ทำไมลดพาร์จึงสามารถลดการขาดทุนสะสมได้ล่ะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 483
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมลดพาร์จึงสามารถลดการขาดทุนสะสมได้ล่ะครับ
โพสต์ที่ 1
ไม่ได้จบการเงินมาน่ะครับ งง กับการประกาศลดราคาพาร์
เข้าใจว่าจะทำให้ราคาหุ้นตกลง ผู้ถือหุ้นเสียหาย
แต่ไม่เข้าใจว่าเอาไปลดการขาดทุนสะสมของบ.ได้ไง
ผมเข้าใจว่าการเพิ่มทุนจะเอาเงินไปจ่ายเจ้าหนี้ได้
แต่ลดพาร์จะเอาเงินไปจ่ายเจ้าหนี้ได้ไงครับงง
คำถามเด็กน้อยไปหน่อยก็ขออภัยครับ
เข้าใจว่าจะทำให้ราคาหุ้นตกลง ผู้ถือหุ้นเสียหาย
แต่ไม่เข้าใจว่าเอาไปลดการขาดทุนสะสมของบ.ได้ไง
ผมเข้าใจว่าการเพิ่มทุนจะเอาเงินไปจ่ายเจ้าหนี้ได้
แต่ลดพาร์จะเอาเงินไปจ่ายเจ้าหนี้ได้ไงครับงง
คำถามเด็กน้อยไปหน่อยก็ขออภัยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมลดพาร์จึงสามารถลดการขาดทุนสะสมได้ล่ะครับ
โพสต์ที่ 2
ใน Balance Sheet ทุนจดทะเบียน กับ กำไร(ขาดทุน) สะสมอยู่ฝั่งเดียวกัน เรียกว่า Equity
สมมุติว่ามี ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท ราคา par หุ้นละ 10 บาท ก็จะมี 10 ล้านหุ้น
บริษัทดันมีขาดทุนสะสมอยู่ 50 ล้านบาท ก็สามารถใช้กลเม็ดทางการเงิน ลด par ลงเป็น 5 บาท ทุนจดทะเบียนก็จะลดเหลือ 50 ล้าน และขาดทุนสะสมก็จะเป็น 0 บาท
การทำแบบนี้ไม่ได้ทำให้กิจการดีขึ้นตรงไหนเลย แต่ว่าทำให้ขาดทุนสะสมเหลือ 0 ถ้าในอนาคตบริษัทมีกำไร (ย้ำว่า "ถ้า") ก็สามารถแบ่งออกมาปันผลได้เลย ไม่ต้องรอล้างขาดทุนสะสมก่อนครับ
สมมุติว่ามี ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท ราคา par หุ้นละ 10 บาท ก็จะมี 10 ล้านหุ้น
บริษัทดันมีขาดทุนสะสมอยู่ 50 ล้านบาท ก็สามารถใช้กลเม็ดทางการเงิน ลด par ลงเป็น 5 บาท ทุนจดทะเบียนก็จะลดเหลือ 50 ล้าน และขาดทุนสะสมก็จะเป็น 0 บาท
การทำแบบนี้ไม่ได้ทำให้กิจการดีขึ้นตรงไหนเลย แต่ว่าทำให้ขาดทุนสะสมเหลือ 0 ถ้าในอนาคตบริษัทมีกำไร (ย้ำว่า "ถ้า") ก็สามารถแบ่งออกมาปันผลได้เลย ไม่ต้องรอล้างขาดทุนสะสมก่อนครับ
I do not sleep. I dream.
-
- Verified User
- โพสต์: 3345
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมลดพาร์จึงสามารถลดการขาดทุนสะสมได้ล่ะครับ
โพสต์ที่ 3
ตามนี้ ครับ ...Viewtiful Investor เขียน:ใน Balance Sheet ทุนจดทะเบียน กับ กำไร(ขาดทุน) สะสมอยู่ฝั่งเดียวกัน เรียกว่า Equity
สมมุติว่ามี ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท ราคา par หุ้นละ 10 บาท ก็จะมี 10 ล้านหุ้น
บริษัทดันมีขาดทุนสะสมอยู่ 50 ล้านบาท ก็สามารถใช้กลเม็ดทางการเงิน ลด par ลงเป็น 5 บาท ทุนจดทะเบียนก็จะลดเหลือ 50 ล้าน และขาดทุนสะสมก็จะเป็น 0 บาท
การทำแบบนี้ไม่ได้ทำให้กิจการดีขึ้นตรงไหนเลย แต่ว่าทำให้ขาดทุนสะสมเหลือ 0 ถ้าในอนาคตบริษัทมีกำไร (ย้ำว่า "ถ้า") ก็สามารถแบ่งออกมาปันผลได้เลย ไม่ต้องรอล้างขาดทุนสะสมก่อนครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 383
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมลดพาร์จึงสามารถลดการขาดทุนสะสมได้ล่ะครับ
โพสต์ที่ 5
ตัวทุนจดทะเบียน มันหมายความว่าอย่างไรครับ
คือ บางบริษัทมีทุนจดทะเบียนมาก เเตก็ไม่ใหญ่โตเท่ากับบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนน้อย ทุนจดทะเบียนมหมายความว่าอย่างไรสำหรับนักลงทุน มีหลักการการจดทะเบียนอย่างไร บริษัทไหนอยากาจดเท่าไหร่ก็ได้ หรือครับ
คือ บางบริษัทมีทุนจดทะเบียนมาก เเตก็ไม่ใหญ่โตเท่ากับบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนน้อย ทุนจดทะเบียนมหมายความว่าอย่างไรสำหรับนักลงทุน มีหลักการการจดทะเบียนอย่างไร บริษัทไหนอยากาจดเท่าไหร่ก็ได้ หรือครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1257
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมลดพาร์จึงสามารถลดการขาดทุนสะสมได้ล่ะครับ
โพสต์ที่ 6
เงินทุนบริษัทหาได้จากสองส่วนครับ
1. เจ้าหนี้ => กู้ยืมมาโดยจ่ายค่าตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย
2. เจ้าของ => ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว+ส่วนล้ำมูลค่าหุ้น แบ่งผมตอบแทนในรูปของเงินปันผล โดยจ่ายจากกำไรของบริษัท
ดังนั้นไม่จำเป็นว่าบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนมากจะใหญ่กว่าบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนน้อยครับ ขึ้นอยู่กับการกู้ยืม การเรียกชำระของทุนจดทะเบียน กำไรสะสมที่บริษัททำได้ฯลฯ
1. เจ้าหนี้ => กู้ยืมมาโดยจ่ายค่าตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย
2. เจ้าของ => ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว+ส่วนล้ำมูลค่าหุ้น แบ่งผมตอบแทนในรูปของเงินปันผล โดยจ่ายจากกำไรของบริษัท
ดังนั้นไม่จำเป็นว่าบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนมากจะใหญ่กว่าบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนน้อยครับ ขึ้นอยู่กับการกู้ยืม การเรียกชำระของทุนจดทะเบียน กำไรสะสมที่บริษัททำได้ฯลฯ
"Price is what you pay. Value is what you get."
