ปาล์ม....จะซี้หรือเปล่า
-
- Verified User
- โพสต์: 1435
- ผู้ติดตาม: 0
ปาล์ม....จะซี้หรือเปล่า
โพสต์ที่ 4
งั้น ลีลา ก็เตรียมเจ๊งได้เลย 555
แต่ว่า กลุ่มอุตสาหกรรม ไม่รู้ส่วนใหญ่ใช้ของอะไร
แต่ว่า กลุ่มอุตสาหกรรม ไม่รู้ส่วนใหญ่ใช้ของอะไร
กฎข้อที่1 อย่ายอมขาดทุน กฎข้อที่2 กลับไปดูกฎข้อที่ 1
- Minesweeper
- Verified User
- โพสต์: 472
- ผู้ติดตาม: 0
ปาล์ม....จะซี้หรือเปล่า
โพสต์ที่ 6
consumer products ทุกอย่างแหละครับ ไม่เฉพาะน้ำมันปาล์มหรอก ซอสมะเขือ ไส้กรอก ปลากระป๋อง มาม่า แม้แต่ คัตตอนบัด กับน้ำยาบ้วนปากยังมีเลย
-
- Verified User
- โพสต์: 2326
- ผู้ติดตาม: 0
ปาล์ม....จะซี้หรือเปล่า
โพสต์ที่ 8
ผมก็เห็นว่ามันเป็นประโยชน์ นะครับ ผู้บริโภคเลือก ผลิตภัณฑ์ ได้ ผู้ผลิตส่วนใหญ่ก็รับจ้างผลิตและมักจะเป็นผู้ผลิตมีแบรนสินค้าชนิดนั้นอยู่
ดูแล้วน่าจะได้ประโยชน์ ทั้งผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้บริโภค ครับ
ดูแล้วน่าจะได้ประโยชน์ ทั้งผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้บริโภค ครับ
งด เลิก เสพ สุรา บุหรี่ วันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีของท่าน
-
- Verified User
- โพสต์: 118
- ผู้ติดตาม: 0
ปาล์ม....จะซี้หรือเปล่า
โพสต์ที่ 9
ถามความเห็นทั่วไป
คิดว่ามีโอกาศจะมุ่งหน้าไปสู่ ไบโอดีเซลได้ไหมครับ
คือเคยซื้อ CPI เพราะมองไปว่าน่าจะมุ่งไปทางนั้นได้ เพราะเห็นหุ้นน้ำตาลยังคุยว่าทำเอธานอลได้ ผลลัพธ์ CPI ราคาลงมาเรื่อยๆ แถมประกาศผลฯขาดทุนอีก รอไม่ไหวแอบไปถามพนักงานของ CPI ว่ามีแนวโน้มไปทางไบโอดีเซลหรือไม่ ได้คำตอบว่ากำลังดูๆอยู่ ก็เลยขายออกไปหมดแล้วไว้ซื้อใหม่ตอนลงมือทำแล้วกัน
ไม่ทราบท่านอื่นมีความเห็นเรื่องไบโอดีเซลอย่างไรบ้างครับ
คิดว่ามีโอกาศจะมุ่งหน้าไปสู่ ไบโอดีเซลได้ไหมครับ
คือเคยซื้อ CPI เพราะมองไปว่าน่าจะมุ่งไปทางนั้นได้ เพราะเห็นหุ้นน้ำตาลยังคุยว่าทำเอธานอลได้ ผลลัพธ์ CPI ราคาลงมาเรื่อยๆ แถมประกาศผลฯขาดทุนอีก รอไม่ไหวแอบไปถามพนักงานของ CPI ว่ามีแนวโน้มไปทางไบโอดีเซลหรือไม่ ได้คำตอบว่ากำลังดูๆอยู่ ก็เลยขายออกไปหมดแล้วไว้ซื้อใหม่ตอนลงมือทำแล้วกัน
ไม่ทราบท่านอื่นมีความเห็นเรื่องไบโอดีเซลอย่างไรบ้างครับ
ที่สุดสำคัญที่ใจ
- wpong
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1356
- ผู้ติดตาม: 0
ปาล์ม....จะซี้หรือเปล่า
โพสต์ที่ 10
ได้ประโยชน์ 3 ฝ่าย ...
