ค่าเสื่อมราคา???
- murder_doll
- Verified User
- โพสต์: 1644
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ค่าเสื่อมราคา???
โพสต์ที่ 2
เหมือนว่าซื้อของมาแล้วก็ต้องเสียหายไปตามกาลครับ
เช่น ซื้อโรงงาน 100000 บาท ตัดค่าเสื่อม 10ปี (100000/10=10000 บาท/ปี) ก็จะตัดค่าเสื่อม ปีละ 10000 บาท จนครบ 10 ปีครับ เป็นเงินที่บริษัทเตรียมเก็บเอาไว้เพื่อเป็นงบในทำการซื้อโรงงานใหม่แทนโรงงานเดิมที่ตีไว้ว่าจะใช้งานได้ 10 ปี
ค่าเสื่อมจะเป็นเงินที่ไม่ได้จ่ายออกไปจริงนั่นเองเวลาประเมินมูลค่าแบบ DCF จึงบวกกลับเข้ามาครับ
ผิดถูกเสริมได้นะครับ
เช่น ซื้อโรงงาน 100000 บาท ตัดค่าเสื่อม 10ปี (100000/10=10000 บาท/ปี) ก็จะตัดค่าเสื่อม ปีละ 10000 บาท จนครบ 10 ปีครับ เป็นเงินที่บริษัทเตรียมเก็บเอาไว้เพื่อเป็นงบในทำการซื้อโรงงานใหม่แทนโรงงานเดิมที่ตีไว้ว่าจะใช้งานได้ 10 ปี
ค่าเสื่อมจะเป็นเงินที่ไม่ได้จ่ายออกไปจริงนั่นเองเวลาประเมินมูลค่าแบบ DCF จึงบวกกลับเข้ามาครับ
ผิดถูกเสริมได้นะครับ
เงินทองเป็นของมายา
ข้าวปลาคือของจริง
ข้าวปลาคือของจริง
- Nuthor
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 200
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเสื่อมราคา???
โพสต์ที่ 3
ค่าเสื่อมราคา คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดมาจากการการเสื่อมของสินทรัพย์ครับ โดยจะเอาราคาสินทรัพย์มาหักออกเป็น
ค่าใช้จ่ายในแต่ละงวดบัญชีครับ
เช่น บริษัทซื้อเครื่องจักรมา 1 ชิ้น ราคา 10000 บาท
อายุการใช้งานของเครื่องจักรประมาณ 10 ปี (อายุการใช้งานจะเป็นการประมาณเอาจากประสบการณ์หรือข้อมูลพื้นฐานที่มีอยู่)
ราคาซากหลังใช้งาน 10 ปี เป็น 1000 บาท (เป็นการประมาณเช่นกัน)
ค่าเสื่อมราคาคิดจาก ราคาซื้อ ลบด้วยราคาซาก หารด้วยอายุการใช้งาน
ในที่นี้คือ (10000-1000)/10 = 900
ดังนั้นเวลาบันทึกบัญชีในงวดสิ้นปี บริษัทต้องบันทึกค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายปีละ 900 บาท
ที่ต้องมีค่าเสื่อมราคาเนื่องจาก ระบบมาตรฐานการบัญชีต้องการให้การบันทึกบัญชี สะท้อนสถานะที่แท้จริงของบริษัทครับ
ค่าใช้จ่ายในแต่ละงวดบัญชีครับ
เช่น บริษัทซื้อเครื่องจักรมา 1 ชิ้น ราคา 10000 บาท
อายุการใช้งานของเครื่องจักรประมาณ 10 ปี (อายุการใช้งานจะเป็นการประมาณเอาจากประสบการณ์หรือข้อมูลพื้นฐานที่มีอยู่)
ราคาซากหลังใช้งาน 10 ปี เป็น 1000 บาท (เป็นการประมาณเช่นกัน)
ค่าเสื่อมราคาคิดจาก ราคาซื้อ ลบด้วยราคาซาก หารด้วยอายุการใช้งาน
ในที่นี้คือ (10000-1000)/10 = 900
ดังนั้นเวลาบันทึกบัญชีในงวดสิ้นปี บริษัทต้องบันทึกค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายปีละ 900 บาท
ที่ต้องมีค่าเสื่อมราคาเนื่องจาก ระบบมาตรฐานการบัญชีต้องการให้การบันทึกบัญชี สะท้อนสถานะที่แท้จริงของบริษัทครับ
"If you candream it, you can do it"
- Mactavish
- Verified User
- โพสต์: 87
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเสื่อมราคา???
โพสต์ที่ 4
-สมมติว่า ผมซื้อเครื่องตัดเหล็กมา 1 ล้านบาท ทางบริษัทที่ขายบอกว่ามันมีอายุการใช้งาน 10 ปี
แล้วเท่ากับว่า ผมต้องเก็บเงินปีละ 1 แสนบาทเป็นเวลา 10 ปีเพื่อรอซื้อเครื่องตัดเหล็กรุ่นใหม่
คิดแบบนี้ถูกต้องไหมครับ
-แต่ผมไปอ่านหนังสือการอ่านงบการเงินแบบ warrent มาเค้าบอกว่า ถ้าซื้อเครื่องจักรมา 1 ล้านโดยมีอายุการใช้งาน 10 ปี สรรพภากรจะไม่จำให้จ่ายเงินซื้อเลย 1 ล้าน แต่ในกระจายจ่ายเงินปีละ 1 แสนเป็นเวลา 10 ปี ซึ่งผมดูแล้วคล้ายกับการซื้อเป็นเงินผ่อน อยากทรายว่าผมคิดถูกไหมครับ
-แล้ว EBITDA คืออะไรครับผมอ่านแล้วก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ
เล่นถามต่อซะเยอะเลย^^ รบกวนพี่ๆช่วยหน่อยนะครับ
ขอบคุณครับ
แล้วเท่ากับว่า ผมต้องเก็บเงินปีละ 1 แสนบาทเป็นเวลา 10 ปีเพื่อรอซื้อเครื่องตัดเหล็กรุ่นใหม่
คิดแบบนี้ถูกต้องไหมครับ
-แต่ผมไปอ่านหนังสือการอ่านงบการเงินแบบ warrent มาเค้าบอกว่า ถ้าซื้อเครื่องจักรมา 1 ล้านโดยมีอายุการใช้งาน 10 ปี สรรพภากรจะไม่จำให้จ่ายเงินซื้อเลย 1 ล้าน แต่ในกระจายจ่ายเงินปีละ 1 แสนเป็นเวลา 10 ปี ซึ่งผมดูแล้วคล้ายกับการซื้อเป็นเงินผ่อน อยากทรายว่าผมคิดถูกไหมครับ
-แล้ว EBITDA คืออะไรครับผมอ่านแล้วก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ
เล่นถามต่อซะเยอะเลย^^ รบกวนพี่ๆช่วยหน่อยนะครับ
ขอบคุณครับ
- sathaporne
- Verified User
- โพสต์: 1661
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเสื่อมราคา???
