หน้า 3 จากทั้งหมด 3
Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า
โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 07, 2012 2:14 pm
โดย pak
เครือ SPC ร่วมทุนลอว์สันเตรียมเปิดธุรกิจร้าน Convenience Store
7 พ.ย. 55
บมจ.สหพัฒนพิบูล(SPC) เปิดเผยว่า บริษัทได้เข้าลงทุนในบริษัท สห ลอว์สัน จำกัด ภายในเดือน พ.ย.55 โดยจะเข้าถือหุ้นในสัดส่วน 20% ร่วมกับบริษัทอื่นในกลุ่มสหพัฒน์ที่จะถือหุ้นอีก 30% ส่วนทาง Lawson Asia Pacific Holdings Pte Ltd. (LAP) ถือหุ้น 49% และ บจ.ไทย-เอ็มซี(TMC)ถือหุ้น 1% ซึ่งบริษัท สห ลอว์สัน ประกอบธุรกิจร้านค้าสะดวกซื้อ Convenience Store มีทุนจดทะเบียน 70 ล้านบาท
อินโฟเควสท์
Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 19, 2012 2:14 pm
โดย pak
พีทีทีจีซีรุกคืบควบ'พีทีที ฟีนอล' รวมอาณาจักรขึ้นผู้นำปิโตรเคมี
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Wednesday, November 14, 2012
ปตท.จับ "พีทีทีจีซี" ควบรวม "พีทีที ฟีนอล" หวังต่อยอดธุรกิจ สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ "อนนต์" ย้ำได้ผลสรุปปลายปีนี้ ต่อจิ๊กซอว์ขึ้นผู้นำด้านธุรกิจปิโตรเคมี สอดรับภารกิจมุ่งขยายตลาดกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง-ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ ด้านนักวิเคราะห์ระบุเป็นการควบรวมขนาดเล็ก ไม่สร้างผลกำไรอย่างมีนัยสำคัญ
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (พีทีทีจีซี) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) อยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาการควบรวมกิจการระหว่างพีทีทีจีซี กับบริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม ปตท. ผลิตสารฟีนอล (Phenol) กำลังการผลิต 2 แสนตันต่อปี และอะซีโทน (Acetone) กำลังการผลิต 1.23 แสนตันต่อปี ที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินโครง การบิสฟีนอล เอ (Bisphenol A) กำลังการผลิต 1.5 แสนตันต่อปี ที่เป็นผลิต ภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นกลาง ใช้เป็นวัตถุดิบที่นำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นปลาย ก่อนที่จะนำไปใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่สำคัญ อันได้แก่ สาร Bisphenol A และเม็ดพลาสติก Polycarbonate หรือ PC จัดเป็นพลาสติกวิศวกรรมที่มีคุณค่าสูง นำไปผลิตสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ยานยนต์, เครื่องมือแพทย์, ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์, แผ่นซีดี-ดีวีดี และอื่นๆ อีกมากมาย
ทั้งนี้ในปัจจุบัน พีทีทีจีซีถือหุ้นในพีทีทีฟีนอลในสัดส่วน 60% ส่วนที่เหลืออีก 40% เป็นของ ปตท. ซึ่งการควบรวมดังกล่าว เป็นไปตามนโยบายของ ปตท. ที่ต้องการให้พีทีทีจีซีเป็นผู้นำด้านธุรกิจปิโตรเคมีครบวงจร ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้อง ถือซ้ำซ้อนกัน จึงให้พีทีทีจีซีถือหุ้นทั้ง หมดในพีทีทีฟีนอลแทน เพื่อให้การดำเนิน งานเกิดความคล่องตัว และขยายต่อยอดธุรกิจต่อไปได้ โดยผลการศึกษาจะแล้วเสร็จภายในปลายปีนี้ และคาดว่าจะสามารถ ควบรวมกิจการได้ประมาณต้นปีหน้า 2556 โดยจะส่งผลให้พีทีทีจีซีมีสินทรัพย์เพิ่มมาส่วนหนึ่งจากปัจจุบันมีอยู่ 3.72 แสนล้านบาท
นายอนนต์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาการควบรวมระหว่างบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) มาเป็นพีทีทีจีซี มีภาระการสร้างมูลค่าเพิ่มและต่อยอดให้กับธุรกิจ ตั้งเป้าเจาะตลาดที่มีการเติบโตสูง โดยเฉพาะตลาดที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมก่อสร้าง อิเล็ก ทรอนิกส์ รถยนต์ ซึ่งใช้โพลิยูรีเทน และโพลิคาร์บอเนตจำนวนมาก ดังนั้นการถือหุ้นพีทีทีฟีนอล 100% นับว่าเป็นการต่อยอดภารกิจดังกล่าวด้วย
"การควบรวมกับพีทีทีฟีนอลจะสามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์ได้หลายประ เภท ซึ่งบริษัทไม่ได้ตั้งเป้าว่าจะต้องขึ้นเป็นที่ 1 ด้านการดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีในอาเซียน แต่จะเน้นประสิทธิภาพและการบริหารต้นทุนมากกว่า ปัจจุบันพีทีทีจีซีถูกจัดให้เป็นบริษัทรายใหญ่ลำดับที่ 24 ของโลก" นายอนนต์ กล่าว
สำหรับบริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด บริษัทในกลุ่ม ปตท. ดำเนินธุรกิจสายปิโตรเคมี ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2547 โดยการร่วมทุนระหว่าง ปตท. สัดส่วน 40% และพีทีทีจีซี 60% โดยโรงงานมีพื้นที่ 134 ไร่ ตั้งอยู่ ณ นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตา พุด) อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง และยังถือเป็นบริษัทแรกในประเทศไทยที่ดำเนินการผลิตสารฟีนอลและอะซีโทน
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทพีทีทีจีซีฯ กล่าวย้ำว่า นอกจากนี้บริษัทยังเน้นดำเนินธุรกิจที่สร้างมูลค่าเพิ่มมากขึ้น โดยในช่วง 5 ปีข้างหน้า (ปี 2556-2560) บริษัทวางเป้าจะเพิ่มสัดส่วนรายได้จากสินค้ามูลค่าสูง (High Value Specialty: HVS) เป็น 20% จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 5% ของรายได้รวม ซึ่งการขยายกลุ่มเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ บริษัทได้เข้าซื้อหุ้น 51% ในบริษัท Perstorp Holding France SAS จำนวนเงินประ มาณ 124.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 4.8 พันล้านบาท จากผู้ถือหุ้นเดิม และเปลี่ยนชื่อกิจการเป็น Vencorex Holding นอกจากนี้ได้ลงนามร่วมกับปิโตรนาส และอิโตชู เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ ภายใต้โครงการ Petronas Rapid Project ในประเทศมาเลเซีย
ส่วนการขยายธุรกิจกลุ่มผลิตภัณฑ์ เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม บริษัทเข้าร่วมลงทุน 50% ในบริษัท Nature Works LLC จำนวนเงิน 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 4.5 พันล้านบาท ซึ่งเป็นผู้ผลิตไบโอพลาสติกชนิด PLA รายใหญ่ในตลาดโลก ปัจจุบันมีโรงงานผลิต 1.4 แสนตันต่อปี ในมลรัฐเนบราสกา สหรัฐฯ และมีแผนลงทุนโรงงานไบโอพลาสติกชนิด PLA เพิ่มในประเทศไทย ขนาด 1.4 แสนตันต่อปี คาดใช้เงินลงทุน 300 ล้านดอล ลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 9.3 พันล้านบาท
อย่างไรก็ตาม บริษัทอยู่ระหว่างการทบทวนงบลงทุน 5 ปี (2556-2560) จากเดิมตั้งไว้ที่ 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1.4 แสนล้านบาท ซึ่งจะทราบความชัดเจนได้ภายในสิ้นปีนี้ ระหว่างนี้กำลังดูเรื่องการจัดหาเงินทุน เพื่อไม่ให้อัตราหนี้สินต่อทุน (D/E) เกิน 0.7 เท่า และอัตราหนี้ต่อ EBITDA ไม่เกิน 2.4 เท่า เนื่องจากบริษัทต้องการสร้างรายได้ที่มีสภาพคล่องสูง จึงต้องวาง แผนลงทุนเพื่อใช้รายได้จากบริษัทเป็นหลักก่อน ส่วนที่เหลือจึงจะเป็นเงินกู้
"การลงทุนในระยะใกล้ บริษัทยังคงเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มธุรกิจ โดยมองเทรนด์ใหม่ในภูมิภาคว่าอุตสาหกรรมยังเติบโตสูง โดยเฉพาะรถยนต์ อิเล็กทรอ นิกส์ และก่อสร้าง ซึ่งล้วนเป็นผลิตภัณฑ์ที่เราสามารถผลิตได้ทั้งสิ้น ส่วนแนวโน้มรายได้ปีนี้คาดว่าอยู่ที่ 5.64 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 4 แสนล้านบาท โดยคาดว่าอีบิตดาอยู่ที่ 5 หมื่นล้านบาท เพราะการควบรวมระหว่างกันทำให้เกิดประสิทธิภาพการผลิต มีการใช้กำลังการผลิตเต็มที่ และตลาดเอเชียเติบโตสูง"นายอนนต์ กล่าว
ด้านนายทรงกลด วงศ์ไชย ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ฟินันเซีย ไซรัสฯ กล่าวให้ความเห็นว่า หากพีทีทีจีซีควบรวมกับพีทีทีฟีนอล เชื่อว่าจะเพิ่มกำไรให้กับพีทีทีจีซีเล็กน้อย เนื่องจากปัจจุบันบริษัทได้ถือหุ้น 60% ในพีทีทีฟีนอลอยู่แล้ว และแม้ว่าจะสามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์ได้ แต่คาดว่าคงไม่น่าจะทำให้กำไรเพิ่มขึ้นอย่าง มีนัยสำคัญ เพราะพีทีทีฟีนอลเป็นบริษัทขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับธุรกิจหลักของพีทีทีจีซี อย่างไรก็ตามยังคงแนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 68 บาท
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนที่ต้องการซื้อหุ้นพีทีทีจีซี จะต้องคำนึงถึงราคาน้ำมันและปิโตรเคมีเป็นหลัก เนื่องจากจะผันผวนกับรายได้ของบริษัท เพราะปัจจุบันพีทีทีจีซีเดินเครื่องผลิต 100% และยังไม่มีโครงการใหม่ที่จะเข้ามาในช่วงนี้ ดังนั้นรายได้และกำไรจะขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันและราคาขายผลิตภัณฑ์เป็นหลัก โดยคาดว่าราคาน้ำมันจะทรงตัวในระดับ 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ธุรกิจปิโตรเคมีก็ยังไม่ดีนัก ซึ่งได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ส่งผลให้เกิดปัญหากำลังการผลิตมากกว่าความต้องการซื้อ (โอเวอร์ซัพพลาย) อย่าง ไรก็ตามพีทีทีจีซีจะเน้นการเพิ่มมูลค่าสิน ค้าและผลิตสินค้าชนิดพิเศษที่ทำกำไรเพิ่มขึ้น ช่วยให้บริษัทมีกำไรเพิ่มขึ้นได้
--จบ--
Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า
โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 21, 2012 7:32 am
โดย pak
'เจริญ' จ่อฮุบไอเอ็นจีประกันชีวิต หวังใช้แบงก์แอสชัวร์รันส์ผ่านทหารไทย - โตทางลัดรับตลาดเออีซียันทุนพร้อม เสนอทุกรูปแบบ "ซื้อหมด-บางส่วน-ร่วมทุน"-หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
"เจริญ" เตรียมเข้าซื้อไอเอ็นจีประกันชีวิตในไทยต่อจากแปซิฟิคเซ็นจูรี่ ของริชาร์ด ลี เจ้าพ่อโทรคมนาคมและอสังหาฯจากฮ่องกง "โชติพัฒน์" หวังใช้เป็นเครื่องมือทำแบงก์แอสชัวรันส์ผ่าทหารไทย ช่วยเติบโตทางลัดรับมือเออีซี
Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า
โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 23, 2012 10:01 am
โดย pak
'เม่า' แข็งข้อเสี่ยเจริญGOLDเทนเดอร์รอบ2 ลุ้นมากกว่า 5.50 บาท ยูวีเก็บได้แค่ 50.64%
ข่าวหุ้น, 23 พ.ย. 55
นักลงทุนรายย่อย GOLD หรือ แผ่นดินทองพร็อพเพอร์ตี้ โชว์พาว ไม่ยอมขายหุ้นให้ UV ส่งผลเก็บหุ้น
จนถึงวันสุดท้ายวานนี้ (22 พ.ย.) ได้ 50.64% แบบเฉียดฉิว ส่วนกลุ่ม Golden Source Global ก็
เมินปล่อยด้วย เหตุไม่พอใจราคาซื้อ 5.50 บาท วงในระบุตามสไตล์ "เสี่ยเจริญ" ต้องได้ 70-80% ดัง
นั้นมีโอกาสสูงเทนเดอร์อีกรอบ ด้วยการส่งบริษัทในเครือ TCC เข้ามาซื้อ
Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า
โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 30, 2012 9:08 am
โดย pak
'โค้ก'สยายปีกลงทุนใน'ลาว'ร่วมท้องถิ่นตั้งรง.ผลิต-จำหน่าย [ มติชน, 30 พ.ย. 55 ]
นายพรวุฒิ สารสิน รองประธานกรรมการ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่าย
เครื่องดื่ม โคคา-โคลา เปิดเผยว่า ได้ลงนามในสัญญาจัดตั้งกิจการร่วมทุนกับบริษัท พีที คอนสต
รัคชั่น จำกัด ของลาว ภายใต้ชื่อ บริษัท ลาว โคลา-โคลา บอทลิ่ง จำกัด เพื่อผลิตและจัดจำหน่าย
เครื่องดื่มของกลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดย บริษัทน้ำ
ทิพย์ถือหุ้นประมาณ 70% ที่เหลือเป็นการถือหุ้นโดยบริษัทพีที โดยใน 5 ปีแรกจะใช้เงินลงทุน
ประมาณ 40 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1,200 ล้านบาท ทั้งนี้ในระยะแรกคือตั้งแต่วันที่ 29
พฤศจิกายน บริษัทร่วมทุนจะจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของ โคคา-โคลาที่นำเข้าจากไทยก่อน ทั้ง
โค้ก แฟนต้า สไปรท์ น้ำผลไม้ มินิทเมด และน้ำดื่มน้ำทิพย์ในตลาดประเทศลาวก่อน ขณะเดียว
กันก็จะดำเนินการก่อสร้างโรงงานผลิตที่เวียงจันทน์ด้วย คาดว่าจะเดินเครื่องการผลิตได้ในปี
2557
Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า
โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 05, 2012 7:48 pm
โดย pak
'ซีพี' ทุ่มเฉียด 3 แสนล้านบาทซื้อหุ้น บ.ประกันภัยยักษ์จีน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์, 5 ธันวาคม 2555 18:32 น.