ผมว่าแค่ 2 ฝ่าย...
หยก ..
ลีลา ..
แวว..
จะเหลืออะไร ..
โอลีนเองขาย 30 บาท...
ติดฉลาก TESCO เหลือ 25 บาท ...
ใครยังจะซื้อโอลีนอีก ...
สงครามราคา ไม่น่าจะสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้ผลิตนะครับ
ผมว่าแค่ 2 ฝ่าย...
หยก ..
ลีลา ..
แวว..
จะเหลืออะไร ..
โอลีนเองขาย 30 บาท...
ติดฉลาก TESCO เหลือ 25 บาท ...
ใครยังจะซื้อโอลีนอีก ...
สงครามราคา ไม่น่าจะสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้ผลิตนะครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
ปาล์ม....จะซี้หรือเปล่า
โพสต์ที่ 11
ผลปาล์มสด 5 กก. สกัดได้น้ำมันปาล์มดิบประมาณ 1 กก.
หากต้นทุนผลปาล์มสดที่รับซื้อ กก.ละ 2.8 บาท เหมือนในตอนนี้
ต้นทุนวัตถุดิบต่อน้ำมันปาล์มดิบ 1 กก. ประมาณ 2.8*5= 14 บาท
ต้นทุนการหีบน้ำมัน ให้กลายเป็นน้ำมันปาล์มดิบ สามารถคำนวณได้จากงบการเงินซึ่งผมจำไม่ได้ว่าเป็นเท่าไหร่
ต้นทุนการขนส่งน้ำมันปาล์มดิบไปยังโรงกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์
และต้นทุนการกลั่นน้ำมันปาล์มดิบเป็นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ + ต้นทุนบรรจุภัณฑ์ขวด pet
ดูไปแล้ว ราคาน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ที่ 25 บาท ผู้ผลิตน่าจะเท่าทุนถึงขาดทุนนะครับ
หากบริษัทน้ำมันปาล์มในตลาดหลักทรัพย์ ไม่มีข้อได้เปรียบอื่นๆ คงลำบากในการแข่งขันครับ เว้นแต่มีข้อได้เปรียบเช่นมีสวนปาล์มของตัวเอง ซึ่งต้นทุนต่ำกว่ารับซื้อมากกว่าเท่าตัว หรือมีรายได้อื่นๆ เช่น ขายเมล็ดพันธ์ การส่งออกน้ำมันเมล็ดในปาล์มไปต่างประเทศ ซึ่งมีกำไรสูงกว่าการขายในประเทศ เนื่องประเทศไทยยังไม่มีโรงกลั่นโอเลเคมีคัล ทำให้ไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับน้ำมันเมล็ดในปาล์มได้
LST มีกำลังการผลิตสูงสุดในประเทศไทยประมาณ 200,000 ตันต่อปี
แต่โรงกลั่นในเครือเบอล่ากรุ๊ปในมาเลเซีย มีกำลังการผลิตมากกว่า 1 ล้านตัน
และน่าจะเป็นโรงกลั่นแบบคอมเพล็กซ์ด้วย..
