TRUE มีสิทธิ์ Turn around ไหม

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
petercorp
Verified User
โพสต์: 110
ผู้ติดตาม: 0

TRUE มีสิทธิ์ Turn around ไหม

โพสต์ที่ 1

โพสต์

TRUE มีสิทธิ์ Turn around ไหม ตอนนี้เรื่อง access charge ไปถึงไหนแล้ว
ถือยาว น่าลงทุนไหม
ภาพประจำตัวสมาชิก
Pn3um0n1a
Verified User
โพสต์: 1935
ผู้ติดตาม: 0

TRUE มีสิทธิ์ Turn around ไหม

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เคยตั้งกระทู้ถามไปทีละ ว่าหุ้นที่ดูดี๊ดี ทำไมผลประกอบการจึง ไม่เป็นอย่างตาเห็นภายนอก

หาไม่เจอ ...
ภาพประจำตัวสมาชิก
petercorp
Verified User
โพสต์: 110
ผู้ติดตาม: 0

TRUE มีสิทธิ์ Turn around ไหม

โพสต์ที่ 3

โพสต์

งบ Q3 กำไรแล้วนี่ครับ
งบกำไรขาดทุน

 รายได้จากการขายและหรือการให้บริการ 45,747.79

 รายได้จากการขายสินค้า 865.32

 รายได้จากการให้บริการ 44,882.46

 รายได้อื่น 2,194.00

 ดอกเบี้ยและเงินปันผลรับ 60.62

 กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 1,852.62

 อื่นๆ 280.77

 รวมรายได้ 47,941.79

 ต้นทุนขายสินค้าและหรือต้นทุนการให้บริการ 30,102.44

 ต้นทุนขายสินค้า 766.47

 ต้นทุนการให้บริการ 29,335.96

 ค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร 9,600.55

 ค่าใช้จ่ายอื่น 460.89

 อื่นๆ 460.89

 ส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย 12.38

 รวมค่าใช้จ่าย 40,176.25

 กำไร (ขาดทุน) ก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ 7,765.54

 ดอกเบี้ยจ่าย 5,106.68

 ภาษีเงินได้ 1,545.47

 กำไร (ขาดทุน) หลังภาษีเงินได้ 1,113.39

 กำไร (ขาดทุน) สุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย -10.41

 กำไร (ขาดทุน) จากกิจกรรมตามปกติ 1,123.80

 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 1,123.80

 กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน 0.16

 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 0.16

 กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นปรับลด 0.13

 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 0.13
Jangster
Verified User
โพสต์: 493
ผู้ติดตาม: 0

TRUE มีสิทธิ์ Turn around ไหม

โพสต์ที่ 4

โพสต์

หักกำไรจาก FX ออกก็ขาดทุนแล้ว
MindTrick
Verified User
โพสต์: 1288
ผู้ติดตาม: 0

TRUE มีสิทธิ์ Turn around ไหม

โพสต์ที่ 5

โพสต์

petercorp เขียน:งบ Q3 กำไรแล้วนี่ครับ
งบกำไรขาดทุน

 รายได้จากการขายและหรือการให้บริการ 45,747.79

 รายได้จากการขายสินค้า 865.32

 รายได้จากการให้บริการ 44,882.46

 รายได้อื่น 2,194.00

 ดอกเบี้ยและเงินปันผลรับ 60.62

 กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 1,852.62

 อื่นๆ 280.77

 รวมรายได้ 47,941.79

 ต้นทุนขายสินค้าและหรือต้นทุนการให้บริการ 30,102.44

 ต้นทุนขายสินค้า 766.47

 ต้นทุนการให้บริการ 29,335.96

 ค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร 9,600.55

 ค่าใช้จ่ายอื่น 460.89

 อื่นๆ 460.89

 ส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย 12.38

 รวมค่าใช้จ่าย 40,176.25

 กำไร (ขาดทุน) ก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ 7,765.54

 ดอกเบี้ยจ่าย 5,106.68

 ภาษีเงินได้ 1,545.47

 กำไร (ขาดทุน) หลังภาษีเงินได้ 1,113.39

 กำไร (ขาดทุน) สุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย -10.41

 กำไร (ขาดทุน) จากกิจกรรมตามปกติ 1,123.80

 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 1,123.80

 กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน 0.16

 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 0.16

 กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นปรับลด 0.13

 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 0.13
ตอนรู้กำไร ทำไมมันถึงดิ่งลงไปได้เยอะขนาดนั้นครับ เห็นว่าพื้นฐานเปลี่ยนดีขึ้นนี่

หรือว่า...
^
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
ภาพประจำตัวสมาชิก
petercorp
Verified User
โพสต์: 110
ผู้ติดตาม: 0

TRUE มีสิทธิ์ Turn around ไหม

โพสต์ที่ 6

โพสต์

หลักทรัพย์ TRUE  
แหล่งข่าว TRUE  
 หัวข้อข่าว คำอธิบายและวิเคราะห์ฐานะทางการเงิน ประจำไตรมาส 3 ปี 2550 (1)  
 วันที่/เวลา 15 พ.ย. 2550 09:11:00  

 คำอธิบายและวิเคราะห์ฐานะทางการเงิน ประจำไตรมาส 3 ปี 2550

ยอดผู้ใช้บริการทรูมูฟและทรูวิชั่นส์เติบโตต่อเนื่อง
 -  รายได้จากบริการโดยรวมของกลุ่มทรูเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 20.5 EBITDA เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 15.9 จากไตรมาสก่อน
 -  ทรูมูฟมีผู้ใช้บริการรายใหม่เพิ่มขึ้นเป็น 2.1 ล้าน มีส่วนแบ่งตลาดผู้ใช้บริการรายใหม่ ในไตรมาสนี้เป็นร้อยละ 70
 -  ทรูวิชั่นส์มีผู้ใช้บริการรายใหม่เพิ่มขึ้น 28,000 ราย แคมเปญสำหรับตลาดระดับล่าง ยังคงได้รับการตอบรับอย่างต่อเนื่อง
 -  บริการคอนเทนต์คุณภาพ จากการผสมผสานบริการต่างๆ ภายในกลุ่มทรู ช่วยเพิ่มยอดผู้ใช้

งบการเงิน
 -  ทรูชำระคืนหนี้จำนวน 4.7 พันล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการชำระคืนหนี้ระยะยาว
 -  อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อ EBITDA ลดลงเป็น 3.7 เท่า ใน 9 เดือนแรกของปี 2550

