สัญญาณเตือนจากครุกแมน : เศรษฐกิจจีนกำลังจะล่ม?
-
- Verified User
- โพสต์: 535
- ผู้ติดตาม: 1
สัญญาณเตือนจากครุกแมน : เศรษฐกิจจีนกำลังจะล่ม?
โพสต์ที่ 1
โดย ดำรง ลีนานุรักษ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
(ที่มา : มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 5 ม.ค.2555)
พอล ครุกแมน ศาสตราจารย์ นักเศรษฐ ศาสตร์ รางวัลโนเบล ปี 2550 และคอลัมนิสต์ประจำหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ เพิ่งเขียนบทความส่งสัญญาณเตือนว่า ทุกวันนี้ทั้งโลกกำลังจุกอกกันอยู่จากวิกฤตเศรษฐกิจที่เริ่มจากสหรัฐอเมริกา และที่กำลังแผ่สะเทือนไปทั้งโลกจากกลุ่มประชาคมยุโรปหรืออียู โลกเราไม่ได้ต้องการศูนย์กลางวิกฤตเศรษฐกิจตัวใหม่ที่จะส่งผลสะท้านสะเทือนโลกเพิ่มขึ้นอีกเลย แต่เราน่าจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วย ภาวะฟองสบู่อสังหาฯในเมืองจีนได้เริ่มแตกแล้ว (http://www.nytimes.com/2011/12/19/ opinion/krugman-will-china-break.html?src= me&ref=general)
พอลว่า ให้ลองพิจารณาภาพต่อไปนี้ : การเจริญทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ ขึ้นอยู่กับการบูมของสิ่งก่อสร้างขนาดยักษ์ใหญ่ๆ ที่ถูกกระตุ้นโดยการพุ่งสูงขึ้นของราคาอสังหาฯ ร่วมกับสัญญาณที่คลาสสิกของฟองสบู่
นั่นคือ การเพิ่มขยายตัวอย่างสูงในการปล่อยสินเชื่อ โดยที่สินเชื่อส่วนใหญ่เหล่านั้นไม่ได้ถูกปล่อยจากระบบธนาคารที่เป็นสากล แต่กลับถูกปล่อยจากระบบธนาคารเงา (shadow banking) ที่ไม่ได้ถูกควบคุมกำกับ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลหรือมีการประกันหนุนหลังโดยรัฐบาล ขณะนี้ฟองสบู่กำลังแตก และเป็นเรื่องที่น่าหวาดวิตกต่อการเกิดวิกฤตทางการเงินและเศรษฐกิจ
ภาพข้างบนดูแล้วอย่างกับว่ากำลังอธิบายปรากฏการณ์ฟองสบู่แตกในปลายปี 2523 ที่ญี่ปุ่น หรือไม่ก็ที่อเมริกา เมื่อปี 2550 แต่สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้นกำลังเกิดขึ้นที่จีน และกำลังก่อตัวขึ้นเป็นจุดอันตรายจุดใหม่ในเศรษฐกิจโลก
เขาออกตัวว่าเขาลังเลอยู่เหมือนกันที่จะให้น้ำหนักกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในจีน ส่วนหนึ่งเป็น เพราะว่า มันยากที่จะรู้ว่าจริงๆ แล้วอะไรที่เกิดขึ้นอยู่ในประเทศจีน ด้วยข้อมูลสถิติทางด้านเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ดูแล้วน่าเบื่อแบบนิยายวิทยาศาสตร์ แต่ตัวเลขของจีนกลับแปร่งๆ แบบนิยายกว่าเขาหมด เขาเคยลองปรึกษาเรื่องนี้กับผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐศาสตร์จีน พบว่าผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนไม่เคยอธิบายผลออกมาในทางเดียวกันเลย แม้ว่าข้อมูลที่เป็นทางการของจีนจะมีปัญหาอยู่ แต่ข่าวสารที่มีอยู่ในปัจจุบันก็รุนแรงเพียงพอที่จะต้องตีระฆังเตือนกัน
สิ่งที่เด่นชัดเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาคือ เรื่องของอัตราการบริโภคในครัวเรือนที่สูงขึ้น แต่อยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวม
ในเรื่องนี้พบว่าการใช้จ่ายในครัวเรือนอยู่ที่เพียง 35 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งต่ำกว่าสัดส่วนเดียวกันนี้ของอเมริกาอยู่ครึ่งหนึ่ง
อเมริกาคือผู้ซื้อรายใหญ่ของสินค้าและบริการที่ผลิตจากจีน แต่กำลังซื้อได้หดลงเพราะวิกฤตการณ์ทางการเงิน จีนยิ่งต้องผลักดันการส่งออกให้มากขึ้น เพื่อรักษาให้ภาคอุตสาหกรรมอยู่รอด แต่เรื่องที่ใหญ่กว่าเรื่องนี้ของจีนอยู่ที่การใช้จ่ายเพื่อการลงทุน ซึ่งได้พุ่งทะยานขึ้นสูงเกือบครึ่งหนึ่งของ GDP
คำถามที่เกิดขึ้นคือ ในขณะที่ความต้องการหรืออุปสงค์เพื่อการบริโภคค่อนข้างต่ำ อะไรที่จูงใจให้มีการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนที่สูงมากๆ นั้น
คำตอบที่ชัดๆ คือ มันสืบเนื่องจากภาวะฟองสบู่ของอสังหาฯที่สั่งสมมานาน
การลงทุนในภาคอสังหาฯได้เพิ่มขึ้นประมาณหนึ่งเท่าตัวในสัดส่วนของ GDP ตั้งแต่ปี 2543 หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของการลงทุนรวมทั้งหมดที่เพิ่มขึ้น และเป็นที่มั่นใจได้ว่าการลงทุนในภาคอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นนั้น เป็นการลงทุนในการขยายกิจการร้านค้าที่ทำธุรกรรมกับกลุ่มอุตสาหกรรมการก่อสร้าง
แล้วเรารู้จริงๆ หรือว่าเกิดภาวะฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาฯ ในจีน?
เขาว่า พบว่าสัญญาณต่างๆ มันแสดงออกอย่างนั้น : ไม่ใช่แค่ราคาพุ่งสูงขึ้น แต่บรรยากาศเต็มไปด้วยการปั่นการเก็งกำไรที่คุ้นๆ กันอยู่ในอเมริกาก่อนหน้านี้ เช่นแถบชายฝั่งฟลอริดา
ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่เหมือนกับกำลังเดินคู่อยู่ในแนวทางเดียวกับประสบการณ์ของอเมริกา : เมื่อการให้สินเชื่อบูม สินเชื่อส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากธนาคาร แต่จะมาจากการปล่อยสินเชื่ออย่างขาดการให้คำแนะนำที่ดี จากระบบธนาคารเงาที่ผู้กู้ไม่ได้รับความคุ้มครอง จริงอยู่ที่จะมีความแตกต่างอย่างมากในรายละเอียด : ธนาคารเงาหรือ shadow banking ในสไตล์แบบอเมริกามักปล่อยกู้กับบริษัทใหญ่ๆ ดังๆ แถบวอลสตรีตและกลุ่มธุรกรรมทางการเงินที่ซับซ้อน
ในขณะที่เวอร์ชั่นของจีนมีแนวโน้มที่จะผ่านไปทางธนาคารหรือสถาบันทางการเงินใต้ดินและแม้แต่โรงจำนำ แต่แน่นอนว่า ผลเบื้องปลายของมันไม่ต่างกัน ในจีนจะเจอเหมือนอเมริกาเมื่อหลายปีก่อน ระบบการเงินอาจจะเลวร้ายรุนแรงมากกว่าตัวเลขความเสียหายที่จะถูกเปิดเผยโดยธนาคาร
พอล ครุกแมน กล่าวว่า ขณะนี้ถือว่าได้เห็นการแตกของฟองสบู่แล้ว มันจะทำความเสียหายให้แก่เศรษฐกิจจีนและโลกเพียงใด?
บางคนอาจจะกล่าวว่า ไม่ต้องห่วงหรอก จีนมีผู้นำประเทศที่เข้มแข็งและฉลาด ที่จะทำทุกอย่าง เพื่อสกัดการไหลเลื่อนลงเหวของเศรษฐกิจ และเขาจะทำได้ทุกอย่างโดยไม่ต้องห่วงเรื่องละเมิดประชาธิปไตย
พอลว่า ฟังแล้วเหมือนการสัญญารับรองสุดท้าย ที่คุ้นๆ ที่เขาจำได้เมื่อวิกฤตของญี่ปุ่นช่วง 3 ทศวรรษก่อน เมื่อเจ้าหน้าที่ที่เก่งๆ ของกระทรวงการคลัง ที่ทุกคนเชื่อว่าแก้ไขปัญหาทุกอย่างในตอนนั้นได้อย่างดี แต่ต่อมาก็พบว่าล้มเหลวและเป็นการรับรองที่ทำให้ญี่ปุ่นเกิดภาวะเศรษฐกิจชะงักงันไปร่วมทศวรรษ คำรับรองแบบที่อเมริกาไม่ควรตามและผิดซ้ำ
แต่ปรากฏว่าพอถึงทีของอเมริกากลับทำได้ห่วยแตกกว่าที่ญี่ปุ่นทำเสียอีก
ในวันเดียวกันกับการตีพิมพ์บทความเรื่องนี้ของพอล ครุกแมน นิตยสาร Forbes ได้ตีพิมพ์บทความของ Gordon G, Chang เรื่อง The No.1 Problem of the Chinese Economy (http://www.forbes.com/sites/gordonchang/ 2011/12/18/the-no-1-problem-of-the-chinese-economy/) ได้ให้ข้อมูลจากการประชุมระดับนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศ (China′s Central Economic Work Conference) ที่ปักกิ่งในวันพุธที่ 14 ธ.ค.ที่ผ่านมานี้ การประชุมครั้งนี้ มีความสำคัญด้วยเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายก่อนการประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 18 ใน ปีหน้า
ข้อสรุปจากที่ประชุมดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลจีนยังดำเนินการทุกอย่างให้เดินไปตามปกติ หรือ Business as usual โดยเป้าหมายทางเศรษฐกิจของปีหน้าจีนจะ "ดำเนินการให้ก้าวหน้าต่อไป ในขณะที่จะรักษาเสถียรภาพ" เสถียรภาพตามที่ประกาศจากที่ประชุมหมายถึง "ยังคงรักษานโยบายเศรษฐศาสตร์มหภาคตามที่ดำเนินมา เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างสัมพัทธ์ ดัชนีผู้บริโภคที่คงตัว และมีความสงบในสังคม" Chang กล่าวว่า ปฏิญญาที่ประกาศออกมาชี้ให้เห็นว่า เป็นการส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากกว่าปีที่ผ่านมา นักวิเคราะห์ทั้งหลายส่วนใหญ่ไม่สนใจคำประกาศ แต่บอกให้เน้นดูว่ารัฐบาลจีนจะทำอะไรจริงๆ มากกว่า
โดยข้อเท็จจริงรัฐบาลจีนกำลังจะเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจ ในช่วงเดือน พ.ย.ที่ผ่านมารัฐบาล โดยธนาคารกลางได้ผ่อนคลายมาตรการเรื่องสัดส่วนทุนสำรองของธนาคารเพื่อการสหกรณ์ลง 20 ธนาคาร ตามมาด้วยการผ่อนคลายมาตรการนี้ให้แก่ธนาคารทั้งใหญ่และเล็กอย่างครบถ้วน การปล่อยสินเชื่อของธนาคารจึงเพิ่มสูงขึ้นในเดือน พ.ย. สูงกว่าการประมาณการที่เคยตั้งไว้
Chang ตั้งคำถามว่า "ควรหรือไม่ที่นโยบายเหล่านี้จะต้องเปลี่ยนทิศทาง?"
จริงอยู่เศรษฐกิจจีนที่ขยายตัวอย่างแรงเมื่อต้นปี ได้ลดความร้อนแรงลงมาเหลือแค่ตัวเลขหลักเดียว หรือหดตัวเสียด้วยซ้ำไป ทุกวันนี้ไม่มีอะไรในจีน ที่เดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง ไม่ว่าการส่งออก การบริโภคภายในประเทศ คำสั่งซื้อสินค้า หรือราคาอสังหาฯ
และปัญหาเหล่านี้จะเพิ่มความเลวร้ายมากขึ้น ใน ขณะที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังวิ่งเข้าสู่สภาพทุพพลภาพ
ความน่าเป็นห่วงต่อเศรษฐกิจจีนว่าจะล่มตามข้อเขียนของพอล ครุกแมน ดูท่าเราท่าน นักอะไรทั้งหลายคงต้องโฟกัสกัน การวางนโยบายเดินหน้ารักษาฟองสบู่ที่เป่งเต่งจะแตกปุ๊ป๊ะของจีน เสมือนยืนยันประกันว่า ทุกอย่างอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลอย่างดีแบบ บ่ๆ มีหยังดอก มังกรจีนเรามีความโดดเด่นไม่เหมือนเขา ฟองสบู่ของจีนแตกไม่เป็นว่านั้นเถอะ
ปีหน้าปีมะโรง ปีงูใหญ่ มันจะยิ่งไปเสริมความหลงของเล่ามังกรจีนว่าเป็นปีแห่งความเจริญรุ่งเรือง แบบมังกรทองสะท้านฟ้า เราท่านก็เตรียมตัวกันให้ดีเถอะครับ ปีหน้ามีคนคาดคะเนไว้ว่า ทั้งเศรษฐกิจโลกล่ม ทั้งสภาวะอากาศวิปริต และเมืองไทยเราเขาว่าน้ำจะท่วมใหญ่กว่าปีนี้อีก
การเตรียมพร้อมมีแผนรองรับความไม่แน่นอนที่เลวร้ายจากการคาดคะเนหรือพยากรณ์ (Forcast, ไม่ใช่ดูหมอเอา) อย่างสงบ ไม่วุ่นวายใจ และไม่กลัว ภายใต้ความเป็นจริงของข้อมูลที่มีอยู่ ถ้าเหตุร้ายเกิดขึ้นตามการคาดคะเนจริง ก็จะได้ผ่อนหนักเป็นเบา เขาเรียกว่ามีวิชั่นหรือมีวิสัยทัศน์ แต่ถ้าเตรียมการแล้วเหตุร้ายไม่เกิด ทางพระเรียกว่าตั้งอยู่ในความไม่ประมาทครับ
(ที่มา : มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 5 ม.ค.2555)
พอล ครุกแมน ศาสตราจารย์ นักเศรษฐ ศาสตร์ รางวัลโนเบล ปี 2550 และคอลัมนิสต์ประจำหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ เพิ่งเขียนบทความส่งสัญญาณเตือนว่า ทุกวันนี้ทั้งโลกกำลังจุกอกกันอยู่จากวิกฤตเศรษฐกิจที่เริ่มจากสหรัฐอเมริกา และที่กำลังแผ่สะเทือนไปทั้งโลกจากกลุ่มประชาคมยุโรปหรืออียู โลกเราไม่ได้ต้องการศูนย์กลางวิกฤตเศรษฐกิจตัวใหม่ที่จะส่งผลสะท้านสะเทือนโลกเพิ่มขึ้นอีกเลย แต่เราน่าจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วย ภาวะฟองสบู่อสังหาฯในเมืองจีนได้เริ่มแตกแล้ว (http://www.nytimes.com/2011/12/19/ opinion/krugman-will-china-break.html?src= me&ref=general)
พอลว่า ให้ลองพิจารณาภาพต่อไปนี้ : การเจริญทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ ขึ้นอยู่กับการบูมของสิ่งก่อสร้างขนาดยักษ์ใหญ่ๆ ที่ถูกกระตุ้นโดยการพุ่งสูงขึ้นของราคาอสังหาฯ ร่วมกับสัญญาณที่คลาสสิกของฟองสบู่
นั่นคือ การเพิ่มขยายตัวอย่างสูงในการปล่อยสินเชื่อ โดยที่สินเชื่อส่วนใหญ่เหล่านั้นไม่ได้ถูกปล่อยจากระบบธนาคารที่เป็นสากล แต่กลับถูกปล่อยจากระบบธนาคารเงา (shadow banking) ที่ไม่ได้ถูกควบคุมกำกับ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลหรือมีการประกันหนุนหลังโดยรัฐบาล ขณะนี้ฟองสบู่กำลังแตก และเป็นเรื่องที่น่าหวาดวิตกต่อการเกิดวิกฤตทางการเงินและเศรษฐกิจ
ภาพข้างบนดูแล้วอย่างกับว่ากำลังอธิบายปรากฏการณ์ฟองสบู่แตกในปลายปี 2523 ที่ญี่ปุ่น หรือไม่ก็ที่อเมริกา เมื่อปี 2550 แต่สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้นกำลังเกิดขึ้นที่จีน และกำลังก่อตัวขึ้นเป็นจุดอันตรายจุดใหม่ในเศรษฐกิจโลก
เขาออกตัวว่าเขาลังเลอยู่เหมือนกันที่จะให้น้ำหนักกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในจีน ส่วนหนึ่งเป็น เพราะว่า มันยากที่จะรู้ว่าจริงๆ แล้วอะไรที่เกิดขึ้นอยู่ในประเทศจีน ด้วยข้อมูลสถิติทางด้านเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ดูแล้วน่าเบื่อแบบนิยายวิทยาศาสตร์ แต่ตัวเลขของจีนกลับแปร่งๆ แบบนิยายกว่าเขาหมด เขาเคยลองปรึกษาเรื่องนี้กับผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐศาสตร์จีน พบว่าผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนไม่เคยอธิบายผลออกมาในทางเดียวกันเลย แม้ว่าข้อมูลที่เป็นทางการของจีนจะมีปัญหาอยู่ แต่ข่าวสารที่มีอยู่ในปัจจุบันก็รุนแรงเพียงพอที่จะต้องตีระฆังเตือนกัน
สิ่งที่เด่นชัดเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาคือ เรื่องของอัตราการบริโภคในครัวเรือนที่สูงขึ้น แต่อยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวม
ในเรื่องนี้พบว่าการใช้จ่ายในครัวเรือนอยู่ที่เพียง 35 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งต่ำกว่าสัดส่วนเดียวกันนี้ของอเมริกาอยู่ครึ่งหนึ่ง
อเมริกาคือผู้ซื้อรายใหญ่ของสินค้าและบริการที่ผลิตจากจีน แต่กำลังซื้อได้หดลงเพราะวิกฤตการณ์ทางการเงิน จีนยิ่งต้องผลักดันการส่งออกให้มากขึ้น เพื่อรักษาให้ภาคอุตสาหกรรมอยู่รอด แต่เรื่องที่ใหญ่กว่าเรื่องนี้ของจีนอยู่ที่การใช้จ่ายเพื่อการลงทุน ซึ่งได้พุ่งทะยานขึ้นสูงเกือบครึ่งหนึ่งของ GDP
คำถามที่เกิดขึ้นคือ ในขณะที่ความต้องการหรืออุปสงค์เพื่อการบริโภคค่อนข้างต่ำ อะไรที่จูงใจให้มีการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนที่สูงมากๆ นั้น
คำตอบที่ชัดๆ คือ มันสืบเนื่องจากภาวะฟองสบู่ของอสังหาฯที่สั่งสมมานาน
การลงทุนในภาคอสังหาฯได้เพิ่มขึ้นประมาณหนึ่งเท่าตัวในสัดส่วนของ GDP ตั้งแต่ปี 2543 หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของการลงทุนรวมทั้งหมดที่เพิ่มขึ้น และเป็นที่มั่นใจได้ว่าการลงทุนในภาคอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นนั้น เป็นการลงทุนในการขยายกิจการร้านค้าที่ทำธุรกรรมกับกลุ่มอุตสาหกรรมการก่อสร้าง
แล้วเรารู้จริงๆ หรือว่าเกิดภาวะฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาฯ ในจีน?
เขาว่า พบว่าสัญญาณต่างๆ มันแสดงออกอย่างนั้น : ไม่ใช่แค่ราคาพุ่งสูงขึ้น แต่บรรยากาศเต็มไปด้วยการปั่นการเก็งกำไรที่คุ้นๆ กันอยู่ในอเมริกาก่อนหน้านี้ เช่นแถบชายฝั่งฟลอริดา
ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่เหมือนกับกำลังเดินคู่อยู่ในแนวทางเดียวกับประสบการณ์ของอเมริกา : เมื่อการให้สินเชื่อบูม สินเชื่อส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากธนาคาร แต่จะมาจากการปล่อยสินเชื่ออย่างขาดการให้คำแนะนำที่ดี จากระบบธนาคารเงาที่ผู้กู้ไม่ได้รับความคุ้มครอง จริงอยู่ที่จะมีความแตกต่างอย่างมากในรายละเอียด : ธนาคารเงาหรือ shadow banking ในสไตล์แบบอเมริกามักปล่อยกู้กับบริษัทใหญ่ๆ ดังๆ แถบวอลสตรีตและกลุ่มธุรกรรมทางการเงินที่ซับซ้อน
ในขณะที่เวอร์ชั่นของจีนมีแนวโน้มที่จะผ่านไปทางธนาคารหรือสถาบันทางการเงินใต้ดินและแม้แต่โรงจำนำ แต่แน่นอนว่า ผลเบื้องปลายของมันไม่ต่างกัน ในจีนจะเจอเหมือนอเมริกาเมื่อหลายปีก่อน ระบบการเงินอาจจะเลวร้ายรุนแรงมากกว่าตัวเลขความเสียหายที่จะถูกเปิดเผยโดยธนาคาร
พอล ครุกแมน กล่าวว่า ขณะนี้ถือว่าได้เห็นการแตกของฟองสบู่แล้ว มันจะทำความเสียหายให้แก่เศรษฐกิจจีนและโลกเพียงใด?
บางคนอาจจะกล่าวว่า ไม่ต้องห่วงหรอก จีนมีผู้นำประเทศที่เข้มแข็งและฉลาด ที่จะทำทุกอย่าง เพื่อสกัดการไหลเลื่อนลงเหวของเศรษฐกิจ และเขาจะทำได้ทุกอย่างโดยไม่ต้องห่วงเรื่องละเมิดประชาธิปไตย
พอลว่า ฟังแล้วเหมือนการสัญญารับรองสุดท้าย ที่คุ้นๆ ที่เขาจำได้เมื่อวิกฤตของญี่ปุ่นช่วง 3 ทศวรรษก่อน เมื่อเจ้าหน้าที่ที่เก่งๆ ของกระทรวงการคลัง ที่ทุกคนเชื่อว่าแก้ไขปัญหาทุกอย่างในตอนนั้นได้อย่างดี แต่ต่อมาก็พบว่าล้มเหลวและเป็นการรับรองที่ทำให้ญี่ปุ่นเกิดภาวะเศรษฐกิจชะงักงันไปร่วมทศวรรษ คำรับรองแบบที่อเมริกาไม่ควรตามและผิดซ้ำ
แต่ปรากฏว่าพอถึงทีของอเมริกากลับทำได้ห่วยแตกกว่าที่ญี่ปุ่นทำเสียอีก
ในวันเดียวกันกับการตีพิมพ์บทความเรื่องนี้ของพอล ครุกแมน นิตยสาร Forbes ได้ตีพิมพ์บทความของ Gordon G, Chang เรื่อง The No.1 Problem of the Chinese Economy (http://www.forbes.com/sites/gordonchang/ 2011/12/18/the-no-1-problem-of-the-chinese-economy/) ได้ให้ข้อมูลจากการประชุมระดับนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศ (China′s Central Economic Work Conference) ที่ปักกิ่งในวันพุธที่ 14 ธ.ค.ที่ผ่านมานี้ การประชุมครั้งนี้ มีความสำคัญด้วยเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายก่อนการประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 18 ใน ปีหน้า
ข้อสรุปจากที่ประชุมดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลจีนยังดำเนินการทุกอย่างให้เดินไปตามปกติ หรือ Business as usual โดยเป้าหมายทางเศรษฐกิจของปีหน้าจีนจะ "ดำเนินการให้ก้าวหน้าต่อไป ในขณะที่จะรักษาเสถียรภาพ" เสถียรภาพตามที่ประกาศจากที่ประชุมหมายถึง "ยังคงรักษานโยบายเศรษฐศาสตร์มหภาคตามที่ดำเนินมา เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างสัมพัทธ์ ดัชนีผู้บริโภคที่คงตัว และมีความสงบในสังคม" Chang กล่าวว่า ปฏิญญาที่ประกาศออกมาชี้ให้เห็นว่า เป็นการส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากกว่าปีที่ผ่านมา นักวิเคราะห์ทั้งหลายส่วนใหญ่ไม่สนใจคำประกาศ แต่บอกให้เน้นดูว่ารัฐบาลจีนจะทำอะไรจริงๆ มากกว่า
โดยข้อเท็จจริงรัฐบาลจีนกำลังจะเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจ ในช่วงเดือน พ.ย.ที่ผ่านมารัฐบาล โดยธนาคารกลางได้ผ่อนคลายมาตรการเรื่องสัดส่วนทุนสำรองของธนาคารเพื่อการสหกรณ์ลง 20 ธนาคาร ตามมาด้วยการผ่อนคลายมาตรการนี้ให้แก่ธนาคารทั้งใหญ่และเล็กอย่างครบถ้วน การปล่อยสินเชื่อของธนาคารจึงเพิ่มสูงขึ้นในเดือน พ.ย. สูงกว่าการประมาณการที่เคยตั้งไว้
Chang ตั้งคำถามว่า "ควรหรือไม่ที่นโยบายเหล่านี้จะต้องเปลี่ยนทิศทาง?"
จริงอยู่เศรษฐกิจจีนที่ขยายตัวอย่างแรงเมื่อต้นปี ได้ลดความร้อนแรงลงมาเหลือแค่ตัวเลขหลักเดียว หรือหดตัวเสียด้วยซ้ำไป ทุกวันนี้ไม่มีอะไรในจีน ที่เดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง ไม่ว่าการส่งออก การบริโภคภายในประเทศ คำสั่งซื้อสินค้า หรือราคาอสังหาฯ
และปัญหาเหล่านี้จะเพิ่มความเลวร้ายมากขึ้น ใน ขณะที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังวิ่งเข้าสู่สภาพทุพพลภาพ
ความน่าเป็นห่วงต่อเศรษฐกิจจีนว่าจะล่มตามข้อเขียนของพอล ครุกแมน ดูท่าเราท่าน นักอะไรทั้งหลายคงต้องโฟกัสกัน การวางนโยบายเดินหน้ารักษาฟองสบู่ที่เป่งเต่งจะแตกปุ๊ป๊ะของจีน เสมือนยืนยันประกันว่า ทุกอย่างอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลอย่างดีแบบ บ่ๆ มีหยังดอก มังกรจีนเรามีความโดดเด่นไม่เหมือนเขา ฟองสบู่ของจีนแตกไม่เป็นว่านั้นเถอะ
ปีหน้าปีมะโรง ปีงูใหญ่ มันจะยิ่งไปเสริมความหลงของเล่ามังกรจีนว่าเป็นปีแห่งความเจริญรุ่งเรือง แบบมังกรทองสะท้านฟ้า เราท่านก็เตรียมตัวกันให้ดีเถอะครับ ปีหน้ามีคนคาดคะเนไว้ว่า ทั้งเศรษฐกิจโลกล่ม ทั้งสภาวะอากาศวิปริต และเมืองไทยเราเขาว่าน้ำจะท่วมใหญ่กว่าปีนี้อีก
การเตรียมพร้อมมีแผนรองรับความไม่แน่นอนที่เลวร้ายจากการคาดคะเนหรือพยากรณ์ (Forcast, ไม่ใช่ดูหมอเอา) อย่างสงบ ไม่วุ่นวายใจ และไม่กลัว ภายใต้ความเป็นจริงของข้อมูลที่มีอยู่ ถ้าเหตุร้ายเกิดขึ้นตามการคาดคะเนจริง ก็จะได้ผ่อนหนักเป็นเบา เขาเรียกว่ามีวิชั่นหรือมีวิสัยทัศน์ แต่ถ้าเตรียมการแล้วเหตุร้ายไม่เกิด ทางพระเรียกว่าตั้งอยู่ในความไม่ประมาทครับ
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2770
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สัญญาณเตือนจากครุกแมน : เศรษฐกิจจีนกำลังจะล่ม?
โพสต์ที่ 3
ที่ GDP Growth ลดลงมาอยู่ในระดับนี้เป็นสิ่งที่จีนพยายามควบคุมครับ ถ้าปรับให้ค่อยๆลดลงมาเรื่อยๆได้เศรษฐกิจก็จะเข้าสู่ำภาวะเสถียร เรียกว่า Soft Landing (คือร่อนลงแล้วสามารถบินต่อได้) ถ้าปรับตัวลงรุนแรงจะเรียกว่า Bubble Burst หรือฟองสบู่แตก (คือลงทีเดียวแล้วก็หายไป) ทีนี้ก็ต้องมาวิเคราะห์กันว่าตัวเลขปัจจุบันนี้เป็นอย่างไหน
Vi IMrovised
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 199
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สัญญาณเตือนจากครุกแมน : เศรษฐกิจจีนกำลังจะล่ม?
โพสต์ที่ 5
ถ้าเกิดแล้วหุ้นพื้นฐานดีๆถูกก็ "ซื้อ" เลยครับ (หนี้น้อยๆนะครับ)
บริษัทอยู่ในอุตสาหกรรมที่เติบโต มีความสามารถในการแข่งขัน มีผู้บริหารที่ดีและเก่ง ราคาที่ซื้อมี MOS เพียงพอ
-
- Verified User
- โพสต์: 535
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สัญญาณเตือนจากครุกแมน : เศรษฐกิจจีนกำลังจะล่ม?
โพสต์ที่ 6
'โล่งอก'เศรษฐกิจจีนไม่มีทีท่า'ร่วงดิ่งโหม่งพสุธา'
เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
China's slowdown fears ease
By Robert M Cutler
19/01/2012
เคยมีความหวาดผวากันว่า การที่จีนพยายามอย่างหนักหน่วงเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อให้อยู่หมัดนั้น อาจจะลามปามกลายเป็นการฉุดดึงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจให้ดำดิ่งลงสู่ระดับอันตราย แต่เวลานี้ความวิตกดังกล่าวกำลังคลี่คลาย เมื่อตัวเลขการขยายตัวในช่วงไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้วของแดนมังกร ออกมาแข็งแกร่งยิ่งกว่าที่คาดหมายกันไว้ และถึงแม้เป็นที่คาดการณ์กันว่า เศรษฐกิจจีนยังน่าจะชะลอตัวต่อเนื่องในครึ่งแรกของปีนี้ ทว่าเท่าที่มองกันอยู่ในเวลานี้ ไม่น่าเป็นไปได้หรอกที่จะทรุดหนักถึงขั้นร่วงดิ่งลงโหม่งพสุธา
มอนทรีออล, แคนาดา - ความผวาวิตกผ่อนคลายลงบ้างแล้วสำหรับกรณีที่หวาดหวั่นกันว่า ระบบเศรษฐกิจของจีนจะทรุดฮวบ หมดแรงขยายตัว และทำการดิ่งพสุธาลงมาย่อยยับคาผืนปฐพี สืบเนื่องจากการที่อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนได้ชะลอตัวลงอย่างสาหัส ในยามที่รัฐบาลเดินมาตรการหลายหลากเพื่อชะลอความร้อนแรงของภาวะเงินเฟ้อ ทั้งนี้ ในเมื่อข้อมูลใหม่สุดบ่งชี้ว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกชะลอตัวน้อยกว่าที่คาดการณ์กัน ขณะที่ภาวะเงินเฟ้อกลับหดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 15 เดือน
ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของไตรมาส 4/2011 ขยายตัวที่อัตรา 8.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2010 ทั้งนี้เป้นตัวเลขจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน จีดีพีดังกล่าวแม้ว่าจะลดลงจากระดับ 9.1% ของเมื่อไตรมาส 3/2011 แต่ก็เป็นอะไรที่แข็งแกร่งเกินค่าประมาณการของฝ่ายต่างๆ
หากใช้ไตรมาส 3/2011 เป็นฐานการคำนวณ ตัวเลขของไตรมาส 4/2011 จะเท่ากับอัตราโตต่อปีที่ปรับตามปัจจัยตามฤดูกาลแล้ว ณ 8.2% ส่วนสำหรับตัวเลขเฉลี่ยตลอดปี 2011 แล้ว การขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนแผ่วลงเหลือพลังการโตเพียง 9.2% ซึ่งเป็นการโตน้อยลงจากเมื่อหนึ่งปีก่อนหน้าซึ่งเคยทำสถิติไว้ ณ ระดับ 10.4%
สำหรับครึ่งแรกของปีนี้ คาดกันว่าจีนจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่โรยราต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ก่อนจะผงาดขึ้นใหม่ไปจนสิ้นปี
ส่วนในด้านเงินเฟ้อ ความร้อนแรงลดลงในเดือนธันวาคม สู่ระดับ 4.1% ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำสุดในรอบ 15 เดือน แต่อัตราเงินเฟ้อเต็มปีคาดกันว่าจะอยู่ที่ 5.4% ซึ่งยังสูงกว่าเป้าหมายของรัฐบาลปักกิ่งซึ่งกำหนดที่ 4%
ปัจจุบันนี้ ทางการจีนอนุญาตให้ 5 ธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ที่สุดของประเทศสามารถขยายการปล่อยสินเชื่อ นอกจากนั้น ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาแผนผ่อนปรนข้อกำหนดในด้านเงินทุน ทั้งนี้เป็นข่าวจากค่ายบลูมเบิกร์ก ซึ่งอ้างแหล่งข่าวว่าเป็น “สองท่านในแบงก์รัฐ”
ด้านสำนักข่าวซินหวา ออกรายงานมา ภายหลังการประชุม “ภารกิจการเงินแห่งชาติ” ซึ่งจัดขึ้นทุกๆ 5 ปีเพื่อจัดทำแผนพัฒนาภาคการเงิน โดยอ้างคำกล่าวของผู้ว่าแบงก์ชาติจีน (PBoC) โจว เสี่ยวชวน ซึ่งบอกว่า เวลานี้การต่อต้านเงินเฟ้อไม่ใช่เรื่องสำคัญดั่งที่เคยเป็นมาเมื่อหนึ่งปีก่อน กระนั้นก็ตาม ดัชนีเงินเฟ้อในหมวดอาหารยังคงทะยานด้วยอัตราต่อปีที่ 9.1% ในเดือนธันวาคม โดยที่ว่าเมื่อหนึ่งเดือนก่อนหน้า อัตราเคยอยู่ที่ 8.8% ต่อปีและเป็นอัตราที่ต่ำสุดในรอบหนึ่งปี
การเติบโตด้านสินเชื่อและปริมาณเงินในเดือนธันวาคมอยู่ในภาวะที่ล้นเกินประมาณการของเสียงส่วนใหญ่ในแวดวงการเงิน นั่นเป็นเครื่องสะท้อนการผ่อนปรนแก่สภาวะทางการเงินของประเทศ ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบรุนแรงใดๆ ที่อาจเกิดจากวิกฤตในยุโรปและอเมริกาเหนือ ทั้งนี้ ปริมาณเงิน M2 (ซึ่งรวมตั้งแต่เหรียญกษาปณ์และธนบัตรทั้งหมด บวกด้วยเงินฝากเผื่อเรียก เงินฝากประจำ เงินฝากออมทรัพย์ ไปจนถึงกองทุนตลาดเงินประเภทที่มิใช่สถาบัน) พุ่งสูงขึ้นมา 13.6% เกินกว่าประมาณการที่วางไว้แค่ 12.9%
แบงก์ชาติของจีนได้ลดข้อกำหนดด้านสัดส่วนการตั้งสำรองเงินฝากตั้งแต่เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องภายในแวดวงธนาคาร ในการนี้ แบงก์ชาติจีนเน้นให้มีปริมาณเงินเพียงพอแก่ช่วงเทศกาลตรุษจีน โดยบอกว่าจะชะลอการขายหนี้ และถ้าจำเป็นก็จะเร่งปริมาณเงินในตลาดหลักทรัพย์หรือภายในสถาบันการเงินผ่านการเข้าซื้อหลักทรัพย์
มาตรการดังกล่าวนับว่าสำคัญมาก เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์เป็นเครื่องชี้บ่งระบบเศรษฐกิจโดยองค์รวม โดยทำหน้าที่สะท้อนความคาดหวังของผู้เข้าซื้อหลักทรัพย์ในช่วง 6-9 เดือนข้างหน้า ซึ่งถ้าราคาหลักทรัพย์ของจีนเดินหน้าในทิศทางอ่อนแอ นั่นย่อมสะท้อนถึงปัญหาการขาดความเชื่อมั่นในศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศที่ต่อเนื่องยาวไปจรดปลายปี 2012 ทีเดียว
ที่ผ่านมา ในสัปดาห์ที่สามของเดือนมกราคม 2012 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ปิดตลาดวันพุธที่ 18 มกราคม ที่ระดับ 2,266 ซึ่งเท่ากับว่าสามารถฝ่าแนวต้านระดับกลางๆ ของ2,300 ได้สำเร็จ และเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะพ้นออกมาจากแนวโน้มขาลงระยะปานกลางได้สำเร็จ
ดัชนีฮั่งเส็งของตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ซึ่งมีแพทเทิร์นละม้ายกับดัชนีหลักทรัพย์ SSEC ของตลาดเซี่ยงไฮ้ สามารถทำผลงานได้ดีกว่ามาโดยตลอดนับจากเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ด้านดัชนี TSEC ของตลาดหลักทรัพย์ไต้หวันสามารถประคองตัวยืนเหนือแนวรับที่ 7,200 ได้สำเร็จด้วยปัจจัยหนุนจากชัยชนะในการเลือกตั้งสมัยที่ 2 ของประธานาธิบดีหม่า อิงจิ่ว อย่างไรก็ตาม ตลาดแห่งนี้ต้องขับเคลื่อนขึ้นหน้าอีก 21% กว่าจะกลับคืนสู่สถิติเดิมที่ทำไว้เมื่อ 6 เดือนที่แล้ว ทั้งนี้ เศรษฐกิจของทั้งฮ่องกงและไต้หวันเป็นประดุจคู่แฝดกับเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่
ด้านดัชนี MSCI สำหรับเอเชีย แปซิฟิก ประกาศออกมาเป็นบวก 3.3% ณ เย็นวันพุธที่ 18 มกราคมตามเวลาในประเทศญี่ปุ่น โดยยืนจ่ออยู่ที่แนวต้านระดับ 118 อันเป็นช่วงที่เป็นสถิติเก่าในยุคหลังวิกฤตการเงิน
ประมาณการต่อศักยภาพทางเศรษฐกิจของจีนภายในปีนี้ทั้งปี จะมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการที่ดัชนี MSCI จะฝ่าแนวต้านขึ้นไปสำเร็จ ในการนี้ แทบจะไม่ต้องสงสัยเลยว่าสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวจะยืดเยื้อต่อเนื่องสืบไป
ตัวอย่างเช่น อัตราการสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่ถดถอยลง 19% ในเดือนธันวาคมเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของหนึ่งปีก่อนหน้า และสภาพการณ์นี้จะไม่กระเตื้องขึ้นในเร็ววันนี้ ในเวลาเดียวกัน ในเมื่อการก่อสร้างที่อยู่อาศัยมีผลต่ออุปสงค์ด้านปูนซิเมนต์ เหล็กกล้า ฯลฯ ดังนั้น ภาคเศรษฐกิจตรงนี้จึงอยู่ในภาวะถดถอยเช่นกัน นอกจากนั้น ในเมื่อภาคเศรษฐกิจนี้มีสัดส่วนเป็น 8% ในระบบเศรษฐกิจทั้งหมด จึงคาดได้เลยว่าระบบเศรษฐกิจโดยรวมจะถูกฉุดลงไปอย่างต่อเนื่องอย่างมากมาย
ส่วนสำหรับภาพรวมแล้ว ตัวเลขเศรษฐกิจที่ทางการปักกิ่งประกาศมาในระยะนี้ ทำให้คาดกันอย่างกว้างขวางในบรรดานักวิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงมาจากภาวะร้อนแรง จนถึงระดับเสถียรภาพได้อย่างค่อยเป็นค่อยไปแบบซอฟต์แลนดิ้ง มากกว่าจะทรุดฮวบรวดเร็จแบบฮาร์ดแลนดิ้ง กระนั้นก็ตาม ต้องไม่ลืมว่าปัจจัยอื่นๆ อย่างเหตุการณ์ความไม่สงบในด้านแรงงานและปัญหาทางสังคมอื่นๆ ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เอาแน่นอนไม่ได้ในการทำประมาณการ
ดร.โรเบิร์ต เอ็ม คัตเลอร์ (www.robertcutler.org) สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) และมหาวิทยาลัยมิชิแกน และได้ทำงานวิจัยตลอดจนสอนอยู่ตามมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ทั้งในสหรัฐฯ, แคนาดา, ฝรั่งเศส, สวิตเซอร์แลนด์, และรัสเซีย เวลานี้เขาเป็นนักวิจัยอาวุโสอยู่ที่ สถาบันเพื่อยุโรป, รัสเซีย, และยูเรเชียศึกษา (Institute of European, Russian and Eurasian Studies) มหาวิทยาลัยคาร์ลตัน (Carleton University) ประเทศแคนาดา เขายังรับเป็นที่ปรึกษาส่วนตัวในกิจการต่างๆ หลายหลาก
เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
China's slowdown fears ease
By Robert M Cutler
19/01/2012
เคยมีความหวาดผวากันว่า การที่จีนพยายามอย่างหนักหน่วงเพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อให้อยู่หมัดนั้น อาจจะลามปามกลายเป็นการฉุดดึงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจให้ดำดิ่งลงสู่ระดับอันตราย แต่เวลานี้ความวิตกดังกล่าวกำลังคลี่คลาย เมื่อตัวเลขการขยายตัวในช่วงไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้วของแดนมังกร ออกมาแข็งแกร่งยิ่งกว่าที่คาดหมายกันไว้ และถึงแม้เป็นที่คาดการณ์กันว่า เศรษฐกิจจีนยังน่าจะชะลอตัวต่อเนื่องในครึ่งแรกของปีนี้ ทว่าเท่าที่มองกันอยู่ในเวลานี้ ไม่น่าเป็นไปได้หรอกที่จะทรุดหนักถึงขั้นร่วงดิ่งลงโหม่งพสุธา
มอนทรีออล, แคนาดา - ความผวาวิตกผ่อนคลายลงบ้างแล้วสำหรับกรณีที่หวาดหวั่นกันว่า ระบบเศรษฐกิจของจีนจะทรุดฮวบ หมดแรงขยายตัว และทำการดิ่งพสุธาลงมาย่อยยับคาผืนปฐพี สืบเนื่องจากการที่อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนได้ชะลอตัวลงอย่างสาหัส ในยามที่รัฐบาลเดินมาตรการหลายหลากเพื่อชะลอความร้อนแรงของภาวะเงินเฟ้อ ทั้งนี้ ในเมื่อข้อมูลใหม่สุดบ่งชี้ว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกชะลอตัวน้อยกว่าที่คาดการณ์กัน ขณะที่ภาวะเงินเฟ้อกลับหดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 15 เดือน
ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของไตรมาส 4/2011 ขยายตัวที่อัตรา 8.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2010 ทั้งนี้เป้นตัวเลขจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน จีดีพีดังกล่าวแม้ว่าจะลดลงจากระดับ 9.1% ของเมื่อไตรมาส 3/2011 แต่ก็เป็นอะไรที่แข็งแกร่งเกินค่าประมาณการของฝ่ายต่างๆ
หากใช้ไตรมาส 3/2011 เป็นฐานการคำนวณ ตัวเลขของไตรมาส 4/2011 จะเท่ากับอัตราโตต่อปีที่ปรับตามปัจจัยตามฤดูกาลแล้ว ณ 8.2% ส่วนสำหรับตัวเลขเฉลี่ยตลอดปี 2011 แล้ว การขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนแผ่วลงเหลือพลังการโตเพียง 9.2% ซึ่งเป็นการโตน้อยลงจากเมื่อหนึ่งปีก่อนหน้าซึ่งเคยทำสถิติไว้ ณ ระดับ 10.4%
สำหรับครึ่งแรกของปีนี้ คาดกันว่าจีนจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่โรยราต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ก่อนจะผงาดขึ้นใหม่ไปจนสิ้นปี
ส่วนในด้านเงินเฟ้อ ความร้อนแรงลดลงในเดือนธันวาคม สู่ระดับ 4.1% ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำสุดในรอบ 15 เดือน แต่อัตราเงินเฟ้อเต็มปีคาดกันว่าจะอยู่ที่ 5.4% ซึ่งยังสูงกว่าเป้าหมายของรัฐบาลปักกิ่งซึ่งกำหนดที่ 4%
ปัจจุบันนี้ ทางการจีนอนุญาตให้ 5 ธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ที่สุดของประเทศสามารถขยายการปล่อยสินเชื่อ นอกจากนั้น ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาแผนผ่อนปรนข้อกำหนดในด้านเงินทุน ทั้งนี้เป็นข่าวจากค่ายบลูมเบิกร์ก ซึ่งอ้างแหล่งข่าวว่าเป็น “สองท่านในแบงก์รัฐ”
ด้านสำนักข่าวซินหวา ออกรายงานมา ภายหลังการประชุม “ภารกิจการเงินแห่งชาติ” ซึ่งจัดขึ้นทุกๆ 5 ปีเพื่อจัดทำแผนพัฒนาภาคการเงิน โดยอ้างคำกล่าวของผู้ว่าแบงก์ชาติจีน (PBoC) โจว เสี่ยวชวน ซึ่งบอกว่า เวลานี้การต่อต้านเงินเฟ้อไม่ใช่เรื่องสำคัญดั่งที่เคยเป็นมาเมื่อหนึ่งปีก่อน กระนั้นก็ตาม ดัชนีเงินเฟ้อในหมวดอาหารยังคงทะยานด้วยอัตราต่อปีที่ 9.1% ในเดือนธันวาคม โดยที่ว่าเมื่อหนึ่งเดือนก่อนหน้า อัตราเคยอยู่ที่ 8.8% ต่อปีและเป็นอัตราที่ต่ำสุดในรอบหนึ่งปี
การเติบโตด้านสินเชื่อและปริมาณเงินในเดือนธันวาคมอยู่ในภาวะที่ล้นเกินประมาณการของเสียงส่วนใหญ่ในแวดวงการเงิน นั่นเป็นเครื่องสะท้อนการผ่อนปรนแก่สภาวะทางการเงินของประเทศ ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบรุนแรงใดๆ ที่อาจเกิดจากวิกฤตในยุโรปและอเมริกาเหนือ ทั้งนี้ ปริมาณเงิน M2 (ซึ่งรวมตั้งแต่เหรียญกษาปณ์และธนบัตรทั้งหมด บวกด้วยเงินฝากเผื่อเรียก เงินฝากประจำ เงินฝากออมทรัพย์ ไปจนถึงกองทุนตลาดเงินประเภทที่มิใช่สถาบัน) พุ่งสูงขึ้นมา 13.6% เกินกว่าประมาณการที่วางไว้แค่ 12.9%
แบงก์ชาติของจีนได้ลดข้อกำหนดด้านสัดส่วนการตั้งสำรองเงินฝากตั้งแต่เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องภายในแวดวงธนาคาร ในการนี้ แบงก์ชาติจีนเน้นให้มีปริมาณเงินเพียงพอแก่ช่วงเทศกาลตรุษจีน โดยบอกว่าจะชะลอการขายหนี้ และถ้าจำเป็นก็จะเร่งปริมาณเงินในตลาดหลักทรัพย์หรือภายในสถาบันการเงินผ่านการเข้าซื้อหลักทรัพย์
มาตรการดังกล่าวนับว่าสำคัญมาก เพราะดัชนีตลาดหลักทรัพย์เป็นเครื่องชี้บ่งระบบเศรษฐกิจโดยองค์รวม โดยทำหน้าที่สะท้อนความคาดหวังของผู้เข้าซื้อหลักทรัพย์ในช่วง 6-9 เดือนข้างหน้า ซึ่งถ้าราคาหลักทรัพย์ของจีนเดินหน้าในทิศทางอ่อนแอ นั่นย่อมสะท้อนถึงปัญหาการขาดความเชื่อมั่นในศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศที่ต่อเนื่องยาวไปจรดปลายปี 2012 ทีเดียว
ที่ผ่านมา ในสัปดาห์ที่สามของเดือนมกราคม 2012 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ปิดตลาดวันพุธที่ 18 มกราคม ที่ระดับ 2,266 ซึ่งเท่ากับว่าสามารถฝ่าแนวต้านระดับกลางๆ ของ2,300 ได้สำเร็จ และเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะพ้นออกมาจากแนวโน้มขาลงระยะปานกลางได้สำเร็จ
ดัชนีฮั่งเส็งของตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ซึ่งมีแพทเทิร์นละม้ายกับดัชนีหลักทรัพย์ SSEC ของตลาดเซี่ยงไฮ้ สามารถทำผลงานได้ดีกว่ามาโดยตลอดนับจากเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ด้านดัชนี TSEC ของตลาดหลักทรัพย์ไต้หวันสามารถประคองตัวยืนเหนือแนวรับที่ 7,200 ได้สำเร็จด้วยปัจจัยหนุนจากชัยชนะในการเลือกตั้งสมัยที่ 2 ของประธานาธิบดีหม่า อิงจิ่ว อย่างไรก็ตาม ตลาดแห่งนี้ต้องขับเคลื่อนขึ้นหน้าอีก 21% กว่าจะกลับคืนสู่สถิติเดิมที่ทำไว้เมื่อ 6 เดือนที่แล้ว ทั้งนี้ เศรษฐกิจของทั้งฮ่องกงและไต้หวันเป็นประดุจคู่แฝดกับเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่
ด้านดัชนี MSCI สำหรับเอเชีย แปซิฟิก ประกาศออกมาเป็นบวก 3.3% ณ เย็นวันพุธที่ 18 มกราคมตามเวลาในประเทศญี่ปุ่น โดยยืนจ่ออยู่ที่แนวต้านระดับ 118 อันเป็นช่วงที่เป็นสถิติเก่าในยุคหลังวิกฤตการเงิน