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1257
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมลดพาร์จึงสามารถลดการขาดทุนสะสมได้ล่ะครับ
โพสต์ที่ 7
คัดลอกมาจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ทุนจดทะเบียน ได้แก่ เงินทุน หรือทรัพย์สินแรกเริ่มของบริษัท ซึ่งแบ่งออกเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นละเท่าๆกัน
ทุนจดทะเบียนหรือหุ้นของบริษัทจะเป็นหลักประกันแก่เจ้าหน้าที่ของบริษัท และให้ผู้ทำการค้าขายกับบริษัทได้ทราบว่าบริษัทมีเงินทุนเท่าใด เช่น ทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท แบ่งออกเป็น 10,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท
หากชำระเต็มก็เท่ากับว่าบริษัทมีเงินทุนหรือทรัพย์สินเท่ากับ 1,000,000 บาท แต่หากชำระไม่เต็มจำนวน เช่นชำระเพียงร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน บริษัทก็จะมีเงินทุนหรือทรัพย์สินเท่ากับ 500,000 บาท ส่วนที่เหลือถือเป็นลูกหนี้ค่าหุ้นของบริษัท
ทุนจดทะเบียน ได้แก่ เงินทุน หรือทรัพย์สินแรกเริ่มของบริษัท ซึ่งแบ่งออกเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นละเท่าๆกัน
ทุนจดทะเบียนหรือหุ้นของบริษัทจะเป็นหลักประกันแก่เจ้าหน้าที่ของบริษัท และให้ผู้ทำการค้าขายกับบริษัทได้ทราบว่าบริษัทมีเงินทุนเท่าใด เช่น ทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท แบ่งออกเป็น 10,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท
หากชำระเต็มก็เท่ากับว่าบริษัทมีเงินทุนหรือทรัพย์สินเท่ากับ 1,000,000 บาท แต่หากชำระไม่เต็มจำนวน เช่นชำระเพียงร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน บริษัทก็จะมีเงินทุนหรือทรัพย์สินเท่ากับ 500,000 บาท ส่วนที่เหลือถือเป็นลูกหนี้ค่าหุ้นของบริษัท
"Price is what you pay. Value is what you get."
-
- Verified User
- โพสต์: 483
- ผู้ติดตาม: 0
สงสัยต่อครับ
โพสต์ที่ 8
Viewtiful Investor เขียน:ใน Balance Sheet ทุนจดทะเบียน กับ กำไร(ขาดทุน) สะสมอยู่ฝั่งเดียวกัน เรียกว่า Equity
สมมุติว่ามี ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท ราคา par หุ้นละ 10 บาท ก็จะมี 10 ล้านหุ้น
บริษัทดันมีขาดทุนสะสมอยู่ 50 ล้านบาท ก็สามารถใช้กลเม็ดทางการเงิน ลด par ลงเป็น 5 บาท ทุนจดทะเบียนก็จะลดเหลือ 50 ล้าน และขาดทุนสะสมก็จะเป็น 0 บาท
การทำแบบนี้ไม่ได้ทำให้กิจการดีขึ้นตรงไหนเลย แต่ว่าทำให้ขาดทุนสะสมเหลือ 0 ถ้าในอนาคตบริษัทมีกำไร (ย้ำว่า "ถ้า") ก็สามารถแบ่งออกมาปันผลได้เลย ไม่ต้องรอล้างขาดทุนสะสมก่อนครับ
ไม่ได้จบการเงินมาน่ะครับออกตัวก่อน
คือถ้าผมเป็นเจ้าหนี้น่ะ บ.นี้ติดเงินผม 5 ล้าน เจ้าหนี้ชาวบ้านอีก หลายคนรวมเป็น 50 ล้าน เมื่อลดพาร์ลงแล้วผมจะได้เงินคืนได้ไงอ่ะครับ
ผมเข้าใจว่าไปยื่นต่อตลาดแล้วผมจะได้เงินห้าล้านคืนได้ไงอ่ะครับหรือต้องขายทรัพย์สิน หรือเอากระแสเงินสดออกจาก บ. แบบนั้นเปล่าครับ
- โอ@
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4246
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมลดพาร์จึงสามารถลดการขาดทุนสะสมได้ล่ะครับ
โพสต์ที่ 9
สินทรัพย์ - หนี้สิน = ส่วนของผู้ถือหุ้น
ต้องเข้าใจตรงนี้ก่อนครับ