ด้านการกำกับดูแล
 -  พัฒนาในทิศทางที่ดีขึ้น

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2550 จำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรทัศน์ระบบ
บอกรับเป็นสมาชิกเติบโตน่าพอใจ ทรูมูฟสร้างสถิติใหม่เพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการได้ประมาณ 2.1 ล้านราย ในขณะที่รายได้จากบริการโดยรวมของ
กลุ่มทรูและ EBITDA เพิ่มสูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันในปีที่ผ่านมา

ในไตรมาส 3 ทรูมูฟได้ปรับวิธีการนับจำนวนผู้ใช้บริการแบบเติมเงิน โดยเพิ่มจำนวนวันของเลขหมายที่ไม่มีการใช้งาน จาก 18 วัน เป็น 45 วัน
เพื่อให้บริษัทสามารถดำเนินกิจกรรมการตลาดเพื่อรักษาฐานลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยในระหว่างนั้น ผู้ใช้บริการยังคงสามารถ
รับสายเรียกเข้า แต่ไม่สามารถโทรออก ในขณะที่วิธีการนับจำนวนผู้ใช้บริการแบบรายเดือนไม่การเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

ในไตรมาสนี้ ทรูมูฟมียอดผู้ใช้บริการรวมทั้งสิ้น 11.2 ล้านราย โดยสามารถเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการรายใหม่ได้ประมาณ 2.1 ล้านราย ทั้งนี้รายการ
อะคาเดมี่แฟนเทเชีย (AF 4) เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ยอดผู้ใช้บริการทรูมูฟในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้น

ส่วนแบ่งตลาดผู้ใช้บริการรายใหม่ของทรูมูฟ ในไตรมาสนี้คิดเป็นร้อยละ 70 ส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาดโดยรวมใน 9 เดือนแรกของปี 2550 เพิ่มขึ้นเป็น
ร้อยละ 35 และคาดว่าจะสามารถครองส่วนแบ่งตลาดได้ในอัตราร้อยละ 33 ณ สิ้นปี 2550 ตามเป้าหมาย โดยในขณะนี้ ทรูมูฟมีส่วนแบ่งตลาดคิดเป็น
ร้อยละ 22.7

นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร กล่าวว่า "ยุทธศาสตร์ผู้นำชีวิต Convergence Lifestyle เป็นปัจจัยหลัก
ที่ช่วยเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการของทรูมูฟ"

"การที่เราสามารถนำเสนอบริการคอนเทนต์คุณภาพ จากการผสมผสานบริการต่างๆ ภายในกลุ่มทรู (ในลักษณะของบริการแบบ Convergence) ถือเป็น
ความได้เปรียบในการแข่งขันสำหรับทรูมูฟและธุรกิจหลักอื่นๆ ภายในกลุ่ม ซึ่งช่วยเพิ่มยอดผู้ใช้และสร้างความผูกพันต่อแบรนด์ไปพร้อมๆ กัน

ในไตรมาส 3 นี้ นอกเหนือจากรายการอะคาเดมี่ แฟนเทเชีย (AF4) แล้ว กลุ่มทรูยังให้บริการคอนเทนต์คุณภาพอื่นๆ อาทิ รายการฟุตบอลพรีเมียร์ลีก
และรายการกีฬาอื่นๆ เพลงและสาระบันเทิงอื่นๆ ซึ่งนำเสนอผ่านทุกช่องทางต่างๆ ของกลุ่ม รวมทั้งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บรอดแบนด์ และโทรทัศน์
ระบบบอกรับเป็นสมาชิก"

ในไตรมาสนี้ รายได้จากการให้บริการโดยรวมของทรูมีจำนวน 15.2 พันล้านบาท (รวมรายได้จากค่าเชื่อมโยงโครงข่าย หรือ IC) ลดลงในอัตรา
ร้อยละ 3.5 จากไตรมาสก่อนหน้า (โดยส่วนใหญ่เนื่องจากรายได้จาก IC ลดลง) แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3 จากไตรมาสเดียวกันในปีที่ผ่านมา

หากไม่รวมรายได้จากค่าเชื่อมโยงโครงข่าย รายได้จากการให้บริการโดยรวมของทรูลดลงในอัตราร้อยละ 1.4 จากไตรมาสก่อนหน้า แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1
จากไตรมาสเดียวกันในปีที่ผ่านมา

กำไรจากการดำเนินงาน ก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายตัดจ่าย หรือ EBITDA มีจำนวนทั้งสิ้น 4.7 พันล้านบาท โดยลดลงในอัตราร้อยละ 4.0
จากไตรมาสก่อนหน้า แต่เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 15.5 จากไตรมาสเดียวกันในปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เนื่องจากผลประกอบการทรูมูฟซึ่งปรับตัวดีขึ้น

ทรูรายงานผลกำไรสุทธิจำนวน 1.2 พันล้านบาท สำหรับไตรมาส 3 ปี 2550 เปรียบเทียบกับขาดทุนสุทธิจำนวน 595 ล้านบาทในไตรมาสที่ผ่านมา และ
ขาดทุนสุทธิ 1.2 พันล้านบาทในไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากค่าเสื่อมราคาที่ลดลง จากการขยายประมาณการอายุการใช้งานของ
สินทรัพย์ (Estimated Useful Life) ทั้งนี้เพื่อสะท้อนถึงอายุการใช้งานที่แท้จริง โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว ทำให้ค่าเสื่อมราคา
ในงวด 9 เดือนแรกของปี 2550 ลดลงทั้งสิ้น 3.9 พันล้านบาท (ผลกระทบสุทธิประมาณ 2.8 พันล้านบาท ภายหลังจากการหักค่าภาษีรอการตัดจ่ายที่เพิ่มขึ้น)
ซึ่งทั้งจำนวนได้ถูกสะท้อนในผลประกอบประจำไตรมาส 3 ปี 2550 ทั้งนี้ บริษัทมิได้ปรับปรุงค่าเสื่อมราคาย้อนหลังในปี 2549

บริการบรอดแบนด์สำหรับลูกค้าทั่วไปมีจำนวนผู้ใช้บริการรายใหม่เพิ่มขึ้น 22,000 ราย ทำให้มีจำนวนผู้ใช้บริการรวมเป็น 526,000 ราย ณ สิ้นไตรมาส 3
ซึ่งเป็นผลมาจากโปรโมชั่น Super hi-speed package ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบัน มีผู้สมัครใช้บริการทั้งสิ้นประมาณ 282,000 ราย

