หน้า 2 จากทั้งหมด 9
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 14, 2011 9:21 pm
โดย tok
Strong U.S. Retail Sales Lift Wall Street
Published: October 14, 2011
Stocks on Wall Street opened higher Friday following a report showing that
retail sales rose in September in the United States at the fastest rate in months.
The Standard and Poor’s 500-stock index was up 16.17 points, or 1.34 percent to 1,219.83, while the Dow Jones industrial index gained 110.43 points, or 0.99 percent, to 11,591.24. The technology-heavy Nasdaq rose 1.52 percent.
Analysts noted that the retail sales numbers had beaten expectations. Sales rose 1.1 percent in September from August, and 7.9 percent from the previous year — the fastest monthly growth since February. Total retail sales were $395.5 billion.
The report was another sign that the
United States economy may be in better shape than many economists thought, said Dan Greenhaus, the chief global strategist at BTIG. The recent rise in stock prices reflects the change in the prevailing outlook, he added.
“When the stock market collapsed you were uncool if you were weren’t saying that the U.S. was going into recession,” he said.
Despite a drop in Asia following Wall Street’s decline on Thursday, European markets were also higher Friday in afternoon trading. The benchmark Euro Stoxx 50 was up 1.85 percent. The FTSE 100 in London gained 1.61 percent, while the DAX in Frankfurt rose 1.8 percent.
http://www.nytimes.com/2011/10/15/busin ... hoofinance
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: จันทร์ ต.ค. 17, 2011 3:46 pm
โดย wiss42
ตลาดปริวรรตเงินตราเอเชีย:ยูโรใกล้นิวไฮ 1 เดือน รับความหวังแก้หนี้ยุโรป
โตเกียว--17 ต.ค.--รอยเตอร์
ยูโรปรับตัวใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือนในวันนี้ หลังคาดว่ายูโรโซน
จะสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะในสัปดาห์นี้ก่อนการประชุมของสหภาพยุโรปในวันที่
23 ต.ค. ขณะที่เทรดเดอร์ระบุว่าแรงซื้อคืนอาจหนุนยูโรขึ้นต่อไป
ยูโรอ่อนค่าลง 0.2% สู่ 1.3855 ดอลลลาร์ อันเป็นผลจากแรงขายทำ
กำไร หลังทะยานขึ้น 3.5% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังผู้นำเยอรมนีและฝรั่งเศส
ให้คำมั่นที่จะเปิดเผยมาตรการใหม่เพื่อแก้ไขวิกฤติหนี้ที่ดำเนินมา 2 ปีในการประชุม
สุดยอดอียูในวันที่ 23 ต.ค. รวมถึงข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการเพิ่มทุนให้กับภาคธนาคาร
ความหวังสำหรับแผนการดังกล่าวซึ่งมีเป้าหมายเพื่อจัดการกับหนี้ของกรีซ
และส่งเสริมอำนาจของกองทุนช่วยเหลือยูโรโซนนั้น ได้ช่วยหนุนยูโรขึ้นจากระดับ
ต่ำสุดในรอบ 9 เดือนที่ราว 1.3145 ดอลลาร์ที่เข้าทดสอบเมื่อวันที่ 4 ต.ค.
และดันยูโรขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 4 สัปดาห์ที่ 1.3895 ดอลลาร์เมื่อวันศุกร์
"หลังจากมีความคืบหน้าในการประชุมสุดยอดครั้งล่าสุด เราก็สามารถ
คาดได้ว่าจะมีการออกมาตรการที่เป็นรูปธรรมระยะยาวเพื่อแก้ไขวิกฤติหนี้ในช่วง
สุดสัปดาห์นี้" นายซูมิโน คาเมอิ นักวิเคราะห์อาวุโสของแบงก์ ออฟ โตเกียว-
มิตซูบิชิ ยูเอฟเจกล่าว
"แต่การทะยานขึ้นของยูโรในสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นผลจากแรงซื้อชดเชย
เป็นส่วนใหญ่ และจะเผชิญความยากลำบากในการปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 1.40
ดอลลาร์ก่อนการประชุมอียู ขณะที่ความวิตกเกี่ยวกับการลุกลามของวิกฤตินี้ยังคง
ไม่มีสัญญาณลดลง โดยเห็นได้จากระดับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรยุโรปที่เพิ่มขึ้น"
นายคาเมอิกล่าว
ยูโรทรงตัวที่ 106.95 เยน ใกล้กับระดับสูงสุดในรอบ 5 สัปดาห์ที่
107.45 เยนที่เข้าทดสอบเมื่อวันศุกร์ และดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปี
ที่ 100.77 เยนที่เข้าทดสอบในช่วงต้นเดือนต.ค.
ดอลลาร์ทรงตัวที่ 77.22 เยนหลังแตะระดับ 77.45 เยนเมื่อวันศุกร์
ซึ่งใกล้ระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือนเมื่อวันพุธที่แล้ว โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมา ดอลลาร์
บวก 0.6% แต่ยังคงปรับตัวในช่วงแคบๆเมื่อเทียบกับเยน
ดัชนีดอลลาร์ปรับตัวใกล้ระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือนที่ 76.508 ที่เข้า
ทดสอบเมื่อวันศุกร์ หลังร่วงลง 2.6% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา และอยู่ที่ 76.704
นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และประธาน
เฟดสาขาภูมิภาค จะกล่าวสุนทรพจน์ในสัปดาห์นี้ ขณะที่ความเห็นเกี่ยวกับการผ่อนคลาย
นโยบายการเงินลงอีกมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อดอลลาร์
การเปิดเผยผลประกอบการจากบริษัทสหรัฐ รวมถึง ซิตี้กรุ๊ป, โกลด์แมน
แซคส์ และแอปเปิลอาจส่งผลกระทบต่อการปรับตัวของยูโร ซึ่งปรับตัวตามความต้องการ
ของนักลงทุนในตลาดหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ
จุดสนใจของตลาดในวันนี้จะอยู่ที่ยุโรป ซึ่งนายวูล์ฟกัง ชอยเบิล รมว.คลัง
เยอรมนี และนายเจอร์เก้น สตาร์ค กรรมการบริหารธนาคารกลางยุโรป จะกล่าว
สุนทรพจน์ที่ลอนดอนและเบอร์ลินตามลำดับ--จบ--
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: จันทร์ ต.ค. 17, 2011 3:47 pm
โดย wiss42
> EUROPE:ธ.กลางยุโรปยันยังไม่เลิกมาตรการซื้อบอนด์จนกว่าตลาดการเงินมีเสถียรภาพ
ปารีส--17 ต.ค.--รอยเตอร์
ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ส่งสัญญาณว่า อีซีบีจะไม่ยุติโครงการ
ซื้อพันธบัตรลงอย่างกะทันหัน แม้ว่าขณะนี้กองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป
(EFSF) มีอำนาจในการแทรกแซงในตลาดรอง โดยอีซีบีจะรอจนกว่าตลาด
การเงินมีเสถียรภาพ
ขณะนี้ EFSF มีอำนาจในการเข้าซื้อพันธบัตรของประเทศที่มีสถานะ
ย่ำแย่ในยูโรโซนเพื่อพยุงราคาพันธบัตร ซึ่งเป็นหน้าที่ที่อีซีบีทำมาโดยตลอดเพื่อ
ป้องกันอิตาลีและสเปนไม่ให้ประสบกับปัญหาในการระดมทุน
นายฌอง-คล็อด ทริเชต์ ประธานอีซีบี กล่าวในการแถลงข่าวในการ
ประชุมสุดยอดรมว.คลังกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และกำลังพัฒนา 19 ประเทศ
รวมทั้งสหภาพยุโรป (จี-20) ว่า การซื้อพันธบัตรของอีซีบีมีจุดประสงค์เพื่อ
จัดการต่อความปั่นป่วนของตลาด และเพื่อปรับปรุงการส่งผ่านนโยบายการเงิน
ของอีซีบี
"สิ่งนี้เป็นเพราะเรายังไม่มีเสถียรภาพทางการเงินในยูโรโซน โดยเรา
ต้องเข้าแทรกแซงเพื่อช่วยปรับปรุงการส่งผ่านนโยบายการเงินให้ดีขึ้น" นายทริเชต์
