล่าว
น่าสนใจว่า หลังจากชาเขียวพร้อมดื่มที่มีการต่อยอดแบรนด์ "โออิชิ" ไปในเครื่องดื่มเซกเมนต์ต่างๆนั้น โออิชิ มีอันจะต้องเปลี่ยนสถานะเป็นผู้ตาม จากบทบาทเดิมที่เป็นผู้นำในตลาด "ชาเขียว" พร้อมดื่มมานานอย่างถาวร
การเปลี่ยนสถานะเป็นผู้ตามนั้นมีตั้งแต่การเปิดตัว "อะมิโน โอเค" เข้าไปแบ่งเค้กในตลาดฟังก์ชันนัลดริงก์ ซึ่งเป็นเครื่องดื่มผสมวิตะมิน หรือวอเตอร์พลัส ที่ยูนิฟ ไอเฟิร์ม เป็นรายแรกที่ส่งสินค้ามาทำตลาดตามกระแสความนิยมในประเทศญี่ปุ่น
สำหรับการเติบโตของตลาดฟังก์ชันนัลดริงก์ ในช่วงแรกดูเหมือนจะไปได้ดี เพราะมีผู้เล่นรายใหม่เริ่มทยอยเปิดตัวสินค้าออกตามกันมา อาทิ บีอิ้ง ของเบียร์สิงห์ ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวทำให้ "อะมิโน โอเค" ถูกวางบทบาทให้เป็น Rising Star ของโออิชิ แต่จนแล้วจนรอดฟังก์ชันนัลดริงก์ ก็ยังไม่แจ้งเกิดแบบตูมตามเหมือนปรากฏการณ์ของชาเขียวพร้อมดื่ม อย่างไรก็ตาม ภายในปีนี้มีแผนจะออกสินค้าตัวใหม่ เป็นเครื่องดื่มภายใต้แบรนด์โออิชิอีก 1 ตัว และจะมีหนังโฆษณาของเครื่องดื่ม"อะมิโน โอเค" เพื่อสร้างการรับรู้และจดจำแบรนด์ให้กับผู้บริโภค
ขณะที่การขยายแนวรุกเข้าไปในตลาดน้ำผลไม้ที่มีผู้เล่นรายใหญ่อยู่จำนวนมากทั้ง ทิปโก้และมาลีที่เน้นจุดขายฟังก์ชันนัลเพื่อสุขภาพ และให้ความสดชื่นตามมาเป็นลำดับนั้น โออิชิได้เปิดตัว "เซกิ"ลงมาทำตลาดท่ามกลางกระแสความนิยม "น้ำผลไม้" เช่นกัน โดยตลาดน้ำผลไม้ที่ "เซกิ" วางเป้าหมายนั้น ถือว่าเป็นตลาดที่มีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาก และเป็นตลาดน้ำผลไม้วางจุดขายเบเนฟิตที่เป็นเครื่องดื่มให้ความสดชื่น ซึ่งมีสแปลชและทรอปิคานา เป็นผู้ทำตลาดอยู่ก่อน สำหรับแผนการตลาดของ เซกิ วางแผนในช่วงครึ่งปีหลัง จะเปิดตัวชาเขียว รสชาติใหม่ 1 รสชาด รวมถึงน้ำผลไม้รสชาดใหม่ภายใต้แบรนด์เซกิอีก 1 รสชาติ เพื่อเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้บริโภค
ยิ่งกว่านั้น ในตลาด "ชาดำพร้อมดื่ม" ซึ่งเป็นสมรภูมิใหม่ที่มี ลิปตัน เป็นผู้คุมเกมครองความเป็นผู้นำตลาด ก็เป็นอีกหนึ่งเส้นทางที่ โออิชิ จะต้องเผชิญกับบทบาทผู้ตาม ก่อนที่จะไต่อันดับขึ้นมาเป็นผู้นำตลาดตามเป้าหมายที่วางไว้
การเปิดเกมเข้าสู่สมรภูมิ "ชาดำ" เป็นอีกหนึ่งเซกเมนต์ล่าสุดที่อยู่ในธุรกิจชาพร้อมดื่ม ที่ "โออิชิ" สยายปีกเข้าไปลงหลักปักฐานด้วยการเปิดตัว "แบล็กที เลมอน" หรือ "ชาดำรสมะนาว" แบบกล่องยูเอชที และขวดเพ็ต โดยการเพิ่มสินค้าในกลุ่มชาพร้อมดื่มให้ครบไลน์สินค้า ใช้งบ 50 ล้านบาทในช่วง 3 เดือนแรกจากงบตลาดรวมทั้งปี 400 ล้านบาท ส่วนเหตุผลที่ทำให้ต้องมีการเคลื่อนไหวแบรนด์ "โออิชิ" ด้วยการแตกไลน์จากตลาดชาเขียวไปสู่ตลาดชาดำ ภายใต้คอนเซ็ปต์ สดชื่นยามบ่ายดื่มได้ทุกเพศทุกวัย
ประการแรก เพื่อขยายฐานแบรนด์ "โออิชิ" ไปหาลูกค้ากลุ่มใหม่ เพราะตลาดชาดำ มีกลุ่มเป้าหมายที่กว้างทั้งผู้ใหญ่ วัยทำงาน และเน้นดื่มเพื่อความสดชื่น สร้างความกระตือรือร้นทดแทนกาแฟได้ ส่วนลูกค้าของตลาดชาเขียว จะมีอายุน้อยและเน้นเรื่องสุขภาพเป็นหลัก