โพสต์ที่ 5
ข้อแรก นี่ไม่เข้าใจคำถามเท่าไหร่Mactavish เขียน:-สมมติว่า ผมซื้อเครื่องตัดเหล็กมา 1 ล้านบาท ทางบริษัทที่ขายบอกว่ามันมีอายุการใช้งาน 10 ปี
แล้วเท่ากับว่า ผมต้องเก็บเงินปีละ 1 แสนบาทเป็นเวลา 10 ปีเพื่อรอซื้อเครื่องตัดเหล็กรุ่นใหม่
คิดแบบนี้ถูกต้องไหมครับ
-แต่ผมไปอ่านหนังสือการอ่านงบการเงินแบบ warrent มาเค้าบอกว่า ถ้าซื้อเครื่องจักรมา 1 ล้านโดยมีอายุการใช้งาน 10 ปี สรรพภากรจะไม่จำให้จ่ายเงินซื้อเลย 1 ล้าน แต่ในกระจายจ่ายเงินปีละ 1 แสนเป็นเวลา 10 ปี ซึ่งผมดูแล้วคล้ายกับการซื้อเป็นเงินผ่อน อยากทรายว่าผมคิดถูกไหมครับ
-แล้ว EBITDA คืออะไรครับผมอ่านแล้วก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ
เล่นถามต่อซะเยอะเลย^^ รบกวนพี่ๆช่วยหน่อยนะครับ
ขอบคุณครับ
ขอตอบข้อสองแล้วกัน
- เข้าใจผิดแล้วครับ ที่จริงแล้วสรรพากรไม่มีสิทธิ์มาห้ามไม่ให้เราจ่ายเงินซื้อ 1ล้านเลย
โดยปกติเมื่อเราซื้อเครื่องจักรมาในราคา 1ล้านบาท (จ่ายเงินไปแล้ว1ล้านบาท)
ทางสรรพากรเขาจะไม่ให้เราลงในบัญชีเป็นรายจ่ายทีเดียว 1ล้านบาทในปีนั้นเลย
แต่เขาจะให้ทยอยนำมาคิดเป็นค่าเสื่อมตามจำนวนปีอายุการใช้งาน (เช่น 10ปี)
ในกรณีนี้สมมติว่าถ้าครบ 10ปี เราให้มูลค่าของเครื่องจักรเป็น "ศูนย์"
ก็แปลว่าเงินที่เราจ่ายค่าเครื่องจักร 1ล้านบาท (ย้ำอีกครั้งคือที่จริงได้จ่ายเงินทั้งหมดไปแล้ว)
จะถูกนำมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทปีละ 1ล้าน/10 = 1 แสนบาท/ปี ในรูปของค่าเสื่อมราคา
ซึ่งหมายถึงว่าในปีนี้ ที่จริงแล้ว เราจ่ายเงินไปแล้ว 1 ล้านบาท
แต่ในทางบัญชีกลับให้เราลงบันทึกว่าเรามีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องจักรนี้ (ค่าเสื่อม) เพียงแค่ 1แสนบาท ในงบกำไรขาดทุนของเรา
และในปีต่อมา และในปีถัดๆไป เราก็ต้องบันทึกค่าใช้จ่ายส่วนนี้อีก 1แสนบาทในงบกำไรขาดทุนของเราอีกทุกปี
ซึ่งจะเห็นว่า ในปีที่สอง แม้ว่าในทางบัญชี เราจะมีรายจ่าย 1แสนบาท แต่เราก็ไม่ได้จ่ายเงินไปจริงๆ
เพราะเราได้จ่ายไปหมดแล้วในปีแรกที่ซื้อเครื่องจักรมา เรียกว่าเป็นเพียงรายจ่ายลมๆเท่านั้นครับ
- murder_doll
- Verified User
- โพสต์: 1644
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ค่าเสื่อมราคา???
โพสต์ที่ 6
กำไรจากการดำเนินงาน+ค่าเสื่อมครับMactavish เขียน: -แล้ว EBITDA คืออะไรครับผมอ่านแล้วก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ
เงินทองเป็นของมายา
ข้าวปลาคือของจริง
ข้าวปลาคือของจริง
- sathaporne
- Verified User
- โพสต์: 1661
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเสื่อมราคา???
โพสต์ที่ 7
EBITDA = Earn before Interest, Tax, Depreciation and Amortizationmurder_doll เขียน:กำไรจากการดำเนินงาน+ค่าเสื่อมครับMactavish เขียน: -แล้ว EBITDA คืออะไรครับผมอ่านแล้วก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ
= กำไรก่อนเสียค่าดอกเบี้ย ภาษี ค่้าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย
-
- Verified User
- โพสต์: 1980
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเสื่อมราคา???
โพสต์ที่ 8
ไปดูงบกำไรขาดทุนสิครับ
วิธีการเรียงลำดับค่าใช้จ่ายมันจะมีมาตรฐานของมันอยู่
วิธีการเรียงลำดับค่าใช้จ่ายมันจะมีมาตรฐานของมันอยู่
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
- mr_chai
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 755
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเสื่อมราคา???
โพสต์ที่ 11
แล้วค่าเสื่อมที่ตัดเป็นค่าใช้จ่ายออกไป บริษัทจะต้องเก็บไว้เป็นเงินซื้อเครื่องจักรใหม่
เงินที่เก็บไว้เนี่ยจะอยู่ในรายการอะไรครับ ในรายการเงินสดและเทียบเท่าเงินสดหรือเปล่าครับ?
ถ้าอย่างนั้นก็แปลว่า บริษัทสามารถเอาไปทำอะไรอย่างอื่นก่อนก็ได้รึเปล่าครับ ก่อนจะครบ 10 ปี(ที่ต้อง
ซื้อเครื่องจักรใหม่)
เงินที่เก็บไว้เนี่ยจะอยู่ในรายการอะไรครับ ในรายการเงินสดและเทียบเท่าเงินสดหรือเปล่าครับ?
