ย้อนรอย 36 ปี 'ตลาดหุ้นไทย' จากปี 2518-2554 'เศร้า' มากกว่า
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
ย้อนรอย 36 ปี 'ตลาดหุ้นไทย' จากปี 2518-2554 'เศร้า' มากกว่า
โพสต์ที่ 1
ย้อนรอย 36 ปี 'ตลาดหุ้นไทย' จากปี 2518-2554 'เศร้า' มากกว่า 'สุข'
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ถอดสถิติ 36 ปี ตลาดหุ้นไทยจากยุค ศุกรีย์ แก้วเจริญ ถึงยุค จรัมพร โชติกเสถียร ชี้ชัดหลัง SET Index 'บูมสุดขีด' ดัชนีมีโอกาสพักตัวนาน 1-2 ปี
เหตุการณ์ Black Monday วันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2554 นับเป็นอีกครั้งที่นักลงทุนต้องจดจำ การซื้อขายระหว่างวันดัชนีทรุดตัวลงอย่างรุนแรงถึง 90.22 จุด หรือ 9.41% ก่อนจะปิดลบ 54.10 จุด ลดลง 5.98% (ตลาด mai ลดลง 7.05%) เพียงวันเดียวมาร์เก็ตแคป (ความมั่งคั่ง) ของ SET หายไป 4.42 แสนล้านบาท
การปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงภายหลัง SET Index ทะยานขึ้นไปทำจุดสูงสุดในรอบ 15 ปี ที่ระดับ 1,148 จุด เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2554 สอดคล้องกับ "สถิติ" ในรอบ 36 ปี (2518-2554) "ขาขึ้นใหญ่" ดัชนีจะไปได้ไกลสุดประมาณ "2 ปีครึ่ง" (บวก-ลบ) ถ้าวัดจาก 380 จุด ขึ้นไป 1,148 จุด ใช้ระยะเวลาเดินทางประมาณ 32 เดือน (2 ปี 8 เดือน) ตอนนี้ถือว่า SET น่าจะ "จบรอบขาขึ้น" อย่างสมบูรณ์แล้ว
ตามสถิติหลังจากนี้ดัชนีจะขึ้นลงเป็น "ฟันปลา" อีกประมาณ "ปีครึ่ง-2 ปี" ถ้าเชื่อว่าสถิติจะ "ซ้ำรอยเดิม" ดัชนีสูงสุดที่ทำไว้ 1,148 จุด จะเป็น "จุดพีค" ของปี 2554-2555 และประมาณ "ครึ่งหลังปี 2556" เป็นต้นไปอาจจะเกิด "จุดหักเห" สำคัญ ถ้าไม่เกิด "กระทิงยักษ์" ก็ต้องเจอ "หมียักษ์"
บทสรุปของตลาดหุ้นในรอบ 36 ปี นับตั้งแต่เปิดซื้อขายครั้งแรกวันที่ 30 เมษายน 2518 ผู้จัดการคนแรก ศุกรีย์ แก้วเจริญ ถึงปัจจุบัน จรัมพร โชติกเสถียร SET ผ่าน "ช่วงเศร้า" (ตลาดหมี และตลาดไซด์เวย์) มากกว่าผ่าน "ช่วงสุข" (ตลาดกระทิง)
ช่วงปี 2520-2521 ตลาดหุ้นเข้าสู่ "ภาวะกระทิง" เป็นครั้งแรก ภาวะเศรษฐกิจช่วงนั้นขยายตัวสูง บริษัทต่างๆ แห่เข้าจดทะเบียนเป็นจำนวนมาก ถึงสิ้นปี 2521 มีหลักทรัพย์จดทะเบียน 71 บริษัท วอลุ่มการซื้อขายในปี 2521 ทะยานขึ้นมาสูงถึง 57,272 ล้านบาท เทียบกับปี 2519 ทั้งปีมีวอลุ่มซื้อขายเพียง 1,681 ล้านบาท มีหุ้นจดทะเบียน 32 บริษัท เพียง 2 ปี SET เพิ่มขึ้นจาก 82 จุด ขึ้นไป 266 จุดในเดือนพฤศจิกายน 2521 ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 220%
หลังผ่านช่วงดื่มด่ำกับเงินทองที่ไหลมาเทมายังกับสายน้ำ ตลาดหุ้นก็ตกต่ำยาวนานถึง "3 ปีครึ่ง" (ปี 2522-กลางปี 2525) เกิดวิกฤติราคาน้ำมัน เงินเฟ้อในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามมาด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ถีบตัวสูงขึ้น การลงทุนภาคเอกชนซบเซา ทุนสำรองระหว่างประเทศร่อยหรอ ในที่สุดรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ตัดสินใจลดค่าเงินบาท 9% เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2524 ช่วงนั้นเกิดสงครามเวียดนาม และตามมาด้วยวิกฤติราชาเงินทุน
ดัชนีตกจาก 266 จุด ในเดือนพฤศจิกายน 2521 ลงไปต่ำสุด 102 จุดในเดือนเมษายน 2525 ตกต่ำยาวนานถึง "3 ปีครึ่ง" SET เริ่มฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2525 ถึงครึ่งแรกของปี 2529 ช่วงนี้ตลาดหุ้น "ไซด์เวย์" ยาวนานถึง "3 ปี" (2526-2529) มีช่วงขาขึ้น 40-50% เพียงช่วงสั้นๆ เป็นช่วงคาบเกี่ยวระหว่างปี 2525-2526
ตลาดหุ้นกลับมาบูมอีกครั้งในช่วงครึ่งหลังปี 2529 ถึงเดือนตุลาคม 2530 ผลพวงจากการลดค่าเงินบาท เศรษฐกิจกลับมาเฟื่องฟูในปลายสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ดัชนีขึ้นจาก 127 จุด ขึ้นไปสูงสุด 472 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้น 270% เป็นช่วงที่นักลงทุนต่างร่ำรวยและฟู่ฟ่า หลังสุขใหญ่..ทุกข์ใหญ่ก็ตามมาติดๆ เกิดเหตุการณ์ Black Monday ในวันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม 2530 ตลาดหุ้นไทยดิ่งจาก 472 จุด ลงไปต่ำสุด 243 จุด ดัชนีลดลง 48% ภายในระยะเวลาเพียง 3 เดือน
สรุปว่าหลังตลาดหุ้นบูมช่วงปี 2520-2521 (หุ้นขึ้น 220%) กลับมาบูมอีกครั้งช่วงปี 2529-2530 (หุ้นขึ้น 270%) ทิ้งช่วงห่างยาวนาน "7 ปีครึ่ง" เท่ากับว่าในรอบ 12 ปีแรก (2518-2530) มีช่วงสุขประมาณ 4-5 ปี มีช่วงเศร้ายาวนาน 7-8 ปี