ทีนี้ ก็มาเข้าใจเรื่องส่วนของผู้ถือหุ้นกัน
ตรงส่วนนี้แยกเป็นอย่างง่ายๆคือ ทุนจดทะเบียน + กำไรสะสม หรือ ขาดทุนสะสม
นึกออกหรือยังครับ ในเมื่อฝั่งซ้ายของสมการเหมือนเดิม ฝั่งขวาถ้ามีตัวนึงลดอีกตัวก็เพิ่ม
ต้องเข้าใจตรงนี้ก่อนครับ
ทีนี้ ก็มาเข้าใจเรื่องส่วนของผู้ถือหุ้นกัน
ตรงส่วนนี้แยกเป็นอย่างง่ายๆคือ ทุนจดทะเบียน + กำไรสะสม หรือ ขาดทุนสะสม
นึกออกหรือยังครับ ในเมื่อฝั่งซ้ายของสมการเหมือนเดิม ฝั่งขวาถ้ามีตัวนึงลดอีกตัวก็เพิ่ม
_________
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สงสัยต่อครับ
โพสต์ที่ 10
คำว่าลดพาร์นี่มีหลายแบบนะ ถ้าพาร์ 10 ลดเหลือ 1 เฉยๆ แบบนี้เป็นการ split ไม่กระทบผู้ถือหุ้นเลย แต่ถ้าพาร์ 10 ลดเหลือ 1 โดยเอา 9 ไปหักกลบกับขาดทุนสะสมด้วย อันนี้ทำให้ขาดทุนสะสมลดลง ถ้าลดลงจนหมดจะทำให้บริษัทสามารถจ่ายปันผลได้ตามกฏหมาย แต่ไม่เกี่ยวอะไรกับหนี้สินเลย
ถ้าฟ้องล้มละลายแล้วศาลมีคำสั่งให้เลิกกิจการ เขาจะเอาสินทรัพย์ที่เหลือในบริษัทออกขายทอดตลาดนำเงินที่ได้มาแบ่งเจ้าหนี้ตามลำดับความสำคัญของเจ้าหนี้ เหลือแค่ไหนก็ได้คืนแค่นั้น การลดพาร์ไม่ได้ทำให้สินทรัพย์เป็นๆ ของบริษัทลดลง จะไม่มีผลตรงจุดนี้j2methai เขียน: คือถ้าผมเป็นเจ้าหนี้น่ะ บ.นี้ติดเงินผม 5 ล้าน เจ้าหนี้ชาวบ้านอีก หลายคนรวมเป็น 50 ล้าน เมื่อลดพาร์ลงแล้วผมจะได้เงินคืนได้ไงอ่ะครับ
ผมเข้าใจว่าไปยื่นต่อตลาดแล้วผมจะได้เงินห้าล้านคืนได้ไงอ่ะครับหรือต้องขายทรัพย์สิน หรือเอากระแสเงินสดออกจาก บ. แบบนั้นเปล่าครับ
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมลดพาร์จึงสามารถลดการขาดทุนสะสมได้ล่ะครับ
โพสต์ที่ 11
คนส่วนใหญ่ในนี้ก็ไม่ได้จบสายการเงินครับ แต่ศึกษาเองกันทั้งนั้น คุณ j2methai ( ชอบชื่อนี้จัง ) ลองหาหนังสือเรื่องการบัญชีมาอ่านซักเล่น 2-3 วันก็จบ จะได้ความรู้เท่ากับผมเลยครับ
I do not sleep. I dream.
- โอ@
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4246
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมลดพาร์จึงสามารถลดการขาดทุนสะสมได้ล่ะครับ
โพสต์ที่ 12
เอาจริงๆนะ พวกที่เรียนบัญชีมาก็ไม่ค่อยได้เรียนการวิเคราะห์งบการเงิน ส่วนมากจะเรียนวิธีการลงบัญชี วิธีการทำบัญชีมากกว่าครับ
แต่ผมฟันธงเลย หนังสือบัญชีอ่านยากอิ๊ปอ๊ายเลย
แต่ผมฟันธงเลย หนังสือบัญชีอ่านยากอิ๊ปอ๊ายเลย
_________
- naris
- Verified User
- โพสต์: 6726
- ผู้ติดตาม: 1
ทำไมลดพาร์จึงสามารถลดการขาดทุนสะสมได้ล่ะครับ
โพสต์ที่ 13
เล่มไหนที่ดี บอกกันด้วยนะครับ จะหามาอ่านด้วยคนViewtiful Investor เขียน:คนส่วนใหญ่ในนี้ก็ไม่ได้จบสายการเงินครับ แต่ศึกษาเองกันทั้งนั้น คุณ j2methai ( ชอบชื่อนี้จัง ) ลองหาหนังสือเรื่องการบัญชีมาอ่านซักเล่น 2-3 วันก็จบ จะได้ความรู้เท่ากับผมเลยครับ
แต่ถ้าจะเอาอ่านง่ายๆ ที่ผมเคยอ่านแล้ว แนะนำ ดร.ภาพร นครสวรรค์ เอ้ย ดร.ภาพร เอกอรรถพร ครับผม 8)
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมลดพาร์จึงสามารถลดการขาดทุนสะสมได้ล่ะครับ
โพสต์ที่ 14
พี่ไม่ต้องอ่านแล้วมั้ง ผมอ่านของ เบญจมาศ อภิสิทธิ์ภิญโญ พิมพ์โดย SE-ED ซื้อมาสมัยถือ SE-ED น้านนานมาแล้วก่อนขายหมูเล่มไหนที่ดี บอกกันด้วยนะครับ จะหามาอ่านด้วยคน
I do not sleep. I dream.