ในไตรมาส 3 ปี 2550 ทรูวิชั่นส์มีผู้ใช้บริการรายใหม่เพิ่มขึ้น 28,000 ราย (เพิ่มขึ้นจาก 1,200 รายในไตรมาส 2) ทำให้มียอดผู้ใช้บริการโดยรวมทั้งสิ้น
597,000 ราย โดยเป็นผลจากคอนเทนต์สำคัญๆ ซึ่งประกอบด้วย อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก รวมทั้งการเปิดตัวช่องรายการใหม่ๆ นอกจากนี้
แคมเปญสำหรับตลาดระดับล่าง ซึ่งเป็นโปรโมชั่นที่ทำร่วมกับทรูมูฟ ยังคงได้รับการตอบรับอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีผู้ใช้บริการรวมประมาณ 318,000 และ
หากนับรวมจำนวนผู้ใช้บริการกลุ่มนี้ ทรูวิชั่นส์จะมีจำนวนผู้ใช้บริการรวมทั้งสิ้นเกือบ 900,000 ราย

ใน 9 เดือนแรกของปี 2007 ทรูได้ชำระคืนหนี้สินเป็นจำนวนทั้งสิ้น 4.7 พันล้านบาท งบดุลของทรูปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราส่วนหนี้สินต่อ EBITDA
ลดลงเป็น 3.7 เท่า ในระยะเวลา 9 เดือนที่ผ่านมา และจาก 4.6 เท่าในปี 2549
ภาพประจำตัวสมาชิก
petercorp
Verified User
โพสต์: 110
ผู้ติดตาม: 0

TRUE มีสิทธิ์ Turn around ไหม

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ผลการดำเนินงานด้านการเงิน ประจำไตรมาส 3 ปี 2550
  -   ทรูมีการขยายประมาณการอายุการใช้งานของสินทรัพย์และเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีเกี่ยวกับการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อใช้กับบริการโทรทัศน์ระบบบอก
      รับเป็นสมาชิก เพื่อให้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติสากล (ดูรายละเอียดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวิธีการทางบัญชี) บริษัทได้ปรับประมาณการอายุการใช้
      งานของสินทรัพย์ โดยให้มีผลย้อนหลังถึงต้นปี 2550 ทั้งนี้ได้สะท้อนผลกระทบสำหรับงวด 9 เดือนทั้งหมดในงบการเงินสำนโยบายบัญชีเกี่ยวกับการ
      ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อใช้กับบริการโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก เพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม ในการวิเคราะห์ต่อไปนี้ บริษัทได้ปรับปรุงงบงวดก่อน
      เพื่อสะท้อนถึงผลกระทบจากการขยายประมาณการอายุการใช้งานของสินทรัพย์ ด้วย ทั้งนี้เพื่อการเปรียบเทียบที่ดีกว่า
  -   รายได้จากการให้บริการโดยรวมของทรู ลดลงในอัตราร้อยละ 3.5 จากไตรมาสก่อนหน้า (เป็น 15.2 พันล้านบาท) โดยส่วนใหญ่เนื่องจากรายได้
      จากค่าเชื่อมโยงโครงข่าย หรือ IC ลดลง) แต่เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 20.3 จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อนหน้า
  -   หากไม่รวม IC รายได้จากบริการโดยรวมของทรูในไตรมาสนี้ลดลงในอัตราร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (เป็น 12.8 พันล้านบาท)
      ส่วนใหญ่เนื่องจากการปรับปรุงรายได้ที่มีการตั้งค้างรับสูงไปในงวดก่อน จำนวน 217 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายได้จากบริการรับแจ้งเหตุเสีย
      และบริการเดินสายกระจาย เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปี 2549 รายได้จากบริการ (ที่ไม่ใช่รายได้จาก IC) เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.1
      ทั้งนี้เนื่องจากรายได้จากทรูมูฟและทรูวิชั่นส์เพิ่มขึ้น (ทรูมูฟที่เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 2.4 ทรูวิชั่นส์เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 5.0)
  -   EBITDA ลดลงในอัตราร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (เป็น 4.7 พันล้านบาท) เนื่องจากการปรับปรุงรายได้ดังกล่าว ในขณะที่ทรูมูฟมี
      รายรับสุทธิจาก IC เพิ่มขึ้น (เป็น 77 ล้านบาทในไตรมาส 3 จาก 34 ล้านบาทในไตรมาส 2)
  -   อัตราการทำกำไร ณ ระดับ EBITDA เมื่อคิดจากรายได้ไม่รวม IC ลดลงเล้กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า (อัตราร้อยละ 35.7 ในไตรมาส 3 และ
      อัตราร้อยละ 36.8 ในไตรมาส 2) แต่เพิ่มสูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันในปีที่ผ่านมา (ซึ่งมีอัตราร้อยละ 30.9) เนื่องจากยกเลิกค่า Access Charge
      หากคิดจากรายได้รวม IC อัตราการทำกำไร ณ ระดับ EBITDA เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (เป็นอัตราร้อยละ 30.1 ในไตรมาส 3 จากอัตรา
      ร้อยละ 30.4 ในไตรมาส 2) และคงที่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า
  -   ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโดยรวม ลดลงในอัตราร้อยละ 2.7 จากไตรมาสก่อนหน้า (เป็น 13.7 พันล้านบาท) ส่วนใหญ่เนื่องจากค่า IC ลดลง