กล่าว "สมมติฐานในขณะนี้ก็คือเมื่อเรามีเสถียรภาพทางการเงิน อันเนื่องจากกองทุน
EFSF ที่มีความยืดหยุ่นครั้งใหม่ เราก็ไม่จำเป็นต้องปรับปรุงการส่งผ่านนโยบายการ
เงินให้ดีขึ้น"
อีซีบีต้องซื้อพันธบัตรของสเปนและอิตาลีในชข่วง 2 เดือนที่ผ่านมาเพื่อทำให้
ต้นทุนการระดมทุนสำหรับสองประเทศนี้อยู่ในระดับที่ยั่งยืน และป้องกันสเปนและอิตาลี
มิให้ตกอยู่ในสภาพไม่สามารถเข้าระดมทุนในตลาดได้เหมือนอย่างกรีซ, ไอร์แลนด์
และโปรตุเกส ซึ่งผู้กำหนดนโยบายของยูโรโซนเรียกร้องให้มีการจำกัดการลุกลาม
ของปัญหา
นายโอลลี เรห์น กรรมาธิการด้านเศรษฐกิจและการเงินของยุโรป
กล่าวว่า อำนาจใหม่ของกองทุน EFSF ซึ่งรวมถึงการปล่อยสินเชื่อในเชิง
ป้องกันล่วงหน้าให้แก่รัฐบาลและปล่อยกู้เพื่อการเพิ่มทุนธนาคาร รวมทั้งการมี
อำนาจมากขึ้นผ่านทางการกู้เงิน และการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือถาวรนั้น
น่าจะช่วยระงับการลุกลามของปัญหาได้
นายทริเชต์กล่าวว่า นั่นเป็นสมมติฐานของอีซีบีด้วย
"สมมติฐานในขณะนี้ก็คือเมื่อกองทุน EFSF เกิดขึ้น และสามารถดำเนินงาน
และแทรกแซงตลาดรองได้ เราก็จะถือว่าสิ่งนี้จะทำให้เกิดเสถียรภาพทางการเงิน
ที่ดีขึ้น และนั่นจะทำให้เราไม่ต้องช่วยปรับปรุงการส่งผ่านนโยบายการเงิน" เขากล่าว
--จบ--
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 19, 2011 2:36 pm
โดย wiss42
*EUROPE:อียูโต้ข่าว"เดอะ การ์เดียน" ยันไม่มีการบรรลุดีลเพิ่มขนาดกองทุนยุโรป
บรัสเซลส์--19 ต.ค.--รอยเตอร์
เจ้าหน้าที่อาวุโสของสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ยังไม่มีการบรรลุข้อตกลง
เกี่ยวกับการเพิ่มขนาดของกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) เพื่อ
จัดการกับวิกฤติหนี้แต่อย่างใด
แหล่งข่าวกล่าวว่า "เป็นข้อมูลที่ผิดพลาด ไม่มีการทำข้อตกลงใดๆ"
ซึ่งเป็นการปฏิเสธรายงานข่าวในหนังสือพิมพ์เดอะ การ์เดียนของอังกฤษที่ว่า
ฝรั่งเศสและเยอรมนีได้บรรลุข้อตกลงเพื่อเพิ่มวงเงินในกองทุน EFSF ขึ้น
5 เท่า สู่ระดับกว่า 2 ล้านล้านยูโร--จบ--
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 20, 2011 2:46 pm
โดย wiss42
EUROPE:ตลาดหุ้นยุโรปดิ่งกราวรูด นักลงทุนหวั่นประชุมซัมมิทอียูคว้าน้ำเหลว
ลอนดอน--20 ต.ค.--รอยเตอร์
หุ้นยุโรปร่วงลงในการซื้อขายช่วงแรกในวันนี้ ขณะที่การเจรจา
ที่หยุดชะงักระหว่างฝรั่งเศสและเยอรมนีได้ทำลายความคาดหวังที่ว่า การ
ประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรปในวันอาทิตย์นี้จะมีมาตรการแบบเบ็ดเสร็จ
เพื่อจัดการกับวิกฤติหนี้ยูโรโซน
หุ้นร่วงลงทุกกลุ่ม โดยกลุ่มธนาคารทรุดตัวลงมากที่สุด ขณะที่
นักลงทุนวิตกต่อระดับเงินทุนที่จำเป็นต้องมีการเพิ่มทุนในภาคธนาคาร
โดยดัชนี STOXX Europe 600 สำหรับกลุ่มธนาคารร่วงลง 1.5%
ณ เวลา 14.10 น.ตามเวลาไทย ดัชนี FTSEurofirst
300 รูดลง 1.2% อยู่ที่ 956.78 หลังจากปิดวานนี้บวก 0.6%
ประธานาธิบดีนิโคลาส์ ซาร์โคซีของฝรั่งเศสกล่าวว่า แผนการ
แก้ไขวิกฤติหนี้ยูโรโซนได้หยุดชะงักลง เนื่องจากรัฐบาลฝรั่งเศสและเยอรมนี
มีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องแนวทางการปรับเพิ่มประสิทธิภาพกองทุนรักษา
เสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF)
ปธน.ซาร์โคซีกล่าวต่อสมาชิกรัฐสภาฝรั่งเศสว่า ความขัดแย้งดังกล่าว
เป็นอุปสรรคขัดขวางการเจรจาในความพยายามหาทางคลี่คลายปัญหาก่อนที่จะถึง
การประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) ในวันอาทิตย์นี้
ด้านฝรั่งเศสมองว่า วิธีการที่ดีที่สุดในการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่กองทุน
EFSF คือการแปลง EFSF ให้กลายเป็นธนาคารแห่งหนึ่ง ซึ่งจะส่งผลให้ EFSF
สามารถกู้เงินจากธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ได้ อย่างไรก็ดี ทั้งอีซีบีและรัฐบาล
เยอรมนีต่างก็คัดค้านแนวคิดนี้
ปธน.ซาร์โคซีกล่าวต่อสมาชิกรัฐสภาฝรั่งเศสว่า "พรรคร่วมรัฐบาล
เยอรมนีมีความเห็นที่แตกต่างไปในประเด็นนี้ ดังนั้นจึงไม่ได้มีเพียงแค่นางแองเจลา
เมอร์เคลเท่านั้นที่เราจำเป็นต้องโน้มน้าวให้เห็นด้วยกับเรา" --จบ--
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 20, 2011 2:47 pm
โดย wiss42
BELGIUM:หุ้นเด็กเซียทรุดกว่า 5% หลังประกาศแผนขายทอดกิจการ
บรัสเซลส์--20 ต.ค.--รอยเตอร์
หุ้นเด็กเซียเปิดตลาดดิ่งลง 5.2% ในวันนี้ หลังจากทางธนาคารแถลง
เรื่องการขายสินทรัพย์ในเบลเยียมและฝรั่งเศส
ทั้งนี้ ธนาคารเด็กเซียแถลงในวันนี้ว่า ทางธนาคารได้เสร็จสิ้นการขาย
ธุรกิจธนาคารในเบลเยียมให้แก่รัฐบาลแล้ว และกำหนดเงื่อนไขสำหรับการขาย
ธุรกิจสถาบันการเงินในฝรั่งเศส
เด็กเซียได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลฝรั่งเศส, เบลเยียม และ
ลักเซมเบิร์กในเดือนนี้ โดยเบลเยียมเข้าซื้อสถาบันการเงินของเด็กเซียใน
ประเทศเป็นเงิน 4 พันล้านยูโร (5.5 พันล้านดอลลาร์) ขณะที่เด็กเซียได้รับ
การค้ำประกันในวงเงิน 9.0 หมื่นล้านยูโร--จบ--
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 20, 2011 4:20 pm
โดย wiss42
GREECE:ไอเอ็มเอฟงัดข้ออียู ชี้มองกรีซแง่ดีเกินไป ยันไม่รีบปล่อยเงินกู้
บรัสเซลส์--20 ต.ค.--รอยเตอร์
เจ้าหน้าที่สหภาพยุโรป (อียู) เปิดเผยว่า กองทุนการเงินระหว่าง
ประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ไม่เห็นด้วยกับการคาดการณ์ของอียูเกี่ยวกับความ
สามารถในการชำระหนี้ของกรีซ โดยต้องการรอจนกว่าจะมีแนวโน้มที่ชัดเจน
กว่านี้ ก่อนที่จะอนุมัติความช่วยเหลือทางการเงินงวดต่อไปให้แก่กรีซ
ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟเชื่อว่าตัวเลขคาดการณ์ของอียูต่อความสามารถ
ในการชำระหนี้ของกรีซเป็นการคาดการณ์ในแง่บวกมากเกินไป และต้องการ
รอจนกว่าหลังการประชุมสุดยอดอียูในวันอาทิตย์นี้เพื่อดูว่าที่ประชุมจะให้ภาพ
รวมที่ชัดเจนขึ้นเพียงใด
"ไอเอ็มเอฟคิดว่าการคาดการณ์ของสถาบันอื่นๆในกลุ่มทรอยกา
เป็นการคาดการณ์ในแง่บวกมากเกินไป" แหล่งข่าวรายหนึ่งกล่าว ขณะที่
อีกรายหนึ่งเสริมว่า "ไอเอ็มเอฟต้องการเห็นสิ่งที่ยูโรกรุ๊ปและสภายุโรป
จะเสนอออกมาก่อน"
คาดว่ากลุ่มทรอยกา ซึ่งประกอบด้วยไอเอ็มเอฟ รวมทั้งคณะ
กรรมาธิการยุโรป (อีซี) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะเปิดเผย
รายงานกรีซฉบับล่าสุดในวันที่ 24 ต.ค. แต่ก็มีแรงกดดันให้ทางกลุ่มจัดทำ
รายงานให้แล้วเสร็จก่อนการประชุมสุดยอดในวันที่ 23 ต.ค. ซึ่งคาดว่า
รายงานฉบับนี้จะบ่งชี้ว่ากรีซกำลังดำเนินการเพียงพอในเรื่องงบประมาณ
เพื่อให้ได้รับเงินกู้ช่วยเหลืองวดถัดไปจำนวน 8 พันล้านยูโรหรือไม่
ถ้าการประชุมสุดยอดในวันอาทิตย์นี้มีการบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับ
การมีส่วนร่วมมากขึ้นของภาคเอกชนในการช่วยลดภาระหนี้ของกรีซ สิ่งนี้
ก็อาจจะทำให้กรีซมีความสามารถชำระหนี้มากขึ้น และทำให้ไอเอ็มเอฟ
อนุมัติการเบิกจ่ายเงินกู้ช่วยเหลืองวดถัดไป ซึ่งอาจจะมีขึ้นในเดือนหน้า
--จบ--
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 20, 2011 8:32 pm
โดย pporkha
ขอบคุณทุกท่านครับ
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 21, 2011 4:20 pm
โดย wiss42
> GERMANY:สส.เยอรมนีเผยผู้นำอียูเตรียมออกแผนเพิ่ม EFSF ในซัมมิทรอบ 2 พุธหน้า
เบอร์ลิน--21 ต.ค.--รอยเตอร์
นายโวลเคอร์ เคาเดอร์ สมาชิกอาวุโสพรรคคริสเตียน เดโมแครตของนายก
รัฐมนตรีแองเจลา เมอร์เคลของเยอรมนี เปิดเผยว่า คาดว่าการประชุมสุดยอดครั้งที่ 2
ของผู้นำสหภาพยุโรป จะจัดขึ้นในเย็นวันพุธหน้า ซึ่งคาดว่าผู้นำอียูจะออกแผนเพิ่มขนาดกอง
ทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF)
เขากล่าวว่า คาดว่าสมาชิกสภานิติบัญญัติของเยอรมนีจะหารือเรื่องการเพิ่มขนาด
กองทุนในวันอังคารหน้า
ฝรั่งเศสและเยอรมนีได้ออกแถลงการณ์ร่วมกันว่า ผู้นำยุโรปจะหารือถึงมาตรการ
ระดับโลกเพื่อแก้ไขวิกฤติในวันอาทิตย์นี้ แต่จะยังไม่มีการตัดสินใจใดๆ
ก่อนการประชุมครั้งที่
2 ที่จะจัดขึ้นอย่างช้าที่สุดภายในวันพุธหน้า
ตามกฎระเบียบของเยอรมนี คณะกรรมาธิการงบประมาณของรัฐสภาต้องเห็นชอบ
แผนการเพิ่มขนาดกองทุน EFSF--จบ--
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 27, 2011 12:05 pm
โดย wiss42
เอเธนส์--27 ต.ค.--รอยเตอร์
นายกรัฐมนตรีจอร์จ ปาปันเดรอูของกรีซกล่าวในวันนี้ว่า กรีซอาจจะ
กลับเข้าสู่ตลาดพันธบัตรได้เร็วกว่าปี 2021 ซึ่งเป็นปีที่กองทุนการเงินระหว่าง
ประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดว่ากรีซจะกลับเข้าสู่ตลาดพันธบัตรได้
นายกรัฐมนตรีปาปันเดรอูกล่าวในงานแถลงข่าวว่า "ถ้าหากเรา
สามารถดำเนินการปฏิรูปได้อย่างรวดเร็ว การกลับเข้าสู่ตลาดพันธบัตรก็จะ
ไม่ต้องใช้เวลานานถึง 10 ปี แต่จะเร็วกว่านั้นมาก" โดยเขากล่าวถึงเรื่องนี้
หลังจากผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) ตกลงกันเรื่องการให้เอกชนยอมปรับลดมูลค่า
พันธบัตรรัฐบาลกรีซลง 50 %
ไอเอ็มเอฟเคยระบุไว้ในรายงานความยั่งยืนทางการชำระหนี้ใน
ช่วงต้นเดือนนี้ว่า กรีซจะไม่สามารถขายพันธบัตรให้แก่นักลงทุนเอกชนได้เป็น
เวลา 10 ปี--จบ--
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 28, 2011 9:26 am
โดย wiss42
ENGLAND:จนท. BOE คาดมีโอกาสสูงอังกฤษประสบภาวะศก.ถดถอย
ลอนดอน--27 ต.ค.--รอยเตอร์
นายพอล ฟิชเชอร์ ผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) กล่าวใน
วันนี้ว่า มีโอกาสสูงที่อังกฤษอาจจะประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีกครั้ง และอังกฤษอาจ
จำเป็นต้องเข้าซื้อสินทรัพย์เพิ่มเติมหลังจากการเข้าซื้อรอบปัจจุบันสิ้นสุดลง
เศรษฐกิจอังกฤษแทบไม่ได้เติบโตขึ้นเลยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ในขณะที่
อัตราการว่างงานเริ่มปรับขึ้นอีกครั้ง ทางด้านผู้บริโภคปรับลดการจับจ่ายใช้สอย
ในขณะที่ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น, ภาษีเพิ่มขึ้น แต่ค่าจ้างปรับขึ้นอย่างเชื่องช้า
เศรษฐกิจอังกฤษเพิ่งออกจากภาวะถดถอยครั้งล่าสุดในช่วงกลางปี 2009
นายฟิชเชอร์ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายตลาดของ BOE กล่าวในการให้สัมภาษณ์
ต่อบลูมเบิร์ก ทีวีว่า "ผมคิดว่าเรื่องนี้มีโอกาสสูง โดยลองพิจารณาดูจากช่วงไตรมาส
สี่เป็นตัวอย่าง อย่างดีที่สุดเศรษฐกิจอังกฤษก็จะทรงตัวในไตรมาสสี่ และเป็นเรื่อง
ง่ายที่เศรษฐกิจจะมีอัตราการเติบโตติดลบ ดังนั้นการที่เศรษฐกิจจะมีอัตราการเติบโต
ติดลบสองไตรมาสติดต่อกันจึงเป็นเรื่องง่ายที่จะเกิดขึ้น"
BOE เพิ่งประกาศมาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์รอบสองในวงเงิน 7.5 หมื่นล้านปอนด์
และตรึงอัตราดอกเบี้ยที่สถิติต่ำสุดที่ 0.5 % นับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2009
นายฟิชเชอร์กล่าวว่า "จะต้องใช้เวลาระยะหนึ่งในการเข้าซื้อสินทรัพย์ปริมาณ
มากเช่นนี้ ดังนั้นเราจึงคิดว่าช่วงเวลา 4 เดือนจนถึงเดือนก.พ.คือช่วงเวลาที่สมเหตุ
สมผลในการเข้าซื้อสินทรัพย์ 7.5 หมื่นล้านปอนด์"
"และเมื่อเราดำเนินการจนถึงจุดนั้น เราก็สามารถหยุดพัก และพิจารณาว่าเรา
จำเป็นต้องดำเนินการต่อไปหรือไม่" นายฟิชเชอร์กล่าว
อัตราเงินเฟ้ออังกฤษได้ขึ้นไปแตะจุดสูงสุดรอบ 3 ปีที่ 5.2 % ในเดือนก.ย.
โดย BOE มองว่าการดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ครั้งล่าสุดนี้ถือเป็น
สิ่งที่เหมาะสมเพราะอัตราเงินเฟ้ออาจแตะจุดสูงสุดไปแล้วที่ระดับดังกล่าว นอกจากนี้
ถ้าหากไม่มีมาตรการ QE อัตราเงินเฟ้ออังกฤษก็มีแนวโน้มที่จะร่วงผ่านระดับเป้าหมาย
ที่ 2 % ลงมาในระยะกลางด้วย โดยเป็นผลจากความอ่อนแอของเศรษฐกิจโลก
นายฟิชเชอร์กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้ออังกฤษอาจจะร่วงลงอย่างรุนแรงในช่วงต้น
ปีหน้า เมื่อปัจจัยชั่วคราวอย่างเช่นการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ไม่ได้ส่งผล
กระทบอีกต่อไป--จบ--
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 28, 2011 1:57 pm
โดย wiss42
ตลาดหุ้นยุโรปเปิดบวกเฉลี่ย 2.5-3.0%, เงินยูโรแข็งค่า 0.6%, MSCI Asia Pacific บวกเฉลี่ย 2.6%, S&P500 และ Dow Futures บวกประมาณ 1.5%
ตลาดรับข่าวดีจาก EU Summit เมื่อคืนที่แม้ไม่มีข้อสรุป แต่ก็ถือว่าพัฒนาการดีขึ้น โดยเยอรมนีเห็นด้วยกับการ hiar cut หนี้กรีซ 50% และเพิ่มขนาด EFSF เป็น 1 ล้านล้านยูโร
ทั้งหมดนี้ยังไม่เป็นข้อสรุป ได้แต่คุยกันในเบื้องต้น รายละเอียดและวิธีการต่างๆ จะถูกหยิบมาถกในการประชุมรมว.คลังของ EU ในวันที่ 7-8 พ.ย. นี้อีกที
FSS Research
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 28, 2011 7:55 pm
โดย tanutt
วิกฤตหนี้ยุโรปยังไม่คลี่คลายใช่มั้ยครับ ทำไมตลาดหุ้นช่วงนี้มันดูดีจัง
หรือว่าผมตกข่าวอะไรไป???
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 29, 2011 10:58 am
โดย บูรพาไม่แพ้
tanutt เขียน:วิกฤตหนี้ยุโรปยังไม่คลี่คลายใช่มั้ยครับ ทำไมตลาดหุ้นช่วงนี้มันดูดีจัง
หรือว่าผมตกข่าวอะไรไป???
ในความคิดของผมนะ ผมว่าเขาคงไม่รอให้คลี่คลายก่อนแล้วค่อยเข้ามาลงทุนหรอกครับ แค่เขาเห็นช่องทางการแก้ปัญหาเริ่มชัดเจนขึ้นเขาก็เข้ามาลงทุนแล้วครับ อย่างที่รู้ๆกันอยู่ว่าตลาดหุ้นเป็นตลาดการคาดเดาไปข้างหน้าอยู่แล้วนี้ครับ เคยได้อ่านมาว่า บางคนบอกว่ามันคาดการล่วงหน้าตั้ง 6เดือนเลยนะครับ
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 29, 2011 4:14 pm
โดย บูรพาไม่แพ้
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 29 ตุลาคม 2554 12:26:09 น.
