สภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่น
-
- Verified User
- โพสต์: 221
- ผู้ติดตาม: 0
สภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่น
โพสต์ที่ 2
อืม....ทำไมเลือกที่จะ focus on Japanese ecomomy ล่ะจ๊ะ
ทำไม่ไม่เป็น จีน อเมริกา หรือว่ายุโรป อยากทราบเหตุผลจ้ะ
พอพูดถึงคำว่าเศรษฐกิจ ดัชนีชี้วัดที่มักเอามาใช้อ้างอิงว่าเศรษฐกิจดีไม่ดี
เติบโต หรือถดถอย ก็มักจะพูดถึง GDP กันเป็นอันดับแรกๆ
ไตรมาสสองของปีนี้ GDP ของญี่ปุ่นขยายตัวเพียง 0.1% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก แสดงถึงการฟื้นตัวในอัตราที่ช้าลงอย่างเห็นได้ชัด
การขยายตัวที่ช้าลงนี้ทำให้อันดับโลกของขนาดเศรษฐกิจญี่ปุ่นตกไปเป็นอันดับสาม โดยมีจีนแซงหน้าขึ้นมาอยู่ที่อันดับสองแทน
คิดว่าอัตราการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะอยู่ใจอัตราที่ช้าต่อไป
โดยปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้มันอยู่ในลักษณะ slow pace คือการแข็งค่าของเงินเยน
การบริโภคภายในประเทศ ที่ยังเป็นลบอยู่ต่อเนื่อง ทำให้ภาวะเงินฝืดยังไม่คลายตัว
การแข็งค่าของเยน น่าจะเกิดจาก กรีซ เอฟเฟค เต็มๆ เศรษฐกิจยุโรปอ่อนแอ ยูโรอ่อนค่า ส่งผลให้เยนแข็งโดยปริยาย นอกจากแข็งกว่ายูโรแล้วยัง
แข็งกว่าดอลลาร์สูงสุดในรอบ 15 ปี ประเด็นนี้ส่งผลถึงการแข่งขันด้านการส่งออกของญี่ปุ่นโดยตรง เนื่องจากสินค้าญี่ปุ่นจะมีราคาแพง
นอกจากนั้นจุดแข็งด้านคุณภาพ และค่าความนิยมด้านแบรนด์สินค้าญี่ปุ่น กำลังค่อยๆ เปลี่ยนทิศทาง
เพราะประเทศที่ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมส่งออก ได้พัฒนาเทคโนโลยี และคุณภาพ และทำการตลาดได้ดีขึ้นๆ เช่น แบรนด์จากเกาหลี ไต้หวัน จีน เป็นต้น
อีกประเด็นหนึ่งที่เป็นปัญหาคือภาวะเงินฝืด การบริโภคภายในประเทศลดลง รวมถึงราคาสินค้าต่างๆ ที่ปรับตัวลง ต่อเนื่อง ทำให้ยังคงเกิดภาวะนี้ต่อไป
ตอนนี้คิดออกแค่นี้อะค่ะ แล้วอ่านกันแล้วงงๆ สงสัยก็ขออภัยล่วงหน้าค่ะ ไม่ได้เรียบเรียงความคิดให้เป็นระบบก่อนพิมพ์ แบบว่าร่ายกันสดๆ
มีประเด็นไหนไม่เคลียร์ ผิดพลาด หรือต้องการเพิ่มเติม ช่วยๆ กันด้วยนะจ๊า
ทำไม่ไม่เป็น จีน อเมริกา หรือว่ายุโรป อยากทราบเหตุผลจ้ะ
พอพูดถึงคำว่าเศรษฐกิจ ดัชนีชี้วัดที่มักเอามาใช้อ้างอิงว่าเศรษฐกิจดีไม่ดี
เติบโต หรือถดถอย ก็มักจะพูดถึง GDP กันเป็นอันดับแรกๆ
ไตรมาสสองของปีนี้ GDP ของญี่ปุ่นขยายตัวเพียง 0.1% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก แสดงถึงการฟื้นตัวในอัตราที่ช้าลงอย่างเห็นได้ชัด
การขยายตัวที่ช้าลงนี้ทำให้อันดับโลกของขนาดเศรษฐกิจญี่ปุ่นตกไปเป็นอันดับสาม โดยมีจีนแซงหน้าขึ้นมาอยู่ที่อันดับสองแทน
คิดว่าอัตราการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะอยู่ใจอัตราที่ช้าต่อไป
โดยปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้มันอยู่ในลักษณะ slow pace คือการแข็งค่าของเงินเยน
