ว่าด้วยเรื่อง FCF
-
- Verified User
- โพสต์: 375
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง FCF
โพสต์ที่ 1
พี่ๆครับ ผมไม่ค่อยเข้าใจในตัว FCF นะครับ
ว่ากันตามสูตรนะครับ
FCF = เงินสดสุทธิที่ได้จากกิจกรรมการดำเนินงาน -ดอกเบี้ยจ่าย-ภาษีจ่าย-
ค่าของ Maintenance capital spending
พี่ๆใช้ค่าที่ได้นี้บ่งบอกอะไรมั่งครับ สมมติว่าถ้ามี บริษัท A มีค่า FCF มากขึ้นในแต่ละไตรมาส นั่นหมายความว่าบริษัทสามารถหากระแสเงินสดได้มากขึ้นซึ่งนั่นจะทำให้ได้ eps มากขึ้นด้วยช่ายไหมครับ และสามารถเอามาเปรียบเทียบข้ามอุตสาหกรรมกันได้ไหมครับ
แล้วก็ค่า DCF หายังไงนะครับ งงนะครับ
ขอบคุณครับ
ว่ากันตามสูตรนะครับ
FCF = เงินสดสุทธิที่ได้จากกิจกรรมการดำเนินงาน -ดอกเบี้ยจ่าย-ภาษีจ่าย-
ค่าของ Maintenance capital spending
พี่ๆใช้ค่าที่ได้นี้บ่งบอกอะไรมั่งครับ สมมติว่าถ้ามี บริษัท A มีค่า FCF มากขึ้นในแต่ละไตรมาส นั่นหมายความว่าบริษัทสามารถหากระแสเงินสดได้มากขึ้นซึ่งนั่นจะทำให้ได้ eps มากขึ้นด้วยช่ายไหมครับ และสามารถเอามาเปรียบเทียบข้ามอุตสาหกรรมกันได้ไหมครับ
แล้วก็ค่า DCF หายังไงนะครับ งงนะครับ
ขอบคุณครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
ว่าด้วยเรื่อง FCF
โพสต์ที่ 2
คุณ mustang คงต้องย้อนหลังกลับไปที่จุดเริ่มต้นครับ
คนเริ่มทำธุรกิจ นำเงินสดไปลงทุน เพื่อหวังอะไรครับ
หวังกำไรทางบัญชี หรือหวังเงินสดที่ธุรกิจผลิตออกมาให้เราในแต่ละวัน แต่ละเดือน แต่ละปีครับ
ดังนั้นการที่เราจะหามูลค่าการลงทุน เราก็พิจารณาจาก เงินสดที่เราลงทุน กับเงินสดที่รับได้รับจากกิจการในแต่ละปี โดยให้อัตราผลตอบแทนที่เราคาดหวังจากการลงทุนเป็นตัว Discount กลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบันที่เรายอมจะลงทุน
กิจการต่างๆนั้น ถ้าพิจารณาจากกระแสเงินสดแล้ว นอกจากต้นทุนและค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนแล้ว ก็ยังคงมีแหล่งที่เงินสดจะไหลออกจากบริษัทอีก
Free Cash Flow ก็คือเงินสดรับอิสระที่ผุ้ถือหุ้นสามารถนำไปทำอะไรก็ได้ โดยไม่กระทบต่อการดำเนินงานปรกติของบริษัท
การใช้ตัวเลขในงบกระแสเงินสดมาคำนวณ บางครั้งก็ต้องระมัดระวังเรื่องเหตุการณ์ที่เกิดเป็นครั้งเป็นคราวด้วยครับ เช่น การยืดหนี้เจ้าหนี้การค้านานเป็นพิเศษ การลงทุนขยายโรงงาน
ไม่แน่เสมอไปนะครับที่ FCF เพิ่มขึ้น แล้ว EPS เพิ่มขึ้นด้วย
เรื่องการเปรียบเทียบข้ามอุตสาหกรรมนั้น ผมว่าการใช้กระแสเงินสดอิสระในอนาคตหลายๆปี ก็ลดเรื่องอัตราการเติบโตที่แตกต่างกันของแต่ละอุตสาหกรรมแล้วครับ ดังนั้นผมว่าน่าจะเปรียบเทียบกันได้นะครับ
คนเริ่มทำธุรกิจ นำเงินสดไปลงทุน เพื่อหวังอะไรครับ
หวังกำไรทางบัญชี หรือหวังเงินสดที่ธุรกิจผลิตออกมาให้เราในแต่ละวัน แต่ละเดือน แต่ละปีครับ
ดังนั้นการที่เราจะหามูลค่าการลงทุน เราก็พิจารณาจาก เงินสดที่เราลงทุน กับเงินสดที่รับได้รับจากกิจการในแต่ละปี โดยให้อัตราผลตอบแทนที่เราคาดหวังจากการลงทุนเป็นตัว Discount กลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบันที่เรายอมจะลงทุน
กิจการต่างๆนั้น ถ้าพิจารณาจากกระแสเงินสดแล้ว นอกจากต้นทุนและค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนแล้ว ก็ยังคงมีแหล่งที่เงินสดจะไหลออกจากบริษัทอีก
