สัญญาณเตือนจากครุกแมน : เศรษฐกิจจีนกำลังจะล่ม?
-
- Verified User
- โพสต์: 196
- ผู้ติดตาม: 0
สัญญาณเตือนจากครุกแมน : เศรษฐกิจจีนกำลังจะล่ม?
โพสต์ที่ 1
ที่มา http://www.prachachat.net/news_detail.p ... &subcatid=
พอล ครุกแมน ศาสตราจารย์ นักเศรษฐ ศาสตร์ รางวัลโนเบล ปี 2550 และคอลัมนิสต์ประจำหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ เพิ่งเขียนบทความส่งสัญญาณเตือนว่า ทุกวันนี้ทั้งโลกกำลังจุกอกกันอยู่จากวิกฤตเศรษฐกิจที่เริ่มจากสหรัฐอเมริกา และที่กำลังแผ่สะเทือนไปทั้งโลกจากกลุ่มประชาคมยุโรปหรืออียู โลกเราไม่ได้ต้องการศูนย์กลางวิกฤตเศรษฐกิจตัวใหม่ที่จะส่งผลสะท้านสะเทือนโลกเพิ่มขึ้นอีกเลย แต่เราน่าจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วย ภาวะฟองสบู่อสังหาฯในเมืองจีนได้เริ่มแตกแล้ว (http://www.nytimes.com/2011/12/19/ opinion/krugman-will-china-break.html?src= me&ref=general)
พอลว่า ให้ลองพิจารณาภาพต่อไปนี้ : การเจริญทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ ขึ้นอยู่กับการบูมของสิ่งก่อสร้างขนาดยักษ์ใหญ่ๆ ที่ถูกกระตุ้นโดยการพุ่งสูงขึ้นของราคาอสังหาฯ ร่วมกับสัญญาณที่คลาสสิกของฟองสบู่
นั่นคือ การเพิ่มขยายตัวอย่างสูงในการปล่อยสินเชื่อ โดยที่สินเชื่อส่วนใหญ่เหล่านั้นไม่ได้ถูกปล่อยจากระบบธนาคารที่เป็นสากล แต่กลับถูกปล่อยจากระบบธนาคารเงา (shadow banking) ที่ไม่ได้ถูกควบคุมกำกับ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลหรือมีการประกันหนุนหลังโดยรัฐบาล ขณะนี้ฟองสบู่กำลังแตก และเป็นเรื่องที่น่าหวาดวิตกต่อการเกิดวิกฤตทางการเงินและเศรษฐกิจ
ภาพข้างบนดูแล้วอย่างกับว่ากำลังอธิบายปรากฏการณ์ฟองสบู่แตกในปลายปี 2523 ที่ญี่ปุ่น หรือไม่ก็ที่อเมริกา เมื่อปี 2550 แต่สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้นกำลังเกิดขึ้นที่จีน และกำลังก่อตัวขึ้นเป็นจุดอันตรายจุดใหม่ในเศรษฐกิจโลก
เขาออกตัวว่าเขาลังเลอยู่เหมือนกันที่จะให้น้ำหนักกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในจีน ส่วนหนึ่งเป็น เพราะว่า มันยากที่จะรู้ว่าจริงๆ แล้วอะไรที่เกิดขึ้นอยู่ในประเทศจีน ด้วยข้อมูลสถิติทางด้านเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ดูแล้วน่าเบื่อแบบนิยายวิทยาศาสตร์ แต่ตัวเลขของจีนกลับแปร่งๆ แบบนิยายกว่าเขาหมด เขาเคยลองปรึกษาเรื่องนี้กับผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐศาสตร์จีน พบว่าผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนไม่เคยอธิบายผลออกมาในทางเดียวกันเลย แม้ว่าข้อมูลที่เป็นทางการของจีนจะมีปัญหาอยู่ แต่ข่าวสารที่มีอยู่ในปัจจุบันก็รุนแรงเพียงพอที่จะต้องตีระฆังเตือนกัน
สิ่งที่เด่นชัดเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาคือ เรื่องของอัตราการบริโภคในครัวเรือนที่สูงขึ้น แต่อยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวม
ในเรื่องนี้พบว่าการใช้จ่ายในครัวเรือนอยู่ที่เพียง 35 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งต่ำกว่าสัดส่วนเดียวกันนี้ของอเมริกาอยู่ครึ่งหนึ่ง
อเมริกาคือผู้ซื้อรายใหญ่ของสินค้าและบริการที่ผลิตจากจีน แต่กำลังซื้อได้หดลงเพราะวิกฤตการณ์ทางการเงิน จีนยิ่งต้องผลักดันการส่งออกให้มากขึ้น เพื่อรักษาให้ภาคอุตสาหกรรมอยู่รอด แต่เรื่องที่ใหญ่กว่าเรื่องนี้ของจีนอยู่ที่การใช้จ่ายเพื่อการลงทุน ซึ่งได้พุ่งทะยานขึ้นสูงเกือบครึ่งหนึ่งของ GDP
คำถามที่เกิดขึ้นคือ ในขณะที่ความต้องการหรืออุปสงค์เพื่อการบริโภคค่อนข้างต่ำ อะไรที่จูงใจให้มีการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนที่สูงมากๆ นั้น
คำตอบที่ชัดๆ คือ มันสืบเนื่องจากภาวะฟองสบู่ของอสังหาฯที่สั่งสมมานาน
การลงทุนในภาคอสังหาฯได้เพิ่มขึ้นประมาณหนึ่งเท่าตัวในสัดส่วนของ GDP ตั้งแต่ปี 2543 หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของการลงทุนรวมทั้งหมดที่เพิ่มขึ้น และเป็นที่มั่นใจได้ว่าการลงทุนในภาคอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นนั้น เป็นการลงทุนในการขยายกิจการร้านค้าที่ทำธุรกรรมกับกลุ่มอุตสาหกรรมการก่อสร้าง
แล้วเรารู้จริงๆ หรือว่าเกิดภาวะฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาฯ ในจีน?
เขาว่า พบว่าสัญญาณต่างๆ มันแสดงออกอย่างนั้น : ไม่ใช่แค่ราคาพุ่งสูงขึ้น แต่บรรยากาศเต็มไปด้วยการปั่นการเก็งกำไรที่คุ้นๆ กันอยู่ในอเมริกาก่อนหน้านี้ เช่นแถบชายฝั่งฟลอริดา
ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่เหมือนกับกำลังเดินคู่อยู่ในแนวทางเดียวกับประสบการณ์ของอเมริกา : เมื่อการให้สินเชื่อบูม สินเชื่อส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากธนาคาร แต่จะมาจากการปล่อยสินเชื่ออย่างขาดการให้คำแนะนำที่ดี จากระบบธนาคารเงาที่ผู้กู้ไม่ได้รับความคุ้มครอง จริงอยู่ที่จะมีความแตกต่างอย่างมากในรายละเอียด : ธนาคารเงาหรือ shadow banking ในสไตล์แบบอเมริกามักปล่อยกู้กับบริษัทใหญ่ๆ ดังๆ แถบวอลสตรีตและกลุ่มธุรกรรมทางการเงินที่ซับซ้อน
ในขณะที่เวอร์ชั่นของจีนมีแนวโน้มที่จะผ่านไปทางธนาคารหรือสถาบันทางการเงินใต้ดินและแม้แต่โรงจำนำ แต่แน่นอนว่า ผลเบื้องปลายของมันไม่ต่างกัน ในจีนจะเจอเหมือนอเมริกาเมื่อหลายปีก่อน ระบบการเงินอาจจะเลวร้ายรุนแรงมากกว่าตัวเลขความเสียหายที่จะถูกเปิดเผยโดยธนาคาร
พอล ครุกแมน กล่าวว่า ขณะนี้ถือว่าได้เห็นการแตกของฟองสบู่แล้ว มันจะทำความเสียหายให้แก่เศรษฐกิจจีนและโลกเพียงใด?
บางคนอาจจะกล่าวว่า ไม่ต้องห่วงหรอก จีนมีผู้นำประเทศที่เข้มแข็งและฉลาด ที่จะทำทุกอย่าง เพื่อสกัดการไหลเลื่อนลงเหวของเศรษฐกิจ และเขาจะทำได้ทุกอย่างโดยไม่ต้องห่วงเรื่องละเมิดประชาธิปไตย
พอลว่า ฟังแล้วเหมือนการสัญญารับรองสุดท้าย ที่คุ้นๆ ที่เขาจำได้เมื่อวิกฤตของญี่ปุ่นช่วง 3 ทศวรรษก่อน เมื่อเจ้าหน้าที่ที่เก่งๆ ของกระทรวงการคลัง ที่ทุกคนเชื่อว่าแก้ไขปัญหาทุกอย่างในตอนนั้นได้อย่างดี แต่ต่อมาก็พบว่าล้มเหลวและเป็นการรับรองที่ทำให้ญี่ปุ่นเกิดภาวะเศรษฐกิจชะงักงันไปร่วมทศวรรษ คำรับรองแบบที่อเมริกาไม่ควรตามและผิดซ้ำ
แต่ปรากฏว่าพอถึงทีของอเมริกากลับทำได้ห่วยแตกกว่าที่ญี่ปุ่นทำเสียอีก
ในวันเดียวกันกับการตีพิมพ์บทความเรื่องนี้ของพอล ครุกแมน นิตยสาร Forbes ได้ตีพิมพ์บทความของ Gordon G, Chang เรื่อง The No.1 Problem of the Chinese Economy (http://www.forbes.com/sites/gordonchang/ 2011/12/18/the-no-1-problem-of-the-chinese-economy/) ได้ให้ข้อมูลจากการประชุมระดับนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศ (China′s Central Economic Work Conference) ที่ปักกิ่งในวันพุธที่ 14 ธ.ค.ที่ผ่านมานี้ การประชุมครั้งนี้ มีความสำคัญด้วยเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายก่อนการประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 18 ใน ปีหน้า
ข้อสรุปจากที่ประชุมดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลจีนยังดำเนินการทุกอย่างให้เดินไปตามปกติ หรือ Business as usual โดยเป้าหมายทางเศรษฐกิจของปีหน้าจีนจะ "ดำเนินการให้ก้าวหน้าต่อไป ในขณะที่จะรักษาเสถียรภาพ" เสถียรภาพตามที่ประกาศจากที่ประชุมหมายถึง "ยังคงรักษานโยบายเศรษฐศาสตร์มหภาคตามที่ดำเนินมา เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างสัมพัทธ์ ดัชนีผู้บริโภคที่คงตัว และมีความสงบในสังคม" Chang กล่าวว่า ปฏิญญาที่ประกาศออกมาชี้ให้เห็นว่า เป็นการส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากกว่าปีที่ผ่านมา นักวิเคราะห์ทั้งหลายส่วนใหญ่ไม่สนใจคำประกาศ แต่บอกให้เน้นดูว่ารัฐบาลจีนจะทำอะไรจริงๆ มากกว่า
โดยข้อเท็จจริงรัฐบาลจีนกำลังจะเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจ ในช่วงเดือน พ.ย.ที่ผ่านมารัฐบาล โดยธนาคารกลางได้ผ่อนคลายมาตรการเรื่องสัดส่วนทุนสำรองของธนาคารเพื่อการสหกรณ์ลง 20 ธนาคาร ตามมาด้วยการผ่อนคลายมาตรการนี้ให้แก่ธนาคารทั้งใหญ่และเล็กอย่างครบถ้วน การปล่อยสินเชื่อของธนาคารจึงเพิ่มสูงขึ้นในเดือน พ.ย. สูงกว่าการประมาณการที่เคยตั้งไว้
Chang ตั้งคำถามว่า "ควรหรือไม่ที่นโยบายเหล่านี้จะต้องเปลี่ยนทิศทาง?"
