MD หรือ เจ้าของ บ. จดทะเบียนเกือบทุก บ. เก่งทุกคนหรือไม่ครับ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ย. 30, 2005 12:40 am
ผมมีโอกาสได้ไปพบ ฟังและพูดคุยกับเจ้าของบริษัท หรือ MD ของบริษัทจดทะเบียนหลายบริษัทในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา
หรือฟังเพื่อนๆ ที่ได้ไปพบเจ้าของบริษัทต่างๆ และมาเล่าให้ฟัง
หรือจากการได้อ่านใน web นี้
ก็พบสิ่งที่คล้ายกันก็คือ รู้สึกว่า MD หรือเจ้าของบริษัทจำนวนมากหรือเกือบทั้งหมด เป็นผู้บริหารที่เก่ง ตอบคำถามดี พูดเก่ง มีวิสัยทัศน์ ฟังแล้วประทับใจ กลับมาอยากซื้อหุ้นทันที บางบริษัทไปฟังแล้วเคลิ้มน้ำตาแทบไหลออกมาและอยากจะลุกไปห้องน้ำเพื่อสั่งซื้อหุ้นทันที
ผลลัพธ์ก็คือ หลายบริษัทที่ไปฟัง ก็มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นและทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นด้วย ทำให้เราได้รับประโยชน์จากการได้ไปพบบริษัท แต่มีบริษัทจำนวนไม่น้อย ที่ตรงกันข้าม คือ การไปคุยทำให้ยิ่งมั่นใจ ยิ่งซื้อเพิ่ม ก็ยิ่งขาดทุนมากขึ้น
ทำให้ผมกลับมาคิดในสิ่งที่ผมเคยคิดไว้คือ ผมเชื่อว่าเจ้าของบริษัทที่สามารถสร้างบริษัทได้เติบใหญ่ในระดับพอที่จะนำเข้าตลาดหุ้นได้ ก็คงจะต้องมีความสามารถพอสมควร หรือ MD ที่เป็นลูกจ้าง ซึ่งหากสามารถไต่เต้าจากการเป็นลูกจ้างมาเป็น MD ก็คงจะต้องมีความสามารถพอสมควร จึงไม่แปลกว่าเราจะรู้สึกว่าผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่จะเก่งกันทั้งนั้น
และเรื่องการพูด การตอบคำถาม คงต้องยอมรับว่าหลายธุรกิจ อุตสาหกรรม ที่ลูกค้าไม่ใช่ end user เจ้าของหรือ MD เป็นคนติดต่อลูกค้าเอง หรืออย่างน้อยก็เคยทำมาก่อน ดังนั้นทักษะการพูด การเจรจาของคนเหล่านี้ กินขาดครับ
ผมเชื่อว่าหากเราได้ไปคุยกับ MD ของบริษัทที่เรารู้สึกว่าไม่ดี หรือไม่น่าลงทุน หากเราไปโดยความรู้เกี่ยวกับบริษัทนั้นๆ เป็น 0 อาจจะรู้สึกว่าเค้าเก่ง มีวิสัยทัศน์ และน่าลงทุนในหุ้นตัวนั้นๆ แต่จริงๆ แล้วบริษัทนั้นๆ ก็ไม่น่าลงทุนอยู่ดี
ดังนั้น สิ่งที่ผมอยากศึกษาก็คือ มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ผู้บริหารหรือเจ้าของบริษัทที่เรารู้สึกว่าเก่ง มีวิสัยทัศน์ มีความแตกต่างกันในระยะยาวๆ
ผู้บริหารหลายคนอาจจะเก่งกับการสร้างธุรกิจจากเล็กมากลาง ซึ่งเพียงพอที่จะเข้าตลาดฯ ได้ แต่พอจะสร้างจากกลางมาเป็นขนาดใหญ่ หรือทำให้เติบโตสม่ำเสมอ กลับพบปัญหามากมาย และก็ไม่สามารถทำได้ และผู้บริหารหลายคนอาจจะสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น