หากต้นทุนผลปาล์มสดที่รับซื้อ กก.ละ 2.8 บาท เหมือนในตอนนี้
ต้นทุนวัตถุดิบต่อน้ำมันปาล์มดิบ 1 กก. ประมาณ 2.8*5= 14 บาท
ต้นทุนการหีบน้ำมัน ให้กลายเป็นน้ำมันปาล์มดิบ สามารถคำนวณได้จากงบการเงินซึ่งผมจำไม่ได้ว่าเป็นเท่าไหร่
ต้นทุนการขนส่งน้ำมันปาล์มดิบไปยังโรงกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์
และต้นทุนการกลั่นน้ำมันปาล์มดิบเป็นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ + ต้นทุนบรรจุภัณฑ์ขวด pet
ดูไปแล้ว ราคาน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ที่ 25 บาท ผู้ผลิตน่าจะเท่าทุนถึงขาดทุนนะครับ
หากบริษัทน้ำมันปาล์มในตลาดหลักทรัพย์ ไม่มีข้อได้เปรียบอื่นๆ คงลำบากในการแข่งขันครับ เว้นแต่มีข้อได้เปรียบเช่นมีสวนปาล์มของตัวเอง ซึ่งต้นทุนต่ำกว่ารับซื้อมากกว่าเท่าตัว หรือมีรายได้อื่นๆ เช่น ขายเมล็ดพันธ์ การส่งออกน้ำมันเมล็ดในปาล์มไปต่างประเทศ ซึ่งมีกำไรสูงกว่าการขายในประเทศ เนื่องประเทศไทยยังไม่มีโรงกลั่นโอเลเคมีคัล ทำให้ไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับน้ำมันเมล็ดในปาล์มได้
LST มีกำลังการผลิตสูงสุดในประเทศไทยประมาณ 200,000 ตันต่อปี
แต่โรงกลั่นในเครือเบอล่ากรุ๊ปในมาเลเซีย มีกำลังการผลิตมากกว่า 1 ล้านตัน
และน่าจะเป็นโรงกลั่นแบบคอมเพล็กซ์ด้วย..
แก้ไขล่าสุดโดย ลูกอิสาน เมื่อ เสาร์ พ.ค. 21, 2005 11:58 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
ปาล์ม....จะซี้หรือเปล่า
โพสต์ที่ 12
มาต่อเรื่องไปโอดีเซลดีกว่า กำลังสนุก :lol:
เรื่องนี้เป็นโครงการที่ดี แต่จะเป็นไปได้ในความเป็นจริงหรือเปล่ามาดูเหตุและผลกัน
ราคาน้ำมันดีเซลประมาณ 18 บาท แต่ใน 18 บาท รัฐและท้องถิ่นมีการจัดเก็บภาษีไปแล้วประมาณ 5 บาท (ผมไม่แน่ใจตัวเลข) ดังนั้นต้นทุนการผลิตน้ำมันดีเซลประมาณ 13 บาท
ต้นทุนน้ำมันปาล์มดิบที่ราคาผลปาล์มดิบ 2.5 บาท ต่อกก. ใช้ 5 กก.ผลปาล์มได้น้ำมัน 1 กก. ดังนั้นน้ำมัน 1 กก มีต้นทุนวัตถุดิบ 2.5*5 = 12.5 บาท แต่เนื่องจากต้องมีการกลั่นน้ำมันปาล์มดิบให้เป็นไปโอดีเซล ผมไม่แน่ใจว่าต้นทุนจะเป็นเท่าไหร่ต่อ กก.
