นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2550
Young Executive
โดย น้ำค้าง ไชยพุฒ
อายุไม่ได้เป็นเงื่อนไขว่าใครคนหนึ่งจะประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจหรือไม่ เช่นเดียวกันอายุก็ไม่ได้เป็นดัชนีชี้ว่าเขาผู้นั้นจะมองการณ์ไกลจนกลายเป็นผู้นำในองค์กรที่กำลังจะเติบโตยิ่งขึ้นหรือไม่ด้วยเช่นกัน
ปี 2545 หลังจบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ จากเกษตรศาสตร์ ณัฐชัย อึ๊งศรีวงศ์ และไพโรจน์ บัวเผื่อน เพื่อนร่วมสถาบันเดียวกันในวัย 22 ปี ซึ่งรู้จักกันเป็นอย่างดีตั้งแต่เมื่อครั้งผ่านการเข้าอบรมและคัดเลือกเยาวชนเพื่อเข้าแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ สาขาคอมพิวเตอร์ ตัดสินใจ ใช้บ้านของตนเป็นออฟฟิศ เพื่อก่อตั้งบริษัท ครีเอเทคซอฟต์แวร์ จำกัด เพื่อรับพัฒนาซอฟต์แวร์ให้กับผู้ที่ต้องการซอฟต์แวร์สำหรับ ใช้งานบนอุปกรณ์พกพา ก่อนชักชวนเพื่อนร่วมสถาบันอีกคนหนึ่งอย่างวรากร คุณาวงศ์ เข้าร่วมเป็นหนึ่งในเจ้าของบริษัทเล็กๆ แห่งนี้ในเวลาต่อมา
นี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ขนาดเล็กที่กำลังเติบโตอย่างเต็มที่ เมื่อมองถึงรายได้ โดยเฉพาะรายได้ในปีที่ผ่านมา บริษัทเล็กๆ แห่งนี้มีรายได้มากกว่า 10 ล้านบาท และเมื่อพิจารณาถึงแนวคิดในการทำธุรกิจยิ่งน่าสนใจอีกเป็นทวีคูณ
ครีเอเทคซอฟต์แวร์เติบโตมาจากการรับจ้างพัฒนาซอฟต์แวร์ตรวจเช็กสต็อกสินค้า คงคลังให้ทำงานบนเครื่องปาล์มหน้าจอขาวดำ เมื่อ 5 ปีก่อนหน้านี้ ก่อนขยับมาเป็นการพัฒนาซอฟต์แวร์บนโทรศัพท์มือถืออย่างในปัจจุบัน
ในปี 2546 ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในเมืองไทยกำลังตื่นเต้นกับโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ที่ใส่ระบบปฏิบัติการเอาไว้ข้างใน การใช้งานที่หลากหลายกลายเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วที่มีความสามารถในการพกพาและใช้งานเป็นโทรศัพท์มือถือได้ด้วยในตัว ได้สร้าง กระแสในกลุ่มคนที่มีหัวคิดนำสมัยและชอบของเล่นไฮเทคเป็นชีวิตจิตใจอย่างปฏิเสธไม่ได้
การหยิบฉวยโอกาสจากการเติบโตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมให้เป็นโอกาสในการดำเนินธุรกิจของตน ภายใต้แนวคิด "คิดก่อน ทำก่อน" กลายเป็นจุดเด่นของบริษัท เสมอมา
TSMS โปรแกรมรับส่ง SMS ภาษาไทย บนโทรศัพท์มือถือแบรนด์โนเกียที่ใช้ระบบปฏิบัติการซิมเบี้ยน คือ โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ตัวแรกที่ทั้งสามส่งออกสู่ตลาด
หลังจากตระเวนนำ TSMS ไปเปิดตัว ผู้คนในกระดานกระทู้ หรือเว็บบอร์ดผ่านเว็บไซต์หลากหลายแห่งได้ทดลองใช้ หรือแม้แต่การเข้าร่วมนัดพบกับคนใช้งานจากการนัดหมายของกลุ่มผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ ที่มีระบบปฏิบัติการซิมเบี้ยน ทำให้ TSMS เริ่มเป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้น และเริ่มได้รับการติดต่อจากค่ายผู้จัดจำหน่ายโทรศัพท์รายใหญ่ของไทยในเวลานั้น อาทิ ดีพีซี
เนื่องจากโทรศัพท์มือถือที่ใช้ระบบปฏิบัติการซิมเบี้ยนในยุคนั้นยังอ่านข้อความและส่งข้อความภาษาไทยไม่ได้ การลงซอฟต์แวร์ TSMS ติดไปกับเครื่อง จึงเป็นสิ่งที่ช่วยดึงดูดลูกค้าให้ตัดสินใจซื้อเครื่องของค่ายตัวเองได้เพิ่มขึ้น และกลายเป็นโอกาสของครีเอเทคซอฟต์แวร์ที่จะได้ขายซอฟต์แวร์ ของตนเอง
"ตั้งแต่เปิดบริษัทมาปีกว่าๆ นี่ถือว่าเป็นหนแรกที่ได้เงินก้อนขนาดนี้ เพราะการขาย TSMS ในตอนนั้น เราเลือกที่จะขายเป็นไลเซนส์ คือคิดค่าโปรแกรมต่อเครื่องในอัตรา ที่แตกต่างกันออกไป แล้วแต่ค่ายที่เลือกซื้อในปีนั้นเฉพาะการขาย TSMS สร้างรายได้ถึง 2 ล้านบาทเลยครับ" ณัฐชัย อึ๊งศรีวงศ์ เด็กหนุ่มวัยเลยเบญจเพสมาเพียง 2 ปี ที่รั้งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท บอกกับ "ผู้จัดการ"
หลังจากเริ่มเรียนรู้การติดต่อธุรกิจกับบริษัทผู้จัดจำหน่าย และเริ่มรู้จักช่องทางการขายสินค้าของตน ตลอดจนเห็นภาพการทำธุรกิจในสาขานี้มากขึ้น สามหนุ่มจึงตัดสินใจเปิดตัว "SmartThai" ระบบภาษาไทยสำหรับสมาร์ทโฟน โทรศัพท์มือถืออัจฉริยะเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งตัว
สำหรับ SmartThai สร้างการไหลเวียนของเงินสดต่อเดือนหลายแสนบาท เพราะขายได้ในจำนวนรุ่นที่มากขึ้น แต่ยังกินช่วงระยะเวลายาวนานถึง 1 ปีครึ่ง ก่อนขยับมาพัฒนาให้ SmartThai ทำงานได้บนพ็อกเก็ตพีซีด้วย และก็ยังคงขายสินค้าเป็นแบบต่อเครื่องต่อไลเซนส์เช่นเดิม ซึ่งทำให้รายได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
จนถึงตอนนี้บริษัทแห่งนี้ก็มีกลุ่มลูกค้ากว้างขวางขึ้นทั้งโอเปอเรเตอร์ หรือผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ผู้ผลิตเจ้าของแบรนด์โทรศัพท์มือถือเอง ผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่ไปจนถึงลูกค้ารายย่อยด้วย
ในขณะที่สินค้าในไลน์การผลิตจำพวกแอพพลิเคชั่นหรือซอฟต์แวร์ ก็เริ่มหลาก กระจายไปทั้งโปรแกรมดูหุ้นแบบเรียลไทม์ผ่านโทรศัพท์มือถือ โปรแกรมสนทนาทันใจผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือโปรแกรมพจนานุกรม ไทย-อังกฤษ อังกฤษ-ไทย บนโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
หลังจากผ่านการทำงานมานานถึง 5 ปี และมีรายได้เริ่มแตะหลักสิบล้านในปีที่ผ่านมา ประสบการณ์ในการขยายตลาดจึงไม่ได้ปิดกั้นเอาไว้เฉพาะในประเทศอีกต่อไป และความสำเร็จในการพัฒนาเทคนิค การเปิดไฟล์ที่แนบมากับอีเมลผ่านโทรศัพท์มือถือในทันที หรือ Push Mail ที่สามารถใช้ในระดับบุคคลทั่วไปแทนการใช้งานเฉพาะในองค์กรเพียงเท่านั้นก่อนหน้านี้ คือสิ่งที่จะทำให้เขาเหล่านี้ไปถึงจุดที่ต้องการได้
การเปิดตัวบริการ Push Mail หรือสมัครรับอีเมลผ่านโทรศัพท์มือถือ และสามารถเปิดดูไฟล์ภาพและเอกสารที่แนบมาได้ทันทีผ่านเครือข่ายจีพีอาร์เอสกับดีแทคเมื่อเดือนที่ผ่านมา ไม่เพียงแต่เป็นการเปิดตัวบริการที่ยังไม่เคยมีใครทำได้ในโลกนี้เท่านั้น แต่ยังเตะตาดีแทค ถึงกับเข้าเจรจาขอซื้อหุ้นในบริษัท เพื่อเป็นบริษัทร่วมทุนที่ใหญ่ขึ้นในอนาคตอีกด้วย
แม้จะยังอยู่ในระหว่างการเจรจา แต่ดูแนวโน้มว่าความเป็นไปได้ที่จะมีเม็ดเงินจากโอเปอเรเตอร์รายใหญ่อย่างดีแทคเข้ามาช่วยขยายบริษัทก็มีสูงไม่น้อย
