รวมบทความของนาย randomwalk
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 728
- ผู้ติดตาม: 0
รวมบทความของนาย randomwalk
โพสต์ที่ 1
สวัสดีครับ
ผมขอรวบรวมบทความที่เคยเขียน และที่จะเขียนใหม่ในอนาคตมาไว้ใน topic อันนี้อันเดียวนะครับ จะได้ไม่เปลืองกระทู้และง่ายสำหรับคนติดตาม
ขอบคุณครับ
randomwalk
ผมขอรวบรวมบทความที่เคยเขียน และที่จะเขียนใหม่ในอนาคตมาไว้ใน topic อันนี้อันเดียวนะครับ จะได้ไม่เปลืองกระทู้และง่ายสำหรับคนติดตาม
ขอบคุณครับ
randomwalk
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 728
- ผู้ติดตาม: 0
R34: ควรซื้อหุ้น P/E 30 ไหม
โพสต์ที่ 2
โดยทั่วไปแล้วสินค้าที่ดีมีคุณภาพนั้นจะตามมาด้วยการกำหนดราคาสินค้าจากผู้ขายในระดับที่ “แพง” เสมอ ซึ่งไม่ได้ต่างอะไรจากราคาหุ้น ถ้าหุ้นตัวนั้นมีธุรกิจที่ดีก็อาจจะทำให้ซื้อขายกันในค่า P/E ที่แพง และสมัยปัจจุบันนักลงทุนมีความคิดที่ฉลาดมากขึ้นกว่าสมัยก่อน ทำให้ตลาดรู้ว่าอะไรคือ “ของดี” และอะไรคือ “ของเน่า” จึงทำให้เกิดความแตกต่างกันอย่างมากของระดับ P/E ในตลาด ผมพอจะสรุปสาเหตุที่เป็นไปได้ที่นักลงทุนจะยอมซื้อขายหุ้นในค่า P/E ที่แพงดังนี้ครับ
1.ลักษณะธุรกิจของบริษัทนั้นมีรายได้ที่ความแน่นอนสูง ไม่พึ่งพาลูกค้ารายใหญ่เพียงไม่กี่ราย และราคาขายสามารถปรับเพิ่มขึ้นได้ตามต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกำไรของบริษัทมีความสม่ำเสมอต่อเนื่อง ไม่ผันผวน ไม่เป็นวัฎจักร ลักษณะธุรกิจประเภทนี้ได้แก่ ธุรกิจค้าปลีก โรงพยาบาล กลุ่มสื่อสาร หรือ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค ด้วยเหตุผลหลักคือไม่ว่าเกิดอะไรขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจ คนทั่วไปก็คงจำเป็นต้องกินต้องใช้ในสินค้าเหล่านี้เป็นอันดับแรก
2.บริษัทนั้นเป็นบริษัทที่นักลงทุนคาดหวังว่าจะมีอัตราการเติบโตสูง เพราะเมื่อในอนาคตกำไรสูงขึ้น ย่อมทำให้นักลงทุนยอมจ่ายเงินในราคาที่แพงขึ้นกว่าเดิมจากปกติ และถ้าบริษัทเหล่านั้นอยู่ในเทรนด์ที่มีความน่าจะเป็นสูงในการเติบโต หรือเรียกได้ว่าไม่ต้องลุ้น ตลาดก็จะยอมให้ P/E กับบริษัทในค่าที่สูงมากอย่างไม่น่าเชื่อ
3.บริษัทนั้นเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ เพราะกองทุนรวมขนาดใหญ่นั้นจะมีกฎระเบียบการลงทุนให้ลงทุนในบริษัทที่มีขนาดใหญ่เท่านั้น และถึงไม่มีกฎระเบียบเหล่านั้นผมคิดว่ากองทุนเหล่านั้นก็จะไม่ลงทุนในบริษัทขนาดเล็กอยู่ดี เพราะแม้ว่าบริษัทขนาดเล็กจะมีโอกาสให้ผลตอบแทนสูง ถึงจะลงทุนซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัทขนาดเล็ก มูลค่าของมันก็จะเป็นสัดส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับขนาดใหญ่มากของกองทุน กองทุนจึงคุ้มค่ากว่าที่จะใช้เวลาไปวิเคราะห์ติดตามบริษัทขนาดใหญ่ จึงเป็นผลทำให้เม็ดเงินที่จะลงทุนในบริษัทขนาดใหญ่จะมากกว่าในบริษัทขนาดเล็ก
4.การซื้อขายหุ้นของบริษัทนั้นมีสภาพคล่องที่ดี กล่าวคือเมื่อเราซื้อหุ้นเหล่านั้นมาแล้วเราสามารถมั่นใจได้ว่าจะขายหุ้นนั้นต่อให้นักลงทุนผู้อื่นได้ เรื่องนี้เป็นข้อจำกัดในกฎระเบียบการลงทุนของกองทุนขนาดใหญ่เช่นกัน และนักลงทุนทั่วไปก็คงจะไม่ค่อยชอบนักกับการซื้อหุ้นที่ไม่มีสภาพคล่อง แต่สำหรับผมแล้ว ผมคิดว่าถ้าเรามั่นใจว่าการซื้อบริษัทเหล่านี้จะเป็นการลงทุนในระยะยาวมาก ประเด็นนี้ก็คงไม่สำคัญเท่าไหร่ เพราะเราไม่ได้ตั้งใจจะขายให้กับผู้อื่นอยู่แล้ว เพียงแต่เราต้องทำใจว่าในอนาคต P/E ก็คงต้องต่ำอย่างนี้ไปตลอด เพราะตลาดมักจะให้ P/E น้อยเสมอกับหุ้นที่ไม่ค่อยมีสภาพคล่อง
5.หุ้นเหล่านั้นเป็นที่นิยมของตลาดด้วยปัจจัยอื่นๆ ถึงแม้ว่าบริษัทเหล่านั้นไม่ได้มีความแน่นอนของรายได้ หรือมีขนาดเล็ก ก็สามารถซื้อขายกันที่ P/E สูงได้ถ้าหุ้นเหล่านั้นเป็นที่นิยมของตลาดในเวลานั้น แต่ผมคิดว่าข้อนี้เป็นข้อที่อันตรายและต้องระวังมากที่สุดในการซื้อหุ้นที่มี P/E สูง เพราะเราไม่รู้ว่าหุ้นนั้นจะคงความนิยมต่อไปอีกนานเท่าไร
ทั้งนี้ผมไม่แนะนำให้ใช้ค่า P/E จากตลาดหลักทรัพย์ หรือผู้ให้บริการข้อมูลต่างๆมาใช้โดยตรง E ที่ใช้คำนวณในค่า P/E นั้นควรจะเป็นกำไรที่ได้ดัดแปลงค่าหลังจากคำนึงถึงกำไรหรือขาดทุนพิเศษแล้ว เช่นถ้าปีนั้นบริษัทมีกำไรพิเศษ ซึ่งปีก่อนๆไม่มีก็ควรจะหักกำไรเหล่านั้นออก และถ้าปีนั้นเป็นปีที่ขาดทุนจากเหตุการณ์พิเศษก็ควรจะบวกกลับการขาดทุนเหล่านั้นด้วย
ถ้าถามว่าเราควรจะซื้อหุ้นที่มีกำไรสม่ำเสมอและคาดว่าจะเติบสูงในค่า P/E สูงไหม ผมคงต้องตอบว่าขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยดังนี้ครับ
1.การคาดหวังในอนาคต
โดยสมมติฐานที่ว่ากำไรในอนาคตเติบโตเป็นไปอย่างที่นักลงทุนคาดและตลาดในอนาคตยังให้ค่า P/E ที่สูงเช่นนี้อยู่ นักลงทุนย่อมจะได้ผลตอบแทนเท่ากับอัตราการเติบโตของกำไรแบบทบต้นไปเรื่อยๆ เช่น ถ้าปัจจุบันหุ้นมี P/E 30 และมีอัตราการเติบโตของกำไร 30% ต่อปี ถ้า 3 ปีข้างหน้าหุ้นยังซื้อขายกันที่ P/E 30 ในเวลานั้นเราย่อมจะได้ผลตอบแทนประมาณ 120% (1.3x1.3x1.3 – 1)
แต่ถ้าในอนาคตตลาดเห็นความจำกัดของการเติบโต หรือเริ่มรู้สึกที่จะไม่ชอบหุ้นดังกล่าว ตลาดในอนาคตอาจจะให้ค่า P/E ที่ลดลงกว่าปัจจุบัน อย่างไรก็ตามถ้าหุ้นยังคงมีอัตราการเติบโตของกำไรที่มากพอ ก็อาจจะทำให้ชดเชยกับการลดลงของค่า P/E ในอนาคตได้ ตัวอย่างคือถ้าปัจจุบันหุ้น P/E 30 มีอัตราการเติบโตของกำไร 30% ต่อปี สมมติว่าถ้า 3 ปีข้างหน้าตลาดได้ให้ P/E น้อยลงเป็น 20 เท่า เราก็ยังคงได้ผลตอบแทน 46% (1.3x1.3x1.3 x 20/30 – 1) ซึ่งก็ยังคงดีกว่าการลงทุนในหุ้นที่ไม่มีการเติบโตของกำไรเพราะจะได้เพียงเงินปันผลปีละไม่กี่ % แต่ไม่มีการเพิ่มขึ้นของราคาหุ้น แต่อย่างไรก็ตามถ้าในอนาคตหุ้นเติบโตเหล่านี้ไม่ได้มีอัตราการเติบโตเป็นไปตามคาด และตลาดให้ P/E น้อยลง เราก็คงเหมือนโดน 2 เด้ง และอาจทำให้ขาดทุนจากการลงทุนดังกล่าวได้
2.ระยะเวลาที่ลงทุน
กรอบเวลาในการลงทุนเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับนักลงทุน ถ้านักลงทุนมองในระยะเวลาสั้น ก็มีโอกาสที่จะไม่ได้รับผลตอบแทนที่ดีในการซื้อหุ้น P/E สูง เพราะการเติบโตของกำไรนั้นต้องอาศัยระยะเวลาเป็นปีปีถึงจะเห็นผล ไม่ต่างอะไรจากการที่เราเห็นเด็กค่อยๆเติบโตเป็นวัยรุ่นและเป็นผู้ใหญ่ซึ่งใช้เวลาหลายปี ถ้านักลงทุนมองภาพในระยะยาวเป็นสิบปี ย่อมจะได้เห็น “การเติบโตของกำไรแบบทบต้น” ซึ่งถึงในเวลานั้นถึงแม้ตลาดจะซื้อขายกันในราคา P/E ที่ต่ำมาก แต่ด้วยการเพิ่มขึ้นของ E จะทำให้ราคาในตอนนั้นย่อมมากกว่าราคาในปัจจุบันหลายเท่าตัว
3.ทางเลือกอื่นที่ดีกว่า
สิ่งหนึ่งที่จะตัดสินใจในการเลือกหุ้นที่จะลงทุน ก็คือการเปรียบเทียบหุ้นหลายๆตัว และเลือกหุ้นที่ดีในราคาที่ต่ำเมื่อเทียบกับหุ้นตัวอื่น ตัวอย่างเช่นถ้านักลงทุนพบหุ้นที่มีลักษณะธุรกิจชั้นเลิศที่มีกำไรสม่ำเสมอและเติบโตสูงที่ P/E 30 และเมื่อค้นหาต่อไปเจอหุ้นอีกตัวหนึ่งที่มีการดำเนินธุรกิจและมีการเติบโตที่ไม่แพ้กันแต่ซื้อขายกันที่ P/E 15 ผมคิดว่าหุ้นตัวที่ 2 ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าในการลงทุน ทั้งนี้อาจจะเป็นสาเหตุมาจากหุ้นตัวแรกเป็นหุ้นชั้นเลิศที่นักลงทุนหลายคนรู้จักเป็นอย่างดีทำให้กลายเป็น “หุ้นยอดนิยม” ไปในคราวเดียวกัน แต่หุ้นตัวที่ 2 อาจจะเป็นหุ้นที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของนักลงทุนทั่วไปจึงได้รับความสนใจน้อยกว่า ซึ่งเราก็ไม่จำเป็นจะต้องตามกระแสนิยมเสมอไป
จากเหตุผลข้างต้นทำให้น่าจะสรุปได้ว่าการซื้อหุ้นที่มีกำไรสม่ำเสมอและคาดว่าจะเติบสูงในค่า P/E สูง อาจจะไม่ได้แย่นักถ้าการเติบโตนั้นมีความน่าจะเป็นสูงที่สามารถคาดการณ์ได้และเราสามารถลงทุนได้ในระยะยาว ซึ่งก็ยังดีกว่าการซื้อหุ้นที่กำไรไม่แน่นอนแต่ P/E ต่ำ เพราะถ้าเราไม่มีข้อมูลอันน่าเชื่อถือมาคาดการณ์กำไรในอนาคตได้อย่างมีเหตุผล มันก็คงไม่ต่างจากการเล่นพนันประเภทอื่นๆที่ไม่รู้ว่าในท้ายที่สุดเมื่อผ่านไปหลายปีเงินเราจะเป็นเท่าไร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 728
- ผู้ติดตาม: 0
R33: กับดักของ “อิสรภาพทางการเงิน”
โพสต์ที่ 3
คำนิยามของ “อิสรภาพทางการเงิน” น่าจะหมายถึง การที่เราไม่ต้องทำอะไรนั่งอยู่เฉยๆก็มีกระแสเงินสดเป็นรายรับเข้ามาหาเราสม่ำเสมอในจำนวนที่มากกว่ารายจ่ายของเราซึ่งเรียกว่ามี “กระแสเงินสดสุทธิที่เป็นบวก” เมื่อเวลาผ่านไปกระแสเงินสดสุทธิที่เป็นบวกจะทำให้เรามีเงินเพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องทำงานอะไรเลย หลักการสำคัญที่จะมีกระแสเงินสดสุทธิที่เป็นบวกก็คงต้องมาจากการที่เราได้ครอบครองสินทรัพย์จำนวนหนึ่ง ซึ่งสินทรัพย์เหล่านั้นจะผลิตสินค้าและบริการที่เป็นที่ต้องการของคนอื่นออกมาอย่างสม่ำเสมอ และผลผลิตเหล่านั้นก็ควรจะมากกว่าการบริโภคของเรา สินทรัพย์เหล่านี้อาจจะเป็น ธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ หรือตราสารทางการเงินต่างๆ ที่มันสามารถสร้างผลผลิตได้โดยอัตโนมัติโดยที่เราไม่ต้องทำงานหรือลงแรงอะไรเพิ่มเติม และที่สำคัญกระแสเงินสดสุทธินี้ควรจะหักการด้อยค่าของอำนาจซื้อเนื่องจากการเงินเฟ้อด้วย ถ้าเราครอบครองสินทรัพย์ที่ให้อัตราผลตอบแทนแค่เท่ากับเงินเฟ้อผมก็คิดว่าเราไม่ได้มีเงินเพิ่ม และจะใช้ชีวิตอย่างลำบากขึ้นในอนาคต
ผมเชื่อว่ามีคนจำนวนหนึ่งได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการมี “อิสรภาพทางการเงิน” และเริ่มที่จะหาสินทรัพย์ที่มีผลผลิตมาครอบครอง ซึ่งการลงทุนในหุ้นก็เป็นการครอบครอบสินทรัพย์ชนิดหนึ่ง แต่ข้อสังเกตคือถ้าเราลงทุนแล้วได้กระแสเงินสดที่เป็นบวกแต่ต้องกังวลหรือต้องคิดมากกับการลงทุนก็อาจจะไม่ถือว่ามีอิสรภาพทางการเงินอย่างแท้จริง เพราะความกังวลนี้ก็จะถือว่าเป็นต้นทุนของเราอย่างหนึ่ง ถ้าเรายังต้องมีต้นทุนในการต้องจดจ่อเฝ้าหน้าจอซื้อขายวันหนึ่งหลายชั่วโมง ก็คงไม่แตกต่างกับมนุษย์เงินเดือนที่ต้องทำงานประจำอยู่ในออฟฟิศ ดังนั้น ผมจึงคิดว่าการมี “อิสรภาพทางเวลา” เป็นเป้าหมายที่แท้จริงอีกทีของการมี “อิสรภาพทางการเงิน” ถ้าเรามีอิสรภาพทางการเงินแต่ไม่มีเวลา ก็คงไม่มีประโยชน์อะไร
ดังนั้นนักลงทุนที่อยากมีอิสรภาพทางการเงินควรตั้งเป้าหมายในการลงทุน และเดินให้ถูกทาง ก่อนที่จะเดินหลงทางและติดกับดักการไม่มีอิสรภาพทางการเงินอย่างแท้จริง ตัวอย่างของวิธีการลงทุนที่หลงทางคือ การลงทุนที่ใช้เวลามาก และการลงทุนที่ทำให้เกิดความกังวล
การลงทุนที่ใช้เวลามาก
เทรดเดอร์ที่เก็งกำไรรายนาทีคงจะเป็นอาชีพที่ดูดีในสายตาคนทั่วไปว่าจะทำเงินได้หลายเท่าตัวในช่วงเวลาสั้นๆ อย่างไรก็ตามเทรดเดอร์เหล่านั้นจะต้องใช้แรงกายของเราในการทุ่มเทจดจ่อหน้าคอมพิวเตอร์เป็นรายนาที วันหนึ่งหลายชั่วโมง พอถึงอายุประมาณหนึ่งก็ต้องเกษียณตัวเองเพราะทนกับความเครียดที่เกิดขึ้นในการใช้เวลาอันยาวนานที่จะต้องนั่งอยู่หน้าจอไม่ไหว ถึงแม้ว่าจะทำเงินได้จริงแต่ก็เป็นกลยุทธ์ที่เทรดเดอร์ไม่สามารถนำไปใช้ตอนแก่ได้ เพราะไม่มี “อิสรภาพทางเวลา” ซึ่งถึงเวลานั้นเทรดเดอร์ก็คงต้องศึกษาวิธีการลงทุนประเภทอื่นที่เหนื่อย กังวล และใช้เวลาน้อยลง
การลงทุนที่ทำให้เกิดความกังวล
สำหรับการเล่นหุ้นปั่นที่มีการเหวี่ยงของราคาจะทำให้รายรับเราจะไม่สม่ำเสมอขึ้นอยู่ช่วงจังหวะตลาด บางครั้งตัวที่เราเข้าก็ไม่ได้ขึ้นไปตามที่มีคนบอกมา แถมยังตกลงมาจากราคาที่เราซื้อไปอีก ท้ายที่สุดเมื่อมีหุ้นปั่นตัวใหม่ก็จะต้องแบกรับกับความกังวลครั้งใหม่ ความกังวลเหล่านี้ก็จะเป็นวัฎจักรวนเวียนไปโดยไม่จบสิ้นทำให้เราจะไม่เคยมี “อสิรภาพทางเวลา”
ในช่วงตลาดขาขึ้น คนส่วนใหญ่จะได้กำไรและจะคิดเกินตัวว่าถ้าเรายืมเงินมาลงทุนกำไรของเราก็จะเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า พวกเขาก็จะเล่นบัญชีมาร์จิ้นในการซื้อหุ้น หรือถ้าลงทุนในตลาดฟิวเจอร์เราก็จะเพิ่มจำนวนสัญญาโดยเผื่อเงินไว้น้อยมาก ผมคิดว่าการลงทุนโดยลักษณะเหล่านี้จะทำให้เรามีความกังวลมากกว่าเดิม และความกังวลเหล่านี้แหละที่เป็นต้นทุนในการลงทุนของเราที่จะทำให้เราไม่มี “อิสรภาพทางเวลา”
ผมคิดว่าโดยปกติแล้วนักลงทุนจะนอนหลับสบายใจก็ต่อเมื่อการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าที่เขาลงทุนนั้นยังคงเป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงปกติเหมือนๆชาวบ้าน ซึ่งความปกติที่สามารถเป็นตัวชี้วัดของเมืองไทยก็คือการเปลี่ยนแปลงของ “SET INDEX” ถ้าเราลงทุนในทรัพย์สินที่มีขนาดการเปลี่ยนแปลงมากกว่าการเปลี่ยนแปลงของตลาดเนื่องจากมาร์จิ้น หรือ LEVERAGE เกินตัว ก็จะทำให้เรารู้สึกกังวลว่าเราได้ทำสิ่งผิดปกติที่คนอื่นเขาไม่ทำกัน และทุกครั้งที่เราได้ทำสิ่งผิดปกตินี้จะทำให้กลยุทธ์การเล่นผิดเพี้ยนไปจากที่วางแผนไว้เดิม ในที่สุดก็จะทำให้ตัดขาดทุนเร็ว พอตัดแล้วราคาก็ขึ้นไปใหม่ พอตามเข้าไปมันก็หล่นลงมา จนทำให้ขาดทุนอย่างมากในท้ายที่สุด ทั้งหมดนี้อาจจะไม่ใช่ความผิดในการเล่นของเรา แต่เป็นความผิดของการบริหารเงินหรือ “Money Management” ที่มี “ส่วนเผื่อเพื่อความอุ่นใจ” ไม่มากพอ ทำให้เรามีสภาพอารมณ์ที่ไม่ปกติ ผลของการลงทุนของเราจึงไม่ปกติ
ดังนั้นเราจึงควรต้องหาวิธีที่เราลงทุนแล้วมี “อิสรภาพทางเวลา” กล่าวคือใช้เวลาไม่มาก และไม่กังวล อาจจะลงทุนระยะยาวในหุ้นที่ดีมากเป็นระยะเวลา 10 ปีขึ้นไปโดยระหว่างนี้เราไม่ต้องคิดอะไรเลย หรือถ้าเราอยากติดตามอย่างมากที่สุดก็ควรจะพึ่งพาความคิดของเรา 2-3 ชั่วโมงต่อวัน สามารถนำกลยุทธ์ที่ทำสำเร็จในครั้งก่อนมาใช้ในครั้งต่อไปได้ไม่ยาก หรือเรียกได้ว่ามีระบบอัตโนมัติในการลงทุนที่ยั่งยืนสามารถนำมาใช้กับอนาคตได้เรื่อยๆโดยไม่ต้องมาเริ่มต้นคิดกับการลงทุนครั้งใหม่ ถึงแม้ว่าการลงทุนแต่ละครั้งคงจะไม่เหมือนกัน 100% แต่แก่นหลักหรือปรัชญาในการลงทุนแล้วควรจะต้องเหมือนเดิม ถ้าเรามีการลงทุนแบบมี “อิสรภาพทางเวลา” แล้วก็คงไม่ต้องติดตามตลาดต่างประเทศตอนกลางคืน ไปเที่ยวต่างจังหวัด หรือต่างประเทศหลายวันได้โดยไม่ต้องมีความกังวล โดยที่ในระหว่างนั้นเราก็มีกระแสเงินสดสุทธิที่เป็นบวกเข้ามาหาเราอย่างสม่ำเสมอ (โดยที่มากกว่าการด้อยค่าของอำนาจซื้อเนื่องจากเงินเฟ้อ) และนี่แหละถึงจะเรียกการมี “อิสรภาพทางการเงิน” อย่างแท้จริงครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 728
- ผู้ติดตาม: 0
R32: ทำไม “หุ้น” ดีกว่า “ทองคำ” และ “ตราสารหนี้”
โพสต์ที่ 4
ผมได้อ่านบทความจาก CNN Money ซึ่งได้นำเนื้อหาจากนิตยสารฟอร์จูนมาเผยแพร่ มีเนื้อหาที่น่าสนใจ จึงเลือกที่จะแปลมาให้อ่านดังนี้ครับ
บทความนี้เป็นบทความที่ดัดแปลงมาจากจดหมายผู้ถือหุ้น ซึ่งวอร์เรน บัฟเฟตต์ได้อธิบายไว้ว่าทำไมการลงทุนในหุ้นถึงให้ผลตอบแทนเหนือกว่าการลงทุนประเภทอื่นเสมอ
การลงทุนโดยทั่วไปแล้วคนมักให้คำนิยามว่าคือกระบวนการที่วางเงินในปัจจุบันเพื่อคาดหวังให้ได้เงินที่มากกว่าในอนาคต แต่ที่เบิร์กไชร์ ฮาทะเวย์ เราให้คำนิยามไว้ที่มากกว่านั้นคือ การลงทุนคือการวางอำนาจซื้อในปัจจุบัน และคาดหวังอย่างมีเหตุผลเพื่อให้ได้อำนาจซื้อ (หลังจากหักภาษีจากกำไรที่ได้) ที่มากกว่าในอนาคต กล่าวคือ การลงทุนคือการเลื่อนการบริโภคของเราในปัจจุบันเพื่อให้สามารถบริโภคมากกว่าในภายหลัง
จากคำนิยามของเราทำให้ได้หลักการที่สำคัญตามมาคือ ความเสี่ยงของการลงทุนไม่ได้ถูกวัดโดยค่า beta (คำที่ใช้แสดงถึงความผันผวนของตลาด และบ่อยครั้งที่ถูกนำมาใช้ในการวัดความเสี่ยง) แต่ความเสี่ยงของการลงทุนที่แท้จริงจะถูกวัดโดยความน่าจะเป็นที่มีเหตุผล ในช่วงเวลาการลงทุนราคาของสินทรัพย์สามารถเหวี่ยงไปมาอย่างรุนแรงได้ แต่ความผันผวนนี้ไม่ได้ถือว่าเป็นความเสี่ยงตราบใดที่สินทรัพย์เหล่านั้นมีเหตุผลที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถเพิ่มอำนาจให้แก่เจ้าของได้ในระยะเวลาที่ลงทุน ในทางกลับกัน เรากลับคิดว่าสินทรัพย์ที่ไม่ผันผวนจะถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่เต็มไปด้วยความเสี่ยง
ทางเลือกการลงทุนในปัจจุบันมีมากและหลากหลาย อย่างไรก็ตามมีประเภทการลงทุนหลัก 3 หมวดหมู่ที่เราควรจะเข้าใจลักษณะของมัน ดังนี้
หมวดหมู่แรกคือ “การลงทุนเกี่ยวข้องกับเงิน” ซึ่งจะรวมถึง กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น พันธบัตร การให้สินเชื่อบ้าน การฝากเงิน และเครื่องมือทางการเงินอื่นๆ “การลงทุนที่เกี่ยวข้องกับเงิน” โดยส่วนใหญ่แล้วทุกคนจะว่า “ปลอดภัย” แต่ในความเป็นจริงแล้วจัดว่าเป็นสินทรัพย์ที่อันตรายที่สุด ถึงแม้ว่าค่า beta ของมันจะเป็น 0 (ไม่มีความผันผวน) แต่ความเสี่ยงของมันกลับมีมาก
ในศตวรรษที่ผ่านมา เครื่องมือทางการเงินเหล่านี้ทำลายอำนาจซื้อของนักลงทุนในหลายประเทศ ถึงแม้ว่านักลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยและเงินต้นครบตามกำหนด แต่ผลลัพธ์แย่ๆที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็คือ รัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดค่าสุดท้ายของเงิน และแรงผลักดันจากระบบจะทำให้นโยบายของรัฐผลิตการเฟ้อของเงิน และในบางครั้งนโยบายเหล่านี้ไปไกลจนเกินกว่าที่จะควบคุมได้
แม้แต่ในสหรัฐอเมริกาที่ซึ่งมีสกุลเงินที่แข็งแกร่ง แต่ดอลล่าร์ก็ยังด้อยค่าไป 86% เมื่อเทียบกับปี 1965 ซึ่งเป็นปีที่ผมได้เข้ามาบริหารที่เบิร์กไชร์ เราต้องใช้เงินไม่น้อยกว่า 7 ดอลล่าร์ในปัจจุบันเพื่อซื้อของ 1 ดอลล่าร์ในเวลานั้นเพียงแค่เพื่อที่จะรักษาอำนาจซื้อให้เท่าเดิม สถาบันการเงินที่ไม่ต้องเสียภาษีต้องการดอกเบี้ยถึง 4.3% ต่อปีจากการลงทุนในพันธบัตรตลอดช่วงเวลาดังกล่าว และคงน่าขันถ้าสถาบันการเงินเหล่านี้เอาดอกเบี้ยเหล่านี้นับเป็น “รายได้” (เพราะที่จริงแล้วเขาเพียงแค่รักษาอำนาจซื้อให้เท่าเดิม แต่ไม่ได้อะไรเพิ่มเลย)
สำหรับนักลงทุนที่ต้องเสียภาษีอย่างคุณกับผมแล้ว ภาพของมันจะแย่กว่านั้น ในระหว่าง 47 ปีเดียวกัน การซื้อตั๋วเงินคลังไปเรื่อยๆจะให้ผลตอบแทน 5.7% ต่อปี ซึ่งมันก็ดูน่าพอใจ แต่นักลงทุนต้องเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคลที่อัตรา 25% นั่นหมายความว่าผลตอบแทน 5.7% ไม่ได้ดูมีค่าอะไรเลยในภาพของผลตอบแทนที่แท้จริง ผลตอบแทนของนักลงทุนจะแบ่งเป็น ส่วนของ “ภาษีเงินได้” ที่ต้องเสียประมาณ 1.4% และ ส่วนของ “เงินเฟ้อ” 4.3% เป็นที่น่าสังเกตว่าส่วนของเงินเฟ้อมีค่ามากกว่า 3 เท่าของภาษีเงินได้ ซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่จะกังวลเฉพาะเรื่องภาษีเงินได้เท่านั้น
ดอกเบี้ยที่สูงย่อมชดเชยกับความเสี่ยงของเงินเฟ้อที่นักลงทุนเจอใน “การลงทุนที่เกี่ยวข้องกับเงิน” แต่จริงๆแล้ว ดอกเบี้ยในต้นทศวรรษที่ 1980 มีอัตราที่สูงมากอยู่แล้ว และในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ต่ำมากจนไม่สามารถชดเชยความเสี่ยงของการด้อยค่าของอำนาจซื้อ ดังนั้นปัจจุบันควรหลีกเลี่ยง “การลงทุนที่เกี่ยวข้องกับเงิน” หรือการลงทุนใน “ตราสารหนี้”
ดังนั้นในสภาวะปัจจุบัน ผมไม่ชอบ “การลงทุนที่เกี่ยวข้องกับเงิน” แต่อย่างไรก็ตามบริษัทเบิร์กไชร์ก็ยังถือของสินทรัพย์ประเภทนี้อยู่อย่างมีนัยยะสำคัญ แต่นั่นก็เป็นเพราะเรื่องสภาพคล่องในระยะสั้นเป็นหลัก ซึ่งเราจะถือ “ตั๋วเงินคลังระยะสั้น” ของสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่นับได้ว่าถือไว้สำหรับสภาพคล่องท่ามกลางเศรษฐกิจที่วุ่นวายในปัจจุบัน สภาพคล่องของการดำเนินงานปกติอยู่ที่ 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และจะเราจะไม่ให้ต่ำกว่า 1หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
นอกเหนือจากสภาพคล่องและกฎระเบียบของรัฐ เราจะซื้อ “สินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องเงิน” ก็ต่อเมื่อมีโอกาสในการทำกำไรได้ในสภาวะที่ไม่ปกติ ซึ่งการทำกำไรอาจจะมาจากการให้ราคาที่ผิดของตลาดในช่วงที่ตลาดย่ำแย่ หรือมาจากการที่อัตราดอกเบี้ยขึ้นไปสูงมากจนมีความเป็นไปได้ที่จะขายทำกำไรในอนาคตเมื่ออัตราดอกเบี้ยตกลง ถึงแม้ว่าเราได้ทำกำไรในโอกาสหลายครั้งในอดีต และจะทำอีกในอนาคต แต่ตอนนี้เราไม่เห็นโอกาสตรงนั้นแม้แต่น้อย Shelby Cullom Davis ได้กล่าวไว้เมื่อนานมาแล้วดูเหมือนจะเหมาะสมในตอนนี้ “ตราสารหนี้เคยได้ถูกยอมรับว่าเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนโดยปราศจากความเสี่ยง แต่ตอนนี้มันได้กลายเป็นสินทรัพย์ที่ให้ความเสี่ยงโดยปราศจากผลตอบแทน"
การลงทุนหมวดหมู่ที่สองคือ “การลงทุนที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ที่ไม่เคยผลิตอะไรเลย” แต่สินทรัพย์ถูกซื้อโดยความหวังของผู้ซื้อว่าจะมีใครบางคนยอมให้ราคาที่สูงกว่าในอนาคต (ซึ่งใครบางคนนั้นก็รู้เช่นกันว่าสินทรัพย์เหล่านี้จะไม่ผลิตอะไรเลย) “เรื่องราวของดอกทิวลิป” ในศตรวรรษที่ 17 เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการซื้อในลักษณะดังกล่าว
การลงทุนประเภทนี้ต้องการที่จะขยายฐานของผู้ซื้อ ซึ่งผู้ซื้อก็เชื่อว่าฐานของผู้ซื้อจะยังขยายต่อไปเรื่อยๆ เจ้าของสินทรัพย์จะไม่สนใจว่าสินทรัพย์ของเขาจะผลิตอะไร แต่จะสนใจว่ามันจะคงอยู่ตลอดไป และเชื่อว่าบุคคลอื่นจะต้องการมากขึ้นในอนาคต
สินทรัพย์หลักของการลงทุนหมวดหมู่นี้ก็คือ “ทองคำ” ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของนักลงทุนส่วนใหญ่ที่กลัวทรัพย์สินประเภทอื่นๆเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนบัตร (กลัวว่าค่าของเงินจะด้อยค่าลง) อย่างไรก็ตามทองคำมีข้อเสียอยู่ 2 ประการคือ ทองคำไม่ได้ถูกบริโภคเป็นจำนวนมาก และ ทองคำไม่ได้นำไปใช้ผลิตอะไรเป็นจำนวนมาก จริงอยู่ที่ทองคำถูกใช้ในบางอุตสาหกรรม และเป็นเครื่องประดับ แต่ความต้องการเหล่านี้ถูกจำกัด และไม่สามารถที่จะผลิตทองคำเพิ่มเติมจากที่เราครอบครองอยู่ให้ขยายเป็นจำนวนมากได้ ดังนั้นถ้าคุณเป็นเจ้าของทองคำ 1 ออนซ์ ท้ายที่สุดแล้วคุณก็จะมีทองคำอยู่ 1 ออนซ์อยู่ดี
ตัวกระตุ้นผู้ซื้อทองคำที่สำคัญที่สุดก็คือความเชื่อว่า “ความกลัว” จะมากขึ้นทุกวัน ในทศวรรษที่ผ่านมากความเชื่อนี้ได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าถูกต้อง นอกเหนือไปจากนั้นราคาทองคำที่เพิ่มขึ้นก็เป็นตัวดึงดูดผู้ซื้อหน้าใหม่เข้ามาเรื่อยๆ จนกลายเป็น “กระแสนิยม” ซึ่งผู้ซื้อเหล่านี้จะสร้างความจริงในหมู่ของพวกเขาเอง (แต่เพียงในช่วงระยะเวลาหนึ่ง)
ใน 15 ปีที่ผ่านมา หุ้นอินเตอร์เน็ต หรือ บ้าน ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความผิดปกติโดยได้รวมสมมติฐานที่น่าจะเชื่อถือได้กับการรับรู้ว่าราคาของมันได้สูงขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงฟองสบู่นี้มีนักลงทุนที่ตอนแรกยังสงสัย แต่กลับเปลี่ยนใจเมื่อได้เห็น “หลักฐาน” ของตลาด และฐานของผู้ซื้อที่ขยายขึ้นเรื่อยๆจนมากพอที่ทำให้ “กระแสนิยม” ดำเนินต่อไปเรื่อยๆ แต่ฟองสบู่ก็พองขึ้นจนใหญ่มากพอที่เกินกว่าจะหลีกเลี่ยงไม่ให้แตก และในที่สุดสำนวนสุภาษิตเก่าแก่ก็กลับมายืนยันอีกครั้งว่า “อะไรที่คนฉลาดทำในตอนแรก คนโง่เขลาจะทำสิ่งนั้นในตอนสุดท้าย”
ในปัจจุบัน ทองคำคงเหลือในโลกมีอยู่ที่ 170,000 ตัน ถ้าทองคำทั้งหมดในโลกหลอมรวมกันจะสามารถสร้างเป็นลูกบาศก์ที่มีความยาวข้างละ 68 feet (สนามเบสบอลเพียงแค่ 1 สนาม) ในราคาทองคำที่ 1,750 เหรียญสหรัฐ ต่อออนซ์ (ราคา ณ ตอนเขียนบทความ) ค่าของทองคำคงเหลือในโลกจะมีมูลค่าประมาณ 9.6 ล้านล้าน เหรียญสหรัฐ ซึ่งจะเรียกลูกบาศก์นี้ว่า “ก้อน A”
เรามาสร้าง “ก้อน B” กันในมูลค่าที่เท่ากัน เราจะได้พื้นที่การเกษตรของประเทศสหรัฐอเมริกาทั้งหมด (400 ล้านเอเคอร์ ซึ่งมีผลผลิต 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐต่อปี) บวกด้วย บริษัท Exxon Mobils 16 บริษัท (บริษัทที่มีกำไรมากที่สุดในโลก กำไรมากกว่า 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อปี) หลักจากการซื้อแล้วเรายังเหลือเงินใช้เล่นๆอีกประมาณ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ถึงตอนนี้ถ้าคุณเป็นนักลงทุนที่มีเงิน 9.6 ล้านล้านเหรียฐสหรัฐ คุณจะลงทุนใน “ก้อน A” หรือ “ก้อน B”?
นอกเหนือจากการประเมินมูลค่าของทองคำคงเหลือในปัจจุบันแล้ว ราคาทองคำที่สูงในปัจจุบันดึงดูดให้มีการผลิตทองคำเพิ่มเติมประมาณ 1.6 แสนล้านเหรียญต่อปี ผู้ซื้อ (ผู้ใช้เครื่องประดับ อุตสาหกรรมที่ใช้ทองคำ นักลงทุน หรือนักเก็งกำไร) จะต้องบริโภคเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องเพื่อสอดคล้องกับอุปทานเหล่านี้เพื่อให้รักษาราคาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
100 ปีต่อจากนี้ 400 ล้านเอเคอร์ของพื้นที่การเกษตรจะผลิตข้าวโพด ข้าวสาลี ฝ้าย และ ผลิตผลอื่นๆ เป็นจำนวนมหาศาล และจะยังคงให้ผลผลิตที่มีคุณค่าอย่างนี้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆโดยไม่สนใจว่าค่าของเงินจะเปลี่ยนไปเช่นไร Exxon Mobil ก็มีความเป็นไปได้ที่จะให้ผลตอบแทนหลายล้านล้านเหรียญสหรัฐในรูปแบบของเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น และยังคงมีสินทรัพย์ที่ถือครองอยู่ในบริษัทอีกหลายล้านล้าน (อย่าลืมว่าคุณมี Exxon 16 บริษัท) สำหรับทองคำ 170,000 ตันแล้วก็ยังมีขนาดเท่าเดิม และยังคงไม่สามารถผลิตอะไรออกมาได้ คุณอาจจะสามารถทะนุถนอมก้อนลูกบาศก์นี้ได้ แต่มันก็อยู่นิ่งๆ ไม่ได้ตอบสนองอะไรแก่เรา
แต่ต้องยอมรับว่า เมื่อคนอีกหนึ่งร้อยปีนับจากนี้มีความกลัว ก็ดูเหมือนจะมีคนวิ่งเข้าหาทองคำเป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามผมมั่นใจว่า “ก้อน A” ที่ถูกประเมินด้วยมูลค่า 9.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปัจจุบันจะให้ผลตอบแทนในอัตราที่ทบต้นที่น้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับ “ก้อน B”
การลงทุนใน 2 หมวดหมู่แรกจะให้ผลดีเมื่อมีความกลัวเกิดขึ้นที่จุดสูงสุด เมื่อเศรษฐกิจล่มสลายนักลงทุนจะย้ายการลงทุนมาสู่ “สินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับเงิน” โดยเฉพาะอย่างยิ่งตราสารที่ออกโดยรัฐบาลอเมริกา และถ้ามีความกลัวในการล่มสลายของค่าของเงิน นักลงทุนก็จะย้ายเข้าการลงทุนสู่ “สินทรัพย์คงทนที่ไม่ผลิตอะไร” เช่น ทองคำ เราเคยได้ยินคำว่า “เงินสดคือพระเจ้า” ในปลายปี 2008 ซึ่งเป็นเช่นนั้นก็ต่อเมื่อเงินสดต้องการถูกใช้ มากกว่าที่ต้องการถูกถือครอง ในลักษณะเดียวกัน เราได้ยินคำว่า “เงินสดคือขยะ” ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 ซึ่งเป็นช่วงที่การลงทุนในตราสารหนี้น่าดึงดูดที่สุดในความทรงจำของผม
คุณคงรู้ว่าการลงทุนหมวดหมู่ที่สาม ซึ่งเป็นหมวดหมู่ที่ผมชอบคืออะไร นั่นก็คือการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีผลิตผลไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจ เกษตรกรรม หรือ อสังหาริมทรัพย์ ในทางอุดมคติแล้วทรัพย์สินเหล่านี้มีความสามารถที่จะให้ผลผลิตเพื่อรักษาอำนาจซื้อโดยต้องการเงินลงทุนเพิ่มที่ต่ำ เกษตรกรรม อสังหาริมทรัพย์ และหลายๆธุรกิจ เช่น Coca-Cola IBM See’s Candy ส่วนบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคที่ถูกควบคุมจะไม่ดีเพราะต้องการเงินลงทุนที่สูง เพื่อที่จะได้กำไรมากขึ้นพวกเขาจำเป็นต้องลงทุนสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการลงทุนพวกนี้ก็ยังคงดีกว่าการลงทุนใน “สินทรัพย์ที่ไม่ผลิตอะไร” กับ “สินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับเงิน”
ไม่ว่าอีกร้อยปีต่อจากนี้เงินจะอ้างอิงกับทองคำ เปลือกหอย ฟันของฉลาม หรือเศษกระดาษ (เช่น ธนบัตรในปัจจุบัน) คนยังคงต้องการแลกเปลี่ยนส่วนหนึ่งของแรงงานของเขากับ Coca-Cola หรือ ขนมเนยถั่วของ See ในอนาคตประชาชนในสหรัฐจะแลกเปลี่ยนสินค้ามากขึ้น บริโภคอาหารมากขึ้น และต้องการที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่มากขึ้น มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ผู้คนจะยังคงแลกเปลี่ยนสิ่งที่เขาผลิตกับสิ่งที่คนอื่นผลิตตลอดไป
ธุรกิจในประเทศของเราจะยังคงส่งมอบสินค้าและบริการที่มีความต้องการจากประชาชนอย่างประสิทธิภาพ เปรียบเหมือน “วัว” ที่จะมีอายุยืนยาวหลายร้อยปีและให้ “น้ำนม” ที่มากขึ้นเรื่อยๆ คุณค่าของมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน แต่ขึ้นอยู่กับความสามารถในการผลิตนม กำไรที่ได้จากการขายน้ำนมจะทบต้นให้แก่เจ้าของวัว เหมือนกับที่ดัชนีดาวโจนส์ได้ทำไว้ในศตรวรรษที่ 20 ที่ขึ้นมาจาก 66 ไป 11,497 (และยังจ่ายเงินปันผลจำนวนมหาศาลในระหว่างนั้น)
เป้าหมายของบริษัทเบิร์กไชร์คือการเพิ่มความเป็นเจ้าของในธุรกิจชั้นเยี่ยม ถ้าเลือกได้เราจะเป็นเจ้าของกิจการนั้นทั้งหมด อย่างไรก็ตามเราก็อาจจะเป็นเจ้าของโดยการถือหุ้นที่ในสัดส่วนที่มีนัยยะสำคัญเช่นกัน ผมเชื่อว่าในระยะยาวแล้วการลงทุนประเภทนี้จะพิสูจน์ว่าเป็นผู้ชนะในการลงทุน 3 ประเภทที่เราได้กล่าวถึง และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือเป็นการลงทุนที่ “ปลอดภัยที่สุด” เช่นกัน
บทความนี้เป็นบทความที่ดัดแปลงมาจากจดหมายผู้ถือหุ้น ซึ่งวอร์เรน บัฟเฟตต์ได้อธิบายไว้ว่าทำไมการลงทุนในหุ้นถึงให้ผลตอบแทนเหนือกว่าการลงทุนประเภทอื่นเสมอ
การลงทุนโดยทั่วไปแล้วคนมักให้คำนิยามว่าคือกระบวนการที่วางเงินในปัจจุบันเพื่อคาดหวังให้ได้เงินที่มากกว่าในอนาคต แต่ที่เบิร์กไชร์ ฮาทะเวย์ เราให้คำนิยามไว้ที่มากกว่านั้นคือ การลงทุนคือการวางอำนาจซื้อในปัจจุบัน และคาดหวังอย่างมีเหตุผลเพื่อให้ได้อำนาจซื้อ (หลังจากหักภาษีจากกำไรที่ได้) ที่มากกว่าในอนาคต กล่าวคือ การลงทุนคือการเลื่อนการบริโภคของเราในปัจจุบันเพื่อให้สามารถบริโภคมากกว่าในภายหลัง
จากคำนิยามของเราทำให้ได้หลักการที่สำคัญตามมาคือ ความเสี่ยงของการลงทุนไม่ได้ถูกวัดโดยค่า beta (คำที่ใช้แสดงถึงความผันผวนของตลาด และบ่อยครั้งที่ถูกนำมาใช้ในการวัดความเสี่ยง) แต่ความเสี่ยงของการลงทุนที่แท้จริงจะถูกวัดโดยความน่าจะเป็นที่มีเหตุผล ในช่วงเวลาการลงทุนราคาของสินทรัพย์สามารถเหวี่ยงไปมาอย่างรุนแรงได้ แต่ความผันผวนนี้ไม่ได้ถือว่าเป็นความเสี่ยงตราบใดที่สินทรัพย์เหล่านั้นมีเหตุผลที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถเพิ่มอำนาจให้แก่เจ้าของได้ในระยะเวลาที่ลงทุน ในทางกลับกัน เรากลับคิดว่าสินทรัพย์ที่ไม่ผันผวนจะถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่เต็มไปด้วยความเสี่ยง
ทางเลือกการลงทุนในปัจจุบันมีมากและหลากหลาย อย่างไรก็ตามมีประเภทการลงทุนหลัก 3 หมวดหมู่ที่เราควรจะเข้าใจลักษณะของมัน ดังนี้
หมวดหมู่แรกคือ “การลงทุนเกี่ยวข้องกับเงิน” ซึ่งจะรวมถึง กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น พันธบัตร การให้สินเชื่อบ้าน การฝากเงิน และเครื่องมือทางการเงินอื่นๆ “การลงทุนที่เกี่ยวข้องกับเงิน” โดยส่วนใหญ่แล้วทุกคนจะว่า “ปลอดภัย” แต่ในความเป็นจริงแล้วจัดว่าเป็นสินทรัพย์ที่อันตรายที่สุด ถึงแม้ว่าค่า beta ของมันจะเป็น 0 (ไม่มีความผันผวน) แต่ความเสี่ยงของมันกลับมีมาก
ในศตวรรษที่ผ่านมา เครื่องมือทางการเงินเหล่านี้ทำลายอำนาจซื้อของนักลงทุนในหลายประเทศ ถึงแม้ว่านักลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยและเงินต้นครบตามกำหนด แต่ผลลัพธ์แย่ๆที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็คือ รัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดค่าสุดท้ายของเงิน และแรงผลักดันจากระบบจะทำให้นโยบายของรัฐผลิตการเฟ้อของเงิน และในบางครั้งนโยบายเหล่านี้ไปไกลจนเกินกว่าที่จะควบคุมได้
แม้แต่ในสหรัฐอเมริกาที่ซึ่งมีสกุลเงินที่แข็งแกร่ง แต่ดอลล่าร์ก็ยังด้อยค่าไป 86% เมื่อเทียบกับปี 1965 ซึ่งเป็นปีที่ผมได้เข้ามาบริหารที่เบิร์กไชร์ เราต้องใช้เงินไม่น้อยกว่า 7 ดอลล่าร์ในปัจจุบันเพื่อซื้อของ 1 ดอลล่าร์ในเวลานั้นเพียงแค่เพื่อที่จะรักษาอำนาจซื้อให้เท่าเดิม สถาบันการเงินที่ไม่ต้องเสียภาษีต้องการดอกเบี้ยถึง 4.3% ต่อปีจากการลงทุนในพันธบัตรตลอดช่วงเวลาดังกล่าว และคงน่าขันถ้าสถาบันการเงินเหล่านี้เอาดอกเบี้ยเหล่านี้นับเป็น “รายได้” (เพราะที่จริงแล้วเขาเพียงแค่รักษาอำนาจซื้อให้เท่าเดิม แต่ไม่ได้อะไรเพิ่มเลย)
สำหรับนักลงทุนที่ต้องเสียภาษีอย่างคุณกับผมแล้ว ภาพของมันจะแย่กว่านั้น ในระหว่าง 47 ปีเดียวกัน การซื้อตั๋วเงินคลังไปเรื่อยๆจะให้ผลตอบแทน 5.7% ต่อปี ซึ่งมันก็ดูน่าพอใจ แต่นักลงทุนต้องเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคลที่อัตรา 25% นั่นหมายความว่าผลตอบแทน 5.7% ไม่ได้ดูมีค่าอะไรเลยในภาพของผลตอบแทนที่แท้จริง ผลตอบแทนของนักลงทุนจะแบ่งเป็น ส่วนของ “ภาษีเงินได้” ที่ต้องเสียประมาณ 1.4% และ ส่วนของ “เงินเฟ้อ” 4.3% เป็นที่น่าสังเกตว่าส่วนของเงินเฟ้อมีค่ามากกว่า 3 เท่าของภาษีเงินได้ ซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่จะกังวลเฉพาะเรื่องภาษีเงินได้เท่านั้น
ดอกเบี้ยที่สูงย่อมชดเชยกับความเสี่ยงของเงินเฟ้อที่นักลงทุนเจอใน “การลงทุนที่เกี่ยวข้องกับเงิน” แต่จริงๆแล้ว ดอกเบี้ยในต้นทศวรรษที่ 1980 มีอัตราที่สูงมากอยู่แล้ว และในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ต่ำมากจนไม่สามารถชดเชยความเสี่ยงของการด้อยค่าของอำนาจซื้อ ดังนั้นปัจจุบันควรหลีกเลี่ยง “การลงทุนที่เกี่ยวข้องกับเงิน” หรือการลงทุนใน “ตราสารหนี้”
ดังนั้นในสภาวะปัจจุบัน ผมไม่ชอบ “การลงทุนที่เกี่ยวข้องกับเงิน” แต่อย่างไรก็ตามบริษัทเบิร์กไชร์ก็ยังถือของสินทรัพย์ประเภทนี้อยู่อย่างมีนัยยะสำคัญ แต่นั่นก็เป็นเพราะเรื่องสภาพคล่องในระยะสั้นเป็นหลัก ซึ่งเราจะถือ “ตั๋วเงินคลังระยะสั้น” ของสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่นับได้ว่าถือไว้สำหรับสภาพคล่องท่ามกลางเศรษฐกิจที่วุ่นวายในปัจจุบัน สภาพคล่องของการดำเนินงานปกติอยู่ที่ 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และจะเราจะไม่ให้ต่ำกว่า 1หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
นอกเหนือจากสภาพคล่องและกฎระเบียบของรัฐ เราจะซื้อ “สินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องเงิน” ก็ต่อเมื่อมีโอกาสในการทำกำไรได้ในสภาวะที่ไม่ปกติ ซึ่งการทำกำไรอาจจะมาจากการให้ราคาที่ผิดของตลาดในช่วงที่ตลาดย่ำแย่ หรือมาจากการที่อัตราดอกเบี้ยขึ้นไปสูงมากจนมีความเป็นไปได้ที่จะขายทำกำไรในอนาคตเมื่ออัตราดอกเบี้ยตกลง ถึงแม้ว่าเราได้ทำกำไรในโอกาสหลายครั้งในอดีต และจะทำอีกในอนาคต แต่ตอนนี้เราไม่เห็นโอกาสตรงนั้นแม้แต่น้อย Shelby Cullom Davis ได้กล่าวไว้เมื่อนานมาแล้วดูเหมือนจะเหมาะสมในตอนนี้ “ตราสารหนี้เคยได้ถูกยอมรับว่าเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนโดยปราศจากความเสี่ยง แต่ตอนนี้มันได้กลายเป็นสินทรัพย์ที่ให้ความเสี่ยงโดยปราศจากผลตอบแทน"
การลงทุนหมวดหมู่ที่สองคือ “การลงทุนที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ที่ไม่เคยผลิตอะไรเลย” แต่สินทรัพย์ถูกซื้อโดยความหวังของผู้ซื้อว่าจะมีใครบางคนยอมให้ราคาที่สูงกว่าในอนาคต (ซึ่งใครบางคนนั้นก็รู้เช่นกันว่าสินทรัพย์เหล่านี้จะไม่ผลิตอะไรเลย) “เรื่องราวของดอกทิวลิป” ในศตรวรรษที่ 17 เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการซื้อในลักษณะดังกล่าว
การลงทุนประเภทนี้ต้องการที่จะขยายฐานของผู้ซื้อ ซึ่งผู้ซื้อก็เชื่อว่าฐานของผู้ซื้อจะยังขยายต่อไปเรื่อยๆ เจ้าของสินทรัพย์จะไม่สนใจว่าสินทรัพย์ของเขาจะผลิตอะไร แต่จะสนใจว่ามันจะคงอยู่ตลอดไป และเชื่อว่าบุคคลอื่นจะต้องการมากขึ้นในอนาคต
สินทรัพย์หลักของการลงทุนหมวดหมู่นี้ก็คือ “ทองคำ” ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของนักลงทุนส่วนใหญ่ที่กลัวทรัพย์สินประเภทอื่นๆเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนบัตร (กลัวว่าค่าของเงินจะด้อยค่าลง) อย่างไรก็ตามทองคำมีข้อเสียอยู่ 2 ประการคือ ทองคำไม่ได้ถูกบริโภคเป็นจำนวนมาก และ ทองคำไม่ได้นำไปใช้ผลิตอะไรเป็นจำนวนมาก จริงอยู่ที่ทองคำถูกใช้ในบางอุตสาหกรรม และเป็นเครื่องประดับ แต่ความต้องการเหล่านี้ถูกจำกัด และไม่สามารถที่จะผลิตทองคำเพิ่มเติมจากที่เราครอบครองอยู่ให้ขยายเป็นจำนวนมากได้ ดังนั้นถ้าคุณเป็นเจ้าของทองคำ 1 ออนซ์ ท้ายที่สุดแล้วคุณก็จะมีทองคำอยู่ 1 ออนซ์อยู่ดี
ตัวกระตุ้นผู้ซื้อทองคำที่สำคัญที่สุดก็คือความเชื่อว่า “ความกลัว” จะมากขึ้นทุกวัน ในทศวรรษที่ผ่านมากความเชื่อนี้ได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าถูกต้อง นอกเหนือไปจากนั้นราคาทองคำที่เพิ่มขึ้นก็เป็นตัวดึงดูดผู้ซื้อหน้าใหม่เข้ามาเรื่อยๆ จนกลายเป็น “กระแสนิยม” ซึ่งผู้ซื้อเหล่านี้จะสร้างความจริงในหมู่ของพวกเขาเอง (แต่เพียงในช่วงระยะเวลาหนึ่ง)
ใน 15 ปีที่ผ่านมา หุ้นอินเตอร์เน็ต หรือ บ้าน ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความผิดปกติโดยได้รวมสมมติฐานที่น่าจะเชื่อถือได้กับการรับรู้ว่าราคาของมันได้สูงขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงฟองสบู่นี้มีนักลงทุนที่ตอนแรกยังสงสัย แต่กลับเปลี่ยนใจเมื่อได้เห็น “หลักฐาน” ของตลาด และฐานของผู้ซื้อที่ขยายขึ้นเรื่อยๆจนมากพอที่ทำให้ “กระแสนิยม” ดำเนินต่อไปเรื่อยๆ แต่ฟองสบู่ก็พองขึ้นจนใหญ่มากพอที่เกินกว่าจะหลีกเลี่ยงไม่ให้แตก และในที่สุดสำนวนสุภาษิตเก่าแก่ก็กลับมายืนยันอีกครั้งว่า “อะไรที่คนฉลาดทำในตอนแรก คนโง่เขลาจะทำสิ่งนั้นในตอนสุดท้าย”
ในปัจจุบัน ทองคำคงเหลือในโลกมีอยู่ที่ 170,000 ตัน ถ้าทองคำทั้งหมดในโลกหลอมรวมกันจะสามารถสร้างเป็นลูกบาศก์ที่มีความยาวข้างละ 68 feet (สนามเบสบอลเพียงแค่ 1 สนาม) ในราคาทองคำที่ 1,750 เหรียญสหรัฐ ต่อออนซ์ (ราคา ณ ตอนเขียนบทความ) ค่าของทองคำคงเหลือในโลกจะมีมูลค่าประมาณ 9.6 ล้านล้าน เหรียญสหรัฐ ซึ่งจะเรียกลูกบาศก์นี้ว่า “ก้อน A”
เรามาสร้าง “ก้อน B” กันในมูลค่าที่เท่ากัน เราจะได้พื้นที่การเกษตรของประเทศสหรัฐอเมริกาทั้งหมด (400 ล้านเอเคอร์ ซึ่งมีผลผลิต 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐต่อปี) บวกด้วย บริษัท Exxon Mobils 16 บริษัท (บริษัทที่มีกำไรมากที่สุดในโลก กำไรมากกว่า 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อปี) หลักจากการซื้อแล้วเรายังเหลือเงินใช้เล่นๆอีกประมาณ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ถึงตอนนี้ถ้าคุณเป็นนักลงทุนที่มีเงิน 9.6 ล้านล้านเหรียฐสหรัฐ คุณจะลงทุนใน “ก้อน A” หรือ “ก้อน B”?
นอกเหนือจากการประเมินมูลค่าของทองคำคงเหลือในปัจจุบันแล้ว ราคาทองคำที่สูงในปัจจุบันดึงดูดให้มีการผลิตทองคำเพิ่มเติมประมาณ 1.6 แสนล้านเหรียญต่อปี ผู้ซื้อ (ผู้ใช้เครื่องประดับ อุตสาหกรรมที่ใช้ทองคำ นักลงทุน หรือนักเก็งกำไร) จะต้องบริโภคเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องเพื่อสอดคล้องกับอุปทานเหล่านี้เพื่อให้รักษาราคาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
100 ปีต่อจากนี้ 400 ล้านเอเคอร์ของพื้นที่การเกษตรจะผลิตข้าวโพด ข้าวสาลี ฝ้าย และ ผลิตผลอื่นๆ เป็นจำนวนมหาศาล และจะยังคงให้ผลผลิตที่มีคุณค่าอย่างนี้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆโดยไม่สนใจว่าค่าของเงินจะเปลี่ยนไปเช่นไร Exxon Mobil ก็มีความเป็นไปได้ที่จะให้ผลตอบแทนหลายล้านล้านเหรียญสหรัฐในรูปแบบของเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น และยังคงมีสินทรัพย์ที่ถือครองอยู่ในบริษัทอีกหลายล้านล้าน (อย่าลืมว่าคุณมี Exxon 16 บริษัท) สำหรับทองคำ 170,000 ตันแล้วก็ยังมีขนาดเท่าเดิม และยังคงไม่สามารถผลิตอะไรออกมาได้ คุณอาจจะสามารถทะนุถนอมก้อนลูกบาศก์นี้ได้ แต่มันก็อยู่นิ่งๆ ไม่ได้ตอบสนองอะไรแก่เรา
แต่ต้องยอมรับว่า เมื่อคนอีกหนึ่งร้อยปีนับจากนี้มีความกลัว ก็ดูเหมือนจะมีคนวิ่งเข้าหาทองคำเป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามผมมั่นใจว่า “ก้อน A” ที่ถูกประเมินด้วยมูลค่า 9.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปัจจุบันจะให้ผลตอบแทนในอัตราที่ทบต้นที่น้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับ “ก้อน B”
การลงทุนใน 2 หมวดหมู่แรกจะให้ผลดีเมื่อมีความกลัวเกิดขึ้นที่จุดสูงสุด เมื่อเศรษฐกิจล่มสลายนักลงทุนจะย้ายการลงทุนมาสู่ “สินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับเงิน” โดยเฉพาะอย่างยิ่งตราสารที่ออกโดยรัฐบาลอเมริกา และถ้ามีความกลัวในการล่มสลายของค่าของเงิน นักลงทุนก็จะย้ายเข้าการลงทุนสู่ “สินทรัพย์คงทนที่ไม่ผลิตอะไร” เช่น ทองคำ เราเคยได้ยินคำว่า “เงินสดคือพระเจ้า” ในปลายปี 2008 ซึ่งเป็นเช่นนั้นก็ต่อเมื่อเงินสดต้องการถูกใช้ มากกว่าที่ต้องการถูกถือครอง ในลักษณะเดียวกัน เราได้ยินคำว่า “เงินสดคือขยะ” ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 ซึ่งเป็นช่วงที่การลงทุนในตราสารหนี้น่าดึงดูดที่สุดในความทรงจำของผม
คุณคงรู้ว่าการลงทุนหมวดหมู่ที่สาม ซึ่งเป็นหมวดหมู่ที่ผมชอบคืออะไร นั่นก็คือการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีผลิตผลไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจ เกษตรกรรม หรือ อสังหาริมทรัพย์ ในทางอุดมคติแล้วทรัพย์สินเหล่านี้มีความสามารถที่จะให้ผลผลิตเพื่อรักษาอำนาจซื้อโดยต้องการเงินลงทุนเพิ่มที่ต่ำ เกษตรกรรม อสังหาริมทรัพย์ และหลายๆธุรกิจ เช่น Coca-Cola IBM See’s Candy ส่วนบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคที่ถูกควบคุมจะไม่ดีเพราะต้องการเงินลงทุนที่สูง เพื่อที่จะได้กำไรมากขึ้นพวกเขาจำเป็นต้องลงทุนสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการลงทุนพวกนี้ก็ยังคงดีกว่าการลงทุนใน “สินทรัพย์ที่ไม่ผลิตอะไร” กับ “สินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับเงิน”
ไม่ว่าอีกร้อยปีต่อจากนี้เงินจะอ้างอิงกับทองคำ เปลือกหอย ฟันของฉลาม หรือเศษกระดาษ (เช่น ธนบัตรในปัจจุบัน) คนยังคงต้องการแลกเปลี่ยนส่วนหนึ่งของแรงงานของเขากับ Coca-Cola หรือ ขนมเนยถั่วของ See ในอนาคตประชาชนในสหรัฐจะแลกเปลี่ยนสินค้ามากขึ้น บริโภคอาหารมากขึ้น และต้องการที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่มากขึ้น มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ผู้คนจะยังคงแลกเปลี่ยนสิ่งที่เขาผลิตกับสิ่งที่คนอื่นผลิตตลอดไป
ธุรกิจในประเทศของเราจะยังคงส่งมอบสินค้าและบริการที่มีความต้องการจากประชาชนอย่างประสิทธิภาพ เปรียบเหมือน “วัว” ที่จะมีอายุยืนยาวหลายร้อยปีและให้ “น้ำนม” ที่มากขึ้นเรื่อยๆ คุณค่าของมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน แต่ขึ้นอยู่กับความสามารถในการผลิตนม กำไรที่ได้จากการขายน้ำนมจะทบต้นให้แก่เจ้าของวัว เหมือนกับที่ดัชนีดาวโจนส์ได้ทำไว้ในศตรวรรษที่ 20 ที่ขึ้นมาจาก 66 ไป 11,497 (และยังจ่ายเงินปันผลจำนวนมหาศาลในระหว่างนั้น)
เป้าหมายของบริษัทเบิร์กไชร์คือการเพิ่มความเป็นเจ้าของในธุรกิจชั้นเยี่ยม ถ้าเลือกได้เราจะเป็นเจ้าของกิจการนั้นทั้งหมด อย่างไรก็ตามเราก็อาจจะเป็นเจ้าของโดยการถือหุ้นที่ในสัดส่วนที่มีนัยยะสำคัญเช่นกัน ผมเชื่อว่าในระยะยาวแล้วการลงทุนประเภทนี้จะพิสูจน์ว่าเป็นผู้ชนะในการลงทุน 3 ประเภทที่เราได้กล่าวถึง และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือเป็นการลงทุนที่ “ปลอดภัยที่สุด” เช่นกัน
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 728
- ผู้ติดตาม: 0
R31: ชีวิตประจำวันกับหุ้น 34 ตัว
โพสต์ที่ 5
สมชายตื่นขึ้นมาตอนเช้าจากเตียงที่ซื้อจากโฮมโปร (HMPRO) ด้วยนาฬิกาปลุกที่ซื้อมาจากห้างเซ็นทรัล (CPN) และกินอาหารเช้าเป็นเกี๊ยวกุ้งที่ผลิตจาก (CPF) ที่ซื้อมาจากเซเว่นใกล้บ้าน (CPALL) อย่างเอร็ดอร่อย ปกติแล้วสมชายจะเดินทางไปทำงานด้วยรถไฟฟ้า (BTS) แต่วันนี้สมชายต้องไปรับพ่อแม่ที่กลับมาจากไปเที่ยวต่างประเทศด้วยสายการบินไทย (THAI) ที่สนามบินสุวรรณภูมิ (AOT) สมชายจึงลางานและขับรถยนต์ (STANLY) ไปรับพ่อแม่วันนี้
ระหว่างทางสมชายได้เปิดวิทยุฟังคลื่นความคิดของ อสมท (MCOT) แล้วรู้สึกเครียด จึงหมุนไปฟังคลื่นกรีนเวฟของเอไทม์ (GRAMMY) และสมชายได้แวะเติมน้ำมันที่ปั๊ม (PTT) เข้าไปมินิมาร์ทในปั๊มซื้อเป๊ปซี่ (SSC) มาดื่มแก้กระหาย และกดเงินจากตู้ ATM ของธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) หลังจากนั้น และขับรถออกจากปั๊มไป ระหว่างที่สมชายกำลังขับรถอยู่นั้นมีเสียงโทรศัพท์จากมือถือ Black Berry ของเขา (SIS) ที่ซื้อมาจากร้านเจมาร์ท (JMART) และใช้เครือข่าย AIS (ADVANC)
สมชายรับโทรศัพท์ซึ่งเสียงในสายเป็นเสียงภรรยาของสมชายบอกว่าผ้าอ้อม BABY LOVE (DSGT) ของลูกที่บ้านใกล้หมดแล้ว ให้แวะซื้อด้วย เนื่องจากสมชายขับรถไปคุยโทรศัพท์ไปจึงทำให้ไม่ทันระวังรถมอเตอร์ไซค์ (TK) ข้างๆที่ปาดเข้ามา จึงเกิดอุบัติเหตุขึ้น สมชายคิดในใจว่า โคตรซวยเลยรถพึ่งซื้อมาใหม่ด้วยการผ่อนกับทิสโก้ (TISCO) ขับมาไม่นานก็ชนซะแล้ว คู่กรณีของสมชายได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย และนำส่งโรงพยาบาลพญาไท (BGH) ที่อยู่ใกล้ๆ หลังจากนั้นสมชายจึงเรียกประกันจากสินมั่นคง (SMK) ซึ่ง มาเร็ว เคลมเร็ว สมชื่อใช้เวลาไม่นานก็เคลียร์เรื่องประกันเสร็จ
หลังจากสมชายไปรับพ่อและแม่แล้วก็แวะซื้อผ้าอ้อมที่บิ๊กซี (BIGC) และกลับมาถึงบ้านที่สมชายได้ซื้อมาจากแลนด์แอนด์เอาส์ (LH) ด้วยการผ่อนกับธนาคารกรุงเทพ (BBL) ซึ่งธนาคารบังคับให้ทำประกันภัยไฟไหม้ และน้ำท่วมกับ กรุงเทพประกันภัย (BKI) บ้านหลังนี้มีความแข็งแกร่งเพราะสร้างด้วยปูนตราช้าง (SCC) มุงหลังคาด้วยกระเบื้องตราเพชร (DRT)
หลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการออกไปข้างนอกบ้าน สมชายจึงพักผ่อนเปิดทรูวิชั่นส์ (TRUE) ดูทีวีช่อง 3 (BEC) ที่มีรายการข่าวเด่นเย็นนี้ (NBC) ตอนค่ำสมชายพาภรรยาออกไปทานอาหารบุฟเฟต์ชาบูที่ร้านชาบูชิ (OISHI) ที่สยามเซ็นเตอร์ และดูหนัง (MAJOR) ที่ห้างพารากอน (MBK) ตอนดึกกลับมาบ้านสมชายเปิดคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมาจากไอทีซิตี้ (IT) เล่นเฟซบุ๊คผ่านบอร์ดแบรนด์ 3BB ที่บ้าน (JAS) และเข้านอนหลังนั้นไม่นานเพราะต้องตื่นเช้าเพื่อไปทำงานพรุ่งนี้ต่อไป
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 728
- ผู้ติดตาม: 0
R30: ดร. นิเวศน์ กับ STANLY HMPRO CPALL
โพสต์ที่ 8
STANLY
ซื้อ: ปี 2541 ราคา 5 บาท P/E 3.9
ขาย: ปี 2546 ราคา 200 P/E 20.3
ระยะเวลาที่ถือ 5 ปี ผลตอบแทนทั้งหมด 3,900% ผลตอบแทนต่อปี 109%
ซื้อ: ปี 2545 ราคา30 บาท P/E 11.8
ขาย: ปี 2546 ราคา 200 P/E 20.3
ระยะเวลาที่ถือ 5 ปี ผลตอบแทนทั้งหมด 566% ผลตอบแทนต่อปี 566%
HMPRO
ซื้อ: ปี 2547 ราคา 1 บาท P/E 9.8
ปัจจุบัน: ปี 2554 ราคา 11 บาท P/E 33.3
ระยะเวลาที่ถือ 7 ปี ผลตอบแทนทั้งหมด 1,000% ผลตอบแทนต่อปี 41%
CPALL
ซื้อ: ปี 2550 ราคา 10 บาท P/E 41.1
ปัจจุบัน: ปี 2554 ราคา 51.75 บาท P/E 29.2
ระยะเวลาที่ถือ 4 ปี ผลตอบแทนทั้งหมด 418% ผลตอบแทนต่อปี 51%
สังเกตได้ว่าหุ้นทั้ง 3 ตัวที่ ดร.นิเวศน์เข้าลงทุนนั้นจะมีระยะเวลาการถือค่อนข้างนานหลายปี สำหรับหุ้น STANLY นั้นเข้าใจว่า ดร.นิเวศน์ขายไปก็เพราะราคาขึ้นมาสูงเกินมูลค่าของมันแล้ว และมีหุ้นตัวอื่นที่น่าสนใจกว่า ซึ่งหุ้นตัวอื่นที่ว่าก็คือ HMPRO นั่นเอง สังเกตตามบทสัมภาษณ์ของ ดร.นิเวศน์ เขาจะชอบหุ้นที่เกี่ยวกับค้าปลีกสมัยใหม่ หรือเรียกว่าโมเดิร์นเทรด ซึ่งเขามองว่าจะเป็นเทรนด์ของอนาคต นั่นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เขาเข้าลงทุน HMPRO และ CPALL ในเวลาต่อมา
อย่างไรก็ตามสังเกตว่า ดร.นิเวศน์ไม่ได้ซื้อหุ้นที่มี P/E ต่ำเสมอไป เพราะเมื่อปี 2550 เขาได้เข้าซื้อ CPALL ซึ่ง P/E ในขณะนั้นถือว่าอยู่ในระดับที่สูงมาก ผมเดาว่า ดร.นิเวศน์ มองว่าในอนาคต CPALL จะมีการเติบโตของกำไรต่อเนื่อง และในอนาคตตลาดก็ยังคงให้ P/E อยู่ในระดับที่สูงไปเรื่อยๆ ซึ่งในเวลาต่อมาก็เป็นจริงอย่างที่เขาคาดทำให้เขาได้กำไรจากการลงทุนครั้งนี้ไปหลายร้อยเปอร์เซ็นต์
ดังนั้นผมคิดว่า ดร.นิเวศน์ คงไม่ได้มองที่ P/E หรือสภาพตลาดในขณะนั้นเป็นหลัก (หลังจากที่เขาได้ซื้อ CPALL ในปี 2550 ก็เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นในปี 2551) แต่เขาจะมองเรื่องลักษณะธุรกิจที่เขาซื้อเป็นหลัก ว่ามีแนวโน้มที่จะเติบโตในอนาคตได้อย่างยั่งยืนหรือไม่ และเมื่อเขาเข้าลงทุนแล้วก็จะถือไว้ในระยะยาวมากจนทำให้เขามีกำไรหลายเท่าตัวในเวลาต่อมา
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 728
- ผู้ติดตาม: 0
R29: ความสำคัญของ “CAPEX”
โพสต์ที่ 9
ผมคิดว่า CAPEX เป็นสิ่งที่สำคัญตัวหนึ่งในการประเมินอัตราการเติบโตของบริษัทในอนาคต บริษัทที่สามารถเติบโตได้โดยอาศัย CAPEX ที่น้อยจะได้เปรียบกว่าบริษัทที่ต้องลงทุนกับ CAPEX เยอะ อธิบายให้เห็นภาพได้ก็คือ
ยกตัวอย่างเช่น บริษัท A เป็นโรงงานผลิตรถยนต์ ถ้าอยากให้ได้อัตราการเติบโตของกำไรเป็น 10% ต่อปี เขาต้องลงทุนสร้างโรงงานใหม่เพื่อขยายกำลังการผลิต โดยที่การลงทุนสร้างโรงงานนี้ถึงแม้จะกู้เงินธนาคารมาสร้างได้ แต่ก็ต้องมีภาระค่าเสื่อมราคาทุกปีหลังจากสร้างเสร็จ รวมถึงภาระดอกเบี้ยและการจ่ายเงินต้นคืนธนาคาร ถ้ารายได้ของบริษัท A ไม่ได้เป็นอย่างที่คาดหวังไว้ บริษัท A อาจจะกลับกลายเป็นได้กำไรลดลง
ธุรกิจที่ต้องการ CAPEX สูงส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจประเภทที่มีกำลังการผลิตที่จำกัด ถ้าอยากจะขยายงานต้องลงทุนเพิ่มอย่างต่อเนื่อง เช่น ธุรกิจโรงแรม อสังหาริมทรัพย์ โรงงาน เหมืองแร่ ห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก อย่างไรก็ตามธุรกิจประเภทนี้สามารถมีกำไรที่เติบโตขึ้นโดยที่ไม่ต้องลงทุนเพิ่มได้จาก ราคาขายที่ปรับตัวขึ้นทำให้มี margin สูงขึ้น หรือมียอดขายต่อร้านค้าเดิม (same store sale) เพิ่มขึ้น และธุรกิจประเภทนี้มีข้อดีคือมี barrier to entry เนื่องจากมีต้นทุนที่สูงในการเข้ามาทำธุรกิจ คนที่ได้เปรียบการประหยัดขนาด (economy of scale) เพียงไม่กี่รายจะชนะในการแข่งขัน และผู้แพ้จะต้องหายไปเพราะรับกับ CAPEX ที่สูงไม่ได้
สำหรับธุรกิจธนาคารแล้วผมคิดว่าก็อยู่ในข่ายของธุรกิจที่ต้องการ CAPEX สูง เพราะถ้าจะให้ได้กำไรเพิ่ม ธนาคารก็ต้องมีขนาดของสินเชื่อเพิ่ม ซึ่งต้องการเงินสำรองเพิ่ม ซึ่งนั่นก็หมายถึงต้องการ CAPEX เพิ่มนั่นเอง
ตอนนี้คงมีคำถามว่าแล้วธุรกิจอะไรที่ต้องการ CAPEX น้อยบ้าง ส่วนมากแล้วบริษัทที่ต้องการ CAPEX น้อยจะใช้ต้นทุนคงที่ (fixed cost) เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในการขยายงาน จะมีเฉพาะต้นทุนแปรผัน (variable cost) ที่เพิ่มขึ้นตามยอดขายที่เพิ่มขึ้น ถ้ายอดขายไม่เพิ่มขึ้นตามที่คาดหวังไว้ก็ไม่มีภาระ CAPEX ที่จะต้องเสีย อย่างไรก็ตามธุรกิจประเภทนี้ก็จะมีผู้แข่งขันในตลาดเยอะเนื่องจาก barrier to entry ต่ำ ทำให้อาจไม่สามารถเติบโต้ได้อย่างที่ต้องการ
ผมคิดว่าธุรกิจประเภทที่ใช้ CAPEX น้อยจะเป็นธุรกิจจำพวกที่ไม่ต้องใช้หน้าร้านในการขาย และไม่ใช้โรงงานในการผลิต ตัวอย่างก็คือธุรกิจจัดจำหน่าย ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจนายหน้า ธุรกิจที่รับรายได้จากโฆษณา ธุรกิจให้คำปรึกษา ธุรกิจ IT ที่เกี่ยวกับ E-Commerce และ Social Network ซึ่งธุรกิจเหล่านี้ถ้ามีแจ็กพอตในความต้องการของลูกค้า จะสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และไม่จำกัด
ผมคิดว่า “CAPEX” น้อยนี่เอง ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คุณมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก เจ้าของ facebook เป็นเศรษฐีพันล้านตั้งแต่อายุไม่ถึง 30 ปี และก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจของ วอร์เวน บัฟเฟตต์ ในการลงทุนในบริษัท IBM (บริษัทที่ปรึกษาทางด้าน IT) ไปเมื่อไม่นานมานี้
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 728
- ผู้ติดตาม: 0
R35: ทำงานหนักแต่เงินน้อย
โพสต์ที่ 10
ผมได้พบกับคนรอบข้างผมหลายคนที่เขาได้ทำงานหนักตลอดชีวิตที่ผ่านมา แต่ในปัจจุบันเขาก็ยังคงมีสภาพทางการเงินที่ไม่ค่อยสู้ดีนักเมื่อเปรียบเทียบกับความทุ่มเทในการทำงานของเขา ผมจัดคนกลุ่มนี้ว่าเป็น “บุคคลที่ไม่มีอิสรภาพ” รายได้ของพวกเขาจะใกล้เคียงกับรายจ่ายที่เขาต้องใช้ในชีวิตประจำวัน รายจ่ายดังกล่าวอาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงอายุ เช่น ถ้าเริ่มต้นวัยทำงานก็จะหมดไปกับการซื้อของฟุ่มเฟือย ผ่อนรถ ผ่อนบ้าน และต่อมาแต่งงานมีครอบครัวก็จะมีรายจ่ายค่าเลี้ยงดูลูก การศึกษาของลูก เมื่อแก่ตัวก็จะมีรายจ่ายในการรักษาพยาบาล ถึงแม้ว่ารายได้ของพวกเขาในปัจจุบันจะมากกว่ารายได้ของเขาในอดีต แต่เมื่อเปรียบเทียบกับรายจ่ายที่มากขึ้นและค่าครองชีพที่สูงขึ้นก็เหมือนกับว่าเขามีเงินเก็บเท่าเดิมหรืออาจจะน้อยลงด้วยซ้ำ บุคคลประเภทนี้จะต้อง “ทำงานหนัก” ตลอดชีวิตเพื่อหาเงินมาให้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย
สำหรับกลุ่มคนอีกประเภทหนึ่งที่ผมจัดว่าเป็น “บุคคลกึ่งอิสรภาพ” บุคคลประเภทนี้เขาจะมีรายได้มากกว่ารายจ่ายในช่วงตลอดชีวิตการทำงานของเขาอยู่พอสมควร อาจจะมาจากการที่เขาเป็นคนประหยัด ใช้จ่ายน้อย หรือเป็นคนโสดที่ไม่ต้องมีภาระการเลี้ยงดูลูก หรือเขาเป็นคนที่มีความสามารถที่โดดเด่นทำให้รายได้ของเขามากกว่าเกณฑ์เฉลี่ยทั่วไป ซึ่งจะทำให้เขามีเงินเก็บอยู่บ้างแต่ก็ฝากเงินไว้กับธนาคารโดยไม่ค่อยสนใจการลงทุนมากนัก ถ้าพวกเขายังมีสุขภาพที่แข็งแรง พวกเขาก็น่าจะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสบายเพราะจะได้ผลตอบแทนจาก “การทำงานของตนเอง” อย่างไรก็ตามเขาจำเป็นต้องทำงานต่อไปจนเกษียณอายุ ถ้าวันใดเขาเหนื่อยและอยากจะหยุดพักก็คงมีรายได้ไม่เหมือนเดิม และรายได้จะหมดไปถ้าเขาต้องเผชิญกับปัญหาร้ายแรง เช่น ป่วย หรือพบอุบัติเหตุ
กลุ่มคนประเภทสุดท้ายที่ผมจัดว่าเป็น “บุคคลที่มีอิสรภาพ” จะแตกต่างจากกลุ่มคน 2 ประเภทแรกอย่างสิ้นเชิง บุคคลประเภทนี้จะไม่ได้ให้ความสำคัญกับ “การทำงานหนัก” ในปัจจุบัน แต่เขาจะมองถึงอนาคตว่าทำอย่างไรที่เขาจะมีเงินได้โดยที่เขาทำงานเพียงเล็กน้อย หรือไม่ต้องทำงานเลย บุคคลเหล่านี้จะทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ไปกับการสร้างระบบใดระบบหนึ่งขึ้นมาเพื่อให้ระบบนั้นผลิตเงินให้แก่เจ้าของระบบได้ด้วยตัวของมันเอง ถ้าสังเกตจะเห็นว่าบุคคลที่ร่ำรวยต่างๆจะเป็นเจ้าของระบบหรือกิจการมากมาย แม้ว่าพวกเขาจะไม่ทำงานอะไรเลยแต่ทุกวินาทีที่เขาหายใจเขาจะได้รับเงินจากระบบที่มีบุคคลต่างๆทำงานให้กับเขา (ในบางระบบอาจจะไม่ต้องมีคนทำงานให้ก็ได้เช่น อสังหาริมทรัพย์บางสถานที่จะมีมูลค่าเพิ่มในตัวของมันเองเมื่อเวลาผ่านไป)
ผมคิดว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่ไต่เต้าจาก บุคคลที่ไม่มีอิสรภาพ เป็น บุคคลกึ่งอิสรภาพ และเป็น บุคคลที่มีอิสรภาพ ในที่สุด เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่ความรู้เหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการดำรงชีวิต แต่ไม่มีสอนให้กับเด็กในห้องเรียนในประเทศของเรา ทำให้มีคนจำนวนมากที่ยังคงติดกับดักในวงจรการเป็นบุคคลที่ไม่มีอิสรภาพ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเขาต้อง “ทำงานหนัก” โดยไม่มีเวลาออกมาฉุกคิด โดยถ้าเขาเปลี่ยนมุมมองเพียงนิดเดียวอาจจะทำให้เขามีชีวิตในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง
ผมขอสรุปบทความนี้ด้วยเคล็ดลับ 2-3 ประโยคที่จะทำให้เรา “เป็นบุคคลที่มีอิสรภาพ” ก็คือ “การที่เราได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์หรือระบบที่สามารถผลิตเงินสดให้เราได้มากกว่าค่าใช้จ่ายของเรา และเราสามารถคาดการณ์ได้อย่างมีเหตุผลว่าสินทรัพย์หรือระบบดังกล่าวจะมีมูลค่าเพิ่มในอนาคตได้ด้วยตัวของมันเอง ด้วยอัตราการเพิ่มที่มากกว่าอัตราการเพิ่มของค่าใช้จ่ายที่ปรับด้วยเงินเฟ้อแล้ว”
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 728
- ผู้ติดตาม: 0
R37: CASINO กับ ตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 11
ผมได้ลองสำรวจเกมการเล่นในคาสิโน ซึ่งจะมีโต๊ะเกมต่างๆให้เล่นมากมาย เช่น บาคาร่า แบลคแจ๊ค รูเล็ต ลูกเต๋าไฮโล และตู้เกมสลอตแมชชีน อย่างที่เราคงได้ทราบกันว่ากติกาขของเกมในคาสิโนทั้งหมดจะถูกออกแบบมาให้เจ้ามือมีความน่าจะเป็นในการชนะมากกว่าผู้เล่นอยู่เสมอ ในระยะสั้นผู้เล่นอาจจะสามารถเอาชนะเจ้ามือได้ แต่ในระยะยาวถ้าเราเล่นไปเรื่อยๆแบบไม่เลิกแล้วในที่สุดเจ้ามือก็จะชนะเรามากกว่าอยู่ดี สำหรับเกมที่ผมคิดว่ามีโอกาสมากที่สุดที่จะชนะเจ้ามือก็คือเกมที่มีความน่าจะเป็นใกล้เคียง 50:50 มากที่สุด ซึ่งนั่นก็คือการทายสูงต่ำ หรือ แดงดำ หรือ คู่คี่ หรือ หัวก้อย
สำหรับเกมที่มีความน่าจะเป็น 50:50 นั้นจะมีบางคนเชื่อว่าการออกหน้าใดหน้าหนึ่งติดกันหลายๆครั้ง แล้วครั้งหน้ามีโอกาสที่จะเป็นหน้าตรงข้ามมากกว่า เช่น ออกหัวติดกัน 5 ครั้ง แล้วครั้งหน้าความน่าจะเป็นของก้อยมากกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้วความน่าจะเป็นของการเกิดหัวก้อยจะเป็น 50:50 ทุกครั้ง เพราะการออกแต่ละครั้งเป็นอิสระต่อกัน ซึ่งหมายความว่าครั้งต่อไปความน่าจะเป็นของหัวและก้อยก็คือ 50:50 เหมือนเดิม
การเล่นแบบ martingel หรือว่าทบต้นไปเรื่อยๆถ้าผิด ก็เป็นอีกวิธีการเล่นที่ค่อนข้างจะอันตราย เพราะจำนวนเงินจะเพิ่มเป็นอัตราเร่งที่สูงมาก กล่าวคือจาก 1 2 4 8 16 32 64 128 256 512 หมายความว่าจำนวนเงินจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และในบ่อนจะมีกติกาที่มีจำกัดการเดิมพันสูงสุดเอาไว้ซึ่งจะทำให้เราเพิ่มเงินไม่ได้ถ้าเราผิดติดต่อกันหลายครั้ง สมมติว่าเราเริ่มต้นที่เงิน 1,000 บาท เราจะต้องมีเงินทุนทั้งหมด 1,023,000 บาทถ้าผิดติดต่อกัน 10 ครั้ง และบ่อนก็มีการจำกัดการเดิมพันไม่ให้ลงถึงเงินจำนวนนั้นอยู่ดี
ถ้าถามว่าการผิดติดต่อกัน 10 ครั้งเป็นโอกาสที่น้อยใช่หรือไม่ ที่จริงแล้วถึงจะน้อยแต่ก็มีโอกาสเป็นไปได้ คำนวณความน่าจะเป็นได้จาก 0.5^10 คือประมาณ 1 ใน 1,000 ซึ่งผมมั่นใจว่าถ้านั่งอยู่ในบ่อนไปเรื่อยๆต้องเล่นเกินกว่า 1,000 ตาอยู่แล้ว และก็จะต้องมีสักครั้งที่พบกับการหมดตัว วิธีที่น่าจะประสบความสำเร็จก็คือการเลิกเล่นในขณะที่ได้กำไรอยู่ ถ้าฝืนเล่นไปเรื่อยๆโอกาสที่เราจะหมดตัวก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ในความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้นเพราะคนส่วนใหญ่เวลาได้กำไรก็มักจะไม่เลิกเล่นเพราะคิดว่าน่าจะได้เพิ่มขึ้นอีก อย่างครั้งนี้ผมไปก็เจอเหตุการณ์ที่รูเล็ตออกแดงติดต่อกัน 12 ครั้งเช่นกัน ถ้าคนเล่นวิธี martingel ก็คงจะหมดตัวเป็นแน่
สำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นนั้นจะแตกต่างจากการเล่นในคาสิโน ผมคิดว่าความน่าจะเป็นในการชนะจะขึ้นอยู่กับวิธีการลงทุนของเรา ถ้าเราลงทุนโดยคิดว่าจะมีขึ้นหรือลงโดยอาศัยดวงอย่างเดียวแบบการพนัน ความน่าจะเป็นในการชนะก็คงเป็น 50:50 แต่ถ้าเราลงทุนโดยใช้เหตุผลหรือเห็นคุณค่าที่ซ่อนอยู่ในตัวบริษัท ความน่าจะเป็นในการชนะก็คงมากกว่า 50:50 อย่างไรก็ตามก็ไม่ใช่ว่ามีโอกาสชนะ 100% อยู่ดี ถึงเราจะมีเหตุผลมากมายมารองรับในการลงทุนเราก็ควรเผื่อใจไว้เสมอว่าเรามีโอกาสที่จะผิดในครั้งนั้นได้
ในอีกมุมมองหนึ่งถึงแม้ว่าเราจะมีความน่าจะเป็นในการชนะเพียงแค่ 50:50 หรือน้อยกว่านั้นเราก็อาจจะมีโอกาสได้กำไรในระยะยาวได้ถ้าเรามีความได้เปรียบในเชิงขนาดของรางวัล การเล่นพนันเมื่อแทงถูกจะได้เท่าตัว และเมื่อผิดก็เสียเท่าตัว คือได้ 1 เสีย 1 แต่สำหรับการลงทุนนั้นถ้าเราสามารถทำให้ครั้งที่ผิดเสียน้อยจากการ cut loss และครั้งที่ถูกได้มากจากการ let profit run ก็น่าจะสามารถทำให้เราได้เปรียบเชิงขนาดของรางวัล และทำให้เราได้กำไรในระยะยาวในที่สุดถึงแม้ว่าเราจะมีความน่าจะเป็นในการชนะเพียง 50:50