การนำเข้าหุ้นเข้าตลาดฯ ยังไงก็ทำให้เจ้าของกำไรอยู่แล้ว เพราะทุกบริษัทก็ IPO สูงกว่าราคาพาร์ และหลายบริษัทก็ปันผลออกไปเยอะมากแล้วก่อน IPO ทำให้เจ้าของบริษัทไม่มีต้นทุนเหลือแล้ว ดังนั้นเข้าตลาดฯ มาแล้วหุ้นจะลง เจ้าของก็กำไรอยู่ดี แต่เราในฐานะผู้ถือหุ้น เข้ามาทีหลัง เราก็ต้องหวังว่ากำไรของบริษัทนั้นๆ จะต้องดีขึ้นหลัง IPO เพื่อผลักดันให้ราคาหุ้นขึ้นจากราคาจองหรือราคาปิดวันแรกได้ ดังนั้นหากผู้บริหารคนนั้นเก่งในลักษณะสร้างธุรกิจจากเล็กมากลางได้ แต่ไม่สามารถสร้างจากกลางมาใหญ่ได้ หรือไม่สามารถรักษาสถานภาพไม่ให้ตกต่ำได้ ผู้ถือหุ้นก็จะขาดทุนจากการลงทุน
เหตุผลที่ผมเชื่อว่าเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่เคยฟังมาก็คือ ผู้บริหารหรือเจ้าของบางคนทำงานแบบ one man show คือ ทำทุกอย่างที่สำคัญในองค์กรเองเกือบหมด ไม่มอบหมายงานสำคัญให้ลูกน้อง หรือเจ้าของขาดทักษะการบริหารคนในองค์กรที่ดีพอ หรือขาดการสร้างระบบงานภายในบริษัทที่จะช่วยรองรับการขยายตัวขององค์กรได้ หรือการละเลยความสำคัญของ back office ทำให้องค์กรเกิดคอขวด
ผมจึงอยากให้เพื่อนๆ ช่วยให้ความเห็นในหัวข้อนี้นะครับจากประสบการณ์ที่เพื่อนๆ ได้พบเจอมาครับ ว่าอะไรที่ทำให้ผู้บริหารที่เราไปฟัง ไปคุยแล้วรู้สึกว่าเค้าเก่งมากไม่ประสบความสำเร็จหลังการนำหุ้นเข้าตลาดเท่าทีควร ขอบคุณมากครับ
หรือฟังเพื่อนๆ ที่ได้ไปพบเจ้าของบริษัทต่างๆ และมาเล่าให้ฟัง
หรือจากการได้อ่านใน web นี้
ก็พบสิ่งที่คล้ายกันก็คือ รู้สึกว่า MD หรือเจ้าของบริษัทจำนวนมากหรือเกือบทั้งหมด เป็นผู้บริหารที่เก่ง ตอบคำถามดี พูดเก่ง มีวิสัยทัศน์ ฟังแล้วประทับใจ กลับมาอยากซื้อหุ้นทันที บางบริษัทไปฟังแล้วเคลิ้มน้ำตาแทบไหลออกมาและอยากจะลุกไปห้องน้ำเพื่อสั่งซื้อหุ้นทันที
ผลลัพธ์ก็คือ หลายบริษัทที่ไปฟัง ก็มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นและทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นด้วย ทำให้เราได้รับประโยชน์จากการได้ไปพบบริษัท แต่มีบริษัทจำนวนไม่น้อย ที่ตรงกันข้าม คือ การไปคุยทำให้ยิ่งมั่นใจ ยิ่งซื้อเพิ่ม ก็ยิ่งขาดทุนมากขึ้น
ทำให้ผมกลับมาคิดในสิ่งที่ผมเคยคิดไว้คือ ผมเชื่อว่าเจ้าของบริษัทที่สามารถสร้างบริษัทได้เติบใหญ่ในระดับพอที่จะนำเข้าตลาดหุ้นได้ ก็คงจะต้องมีความสามารถพอสมควร หรือ MD ที่เป็นลูกจ้าง ซึ่งหากสามารถไต่เต้าจากการเป็นลูกจ้างมาเป็น MD ก็คงจะต้องมีความสามารถพอสมควร จึงไม่แปลกว่าเราจะรู้สึกว่าผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่จะเก่งกันทั้งนั้น