หลังเหตุการณ์ Black Monday ปี 2530 หุ้นไทยฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว จาก 243 จุดในเดือนธันวาคม 2530 ทะยานขึ้นไปสูงสุด 1,143 จุด ในเดือนกรกฎาคม 2533 เป็นขาขึ้นยาวนาน "2 ปีครึ่ง" (รอบนี้ SET ก็สูงสุด 1,148 จุด วันที่ 1 สิงหาคม 2554 คล้ายกันเด๊ะ! ตลาดหุ้นขึ้นมาประมาณ 2 ปีครึ่งเหมือนกันอีก) ขณะนั้นไทยฝันจะเป็น "เสือตัวที่ 5 แห่งเอเชีย" ต้อนรับ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 17 ของไทย
ปี 2533 ช่วงที่พล.อ.ชาติชาย "เรืองอำนาจ" ช่วงนั้นธุรกิจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำลังเริ่มเติบโต มีเหตุการณ์ปลดฟ้าผ่า กำจร สถิรกุล ออกจากผู้ว่าแบงก์ชาติ เดินหน้าแปรรูปรัฐวิสาหกิจ อสังหาริมทรัพย์บูมสุดขีด แต่ปีนั้นก็เกิดเหตุการณ์ "อิรักบุกคูเวต" ถือเป็น "จุดจบ" ของตลาดหุ้น (ครั้งนี้จุดจบตลาดหุ้นเกิดวิกฤติหนี้ยุโรป-เศรษฐกิจสหรัฐอ่อนแอ)
หุ้นดิ่งจาก 1,143 จุด ลงไปต่ำสุด 536 จุด ภายในระยะเวลาเพียง 4 เดือน ลดลงถึง 53% หลังจากนั้น 5 เดือนต่อมาก็ทะยานขึ้นไปสูงสุด 911 จุด รีบาวด์ 70% แต่ก็ไม่สามารถขึ้นไปถึงจุดสูงสุดเดิมที่ 1,143 จุดได้ ตลาดหุ้น "ไซด์เวย์" เป็นฟันปลายาวนานถึง "ปีครึ่ง" (2534-ครึ่งปีแรก 2535) ก่อนจะทะยานขึ้นไปได้อย่างบ้าเลือดขึ้นไป 1,789 จุด ภายในระยะเวลาเพียง "ปีครึ่ง" (มิถุนายน 2535-มกราคม 2537)
ในระหว่างปี 2534-2535 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ หัวหน้าคณะ รสช. "ปฏิวัติ" ล้มรัฐบาล "บุฟเฟ่ต์คาบิเนต" ของ พล.อ.ชาติชาย ตั้งข้อกล่าวหารัฐบาล "เผด็จการ" และ "ฉ้อราษฎร์บังหลวง" แต่คณะรสช.ก็ไปได้รอดเมื่อตั้ง พล.อ.สุจินดา คราประยูร ขึ้นมา "สืบทอดอำนาจ" จนนำไปสู่เหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ" ในปี 2535 อานันท์ ปันยารชุน กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
ต่อมาในปี 2536 พรรคประชาธิปัตย์ได้กลับมาเป็นรัฐบาล ชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ช่วงนั้น GDP ไทยเติบโต 7-8% SET ทำลายจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 1,789 จุด ในวันที่ 4 มกราคม 2537 แต่อะไรที่บูมสุดขีดก็ตกอย่างน่าใจหายได้เช่นกัน ตลาดหุ้น "ไซด์เวย์" นานถึง "2 ปีเต็ม" (2537-2538) ก่อนจะแปรสภาพเป็น "ขาลงใหญ่" ในปี 2539 หลัง บรรหาร ศิลปอาชา เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี
พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีไม่นานก็เกิดวิกฤติ "ต้มยำกุ้ง" ปี 2540 แต่ตลาดหุ้นเริ่มเป็น "ขาลงล่วงหน้า" มาตั้งแต้ต้นปี 2539 แล้ว และลงมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน "2 ปีครึ่ง" (2539-กลางปี 2541)
สรุปก็คือตลาดหุ้นในช่วงปี 2530-2540 เป็นขาขึ้น "2 ปีครึ่ง" (2531-กลางปี 2533) หุ้นขึ้นประมาณ 370% (243-1,143 จุด) พักตัว "ปีครึ่ง" แล้วเป็นขาขึ้นต่ออีก "2 ปี" (2535-2536) ขึ้นอีกประมาณ 170% หลังจากนั้นตลาดก็ "ไซด์เวย์" อีก 2 ปี (2537-2538) แล้วก็เกิด "หมียักษ์" ในปี 2539-2540 นักลงทุนสิ้นเนื้อประดาตัวจำนวนมาก เท่ากับว่าช่วง 10 ปีนี้ "สุข" 4 ปีครึ่ง "เศร้า" อีก 5 ปีครึ่ง
หลังปี 2540-2554 หรือในรอบ 14 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยมีช่วง "กระทิง" เพียง 4 รอบเท่านั้น รอบแรกคือช่วงปี 2541 สมัยรัฐบาล ชวน 2 เป็นช่วง "ฟื้นตัวชั่วคราวจากวิกฤติ" ดัชนีขึ้นจาก 204 จุด (กันยายน 2541) ขึ้นไป 551 จุด (มิถุนายน 2542) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 170%
รอบที่สองคือ ช่วงตุลาคม 2535-ธันวาคม 2536 หลัง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาบริหารประเทศเป็นปีที่สาม นโยบายประชานิยมกำลังเบ่งบาน มีการโยกย้ายข้าราชการระดับสูงจนสามารถสั่งซ้ายหันขวาหันได้หมดแล้ว ดัชนีขึ้นจาก 323 จุด ขึ้นไป 802 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้น 148% แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ไปไม่รอดถูก "ปฏิวัติยึดอำนาจ" คล้ายรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
รอบที่สามคือ ในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ หลังเกิดเหตุการณ์หุ้นตกใหญ่ 108 จุด ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ประกาศมาตรการสำรอง 30% สกัดการเก็งกำไรค่าเงินบาท ในเดือนธันวาคม 2549 ตอนนั้นหุ้นตกลงไปจาก 748 จุด เหลือ 587 จุด ลดลง 21% หลังหุ้นตกใหญ่พอข้ามปีในปี 2550 ตลาดหุ้นเกิด "ภาวะกระทิงย่อมๆ" ทะยานจาก 587 จุด ขึ้นไปสูงสุด 924 จุด เพิ่มขึ้น 57%
ก่อนที่ตลาดหุ้นจะกลับมา "บูม" ใน "ยุคสุดท้าย" (รอบที่สี่) หลัง SET "ล่มสลาย" จากวิกฤติซับไพร์มหุ้นตกหนักจาก 924 จุด ลงมาต่ำสุด 380 จุด ลดลง 58% ก่อนจะทะยานจาก 380 จุด ขึ้นไปสูงสุด 1,148 จุด เพิ่มขึ้น 202% ในระยะเวลาประมาณ "2 ปี 8 เดือน" (ธันวาคม 2551-กรกฎาคม 2554)