แต่สรุปแล้วแม้แต่เช่นตอนนี้ที่น้ำมันดีเซลราคาแพง ก็ยังมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าการผลิตไปโอดีเซลพอสมควร
นอกจากนั้นยังมีเหตุผลทางเทคนิคอีกหลายประเด็นเช่น
1.ปาล์มเป็นพืชที่ต้องการฝนเป็นอย่างมาก ไม่ควรปลูกในที่มีผลทิ้งช่วงมากกว่า 3 เดือน มองประเด็นนี้จังหวัดที่มีฝนตกเหมาะสมที่จะปลูกปาล์มมีไม่กี่จังหวัดเช่น ระนอง กระบี่ พังงา ส่วน สตูล ตรัง สุราษ ชุมพร ตราด จัน มีพื้นที่เหมาะสมบางส่วนเท่านั้น การขาดฝนทำให้ผลปาล์มให้เปอร์เซนต์น้ำมันน้อย ไม่ต้องพูดถึงที่จะให้มีการปลูกในภาคอีสาน หรือภาคใต้ฝั่งตะวันออกบางส่วน แม้ต้นปาล์มจะโตได้ดี แต่จะให้น้ำมันปาล์มน้อยมาก อาจจะต้องใช้ปาล์มสดถึง 6-8 กก. เพื่อผลิต 1 กก. น้ำมัน ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงไปอีก
2.จะหาพื้นที่ปลูก 10 ล้านไรมาได้อย่างไร ใครจะยอมมาปลูกปาล์มในเมื่อพืชอื่นๆ ยังให้ผลตอบแทนที่ดี เช่นยางพารา ทั้งยังขายไม้ยางได้ด้วย จะขยายปลูกในที่นา ก็จะมีปัญหาเรื่องเปอร์เซนต์น้ำมัน
นี่เป็นประเด็นหลักๆ นะครับ
ถ้าแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้ ก็ไม่มีไปโอดีเซลในเชิงพานิชญ์ครับ :lol:
เรื่องนี้เป็นโครงการที่ดี แต่จะเป็นไปได้ในความเป็นจริงหรือเปล่ามาดูเหตุและผลกัน
ราคาน้ำมันดีเซลประมาณ 18 บาท แต่ใน 18 บาท รัฐและท้องถิ่นมีการจัดเก็บภาษีไปแล้วประมาณ 5 บาท (ผมไม่แน่ใจตัวเลข) ดังนั้นต้นทุนการผลิตน้ำมันดีเซลประมาณ 13 บาท
ต้นทุนน้ำมันปาล์มดิบที่ราคาผลปาล์มดิบ 2.5 บาท ต่อกก. ใช้ 5 กก.ผลปาล์มได้น้ำมัน 1 กก. ดังนั้นน้ำมัน 1 กก มีต้นทุนวัตถุดิบ 2.5*5 = 12.5 บาท แต่เนื่องจากต้องมีการกลั่นน้ำมันปาล์มดิบให้เป็นไปโอดีเซล ผมไม่แน่ใจว่าต้นทุนจะเป็นเท่าไหร่ต่อ กก.
แต่สรุปแล้วแม้แต่เช่นตอนนี้ที่น้ำมันดีเซลราคาแพง ก็ยังมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าการผลิตไปโอดีเซลพอสมควร
นอกจากนั้นยังมีเหตุผลทางเทคนิคอีกหลายประเด็นเช่น
1.ปาล์มเป็นพืชที่ต้องการฝนเป็นอย่างมาก ไม่ควรปลูกในที่มีผลทิ้งช่วงมากกว่า 3 เดือน มองประเด็นนี้จังหวัดที่มีฝนตกเหมาะสมที่จะปลูกปาล์มมีไม่กี่จังหวัดเช่น ระนอง กระบี่ พังงา ส่วน สตูล ตรัง สุราษ ชุมพร ตราด จัน มีพื้นที่เหมาะสมบางส่วนเท่านั้น การขาดฝนทำให้ผลปาล์มให้เปอร์เซนต์น้ำมันน้อย ไม่ต้องพูดถึงที่จะให้มีการปลูกในภาคอีสาน หรือภาคใต้ฝั่งตะวันออกบางส่วน แม้ต้นปาล์มจะโตได้ดี แต่จะให้น้ำมันปาล์มน้อยมาก อาจจะต้องใช้ปาล์มสดถึง 6-8 กก. เพื่อผลิต 1 กก. น้ำมัน ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงไปอีก
2.จะหาพื้นที่ปลูก 10 ล้านไรมาได้อย่างไร ใครจะยอมมาปลูกปาล์มในเมื่อพืชอื่นๆ ยังให้ผลตอบแทนที่ดี เช่นยางพารา ทั้งยังขายไม้ยางได้ด้วย จะขยายปลูกในที่นา ก็จะมีปัญหาเรื่องเปอร์เซนต์น้ำมัน
นี่เป็นประเด็นหลักๆ นะครับ
ถ้าแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้ ก็ไม่มีไปโอดีเซลในเชิงพานิชญ์ครับ :lol:
แก้ไขล่าสุดโดย ลูกอิสาน เมื่อ อาทิตย์ พ.ค. 22, 2005 11:31 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 118
- ผู้ติดตาม: 0
ปาล์ม....จะซี้หรือเปล่า
โพสต์ที่ 13
ขอบคุณมากครับ คุณลูกอีสาน ตาสว่างเลยครับ
ที่สุดสำคัญที่ใจ
- kotaro
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1496
- ผู้ติดตาม: 0
ปาล์ม....จะซี้หรือเปล่า
โพสต์ที่ 14
คุณลูกอีสานครับ
แถวบ้านผม(จังหวัดตราด) เห็นเขากำลังรณรงค์ให้ปลูกปาล์มกันที่ ตำบลบ่อไร่ แต่ก็มีปัญหาอย่างที่ว่าล่ะครับ ชาวบ้านบอกว่าไปปลูกไม้หอมกฤษณากันดีกว่า
เลยอยากทราบว่า การปลูกปาล์ม มีข้อดีกว่าการปลูกไม้อื่นยังไงครับ ในเรื่องของการปลูกการดูแลรักษา และผลตอบแทน
แต่เท่าที่ผมสังเกตุ ผมเห็นเขาขายต้นปาล์มที่โตแล้วกันละหลายหมื่น ไปตกแต่งบ้านหรือโรงแรม เลยไม่รู้ว่าไอ้ปาล์มน้ำมันเนี่ยะเขาใช้ตกแต่งเพื่อความสวยงามหรือเปล่าครับ
แถวบ้านผม(จังหวัดตราด) เห็นเขากำลังรณรงค์ให้ปลูกปาล์มกันที่ ตำบลบ่อไร่ แต่ก็มีปัญหาอย่างที่ว่าล่ะครับ ชาวบ้านบอกว่าไปปลูกไม้หอมกฤษณากันดีกว่า
เลยอยากทราบว่า การปลูกปาล์ม มีข้อดีกว่าการปลูกไม้อื่นยังไงครับ ในเรื่องของการปลูกการดูแลรักษา และผลตอบแทน
แต่เท่าที่ผมสังเกตุ ผมเห็นเขาขายต้นปาล์มที่โตแล้วกันละหลายหมื่น ไปตกแต่งบ้านหรือโรงแรม เลยไม่รู้ว่าไอ้ปาล์มน้ำมันเนี่ยะเขาใช้ตกแต่งเพื่อความสวยงามหรือเปล่าครับ
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
ปาล์ม....จะซี้หรือเปล่า
โพสต์ที่ 16
เปรียบเทียบพืชเศรษกิจที่ใกล้เคียงกันคือ ยางพารากะปาล์มkotaro เขียน:คุณลูกอีสานครับ
แถวบ้านผม(จังหวัดตราด) เห็นเขากำลังรณรงค์ให้ปลูกปาล์มกันที่ ตำบลบ่อไร่ แต่ก็มีปัญหาอย่างที่ว่าล่ะครับ ชาวบ้านบอกว่าไปปลูกไม้หอมกฤษณากันดีกว่า
เลยอยากทราบว่า การปลูกปาล์ม มีข้อดีกว่าการปลูกไม้อื่นยังไงครับ ในเรื่องของการปลูกการดูแลรักษา และผลตอบแทน