      418 ล้านบาท อันเป็นผลเนื่องจากยอดการใช้ลดลง เนื่องจากอัตราค่าโทรสูงขึ้นและเป็นช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว นอกจากนี้ ค่าเสื่อมราคาและ
      ค่าตัดจำหน่าย ลดลง 66 ล้านบาท ส่วนใหญ่เนื่องจาก ในไตรมาสที่แล้ว ทรูมูฟบันทึกสินทรัพย์เพิ่มและบันทึกค่าเสื่อมราคาย้อนหลังนับตั้งแต่
      สินทรัพย์ดังกล่าวได้มีการใช้งานจริง ซึ่งชดเชยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านโครงข่ายอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็น ค่าใช้จ่ายในการผลิตรายการ
      อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย (AF4) ค่าลิขสิทธิ์รายการฟุตบอลพรีเมียร์ลีก และค่าใช้จ่ายด้านโฆษณาและคอนเทนต์ของทรูมูฟ
  -   เปรียบเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2549 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ไม่รวมค่า IC ลดลงในอัตราร้อยละ 13 เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับค่าเสื่อมราคา
      ลดลง ซึ่งส่วนใหญ่จากทรูออนไลน์ และการยกเลิกค่า Access Charge
  -   ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (ปรับปรุง) หากไม่รวมค่าตัดจำหน่ายค่าสิทธิสำหรับรายการและภาพยนตร์รอตัดบัญชีของทรูวิชั่นส์ลดลงเล็กน้อย
      เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (เป็น 2.9 พันล้านบาท) ตามเหตุผลที่กล่าวในข้างต้น
  -   ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย สำหรับไตรมาสนี้ ได้ถูกปรับปรุง เพื่อไม่รวมผลกระทบจากการขยายประมาณการอายุการใช้งานของสินทรัพย์
      สำหรับงวด 6 เดือนแรกของปี 2550 จำนวน 2.6 พันล้าน แต่คงไว้ซึ่งผลกระทบสำหรับไตรมาส 3 จำนวน 1,353 ล้านบาท (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่
      การเปลี่ยนแปลงทางบัญชี และ หมายเหตุประกอบงบการเงิน ข้อ 4 นอกจากนั้นได้มีการปรับปรุงเพิ่มเติม เนื่องจากการบันทึกค่าเสื่อราคาต่ำเกินไป
      (50 ล้านบาท) ตามที่ได้มีการปรับปรุงบัญชีในผลการดำเนินการไตรมาส 4 ปี 2549
  -   เปรียบเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2549 ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายลดลงในอัตราร้อยละ 30 (หรือคิดเป็น 1.2 พันล้านบาท) ส่วนใหญ่ที่ทรูออนไลน์
  -   ดอกเบี้ยจ่าย ลดลงในอัตราร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (เป็น 1.6 พันล้านบาท) ส่วนหนึ่งเนื่องจากภาษีหัก ณ ที่จ่ายในไตรมาส 2
      ปี 2550 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อนหน้า ดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 9.7 ส่วนใหญ่เนื่องจากหุ้นกู้สกุลดอลลาร์สหรัฐของทรูมฟ และ
      อัตราดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้สกุลบาทของทรูออนไลน์ที่เพิ่มสูงขึ้น (มีการปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นดอกเบี้ยลอยตัวหลังครบกำหนด 3 ปี)
  -   ภาษี (ปรับปรุง) ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าเป็น 483 ล้านบาท ส่วนใหญ่เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านภาษีลดลง แต่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
      ในปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เนื่องจากภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีเพิ่มขึ้น อันเป็นผลเนื่องมาจากค่าเสื่อราคาและค่าตัดจำหน่ายที่ลดลง
  -   ขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงานปกติ จำนวน 340 ล้านบาท ค่อนข้างคงที่ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า แต่ลดลง 1.4 พันล้านบาทเมื่อเทียบกับ
      ขาดทุนในไตรมาสเดียวกัน ในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เนื่องจากค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายลดลง และจากการยกเลิก Access Charge
  -   ทรูรายงานผลกำไรสุทธิในไตรมาสนี้จำนวนทั้งสิ้น 1.2 พันล้านบาท รวมผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนอายุการใช้งานของสินทรัพย์ จำนวนรวม
      3.9 พันล้านบาท สำหรัยงวด 9 เดือน ซึ่งได้ถูกบันทึกทั้งจำนวนในไตรมาสนี้ (ทรูมูฟ จำนวน 1.2 พันล้านบาท, ทรูออนไลน์ จำนวน 2.6 พันล้านบาท
      และทรูวิชั่นส์ 48 ล้านบาท) โดยผลกระทบสุทธิมีจำนวน รวม 2.8 พันล้านบาท (ภายหลังหักค่าภาษีรายได้รอการตัดจ่ายที่เพิ่มขึ้นจำนวน
      1.1 พันล้านบาท ทั้งนี้นับว่าผลประกอบการในไตรมาส 3 ปรับตัวดีขึ้นอย่างมากจากขาดทุนสุทธิจำนวน 1.2 พันล้านบาทในไตรมาสเดียวกันปี 2549
      และขาดทุนสุทธิจำนวน 595 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา

ผลการดำเนินงานด้านการเงิน ประจำ 9 เดือนแรก ปี 2550
 -    รายได้จากการให้บริการโดยรวมของบริษัท เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 19.2 (เป็น 44.9 พันล้านบาท) เมื่อรวมค่า IC และเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 2.5
      (เป็น 38.6 พันล้านบาท) เมื่อไม่รวม IC โดยส่วนใหญ่มาจากทรูมูฟ ทั้งนี้ ทรูมูฟมีรายได้จากบริการเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 8.6 ในขณะที่ทรูออนไลน์
      เพิ่มขึ้นอัตราร้อยละ 0.6 และทรูวิชั่นส์เพิ่มขึ้น ในอัตราร้อยละ 2.6
 -    EBITDA เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 13.9 (เป็น 14.7 พันล้านบาท) ส่วนใหญ่เนื่องจากรายได้จากบริการเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งจากการยกเลิกค่า Access
      Charge และโดยส่วนใหญ่มาจากทรูมูฟ EBITDA margin เพิ่มขึ้นเป็นอัตราร้อยละ 37.2 (จากอัตราร้อยละ 33.4) หากคิดแบบ Net IC อย่างไรก็ตาม
      อัตราการทำกำไร ณ ระดับ EBITDA ลดลงเป็นอัตราร้อยละ 32.1 หากรวม IC เป็นรายได้ ทั้งนี้เนื่องจากฐานรายได้ที่เพิ่มขึ้น
 -    ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ลดลง 4.0 พันล้านบาท เป็น 8.6 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เนื่องจากการขยายประมาณการอายุการใช้งานของ
      สินทรัพย์ ซึ่งทำให้ค่าเสื่อมราคาลดลง จำนวน 3.9 พันล้านบาท
 -    ดอกเบี้ยจ่าย เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 12.3 เป็น 5.1 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เนื่องจาก หุ้นกู้ของทรูมูฟมีอัตราดอกเบี้ยสูง รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
      ของทรูออนไลน์ จากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ ได้ปรับเปลี่ยนจากอัตราดอกเบี้ยคงที่ มาเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (ในเดือนตุลาคม 2549)
 -    ขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงานปกติ ก่อนรายการพิเศษต่างๆ ลดลง 3.4 พันล้านบาท ทำให้มีผลขาดทุนทั้งสิ้น 549 ล้านบาท ทั้งนี้เนื่องจากค่าเสื่อมราคา
      และค่าตัดจำหน่ายลดลง รวมทั้งเป็นผลจากการยกเลิก Access Charge
 -    รายจ่ายลงทุนโดยรวมของกลุ่มทรู ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 มีจำนวนทั้งสิ้น 6.5 พันล้านบาท โดยเป็น รายจ่ายลงทุนของทรูมูฟ 3.9
      พันล้านบาท ทรูออนไลน์ 2.2 พันล้านบาท และทรูวิชั่นส์ 380 ล้านบาท ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับรายจ่ายลงทุนจำนวน 8.4 พันล้านบาท ในช่วง 9 เดือน
      แรกของปี 2549
 -    ใน 9 เดือนแรกของปี 2550 ทรูชำระคืนเงินกู้ระยะยาวจำนวน 4.7 พันล้านบาท ซึ่งรวมทั้งการชำระคืนเงินกู้ 3.7 พันล้านบาทของทรูออนไลน์ ทำให้
      หนี้สินโดยรวมของทรูลดลงอย่างต่อเนื่องเป็น 79.5 พันล้านบาท สัดส่วนหนี้สินสุทธิต่อ EBITDA โดยรวมลดลงเป็น 3.7 เท่า จาก 4.6 เท่า ณ สิ้นปี 2549
      สัดส่วนหนี้สินสุทธิต่อ EBITDA ของธุรกิจออนไลน์ลดลงเป็น 3.7 เท่า จาก 3.9 เท่า ในปี 2549
 -    กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ภายหลังรายจ่ายลงทุน เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 65 เป็น 3.8 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เนื่องจากรายจ่ายลงทุนลดลง
ภาพประจำตัวสมาชิก
petercorp
Verified User
โพสต์: 110
ผู้ติดตาม: 0

