"ผมคิดว่าผมเข้าใจมุมมองของพวกเขานะ"ผู้ประท้วงวอลล์สตรีทที่ส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาวอเมริกัน กำลังเดินขบวนมายังสะพานบรูกลิน นครนิวยอร์ก เมื่อวันเสาร์(1) ก่อนจะถูกตำรวจจับกุมตัวไปกว่า 700 คน ผู้ประท้วงเหล่านี้คัดค้านการที่รัฐบาลสหรัฐฯอุ้มชูแต่ธุรกิจยักษ์ใหญ่ในช่วงวิกฤตการเงินปี 2008 แต่ล้มเหลวอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหาคนว่างงานในปัจจุบัน
เอเอฟพี - จอร์จ โซรอส พ่อมดการเงินเมื่อวันจันทร์(3) ออกโรงสนับสนุนกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านวอลล์สตรีท ชี้ความโกรธกริ้วของประชาชนมีต้นตอมาจากการจ่ายโบนัสที่เลยเถิดของธนาคารต่างๆท่ามกลางปัญหาทางเศรษฐกิจ
"ผมคิดว่าผมเข้าใจมุมมองของพวกเขานะ" โซรอสแถลงต่อผู้สื่อข่าว ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ เมื่อถูกถามถึงกรณีผู้ประท้วงพยายามบุกยึดสะพานบรูกลินในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา และเรียกร้องให้มีการชุมนุมรอบใหม่ในย่านการเงินของนิวยอร์กวันพุธนี้
โซรอส หนึ่งในบุคคลร่ำรวยที่สุดในโลกบอกต่อว่าอารมณ์โกรธกริ้วอย่างมากของกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านทุนนิยมและกลุ่ม Tea Party ในรีพับลิกัน เป็นผลสืบเนื่องจากพฤติกรรมของเหล่าธนาคารต่างๆ
"แน่นอนว่า ผมเข้าใจความรู้สึกของพวกเขา" โซรอสกล่าว พร้อมยกตัวอย่างประกอบถ้อยแถลงที่ชี้ถึงความเจ็บปวดของเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กที่เจอค่าบริการบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.0 เป็นร้อยละ 28 หลังเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจในปี 2008
"คนที่อาศัยเครดิตนั้นดำเนินธุรกิจ จำนวนมากที่ต้องปิดกิจการไป ขณะอีกด้านหนึ่งพวกธนาคารต่างๆกลับได้รับการปลดเปลื้องหนี้เสียแถมยังยอมให้พวกเขาจ่ายเงินโบนัสก้อนโตกันอีก" เขากล่าว
กลุ่มผู้ประท้วงนำโดย “ขบวนการยึดวอลล์สตรีท” (Occupy Wall Street) จัดชุมนุมบริเวณด้านหน้าตึกสำนักงานใหญ่ของตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ก่อนเดินขบวนมาปิดกั้นการจราจรบนสะพานบรูกลินเมื่อวันเสาร์ (1) เพื่อประท้วงรัฐบาลสหรัฐฯ ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สอง จากกรณีที่โอบอุ้มธุรกิจล้มละลายเมื่อปี 2008 ตลอดจนแสดงความไม่พอใจต่อความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาการว่างงาน
GEORGE SOROS
ผมคิดว่า "ผมเข้าใจมุมมองของโซรอสบ้างเล็กน้อย" ผมมีคำอธิบายการเคลื่อนไหว Occupy Wall Street ด้วยนิ้วชี้เดียว แต่ไม่ใช่นิ้วกลางแน่นอนครับ
ในลักษณะของปฏิกริยาที่มีต่อสถานการณ์แปลกๆ อย่างนี้ ชีวิตนักลงทุนอาชีพก็สอนให้เข้าใจเรื่องจิตวิทยาฝูงชนไปในตัวอยู่แล้ว แต่ที่สำคัญกว่าคือจิตวิเคราะห์ตนเอง เปรียบเหมือนว่านักลงทุนคนใดคนหนึ่งเป็นเชลยที่ถูกกักขังในค่ายกักกันภายในจิตใจตนเอง
ในเรื่องที่กำลังเกิดขึ้นนั้น ผมกระหายใคร่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป และอะไรจะเป็นผลติดตามมา ความอยากรู้อยากเห็นอันเยือกเย็นครอบคลุมจิตใจของผมแบบนี้ ตลาดหุ้นเป็นครูสอนมาทั้งนั้นและยังสอนบทเรียนสำคัญให้ผมแยกความรู้สึกนึกคิดจากสภาพแวดล้อมต่างๆ คล้ายๆ กับมองสภาพความจริงตามภาวะวิสัยเหล่านั้น ปลอดความรู้สึกนึกคิดส่วนตัว ซึ่งในเวลาอย่างนั้น ผมจะสร้างภาวะความคิดนี้ขึ้นมาในลักษณะของการปกป้องตนเอง
ผมคิดถึงสิ่งที่พ่อของโซรอสเคยสอนเขา และโซรอสบอกว่านั่นเป้นรากฐานทางความคิดที่มีอิทธิพลต่อปรัชญาการลงทุนของเขามาก
"ปฎิกริยาไม่ปกติที่มีต่อสภาวการณ์ไม่ปกติถือเป็นพฤติกรรมปกติ"
Tivadar Soros
มาแบบนี้ผมหนักไปทางสนใจเรื่องจิตวิทยาฝูงชนเป็นหลักด้วยก็คาดหวังกับปฏิกริยาดังกล่าวอยู่แล้ว มันเอาไปใช้ในการเข้าใจคนกลุ่มใหญ่ได้ดีครับ เมื่อพบกับสถานการร์ที่ผิดปกติของมนุษย์อย่างนี้แล้ว สื่งที่สนใจเป็นพิเศษคือ สถานการณ์มันพัฒนาไปจนถึงระดับขั้นที่ปฎิกริยาไม่ปกติของกลุ่มคนที่กำลังประท้วงอยู่นั้น มันอยู๋ในระดับพอๆ กับความปกติที่มีอยู่ของกลุ่มคนที่ไม่ประท้วง
ผมอธิบายเหตุการณ์ Occupy Wall Street ด้วยยึกหลักเรื่อง CRITICAL MASS ที่เกี่ยวกับเรื่องธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์ เรื่องนี้เกี่ยวกับความกลัวล้วนๆ ซึ่งโซรอสอธิบายไว้ในเรื่องของ REFLEXIVITY ผมขอเขียนแบบนี้ง่ายๆ เข้าใจก็แล้วกันครับ
เมื่อใดก็ตามที่คนส่วนใหญ่ซึ่งค่าความเป็นคนของเขาถูกลดค่าลงไป เปรียบเทียบกับคนส่วนน้อยที่ได้รับการส่งเสริมความเป็นคนให้มากยิ่งขึ้น จนเกิดปัญหาขัดแย้ง ในกรณีของ Wall Street โอกาสมีมากซะด้วย ผลที่เกิดตามมาจึงจบด้วยความรุนแรง
ความไม่พอใจขุ่นเขืองลักษณะนี้ มักจะเริ่มต้นมีสาเหตุมาจากปัจจัยทางกายภาพภายนอกก่อน อย่างเช่นปัญหาเรื่องเศรษฐกิจความเป็นอยู๋ที่ลดลงที่เกิดขึ้นกับคนอเมริกันในตอนนี้ แต่พวกเขากลับไม่สามารถลดความต้องการของตนเองลงได้ทัน มันไม่สมดุลกันครับ สถานการณ์มันจะเพี่ยนไปมากขึ้นและเพิ่มความตรึงเครียดไปยิ่งขึ้นเมื่อมีความกดดันทางใจเข้าไปผสมด้วย ความกดดันลักษณะนี้มักจบลงด้วยการใช้กำลังซึ่งไม่ได้เห็นบ่อยหนักในอเมริกา