แต่เท่าที่ผมสังเกตุ ผมเห็นเขาขายต้นปาล์มที่โตแล้วกันละหลายหมื่น ไปตกแต่งบ้านหรือโรงแรม เลยไม่รู้ว่าไอ้ปาล์มน้ำมันเนี่ยะเขาใช้ตกแต่งเพื่อความสวยงามหรือเปล่าครับ
1.ผลตอบแทน ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศและราคาสินค้าทั้งสองครับ คือหากเป็นพื้นที่ฝนตกชุกมาก ควรปลูกปาล์มดีกว่าเพราะหากฝนตกชุกจะกรีดยางไม่ได้ดีครับ ในขณะที่ปาล์มจะให้ผลผลิตดีมากเมื่อมีฝนตกชุก ในด้านราคาผมไม่มีตัวเลขแต่หากเป็นตอนนี้ยางพารา กก. ละ 45 บาท และปาล์ม กก. ละ 2.8 บาท ผมคิดว่าเฉลี่ยแล้ว ยางอาจจะดีกว่านิดหน่อย เพราะไม้ยางพาราขายได้ราคาดีมาก โดยเฉพาะสวนที่ติดถนน ในขณะที่ต้นปาล์ม ยังอยู่ในขั้นตอนศึกษาที่จะนำมาทำเป็นปาติเคิล บอร์ด
2.การดูแลรักษา เก็บเกี่ยว ประเด็นนี้ฟันธงไปเลยว่าปาล์มดีกว่ามาก
-ศัตรูพืช ปาล์มอาจจะมีหนูบ้าง ในขณะที่ยางมีปัญหาเรื่องปลวกกินราก
-ปาล์มเริ่มให้ผลผลิตอายุประมาณ 3 ปี และให้เต็มที่ 7 ปีขึ้นไป ในขณะที่ยางพาราต้องรอถึง 7 ปี กว่าจะกรีดได้
-การเก็บเกี่ยวปาล์มดีกว่ายางพารามาก ยางพาราจะต้องมีการกรีดทุกวัน หรือวันเว้นวัน ต้องตื่นตั้งแต่เที่ยงคืน ตี 1 - 2 เข้าไปเดินในป่าเพื่อกรีดยาง เป็นชีวิตที่อันตรายครับ เสร็จแล้วต้องตามเก็บถ้วยน้ำยาง นำมาทำเป็นแผ่นอีก เสียเวลามากครับ แทบไม่มีคนไทยกรีดยางกันแล้วครับ มีแต่แรงงานต่างด้าว ในขณะที่ปาล์มมักจะเก็บเกี่ยวทุกๆ 15 วัน โดยตัดทะลายปาล์ม บรรทุกนำไปขาย แต่ก็มีข้อเสียคือทะลายปาล์มจะหนักมาก 12-35 กก. ทำให้ต้องเก็บเกี่ยวโดยแรงงานที่แข็งแรง และเสียค่าขนส่งสูงครับ
ส่วนปาล์มตกแต่งน่าจะเป็นคนละพันธ์นะครับ มีคล้ายๆกับต้นปาล์มแต่ใบสีอ่อนกว่า และมีหนาม นั่นคืออินทผลัมครับ
พูดถึงไม้กฤษณา ก็ปลูกยากนะครับ เพราะต้องมีเทคนิคที่จะทำให้ต้นเกิดบาดแผลจึงจะทำให้มีกลิ่น เรื่องตลาดผมว่ายังไม่แน่นอนครับ เกิดปลูกกันมากๆ ต่อไป 10-20 ปีอาจจะขายกันแค่ กก.ละ 100-200 บาท ก็ได้ครับ เหมือนสินค้าหลายๆชนิด ตอนเริ่มแรกราคามักจะแพง พอปลูกหรือเพาะพันธ์กันได้ ราคาก็ตก กลายเป็นสินค้าธรรมดาไปเลย ดูส้มสายน้ำผึ้ง ชมพูเพชร เห็ดหอม ดูซิครับ.
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 2326
- ผู้ติดตาม: 0
ปาล์ม....จะซี้หรือเปล่า
โพสต์ที่ 17
ผมเห็นยี่ห้อ tesco มีขายอยูใน testco ที่เดียวนะ (คิดว่าไม่มีวางขายส่งไปที่อื่นๆ) การกระจาย-การรู้จัก-คุณภาพสินค้ายังด้อยกว่า ถ้าพวกมียี่ห้อ เขาก็มีบวกเพิ่มต้นทุนด้าน ค่าโฆษณา ค่าดำเนินการทำตลาดโอลีนเองขาย 30 บาท...
ติดฉลาก TESCO เหลือ 25 บาท ...
ใครยังจะซื้อโอลีนอีก ...