จริงอยู่เศรษฐกิจจีนที่ขยายตัวอย่างแรงเมื่อต้นปี ได้ลดความร้อนแรงลงมาเหลือแค่ตัวเลขหลักเดียว หรือหดตัวเสียด้วยซ้ำไป ทุกวันนี้ไม่มีอะไรในจีน ที่เดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง ไม่ว่าการส่งออก การบริโภคภายในประเทศ คำสั่งซื้อสินค้า หรือราคาอสังหาฯ
และปัญหาเหล่านี้จะเพิ่มความเลวร้ายมากขึ้น ใน ขณะที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังวิ่งเข้าสู่สภาพทุพพลภาพ
ความน่าเป็นห่วงต่อเศรษฐกิจจีนว่าจะล่มตามข้อเขียนของพอล ครุกแมน ดูท่าเราท่าน นักอะไรทั้งหลายคงต้องโฟกัสกัน การวางนโยบายเดินหน้ารักษาฟองสบู่ที่เป่งเต่งจะแตกปุ๊ป๊ะของจีน เสมือนยืนยันประกันว่า ทุกอย่างอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลอย่างดีแบบ บ่ๆ มีหยังดอก มังกรจีนเรามีความโดดเด่นไม่เหมือนเขา ฟองสบู่ของจีนแตกไม่เป็นว่านั้นเถอะ
ปีหน้าปีมะโรง ปีงูใหญ่ มันจะยิ่งไปเสริมความหลงของเล่ามังกรจีนว่าเป็นปีแห่งความเจริญรุ่งเรือง แบบมังกรทองสะท้านฟ้า เราท่านก็เตรียมตัวกันให้ดีเถอะครับ ปีหน้ามีคนคาดคะเนไว้ว่า ทั้งเศรษฐกิจโลกล่ม ทั้งสภาวะอากาศวิปริต และเมืองไทยเราเขาว่าน้ำจะท่วมใหญ่กว่าปีนี้อีก
การเตรียมพร้อมมีแผนรองรับความไม่แน่นอนที่เลวร้ายจากการคาดคะเนหรือพยากรณ์ (Forcast, ไม่ใช่ดูหมอเอา) อย่างสงบ ไม่วุ่นวายใจ และไม่กลัว ภายใต้ความเป็นจริงของข้อมูลที่มีอยู่ ถ้าเหตุร้ายเกิดขึ้นตามการคาดคะเนจริง ก็จะได้ผ่อนหนักเป็นเบา เขาเรียกว่ามีวิชั่นหรือมีวิสัยทัศน์ แต่ถ้าเตรียมการแล้วเหตุร้ายไม่เกิด ทางพระเรียกว่าตั้งอยู่ในความไม่ประมาทครับ
(ที่มา : มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 5 ม.ค.2555)
พอล ครุกแมน ศาสตราจารย์ นักเศรษฐ ศาสตร์ รางวัลโนเบล ปี 2550 และคอลัมนิสต์ประจำหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ เพิ่งเขียนบทความส่งสัญญาณเตือนว่า ทุกวันนี้ทั้งโลกกำลังจุกอกกันอยู่จากวิกฤตเศรษฐกิจที่เริ่มจากสหรัฐอเมริกา และที่กำลังแผ่สะเทือนไปทั้งโลกจากกลุ่มประชาคมยุโรปหรืออียู โลกเราไม่ได้ต้องการศูนย์กลางวิกฤตเศรษฐกิจตัวใหม่ที่จะส่งผลสะท้านสะเทือนโลกเพิ่มขึ้นอีกเลย แต่เราน่าจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วย ภาวะฟองสบู่อสังหาฯในเมืองจีนได้เริ่มแตกแล้ว (http://www.nytimes.com/2011/12/19/ opinion/krugman-will-china-break.html?src= me&ref=general)
พอลว่า ให้ลองพิจารณาภาพต่อไปนี้ : การเจริญทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ ขึ้นอยู่กับการบูมของสิ่งก่อสร้างขนาดยักษ์ใหญ่ๆ ที่ถูกกระตุ้นโดยการพุ่งสูงขึ้นของราคาอสังหาฯ ร่วมกับสัญญาณที่คลาสสิกของฟองสบู่
นั่นคือ การเพิ่มขยายตัวอย่างสูงในการปล่อยสินเชื่อ โดยที่สินเชื่อส่วนใหญ่เหล่านั้นไม่ได้ถูกปล่อยจากระบบธนาคารที่เป็นสากล แต่กลับถูกปล่อยจากระบบธนาคารเงา (shadow banking) ที่ไม่ได้ถูกควบคุมกำกับ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลหรือมีการประกันหนุนหลังโดยรัฐบาล ขณะนี้ฟองสบู่กำลังแตก และเป็นเรื่องที่น่าหวาดวิตกต่อการเกิดวิกฤตทางการเงินและเศรษฐกิจ
ภาพข้างบนดูแล้วอย่างกับว่ากำลังอธิบายปรากฏการณ์ฟองสบู่แตกในปลายปี 2523 ที่ญี่ปุ่น หรือไม่ก็ที่อเมริกา เมื่อปี 2550 แต่สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้นกำลังเกิดขึ้นที่จีน และกำลังก่อตัวขึ้นเป็นจุดอันตรายจุดใหม่ในเศรษฐกิจโลก
เขาออกตัวว่าเขาลังเลอยู่เหมือนกันที่จะให้น้ำหนักกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในจีน ส่วนหนึ่งเป็น เพราะว่า มันยากที่จะรู้ว่าจริงๆ แล้วอะไรที่เกิดขึ้นอยู่ในประเทศจีน ด้วยข้อมูลสถิติทางด้านเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ดูแล้วน่าเบื่อแบบนิยายวิทยาศาสตร์ แต่ตัวเลขของจีนกลับแปร่งๆ แบบนิยายกว่าเขาหมด เขาเคยลองปรึกษาเรื่องนี้กับผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐศาสตร์จีน พบว่าผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนไม่เคยอธิบายผลออกมาในทางเดียวกันเลย แม้ว่าข้อมูลที่เป็นทางการของจีนจะมีปัญหาอยู่ แต่ข่าวสารที่มีอยู่ในปัจจุบันก็รุนแรงเพียงพอที่จะต้องตีระฆังเตือนกัน
สิ่งที่เด่นชัดเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาคือ เรื่องของอัตราการบริโภคในครัวเรือนที่สูงขึ้น แต่อยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวม
ในเรื่องนี้พบว่าการใช้จ่ายในครัวเรือนอยู่ที่เพียง 35 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งต่ำกว่าสัดส่วนเดียวกันนี้ของอเมริกาอยู่ครึ่งหนึ่ง
อเมริกาคือผู้ซื้อรายใหญ่ของสินค้าและบริการที่ผลิตจากจีน แต่กำลังซื้อได้หดลงเพราะวิกฤตการณ์ทางการเงิน จีนยิ่งต้องผลักดันการส่งออกให้มากขึ้น เพื่อรักษาให้ภาคอุตสาหกรรมอยู่รอด แต่เรื่องที่ใหญ่กว่าเรื่องนี้ของจีนอยู่ที่การใช้จ่ายเพื่อการลงทุน ซึ่งได้พุ่งทะยานขึ้นสูงเกือบครึ่งหนึ่งของ GDP
คำถามที่เกิดขึ้นคือ ในขณะที่ความต้องการหรืออุปสงค์เพื่อการบริโภคค่อนข้างต่ำ อะไรที่จูงใจให้มีการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนที่สูงมากๆ นั้น
คำตอบที่ชัดๆ คือ มันสืบเนื่องจากภาวะฟองสบู่ของอสังหาฯที่สั่งสมมานาน
การลงทุนในภาคอสังหาฯได้เพิ่มขึ้นประมาณหนึ่งเท่าตัวในสัดส่วนของ GDP ตั้งแต่ปี 2543 หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของการลงทุนรวมทั้งหมดที่เพิ่มขึ้น และเป็นที่มั่นใจได้ว่าการลงทุนในภาคอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นนั้น เป็นการลงทุนในการขยายกิจการร้านค้าที่ทำธุรกรรมกับกลุ่มอุตสาหกรรมการก่อสร้าง
แล้วเรารู้จริงๆ หรือว่าเกิดภาวะฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาฯ ในจีน?
เขาว่า พบว่าสัญญาณต่างๆ มันแสดงออกอย่างนั้น : ไม่ใช่แค่ราคาพุ่งสูงขึ้น แต่บรรยากาศเต็มไปด้วยการปั่นการเก็งกำไรที่คุ้นๆ กันอยู่ในอเมริกาก่อนหน้านี้ เช่นแถบชายฝั่งฟลอริดา
ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่เหมือนกับกำลังเดินคู่อยู่ในแนวทางเดียวกับประสบการณ์ของอเมริกา : เมื่อการให้สินเชื่อบูม สินเชื่อส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากธนาคาร แต่จะมาจากการปล่อยสินเชื่ออย่างขาดการให้คำแนะนำที่ดี จากระบบธนาคารเงาที่ผู้กู้ไม่ได้รับความคุ้มครอง จริงอยู่ที่จะมีความแตกต่างอย่างมากในรายละเอียด : ธนาคารเงาหรือ shadow banking ในสไตล์แบบอเมริกามักปล่อยกู้กับบริษัทใหญ่ๆ ดังๆ แถบวอลสตรีตและกลุ่มธุรกรรมทางการเงินที่ซับซ้อน
ในขณะที่เวอร์ชั่นของจีนมีแนวโน้มที่จะผ่านไปทางธนาคารหรือสถาบันทางการเงินใต้ดินและแม้แต่โรงจำนำ แต่แน่นอนว่า ผลเบื้องปลายของมันไม่ต่างกัน ในจีนจะเจอเหมือนอเมริกาเมื่อหลายปีก่อน ระบบการเงินอาจจะเลวร้ายรุนแรงมากกว่าตัวเลขความเสียหายที่จะถูกเปิดเผยโดยธนาคาร
พอล ครุกแมน กล่าวว่า ขณะนี้ถือว่าได้เห็นการแตกของฟองสบู่แล้ว มันจะทำความเสียหายให้แก่เศรษฐกิจจีนและโลกเพียงใด?