เพราะหลังจากขาลง ชาเขียว "โออิชิ" พยายามแก้เกมเพื่อกระตุ้นตลาดให้มีการเคลื่อนไหวออกมาเป็นฉากๆ ทั้งเน้นไปที่การสร้างแบรนด์ และการออกชาเขียวพร้อมดื่มรสชาติใหม่ๆออกมาอย่างต่อเนื่อง การจัดกิจกรรมโคแคมเปญโปรโมชั่นกับสินค้าต่างๆ รวมทั้งการขยายฐานกลุ่มผู้ดื่มชาเขียว การขยายช่องทางการตลาดในกลุ่มผู้บริโภคใหม่ เช่น กลุ่มครอบครัว โดยออกแพกเกจจิ้งใหม่ กล่องยูเอชทีขนาด 1 ลิตรและผู้บริโภคในต่างจังหวัด ในกล่องขนาด 160 ซีซี รวมถึงการรีแบรนดิ้งแพกเกจจิ้งใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคเป้าหมายกลุ่มใหม่ๆ
ดังนั้นการรักษาส่วนแบ่งตลาดและความเป็นเจ้าตลาดชาพร้อมดื่ม โดย"แบล็กที เลมอน" ที่ตั้งเป้าชิงส่วนแบ่งตลาดชาดำในปีแรกประมาณ 30-40% จะช่วยให้ "โออิชิ" รักษาบัลลังก์ความเป็นผู้นำตลาดชาพร้อมดื่ม ครอบครองส่วนแบ่งในตลาดชาพร้อมดื่มไว้ได้เบ็ดเสร็จถึง 70% จากปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาด 64% ของมูลค่าตลาดรวมของชาพร้อมดื่ม 4,000 ล้านบาท
ประการที่สอง มีแนวโน้มที่ชี้ให้เห็นว่า ตลาดชาดำพร้อมดื่มจะกลับมาอีกครั้ง เพราะหลังจากที่กระแสความนิยมชาเขียวลดลง ก็ส่งผลทำให้สัดส่วนของตลาดชาดำมีขนาดตลาดที่เพิ่มขึ้น ตัวเลขอัตราการเติบโตของชาดำช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมานั้น มีการเติบโตถึง 30-40% จากเดิมมีอัตราการเติบโตราว 10% จากฐานตลาดที่ยังเล็กอยู่ ขณะที่ชาเขียวมีการเติบโตเพียง 15-20% ส่วนขนาดตลาดชาดำมีสัดส่วนประมาณ 20% และชาเขียว มีสัดส่วน 80% จากมูลค่าตลาดชาพร้อมดื่ม 4,000 ล้านบาท
ประการที่สาม ก่อนหน้านี้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาชาดำเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับแรกของชาพร้อมดื่ม และเมื่อชาเขียวเข้ามาเป็นเครื่องดื่มสุดฟีเวอร์ของผู้บริโภค "ลิปตัน ไอซ์ที" ซึ่งเป็นผู้นำในตลาดชาดำค่อยๆเริ่มลดบทบาทการทำกิจกรรมการตลาดไปปล่อยให้ชาเขียวเข้ามาแทนที่
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
- Linzhi
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1522
- ผู้ติดตาม: 1
การกลับมาของOishi
โพสต์ที่ 27
อืมม ผมไม่อยากให้เสียอารมณ์กันนะครับ
แต่ว่าเท่าที่เคยถือหุ้นตัวนี้ แล้วตาม ๆ อยู่บ้าง
ธุรกิจเค้าขึ้นลงเร็วเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เครื่องดื่มหรืออาหาร
สังเกตจากแบรนด์ที่ขยายเปิดใหม่และหดตัวทยอยปิดลง
จะบอกว่าเป็นข้อดีก็เห็นด้วยครับ แต่สำหรับ VI ผมว่าประเมินมูลค่ายากเหมือนกันนะ ถ้าถือไม่ยาว ผมว่าโอเคเลย น่าจะกำไรต้น ๆ รอบ แต่ปลาย ๆ คงอืด
แต่ไม่ได้บอกว่าราคาตอนนี้แพงหรือถูกนะครับ เพราะไม่รู้ :oops:
แต่ว่าเท่าที่เคยถือหุ้นตัวนี้ แล้วตาม ๆ อยู่บ้าง
ธุรกิจเค้าขึ้นลงเร็วเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เครื่องดื่มหรืออาหาร
สังเกตจากแบรนด์ที่ขยายเปิดใหม่และหดตัวทยอยปิดลง
จะบอกว่าเป็นข้อดีก็เห็นด้วยครับ แต่สำหรับ VI ผมว่าประเมินมูลค่ายากเหมือนกันนะ ถ้าถือไม่ยาว ผมว่าโอเคเลย น่าจะกำไรต้น ๆ รอบ แต่ปลาย ๆ คงอืด