สงครามราคา ไม่น่าจะสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้ผลิตนะครับ
หากในกรณีรับจ้างผลิต ให้ tesco แล้วยี่ห้อสุดคุ้มขายดี มันก็ส่งผลดีต่อผู้ผลิตได้รับงาน ได้รับ order ผลิตเพิ่มมากขึ้น
น้ำมันปาล์มแต่ล่ะยี่ห้อ คุณภาพไม่เหมือนกันนะครับ ถึงแม้เป็นน้ำมันชนิดนั้น 100% เนื่องจากตัวแปรจากขั้นตอนการกลั่น จะมีสิ่งเจือปนที่ยากต่อการกำจัด เช่น กรดไขมันอิสระ , พวก gum(เป็นสารยางเหนียว) , เอมไซม์บางชนิดเมื่อมีการทำปฎิกิริยากับกรดไขมันก่อให้เกิดกลิ่นหืน , ตลอดจนการกำจัดสีและกลิ่น
งด เลิก เสพ สุรา บุหรี่ วันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีของท่าน
- wpong
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1356
- ผู้ติดตาม: 0
ปาล์ม....จะซี้หรือเปล่า
โพสต์ที่ 18
ตอนแรกผมเข้าใจว่าน้ำมันปาล์มตราเทสโก้ที่ราคา 25 บาท เหมือนกับน้ำมันปาล์มตราโอลีนราคา 30 บาท
หรือ
น้ำดื่มตราเทสโกที่ผลิตโดยบ.เนปจูน มีคุณภาพเหมือนกับน้ำดื่มของเนปจูนเอง
ปัจจุบันผมใช้ของ TESCO อยู่หลายตัว แต่มองความแตกต่างไม่ออกครับ
เพื่อนๆว่าหนมปังแผ่นของ PB กับหนมปังของTESCO ต่างกันใหมครับ ผมชอบกินของ TESCO เพราะเพิ่งออกจากเตา ครับ
หรือ
น้ำดื่มตราเทสโกที่ผลิตโดยบ.เนปจูน มีคุณภาพเหมือนกับน้ำดื่มของเนปจูนเอง
ปัจจุบันผมใช้ของ TESCO อยู่หลายตัว แต่มองความแตกต่างไม่ออกครับ
เพื่อนๆว่าหนมปังแผ่นของ PB กับหนมปังของTESCO ต่างกันใหมครับ ผมชอบกินของ TESCO เพราะเพิ่งออกจากเตา ครับ
- kotaro
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1496
- ผู้ติดตาม: 0
ปาล์ม....จะซี้หรือเปล่า
โพสต์ที่ 19
ต้นปาล์มที่เขาเอาไปกลั่นน้ำมัน ส่วนใหญ่ที่ขาย เขาขายเป็น palm oil หรือ palm kernel oil ครับ และอันไหนขายได้ราคาดีกว่าครับ
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
ปาล์ม....จะซี้หรือเปล่า
โพสต์ที่ 20
ปกติผลปาล์มดิบจะคล้ายๆกับผลหมากคือมี 2 ส่วนใหญ่kotaro เขียน:ต้นปาล์มที่เขาเอาไปกลั่นน้ำมัน ส่วนใหญ่ที่ขาย เขาขายเป็น palm oil หรือ palm kernel oil ครับ และอันไหนขายได้ราคาดีกว่าครับ
- ส่วนที่เป็นเปลือกซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของผลปาล์ม ประกอบด้วยน้ำมัน ซึ่งหากหีบออกมาแล้วจะมีสีน้ำตาล (เรียกว่าน้ำมันปาล์มดิบ หรือ Palm Crude Oil - PCO) นำไปกลั่นเพื่อขจัดสิ่งแปลกปลอมเช่น เม็ดสี สิ่งเจือปนต่างๆ ออกไป มักนำไปบริโภคโดยตรง