บางคนอาจจะกล่าวว่า ไม่ต้องห่วงหรอก จีนมีผู้นำประเทศที่เข้มแข็งและฉลาด ที่จะทำทุกอย่าง เพื่อสกัดการไหลเลื่อนลงเหวของเศรษฐกิจ และเขาจะทำได้ทุกอย่างโดยไม่ต้องห่วงเรื่องละเมิดประชาธิปไตย
พอลว่า ฟังแล้วเหมือนการสัญญารับรองสุดท้าย ที่คุ้นๆ ที่เขาจำได้เมื่อวิกฤตของญี่ปุ่นช่วง 3 ทศวรรษก่อน เมื่อเจ้าหน้าที่ที่เก่งๆ ของกระทรวงการคลัง ที่ทุกคนเชื่อว่าแก้ไขปัญหาทุกอย่างในตอนนั้นได้อย่างดี แต่ต่อมาก็พบว่าล้มเหลวและเป็นการรับรองที่ทำให้ญี่ปุ่นเกิดภาวะเศรษฐกิจชะงักงันไปร่วมทศวรรษ คำรับรองแบบที่อเมริกาไม่ควรตามและผิดซ้ำ
แต่ปรากฏว่าพอถึงทีของอเมริกากลับทำได้ห่วยแตกกว่าที่ญี่ปุ่นทำเสียอีก
ในวันเดียวกันกับการตีพิมพ์บทความเรื่องนี้ของพอล ครุกแมน นิตยสาร Forbes ได้ตีพิมพ์บทความของ Gordon G, Chang เรื่อง The No.1 Problem of the Chinese Economy (http://www.forbes.com/sites/gordonchang/ 2011/12/18/the-no-1-problem-of-the-chinese-economy/) ได้ให้ข้อมูลจากการประชุมระดับนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศ (China′s Central Economic Work Conference) ที่ปักกิ่งในวันพุธที่ 14 ธ.ค.ที่ผ่านมานี้ การประชุมครั้งนี้ มีความสำคัญด้วยเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายก่อนการประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 18 ใน ปีหน้า
ข้อสรุปจากที่ประชุมดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลจีนยังดำเนินการทุกอย่างให้เดินไปตามปกติ หรือ Business as usual โดยเป้าหมายทางเศรษฐกิจของปีหน้าจีนจะ "ดำเนินการให้ก้าวหน้าต่อไป ในขณะที่จะรักษาเสถียรภาพ" เสถียรภาพตามที่ประกาศจากที่ประชุมหมายถึง "ยังคงรักษานโยบายเศรษฐศาสตร์มหภาคตามที่ดำเนินมา เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างสัมพัทธ์ ดัชนีผู้บริโภคที่คงตัว และมีความสงบในสังคม" Chang กล่าวว่า ปฏิญญาที่ประกาศออกมาชี้ให้เห็นว่า เป็นการส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากกว่าปีที่ผ่านมา นักวิเคราะห์ทั้งหลายส่วนใหญ่ไม่สนใจคำประกาศ แต่บอกให้เน้นดูว่ารัฐบาลจีนจะทำอะไรจริงๆ มากกว่า
โดยข้อเท็จจริงรัฐบาลจีนกำลังจะเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจ ในช่วงเดือน พ.ย.ที่ผ่านมารัฐบาล โดยธนาคารกลางได้ผ่อนคลายมาตรการเรื่องสัดส่วนทุนสำรองของธนาคารเพื่อการสหกรณ์ลง 20 ธนาคาร ตามมาด้วยการผ่อนคลายมาตรการนี้ให้แก่ธนาคารทั้งใหญ่และเล็กอย่างครบถ้วน การปล่อยสินเชื่อของธนาคารจึงเพิ่มสูงขึ้นในเดือน พ.ย. สูงกว่าการประมาณการที่เคยตั้งไว้
Chang ตั้งคำถามว่า "ควรหรือไม่ที่นโยบายเหล่านี้จะต้องเปลี่ยนทิศทาง?"
จริงอยู่เศรษฐกิจจีนที่ขยายตัวอย่างแรงเมื่อต้นปี ได้ลดความร้อนแรงลงมาเหลือแค่ตัวเลขหลักเดียว หรือหดตัวเสียด้วยซ้ำไป ทุกวันนี้ไม่มีอะไรในจีน ที่เดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง ไม่ว่าการส่งออก การบริโภคภายในประเทศ คำสั่งซื้อสินค้า หรือราคาอสังหาฯ
และปัญหาเหล่านี้จะเพิ่มความเลวร้ายมากขึ้น ใน ขณะที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังวิ่งเข้าสู่สภาพทุพพลภาพ
ความน่าเป็นห่วงต่อเศรษฐกิจจีนว่าจะล่มตามข้อเขียนของพอล ครุกแมน ดูท่าเราท่าน นักอะไรทั้งหลายคงต้องโฟกัสกัน การวางนโยบายเดินหน้ารักษาฟองสบู่ที่เป่งเต่งจะแตกปุ๊ป๊ะของจีน เสมือนยืนยันประกันว่า ทุกอย่างอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลอย่างดีแบบ บ่ๆ มีหยังดอก มังกรจีนเรามีความโดดเด่นไม่เหมือนเขา ฟองสบู่ของจีนแตกไม่เป็นว่านั้นเถอะ
ปีหน้าปีมะโรง ปีงูใหญ่ มันจะยิ่งไปเสริมความหลงของเล่ามังกรจีนว่าเป็นปีแห่งความเจริญรุ่งเรือง แบบมังกรทองสะท้านฟ้า เราท่านก็เตรียมตัวกันให้ดีเถอะครับ ปีหน้ามีคนคาดคะเนไว้ว่า ทั้งเศรษฐกิจโลกล่ม ทั้งสภาวะอากาศวิปริต และเมืองไทยเราเขาว่าน้ำจะท่วมใหญ่กว่าปีนี้อีก
การเตรียมพร้อมมีแผนรองรับความไม่แน่นอนที่เลวร้ายจากการคาดคะเนหรือพยากรณ์ (Forcast, ไม่ใช่ดูหมอเอา) อย่างสงบ ไม่วุ่นวายใจ และไม่กลัว ภายใต้ความเป็นจริงของข้อมูลที่มีอยู่ ถ้าเหตุร้ายเกิดขึ้นตามการคาดคะเนจริง ก็จะได้ผ่อนหนักเป็นเบา เขาเรียกว่ามีวิชั่นหรือมีวิสัยทัศน์ แต่ถ้าเตรียมการแล้วเหตุร้ายไม่เกิด ทางพระเรียกว่าตั้งอยู่ในความไม่ประมาทครับ
(ที่มา : มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 5 ม.ค.2555)
-
- Verified User
- โพสต์: 196
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สัญญาณเตือนจากครุกแมน : เศรษฐกิจจีนกำลังจะล่ม?
โพสต์ที่ 2
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สัญญาณเตือนจากครุกแมน : เศรษฐกิจจีนกำลังจะล่ม?
โพสต์ที่ 3
เศรษฐกิจอ่อนตัวลงแต่‘จีน’ไม่เจอ‘ฟองสบู่’อสังหาริมทรัพย์‘แตก’
โดย โรเบิร์ต เอ็ม คัตเลอร์ 17 ธันวาคม 2554 20:39 น
http://www.manager.co.th/Around/ViewNew ... 0000160640
ความเคลื่อนไหวหลายอย่างหลายประการในช่วงหลังๆ มานี้ของธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน บ่งชี้ให้เห็นว่า ธนาคารซึ่งมีฐานะเป็นแบงก์ชาติของแดนมังกรแห่งนี้ กำลังยุติการดำเนินนโยบายชุดใหญ่ในการเพิ่มความเข้มงวดทางการเงิน ขณะเดียวกันนั้น ดัชนีอุตสาหกรรมการผลิตที่แสดงถึงการทรุดตัว ก็กำลังส่งสัญญาณว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของแดนมังกรเวลานี้อยู่ในอาการเชื่องช้าลง สำหรับทางด้านราคาอสังหาริมทรัพย์นั้นยังคงลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ทว่าไม่ได้มีเสียงระเบิดโป้งป้างของฟองสบู่แตก
มอนทรีออล, แคนาดา – ราคาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจีนยังคงลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ทว่ามิได้มีเสียงระเบิดโป้งป้างของฟองสบู่แตก สถาบันดัชนีจีน (China Index Academy) ซึ่งเป็นสถาบันที่เน้นหนักไปที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ รายงานว่า ราคาอสังหาริมทรัพย์ในเดือนพฤศจิกายนยังคงไหลลงอีก นับเป็นเดือนที่สามติดต่อกันแล้ว โดยถอยลงมา 0.3% จากเดือนตุลาคม หลังจากที่เดือนตุลาคมก็ต่ำลง 0.2% จากเดือนกันยายน ทั้งนี้ราคาลดต่ำลงมาในทั้ง 10 นครใหญ่ที่สุด และใน 57 เมืองใหญ่จาก 100 เมืองใหญ่ที่สถาบันแห่งนี้เฝ้าติดตามสำรวจ
แนวโน้มเช่นนี้สอดคล้องกับรายงานที่ออกเผยแพร่ในเดือนที่แล้วโดย สำนักงานสถิติแห่งชาติ (National Bureau of Statistics) ของจีน ซึ่งระบุว่า ราคาอสังหาริมทรัพย์ด้านที่อยู่อาศัยของเดือนตุลาคมได้ลดลงมาใน 33 เมืองใหญ่จาก 70 เมืองใหญ่ที่เฝ้าติดตามสำรวจ จำนวนดังกล่าวคิดเป็น 2 เท่าตัวของเดือนกันยายนทีเดียว นอกจากนั้นในรายงานอีกฉบับหนึ่งที่เผยแพร่ในวันที่ 5 ธันวาคม ธนาคารเครดิต สวิส (Credit Suisse) ได้พยากรณ์ว่าราคาอสังหาริมทรัพย์ด้านที่อยู่อาศัยในจีน จะลดต่ำไปจนถึงสิ้นปี 2012 โดยจะหดหายไป 20% จากระดับที่เคยขึ้นไปสูงสุดในปี 2011
สำหรับราคาที่อยู่อาศัยในเมืองใหญ่ระดับสองและระดับสามจำนวนมาก ยังคงขยับเพิ่มสูงขึ้นอย่างแข็งแรง ทั้งๆ ที่รัฐบาลส่วนกลางในปักกิ่งดำเนินการอย่างไม่หยุดหย่อน เพื่อบังคับใช้นโยบายต่างๆ ซึ่งมุ่งทำให้รัฐบาลระดับท้องถิ่นทั้งหลายต้องออกมาตรการจำกัดการซื้อที่อยู่อาศัย เหตุผลเบื้องลึกของเรื่องนี้ ก็คือการที่รัฐบาลท้องถิ่นได้ผลประโยชน์จากการเปิดให้ซื้อบ้านได้อย่างเสรีนั่นเอง พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของส่วนท้องถิ่นนั้น สามารถทำรายรับเป็นกองเป็นกำจากการขายที่ดิน รายรับเช่นนี้ย่อมหาได้ง่ายดายยิ่งกว่าการที่ต้องจัดทำนโยบายต่างๆ เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และเมื่อเป็นเช่นนั้น จึงทำให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทั้งหลายตกอยู่ในสภาพย่ำแย่ และไม่สามารถเป็นตัวขับดันให้เกิดการสร้างงานอย่างแข็งขันได้อย่างที่ควรจะเป็น
