ส่งออกกุ้ง กระทบหนัก หลัง EU ไม่ให้สิทธิพิเศษทางภาษี

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
โป้ง
Verified User
โพสต์: 2326
ผู้ติดตาม: 0

ส่งออกกุ้ง กระทบหนัก หลัง EU ไม่ให้สิทธิพิเศษทางภาษี

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ส่งออกกุ้งสูญเงิน2หมื่นล้าน หลังอียูกลับลำเลื่อนแผนคืนจีเอสพีไทย 'ทนง'ยอมรับสภาพ
ไร้มาตรการตอบโต้

รมว.พาณิชย์ยอมรับต้องเคารพกติกาโลก ยืนยันยังไม่มีมาตรการตอบโต้
ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยแนะรัฐบาลและผู้ประกอบการต้องเร่งพัฒนาคุณภาพและ
เจาะตลาดใหม่เพื่อชดเชย

นายทนง พิทยะ รมว.พาณิชย์ กล่าวถึงกรณีที่สหภาพยุโรป(อียู)พิจารณาเลื่อนคืนสิทธิ
พิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) แก่ไทย เป็นวันที่ 1 มกราคม 2549 ว่าคงจะไม่ประกาศตอบโต้
อะไร เพราะไม่ใช่สิ่งที่ประเทศใดต้องการได้และจะต้องให้สิทธินั้น ๆ แต่ยอมรับว่าไทยเสียใจที่
อียูรับปากว่าจะพยายามเร่งให้ปัญหานี้จบภายในเดือนเมษายน 2548 และมีผลบังคับใช้เดือน
กรกฎาคมนี้ แต่พอถึงเวลากลับเลื่อนไป 1 มกราคม 2549 ทำให้เกษตรกร ผู้เลี้ยงกุ้งของไทยต้อง
รอไปอีก 6 เดือน
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการพิจารณาชะลอการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยจากสหภาพยุโรป หรือ
ไม่ นายทนงกล่าวว่า ไม่ขอพูดรายละเอียด เพราะไม่ถูกต้องที่จะไปตอบโต้ เราต้องเคารพกติกา
ของโลก ส่วนกรณีที่นายกรัฐมนตรีระบุว่าจะไม่ให้คนไทยซื้อรถเบนซ์และรถบีเอ็มฯ นั้นถือเป็น
ความรู้สึกว่าทำไม แค่นี้ช่วยเราไม่ได้ อย่างน้อยก็เป็นการแสดงความรู้สึกเสียใจที่เขาช่วยเราไม่

ได้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า การที่อียูเลื่อนการคืนสิทธิจีเอสพีออกไปเป็นต้นปี 2549 จะส่ง
ผลกระทบทำให้มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยในปี 2548 ลดลงเหลือเพียง 1,280 ล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับปี 2547 ลดลง 21.9% จากที่เคยคาดการณ์มูลค่าการส่งออก
ผลิตภัณฑ์กุ้งในช่วงต้นปี 2548 ว่าจะส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งได้เท่ากับ 1,803 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
หรือเพิ่มขึ้น 10% เท่ากับว่ามูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยในปี 2548 หายไปถึง 523
ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 20,000 ล้านบาท
ขณะที่คาดการณ์ว่าการพิจารณางดการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดผลิตภัณฑ์กุ้งใน
สหรัฐ เป็นการชั่วคราวจะมีการประกาศเดือนตุลาคม 2548 จะไม่มีผลต่อการกระตุ้นการส่งออก
ผลิตภัณฑ์กุ้งช่วงปลายปี 2548 เนื่องจากการสั่งซื้อต้องสั่งล่วงหน้า 2-3 เดือน
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาการแข่งขันในการส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยในตลาดส่ง
ออกหลักไม่ว่าจะเป็นสหรัฐ อียู และญี่ปุ่น ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยต้องเผชิญกับปัญหาการ
แข่งขันที่รุนแรง ทั้งจากคู่แข่งขันรายเดิมและรายใหม่ที่หันมาเลี้ยงกุ้งเพื่อการส่งออก ดังนั้น ทั้ง
รัฐบาลและผู้ประกอบการในธุรกิจผลิตภัณฑ์กุ้งต้องเร่งปรับประสิทธิภาพการผลิตเพื่อทำให้ต้นทุน
การผลิตกุ้งของไทยลดลงเนื่องจากประเทศผู้นำเข้ากุ้งมีทางเลือกในการนำเข้ามากขึ้น ดังนั้น จึง
พิจารณาถึงราคาเป็นปัจจัยเบื้องต้นในการนำเข้า
นอกจากนี้ต้องเร่งเจาะขยายตลาดโดยการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของแต่ละตลาด
เพื่อหาทางผลิตผลิตภัณฑ์กุ้งให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้งการหาตลาดส่ง
ออกใหม่ๆ โดยตลาดที่น่าสนใจคือ แคนาดา เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย รวมถึงประเทศต่างๆ ในตะวัน
ออกกลาง ซึ่งปัจจุบันไทยส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งไปยังประเทศเหล่านี้บ้างแล้วแต่ยังมีสัดส่วนการส่ง
ออกไม่มากนัก เพื่อช่วยให้ปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งขยายตัว ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ช่วยทำ
ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในประเทศอยู่รอด เนื่องจากปริมาณการส่งออกกุ้ง นั้นคิดเป็น 70% ของ
ปริมาณการผลิตกุ้งทั้งหมด ส่วนการกระตุ้นการบริโภคกุ้งในประเทศให้เพิ่มขึ้นนั้นก็เป็นอีกแนว
ทางหนึ่งที่น่าจะส่งผลให้ราคากุ้งภายในประเทศมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้นได้บ้าง

ที่มา : น.ส.พ.แนวหน้า
งด เลิก เสพ สุรา บุหรี่ วันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีของท่าน
ล็อคหัวข้อ