อยากทราบเงื่อนไข ของการขายหน่วยลงทุนRMF สำหรับการลงทุน ก่อน วันที่ 1 มีนาคม 2551 ว่าสามารถขายRMF ในปีนี้ได้ทั้งหมด หรือ ขายบางส่วน อันไหนจะได้ประโยชน์ มากกว่ากันครับ (เริ่มลงทุนRMF เมื่อปี 2546 ทุกๆปี ไม่เคยเว้นครับ, ส่วนปีที่แล้ว(2551) ซื้อRMF ทั้งหมดก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2551)
ขอบคุณครับ
การขายหน่วยลงทุนRMF สำหรับการลงทุน ก่อน วันที่ 1 มีนาคม 2551
-
- Verified User
- โพสต์: 6427
- ผู้ติดตาม: 1
การขายหน่วยลงทุนRMF สำหรับการลงทุน ก่อน วันที่ 1 มีนาคม 2551
โพสต์ที่ 2
เรื่องวุ่นๆ ของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ - RMF
Posted on Thursday, December 11, 2008
แรกเริ่ม RMF เกิดขึ้นมาเพื่อช่วยเติมเต็มให้กับระบบสวัสดิการดูแลประชากรผู้สูงอายุหลังเกษียณ ที่นับวันจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นทุกที RMF เป็นกองทุนระบบสมัครใจที่ใครๆ ก็ลงทุนได้ ขอเพียงเป็นบุคคลธรรมดาที่มีหน้าที่เสียภาษีก็สามารถใช้ประโยชน์จากการนำเงินลงทุนไปลดหย่อนภาษีได้โดยแลกกับเงื่อนไขที่ต้องลงทุนต่อเนื่องอย่างน้อย 5 ปี และถอนเงินได้หลังอายุ 55 ปี ซึ่งหากมองแค่นี้ RMF ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่ในความเป็นจริง RMF กลับเป็นกองทุนที่ทั้งง่ายในการเข้าใจ และยากต่อการปฏิบัติในเวลาเดียวกัน โดยเฉพาะกรณีการลงทุนที่ไม่เป็นปกติของผู้ลงทุน
ประเด็นข้อสงสัยที่ถกเถียงกันมากในทุกวันนี้มีอยู่ 3 ข้อด้วยกัน คือ
1. การให้สิทธิเงินลงทุนก่อน 1 มีนาคม 2551 ที่ลงทุนครบ 5 ปีแล้วสามารถขายคืนก่อนอายุครบ 55 ปี ได้โดยไม่ถือว่าผิดเงื่อนไข
2. การขยายวงเงินให้สิทธิลดหย่อนเป็นการชั่วคราวจากสูงสุด 15%ของรายได้ไม่เกิน 500,000 บาท เป็นสูงสุด 15%ของรายได้ไม่เกิน 700,000 บาท สำหรับเงินลงทุนระหว่าง ตุลาคมถึงธันวาคม 2551
3. การนับอายุลงทุนต่อเนื่องสำหรับผู้ลงทุนเพิ่มใน RMF ภายหลังการขายคืนหน่วยลงทุนที่ลงทุนไปก่อนหน้า
สิทธิขายคืนก่อนอายุ 55 ปี สำหรับเงินลงทุนก่อน 1 มีนาคม 2551
สาเหตุของสิทธินี้เกิดขึ้นจากปี 2547 ที่มีการแก้ไขกฎการลงทุนใน RMF ให้ยืดหยุ่นมากขึ้น โดยยกเว้นภาษีสำหรับกำไรที่ได้รับจากการขายคืนหน่วยลงทุน (capital gain tax) สำหรับผู้ลงทุนที่อายุไม่ถึง 55 ปี แต่ลงทุนใน RMF ตั้งแต่ครั้งแรกมาต่อเนื่องเกินกว่า 5 ปี อย่างไรก็ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรในครั้งนั้น มีถ้อยคำที่ตีความตามข้อกฎหมายได้ว่าสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้เมื่อลงทุนตั้งแต่ครั้งแรกต่อเนื่องจนครบ 5 ปีบริบูรณ์ โดยไม่ต้องรอจนถึงอายุ 55 ปี และไม่ผิดเงื่อนไขด้านสิทธิทางภาษี ซึ่งผิดวัตถุประสงค์การจัดตั้ง RMF ตั้งแต่เริ่มต้น จึงมีการแก้ไขกฎให้ถูกต้องตามเจตนารมณ์เริ่มต้นคือผู้ลงทุนต้องมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์เสียก่อนจึงจะขายคืนได้โดยไม่ต้องเสียสิทธิทางภาษีที่ได้รับไป (ไม่ต้องคืนภาษีย้อนหลัง) ซึ่งประกาศนี้มีผลบังคับใช้หลังแก้ไขให้ถูกต้อง สำหรับเงินลงทุนตั้งแต่ 1 มีนาคม 2551 เป็นต้นไป ดังนั้นทางการจึงยกประโยชน์ให้กับผู้ลงทุนที่ลงทุนก่อน 1 มีนาคม 2551 เนื่องจากถือว่าเป็นการลงทุนภายใต้ประกาศเดิม จึงเป็นที่มาว่าทำไมเงินลงทุนก่อน 1 มีนาคม 2551 จึงไม่ต้องรอให้ผู้ลงทุนอายุครบ 55 ปีก็ขายคืนได้โดยไม่ผิดเงื่อนไข