แต่ไม่ได้บอกว่าราคาตอนนี้แพงหรือถูกนะครับ เพราะไม่รู้ :oops:
- vichit
- Verified User
- โพสต์: 15833
- ผู้ติดตาม: 0
การกลับมาของOishi
โพสต์ที่ 28
ปรัชญาธุรกิจ "ตัน ภาสกรนที" (ตอนที่ 1) - "โออิชิ" กลับมาแล้ว...แต่ยังไม่คงเดิม
หลังเดินมาถึงครึ่งทาง ปี 2550 ผลประกอบการ "โออิชิ" ที่โชว์ฟอร์มการปรับตัวแบบ "เทิร์นอะราวด์" 2 ไตรมาสติดต่อกัน งวด 6 เดือนแรกปีนี้ มีรายได้ 2,288 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 262 ล้านบาท หรือ 12.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 234 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 166.3%
---------------------------------------------
: "ชีวิตนี้คุณตายได้กี่ครั้ง ถ้าตายได้หนเดียว อะไรเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง" (ล้อมกรอบใต้รูป หรือข้างๆ รูป ตัน)
---------------------------------------------
นับเป็นการฟื้นตัวของ "โออิชิ" หลังจากผ่าน "จุดต่ำสุด" ในปีที่แล้ว ที่กำไรทั้งปี 2549 เหลือแค่ 189 ล้านบาท ถือเป็นยาชูกำลังขนานเอก ให้ "เจ้าพ่อชาเขียว" ตัน ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการ บมจ.โออิชิ กรุ๊ป กลับมามั่นใจขึ้นอีกครั้ง
ชีวิตโลดโผนทางธุรกิจของ "โออิชิ" ทำให้หลายคนสงสัยความสำเร็จของตันว่า ได้มาเพราะ "โชคช่วย" ไม่ก็มาเพราะกระแส "ชาเขียวฟีเวอร์"
คำปรามาสเหล่านี้ ตันระบายความรู้สึกว่า การที่ปีนี้ (2550) เรากลับมาได้ อย่างน้อยที่สุด มันพิสูจน์ว่าเราไม่ได้มากับแฟชั่นแล้วก็จากไป
กำไรที่เพิ่มขึ้น ตันบอกว่า ส่วนหนึ่งมาจากคู่แข่งในสมรภูมิชาเขียวเหลืออยู่เพียงไม่กี่ราย ทำให้การใช้งบการตลาดเท่าเดิม แต่ได้ผลลัพธ์ที่มากขึ้น
ความหมายของตัน ก็คือ มีเหลือแต่ "เรียลดีมานด์" ส่วน "ฟองสบู่" ถูกกระแสน้ำขึ้น-น้ำลง พัดพาไป (เจ๊ง) หมดแล้ว ส่วนเจ้าใหม่ก็เริ่ม "แหยง" ที่จะเข้ามา
นี่เอง ทำให้ตันมีความเชื่อลึกๆ ว่า หลังผ่านมรสุมลูกที่เพิ่งผ่านไป ย่อมเป็นบทพิสูจน์ว่า การทุ่มเทสร้าง "แบรนด์โออิชิ" อย่างหนักในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คือ หนทางที่ถูกต้องในแง่ของการมี "ที่ยืน" ในตลาดอย่างมั่นคง ส่วนฐานลูกค้าที่เหลืออยู่ก็ล้วนแต่เป็น "พันธุ์แท้" ไม่ใช่พวก "ขาจร"
หลังจากตลาดเริ่มนิ่งและหมดยุคกระแสชาเขียวฟีเวอร์ ตัน ตั้งเป้าหมายการเติบโตของโออิชิ ปีละ 10-20% ตามพื้นฐานแท้จริงซักที ในปีนี้ (2550) ตั้งเป้ารายได้โออิชิไว้ที่ 4,000 ล้านบาท เฉียดฉิวกับปี 2549 แต่ตัวเลข "กำไรสุทธิ" ทั้งปี น่าจะเติบโตขึ้นมา 100%
พร้อมทั้งเตรียมขยายสาขาร้านอาหารอีก 10 แห่ง และเปิดตัวสินค้าใหม่ 2 ตัว ล่าสุด เพิ่งเปิดตัวไป คือ เครื่องดื่มชาดำ "โออิชิ แบล็คที เลมอน"
"โออิชิ ดีขึ้นแล้ว เรากลับมาแล้ว...แต่ยังไม่เท่าเดิม" ตัน บอกกับ BizWeek และกล่าวต่อว่า เป็นการกลับมาอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป แต่ยังไม่มี "สินค้าพระเอกตัวใหม่" ที่จะสร้างกระแสเปรี้ยงปร้าง!!