คณะทำงานของประธานาธิบดีบารัค โอบมา ประกาศแผนการผลักดันให้ภาคเอกชนภายในประเทศปรับเพิ่มการจ้างงาน รวมทั้งการผลักดันให้หน่วยงานของรัฐอำนวยความสะดวกในการถ่ายโอนเทคโนโลยีในภาคเอกชน และให้ความช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กและกลุ่มผู้ส่งออกให้สามารถเข้าถึงการบริการของภาครัฐบาลได้ง่ายขึ้น
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า แผนการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นการสร้างงานและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเป็นแผนการที่เพิ่มเติมจากร่างกฎหมายกระตุ้นการสร้างงานฉบับใหม่ (American Jobs Act) ที่ประธานาธิบดีโอบามาต่อสภาคองเกรสสหรัฐเมื่อวันที่ 8 ก.ย.ที่ผ่านมา
ความพยายามของคณะทำงานโอบามามีขึ้นนับตั้งแต่อัตราว่างงานของสหรัฐเคลื่อนไหวอยู่เหนือระดับ 9% ติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวทำให้โอบามาตัดสินใจเสนอร่างกฎหมาย American Jobs Act ซึ่งครอบคลุมถึงการสร้างงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ครูอาจารย์ สัตว์แพทย์ และการสร้างงานมากขึ้นให้กับผู้ที่ตกงานมาเป็นเวลานาน นอกจากนี้ แผนดังกล่าวจะลดหย่อนภาษีให้กับบริษัทต่างๆที่จ้างพนักงานใหม่ และจะลดภาษีเงินได้กับพนักงานชาวอเมริกันทุกคน และธุรกิจขนาดเล็กทุกแห่ง
อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายดังกล่าวไม่สามารถผ่านการลงมติรอบแรกของวุฒิสภา เนื่องจากมีคะแนนโหวตไม่ถึง 60 เสียง อันเนื่องมาจากวุฒิสภาชิกบางคนได้ออกมาเสียงคัดค้านแผนการขึ้นภาษีคนรวยที่รวมอยู่ในแผนกระตุ้นการจ้างงานฉบับนี้ด้วย
อัตราว่างงานที่เคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 9.1% กำลังสร้างแรงกดดันให้กับโอบามาที่กำลังรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสมัยที่ 2 อยู่ในเวลานี้ เพราะจากประวัติศาสตร์ของสหรัฐระบุว่า ยังไม่มีประธานาธิบดีคนใดของสหรัฐที่สามารถชนะการเลือกตั้งสมัยที่ 2 ได้ในช่วงที่อัตราว่างงานภายในประเทศเคลื่อนไหวอยู่ใกล้ระดับ 9.1%
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์:
[email protected]--
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 29, 2011 4:15 pm
โดย บูรพาไม่แพ้
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 29 ตุลาคม 2554 11:18:01 น.
ธอมสัน รอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกนรายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนต.ค.เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 60.9 จุด จากระดับ 59.4 ของเดือนก.ย. มากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 58.0 จุด และยังเป็นการปรับตัวขึ้นติดต่อกัน 2 เดือน เนื่องจากผู้บริโภคมีมุมมองที่เป็นบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจมากขึ้น
ส่วนดัชนีคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 51.8 จุดในเดือนต.ค. จากเดือนก.ย.ที่ระดับ 48.2 จุด และมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 47.0 จุด
ผู้บริโภคสหรัฐมีความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจมากขึ้น หลังจากเศรษฐกิจส่งสัญญาณการฟื้นตัวในไตรมาส 3 โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่แท้จริงประจำไตรมาส 3 ขยายตัว 2.5% ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่แข็งแกร่งที่สุดในรอบหนึ่งปี
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 29, 2011 4:18 pm
โดย บูรพาไม่แพ้
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 29 ตุลาคม 2554 10:11:52 น.
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการใช้จ่ายส่วนบุคคล (PCE) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนก.ย. ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าเดือนส.ค.ถึง 3 เท่า เพราะได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของยอดการใช้จ่ายสินค้าคงทน รวมถึงรถยนต์ และยอดการใช้จ่ายของสินค้าที่ไม่คงทน รวมถึงอาหาร ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคเริ่มกลับมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น หลังจากเศรษฐกิจส่งสัญญาณการฟื้นตัว
ขณะที่รายได้ส่วนบุคคลเดือนก.ย.เพิ่มขึ้น 0.1% หลังจากที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนส.ค. ส่วนอัตราการออมเดือนก.ย.ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 3.6% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 2550 จากเดือนส.ค.ที่ระดับ 4.5%
ตัวเลขการใช้จ่ายส่วนบุคคลและรายได้ส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้นในเดือนก.ย.บ่งชี้ถึงสภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้นของสหรัฐ โดยก่อนหน้านี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่แท้จริงประจำไตรมาส 3 ขยายตัว 2.5% ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่แข็งแกร่งที่สุดในรอบหนึ่งปี
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์:
[email protected]--
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 30, 2011 8:39 am
โดย บูรพาไม่แพ้
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม 2554 07:05:47 น.
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐ ได้ผลักดันให้สภาคองเกรสผ่านแผนสร้างงาน เพื่อเร่งการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศ และลดช่องว่างรายได้ที่ขยายวงมากขึ้น
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า โอบามาได้หยิบยกรายงานของสำนักงานงบประมาณคองเกรสขึ้นมา ซึ่งรายงานดังกล่าวชี้ว่า ชนชั้นกลางของสหรัฐนั้นจนลง ในขณะที่คนรวยซึ่งมีจำนวนน้อยนั้นกลังรวยขึ้นกว่าเดิมในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ รายงานระบุว่า รายได้หลังหักภาษีของมหาเศรษฐีของประเทศระดับท็อปเทนพุ่งขึ้นถึง 275% ตั้งแต่ปี 2522-2550 ขณะที่ครัวเรือนซึ่งเป็นคนชั้นกลางมีรายได้หลังหักภาษีเพิ่มขึ้น 40% ส่วนกลุ่มผู้ที่มีรายได้ต่ำสุดของประเทศนั้น รายได้ขยายตัวขึ้นเพียง 18%
โอบามากล่าวสุนทรพจน์ประจำสัปดาห์ว่า สหรัฐนั้นจะดีกว่านี้ หากทุกๆคนมีโอกาสที่จะก้าวหน้า ไม่เฉพาะแต่ผู้ที่ร่ำรวย เมื่อชาวอเมริกันรุ่งเรืองขึ้น สหรัฐอเมริกาก็จะรุ่งเรืองขึ้นเช่นกัน
โอบามาย้ำว่า สภาคองเกรสควรจะให้ความเห็นชอบข้อเสนอเรื่องการสร้างงาน เพื่อให้ครู แรงงานก่อสร้างกลับมามีงานทำ
ทั้งนี้ ผู้นำสหรัฐได้เสนอแผนการสร้างงานดังกล่าวเมื่อวันที่ 8 ก.ย. ซึ่งครอบคลุมถึงมาตรการต่างๆ เช่น การลดหย่อนภาษีให้นายจ้างและพนักงาน รวมทั้งการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคต่างๆ
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์:
[email protected]--
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: จันทร์ ต.ค. 31, 2011 5:05 pm
โดย wiss42
เศรษฐกิจต่างประเทศ มติชน 31/10/2554
เศรษฐกิจในประเทศกำลังพังเพราะน้ำนับแสนๆ ล้านบาท เศรษฐกิจภายนอกก็ต้องเฝ้าระวัง เพราะวิกฤตหนี้ยูโรโซน กำลังย่างเข้าสู่ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญที่สุดอีกครั้งหนึ่ง เมื่อที่ประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) ออกมาตรการชุดหนึ่งออกมาแล้วก็บอกอย่างเชื่อมั่นว่า เป็นหนทางแก้ปัญหา "เบ็ดเสร็จ" เล่นเอาตลาดเงิน ตลาดทุนทั่วโลกปรับตัวขึ้นกันคึกคัก
แต่นักวิชาการและนักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งชี้ว่า แนวทางแก้ปัญหาของอียูหนนี้ยังคงมีช่องโหว่ ช่องว่างหลายประการที่เป็นปัญหาในทางปฏิบัติ ในหน้ากระดาษหรือในทางทฤษฎีนั้นมันเป็นเรื่องหนึ่ง แต่พอนำมาปฏิบัติจริง มันอาจกลายเป็นอีกเรื่องหนึ่งก็เป็นได้