การบริโภคภายในประเทศ ที่ยังเป็นลบอยู่ต่อเนื่อง ทำให้ภาวะเงินฝืดยังไม่คลายตัว
การแข็งค่าของเยน น่าจะเกิดจาก กรีซ เอฟเฟค เต็มๆ เศรษฐกิจยุโรปอ่อนแอ ยูโรอ่อนค่า ส่งผลให้เยนแข็งโดยปริยาย นอกจากแข็งกว่ายูโรแล้วยัง
แข็งกว่าดอลลาร์สูงสุดในรอบ 15 ปี ประเด็นนี้ส่งผลถึงการแข่งขันด้านการส่งออกของญี่ปุ่นโดยตรง เนื่องจากสินค้าญี่ปุ่นจะมีราคาแพง
นอกจากนั้นจุดแข็งด้านคุณภาพ และค่าความนิยมด้านแบรนด์สินค้าญี่ปุ่น กำลังค่อยๆ เปลี่ยนทิศทาง
เพราะประเทศที่ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมส่งออก ได้พัฒนาเทคโนโลยี และคุณภาพ และทำการตลาดได้ดีขึ้นๆ เช่น แบรนด์จากเกาหลี ไต้หวัน จีน เป็นต้น
อีกประเด็นหนึ่งที่เป็นปัญหาคือภาวะเงินฝืด การบริโภคภายในประเทศลดลง รวมถึงราคาสินค้าต่างๆ ที่ปรับตัวลง ต่อเนื่อง ทำให้ยังคงเกิดภาวะนี้ต่อไป
ตอนนี้คิดออกแค่นี้อะค่ะ แล้วอ่านกันแล้วงงๆ สงสัยก็ขออภัยล่วงหน้าค่ะ ไม่ได้เรียบเรียงความคิดให้เป็นระบบก่อนพิมพ์ แบบว่าร่ายกันสดๆ
มีประเด็นไหนไม่เคลียร์ ผิดพลาด หรือต้องการเพิ่มเติม ช่วยๆ กันด้วยนะจ๊า
-
- Verified User
- โพสต์: 167
- ผู้ติดตาม: 0
สภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่น
โพสต์ที่ 3
ปัญหากลืนไม่เข้าคายไม่ออกครับ
ถ้ามองในง่ายตามหลักทางบัญชี
balance sheet ของประเทศแข็งแกร่งครับ ถึงหนี้สาธารณะจะสูง แต่ระดับหนี้โดยรวมทั้งเอกชนและสาธารณะต่ำมากกกก เมื่อเทียบกับสินทรัพย์ที่ประเทศญี่ปุ่นถือครองอยู่
Yen ซึ่งมีปริมาณหมุนเวียนและมีสภาพคล่องสูงมาก จึงเป็น safe heaven currency ไปโดยปริยาย (เมื่อก่อน USD ด้วย แต่เดี๋ยวนี้ไม่ไหว พิมพ์เงินก่อหนี้ซะจนถ้าเป็นประเทศอื่นคงล้มละลายไปแล้ว)
พอมีวิกฤติเงิน USD ถูกปั๊มจนล้นโลก ก็ทำให้ไม่รู้จะไปไหนเลยมาลงที่ Yen นี่แหละ ซวยเลยคราวนี้ค่าเงินแข็งกระทบการส่งออก cash flow ลดลง เศรษฐกิจในประเทศก็พึ่งพาการส่งออกซะมาก เพราะในประเทศเองก็พัฒนาไปจนสุด จนต้องรอให้ประเทศอื่นยกระดับขึ้นมาก่อน เกิดปัญหาด้าน demand ทั้งในและต่างประเทศชะลอทั้งคู่
deflation สิครับแบบนี้ เพราะเศรษฐกิจไม่ดี คนก็ยิ่งออม demand ก็ยิ่งลด vicious cycle คร๊าบ
ถ้ามองในง่ายตามหลักทางบัญชี
balance sheet ของประเทศแข็งแกร่งครับ ถึงหนี้สาธารณะจะสูง แต่ระดับหนี้โดยรวมทั้งเอกชนและสาธารณะต่ำมากกกก เมื่อเทียบกับสินทรัพย์ที่ประเทศญี่ปุ่นถือครองอยู่
Yen ซึ่งมีปริมาณหมุนเวียนและมีสภาพคล่องสูงมาก จึงเป็น safe heaven currency ไปโดยปริยาย (เมื่อก่อน USD ด้วย แต่เดี๋ยวนี้ไม่ไหว พิมพ์เงินก่อหนี้ซะจนถ้าเป็นประเทศอื่นคงล้มละลายไปแล้ว)
พอมีวิกฤติเงิน USD ถูกปั๊มจนล้นโลก ก็ทำให้ไม่รู้จะไปไหนเลยมาลงที่ Yen นี่แหละ ซวยเลยคราวนี้ค่าเงินแข็งกระทบการส่งออก cash flow ลดลง เศรษฐกิจในประเทศก็พึ่งพาการส่งออกซะมาก เพราะในประเทศเองก็พัฒนาไปจนสุด จนต้องรอให้ประเทศอื่นยกระดับขึ้นมาก่อน เกิดปัญหาด้าน demand ทั้งในและต่างประเทศชะลอทั้งคู่