-
- Verified User
- โพสต์: 320
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมลดพาร์จึงสามารถลดการขาดทุนสะสมได้ล่ะครับ
โพสต์ที่ 15
ตอบคุณ J2
ขาดทุนสะสม กับ หนี้เป็นคนละส่วนกัน
ขาดทุนสะสม หมายถึง ส่วนที่กินทุนเริ่มแรก เนื่องจากผลดำเนินงานขาดทุน
สะสมเรื่อยๆของแต่ละงวดบัญชี
ลดพาร์ คือลดส่วนทุนลง เพื่อล้างตัวเลขสะสมออกไป
ไม่มีเงินจ่ายจริง คนละเรื่องกับการจ่ายหนี้คืนขอรับ
ขาดทุนสะสม กับ หนี้เป็นคนละส่วนกัน
ขาดทุนสะสม หมายถึง ส่วนที่กินทุนเริ่มแรก เนื่องจากผลดำเนินงานขาดทุน
สะสมเรื่อยๆของแต่ละงวดบัญชี
ลดพาร์ คือลดส่วนทุนลง เพื่อล้างตัวเลขสะสมออกไป
ไม่มีเงินจ่ายจริง คนละเรื่องกับการจ่ายหนี้คืนขอรับ
-
- Verified User
- โพสต์: 209
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไมลดพาร์จึงสามารถลดการขาดทุนสะสมได้ล่ะครับ
โพสต์ที่ 17
-ขอบคุณด้วยคนครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 6
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมลดพาร์จึงสามารถลดการขาดทุนสะสมได้ล่ะครับ
โพสต์ที่ 18
อธิบายง่ายๆ ครับ
ขาดทุนสะสม ก็เป็นส่วนหนึ่งของ ส่วนของผู้ถือหุ้น
ก็แค่ย้าย ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว ไปล้างขาดทุนสะสม
ทุนจดทะเบียนก็จะลดลง ขาดทุนสะสมก็หายไป
จริงๆ แล้ว ไม่ได้ต่างอะไรจากเดิมเลยครับ
ขาดทุนสะสม ก็เป็นส่วนหนึ่งของ ส่วนของผู้ถือหุ้น
ก็แค่ย้าย ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว ไปล้างขาดทุนสะสม
ทุนจดทะเบียนก็จะลดลง ขาดทุนสะสมก็หายไป
จริงๆ แล้ว ไม่ได้ต่างอะไรจากเดิมเลยครับ
- murder_doll
- Verified User
- โพสต์: 1644
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ทำไมลดพาร์จึงสามารถลดการขาดทุนสะสมได้ล่ะครับ
โพสต์ที่ 20
อืมม คำถามนี้มีความรู้มากๆครับ ผมเลยลองไปค้นมาจากเนตครับ
(บทความนี้มาจากเซ็ทเทรด เขียนโดยคุณ Red_devil)
สิ่งที่นักลงทุนไม่ควรมองข้าม คือวิธีการอ่านงบการเงิน
โดยทั่วไปนักลงทุน(รวมทั้งผม)มักจะมุ่งเน้น ในการดู
งบกำไรขาดทุนเป็นหลัก แต่สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามคืองบ
ดุลซึ่งจะบอกถึงสถานะความแข็งแกร่งของธุรกิจได้หาก
เราเอามาดูถึงแนวโน้มของารเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หรือ
การลดลงของหนี้สินหรือแม้แต่การเพิ่มขึ้นของกำไรสะสม
สิ่งที่เราควรจะทราบคือ งบดุลเป็นการ Balance ของ
ส่วนของสินทรัพย์เปรียบเทียบกับหนี้สินและส่วนของผู้
ถือหุ้นโดยมีสมการดังนี้
สินทรัพย์ = หนี้สิน+ส่วนของผู้ถือหุ้น
ในส่วนของสินทรัพย์ก็ประกอบด้วย เงินสด,ลูกหนี้,สินค้า
คงเหลือ,สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆรวมไปถึงที่ดิน,อาคาร
สิ่งปลูกสร้างและสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเป็นต้น
หนี้สิน หมายถึง หนี้สินจำพวกเงินเบิกเกินบัญชี,เงินกู้ระยะ
สั้น,เจ้าหนี้การค้า,หนี้สินหมุนเวียนอื่นๆรวมไปถึงเงินกู้
ระยะยาวเป็นต้น
ส่วนของผู้ถือหุ้น = ทุนเรือนหุ้น+กำไร(ขาดทุน)สะสม
หากเราลองสมมุตว่าบริษัทAมีหุ้น1,000หุ้นราคาพาร์10
บาทมีสินทรัพย์ในขณะนั้น10,000บาทหนี้สิน300บาท
ขาดทุนสะสม 300 บาท
เมื่อเรานำมาใส่ในงบดุลจะได้ว่า
สินทรัพย์=หนี้สิน+ส่วนผู้ถือหุ้น จะได้
10,000 = 300 + (10,000-300)
เมื่อ ทุนเรือนหุ้น=1,000หุ้นx10บาท=10,000บาท
หากเราต้องการล้างขาดทุนสะสมทำได้โดยการลดทุน
(ลดพาร์) ตามตัวอย่างดังนี้
10,000 = 300 + (1,000x9.7)+[(1,000x0.3)-300)]
โดยกันตัดส่วนของในวงเล็บหลังสุดออก แล้วลดทุนลง
เหลือหุ้นละ9.7บาทก็จะได้เฉพาะ
10,000 = 300 + (1,000x9.7) เท่านั้น
จะเห็นได้ว่า จำนวนหุ้นเท่าเดิม แต่ราคาพาร์ลดลง
สรุปแล้วการจัดการแบบนี้เป็นการจัดการตัวเลข
ทางบัญชีในงบดุลเท่านั้นเอง ส่วนการจะเพิ่มทุน
ในลำดับต่อไปนั้นก็แล้วแต่ว่ากิจการจะต้องการเม็ด
เงินใหม่เข้ามาหรือไม่.........
ถ้างบดุลของแต่ละบริษัทฯที่ส่งให้ ตลท.
โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบบัญชีแล้ว
แต่ตัวเลขมีการแต่งขึ้น เช่น SECC
แบบนี้ ทำยังไงดี เราจะเชื่อใครได้อีก
ปล. เป็นคำถามวงกาแฟตอนเช้าที่ทำงานผมเอง
มาเพิ่มข้อมูลให้อีกนิดเรื่องการแตกพาร์ ซึ่งหลายคนอาจ
สับสนระหว่างการลดพาร์กับการแตกพาร์ จึงข้ออธิบาย
เรื่องการแตกพาร์ ไว้ดังนี้
การแตกพาร์หมายถึงการเปลี่ยนราคาพาร์ให้ต่ำลงและเพิ่ม
จำนวนหุ้นตามจำนวนที่เปลี่ยนไปด้วย
ตัวอย่างเช่น..........
บริษัท ABC มีราคาพาร์เท่ากับ100บาท มีจำนวนหุ้น
เท่ากับ1000หุ้นบริษัทนี้ได้เปลี่ยนราคาพาร์จาก 100บาท
ลงมาเหลือ 1 บาท ถามว่าจำนวนหุ้นจะเปลี่ยนเป็นเท่าไหร่?