ดังนั้น ไม่ควรนิ่งนอนใจอย่างเด็ดขาด
มีการสรุปถึงปัญหาที่บรรดาประเทศในกลุ่มยูโรโซนยังจำเป็นต้องเผชิญและฝ่าฟันให้ผ่านพ้นไปให้ได้อยู่ 6 ประการด้วยกัน ดังนี้
1 เงินช่วยกรีซอาจไม่พอ (อีกแล้ว)
การแก้ปัญหาให้กับกรีซหนหลังสุดนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 ทางที่จะต้องทำไปพร้อมๆ กัน ทางหนึ่งนั้นก็คือ อียูจะไปเจรจาเป็นเชิงบีบบังคับให้นักลงทุนเอกชน (เช่นสถาบันการเงิน, ธนาคารต่างๆ) ให้ตัดหนี้สูญให้กรีซไปซะ 50 เปอร์เซ็นต์ ใครถือพันธบัตรกรีซมูลค่า 100 ยูโรอยู่ตอนนี้จะหลงเหลือแค่ 50 ยูโรเท่านั้น ในเวลาเดียวกัน กองทุนเพื่อเสถียรภาพทางการเงินของอียูก็จะปล่อยเงินกู้ช่วยอุ้มให้รัฐบาลกรีซอีก 100,000 ล้านยูโร เป้าหมายก็คือ ทำให้กรีซยืนได้บนขาของตัวเองภายในปี 2020
ปัญหาก็คือ ทั้งสองอย่างนั้น จะลดหนี้ของกรีซลงมาอยู่ที่ระดับ 120 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) เท่านั้นเอง ซึ่งตลาดและนักเศรษฐศาสตร์เองก็ยังชี้ว่า ยังคงสูงเกินไปอยู่ดี
อย่าลืมว่า ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนั้น ทีม "ทรอยก้า" ที่ประกอบด้วย กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(ไอเอ็มเอฟ), คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) และธนาคารกลางแห่งยุโรป (อีซีบี) ก็จะต้องเข้าไปสะสางตรวจสอบทุกอย่างทุกประการในกรีซเพื่อดูว่า กรีซทำตามเงื่อนไข "รัดเข็มขัด" ของอียูหรือไม่ ซึ่งนั่นอาจกลายเป็นเหตุผลให้เศรษฐกิจกรีซตกอยู่ในสภาพของ "คนป่วย" ที่ถึงแม้ "ไม่ตาย" ก็เลี้ยง "ไม่โต" อยู่ดี
2 ภาคเอกชนอาจไม่เอาด้วย
แถลงการณ์ของผู้นำอียูประเด็นสำคัญเรื่องการ "ตัดหนี้สูญ" ให้กรีซสูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์นั้น เป็นเพียงแค่การแถลงฝ่ายเดียว ข้อเท็จจริงก็คือ เรื่องนี้ยังอยู่ระหว่างการเจรจากันต่อเนื่องยังไม่ได้ข้อยุติ นั่นเป็นประเด็นแรก ประเด็นถัดมาก็คือ ถ้าหากเอกชนที่ประกอบด้วยธนาคาร, บริษัทประกันภัย, กองทุนเพื่อความเสี่ยง (เฮดจ์ฟันด์) และกองทุนบำเหน็จบำนาญไม่เอาด้วย อียูไม่มีอะไรไปบังคับใดๆ ได้ เพราะทั้งหมดเป็นเรื่องของการ "สมัครใจ" เท่านั้น
เรื่องนี้สำคัญอย่างยิ่ง หากไม่สำเร็จวิกฤตหนี้ของกรีซก็อาจลุกลามต่อไป แต่หากกรณีดังกล่าวนี้กลายเป็นเรื่อง "บังคับ" ก็เสี่ยงที่จะเกิดปัญหาธนาคารหรือสถาบันการเงินล้มเป็นลูกระนาด เพราะหนี้แต่ละก้อนไม่ได้อยู่นิ่งเฉย กลับถูกนำไปขายต่อในรูปของตราสารอนุพันธ (เครดิตดีฟอลท์ สว็อป-ซีดีเอส) ที่รวมมูลค่าแล้วอาจจะเป็นหลายพันหลายแสนล้านยูโร
ที่ผ่านมา อียูพยายามจูงใจด้วยการเสนอโครงการให้ความช่วยเหลือที่เรียกว่า "เครดิต เอนแฮนซ์เมนต์" รวมมูลค่า 30,000 ล้านยูโร เพื่อให้สถาบันการเงินเหล่านี้ใช้กู้เพื่อรับมือกับสถานการณ์
แต่บรรดาเฮดจ์ฟันด์และกองทุนทั้งหลายยังคงยืนกรานที่จะตัดหนี้อยู่ที่ราว 20-21 เปอร์เซ็นต์ เหมือนอย่างที่เคยตกลงกันเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาอยู่ดี
3 การจลาจลทางการเมืองและทางสังคม
ทั้งอิตาลีและกรีซ ตกปากรับคำเป็นมั่นเหมาะว่าจะดำเนินการตัดทอนรายจ่ายภาครัฐให้ได้ตามเป้าหมายที่ตกลงกันไว้กับอียู ปัญหาก็คือ ทุกอย่างต้องผ่านมาตรการรัดเข็มขัด ประหยัดรายจ่ายและขึ้นภาษี ที่กำลังถูกต่อต้านอย่างหนัก
การจลาจลเมื่อเร็วๆ นี้ที่กรีซ หนักหนาสาหัสถึงขั้นมีผู้เสียชีวิต และเหตุการณ์ทำนองนี้จะยิ่งมากขึ้น รุนแรงขึ้นตามเวลาที่ผ่านไปและตามมาตรการที่บังคับใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่คาดหมายกันว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะเกิดขึ้นทั่วยูโรโซน และการฟื้นตัวจะเนิ่นช้าเป็นอย่างยิ่ง
เหล่านี้จะทำให้การแก้ปัญหายูโรโซนหนักหนาและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
4 กองทุนอีเอฟเอสเอฟอาจล้มเหลว
ฝรั่งเศสและเยอรมนี 2 โต้โผใหญ่ของอียู ตกลงที่จะใช้ประโยชน์จากกองทุนเพื่อเสถียร ภาพทางการเงินแห่งยุโรป (อีเอฟเอสเอฟ) เพื่อ "ค้ำประกัน" พันธบัตรใหม่ที่ออกโดยรัฐบาลอิตาลีและสเปน เป้าหมายก็เพื่อดึงให้ "อัตรา ดอกเบี้ย" ที่แต่ละประเทศจะต้องจ่ายให้กับ ผู้ซื้อพันธบัตรนั้นลดต่ำลงในระดับที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหา
ปัญหาก็คือ การค้ำประกันดังกล่าวนั้นจำกัดอยู่แค่ 20 เปอร์เซ็นต์แรกเท่านั้นเอง
นักวิเคราะห์เชื่อว่า โดยธรรมชาติของนักลงทุน การค้ำประกันแค่ 1 ใน 5 ไม่มีทางส่งผลต่อพันธบัตรทั้งหมด ทางที่เป็นไปได้มากที่สุดก็คือ รัฐบาลอิตาลีและสเปน ก็จะยังคงต้องจ่ายดอกเบี้ยในอีก 80 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือของพันธบัตรในอัตราที่เห็นแล้ว "น้ำตาร่วง" อยู่ดี
อีกแนวทางหนึ่งที่ผู้นำอียูพยายามจะทำก็คือ เจรจากับประเทศเศรษฐกิจใหม่อย่างจีนและบราซิล ในระหว่างการประชุมจี 20 ให้เข้าไปช่วยซื้อพันธบัตรของประเทศเหล่านี้ ซึ่งหลายคนฟันธงว่า เรื่องรับปากด้วยคำพูดกับการปฏิบัติจริงนั้น ยังคงเป็นคนละเรื่องกันอยู่ดี
5 อาจเกิดภาวะสินเชื่อชะงักงันขึ้น
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นกับธนาคารในกระบวนการ "แฮร์คัตหนี้" ให้กรีซสูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ อียูเรียกร้องให้บรรดาธนาคารต่างๆ เพิ่มทุนให้เพียงพอต่อการครอบคลุมหนี้ที่มีอยู่ในบัญชีของตน รวมถึงให้ครอบคลุมต่อโอกาสเสี่ยงที่จะเกิด "ดีฟอลต์" ขึ้นกับโปรตุเกส สเปน และอิตาลี
การระดมทุนเพื่อให้ครอบคลุมหนี้ดังกล่าวทำได้ทั้งด้วยการระดมเงินลงทุนจากตลาดเงิน (เช่นการดึงดูดเม็ดเงินจากประเทศที่มั่งคั่งอย่างจีน เป็นอาทิ) หรือไม่ ก็ด้วยการเรียกเงินกู้คืนจากบรรดาลูกหนี้ทั้งหลาย แล้วลดความเสี่ยงลงด้วยการงดปล่อยกู้ให้กับรายใหม่ๆ ซึ่งถ้าเป็นอย่างหลังนี้ มันอาจหมายถึงการเกิดภาวะที่เรียกว่า "เครดิต ครันช์" ขึ้นในยูโรโซน
ซึ่งผลลัพธ์ของมันอาจทำให้เศรษฐกิจของ ยูโรโซนที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะเริ่มถด ถอยในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ถดถอยเร็วขึ้นและรุนแรงมากยิ่งขึ้น
6 อีซีบี อาจไม่ยอมรอ อีเอฟเอสเอฟ
เป้าหมายอย่างหนึ่งของการใช้อีเอฟเอส เอฟ ค้ำประกันพันธบัตรของชาติในยูโรโซน ก็เพื่อลดภาระในการเข้าไปช้อนซื้อพันธบัตรที่ออกโดยประเทศที่มีปัญหาทั้งหลายของ ธนาคารกลางแห่งยุโรป (อีซีบี) ลง
ปัญหาก็คือ โครงการค้ำประกันโดยใช้อีเอฟเอสเอฟนั้นต้องใช้เวลานานกว่าจะเป็นรูปเป็นร่างและส่งผลให้ดอกเบี้ยลดลงได้จริง หรืออาจล้มเหลวในการลดดอกเบี้ยลง อย่างที่ตั้งข้อสังเกตไว้ในข้อ 4
อีซีบี เพิ่งเปลี่ยนตัวประธานคนใหม่จาก ฌ็อง โคล้ด ทริเชต์ มาเป็น มาริโอ ดรากีห์ นายแบงก์จากแฟรงเฟิร์ต เยอรมนี ที่ค่อนข้างจะยึดถือแนวทางจากทางการเบอร์ลิน ที่ไม่ค่อยเห็นพ้องกับการแสดงบทบาท "ผู้ใหญ่ใจดี" อย่างนี้มานานแล้ว
ข้อสังเกตเหล่านี้คล้ายคลึงกับที่นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์หลายคนให้ข้อสรุปต่อมาตรการของอียูในหนนี้เอาไว้ว่า เป็นเพียงแค่การ "ซื้อเวลา" ให้วิกฤตยืดเยื้อออกไปอีกเท่านั้น
ไม่ใช่ทางแก้ปัญหาแต่อย่างใดทั้งสิ้น
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 01, 2011 4:01 pm
โดย wiss42
ตลาดหุ้นยุโรปเปิดลบเฉลี่ย 3% เพราะนายกกรีซช็อกตลาดด้วยการประกาศว่าอาจจะให้มีประชามติกับแผนรัดเข็มขัดของรัฐบาล ซึ่งมีแนวโมว่าประชาชนอาจไม่เห็นด้วย อันจะนำมาซึ่งความลำบากในการปฎิบัติตามเงื่อนไขของ EU/IMF และทำให้กรีซต้องล้มละลายในที่สุด
นอกจากนี้
- ผลประกอบการของ Credit Suisse ต่ำกว่าตลาดคาดและประกาศ layoff พนักงาน 1,500 คน (แผนเดิมที่เคยประกาศเมื่อต้นปี)
- PMI ของจีนที่ประกาศเมื่อเช้าต่ำกว่าคาด ออกมา 50.4 ลดลงจากเดือน ก.ย. ที่อยู่ที่ 51.2 ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 51.8
Research Dept.
Finansia Syrus Securities Public Co.,Ltd.
14th Fl., Alma Link
25 Soi Chidlom Ploenchit
Lumpini Patumwan
Bangkok 10330
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 01, 2011 5:34 pm
โดย wiss42
GREECE:เยอรมนีเตือนกรีซล้มละลายหากโหวต"โน"ในประชามติมาตรการแก้วิกฤติหนี้
เบอร์ลิน--1 พ.ย.--รอยเตอร์
นายเรเนอร์ บรูเดิร์ล หัวหน้าพรรคฟรี เดโมแครต (FDP) ซึ่งเป็นพรรค
ร่วมรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีแองเจลา เมอร์เคลของเยอรมนี เปิดเผยว่า เขารู้สึก
"หงุดหงิด" ที่ได้ข่าวว่านายกรัฐมนตรีจอร์จ ปาปันเดรอูของกรีซได้จัดให้มีการลงประชามติ
ต่อมาตรการช่วยเหลือกรีซจากสหภาพยุโรป
เขากล่าวว่า สำหรับเขา ดูเหมือนว่ากรีซกำลังพยายามถอนตัวจากข้อตกลง
ที่ทำร่วมกับผู้นำอียู
"นายกรัฐมนตรีกรีซเห็นด้วยกับมาตรการช่วยเหลือ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อ
ประเทศของเขาเอง ขณะที่ประเทศอื่นๆก็กำลังทำการเสียสละอย่างมากสำหรับการ
บริหารจัดการที่ผิดพลาดและความเป็นผู้นำที่อ่อนแอมานานนับทศวรรษของกรีซ โดย
มีการตัดสินใจผิดๆเกิดขึ้น และกรีซก็จัดการจนพาตัวเองไปสู่วิกฤติ"
"สำหรับผม ฟังดูเหมือนว่ามีใครบางคนกำลังพยายามถอนตัวจากสิ่งที่
ตกลงกันแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องแปลกที่ทำอย่างนั้น" นายบรูเดิร์ลกล่าว
เขากล่าวอีกว่า มีทางออกเดียวในขณะนี้
"เราสามารถทำได้แค่เรื่องเดียวคือเตรียมตัวรับเหตุการณ์ไม่คาดคิด
ซึ่งจะมีการล้มละลายในกรีซ และถ้ากรีซไม่ได้ทำตามข้อตกลง ก็อาจจะเกิดเหตุการณ์
ที่ว่าจะมีการตัดกระแสเงินที่ช่วยเหลือกรีซ"
"พวกเขาจะเผชิญกับภาวะล้มละลายของรัฐ และจะต้องต่อสู้กับความวิตก
ที่ปัญหาจะลุกลามไปถึงระบบธนาคารยุโรป ซึ่งจะมีสาเหตุมาจากเรื่องนี้" นายบรูเดิร์ล
กล่าว
นายกรัฐมนตรีจอร์จ ปาปันเดรอูของกรีซอาจทำให้ยูโรโซนต้องเผชิญกับ
วิกฤตการณ์ครั้งใหม่ เมื่อเขาประกาศว่าจะจัดการทำประชามติต่อข้อตกลงในมาตรการ
แก้ไขวิกฤติหนี้ยูโรโซนที่กรีซทำกับกลุ่มประเทศและองค์กรเจ้าหนี้ในสัปดาห์ที่แล้ว
ข้อตกลงดังกล่าวครอบคลุมถึงมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน
รอบ 2 สำหรับรัฐบาลกรีซในวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโร และการปรับลดมูลค่า
พันธบัตรรัฐบาลกรีซลง 50 % เพื่อที่กรีซจะได้มีความสามารถในการชำระหนี้
อย่างยั่งยืน
กรีซมีแนวโน้มที่จะจัดการลงประชามติในช่วงต้นปีหน้า ซึ่งจะถือเป็นการ
ลงประชามติครั้งที่ 2 ของกรีซในรอบเกือบ 40 ปี โดยการลงประชามติครั้งก่อน
เกิดขึ้นในเดือนธ.ค.1974 เมื่อชาวกรีซโหวตให้ยกเลิกระบอบกษัตริย์ในเวลาไม่นาน
หลังจากการล่มสลายของระบอบเผด็จการทหาร
นักวิเคราะห์กล่าวว่า การจัดการลงประชามติครั้งใหม่นี้ถือเป็นเรื่องที่น่า
ประหลาดใจ เพราะผลสำรวจความเห็นครั้งล่าสุดระบุว่า ชาวกรีซส่วนใหญ่มีความเห็น
คัดค้านข้อตกลงแก้ไขวิกฤติหนี้ดังกล่าว
ผลสำรวจในวันอาทิตย์ระบุว่า ชาวกรีซเกือบ 60 % มีความเห็นคัดค้าน
หรืออาจคัดค้านต่อข้อตกลงในการประชุมสุดยอดของสหภาพยุโรป (อียู) ในสัปดาห์ที่แล้ว
นายโฮเวิร์ด วีลดอน นักยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัทบีจีซี พาร์ทเนอร์ส
กล่าวว่า "ถ้าหากจะมีการลงประชามติ เราก็อาจได้ข้อสรุปว่าชาวกรีซจะไม่ยอมรับ
มาตรการรัดเข็มขัด ซึ่งจะส่งผลให้ทุกสิ่งทุกอย่างล่มสลายลง"
หลังจากมีการเปิดเผยข่าวเกี่ยวกับการลงประชามติ นักการเมืองบางคน
ก็กล่าวหานายปาปันเดรอูว่ากำลังทำในสิ่งที่เสี่ยงมากต่ออนาคตของประเทศ และ
คาดการณ์ว่ากรีซจะผิดนัดชำระหนี้ ในขณะที่นักการเมืองบางคนตั้งคำถามว่าการลง
ประชามติในครั้งนี้เป็นสิ่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ส่วนสมาชิกรัฐสภาบางคนกล่าวว่า
ถ้าหากผลการลงประชามติบ่งชี้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย นายปาปันเดรอูก็จะ
ต้องลาออกจากตำแหน่ง และจัดการเลือกตั้งก่อนกำหนด
นายคริสโตเฟอร์ พิสซาริเดส นักเศรษฐศาสตร์ที่เคยได้รับรางวัลโนเบล
กล่าวว่า "เป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับกรีซถ้าหากกรีซปฏิเสธ
ข้อตกลงใหม่ โดยการปฏิเสธนี้จะส่งผลเลวร้ายมากต่อสหภาพยุโรปและโดยเฉพาะต่อ
ยูโรโซน แต่จะส่งผลเลวร้ายกว่านั้นมากต่อกรีซ"
นายพิสซาริเดสกล่าวว่า "ถ้าหากชาวกรีซลงมติไม่ยอมรับ กรีซก็จะประกาศ
ล้มละลายในทันที และจะผิดนัดชำระหนี้ในทันที และผมก็คาดว่ากรีซจะไม่อยู่ในยูโรโซน
อีกต่อไป"--จบ--
(รอยเตอร์ โดย เสาวณีย์ เอกปัญญาชัย แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 02, 2011 2:01 pm
โดย wiss42
GREECE:จับตาฝรั่งเศส-เยอรมนี-กรีซประชุมฉุกเฉินคืนนี้ผลักดันมาตรการปฏิรูป
ปารีส--2 พ.ย.--รอยเตอร์
ประธานาธิบดีนิโคลาส์ ซาร์โคซีของฝรั่งเศสเปิดเผยว่า เขาและ
นายกรัฐมนตรีแองเจลา เมอร์เคลของเยอรมนีจะจัดการประชุมฉุกเฉินกับ
ผู้นำกรีซในวันนี้เพื่อผลักดันให้กรีซปฏิบัติตามอย่างรวดเร็วต่อข้อตกลงให้ความ
ช่วยเหลือจากยุโรป ซึ่งเป็น "ทางออกเดียว" ที่จะแก้ไขวิกฤติหนี้ของกรีซ
ทั้งนี้ ตลาดการเงินทรุดตัวลงทั่วยุโรปเมื่อวานนี้ หลังจากรัฐบาลกรีซ
ประกาศว่าจะจัดการลงประชามติต่อข้อตกลงช่วยเหลือจากยุโรป ซึ่งคาดว่า
จะจัดขึ้นภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์
ข้อตกลงช่วยเหลือวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโร (1.80 แสนล้าน
ดอลลาร์) ในสัปดาห์ที่แล้วทำให้เกิดความหวังว่าจะช่วยจำกัดผลขาดทุนจาก
การปล่อยกู้ในกรีซของธนาคารต่างๆ และอาจมีการขายพันธบัตรยูโรโซน
ให้แก่จีนและนักลงทุนอื่นๆ
"ประกาศของกรีซสร้างความประหลาดใจไปทั้งยุโรป" ปธน.ซาร์โคซี
กล่าว
"มาตรการช่วยเหลือกรีซถือเป็นวิธีการเดียวที่จะแก้ไขปัญหาหนี้ของกรีซ"
เขากล่าวหลังจากประชุมกับบรรดารัฐมนตรีและผู้ว่าการธนาคารกลางฝรั่งเศส
เพื่อหารือถึงการตัดสินใจทำการลงประชามติของกรีซ
นายซาร์โคซีกล่าวว่า การประชุมที่จัดขึ้นอย่างรีบเร่งในวันนี้ที่รีสอร์ท
ริเวียราของเมืองคานส์ร่วมกับนางเมอร์เคล, นายจอร์จ ปาปันเดรอู นายกรัฐมนตรี
กรีซ, เจ้าหน้าที่สหภาพยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
จะเป็นการ"ตรวจสอบสภาวะต่างๆ ซึ่งกรีซจะสามารถดำเนินการตามข้อตกลง"
นายซาร์โคซี, นางเมอร์เคล, นายฌอง-คล็อด ยุงเกอร์ ประธาน
ยูโรกรุ๊ป, นายเฮอร์แมน แวน รอมปาย ประธานสภายุโรป, นายโฮเซ มานูเอล
บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป, นางคริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการ
ไอเอ็มเอฟ และผู้แทนธนาคารกลางยุโรป จะเข้าร่วมการประชุมรอบแรกเวลา
17.30 น.ตามเวลาท้องถิ่น หรือคืนนี้เวลา 23.30 น.ตามเวลาไทย และต่อมา
พวกเขาจะประชุมกับนายปาปันเดรอูและรมว.คลังของกรีซในเวลา 20.30 น.