อย่างไรก็ตามเงินลงทุนก่อน 1 มีนาคม 2551 ก็ยังจำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่องจนครบ 5 ปีเสียก่อนจึงจะถือว่าไม่ผิดเงื่อนไขการลงทุน สำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการขายคืนหน่วยลงทุนสำหรับเงินที่ลงทุนก่อน 1 มีนาคม 2551 และครบ 5 ปีแล้วตั้งแต่ลงทุนครั้งแรก แนะนำว่าโปรดติดต่อกับบริษัทจัดการสำหรับ RMF ที่ซื้อไว้ก่อนเพื่อความแน่นอนในการดูว่าเงินลงทุนส่วนใดที่ขายคืนได้บ้าง เพื่อจะได้ไม่เสียสิทธิทางภาษีหากขายคืนผิดพลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ลงทุนที่ซื้อ RMF ไว้หลายกองทุนกับหลายบริษัทจัดการ หรือผู้ลงทุนที่สับเปลี่ยนหน่วยลงทุนไปมา เพราะกรณีนี้จะนับยากและอธิบายกับกรมสรรพากรยากมากว่าเงินส่วนใดซื้อก่อน 1 มีนาคม 2551 บ้าง
การให้ขยายวงเงินสิทธิลดหย่อนเป็นการชั่วคราวจาก 500,000 บาท เป็น 700,000 บาท
กรณีนี้เกิดขึ้นจากการที่คณะรัฐมนตรีชุดนายกฯสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 1 ต้องการใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีเพื่อชักจูงให้เกิดการลงทุนใน RMF และ LTF มากขึ้น จึงมีมติ ค.ร.ม. ขยายวงเงินสิทธิลดหย่อนชั่วคราวให้ผู้ลงทุนเป็นพิเศษในปี 2551 โดยขยายวงเงินสูงสุดจากไม่เกิน 500,000 บาท เป็น 700,000 บาท (เมื่อรวมกับกองทุน กบข. และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) สำหรับผู้ที่มีการลงทุนในเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2551 ซึ่งยังคงสิทธิเรื่องสูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ไว้เช่นเดิม ซึ่งทำให้ผู้ที่จะได้ประโยชน์จากมติ ค.ร.ม. ฉบับนี้จะต้องเป็นผู้ที่มีรายได้สูงเกินกว่า 3.3 ล้านบาทต่อปี หากมีรายได้น้อยกว่าจะยังคงติดกฎเรื่องสูงสุดไม่เกิน 15% ของรายได้อยู่ดี
ปัจจุบัน (ขณะเขียนบทความชิ้นนี้) ยังไม่มีประกาศจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องขยายสิทธิลดหย่อนชั่วคราวจาก 500,000 บาท เป็น 700,000 บาท ออกมารองรับมติ ค.ร.ม. จึงยังไม่ถือว่ามติ ค.ร.ม.ที่ออกมามีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย แต่เชื่อว่าจะมีประกาศออกมารองรับในเร็วๆ นี้
สำหรับข้อสงสัยที่ว่าหากมีผู้ลงทุนที่ได้ลงทุนเกิน 500,000 บาทไว้แล้วก่อนเดือนตุลาคม จะนับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างไรนั้น ล่าสุดกรมสรรพากรได้มีข้อสรุปเบื้องต้นออกมาว่าจะให้สิทธินี้สำหรับผู้ที่มีการลงทุนระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2551 นี้เท่านั้น คือหากผู้ลงทุนมีการลงทุนเพิ่มในช่วงระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2551 31 ธันวาคม 2551 นี้ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเท่าใดก็ตาม ผู้ลงทุนจะมีสิทธิที่จะนำเงินค่าซื้อสำหรับปี 2551 นี้ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2551 มานับรวมได้ทั้งหมด โดยสามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนสูงสุดได้ไม่เกิน 700,000 บาท (ดูตัวอย่างประกอบ)
ตัวอย่างการลงทุนใน RMF และ LTF ที่ได้สิทธิลดหย่อนภาษี 700,000 บาท
ตัวอย่างที่1 ปี 2551 มีเงินได้รวม 6 ล้านบาท (เฉลี่ยเดือนละ 5 แสนบาท) ซื้อ RMF เดือน มี.ค. จำนวน 500,000 บาท
แนวทาง ระหว่างเดือน ต.ค. ธ.ค. 2551 สามารถลงทุนเพิ่มเติม โดยได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี อีกจำนวน 200,000 บาท
ตัวอย่างที่2 ปี 2551 มีเงินได้รวม 6 ล้านบาท (เฉลี่ยเดือนละ 5 แสนบาท) ซื้อ RMF เดือน ธ.ค. จำนวน 700,000 บาท
แนวทาง ปีภาษี 2551 สามารถหักค่าลดหย่อนทางภาษีสำหรับเงินลงทุนใน RMF ได้ 700,000 บาท
ตัวอย่างที่3 ปี 2551 มีเงินได้รวม 6 ล้านบาท (เฉลี่ยเดือนละ 5 แสนบาท) ซื้อ RMF เดือน มี.ค. จำนวน 600,000 บาท
แนวทาง ปีภาษี 2551 สามารถหักค่าลดหย่อนทางภาษีสำหรับเงินลงทุนใน RMF ได้เพียง 500,000 บาท
ตัวอย่างที่4 ปี 2551 มีเงินได้รวม 6 ล้านบาท (เฉลี่ยเดือนละ 5 แสนบาท) ซื้อ RMF ในเดือน มี.ค. จำนวน 600,000 บาท และซื้อเพิ่มในเดือน ธ.ค. จำนวน 100,000 บาท
แนวทาง ปีภาษี 2551 สามารถหักค่าลดหย่อนทางภาษีสำหรับเงินลงทุนใน RMF ได้ 700,000 บาท
สำหรับผู้ลงทุนที่ได้ลงทุนเกิน 500,000 บาท ก่อนเดือนตุลาคมนั้น ขอแนะนำให้สอบถามรายละเอียดจากบริษัทจัดการที่ได้ซื้อ RMF อีกครั้งเพื่อความชัดเจนว่าการนับสิทธิลดหย่อนภาษีนั้นจะนับอย่างไร
การนับอายุลงทุนใน RMF เมื่อมีการซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มภายหลังการไถ่ถอน
เรื่องนี้เป็นปัญหาล่าสุดสำหรับ RMF เพราะมีการจัดตั้งมาถึงตอนนี้ก็ 7 ปีแล้ว จึงมีประเด็นว่าผู้ลงทุนที่อายุเกิน 55 ปีบริบูรณ์ และลงทุนต่อเนื่องมาครบ 5 ปีแล้ว ซึ่งสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้โดยไม่เสียสิทธิประโยชน์ด้านภาษี และไม่ต้องเสียภาษีหากมีกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน ในกรณีที่ผู้ลงทุนได้ขายคืนหน่วยลงทุนออกมาแล้ว และยังต้องการลงทุนใน RMF ต่อไปเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษี จะนับอายุการลงทุนอย่างไร สามารถนำเงินลงทุนใหม่ไปลดหย่อนภาษีได้อีกหรือไม่และต้องถือไว้อีกกี่ปี
ล่าสุดกรณีนี้ ภายหลังการหารือร่วมกันระหว่างบริษัทจัดการในธุรกิจกองทุนรวมผ่านสมาคมบริษัทจัดการลงทุน สำนักงาน ก.ล.ต. และกรมสรรพากร ก็มีคำตอบจากกรมสรรพากร เป็นแนวปฏิบัติสำหรับการลงทุนใน RMF กรณีนี้ออกมาแล้วเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยแนวทางการพิจารณาคือ
1. กรณีผู้ลงทุนได้ลงทุนใน RMF จนถึงเกณฑ์ที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีและต่อมาได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนทั้งหมดในคราวเดียว หากผู้ลงทุนได้ลงทุนใหม่ภายหลังการไถ่ถอนดังกล่าว การลงทุนครั้งนี้ ต้องเริ่มนับอายุการลงทุนใหม่ (เป็นปีแรก)