นักคิดนอกกรอบอย่าง ตัน หรือว่ายังหาวิธี "ผ่าทางตัน" ไม่เจอ บ้างก็ว่า หลังผ่านวิกฤติกำไรหล่นฮวบฮาบ ทำให้ดีกรีความเป็น "นักเสี่ยงมืออาชีพ" ในตัวเขา ลดน้อยถอยลงไป
ยิ่งตันขายหุ้นใหญ่ให้ "เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี" ไปแล้ว บทบาทแบบ "วันแมนโชว์" หรือ "เสี่ยสั่งลุย" ในอดีตต้องจูนคลื่นความถี่ลงมา และการกลับมาของ "โออิชิ" รอบนี้ เห็นได้ชัดว่า ตันต้อง "คิด" และ "ชั่งใจ" มากขึ้น
"เจ้าพ่อโออิชิ" บอกว่า เราทำของเราไป เขา(เจ้าสัวเจริญ)ไม่เคยยุ่ง แค่ส่ง "ซีเอฟโอ" (มือการเงิน) เข้ามาคนเดียว
"วันนี้ ไม่ใช่ว่ากล้าเสี่ยงน้อยลงกว่าเดิม แต่ต้องให้มันถึงเวลาก่อน ถ้ามั่นใจว่าใช่จริงๆ นั่นแหละถึงกล้าเสี่ยง...ผมอายุเยอะขึ้น ความรับผิดชอบมากขึ้น ก็ควรเสี่ยงในเรื่องที่น่าเสี่ยง และควรเสี่ยง มันก็เหมือนกับถามว่า ชีวิตนี้คุณตายได้กี่ครั้ง ถ้าตายได้หนเดียว อะไรเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง"
นี่ไง..ปรัชญาชีวิตใหม่ของตัน ที่ได้พบเจอจากความ "ถดถอย" ในช่วงปีที่ผ่านมา
"แต่ไม่ได้หมายความผมจะไม่เสี่ยง แต่จะเสี่ยงในเรื่องที่ควรเสี่ยง และถ้าเลี่ยงได้หน่อยก็ยังดี อย่างน้อยพายุมาก็มีที่หลบ หรือถ้ารู้ฝนตกเราก็อย่าออกจากบ้าน ถ้าฝนตกแล้วยังวิ่งด้วยความเร็ว 180 กิโล/ชั่วโมง นั่นแหละนรกรอเราอยู่แหงๆ"
บทเรียนธุรกิจที่ผ่านมา ทำให้ ตัน ตระหนักดีถึงจุดยืนของ "แบรนด์โออิชิ" ว่าชัดเจนและแข็งแกร่งในความเป็นเจ้าตลาดชา แต่สำหรับสินค้าตัวอื่นๆ เจ้าตัวยอมรับว่า คงต้องใช้เวลาอีกสักพัก
"อย่างน้อยเรามี 1 ตัว (ชาเขียวโออิชิ) อุ่นๆ อยู่ในกระเป๋า แต่เราก็ต้องพยายามสร้างพระเอกตัวที่สองขึ้นมา ถ้าเรามีกำไร ก็คือเอากำไรส่วนหนึ่งมาลงทุน..ผมมั่นใจน่ะว่า เดี๋ยวต้องได้พระเอกตัวที่สอง แต่จะเป็นสินค้าอะไร ต้องใช้เวลาพิสูจน์" นั่นคือระบบคิดแบบ "เถ้าแก่" ที่ยังฝังลึกอยู่ในตัวของตัน
การสร้าง "พระเอกตัวที่ 2" ให้โออิชิ เป็น "สัญญาใจ" ระหว่างตัน กับ เจริญ หรือเปล่า "ไม่มี ผมไม่เคยสัญญากับใคร มีแต่สัญญากับตัวเอง ว่าจะต้องพิสูจน์ตัวเองด้วยการทำให้ยอดขายและกำไรของโออิชิกลับมาเท่าเดิมให้ได้อีกครั้ง" นั่นเพราะตันมั่นใจว่า "โออิชิ ไม่ได้มีจุดพีคแค่จุดเดียว"
"พีค" ของโออิชิ คือ ปี 2548 ที่เคยโชว์ฟอร์มกวาดรายได้กว่า 4,682 ล้านบาท และมีกำไร 642 ล้านบาท ขายดีจนต้องเร่งสั่งซื้อเครื่องจักรเพิ่ม ช่วง "พีคที่สุด" ตอนไตรมาส 2 ปี 2548 โออิชิไม่สามารถตุนสต็อกสินค้าได้แม้แต่วันเดียว ขณะที่ปัจจุบัน โออิชิมีการใช้กำลังผลิตประมาณ 55% "ยังเหลืออีกบาน"
ตันเชื่อว่า เมื่อมี "ปาฏิหาริย์" ครั้งแรก ครั้งที่สองก็ต้องมีอีก โออิชิเริ่มต้นจากศูนย์ โตเป็นร้อยๆ เปอร์เซ็นต์ ยอดขายเพิ่มขึ้นถล่มทลาย "พระเอกตัวใหม่" ไม่ช้าก็เร็วก็ต้องค้นเจอเข้าสักวัน ตราบใดที่ยังไม่หยุดที่จะค้นหามัน
"ประสบการณ์จะบอกเราเองว่า สินค้าไหนที่จะใช่พระเอกตัวใหม่..เหมือนช่างรถยนต์ แค่สตาร์ทรถฟังเสียง ก็รู้แล้วว่าเครื่องยนต์ตรงไหนเสีย"