TRUE มีสิทธิ์ Turn around ไหม

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ผลการดำเนินงานแยกตามกลุ่มธุรกิจ สำหรับไตรมาส 3 ปี 2550
ทรูมูฟ
          -   ในไตรมาส 3 ทรูมูฟได้ปรับวิธีการนับจำนวนผู้ใช้บริการแบบเติมเงิน โดยเพิ่มจำนวนวันของเลขหมายที่ไม่มีการใช้งาน จาก 18 วัน
              เป็น 45 วัน โดยในระหว่างนั้น ผู้ใช้บริการยังคงสามารถรับสายเรียกเข้า แต่ไม่สามารถโทรออก ในขณะที่วิธีการนับจำนวนผู้ใช้บริการ
              แบบรายเดือนไม่การเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด การเปลี่ยนนี้จะช่วยทำให้บริษัทสามารถดำเนินกิจกรรมการตลาดเพื่อรักษาฐานลูกค้าได้อย่างมี
              ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และสามารถเปรียบเทียบจำนวนผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการรายอื่นๆ ได้ดีขึ้น จากการเปลี่ยนวิธีการดังกล่าวทำให้ทรูมูฟมี
              จำนวนผู้ใช้บริการแบบเติมเงินเพิ่มขึ้น 797,000 ราย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจำนวนผู้ใช้บริการรายใหม่ในไตรมาส 3 โดยส่งผลต่อรายได้เฉลี่ย
              ต่อเลขหมายต่อเดือน (ARPU) เล็กน้อย โดย ARPU แบบเติมเงินเป็น 159 บาท (วิธีเดิม) และ 157 บาท (วิธีใหม่) และ รายได้เฉลี่ยต่อ
              เลขหมายต่อเดือนรวม (Blended ARPU) เป็น 190 บาท
              (วิธีเดิม) และ 188 บาท (วิธีใหม่)
          -   ทรูมูฟมีจำนวนผู้ใช้บริการรายใหม่สุทธิเพิ่มขึ้น 2,145,654 ราย ในไตรมาส 3 ทั้งนี้รวมผู้ใช้บริการประมาณ 797,000 รายจากการปรับวิธี
              การนับจำนวนผู้ใช้บริการแบบเติมเงิน โดยส่วนใหญ่เนื่องจากโปรโมชั่นใหม่ๆ ที่เปิดตัวในระหว่างไตรมาส ซึ่งรวมทั้งการนำเสนอแพคเกจ
              ร่วมกับทรูวิชั่นส์ (รายการอะคาเดมี่ แฟนเทเชียและฟุตบอลพรีเมียร์ลีก) นอกจากนี้ยังนำเสนอโปรโมชั่นใหญ่เพื่อเจาะตลาดต่างจังหวัด ภายใต้
              แคมเปญ "ทรูมูฟ แจ๋วจริง ลองดิ" โดยมีดาราตลกยอดนิยมเป็นพรีเซนเตอร์
          -   ใน 9 เดือนแรกของปี 2550 ทรูมูฟมีผู้ใช้บริการรายใหม่สุทธิ 2.9 ล้านราย และ 3.7 ล้านราย ก่อนและหลังการเปลี่ยนวิธีนับจำนวน
              ผู้ใช้บริการแบบเติมเงิน โดยเติบโตในอัตราร้อยละ 24.3 และ 58.9 จากยอดผู้ใช้บริการรายใหม่สุทธิ 2.3 ล้านรายใน 9เดือนแรกของ
              ปี 2549 ทั้งนี้คาดว่าส่วนแบ่งตลาดในผู้ใช้บริการรายใหม่ของทรูมูฟในไตรมาส 3 ปี 2550 จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 70 หลังการเปลี่ยนวิธีนับ
              (หรือร้อยละ 59 ก่อนการเปลี่ยนวิธีนับ) ทำให้มีส่วนแบ่งตลาดในผู้ใช้บริการรายใหม่ ใน 9 เดือนแรกของปี 2550 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 35
              (หรือร้อยละ 29 ก่อนเปลี่ยนการนับ)
          -   ทรูมูฟมีจำนวนผู้ใช้บริการรวมประมาณ 11.2 ล้านราย (หรือ 10.4 ล้านรายก่อนการเปลี่ยนวิธีการนับผู้ใช้บริการแบบเติมเงิน) โดยคาดว่า
              จะสามารถครองส่วนแบ่งตลาดโดยรวมได้ในอัตราร้อยละ 22.7 (หรือในอัตราร้อยละ 21.4 ก่อนการเปลี่ยนวิธีการนับผู้ใช้บริการแบบเติมเงิน)
              จากอัตราร้อยละ 19.6 ในไตรมาสที่ผ่านมา
          -   ในไตรมาสนี้ รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายต่อเดือนรวม ลดลงในอัตราร้อยละ 13 จากไตรมาสก่อนหน้าเป็น 188 บาท (หรือ 190 บาทก่อนการ
              เปลี่ยนวิธีการนับผู้ใช้บริการแบบเติมเงิน) ส่วนใหญ่เป็นผลจากปริมาณการใช้เฉลี่ยที่ลดลง อันเนื่องจากอัตราค่าโทรสูงขึ้นและสภาพเศรษฐกิจ
              นอกจากนี้ยังได้รับผลกระทบจากการที่ ลูกค้ารายใหม่ที่มักจะมีปริมาณการใช้น้อยในช่วงเดือนแรกๆ ที่เริ่มใช้บริการ
          -   รายได้จากการให้บริการโดยรวม ในไตรมาส 3 ปี 2550 ลดลงในอัตราร้อยละ 13.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (เป็น 8.4 พันล้านบาท)
              เนื่องจากรายได้จากค่า IC ลดลง แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อไม่รวม IC (ที่ 6.0 พันล้านบาท) เนื่องจากผลจากการเพิ่มอัตราค่าโทรและจำนวน
              ผู้ใช้บริการที่เพิ่มสูงขึ้น สามารถชดเชยยอดการใช้ที่ลดลง ทำให้รายได้จากบริการเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 2.4 (เมื่อไม่รวม IC) โดยใน
              9 เดือนแรกของปี 2550 รายได้จากบริการเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับ 9 เดือนแรกของปี 2549 หากไม่รวม IC เนื่องจาก
              ฐานลูกค้าเติบโตสูงขึ้น
          -   รายได้จากบริการ Non-voice เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.2 จากไตรมาสก่อนหน้าเป็น 641 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.2
              ในไตรมาส 2 เป็นร้อยละ 10.8 ของรายได้จากบริการเมื่อไม่รวม IC ใน 9 เดือนแรกของปี 2550 รายได้จากบริการ Non-voice เพิ่มขึ้น
              ในอัตราร้อยละ 22 ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
          -   EBITDA ลดลงในอัตราร้อยละ 8.1 จากไตรมาสก่อนหน้า เป็น 1.7 พันล้านบาทส่วนใหญ่เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านโครงข่าย
              เช่น คอนเทนท์ รวมทั้งค่าโฆษณาเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เกี่ยวเนื่องกับการรณรงค์ส่งเสริมการขายต่างๆ ในระหว่างไตรมาส อย่างไรก็ตาม ทรูมูฟยังคงมี
              รายได้จาก IC (77 ล้านบาทในไตรมาส 3 เมื่อเทียบกับ 34 ล้านบาทในไตรมาส 2)
          -   EBITDA margin ลดลงเป็นอัตราร้อยละ 28.2 (จากรายได้ไม่รวม IC) จากอัตราร้อยละ 30.9 ในไตรมาส 2 ปี 2550 แต่เพิ่มขึ้นอย่างมาก
              จากร้อยละ 20.2 ในไตรมาส 3 ปี 2549 แต่หากคิดแบบ Gross IC EBITDA margin ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาเป็นอัตราร้อยละ 20.2
              (จากอัตราร้อยละ 21.2 ในไตรมาส 2 ปี 2550) ทั้งนี้เนื่องจากฐานรายได้ขยายตัว
          -   ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา เป็น 1.1 พันล้านบาท เนื่องจาก ในไตรมาสที่แล้ว ทรูมูฟบันทึก
              สินทรัพย์เพิ่มและบันทึกค่าเสื่อมราคาย้อนหลังนับตั้งแต่สินทรัพย์ดังกล่าวได้มีการใช้งานจริง ค่าเสื่อราคาและค่าตัดจำหน่ายในไตรมาส 3 ได้มี
              การปรับปรุงโดยไม่รวมผลกระทบที่เกิดจากการปรับเปลี่ยนประมาณการอายุการใช้ทรัพย์สิน สำหรับครึ่งปีแรกของปี 2550 จำนวน 760 ล้านบาท
              (ดูรายละเอียดที่หมายเหตุงบการเงิน ข้อ 4)
          -   ขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงานปกติ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าเล็กน้อย เป็น 164 ล้านบาท ส่วนใหญ่เนื่องจากค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานที่
              สูงขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งถูกชดเชยโดยค่าเสื่อมราคาและดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลง โดยทรูมูฟมีกำไรสุทธิ 213 ล้านบาท ในไตรมาสนี้ รวมผลกระทบจากการ
              เปลี่ยนอายุการใช้งานของสินทรัพย์ ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับขาดทุนสุทธิ 122 ล้านบาท ในไตรมาส 2 ปี 2550