ถ้าอย่างนั้นก็แปลว่า บริษัทสามารถเอาไปทำอะไรอย่างอื่นก่อนก็ได้รึเปล่าครับ ก่อนจะครบ 10 ปี(ที่ต้อง
ซื้อเครื่องจักรใหม่)
" คนที่มีความสุขที่สุด ไม่จำเป็นต้องมีสิ่งที่ดีที่สุด เพียงรู้จักพอใจในสิ่งที่ตัวเองมี
เขาก็จะกลายเป็นคนที่มีความสุขที่สุด "
วอเรนท์ บัฟเฟต
เขาก็จะกลายเป็นคนที่มีความสุขที่สุด "
วอเรนท์ บัฟเฟต
-
- Verified User
- โพสต์: 760
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเสื่อมราคา???
โพสต์ที่ 12
ค่าเสื่อม เป็นการวัดค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อซื้อสินทรัพย์นั้น ทั้งนี้การคิดค่าเสื่อมนี้ เราได้จ่ายเงินทั้งหมดจริงเพื่อซื้อสินทรัพย์นั้นมาแล้ว แต่จะค่าหักเป็นค่าใช้จ่ายออกเป็นงวดออกจากบัญชีในภายหลังโดยไม่มีการจ่ายเงินออกไปอีก เงินก้อนนี้แต่ละงวดนี่เองก็คือค่าเสื่อม (ให้มองง่ายๆก่อนนะ ยังไม่ต้องไปคิดค่าซาก)
โดยค่าเสื่อมแต่ละงวดจะเป็นเท่าไหร่ เราจะคิดจากอายุการใช้งานของสินทรัพย์ ดังนั้นถ้าเราคิดให้สินทรัพย์นั้นมีอายุใช้งานนานๆ ค่าเสื่อมที่ต้องจ่ายแต่ละงวดก็จะน้อย ในทางตรงข้าม ถ้าประเมินอายุการใช้งานได้สั้น ค่าเสิ่อมแต่ละงวดก็จะมาก
ดังนั้นแค่การคิดค่าเสื่อมจะมีผลต่อกำไรสุทธิของแต่ละปีได้ แน่นอนการคิดค่าเสื่อมจึงมีผลต่อราคาหุ้นได้
(ทั้งนี้ค่าเสื่อมจัดเป็นรายจ่ายอย่างหนึ่งในงบกำไรขาดทุนจะอยู่ในส่วนของ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร)
เช่น ถ้าต้องการปลอมแปลงสร้างภาพว่าบริษัทกำไรดี (ใช้กลโกงตกแต่งบัญชี)ทั้งที่ซื้อสินทรัพย์ซักอย่างมาในราคาแพงเกินจริงมากๆ แล้วก็มาก็คิดค่าเสื่อมน้อยๆ ซึ่งจะทำให้รายจ่ายน้อยตามไปด้วย เพราะรายจ่ายถูกกระจายออกไปหลายๆปีมากขึ้น ก็จะทำให้กำไรสุทธิแต่ละปีไม่ถูกลดทอนไปมาก เป็นต้น ทั้งนี้การจะพิจารณาว่าอายุใช้งานจริงได้กี่ปีมันก็ขึ้นกับดุลพินิจของผู้ทำบัญชีด้วย
ปล สำหรับที่ดินนั้นมีอายุการใช้งานได้ไม่จำกัดระยะเวลาจึงไม่มีการคิดค่าเสื่อม
การจะเข้าใจค่าเสื่อมมันมาจากพื้นฐานที่ว่า ต้องเข้าใจว่า กำไรไม่เท่ากับเงินสดเพราะ
1. แม้แต่รายได้ก็รับรู้ไม่ตรงกับเงินสดที่ได้รับจริง (รายได้รับรู้เมื่อส่งมอบสินค้าและบริการ ทั้งที่ยังไม่ได้รับเงินจากลูกค้า)
2. ส่วนรายจ่าย ค่าเสื่อมเป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นเช่นกันว่า รายจ่ายที่เห็นในบัญชีไม่เท่ากับเงินสดที่จ่ายออกไปจริง เพราะถ้าเราซื้อเครื่องจักรซักเครื่องมา 10ล้านอายุใช้งาน 10ปี โดยเครื่องจักรจะสร้างรายได้ให้เรา 2ล้านต่อปี แล้วเราลงว่า ปีแรกก็มีรายจ่าย 10ล้านเลย อย่างนี้เป็นการลงบัญชีที่ผิด จึงต้องมาทยอยลงบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายแต่ละปี คือค่าเสื่อมนั่นเอง
โดยค่าเสื่อมแต่ละงวดจะเป็นเท่าไหร่ เราจะคิดจากอายุการใช้งานของสินทรัพย์ ดังนั้นถ้าเราคิดให้สินทรัพย์นั้นมีอายุใช้งานนานๆ ค่าเสื่อมที่ต้องจ่ายแต่ละงวดก็จะน้อย ในทางตรงข้าม ถ้าประเมินอายุการใช้งานได้สั้น ค่าเสิ่อมแต่ละงวดก็จะมาก
ดังนั้นแค่การคิดค่าเสื่อมจะมีผลต่อกำไรสุทธิของแต่ละปีได้ แน่นอนการคิดค่าเสื่อมจึงมีผลต่อราคาหุ้นได้
(ทั้งนี้ค่าเสื่อมจัดเป็นรายจ่ายอย่างหนึ่งในงบกำไรขาดทุนจะอยู่ในส่วนของ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร)
เช่น ถ้าต้องการปลอมแปลงสร้างภาพว่าบริษัทกำไรดี (ใช้กลโกงตกแต่งบัญชี)ทั้งที่ซื้อสินทรัพย์ซักอย่างมาในราคาแพงเกินจริงมากๆ แล้วก็มาก็คิดค่าเสื่อมน้อยๆ ซึ่งจะทำให้รายจ่ายน้อยตามไปด้วย เพราะรายจ่ายถูกกระจายออกไปหลายๆปีมากขึ้น ก็จะทำให้กำไรสุทธิแต่ละปีไม่ถูกลดทอนไปมาก เป็นต้น ทั้งนี้การจะพิจารณาว่าอายุใช้งานจริงได้กี่ปีมันก็ขึ้นกับดุลพินิจของผู้ทำบัญชีด้วย
ปล สำหรับที่ดินนั้นมีอายุการใช้งานได้ไม่จำกัดระยะเวลาจึงไม่มีการคิดค่าเสื่อม
การจะเข้าใจค่าเสื่อมมันมาจากพื้นฐานที่ว่า ต้องเข้าใจว่า กำไรไม่เท่ากับเงินสดเพราะ
1. แม้แต่รายได้ก็รับรู้ไม่ตรงกับเงินสดที่ได้รับจริง (รายได้รับรู้เมื่อส่งมอบสินค้าและบริการ ทั้งที่ยังไม่ได้รับเงินจากลูกค้า)
2. ส่วนรายจ่าย ค่าเสื่อมเป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นเช่นกันว่า รายจ่ายที่เห็นในบัญชีไม่เท่ากับเงินสดที่จ่ายออกไปจริง เพราะถ้าเราซื้อเครื่องจักรซักเครื่องมา 10ล้านอายุใช้งาน 10ปี โดยเครื่องจักรจะสร้างรายได้ให้เรา 2ล้านต่อปี แล้วเราลงว่า ปีแรกก็มีรายจ่าย 10ล้านเลย อย่างนี้เป็นการลงบัญชีที่ผิด จึงต้องมาทยอยลงบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายแต่ละปี คือค่าเสื่อมนั่นเอง
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 167
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเสื่อมราคา???