แต่ตอนนี้ ยังไกลเกินไปกว่าที่ตันจะตอบได้ว่า "พระเอกใหม่" ของโออิชิ จะขี่ม้าขาวมาถึงเมื่อไร ซึ่งเหมือนเขายังไม่มี "ตอนจบ" ที่ฝันเอาไว้
--------------------------------------------
| กรุงเทพธุรกิจ BizWeek |
หลังเดินมาถึงครึ่งทาง ปี 2550 ผลประกอบการ "โออิชิ" ที่โชว์ฟอร์มการปรับตัวแบบ "เทิร์นอะราวด์" 2 ไตรมาสติดต่อกัน งวด 6 เดือนแรกปีนี้ มีรายได้ 2,288 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 262 ล้านบาท หรือ 12.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 234 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 166.3%
---------------------------------------------
: "ชีวิตนี้คุณตายได้กี่ครั้ง ถ้าตายได้หนเดียว อะไรเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง" (ล้อมกรอบใต้รูป หรือข้างๆ รูป ตัน)
---------------------------------------------
นับเป็นการฟื้นตัวของ "โออิชิ" หลังจากผ่าน "จุดต่ำสุด" ในปีที่แล้ว ที่กำไรทั้งปี 2549 เหลือแค่ 189 ล้านบาท ถือเป็นยาชูกำลังขนานเอก ให้ "เจ้าพ่อชาเขียว" ตัน ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการ บมจ.โออิชิ กรุ๊ป กลับมามั่นใจขึ้นอีกครั้ง
ชีวิตโลดโผนทางธุรกิจของ "โออิชิ" ทำให้หลายคนสงสัยความสำเร็จของตันว่า ได้มาเพราะ "โชคช่วย" ไม่ก็มาเพราะกระแส "ชาเขียวฟีเวอร์"
คำปรามาสเหล่านี้ ตันระบายความรู้สึกว่า การที่ปีนี้ (2550) เรากลับมาได้ อย่างน้อยที่สุด มันพิสูจน์ว่าเราไม่ได้มากับแฟชั่นแล้วก็จากไป
กำไรที่เพิ่มขึ้น ตันบอกว่า ส่วนหนึ่งมาจากคู่แข่งในสมรภูมิชาเขียวเหลืออยู่เพียงไม่กี่ราย ทำให้การใช้งบการตลาดเท่าเดิม แต่ได้ผลลัพธ์ที่มากขึ้น
ความหมายของตัน ก็คือ มีเหลือแต่ "เรียลดีมานด์" ส่วน "ฟองสบู่" ถูกกระแสน้ำขึ้น-น้ำลง พัดพาไป (เจ๊ง) หมดแล้ว ส่วนเจ้าใหม่ก็เริ่ม "แหยง" ที่จะเข้ามา
นี่เอง ทำให้ตันมีความเชื่อลึกๆ ว่า หลังผ่านมรสุมลูกที่เพิ่งผ่านไป ย่อมเป็นบทพิสูจน์ว่า การทุ่มเทสร้าง "แบรนด์โออิชิ" อย่างหนักในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คือ หนทางที่ถูกต้องในแง่ของการมี "ที่ยืน" ในตลาดอย่างมั่นคง ส่วนฐานลูกค้าที่เหลืออยู่ก็ล้วนแต่เป็น "พันธุ์แท้" ไม่ใช่พวก "ขาจร"
หลังจากตลาดเริ่มนิ่งและหมดยุคกระแสชาเขียวฟีเวอร์ ตัน ตั้งเป้าหมายการเติบโตของโออิชิ ปีละ 10-20% ตามพื้นฐานแท้จริงซักที ในปีนี้ (2550) ตั้งเป้ารายได้โออิชิไว้ที่ 4,000 ล้านบาท เฉียดฉิวกับปี 2549 แต่ตัวเลข "กำไรสุทธิ" ทั้งปี น่าจะเติบโตขึ้นมา 100%
พร้อมทั้งเตรียมขยายสาขาร้านอาหารอีก 10 แห่ง และเปิดตัวสินค้าใหม่ 2 ตัว ล่าสุด เพิ่งเปิดตัวไป คือ เครื่องดื่มชาดำ "โออิชิ แบล็คที เลมอน"
"โออิชิ ดีขึ้นแล้ว เรากลับมาแล้ว...แต่ยังไม่เท่าเดิม" ตัน บอกกับ BizWeek และกล่าวต่อว่า เป็นการกลับมาอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป แต่ยังไม่มี "สินค้าพระเอกตัวใหม่" ที่จะสร้างกระแสเปรี้ยงปร้าง!!