2. กรณีผู้ลงทุน ได้ลงทุนใน RMF จนถึงเกณฑ์ที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี และต่อมาได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนบางส่วน (partial redemption) หากผู้ลงทุนดังกล่าวได้ลงทุนอีกภายหลังการไถ่ถอนนั้น การลงทุนเพิ่มเติมนี้ จะสามารถนับอายุการลงทุนต่อเนื่องจากหน่วยลงทุนที่ยังเหลืออยู่ได้ ก็ต่อเมื่อหน่วยลงทุนที่เหลืออยู่ในแต่ละปีภายหลังการไถ่ถอนบางส่วน มีจำนวนเหลือไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้ที่ได้รับในแต่ละปีหรือมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี และต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน
ปัจจุบันกรมสรรพากรตีความว่า ถ้าผู้ลงทุนขายคืนหน่วยลงทุนออกไปทั้งหมดแล้ว ก็จะต้องเริ่มนับอายุการลงทุนให้ครบ 5 ปีใหม่ เสมือนหนึ่งว่าได้เพิ่งเริ่มลงทุนใน RMF แต่หากจะให้นับอายุต่อเนื่องได้ก็จำเป็นต้องเหลือเงินลงทุนขั้นต่ำทิ้งไว้ใน RMF (คือ 5,000 บาท หรือ 3%ของเงินได้ในแต่และปีแล้วแต่ยอดใดต่ำกว่า) โดยจะนับปีที่มีเงินคงเหลือค้างไว้เป็นปีแรกของการลงทุนขั้นต่ำ 5 ปี ทั้งนี้เงินคงเหลือปีละ 5,000 บาท หรือ 3% ของเงินได้ จะคิดจากต้นทุนตอนซื้อเป็นสำคัญ ไม่ได้ดูจากยอดเงินคงเหลือ ณ ปัจจุบัน หรือต้นทุนเฉลี่ย ซึ่งนั่นหมายความว่า ผู้ลงทุนจะต้องคิดว่าเงินขึ้นต่ำในแต่ละปีที่ต้องคงเหลือนั้นคิดเป็นหน่วยลงทุนที่ต้องคงเหลือไว้จำนวนกี่หน่วยตาม NAV ในปีที่ซื้อ (ดูตัวอย่างประกอบ)
ตัวอย่างการนับอายุลงทุนกรณีขายคืน และลงทุนต่อใน RMF
ตัวอย่างที่1 ซื้อหน่วยลงทุนปีละ 5,000 บาท ทุกวันที่ 1 ก.พ. ในปี 2544, 2545, 2546, 2547 และ 2548 ต่อมาไถ่ถอนหน่วยลงทุนทั้งหมด ในวันที่ 1 ก.พ. 2549 และซื้อหน่วยลงทุนต่อในปี 2550
แนวทาง หน่วยลงทุนที่ซื้อปี 2550 เริ่มนับอายุใหม่ โดยถือเป็นปีแรก
ตัวอย่างที่2 ซื้อหน่วยลงทุนปีละ 5,000 บาท ทุกวันที่ 1 ก.พ. ในปี 2544, 2545, 2546, 2547 และ 2548 ต่อมาไถ่ถอนหน่วยลงทุน ของปี 2544, 2545 ในวันที่ 1 ก.พ. 2549 (ขายจำนวนหน่วยลงทุนที่ได้มาในปี 2544, 2545 ออกไป) และซื้อหน่วยลงทุนต่อในปี 2550
แนวทาง หน่วยลงทุนที่ซื้อปี 2550 สามารถนับอายุการลงทุนต่อเนื่องได้ โดยนับปี 2546 เป็นปีแรก เนื่องจากหน่วยลงทุนที่เหลืออยู่ในปี 2546 ถึง 2548 มีจำนวนเกิน 5,000 บาทต่อปี (หรือ3%ของเงินได้ต่อปี)
ตัวอย่างที่3 ซื้อหน่วยลงทุนปีละ 10,000 บาท ทุกวันที่ 1 ก.พ. ในปี 2544, 2545, 2546, 2547 และ 2548 ต่อมาไถ่ถอนหน่วยลงทุนปีละ 8,000 บาท ในวันที่ 1 ก.พ. 2549 และซื้อหน่วยลงทุนต่อในปี 2550
แนวทาง หน่วยลงทุนที่ซื้อปี 2550 เริ่มนับอายุใหม่ โดยถือเป็นปีแรก เนื่องจากหน่วยลงทุนที่เหลืออยู่ในปี 2544 ถึง 2548 มีจำนวนน้อยกว่า 5,000 บาท ต่อปี (หรือ3%ของเงินได้ต่อปี)
จะเห็นว่าแนวทางที่ออกมาค่อนข้างยากในการยืนยันกับกรมสรรพากรหากไม่มีเอกสารประกอบ ดังนั้นผู้ลงทุนจะมีหน้าที่ต้องเก็บเอกสารหลักฐานการลงทุนไว้เพื่อใช้สิทธิยืนยันกับกรมสรรพากร เนื่องจากกรมสรรพากรมองว่าการไถ่ถอนหน่วยลงทุน หากมีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าเป็นของปีไหน ถือว่าเป็นการไถ่ถอนตามหลักฐานที่นำมาแสดง หากพิสูจน์ไม่ได้ ให้ถือว่าเป็นการไถ่ถอนตามข้อสันนิษฐานของกฎหมาย และยิ่งหากผู้ลงทุนมีการลงทุนกระจายหลายกองทุนหลายบริษัทจัดการ หรือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนไปมายิ่งจำเป็นต้องมีหลักฐานสืบสาวว่าเม็ดเงินลงทุนที่ขายคืนนั้นเป็นเงินลงทุนของปีใดและต้นทุนที่ลงทุนคือเท่าใด หรือถ้าให้ง่ายที่สุดก็คือไม่ต้องขายคืนหน่วยลงทุน RMF จนกว่าจะเกษียณจริงๆ ไม่มีรายได้ ซึ่งไม่ต้องการลงทุนใน RMF เพื่อลดหย่อนภาษีอีกต่อไป
จากคอลัมน์ Funds Corner โดยเสกสรร โตวิวัฒน์ นิตยสาร M&W ธันวาคม 2551
Posted on Thursday, December 11, 2008
แรกเริ่ม RMF เกิดขึ้นมาเพื่อช่วยเติมเต็มให้กับระบบสวัสดิการดูแลประชากรผู้สูงอายุหลังเกษียณ ที่นับวันจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นทุกที RMF เป็นกองทุนระบบสมัครใจที่ใครๆ ก็ลงทุนได้ ขอเพียงเป็นบุคคลธรรมดาที่มีหน้าที่เสียภาษีก็สามารถใช้ประโยชน์จากการนำเงินลงทุนไปลดหย่อนภาษีได้โดยแลกกับเงื่อนไขที่ต้องลงทุนต่อเนื่องอย่างน้อย 5 ปี และถอนเงินได้หลังอายุ 55 ปี ซึ่งหากมองแค่นี้ RMF ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่ในความเป็นจริง RMF กลับเป็นกองทุนที่ทั้งง่ายในการเข้าใจ และยากต่อการปฏิบัติในเวลาเดียวกัน โดยเฉพาะกรณีการลงทุนที่ไม่เป็นปกติของผู้ลงทุน
ประเด็นข้อสงสัยที่ถกเถียงกันมากในทุกวันนี้มีอยู่ 3 ข้อด้วยกัน คือ
1. การให้สิทธิเงินลงทุนก่อน 1 มีนาคม 2551 ที่ลงทุนครบ 5 ปีแล้วสามารถขายคืนก่อนอายุครบ 55 ปี ได้โดยไม่ถือว่าผิดเงื่อนไข
2. การขยายวงเงินให้สิทธิลดหย่อนเป็นการชั่วคราวจากสูงสุด 15%ของรายได้ไม่เกิน 500,000 บาท เป็นสูงสุด 15%ของรายได้ไม่เกิน 700,000 บาท สำหรับเงินลงทุนระหว่าง ตุลาคมถึงธันวาคม 2551
3. การนับอายุลงทุนต่อเนื่องสำหรับผู้ลงทุนเพิ่มใน RMF ภายหลังการขายคืนหน่วยลงทุนที่ลงทุนไปก่อนหน้า
สิทธิขายคืนก่อนอายุ 55 ปี สำหรับเงินลงทุนก่อน 1 มีนาคม 2551
สาเหตุของสิทธินี้เกิดขึ้นจากปี 2547 ที่มีการแก้ไขกฎการลงทุนใน RMF ให้ยืดหยุ่นมากขึ้น โดยยกเว้นภาษีสำหรับกำไรที่ได้รับจากการขายคืนหน่วยลงทุน (capital gain tax) สำหรับผู้ลงทุนที่อายุไม่ถึง 55 ปี แต่ลงทุนใน RMF ตั้งแต่ครั้งแรกมาต่อเนื่องเกินกว่า 5 ปี อย่างไรก็ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรในครั้งนั้น มีถ้อยคำที่ตีความตามข้อกฎหมายได้ว่าสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้เมื่อลงทุนตั้งแต่ครั้งแรกต่อเนื่องจนครบ 5 ปีบริบูรณ์ โดยไม่ต้องรอจนถึงอายุ 55 ปี และไม่ผิดเงื่อนไขด้านสิทธิทางภาษี ซึ่งผิดวัตถุประสงค์การจัดตั้ง RMF ตั้งแต่เริ่มต้น จึงมีการแก้ไขกฎให้ถูกต้องตามเจตนารมณ์เริ่มต้นคือผู้ลงทุนต้องมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์เสียก่อนจึงจะขายคืนได้โดยไม่ต้องเสียสิทธิทางภาษีที่ได้รับไป (ไม่ต้องคืนภาษีย้อนหลัง) ซึ่งประกาศนี้มีผลบังคับใช้หลังแก้ไขให้ถูกต้อง สำหรับเงินลงทุนตั้งแต่ 1 มีนาคม 2551 เป็นต้นไป ดังนั้นทางการจึงยกประโยชน์ให้กับผู้ลงทุนที่ลงทุนก่อน 1 มีนาคม 2551 เนื่องจากถือว่าเป็นการลงทุนภายใต้ประกาศเดิม จึงเป็นที่มาว่าทำไมเงินลงทุนก่อน 1 มีนาคม 2551 จึงไม่ต้องรอให้ผู้ลงทุนอายุครบ 55 ปีก็ขายคืนได้โดยไม่ผิดเงื่อนไข