ในอีกด้านหนึ่ง ข้อมูลสถิติอื่นๆ ที่เผยแพร่ออกมาในช่วงต้นเดือนนี้ต่างแสดงให้เห็นว่า การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจจีนกำลังอยู่ในภาวะชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง โดยที่มีสาเหตุมาจากปัจจัยภายในประเทศมากกว่าปัจจัยระหว่างประเทศ ทั้งนี้พวกนักเศรษฐศาสตร์จับตามองดู ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing Managers Indexe หรือ PMI) 2 ตัว ซึ่งต่างก็วัดคำนวณกิจกรรมทางอุตสาหกรรมการผลิตโดยกำหนดค่าเป็นกลาง (neutral value) อยู่ที่ระดับ 50 ถ้าตัวเลขเกินกว่า 50 เท่ากับบ่งชี้ว่าเศรฐกิจกำลังขยายตัว แต่หากต่ำกว่า 50 คือเศรษฐกิจกำลังหดตัว ปรากฏว่า ดัชนี PMI ของทางการจีนซึ่งนำออกเผยแพร่โดย สหพันธ์โลจิสติกส์และการจัดซื้อแห่งประเทศจีน (China Federation of Logistics and Purchasing) ได้ตกลงจากระดับ 50.4 ในเดือนตุลาคม มาอยู่ที่ 49 ในเดือนที่แล้ว ขณะที่ดัชนี PMI ที่รวบรวมจัดทำโดยธนาคาร เอชเอสบีซี ก็ถอยลงมาจาก 51 เหลือ 47.7
ข่าวเกี่ยวกับดัชนี PMI เหล่านี้ ออกมาภายหลังธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (People's Bank of China เป็นชื่อแบงก์ชาติของแดนมังกร) ออกประกาศเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ลดอัตราเงินสดสำรองที่กำหนดให้บรรดาธนาคารภายในประเทศต้องฝากเอาไว้กับแบงก์ชาติ ลงมาครึ่งเปอร์เซ็นต์ เหลือ 21% ในกรณีของพวกธนาคารประเภทขนาดใหญ่ที่สุด ความเคลื่อนไหวเช่นนี้ได้ส่งผลทำให้เพิ่มปริมาณเงินทุนเพื่อการโอนย้ายในระหว่างธนาคารต่างๆ ด้วยกัน ตลอดจนเพื่อการปล่อยกู้ ดังนั้นจึงถูกมองว่าเป็นเครื่องบ่งชี้การสิ้นสุดแห่งการใช้นโยบายชุดใหม่เพื่อเพิ่มความเข้มงวดทางการเงิน
การที่ราคาอสังหาริมทรัพย์กำลังลดต่ำลง และการที่ธนาคารกลางคลายความเข้มงวดในนโยบายการเงิน ทำให้เกิดความประทับใจ หรืออย่างน้อยที่สุดก็เกิดความวาดหวังกันมากขึ้นว่า จีนอาจจะสามารถทำ “ซอฟต์ แลนดิ้ง” (soft landing การนำพาเศรษฐกิจที่เติบโตร้อนแรงเกินไปให้ลดถอยลงมาได้อย่างนุ่มนวล ) ได้สำเร็จแล้ว อย่างไรก็ดี การผ่อนปรนของแบงก์ชาติจีน เมื่อบวกกับการที่คาดการณ์กันว่าน่าจะต้องมีการผ่อนคลายมาตรการของส่วนกลางในเรื่องการจำกัดการขายอสังหาริมทรัพย์ในท้องถิ่นต่างๆ ไปด้วย ทำให้มีเสียงหวั่นวิตกว่า จะเกิดความเสี่ยงในเรื่องที่ภาวะฟองสบู่ของภาคอสังหาริมทรัพย์จะเกิดฟูฟ่องขึ้นมาอีกคำรบหนึ่ง
กระนั้นก็ตาม สตีเฟน โรช (Stephen Roach) แห่ง มอร์แกน สแตนลีย์ (Morgan Stanley) ได้ออกมาแสดงความสงสัยข้องใจต่อพวกที่ยังคงสงสัยข้องใจความสามารถในการรับมือของจีน โดยเขาบอกกับข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg News) ว่า ในขณะที่ยุโรปซึ่งมีฐานะเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของจีน กำลังแสดงให้เห็นว่าอุปสงค์ที่อ่อนตัวลงนั้น เรายังคงสามารถคาดหมายได้ว่า จีน “จะสามารถดำเนินการปรับเปลี่ยนนโยบายไปตามแบบแผนที่พึงปฏิบัติ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของพวกเขา” ขณะที่หลายๆ ประเทศเป็นต้นว่าสหรัฐฯ ไม่มีความสามารถที่จะทำเช่นนี้ได้แล้ว ด้วยเหตุนี้ โรชจึงคาดหมายว่า อัตราเงินเฟ้อในจีนจะยังลดต่ำลงต่อไป
ถ้าหากมีการตัดสินใจกันในส่วนกลางที่ปักกิ่งว่า ไม่ควรปล่อยให้เกิดฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ต่อไปอีกแล้ว มันก็น่าจะส่งผลต่อเนื่องในทางลบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในปีหน้า เนื่องจากเมื่อการก่อสร้างที่อยู่อาศัยลดต่ำลงมา ย่อมส่งผลกระทบกระเทือนทำให้พวกอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเกิดการชะลอตัว อีกทั้งอุปสงค์สำหรับผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบต่างๆ ไม่ว่าจะผลิตอยู่ภายในจีนเองหรือนำเข้าจากต่างประเทศ ล้วนแต่จะต้องลดต่ำลงเช่นเดียวกัน การชะลอตัวดังกล่าวนี้อาจจะเป็นที่รู้สึกกันไปทั่วทั้งโลกทีเดียว เป็นต้นว่า ราคาของทองแดงที่ลดฮวบลงมา ทั้งนี้ทองแดงใช้กันอย่างกว้างขวางทั้งในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและในอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้านทั้งหลาย
พวกที่ไปซื้อบ้านและห้องชุดเอาไว้ในช่วงไม่นานมานี้ ต่างก็แสดงความไม่พอใจเมื่อได้เห็นราคาร่วงหล่นลงมาโดยในบางกรณีอาจจะถึง 20% ทีเดียว พวกนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งหลายจึงจำเป็นจะต้องลดราคาลงไปอีก ถ้าหากต้องการปล่อยที่อยู่อาศัยที่ยังค้างคาอยู่ในสต็อก ทั้งนี้เพื่อจะได้ลดภาระดอกเบี้ยของพวกตนลงไปบ้าง ทั้งนี้ตัวเลขการสร้างบ้านใหม่ของเดือนสิงหาคมปีนี้ อยู่ในระดับสูงกว่าของเดือนสิงหาคมปี 2010 ถึงร่วมๆ หนึ่งในสาม แต่พอถึงเดือนตุลาคม ตัวเลขโดยพื้นฐานก็อยู่ในระดับเดียวกันกับในเดือนเดียวกันของ 1 ปีที่แล้ว
ถึงแม้เกิดสภาพดังกล่าวมานี้ รวมทั้งยังมีปัญหาทางสังคมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับราคาในภาคที่อยู่อาศัยทรุดตัว (ตัวอย่างเช่น พวกที่นำเอาเงินออมทั้งชีวิตของพวกตนมาลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และจะต้องรับผลกระทบกระเทือนจากราคาที่ตกลงมา มักจะเป็นคนจีนสูงวัยเป็นส่วนใหญ่) แต่พวกผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายก็ดูกำลังมีฉันทามติร่วมกันว่า ภาวะฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ในจีนตามที่พูดกันนั้น เป็นการมองปัญหาอย่างขยายใหญ่โตเกินความเป็นจริง ที่กล่าวเช่นนี้มิใช่หมายความว่าไม่ได้มีปัญหานี้ หรือมันจะไม่ดำรงอยู่ต่อไปอีก อย่างไรก็ตาม กระทั่งถ้าหากว่าราคาที่อยู่อาศัยเกิดหล่นฮวบลงมาทั่วหน้า มันก็จะไม่ก่อให้เกิด “วิกฤตเชิงระบบ” ขึ้นมา เนื่องจากแดนมังกรมีระเบียบกฎเกณฑ์ด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัยอันเข้มงวด อีกทั้งมีข้อกำหนดให้ต้องวางเงินดาวน์ก้อนโต
ดร.รอเบิร์ต เอ็ม คัตเลอร์ (www.robertcutler.org) สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) และมหาวิทยาลัยมิชิแกน และได้ทำงานวิจัยตลอดจนสอนอยู่ตามมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ทั้งในสหรัฐฯ, แคนาดา, ฝรั่งเศส, สวิตเซอร์แลนด์, และรัสเซีย เวลานี้เขาเป็นนักวิจัยอาวุโสอยู่ที่ สถาบันเพื่อยุโรป, รัสเซีย, และยูเรเชียศึกษา (Institute of European, Russian and Eurasian Studies) มหาวิทยาลัยคาร์ลตัน (Carleton University) ประเทศแคนาดา เขายังรับเป็นที่ปรึกษาส่วนตัวในกิจการต่างๆ หลายหลาก
โดย โรเบิร์ต เอ็ม คัตเลอร์ 17 ธันวาคม 2554 20:39 น
http://www.manager.co.th/Around/ViewNew ... 0000160640
ความเคลื่อนไหวหลายอย่างหลายประการในช่วงหลังๆ มานี้ของธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน บ่งชี้ให้เห็นว่า ธนาคารซึ่งมีฐานะเป็นแบงก์ชาติของแดนมังกรแห่งนี้ กำลังยุติการดำเนินนโยบายชุดใหญ่ในการเพิ่มความเข้มงวดทางการเงิน ขณะเดียวกันนั้น ดัชนีอุตสาหกรรมการผลิตที่แสดงถึงการทรุดตัว ก็กำลังส่งสัญญาณว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของแดนมังกรเวลานี้อยู่ในอาการเชื่องช้าลง สำหรับทางด้านราคาอสังหาริมทรัพย์นั้นยังคงลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ทว่าไม่ได้มีเสียงระเบิดโป้งป้างของฟองสบู่แตก
มอนทรีออล, แคนาดา – ราคาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจีนยังคงลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ทว่ามิได้มีเสียงระเบิดโป้งป้างของฟองสบู่แตก สถาบันดัชนีจีน (China Index Academy) ซึ่งเป็นสถาบันที่เน้นหนักไปที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ รายงานว่า ราคาอสังหาริมทรัพย์ในเดือนพฤศจิกายนยังคงไหลลงอีก นับเป็นเดือนที่สามติดต่อกันแล้ว โดยถอยลงมา 0.3% จากเดือนตุลาคม หลังจากที่เดือนตุลาคมก็ต่ำลง 0.2% จากเดือนกันยายน ทั้งนี้ราคาลดต่ำลงมาในทั้ง 10 นครใหญ่ที่สุด และใน 57 เมืองใหญ่จาก 100 เมืองใหญ่ที่สถาบันแห่งนี้เฝ้าติดตามสำรวจ