ในรอบ 14 ปี นับจากปี 2540-2554 ตลาดหุ้นไทยมีช่วง "สุข" (ขาขึ้น) 4 รอบใหญ่ รวมระยะเวลาสั้นมากเพียง 5-6 ปี เท่านั้น ส่วนที่เหลือ 8-9 ปีเป็นช่วงที่ตลาด "ไซด์เวย์" และเป็น "ขาลง"
หากประเมินจาก "ภาพใหญ่" ของเศรษฐกิจโลกที่มี "ความเสี่ยงสูง" (มาก) ในขณะนี้ นำมาเทียบเคียงกับสถิติของ SET Index ในอดีต พอจะสรุปได้ว่า จุดสูงสุดของดัชนีที่ระดับ 1,148 จุด ที่ทำไว้เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2554 อาจจะเป็น "จุดพีค" ของตลาดหุ้นไทยไปแล้วในช่วง 1-2 ปีข้างหน้านี้ก็เป็นไปได้
บทสรุปก็คือ ดีที่สุดถ้า SET ไม่เป็น "ขาลง" ทำจุด "ต่ำสุดใหม่" ตลาดก็จะ "ไซด์เวย์" ออกด้านข้าง แต่ขึ้นไม่น่าจะถึง 1,150 จุด เพราะฉะนั้นกลยุทธ์การลงทุนที่ดีที่สุดในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า "ขึ้นขาย-ลงซื้อ" เป็นตลาดของการ "เล่นรอบ" เหมาะกว่า "ลงทุนระยะยาว"
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ถอดสถิติ 36 ปี ตลาดหุ้นไทยจากยุค ศุกรีย์ แก้วเจริญ ถึงยุค จรัมพร โชติกเสถียร ชี้ชัดหลัง SET Index 'บูมสุดขีด' ดัชนีมีโอกาสพักตัวนาน 1-2 ปี
เหตุการณ์ Black Monday วันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2554 นับเป็นอีกครั้งที่นักลงทุนต้องจดจำ การซื้อขายระหว่างวันดัชนีทรุดตัวลงอย่างรุนแรงถึง 90.22 จุด หรือ 9.41% ก่อนจะปิดลบ 54.10 จุด ลดลง 5.98% (ตลาด mai ลดลง 7.05%) เพียงวันเดียวมาร์เก็ตแคป (ความมั่งคั่ง) ของ SET หายไป 4.42 แสนล้านบาท
การปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงภายหลัง SET Index ทะยานขึ้นไปทำจุดสูงสุดในรอบ 15 ปี ที่ระดับ 1,148 จุด เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2554 สอดคล้องกับ "สถิติ" ในรอบ 36 ปี (2518-2554) "ขาขึ้นใหญ่" ดัชนีจะไปได้ไกลสุดประมาณ "2 ปีครึ่ง" (บวก-ลบ) ถ้าวัดจาก 380 จุด ขึ้นไป 1,148 จุด ใช้ระยะเวลาเดินทางประมาณ 32 เดือน (2 ปี 8 เดือน) ตอนนี้ถือว่า SET น่าจะ "จบรอบขาขึ้น" อย่างสมบูรณ์แล้ว
ตามสถิติหลังจากนี้ดัชนีจะขึ้นลงเป็น "ฟันปลา" อีกประมาณ "ปีครึ่ง-2 ปี" ถ้าเชื่อว่าสถิติจะ "ซ้ำรอยเดิม" ดัชนีสูงสุดที่ทำไว้ 1,148 จุด จะเป็น "จุดพีค" ของปี 2554-2555 และประมาณ "ครึ่งหลังปี 2556" เป็นต้นไปอาจจะเกิด "จุดหักเห" สำคัญ ถ้าไม่เกิด "กระทิงยักษ์" ก็ต้องเจอ "หมียักษ์"
บทสรุปของตลาดหุ้นในรอบ 36 ปี นับตั้งแต่เปิดซื้อขายครั้งแรกวันที่ 30 เมษายน 2518 ผู้จัดการคนแรก ศุกรีย์ แก้วเจริญ ถึงปัจจุบัน จรัมพร โชติกเสถียร SET ผ่าน "ช่วงเศร้า" (ตลาดหมี และตลาดไซด์เวย์) มากกว่าผ่าน "ช่วงสุข" (ตลาดกระทิง)
ช่วงปี 2520-2521 ตลาดหุ้นเข้าสู่ "ภาวะกระทิง" เป็นครั้งแรก ภาวะเศรษฐกิจช่วงนั้นขยายตัวสูง บริษัทต่างๆ แห่เข้าจดทะเบียนเป็นจำนวนมาก ถึงสิ้นปี 2521 มีหลักทรัพย์จดทะเบียน 71 บริษัท วอลุ่มการซื้อขายในปี 2521 ทะยานขึ้นมาสูงถึง 57,272 ล้านบาท เทียบกับปี 2519 ทั้งปีมีวอลุ่มซื้อขายเพียง 1,681 ล้านบาท มีหุ้นจดทะเบียน 32 บริษัท เพียง 2 ปี SET เพิ่มขึ้นจาก 82 จุด ขึ้นไป 266 จุดในเดือนพฤศจิกายน 2521 ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 220%
หลังผ่านช่วงดื่มด่ำกับเงินทองที่ไหลมาเทมายังกับสายน้ำ ตลาดหุ้นก็ตกต่ำยาวนานถึง "3 ปีครึ่ง" (ปี 2522-กลางปี 2525) เกิดวิกฤติราคาน้ำมัน เงินเฟ้อในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามมาด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ถีบตัวสูงขึ้น การลงทุนภาคเอกชนซบเซา ทุนสำรองระหว่างประเทศร่อยหรอ ในที่สุดรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ตัดสินใจลดค่าเงินบาท 9% เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2524 ช่วงนั้นเกิดสงครามเวียดนาม และตามมาด้วยวิกฤติราชาเงินทุน
ดัชนีตกจาก 266 จุด ในเดือนพฤศจิกายน 2521 ลงไปต่ำสุด 102 จุดในเดือนเมษายน 2525 ตกต่ำยาวนานถึง "3 ปีครึ่ง" SET เริ่มฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2525 ถึงครึ่งแรกของปี 2529 ช่วงนี้ตลาดหุ้น "ไซด์เวย์" ยาวนานถึง "3 ปี" (2526-2529) มีช่วงขาขึ้น 40-50% เพียงช่วงสั้นๆ เป็นช่วงคาบเกี่ยวระหว่างปี 2525-2526
ตลาดหุ้นกลับมาบูมอีกครั้งในช่วงครึ่งหลังปี 2529 ถึงเดือนตุลาคม 2530 ผลพวงจากการลดค่าเงินบาท เศรษฐกิจกลับมาเฟื่องฟูในปลายสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ดัชนีขึ้นจาก 127 จุด ขึ้นไปสูงสุด 472 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้น 270% เป็นช่วงที่นักลงทุนต่างร่ำรวยและฟู่ฟ่า หลังสุขใหญ่..ทุกข์ใหญ่ก็ตามมาติดๆ เกิดเหตุการณ์ Black Monday ในวันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม 2530 ตลาดหุ้นไทยดิ่งจาก 472 จุด ลงไปต่ำสุด 243 จุด ดัชนีลดลง 48% ภายในระยะเวลาเพียง 3 เดือน