deflation สิครับแบบนี้ เพราะเศรษฐกิจไม่ดี คนก็ยิ่งออม demand ก็ยิ่งลด vicious cycle คร๊าบ
- kabu
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2149
- ผู้ติดตาม: 0
สภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่น
โพสต์ที่ 4
ญี่ปุ่นประสบปัญหาที่สำคัญคือ Deflation on Inflation (คิดขึ้นเองนะครับคำนี้ ผิดไม่ว่ากันนะครับ :P )
เนื่องจากการแข่งขันในประเทศสูง ผู้คนประหยัดมากขึ้นไม่ใช้เงิน เคยซื้อเสื้อผ้าบ่อยๆทุกฤดูกาลชะลอการซื้อไป เคยไปดื่มกันทุกอาทิตย์ก็ลดจำนวนลง เคยไปกินของร้านแพงๆก็เปลี่ยนไปกินร้านที่ราคาถูกลง สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ประกอบการต้องขายของหรือบริการในราคาที่ถูกลงเพื่อให้แข่งขันได้ แม้แต่ร้าน 100 เยนที่เคยได้ชื่อว่าราคาถูก บางครั้งก็ยังแพงกว่าร้านปกติที่ลดราคาสะบั้นหั่นแหลก
ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจโลกโดยรวมเกิด Inflation ราคาวัตถุดิบ น้ำมันปรับตัวสูงขึ้นตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว จึงทำให้ผู้ประกอบการต้องขายของในราคาถูกในขณะที่ต้นทุนสูงขึ้น
การลงทุนในประเทศญี่ปุ่นเอง (กู้มาลงทุน) ตอนนี้ทุกอย่างชะลอตัวหมด ถึงแม้ว่าญี่ปุ่นจะดำรงนโยบายดอกเบี้ยต่ำเตี้ยติดดินก็ตาม ผมคิดว่าคนญี่ปุ่นคงชินไปแล้วครับ
ค่าเงินเยนตอนนี้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นมากเนื่องจากเศรษฐกิจของอเมริกาและยูโรปที่ไม่แน่นอน อีกทั้งดอกเบี้ยเงินกู้ของอเมริกายังถูกเซ็ทให้อยู่ในระดับต่ำ ทำให้นักลงทุนทำแครี่เทรดกับเงิน USD โดยตรงครับ
ตัวผมมองว่าอีกซักระยะเงินเยนคงปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเปรียบเที่ยบกับเงิน USD ถ้ารัฐบาลอเมริกาปรับดอกเบี้ยขึ้นครับ
ปัญหายังมีอีกหลากหลายครับ ทั้งเรื่อง Pension เอย เรื่องแผนการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มที่ตอนนี้เก็บอยู่เพียง 5% เอย ยาวเลยครับ :lol:
เนื่องจากการแข่งขันในประเทศสูง ผู้คนประหยัดมากขึ้นไม่ใช้เงิน เคยซื้อเสื้อผ้าบ่อยๆทุกฤดูกาลชะลอการซื้อไป เคยไปดื่มกันทุกอาทิตย์ก็ลดจำนวนลง เคยไปกินของร้านแพงๆก็เปลี่ยนไปกินร้านที่ราคาถูกลง สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ประกอบการต้องขายของหรือบริการในราคาที่ถูกลงเพื่อให้แข่งขันได้ แม้แต่ร้าน 100 เยนที่เคยได้ชื่อว่าราคาถูก บางครั้งก็ยังแพงกว่าร้านปกติที่ลดราคาสะบั้นหั่นแหลก
ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจโลกโดยรวมเกิด Inflation ราคาวัตถุดิบ น้ำมันปรับตัวสูงขึ้นตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว จึงทำให้ผู้ประกอบการต้องขายของในราคาถูกในขณะที่ต้นทุนสูงขึ้น