และเรื่องการพูด การตอบคำถาม คงต้องยอมรับว่าหลายธุรกิจ อุตสาหกรรม ที่ลูกค้าไม่ใช่ end user เจ้าของหรือ MD เป็นคนติดต่อลูกค้าเอง หรืออย่างน้อยก็เคยทำมาก่อน ดังนั้นทักษะการพูด การเจรจาของคนเหล่านี้ กินขาดครับ
ผมเชื่อว่าหากเราได้ไปคุยกับ MD ของบริษัทที่เรารู้สึกว่าไม่ดี หรือไม่น่าลงทุน หากเราไปโดยความรู้เกี่ยวกับบริษัทนั้นๆ เป็น 0 อาจจะรู้สึกว่าเค้าเก่ง มีวิสัยทัศน์ และน่าลงทุนในหุ้นตัวนั้นๆ แต่จริงๆ แล้วบริษัทนั้นๆ ก็ไม่น่าลงทุนอยู่ดี
ดังนั้น สิ่งที่ผมอยากศึกษาก็คือ มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ผู้บริหารหรือเจ้าของบริษัทที่เรารู้สึกว่าเก่ง มีวิสัยทัศน์ มีความแตกต่างกันในระยะยาวๆ
ผู้บริหารหลายคนอาจจะเก่งกับการสร้างธุรกิจจากเล็กมากลาง ซึ่งเพียงพอที่จะเข้าตลาดฯ ได้ แต่พอจะสร้างจากกลางมาเป็นขนาดใหญ่ หรือทำให้เติบโตสม่ำเสมอ กลับพบปัญหามากมาย และก็ไม่สามารถทำได้ และผู้บริหารหลายคนอาจจะสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น
การนำเข้าหุ้นเข้าตลาดฯ ยังไงก็ทำให้เจ้าของกำไรอยู่แล้ว เพราะทุกบริษัทก็ IPO สูงกว่าราคาพาร์ และหลายบริษัทก็ปันผลออกไปเยอะมากแล้วก่อน IPO ทำให้เจ้าของบริษัทไม่มีต้นทุนเหลือแล้ว ดังนั้นเข้าตลาดฯ มาแล้วหุ้นจะลง เจ้าของก็กำไรอยู่ดี แต่เราในฐานะผู้ถือหุ้น เข้ามาทีหลัง เราก็ต้องหวังว่ากำไรของบริษัทนั้นๆ จะต้องดีขึ้นหลัง IPO เพื่อผลักดันให้ราคาหุ้นขึ้นจากราคาจองหรือราคาปิดวันแรกได้ ดังนั้นหากผู้บริหารคนนั้นเก่งในลักษณะสร้างธุรกิจจากเล็กมากลางได้ แต่ไม่สามารถสร้างจากกลางมาใหญ่ได้ หรือไม่สามารถรักษาสถานภาพไม่ให้ตกต่ำได้ ผู้ถือหุ้นก็จะขาดทุนจากการลงทุน
เหตุผลที่ผมเชื่อว่าเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่เคยฟังมาก็คือ ผู้บริหารหรือเจ้าของบางคนทำงานแบบ one man show คือ ทำทุกอย่างที่สำคัญในองค์กรเองเกือบหมด ไม่มอบหมายงานสำคัญให้ลูกน้อง หรือเจ้าของขาดทักษะการบริหารคนในองค์กรที่ดีพอ หรือขาดการสร้างระบบงานภายในบริษัทที่จะช่วยรองรับการขยายตัวขององค์กรได้ หรือการละเลยความสำคัญของ back office ทำให้องค์กรเกิดคอขวด
ผมจึงอยากให้เพื่อนๆ ช่วยให้ความเห็นในหัวข้อนี้นะครับจากประสบการณ์ที่เพื่อนๆ ได้พบเจอมาครับ ว่าอะไรที่ทำให้ผู้บริหารที่เราไปฟัง ไปคุยแล้วรู้สึกว่าเค้าเก่งมากไม่ประสบความสำเร็จหลังการนำหุ้นเข้าตลาดเท่าทีควร ขอบคุณมากครับ