สรุปว่าหลังตลาดหุ้นบูมช่วงปี 2520-2521 (หุ้นขึ้น 220%) กลับมาบูมอีกครั้งช่วงปี 2529-2530 (หุ้นขึ้น 270%) ทิ้งช่วงห่างยาวนาน "7 ปีครึ่ง" เท่ากับว่าในรอบ 12 ปีแรก (2518-2530) มีช่วงสุขประมาณ 4-5 ปี มีช่วงเศร้ายาวนาน 7-8 ปี
หลังเหตุการณ์ Black Monday ปี 2530 หุ้นไทยฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว จาก 243 จุดในเดือนธันวาคม 2530 ทะยานขึ้นไปสูงสุด 1,143 จุด ในเดือนกรกฎาคม 2533 เป็นขาขึ้นยาวนาน "2 ปีครึ่ง" (รอบนี้ SET ก็สูงสุด 1,148 จุด วันที่ 1 สิงหาคม 2554 คล้ายกันเด๊ะ! ตลาดหุ้นขึ้นมาประมาณ 2 ปีครึ่งเหมือนกันอีก) ขณะนั้นไทยฝันจะเป็น "เสือตัวที่ 5 แห่งเอเชีย" ต้อนรับ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 17 ของไทย
ปี 2533 ช่วงที่พล.อ.ชาติชาย "เรืองอำนาจ" ช่วงนั้นธุรกิจของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำลังเริ่มเติบโต มีเหตุการณ์ปลดฟ้าผ่า กำจร สถิรกุล ออกจากผู้ว่าแบงก์ชาติ เดินหน้าแปรรูปรัฐวิสาหกิจ อสังหาริมทรัพย์บูมสุดขีด แต่ปีนั้นก็เกิดเหตุการณ์ "อิรักบุกคูเวต" ถือเป็น "จุดจบ" ของตลาดหุ้น (ครั้งนี้จุดจบตลาดหุ้นเกิดวิกฤติหนี้ยุโรป-เศรษฐกิจสหรัฐอ่อนแอ)
หุ้นดิ่งจาก 1,143 จุด ลงไปต่ำสุด 536 จุด ภายในระยะเวลาเพียง 4 เดือน ลดลงถึง 53% หลังจากนั้น 5 เดือนต่อมาก็ทะยานขึ้นไปสูงสุด 911 จุด รีบาวด์ 70% แต่ก็ไม่สามารถขึ้นไปถึงจุดสูงสุดเดิมที่ 1,143 จุดได้ ตลาดหุ้น "ไซด์เวย์" เป็นฟันปลายาวนานถึง "ปีครึ่ง" (2534-ครึ่งปีแรก 2535) ก่อนจะทะยานขึ้นไปได้อย่างบ้าเลือดขึ้นไป 1,789 จุด ภายในระยะเวลาเพียง "ปีครึ่ง" (มิถุนายน 2535-มกราคม 2537)
ในระหว่างปี 2534-2535 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ หัวหน้าคณะ รสช. "ปฏิวัติ" ล้มรัฐบาล "บุฟเฟ่ต์คาบิเนต" ของ พล.อ.ชาติชาย ตั้งข้อกล่าวหารัฐบาล "เผด็จการ" และ "ฉ้อราษฎร์บังหลวง" แต่คณะรสช.ก็ไปได้รอดเมื่อตั้ง พล.อ.สุจินดา คราประยูร ขึ้นมา "สืบทอดอำนาจ" จนนำไปสู่เหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ" ในปี 2535 อานันท์ ปันยารชุน กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
ต่อมาในปี 2536 พรรคประชาธิปัตย์ได้กลับมาเป็นรัฐบาล ชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ช่วงนั้น GDP ไทยเติบโต 7-8% SET ทำลายจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 1,789 จุด ในวันที่ 4 มกราคม 2537 แต่อะไรที่บูมสุดขีดก็ตกอย่างน่าใจหายได้เช่นกัน ตลาดหุ้น "ไซด์เวย์" นานถึง "2 ปีเต็ม" (2537-2538) ก่อนจะแปรสภาพเป็น "ขาลงใหญ่" ในปี 2539 หลัง บรรหาร ศิลปอาชา เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี
พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีไม่นานก็เกิดวิกฤติ "ต้มยำกุ้ง" ปี 2540 แต่ตลาดหุ้นเริ่มเป็น "ขาลงล่วงหน้า" มาตั้งแต้ต้นปี 2539 แล้ว และลงมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน "2 ปีครึ่ง" (2539-กลางปี 2541)
สรุปก็คือตลาดหุ้นในช่วงปี 2530-2540 เป็นขาขึ้น "2 ปีครึ่ง" (2531-กลางปี 2533) หุ้นขึ้นประมาณ 370% (243-1,143 จุด) พักตัว "ปีครึ่ง" แล้วเป็นขาขึ้นต่ออีก "2 ปี" (2535-2536) ขึ้นอีกประมาณ 170% หลังจากนั้นตลาดก็ "ไซด์เวย์" อีก 2 ปี (2537-2538) แล้วก็เกิด "หมียักษ์" ในปี 2539-2540 นักลงทุนสิ้นเนื้อประดาตัวจำนวนมาก เท่ากับว่าช่วง 10 ปีนี้ "สุข" 4 ปีครึ่ง "เศร้า" อีก 5 ปีครึ่ง
หลังปี 2540-2554 หรือในรอบ 14 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยมีช่วง "กระทิง" เพียง 4 รอบเท่านั้น รอบแรกคือช่วงปี 2541 สมัยรัฐบาล ชวน 2 เป็นช่วง "ฟื้นตัวชั่วคราวจากวิกฤติ" ดัชนีขึ้นจาก 204 จุด (กันยายน 2541) ขึ้นไป 551 จุด (มิถุนายน 2542) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 170%
รอบที่สองคือ ช่วงตุลาคม 2535-ธันวาคม 2536 หลัง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาบริหารประเทศเป็นปีที่สาม นโยบายประชานิยมกำลังเบ่งบาน มีการโยกย้ายข้าราชการระดับสูงจนสามารถสั่งซ้ายหันขวาหันได้หมดแล้ว ดัชนีขึ้นจาก 323 จุด ขึ้นไป 802 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้น 148% แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ไปไม่รอดถูก "ปฏิวัติยึดอำนาจ" คล้ายรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