นักคิดนอกกรอบอย่าง ตัน หรือว่ายังหาวิธี "ผ่าทางตัน" ไม่เจอ บ้างก็ว่า หลังผ่านวิกฤติกำไรหล่นฮวบฮาบ ทำให้ดีกรีความเป็น "นักเสี่ยงมืออาชีพ" ในตัวเขา ลดน้อยถอยลงไป
ยิ่งตันขายหุ้นใหญ่ให้ "เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี" ไปแล้ว บทบาทแบบ "วันแมนโชว์" หรือ "เสี่ยสั่งลุย" ในอดีตต้องจูนคลื่นความถี่ลงมา และการกลับมาของ "โออิชิ" รอบนี้ เห็นได้ชัดว่า ตันต้อง "คิด" และ "ชั่งใจ" มากขึ้น
"เจ้าพ่อโออิชิ" บอกว่า เราทำของเราไป เขา(เจ้าสัวเจริญ)ไม่เคยยุ่ง แค่ส่ง "ซีเอฟโอ" (มือการเงิน) เข้ามาคนเดียว
"วันนี้ ไม่ใช่ว่ากล้าเสี่ยงน้อยลงกว่าเดิม แต่ต้องให้มันถึงเวลาก่อน ถ้ามั่นใจว่าใช่จริงๆ นั่นแหละถึงกล้าเสี่ยง...ผมอายุเยอะขึ้น ความรับผิดชอบมากขึ้น ก็ควรเสี่ยงในเรื่องที่น่าเสี่ยง และควรเสี่ยง มันก็เหมือนกับถามว่า ชีวิตนี้คุณตายได้กี่ครั้ง ถ้าตายได้หนเดียว อะไรเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง"
นี่ไง..ปรัชญาชีวิตใหม่ของตัน ที่ได้พบเจอจากความ "ถดถอย" ในช่วงปีที่ผ่านมา
"แต่ไม่ได้หมายความผมจะไม่เสี่ยง แต่จะเสี่ยงในเรื่องที่ควรเสี่ยง และถ้าเลี่ยงได้หน่อยก็ยังดี อย่างน้อยพายุมาก็มีที่หลบ หรือถ้ารู้ฝนตกเราก็อย่าออกจากบ้าน ถ้าฝนตกแล้วยังวิ่งด้วยความเร็ว 180 กิโล/ชั่วโมง นั่นแหละนรกรอเราอยู่แหงๆ"
บทเรียนธุรกิจที่ผ่านมา ทำให้ ตัน ตระหนักดีถึงจุดยืนของ "แบรนด์โออิชิ" ว่าชัดเจนและแข็งแกร่งในความเป็นเจ้าตลาดชา แต่สำหรับสินค้าตัวอื่นๆ เจ้าตัวยอมรับว่า คงต้องใช้เวลาอีกสักพัก
"อย่างน้อยเรามี 1 ตัว (ชาเขียวโออิชิ) อุ่นๆ อยู่ในกระเป๋า แต่เราก็ต้องพยายามสร้างพระเอกตัวที่สองขึ้นมา ถ้าเรามีกำไร ก็คือเอากำไรส่วนหนึ่งมาลงทุน..ผมมั่นใจน่ะว่า เดี๋ยวต้องได้พระเอกตัวที่สอง แต่จะเป็นสินค้าอะไร ต้องใช้เวลาพิสูจน์" นั่นคือระบบคิดแบบ "เถ้าแก่" ที่ยังฝังลึกอยู่ในตัวของตัน
การสร้าง "พระเอกตัวที่ 2" ให้โออิชิ เป็น "สัญญาใจ" ระหว่างตัน กับ เจริญ หรือเปล่า "ไม่มี ผมไม่เคยสัญญากับใคร มีแต่สัญญากับตัวเอง ว่าจะต้องพิสูจน์ตัวเองด้วยการทำให้ยอดขายและกำไรของโออิชิกลับมาเท่าเดิมให้ได้อีกครั้ง" นั่นเพราะตันมั่นใจว่า "โออิชิ ไม่ได้มีจุดพีคแค่จุดเดียว"
"พีค" ของโออิชิ คือ ปี 2548 ที่เคยโชว์ฟอร์มกวาดรายได้กว่า 4,682 ล้านบาท และมีกำไร 642 ล้านบาท ขายดีจนต้องเร่งสั่งซื้อเครื่องจักรเพิ่ม ช่วง "พีคที่สุด" ตอนไตรมาส 2 ปี 2548 โออิชิไม่สามารถตุนสต็อกสินค้าได้แม้แต่วันเดียว ขณะที่ปัจจุบัน โออิชิมีการใช้กำลังผลิตประมาณ 55% "ยังเหลืออีกบาน"
ตันเชื่อว่า เมื่อมี "ปาฏิหาริย์" ครั้งแรก ครั้งที่สองก็ต้องมีอีก โออิชิเริ่มต้นจากศูนย์ โตเป็นร้อยๆ เปอร์เซ็นต์ ยอดขายเพิ่มขึ้นถล่มทลาย "พระเอกตัวใหม่" ไม่ช้าก็เร็วก็ต้องค้นเจอเข้าสักวัน ตราบใดที่ยังไม่หยุดที่จะค้นหามัน