ประมาณการต่อศักยภาพทางเศรษฐกิจของจีนภายในปีนี้ทั้งปี จะมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อการที่ดัชนี MSCI จะฝ่าแนวต้านขึ้นไปสำเร็จ ในการนี้ แทบจะไม่ต้องสงสัยเลยว่าสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวจะยืดเยื้อต่อเนื่องสืบไป
ตัวอย่างเช่น อัตราการสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่ถดถอยลง 19% ในเดือนธันวาคมเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของหนึ่งปีก่อนหน้า และสภาพการณ์นี้จะไม่กระเตื้องขึ้นในเร็ววันนี้ ในเวลาเดียวกัน ในเมื่อการก่อสร้างที่อยู่อาศัยมีผลต่ออุปสงค์ด้านปูนซิเมนต์ เหล็กกล้า ฯลฯ ดังนั้น ภาคเศรษฐกิจตรงนี้จึงอยู่ในภาวะถดถอยเช่นกัน นอกจากนั้น ในเมื่อภาคเศรษฐกิจนี้มีสัดส่วนเป็น 8% ในระบบเศรษฐกิจทั้งหมด จึงคาดได้เลยว่าระบบเศรษฐกิจโดยรวมจะถูกฉุดลงไปอย่างต่อเนื่องอย่างมากมาย
ส่วนสำหรับภาพรวมแล้ว ตัวเลขเศรษฐกิจที่ทางการปักกิ่งประกาศมาในระยะนี้ ทำให้คาดกันอย่างกว้างขวางในบรรดานักวิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงมาจากภาวะร้อนแรง จนถึงระดับเสถียรภาพได้อย่างค่อยเป็นค่อยไปแบบซอฟต์แลนดิ้ง มากกว่าจะทรุดฮวบรวดเร็จแบบฮาร์ดแลนดิ้ง กระนั้นก็ตาม ต้องไม่ลืมว่าปัจจัยอื่นๆ อย่างเหตุการณ์ความไม่สงบในด้านแรงงานและปัญหาทางสังคมอื่นๆ ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เอาแน่นอนไม่ได้ในการทำประมาณการ
ดร.โรเบิร์ต เอ็ม คัตเลอร์ (www.robertcutler.org) สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) และมหาวิทยาลัยมิชิแกน และได้ทำงานวิจัยตลอดจนสอนอยู่ตามมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ทั้งในสหรัฐฯ, แคนาดา, ฝรั่งเศส, สวิตเซอร์แลนด์, และรัสเซีย เวลานี้เขาเป็นนักวิจัยอาวุโสอยู่ที่ สถาบันเพื่อยุโรป, รัสเซีย, และยูเรเชียศึกษา (Institute of European, Russian and Eurasian Studies) มหาวิทยาลัยคาร์ลตัน (Carleton University) ประเทศแคนาดา เขายังรับเป็นที่ปรึกษาส่วนตัวในกิจการต่างๆ หลายหลาก
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สัญญาณเตือนจากครุกแมน : เศรษฐกิจจีนกำลังจะล่ม?
โพสต์ที่ 7
สังเกตบ้างไหมว่า
จีนมาลงทุนที่พม่า ลาว เวียดนาม และไทย
เพื่อการเปิดทางให้ประเทศจีนสามารถส่งสินค้าออกทางทะเล
ไปยังมหาสมุทรอินเดีย และ มหาสมุทรแปซิฟิกเพิ่มเติม นอกเหนือจากชายฝั่งทางด้านตะวันตกของประเทศที่ผ่านเซี่ยงไฮ้
ตอนนี้ประเทศจีนก็ได้พัฒนาเรืองเรือบรรทุกเครื่องบิน เครื่องบินที่ลงจอดในเรือบรรทุกเครื่องบิน อยู่ ซึ่งในขณะเดียวกัน กองทัพสหรัฐอเมริการ ก็ซ้อมรบในน่านน้ำด้านสมุทรแปซิฟิก กับเหล่าประเทศพันธมิตร
เวลาเดียวกัน แต่มองเข้าไปในตอนลึกของจีน
รายได้ต่อหัวของประชาชนจีนโซนใน กับ รายได้ต่อหัวของประชาชนชาวจีนด้านตะวันตกแตกต่างกันมากมาย และ ความหนาแน่นของประชาชนผิดแตกต่างกันมากมาย ด้านในประชาชนอยู่อย่างเบาบางมาก แต่ด้านที่ติดทะเลนั้นประชากรอยู่แบบหนาแน่นมากๆ
ถ้าหากประเทศจีนนั้นมีปัญหา ไม่ได้เกิดจากภายนอก แต่เกิดจากภายในตัวเองมากกว่า เพราะการเลื่อมล้ำเรื่องของรายได้ประชากร การพัฒนาประเทศที่ก้าวไปอย่างไม่มั่นคง ซักมากกว่า
จีนมาลงทุนที่พม่า ลาว เวียดนาม และไทย
เพื่อการเปิดทางให้ประเทศจีนสามารถส่งสินค้าออกทางทะเล
ไปยังมหาสมุทรอินเดีย และ มหาสมุทรแปซิฟิกเพิ่มเติม นอกเหนือจากชายฝั่งทางด้านตะวันตกของประเทศที่ผ่านเซี่ยงไฮ้
ตอนนี้ประเทศจีนก็ได้พัฒนาเรืองเรือบรรทุกเครื่องบิน เครื่องบินที่ลงจอดในเรือบรรทุกเครื่องบิน อยู่ ซึ่งในขณะเดียวกัน กองทัพสหรัฐอเมริการ ก็ซ้อมรบในน่านน้ำด้านสมุทรแปซิฟิก กับเหล่าประเทศพันธมิตร
เวลาเดียวกัน แต่มองเข้าไปในตอนลึกของจีน
รายได้ต่อหัวของประชาชนจีนโซนใน กับ รายได้ต่อหัวของประชาชนชาวจีนด้านตะวันตกแตกต่างกันมากมาย และ ความหนาแน่นของประชาชนผิดแตกต่างกันมากมาย ด้านในประชาชนอยู่อย่างเบาบางมาก แต่ด้านที่ติดทะเลนั้นประชากรอยู่แบบหนาแน่นมากๆ
ถ้าหากประเทศจีนนั้นมีปัญหา ไม่ได้เกิดจากภายนอก แต่เกิดจากภายในตัวเองมากกว่า เพราะการเลื่อมล้ำเรื่องของรายได้ประชากร การพัฒนาประเทศที่ก้าวไปอย่างไม่มั่นคง ซักมากกว่า
-
- Verified User
- โพสต์: 535
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สัญญาณเตือนจากครุกแมน : เศรษฐกิจจีนกำลังจะล่ม?
โพสต์ที่ 8
ที่ด้านจะวันตก มีคนเบาบาง เพราะว่าม้นมีแต่ภูเขาสูงกับ ทะเลทราย
อเมริกา ก็เหมือนกันครับ บาง รัฐ คนเบาบางมาก เพราะว่าม้นเป็นทะเลทรายไง
เหมือนเมืองไทยนี่แหละ คนก็มากระจุดอยู่ที่ภาคกลางเยอะมาก
กทม มีพื้นที่นิดเดียว แต่มีคน มาเกือบ 10 กว่าล้านคน เท่ากับ 1 ใน 6 ของประชากรในประเทศเลย
ทุกประเทศนั่นแหละ ในชนบท หรือที่ห่างไกล คนเบาบางทั้งนั้น
อเมริกา ก็เหมือนกันครับ บาง รัฐ คนเบาบางมาก เพราะว่าม้นเป็นทะเลทรายไง
เหมือนเมืองไทยนี่แหละ คนก็มากระจุดอยู่ที่ภาคกลางเยอะมาก
กทม มีพื้นที่นิดเดียว แต่มีคน มาเกือบ 10 กว่าล้านคน เท่ากับ 1 ใน 6 ของประชากรในประเทศเลย
ทุกประเทศนั่นแหละ ในชนบท หรือที่ห่างไกล คนเบาบางทั้งนั้น