Free Cash Flow ก็คือเงินสดรับอิสระที่ผุ้ถือหุ้นสามารถนำไปทำอะไรก็ได้ โดยไม่กระทบต่อการดำเนินงานปรกติของบริษัท
การใช้ตัวเลขในงบกระแสเงินสดมาคำนวณ บางครั้งก็ต้องระมัดระวังเรื่องเหตุการณ์ที่เกิดเป็นครั้งเป็นคราวด้วยครับ เช่น การยืดหนี้เจ้าหนี้การค้านานเป็นพิเศษ การลงทุนขยายโรงงาน
ไม่แน่เสมอไปนะครับที่ FCF เพิ่มขึ้น แล้ว EPS เพิ่มขึ้นด้วย
เรื่องการเปรียบเทียบข้ามอุตสาหกรรมนั้น ผมว่าการใช้กระแสเงินสดอิสระในอนาคตหลายๆปี ก็ลดเรื่องอัตราการเติบโตที่แตกต่างกันของแต่ละอุตสาหกรรมแล้วครับ ดังนั้นผมว่าน่าจะเปรียบเทียบกันได้นะครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 375
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง FCF
โพสต์ที่ 3
พี่ chatchai ครับ
งั้นถ้า บริษัท A มี FCF มากกว่า บริษัท B ( หาในอนาคตหลายๆปี ) หมายความว่า
A สามารถทำกระแสเงินสด ไปให้ผู้ถือหุ้นได้มากกว่า B , A หาเงินเก่งกว่า
แล้วเราจะหากระแสเงินสดอิสระในอนาคตหลายๆปีอย่างไรครับ ใช้ DCF เหรอครับ
แล้วเราจะหาอย่างไรนะครับ งง ครับ
งั้นถ้า บริษัท A มี FCF มากกว่า บริษัท B ( หาในอนาคตหลายๆปี ) หมายความว่า
A สามารถทำกระแสเงินสด ไปให้ผู้ถือหุ้นได้มากกว่า B , A หาเงินเก่งกว่า
แล้วเราจะหากระแสเงินสดอิสระในอนาคตหลายๆปีอย่างไรครับ ใช้ DCF เหรอครับ
แล้วเราจะหาอย่างไรนะครับ งง ครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
ว่าด้วยเรื่อง FCF
โพสต์ที่ 4
การที่เราจะประมาณการกระแสเงินสดอิสระในอนาคตได้
คุณต้องประมาณการงบการเงินในอนาคตให้ได้ก่อนครับ ทั้งงบดุล งบกำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสด
ถ้าเราได้กระแสเงินสดอิสระในแต่ละปีมาแล้ว ก็ Discount กลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบันครับ
คุณต้องประมาณการงบการเงินในอนาคตให้ได้ก่อนครับ ทั้งงบดุล งบกำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสด
ถ้าเราได้กระแสเงินสดอิสระในแต่ละปีมาแล้ว ก็ Discount กลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบันครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 375
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง FCF
โพสต์ที่ 5
เอ หมายความว่า สมมติบริษัท A เนี่ย ผมต้องประมาณ ยอดขาย ที่จะทำได้ในอนาคตในแต่ละไตรมาส ตุนทุน รายจ่ายต่างๆ เพื่อให้ได้งบดุล งบกำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสดมา เพื่อ discount กลับมาเป็นปัจจุบันช่ายหมายครับ อืม แล้วเรามีหลักการในการประมาณอนาคตอย่างไรนะครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
ว่าด้วยเรื่อง FCF
โพสต์ที่ 10
อย่างเช่น เราอาจจะลองประมาณการต้นทุนขายหลายระดับ เช่น ในอดีตต้นทุนขายของบริษัทจะประมาณ 80% ของยอดขาย เราก็อาจจะเปลี่ยนเป็น 85% 90% แล้วลองประมาณการใหม่ดูครับ ว่ามีผลกระทบต่องบการเงินของบริษัทอย่างไรบ้าง
ธุรกิจศูนย์การค้าก็อาจจะลองดูยอดเช่าพื้นที่ว่า ถ้ามีคนเช่า 60% 70% 80% 90% งบการเงินจะเป็นอย่างไร
ธุรกิจศูนย์การค้าก็อาจจะลองดูยอดเช่าพื้นที่ว่า ถ้ามีคนเช่า 60% 70% 80% 90% งบการเงินจะเป็นอย่างไร
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 375