" ความเชื่อกับความจริงไมได้แยกกันอย่างอิสระ สิ่งที่ความเชื่อทำคือเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง" GEORGE SOROS
แนวโน้มมันอาจไปทาง CRITICAL MASS อยู่แล้ว แต่โซรอสเข้าไปเติม "เชื้อไฟ" ให้มากขึ้น เขาก็ดูดีนะครับ ที่เข้าไปปกป้องกลุ่มคนเหล่านั้น ภาพกว้างๆ มันมีเหตุผลครับ มันไม่ยุติธรรมที่คนใน Wall Strret จะมีความเป็นอยู่ที่ดีกว่าคนอื่น เคสนี้คล้ายๆ ในกรณีเดียวกับการลดค่าเงินบาทและการลดค่าเงินปอนด์ครับ
ผมชอบเพลงหนึ่ง มันร้องทำนองว่า I've never been to me ไม่แน่ใจว่าของ Charlene หรือปล่าว จำได้แม่นว่า “ I have been to paradise but I never been to me ไปมาทุกที่ แต่ไปเคยไปในจิตใจตัวเอง ไม่ทราบว่าแปลตรงตามคนร้องอยากจะสื่อหรือไม่ แต่ได้ยินครั้งแรกผมคิดอย่างนั้น เพลงนี้ทำให้ผมนึกถึงคำว่า เชลย แต่เป็น “เชลยที่ถูกกักขังภายในจิตใจตัวเอง”
ในฐานะนักลงทุน บ่อยครั้งผมรู้สึกว่าตัวเองนั้นอยู่ในค่ายกักกันภายในตัวเอง สำหรับบุคลที่ไม่เคยสัมผัสการเข้าไปในจิตใจตนเองเป็นอาชีพ ยากที่จะเข้าใจ อันที่จริงนักลงทุนทุกท่านต้องเก่งเรื่องนี้มากกว่าใคร ระดับโลกเขาให้ความสำคัญอย่างมาก STEVEN COHENS , PAUL TUDOR JONES, RAY DAILY, ED SEYKOTA
ความกลัวตายนั้นมีเหตุผลที่ทุกคนควรจะกลัว ผมก็กลัวครับ นักลงทุนก็มีความกลัวมากกว่าคนอื่น เป็นความกลัวที่จะผิดพลาดจนเกิดผลขาดทุน และความกลัวอย่างนั้นเป็นความกลัวที่มีเหตุและผลเช่นเดียวกับความกลัวตาย แต่ความกลัวที่จะขาดทุนซึ่งมีเหตุผลอย่างนี้อาจเป็นต้นตอของความกลัวที่ไม่มีเหตุผล และเป็นต้นตอของอาการโรคประสาทของคน ซึ่งมันคือต้นตอของ CRITICAL MASS
ความกลัวคือต้นตอที่มาของเหตุการณ์ที่คนคนนั้นกลัว ในตลาดหุ้นเห็นบ่อยครับ มักเริ่มต้นด้วยอาการโรคประสาทของนักลงทุนที่มีอยู่แล้วในตัว แต่พวกเขาไม่ยอมรับว่าตัวเองมี แล้วมีมากกว่าคนอาชีพอื่นด้วย สิ่งนั้นคือ ความกังวลกับสิ่งที่จะเกิดในอนาคต ลักษณะความกลัวแบบนี้จะทำให้สิ่งที่นักลงทุนกลัวกลายเป็นความจริงขึ้นมา กลไกลการสะท้อนกลับอย่างความวิตกกังวลแบบคาดการณ์ไปล่วงหน้าเป็นต้นเหตุของ CRITICAL MASS โดยปราศจากเหตุและผล ซึ่งผลสะท้อนกลับคือ อาการกลัวของนักลงทุนจะยิ่งตอกย้ำให้มีความกลัวมากขึ้น มันเป้นงูกินหางแล้วครับ
ส่วนชะตากรรมของคนกลุ่ม Occupy Wall Street นั้นจะเป็นอย่างไร ผมไม่ทราบว่าโซรอสได้ใส่หรือไม่ครับ