ตามเวลาท้องถิ่น หรือคืนนี้เวลา 02.30 น.ตามเวลาไทย
การประชุมดังกล่าวมีขึ้นก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มจี-20 ที่เมือง
คานส์ในวันที่ 3-4 พ.ย. ซึ่งจะพยายามรับประกันต่อประเทศมหาอำนาจของโลก
ว่า ยูโรโซนจะสามารถแก้ไขวิกฤติหนี้สาธารณะ
หลังการประชุมทางโทรศัพท์กับนางเมอร์เคลวานนี้ สำนักงานของ
ปธน.ซาร์โคซีก็ได้ระบุว่า ทั้งสองประเทศได้ตัดสินใจที่จะรับประกันการดำเนิน
การอย่างเต็มที่ตามข้อตกลงช่วยเหลือกรีซเมื่อวันที่ 27 ต.ค.ภายในกรอบเวลา
ที่เร็วที่สุด--จบ--
(รอยเตอร์ โดย เสาวณีย์ เอกปัญญาชัย แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 02, 2011 5:48 pm
โดย wiss42
GREECE:กรีซเผยอาจทำประชามติข้อตกลงช่วยเหลือจากยุโรปเร็วขึ้นในเดือนหน้า
เอเธนส์--2 พ.ย.--รอยเตอร์
นายแฮริส คาสตานิดิส รมว.มหาดไทยของกรีซ เปิดเผยว่า
การลงประชามติต่อข้อตกลงช่วยเหลือจากยูโรโซนนั้น อาจมีขึ้นในเดือน
ธ.ค.นี้ ซึ่งเลื่อนขึ้นจากเดือนม.ค.2012
"มีความเป็นไปได้ที่จะมีการลงประชามติเร็วขึ้นภายในเดือน
ธ.ค.นี้ จากเดือนม.ค.ปีหน้า" เขากล่าว
เขาเปิดเผยว่า สิ่งนี้จะเกิดขึ้น ถ้ากรีซและชาติพันธมิตรระหว่าง
ประเทศสามารถจัดทำกรอบข้อตกลงความช่วยเหลือเร็วกว่าแผนที่วางไว้
ในช่วงต้นสัปดาห์นี้ เขากล่าวว่า มีความเป็นไปได้มากที่สุดที่จะมี
การลงประชามติในเดือนม.ค.2012 แต่นายอิเลียส โมซิอาลอส โฆษกรัฐบาล
เปิดเผยในช่วงเช้านี้ว่า จะมีการลงประชามติให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
--จบ--
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 02, 2011 5:49 pm
โดย wiss42
> GREECE:รมว.คลังเยอรมนียันยูโรโซนจะยังคงสนับสนุนกรีซต่อไป
เบอร์ลิน--2 พ.ย.--รอยเตอร์
หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทม์ส ดอยช์แลนด์รายงานโดยอ้างคำกล่าว
ของนายวูล์ฟกัง ชอยเบิล รมว.คลังเยอรมนีว่า ยูโรโซนจะให้การสนับสนุนกรีซ
ต่อไป ถ้ากรีซยอมทำการปฏิรูปที่จำเป็น และต้องการเป็นสมาชิกยูโรโซน
"ถ้ากรีซยอมรับภาระและความพยายามตามข้อกำหนดของมาตรการ
ช่วยเหลือ และถ้ากรีซต้องการเป็นสมาชิกยูโรโซน เราก็จะสนับสนุนกรีซต่อไป"
นายชอยเบิลกล่าว
นายชอยเบิลยังกล่าวว่า เขามั่นใจว่าชาวกรีซจะสนับสนุนการปฏิรูป
ของรัฐบาลในการลงประชามติที่นายกรัฐมนตรีจอร์จ ปาปันเดรอูประกาศให้
มีการจัดทำขึ้น
นายชอยเบิลระบุว่า "มาตการช่วยเหลือรอบ 2 แก่กรีซที่ประเทศ
ในยูโรโซนได้บรรลุข้อตกลงกันในสัปดาห์ที่แล้วนั้น เป็นการค้ำประกันที่ดีที่สุด
เพื่อให้กรีซแข็งแกร่งขึ้น และทำให้กรีซพึ่งพาตนเองได้"
"ผมหวังว่ากรีซจะเคารพและปฏิบัติตามข้อตกลงและภาระหน้าที่"
รัฐบาลกรีซเผชิญกับการล่มสลายเมื่อวานนี้ เมื่อส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล
เรียกร้องให้นายปาปันเดรอูลาออก เนื่องจากเขาทำให้การเป็นสมาชิกภาพใน
ยูโรโซนของกรีซตกอยู่ในความเสี่ยงด้วยการประกาศจัดการลงประชามติ
ผู้นำฝรั่งเศสและเยอรมนีได้เชิญนายปาปันเดรอูมาประชุมด่วนที่เมือง
คานส์ในวันนี้เพื่อผลักดันให้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงฉบับใหม่ในทันทีก่อนการประชุม
สุดยอดผู้นำกลุ่มจี-20 ในสัปดาห์นี้--จบ--
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 03, 2011 7:45 am
โดย บูรพาไม่แพ้
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน 2554 06:12:02 น.
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed funds rate) ที่ระดับ 0-0.25 % ในการประชุมระยะเวลา 2 วันซึ่งเสร็จสิ้นเมื่อช่วงค่ำวานนี้ (2 พ.ย.) พร้อมระบุว่าสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันของสหรัฐมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนให้เฟดสามารถคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำเป็นพิเศษอย่างน้อยไปจนถึงกลางปี 2556
แถลงการณ์ภายหลังการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) ระบุว่า อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงนับตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา เนื่องจากราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์บางประเภทได้ปรับตัวลงมาจากระดับสูงสุด พร้อมระบุว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจมีความแข็งแกร่งมากขึ้นในไตรมาส 3
อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลบ่งชี้ว่าสภาวะโดยรวมในตลาดแรงงานยังคงอ่อนแอ และอัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะเผชิญกับภาวะขาลง ซึ่งรวมถึงภาวะตึงตัวในตลาดการเงินโลก
ทั้งนี้ เฟดได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐในปีหน้าลงมาอยู่ที่ระดับ 2.5-2.9% ลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ในเดือนมิ.ย.ที่ 3.3-3.7% ส่วนในปีนี้คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวที่ระดับ 1.6-1.7% น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเดือนมิ.ย.ที่ระดับ 2.7-2.9%
นอกจากนี้ เฟดคาดว่า อัตราว่างงานจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 8.5-8.7% ในปีหน้า ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าระดับ 7.8-8.2% ที่คาดการณ์ในเดือนมิ.ย. ส่วนอัตราว่างงานในปีนี้คาดว่าจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 9.0-9.1% อย่างไรก็ดี เฟดคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะมีการจ้างงานอย่างเต็มที่เมื่ออัตราว่างงานลดลงมาอยู่ที่ระดับ 5.2-6.0% และคาดว่าอัตราว่างงานจะอยู่ที่ระดับ 6.8-7.7% ในช่วงปลายปี 2557
ในการประชุมครั้งนี้ เฟดได้ย้ำถึงความพร้อมที่จะใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม โดยกล่าวว่า "คณะกรรมการเฟดจะยังคงประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจจากข้อมูลที่ได้รับมาเป็นระยะๆ และเฟดพร้อมที่จะใช้เครื่องมือต่างๆเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ควบคู่ไปกับการรักษาเสถียรภาพด้านราคา ในขณะเดียวกันเฟดจะทำการทบทวนขนาดและองค์ประกอบของหลักทรัพย์ที่เฟดถือครองอยู่อย่างสม่ำเสมอ และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนการถือครองหลักทรัพย์ตามความเหมาะสม"
ส่วนในการประชุมครั้งก่อนซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 21 ก.ย.ที่ผ่านมานั้น คณะกรรมการเฟดประกาศใช้มาตรการ "Operation Twist" ด้วยการใช้เงินมูลค่า 4 แสนล้านดอลลาร์เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่มีอายุการไถ่ถอน 6-30 ปี พร้อมกับขายพันธบัตรอายุ 3 ปีหรือต่ำกว่า ในวงเงิน 4 แสนล้านดอลลาร์เท่ากัน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะเสร็จสิ้นภายในเดือนมิ.ย. 2555 โดยมีเป้าหมายที่จะฉุดอัตราดอกเบี้ยระยะยาวให้ต่ำลง เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของตลาดที่อยู่อาศัยและกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์:
[email protected]--
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 03, 2011 7:51 am
โดย บูรพาไม่แพ้
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน 2554 06:42:09 น.