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง FCF
โพสต์ที่ 11
อืม ชักเข้าใจแล้วครับ พูดง่ายๆคือ เราได้กระแสเงินสดของธุรกิจออกมา เราต้องมาทำการสร้างแบบจำลองธุรกิจดังกล่าวใน อนาคตข้างหน้าสัก สองสามปี แล้ว ประมาณการออกมาเป็นงบดุล รายได้ของบริษัท รายจ่าย ผลกระทบในหลายๆด้าน เริ่มถึงบางอ้อครับ แต่ว่า พี่ chatchai ครับ ในการที่เรา estimate ค่าต่างๆนั้นมันก็มีโอกาสที่จะผิดพลาดได้นะครับ พี่ลดความเสี่ยงตรงนี่อย่างไร ครับ นอกจากการทำความเข้าใจกับธุรกิจให้มาก และก็อีกประเดิน เมื่อเราได้ค่า estimate ของกระแสเงินสดในอนาคตแล้วในการคำนวน discount ทำกันอย่างไรนะครับ
ปล . คำถามอาจจะดูไม่เข้าท่านะครบ เนื่องจากไม่ค่อยมีความรู้ด้านนี้นะครับ
ปล . คำถามอาจจะดูไม่เข้าท่านะครบ เนื่องจากไม่ค่อยมีความรู้ด้านนี้นะครับ
- Eak71
- Verified User
- โพสต์: 344
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง FCF
โพสต์ที่ 12
1. เราจะใช้ DFC ประมาณการกี่ปีครับถึงจะใกล้เคียง ที่เห็นส่วนใหญ่จะเป็น 3-5 ปี
2. หลังจากการประมาณการในระยะยาวแล้ว ในระหว่างนั้นควรจะมีการปรับการระยะสั้นไหมครับ เช่นไตรมาสนี้ผลไม่เป็นไปอย่างที่คลาดเอาไว้ คลาดเคลื่่อนเล็กน้อย หรือเมื่อมีอะไรทำให้ผลประกอบการเปลี่ยนไปแบบมีนัยสำคัญ
2. หลังจากการประมาณการในระยะยาวแล้ว ในระหว่างนั้นควรจะมีการปรับการระยะสั้นไหมครับ เช่นไตรมาสนี้ผลไม่เป็นไปอย่างที่คลาดเอาไว้ คลาดเคลื่่อนเล็กน้อย หรือเมื่อมีอะไรทำให้ผลประกอบการเปลี่ยนไปแบบมีนัยสำคัญ
ฅนนอกกะลา&ตาสว่าง
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
ว่าด้วยเรื่อง FCF
โพสต์ที่ 13
ค่าความเสี่ยงลดได้ โดยเลือกบริษัทที่มีธุรกิจไม่ซับซ้อน ในอดีตผลการดำเนินงานไม่ผันผวนมากนัก สมมุติฐานที่ใช้ก็อย่าเข้าข้างตัวบริษัทมากนัก และที่สำคัญคือ ซื้อลงทุนในราคาที่ต่ำกว่าราคาที่เราคำนวณได้มากๆครับ
ถ้าเราเลือกลงทุนในราคาที่ต่ำกว่าซัก 50% ก็จะช่วยลดความผิดพลาดในการคำนวณได้มากทีเดียว รวมทั้งปริมาณกำไรก็จะมากด้วย
ระยะเวลาในการคำนวณนั้น ผมมักไม่ให้ระยะเวลายาวนานนักครับ แต่ก็แล้วแต่คนครับ ที่สำคัญก็คือต้องติดตามผลการดำเนินงานรายไตรมาสให้ใกล้ชิดครับ
ถ้าเราเลือกลงทุนในราคาที่ต่ำกว่าซัก 50% ก็จะช่วยลดความผิดพลาดในการคำนวณได้มากทีเดียว รวมทั้งปริมาณกำไรก็จะมากด้วย
ระยะเวลาในการคำนวณนั้น ผมมักไม่ให้ระยะเวลายาวนานนักครับ แต่ก็แล้วแต่คนครับ ที่สำคัญก็คือต้องติดตามผลการดำเนินงานรายไตรมาสให้ใกล้ชิดครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
ว่าด้วยเรื่อง FCF
โพสต์ที่ 16
สงสัยคุณ mustang คงไม่ได้เรียนทางการเงินแน่เลย เลยไม่เข้าใจ Discount
ลองอ่านดูในกระทู้ ตระแกรงร่อน ดูนะครับ
ผมว่าน่าจะพอมีอธิบายไว้ หรือไม่งั้นคงต้องซื้อหนังสือการเงินมาอ่านแล้วครับ
ผมก็ไม่รู้จะอธิบายยังไงนะครับ อธิบายไม่ค่อยเก่งนะครับ เอหรือว่าเรามั่วๆหว่า
ลองอ่านดูในกระทู้ ตระแกรงร่อน ดูนะครับ
ผมว่าน่าจะพอมีอธิบายไว้ หรือไม่งั้นคงต้องซื้อหนังสือการเงินมาอ่านแล้วครับ
ผมก็ไม่รู้จะอธิบายยังไงนะครับ อธิบายไม่ค่อยเก่งนะครับ เอหรือว่าเรามั่วๆหว่า
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี