กระเป๋าแฟบลามธุรกิจสุขภาพ ร.พ.เอกชนรับสภาพแอดมิต ลด
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ค. 17, 2007 10:14 am
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3897 (3097
กระเป๋าแฟบลามธุรกิจสุขภาพ ร.พ.เอกชนรับสภาพแอดมิตลด
ธุรกิจโรงพยาบาลไม่วายโดนหางเลข ศก. โค้งแรกตัวเลขสะดุด ทั้งในกรุงเทพฯ-ต่างจังหวัด เผยคนไข้หันหน้าไปพึ่งโรงพยาบาลรัฐ-ประกันสังคมแทนการควักกระเป๋าจ่ายแพง ชี้ผู้ป่วยยุคนี้เขียมสุดๆ ไม่อยากนอนโรงหมอ จำนวนคนไข้ในลด เพิ่มน้ำหนักดึงลูกค้า ตปท. หวั่นสถานการณ์ซึมยาว กระตุ้นรัฐเร่งเลือกตั้งฟื้นฟูความเชื่อมั่น
ถึงนาทีนี้ดูเหมือนว่าภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจจะส่งผลกระทบในวงกว้างมากขึ้น และไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจโรงพยาบาลที่หลายๆ คนมองว่าไม่น่าจะมีผลกระทบนักเนื่องจากเป็นเรื่องของความเจ็บป่วยความจำเป็นที่ทั้งคนป่วยและญาติพี่น้องนั้นพร้อมที่จะจ่าย
นายแพทย์บุญ วนาสิน ประธานกรรมการบริหาร โรงพยาบาลปิยะเวท และกรรมการบริหาร โรงพยาบาลธนบุรี แสดงทรรศนะในเรื่องนี้กับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ธุรกิจโรงพยาบาลก็เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ตอนนี้โรงพยาบาลขนาดกลางหลายๆ แห่งเริ่มเห็นภาพการเติบโตที่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
เบนเข็มพึ่ง ร.พ.รัฐ-ประกันสังคม
นายแพทย์บุญกล่าวว่า อย่างกรณีของโรงพยาบาลธนบุรีตอนนี้ตัวเลขก็ลดลงไปบ้างเล็กน้อย และลูกค้าที่ลดลงส่วนหนึ่งก็หันไปใช้บริการจากโรงพยาบาลรัฐแทน หรือบางคนที่อาจจะมีประกันสังคมอยู่ก็จะไปใช้บริการจากส่วนนี้แทน โรงพยาบาลเอกชนขนาดเล็ก-กลางที่พึ่งลูกค้าในประเทศเป็นหลักอาจจะได้รับผลกระทบบ้าง สิ่งที่ทำได้เบื้องต้นในตอนนี้ก็คือการพยายามปรับลดต้นทุนการดำเนินงานต่างๆ ที่ไม่จำเป็นลง
สำหรับปิยะเวทเองที่เน้นจับกลุ่มลูกค้าระดับบนและชาวต่างประเทศ ตอนนี้ลูกค้าไม่ได้ตกลงมาก เนื่องจากกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ แต่ก็ยอมรับว่า จากการที่เกิดเหตุการณ์ระเบิดในบ้านเราหลายๆ ครั้งนั้นก็มีผลทำให้ชาวต่างประเทศส่วนหนึ่งที่กังวลในเรื่องนี้
"ทางออกในเรื่องนี้อีกทางหนึ่งก็คือ ภาครัฐจะต้องรีบฟื้นฟูความเชื่อมั่น ความมั่นใจ ให้กลับมาโดยเร็ว และสิ่งที่จะช่วยได้ก็คือการเร่งให้มีการเลือกตั้งให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากภาวะ เศรษฐกิจยังเป็นเช่นนี้เชื่อว่าในระยะยาวธุรกิจโรงพยาบาลก็จะซึมตามไปด้วย" นายแพทย์บุญกล่าว
ปม ศก.ทำตัวเลขคนไข้ในลด
ขณะที่นายธนา ถิรมนัส รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาดและสนับสนุน โรงพยาบาลพญาไท กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตอนนี้คนไข้ที่เข้ามาใช้บริการกับพญาไทยังเข้ามาใช้บริการอยู่ ในส่วนของคนไข้นอก (OPD) ยังมีการเติบโต แต่จากการติดตามสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ ก็คือ จำนวนการเข้ามาเป็นคนไข้ใน (IPD) ลดลง ยกเว้นกรณีที่เป็นเคสที่ซีเรียสจริงๆ จึงยอมเข้ารับการรักษา (admit) ส่วนโรคหรือเคสที่ไม่ร้ายแรงและเป็นโรคที่รอได้คนไข้ก็จะชะลอไว้ก่อน