แนวโน้มเช่นนี้สอดคล้องกับรายงานที่ออกเผยแพร่ในเดือนที่แล้วโดย สำนักงานสถิติแห่งชาติ (National Bureau of Statistics) ของจีน ซึ่งระบุว่า ราคาอสังหาริมทรัพย์ด้านที่อยู่อาศัยของเดือนตุลาคมได้ลดลงมาใน 33 เมืองใหญ่จาก 70 เมืองใหญ่ที่เฝ้าติดตามสำรวจ จำนวนดังกล่าวคิดเป็น 2 เท่าตัวของเดือนกันยายนทีเดียว นอกจากนั้นในรายงานอีกฉบับหนึ่งที่เผยแพร่ในวันที่ 5 ธันวาคม ธนาคารเครดิต สวิส (Credit Suisse) ได้พยากรณ์ว่าราคาอสังหาริมทรัพย์ด้านที่อยู่อาศัยในจีน จะลดต่ำไปจนถึงสิ้นปี 2012 โดยจะหดหายไป 20% จากระดับที่เคยขึ้นไปสูงสุดในปี 2011
สำหรับราคาที่อยู่อาศัยในเมืองใหญ่ระดับสองและระดับสามจำนวนมาก ยังคงขยับเพิ่มสูงขึ้นอย่างแข็งแรง ทั้งๆ ที่รัฐบาลส่วนกลางในปักกิ่งดำเนินการอย่างไม่หยุดหย่อน เพื่อบังคับใช้นโยบายต่างๆ ซึ่งมุ่งทำให้รัฐบาลระดับท้องถิ่นทั้งหลายต้องออกมาตรการจำกัดการซื้อที่อยู่อาศัย เหตุผลเบื้องลึกของเรื่องนี้ ก็คือการที่รัฐบาลท้องถิ่นได้ผลประโยชน์จากการเปิดให้ซื้อบ้านได้อย่างเสรีนั่นเอง พวกเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของส่วนท้องถิ่นนั้น สามารถทำรายรับเป็นกองเป็นกำจากการขายที่ดิน รายรับเช่นนี้ย่อมหาได้ง่ายดายยิ่งกว่าการที่ต้องจัดทำนโยบายต่างๆ เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และเมื่อเป็นเช่นนั้น จึงทำให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทั้งหลายตกอยู่ในสภาพย่ำแย่ และไม่สามารถเป็นตัวขับดันให้เกิดการสร้างงานอย่างแข็งขันได้อย่างที่ควรจะเป็น
ในอีกด้านหนึ่ง ข้อมูลสถิติอื่นๆ ที่เผยแพร่ออกมาในช่วงต้นเดือนนี้ต่างแสดงให้เห็นว่า การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจจีนกำลังอยู่ในภาวะชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง โดยที่มีสาเหตุมาจากปัจจัยภายในประเทศมากกว่าปัจจัยระหว่างประเทศ ทั้งนี้พวกนักเศรษฐศาสตร์จับตามองดู ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing Managers Indexe หรือ PMI) 2 ตัว ซึ่งต่างก็วัดคำนวณกิจกรรมทางอุตสาหกรรมการผลิตโดยกำหนดค่าเป็นกลาง (neutral value) อยู่ที่ระดับ 50 ถ้าตัวเลขเกินกว่า 50 เท่ากับบ่งชี้ว่าเศรฐกิจกำลังขยายตัว แต่หากต่ำกว่า 50 คือเศรษฐกิจกำลังหดตัว ปรากฏว่า ดัชนี PMI ของทางการจีนซึ่งนำออกเผยแพร่โดย สหพันธ์โลจิสติกส์และการจัดซื้อแห่งประเทศจีน (China Federation of Logistics and Purchasing) ได้ตกลงจากระดับ 50.4 ในเดือนตุลาคม มาอยู่ที่ 49 ในเดือนที่แล้ว ขณะที่ดัชนี PMI ที่รวบรวมจัดทำโดยธนาคาร เอชเอสบีซี ก็ถอยลงมาจาก 51 เหลือ 47.7
ข่าวเกี่ยวกับดัชนี PMI เหล่านี้ ออกมาภายหลังธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีน (People's Bank of China เป็นชื่อแบงก์ชาติของแดนมังกร) ออกประกาศเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ลดอัตราเงินสดสำรองที่กำหนดให้บรรดาธนาคารภายในประเทศต้องฝากเอาไว้กับแบงก์ชาติ ลงมาครึ่งเปอร์เซ็นต์ เหลือ 21% ในกรณีของพวกธนาคารประเภทขนาดใหญ่ที่สุด ความเคลื่อนไหวเช่นนี้ได้ส่งผลทำให้เพิ่มปริมาณเงินทุนเพื่อการโอนย้ายในระหว่างธนาคารต่างๆ ด้วยกัน ตลอดจนเพื่อการปล่อยกู้ ดังนั้นจึงถูกมองว่าเป็นเครื่องบ่งชี้การสิ้นสุดแห่งการใช้นโยบายชุดใหม่เพื่อเพิ่มความเข้มงวดทางการเงิน
การที่ราคาอสังหาริมทรัพย์กำลังลดต่ำลง และการที่ธนาคารกลางคลายความเข้มงวดในนโยบายการเงิน ทำให้เกิดความประทับใจ หรืออย่างน้อยที่สุดก็เกิดความวาดหวังกันมากขึ้นว่า จีนอาจจะสามารถทำ “ซอฟต์ แลนดิ้ง” (soft landing การนำพาเศรษฐกิจที่เติบโตร้อนแรงเกินไปให้ลดถอยลงมาได้อย่างนุ่มนวล ) ได้สำเร็จแล้ว อย่างไรก็ดี การผ่อนปรนของแบงก์ชาติจีน เมื่อบวกกับการที่คาดการณ์กันว่าน่าจะต้องมีการผ่อนคลายมาตรการของส่วนกลางในเรื่องการจำกัดการขายอสังหาริมทรัพย์ในท้องถิ่นต่างๆ ไปด้วย ทำให้มีเสียงหวั่นวิตกว่า จะเกิดความเสี่ยงในเรื่องที่ภาวะฟองสบู่ของภาคอสังหาริมทรัพย์จะเกิดฟูฟ่องขึ้นมาอีกคำรบหนึ่ง
กระนั้นก็ตาม สตีเฟน โรช (Stephen Roach) แห่ง มอร์แกน สแตนลีย์ (Morgan Stanley) ได้ออกมาแสดงความสงสัยข้องใจต่อพวกที่ยังคงสงสัยข้องใจความสามารถในการรับมือของจีน โดยเขาบอกกับข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg News) ว่า ในขณะที่ยุโรปซึ่งมีฐานะเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของจีน กำลังแสดงให้เห็นว่าอุปสงค์ที่อ่อนตัวลงนั้น เรายังคงสามารถคาดหมายได้ว่า จีน “จะสามารถดำเนินการปรับเปลี่ยนนโยบายไปตามแบบแผนที่พึงปฏิบัติ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของพวกเขา” ขณะที่หลายๆ ประเทศเป็นต้นว่าสหรัฐฯ ไม่มีความสามารถที่จะทำเช่นนี้ได้แล้ว ด้วยเหตุนี้ โรชจึงคาดหมายว่า อัตราเงินเฟ้อในจีนจะยังลดต่ำลงต่อไป
ถ้าหากมีการตัดสินใจกันในส่วนกลางที่ปักกิ่งว่า ไม่ควรปล่อยให้เกิดฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ต่อไปอีกแล้ว มันก็น่าจะส่งผลต่อเนื่องในทางลบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในปีหน้า เนื่องจากเมื่อการก่อสร้างที่อยู่อาศัยลดต่ำลงมา ย่อมส่งผลกระทบกระเทือนทำให้พวกอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเกิดการชะลอตัว อีกทั้งอุปสงค์สำหรับผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบต่างๆ ไม่ว่าจะผลิตอยู่ภายในจีนเองหรือนำเข้าจากต่างประเทศ ล้วนแต่จะต้องลดต่ำลงเช่นเดียวกัน การชะลอตัวดังกล่าวนี้อาจจะเป็นที่รู้สึกกันไปทั่วทั้งโลกทีเดียว เป็นต้นว่า ราคาของทองแดงที่ลดฮวบลงมา ทั้งนี้ทองแดงใช้กันอย่างกว้างขวางทั้งในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและในอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้านทั้งหลาย
พวกที่ไปซื้อบ้านและห้องชุดเอาไว้ในช่วงไม่นานมานี้ ต่างก็แสดงความไม่พอใจเมื่อได้เห็นราคาร่วงหล่นลงมาโดยในบางกรณีอาจจะถึง 20% ทีเดียว พวกนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งหลายจึงจำเป็นจะต้องลดราคาลงไปอีก ถ้าหากต้องการปล่อยที่อยู่อาศัยที่ยังค้างคาอยู่ในสต็อก ทั้งนี้เพื่อจะได้ลดภาระดอกเบี้ยของพวกตนลงไปบ้าง ทั้งนี้ตัวเลขการสร้างบ้านใหม่ของเดือนสิงหาคมปีนี้ อยู่ในระดับสูงกว่าของเดือนสิงหาคมปี 2010 ถึงร่วมๆ หนึ่งในสาม แต่พอถึงเดือนตุลาคม ตัวเลขโดยพื้นฐานก็อยู่ในระดับเดียวกันกับในเดือนเดียวกันของ 1 ปีที่แล้ว
ถึงแม้เกิดสภาพดังกล่าวมานี้ รวมทั้งยังมีปัญหาทางสังคมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับราคาในภาคที่อยู่อาศัยทรุดตัว (ตัวอย่างเช่น พวกที่นำเอาเงินออมทั้งชีวิตของพวกตนมาลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และจะต้องรับผลกระทบกระเทือนจากราคาที่ตกลงมา มักจะเป็นคนจีนสูงวัยเป็นส่วนใหญ่) แต่พวกผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายก็ดูกำลังมีฉันทามติร่วมกันว่า ภาวะฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ในจีนตามที่พูดกันนั้น เป็นการมองปัญหาอย่างขยายใหญ่โตเกินความเป็นจริง ที่กล่าวเช่นนี้มิใช่หมายความว่าไม่ได้มีปัญหานี้ หรือมันจะไม่ดำรงอยู่ต่อไปอีก อย่างไรก็ตาม กระทั่งถ้าหากว่าราคาที่อยู่อาศัยเกิดหล่นฮวบลงมาทั่วหน้า มันก็จะไม่ก่อให้เกิด “วิกฤตเชิงระบบ” ขึ้นมา เนื่องจากแดนมังกรมีระเบียบกฎเกณฑ์ด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัยอันเข้มงวด อีกทั้งมีข้อกำหนดให้ต้องวางเงินดาวน์ก้อนโต
ดร.รอเบิร์ต เอ็ม คัตเลอร์ (www.robertcutler.org) สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) และมหาวิทยาลัยมิชิแกน และได้ทำงานวิจัยตลอดจนสอนอยู่ตามมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ทั้งในสหรัฐฯ, แคนาดา, ฝรั่งเศส, สวิตเซอร์แลนด์, และรัสเซีย เวลานี้เขาเป็นนักวิจัยอาวุโสอยู่ที่ สถาบันเพื่อยุโรป, รัสเซีย, และยูเรเชียศึกษา (Institute of European, Russian and Eurasian Studies) มหาวิทยาลัยคาร์ลตัน (Carleton University) ประเทศแคนาดา เขายังรับเป็นที่ปรึกษาส่วนตัวในกิจการต่างๆ หลายหลาก
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
- คนขายของ
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 792
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สัญญาณเตือนจากครุกแมน : เศรษฐกิจจีนกำลังจะล่ม?