วิธีหาจำนวนหุ้น ตามสมการดังนี้
ก่อนแตกพาร์ = หลังแตกพาร์
(ราคาพาร์ x จำนวนหุ้น)(ก่อน)=(ราคาพาร์xจำนวนหุ้น)(หลัง)
100 x 1000 = 1x จำนวนหุ้น(หลัง)
จำนวนหุ้น(หลังแตกพาร์) = 100,000 หุ้น
สรุป ความแตกต่าง ของการลดพาร์ และ การแตกพาร์
การลดพาร์ จำนวนหุ้นไม่เปลี่ยนราคาพาร์เปลี่ยนหากเป็น
ตามตัวอย่างคือการเอาส่วนทุนไปลดขาดทุนสะสม
การแตกพาร์คือการเปลี่ยนราคาพาร์ซึ่งส่งผลให้จำนวน
หุ้นแปรผันตามไปด้วย หากเป็นตามตัวอย่างกรณีแตกพาร์
ลงมา100 เท่าจะส่งผลให้จำนวนหุ้นหลังแตกพาร์เพิ่มขึ้น
100เท่าเช่นกัน ทั้งนี้หากเป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดที่มีการ
แลกเปลี่ยนซื้อขายเช่นในตลาดหลักทรัพย์จะทำให้เพิ่ม
สภาพคล่องและราคาที่เหมาะแก่การซื้อขายได้ง่ายขึ้น
อ้างอิง http://www.settrade.com/actions/cust....jsp&tid=17197
(บทความนี้มาจากเซ็ทเทรด เขียนโดยคุณ Red_devil)
สิ่งที่นักลงทุนไม่ควรมองข้าม คือวิธีการอ่านงบการเงิน
โดยทั่วไปนักลงทุน(รวมทั้งผม)มักจะมุ่งเน้น ในการดู
งบกำไรขาดทุนเป็นหลัก แต่สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามคืองบ
ดุลซึ่งจะบอกถึงสถานะความแข็งแกร่งของธุรกิจได้หาก
เราเอามาดูถึงแนวโน้มของารเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หรือ
การลดลงของหนี้สินหรือแม้แต่การเพิ่มขึ้นของกำไรสะสม
สิ่งที่เราควรจะทราบคือ งบดุลเป็นการ Balance ของ
ส่วนของสินทรัพย์เปรียบเทียบกับหนี้สินและส่วนของผู้
ถือหุ้นโดยมีสมการดังนี้
สินทรัพย์ = หนี้สิน+ส่วนของผู้ถือหุ้น
ในส่วนของสินทรัพย์ก็ประกอบด้วย เงินสด,ลูกหนี้,สินค้า
คงเหลือ,สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆรวมไปถึงที่ดิน,อาคาร
สิ่งปลูกสร้างและสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเป็นต้น
หนี้สิน หมายถึง หนี้สินจำพวกเงินเบิกเกินบัญชี,เงินกู้ระยะ
สั้น,เจ้าหนี้การค้า,หนี้สินหมุนเวียนอื่นๆรวมไปถึงเงินกู้
ระยะยาวเป็นต้น
ส่วนของผู้ถือหุ้น = ทุนเรือนหุ้น+กำไร(ขาดทุน)สะสม
หากเราลองสมมุตว่าบริษัทAมีหุ้น1,000หุ้นราคาพาร์10
บาทมีสินทรัพย์ในขณะนั้น10,000บาทหนี้สิน300บาท
ขาดทุนสะสม 300 บาท
เมื่อเรานำมาใส่ในงบดุลจะได้ว่า
สินทรัพย์=หนี้สิน+ส่วนผู้ถือหุ้น จะได้
10,000 = 300 + (10,000-300)
เมื่อ ทุนเรือนหุ้น=1,000หุ้นx10บาท=10,000บาท
หากเราต้องการล้างขาดทุนสะสมทำได้โดยการลดทุน
(ลดพาร์) ตามตัวอย่างดังนี้
10,000 = 300 + (1,000x9.7)+[(1,000x0.3)-300)]
โดยกันตัดส่วนของในวงเล็บหลังสุดออก แล้วลดทุนลง
เหลือหุ้นละ9.7บาทก็จะได้เฉพาะ
10,000 = 300 + (1,000x9.7) เท่านั้น
จะเห็นได้ว่า จำนวนหุ้นเท่าเดิม แต่ราคาพาร์ลดลง
สรุปแล้วการจัดการแบบนี้เป็นการจัดการตัวเลข
ทางบัญชีในงบดุลเท่านั้นเอง ส่วนการจะเพิ่มทุน
ในลำดับต่อไปนั้นก็แล้วแต่ว่ากิจการจะต้องการเม็ด
เงินใหม่เข้ามาหรือไม่.........
ถ้างบดุลของแต่ละบริษัทฯที่ส่งให้ ตลท.
โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบบัญชีแล้ว
แต่ตัวเลขมีการแต่งขึ้น เช่น SECC
แบบนี้ ทำยังไงดี เราจะเชื่อใครได้อีก
ปล. เป็นคำถามวงกาแฟตอนเช้าที่ทำงานผมเอง
มาเพิ่มข้อมูลให้อีกนิดเรื่องการแตกพาร์ ซึ่งหลายคนอาจ
สับสนระหว่างการลดพาร์กับการแตกพาร์ จึงข้ออธิบาย
เรื่องการแตกพาร์ ไว้ดังนี้
การแตกพาร์หมายถึงการเปลี่ยนราคาพาร์ให้ต่ำลงและเพิ่ม
จำนวนหุ้นตามจำนวนที่เปลี่ยนไปด้วย
ตัวอย่างเช่น..........
บริษัท ABC มีราคาพาร์เท่ากับ100บาท มีจำนวนหุ้น
เท่ากับ1000หุ้นบริษัทนี้ได้เปลี่ยนราคาพาร์จาก 100บาท
ลงมาเหลือ 1 บาท ถามว่าจำนวนหุ้นจะเปลี่ยนเป็นเท่าไหร่?