เอเจนซีส์ – บริษัทในเครือซีพีของ “ธนินทร์ เจียรวนนท์” ทุ่มเฉียดหมื่นล้านดอลลาร์ หรือใกล้ๆ 3 แสนล้านบาท ซื้อหุ้น ผิงอาน อินชัวรันซ์ บริษัทประกันภัยใหญ่อันดับ 2 ของจีน ทั้งหมดที่อยู่ในมือของเอชเอสบีซี ธนาคารยักษ์สัญชาติอังกฤษ โดยที่มี ไชน่า ดิเวลอปเมนท์ แบงก์ให้การสนับสนุน นับเป็นดีลซื้อขายกิจการใหญ่สุดอันดับ 2 ของเอเชียประจำปีนี้ และเป็นการซื้อหุ้นนอกประเทศที่มีมูลค่ามากที่สุดของซีพี นักวิเคราะห์ชี้เอชเอสบีซีฟันกำไรอย่างน้อย 8,000 ล้านดอลลาร์
เอชเอสบีซีแถลงเมื่อวันพุธ (5) ว่าจะขายหุ้น ผิงอาน อินชัวรันซ์ กรุ๊ป ทั้ง 15.57% ที่ตนเองถือครองอยู่ ให้แก่กลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ในราคาหุ้นละ 59 ดอลลาร์ฮ่องกง (ประมาณ 7.66 ดอลลาร์) รวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 9,400 ล้านดอลลาร์ (291,400 ล้านบาท) โดยจะทยอยถ่ายโอนหุ้นให้เป็นระยะ ล็อตแรกคือจำนวน 1 ใน 5 ในวันศุกร์นี้ (7) ส่วนที่เหลือยังต้องรอการอนุมัติจากคณะกรรมการกำกับตรวจสอบภาคการประกันภัยของทางการจีน ทั้งนี้ซีพีได้ตกลงด้วยว่าจะถือหุ้นผิงอานเหล่านี้ไปอย่างน้อย 6 เดือน
ผิงอาน เพิ่งตกเป็นข่าวพาดหัวเมื่อเร็วๆ นี้ หลังจากที่หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์เสนอรายงานข่าวในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า ญาติสนิทของนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า ของจีน ได้กำไรงดงามจากการเข้าซื้อหุ้นของบริษัทประกันภัยแห่งนี้เอาไว้ในราคาต่ำ ก่อนที่หุ้นตัวนี้จะเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงเมื่อปี 2004
ทางด้าน ผิงอาน ได้ปฏิเสธข้ออ้างเหล่านี้ และประกาศว่าจะดำเนินการฟ้องร้องเอาผิดกับหนังสือพิมพ์ทรงอิทธิพลของอเมริกันฉบับดังกล่าว
ในวันพุธ สจวร์ต กัลลิเวอร์ ประธานบริหารเอชเอสบีซี กรุ๊ป กล่าวในคำแถลงว่า การขายหุ้นผิงอานครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นของแบงก์ยักษ์ใหญ่สัญชาติอังกฤษและมีกิจการจำนวนมากอยู่ในเอเชียแห่งนี้ อย่างไรก็ตาม เอชเอสบีซียังคงถือว่าจีนเป็นตลาดหลัก และแบงก์จะเน้นหนักมากขึ้นในการขยายการปฏิบัติการและการสร้างพันธมิตรการธนาคารเชิงยุทธศาสตร์ระยะยาวกับแบงก์ ออฟ คอมมิวนิเคชันส์ ธนาคารอันดับ 5 ของจีนที่เอชเอสบีซีถือหุ้นอยู่ 19%
ปัจจุบัน เอชเอสบีซี กำลังอยู่ระหว่างกระบวนการขายสินทรัพย์ที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับโครงสร้างเพื่อส่งเสริมศักยภาพการทำกำไร
เอชเอสบีซีซึ่งจดทะเบียนทั้งในตลาดลอนดอนและตลาดฮ่องกง ยังต้องกันเงินจำนวนหลายร้อยล้านดอลลาร์ เตรียมไว้สำหรับค่าปรับที่อาจเกิดขึ้นจากคดีอาญาเกี่ยวกับข้อกล่าวหาฟอกเงินในสหรัฐฯ โดยที่ จิม แอนทอส นักวิเคราะห์จากมิซูโฮะ ซีเคียวริตี้ส์ ในฮ่องกงชี้ว่า การขายหุ้นผิงอานครั้งนี้ ทำให้เอสเอสบีซีมีกำไรอย่างน้อย 8,000 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากทางแบงก์ใช้เงินไปราว 1,700 ล้านดอลลาร์เท่านั้น ในการซื้อหุ้นบริษัทประกันภัยจีนแห่งนี้ในช่วงระหว่างปี 2002-2005
ทางด้านผิงอานแถลงว่า เคารพการตัดสินใจของเอชเอสบีซี ซึ่งเคยช่วยเหลือบริษัทในการขยับขยายกิจการธุรกิจการเงิน
ผิงอาน ก่อตั้งเป็นบริษัทประกันภัยเมื่อปี 1988 และในปัจจุบันกลายเป็นหนึ่งในผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดของโลก ด้วยฐานลูกค้า 74 ล้านราย ว่าจ้างพนักงานกว่า 175,000 คน และมีตัวแทนราว 500,000 คน รวมทั้งมีธุรกิจด้านบริการการเงินอื่นๆ และมีแบงก์ของตนเอง
เฉิง ยุ่ยเส็ง โฆษกของผิงอาน ระบุว่า ถึงแม้มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่กลุ่มใหม่เข้ามา แต่บริษัทไม่มีแผนการเปลี่ยนแปลงในเชิงยุทธศาสตร์ใดๆ เนื่องจากกลุ่มซีพีเห็นชอบกับรูปแบบธุรกิจและวัฒนธรรมเชิงยุทธศาสตร์ รวมทั้งเชื่อมั่นในทีมบริหารปัจจุบันของผิงอาน
สำหรับซีพีของเจ้าสัวธนินทร์ เจียรวนนท์ เริ่มต้นจากธุรกิจการเกษตรก่อนขยับขยายกลายเป็นกลุ่มกิจการที่ครอบคลุมตั้งแต่ค้าปลีกจนถึงโทรคมนาคม โซลูชันซอฟต์แวร์ และอสังหาริมทรัพย์ ปีที่ผ่านมามีรายได้มากกว่า 33,000 ล้านดอลลาร์
ซีพีเป็นบริษัทการเกษตรต่างแดนแห่งแรกที่เข้าไปลงทุนในจีนในปี 1979 ปัจจุบัน กลุ่มบริษัทนี้ครองส่วนแบ่งการส่งออกสัตว์ปีกของจีนกว่า 1 ใน 4 และยังดำเนินการเชนซูเปอร์มาร์เก็ต โลตัส ในเซี่ยงไฮ้
นอกจากนี้ยังดูเหมือนซีพีมีความสัมพันธ์ทางการเมืองแน่นแฟ้นในปักกิ่ง เอชเอสบีซีเผยว่า การซื้อหุ้นผิงอานครั้งนี้ ซีพีได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากไชน่า ดิเวลอปเมนท์ แบงก์ และมียูบีเอสเป็นที่ปรึกษา
การซื้อกิจการนอกประเทศของพวกบริษัทไทยเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในปีนี้ โดยได้แรงหนุนจากภาวะความร้อนแรงของตลาดหุ้น และผู้ประกอบการไทยที่มีเงินสดพร้อมและมองหาการลงทุนในต่างแดน ข้อตกลงซื้อขายและผนวกกิจการ (เอ็มแอนด์เอ) ของไทยจากต้นปีจนถึงขณะนี้ทำสถิติสูงสุดถึง 18,700 ล้านดอลลาร์ มากกว่ามูลค่าในปี 2010 และ 2011 รวมกัน ทั้งนี้ จากข้อมูลของธอมป์สัน รอยเตอร์
ขณะเดียวกัน การซื้อหุ้นผิงอานนับเป็นดีลใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ในเอเชียประจำปีนี้ เป็นรองจากที่ ซีนุก บริษัทสำรวจและขุดเจาะน้ำมันยักษ์ใหญ่ของจีนของจีน เสนอซื้อ เน็กเซ็น บริษัทน้ำมันของแคนาดาในราคา 15,100 ล้านดอลลาร์เท่านั้น
Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 07, 2012 9:29 am
โดย pak
ไทยผงาดเอเชียลุยซื้อกิจการตปท.7.6แสนล้านมากอันดับ3รองญี่ปุ่น-จีนหวังหาโอกาสใหม่
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Friday, December 07, 2012
โพสต์ทูเดย์ - บริษัทไทยผงาดติดอันดับ 3 ของเอเชียในการซื้อกิจการต่างประเทศปีนี้ สูงกว่า 7.62 แสนล้าน ขยายโอกาสไปทั่วโลก
บลูมเบิร์กรายงานว่า บริษัทยักษ์ใหญ่สัญชาติไทยเดินหน้าซื้อและควบรวมกิจการในต่างประเทศต่อเนื่องส่งผลให้ตลอดทั้งปี 2555 ปริมาณการซื้อในต่างแดนพุ่งขึ้นไปอยู่ที่ 2.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ(ราว 7.62 แสนล้านบาท) นับเป็นอันดับที่ 3 ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยเป็นรองเพียงแค่บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นและจีนเท่านั้น
นอกจากนี้ ปริมาณการซื้อตลอดทั้งปีนี้ยังมากกว่าตัวเลขในรอบ 12 ปีที่ผ่านมารวมกันอีกด้วย
บลูมเบิร์กระบุว่า บริษัทไทยหลายแห่งฟื้นตัวจากน้ำท่วมใหญ่เดินหน้าซื้อกิจการในต่างประเทศ นำโดยบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ ซื้อบริษัทเฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ ในสิงคโปร์มูลค่า 1.14 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ(ราว 3.47 แสนล้านบาท)
ล่าสุด กลุ่มซีพีซื้อหุ้นในบริษัทผิงอัน อินชัวรันซ์ ในจีน จากธนาคารเอชเอสบีซี มูลค่า 9,400 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 2.86 แสนล้านบาท) โดยจะใช้เงินกู้จากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งชาติจีน (ซีดีบี) ทำให้บริษัทสัญชาติไทยกลายเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในกลุ่มบริษัทเอเชียที่เข้าซื้อ2 ใน 4 กิจการข้ามพรมแดนที่ใหญ่ที่สุดของโลกไปแล้ว
"บริษัทไทยเดินมาถึงจุดเปลี่ยนที่ต้องตัดสินใจว่าจะเลือกขยายฐานไปยังทั่วเอเชียหรือเลือกที่จะไม่เข้าร่วมในเกมนี้" ฟิลิปป์ ล็อตเตอร์ นักวิเคราะห์จากมูดี้ส์ อินเวสเตอร์สเซอร์วิส ในสิงคโปร์ กล่าว
การซื้อกิจการครั้งสำคัญๆ ยังรวมถึงการซื้อบริษัท โคฟ เอ็นเนอร์ยี โดยบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม วงเงิน 1,900 ล้านเหรียญสหรัฐ (เกือบ 5.8 หมื่นล้านบาท)
นายอลัน ริชาร์ดสัน ผู้จัดการกองทุนซัมซุง แอสเซท แมเนจเมนท์ในสิงคโปร์ กล่าวว่า บรรดาบริษัทไทยกำลังเปลี่ยนจากรูปแบบฐานผลิตสินค้าราคาถูกเพื่อส่งออกไปสู่การคว้าโอกาสไปทั่วเอเชีย
รอยเตอร์สอ้างนายธนาคารรายหนึ่งว่า บรรดามหาเศรษฐีของไทยโยกเงินไปต่างประเทศ เพื่อต้องการลดความเสี่ยง ขณะที่ไทยยังคงมีปัญหาทางการเมืองอยู่
สำหรับทิศทางในปีหน้า อาจไม่หวือหวามากเท่ากับในปีนี้ แต่ยังเกิดการซื้อขายขึ้น อาทิ เซ็นทรัล กรุ๊ป
--จบ--
Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 13, 2012 2:38 pm
โดย pak
“ประชา มาลีนนท์” จ่อฮุบ “เอ็นพาร์ค”
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 11 ธันวาคม 2555 21:03 น.
“เอ็นพาร์ค” แจงขายหุ้นเพิ่มทุนกว่า 6 หมื่นล้านหุ้น ยอดยังคงเหลือกว่า 53 ล้านหุ้น พร้อมอนุมัติขายหุ้นเพิ่มทุนที่เหลือให้ “ประชา มาลีนนท์-ศานติ-ฟิลิปวีระ” ราคา 0.029 บาท
นายนคร ลักษณกาญจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แนเชอรัล พาร์ค จำกัด (มหาชน) หรือ “N-PARK” กล่าวว่า ตามที่บริษัทฯ ได้ทำการเพิ่มทุนโดยออกหุ้นสามัญใหม่ จำนวน 60,430,920,000 หุ้น เสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น 1 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ในราคาเสนอขายหุ้นละ 0.02 บาท ปรากฏว่า เมื่อครบกาหนดวันจองซื้อ และรับชาระเงินค่าหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมแล้ว ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทได้ใช้สิทธิจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนไม่ครบตามจำนวนที่บริษัทได้นำออกเสนอขาย โดยมีหุ้นสามัญเหลือจากการจองซื้อของผู้ถือหุ้นเดิม จำนวน 53,936,699,412 หุ้น
ดังนั้น ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 13/2555 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2555 จึงมีมติอนุมัติให้จัดสรร และเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เหลือดังกล่าว ให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) กำหนดราคาเสนอขายหุ้นละ 0.029 บาท โดยเป็นราคาไม่ต่ำกว่าราคาที่เสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท และไม่ต่ากว่าร้อยละ 90 ของราคาตลาดของหุ้นบริษัท ซึ่งคำนวณจากราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้าหนักของการซื้อขายหุ้นของบริษัทในระหว่าง 7 วันทำการก่อนวันแรกที่เสนอขายหุ้นต่อนักลงทุน (ราคาปิดถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของการซื้อขายหุ้นของบริษัทระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน 2555 ถึงวันที่ 6 ธันวาคม 2555) ซึ่งราคาปิดถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของการซื้อขายหุ้นของบริษัทเท่ากับ 0.032 บาท
ทั้งนี้ บริษัทเสนอขายให้แก่ นายประชา มาลีนนท์ และ/หรือ บริษัทที่นายประชา มาลีนนท์ เป็นผู้ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 จำนวน 29,500 ล้านหุ้น ร้อยละ 24.50 ของทุนจดทะเบียนที่จะเรียกชำระ
นายศานติ ประนิช และ/หรือ บริษัทที่นายศานติ ประนิช เป็นผู้ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 จำนวน 12,000 ล้านหุ้น ร้อยละ 9.96 และนายฟิลิปวีระ บุนนาค และ/หรือ บริษัทที่นายฟิลิปวีระ บุนนาค เป็นผู้ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 จำนวน 12,000 ล้านหุ้น หรือร้อยละ 9.96 โดยจะต้องชำระเงินค่าหุ้นให้เสร็จสิ้นไม่เกินวันที่ 25 เม.ย.2556 มิฉะนั้น สิทธิที่ได้รับเป็นอันสิ้นสุดลงทันที
Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 13, 2012 5:23 pm
โดย pak
“ซีพี” เปิดแผนร่วมทุน “จีน” ตั้งบริษัท “ซีพี มอเตอร์ โฮลดิ้ง” เพื่อเป็นฐานผลิตรถยนต์ “เอ็มจี” ป้อนตลาดโลก คาดดันไทยเป็นดีทรอยต์แห่งเอเชีย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 ธันวาคม 2555 13:34 น.
นายนพดล เจียรวนนท์ รองประธานกรรมการกลุ่มธุรกิจยานยนต์ และอุตสาหกรรม (จีน) เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ร่วมทุนกับ บริษัท เซี่ยงไฮ้ ออโต้โมทีฟ อินดัสทรี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (Shanghai Automotive Industry Corp. - SAIC) ในสัดส่วน 49% ในการจัดตั้งบริษัท ซีพี มอเตอร์ โฮลดิ้ง จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายรถยนต์ภายใต้แบรนด์ MG ป้อนสู่ตลาดไทยและตลาดโลก โดยใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการผลิตและส่งออกไปยังทุกประเทศทั่วโลก เพราะเชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศไทยที่จะเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ของเอเชีย หรือดีทรอยต์แห่งเอเชีย (Detroit of Asia) ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงาน และมีส่วนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียน
โดยในเฟสแรกของการลงทุนจะใช้เงินไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาเลือกที่ตั้งโรงงานซึ่งต้องการสร้างโรงงานที่อยู่ใกล้กับท่าเรือแหลมฉบังเพื่อสะดวกในการส่งออกไปต่างประเทศ คาดว่าจะเริ่มทำการตลาดในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งรถยนต์ MG รุ่นแรกที่จะจำหน่ายในไทยนั้นจะเป็น MG 6 MG 3 และ MG 5 ซึ่งในระยะเริ่มต้นจะนำชิ้นส่วนเข้ามาประกอบในไทย และในช่วงแรกตั้งเป้าหมายผลิต 50,000 คัน/ปี และมีแผนที่จะขยายการผลิตเป็น 200,000 คัน/ปี ในอนาคต
“เครือเจริญโภคภัณฑ์เชื่อมั่นในการลงทุนครั้งนี้ มั่นใจว่ารถยนต์ MG ที่จะผลิตในไทยและส่งออกไปจำหน่ายทั่วโลกจะได้รับความนิยม เนื่องจาก MG รถยนต์มาตรฐานยุโรปที่มีคุณภาพระดับโลก ซึ่งผู้บริโภคไทยรู้จักและยอมรับในคุณภาพมาตรฐาน” นายนพดลกล่าว
ทั้งนี้ SAIC เป็นบริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในจีน ผลิตและจำหน่ายรถยนต์ปีละกว่า 4 ล้านคัน และยังเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ในการร่วมทุนกับบริษัทรถยนต์ระดับโลกอีกหลายแห่งมาเป็นเวลานาน และเมื่อเร็วๆ นี้ SAIC ได้ลงทุนมหาศาลเป็นเงินกว่า 20,000 ล้านบาทสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนารถยนต์ จะมีการออกแบบ ค้นคว้า วิจัยเพื่อรองรับตลาดในอนาคต โดยมีพนักงานออกแบบกว่า 300 คน และเมื่อ SAIC มีนโยบายที่จะใช้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์พวงมาลัยขวาเพียงแห่งเดียวเพื่อป้อนตลาดโลก เครือเจริญโภคภัณฑ์จึงไม่ลังเลที่จะเป็นพันธมิตรทางธุรกิจลงทุนเปิดตลาดรถยนต์ MG ในประเทศไทย และส่งออกไปทั่วโลก
สำหรับ MG เป็นรถยนต์ที่มีประวัติยาวนานเกือบ 100 ปี โดยมีต้นกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้ SAIC เข้าไปซื้อกิจการ MG ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 และได้ตั้งโรงงานผลิต MG ขึ้นใหม่อีกแห่งที่ประเทศจีน โดยผลิตเป็นรถยนต์พวงมาลัยซ้ายเพื่อรองรับตลาดรถยนต์ในจีน
ที่มา
http://www.manager.co.th/iBizChannel/Vi ... B%D5%BE%D5
Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 14, 2012 9:24 am
โดย pak
PASMER กลยุทธ์เด็ด เสี่ยเจริญ-เจ้าสัวธนินท์
Source - ข่าวหุ้น (Th), Friday, December 14, 2012
ปี 2555 กลุ่มทุนไทย 3 กลุ่มใหญ่ รุกเข้าซื้อกิจการข้ามชาติในระดับโลกเป็นข่าวใหญ่ใน 2 รูปแบบ ที่มีความน่าสนใจอย่างยิ่ง
รูปแบบแรก เป็นการเข้าซื้อกิจการเพื่อเข้าครอบงำกิจการเบ็ดเสร็จ (Total Control Acquisition) ซึ่งกลุ่ม ปตท. โดยบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP เข้าประมูลซื้อกิจการในอังกฤษ แข่งกับรอยัลดัตช์/เชลล์ ยักษ์ค้าน้ำมันระดับโลก ซึ่งผลปรากฏว่า ฝ่ายบริษัทไทยได้รับชัยชนะงดงาม
PTTEP ได้ทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญที่ชำระแล้วและยังไม่ได้ชำระทั้งหมดของบริษัท Cove Energy Plc. ที่ราคา 240 เพนซ์ต่อหุ้น โดยบริษัท Cove Energy Plc. ได้ถือสัดส่วนร้อยละ 8.5 ในโครงการ Rovuma ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ในสาธารณรัฐโมซัมบิก (World Class Gas Discovery) และคาดว่าจะมีปริมาณสำรอง (Resources) มากกว่า 60 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต รวมทั้งแหล่งน้ำมัน Black Pearl Prospect ซึ่งอยู่ในพื้นที่โครงการนี้ด้วย นอกจากนี้ Cove ยังถือสัดส่วนร้อยละ 10 ในแปลงสัมปทาน Rovuma Onshore Area รวมถึงการถือสัดส่วนร้อยละ 10-25 ในแปลงสัมปทานน้ำลึกอีก 7 แปลงในประเทศเคนยาอีกด้วย
การเสนอซื้อหุ้นครั้งนี้เป็นก้าวที่สำคัญของ PTTEP ในการขยายการลงทุนในแหล่งพลังงานสู่ภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก ที่มีศักยภาพทางไฮโดรคาร์บอนสูงภูมิภาคหนึ่งของโลก
รูปแบบที่สอง เป็นการเข้าซื้อกิจการ ด้วยวงเงินที่ใช้มหาศาล ภายใต้กลยุทธ์ใหม่ที่ไม่คุ้นเคยกันมาก่อน เรียกว่า การฮุบกิจการบางส่วนเชิงกลยุทธ์เพื่อเข้าสู่ตลาดโดยมุ่งหวังในสาระสำคัญคือ ทรัพยากรเชิงกลยุทธ์ (PASMER - Partial Acquisitions for Strategic Market Entry Rationale) ซึ่งกระทำโดยกลุ่มทุนใหญ่ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสิริวัฒนภักดี นำโดยเสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี และกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ นำโดยเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์
กลุ่มแรก ใช้วงเงินมากกว่า 8 หมื่นล้านบาท เพื่อเข้าฮุบกิจกิจบางส่วน กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ โดยใช้บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) หรือ THBEV ทุ่มเงิน 7.8 หมื่นล้านบาท ซื้อกิจการ บริษัทน้ำดื่ม โลจิสติกส์ และอสังหาริมทรัพย์ F&N ในสัดส่วน 18% และบริษัท เอเชีย บริวเวอรี่ โปรดักส์ หรือ APB ผู้ผลิตไทเกอร์เบียร์ยังซื้อหุ้น 7% ต่อมาจากกลุ่มธนาคาร OCBC ที่ถูกเงื่อนไขธุรกิจธนาคารบังคับให้ต้องขายกิจการที่ไม่ใช่ธนาคารออกจากมือ และซื้อเพิ่มหุ้นของ F&N อีกประมาณ 4% รวมเป็น 22%
การเข้าซื้อดังกล่าวสร้างปัญหาทางยุทธศาสตร์ธุรกิจให้กับกลุ่มเบียร์ไฮเนเก้นของเนเธอร์แลนด์ที่บริหารอยู่ เพราะ F&N ถือหุ้นใน APB อยู่แล้ว 40% ดังนั้น เท่ากับอำนาจการใช้สิทธิ์ผู้ถือหุ้นของ THBEV ใน APB ทางตรงและอ้อม จะมากกว่ากลุ่มไฮเนเก้นของฮอลแลนด์ที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เดิม จึงต้องมีการปกป้องผลประโยชน์ของไฮเนเก้นตามมา ด้วยการเสนอซื้อหุ้นของ APB ที่ถืออยู่โดย F&N ทั้งหมด
การต่อสู้ดำเนินไปโดยกลุ่มเสี่ยเจริญใช้วิศวกรรมการเงินเหนือชั้น ให้ THBEV บริษัทในเครืออีกรายหนึ่งคือ บริษัท ทีซีซี แอสเซทส์ เข้าไปซื้อหุ้น F&N จนถือครองได้ประมาณ 30% จนท้ายสุดหลังจากเจรจากัน ไฮเนเก้นก็ยินยอมจ่ายเงิน 4.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.27 แสนล้านบาท) เพื่อซื้อหุ้น APB จาก F&N ซึ่งเท่ากับว่าในท้ายที่สุดกลุ่มสิริวัฒนภักดี THBEVไม่ได้เสียธุรกิจอะไรเลย เนื่องจาก APBนั้น ไม่ใช่เป้าหมายหลักในการเข้าซื้อกิจการของF&Nมาตั้งแต่ต้น เพราะธุรกิจโลจิสติกส์ อันเป็นความแข็งแกร่งที่แท้จริงของ F&N จะอยู่ในมือของ THBEV อย่างเต็มที่ เปิดโอกาสให้ THBEV เป็นเจ้าธุรกิจโลจิสติกส์ จะเดินหน้าตามยุทธศาสตร์ต่อไปอย่างมั่นคง
กลุ่มหลัง ใช้วงเงิน 2.88 แสนล้านบาท ซื้อกิจการบริษัทโฮลดิ้งของกลุ่มประกันภัย-การเงินในจีน Ping An Insurance (Group) Company of China, Ltd. บริษัทโฮลดิ้ง ซึ่งเน้นบริษัทในเครือทำธุรกิจประกันภัย และการเงินหัวแถวของจีน มีสำนักงานใหญ่อยู่ในเซินเจิ้น ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทที่เติบโตรวดเร็วอย่างมาก เพราะเพิ่งก่อตั้งใน ค.ศ. 1988 หรือเมื่อ 14 ปีก่อน มีบริษัทในเครือข่ายมากมาย เช่น Ping An Life Insurance Company of China, Ltd. ทำธุรกิจประกันชีวิต Ping An Property & Casualty Insurance Company of China, Ltd. ทำธุรกิจประกันอัคคีภัยและเบ็ดเตล็ด China Ping An Insurance Overseas (Holdings) Limited กับ Ping An Trust & Investment Co., Ltd. ทำธุรกิจเพื่อการลงทุน Ping An Insurance Overseas ธุรกิจโฮลดิ้งตั้งอยู่ในฮ่องกง และยังมี Fortis Investments บริษัทเพื่อถือหุ้นบริษัทอื่น
บริษัทย่อยนี้ ยังแตกลูกต่อไปอีก โดย Ping An Trust & Investment มีบริษัทลูกอีก 2 ราย Ping An Securities ทำธุรกิจหลักทรัพย์ และ Ping An Bank ทำธุรกิจธนาคารพาณิชย์ นอกจากนั้น ยังเข้าทำหุ้นส่วนธุรกิจสำคัญเชิงยุทธศาสตร์กับ Shenzhen Development Bank ด้วย
ล่าสุด เจ้าสัวธนินท์ ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า ยังเดินหน้าเจรจาซื้อหุ้นจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม 3 รายของบริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่อันดับ 2 ของโลกจากฝรั่งเศส คาร์ฟูร์ ด้วยวงเงินที่แม้ไม่เปิดเผย แต่ก็คาดว่าจะสูงประมาณ 92,800 ล้านบาททีเดียว
ธุรกรรมการซื้อกิจการเพียงบางส่วนของทั้งกลุ่มสิริวัฒนภักดีและเครือเจริญโภคภัณฑ์นี้ แม้จะมีเป้าหมายต่างกัน แต่มีลักษณะร่วมกันที่โดดเด่นชัดเจน (ดูตารางประกอบ) ดังต่อไปนี้
เป็นธุรกิจข้ามประเทศที่มีเครือข่ายแข็งแกร่ง และมีโอกาสเติบโตมากขึ้นในอนาคต
เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ แต่ไม่ได้เข้าบริหารเบ็ดเสร็จ
วัตถุประสงค์ใช้เป็นเครื่องมือในการต่อยอดธุรกิจเดิมให้แข็งแกร่งมากขึ้นในสนามธุรกิจใหม่ที่ไม่คุ้นเคยมาก่อน
ใช้วิศวกรรมการเงินสมัยใหม่ ที่มีทั้งเงินสด และเงินกู้ผสมผสานกัน
บริษัทเป้าหมาย ล้วนเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นของประเทศนั้นๆ หรือในตลาดเสรี ที่มีข้อมูลโปร่งใส และไม่มีแผนการใดที่จะถอดถอนออกจากตลาด
หลีกเลี่ยงการทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์หลังจากเข้าซื้อกิจการสำเร็จ โดยอาจจะให้บริษัทนอมินีเข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมเพื่อหวังผลทางยุทธศาสตร์เพื่อประหยัดต้นทุนทางการเงิน
ทั้งหมดนี้คือ โมเดลกลยุทธ์ที่กำลังมาแรงในเวทีธุรกิจระหว่างประเทศ คือ การฮุบกิจการบางส่วนเชิงกลยุทธ์เพื่อเข้าสู่ตลาดโดยมุ่งหวังในสาระสำคัญคือ ทรัพยากรเชิงกลยุทธ์ (PASMER) ไม่มีเป้าหมายควบคุมกิจการ เพราะไม่มีความช่ำชองในตลาดที่กำลังต้องการเป็นเป้าหมาย ซึ่งแตกต่างจากการฮุบกิจการในประเทศที่มีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการเข้าควบคุมทิศทางของกิจการอย่างเบ็ดเสร็จ ซึ่งมักจะพุ่งเป้าไปที่บริษัทเป้าหมายที่มีผลการดำเนินงานย่ำแย่ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น หรืออยู่นอกตลาด เป็นสำคัญ เพื่อจะได้ราคาซื้อกิจการที่ต่ำ และเมื่อได้มาแล้วก็จะต้องปรับโครงสร้างการเงิน หรือการบริหาร และแผนธุรกิจเสียใหม่อย่างรอบด้าน โดยที่หากเป็นบริษัทในตลาดหุ้น ก็เตรียมการถอดถอนออกจาตลาดด้วยในบางกรณี
เหตุผลสำคัญ 4 ประการที่ทำให้กลยุทธ์ PASMER มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ธุรกิจในยุคโลกาภิวัตน์อยู่ที่
ศักยภาพของตลาดหลักที่บริษัทเป้าหมายดำเนินการอยู่เปิดโอกาสสำหรับอนาคตมากเป็นพิเศษกว่าตลาดอื่น และตลาดก็เปิดกว้างสำหรับบริษัทต่างชาติด้วย โดยเฉพาะในตลาดที่เกิดใหม่ และมีโอกาสพัฒนาอีกมาก ไม่ใช่ตลาดที่อิ่มตัวแล้ว
ข้อมูลทางด้านการเงินและแผนธุรกิจของบริษัทเป้าหมาย มีความไม่สมบูรณ์สำหรับผู้ที่ต้องการเข้าตลาด ดังนั้น จึงต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ลองผิดลองถูกระยะหนึ่ง ผ่านการร่วมถือหุ้นบางส่วนที่จ่ายเงินน้อยกว่า ไม่ต้องเสี่ยงกับการเข้าควบคุมธุรกิจเบ็ดเสร็จที่ไม่การันตีว่าคุ้มหรือไม่
ความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลเกี่ยวกับการตลาด ระบบจัดจำหน่าย หรือต้นทุนทำธุรกิจ รวมถึงประสบการณ์และสายสัมพันธ์ในเครือข่ายธุรกิจ ทำให้ต้องการเวลามากขึ้นในการทำความเข้าใจ ดีกว่าการทุ่มเทเต็มตัว
อุปสรรคทางด้านวัฒนธรรมองค์กรและภาษาของบริษัทเป้าหมาย ซึ่งรู้จักกันในชื่อ ”พันธะของการเป็นคนต่างชาติ” จำต้องใช้เวลาและความละเอียดอ่อนมากกว่าปกติ และทำให้การตั้งธุรกิจใหม่ ทำได้ไม่สะดวกกว่าการเข้าซื้อหุ้นร่วมทุนบางส่วน
ผลจากการศึกษาประสบการณ์ของกลยุทธ์ PASMER ในตลาดหุ้นสหรัฐของนักวิจัยหลายกลุ่มในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 และ 2000 พบข้อมูลซ้ำกันว่า ผลประกอบการหลังจากการซื้อกิจการบางส่วนผ่านไปในช่วงแรกไม่มีนัยสำคัญทางลบ แต่ส่วนใหญ่มีผลประกอบการเชิงบวกที่ต่อเนื่อง และเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย แม้ว่าโดยเปรียบเทียบกับการฮุบกิจการเบ็ดเสร็จข้ามชาติแล้ว อย่างหลังจะให้ผลประกอบการหลังฮุบกิจการดีขึ้นชัดเจนกว่า ซึ่งตอกย้ำว่าความเชื่อเก่าแก่ที่สรุปว่านักฮุบกิจการหวังประโยชน์ระยะสั้นมากกว่าระยะยาว ไม่เป็นความจริง
ที่สำคัญ ในห้วงเวลาของเศรษฐกิจถดถอย กลับพบว่าการฮุบกิจการเพียงบางส่วนมีส่วนช่วยสร้างเครือข่ายเชิงกลยุทธ์ในช่วงเวลาวิกฤตได้ดีกว่า เพราะได้มีผู้สำรวจพบข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า ในยามธุรกิจผันผวนรุนแรง บริษัทที่เป็นเป้าหมายของการฮุบกิจการบางส่วน จะได้รับผลกระเทือนต่ำกว่าบริษัทที่ถูกฮุบกิจการเบ็ดเสร็จข้ามชาติ
ผลการวิจัยข้อมูลในตลาดหลักทรัพย์โตรอนโต ในแคนาดา 75 รายการที่ถูกฮุบกิจการบางส่วน พบว่าทุกบริษัทที่ตกเป็นเป้าหมาย ล้วนมีผลประกอบการในทางบวกที่ชัดเจนเมื่อเวลาผ่านไป 4 ปี หลังจากการซื้อขายกิจการบรรลุผล ไม่มีข้อยกเว้นแม้แต่รายเดียว
มีปรากฏการณ์น่าสนใจ 2 กรณีที่แตกต่างกันเกิดขึ้นเป็นข้อสังเกตคือ กรณีแรก หากการฮุบกิจการบางส่วน ตามมาด้วยผลข้างเคียงของการฮุบกิจการเบ็ดเสร็จในภายหลัง มีการต่อสู้เพื่อแย่งเก้าอี้และอำนาจการควบคุมกิจการ และปรับโครงสร้างบริหาร จะเกิดผลทางบวกกับราคาหุ้น และการดำเนินงานเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
กรณีหลัง นักลงทุนรายย่อยจำนวนหนึ่งที่ได้ข่าวการฮุบกิจการเบ็ดเสร็จ เกิดความเชื่อมั่นและคาดเดาตามนักวิเคราะห์หุ้นว่า จะตามมาด้วยการต่อสู้แย่งกิจการตามมา จะวิ่งเข้าซื้อหุ้นทำให้ราคากระโดดพรวดสูงขึ้นผิดสังเกต แต่จะค่อยอ่อนตัวตามมาหลังจากที่ปรากฏข้อเท็จจริงภายหลังว่า ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญหลังจากการฮุบกิจการบางส่วนเสร็จสิ้นไป
ส่วนผลประกอบการในระยะยาวของบริษัทที่ตกเป็นเป้าหมายการฮุบกิจการบางส่วนนั้น ขึ้นอยู่กับหุ้นส่วนและกลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่ที่เข้าไปว่ามีขนาดของกิจการเดิมใหญ่โตแค่ไหน หากกิจการของหุ้นส่วนใหญ่เดิมนั้นมหึมา ก็จะยิ่งเป็นผลดีให้ผลประกอบการดีเป็นทวีคูณได้ไม่ยาก เพราะเป็นการต่อยอดของ ”การแต่งงานเพื่อความสะดวก” (a business marriage of convenience)
เหตุผลหลักที่อยู่เบื้องหลังผลประกอบการที่ดีขึ้นดังกล่าว เกิดจากผู้บริหารกิจการที่มีอยู่เดิม ถูกกระตุ้นจากผลข้างเคียงทางจิตวิทยาให้จำต้องทำงานหนักขึ้น และเร่งศักยภาพในการใช้ทรัพยากรของบริษัทที่สร้างผลกำไรมากขึ้น เนื่องจากการเข้ามาของผู้ถือหุ้นรายใหญ่คนใหม่ที่ไม่มีความคุ้นเคยกันมาก่อน จำเป็นต้องรักษาเก้าอี้บริหารให้มั่นคงต่อไป
กลยุทธ์ PASMER ของ 2 กลุ่มทุนไทย นำโดยเสี่ยเจริญ และเจ้าสัวธนินท์ จึงเป็นกรณีศึกษาใหม่ที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่จะรุกออกไปต่างประเทศ
.............
Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 14, 2012 10:03 am
โดย pak
BGH เตรียมเทคโอเวอร์ SKR ตั้งราคาขั้นต่ำ 28 บ.- ฝรั่งถือ 70% [ ทันหุ้น, 14 ธ.ค. 55 ]
BGH ซุ่มเทกโอเวอร์ธุรกิจโรงพยาบาล หลังกินรวบ BH ไปแล้ว ด้านหัวเรือใหญ่ "วิชัย ทองแตง"
แย้ม SKR น่าสน หลังเคยเป็นเจ้าของและนั่งคุมบังเหียนมาก่อนแถมเดินเครื่องธุรกิจเต็มสูบรองรับฝรั่งเข้า
ถือหุ้น 70% กูรูคาด BGH ทุ่มงบ 3.6 พันล้าน ซื้อ SKR ไม่ต่ำกว่า 28 บาทต่อหุ้น ดัน EPS พรวด 4.56
บาท จากปัจจุบันแค่ 1.01 บาท
Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 21, 2012 10:20 am
โดย pak
เจพีฯตีราคาหุ้นF&Nเพิ่มขึ้น ชี้ราคาที่กลุ่มคิวยูอีเสนอซื้อไม่น่าสนใจแต่เป็นธรรม [ ข่าวหุ้น, 21 ธ.ค. 55 ]
ที่ปรึกษาการเงินอิสระของเอฟแอนด์เอ็น ตีมูลค่าหุ้นเอฟแอนด์เอ็นเพิ่มเป็น 8.85-11.56 ดอลลาร์
สิงคโปร์ พร้อมลงความเห็นแล้วการเสนอซื้อหุ้นเอฟแอนด์เอ็นในราคา 9.08 ดอลลาร์ของกลุ่มโอเวอร์ซีส์
ยูเนียน เอ็นเตอร์ไพรส์ (คิวยูอี) ไม่น่าสนใจแต่ก็เป็นธรรม ซึ่งเป็นการประเมินที่คล้ายกับการประเมินข้อ
เสนอของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ในก่อนหน้านี้
Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า
โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 24, 2012 11:16 am
โดย pak
มิตซูเฉือนซีไอเอ็มบีชนะประมูลคว้าBAY
รับข้อเสนอ ‘รัตนรักษ์’ คงชื่อ ‘กรุงศรี’
ข่าวหน้าหนึ่ง วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม 2555
แบงก์ญี่ปุ่นชนะประมูลกรุงศรีฯ หรือ BAY เฉือนมาเลย์หวุดหวิด เก็บหุ้นใหญ่ 25.3% จากกลุ่มเจเนอรัลอิเลคทริค หลังกลุ่ม “รัตนรักษ์” ยืนยันต้องใช้ชื่อเดิมไม่เปลี่ยน เตรียมแจ้งตลาดหลักทรัพย์ภายในวันที่ 26 ธ.ค.นี้ ส่งผลมาเลย์ขอบาย ด้านโบรกฯมอง BAY โดดเด่นทางด้านสินเชื่อรายย่อย ยังแนะนำซื้อ จากเป็นหุ้นที่มีพื้นฐานดี
แหล่งข่าวจากวงการตลาดทุน คาดว่าภายในวันที่ 26 ธันวาคมนี้ หลังวันคริสต์มาสจะมีการประกาศรายชื่อผู้ชนะประมูล ซื้อหุ้นธนาคารกรุงศรีอยุธยา หรือ BAY จำนวน 25.3% จากกลุ่ม GE Capital International Holding Corporation หรือ GE โดยกลุ่มที่ชนะประมูล ได้แก่ มิตซูบิชิ ยูเอฟเจไฟแนนเชียล กรุ๊ป หรือ MUFG ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดจากประเทศญี่ปุ่น
“มิตซูฯเฉือนชนะซีไอเอ็มบีจากมาเลเซียไปอย่างเฉียดฉิว แม้ว่าฝ่ายมาเลย์พยายามที่จะเสนอเงื่อนไขต่างๆ ให้กับจีอี แต่ที่ไม่สามารถตกลงกันได้ คือเรื่องของการเปลี่ยนชื่อจากกรุงศรีฯเป็นซีไอเอ็มบี” แหล่งข่าว กล่าว
สำหรับเรื่องราคาซื้อหุ้น BAY กลุ่มซีไอเอ็มบีไม่เกี่ยง แต่ติดปัญหาตรงที่กลุ่มรัตนรักษ์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เดิมของแบงก์กรุงศรีฯไม่ยอมให้เปลี่ยนชื่อตามที่มาเลเซียต้องการ หลังเข้ามาเทกโอเวอร์กิจการแล้ว แม้ว่าทางฝ่ายมาเลเซียจะยอมยกเลิกใบอนุญาตของซีไอเอ็มบีไทยก็ตาม ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถตกลงกันได้
ขณะที่มิตซูบิชิ ยูเอฟเจไฟแนนเชียล กรุ๊ป ไม่สนใจเรื่องของชื่อธนาคารยังคงให้ใช้ชื่อแบงก์กรุงศรีฯต่อไป แต่จะเข้ามาร่วมถือหุ้นใหญ่และบริหารงานเท่านั้น ซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้ MUFG เป็นผู้ชนะประมูล ซึ่งจะมีการประกาศรายชื่ออย่างเป็นทางการ โดยมอร์แกน สแตนเลย์ เป็นที่ปรึกษาในการขายหุ้นในครั้งนี้
ส่วนโอเวอร์ซีส์-ไชนีส แบงกิ้ง คอร์ป หรือ OCDC จากสิงคโปร์ เมย์แบงก์ จากมาเลเซีย ไม่ได้เข้าร่วมประมูลในครั้งนี้ หลังจากตรวจสอบสินทรัพย์ และหนี้สิน (ดิวดิลิเจนซ์) แล้ว
ด้านบริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน มองว่า BAY มีความโดดเด่นทางด้านสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ซึ่งน่าจะมีการเติบโตดีในช่วงปลายปี คงมูลค่าเหมาะสมของ BAY ไว้ที่ 36.75 บาท ยังคงแนะนำ “ซื้อ”
นางจิตรา อมรธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.ฟินันเซีย ไซรัส กล่าวว่า ราคาหุ้น BAY ที่ยังคงนิ่งๆ เนื่องจากมีแรงกดดันจากข่าวที่กลุ่มจีอีเตรียมขายหุ้นในส่วนที่เหลือกว่า 25% ที่ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปออกมาว่า จะขายให้กับใคร และราคาเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม มองว่าหุ้น BAY มีพื้นฐานที่ดีมาก ซึ่งหากพิจารณาในแง่มุมดังกล่าว ก็เป็นหุ้นที่สามารถซื้อได้
Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 28, 2012 9:50 am
โดย pak
ไทยลุยซื้อกิจการต่างแดนปีหน้าถึงคิวบริษัทขนาดกลาง
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Friday, December 28, 2012
กลุ่มทุนยักษ์ใหญ่จากประเทศไทยได้สยายปีกไปทั่วโลกในนามของ "ไทยแลนด์" จนผงาดขึ้นเป็นประเทศที่มีการควบรวมและซื้อกิจการในต่างประเทศใหญ่สุดเป็นอันดับ 3 ของเอเชียในปี2555 นี้
แนวโน้มในปี 2556 ก็จะยังคงเห็นภาพการออกไปลงทุนและซื้อกิจการในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องโดยรอบนี้น่าจะเห็นฝีมือของบริษัทขนาดกลางมากยิ่งขึ้น
เจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ คือหนึ่งในผู้ที่ทำให้ชื่อของนักธุรกิจไทยไปไกลในระดับโลกเมื่อเดือนก.ค.ที่ผ่านมา หลังตัดสินใจเสนอซื้อกิจการบริษัท เอเชีย แปซิฟิกบริวเวอร์รี (เอพีบี) ผู้ผลิตเบียร์ไทเกอร์ ในวงเงินราว 7,200 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อซื้อหุ้น 71% จาก เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ(เอฟแอนด์เอ็น) จากเดิมที่ถือหุ้นอยู่แล้วเกือบ 31% ส่งผลให้ไฮเนเก้น ผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่อันดับ 3 ของโลกนั่งไม่ติด ต้องยื่นข้อเสนอซื้อตามมา
แม้ศึกชิงบริษัทน้ำเมาเป็นเวลากว่า 2 เดือน จะจบลงที่ชัยชนะของไฮเนเก้นเมื่อไทยเบฟยอมถอยฉากเปิดทางให้ไฮเนเก้นได้เข้ามาเป็นผู้เล่นในธุรกิจเบียร์รายใหญ่ในเอเชีย ทว่าไทยเบฟก็ยังไม่ล้มเลิกที่จะเข้าซื้อกิจการเดินหน้าเสนอซื้อเอฟแอนด์เอ็นเพื่อขยายธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มโดยให้ ทีซีซี แอสเซทส์ ในเครือของไทยเบฟ เสนอซื้อเอฟแอนด์เอ็นในวงเงิน 8,700 ล้านเหรียญสิงคโปร์(ราว 2.17 แสนล้านบาท)
ทว่าเส้นทางการตะลุยเอเชียของไทยเบฟก็ไม่ได้ราบรื่นนักจากการแข่งขันอย่างดุเดือดของยักษ์กิจการต่างสัญชาติเมื่อบริษัทโอเวอร์ซีส์ ยูเนียน เอ็นเตอร์ไพรซ์ (โอยูอี) ของมหาเศรษฐีเรียดีส์ จากกลุ่มลิปโป กรุ๊ป ในอินโดนีเซีย เกทับเสนอซื้อแข่งในวงเงินสูงถึง 1.31 หมื่นล้านเหรียญสิงคโปร์ (ราว 3.27 แสนล้านบาท) ซึ่งทีซีซีได้รับการยืดเวลาเสนอดีลแข่งออกไปแล้ว 2 ครั้ง ภายใต้กำหนดเส้นตายวันที่ 2 ม.ค.ปีหน้า
เจ้าสัวชั้นนำของไทยอีกราย ธนินท์เจียรวนนท์ แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ประกาศซื้อหุ้นของบริษัทประกันผิงอัน 15.6% ในวงเงิน 9,400 ล้านเหรียญสหรัฐ จากธนาคารเอชเอสบีซีครั้งนี้ ซึ่งนับเป็นการซื้อหุ้นของบริษัทต่างชาติครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในจีนและยังเป็นธุรกรรมที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของเอเชียในปี 2555 อีกด้วย
นิตยสารรายสัปดาห์ ไคซิน มีเดียส์เซ็นจูรี รายงานว่า ผู้ซื้อผิงอันที่แท้จริงอาจประกอบไปด้วยกลุ่มนักธุรกิจชั้นนำจากจีน ฮ่องกง รวมถึง พ.ต.ท.ทักษิณชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยพบว่า 1 ใน 3 ของเงินทุน 1.52 หมื่นล้านเหรียญฮ่องกง (ราว 6 หมื่นล้านบาท)ที่ซีพีเสนอซื้อหุ้นผิงอันล็อตแรกจากเอชเอสบีซีนั้น มาจากครอบครัวของอดีตนายกฯ ไทย ส่วนเงินทุนที่เหลืออีกส่วนมาจากนักธุรกิจใหญ่ชาวฮ่องกง คือเสี่ยวเจี้ยนหัว ผู้ก่อตั้งและเจ้าของบริษัทด้านการลงทุนรายใหญ่ในจีน ทูมอโรว์โฮลดิงส์ รวมถึงเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์อีกหลายแห่ง และมีสายสัมพันธ์อันดีกับผู้นำระดับสูงในรัฐบาลจีน
อย่างไรก็ตาม ซีพีได้ปฏิเสธพร้อมยืนยันว่าเป็นผู้ซื้อแต่เพียงผู้เดียวและใช้เงินในเครือของกลุ่มบริษัทเองทั้งหมด
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม(ปตท.สผ.) สามารถโค่นคู่แข่งรายใหญ่ระดับโลกอย่าง รอยัล ดัตช์ เชลล์ เข้าซื้อบริษัทพลังงาน โคฟ เอ็นเนอร์ยี ในอังกฤษ ไปได้ในวงเงิน 1,900 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 5.8 หมื่นล้านบาท)
บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย ได้ใช้บริษัทย่อย เอสซีจีผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ซื้อธุรกิจกระเบื้องเซรามิกและสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องของ Prime Group ในประเทศเวียดนาม คาดว่าจะใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น7,200 ล้านบาท โดยจะเข้าถือหุ้นประมาณ 85% ส่วนหุ้นที่เหลืออีก 15%จะถือโดยผู้ก่อตั้งบริษัท คาดว่าจะสามารถสรุปได้ภายในไตรมาสแรกของปี2556
ทั้งนี้ จากการรวบรวมการประกาศเข้าซื้อกิจการในต่างประเทศของเอสซีจีในช่วงปี 2555 รวมกว่า 3 หมื่นล้านบาท
ด้าน "เชาว์ เก่งชน" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า ในปีหน้าบริษัทจดทะเบียนไทยมีแนวโน้มนำเม็ดเงินออกไปลงทุนในต่างประเทศต่อเนื่องจากปีนี้โดยเชื่อว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของธุรกิจไทยสูงกว่าในปีนี้ ที่คาดว่าจะมียอดสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 1.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.3 แสนล้านบาท เนื่องจากต้นทุนในการหาสภาพคล่องหรือดอกเบี้ยในประเทศอยู่ในระดับที่เหมาะสมและมีทิศทางจะทรงตัวที่ระดับ 2.5-2.75% ตลอดทั้งปีหน้า ทำให้ธุรกิจขนาดกลางเริ่มมองหาโอกาสขยายการลงทุนมากขึ้น
--จบ--
Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า
โพสต์แล้ว: พุธ ม.ค. 02, 2013 11:08 am
โดย pak
ปีแห่งการรุกซื้อกิจการ
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Monday, December 31, 2012
...เจียรนัย อุตะมะ
ข่าวเด่นประจำปีมะโรง ที่เป็นที่ฮือฺฮาไม่เฉพาะในประเทศและยังลือเลื่องไปถึงต่างประเทศคงหนีไม่พ้นการรุกออกไปซื้อกิจการของบริษัทจดทะเบียน(บจ.) ขนาดใหญ่ของไทย หลักๆ ก็เกิดขึ้นกับไม่กี่ราย แต่เป็นมูลค่ามหาศาล จนถึงกับทำให้นักลงทุนไม่เก็บอาการสงสัย ต้องเลื่อนเพิ่มทุนเพื่อไขข้อข้องใจก่อนควักเงินออกมาจ่ายซื้อหุ้นเพิ่มทุนแต่โดยดี
การระดมทุนของบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลายได้ทำให้ตัวเลขระดมทุนปีนี้พุ่งขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนโดยผลักดันมูลค่าระดมทุนให้สูงสุดในรอบ 10 ปี แต่โชคดีที่ระดมทุนในสภาวะที่ตลาดขาขึ้นจึงไม่มีปัญหามากนักอันดับแรกปตท.สผ.ซื้อโคฟ
ข่าวที่สร้างความลือลั่นสั่นสะเทือนวงการคงหนีไม่พ้นบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือปตท.สผ. ที่ชนะประมูลเข้าซื้อหุ้นบริษัท โคฟ เอนเนอร์ยี บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อังกฤษ
ที่มีแหล่งก๊าซในประเทศโมซัมบิก แอฟริกา เมื่อบริษัท รอยัล ดัตช์ เชลล์ บริษัท เนเธอร์แลนด์ประกาศถอนตัว หลังเสนอรับซื้อแข่งกันมานานนับ5 เดือน ส่งผลให้ ปตท.สผ.ต้องใช้เงินประมาณ 5.8 หมื่นล้านบาทเพื่อซื้อหุ้นโคฟกว่า 90%
นอกจากนั้น แผนลงทุนของกลุ่ม ปตท.ใน 5 ปีข้างหน้า ยังเพิ่มงบลงทุนอย่างต่อเนื่อง
ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. กล่าวว่า
งบลงทุน 5 ปี (2556-2560) วงเงินรวม 3.66 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากแผนลงทุน 5 ปี (2555-2559)ที่ได้อนุมัติไว้ 3.57 แสนล้านบาท งบลงทุนในปี 2556 พบว่าในแผนร่วมทุนและลงทุนในบริษัทที่ถือหุ้น100% มีวงเงิน 6.21 หมื่นล้านบาทเพิ่มขึ้นจากเดิมที่กำหนดไว้ 4.12 หมื่นล้านบาทขณะที่งบลงทุนใน
ก๊าซธรรมชาติและในส่วนของการลงทุนน้ำมันและการค้าระหว่างประเทศลดลง โดยการลงทุนส่วนใหญ่ของ ปตท. เป็นการร่วมทุนและลงทุนในบริษัทลูกที่ถือหุ้น 100% เพื่อขยายธุรกิจพลังงานในต่างประเทศรวมทั้งการขยายความสามารถในการนำเข้าเพื่อรองรับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้น
อันดับ 2ปูนใหญ่ซื้อธุรกิจกระเบื้องเวียดนาม
บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) มีมติอนุมัติให้บริษัทย่อยคือ เอสซีจีผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง บรรลุข้อตกลงในสัญญาซื้อขายหุ้นแบบมีเงื่อนไขกับผู้ถือหุ้นในปัจจุบันของบริษัท Prime Group Joint Stock หรือ Prime Group ในการเข้าซื้อธุรกิจกระเบื้องเซรามิกและสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องของ Prime Group ในประเทศเวียดนาม คาดว่าจะใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 7,200 ล้านบาท โดยจะเข้าถือหุ้นประมาณ 85% และซื้อหุ้นบริษัท สยามโกลบอลเฮาส์ (GLOBAL) ธุรกิจค้าปลีกวัสดุก่อสร้างยักษ์ใหญ่ 30-33% โดยใช้เงินประมาณ 1 หมื่นล้านบาทรวมประกาศซื้อบริษัทอื่นของSCC ในการซื้อกิจการทั้งปีกว่า 3 หมื่นล้านบาท
อันดับ 3บจ.เพิ่มทุน 2.6 แสนล้าน
การเข้าซื้อกิจการของบริษัทจดทะเบียนข้างต้นได้ผลักดันยอดระดมทุนทั้งปีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย กว่า 2.6 แสนล้านบาท สูงสุดในรอบ 10 ปี
ปวีณา ศรีโพธิ์ทอง ผู้ช่วยผู้จัดการ กลุ่มงานผู้ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยยอดการระดมทุน (ไม่รวมหุ้นเข้าใหม่) ของบริษัทจดทะเบียน (บจ.)ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (27 ธ.ค. 2555) มีมูลค่ารวม 262,765 ล้านบาท สูงสุดรอบ 10 ปี โดย บจ.ที่ระดมทุนเพิ่มมีทั้งหมด 154 บริษัท เป็น บจ.ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) 119 บริษัท(237,346 ล้านบาท) ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ(mai) 35 บริษัท (10,808 ล้านบาท) และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์อีก 5 กองทุน (14,611 ล้านบาท)
หากดูยอดการระดมทุนแยกตามกลุ่มอุตสาหกรรมพบว่า กลุ่มทรัพยากรมียอดระดมทุนสูงสุด 93,986 ล้านบาท สาเหตุหลักมาจากการระดมทุนของ PTTEP 9.23 หมื่นล้านบาทซึ่งเป็นการระดมทุนที่มีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ตามด้วยกลุ่มธุรกิจการเงิน 56,229 ล้านบาท โดยเป็นการระดมทุนของธนาคารกรุงไทย (KTB) 35,234 ล้านบาทและกลุ่มบริการ 32,917 ล้านบาท ทั้ง 3 กลุ่มอุตสาหกรรมนี้มียอดระดมทุนคิดเป็น 70%ของมูลค่าทั้งหมด
การรุกซื้อกิจการและการเตรียมเงินมหาศาลไว้ซื้อกิจการในอนาคตของบริษัทขนาดใหญ่มีปัญหาติดขัด จากการที่ไม่เคยระดมทุนจากผู้ถือหุ้นมานานและบางบริษัทผลงานไม่เป็นไปตามแผน
อันดับ 4ปตท.สผ.ลดเป้าเพิ่มทุน
ผลการใช้เงินมหาศาลเข้าซื้อหุ้นโคฟ ทำให้ปตท.สผ. ต้องระดมทุนโดยการเพิ่มทุนครั้งมโหฬารจากที่ไม่เคยเพิ่มทุนมานานนับ 14 ปี เพื่อต้องการเงินทุนประมาณ 9.8 หมื่นล้านบาทในการเตรียมไว้
รองรับแผน 5 ปี แต่ปรากฏว่ายิ่งใกล้วันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติเรื่องนี้ยิ่งมีคำถามเข้ามามากจากนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศพร้อมกับราคาหุ้นที่ดิ่งลงอย่างน่าใจหาย ทำให้ต้องเลื่อนวันประชุมอย่างกระทันหัน
ทีมบริหารทั้งเครือ ปตท.เดินสายชี้แจงนักลงทุนเพื่อทำความเข้าใจทั้งนี้แม้ว่าผลการขายหุ้นจะล่าช้าไป 1 เดือน พร้อมเป้าหมายระดมทุนที่ลดลงเหลือเพียง 9.6 หมื่นล้านบาทแต่บริษัทนี้ก็ประสบความสำเร็จอย่างงดงามโดยได้รับความร่วมมือจากผู้ถือหุ้นเป็นอย่างดี แม้ว่าราคาขายหุ้นจะลดลงจาก150 บาทที่เคยตั้งไว้เหลือ 145 บาทก็ตาม
ความสำเร็จครั้งนี้เกิดจากการรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทนั่นเอง เมื่อถูกทักท้วง
ทั้งนี้ "เทวินทร์ วงศ์วานิช" ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ยืนยันกับผู้ถือหุ้นว่า ภายหลังการเพิ่มทุนครั้งนี้จะไม่เพิ่มทุนอีกใน 3 ปีโดยจะนำเงินไปคืนหนี้ที่กู้ยืมมาซื้อหุ้นโคฟทำให้
อัตราหนี้สินต่อทุน (ดีอี) ลดลงทำให้มีศักยภาพกู้เงินเพิ่มขึ้น
บริษัทได้ลดเป้าหมายการเติบโตจากเดิมที่ตั้งเป้าว่าในปี 2563 จะมีกำลังการผลิตปิโตรเลียมเฉลี่ยวันละ 9 แสนบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวันเหลือ6 แสนบาร์เรล หรือเติบโตปีละ 8% จากเดิมตั้งเป้าไว้ปีละ 12%
อันดับ 5สหวิริยาสตีลอินดัสตรี เพิ่มทุนยื้อ
ด้านบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี (SSI) ผู้ประกอบการเหล็กรีดร้อนครบวงจรที่เพิ่งซื้อโรงถลุงเหล็กของอังกฤษเมื่อปีก่อนแผนเพิ่มทุน 1.1 หมื่นล้านบาทยืดเยื้อเพราะกำไรของบริษัทแห่งนี้ไม่เป็นไปตามเป้าหมายว่าจะมีกำไรในปีนี้ เนื่องมาจากสถานการณ์ที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปีก่อนคือ สึนามิที่ญี่ปุ่น ถูกจีนทุ่มตลาดเหล็กและเหตุการณ์น้ำท่วม ทำให้ต้องขายหุ้นเพิ่มทุนถึง 3 รอบในปีนี้ แต่ก็ยังไม่ถึงเป้าหมาย ได้เพียง 4,251 ล้านบาท และผู้ที่เข้าซื้อคือ บริษัท วาโนเมท โฮลดิ้ง เอจี กลุ่มที่มีรายการเกี่ยวโยงกัน
ส่วนที่เหลือ "วิน วิริยประไพกิจ" กรรมการผู้จัดการ SSI คาดว่า จะทยอยเข้ามาภายในไตรมาสแรกของปีหน้า โดยเงินที่ได้จะนำไปใช้ลงทุนธุรกิจถลุงเหล็กในอังกฤษ
ทั้งนี้ ตระกูลวิริยประไพกิจ ผู้ถือหุ้นใหญ่สุดยืนยันว่า หากขายหุ้นไม่หมดกลุ่มจะรับซื้อทั้งหมด
อันดับ 6TTA ปรับแผนเพิ่มทุน
บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA) แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแผนเพิ่มทุนยื้อไปปีหน้าเช่นเดียวกัน เพราะผู้ถือหุ้นรายย่อยคัดค้าน ล่าสุดประกาศลดเพิ่มทุนจาก 9,000 ล้านบาทเหลือเพียง6,372 ล้านบาท และออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนควบใบสำคัญแสดงสิทธิแทนหุ้นสามัญ (วอร์แรนต์) ในอัตราส่วนหุ้นสามัญผู้ถือหุ้นเดิมต่อผู้ถือหุ้นใหม่ 5:2 และให้วอร์แรนต์กับผู้จองซื้อหุ้นเพิ่มทุนในอัตรา 2:1 เพื่อระดมเงินสำหรับลงทุนซื้อเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกองทั้งแบบสั่งต่อใหม่และมือสอง ในช่วงนี้ซึ่งเป็นโอกาสในการล็อกต้นทุนให้ต่ำ รวมถึงสนับสนุนเมอร์เมดในการสั่งต่อเรือขุดเจาะท้องแบนมาทดแทนเรือเก่าที่กำลังจะปลดระวาง เพื่อรักษาโอกาสในธุรกิจในช่วงขาขึ้นของธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ทั้งนี้ระยะเวลาในการจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนจะอยู่ในช่วงระหว่างวันที่ 21-28 ก.พ. 2556
TTA จะนำแผนการเพิ่มทุนนี้เสนอให้ผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติในการประชุมสามัญประจำปีผู้ถือหุ้น ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 30 ม.ค. 2556
อันดับ 7หุ้นปันผลฮิต
ด้านการใช้เครื่องมือทางการเงินปีนี้มี บจ. 87 บริษัท ใช้เครื่องมือทางการเงินรวม116 รายการเครื่องมือที่บจ.ใช้มากที่สุดคือการจ่ายหุ้นปันผลมี 35 บริษัท สูงสุดเป็นประวัติการณ์และเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันที่เครื่องมือดังกล่าวได้รับความนิยมสูงสุดทั้งนี้พบว่า บจ.ที่จ่ายหุ้นปันผลโดยส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดกลางและเล็กที่มีกระแสเงินสดจ่ายในการซื้อที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (CAPEX) ช่วง 9 เดือนแรกปีนี้สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว หรือเป็น บจ.ที่ต้องใช้เงินลงทุนปี 2556 สูง จึงมีความต้องการเก็บเงินสดไว้เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและเงินลงทุนซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่ากิจการและผลตอบแทนผู้ถือหุ้นในอนาคต ส่วนเครื่องมือทางการเงินที่ได้รับความนิยมรองลงมาคือการออกใบสำคัญแสดงสิทธิ(Warrant) และการออกใบสำคัญแสดงสิทธิให้กรรมการ ผู้บริหาร พนักงานบริษัท (ESOP Warrant)
อันดับ 8ปันผลหรู
บริษัทจดทะเบียน 116 แห่งทั้งในตลาดหลักทรัพย์ (SET) และตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai)จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลงวดครึ่งแรกปี 2555 รวมทั้งสิ้น 118,703 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 117,126 ล้านบาทในปี 2554 โดยสร้างสถิติเงินปันผลเกินแสนล้านเป็นปีที่ 2 และสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แม้ว่า
กำไรสุทธิจะลดลงจากความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์และอัตราแลกเปลี่ยนก็ตาม
สาเหตุหลักมาจากการจ่ายเงินปันผลของบริษัทในหมวดธุรกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารธนาคาร การแพทย์ พาณิชย์ อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นมากตามกำไรสุทธิจากการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ทั้งนี้ในหมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจ่ายเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 51.62% โดยรวมคิดเป็นอัตราการจ่ายเงินปันผล อยู่ที่ 42.48% เพิ่มขึ้นจาก 37.37% ในปีที่แล้ว
บริษัทจดทะเบียนใน SET ที่จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) บริษัท ปตท.(PTT) บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น (INTUCH) บริษัทปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) และบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) ซึ่งเงินปันผลของ 5 บริษัทมีมูลค่ารวมกัน 58,639 ล้านบาท หรือ49.61% ของเงินปันผลกลางปีทั้งหมดใน SET
สำหรับบริษัทใน mai ที่จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ บริษัท ยูนิมิต เอนจิเนียริ่ง (UEC) บริษัท เกียรติธนา ขนส่ง (KIAT)บริษัท ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ (JUBILE) บริษัท บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป (BROOK) และบริษัท มาสเตอร์แอด (MACO) มีมูลค่าเงินปันผลรวม 244 ล้านบาท49.39% ของมูลค่าเงินปันผลระหว่างกาลทั้งหมใน mai
อันดับ 9กำไรงวด 9 เดือนทรงตัว
งวด 9 เดือนแรกปีนี้ บริษัทจดทะเบียน มีกำไรสุทธิ 560,872 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 0.38% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนมียอดขายทั้งสิ้น 7,614,948 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 11.80% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนจากทั้งปีที่บรรดาโบรกเกอร์คาดว่ากำไรจะเติบโตจากปี 2554 ประมาณ 15%
อันดับ 10ปีทองของหุ้นจอง
ปีนี้หุ้นจองรุ่งเรืองตามดัชนีหุ้นที่ให้ผลตอบแทนต่อนักลงทุนถึง 36% มาปิดที่ 1,391 จุดโดยหุ้นจดทะเบียนเข้าตลาดหุ้นไทย 16 บริษัท สามารถสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนที่จองซื้อหุ้นตั้งแต่วันแรกที่เข้าซื้อขายเฉลี่ยสูงถึง 83.42% โดยมีเพียงบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ (ANAN) รายเดียวเท่านั้นที่ราคาหลุดจอง 9.52% ตั้งแต่วันแรกที่เข้าซื้อขาย ขณะที่มีหุ้นให้ผลตอบแทนสูงถึง 200%จำนวน 2 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท เจเอ็ม ทีเน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส (JMT) และบริษัท โปรเจคแพลนนิ่ง เซอร์วิส (PPS) ส่วนหุ้นที่ให้ผลตอบแทนเกิน 100% ในวันแรกมีถึง 5 บริษัท คือ บริษัท ศรีวิชัยเวชวิวัฒน์ (VIH) บริษัท บิวตี้ คอมมูนิตี้(BEAUTY) บริษัท ทีวี ไดเร็ค (TVD) บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ (FPI) และบริษัท ที.เอ็ม.ซี.อุตสาหกรรม (TMC) m
การรุกออกไปซื้อกิจการของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ขนาดใหญ่
ของไทย หลักๆ ก็เกิดขึ้นกับไม่กี่ราย แต่เป็นมูลค่ามหาศาล จนถึงกับทำให้นักลงทุนไม่เก็บอาการสงสัย ต้องเลื่อนเพิ่มทุนเพื่อ
ไขข้อข้องใจก่อนควักเงินออกมาจ่ายซื้อหุ้นเพิ่มทุน แต่โดยดีการระดมทุนของบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลายได้ทำให้ตัวเลขระดมทุนปีนี้
พุ่งขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โดยผลักดันมูลค่าระดมทุน
ให้สูงสุดในรอบ 10 ปี แต่โชคดีที่ระดมทุนในสภาวะ
ที่ตลาดขาขึ้นจึงไม่มีปัญหามากนัก
--จบ--
Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า
โพสต์แล้ว: พุธ ม.ค. 02, 2013 11:10 am
โดย pak
6.5แสนล้าน'บิ๊กดีล'ปี55 4ค่ายธุรกิจใหญ่'จอมเทคโอเวอร์'
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Tuesday, January 01, 2013
ในรอบปีที่ผ่านมา ธุรกิจขนาดใหญ่ของไทยขยายตัวอย่างมาก ด้วยการซื้อกิจการและการร่วมทุน "กรุงเทพธุรกิจ"สำรวจธุรกิจไทยในรอบปี2555 โดย "ดีล" ขนาดใหญ่ทำให้ธุรกิจทั่วโลกเริ่มจับตาทุนจากประเทศอาเซียนอื่น นอกจากทุนสิงคโปร์ แต่ทุนไทยที่กล้าซื้อกิจการในต่างแดน มีลักษณะร่วมกันคือเป็นธุรกิจที่รอดความหายนะวิกฤติ "ต้มยำกุ้ง"ปี 2540 และสามารถรักษาการเติบโตเอาไว้ได้
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (ปตท.สผ.)เข้าซื้อหุ้นบริษัทโคฟ เอ็นเนอร์ยี่ (Cove Energy PLC.) มูลค่ากว่า 6 หมื่นล้านบาท ประมูลราคาแข่งกับบริษัท รอยัล ดัทช์ เชลล์ ยืดเยื้อมาหลายเดือน เพื่อหวัง แหล่งสัมปทานก๊าซในสาธารณรัฐโมซัมบิก
เซ็นทรัลรีเทล เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่รอดจากวิกฤติมาได้อย่างแข็งแกร่ง จนขึ้นชื่อ"จอมเทคโอเวอร์" สร้างดีลประวัติศาสตร์ ค้าปลีกไทย จากการซื้อกิจการห้างหรูอันดับ 1 ของอิตาลี "ลา รีนาเซนเต"อายุเก่าแก่กว่า 150 ปี ด้วยมูลค่า 260 ล้านยูโร หรือกว่าหมื่นล้านบาท
คึกคักมากดูเหมือนจะเป็นกลุ่มบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ตระกูล "สิริวัฒนภักดี" จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ไล่บี้กับไฮเนเก้น ยักษ์ใหญ่จากยุโรปในการซื้อเบียร์ไทเกอร์ แม้จะไม่ได้กิจการ แต่ได้กำไรจากหุ้น กำลังห้ำหั่นกับคู่แข่งอีกราย เพื่อซื้อกิจการเอฟ แอนด์เอ็น ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มรายใหญ่ของสิงคโปร ที่มีประวัติความเป็นมาเกือบ 100 ปี ล่าสุดสามารถครองหุ้น
กรุงเทพธุรกิจโพลล์ในเอฟแอนด์เอ็นแล้วกว่า 30% อยู่ระหว่าง เสนอซื้อหุ้นทั้งหมด หากสำเร็จต้องใช้เงินไม่น้อยกว่า 3 แสนล้านบาท
ช่วงท้ายปี ข่าวใหญ่ในธุรกิจของจีน เมื่อเครือบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี ประกาศซื้อหุ้นบริษัทประกันผิงอัน (PING AN INSURANCE) บริษัทประกันใหญ่อันดับ 2 ของจีน 15.6% จากธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC) วงเงิน 9.4 พันล้านดอลลาร์ หรือ 2.87 แสนล้านบาท ถือว่าเป็นการซื้อหุ้นที่มีมูลค่ามากที่สุดในรอบปี นับเป็นความท้าทายของ "บิ๊กดีล" ในการไล่ซื้อกิจการ ส่วนปี 2556 จะเป็นจุดเริ่มต้นของการท้าทายใหม่ เป็นความท้าทายของธุรกิจไทยในเวทีโลก
เซ็นทรัลรีเทลพร้อมซื้อกิจการไม่เกี่ยงมูลค่า..ไม่มีสูตร’ตายตัว’
"เซ็นทรัลรีเทล"เป็นอีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจขึ้นชื่อ "จอมเทคโอเวอร์" มีชื่อติดโผร่วมวงช่วงชิง "บิ๊กดีล" กับบรรดายักษ์ใหญ่ทุนหนาทั้งในและต่างประเทศอยู่ทุกรอบ
กลางปี 2554 กลุ่มเซ็นทรัลสร้างดีลประวัติ ศาสตร์ค้าปลีกไทย บุกเข้าซื้อกิจการห้างหรูอันดับ 1 ของอิตาลี ’ลา รีนาเซนเต’ อายุเก่าแก่กว่า 150 ปี มูลค่า 260 ล้านยูโร หรือ กว่า 1 หมื่นล้านบาท หลังจากใช้เวลากว่า 1 ปี ศึกษาธุรกิจและเข้าซื้อกิจการ เป็นทุนค้าปลีกไทยรายแรก ที่เปิดฉากซื้อกิจการค้าปลีกต่างประเทศ
"ถือเป็นประวัติศาสตร์ค้าปลีกไทยและเซ็นทรัล กรุ๊ป ที่สามารถขยายงานไปในประเทศที่เจริญแล้วอย่างยุโรป"นายทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าว
ทั้งนี้ กิจการค้าปลีกมีการซื้อขาย เปลี่ยนมือเป็นประจำทั่วโลก!! ขณะที่แผนการเข้าซื้อกิจการของซีอาร์ซี "ไม่มีสูตรตายตัว" แต่ละดีล ขึ้นอยู่กับจังหวะ โอกาส และไม่เกี่ยงมูลค่าการลงทุน
ตลอดปี 2555 "เซ็นทรัล" เดินหน้ากว้านหากิจการ ใหม่เข้าพอร์ต คว้า "แฟมิลี่มาร์ท" คอนวีเนียนสโตร์เบอร์ 2 ของโลก มาได้สำเร็จ โดย ซีอาร์ซี เข้าถือหุ้น 50.29% ในบริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด ผู้บริหารร้านแฟมิลี่มาร์ท ในประเทศไทย ดีลครั้งนี้ใช้เวลาเจรจานานกว่า 1 ปี ก่อนจะบรรลุข้อตกลงท่ามกลางคู่แข่ง 3-4 ราย ที่เสนอราคาสูงกว่าด้วยซ้ำ
ปิดดีลสุดท้ายแห่งปี "นายทศ จิราธิวัฒน์" จับบริษัท ออฟฟิซ คลับ (ไทย) และ บริษัท บีทูเอส จำกัด ในเครือเซ็นทรัลรีเทล "ควบรวมกิจการ" กับ บริษัท ออฟฟิศเมท จำกัด (มหาชน) ผู้บริหาร ออฟฟิศเมท และ Trendyday.com ผู้นำในธุรกิจจำหน่ายเครื่องเขียน อุปกรณ์สำนักงาน และสินค้าเกี่ยวกับชีวิตประจำวันผ่านระบบแค็ตตาล็อก และระบบสั่งซื้ออิเล็กทรอนิกส์
ขณะที่ "ชอปปิงออนไลน์" ในไทยกำลังก้าวสู่จุดเปลี่ยน เรียกว่า ยุค E-Tailing หรือ Electronic Retailing กล่าวคือ การขายสินค้าและบริการให้ผู้บริโภคผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยตรง โดยไม่ผ่านคนกลางหรือตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์
ปัจจุบัน ธุรกิจชอปปิงออนไลน์เมืองไทย มีมูลค่าตลาด 8 หมื่นล้านบาท เติบโต 50-100% ต่อปี คาดว่า 3-5 ปีข้างหน้า ตลาดจะมีมูลค่ามากกว่า 1 แสนล้านบาท
การควบรวมกิจการครั้งนี้ ทำให้การขยายเครือข่ายธุรกิจค้าปลีกของกลุ่มเซ็นทรัลครอบคลุมพื้นที่ทั่วไทย อาเซียน และ ทั่วโลก!!