รอบที่สามคือ ในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ หลังเกิดเหตุการณ์หุ้นตกใหญ่ 108 จุด ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ประกาศมาตรการสำรอง 30% สกัดการเก็งกำไรค่าเงินบาท ในเดือนธันวาคม 2549 ตอนนั้นหุ้นตกลงไปจาก 748 จุด เหลือ 587 จุด ลดลง 21% หลังหุ้นตกใหญ่พอข้ามปีในปี 2550 ตลาดหุ้นเกิด "ภาวะกระทิงย่อมๆ" ทะยานจาก 587 จุด ขึ้นไปสูงสุด 924 จุด เพิ่มขึ้น 57%
ก่อนที่ตลาดหุ้นจะกลับมา "บูม" ใน "ยุคสุดท้าย" (รอบที่สี่) หลัง SET "ล่มสลาย" จากวิกฤติซับไพร์มหุ้นตกหนักจาก 924 จุด ลงมาต่ำสุด 380 จุด ลดลง 58% ก่อนจะทะยานจาก 380 จุด ขึ้นไปสูงสุด 1,148 จุด เพิ่มขึ้น 202% ในระยะเวลาประมาณ "2 ปี 8 เดือน" (ธันวาคม 2551-กรกฎาคม 2554)
ในรอบ 14 ปี นับจากปี 2540-2554 ตลาดหุ้นไทยมีช่วง "สุข" (ขาขึ้น) 4 รอบใหญ่ รวมระยะเวลาสั้นมากเพียง 5-6 ปี เท่านั้น ส่วนที่เหลือ 8-9 ปีเป็นช่วงที่ตลาด "ไซด์เวย์" และเป็น "ขาลง"
หากประเมินจาก "ภาพใหญ่" ของเศรษฐกิจโลกที่มี "ความเสี่ยงสูง" (มาก) ในขณะนี้ นำมาเทียบเคียงกับสถิติของ SET Index ในอดีต พอจะสรุปได้ว่า จุดสูงสุดของดัชนีที่ระดับ 1,148 จุด ที่ทำไว้เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2554 อาจจะเป็น "จุดพีค" ของตลาดหุ้นไทยไปแล้วในช่วง 1-2 ปีข้างหน้านี้ก็เป็นไปได้
บทสรุปก็คือ ดีที่สุดถ้า SET ไม่เป็น "ขาลง" ทำจุด "ต่ำสุดใหม่" ตลาดก็จะ "ไซด์เวย์" ออกด้านข้าง แต่ขึ้นไม่น่าจะถึง 1,150 จุด เพราะฉะนั้นกลยุทธ์การลงทุนที่ดีที่สุดในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า "ขึ้นขาย-ลงซื้อ" เป็นตลาดของการ "เล่นรอบ" เหมาะกว่า "ลงทุนระยะยาว"
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
- harlembeats
- Verified User
- โพสต์: 96
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ย้อนรอย 36 ปี 'ตลาดหุ้นไทย' จากปี 2518-2554 'เศร้า' มากก
โพสต์ที่ 2
tum_H เขียน:
บทสรุปก็คือ ดีที่สุดถ้า SET ไม่เป็น "ขาลง" ทำจุด "ต่ำสุดใหม่" ตลาดก็จะ "ไซด์เวย์" ออกด้านข้าง แต่ขึ้นไม่น่าจะถึง 1,150 จุด เพราะฉะนั้นกลยุทธ์การลงทุนที่ดีที่สุดในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า "ขึ้นขาย-ลงซื้อ" เป็นตลาดของการ "เล่นรอบ" เหมาะกว่า "ลงทุนระยะยาว"
คนบ่นกันทำไมเวลาขึ้น ขึ้นนิดนึง เวลาลงก็ยาว ผมว่าก็เพราะมันคิดกันอย่างงั้นทุกคน ขึ้นมาหน่อยรีบขาย มันคงจะขึ้นหรอกครับ -*-
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ย้อนรอย 36 ปี 'ตลาดหุ้นไทย' จากปี 2518-2554 'เศร้า' มากก
โพสต์ที่ 3
เอเชียกระอักพิษวิกฤตหนี้ยุโรป สั่นคลอนความเชื่อมั่นดันทุนไหลออก
หลังจากกลายเป็นแหล่งยอดนิยมให้เงินทุนร้อนๆ ของนักลงทุนจากทั่วโลกไหลเข้ามาถล่มตลาดในภูมิภาค จนสกุลเงินแต่ละประเทศแข็งค่าขึ้น ดันเงินเฟ้อพุ่งไปตามๆ กัน
บัดนี้สถานการณ์กลับตาลปัตร แต่เจ็บปวดไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะเอเชียกำลังกระอักอย่างหนักกับมหกรรมทุนไหลออกจากระบบ เนื่องจากวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปทำให้นักลงทุนในตลาดโลกวิ่งหาสินทรัพย์ปลอดภัย เพื่อเป็นแหล่งพักเงินให้อุ่นใจอีกครั้ง
แต่ครั้งนี้หลุมหลบภัยไม่ใช่ในเอเชีย ไม่ใช่ในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ แต่เป็นสกุลเงินเหรียญสหรัฐ หรือที่ทั่วโลกเรียกกันติดปากว่า เงินดอลลาร์
ทั้งนี้ ในช่วงเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา สกุลเงินต่างๆ ในเอเชีย ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น ต้องเผชิญหน้ากับการอ่อนค่าลงอย่างรุนแรง ซึ่งถือได้ว่าหนักมากที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540
ข้อมูลจากบลูมเบิร์ก รายงานว่า ดัชนี เจ.พี. มอร์แกน เอเชีย ดอลลาร์ ซึ่งใช้เป็นมาตรวัดมูลค่าของสกุลเงินหลักในภูมิภาค ปรับตัวลดลง 4.1% มาอยู่ที่ 114.72 มากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. ปี 2540
สกุลเงินวอนของเกาหลีใต้อ่อนค่าลงอย่างหนักนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 2552 ซึ่งร่วงลงมาถึง 9.45% อยู่ที่ 1,178.10 วอนต่อเหรียญสหรัฐ ขณะที่เงินเหรียญไต้หวันร่วง 4.9% มาอยู่ที่ 1 เหรียญไต้หวันต่อ 30.506 เหรียญสหรัฐ นับเป็นการอ่อนค่าหนักสุดตั้งแต่เดือน ต.ค. 2540
ด้านสกุลเงินริงกิตของมาเลเซียอ่อนค่าลง 7% มาอยู่ที่ 3.1941 ริงกิตต่อเหรียญสหรัฐ และค่าเงินบาทอ่อนลง 3.7% มาอยู่ที่ 31.10 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ซึ่งนับว่าแย่ที่สุดตั้งแต่เดือน มี.ค. 2544
สำหรับสาเหตุสำคัญที่ทำให้เงินสกุลเอเชียอ่อนค่าลงโดยพร้อมเพรียงกันเช่นนี้ เป็นเพราะนักลงทุนต่างชาติต่างหวาดผวากับวิกฤตหนี้ในยุโรปและกังวลกับสัญญาณถดถอยทางเศรษฐกิจหลายประการ จนพากันดึงเงินจำนวนมหาศาลออกจากตลาดเพื่อลดความเสี่ยงที่เงินจะสูญ และวิ่งหาเงินสดในสกุลที่ปลอดภัย
ทั้งนี้ ในช่วงวันที่ 1-27 ก.ย.ที่ผ่านมา ไต้หวันมีเงินไหลออก 2,775 ล้านเหรียญสหรัฐ เกาหลีใต้ 1,836 ล้านเหรียญสหรัฐ อินโดนีเซีย 672 ล้านเหรียญสหรัฐ ฟิลิปปินส์ 48 ล้านเหรียญสหรัฐ อินเดีย 192 ล้านเหรียญสหรัฐ และไทยพบว่ามีเงินไหลออกแล้วประมาณ 600 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 18.78 ล้านบาท รวมแล้วมีเงินไหลออกจากเอเชีย 6,123 ล้านเหรียญสหรัฐ
นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งยังมองว่า สภาวะเงินไหลออกจากเอเชียจะมีแนวโน้มยืดเยื้อกินเวลาจนถึงช่วงสิ้นปี โดยนักวิเคราะห์จากซิตี กรุ๊ป ชี้ว่า เงินสกุลในเอเชียมีโอกาสลดลงอีกกว่า 10%
การไหลออกของเงินจำนวนมหาศาลในขณะนี้ ทำให้ค่าเงินเอเชียอ่อนยวบน่าหวั่นใจ จนบรรดารัฐบาลในหลายๆ ประเทศต่างประกาศเตรียมพร้อมเข้าแทรกแซงตลาดเพื่อปกป้องค่าเงินของตนเองอย่างเต็มที่
ธนาคารกลางในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ออกมาแสดงท่าทียืนยันชัดเจนเมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้วว่าจะแทรกแซงตลาดเพื่อสนับสนุนสกุลเงินของตนเอง ขณะที่เกาหลีใต้และอินเดียที่แม้จะยังอึมครึมอยู่ แต่ก็มีสัญญาณแง้มออกมาเล็กน้อยแล้วว่าเตรียมจะแทรกแซงตลาดเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้รัฐบาลเอเชียเหล่านี้ ต่างดิ้นรนไม่ให้ค่าเงินอ่อนลงมากกว่าที่เป็นอยู่เป็นเพราะค่าเงินที่อ่อนค่าลงจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการนำเข้าสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่ต้องนำมาใช้เป็นวัตถุดิบ เช่น น้ำมัน หรืออาหาร ทันที
เพราะต้นทุนที่สูงขึ้นทำให้ผู้ประกอบการทั้งหลายจำต้องปรับราคาสินค้าให้สูงขึ้นเพื่อความอยู่รอด หรืออาจจะชะลอการผลิตสินค้าหรือบริการ ซึ่งจะส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่หมายถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
สำหรับราคาสินค้าที่แพงจะดันให้เงินภายในประเทศเฟ้อ ประชาชนที่เดือดร้อนหนักอาจทนไม่ไหวจนลุกฮือขึ้นมาก่อจลาจลอีกครั้ง
ขณะที่ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียกำลังประสบกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว เนื่องจากนโยบายการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อคุมเงินเฟ้อในช่วงต้นปีที่ผ่านมา
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดในขณะนี้ก็คือประเทศอินเดีย
ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ค่าเงินรูปีของอินเดียอ่อนลงเกือบ 10% เมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ ทำให้ราคาน้ำมัน ปุ๋ย และอาหารยืนพื้นจำพวกถั่วแพงขึ้น เฉพาะน้ำมันอย่างเดียวปรับขึ้นไปแล้วกว่า 5% ตั้งแต่ที่ค่าเงินรูปีอ่อนค่าลง จนอัตราเงินเฟ้อของประเทศพุ่งเกือบสองเท่าตัว และทำให้คนยากจนในอินเดียที่มีอยู่มากกว่าล้านคนต้องอยู่อย่างยากลำบาก
นอกจากนี้ สถานการณ์ทุนไหลออกยังมาแบบผิดจังหวะสำหรับอินเดีย เนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่มากสุดในเอเชียถึง 9.78% เพื่อคุมเงินเฟ้อจากเงินทุนไหลเข้าในช่วงก่อนหน้า ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต้องชะลอตัว
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งต่างประณามชาติตะวันตกทั่วหน้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในภูมิภาค เพราะกระแสทุนไหลออกเอเชียในครั้งนี้ เป็นผลจากอาการช็อกของนักลงทุนจากฝั่งตะวันตกเป็นสำคัญ ซึ่งไม่สอดคล้องกับโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของประเทศส่วนใหญ่ในเอเชีย
คริส เวียเฟอร์ หัวหน้านักกลยุทธ์จากกลุ่มผู้ตรวจสอบทรอยกา ระบุว่า การเทขายสกุลเงินเอเชียในช่วงที่ผ่านมาเป็นไปอย่างไม่สมเหตุสมผล เพราะนักลงทุนแห่ขายเนื่องจากความกลัวถึงวิกฤตเศรษฐกิจโลก โดยขาดการพิจารณาถึงเงินสำรองระหว่างประเทศที่แข็งแกร่ง และตัวเลขการเติบโตที่แท้จริงของประเทศกำลังพัฒนาเหล่านี้
ขณะที่นักวิเคราะห์จากโซซิเอเต เจเนอรัล ธนาคารชั้นนำในฝรั่งเศส ถึงกับเชื่อมั่นว่าเมื่อใดก็ตามที่นักลงทุนหายตื่นตระหนกจากสถานการณ์ และการถดถอยทางเศรษฐกิจของโลกมีสัญญาณฟื้นคืน เมื่อนั้นสกุลเงินในเอเชียมีสิทธิกลับมาผงาดแข็งแกร่งอีกครั้ง
แต่กว่าจะถึงเวลานั้น เอเชียคงได้แต่ต้องตั้งป้อมสร้างกำแพงป้องกันตัวอย่างเต็มที่ เพื่อไม่ให้บอบช้ำจากการต้องตกเป็นเหยื่อโลกทุนนิยมอีกครั้ง
