ผมลองอ่านถ้ามีการเพิ่มขนาดกองเรือ เอาเงินจากไหน
โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 26, 2004 9:35 pm
คาเธ่ย์เฮ้าส์- "พรีเซียส" ประกาศแผนขยายกองเรืออีกรอบ หลังระดมทุนซื้อเรือไปแล้ว 5 ลำ ปี 47 ตั้งเป้าซื้อเรือเพิ่มทุกไตรมาส ชี้ถ้าเศรษฐกิจโลกดีมีโอกาสขยายกองเรือเพิ่มเดือนละลำ เผยมั่นใจทำได้ตามเป้า เหตุ "จีดีพี"โลกมีแนวโน้มโต 4% ขณะที่กองเรือทั่วโลกลดลง 38%
นายคาลิด มอยนูดดิร ฮาชิม กรรมการผู้จัดการและกรรมการบริหาร บริษัท พรีเชียส ชิพปิ้งจำกัด (มหาชน) เปิดเผย "สยามธุรกิจ"ถึงแผนธุรกิจปี 2547 ว่า ในปีนี้บริษัทมีแผนขยายกองเรือเพิ่มเติมอีกจำนวนมาก โดยในเบื้องต้นตั้งเป้าหมายว่าจะซื้อเรือในทุกๆไตรมาส แต่ถ้าประเมินสถานการณ์แล้วพบว่า เศรษฐกิจโลกมีการขยายตัวมากกว่าเป้าที่วางไว้บริษัทก็พร้อมที่จะวางเป้าหมายในการขยายกองเรือใหม่ ซึ่งมีโอกาสจะเป็นไปได้ว่าบริษัทอาจจะสั่งซื้อเรือเข้ามาเสริมทุกๆเดือน
ทั้งการขยายกองเรือเพิ่มขึ้นเป็นเพราะเศรษฐกิจโลกมีการขยายตัวในอัตราค่อนข้าง ปี 2546 ที่ผ่านมา จีดีพี ทั่วโลกอยู่ที่ 3.3% ทำให้ปริมาณการค้าขายขยายตัวเพิ่มขึ้น 10% ปี 2547 นี้มีคาดว่า จีดีพี จะโตถึง 4% ส่งผลให้ปริมาณการค้าขายขยายตัวเพิ่มขึ้น 12% ประจวบเหมาะกับอีก 4 ปีข้างหน้าคือ ปี 2551 เรือที่มีอายุการใช้งานครบ 27 ปี จะต้องถูกปลดระวางลงทำให้กองเรือโลกลดลงไปอีก 38% ซึ่งบริษัทเล็งเห็นว่าในอนาคตอาจจะมีความขาดแคลนเรือในการขนส่งสินค้าได้
ทั้งนี้นายคาลิด กล่าวว่า การที่กองเรือที่ถูกปลดระวางลง ขณะที่เศรษฐกิจโลกเติบโตสวนทางกับจำนวนเรือ นับเป็นโอกาสที่ดีในการขยายธุรกิจ โดยปี 2546 ที่ผ่านมาบริษัทได้ปรับโครงสร้างหนี้เพื่อระดมทุนในการจัดซื้อเรือจำนวน 7 ลำ เป็นเงินกว่า 35 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่หลังจากปรับโครงสร้างหนี้แล้วซื้อได้ 5 ลำ เป็นเงิน 54 ล้านเหรียญสหรัฐ และเป็นเรือที่มีอายุน้อยเฉลี่ย 10.6 ปี
เหตุผลที่ซื้อเรือน้อยกว่าเป้าที่ตั้งไว้ เนื่องจากเกิดปัญหาด้านอุปสงค์ คือ หาเรือซื้อเรือที่ดีมีคุณภาพยากขึ้น และมีการโก่งราคากันมากทำให้ราคาเรือถีบตัวสูงขึ้น สำหรับส่วนต่าง 19 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนมาจากการประกอบการที่ได้ผลกำไรติดต่อมาทุกไตรมาส อีกส่วนหนึ่งมาจากแหล่งเงินกู้เพิ่มเติม เป็นสัญญาเงินกู้ดอกเบี้ย 1 ปี ซึ่งยังไม่ต้องจ่ายเงินต้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บริษัทมีสภาพคล่องทางด้านการเงิน ทำให้จำนวนเรือขณะนี้มีทั้งสิ้น 33 ลำ มีระวางรวมกัน 774,058 เดทเวตตัน ซึ่งในสัปดาห์หน้าจะมีการส่งมอบเรือที่เกาสีชัง 1 ลำ และเรือลำนี้มีการเซ็นสัญญาเช่าเพื่อขนส่งสินค้าแล้ว
นายคาลิด กล่าวถึงอุปสรรคของการซื้อเรือว่า ปัจจุบันการซื้อเรือมีอุปสรรค 3 ข้อ ประการแรกติดปัญหาข้อกฎหมายของประเทศไทย ทำให้การซื้อขายเรือยากกว่าประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น ประการที่สอง ขาดแคลนแหล่งเงินทุน ถึงแม้ธนาคารพาณิชย์จะปล่อยกู้ แต่ก็อัตราดอกเบี้ยสูง ดังนั้นรัฐบาลควรจัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ เช่น จัดตั้งกองทุนพาณิชยนาวี ซึ่งปล่อยกู้และเก็บดอกเบี้ยในอัตราต่ำ ประการที่ 3 น่าจะมีการทบทวนภาษีการซื้อขายเรือ (Sale Tax) ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการซื้อขายเรือ
นายคาลิด มอยนูดดิร ฮาชิม กรรมการผู้จัดการและกรรมการบริหาร บริษัท พรีเชียส ชิพปิ้งจำกัด (มหาชน) เปิดเผย "สยามธุรกิจ"ถึงแผนธุรกิจปี 2547 ว่า ในปีนี้บริษัทมีแผนขยายกองเรือเพิ่มเติมอีกจำนวนมาก โดยในเบื้องต้นตั้งเป้าหมายว่าจะซื้อเรือในทุกๆไตรมาส แต่ถ้าประเมินสถานการณ์แล้วพบว่า เศรษฐกิจโลกมีการขยายตัวมากกว่าเป้าที่วางไว้บริษัทก็พร้อมที่จะวางเป้าหมายในการขยายกองเรือใหม่ ซึ่งมีโอกาสจะเป็นไปได้ว่าบริษัทอาจจะสั่งซื้อเรือเข้ามาเสริมทุกๆเดือน
ทั้งการขยายกองเรือเพิ่มขึ้นเป็นเพราะเศรษฐกิจโลกมีการขยายตัวในอัตราค่อนข้าง ปี 2546 ที่ผ่านมา จีดีพี ทั่วโลกอยู่ที่ 3.3% ทำให้ปริมาณการค้าขายขยายตัวเพิ่มขึ้น 10% ปี 2547 นี้มีคาดว่า จีดีพี จะโตถึง 4% ส่งผลให้ปริมาณการค้าขายขยายตัวเพิ่มขึ้น 12% ประจวบเหมาะกับอีก 4 ปีข้างหน้าคือ ปี 2551 เรือที่มีอายุการใช้งานครบ 27 ปี จะต้องถูกปลดระวางลงทำให้กองเรือโลกลดลงไปอีก 38% ซึ่งบริษัทเล็งเห็นว่าในอนาคตอาจจะมีความขาดแคลนเรือในการขนส่งสินค้าได้
ทั้งนี้นายคาลิด กล่าวว่า การที่กองเรือที่ถูกปลดระวางลง ขณะที่เศรษฐกิจโลกเติบโตสวนทางกับจำนวนเรือ นับเป็นโอกาสที่ดีในการขยายธุรกิจ โดยปี 2546 ที่ผ่านมาบริษัทได้ปรับโครงสร้างหนี้เพื่อระดมทุนในการจัดซื้อเรือจำนวน 7 ลำ เป็นเงินกว่า 35 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่หลังจากปรับโครงสร้างหนี้แล้วซื้อได้ 5 ลำ เป็นเงิน 54 ล้านเหรียญสหรัฐ และเป็นเรือที่มีอายุน้อยเฉลี่ย 10.6 ปี
เหตุผลที่ซื้อเรือน้อยกว่าเป้าที่ตั้งไว้ เนื่องจากเกิดปัญหาด้านอุปสงค์ คือ หาเรือซื้อเรือที่ดีมีคุณภาพยากขึ้น และมีการโก่งราคากันมากทำให้ราคาเรือถีบตัวสูงขึ้น สำหรับส่วนต่าง 19 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนมาจากการประกอบการที่ได้ผลกำไรติดต่อมาทุกไตรมาส อีกส่วนหนึ่งมาจากแหล่งเงินกู้เพิ่มเติม เป็นสัญญาเงินกู้ดอกเบี้ย 1 ปี ซึ่งยังไม่ต้องจ่ายเงินต้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บริษัทมีสภาพคล่องทางด้านการเงิน ทำให้จำนวนเรือขณะนี้มีทั้งสิ้น 33 ลำ มีระวางรวมกัน 774,058 เดทเวตตัน ซึ่งในสัปดาห์หน้าจะมีการส่งมอบเรือที่เกาสีชัง 1 ลำ และเรือลำนี้มีการเซ็นสัญญาเช่าเพื่อขนส่งสินค้าแล้ว
นายคาลิด กล่าวถึงอุปสรรคของการซื้อเรือว่า ปัจจุบันการซื้อเรือมีอุปสรรค 3 ข้อ ประการแรกติดปัญหาข้อกฎหมายของประเทศไทย ทำให้การซื้อขายเรือยากกว่าประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น ประการที่สอง ขาดแคลนแหล่งเงินทุน ถึงแม้ธนาคารพาณิชย์จะปล่อยกู้ แต่ก็อัตราดอกเบี้ยสูง ดังนั้นรัฐบาลควรจัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ เช่น จัดตั้งกองทุนพาณิชยนาวี ซึ่งปล่อยกู้และเก็บดอกเบี้ยในอัตราต่ำ ประการที่ 3 น่าจะมีการทบทวนภาษีการซื้อขายเรือ (Sale Tax) ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการซื้อขายเรือ