อย่างไรก็ตามเงินลงทุนก่อน 1 มีนาคม 2551 ก็ยังจำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่องจนครบ 5 ปีเสียก่อนจึงจะถือว่าไม่ผิดเงื่อนไขการลงทุน สำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการขายคืนหน่วยลงทุนสำหรับเงินที่ลงทุนก่อน 1 มีนาคม 2551 และครบ 5 ปีแล้วตั้งแต่ลงทุนครั้งแรก แนะนำว่าโปรดติดต่อกับบริษัทจัดการสำหรับ RMF ที่ซื้อไว้ก่อนเพื่อความแน่นอนในการดูว่าเงินลงทุนส่วนใดที่ขายคืนได้บ้าง เพื่อจะได้ไม่เสียสิทธิทางภาษีหากขายคืนผิดพลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ลงทุนที่ซื้อ RMF ไว้หลายกองทุนกับหลายบริษัทจัดการ หรือผู้ลงทุนที่สับเปลี่ยนหน่วยลงทุนไปมา เพราะกรณีนี้จะนับยากและอธิบายกับกรมสรรพากรยากมากว่าเงินส่วนใดซื้อก่อน 1 มีนาคม 2551 บ้าง
การให้ขยายวงเงินสิทธิลดหย่อนเป็นการชั่วคราวจาก 500,000 บาท เป็น 700,000 บาท
กรณีนี้เกิดขึ้นจากการที่คณะรัฐมนตรีชุดนายกฯสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 1 ต้องการใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีเพื่อชักจูงให้เกิดการลงทุนใน RMF และ LTF มากขึ้น จึงมีมติ ค.ร.ม. ขยายวงเงินสิทธิลดหย่อนชั่วคราวให้ผู้ลงทุนเป็นพิเศษในปี 2551 โดยขยายวงเงินสูงสุดจากไม่เกิน 500,000 บาท เป็น 700,000 บาท (เมื่อรวมกับกองทุน กบข. และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) สำหรับผู้ที่มีการลงทุนในเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2551 ซึ่งยังคงสิทธิเรื่องสูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ไว้เช่นเดิม ซึ่งทำให้ผู้ที่จะได้ประโยชน์จากมติ ค.ร.ม. ฉบับนี้จะต้องเป็นผู้ที่มีรายได้สูงเกินกว่า 3.3 ล้านบาทต่อปี หากมีรายได้น้อยกว่าจะยังคงติดกฎเรื่องสูงสุดไม่เกิน 15% ของรายได้อยู่ดี
ปัจจุบัน (ขณะเขียนบทความชิ้นนี้) ยังไม่มีประกาศจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องขยายสิทธิลดหย่อนชั่วคราวจาก 500,000 บาท เป็น 700,000 บาท ออกมารองรับมติ ค.ร.ม. จึงยังไม่ถือว่ามติ ค.ร.ม.ที่ออกมามีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย แต่เชื่อว่าจะมีประกาศออกมารองรับในเร็วๆ นี้
สำหรับข้อสงสัยที่ว่าหากมีผู้ลงทุนที่ได้ลงทุนเกิน 500,000 บาทไว้แล้วก่อนเดือนตุลาคม จะนับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างไรนั้น ล่าสุดกรมสรรพากรได้มีข้อสรุปเบื้องต้นออกมาว่าจะให้สิทธินี้สำหรับผู้ที่มีการลงทุนระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2551 นี้เท่านั้น คือหากผู้ลงทุนมีการลงทุนเพิ่มในช่วงระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2551 31 ธันวาคม 2551 นี้ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเท่าใดก็ตาม ผู้ลงทุนจะมีสิทธิที่จะนำเงินค่าซื้อสำหรับปี 2551 นี้ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2551 มานับรวมได้ทั้งหมด โดยสามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนสูงสุดได้ไม่เกิน 700,000 บาท (ดูตัวอย่างประกอบ)
ตัวอย่างการลงทุนใน RMF และ LTF ที่ได้สิทธิลดหย่อนภาษี 700,000 บาท
ตัวอย่างที่1 ปี 2551 มีเงินได้รวม 6 ล้านบาท (เฉลี่ยเดือนละ 5 แสนบาท) ซื้อ RMF เดือน มี.ค. จำนวน 500,000 บาท