วิธีหาจำนวนหุ้น ตามสมการดังนี้
ก่อนแตกพาร์ = หลังแตกพาร์
(ราคาพาร์ x จำนวนหุ้น)(ก่อน)=(ราคาพาร์xจำนวนหุ้น)(หลัง)
100 x 1000 = 1x จำนวนหุ้น(หลัง)
จำนวนหุ้น(หลังแตกพาร์) = 100,000 หุ้น
สรุป ความแตกต่าง ของการลดพาร์ และ การแตกพาร์
การลดพาร์ จำนวนหุ้นไม่เปลี่ยนราคาพาร์เปลี่ยนหากเป็น
ตามตัวอย่างคือการเอาส่วนทุนไปลดขาดทุนสะสม
การแตกพาร์คือการเปลี่ยนราคาพาร์ซึ่งส่งผลให้จำนวน
หุ้นแปรผันตามไปด้วย หากเป็นตามตัวอย่างกรณีแตกพาร์
ลงมา100 เท่าจะส่งผลให้จำนวนหุ้นหลังแตกพาร์เพิ่มขึ้น
100เท่าเช่นกัน ทั้งนี้หากเป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดที่มีการ
แลกเปลี่ยนซื้อขายเช่นในตลาดหลักทรัพย์จะทำให้เพิ่ม
สภาพคล่องและราคาที่เหมาะแก่การซื้อขายได้ง่ายขึ้น
อ้างอิง http://www.settrade.com/actions/cust....jsp&tid=17197
เงินทองเป็นของมายา
ข้าวปลาคือของจริง
ข้าวปลาคือของจริง
- amonthep2519
- Verified User
- โพสต์: 29
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมลดพาร์จึงสามารถลดการขาดทุนสะสมได้ล่ะครับ
โพสต์ที่ 21
การศึกษาเรื่องหุ้น..เอา thai vi เป้นต้นแบบอะ ชอบจริงๆๆ ขอบคุณสำหรับการแบ่งปัน
-
- Verified User
- โพสต์: 732
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมลดพาร์จึงสามารถลดการขาดทุนสะสมได้ล่ะครับ
โพสต์ที่ 23
ลดทุนนอกจากลดพาร์ สามารถ ลดจำนวนหุ้น แต่พาร์เท่าเดิมก็ได้ครับ ตัวอย่างเช่น NUSA
ลงทุนหุ้นดี มีสตอรี่ ราคาไม่แพง เดี๋ยวก็รวย
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 144
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมลดพาร์จึงสามารถลดการขาดทุนสะสมได้ล่ะครับ
โพสต์ที่ 24
ถามเป็นความรู้ครับ แบบนี้ บริษัทที่อยู่ใน SET50 ที่มีหนี้สะสมเยาะ สามารถใช้วิธีลดพาร์เพื่อลดการขาดทุนสะสมได้
เลยหรือเปล่าครับ
เลยหรือเปล่าครับ
"สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลาย จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด"
"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น "
"ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น "
-
- Verified User
- โพสต์: 390
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมลดพาร์จึงสามารถลดการขาดทุนสะสมได้ล่ะครับ
โพสต์ที่ 25
กด + ให้ทุก ๆ ความคิดเห็นครับ
ขอบคุณมากครับ
ขอบคุณมากครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 667
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมลดพาร์จึงสามารถลดการขาดทุนสะสมได้ล่ะครับ
โพสต์ที่ 26
จริงๆแล้วมันคือการลดทุนครับไม่ใช่ลดพาร์ เพราะเวลาจะทำจะมีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติลดทุน
พอลดทุนแล้ว หุ้นมีจำนวนเท่าเดิมราคาพาร์เลยลดลงมาครับ นั่นจะส่งผลให้หุ้นทุกๆหุ้นมีมูลค่าลดลงครับ!!!
ส่วนการแตกพาร์คือการแตกจำนวนหุ้นให้มีมากขึ้น จุดประสงค์เพื่อให้มีหุ้นมากขึ้นในตลาดเกิดสภาพ
คล่องในการซื้อขาย แล้วก็ทำให้ราคาต่อหุ้นลดลงเวลามันวิ่งขึ้นจะขึ้นได้เป็นเท่าตัวด้วยครับ...^^)
พอลดทุนแล้ว หุ้นมีจำนวนเท่าเดิมราคาพาร์เลยลดลงมาครับ นั่นจะส่งผลให้หุ้นทุกๆหุ้นมีมูลค่าลดลงครับ!!!
ส่วนการแตกพาร์คือการแตกจำนวนหุ้นให้มีมากขึ้น จุดประสงค์เพื่อให้มีหุ้นมากขึ้นในตลาดเกิดสภาพ
คล่องในการซื้อขาย แล้วก็ทำให้ราคาต่อหุ้นลดลงเวลามันวิ่งขึ้นจะขึ้นได้เป็นเท่าตัวด้วยครับ...^^)
-
- Verified User
- โพสต์: 89
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมลดพาร์จึงสามารถลดการขาดทุนสะสมได้ล่ะครับ
โพสต์ที่ 27
ถ้าการลดทุนทำเพื่อล้างขาดทุนสะสม ซึ่งไม่มีผลอะไรต่อหนี้สินหรือสินทรัพย์ของ บริษัท. ดังน้นราคาหุ้นก็ไม่ควรจะลดลงตามทุนใช่หรือไม่ครับ
แต่การลดทุน จะทำให้ DE ratio มันสูงขึ้น จนไม่สามารถดำเนินธุรกิจด้วยงินกู้ต่อไปได้ ดังนั้น บริษัทจึงต้องมีการเพิ่มทุน ซึ่งจังหวะนี้แหละที่ทำให้ราคาหุ้นตกลงได้
ไม่รู้ว่าผมเข้าใจได้ถูกต้องหรือไม่ครับ