พร้อมกันนี้ นายธนายังให้ข้อมูลด้วยว่า ในแง่ของคนไข้ในนั้นตัวเลขลดลงอย่างเห็นได้ชัด คือ ที่ผ่านมาคนไข้โอพีดีมีอัตราการเติบโต 5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา ส่วนคนไข้ไอพีดี -3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
นายธนาย้ำว่า อย่างไรก็ตาม การปรับตัวของเราในเบื้องต้นในตอนนี้หลักๆ จะเป็นการเน้นการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษาโรค ฯลฯ กับคนไข้ เนื่องจากพญาไทนั้นในเรื่องของคุณภาพการรักษาที่ต้องมาเป็นอันดับแรก ขณะเดียวกัน โรงพยาบาลก็ได้หันไปเน้นในแง่ของโรคที่รักษายากๆ มากขึ้น ซึ่งตรงนี้ก็เป็นนโยบายที่ได้เริ่มทำมาตั้งแต่ต้นปี อาทิ เรื่องของโรคที่เกี่ยวกับสมอง ที่พญาไทมีบริการที่ครบวงจร ภาวะที่เกิดขึ้นนี้น่าจะซึมยาวไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้ง
ขณะที่นายชาคริต ศึกษากิจ กรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันยอมรับว่าส่งผลกระทบกับกลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลพอสมควร ซึ่งเริ่มเห็นภาพชัดเจนมาตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา โดยเห็นได้จากจำนวนผู้ป่วยนอกที่เข้ามารับการรักษาและบริการมีจำนวนที่ลดลง เชื่อว่าเนื่องมาจากผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปซื้อยารับประทานเอง และรักษาโรงพยาบาลรัฐบาลมากขึ้น
กระเป๋าแฟบลามธุรกิจสุขภาพ ร.พ.เอกชนรับสภาพแอดมิตลด
ธุรกิจโรงพยาบาลไม่วายโดนหางเลข ศก. โค้งแรกตัวเลขสะดุด ทั้งในกรุงเทพฯ-ต่างจังหวัด เผยคนไข้หันหน้าไปพึ่งโรงพยาบาลรัฐ-ประกันสังคมแทนการควักกระเป๋าจ่ายแพง ชี้ผู้ป่วยยุคนี้เขียมสุดๆ ไม่อยากนอนโรงหมอ จำนวนคนไข้ในลด เพิ่มน้ำหนักดึงลูกค้า ตปท. หวั่นสถานการณ์ซึมยาว กระตุ้นรัฐเร่งเลือกตั้งฟื้นฟูความเชื่อมั่น
ถึงนาทีนี้ดูเหมือนว่าภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจจะส่งผลกระทบในวงกว้างมากขึ้น และไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจโรงพยาบาลที่หลายๆ คนมองว่าไม่น่าจะมีผลกระทบนักเนื่องจากเป็นเรื่องของความเจ็บป่วยความจำเป็นที่ทั้งคนป่วยและญาติพี่น้องนั้นพร้อมที่จะจ่าย
นายแพทย์บุญ วนาสิน ประธานกรรมการบริหาร โรงพยาบาลปิยะเวท และกรรมการบริหาร โรงพยาบาลธนบุรี แสดงทรรศนะในเรื่องนี้กับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ธุรกิจโรงพยาบาลก็เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ตอนนี้โรงพยาบาลขนาดกลางหลายๆ แห่งเริ่มเห็นภาพการเติบโตที่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
เบนเข็มพึ่ง ร.พ.รัฐ-ประกันสังคม