ทศ ย้ำว่าการซื้อกิจการ "ลา รีนาเซนเต" เชนสโตร์ยักษ์ใหญ่แห่งอิตาลี เป็น "สปริงบอร์ด" ของกลุ่มเซ็นทรัลรีเทล ในการขยายกิจการค้าปลีกภูมิภาคยุโรป อาเซียน รวมทั้งประเทศจีน โดยมีเงื่อนไขสำคัญ คือ การเข้าไปในแต่ละประเทศต้องมองถึงโอกาสว่าจะขยายได้ 10-20 หรือ 30 สาขา
ไม่ใช่ไปแล้วเปิดได้สาขาเดียวก็ไม่มีประโยชน์ นายทศ ย้ำแนวทางการลงทุน พร้อมยกตัวอย่างกรณีของ "ลา รีนาเซนเต" เป็นห้างเบอร์หนึ่งที่มีชื่อเสียงมายาวนาน คนอิตาเลียนถือว่าเป็นห้างที่ดีที่สุด แต่ระหว่าง 150 ปีที่ผ่านมา มีทั้ง "ขาขึ้น" และ "ขาลง" ช่วง 15-20 ปีก่อนหน้านี้ ชะลอตัวหนัก กระทั่งมีกลุ่มธุรกิจเข้าซื้อกิจการเมื่อ 8 ปีที่แล้ว และปรับปรุงทุกอย่างใหม่
"สาขาที่มิลาน ผมว่าเป็นห้างที่ดีที่สุดในโลกเลย เป็นลักชัวรี่ ดีพาร์ทเมนท์สโตร์ เทียบเคียงแฮร์รอดส์ ของอังกฤษ หรือ ราฟายาด ที่ฝรั่งเศส ได้สบาย เป็นห้างที่อยู่ในระดับท็อปของโลก การที่เซ็นทรัลเข้าซื้อก็หวังขยายกิจการต่อแน่นอน"
ลา รีนาเซนเต ในพอร์ตธุรกิจครั้งนี้ ทำให้ "เซ็นทรัลรีเทล" ก้าวสู่ความเป็นผู้นำธุรกิจห้างสรรพสินค้าระดับโลก ฉายภาพความเป็น "โกลบอล คอมปะนี" อย่างแท้จริง
"ลา รีนาเซนเต" ห้างหรูอันดับหนึ่งของประเทศอิตาลี เป็นที่รู้จักกันดีสำหรับนักท่องเที่ยว เพราะมีสาขาแฟลกชิพสโตร์ ตั้งอยู่ข้างวิหาร "ดูโอโม" สถานที่ท่องเที่ยวอันดับหนึ่ง ของมิลาน เมือง "แฟชั่นแคปปิตอล" ของโลก
การเลือกปักธงธุรกิจที่เมืองมิลาน มีความสำคัญในแง่ยุทธศาสตร์ธุรกิจและแบรนด์เซ็นทรัล แบรนด์ระดับโลกทั้งหลาย ไม่อยู่ใน "มิลาน" ก็ต้อง "ปารีส" การที่ "เซ็นทรัล" นำพาตัวเองเข้ามาอยู่ใจกลางเมืองมิลาน ก็เท่ากับ "ครึ่งทาง" ของการก้าวสู่โกลบอลแบรนด์
ลา รีนาเซนเต มีแผนขยายสาขาเพิ่มในเมือง ท่องเที่ยวต่างๆ เช่น โรม เวนิซ ฟลอเรนซ์ และเมืองสำคัญอื่นๆ เช่น นาโปลี และ โบโลญญา รวมไปถึงประเทศเพื่อนบ้านอื่นในยุโรป และเมืองสำคัญหลักๆ ของโลก ทั้ง เอเชีย อเมริกาใต้ ตะวันออกกลาง
โดยเฉพาะโรมและเวนิซ ถือเป็น "ประตูสำคัญ" ในการสร้างการรับรู้ หรือโปรโมทแบรนด์ ลา รีนาเซนเต ระดับโลก ผ่านนักท่องเที่ยว ซึ่งเดินทางเข้ามายังเมืองหลักเหล่านี้นับสิบล้านคนต่อปี โดยเฉพาะเวนิซ มีนักท่องเที่ยวมากกว่า 22 ล้านคนต่อปี
"ลา รีนาเซนเต" เป็นร้านค้าปลีกที่มีความสัมพันธ์อันดีกับแบรนด์สินค้าแฟชั่นและดีไซน์ ทั้งของอิตาลีและนานาชาติ เป็นเครื่องมือสำคัญในแง่ "ต่อยอด" ในการขยายตลาดใหม่ รวมถึงการเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายสินค้า จากอิตาลีทั้งภายในและนอกประเทศของเซ็นทรัลในอนาคต
ประการสำคัญฐานธุรกิจค้าปลีกของ ลา รีนาเซนเต เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับ "ทีมผู้บริหารรุ่นใหม่" ของ เซ็นทรัล กรุ๊ป เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ ความรู้ทางด้านค้าปลีก รองรับการขยายกิจการทั่วโลก ซีอีโอเซ็นทรัลรีเทลกล่าวย้ำว่า ปี 2556 ยังมีจะมี "ดีลใหญ่" ให้ตื่นเต้นอีก
’ไทยเบฟ’ไล่ซื้อเอฟแอนด์เอ็นบิ๊กดีล3แสนล.ทุนไทยผงาดเอเชีย
บิ๊กดีลข้ามปี คงต้องยกให้กลุ่มไทยเบฟจ่อซื้อเอฟแอนด์เอ็น มูลค่า 3 แสนล้านบาท ต่อยอดพอร์ตธุรกิจไทยเบฟ ทะลุ 7 แสนล้าน คาดประเดิมดีลใหญ่สุดรับปีใหม่ นักวิเคราะห์เชื่อว่ายังไม่จบ แม้เข้าถือหุ้นแล้ว 33.6% ชี้ดีลใหญ่ระดับนี้ต้องใช้เวลาไล่ซื้อ-ต่อรองราคานานเป็นปี
หากให้จัดอันดับความยิ่งใหญ่ของการเสนอซื้อกิจการ จากผู้ประกอบการไทย แม้แต่ในระดับเอเชียและระดับโลกปี 2555 ไม่มีดีลไหนยิ่งใหญ่ไปกว่าการเสนอซื้อหุ้นแบบเบ็ดเสร็จ ของกลุ่มบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เจ้าของเบียร์ช้างและเครื่องดื่มช้าง แบรนด์ของคนไทยภายใต้ตระกูล "สิริวัฒนภักดี"
ไม่เพียงเป็นบริษัทสัญชาติไทยที่ไปจดทะเบียน ในตลาดสิงคโปร์ แต่ "ไทยเบฟ" ยังอาจหาญประกาศ ซื้อกิจการบริษัทอาหารเครื่องดื่มรายใหญ่ของสิงคโปร์อย่าง "เอฟแอนด์เอ็น" (Fraser and Neave Limited) เริ่มดีลมาตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค.2555 ก่อน เปิดสนามไล่ซื้อแข่งราคา ทั้งหุ้นเอฟแอนด์เอ็น และ หุ้นบริษัทลูกฝั่งเอฟแอนด์เอ็น อย่าง"เอพีบี" หรือ บริษัท เอเชีย แปซิฟิก บริวเวอรีส์ ผู้ผลิตและจำหน่าย เบียร์ไทเกอร์และไฮเนเก้นในภูมิภาคนี้ ทำให้ศึก แย่งชิงหุ้นเปิดเป็น 2 ส่วนในเวลาเดียวกัน
การซื้อหุ้นเอฟแอนด์เอ็น ยังไล่ซื้อบิ๊กล็อตจากสถาบันผู้ถือหุ้นเดิมอีก 22% มูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านบาท ด้วยสัญญาซื้อหุ้นสามัญกว่า 313 ล้านหุ้น ของเอฟแอนด์เอ็น (Fraser and Neave Limited) ซื้อจาก Oversea-Chinese Banking Corporation Limited (OCBC), Great Eastern Holdings Limited (GEH) และ Lee Rubber Company (Pte) Limited (Lee Rubber) ในราคาเสนอซื้อที่ 8.88 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อหุ้น (223.78 บาท) เป็นเงินทั้งสิ้น 2,780 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือกว่า 7 หมื่นล้านบาท การซื้อครั้งแรก ไทยเบฟ ใช้บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เบฟเวอเรจ โฮลดิ้งส์ ลิมิเต็ด เป็นผู้ทำสัญญาไล่ราคาทำกำไร"เอพีบี"สู้ไฮเนเก้น
จากนั้นเพียงวันเดียว กรณีแย่งชิงหุ้น เอพีบี ก็เกิดขึ้น เมื่อบริษัท ไฮเนเก้น ผู้ผลิตเบียร์แห่งเนเธอร์แลนด์ บริษัทแม่ของเอพีบี ได้เสนอซื้อหุ้นเอพีบี มูลค่ากว่า 5,100 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (4,100 ล้านดอลลาร์) หรือกว่า 1.27 แสนล้านบาท ด้วยการเสนอราคาซื้อสูงกว่าไทยเบฟ ที่ 45 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อหุ้น แต่ไฮเนเก้นเสนอซื้อที่ 50 ดอลลาร์สิงคโปร์
ศึกไล่ราคาหุ้นเอพีบีดำเนินต่อเนื่องตลอด 2 เดือนเต็ม ราคาหุ้นเอพีบีถูกไล่ขึ้นจนถึงระดับ 52 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อหุ้น ทำกำไรให้กับผู้ถือหุ้นเอพีบี ทั้ง ไทยเบฟ และ เอฟแอนด์เอ็น ไปไม่น้อย จากนั้นวันที่ 19 ก.ย. 2555 "ไฮเนเก้น" ผู้ผลิตเบียร์อันดับ 3 ของโลกจากเนเธอร์แลนด์ แถลงว่า ไทยเบฟ และ บริษัท ทีซีซี แอสเสทส์ ถือหุ้นโดยนายเจริญและคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี เจ้าของตัวจริง ได้เปิดตัวขึ้นมาเพิ่มระหว่างการไล่ซื้อหุ้น ประกาศสนับสนุนให้ไฮเนเก้นซื้อหุ้น 40% ในบริษัท เอเชีย แปซิฟิก บริวเวอรีส์ (เอพีบี) ที่ เอฟแอนด์เอ็น ถืออยู่ ก่อนจะมีการประชุมผู้ถือหุ้นเอฟแอนด์เอ็นวันที่ 28 ก.ย. 2555
ขั้นตอนนี้ เท่ากับยุติการแข่งขันซื้อหุ้นเอพีบี ผู้ผลิตและจำหน่ายเบียร์ไฮเนเก้นใน 14 ประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก โดยที่บริษัทแม่ ไฮเนเก้น ได้ครองธุรกิจเบียร์ของเอฟแอนด์เอ็น ส่วนกลุ่มไทยเบฟ ได้ครองธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ของเอฟแอนด์เอ็น 6 เดือนดีลใหญ่แข่งซื้อเอฟแอนด์เอ็น
เส้นทางแห่งการช่วงชิงหุ้นเอฟแอนด์เอ็น ดำเนินมา 6 เดือน นับตั้งแต่วันแรกที่เปิดดีลแรกซื้อหุ้นล็อตใหญ่ 22% เพิ่มเป็น 23% ล่าสุดไล่ซื้อได้ถึง 33.6% เตรียมซื้อเพิ่มอีก 2.8% หลังจากได้ทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์ คือทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นรายย่อย ตามกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ มาตั้งแต่ปลายเดือนก.ย. ที่ผ่านมา
ระหว่างทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมด ที่เลื่อนเวลากันต่อเนื่องมาถึงรอบที่ 4 ในปัจจุบัน ได้มีผู้เล่น "รายใหม่" เสนอตัวเข้ามาเสนอซื้อหุ้นแข่งโดยให้ราคาที่สูงกว่า โดยบริษัท โอเวอร์ซีส์ ยูเนียน เอ็นเตอร์ไพรเซส หรือ โอยูอี บริษัทโรงแรมและอสังหาริมทรัพย์ของสิงคโปร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มลิปโป กรุ๊ป ของอินโดนีเซีย ซึ่งเสนอซื้อหุ้นเอฟแอนด์เอ็น เข้ามาที่ราคา 9.08 ดอลลาร์สิงคโปร์
ราคาเสนอซื้อของโอยูอี นำมาซึ่งเงื่อนไขราคาใหม่ ที่หลายคนมองว่า หากฝั่งไทยเบฟ ต้องการซื้อเอฟแอนด์เอ็นให้ได้ ต้องเสนอราคาซื้อไม่น้อยกว่า 9.60 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อหุ้น ต้องใช้เงินไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือไม่น้อยกว่า 3 แสนล้านบาท หากต้องการปิดดีลนี้ลงให้ได้ รวมพอร์ตกว่า 7แสนล้าน
ความพยายามของกลุ่มไทยเบฟ ต่อการซื้อหุ้นเอฟแอนด์เอ็นมาให้ได้ทั้งหมด แม้ว่าจะใช้เม็ดเงินมหาศาลถึง 3 แสนล้านบาท ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่!! เพราะหากว่า "สำเร็จ" ไทยเบฟ ได้ครอบครองธุรกิจเอฟแอนด์เอ็นที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ จะทำให้มาร์เก็ตแคปใหญ่เป็นอันดับสอง รองจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่มีมูลค่าตลาดที่ 9 แสนล้านบาท โดยไทยเบฟอาจมีมูลค่ารวมใกล้ 7 แสนล้านบาท ตามที่ นายศราวุธ เตโชชวลิต ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัย บล.โอเอสเค (ประเทศไทย) ให้สัมภาษณ์ไว้กับ "กรุงเทพธุรกิจทีวี"
จากปัจจุบัน ไทยเบฟ มีมูลค่าการตลาดอยู่ที่ 3 แสนล้านบาท เสริมสุข 42,000 ล้านบาท โออิชิ 36,000 ล้านบาท บีเจซี 80,000 ล้านบาท และ ยูวี 3,000 ล้านบาท รวมเป็น 4.6 แสนล้านบาท หากได้ เอฟแอนด์เอ็น มาเพิ่มอีก มูลค่าราว 2 แสนล้านบาท จะมีมูลค่าตลาดใกล้ 7 แสนล้านบาท
ช่วงปลายเดือนพ.ย. 2555 โอยูอี ได้แสดงความจำนงร่วมกับกลุ่มจับมือ "คิริน" ของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในเอฟแอนด์เอ็น ร่วมกันเสนอซื้อหุ้นเอฟแอนด์เอ็นที่ราคาหุ้นละ 9.08 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือกว่า 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ สูงกว่าข้อเสนอ "เจริญ" ที่เสนอซื้อหุ้นละ 8.88 ดอลลาร์สิงคโปร์ กำหนดเวลารับคำเสนอซื้อของฝั่งโอยูอี กำหนดสิ้นสุดวันที่ 3 ม.ค. 2556 หลังกำหนดเส้นตายของฝั่งไทยเบฟ เพียง 1 วันเท่านั้น
เริ่มต้นศักราชใหม่ 2556 การช่วงชิงหุ้นเอฟแอนด์เอ็นทั้ง 2 ฝ่าย กลุ่มไทยเบฟ และ โอยูอี คู่ชิงใหม่ ที่พร้อมทุ่มเม็ดเงินมหาศาล เป็นความพร้อมทุ่มเม็ดเงินลงทุนจริง หรือเพียงไล่ราคาหุ้นให้สูงขึ้น เช่นที่ทำสำเร็จมาแล้วในกรณีของหุ้น "เอพีบี" เป็นประเด็นที่ต้องติดตาม
นักวิเคราะห์หลายรายเห็นตรงกันว่า ดีลใหญ่ระดับนี้ต้องใช้เวลาการเสนอซื้อ ต่อรอง และ ไล่ราคากันราว 1 ปี เป็นอย่างน้อย ต้องจับตาดูกันต่อไป ในฐานะดีลใหญ่ข้ามปีของทุนไทยแข่ง ซื้อสู้ "ต่างชาติ" เป็นดีลประวัติศาสตร์ธุรกิจไทย ที่แจ้งเกิดในเวทีโลก
โดยเมื่อวันที่ 5 ธ.ค.
ปตท.สผ.เฉือนเชลล์ซื้อ’โคฟ’
การประกาศเข้าซื้อหุ้นบริษัท โคฟ เอ็นเนอร์ยี่ (Cove Energy PLC.) ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศอังกฤษ ของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ในปี 2555 นับเป็น "บิ๊กดีล" ของแวดวงธุรกิจขุดเจาะและสำรวจปิโตรเลียม เพราะนอกจากมูลค่าการซื้อกิจการจะสูงถึง 6 หมื่นล้านบาท ยังมีการแข่งขันรุนแรงระหว่างบริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ ปตท.สผ. กับ บริษัท รอยัล ดัทช์ เชลล์
เพราะต่างฝ่ายต่างเล็งเห็นประโยชน์จากการสินทรัพย์ของบริษัท โคฟฯ ที่มีอยู่ โดยเฉพาะการถือหุ้นในแหล่งสัมปทานในสาธารณรัฐโมซัมบิก ที่มีการพูดถึงกันมากคือการถือหุ้นในสัดส่วน 8.5% ในแปลงสัมปทาน โรวูมา
โดยแปลงสัมปทานดังกล่าวนั้น เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ ระดับเวิลด์คลาส ก๊าซ ดีสคัฟเวอรี่ (WORLD CLASS GAS DISCOVERY) คาดว่าจะมีปริมาณสำรองถึง 30 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต และแหล่งน้ำมัน แบล็ค เพิร์ล โพรสเพ็ค (BLACK PEARL PROSPECT) ยังไม่รวมการถือหุ้นในสัดส่วน 10-25% ในแปลงสัมปทานน้ำลึกอีก 7 แปลงในประเทศเคนยา
การซื้อกิจการครั้งนี้ เป็นการแข่งขันกันเสนอราคาทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของโคฟฯ โดยบริษัทเชลล์ประกาศเสนอราคาซื้อก่อนที่ระดับหุ้นละ 195 เพนซ์ ซึ่งเป็นราคาที่สูงกว่าราคาหุ้นของโคฟฯ ในขณะนั้นที่อยู่ระดับ 112 เพนซ์ จนกระทั่งบริษัทปตท.สผ. ตัดสินใจร่วมประมูลซื้อกิจการ โดยประกาศเสนอราคาซื้อที่หุ้นละ 220 เพนซ์ สูงกว่าราคาที่เชลล์เสนอ ส่งผลให้เชลล์ต้องเสนอราคาซื้อครั้งที่ 2 ขึ้นมาเท่ากับระดับที่ปตท.สผ. เสนอ
ทำให้ ปตท.สผ. ตัดสินใจเสนอราคาซื้อหุ้นเป็นครั้งที่ 2 โดยเพิ่มราคารับซื้อเป็นหุ้นละ 240 เพนซ์ คิดเป็นมูลค่า 1,221.4 ล้านปอนด์ หรือ 1.92 พันล้านดอลลาร์ ส่วนหนึ่งเพราะเห็นในศักยภาพของสินทรัพย์ที่มีโคฟฯ มี ประกอบกับได้ข้อมูลมาเพิ่มว่า ปริมาณสำรองในโมซัมบิกเพิ่มขึ้น ขณะที่เชลล์ประกาศถอนตัวไม่สู้ราคา แต่จะหาช่องทางอื่นในการเข้าไปถือแหล่งสัปทานในโมซัมบิกแทน
แม้ว่าการซื้อกิจการโคฟฯ ในครั้งนี้ของ ปตท.สผ. จะถูกมองว่าเป็นการซื้อที่แพงเกินไป เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ ปตท.สผ. ต้องประกาศเพิ่มทุนครั้งใหญ่กว่า 9 หมื่นล้านบาท แต่ฝ่ายบริหารต่างยืนยันว่า เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะเป็นก้าวสำคัญ ในการเข้าถึงแหล่งพลังงานในแถบแอฟริกาตะวันออกที่มีศักยภาพสูง
สอดคล้องกับกลยุทธ์บริษัท ในการสร้างการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเป็นการต่อยอดยุทธศาสตร์ ของกลุ่ม ปตท. ที่จะเป็นผู้นำทางด้านธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลวในประเทศไทย ซึ่งมีความ
’ซีพี’ทุ่ม2.8แสนล.ซื้อผิงอัน
กลายเป็นข่าวใหญ่ครึกโครมในแวดวงธุรกิจของจีน และทำท่าจะสะเทือนถึงแวดวงการเมืองไทย หลังบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพีของไทย เข้าซื้อหุ้นบริษัทประกันผิงอัน (PING AN INSURANCE) บริษัทประกันใหญ่อันดับ 2 ของจีน ในสัดส่วน 15.6% จากธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC) วงเงิน 9.4 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 2.87 แสนล้านบาท
หลังข่าวนี้ออกมา สื่อมวลชนทั้งไทยและจีนต่างให้ความสนใจติดตามความคืบหน้าดีลนี้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเด็นที่มาของแหล่งเงินทุนจำนวนมหาศาล ที่ซีพีใช้นำไปใช้ในการซื้อกิจการ ซึ่งมีการรายงานในสื่อต่างประเทศว่า การซื้อกิจการผิงอันนั้น เกิดจากการรวมกลุ่มกันของนักธุรกิจชั้นนำในจีน ฮ่องกง รวมถึง ครอบครัวพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ
อย่างไรก็ตาม เครือซีพี ได้ออกแถลงการณ์ลงวันที่ 25 ธ.ค. 2555 เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับการเข้าซื้อหุ้นบริษัทผิงอัน โดยยืนยันว่าการซื้อขายหุ้นบริษัทผิงอันนั้น ถูกต้องตามกฎหมาย และที่มาของแหล่งเงินทุนโปร่งใส มีการซื้อขายด้วยเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย
โดยเมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 2555 บริษัทลูกของซีพี ซึ่งมีซีพีเป็นผู้ลงทุนเต็มจำนวนทั้ง 4 บริษัท คือ บริษัท ออลล์ เกน เทรดดิ้ง, บริษัท บลูม ฟอร์จูน กรุ๊ป, บริษัท บิซิเนส ฟอร์จูน โฮลดิ้งส์ และ บริษัท อีซี บูม ดีเวลล็อปเม้นท์ ในฐานะผู้ซื้อ ได้เซ็นสัญญาการโอนหุ้นของบริษัทผิงอัน จาก PING AN INSURANCE กับบริษัท เอชเอสบีซี อินชัวรันส์ โฮลดิ้งส์ และ เดอะฮ่องกง แอนด์ เซี่ยงไฮ้ คอร์ปอเรชั่น
ในแถลงการณ์ดังกล่าว ซีพียังแสดงความมั่นใจในการพัฒนาของบริษัทผิงอัน พร้อมระบุว่าการลงทุนที่สำคัญครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะร่วมกับผิงอันพัฒนาเศรษฐกิจทุกสาขาในชนบท ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการสร้างโครงการเกษตรกรรมสมัยใหม่ในประเทศจีน
ทั้งนี้ บริษัทผิงอัน ก่อตั้งเมื่อปี 2531 และเติบโตขึ้นเป็นบริษัทประกันใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ด้วยลูกค้า 74 ล้านราย พนักงาน 175,000 คน และมีตัวแทนขาย กว่า 5 แสนคน โดยข้อตกลงซื้อขายหุ้นในผิงอันครั้งนี้ เป็นการซื้อขายหุ้นรายใหญ่อันดับ 2 ของเอเชียในปีนี้ รองจากแผนการของบริษัทน้ำมัน ซีนุกของจีน ที่จะซื้อบริษัทเนเซนของแคนาดา มูลค่า 15,100 ล้านดอลลาร์
--จบ--
Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 07, 2013 9:33 pm
โดย pak
[InfoQuest] GSTEEL มีแผนควบรวมกิจการ GJS หวังลดต้นทุน คาดใช้เวลา 7-8 เดือน
07-01-2013 14:42:57
Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า
โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 08, 2013 10:01 am
โดย pak
จีสตีลเทิร์นอะราวด์ แก้หนี้-เพิ่มทุน-ลดต้นทุนจบ ลุ้นไตรมาส 3-4 พลิกมีกำไร
โพสต์ทูเดย์, 8 ม.ค. 56
"จี สตีล" ประกาศเทิร์นอะราวด์ปีนี้ แผนปรับโครงสร้างหนี้-ระดมทุนใกล้เสร็จ เดินหน้าควบ GJS
นายสมศักดิ์ ลีสวัสดิ์ตระกูล รองประธานกรรมการ บริษัท จี สตีล(GSTEEL) เปิดเผยภายหลังการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นที่อนุมัติทุกวาระ ว่า ผลประกอบการของบริษัทจะกลับมาดีขึ้น (เทิร์นอะราวด์) ในปีนี้ เนื่องจากคาดว่ากระบวนการปรับโครงสร้างหนี้และระดมทุนจะแล้วเสร็จภายในไตรมาสแรกปีนี้ ส่งผลให้อัตราหนี้สินต่อทุน (ดี/อี) ของบริษัทลดลงเหลือต่ำกว่า 1 เท่า รวมทั้งยังได้เงินทุนหมุนเวียนเข้าเสริมสภาพคล่องจากการเพิ่มทุน ทำให้ฐานะการเงินกลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง
Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า
โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 08, 2013 10:02 am
โดย pak
NEP ล้างขาดทุน-คลอด PP รุกเทกโอเวอร์-เป้า 2.40 บาท [ ทันหุ้น, 8 ม.ค. 56 ]
NEP ลั่นประชุมผู้ถือหุ้นทำแผนล้างขาดทุน แถมออก PP และ PO ไตรมาส 1/2556 นี้ "หัวเรือใหญ่" หวังโกยเม็ดเงินจ่อเทกโอเวอร์ ปั๊มกำไรรายได้โตก้าวกระโดดทะลุ 1 พันล้านบาทฟากกูรูแนะสอยปี 2555 ฟันกำไรเหนาะๆ 9,693.18% วิ่งชนเป้า 2.40 บาท
Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 10, 2013 4:14 pm
โดย pak
PPM เทกโอเวอร์โรงงานใหม่ซีพีป้อนออเดอร์-เป้าไกล 4 บ.