แต่การลดทุน จะทำให้ DE ratio มันสูงขึ้น จนไม่สามารถดำเนินธุรกิจด้วยงินกู้ต่อไปได้ ดังนั้น บริษัทจึงต้องมีการเพิ่มทุน ซึ่งจังหวะนี้แหละที่ทำให้ราคาหุ้นตกลงได้
ไม่รู้ว่าผมเข้าใจได้ถูกต้องหรือไม่ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 667
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมลดพาร์จึงสามารถลดการขาดทุนสะสมได้ล่ะครับ
โพสต์ที่ 28
ต้องอธิบายแบบนี้ก่อนครับ ถ้าเป็นบริษัทปกติที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหุ้น ส่วนทุนจาก
สมการ "สินทรัพย์=หนี้สิน+ทุน" จะมีเพียงส่วนของ "ราคาหุ้น*จำนวนหุ้น"(เงินที่เอามาร่วม
ลงทุนกันทั้งหมด) บวกกับ "กำไรขาดทุนสะสม" แล้วถ้าจะลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสม
ก็แปลว่า จากสมการ สินทรัพย์=หนี้สิน+ทุน ทุนลดลงแต่หนี้สินไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นสินทรัพย์
ก็จะลดลง เพื่อให้สมการ 2 ข้างดุลกัน(2 ฝั่งเท่ากัน) นั่นก็คือ ราคาหุ้น*จำนวนหุ้นลดลงในฝั่งทุน
และเงินสด!!ลดลงในฝั่งสินทรัพย์ เสร็จแล้วก็จะมีเงินสดออกมาจากบริษัทแล้วนำมาล้างขาดทุน
สะสมในฝั่งทุน โดยการใส่เงินสดกลับเข้าไปในฝั่งสินทรัพย์ แล้วขาดทุนในฝั่งทุนก็จะหายไปกลาย
เป็นไม่มีกำไรไม่มีขาดทุน สมการก็จะดุลกันทั้ง 2 ฝั่งครับ...^^)
สรุปแล้วจริงๆมันมีผลกระทบต่องบครับ เพียงแต่มันเป็นตัวเลขที่วิ่งเข้าๆออกๆโดยเรามองไม่
เห็นมันครับ แล้วมันก็คือเรื่องธรรมดาครับที่เมื่อกิจการขาดทุนเงินที่เราลงไปก็ต้องขาดทุนไปด้วย
ซึ่งเงินของเราก็หายไปจากการที่ราคาหุ้น(par) มันหายไปนั่นเอง ผมจึงบอกว่ามูลค่าหุ้นมันลดลง
ครับ ส่วนบริษัทที่ซื้อขายในตลาดจะมีรายการส่วนทุนที่เพิ่มมาอีก 1 รายการครับ คือ
"ส่วนเกินมูลค่าหุ้น" แล้วบริษัทก็ใช้รายการนี้ละครับมาล้างขาดทุนสะสม ลองคิดต่อดูนะครับ
ว่าเขาล้างยังไง แล้วมูลค่าหุ้นมันลดลงได้ยังไงครับ...^^)
ปล.พอดีว่าดึกแล้วผมขอไปอาบน้ำนอนก่อน แล้วถ้ายังคิดไม่ออกพรุ่งนี้ผมจะมาอธิบายเพิ่มเติมครับ
ฮ้าวววว.....^^)
สมการ "สินทรัพย์=หนี้สิน+ทุน" จะมีเพียงส่วนของ "ราคาหุ้น*จำนวนหุ้น"(เงินที่เอามาร่วม
ลงทุนกันทั้งหมด) บวกกับ "กำไรขาดทุนสะสม" แล้วถ้าจะลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสม
ก็แปลว่า จากสมการ สินทรัพย์=หนี้สิน+ทุน ทุนลดลงแต่หนี้สินไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นสินทรัพย์
ก็จะลดลง เพื่อให้สมการ 2 ข้างดุลกัน(2 ฝั่งเท่ากัน) นั่นก็คือ ราคาหุ้น*จำนวนหุ้นลดลงในฝั่งทุน
และเงินสด!!ลดลงในฝั่งสินทรัพย์ เสร็จแล้วก็จะมีเงินสดออกมาจากบริษัทแล้วนำมาล้างขาดทุน
สะสมในฝั่งทุน โดยการใส่เงินสดกลับเข้าไปในฝั่งสินทรัพย์ แล้วขาดทุนในฝั่งทุนก็จะหายไปกลาย
เป็นไม่มีกำไรไม่มีขาดทุน สมการก็จะดุลกันทั้ง 2 ฝั่งครับ...^^)
สรุปแล้วจริงๆมันมีผลกระทบต่องบครับ เพียงแต่มันเป็นตัวเลขที่วิ่งเข้าๆออกๆโดยเรามองไม่
เห็นมันครับ แล้วมันก็คือเรื่องธรรมดาครับที่เมื่อกิจการขาดทุนเงินที่เราลงไปก็ต้องขาดทุนไปด้วย
ซึ่งเงินของเราก็หายไปจากการที่ราคาหุ้น(par) มันหายไปนั่นเอง ผมจึงบอกว่ามูลค่าหุ้นมันลดลง
ครับ ส่วนบริษัทที่ซื้อขายในตลาดจะมีรายการส่วนทุนที่เพิ่มมาอีก 1 รายการครับ คือ
"ส่วนเกินมูลค่าหุ้น" แล้วบริษัทก็ใช้รายการนี้ละครับมาล้างขาดทุนสะสม ลองคิดต่อดูนะครับ
ว่าเขาล้างยังไง แล้วมูลค่าหุ้นมันลดลงได้ยังไงครับ...^^)
ปล.พอดีว่าดึกแล้วผมขอไปอาบน้ำนอนก่อน แล้วถ้ายังคิดไม่ออกพรุ่งนี้ผมจะมาอธิบายเพิ่มเติมครับ
ฮ้าวววว.....^^)
-
- Verified User
- โพสต์: 667
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมลดพาร์จึงสามารถลดการขาดทุนสะสมได้ล่ะครับ
โพสต์ที่ 29
มาอธิบายเพิ่มเติมนะครับ...^^)
จากสมการ สินทรัพย์=หนี้สิน+ทุน
ในบริษัทที่อยู่ในตลาด ส่วนทุนจะมี (ราคาหุ้น(par)*จำนวนหุ้น)+กำไร(ขาดทุน)สะสม+ส่วนเกินมูลค่าหุ้น
ไอรายการ "ส่วนเกินมูลค่าหุ้น" นี่แหละครับที่นำมาใช้ล้างการขาดทุนสะสม ตัวส่วนเกินมูลค่าหุ้นเกิดจาก