หลังจากกลายเป็นแหล่งยอดนิยมให้เงินทุนร้อนๆ ของนักลงทุนจากทั่วโลกไหลเข้ามาถล่มตลาดในภูมิภาค จนสกุลเงินแต่ละประเทศแข็งค่าขึ้น ดันเงินเฟ้อพุ่งไปตามๆ กัน
บัดนี้สถานการณ์กลับตาลปัตร แต่เจ็บปวดไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะเอเชียกำลังกระอักอย่างหนักกับมหกรรมทุนไหลออกจากระบบ เนื่องจากวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปทำให้นักลงทุนในตลาดโลกวิ่งหาสินทรัพย์ปลอดภัย เพื่อเป็นแหล่งพักเงินให้อุ่นใจอีกครั้ง
แต่ครั้งนี้หลุมหลบภัยไม่ใช่ในเอเชีย ไม่ใช่ในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ แต่เป็นสกุลเงินเหรียญสหรัฐ หรือที่ทั่วโลกเรียกกันติดปากว่า เงินดอลลาร์
ทั้งนี้ ในช่วงเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา สกุลเงินต่างๆ ในเอเชีย ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น ต้องเผชิญหน้ากับการอ่อนค่าลงอย่างรุนแรง ซึ่งถือได้ว่าหนักมากที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540
ข้อมูลจากบลูมเบิร์ก รายงานว่า ดัชนี เจ.พี. มอร์แกน เอเชีย ดอลลาร์ ซึ่งใช้เป็นมาตรวัดมูลค่าของสกุลเงินหลักในภูมิภาค ปรับตัวลดลง 4.1% มาอยู่ที่ 114.72 มากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. ปี 2540
สกุลเงินวอนของเกาหลีใต้อ่อนค่าลงอย่างหนักนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 2552 ซึ่งร่วงลงมาถึง 9.45% อยู่ที่ 1,178.10 วอนต่อเหรียญสหรัฐ ขณะที่เงินเหรียญไต้หวันร่วง 4.9% มาอยู่ที่ 1 เหรียญไต้หวันต่อ 30.506 เหรียญสหรัฐ นับเป็นการอ่อนค่าหนักสุดตั้งแต่เดือน ต.ค. 2540
ด้านสกุลเงินริงกิตของมาเลเซียอ่อนค่าลง 7% มาอยู่ที่ 3.1941 ริงกิตต่อเหรียญสหรัฐ และค่าเงินบาทอ่อนลง 3.7% มาอยู่ที่ 31.10 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ซึ่งนับว่าแย่ที่สุดตั้งแต่เดือน มี.ค. 2544
สำหรับสาเหตุสำคัญที่ทำให้เงินสกุลเอเชียอ่อนค่าลงโดยพร้อมเพรียงกันเช่นนี้ เป็นเพราะนักลงทุนต่างชาติต่างหวาดผวากับวิกฤตหนี้ในยุโรปและกังวลกับสัญญาณถดถอยทางเศรษฐกิจหลายประการ จนพากันดึงเงินจำนวนมหาศาลออกจากตลาดเพื่อลดความเสี่ยงที่เงินจะสูญ และวิ่งหาเงินสดในสกุลที่ปลอดภัย
ทั้งนี้ ในช่วงวันที่ 1-27 ก.ย.ที่ผ่านมา ไต้หวันมีเงินไหลออก 2,775 ล้านเหรียญสหรัฐ เกาหลีใต้ 1,836 ล้านเหรียญสหรัฐ อินโดนีเซีย 672 ล้านเหรียญสหรัฐ ฟิลิปปินส์ 48 ล้านเหรียญสหรัฐ อินเดีย 192 ล้านเหรียญสหรัฐ และไทยพบว่ามีเงินไหลออกแล้วประมาณ 600 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 18.78 ล้านบาท รวมแล้วมีเงินไหลออกจากเอเชีย 6,123 ล้านเหรียญสหรัฐ
นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งยังมองว่า สภาวะเงินไหลออกจากเอเชียจะมีแนวโน้มยืดเยื้อกินเวลาจนถึงช่วงสิ้นปี โดยนักวิเคราะห์จากซิตี กรุ๊ป ชี้ว่า เงินสกุลในเอเชียมีโอกาสลดลงอีกกว่า 10%
การไหลออกของเงินจำนวนมหาศาลในขณะนี้ ทำให้ค่าเงินเอเชียอ่อนยวบน่าหวั่นใจ จนบรรดารัฐบาลในหลายๆ ประเทศต่างประกาศเตรียมพร้อมเข้าแทรกแซงตลาดเพื่อปกป้องค่าเงินของตนเองอย่างเต็มที่
ธนาคารกลางในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ออกมาแสดงท่าทียืนยันชัดเจนเมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้วว่าจะแทรกแซงตลาดเพื่อสนับสนุนสกุลเงินของตนเอง ขณะที่เกาหลีใต้และอินเดียที่แม้จะยังอึมครึมอยู่ แต่ก็มีสัญญาณแง้มออกมาเล็กน้อยแล้วว่าเตรียมจะแทรกแซงตลาดเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้รัฐบาลเอเชียเหล่านี้ ต่างดิ้นรนไม่ให้ค่าเงินอ่อนลงมากกว่าที่เป็นอยู่เป็นเพราะค่าเงินที่อ่อนค่าลงจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการนำเข้าสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่ต้องนำมาใช้เป็นวัตถุดิบ เช่น น้ำมัน หรืออาหาร ทันที
เพราะต้นทุนที่สูงขึ้นทำให้ผู้ประกอบการทั้งหลายจำต้องปรับราคาสินค้าให้สูงขึ้นเพื่อความอยู่รอด หรืออาจจะชะลอการผลิตสินค้าหรือบริการ ซึ่งจะส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่หมายถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
สำหรับราคาสินค้าที่แพงจะดันให้เงินภายในประเทศเฟ้อ ประชาชนที่เดือดร้อนหนักอาจทนไม่ไหวจนลุกฮือขึ้นมาก่อจลาจลอีกครั้ง
ขณะที่ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียกำลังประสบกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว เนื่องจากนโยบายการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อคุมเงินเฟ้อในช่วงต้นปีที่ผ่านมา
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดในขณะนี้ก็คือประเทศอินเดีย
ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ค่าเงินรูปีของอินเดียอ่อนลงเกือบ 10% เมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ ทำให้ราคาน้ำมัน ปุ๋ย และอาหารยืนพื้นจำพวกถั่วแพงขึ้น เฉพาะน้ำมันอย่างเดียวปรับขึ้นไปแล้วกว่า 5% ตั้งแต่ที่ค่าเงินรูปีอ่อนค่าลง จนอัตราเงินเฟ้อของประเทศพุ่งเกือบสองเท่าตัว และทำให้คนยากจนในอินเดียที่มีอยู่มากกว่าล้านคนต้องอยู่อย่างยากลำบาก
นอกจากนี้ สถานการณ์ทุนไหลออกยังมาแบบผิดจังหวะสำหรับอินเดีย เนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่มากสุดในเอเชียถึง 9.78% เพื่อคุมเงินเฟ้อจากเงินทุนไหลเข้าในช่วงก่อนหน้า ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต้องชะลอตัว
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งต่างประณามชาติตะวันตกทั่วหน้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในภูมิภาค เพราะกระแสทุนไหลออกเอเชียในครั้งนี้ เป็นผลจากอาการช็อกของนักลงทุนจากฝั่งตะวันตกเป็นสำคัญ ซึ่งไม่สอดคล้องกับโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของประเทศส่วนใหญ่ในเอเชีย
คริส เวียเฟอร์ หัวหน้านักกลยุทธ์จากกลุ่มผู้ตรวจสอบทรอยกา ระบุว่า การเทขายสกุลเงินเอเชียในช่วงที่ผ่านมาเป็นไปอย่างไม่สมเหตุสมผล เพราะนักลงทุนแห่ขายเนื่องจากความกลัวถึงวิกฤตเศรษฐกิจโลก โดยขาดการพิจารณาถึงเงินสำรองระหว่างประเทศที่แข็งแกร่ง และตัวเลขการเติบโตที่แท้จริงของประเทศกำลังพัฒนาเหล่านี้
ขณะที่นักวิเคราะห์จากโซซิเอเต เจเนอรัล ธนาคารชั้นนำในฝรั่งเศส ถึงกับเชื่อมั่นว่าเมื่อใดก็ตามที่นักลงทุนหายตื่นตระหนกจากสถานการณ์ และการถดถอยทางเศรษฐกิจของโลกมีสัญญาณฟื้นคืน เมื่อนั้นสกุลเงินในเอเชียมีสิทธิกลับมาผงาดแข็งแกร่งอีกครั้ง
แต่กว่าจะถึงเวลานั้น เอเชียคงได้แต่ต้องตั้งป้อมสร้างกำแพงป้องกันตัวอย่างเต็มที่ เพื่อไม่ให้บอบช้ำจากการต้องตกเป็นเหยื่อโลกทุนนิยมอีกครั้ง
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
-
- Verified User
- โพสต์: 2547
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ย้อนรอย 36 ปี 'ตลาดหุ้นไทย' จากปี 2518-2554 'เศร้า' มากก
โพสต์ที่ 4
มองอีกแง่มุมหนึ่งทุกวิกฤติที่เกิดขึ้นก็คือจุดเริ่มต้นของโอกาสใหม่ที่ตามมา
หุ้นมีขึ้นมีลงมันก็เหมือนสัจธรรมตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น
อยู่ที่ใจของเราต้องไม่ปรุงแต่งไปตามอารมณ์ให้เศร้าที่ไม่เป็นไปตามหวังให้สุขเมื่อเป็นไปตามที่หวังซึ่งเป็นสิ่งสมมุติ
แต่เราควรตั้งสติและใช้ปัญญาเลือกวิธีการลงทุนให้เหมาะสมกับแต่ละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้เป็นประโยชน์กับการงลงทุนของเราให้มากที่สุดมากกว่าที่จะปรุงแต่งความคิดอย่างเดียวจนไม่เกิดการกระทำใดๆ
หุ้นมีขึ้นมีลงมันก็เหมือนสัจธรรมตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น
อยู่ที่ใจของเราต้องไม่ปรุงแต่งไปตามอารมณ์ให้เศร้าที่ไม่เป็นไปตามหวังให้สุขเมื่อเป็นไปตามที่หวังซึ่งเป็นสิ่งสมมุติ
แต่เราควรตั้งสติและใช้ปัญญาเลือกวิธีการลงทุนให้เหมาะสมกับแต่ละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้เป็นประโยชน์กับการงลงทุนของเราให้มากที่สุดมากกว่าที่จะปรุงแต่งความคิดอย่างเดียวจนไม่เกิดการกระทำใดๆ
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1223
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ย้อนรอย 36 ปี 'ตลาดหุ้นไทย' จากปี 2518-2554 'เศร้า' มากก
โพสต์ที่ 5
ผมเห็นด้วยกับพี่ chaitorn ครับchaitorn เขียน:มองอีกแง่มุมหนึ่งทุกวิกฤติที่เกิดขึ้นก็คือจุดเริ่มต้นของโอกาสใหม่ที่ตามมา
หุ้นมีขึ้นมีลงมันก็เหมือนสัจธรรมตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น
อยู่ที่ใจของเราต้องไม่ปรุงแต่งไปตามอารมณ์ให้เศร้าที่ไม่เป็นไปตามหวังให้สุขเมื่อเป็นไปตามที่หวังซึ่งเป็นสิ่งสมมุติ
แต่เราควรตั้งสติและใช้ปัญญาเลือกวิธีการลงทุนให้เหมาะสมกับแต่ละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้เป็นประโยชน์กับการงลงทุนของเราให้มากที่สุดมากกว่าที่จะปรุงแต่งความคิดอย่างเดียวจนไม่เกิดการกระทำใดๆ
ผมว่าความผันผวนของราคาหุ้นมันเป็นเรื่องปกติของตลาดหุ้นครับ
ถ้าเรามองมันอย่างเป็นมิตรและเข้าใจ เราก็สามารถลงทุนในตลาดได้อย่างมีความสุข
แค่เราเลือกแนวทางที่เหมาะกับตัวเราแล้วยึดปฏิบัติอย่างมีวินัยกับวิธีที่เราเลือก
ผมว่าเราจะผ่านสถานการแบบช่วงนี้และวิกฤติที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต
ได้อย่างมีความสุข มากกว่าความเศร้ากับการลงทุนในตลาดหุ้นครับ
ซื้อหุ้นตัวที่เมื่อมองไปในอนาคตแล้ว ที่ปัจจุบันราคายัง undervalue ที่สุด