ทันหุ้น, 10 ม.ค. 56
PPM ฮุบโรงงานแพ็กเก็จจิ้ง แตกไลน์ธุรกิจใหม่ ล่าสุด ซีพี-เมจิ ป้อนออเดอร์เพียบ ทั้งปีหวังโกยยอดขายเข้ากระเป๋าเพิ่มปีละ 200 ล้านบาท พร้อมปักธงปี 2556 รายได้โต 25% จากปีก่อน อานิสงส์ลูกค้าใหม่-เก่าสั่งของอื้อ ฟากนักวิเคราะห์ เชียร์ "เก็งกำไร" เคาะเป้าไกล 4.00 บาท
Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 11, 2013 9:31 am
โดย pak
วันที่/เวลา 11 ม.ค. 2556 08:49:26
หัวข้อข่าว รายงานความสำเร็จของการควบบริษัทระหว่าง PTTUT และ IPT
หลักทรัพย์ PTT
แหล่งข่าว PTT
รายละเอียดแบบเต็ม ที่
http://www.set.or.th/set/newsdetails.do ... country=TH
Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 11, 2013 9:41 am
โดย pak
Thai Billionaire Extends F&N Bid as Takeover Deadline
By Jonathan Burgos & Joyce Koh - Jan 10, 2013 11:00 PM
Thai billionaire Charoen Sirivadhanabhakdi extended a S$8.9 billion ($7.3 billion) offer for Singapore’s Fraser & Neave Ltd. to Jan. 15 ahead of a deadline for final bids later this month.
Charoen offered S$8.88 a share for the property and beverages company in September. A group led by Overseas Union Enterprise Ltd. (OUE) on Nov. 15 countered with a S$9.08 per share bid. Both have until Jan. 21 for final offers under Singapore takeover law, said F&N spokeswoman Elaine Lim.
Fraser & Neave shares have traded above both offers in a sign investors expect the bidding war to escalate. Charoen agreed to buy a 22 percent stake in F&N in July, setting off a fight for the company’s soft drink and property assets and prompting the sale of its beer unit to Heineken NV.
“The possibility of a bidding war remains,” said Goh Han Peng, an analyst at DMG & Partners Securities, a unit of Malaysia’s OSK Holdings Bhd. (OSK) “It needs a trigger from either parties. Theoretically, both parties can raise their bids toward S$10 a share.”
F&N shares fell 0.1 percent to close at S$9.69 in Singapore trading yesterday.
Thai Offer
Charoen’s offer valued the rest of the company at about S$8.9 billion on Sept. 13, the day his TCC Assets offered S$8.88 a share for the 69.6 percent of F&N it didn’t already control.
TCC moved the closing date on that offer to 5:30 p.m. on Jan. 15, according to a stock exchange statement yesterday.
OUE, a Singapore-based property company, has enlisted Kirin Holdings Co., Japan’s largest drinks maker, in its bid. OUE would get the company’s property business and Kirin would take the food and beverage unit.
Kirin has agreed to tender its 14.8 percent stake in F&N, OUE has said. The Japanese brewer, Asia’s biggest beverage maker, will offer S$2.7 billion for F&N’s food and beverage business, if OUE wins enough support to complete the takeover.
F&N has said it had committed to pay the OUE consortium a break-up fee of as much as S$50 million if a competing offer is successful.
Charoen, 68, has a net worth of $9.3 billion, according to data from the Bloomberg Billionaires Index. His unlisted business, TCC Group, has a real estate unit. Thai Beverage PCL (THBEV), which sells the Chang brand of beer, gets almost all its revenue from its home market.
“Its unlikely Charoen is going to walk away at this stage,” said Goh. “Both the real estate and F&B businesses for F&N are important to him.”
OUE Executive Chairman Stephen Riady is a son of Mochtar Riady, who controls Indonesia’s Lippo Group, with businesses ranging from real estate and financial services to food across Asia. If successful, it would be the biggest ever acquisition of a Singapore-based company, according to data compiled by Bloomberg.
OUE, which gets about 65 percent of its revenue from hotel operations, plans at least one investment a year in Singapore to boost property holdings that include office towers, luxury apartments and malls, Stephen Riady said in an interview in August.
Heineken NV (HEIA) won control of F&N’s beer unit, the maker of Tiger beer, in a deal that closed in November.
To contact the reporters on this story: Jonathan Burgos in Singapore at
[email protected]; Joyce Koh in Singapore at
[email protected]
To contact the editor responsible for this story: Anjali Cordeiro at
[email protected]
Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า
โพสต์แล้ว: อังคาร ม.ค. 15, 2013 9:46 am
โดย pak
SCCทุ่ม4หมื่นล.ขยายธุรกิจ ซุ่มเจรจาซื้อกิจการในยุโรป
15 ม.ค. 56
ผู้บริหาร SCC "กานต์ ตระกูลฮุน" เดินแผนลงทุนปี 2556 เตรียมเงินทุนกว่า 4 หมื่นล้านบาท ขยายธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ แย้มมีดีลเจรจาซื้อกิจการในยุโรป ฟากโบรกส่องผลงานปี 2556 เติบโตต่อเนื่องทั้ง 3 ธุรกิจหลักวัสดุก่อสร้าง-ธุรกิจกระดาษและผลิตภัณฑ์-ธุรกิจปิโตรเคมี เคาะเป้าหมาย 506 บาท
Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 17, 2013 6:17 pm
โดย pak
GSTEL คาดปีนี้มีกำไร-เล็งควบรวม GJS ได้สำเร็จในปีนี้
ผู้บริหาร บริษัท จี สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ GSTEL เปิดเผยว่า บริษัทคาดว่าปีนี้จะมีกำไรจากการดำเนินการผลิตเหล็กได้ประมาณ 80-90% ซึ่งในไตรมาส 2 จะถึงจุดคุ้มทุน โดยคาดว่าในครึ่งแรกปีนี้ หนี้ของบริษัทจะลดเหลือ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ จาก 550 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะมาจากการเพิ่มทุน และการเจรจาปรับหนี้กับธนาคารพาณิชย์
นอกจากนี้ คาดว่า GSTEL ที่จะควบรวมกับบริษัท จี เจ สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ GJS ภายในปีนี้จะดำเนินการได้สำเร็จ ซึ่งจะทำให้ลดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 5-6% โดยกำลังการผลิตรวมทั้ง 2 บริษัทจะอยู่ที่ประมาณ 3.3 ล้านตันต่อปี ขณะที่ ยอดขาย 2 บริษัทในปีนี้จะอยู่ที่ 4 หมื่นล้านบาท และเพิ่มเป็น 6 หมื่นล้านบาทในปีหน้า
Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 17, 2013 6:52 pm
โดย pak
BGH ลุยซื้อร.พ.ต่างจังหวัด
โรงพยาบาลกรุงเทพ คาดรายได้ปีนี้โต 13-14% แย้มศึกษาซื้อกิจการร.พ.ต่างจังหวัด 2-3 แห่ง
เล็งขนาด 100-200 เตียง บล.ธนชาตฯ เชียร์ซื้อหุ้น ให้ราคาเหมาะสม 135 บาท เหตุยุทธศาสตร์
ธุรกิจเจ๋ง คาดปี 58 รายได้พุ่ง7-7.5 หมื่นล้านบาท
นางนฤมล น้อยอ่ำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน)(บมจ.)(BGH) ประกอบธุรกิจโรงพยาบาลภายใต้ชื่อ โรงพยาบาลกรุงเทพ นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลในกลุ่ม
อีกหลายแห่ง เปิดเผยว่าบริษัทคาดการณ์รายได้ปี 2556 เติบโต 13-14% จากปีก่อน
ด้านงบลงทุนตั้งไว้ที่ 10-12% ของรายได้รวม ซึ่งรวมถึงงบสำหรับการซื้อกิจการโรงพยาบาลด้วย
โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาการเข้าซื้อกิจการโรงพยาบาล 2-3 แห่ง มีขนาดเตียงตั้งแต่ 100-200 เตียง
สำหรับแผนธุรกิจของบริษัทในปีนี้ ยังเน้นการขยายโรงพยาบาลออกไปสู่ต่างจังหวัด มากกว่าในกรุงเทพฯเนื่องจากธุรกิจโรงพยาบาล มีอัตราการเติบโตที่ดีเฉลี่ย 10-15% ต่อปี ขณะที่ในต่างจังหวัดมีความต้องการมาตรฐานการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจในต่างจังหวัด มีการขยายตัวที่ดี ขณะที่
สถานพยาบาลของภาครัฐและเอกชนที่มีอยู่ในขณะนี้ยังไม่เพียงพอ ทั้งนี้จากการศึกษาขนาดของจำนวนประชากรต่อเตียงผู้ป่วย พบว่าในกรุงเทพฯอยู่ที่ 300 คนต่อ 1 เตียง ขณะที่ต่างจังหวัด อยู่ที่ 500-600 คน
ต่อ 1 เตียง ดังนั้นความต้องการโรงพยาบาล จึงมีมากกว่าในกรุงเทพฯ
นอกจากนี้บริษัทมองว่าการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี) ในปี 2558 จะส่งผลต่อความ
ต้องการใช้สถานพยาบาลในประเทศไทยให้มีมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยจากประเทศกัมพูชา ลาว ที่ต้อง
การเข้ามาใช้บริการรักษาพยาบาลในไทย ดังนั้นทำให้มองเห็นโอกาสการขยายโรงพยาบาล ไปยังจังหวัด
ที่ใกล้ชายแดนมากขึ้น
บทวิเคราะห์บมจ.หลักทรัพย์(บล.)ธนชาตฯ คงคำแนะนำ"ซื้อ"หุ้น BGH ให้ราคาเหมาะสม 135.00 บาทต่อหุ้น
โดยมองว่า BGH มีกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจที่ดี เนื่องจากมีเครือข่ายที่ครอบคลุมและแข็งแกร่งทั่วประเทศ
รวมถึงการให้บริการลูกค้าในทุกกลุ่ม การปฏิบัติดังกล่าวจะช่วยเพิ่มกำลังผนึก (Synergy) ภายในเครือ
รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรม ขณะเดียวกันประเมินว่าปี 2555 รายได้บริษัทดังกล่าวเติบโต 17%
ซึ่งเป็นการเติบโตจากการดำเนินธุรกิจปกติ(ออร์แกนิก โกรท ) และคาดว่าภายในปี 2558 รายได้แตะระดับ
7-7.5 หมื่นล้านบาท ด้านอัตรากำไรสุทธิคาดว่าทรงตัวในระดับ 13%ต่อปี
อนึ่งปี 2554 BGH มีรายได้รวม 3.77 หมื่นล้านบาท มีกำไรสุทธิ 4.38 พันล้านบาท งวด 9 เดือน
ปี 2555มีรายได้รวม 3.66 หมื่นล้านบาท มีกำไรสุทธิ 6.53 พันล้านบาท
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,810 วันที่ 17 - 19 มกราคม พ.ศ. 2556
ที่มา:
http://www.thanonline.com
Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 17, 2013 8:36 pm
โดย kongkiti
‘กรุงเทพ’พร้อมควบรวม-ซื้อค่ายอื่น ปีหน้า‘ประกันรถ’ธงนำ!/เบี้ย1.5หมื่นล้าน
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... =413370978
- ลั่นพร้อมเทกโอเวอร์-ควบรวมโฟกัสค่ายวินาศภัยเพิ่มทุนไม่ไหว
“ชัย โสภณพนิช” ประธานกรรมการและประธาน คณะผู้บริหาร บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปีหน้า 2556 บริษัทพร้อมจะแอ็กชั่นในเรื่องของการควบรวม และซื้อกิจการบริษัทประกันวินาศภัยอื่น หลังจากที่ผ่านมาไม่เคยมีความเคลื่อนไหวเรื่องนี้เลย เพราะมีโอกาสจากการที่บริษัทประกันภัย จำนวนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากค่าสินไหม ทดแทนน้ำท่วมใหญ่ และจำเป็นต้องเพิ่มทุนเพื่อให้เงินกองทุนครบตามเกณฑ์ ที่สำนักงานคปภ.กำหนด แต่ไม่สามารถเพิ่มทุนได้
“การควบรวมหรือซื้อกิจการ เราจะ ดูจากความคุ้มหรือไม่คุ้มเป็นหลัก งานของ บริษัทนั้นๆ เป็นอะไร ช่องทางที่ได้งานมา จากไหน ถ้าเป็นงานผ่านตัวแทนนายหน้า ไม่เอา เพราะสามารถหามาร่วมงานได้เหมือนกัน แต่ถ้าเป็นงานในเครือมีความสนใจ”
ส่วนรูปแบบ อาจจะได้ทั้งควบรวมกิจการ หรือเข้าไปถือหุ้นในบริษัทนั้นๆ ขึ้นอยู่กับปัญหาของเขาเป็นแบบไหนเป็นไปได้ทั้ง 2 แนวทาง โดยผู้ถือหุ้นหลักๆ อาจจะอยากเพิ่มทุนอยู่ แต่ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยอาจจะไม่ยอม หรืออาจจะมีปัญหาเงินทุนหมุนเวียนมีไม่พอให้กรุงเทพประกันภัยเข้าไปช่วย ได้ประโยชน์ทั้งมีเม็ดเงินใหม่หมุนเวียน และช่วยบริหารงาน ช่วยวิเคราะห์ธุรกิจที่มีอยู่
ทั้งนี้ ปีหน้าการเปลี่ยนมือเจ้าของบริษัทประกันภัย หรือผู้ร่วมทุนรายใหม่มีโอกาสมาก โดยเฉพาะบริษัทท้องถิ่นแอ็ก ชั่นมากขึ้น เพราะต่างประเทศเข้ามาหมดแล้ว
“บริษัทต่างประเทศเวลาจะเทกโอเวอร์คนไทย จะเริ่มต้นจากการร่วมทุนกันก่อน พอมีปัญหาต้อง เพิ่มทุนถ้าคนไทยเพิ่มทุนไม่ได้เขาก็จะฮุบไป ตัวอย่าง เช่น โตเกียวมารีนฯ สมโพธิ์ประกันภัย แอกซ่า ประกันภัย ซึ่งรายหลังเพิ่มทุนถึง 2 ครั้งในปีเดียว คิดว่าถ้าบริษัทไทยที่มีปัญหาฐานะการเงิน เมื่อเพิ่มทุนไม่ได้ต้องรวมกับ บริษัทอื่น”
- จ่ายสินไหมน้ำท่วมแล้ว 50% กำไรเยอะไม่ต้องเพิ่มทุน
ส่วนสินไหมน้ำท่วมปีที่ผ่านมา “ชัย” กล่าวว่า เบ็ดเสร็จยอดทั้งหมดที่รับตรง และรับประกันต่อจากบริษัทประกันอื่นด้วยประมาณ 4,800 ล้านบาท จ่ายไปแล้วประมาณ 50% จากยอดสินไหมทั้งหมด 35,000 ล้านบาท รวมประกันธุรกิจหยุดชะงัก (BI) แล้ว โดยรายย่อยจ่ายไป 98-99% เกือบครบ ส่วนรายใหญ่จ่ายไป 50% พยายามจะให้เสร็จในไตรมาส 2 ปีหน้า
ทั้งนี้ ปีหน้าบริษัทไม่ต้องเพิ่มทุนอีก ที่มีอยู่ถือว่าเพียงพอ เพราะปีนี้ขายหุ้นออกไปมาก มีกำไรจากการขายหุ้นประมาณ 2,000 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนมีกำไร 700-800 ล้านบาท โดยปีหน้ากำไรส่วนใหญ่จะมาจากการรับประกัน เทียบกับปีนี้กำไรมาจากการลงทุน
- เป้าปีหน้าเบี้ย 15,000 ลบ.โต 15% บุกหนัก “รถยนต์”/ขยายสาขา-ตปท.