การลงทุนในประเทศญี่ปุ่นเอง (กู้มาลงทุน) ตอนนี้ทุกอย่างชะลอตัวหมด ถึงแม้ว่าญี่ปุ่นจะดำรงนโยบายดอกเบี้ยต่ำเตี้ยติดดินก็ตาม ผมคิดว่าคนญี่ปุ่นคงชินไปแล้วครับ
ค่าเงินเยนตอนนี้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นมากเนื่องจากเศรษฐกิจของอเมริกาและยูโรปที่ไม่แน่นอน อีกทั้งดอกเบี้ยเงินกู้ของอเมริกายังถูกเซ็ทให้อยู่ในระดับต่ำ ทำให้นักลงทุนทำแครี่เทรดกับเงิน USD โดยตรงครับ
ตัวผมมองว่าอีกซักระยะเงินเยนคงปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเปรียบเที่ยบกับเงิน USD ถ้ารัฐบาลอเมริกาปรับดอกเบี้ยขึ้นครับ
ปัญหายังมีอีกหลากหลายครับ ทั้งเรื่อง Pension เอย เรื่องแผนการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มที่ตอนนี้เก็บอยู่เพียง 5% เอย ยาวเลยครับ :lol:
"หนทางเดียวที่จะก้าวพ้นขอบเขตของความเป็นไปได้ คือก้าวเข้าสู่ความเป็นไปไม่ได้", Arthur C. Clarke
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1317
- ผู้ติดตาม: 0
My House
โพสต์ที่ 7
อยากทราบว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร นอกเหนือไปจากทำให้ดอกเบี้ยนโยบายต่ำต้อยติดดิน ในขณะที่เศรษฐกิจพึ่งพาการส่งออกมาก แต่การส่งออกกลับชลอตัวแล้วการนำเข้าวัตถุดิบยังสูงขึ้นอีกอย่างนี้ แล้วคิดว่าจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างไรครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 221
- ผู้ติดตาม: 0
สภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่น
โพสต์ที่ 8
ญี่ปุ่นเคยประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำด้วยการคงดอกเบี้ยนโยบายที่ต่ำถึง 0% มาแล้ว
ซึ่งในช่วงนั้นทำให้เกิดการกู้เยนไปลงทุนให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลก ที่เรียกว่า yen carry trade
และเมื่อ boj ประกาศขึ้นดอกเบี้ยนโยบายปรากฎว่าญี่ปุ่น ได้กำไรจากการปล่อยกู้เป็นจำนวนมหาศาล แต่ในช่วงดังกล่าวก็ไม่ใช่แค่ชั่วข้ามวันข้ามคืน
ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับภาวะที่ยากลำบากอยู่เป็นปีๆ
ทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของญี่ปุ่นมีความเป็นไปได้ที่จะปรับลดลงอีกด้วยซ้ำ จากปัจจุบันที่ 0.1% เพื่อกระตุ้นเศษฐกิจภายในประเทศเอง
วีธีการอื่นที่ญี่ปุ่นน่าจะนำมาใช้ และแสดงออกถึงความเป็นไปได้อย่างชัดเจนคือการเข้าแทรกแซงค่าเงินโดย boj วิธีการก็คือ
ขายเงินเยน และซื้อเงินสกุลต่างประเทศ เพื่อทำให้เยนอ่อนค่า ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกของญี่ปุ่น
แต่วิธีการนี้อาจมีปัญหาติดขัดตรงที่ว่า ยุโรป กับอเมริกา ก็พอใจกับการที่ค่าเงินของตัวเองอ่อนค่าอยู่
ซึ่งมันเป็นผลบวกกับเศรษฐกิจของทั้งยุโรปและอเมริกา ดังนั้นการแทรกแซงค่าเงินเยนของญี่ปุ่นจึงอาจไม่รับรับความร่วมมือ
ที่คุณมาย เฮ้าส์ ตั้งข้อสังเกตเรื่องการส่งออกชะลอตัว ทิศทางอย่างว่ามันอาจจะดีขึ้น ถ้าการแทรกแซงค่าเงินได้ผล