"ประสบการณ์จะบอกเราเองว่า สินค้าไหนที่จะใช่พระเอกตัวใหม่..เหมือนช่างรถยนต์ แค่สตาร์ทรถฟังเสียง ก็รู้แล้วว่าเครื่องยนต์ตรงไหนเสีย"
แต่ตอนนี้ ยังไกลเกินไปกว่าที่ตันจะตอบได้ว่า "พระเอกใหม่" ของโออิชิ จะขี่ม้าขาวมาถึงเมื่อไร ซึ่งเหมือนเขายังไม่มี "ตอนจบ" ที่ฝันเอาไว้
--------------------------------------------
| กรุงเทพธุรกิจ BizWeek |
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4886
- ผู้ติดตาม: 0
การกลับมาของOishi
โพสต์ที่ 29
บล.กิมเอ็ง : OISHI แนะนำซื้อ ปรับราคาเหมาะสมเป็น 30 บาท
ปรับยอดขายชาเขียวปี 2550 ขึ้น 13%
ภายหลังจากประกาศผลประกอบการที่แข็งแกร่งในไตรมาส 2/50 เราจึงมีมุมมองที่เป็น
บวกมากขึ้นใน โออิชิกรุ๊ป (OISHI) ซึ่งคาดว่าจะมียอดขายชาเขียวที่สูงขึ้นในปีนี้ ทางบริษัทได้
เปิดน้ำชารสชาติใหม่ (Black tea lemon) เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งเราเชื่อว่าจะช่วยผลัก
ดันยอดขายเครื่องดื่มให้เติบโตขึ้น ณ ปัจจุบันอัตรากำลังการผลิตมีอยู่ระหว่าง 45-50% ซึ่งเรา
คาดว่าชารสชาติใหม่จะช่วยผลักดันอัตรากำลังการผลิตเพิ่มเป็น 55% ภายในสิ้นปีนี้ เมื่อรวม
กับยอดขายที่โดดเด่นจากกล่อง UHT ขนาด 1 ลิตร ซึ่งได้ทำการออกแบบกล่องรูปแบบใหม่ เรา
จึงได้ปรับยอดขายของ OISHI ขึ้น 13% เป็น 4,608 ล้านบาท
การเติบโตที่สูงขึ้นจากธุรกิจส่งอาหารและอาหารแช่เย็น
ประมาณ 58% ของยอดขายในครึ่งปี 2550 คิดเป็นชาเขียวหรือประมาณ 1,331
ล้านบาท ในขณะที่ธุรกิจอาหารคิดเป็น 42% ของยอดขายทั้งหมด หรือ 958 ล้านบาท ทางบริษัท
ได้ทำการขยายเครือข่ายธุรกิจส่งอาหารและอาหารแช่เย็นเพิ่มมากขึ้นใน 6 เดือนแรก ส่งผลให้
รายได้จากอาหารเติบโต 9% จากปีก่อน เราคาดว่าทางบริษัทจะขยายจำนวนสาขาอีก 10 แห่ง
เป็น 105 สาขา ภายในสิ้นปีนี้ เราจึงได้คงรายได้จากอาหารในปีนี้ที่ 1,806 ล้านบาท
งบลงทุนที่ต่ำโดยมีการเติบโตของกำไรที่แข็งแกร่ง
อัตรากำไรขั้นต้นจากยอดขายคาดว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงในปีนี้ โดยคาดไว้ที่ 33.0%
เปรียบเทียบกับ 33.4% ในปี 2549 ในขณะที่ภาระการจ่ายดอกเบี้ยยังคงจะต่ำอยู่ในปีนี้ ภายหลัง
จากการปรับยอดขายขึ้น 13% กำไรสุทธิจึงคาดว่าจะออกมาที่ 406 ล้านบาท (กำไรสุทธิต่อหุ้นที่
2.17 บาท) หรือสูงขึ้นจากเดิมที่คาดไว้ 8% ในแง่ของงบดุลคาดว่าจะยังแข็งแกร่ง ซึ่งมีงบลงทุน
ในปีนี้เพียง 170 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 100 ล้านบาทสำหรับการขยายร้านอาหารและอีก 70
ล้านบาท เป็นการซื้อเพื่อผลิตชาเขียวใหม่ ซึ่งจะส่งผลให้อัตราหนี้สินต่อทุนยังคงเป็นเงินสดในปีนี้
ปรับราคาเหมาะสมเป็น 30 บาท และคงแนะนำ ซื้อ