ทรูวิชั่นส์
          -   รายได้จากบริการ ในไตรมาส 3 ปี 2550 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าในอัตราร้อยละ 7.7 (เป็น 2.3 พันล้านบาท) ส่วนใหญ่เนื่องจากมี
              จำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีรายได้จาก Sponsorship รายการอะคาเดมี่ แฟนเทเชีย (AF4) ทั้งนี้รายได้ต่าบริการของทรูวิชั่นส์ เพิ่มขึ้น
              ในอัตราร้อยละ 5 จากไตรมาสเดียวกันในปีที่ผ่านมา
         -    EBITDA เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 15 จากไตรมาสก่อนหน้า เป็น 82 ล้านบาท ส่วนใหญ่เนื่องจากรายได้จากการให้บริการเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งช่วย
              ชดเชยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรายการ AF4 และค่าใช้จ่ายรายการฟุตบอลพรีเมียร์ลีกที่เพิ่มขึ้น
         -    EBITDA margin เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าเป็นอัตราร้อยละ 25.6 (จากร้อยละ 24.1 ในไตรมาส 2 ปี 2550 แต่ลดลงเมื่อเทียบกับ
              ไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า (อัตราร้อยละ 28.7 ในไตรมาส 3 ปี 2549) ทั้งนี้เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มสูงขึ้น
         -    ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย เพิ่มขึ้นล็กน้อยจากไตรมาสที่ผ่านมา เป็น 216 ล้านบาท ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายในไตรมาส 3 ได้มีการ
              ปรับปรุง โดยไม่รวมผลกระทบที่เกืดจากการปรับเปลี่ยนประมาณการอายุการใช้งานของสินทรัพย์สำหรับงวดครึ่งปีแรก จำนวน 53 ล้านบาท
         -    ขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงานปกติ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า เป็น 284 ล้านบาท โดยกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า เป็น
              348 ล้านบาท เมื่อเทียบกับกำไรสุทธิ 272 ล้านบาทในไตรมาส 2
         -    ผู้ใช้บริการรายใหม่สุทธิ เพิ่มขึ้นเป็น 27,868 ราย ในไตรมาส 3 ปี 2550 (จาก 1,176 ราย ในไตรมาส 2 ปี 2550 ซึ่งมีจำนวนผู้ใช้บริการ
              รายใหม่สุทธิต่ำ เนื่องจากเป็นช่วงสิ้นสุดโปรโมชั่นใหญ่) เนื่องจากรายการฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ช่องรายการกีฬาใหม่ๆ และผลกระทบตามฤดูกาล
              โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ใช้บริการรายใหม่ในไตรมาส 3 เป็นผู้ใช้บริการพรีเมียม ทรูวิชั่นส์มีจำนวนผู้ใช้บริการทั้งสิ้น 596,790 ราย
              แต่รายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้บริการต่อเดือนลดลงเล็กน้อย ในอัตราร้อยละ 0.9 เป็น 1,103 บาท (จาก 1,113 บาทในไตรมาส 2 ปี 2550)
         -    แคมเปญสำหรับตลาดระดับล่าง ซึ่งเป็นโปรโมชั่นร่วมกับทรูมูฟ ยังคงได้รับการตอบรับอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีผู้ใช้บริการรายใหม่เพิ่มขึ้นเกือบ
              90,000 รายในไตรมาส 3 และทำให้มีผู้ใช้บริการภายใต้แคมเปญนี้ทั้งสิ้น 317,796 ราย โดยมีผู้ใช้บริการสนใจเปลี่ยนมาใช้บริการแพ็คเกจที่
              ราคาสูงขึ้นสะสมเพิ่มขึ้นเป็น 50,572 าย (จาก 42,252 ราย ในไตรมาส 2 ปี 2550) และหากนับรวมจำนวนผู้ใช้บริการแคมเปญนี้ ทรูวิชั่นส์
              จะมีจำนวนผู้ใช้บริการ รวมทั้งสิ้นเกือบ 900,000 ราย
         -    ในไตรมาส 3 ทรูวิชั่นส์ได้เปิดตัว ทรูสปอร์ต ซึ่งประกอบด้วยช่องรายการกีฬาชั้นนำ 9 ช่อง มีช่องรายการที่ถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีก
              ทั้งหมด 380 นัดในแต่ละฤดูกาล จำนวน 5 ช่อง (ช่องทรูสปอร์ต 1, 3, 5 และทรูสปอร์ตเอ็กตร้า 1 และ 2) นอกจากนี้ยังมีช่องรายการสำหรับ
              EPSN และ STAR Sports อีกด้วย ทรูวิชั่นส์ยังมีการเปิดตัวช่องตามสั่ง (A-la-carte channel) สำหรับฟุตบอลพรีเมียร์ลีกเพื่อเพิ่มรายได้และมี
              ผู้สนใจใช้บริการประมาณ 32,000 ราย ณ สิ้นเดือนกันยายน 2550
         -    รายการอะคาเดมี่ แฟนเทเชีย หรือ AF4 รายการเรียลลิตี้โชว์ยอดนิยมของไทย ยังคงประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งในฤดูกาลที่ 4 นี้ โดยยอดโหวต
              ผ่าน SMS เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 50 จากฤดูกาลที่ 3 AF4 เป็นคอนเทนต์สำคัญที่ช่วยรักษาฐานลูกค้าให้กับทรูวิชั่น และยังเป็นปัจจัยสำคัญทำให้
              ยอดผู้ใช้บริการทรูมูฟเพิ่มขึ้น
         -    AF4 เน้นให้เห็นถึงความสามารถในการนำเสนอบริการคอนเทนต์คุณภาพ จากการผสมผสานบริการต่างๆ ภายในกลุ่มทรู (ในลักษณะของบริการแบบ
              Convergence) ถือเป็นความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยคอนเทนต์ของ AF4 สามารถนำเสนอผ่านทุกช่องทางต่างๆ ของกลุ่ม รวมทั้งอินเทอร์เน็ต
              โทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก และโทรศัพท์เคลื่อนที่ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการรายใหม่ให้กับทรูมูฟอีกด้วย
ภาพประจำตัวสมาชิก
petercorp
Verified User
โพสต์: 110
ผู้ติดตาม: 0