โพสต์ที่ 13
สอบถามต่อครับnavapon เขียน:
(ทั้งนี้ค่าเสื่อมจัดเป็นรายจ่ายอย่างหนึ่งในงบกำไรขาดทุนจะอยู่ในส่วนของ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร)
พอดีผมไปดูงบของBAFSแล้วพบว่าค่าเสื่อมมันมากกว่า ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
เช่น 54Q1 ค่าเสือม=76.34ลบ (ดูในงบกระแสเงินสด)
แต่ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร =67.14ลบ.(ดูในงบกำไรขาดทุนเบ็ตเสร็จ)
เป็นไปได้ไหมว่ามันจะอยู่ใน ต้นทุนขายสินค้าและหรือต้นทุนการให้บริการ
-
- Verified User
- โพสต์: 760
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเสื่อมราคา???
โพสต์ที่ 14
คุณ pon41me เข้าใจถูกแล้วครับ ผมพิมพ์ผิดเองpon41me เขียน:สอบถามต่อครับnavapon เขียน:
(ทั้งนี้ค่าเสื่อมจัดเป็นรายจ่ายอย่างหนึ่งในงบกำไรขาดทุนจะอยู่ในส่วนของ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร)
พอดีผมไปดูงบของBAFSแล้วพบว่าค่าเสื่อมมันมากกว่า ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
เช่น 54Q1 ค่าเสือม=76.34ลบ (ดูในงบกระแสเงินสด)
แต่ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร =67.14ลบ.(ดูในงบกำไรขาดทุนเบ็ตเสร็จ)
เป็นไปได้ไหมว่ามันจะอยู่ใน ต้นทุนขายสินค้าและหรือต้นทุนการให้บริการ
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
- mr_chai
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 755
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเสื่อมราคา???
โพสต์ที่ 15
สรุปว่ามันอยู่ใน ต้นทุนขายสินค้าและหรือให้บริการเหรอครับ?navapon เขียน:คุณ pon41me เข้าใจถูกแล้วครับ ผมพิมพ์ผิดเองpon41me เขียน:สอบถามต่อครับnavapon เขียน:
(ทั้งนี้ค่าเสื่อมจัดเป็นรายจ่ายอย่างหนึ่งในงบกำไรขาดทุนจะอยู่ในส่วนของ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร)
พอดีผมไปดูงบของBAFSแล้วพบว่าค่าเสื่อมมันมากกว่า ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
เช่น 54Q1 ค่าเสือม=76.34ลบ (ดูในงบกระแสเงินสด)
แต่ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร =67.14ลบ.(ดูในงบกำไรขาดทุนเบ็ตเสร็จ)
เป็นไปได้ไหมว่ามันจะอยู่ใน ต้นทุนขายสินค้าและหรือต้นทุนการให้บริการ
" คนที่มีความสุขที่สุด ไม่จำเป็นต้องมีสิ่งที่ดีที่สุด เพียงรู้จักพอใจในสิ่งที่ตัวเองมี
เขาก็จะกลายเป็นคนที่มีความสุขที่สุด "
วอเรนท์ บัฟเฟต
เขาก็จะกลายเป็นคนที่มีความสุขที่สุด "
วอเรนท์ บัฟเฟต
-
- Verified User
- โพสต์: 760
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเสื่อมราคา???
โพสต์ที่ 16
คุณ mr_chai ถูกแล้วครับ
ต้นทุนขายสินค้าและบริการ (cost of goods sold and service)
ต้นทุนวัตถุดิบสินค้าและอื่นๆ เช่นค่าขนส่งวัตถุดิบ ค่าใช้จ่ายในการผลิต ค่าจ้างของคนงานที่อยู่ในสายการผลิต และ ค่าเสื่อมราคา+ค่าตัดจำหน่าย เป็นต้น
ค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร (SG&A)
เงินเดือนพนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโฆษณา ค่าทำบัญชี ค่านายหน้า ค่าขนส่ง ค่าวัสดุ ค่าโทรศัพท์ วัสดุสิ้นเปลือง ค่าเบี้ยประกัน เป็นต้น
สองอันนี้ต่างกันที่ ค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร เอาไปคิดเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดในงวดนั้นเลย ส่วนต้นทุนขายสินค้าและบริการ (ค่าใช้จ่ายในการลงทุน) จะถูกกระจายออกไปในหลายๆงวดบัญชีต่อๆมา
ต้นทุนขายสินค้าและบริการ (cost of goods sold and service)
ต้นทุนวัตถุดิบสินค้าและอื่นๆ เช่นค่าขนส่งวัตถุดิบ ค่าใช้จ่ายในการผลิต ค่าจ้างของคนงานที่อยู่ในสายการผลิต และ ค่าเสื่อมราคา+ค่าตัดจำหน่าย เป็นต้น
ค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร (SG&A)
เงินเดือนพนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโฆษณา ค่าทำบัญชี ค่านายหน้า ค่าขนส่ง ค่าวัสดุ ค่าโทรศัพท์ วัสดุสิ้นเปลือง ค่าเบี้ยประกัน เป็นต้น
สองอันนี้ต่างกันที่ ค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร เอาไปคิดเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดในงวดนั้นเลย ส่วนต้นทุนขายสินค้าและบริการ (ค่าใช้จ่ายในการลงทุน) จะถูกกระจายออกไปในหลายๆงวดบัญชีต่อๆมา
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
- mr_chai
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 755
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเสื่อมราคา???