แต่ถ้าตรงกันข้าม การแทรกแซงเงินเยนไม่ประสบความสำเร็จ ภาคอุตสาหกรรมและการผลิตของญี่ปุ่นเคยแก้ปัญหา
โดยการที่ย้ายหรือขยาย ฐานการผลิตออกไปยังประเทศอื่นๆ ที่มีต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ เพื่อที่จะให้ราคาสินค้าต่อสู้ได้ในตลาดโลก
ในส่วนประเด็นผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก คิดว่าต้องพิจารณาก่อนว่า ญี่ปุ่นมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลกแค่ไหน ซึ่งถ้ามองออก คงเห็นผลกระทบ ณ จุดนั้น
ด้วยความที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสามของโลก ซึ่งเป็นตัวบ่งชีถึงอำนาจการซื้อ อำนาจการผลิด
หากอำนาจการซื้อและผลิตนี้ชะลอ หรือชะงักลง ผลกระทบกับประเทศต่างๆ ที่ตามมาน่าจะเป็นในลักษณะเป็นวงจรหรือลูกโซ่
ซึ่งในช่วงนั้นทำให้เกิดการกู้เยนไปลงทุนให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลก ที่เรียกว่า yen carry trade
และเมื่อ boj ประกาศขึ้นดอกเบี้ยนโยบายปรากฎว่าญี่ปุ่น ได้กำไรจากการปล่อยกู้เป็นจำนวนมหาศาล แต่ในช่วงดังกล่าวก็ไม่ใช่แค่ชั่วข้ามวันข้ามคืน
ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับภาวะที่ยากลำบากอยู่เป็นปีๆ
ทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของญี่ปุ่นมีความเป็นไปได้ที่จะปรับลดลงอีกด้วยซ้ำ จากปัจจุบันที่ 0.1% เพื่อกระตุ้นเศษฐกิจภายในประเทศเอง
วีธีการอื่นที่ญี่ปุ่นน่าจะนำมาใช้ และแสดงออกถึงความเป็นไปได้อย่างชัดเจนคือการเข้าแทรกแซงค่าเงินโดย boj วิธีการก็คือ
ขายเงินเยน และซื้อเงินสกุลต่างประเทศ เพื่อทำให้เยนอ่อนค่า ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกของญี่ปุ่น
แต่วิธีการนี้อาจมีปัญหาติดขัดตรงที่ว่า ยุโรป กับอเมริกา ก็พอใจกับการที่ค่าเงินของตัวเองอ่อนค่าอยู่
ซึ่งมันเป็นผลบวกกับเศรษฐกิจของทั้งยุโรปและอเมริกา ดังนั้นการแทรกแซงค่าเงินเยนของญี่ปุ่นจึงอาจไม่รับรับความร่วมมือ
ที่คุณมาย เฮ้าส์ ตั้งข้อสังเกตเรื่องการส่งออกชะลอตัว ทิศทางอย่างว่ามันอาจจะดีขึ้น ถ้าการแทรกแซงค่าเงินได้ผล
แต่ถ้าตรงกันข้าม การแทรกแซงเงินเยนไม่ประสบความสำเร็จ ภาคอุตสาหกรรมและการผลิตของญี่ปุ่นเคยแก้ปัญหา
โดยการที่ย้ายหรือขยาย ฐานการผลิตออกไปยังประเทศอื่นๆ ที่มีต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ เพื่อที่จะให้ราคาสินค้าต่อสู้ได้ในตลาดโลก
ในส่วนประเด็นผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก คิดว่าต้องพิจารณาก่อนว่า ญี่ปุ่นมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลกแค่ไหน ซึ่งถ้ามองออก คงเห็นผลกระทบ ณ จุดนั้น
ด้วยความที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสามของโลก ซึ่งเป็นตัวบ่งชีถึงอำนาจการซื้อ อำนาจการผลิด
หากอำนาจการซื้อและผลิตนี้ชะลอ หรือชะงักลง ผลกระทบกับประเทศต่างๆ ที่ตามมาน่าจะเป็นในลักษณะเป็นวงจรหรือลูกโซ่