โพสต์ที่ 4
ล่มสลาย.....ผมว่าไม่น่าถึงขนาดนั้นนะครับ
น่าจะชะลอตัวมากกว่า มีบริษัทล้มละลายบ้าง แย่ๆก็อาจจะมีแบงค์ท้องถิ่นล้มบ้าง แต่ตั่วเฮีย คือรัฐบาลกลางจีน ยังคงมั่งคั่งมหาศาล ก็ใครเล่าที่ซื้อพันธบัตรจาก FED
ที่ดินของจีนเป็นของรัฐบาลทั้งสิ้น มีแต่สิทธิ์การเช่าระยะยาว ดังนั้นการหมุนเวียนของสินทรัพย์จะดีกว่าเพราะเงินไม่จมมากในที่ดิน ฟองสบู่อสังหามีจริง แต่ทั้งนี้เป็นธรรมดา
ของประเทศที่กักเงินไว้ในประเทศ คนไม่รู้จะเอาไปทำอะไร สิ่งที่ครุกแมนไม่ได้พูดถึงก็คือ Household Saving หรือ การออมต่อครอบครัว ของจีนที่อยู่ในอัตราสูง มากกว่า 40%
ของรายได้ในขณะที่ ของอเมริกาอยู่ที่ประมาณ 2% เท่านั้น ถ้าจำเป็นจริงรัฐสามารถระดมทุนในประเทศได้ไม่ยาก
เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของจีนอีกกว่า 3 ล้านล้าน USD ก็เป็นเกราะกันกระแทกได้อย่างดี
ส่วนตัวแล้วผมว่าการชะลอตัวน่าจะเป็นผลดีมากกว่า เพราะปัญหาสังคมเรื่องช่องว่างรายได้ และ ราคาอสังหา ที่แพงเกินเอื้อมจะได้ผ่อนคลายลงบ้าง
น่าจะชะลอตัวมากกว่า มีบริษัทล้มละลายบ้าง แย่ๆก็อาจจะมีแบงค์ท้องถิ่นล้มบ้าง แต่ตั่วเฮีย คือรัฐบาลกลางจีน ยังคงมั่งคั่งมหาศาล ก็ใครเล่าที่ซื้อพันธบัตรจาก FED
ที่ดินของจีนเป็นของรัฐบาลทั้งสิ้น มีแต่สิทธิ์การเช่าระยะยาว ดังนั้นการหมุนเวียนของสินทรัพย์จะดีกว่าเพราะเงินไม่จมมากในที่ดิน ฟองสบู่อสังหามีจริง แต่ทั้งนี้เป็นธรรมดา
ของประเทศที่กักเงินไว้ในประเทศ คนไม่รู้จะเอาไปทำอะไร สิ่งที่ครุกแมนไม่ได้พูดถึงก็คือ Household Saving หรือ การออมต่อครอบครัว ของจีนที่อยู่ในอัตราสูง มากกว่า 40%
ของรายได้ในขณะที่ ของอเมริกาอยู่ที่ประมาณ 2% เท่านั้น ถ้าจำเป็นจริงรัฐสามารถระดมทุนในประเทศได้ไม่ยาก
เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของจีนอีกกว่า 3 ล้านล้าน USD ก็เป็นเกราะกันกระแทกได้อย่างดี
ส่วนตัวแล้วผมว่าการชะลอตัวน่าจะเป็นผลดีมากกว่า เพราะปัญหาสังคมเรื่องช่องว่างรายได้ และ ราคาอสังหา ที่แพงเกินเอื้อมจะได้ผ่อนคลายลงบ้าง
อดทนไว้ กำไรยั่งยืน
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สัญญาณเตือนจากครุกแมน : เศรษฐกิจจีนกำลังจะล่ม?
โพสต์ที่ 6
ต้องถามว่าใครทำให้ล้ม
คนที่ทำเขาได้อะไร
เรื่องนี้เป็นเกม
เกมที่ต่อเนื่องมานานหลายร้อยปีแล้ว
Econony ล้มเองไม่ได้
ต้องมีคนทำให้มันล้ม
ระบบทุนนิยมในจีนก็ไม่เต็มใบ
ยิวสร้างระบบทุนนิยม
เขาก็ทราบจุดอ่อนดี เพราะเขาเป็นคนสร้างเอง
ยิวเอาไปให้คนชาติต่างๆ ได้ใช้
แต่ยิวก็โจมตีจุดอ่อนของระบบไปด้วย
จุดอ่อนที่ยิวโจมตีก็ไม่แน่ใจว่าจะสำเร็จ
ผมอาจจะ short Chinese Economy
แต่ผมไม่ short Chinese Governemnt
ผมต้องอ่านหลายรอบนะครับ
เพราะเขาแปลมาอีกที
ต้องไปอ่านภาษาปะกิต
ครั้งแรกอ่านแล้วเอาตัวเองออกมายืนมองเข้าไปในจีน
คือ มองจีนจากข้างนอก เป็นผู้สังเกตุจากภายนอก
มองเหมือนครุกแมน มองจากการสังเกตข้อมูลอย่างเดียวุ
อ่านครั้งที่สอง
มองกลับกัน
มองจากสายตาคนจีนแล้วมองออกไปหาครุกแมน
ประวัติศาสตร์ยิวกับจีนรบกันด้านค้าขายมานานหลายร้อยปี
ครั้งสุดท้ายยิวชนะ
ในอดีตจีนเขาเคยล้มให้กับยิวมาแล้ว
ตั้งแต่เขาค้าขายกับยิวอังกฤษแล้วเป็นมหาอำนาจมาก
ยิวเอาฝิ่นจากอินเดียไปขายคนจีน
จนจีนอ่อนแอ ไม่มีเงินจ่าย สุดท้ายไปรบกับจีน
จีนแพ้จนเสียดินแดนบางส่วน
ทั้งสองชาติเน้นการศึกษา เน้นการบันทึกประวัติศาสตร์
จีนเขายังจำกันได้แน่นอน ว่ายิวเคยทำอะไรกับเขาบ้าง
ยิวอยากให้เข้าล้ม เอาระบบทุนนิยมไปใส่ให้เขา
แล้ววันหนึ่งก็มาบอกว่า ฟองสบู่แล้ว
ผมอยากจะบอกว่า "คนจีนเขาไม่ได้กินหญ้า เขาจำได้แม่นคนยิวเคยทำอะไรกับเขาไว้"
เกมนี้ยิวกินคนจีนไม่ลงหรอก
อีกอย่างครับ ถ้าเอาระบบทุนนิยมมามองจีน
มันก็ผิดหมดเลย
ที่อื่น ประเทศกับเศรษฐกิจมันแยกกันไม่ออก มันคือส่วนเดียวกัน
แต่รัฐบาลจีนกับเศรษฐกิจค้าขายของคนจีนมันคนละส่วนครับ
คนที่ทำเขาได้อะไร
เรื่องนี้เป็นเกม
เกมที่ต่อเนื่องมานานหลายร้อยปีแล้ว
Econony ล้มเองไม่ได้
ต้องมีคนทำให้มันล้ม
ระบบทุนนิยมในจีนก็ไม่เต็มใบ
ยิวสร้างระบบทุนนิยม
เขาก็ทราบจุดอ่อนดี เพราะเขาเป็นคนสร้างเอง
ยิวเอาไปให้คนชาติต่างๆ ได้ใช้
แต่ยิวก็โจมตีจุดอ่อนของระบบไปด้วย
จุดอ่อนที่ยิวโจมตีก็ไม่แน่ใจว่าจะสำเร็จ
ผมอาจจะ short Chinese Economy
แต่ผมไม่ short Chinese Governemnt
ผมต้องอ่านหลายรอบนะครับ
เพราะเขาแปลมาอีกที
ต้องไปอ่านภาษาปะกิต
ครั้งแรกอ่านแล้วเอาตัวเองออกมายืนมองเข้าไปในจีน
คือ มองจีนจากข้างนอก เป็นผู้สังเกตุจากภายนอก
มองเหมือนครุกแมน มองจากการสังเกตข้อมูลอย่างเดียวุ
อ่านครั้งที่สอง
มองกลับกัน
มองจากสายตาคนจีนแล้วมองออกไปหาครุกแมน
ประวัติศาสตร์ยิวกับจีนรบกันด้านค้าขายมานานหลายร้อยปี
ครั้งสุดท้ายยิวชนะ
ในอดีตจีนเขาเคยล้มให้กับยิวมาแล้ว
ตั้งแต่เขาค้าขายกับยิวอังกฤษแล้วเป็นมหาอำนาจมาก
ยิวเอาฝิ่นจากอินเดียไปขายคนจีน
จนจีนอ่อนแอ ไม่มีเงินจ่าย สุดท้ายไปรบกับจีน
จีนแพ้จนเสียดินแดนบางส่วน
ทั้งสองชาติเน้นการศึกษา เน้นการบันทึกประวัติศาสตร์
จีนเขายังจำกันได้แน่นอน ว่ายิวเคยทำอะไรกับเขาบ้าง
ยิวอยากให้เข้าล้ม เอาระบบทุนนิยมไปใส่ให้เขา
แล้ววันหนึ่งก็มาบอกว่า ฟองสบู่แล้ว
ผมอยากจะบอกว่า "คนจีนเขาไม่ได้กินหญ้า เขาจำได้แม่นคนยิวเคยทำอะไรกับเขาไว้"
เกมนี้ยิวกินคนจีนไม่ลงหรอก
อีกอย่างครับ ถ้าเอาระบบทุนนิยมมามองจีน
มันก็ผิดหมดเลย
ที่อื่น ประเทศกับเศรษฐกิจมันแยกกันไม่ออก มันคือส่วนเดียวกัน
แต่รัฐบาลจีนกับเศรษฐกิจค้าขายของคนจีนมันคนละส่วนครับ
- Linzhi
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1522
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สัญญาณเตือนจากครุกแมน : เศรษฐกิจจีนกำลังจะล่ม?
โพสต์ที่ 7
อืม เท่าที่คุยกับเพื่อนคนจีนหลาย ๆ คนตอนนี้
ตลาดหุ้น : ตอนนี้แย่มาก ๆๆๆๆๆ ไม่มีใครได้ตังค์เลย เบื่อกันไปหมดแล้ว ไม่มีใครอยากลงทุนหุ้นหรอก
ตลาดอสังหา : เงียบสุด ๆ ค่าเช่าไม่คุ้มเลย ราคาบ้านก็อิ่มตัวแล้ว หลายทำเลราคาลดลงอีกอีก มาตรการรัฐออกมาควบคุมตลอด ซื้อมาแล้วจะขายใครต่อล่ะ
ผมไม่ค่อยรู้สึกว่าแบบนี้เป็นเหมือนฟองสบู่ลูกใหญ่ ๆ เลย ถ้าผมใกล้ตลาดเค้ามากกว่านี้ อยาก bet หุ้นจีนไว้ด้วยซ้ำ
แต่ก็ฟังหูไว้หูครับ
ตลาดหุ้น : ตอนนี้แย่มาก ๆๆๆๆๆ ไม่มีใครได้ตังค์เลย เบื่อกันไปหมดแล้ว ไม่มีใครอยากลงทุนหุ้นหรอก
ตลาดอสังหา : เงียบสุด ๆ ค่าเช่าไม่คุ้มเลย ราคาบ้านก็อิ่มตัวแล้ว หลายทำเลราคาลดลงอีกอีก มาตรการรัฐออกมาควบคุมตลอด ซื้อมาแล้วจะขายใครต่อล่ะ
ผมไม่ค่อยรู้สึกว่าแบบนี้เป็นเหมือนฟองสบู่ลูกใหญ่ ๆ เลย ถ้าผมใกล้ตลาดเค้ามากกว่านี้ อยาก bet หุ้นจีนไว้ด้วยซ้ำ
แต่ก็ฟังหูไว้หูครับ
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
There is no secret ingredient. It's just you.
-
- Verified User
- โพสต์: 89
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สัญญาณเตือนจากครุกแมน : เศรษฐกิจจีนกำลังจะล่ม?
โพสต์ที่ 9
เพื่อนคุณ Linzhi พูดไม่ผิดหรอก จริงๆ รัฐบาลไม่ได้สนับสนุนคนจีนให้เป็นนักลงทุนเท่าไหร่หรอก ผู้รู้บางท่านถึงกับกล่าวเลยว่า ถ้าจะหาเงินจากตลาดหุ้นจีน ควรจะไปลงทุนที่ตลาดหุ้นแคนาดา หรือ ออสเตรเลีย จะดีกว่า ตลาดหุ้นจีนนี่เหมาะกับพวกวงใน แต่ถ้าอยาก bet จริงๆ ผมเดานะ ควรจะให้ president คนใหม่เข้ารับตำแหน่งเต็มตัวก่อน (transition 2012/13) จะดีกว่า เท่าที่รู้ ลูกชายเค้า ค่อนข้างหัวการค้า แบบเดียวกับลูกชายนายก คนปัจจุบันเลยLinzhi เขียน:อืม เท่าที่คุยกับเพื่อนคนจีนหลาย ๆ คนตอนนี้
ตลาดหุ้น : ตอนนี้แย่มาก ๆๆๆๆๆ ไม่มีใครได้ตังค์เลย เบื่อกันไปหมดแล้ว ไม่มีใครอยากลงทุนหุ้นหรอก
ตลาดอสังหา : เงียบสุด ๆ ค่าเช่าไม่คุ้มเลย ราคาบ้านก็อิ่มตัวแล้ว หลายทำเลราคาลดลงอีกอีก มาตรการรัฐออกมาควบคุมตลอด ซื้อมาแล้วจะขายใครต่อล่ะ
ผมไม่ค่อยรู้สึกว่าแบบนี้เป็นเหมือนฟองสบู่ลูกใหญ่ ๆ เลย ถ้าผมใกล้ตลาดเค้ามากกว่านี้ อยาก bet หุ้นจีนไว้ด้วยซ้ำ
แต่ก็ฟังหูไว้หูครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 89
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สัญญาณเตือนจากครุกแมน : เศรษฐกิจจีนกำลังจะล่ม?