โพสต์ที่ 17
ชัดเจน ขอบคุณมากครับnavapon เขียน:คุณ mr_chai ถูกแล้วครับ
ต้นทุนขายสินค้าและบริการ (cost of goods sold and service)
ต้นทุนวัตถุดิบสินค้าและอื่นๆ เช่นค่าขนส่งวัตถุดิบ ค่าใช้จ่ายในการผลิต ค่าจ้างของคนงานที่อยู่ในสายการผลิต และ ค่าเสื่อมราคา+ค่าตัดจำหน่าย เป็นต้น
ค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร (SG&A)
เงินเดือนพนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโฆษณา ค่าทำบัญชี ค่านายหน้า ค่าขนส่ง ค่าวัสดุ ค่าโทรศัพท์ วัสดุสิ้นเปลือง ค่าเบี้ยประกัน เป็นต้น
สองอันนี้ต่างกันที่ ค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร เอาไปคิดเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดในงวดนั้นเลย ส่วนต้นทุนขายสินค้าและบริการ (ค่าใช้จ่ายในการลงทุน) จะถูกกระจายออกไปในหลายๆงวดบัญชีต่อๆมา
" คนที่มีความสุขที่สุด ไม่จำเป็นต้องมีสิ่งที่ดีที่สุด เพียงรู้จักพอใจในสิ่งที่ตัวเองมี
เขาก็จะกลายเป็นคนที่มีความสุขที่สุด "
วอเรนท์ บัฟเฟต
เขาก็จะกลายเป็นคนที่มีความสุขที่สุด "
วอเรนท์ บัฟเฟต
- mr_chai
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 755
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเสื่อมราคา???
โพสต์ที่ 19
ไม่ขอใช้คำว่าตอบครับ ขอแสดงความคิดเห็น เพราว่าผมไม่มั่นใจครับ อิอิpon41me เขียน:1.แล้วถ้าสร้างโรงงานหรือซื้อเครื่องจักรใหม่ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะอยู่ที่ไหนครับ
2.ปรับปรุงอาคารสถานที่ซ่อมเครื่องจักร ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะอยู่ที่ไหนครับ
ข้อ 1. สร้า้งโรงงานผมคิดว่าไม่น่าจะบันทึกในงบกำไรขาดทุน แต่น่าจะไปบันทึกในงบกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน(กรณีที่ไม่ได้กู้)
กรณีที่กู้มา บันทึกเพิ่มในงบกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน แล้วตัดออกในงบกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน
ข้อ2.(อันนี้ไม่รู้แต่ขอเดา) ขอเดาว่าอยู่ในรายการค่าใช้จ่ายอื่นๆครับ
" คนที่มีความสุขที่สุด ไม่จำเป็นต้องมีสิ่งที่ดีที่สุด เพียงรู้จักพอใจในสิ่งที่ตัวเองมี
เขาก็จะกลายเป็นคนที่มีความสุขที่สุด "
วอเรนท์ บัฟเฟต
เขาก็จะกลายเป็นคนที่มีความสุขที่สุด "
วอเรนท์ บัฟเฟต
-
- Verified User
- โพสต์: 167
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเสื่อมราคา???
โพสต์ที่ 20
ขอถามต่อครับ
1.เราจะรู้ได้อย่างไรทรัพย์สินที่บริษัทมีอยู่หักค่าเสื่อมไปเท่าไรแล้ว กี่บาท กี่เปอร์เซนต์
-ถ้าเรารู้เรื่องนี้สมมุติบ.เคยคิดค่าเสื่อมปีละ100ล้าน ปีที่หักหมดปีถัดไปก็จะเหมือนกับได้กำไรเพื่มมา100ล้านเลยนะครับ
2.รู้มาว่าที่แสดงในงบดุลจะแสดงราคาทรัพย์สินที่ที่รวมที่ดิน อาคาร อุปกรณ์
แต่เราจะรู้ได้ยังไงว่าที่ดินเท่าไร อาคารเท่าไร อุปกรณ์เท่าไร
3 และเคยอ่านตามกระทู้ว่าที่ดินไม่มีการคิดค่าเสื่อมใช่ไหมครับ
1.เราจะรู้ได้อย่างไรทรัพย์สินที่บริษัทมีอยู่หักค่าเสื่อมไปเท่าไรแล้ว กี่บาท กี่เปอร์เซนต์
-ถ้าเรารู้เรื่องนี้สมมุติบ.เคยคิดค่าเสื่อมปีละ100ล้าน ปีที่หักหมดปีถัดไปก็จะเหมือนกับได้กำไรเพื่มมา100ล้านเลยนะครับ
2.รู้มาว่าที่แสดงในงบดุลจะแสดงราคาทรัพย์สินที่ที่รวมที่ดิน อาคาร อุปกรณ์
แต่เราจะรู้ได้ยังไงว่าที่ดินเท่าไร อาคารเท่าไร อุปกรณ์เท่าไร
3 และเคยอ่านตามกระทู้ว่าที่ดินไม่มีการคิดค่าเสื่อมใช่ไหมครับ
- mr_chai
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 755
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเสื่อมราคา???
โพสต์ที่ 21
ตอบคำถามเดียวครับ ที่ดินไม่คิดค่าเสื่อม
ที่เหลือรอฟังเช่นกันครับ
ที่เหลือรอฟังเช่นกันครับ
" คนที่มีความสุขที่สุด ไม่จำเป็นต้องมีสิ่งที่ดีที่สุด เพียงรู้จักพอใจในสิ่งที่ตัวเองมี
เขาก็จะกลายเป็นคนที่มีความสุขที่สุด "
วอเรนท์ บัฟเฟต
เขาก็จะกลายเป็นคนที่มีความสุขที่สุด "
วอเรนท์ บัฟเฟต
-
- Verified User
- โพสต์: 1230
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเสื่อมราคา???