TRUE มีสิทธิ์ Turn around ไหม

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ทรูออนไลน์
  -    รายได้จากการให้บริการ เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.2 จากไตรมาสก่อนหน้า เป็น 6.1 พันล้านบาท แต่ลดลงในอัตราร้อยละ 0.1 จากไตรมาสเดียวกัน
       ในปีที่ผ่านมา รายได้ที่เพิ่มขึ้นในธุรกิจอินเทอร์เน็ต/บรอดแบนด์และบริการโครงข่ายข้อมูลยังคงสามารถชดเชยรายได้จากโทรศัพท์พื้นฐานที่ลดลง
  -    EBITDA ลดลงเล็กน้อยในอัตราร้อยละ 4.7 เป็น 2.3 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านโครงข่ายที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจาก
       การขยายงานในธุรกิจบรอดแบนด์
  -    EBITDA margin ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า เป็นอัตราร้อยละ 37.1 (จากอัตราร้อยละ 39.4 ในไตรมาส 2 ปี 2550 และร้อยละ 38.5 ในไตรมาส 3
       ปี 2549) เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น
  -    ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เป็น 1.2 พันล้านบาท แต่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากไตรมาสเดียวกัน
       ในปีที่ผ่านมา จำนวน 959 ล้านบาท ส่วนใหญ่เนื่องจากผลกระทบจากการขยายประมาณการอายุการใช้งานของสินทรัพย์ ค่าเสื่อมราคาสำหรับไตรมาส 3
       ได้ถูกปรับปรุงเพื่อไม่รวมผลกระทยที่เกิดจากการปรับเปลี่ยนประมาณการอายุการใช้งานของสินทรัพท์ สำหรับงวดอื่น
  -    ขาดทุนจากการดำเนินงานปกติ ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า เป็น 67 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ธุรกิจนี้มีกำไรสุทธิ 1,082 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น
       เป็นอย่างมากจากไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้เนื่องจากผลกระทบจากการขยายประมาณการอายุการใช้งานของสินทรัพย์
  -    บริการบรอดแบนด์ มีรายได้เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 9.0 จากไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 35.0 จากไตรมาส 3 ปีก่อนหน้า เป็น 1.2 พันล้านบาท
       เนื่องจากมีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น
  -    ผู้ใช้บริการรายใหม่สุทธิเพิ่มขึ้นในไตรมาส 3 จำนวน 22,000 ราย ซึ่งถือเป็นไตรมาสที่มีการเติบโตช้าลงเนื่องจาก ผลกระทบชั่วคราวจากการทำการ
       ตลาดของคู่แข่ง แต่จำนวนผู้ใช้บริการโดยรวมยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 27.4 จากไตรมาสเดียวกันในปีที่ผ่านมา เป็น 526,000 ราย รายได้เฉลี่ย
       ต่อเลขหมายต่อเดือนเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 3 เป็น 728 บาท
  -    ผู้ใช้บริการ WiFi เพิ่มขึ้นเป็น 27,000 ราย โดยมีจุดกระจายสัญญาณ หรือ Hot spot มากกว่า 4,000
  -    โปรโมชั่น Super hi-speed package ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบัน มีผู้สมัครใช้บริการทั้งสิ้นประมาณ 282,000 ราย และคาดว่าจะ
       ยังคงสามารถเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการในไตรมาส 4 ได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีการขยายโปรโมชั่นไปจนถึงสิ้นปี
  -    ความสำเร็จจากโปรโมชั่น SUPER hi-speed package แสดงให้เห็นว่ายุทธศาสตร์ผู้นำชีวิต Convergence Lifestyle สามารถส่งผลเป็นรูปธรรม
       นอกจากจะช่วยเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการรายใหม่ๆ ให้กับกลุ่มทรู ในไตรมาส 3 นี้ ยังมีส่วนทำให้ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตและ Wifi ของทรูสามารถรับชมการ
       แข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีกและช่องรายการที่เกี่ยวข้องได้ในราคา 199 บาทต่อเดือน (ราคาปกติ 399 บาท)
  -    รายได้จากบริการโดยรวมของธุรกิจโทรศัพท์พื้นฐาน ลดลงในอัตราร้อยละ 1.4 จากไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแข่งขัน
       ในธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ลดลง รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายต่อเดือนลดลงในอัตราร้อยละ 1.8 จากไตรมาสที่ผ่านมา เป็น 2.5 พันล้านบาท โดยส่วนใหญ่
       เนื่องจาก การปรับปรุงรายได้ที่มีการตั้งค้างจ่ายสูงเกินไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายได้ จากบริการรับซ่อมเหตุเสียและบริการเดินสายกระจาย
  -    เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่ผ่านมา รายได้จากบริการโดยรวมของธุรกิจโทรศัพท์พื้นฐานลดลงในอัตราร้อยละ 16.3 ส่วนใหญ่เนื่องจากการที่
       รายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายต่อเดือนลดลงในอัตราร้อยละ 8.7 รวมทั้งรายได้จากบริการเสริมลดลง ส่วนหนึ่งจากการปรับปรุงดังที่กล่าวแล้ว
  -    ในไตรมาส 3 ผู้ใช้บริการโทรศัพท์พื้นฐานลดลง 9,132 ราย เป็น 1.97 ล้านราย โดยส่วนใหญ่เป็นลูกค้ากลุ่มบ้าน/ที่พักอาศัย) ส่วนใหญ่เนื่องจาก
      โปรโมชั่นฟรีค่าติดตั้งสิ้นสุดลง
  -    WE PCT มีรายได้จากบริการเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 10.5 จากไตรมาสก่อนหน้า เป็น 197 ล้านบาท ในไตรมาสนี้มีผู้ใช้บริการรายใหม่สุทธิเพิ่มขึ้น
      เกือบ 6,500 ราย โดยรายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้บริการต่อเดือนเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เนื่องจากพีซีทีได้ปรับราคาแพคเกจบุฟเฟต์ (จาก 300 บาทต่อเดือน มา
      เป็น 400 บาทต่อเดือน)
  -    บริการด้านโครงข่ายข้อมูล มีรายได้จากบริการลดลงในอัตราร้อยละ 12 จากไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากการปรับปรุงบัญชีในไตรมาส 2 อีกทั้ง
       ไตรมาส 3 ยังเป็นไตรมาสที่เติบโตช้าตามฤดูกาล แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่ผ่านมา รายได้จากบริการเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 16.9 เป็น 693
       ล้านบาท
  -    วงจรที่ให้บริการใหม่เพิ่มขึ้น 450 วงจรในไตรมาสนี้ (จาก 1,153 วงจรในไตรมาส 2 ปี 2550) รายได้เฉลี่ยต่อวงจรต่อเดือนเพิ่มขึ้นเป็น 11,361 บาท
      (จาก 10,669 บาท ในไตรมาสก่อนหน้า)


 ทรูมันนี่และทรูไลฟ์
 -    ทรูมันนี่ มีจำนวนผู้ใช้บริการ 2.6 ล้านราย หลังจากเปิดให้บริการในต้นปี 2549
 -    ทรูไลฟ์ มีลูกค้าที่จดทะเบียนสำหรับเกมส์ Special Force จำนวน 6.6 ล้านราย
ภาพประจำตัวสมาชิก
petercorp
Verified User
โพสต์: 110
ผู้ติดตาม: 0

TRUE มีสิทธิ์ Turn around ไหม

โพสต์ที่ 10

โพสต์

กราฟเทคนิค ต้องขึ้นไปปิด Gap ที่ 6 บาทเร็วๆนี้ ถ้ายืน 6 บาทได้ จะเป็น uptrend แนวต้านต่อไป 7.5 บาท
รูปภาพ
noooon010
Verified User
โพสต์: 2712
ผู้ติดตาม: 0

TRUE มีสิทธิ์ Turn around ไหม

โพสต์ที่ 11

โพสต์

เคยใช้บริการ TRUE ครบทุกอย่างหรือยังครับ
เคยดู งบการเงินทุกไตรมาส และดูมาหลายๆปี หรือยังครับ
เข้าใจ business model ของธุรกิจนี้ไหมครับ

เป็นเพียงคำถามไม่กี่ข้อ จากอีกหลายข้อที่นักลงทุนต้องตอบตัวเองให้ได้ครับ
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ

มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม


นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
โพสต์โพสต์