จากการเป็นผู้นำทางด้านชาเขียวและมีสัดส่วนทางการตลาดอยู่ 70% เราจึงเลือก
OISHI เป็นหุ้นเด่นขนาดเล็กและได้ปรับราคาเหมาะสมขึ้น โดยวิธีคิดลดกระแสเงินสดเป็น
30.0 บาท/หุ้น ซึ่งราคา ณ ปัจจุบันที่ 22.50 บาท/หุ้น มี PER ปี 2550 ที่ 10.4 เท่า และมีส่วน
ต่างอยู่ 33% เราจึงคงคำแนะนำ 'ซื้อ'
ปรับยอดขายชาเขียวปี 2550 ขึ้น 13%
ภายหลังจากประกาศผลประกอบการที่แข็งแกร่งในไตรมาส 2/50 เราจึงมีมุมมองที่เป็น
บวกมากขึ้นใน โออิชิกรุ๊ป (OISHI) ซึ่งคาดว่าจะมียอดขายชาเขียวที่สูงขึ้นในปีนี้ ทางบริษัทได้
เปิดน้ำชารสชาติใหม่ (Black tea lemon) เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งเราเชื่อว่าจะช่วยผลัก
ดันยอดขายเครื่องดื่มให้เติบโตขึ้น ณ ปัจจุบันอัตรากำลังการผลิตมีอยู่ระหว่าง 45-50% ซึ่งเรา
คาดว่าชารสชาติใหม่จะช่วยผลักดันอัตรากำลังการผลิตเพิ่มเป็น 55% ภายในสิ้นปีนี้ เมื่อรวม
กับยอดขายที่โดดเด่นจากกล่อง UHT ขนาด 1 ลิตร ซึ่งได้ทำการออกแบบกล่องรูปแบบใหม่ เรา
จึงได้ปรับยอดขายของ OISHI ขึ้น 13% เป็น 4,608 ล้านบาท
การเติบโตที่สูงขึ้นจากธุรกิจส่งอาหารและอาหารแช่เย็น
ประมาณ 58% ของยอดขายในครึ่งปี 2550 คิดเป็นชาเขียวหรือประมาณ 1,331
ล้านบาท ในขณะที่ธุรกิจอาหารคิดเป็น 42% ของยอดขายทั้งหมด หรือ 958 ล้านบาท ทางบริษัท
ได้ทำการขยายเครือข่ายธุรกิจส่งอาหารและอาหารแช่เย็นเพิ่มมากขึ้นใน 6 เดือนแรก ส่งผลให้
รายได้จากอาหารเติบโต 9% จากปีก่อน เราคาดว่าทางบริษัทจะขยายจำนวนสาขาอีก 10 แห่ง
เป็น 105 สาขา ภายในสิ้นปีนี้ เราจึงได้คงรายได้จากอาหารในปีนี้ที่ 1,806 ล้านบาท
งบลงทุนที่ต่ำโดยมีการเติบโตของกำไรที่แข็งแกร่ง
อัตรากำไรขั้นต้นจากยอดขายคาดว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงในปีนี้ โดยคาดไว้ที่ 33.0%
เปรียบเทียบกับ 33.4% ในปี 2549 ในขณะที่ภาระการจ่ายดอกเบี้ยยังคงจะต่ำอยู่ในปีนี้ ภายหลัง
จากการปรับยอดขายขึ้น 13% กำไรสุทธิจึงคาดว่าจะออกมาที่ 406 ล้านบาท (กำไรสุทธิต่อหุ้นที่
2.17 บาท) หรือสูงขึ้นจากเดิมที่คาดไว้ 8% ในแง่ของงบดุลคาดว่าจะยังแข็งแกร่ง ซึ่งมีงบลงทุน
ในปีนี้เพียง 170 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 100 ล้านบาทสำหรับการขยายร้านอาหารและอีก 70
ล้านบาท เป็นการซื้อเพื่อผลิตชาเขียวใหม่ ซึ่งจะส่งผลให้อัตราหนี้สินต่อทุนยังคงเป็นเงินสดในปีนี้
ปรับราคาเหมาะสมเป็น 30 บาท และคงแนะนำ ซื้อ
จากการเป็นผู้นำทางด้านชาเขียวและมีสัดส่วนทางการตลาดอยู่ 70% เราจึงเลือก
OISHI เป็นหุ้นเด่นขนาดเล็กและได้ปรับราคาเหมาะสมขึ้น โดยวิธีคิดลดกระแสเงินสดเป็น
30.0 บาท/หุ้น ซึ่งราคา ณ ปัจจุบันที่ 22.50 บาท/หุ้น มี PER ปี 2550 ที่ 10.4 เท่า และมีส่วน
ต่างอยู่ 33% เราจึงคงคำแนะนำ 'ซื้อ'