แนวทาง ระหว่างเดือน ต.ค. ธ.ค. 2551 สามารถลงทุนเพิ่มเติม โดยได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี อีกจำนวน 200,000 บาท
ตัวอย่างที่2 ปี 2551 มีเงินได้รวม 6 ล้านบาท (เฉลี่ยเดือนละ 5 แสนบาท) ซื้อ RMF เดือน ธ.ค. จำนวน 700,000 บาท
แนวทาง ปีภาษี 2551 สามารถหักค่าลดหย่อนทางภาษีสำหรับเงินลงทุนใน RMF ได้ 700,000 บาท
ตัวอย่างที่3 ปี 2551 มีเงินได้รวม 6 ล้านบาท (เฉลี่ยเดือนละ 5 แสนบาท) ซื้อ RMF เดือน มี.ค. จำนวน 600,000 บาท
แนวทาง ปีภาษี 2551 สามารถหักค่าลดหย่อนทางภาษีสำหรับเงินลงทุนใน RMF ได้เพียง 500,000 บาท
ตัวอย่างที่4 ปี 2551 มีเงินได้รวม 6 ล้านบาท (เฉลี่ยเดือนละ 5 แสนบาท) ซื้อ RMF ในเดือน มี.ค. จำนวน 600,000 บาท และซื้อเพิ่มในเดือน ธ.ค. จำนวน 100,000 บาท
แนวทาง ปีภาษี 2551 สามารถหักค่าลดหย่อนทางภาษีสำหรับเงินลงทุนใน RMF ได้ 700,000 บาท
สำหรับผู้ลงทุนที่ได้ลงทุนเกิน 500,000 บาท ก่อนเดือนตุลาคมนั้น ขอแนะนำให้สอบถามรายละเอียดจากบริษัทจัดการที่ได้ซื้อ RMF อีกครั้งเพื่อความชัดเจนว่าการนับสิทธิลดหย่อนภาษีนั้นจะนับอย่างไร
การนับอายุลงทุนใน RMF เมื่อมีการซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มภายหลังการไถ่ถอน
เรื่องนี้เป็นปัญหาล่าสุดสำหรับ RMF เพราะมีการจัดตั้งมาถึงตอนนี้ก็ 7 ปีแล้ว จึงมีประเด็นว่าผู้ลงทุนที่อายุเกิน 55 ปีบริบูรณ์ และลงทุนต่อเนื่องมาครบ 5 ปีแล้ว ซึ่งสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้โดยไม่เสียสิทธิประโยชน์ด้านภาษี และไม่ต้องเสียภาษีหากมีกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน ในกรณีที่ผู้ลงทุนได้ขายคืนหน่วยลงทุนออกมาแล้ว และยังต้องการลงทุนใน RMF ต่อไปเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษี จะนับอายุการลงทุนอย่างไร สามารถนำเงินลงทุนใหม่ไปลดหย่อนภาษีได้อีกหรือไม่และต้องถือไว้อีกกี่ปี
ล่าสุดกรณีนี้ ภายหลังการหารือร่วมกันระหว่างบริษัทจัดการในธุรกิจกองทุนรวมผ่านสมาคมบริษัทจัดการลงทุน สำนักงาน ก.ล.ต. และกรมสรรพากร ก็มีคำตอบจากกรมสรรพากร เป็นแนวปฏิบัติสำหรับการลงทุนใน RMF กรณีนี้ออกมาแล้วเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยแนวทางการพิจารณาคือ
1. กรณีผู้ลงทุนได้ลงทุนใน RMF จนถึงเกณฑ์ที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีและต่อมาได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนทั้งหมดในคราวเดียว หากผู้ลงทุนได้ลงทุนใหม่ภายหลังการไถ่ถอนดังกล่าว การลงทุนครั้งนี้ ต้องเริ่มนับอายุการลงทุนใหม่ (เป็นปีแรก)
2. กรณีผู้ลงทุน ได้ลงทุนใน RMF จนถึงเกณฑ์ที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี และต่อมาได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนบางส่วน (partial redemption) หากผู้ลงทุนดังกล่าวได้ลงทุนอีกภายหลังการไถ่ถอนนั้น การลงทุนเพิ่มเติมนี้ จะสามารถนับอายุการลงทุนต่อเนื่องจากหน่วยลงทุนที่ยังเหลืออยู่ได้ ก็ต่อเมื่อหน่วยลงทุนที่เหลืออยู่ในแต่ละปีภายหลังการไถ่ถอนบางส่วน มีจำนวนเหลือไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้ที่ได้รับในแต่ละปีหรือมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี และต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน
ปัจจุบันกรมสรรพากรตีความว่า ถ้าผู้ลงทุนขายคืนหน่วยลงทุนออกไปทั้งหมดแล้ว ก็จะต้องเริ่มนับอายุการลงทุนให้ครบ 5 ปีใหม่ เสมือนหนึ่งว่าได้เพิ่งเริ่มลงทุนใน RMF แต่หากจะให้นับอายุต่อเนื่องได้ก็จำเป็นต้องเหลือเงินลงทุนขั้นต่ำทิ้งไว้ใน RMF (คือ 5,000 บาท หรือ 3%ของเงินได้ในแต่และปีแล้วแต่ยอดใดต่ำกว่า) โดยจะนับปีที่มีเงินคงเหลือค้างไว้เป็นปีแรกของการลงทุนขั้นต่ำ 5 ปี ทั้งนี้เงินคงเหลือปีละ 5,000 บาท หรือ 3% ของเงินได้ จะคิดจากต้นทุนตอนซื้อเป็นสำคัญ ไม่ได้ดูจากยอดเงินคงเหลือ ณ ปัจจุบัน หรือต้นทุนเฉลี่ย ซึ่งนั่นหมายความว่า ผู้ลงทุนจะต้องคิดว่าเงินขึ้นต่ำในแต่ละปีที่ต้องคงเหลือนั้นคิดเป็นหน่วยลงทุนที่ต้องคงเหลือไว้จำนวนกี่หน่วยตาม NAV ในปีที่ซื้อ (ดูตัวอย่างประกอบ)
ตัวอย่างการนับอายุลงทุนกรณีขายคืน และลงทุนต่อใน RMF
ตัวอย่างที่1 ซื้อหน่วยลงทุนปีละ 5,000 บาท ทุกวันที่ 1 ก.พ. ในปี 2544, 2545, 2546, 2547 และ 2548 ต่อมาไถ่ถอนหน่วยลงทุนทั้งหมด ในวันที่ 1 ก.พ. 2549 และซื้อหน่วยลงทุนต่อในปี 2550
แนวทาง หน่วยลงทุนที่ซื้อปี 2550 เริ่มนับอายุใหม่ โดยถือเป็นปีแรก
ตัวอย่างที่2 ซื้อหน่วยลงทุนปีละ 5,000 บาท ทุกวันที่ 1 ก.พ. ในปี 2544, 2545, 2546, 2547 และ 2548 ต่อมาไถ่ถอนหน่วยลงทุน ของปี 2544, 2545 ในวันที่ 1 ก.พ. 2549 (ขายจำนวนหน่วยลงทุนที่ได้มาในปี 2544, 2545 ออกไป) และซื้อหน่วยลงทุนต่อในปี 2550
แนวทาง หน่วยลงทุนที่ซื้อปี 2550 สามารถนับอายุการลงทุนต่อเนื่องได้ โดยนับปี 2546 เป็นปีแรก เนื่องจากหน่วยลงทุนที่เหลืออยู่ในปี 2546 ถึง 2548 มีจำนวนเกิน 5,000 บาทต่อปี (หรือ3%ของเงินได้ต่อปี)
ตัวอย่างที่3 ซื้อหน่วยลงทุนปีละ 10,000 บาท ทุกวันที่ 1 ก.พ. ในปี 2544, 2545, 2546, 2547 และ 2548 ต่อมาไถ่ถอนหน่วยลงทุนปีละ 8,000 บาท ในวันที่ 1 ก.พ. 2549 และซื้อหน่วยลงทุนต่อในปี 2550
แนวทาง หน่วยลงทุนที่ซื้อปี 2550 เริ่มนับอายุใหม่ โดยถือเป็นปีแรก เนื่องจากหน่วยลงทุนที่เหลืออยู่ในปี 2544 ถึง 2548 มีจำนวนน้อยกว่า 5,000 บาท ต่อปี (หรือ3%ของเงินได้ต่อปี)
จะเห็นว่าแนวทางที่ออกมาค่อนข้างยากในการยืนยันกับกรมสรรพากรหากไม่มีเอกสารประกอบ ดังนั้นผู้ลงทุนจะมีหน้าที่ต้องเก็บเอกสารหลักฐานการลงทุนไว้เพื่อใช้สิทธิยืนยันกับกรมสรรพากร เนื่องจากกรมสรรพากรมองว่าการไถ่ถอนหน่วยลงทุน หากมีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าเป็นของปีไหน ถือว่าเป็นการไถ่ถอนตามหลักฐานที่นำมาแสดง หากพิสูจน์ไม่ได้ ให้ถือว่าเป็นการไถ่ถอนตามข้อสันนิษฐานของกฎหมาย และยิ่งหากผู้ลงทุนมีการลงทุนกระจายหลายกองทุนหลายบริษัทจัดการ หรือสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนไปมายิ่งจำเป็นต้องมีหลักฐานสืบสาวว่าเม็ดเงินลงทุนที่ขายคืนนั้นเป็นเงินลงทุนของปีใดและต้นทุนที่ลงทุนคือเท่าใด หรือถ้าให้ง่ายที่สุดก็คือไม่ต้องขายคืนหน่วยลงทุน RMF จนกว่าจะเกษียณจริงๆ ไม่มีรายได้ ซึ่งไม่ต้องการลงทุนใน RMF เพื่อลดหย่อนภาษีอีกต่อไป
จากคอลัมน์ Funds Corner โดยเสกสรร โตวิวัฒน์ นิตยสาร M&W ธันวาคม 2551
คนที่รู้ว่าตัวเองยังไม่รู้ ย่อมมีโอกาสเรียนรู้