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (2 พ.ย.) เพราะได้แรงหนุนจากรายงานของ ADP ที่ระบุว่า ภาคเอกชนทั่วสหรัฐมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นในเดือนต.ค. นอกจากนี้ ตลาดยังขานรับธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวได้ดีในไตรมาส 3 และเฟดพร้อมที่จะใช้เครื่องมือทุกอย่างเพื่อหนุนเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวแข็งแกร่งขึ้น
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์พุ่งขึ้น 178.08 จุด หรือ 1.53% ปิดที่ 11,836.04 จุด ดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้น 19.62 จุด หรือ 1.61% ปิดที่ 1,237.90 จุด ดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้น 33.02 จุด หรือ 1.27% ปิดที่ 2,639.98 จุด
ภาวะการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กเป็นไปอย่างคึกคัก โดยดัชนีดาวโจนส์ทะยานขึ้นถึง 1.53% หลังจากเฟดระบุว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของมีความแข็งแกร่งมากขึ้นในไตรมาส 3 พร้อมยืนยันว่า เฟดเฟดพร้อมที่จะใช้เครื่องมือต่างๆเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ควบคู่ไปกับการรักษาเสถียรภาพด้านเงินเฟ้อ
นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากรายงานของ ADP Employer Services ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยด้านตลาดแรงงานในสหรัฐเปิดเผยว่า ภาคเอกชนทั่วสหรัฐมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 110,000 ตำแหน่งในเดือนต.ค. เพราะได้แรงหนุนจากภาคบริการที่มีการจ้างงานสูงขึ้นถึง 114,000 ตำแหน่ง
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ว่ากรีซอาจจะผิดนัดชำระหนี้และอาจทำให้วิกฤตหนี้ลุกลามไปยังประเทศอื่นๆในยูโรโซน โดยเฉพาะเมื่อนายจอร์จ ปาปันเดรอู นายกรัฐมนตรีกรีซ ยืนกรานว่า รัฐบาลกรีซจะจัดทำประชามติเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนตัดสินใจว่าจะยอมรับข้อตกลงการให้ความช่วยเหลือกรีซหรือไม่ ในช่วงต้นปีหน้า แม้สถานการณ์ผันผวนทางการเมืองได้ส่งผลกระทบต่อคณะทำงานของเขาก็ตาม
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า นักวิเคราะห์ทางการเมืองของกรีซได้ออกมาแสดงความวิตกกังวลว่า การทำประชามติมีความเสี่ยงที่จะทำให้กรีซเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในยูโรโซน เนื่องจากผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่า ชาวกรีซส่วนใหญ่ที่ไม่พอใจกับมาตรการรัดเข็มขัดนั้น มีแนวโน้มที่จะคัดค้านข้อตกลงดังกล่าว
หุ้นแบงก์ ออฟ อเมริกา พุ่งขึ้น 5% ส่วนหุ้นมาสเตอร์การ์ดพุ่งขึ้น 7% หลังจากบริษัทเปิดเผยกำไรรายไตรมาสพุ่งขึ้น 38% ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ขณะที่หุ้นอินเทล คอร์ป ปรับตัวลดลง 0.2%
หุ้นอีโอจี รีซอสเซส อิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานของสหรัฐ ดีดตัวขึ้น 11.8% หลังากบริษัทเปิดเผยผลประกอบการไตรมาส 3 ที่ดีเกินคาด
นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยวันพฤหัสบดี กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยยอดสั่งซื้อของโรงงานเดือนก.ย. และสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยดัชนีภาคบริการเดือนต.ค. ส่วนวันศุกร์ กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนต.ค.
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์:
[email protected]--
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 03, 2011 8:28 am
โดย บูรพาไม่แพ้
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน 2554 07:55:59 น.
ADP Employer Services ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยด้านตลาดแรงงานในสหรัฐเปิดเผยว่า ภาคเอกชนทั่วสหรัฐมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 110,000 ตำแหน่งในเดือนต.ค. มากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 101,000 ตำแหน่ง เพราะได้แรงหนุนจากภาคบริการที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง
รายงานของ ADP ระบุว่า ภาคบริการของสหรัฐมีการจ้างงานสูงถึง 114,000 ตำแหน่งในเดือนต.ค. อย่างไรก็ตาม การจ้างงานในอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าปรับตัวลดลง 4,000 ตำแหน่ง และการจ้างงานในอุตสาหกรรมการผลิตโดยทั่วไป ปรับตัวลดลง 8,000 ตำแหน่ง
ส่วนการจ้างงานในธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก เพิ่มขึ้น 111,000 ตำแหน่ง แต่การจ้างงานในธุรกิจขนาดใหญ่ลดลง 1,000 ตำแหน่ง
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า การเปิดเผยตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนของ ADP ขึ้นก่อนที่กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนต.ค.ในวันศุกร์นี้ เวลา 19.30 น.ตามเวลาประเทศไทย โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรจะเพิ่มขึ้นราว 95,000 ตำแหน่ง และคาดว่าอัตราว่างงานจะทรงตัวอยู่ที่ 9.1% ในเดือนต.ค.
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์:
[email protected]--
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 03, 2011 5:15 pm
โดย wiss42
ตลาดยุโรปเริ่มเปิด ลบเฉลี่ย 1.3% เพราะปัญหากรีซ เสียงภายในรัฐบาลเริ่มแตก รมว.คลังกรีซไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติและอยากอยู่ในยูโรโซนต่อไป
ขณะที่เยอรมนีและฝรั่งเศสเริ่มใช้ไม้แข็งกับกรีซ โดยบอกว่าจะไม่ให้เงินช่วยเหลือกรีซจนกว่าจะเห็นผลของประชามติ
ติดตามการประชุม G-20 วันที่ 3 - 4 พ.ย.
การประชุม รมว.คลังยุโรป วันที่ 7 - 8 พ.ย.
และกรีซจำเป็นต้องได้เงินกู้ก้อนใหม่ (งวดที่ 6) ก่อนสิ้นปีนี้
FSS Research
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 04, 2011 1:42 am
โดย ถุงเงินเก่า
ทางอียูมีการตั้งแง่ ทางจีนยังไม่ส่งสัญญาณลงทุนกองทุน EFSF จนว่าจะชัดเจน
บิ๊กอีซีบีคนใหม่ส่งสัญญาณพร้อมเดินหน้าโครงการซื้อพันธบัตรแก้วิกฤติหนี้ยูโรโซน
วันพฤหัสบดีที่ 03 พฤศจิกายน 2011 เวลา 17:40 น. กอง บก.ออนไลน์ ข่าวรายวัน - ข่าวต่างประเทศ
นายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) คนใหม่ ส่งสัญญาณว่าอีซีบีพร้อมที่จะเดินหน้าโครงการซื้อพันธบัตรที่อีซีบีประกาศใช้ในเดือนสิงหาคม ในขณะที่อิตาลีได้รับผลกระทบจากวิกฤติหนี้ยูโรโซนมากขึ้นเรื่อยๆ นายดรากีจึงตกอยู่ในสถานะที่ล่อแหลมมากเป็นพิเศษในช่วงนี้ เพราะถ้าหากเขาส่งสัญญาณว่าจะให้การสนับสนุนการแก้ไขวิกฤติหนี้ยูโรโซน ประเทศอื่นๆโดยเฉพาะเยอรมนีก็อาจจะมองว่านายดรากีลำเอียงเข้าข้างอิตาลี
ที่มา
นสพ.ฐานเศรษฐกิจ
17.30 น.จีน ไม่สัญญาลงทุนกองทุนEFSF
Posted on Thursday, November 03, 2011
นายจู กวงเหยา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังของจีน กล่าวว่า รัฐบาลจีนยังไม่ยืนยันว่าจะลงทุนในกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป หรือ EFSF จนกว่าจะมีข้อยุติกรณีกรีซที่ล่าสุด มีการทำประชามติจากประชาชนว่าเห็นด้วนหรือไม่ ที่จะขอรับความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป หรือ อียูหรือไม่ นอกจากนั้น กองทุนดังกล่าวยังไม่มีรายละเอียดเรื่องการลงทุนที่ชัดเจนเพียงพอ
ก่อนหน้านี้ นายคลอส เรกลิง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกองทุน EFSF ได้เยือนกรุงปักกิ่ง เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อโน้มน้าวให้รัฐบาลจีนทำการลงทุนในการทุน EFSF หลังจากอียูตกลงเพิ่มขนาดของกองทุนขึ้นเป็น 1 ล้านล้านยูโร จากเดิม 440,000 ล้านยูโร แม้ว่าจะยังมีรายละเอียดไม่ชัดเจน แต่เขาหวังว่ารัฐบาลจีนคงจะยอมให้ความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับประเทศในยุโรปที่ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ เพราะถือว่า ยุโรปเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของจีน อย่างไรก็ตาม นายจู หวังว่าผู้นำของอียูจะสามารถหาทางแก้ไขวิกฤติหนี้ของยุโรปได้โดยเร็ว พร้อมทั้งใช้บังคับมาตรการที่จำเป็นและเร่งด่วน เพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเงินและทำให้เศรษฐกิจโลกมีการเติบโตโดยต่อเนื่อง
ที่มา
Money Channel
Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 04, 2011 8:54 am
โดย บูรพาไม่แพ้
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2554 08:01:13 น.
กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 29 ต.ค.ลดลง 9,000 ราย สู่ระดับ 397,000 ราย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 สัปดาห์ และลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 400,000 ราย
ทั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปลายเดือนก.ย.ที่ผ่านมา ที่จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 400,000 ราย ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานของสหรัฐกำลังอยู่ในระยะฟื้นตัว
การปรับตัวลดลงของจำนวนคนว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐช่วยให้ตลาดคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะซบเซาในตลาดแรงงานของสหรัฐ และยังสอดคล้องกับที่ ADP Employer Services รายงานว่าภาคเอกชนทั่วสหรัฐมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 110,000 ตำแหน่งในเดือนต.ค. มากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 101,000 ตำแหน่ง
กระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (nonfarm payrolls) ประจำเดือนต.ค.ในเวลา 19.30 วันนี้ตามเวลาประเทศไทย โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรจะเพิ่มขึ้นราว 95,000 ตำแหน่ง และคาดว่าอัตราว่างงานจะทรงตัวอยู่ที่ 9.1% ในเดือนต.ค.