โพสต์ที่ 22
ก่อนพูดถึงเรื่อง ค่าเสื่อมราคา อยากให้ศึกษาศัพท์คำหนึ่งก่อน คือ amortization หรือ แปลเป็นไทยคือ ค่าตัดจำหน่าย รายละเอียดตามภาษาอังกฤษข้างล่างนี้นี้นะครับ ผมจะอธิบายหลักการสำคัญประกอบดังนี้นะครับ
ด้านรายได้ สมมตเรารับค่าบริการล่วงหน้า 10 ปี เป็นเงิน 10 ล้านบาท ถามว่าเราจะรับรู้ทั้งหมดในปีนีไหม คำตอบคือ ไม่ เราต้องแบ่งรับรู้เท่ากับ 10/10 = 1 ล้านบาทต่อปี ถูกต้องไหมครับ อย่างนี้ทางบัญชีเขาเรียกว่า เราต้องทำการ amortize (ตัดรับรู้/จำหน่าย) รายได้คือรับรู้ปีนี้เท่ากับ 1 ล้านบาท ต่อปี เป็นเวลา 10 ปี
ในทำนองเดียวกันด้านรายจ่าย สมมตเราลงทุนซื้อของชิ้นหนึ่งราคา 10 ล้านบาท เพื่อใช้งาน สามารถใช้ได้นาน 10 ปี เราก็ไม่สมควรตัดจ่ายในปีเดียว เราสมควร amortize เช่นกัน กล่าวคือ ตัดเป็นรายจ่าย ปีละ 1 ล้านบาทเช่นกัน แต่ถามว่าซื้อเครื่องคิดเลขราคา 500 บาท ใช้อยุการใช้งาน 10 ปี เราจะ amortize 10 ปีไหม คำตอบ คือ ไม่ ครับ เพราะราคามันน้อย ไม่เป็นสาระเพียงพอที่เราสมควรจะตัด amortize ครับ จึงตัดเป็นรายจ่ายทั้งจำนวน
การ amortize ที่พบบ่อย มีดังนี้ สิทธิเก็บกิน ค่าเช่าหรือให้เช่าที่ดิน(เช่นจ่ายหรือเก็บล่วงหน้า 30 ปี) อาคาร รถยนต์ goodwill R&D สัมปทาน เงินกู้ เป็นต้น
แต่ถ้าเป็นกรณี อาคาร เครื่องจักร เราจะมีศัพท์เฉพาะเรียกจำนวนที่เรา amortized ได้ว่า ค่าเสื่อมราคา
ดังนั้นการ amortization เพื่อให้การรับรู้รายได้ หรือ รายจ่าย เหมาะสมกับความจริง ไม่ใช่เพื่อเตรียมเงินไว้ซื้อทดแทนอย่างไร
In accounting we use the word amortization to mean the systematic allocation of a balance sheet item to expense (or revenue) on the income statement. Conceptually, amortization is similar to depreciation and depletion. An example of amortization is the systematic allocation of the balance in the contra-liability account Discount of Bonds Payable to Interest Expense over the life of the bonds. (The accountant credits Discount on Bonds Payable and debits Bond Interest Expense with a portion of the balance each accounting period.) In the case of a premium on bonds payable, each accounting period the accountant will systematically move a portion of the balance in Premium on Bonds Payable by debiting the account and crediting Interest Expense.
Amortization also applies to asset balances, such as discount on notes receivable, deferred charges, and some intangible assets.
Amortization is a term used with mortgage loans. For example, a mortgage lender often provides the borrower with a loan amortization schedule. This schedule lists each loan payment during the life of the loan, the amount of each payment that is for interest, the amount of each payment that is for principal, and the principal balance after each loan payment. The loan amortization schedule allows the borrower to see how the loan balance will be reduced over the life of the loan.
ด้านรายได้ สมมตเรารับค่าบริการล่วงหน้า 10 ปี เป็นเงิน 10 ล้านบาท ถามว่าเราจะรับรู้ทั้งหมดในปีนีไหม คำตอบคือ ไม่ เราต้องแบ่งรับรู้เท่ากับ 10/10 = 1 ล้านบาทต่อปี ถูกต้องไหมครับ อย่างนี้ทางบัญชีเขาเรียกว่า เราต้องทำการ amortize (ตัดรับรู้/จำหน่าย) รายได้คือรับรู้ปีนี้เท่ากับ 1 ล้านบาท ต่อปี เป็นเวลา 10 ปี
ในทำนองเดียวกันด้านรายจ่าย สมมตเราลงทุนซื้อของชิ้นหนึ่งราคา 10 ล้านบาท เพื่อใช้งาน สามารถใช้ได้นาน 10 ปี เราก็ไม่สมควรตัดจ่ายในปีเดียว เราสมควร amortize เช่นกัน กล่าวคือ ตัดเป็นรายจ่าย ปีละ 1 ล้านบาทเช่นกัน แต่ถามว่าซื้อเครื่องคิดเลขราคา 500 บาท ใช้อยุการใช้งาน 10 ปี เราจะ amortize 10 ปีไหม คำตอบ คือ ไม่ ครับ เพราะราคามันน้อย ไม่เป็นสาระเพียงพอที่เราสมควรจะตัด amortize ครับ จึงตัดเป็นรายจ่ายทั้งจำนวน
การ amortize ที่พบบ่อย มีดังนี้ สิทธิเก็บกิน ค่าเช่าหรือให้เช่าที่ดิน(เช่นจ่ายหรือเก็บล่วงหน้า 30 ปี) อาคาร รถยนต์ goodwill R&D สัมปทาน เงินกู้ เป็นต้น
แต่ถ้าเป็นกรณี อาคาร เครื่องจักร เราจะมีศัพท์เฉพาะเรียกจำนวนที่เรา amortized ได้ว่า ค่าเสื่อมราคา
ดังนั้นการ amortization เพื่อให้การรับรู้รายได้ หรือ รายจ่าย เหมาะสมกับความจริง ไม่ใช่เพื่อเตรียมเงินไว้ซื้อทดแทนอย่างไร
In accounting we use the word amortization to mean the systematic allocation of a balance sheet item to expense (or revenue) on the income statement. Conceptually, amortization is similar to depreciation and depletion. An example of amortization is the systematic allocation of the balance in the contra-liability account Discount of Bonds Payable to Interest Expense over the life of the bonds. (The accountant credits Discount on Bonds Payable and debits Bond Interest Expense with a portion of the balance each accounting period.) In the case of a premium on bonds payable, each accounting period the accountant will systematically move a portion of the balance in Premium on Bonds Payable by debiting the account and crediting Interest Expense.
Amortization also applies to asset balances, such as discount on notes receivable, deferred charges, and some intangible assets.
Amortization is a term used with mortgage loans. For example, a mortgage lender often provides the borrower with a loan amortization schedule. This schedule lists each loan payment during the life of the loan, the amount of each payment that is for interest, the amount of each payment that is for principal, and the principal balance after each loan payment. The loan amortization schedule allows the borrower to see how the loan balance will be reduced over the life of the loan.
-
- Verified User
- โพสต์: 1230
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเสื่อมราคา???