ด้าน “พนัส ธีรวณิชย์กุล” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ กล่าวว่า ปีหน้า 2556 บริษัทตั้งเป้าเบี้ยรับรวมเติบโต 15% หรือมีเบี้ย 15,000 ล้านบาท จากปีนี้ที่คาดว่าจะเติบโตได้ 20% หรือมีเบี้ยรับรวม 13,000-13,200 ล้านบาท โดยจะมาจากการขยายตลาดประกันภัยรถยนต์ ซึ่งปีนี้โตเยอะทั้งจากนโยบายรถคันแรก รวมไปถึงน้ำท่วมที่ทำให้การผลิตและส่งมอบรถมาทะลักในปีนี้ ซึ่งคาดว่ารถใหม่ในตลาดจะมากถึง 1.32-1.37 ล้านคัน และต่อเนื่องปีหน้าอีกประมาณ 1.1-1.5 ล้านคัน
“ประกันภัยรถยนต์ยังคงเป็นตัวนำตลาดให้พุ่งกระฉูด เราก็จะเกาะกระแสไป แต่จะทำตลาดแบบไม่บุ่มบ่าม ดูว่าช่วงไหนควรจะเล่นประเภทใด เช่น ช่วงไหน ควรเล่นรถเก่า ช่วงไหนควรเล่นรถใหม่ กลุ่มไหนพฤติกรรม ขับรถใช้ได้ เป็นต้น ซึ่งระบบไอทีที่ปรับปรุงใหม่ สามารถแยกข้อมูลลูกค้า นำมาวิเคราะห์จัดเซ็กเมนต์ลูกค้าได้ ช่วยเราทำตลาดได้ดี”
ขณะเดียวกันก็จะขยายสาขาในภูมิภาคให้ครอบ คลุม เพื่อรองรับเออีซี โดยเฉพาะจังหวัดที่อยู่ในเส้นทาง เศรษฐกิจอาเซียน เช่น มุกดาหาร ที่เชื่อมเส้นทางเศรษฐกิจ สาย R9 ไทย-ลาว-เวียดนาม และมองการขายข้ามแดน (Cross Border) สาขาใกล้ชายแดนสามารถบริการแบบ ไปเข้าเย็นกลับได้ไม่ต้องเปิดเพิ่มก็จะทำ
“นอกจากนี้เรายังจะขยายตลาดในต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งกรุงเทพประกันภัยออกไปทำธุรกิจในต่างประเทศมานานกว่า 10 ปีแล้ว เช่น ที่กัมพูชาดำเนินงาน แล้ว ที่ลาวกำลังจะรุกตลาดจริงจังในปีหน้า ส่วนพม่ายังรอ ดูความพร้อมของกฎเกณฑ์ต่างๆ แต่มองตลาดมีศักยภาพ”
- รายย่อยหัวหอกลุยประกันรถชูขายผ่านแบงก์/เป้าโต 30%
อย่างไรก็ดี การรุกประกันภัยรถจะเน้นขยายรายย่อยเป็นหลัก โดย “ดร.อภิสิทธิ์ อนันตนาถรัตน” ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ กล่าวว่า ตลาดรายย่อยปีหน้า ตั้งเป้าเติบโตตามประกันภัยรถยนต์ที่วางไว้ 30% โดยจะเน้นการขายประกันภัยรถยนต์ในทุกช่องจำหน่าย ไม่ว่าจะเป็นแบงก์แอสชัวรันส์ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงเทพจะเน้นมากขึ้น จากปัจจุบันขายประกันภัยพ.ร.บ. รวมไปถึงประกันภัย 2 พลัส บวกน้ำท่วม และประกันชั้น 1 ยอดขายค่อนข้างดี ก็จะปรับกระบวนการให้เต็มรูปแบบ
รวมไปถึงการขายผ่านโทรศัพท์ (เทเลมาร์เก็ตติ้ง) ที่มีพันธมิตรหลักอย่างทีคิวเอ็มอินชัวรันส์โบรคเกอร์ทำตลาด ให้ และที่บริษัททำเองเพื่อบริการลูกค้าธนาคารกรุงเทพ รวม ทั้งช่องทางจำหน่ายใหม่ๆ เช่น การขายประกันออนไลน์ ผ่านห้างเสมือนจริง Ubermall การขายผ่านเว็บไซต์บริษัท ที่เติบโตได้ดี ซึ่งคาดว่าเมื่อระบบ 3G เปิดบริการได้ดีขึ้น ช่องทางเหล่านี้จะเติบโตได้ดีขึ้นตามพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ ของลูกค้า โดยคาดว่าปีหน้าช่องทางออนไลน์จะเติบโตกว่า เท่าตัวจากปีนี้ที่น่าจะได้เบี้ย 25 ล้านบาท รวมไปถึง Care Station ในห้างสรรพสินค้าที่ปีหน้าจะเติบโตจากปีนี้เท่าตัว หรือมีเบี้ยหรือมีเบี้ย 200 ล้านบาท
-จบ-
Re: กิจการไทยทำ M&A น้อยไปหรือเปล่า
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 21, 2013 4:03 pm
โดย pak
'เจริญ'กว้านซื้อเอฟแอนด์เอ็นรวม40.45%
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, วันที่ 20 มกราคม 2556 09:12
กลุ่ม"เจริญ"เพิ่มเสนอซื้อ"เอฟแอนด์เอ็น"เป็นหุ้นละ 9.55ดอลลาร์สิงคโปร์ หลังกว้านซื้อเพิ่มมาได้อีก90.8 ล้านหุ้นเมื่อ18.ค. ทำให้หุ้นเพิ่ม40.45
ศึกชิงเอฟแอนด์เอ็นดุเดือดขึ้นอีกครั้งเมื่อกลุ่มของ นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ได้เพิ่มข้อเสนอซื้อบริษัทเฟรเซอร์แอนด์นีฟ (เอฟแอนด์เอ็น) ซึ่งเป็นบริษัทด้านอสังหาริมทรัพย์และเครื่องดื่มของสิงคโปร์ ขึ้นเป็นจำนวนเกือบ 11,300 ล้านดอลลาร์ เพื่อต่อกรกับข้อเสนอซื้อจากบริษัทโอเวอร์ซียูเนียนเอนเตอร์ไพรส์ (โอยูอี) ของนายสตีเฟน ไรอาดี มหาเศรษฐีอินโดนีเซีย
บริษัททีซีซีแอสเซตต์ของนายเจริญ เพิ่มข้อเสนอซื้อเอฟแอนด์เอ็นจาก 8.88 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อหุ้น เป็นหุ้นละ 9.55 ดอลลาร์สิงคโปร์ สูงกว่าข้อเสนอซื้อของโอยูอีที่ราคาหุ้นละ 9.08 ดอลลาร์สิงคโปร์ ส่วนราคาเสนอซื้อรวมนั้นอยู่ที่ 13,750 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (330,000 ล้านบาท) สูงกว่าข้อเสนอของกลุ่มบริษัทโอยูอีที่ยื่นเสนอซื้อแข่งเมื่อกลางเดือน พ.ย.ที่ผ่านมาในราคา 13,100 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (314,400 ล้านบาท)
การเพิ่มข้อเสนอซื้อของนายเจริญมีขึ้นหลังจากสภาอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นผู้ดูแลกฎระเบียบของสิงคโปร์ระบุว่า หากผู้เสนอซื้อทั้งสองรายไม่ยื่นข้อเสนอสุดท้ายภายในวันอาทิตย์ (20 ม.ค.) จะเปิดให้มีการประมูลอย่างเป็นทางการในวันที่ 21 ม.ค.นี้
นายเดวิด สมิธ หัวหน้าฝ่ายบรรษัทภิบาลแห่งบริษัทอาเบอร์ดีนแอสเซตต์แมเนจเมนต์เอเชีย กล่าวว่า ไม่เคยมีเหตุการณ์ที่ต้องจัดให้มีการประมูลในสิงคโปร์มาก่อนเลย
การออกกฎของสภาอุตสาหกรรมหลักทรัพย์มีขึ้นหลังจากศึกเสนอซื้อเอฟแอนด์เอ็นยืดเยื้อมาตั้งแต่เดือน ก.ค.ปีที่แล้ว เมื่อกลุ่มของนายเจริญซื้อหุ้น 22% ของเอฟแอนด์เอ็นจากกลุ่มโอซีบีซีของสิงคโปร์
กลุ่มเจริญซื้อหุ้นเพิ่มได้อีก 6.3%
ล่าสุดเมื่อวันศุกร์ (18 ม.ค.) กลุ่มของนายเจริญได้หุ้นเอฟแอนด์เอ็นเพิ่มได้อีก 90.8 ล้านหุ้น หรือ 6.3% ในราคาหุ้นละ 9.55 ดอลลาร์สิงคโปร์ ทำให้กลุ่มของนายเจริญมีหุ้นในเอฟแอนด์เอ็นเพิ่มเป็น 40.45% ทั้งนี้รวมการยอมรับของผู้ถือหุ้นจำนวนหนึ่งที่ขายหุ้นให้ก่อนหน้านี้ในราคาหุ้นละ 8.88 ดอลลาร์สิงคโปร์ อันเป็นราคาเสนอซื้อเดิม
การเดินเกมของกลุ่มนายเจริญก่อให้เกิดแรงกดดันแก่กลุ่มบริษัทภายใต้การนำของโอยูอีที่จะต้องเคลื่อนไหวรับมือ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของการยื่นข้อเสนอสุดท้าย หรือถอนตัวออกจากการเสนอซื้อนี้ไป
การเพิ่มข้อเสนอซื้อของกลุ่มนายเจริญไม่มีแนวโน้มจะทำให้การประมูลต้องเลื่อนออกไป เว้นแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขอถอนตัว แต่ในกรณีที่สองฝ่ายยังเสนอซื้อแข่งกันอยู่ ก็จะนำไปสู่การประมูล ซึ่งทั้งสองฝ่ายต้องปรับข้อเสนอใหม่เป็นเงินสด และต้องไม่มีการกำหนดเงื่อนไขพ่วงท้ายไปด้วย จนกว่าข้อเสนอประมูลจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเป็นที่ยอมรับ หรือจนกว่าคณะกรรมการดูแลตลาดหลักทรัพย์จะยื่นมือเข้ามาอีก
จับตามาตรการรับมือโอยูอี
เอฟแอนด์เอ็นซึ่งกลุ่มของนายเจริญและโอยูอีกำลังแย่งกันเข้าถือครองอยู่นี้ เป็นบริษัทที่มีอายุเก่าแก่ถึง 130 ปี และมีสินทรัพย์ด้านอสังหาริมทรัพย์มูลค่ากว่า 8,000 ล้านดอลลาร์ รวมถึงธุรกิจเครื่องดื่ม นมเนย และสิ่งพิมพ์
บริษัทภายใต้การนำของโอยูอีที่ร่วมเสนอซื้อแข่งกับนายเจริญนั้น รวมถึงกองทุนบริหารความเสี่ยงฟารัลลอนแคปิตอลแมเนจเมนต์ของสหรัฐ และบริษัทนูนเดย์โกลบอลแมเนจเมนต์ ซึ่งแหล่งข่าวเผยว่ากลุ่มบริษัทดังกล่าวได้ใช้เวลาเมื่อคืนวันศุกร์ (18 ม.ค.) หารือท่าทีต่อไปว่าควรดำเนินการอย่างไร เพราะขณะนี้แรงกดดันตกอยู่กับบริษัทโอยูอีที่จะต้องยื่นข้อเสนอซื้อในระดับราคาที่สูงกว่ากลุ่มของนายเจริญ
ก่อนหน้านี้ แหล่งข่าวเผยว่ากลุ่มโอยูอีพร้อมจะสู้ในระยะยาว จนกว่าฝ่ายไทยจะเพิ่มข้อเสนอซื้อขึ้นสูงจนสู้ไม่ไหว
ทั้งนี้ สภาอุตสาหกรรมหลักทรัพย์สิงคโปร์ซึ่งดูแลด้านการเข้าถือครองกิจการ มีสมาชิก 16 คน ส่วนใหญ่มาจากภาคเอกชน รวมถึงผู้แทนภาคอุตสาหกรรม ผู้เชี่ยวชาญภาคการเงิน และผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย
การต่อสู้ไปจนถึงขั้นของการประมูลนั้น คล้ายคลึงกับการหาทางออกในกรณีของบริษัทรอยัลดัชท์เชลล์ กับ ปตท.สผ.ของไทย ที่เสนอซื้อบริษัทโคฟเอนเนอร์จี และ ปตท.สผ.ชนะไปในที่สุด
ส่วนในกรณีนี้เป็นการต่อสู้กันระหว่างนายเจริญ ซึ่งนิตยสารฟอร์บส์ของสหรัฐระบุว่ามีทรัพย์สิน 6,200 ล้านดอลลาร์ กับ นายไรอาดี ประธานบริษัทโอยูอีและประธานกลุ่มบริษัทลิปโปของอินโดนีเซีย
หุ้นเอฟแอนด์เอ็นพุ่งแตะ9.58ดอลล์
ศึกเสนอซื้อเอฟแอนด์เอ็นถือเป็นมหากาพย์ที่ยืดเยื้อ โดยกลุ่มของนายเจริญได้เลื่อนเส้นตายมาแล้ว 7 ครั้ง ส่วนบริษัทโอยูอีเลื่อนเส้นตายมา 2 ครั้ง ซึ่งการเลื่อนเส้นตายหลายต่อหลายครั้งนี้ถือเป็นการทดสอบความอดทนของผู้ถือหุ้นเอฟแอนด์เอ็น
ก่อนหน้านี้ เจพีมอร์แกน ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระของเอฟแอนด์เอ็น กล่าวว่าจากการประเมินมูลค่าของเอฟแอนด์เอ็น ราคาน่าจะอยู่ที่หุ้นละ 8.58-11.56 ดอลลาร์สิงคโปร์ ขณะที่ล่าสุดราคาหุ้นเอฟแอนด์เอ็นในตลาดหุ้นสิงคโปร์ซื้อขายที่หุ้นละ 9.58 ดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งหมายความว่าข้อเสนอซื้อล่าสุดจากกลุ่มของนายเจริญนั้น ยังต่ำกว่าราคาปิดตลาดของหุ้นเอฟแอนด์เอ็นเมื่อวันศุกร์ (18 ม.ค.) ที่ระดับ 9.58 ดอลลาร์สิงคโปร์
กองทุนบริหารความเสี่ยงได้พากันเข้าซื้อหุ้นของเอฟแอนด์เอ็น หลังจากราคาหุ้นไต่ระดับสูงกว่าข้อเสนอที่นายเจริญไปยื่นไปในตอนแรก เพราะคาดหมายว่าจะเกิดสงครามเสนอซื้อที่ยืดเยื้อ
คิรินโฮลดิงส์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับ 2 ของเอฟแอนด์เอ็นด้วยจำนวนหุ้น 14.8% ได้สนับสนุนข้อเสนอซื้อของโอยูอีอย่างมีเงื่อนไข โดย คิรินโฮลดิงส์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตเบียร์ของญี่ปุน จะเสนอซื้อธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มของเอฟแอนด์เอ็นเป็นเงิน 2,700 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หากกลุ่มโอยูอีประสบความสำเร็จในการเสนอซื้อเอฟแอนด์เอ็น
เจพีมอร์แกนประเมินว่าธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มของเอฟแอนด์เอ็นมีมูลค่าประมาณ 1,880-3,820 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์
"เจริญ"หวังใช้เอฟแอนด์เอ็นขยายธุรกิจ
นักวิเคราะห์มองว่าหากนายเจริญสามารถเสนอซื้อเอฟแอนด์เอ็นเป็นผลสำเร็จ เขาน่าจะใช้เครือข่ายจัดจำหน่ายของเอฟแอนด์เอ็นในสิงคโปร์และมาเลเซียเป็นช่องทางในการจำหน่ายสินค้าต่างๆ ของเขา รวมถึงนำสินค้ายี่ห้อต่างๆ ของเอฟแอนด์เอ็นเข้าไปจำหน่ายในไทย ซึ่งกลุ่มบริษัทของนายเจริญเป็นผู้นำในหลายด้านอยู่แล้ว
บริษัทไทยเบเวอเรฟของนายเจริญเป็นผู้ผลิตเบียร์ช้าง ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดในแง่ยอดขายเป็นอันดับ 2 ในไทย นอกจากนั้นเขายังมีธุรกิจผลิตสุรา เครื่องดื่มบำรุงกำลัง และกาแฟสำเร็จรูป อีกทั้งนายเจริญยังมีอาณาจักรอสังหาริมทรัพย์ในชื่อบริษัททีซีซีแลนด์
ทั้งนี้ เอฟแอนด์เอ็นเป็นผู้นำในตลาดเครื่องดื่มน้ำอัดลมในมาเลเซียและสิงคโปร์ ด้วยส่วนแบ่งตลาด 31.3% ในมาเลเซีย และ 21.4% ในสิงคโปร์
เอฟแอนด์เอ็นตกเป็นเป้าหมายของการเข้าถือครองกิจการเมื่อเดือน ก.ย.2555 หลังจากขายบริษัทเอเชียแปซิฟิกบริวเวอรีส์ ผู้ผลิตเบียร์ไทเกอร์ ให้แก่ไฮเนเก้น แต่การเสนอซื้อเอฟแอนด์เอ็นก็ยืดเยื้อมาหลายเดือน เพราะทั้งสองฝ่ายต่างเลื่อนเส้นตายในการยื่นข้อเสนอสุดท้าย จนในที่สุดสภาอุตสาหกรรมหลักทรัพย์สิงคโปร์ต้องกำหนดวันประมูล ด้วยเหตุผลว่านักลงทุนต้องการความแน่นอนเกี่ยวกับข้อเสนอซื้อ โดยที่ผ่านมาผู้ถือหุ้นของเอฟแอนด์เอ็นมีท่าทีไม่กระตือรือร้นต่อข้อเสนอซื้อทั้งจากกลุ่มนายเจริญและบริษัทโอยูอี เพราะหวังว่าจะมีการเพิ่มข้อเสนอซื้อในที่สุด
โอยูอีเล็งขึ้นบ.อสังหาฯเบอร์1สิงคโปร์
ในส่วนของโอยูอีซึ่งมีธุรกิจในสิงคโปร์นั้น หากประสบความสำเร็จในการเสนอซื้อเอฟแอนด์เอ็น ก็อาจแปลงโฉมบริษัทให้กลายเป็นผู้พัฒนาที่อยู่อาศัยอันดับ 1 ของสิงคโปร์ นอกจากนั้น ยังสามารถขยายอาณาจักรไปต่างประเทศ เพราะเอฟแอนด์เอ็นบริหารอพาร์ตเมนต์เพื่ออยู่อาศัยหลายพันแห่งในเมืองใหญ่อย่างลอนดอน ปารีส ดูไบ อีกทั้งพอร์ตอสังหาริมทรัพย์ของเอฟแอนด์เอ็น ยังรวมถึงห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน และนิคมอุตสาหกรรมไฮเทคในสิงคโปร์ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น
นายไรอาดี เคยกล่าวว่า สินทรัพย์ทั้งหลายของเอฟแอนด์เอ็นล้วนเป็นสินทรัพย์ดี และสอดรับอย่างมากกับสินทรัพย์ของโอยูอี
แหล่งข่าวเผยว่า เครดิตสวิสและแบงก์ออฟอเมริกาเมอร์ริลลินช์ทำหน้าที่รับประกันเงินกู้ระยะสั้นสำหรับข้อเสนอซื้อของโอยูอี นอกจากนั้น ซีไอเอ็มบีก็ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่โอยูอีด้วย
สถาบันวิจัยเรลิแกร์ระบุว่าหากโอยูอีเสนอซื้อสำเร็จ บัญชีของบริษัทจะดีขึ้นมาก และมูลค่าสินทรัพย์จะเพิ่มขึ้น 22% แต่ข้อเสนอของโอยูอีต่ำกว่ามูลค่าหน้าตั๋ว 30% และโอยูอีอาจเพิ่มข้อเสนอซื้อเป็นหุ้นละ 10.30 ดอลลาร์สิงคโปร์