นายแพทย์บุญกล่าวว่า อย่างกรณีของโรงพยาบาลธนบุรีตอนนี้ตัวเลขก็ลดลงไปบ้างเล็กน้อย และลูกค้าที่ลดลงส่วนหนึ่งก็หันไปใช้บริการจากโรงพยาบาลรัฐแทน หรือบางคนที่อาจจะมีประกันสังคมอยู่ก็จะไปใช้บริการจากส่วนนี้แทน โรงพยาบาลเอกชนขนาดเล็ก-กลางที่พึ่งลูกค้าในประเทศเป็นหลักอาจจะได้รับผลกระทบบ้าง สิ่งที่ทำได้เบื้องต้นในตอนนี้ก็คือการพยายามปรับลดต้นทุนการดำเนินงานต่างๆ ที่ไม่จำเป็นลง
สำหรับปิยะเวทเองที่เน้นจับกลุ่มลูกค้าระดับบนและชาวต่างประเทศ ตอนนี้ลูกค้าไม่ได้ตกลงมาก เนื่องจากกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ แต่ก็ยอมรับว่า จากการที่เกิดเหตุการณ์ระเบิดในบ้านเราหลายๆ ครั้งนั้นก็มีผลทำให้ชาวต่างประเทศส่วนหนึ่งที่กังวลในเรื่องนี้
"ทางออกในเรื่องนี้อีกทางหนึ่งก็คือ ภาครัฐจะต้องรีบฟื้นฟูความเชื่อมั่น ความมั่นใจ ให้กลับมาโดยเร็ว และสิ่งที่จะช่วยได้ก็คือการเร่งให้มีการเลือกตั้งให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากภาวะ เศรษฐกิจยังเป็นเช่นนี้เชื่อว่าในระยะยาวธุรกิจโรงพยาบาลก็จะซึมตามไปด้วย" นายแพทย์บุญกล่าว
ปม ศก.ทำตัวเลขคนไข้ในลด
ขณะที่นายธนา ถิรมนัส รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาดและสนับสนุน โรงพยาบาลพญาไท กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตอนนี้คนไข้ที่เข้ามาใช้บริการกับพญาไทยังเข้ามาใช้บริการอยู่ ในส่วนของคนไข้นอก (OPD) ยังมีการเติบโต แต่จากการติดตามสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ ก็คือ จำนวนการเข้ามาเป็นคนไข้ใน (IPD) ลดลง ยกเว้นกรณีที่เป็นเคสที่ซีเรียสจริงๆ จึงยอมเข้ารับการรักษา (admit) ส่วนโรคหรือเคสที่ไม่ร้ายแรงและเป็นโรคที่รอได้คนไข้ก็จะชะลอไว้ก่อน
พร้อมกันนี้ นายธนายังให้ข้อมูลด้วยว่า ในแง่ของคนไข้ในนั้นตัวเลขลดลงอย่างเห็นได้ชัด คือ ที่ผ่านมาคนไข้โอพีดีมีอัตราการเติบโต 5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา ส่วนคนไข้ไอพีดี -3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
นายธนาย้ำว่า อย่างไรก็ตาม การปรับตัวของเราในเบื้องต้นในตอนนี้หลักๆ จะเป็นการเน้นการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษาโรค ฯลฯ กับคนไข้ เนื่องจากพญาไทนั้นในเรื่องของคุณภาพการรักษาที่ต้องมาเป็นอันดับแรก ขณะเดียวกัน โรงพยาบาลก็ได้หันไปเน้นในแง่ของโรคที่รักษายากๆ มากขึ้น ซึ่งตรงนี้ก็เป็นนโยบายที่ได้เริ่มทำมาตั้งแต่ต้นปี อาทิ เรื่องของโรคที่เกี่ยวกับสมอง ที่พญาไทมีบริการที่ครบวงจร ภาวะที่เกิดขึ้นนี้น่าจะซึมยาวไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้ง
ขณะที่นายชาคริต ศึกษากิจ กรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันยอมรับว่าส่งผลกระทบกับกลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลพอสมควร ซึ่งเริ่มเห็นภาพชัดเจนมาตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา โดยเห็นได้จากจำนวนผู้ป่วยนอกที่เข้ามารับการรักษาและบริการมีจำนวนที่ลดลง เชื่อว่าเนื่องมาจากผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปซื้อยารับประทานเอง และรักษาโรงพยาบาลรัฐบาลมากขึ้น