โพสต์ที่ 23
1. ซื้อ อาคาร เครื่องจักร ลงบัญชีในงบดุลหมวดสินทรัพย์ถาวร ทั้งจำนวน แล้วค่อยตัดเป็นค่าเสื่อมราคาเป็นรายจ่ายในงบกำไรขาดทุนpon41me เขียน:1.แล้วถ้าสร้างโรงงานหรือซื้อเครื่องจักรใหม่ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะอยู่ที่ไหนครับ
2.ปรับปรุงอาคารสถานที่ซ่อมเครื่องจักร ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะอยู่ที่ไหนครับ
2. ค่าซ่อม ปรับปรุงอาคารหรือ เครื่องจักร ลงบัญชีเป็นรายจ่ายครับ (ในงบกำไรขาดทุน) แต่อาจลงในงบดุลหมวดสินทรัพย์ได้ ถ้ามีจำนวนสูง แล้ว amortize (ตัดจำหน่ายตามอายุ) เช่น ซ่อมเรือจำนวน 20 ล้านบาททุก ๆ 2 ปี อย่างนี้ อาจตัดเป็นรายจ่ายในงบกำไรขาดทุนปีละ 10 ล้านบาท เป็นเวลา 2 ปี ได้ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1230
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเสื่อมราคา???
โพสต์ที่ 24
เสริมนะครับ ถ้าทั้งอาคารโรงงาน และ อาคารสำนักงานmr_chai เขียน:ชัดเจน ขอบคุณมากครับnavapon เขียน:คุณ mr_chai ถูกแล้วครับ
ต้นทุนขายสินค้าและบริการ (cost of goods sold and service)
ต้นทุนวัตถุดิบสินค้าและอื่นๆ เช่นค่าขนส่งวัตถุดิบ ค่าใช้จ่ายในการผลิต ค่าจ้างของคนงานที่อยู่ในสายการผลิต และ ค่าเสื่อมราคา+ค่าตัดจำหน่าย เป็นต้น
ค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร (SG&A)
เงินเดือนพนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโฆษณา ค่าทำบัญชี ค่านายหน้า ค่าขนส่ง ค่าวัสดุ ค่าโทรศัพท์ วัสดุสิ้นเปลือง ค่าเบี้ยประกัน เป็นต้น
สองอันนี้ต่างกันที่ ค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร เอาไปคิดเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดในงวดนั้นเลย ส่วนต้นทุนขายสินค้าและบริการ (ค่าใช้จ่ายในการลงทุน) จะถูกกระจายออกไปในหลายๆงวดบัญชีต่อๆมา
ค่าเสื่อมราคาโรงงาน จะถูก allocate (บันทึก) ใน ต้นทุนสินค้า
ค่าเสื่อมราคาอาคารสำนักงานจะถูก allocate ใน ค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร
เกิดบังเอิญทั้งหมดอยู่ในอาคารเดียวกัน ก็จัดสรรค่าเสื่อมราคา ตามสัดส่วนพื้นที่ ที่แต่ละฝ่ายใช้ครับ
- kotaro
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1496
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเสื่อมราคา???
โพสต์ที่ 25
มาแชร์ด้วยครับ
ปกติทางบัญชี เขาจะแยกรายจ่ายออกเป็น 3 ส่วนคือ
1.operating expense หรือ รายจ่ายด้านดำเนินงาน เช่น พวกค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเงินเดือนพนักงาน
2.financing expense หรือ รายจ่ายด้านการเงิน เช่น พวกดอกเบี้ยเงินกู้
3.capital expense หรือ รายจ่ายด้านทุน เช่นพวกค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย
คราวนี้หลักการด้านบัญชีเบื้องต้น รายจ่ายอันไหนจะจัดเป็น capital expense ก็จะดูว่า รายจ่ายอันนั้นนำมาซึ่งผลประโยชน์ในระยะยาวหรือไม่ โดยทั่วไปมากกว่า 1 ปี เช่น การซื้่อของหรือใช้จ่าย หากสามารถให้ประโยชน์มากกว่า 1 ปีเราก็จะจัดเป็น capital expense แล้วใช้วิธีทยอยตัดค่าเสื่อมหรือค่าตัดจำหน่ายออกไปตามอายุใช้งาน เช่น การซื้่อรถ ซื้อคอมพิวเตอร์ หรือ etc
ส่วนพวก ค่า R&D หรือ แม้กระทั่งค่าโฆษณา ถ้ายึดตามหลักการด้านบน ก็น่าจะจัดเป็น capital expense คือมีการทยอยตัดค่าตัดจำหน่ายออกไป ตามช่วงอายุที่เราคิดว่าจะยังมีประโยชน์อยู่ เช่น โฆษณานี้ น่าจะมีประโยชน์ในเรื่องของการสร้างแบรนด์ให้กับบริษัท 5 ปี เราก็ทยอยตัด 5 ปี แต่บางที ยังเป็นข้อโต้เถียง บางบริษัทฯ ก็บุ้คลงไปเป็น operating expense เลย ถ้าเป็นแบบนี้ เราก็อาจต้องเอามา adjust เวลาทำ valuation เองอีกทีนึงครับ
ปกติทางบัญชี เขาจะแยกรายจ่ายออกเป็น 3 ส่วนคือ
1.operating expense หรือ รายจ่ายด้านดำเนินงาน เช่น พวกค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเงินเดือนพนักงาน
2.financing expense หรือ รายจ่ายด้านการเงิน เช่น พวกดอกเบี้ยเงินกู้
3.capital expense หรือ รายจ่ายด้านทุน เช่นพวกค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย
คราวนี้หลักการด้านบัญชีเบื้องต้น รายจ่ายอันไหนจะจัดเป็น capital expense ก็จะดูว่า รายจ่ายอันนั้นนำมาซึ่งผลประโยชน์ในระยะยาวหรือไม่ โดยทั่วไปมากกว่า 1 ปี เช่น การซื้่อของหรือใช้จ่าย หากสามารถให้ประโยชน์มากกว่า 1 ปีเราก็จะจัดเป็น capital expense แล้วใช้วิธีทยอยตัดค่าเสื่อมหรือค่าตัดจำหน่ายออกไปตามอายุใช้งาน เช่น การซื้่อรถ ซื้อคอมพิวเตอร์ หรือ etc
ส่วนพวก ค่า R&D หรือ แม้กระทั่งค่าโฆษณา ถ้ายึดตามหลักการด้านบน ก็น่าจะจัดเป็น capital expense คือมีการทยอยตัดค่าตัดจำหน่ายออกไป ตามช่วงอายุที่เราคิดว่าจะยังมีประโยชน์อยู่ เช่น โฆษณานี้ น่าจะมีประโยชน์ในเรื่องของการสร้างแบรนด์ให้กับบริษัท 5 ปี เราก็ทยอยตัด 5 ปี แต่บางที ยังเป็นข้อโต้เถียง บางบริษัทฯ ก็บุ้คลงไปเป็น operating expense เลย ถ้าเป็นแบบนี้ เราก็อาจต้องเอามา adjust เวลาทำ valuation เองอีกทีนึงครับ
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ค่าเสื่อมราคา???