โพสต์ที่ 10
อ่านแล้วสดุด เลยอยากเพิ่มเติมให้ต่อ เรื่องเกี่ยวกับยิวhumdrum เขียน:ต้องถามว่าใครทำให้ล้ม คนที่ทำเขาได้อะไร
ประวัติศาสตร์ยิว วิธีคิด วิธีสอนลูก ถูกแปลเป็นภาษาจีนมากมาย และสนับสนุนให้คนจีนได้อ่านโดยเฉพาะนักปกครอง และนักการเงิน ฉะนั้นจีนรู้แน่นอนว่ายิวคิดอะไร และท้ายที่สุดต้องการอะไร แต่ก็อาจจะทำอะไรมากไม่ได้นัก เพราะเกมนี้ยิววางหมากไว้นานแล้วเป็นพันปี (แต่เริ่มเป็นรูปเป็นร่างเร็วขึ้นตั้งแต่วิทยาศาสตร์ และการเงินก้าวหน้า) สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ถูกสอดแทรกในพระคัมภีย์ของศาสนายิว (Talmud) -- คนญี่ปุ่นแปลเป็นหนังสือ(เจ็บใจที่เสียท่ายิว?) และคนจีนแปลต่อมาอีกที บทสุดท้ายของหนังสือต้องการบอกทางรอดจากยิว ผมได้ยินจากที่ภรรยาแปลให้ฟังหลายปีก่อนแล้วขนลุกเลยครับ เพราะทางรอดคือ ”อยู่อย่างพอเพียง“
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สัญญาณเตือนจากครุกแมน : เศรษฐกิจจีนกำลังจะล่ม?
โพสต์ที่ 11
ผมขอถามเรื่องหนึ่งครับ ไม่เกี่ยวกับจีน แต่เรื่องยิว
ได้ยินได้ฟังมาเยอะ แต่ไม่รู้จริงซักที พยายามหาอ่าน แต่ก็ไม่ทราบ
คือที่มีคนบอกว่ายิวเก่งเรื่องการเงิน มีจำนวนมากจนเป็นสัญลักษณ์ไปเลย
ส่วนใหญ่ บอกว่าพิสูจน์ได้ โดยคนดังในวงการเงิน การคลัง โดยเฉพาะอเมริกา รมต. คลังเก่งๆ สารพัดยิว พ่อมดการเงินเบอร์ 1 อย่างโซรอสก็ยิว
ล่าสุด แสบทรวงจริงๆ หนุ่มยิวรายหนึ่ง เปลี่ยนชื่อเป็นมาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก เอามาทำมาหากิน ด้วยการขาย like
1. มีอะไรที่เป็นสิ่งเกิ้อหนุนหรือเปล่าครับ เช่น ภูมิภาคเอื้ออำนวย หรือสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติบีบบังคับ ให้ต้องเก่งทางนี้
2. แล้วมีระเบียบแบบแผนอะไรหรือไม่ เขาส่งถ่ายความรู้หรือความสามารถพวกนี้จากรุ่นสู่รุ่นอย่างไร
3. หรือว่าไม่เป็นความจริง แค่เรื่องบังเอิญประจวบเหมาะพอดี คนเลยเหมารวม ว่ายิวเก่งทางนี้ไปหมด
ได้ยินได้ฟังมาเยอะ แต่ไม่รู้จริงซักที พยายามหาอ่าน แต่ก็ไม่ทราบ
คือที่มีคนบอกว่ายิวเก่งเรื่องการเงิน มีจำนวนมากจนเป็นสัญลักษณ์ไปเลย
ส่วนใหญ่ บอกว่าพิสูจน์ได้ โดยคนดังในวงการเงิน การคลัง โดยเฉพาะอเมริกา รมต. คลังเก่งๆ สารพัดยิว พ่อมดการเงินเบอร์ 1 อย่างโซรอสก็ยิว
ล่าสุด แสบทรวงจริงๆ หนุ่มยิวรายหนึ่ง เปลี่ยนชื่อเป็นมาร์ค ซักเกอร์เบิร์ก เอามาทำมาหากิน ด้วยการขาย like
1. มีอะไรที่เป็นสิ่งเกิ้อหนุนหรือเปล่าครับ เช่น ภูมิภาคเอื้ออำนวย หรือสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติบีบบังคับ ให้ต้องเก่งทางนี้
2. แล้วมีระเบียบแบบแผนอะไรหรือไม่ เขาส่งถ่ายความรู้หรือความสามารถพวกนี้จากรุ่นสู่รุ่นอย่างไร
3. หรือว่าไม่เป็นความจริง แค่เรื่องบังเอิญประจวบเหมาะพอดี คนเลยเหมารวม ว่ายิวเก่งทางนี้ไปหมด
-
- Verified User
- โพสต์: 89
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สัญญาณเตือนจากครุกแมน : เศรษฐกิจจีนกำลังจะล่ม?
โพสต์ที่ 12
ยิวเก่งเรื่องเงิน เพราะเขาเป็นผู้สร้างระบบขึ้นมาไงครับ และเริ่มจากผิดกฏหมายและขัดแย้งต่อศาสนา จนตอนนี้ ... แนะนำว่างๆอ่านเอาสนุกๆ The Ascent of Money: A Financial History of the World. Ferguson, Niall (2008).
-
- Verified User
- โพสต์: 534
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สัญญาณเตือนจากครุกแมน : เศรษฐกิจจีนกำลังจะล่ม?
โพสต์ที่ 14
พี่ Chaoyang นี่ ความรู้เยอะจริงๆครับChaoyang เขียน:ยิวเก่งเรื่องเงิน เพราะเขาเป็นผู้สร้างระบบขึ้นมาไงครับ และเริ่มจากผิดกฏหมายและขัดแย้งต่อศาสนา จนตอนนี้ ... แนะนำว่างๆอ่านเอาสนุกๆ The Ascent of Money: A Financial History of the World. Ferguson, Niall (2008).
ผมเคยดู The Ascent of Money ปีที่แล้ว เพราะมีฝรั่งแนะนำมาครับ Neil Ferguson ทำเป็น สารคดี ดูเต็มๆได้ที่นี่เลย ผมเคยมี Link ไป Youtube มีอีกตอน 3 ชั่วโมง อันนี้ 2 ชม. ไม่รู้เต็มรึเปล่านะครับ
http://www.pbs.org/wnet/ascentofmoney/f ... -money/24/
- Renne
- Verified User
- โพสต์: 322
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สัญญาณเตือนจากครุกแมน : เศรษฐกิจจีนกำลังจะล่ม?
โพสต์ที่ 15
รบกวนข้อหน้าปกหนังสือ หรือรหัสหนังสือได้ไหมครับ หนังสือน่าสนใจอ่านมากเลย หรือไม่ก็คุณ Chaoyang พอจะทราบแหล่งขายหรือเปล่าครับ อยากหาลองมาอ่านศึกษา ขอบคุณมากครับ (ขนาดผมชอบสะสมอ่านหนังสือแล้ว ไม่รู้เล่มนี้หลุดตามาได้ยังไงเหมือนกัน ถ้าเห็นคงไม่พลาดแน่ๆ)Chaoyang เขียน:อ่านแล้วสดุด เลยอยากเพิ่มเติมให้ต่อ เรื่องเกี่ยวกับยิวhumdrum เขียน:ต้องถามว่าใครทำให้ล้ม คนที่ทำเขาได้อะไร
ประวัติศาสตร์ยิว วิธีคิด วิธีสอนลูก ถูกแปลเป็นภาษาจีนมากมาย และสนับสนุนให้คนจีนได้อ่านโดยเฉพาะนักปกครอง และนักการเงิน ฉะนั้นจีนรู้แน่นอนว่ายิวคิดอะไร และท้ายที่สุดต้องการอะไร แต่ก็อาจจะทำอะไรมากไม่ได้นัก เพราะเกมนี้ยิววางหมากไว้นานแล้วเป็นพันปี (แต่เริ่มเป็นรูปเป็นร่างเร็วขึ้นตั้งแต่วิทยาศาสตร์ และการเงินก้าวหน้า) สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ถูกสอดแทรกในพระคัมภีย์ของศาสนายิว (Talmud) -- คนญี่ปุ่นแปลเป็นหนังสือ(เจ็บใจที่เสียท่ายิว?) และคนจีนแปลต่อมาอีกที บทสุดท้ายของหนังสือต้องการบอกทางรอดจากยิว ผมได้ยินจากที่ภรรยาแปลให้ฟังหลายปีก่อนแล้วขนลุกเลยครับ เพราะทางรอดคือ ”อยู่อย่างพอเพียง“
"มีสติ คิดก่อนทำ และอย่าดูถูกตลาดมากเกินไป"
"เป็นเรื่องง่ายที่จะถือหุ้นเอาไว้ให้นานและี่ยากที่จะรอซื้อในราคาที่เหมาะสม"
"เป็นเรื่องง่ายที่จะถือหุ้นเอาไว้ให้นานและี่ยากที่จะรอซื้อในราคาที่เหมาะสม"
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สัญญาณเตือนจากครุกแมน : เศรษฐกิจจีนกำลังจะล่ม?
โพสต์ที่ 16
เล่มข้างบน ผมไม่ทราบครับ
แต่ความรู้เรื่อง "ยิว" โดยอาจารย์คึกฤทธิ์ เป้นเล่มที่ดีที่สุดในความคิดผม
อ่านแล้ว อย่าลืมไป invert ด้วยนะครับ
ไปอ่านอีกหลายเล่มที่เขียนเกี่ยวกับคนยิวโดยคนมุสลิมครับ
จะได้มุมมอง balance ทั้งสองด้านครับ
แต่ความรู้เรื่อง "ยิว" โดยอาจารย์คึกฤทธิ์ เป้นเล่มที่ดีที่สุดในความคิดผม
อ่านแล้ว อย่าลืมไป invert ด้วยนะครับ
ไปอ่านอีกหลายเล่มที่เขียนเกี่ยวกับคนยิวโดยคนมุสลิมครับ
จะได้มุมมอง balance ทั้งสองด้านครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 89
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สัญญาณเตือนจากครุกแมน : เศรษฐกิจจีนกำลังจะล่ม?