"ราคา IPO (ที่เสนอให้จองหุ้นหนะครับ) - ราคา PAR" เช่น บริษัทมีหุ้นราคา PAR 1 บาท แต่ตอนประกาศขาย IPO เสนอขายราคา 2 บาท
ถ้าเสนอขาย 1,000 หุ้น แล้วขาย IPO ได้หมด ก็จะได้ว่าส่วนทุนของบริษัทจะเพิ่มจาก 2 ส่วน คือ
1. ราคาPAR*จำนวนหุ้น = 1*1000 = 1000
2. (ราคาIPO-ราคาPAR)*จำนวนหุ้น = (2-1)*1000 = 1000
นั่นคือ ฝั่งของทุนจะเพิ่มขึ้น 2000 และฝั่งสินทรัพย์ เงินสดก็จะเพิ่มขึ้น 2000 สมการก็จะดุลครับ
นั่นคือที่มาคราวนี้เรามาดูที่ไปครับ เมื่อเราจะล้างขาดทุนสะสม
สมมุติว่าล้างขาดทุน 2000 พอดี ก็คือเอาส่วนเกินมูลค่าหุ้นออกไปเป็นเงินสด แล้วก็เอากลับเข้ามาในบริษัทเป็นเงินสด
ขาดทุนสะสมก็จะหายไปครับ...^^)
แล้วทำไมมูลค่าหุ้นมันถึงลดลงหละ อย่าลืมนะครับว่าหุ้นที่เราซื้อๆขายมันมีส่วนมาจากหุ้น IPO แปลว่าเดิมหุ้นที่เราถือ
มันมีราคาเท่า IPO เป็นตัวตั้งต้น แล้วถ้าบริษัทเอาส่วนเกินมูลค่าหุ้นที่เกิดจากการขาย IPO ไปล้างขาดทุนสะสม ก็เท่ากับว่า
ต้นทุนหุ้นของเราเดิมมีค่าเท่ากับเพียงราคา PAR เท่านั้น ไม่ใช่ราคา IPO ดังนั้นผมถึงบอกว่ามันทำให้มูลค่าของหุ้นลดลงครับ
เพียงแต่ราคาในตลาดมันเกิดจาก Mr.Market ครับ ไม่ใช่การคำนวนตามหลักทฤษฎีจึงบอกไม่ได้ว่าราคามันจะขึ้นหรือลงครับ....^^)
ปล. ส่วนเกินมูลค่าหุ้น ถ้ามองง่ายๆก็เหมือน กำไรของบริษัทอีกส่วนนึงซึ่งเป็นกำไรจากการขายหุ้นให้ประชาชนหนะแหละครับ
ไว้ประชุมผู้ถือหุ้นผมไปเสนอขอให้ปันผลจากส่วนเกินมูลค่าหุ้นดีกว่า เพราะมันก็เป็นกำไรของบริษัทเหมือนกัน555+
(สงสัยโดนผู้ก่อตั้งเพ่งเล็งแหง ว่า "อั๊วเหนื่อยก่อตั้งธุรกิจแทบตาย ลื้อจะมาเอาอย่างเดียว"....^^ )
จากสมการ สินทรัพย์=หนี้สิน+ทุน
ในบริษัทที่อยู่ในตลาด ส่วนทุนจะมี (ราคาหุ้น(par)*จำนวนหุ้น)+กำไร(ขาดทุน)สะสม+ส่วนเกินมูลค่าหุ้น
ไอรายการ "ส่วนเกินมูลค่าหุ้น" นี่แหละครับที่นำมาใช้ล้างการขาดทุนสะสม ตัวส่วนเกินมูลค่าหุ้นเกิดจาก
"ราคา IPO (ที่เสนอให้จองหุ้นหนะครับ) - ราคา PAR" เช่น บริษัทมีหุ้นราคา PAR 1 บาท แต่ตอนประกาศขาย IPO เสนอขายราคา 2 บาท
ถ้าเสนอขาย 1,000 หุ้น แล้วขาย IPO ได้หมด ก็จะได้ว่าส่วนทุนของบริษัทจะเพิ่มจาก 2 ส่วน คือ
1. ราคาPAR*จำนวนหุ้น = 1*1000 = 1000
2. (ราคาIPO-ราคาPAR)*จำนวนหุ้น = (2-1)*1000 = 1000
นั่นคือ ฝั่งของทุนจะเพิ่มขึ้น 2000 และฝั่งสินทรัพย์ เงินสดก็จะเพิ่มขึ้น 2000 สมการก็จะดุลครับ
นั่นคือที่มาคราวนี้เรามาดูที่ไปครับ เมื่อเราจะล้างขาดทุนสะสม
สมมุติว่าล้างขาดทุน 2000 พอดี ก็คือเอาส่วนเกินมูลค่าหุ้นออกไปเป็นเงินสด แล้วก็เอากลับเข้ามาในบริษัทเป็นเงินสด
ขาดทุนสะสมก็จะหายไปครับ...^^)
แล้วทำไมมูลค่าหุ้นมันถึงลดลงหละ อย่าลืมนะครับว่าหุ้นที่เราซื้อๆขายมันมีส่วนมาจากหุ้น IPO แปลว่าเดิมหุ้นที่เราถือ
มันมีราคาเท่า IPO เป็นตัวตั้งต้น แล้วถ้าบริษัทเอาส่วนเกินมูลค่าหุ้นที่เกิดจากการขาย IPO ไปล้างขาดทุนสะสม ก็เท่ากับว่า
ต้นทุนหุ้นของเราเดิมมีค่าเท่ากับเพียงราคา PAR เท่านั้น ไม่ใช่ราคา IPO ดังนั้นผมถึงบอกว่ามันทำให้มูลค่าของหุ้นลดลงครับ
เพียงแต่ราคาในตลาดมันเกิดจาก Mr.Market ครับ ไม่ใช่การคำนวนตามหลักทฤษฎีจึงบอกไม่ได้ว่าราคามันจะขึ้นหรือลงครับ....^^)
ปล. ส่วนเกินมูลค่าหุ้น ถ้ามองง่ายๆก็เหมือน กำไรของบริษัทอีกส่วนนึงซึ่งเป็นกำไรจากการขายหุ้นให้ประชาชนหนะแหละครับ
ไว้ประชุมผู้ถือหุ้นผมไปเสนอขอให้ปันผลจากส่วนเกินมูลค่าหุ้นดีกว่า เพราะมันก็เป็นกำไรของบริษัทเหมือนกัน555+
(สงสัยโดนผู้ก่อตั้งเพ่งเล็งแหง ว่า "อั๊วเหนื่อยก่อตั้งธุรกิจแทบตาย ลื้อจะมาเอาอย่างเดียว"....^^ )
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1046
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ทำไมลดพาร์จึงสามารถลดการขาดทุนสะสมได้ล่ะครับ
โพสต์ที่ 30
ขอบคุณสำหรับทุกข้อความข้างบน หากเป็นไปได้ หัวข้อนี้พอจะส่งเข้าประกวดกระทู้คุณค่าได้บ้างไม๊ครับ ถ้าอยู่ห้องนั้นบทความจะไม่หายไปตามกาลเวลา
ซื้อเมื่อราคาต่ำกว่ามูลค่า ขายเมื่อมูลค่าต่ำกว่าราคา