โพสต์ที่ 26
ทั้งสองข้อ เราสามารถดูรายละเอียดได้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินครับ อาจจะต้องดูงบการเงินฉบับสิ้นปี ฉบับรายไตรมาสอาจจะไม่ละเอียดนักpon41me เขียน:ขอถามต่อครับ
1.เราจะรู้ได้อย่างไรทรัพย์สินที่บริษัทมีอยู่หักค่าเสื่อมไปเท่าไรแล้ว กี่บาท กี่เปอร์เซนต์
-ถ้าเรารู้เรื่องนี้สมมุติบ.เคยคิดค่าเสื่อมปีละ100ล้าน ปีที่หักหมดปีถัดไปก็จะเหมือนกับได้กำไรเพื่มมา100ล้านเลยนะครับ
2.รู้มาว่าที่แสดงในงบดุลจะแสดงราคาทรัพย์สินที่ที่รวมที่ดิน อาคาร อุปกรณ์
แต่เราจะรู้ได้ยังไงว่าที่ดินเท่าไร อาคารเท่าไร อุปกรณ์เท่าไร
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
- mr_chai
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 755
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเสื่อมราคา???
โพสต์ที่ 27
ขออนุญาติเสริมนิดนึงนะครับ ถ้าผิดผมต้องอขอภัยด้วยนะครับกาละมัง เขียน:1. ซื้อ อาคาร เครื่องจักร ลงบัญชีในงบดุลหมวดสินทรัพย์ถาวร ทั้งจำนวน แล้วค่อยตัดเป็นค่าเสื่อมราคาเป็นรายจ่ายในงบกำไรขาดทุนpon41me เขียน:1.แล้วถ้าสร้างโรงงานหรือซื้อเครื่องจักรใหม่ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะอยู่ที่ไหนครับ
เงินซื้อ อาคาร เครื่องจักร จะถูกตัดออกในงบกระแสเงินสดจากการลงทุน ส่วนค่าเสื่อมก็จถูกบวกกลับในงบกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
เพราะเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้จ่ายออกไปจริง
" คนที่มีความสุขที่สุด ไม่จำเป็นต้องมีสิ่งที่ดีที่สุด เพียงรู้จักพอใจในสิ่งที่ตัวเองมี
เขาก็จะกลายเป็นคนที่มีความสุขที่สุด "
วอเรนท์ บัฟเฟต
เขาก็จะกลายเป็นคนที่มีความสุขที่สุด "
วอเรนท์ บัฟเฟต
-
- Verified User
- โพสต์: 1230
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเสื่อมราคา???
โพสต์ที่ 28
ที่คุณเข้าใจถูกต้องแล้วครับ ขยายความอีกครั้ง จริง ๆ คือ มันเกิดรายจ่ายจริงทั้งก้อนตั้งแต่ตอนซื้อ แต่เนื่องจากเป็นการซื้อสินทรัพย์มีอายุการใช้งานนาน จึงได้นำรายการจ่ายดังกล่าว มาตัดจ่ายตามอายุการใช้งาน ในงบกำไรขาดทุนปีละเท่า ๆกันแทน ส่วนในงบกระแสเงินสด จึงเป็นว่าไม่มีการจ่ายจริงอีกแล้วในปีนั้น ๆ จึงบวกกลับมาอย่างที่คุณเข้าใจครับ (หวังว่าไม่ยิ่งทำให้งง)mr_chai เขียน:ขออนุญาติเสริมนิดนึงนะครับ ถ้าผิดผมต้องอขอภัยด้วยนะครับกาละมัง เขียน:1. ซื้อ อาคาร เครื่องจักร ลงบัญชีในงบดุลหมวดสินทรัพย์ถาวร ทั้งจำนวน แล้วค่อยตัดเป็นค่าเสื่อมราคาเป็นรายจ่ายในงบกำไรขาดทุนpon41me เขียน:1.แล้วถ้าสร้างโรงงานหรือซื้อเครื่องจักรใหม่ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะอยู่ที่ไหนครับ
เงินซื้อ อาคาร เครื่องจักร จะถูกตัดออกในงบกระแสเงินสดจากการลงทุน ส่วนค่าเสื่อมก็จถูกบวกกลับในงบกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
เพราะเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้จ่ายออกไปจริง
- mr_chai
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 755
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเสื่อมราคา???
โพสต์ที่ 29
ก็คือที่ตัดออกจากงบกำไรขาดทุน เพราะจะทำให้เห็นว่าได้จ่ายเงินออกไปจริงๆเป็นรายจ่าย เพียงแต่แบ่งจ่าย
ไปเป็นงวด งวดละเท่าๆกัน .... ผมเข้าใจถูกรึเปล่าครับ
ไปเป็นงวด งวดละเท่าๆกัน .... ผมเข้าใจถูกรึเปล่าครับ
" คนที่มีความสุขที่สุด ไม่จำเป็นต้องมีสิ่งที่ดีที่สุด เพียงรู้จักพอใจในสิ่งที่ตัวเองมี
เขาก็จะกลายเป็นคนที่มีความสุขที่สุด "
วอเรนท์ บัฟเฟต
เขาก็จะกลายเป็นคนที่มีความสุขที่สุด "
วอเรนท์ บัฟเฟต
-
- Verified User
- โพสต์: 1230
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ค่าเสื่อมราคา???
โพสต์ที่ 30
ถูกต้องครับ ถือเป็นเกณฑ์ทางบัญชี ทำอย่างนั้นแหละครับ ยังไงให้เข้าใจดียิ่งขึ้น ก็ขอให้ถามเพื่อนที่จบบัญชี เขาน่าจะรู้เรื่องนี้ดีmr_chai เขียน:ก็คือที่ตัดออกจากงบกำไรขาดทุน เพราะจะทำให้เห็นว่าได้จ่ายเงินออกไปจริงๆเป็นรายจ่าย เพียงแต่แบ่งจ่าย
ไปเป็นงวด งวดละเท่าๆกัน .... ผมเข้าใจถูกรึเปล่าครับ