โพสต์ที่ 17
หนังสือชื่อ 世界金融都是罗斯柴尔德设计的 มีขายใน amazon.cn ผมหาหนังสือที่แปรเป็นภาษาอังกฤษไม่ได้ ถ้ามีก็ถูกเขียนโดยคนที่สนับสนุนยิวเช่น Ferguson, Niall. ของอาจารย์คึกฤทธิ์ ผมไม่เคยอ่านเลย อยากให้คุณ humdrum ช่วยแนะนำหน่อยนะครับ ผมอยากอ่านหลายๆมุมมองเช่นกัน อยากรู้ว่า อาจารย์คึกฤทธิ์ มองยังไง แต่ผมเดาไม่ยากRenne เขียน:รบกวนข้อหน้าปกหนังสือ หรือรหัสหนังสือได้ไหมครับ หนังสือน่าสนใจอ่านมากเลย หรือไม่ก็คุณ Chaoyang พอจะทราบแหล่งขายหรือเปล่าครับ อยากหาลองมาอ่านศึกษา ขอบคุณมากครับ (ขนาดผมชอบสะสมอ่านหนังสือแล้ว ไม่รู้เล่มนี้หลุดตามาได้ยังไงเหมือนกัน ถ้าเห็นคงไม่พลาดแน่ๆ)
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สัญญาณเตือนจากครุกแมน : เศรษฐกิจจีนกำลังจะล่ม?
โพสต์ที่ 18
หามาจนได้
ไฟล์ epub สำหรับคนใช้ e-reader ขนาดแค่ 4GB ใครไม่ได้ใช้ e-reader แต่ใช้ Firefox ไป download add-on อ่าน e-pub ได้
https://addons.mozilla.org/en-US/firefo ... pubreader/
ถ้าจะใช้ไฟล์ pdf แต่กินพื้นที่กว่าราว 2 เท่า
ไฟล์ epub สำหรับคนใช้ e-reader ขนาดแค่ 4GB ใครไม่ได้ใช้ e-reader แต่ใช้ Firefox ไป download add-on อ่าน e-pub ได้
https://addons.mozilla.org/en-US/firefo ... pubreader/
ถ้าจะใช้ไฟล์ pdf แต่กินพื้นที่กว่าราว 2 เท่า
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สัญญาณเตือนจากครุกแมน : เศรษฐกิจจีนกำลังจะล่ม?
โพสต์ที่ 19
เล่มนี้ น่าสน
แนบไฟล์
- Rothschild.Money.Trust.rar
- (1.08 MiB) ดาวน์โหลด 84 ครั้ง
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สัญญาณเตือนจากครุกแมน : เศรษฐกิจจีนกำลังจะล่ม?
โพสต์ที่ 21
เพิ่งรู้นะเนี่ยะ ว่า Henry Ford
เจ้าของผู้ก่อตั้ง ฟอร์ด มอเตอร์ สนใจยิวเป็นพิเศษ จนถึงขั้นเขียนหนังสือที่มีความหนาเกือบ 500 หน้า
ดูชื่อหนังสือ เป็น Negative แน่ๆ
The International Jew
The World's Foremost Problem
เจ้าของผู้ก่อตั้ง ฟอร์ด มอเตอร์ สนใจยิวเป็นพิเศษ จนถึงขั้นเขียนหนังสือที่มีความหนาเกือบ 500 หน้า
ดูชื่อหนังสือ เป็น Negative แน่ๆ
The International Jew
The World's Foremost Problem
แนบไฟล์
- International_Jew.rar
- (1.45 MiB) ดาวน์โหลด 330 ครั้ง
-
- Verified User
- โพสต์: 1961
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สัญญาณเตือนจากครุกแมน : เศรษฐกิจจีนกำลังจะล่ม?
โพสต์ที่ 22
คนยิวก็เก่ง คนจีนก็เก่ง
คนพุทธบางท่านก็เก่งกว่าคนยิวและจีนรวมกันซะอีก
คนยิวก็มีข้อดี
เอาของดีเขามา แต่อย่าไปยึดติดให้มาก
ปรับมาใช้ตรงกับนิสัยคนไทย
คนไทยก็เก่งแล้ว ถ้าไม่ยึดติดในพุทธรูปกันมากเกินไป
สมัยก่อนพระพุทธเจ้าก็ไม่มีรูปปั้น มามีตอนยิวมากับกรีกมาบุกที่อินเดีย
คนยิวกลัวคนพุทธมาก
ยิวเป้นที่ปรึกษาให้กษัตริ์มิลินท่านสร้างพระพุทธรูปขึ้นมา
ให้คนพุทธได้ยึดติดเอาไว้ คนยิวเขาวางกับดักเอาไว้
นี่คนพุทธก็โดนคนยิววางยาไว้เหมือนกัน
และแพ้ทางเขาให้เรายึดติดในพระพุทธรุปจนมาถึงทุกวันนี้
ข้อดียิว คนยิวเขาเอาแต่คำสอน เขาไม่ยึดติดในรูปปั้นต่างๆ
วัดของเขาเลยอยู๋ที่ไหนก็ได้ คนยิวไปไหนที่นั่นก็กลายเป็นวัด
ความศัทธาต่อพระเจ้าของเขามั่นคงมาก
ตอนผมไปคุยกับแรบไบหรือพระยิวเพื่อเปลี่ยนศาสนาเป็นยิว
พระยิวบอกว่าผมเปลี่ยนได้ แต่จะเป็นต้นไม้ที่ไม่มีราก
ผมเป้นยิวที่ mind อย่างเดียว แต่ไม่ใช่เป้นยิวที่ heart
พระยิวเขาพูดแล้วเราก็เข้าใจ
เราเป็นแบบเขาไมได้ เพราะพวกเขาเกิดและโตมากับ tradition ที่ฝังรากลึกมาเป็นพันปี
คนจีนก็มี tradition ในเมืองไทยใครโตมาแหล่งคนจีนก็จะเห็น
tradition สร้างคนให้เป้นต้นไม้ที่มีรากแก้ว
คนไทยมีรากแก้วแบบยิวไมได้
แต่คนไทยมีรากแก้วแบบคนไทยได้
เราโชคดีที่สุดแล้ว tradition ของเราก็งดงามและอ่อนโยนอย่างมาก
เป็นจุดขายที่คนยิวไม่มี
หนังสือของท่านคึกฤทธิ์แจ่มแล้วครับ
ท่านเรียนมาโดยตรงสมัยเรียน Oxford
แล้วท่านเรียนเป้นภาษาลาตินด้วย
ภาษาที่ใช้ยาวนานมาเป้นพันปีตั้งแต่สมัยยิวโบราณทีเดียว
เนื้อหาจึงลึกมากกว่าหนังสือของฝรั่งซะอีกครับ
คนพุทธบางท่านก็เก่งกว่าคนยิวและจีนรวมกันซะอีก
คนยิวก็มีข้อดี
เอาของดีเขามา แต่อย่าไปยึดติดให้มาก
ปรับมาใช้ตรงกับนิสัยคนไทย
คนไทยก็เก่งแล้ว ถ้าไม่ยึดติดในพุทธรูปกันมากเกินไป
สมัยก่อนพระพุทธเจ้าก็ไม่มีรูปปั้น มามีตอนยิวมากับกรีกมาบุกที่อินเดีย
คนยิวกลัวคนพุทธมาก
ยิวเป้นที่ปรึกษาให้กษัตริ์มิลินท่านสร้างพระพุทธรูปขึ้นมา
ให้คนพุทธได้ยึดติดเอาไว้ คนยิวเขาวางกับดักเอาไว้
นี่คนพุทธก็โดนคนยิววางยาไว้เหมือนกัน
และแพ้ทางเขาให้เรายึดติดในพระพุทธรุปจนมาถึงทุกวันนี้
ข้อดียิว คนยิวเขาเอาแต่คำสอน เขาไม่ยึดติดในรูปปั้นต่างๆ
วัดของเขาเลยอยู๋ที่ไหนก็ได้ คนยิวไปไหนที่นั่นก็กลายเป็นวัด
ความศัทธาต่อพระเจ้าของเขามั่นคงมาก
ตอนผมไปคุยกับแรบไบหรือพระยิวเพื่อเปลี่ยนศาสนาเป็นยิว
พระยิวบอกว่าผมเปลี่ยนได้ แต่จะเป็นต้นไม้ที่ไม่มีราก
ผมเป้นยิวที่ mind อย่างเดียว แต่ไม่ใช่เป้นยิวที่ heart
พระยิวเขาพูดแล้วเราก็เข้าใจ
เราเป็นแบบเขาไมได้ เพราะพวกเขาเกิดและโตมากับ tradition ที่ฝังรากลึกมาเป็นพันปี
คนจีนก็มี tradition ในเมืองไทยใครโตมาแหล่งคนจีนก็จะเห็น
tradition สร้างคนให้เป้นต้นไม้ที่มีรากแก้ว
คนไทยมีรากแก้วแบบยิวไมได้
แต่คนไทยมีรากแก้วแบบคนไทยได้
เราโชคดีที่สุดแล้ว tradition ของเราก็งดงามและอ่อนโยนอย่างมาก
เป็นจุดขายที่คนยิวไม่มี
หนังสือของท่านคึกฤทธิ์แจ่มแล้วครับ
ท่านเรียนมาโดยตรงสมัยเรียน Oxford
แล้วท่านเรียนเป้นภาษาลาตินด้วย
ภาษาที่ใช้ยาวนานมาเป้นพันปีตั้งแต่สมัยยิวโบราณทีเดียว
เนื้อหาจึงลึกมากกว่าหนังสือของฝรั่งซะอีกครับ
- Renne
- Verified User
- โพสต์: 322
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สัญญาณเตือนจากครุกแมน : เศรษฐกิจจีนกำลังจะล่ม?
โพสต์ที่ 25
ขอบคุณพี่ Chaoyang Ii'8N humdrum และทุกๆคน สำหรับความรู้ที่มีประโยชน์มากครับ
"มีสติ คิดก่อนทำ และอย่าดูถูกตลาดมากเกินไป"
"เป็นเรื่องง่ายที่จะถือหุ้นเอาไว้ให้นานและี่ยากที่จะรอซื้อในราคาที่เหมาะสม"
"เป็นเรื่องง่ายที่จะถือหุ้นเอาไว้ให้นานและี่ยากที่จะรอซื้อในราคาที่เหมาะสม"
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สัญญาณเตือนจากครุกแมน : เศรษฐกิจจีนกำลังจะล่ม?
โพสต์ที่ 26
เอ...เปรียบเทียบดูชื่อหนังสือแล้ว ผมไปเจออีกเล่ม เนื้อหามันจะใกล้เคียงเล่มนี้รึเปล่าครับChaoyang เขียน:หนังสือชื่อ 世界金融都是罗斯柴尔德设计的 มีขายใน amazon.cn ผมหาหนังสือที่แปรเป็นภาษาอังกฤษไม่ได้ ถ้ามีก็ถูกเขียนโดยคนที่สนับสนุนยิวเช่น Ferguson, Niall. ของอาจารย์คึกฤทธิ์ ผมไม่เคยอ่านเลย อยากให้คุณ humdrum ช่วยแนะนำหน่อยนะครับ ผมอยากอ่านหลายๆมุมมองเช่นกัน อยากรู้ว่า อาจารย์คึกฤทธิ์ มองยังไง แต่ผมเดาไม่ยากRenne เขียน:รบกวนข้อหน้าปกหนังสือ หรือรหัสหนังสือได้ไหมครับ หนังสือน่าสนใจอ่านมากเลย หรือไม่ก็คุณ Chaoyang พอจะทราบแหล่งขายหรือเปล่าครับ อยากหาลองมาอ่านศึกษา ขอบคุณมากครับ (ขนาดผมชอบสะสมอ่านหนังสือแล้ว ไม่รู้เล่มนี้หลุดตามาได้ยังไงเหมือนกัน ถ้าเห็นคงไม่พลาดแน่ๆ)
download จาก net ธรรมดา
แนบไฟล์
- The World Order - A study in hegemony of parasitism.rar
- (1.22 MiB) ดาวน์โหลด 55 ครั้ง