- ส่วนที่เป็นเมล็ดในปาล์ม จะห่อหุ้มด้วยกะลาแข็ง ด้านในจะเป็นเนื้อสีขาว-ขุ่นๆ คล้ายเนื้อมะพร้าว ส่วนนี้จะประกอบด้วยน้ำมัน ซึ่งมีองค์ประกอบที่แตกต่างจากน้ำมันจากผล (เรียกว่าน้ำมันเมล็ดในปาล์มดิบ Palm Kernel Crude Oil - PKCO) นำมาหีบจะมีสีคล้ายน้ำมันพืชที่เราเห็นกัน มีคุณสมบัติคล้ายน้ำมันมะพร้าว สามารถนำไปกลั่นได้ผลิตภัณฑ์หลากหลายมาก นำไปใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภทเช่น บิสกิต ครีมเทียม ไอศกรีม แชมพูและเครื่องสำอาง โอลีโอเคมี เช่น การผลิตกรดไขมันและเมทธิลเอสเธอร์
เนื่องจากน้ำมันเมล็ดในปาล์มจะนำไปกลั่น และสามารถใช้ได้ในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ทำให้มีราคาสูงกว่าน้ำมันปาล์มดิบ และโดยเฉพาะในช่วงนี้ที่น้ำมันแพง ราคาน้ำมันเมล็ดในก็มีราคาเพิ่มขึ้นไปด้วย เพราะกรดลอริค ซึ่งผลิตได้ สามารถนำไปทดแทนที่กลั่นจากปิโตรเลียม
หากจำไม่ผิดช่วงนี้ราคาน้ำมันปาล์มดิบ กก. ละ 16 บาท
ในขณะที่น้ำมันเมล็ดในปาล์มดิบราคา กก. ละ 22 บาท ครับ
เฉพาะโรงงานใหญ่ๆ ทันสมัยเท่านั้น ที่สามารถแยกผลิตน้ำมันทั้งสองชนิดแยกออกจากกันได้ ซึ่งแตกต่างจากโรงหีบน้ำมันขนาดเล็ก ที่จะหีบแบบรวมกัน แม้ว่าการผลิตแบบแยกกัน จะมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า แต่สามารถขายผลิตภัณฑ์ได้ราคาสูงกว่า
ปกติผลปาล์มดิบ 100 กก.
สามารถหีบได้น้ำมันปาล์มดิบประมาณ 17-19 กก.
และน้ำมันเมล็ดในปาล์มดิบประมาณ 3.5 กก.
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 314
- ผู้ติดตาม: 0
ปาล์ม....จะซี้หรือเปล่า
โพสต์ที่ 21
แทบไม่มีคนไทยกรีดยางกันแล้วครับ มีแต่แรงงานต่างด้าว
อันนี้ขอเถียงครับ ที่สวนพ่อผมยังมีชาวบ้านแถวๆนั้นมากรีด โดยมักจะแบ่งสัดส่วนกันกับเจ้าของสวนครับ และจากประสบการณ์ตรงที่พบ ชาวบ้านที่ภาคใต้จะมีอาชีพหลักคือการกรีดยางครับ ตอนนี้ราคายางดี ชาวบ้านก็มีตังมากขึ้นด้วยครับ :lol:
อันนี้ขอเถียงครับ ที่สวนพ่อผมยังมีชาวบ้านแถวๆนั้นมากรีด โดยมักจะแบ่งสัดส่วนกันกับเจ้าของสวนครับ และจากประสบการณ์ตรงที่พบ ชาวบ้านที่ภาคใต้จะมีอาชีพหลักคือการกรีดยางครับ ตอนนี้ราคายางดี ชาวบ้านก็มีตังมากขึ้นด้วยครับ :lol:
-
- Verified User
- โพสต์: 1688
- ผู้ติดตาม: 0
ปาล์ม....จะซี้หรือเปล่า
โพสต์ที่ 23
ต่างครับคุณwpongwpong เขียน:เพื่อนๆว่าหนมปังแผ่นของ PB กับหนมปังของTESCO ต่างกันใหมครับ ผมชอบกินของ TESCO เพราะเพิ่งออกจากเตา ครับ
ผมก็ชอบกินที่เพิ่งออกจากเตา
แต่ร้านของชำในหมู่บ้านผม ขายแต่ฟาร์มเฮ้า