"ธุรกิจซอฟต์แวร์ไม่ได้ลงทุนอะไรมาก นอกจากการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เหลือเป็นการใช้สมองคิดและลงแรงไปกับการเขียน โปรแกรมเสียส่วนใหญ่ การจะพัฒนาโปรแกรม ตัวไหนนั้นแยกๆ กันไม่ค่อยได้งานเท่าไรครับ ไม่ว่ากับบริษัทผมหรือบริษัทใคร ต้องนั่งลงแล้วคุยกัน เราก็มักจะดูก่อนครับว่าคนส่วนใหญ่เขาต้องการอะไร ไปถามในเว็บบอร์ด และคุยกับคนทั่วๆ ไปนี่แหละครับ หลังจากนั้นก็ประเมินความเป็นไปได้และเริ่มพัฒนา ก่อนล่วงหน้าสักระยะ ต้องคิดก่อนแล้วก็ลงมือ ก่อน ถือว่าสำคัญมาก ทำเสร็จไว้ล่วงหน้าสัก 70 เปอร์เซ็นต์ครับ ให้เห็นว่าการทำงานของซอฟต์แวร์ตัวนั้นเป็นจริงได้ ใช้งานได้จริง เมื่อนำเสนอให้กับลูกค้า อาจจะมีการปรับแก้ เพิ่มเติมหลังจากนั้นครับ" ไพโรจน์บอก
"ถ้าหากว่าอายุไม่ใช่ปัจจัยที่จะวัดว่าใครจะเป็นเจ้าของกิจการที่ทำรายได้เป็นกอบ เป็นกำ แล้วอะไรคือสิ่งที่จะผลักดันให้พวกเขา เหล่านั้นประสบความสำเร็จได้บ้าง" คงเป็น เรื่องไม่ยากนักที่จะหาคำตอบให้กับคำถามนี้
เพราะครีเอเทคซอฟต์แวร์ได้ชี้ให้เห็นว่า การเริ่มดำเนินธุรกิจในรูปแบบของการถูกเวลา ถูกคน และถูกใจ อาศัยประสบการณ์ในการทำธุรกิจ คิดล่วงหน้า และเริ่มลงมือทำก่อน ย่อมให้ผลที่ชัดเจนและแน่นอนในอนาคต
ปีนี้ทั้งสามหนุ่มเพิ่งจะอายุ 27 ปี แต่กลับบอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า รายได้อาจจะมากกว่า 20 ล้านบาท และหากว่าสามารถนำซอฟต์แวร์ดังกล่าวขายไปยังต่างประเทศ ผ่านเครือข่ายของเทเลนอร์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นสำคัญของดีแทค รายได้ก็อาจจะมากกว่านั้นด้วย
นี่คือตัวอย่างของกลุ่มคนที่ช่วยตอกย้ำ ว่า อายุเป็นแค่ตัวช่วยในการผ่านโลกมามาก แต่ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่าเขาจะประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจหรือไม่...
อายุไม่ได้เป็นเงื่อนไขว่าใครคนหนึ่งจะประสบความสำเร็
-
- Verified User
- โพสต์: 1400
- ผู้ติดตาม: 0
อายุไม่ได้เป็นเงื่อนไขว่าใครคนหนึ่งจะประสบความสำเร็
โพสต์ที่ 1
เราต่างตื่นขึ้นมาทุกวัน เพื่อสร้างผลงานให้ได้ เราควรรู้ว่า ในทุกวันมีอะไรที่ต้องทำเพื่อให้เกิดผลงาน หากการตื่นขึ้นมา ไม่ได้เป็นไปเพื่อผลงาน เราก็ไม่สมควรที่จะตื่นขึ้นมาให้รกหูรกตาคนรอบข้าง
-
- Verified User
- โพสต์: 1400
- ผู้ติดตาม: 0
อายุไม่ได้เป็นเงื่อนไขว่าใครคนหนึ่งจะประสบความสำเร็
โพสต์ที่ 2
ไพโรจน์ บัวเผื่อน
จุดเริ่มต้น Smart Sync สู่ความเป็นสากล
หาก จะนับบริษัทซอฟต์แวร์คลื่นลูกใหม่ในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ชื่อโอริซิ สคือหนึ่งในบริษัทไฟแรง ที่บุกเบิกตลาดเข้ามาด้วยโปรแกรมแสดงผลภาษาไทยบน เครื่องพอกเก็ตพีซี จนมาถึงวันนี้ โอริซิสกำลังกำหนดบทบาทตัวเองใหม่ ในการ เป็นบริษัทผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นบนพีดีเอสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ในระดับสากล
ตลาด (พีดีเอ) ที่เป็นตลาดองค์กรตอนนี้เป็นไงบ้าง
ตอนนี้ก็เริ่มอยู่แต่ยังไม่มากนัก อย่างของโอเปอร์เรเตอร์ ดีแทค กับ เอไอ เอส ตอนนี้ก็ทำ Push Mail อยู่ ก็คือเราไม่ต้องกด Receive อยู่เรื่อยๆ พอมา มันจะเด้งขึ้นที่หน้าจอพีดีเอเราเลย เขาค่อนข้างจะใช้งบประมาณด้านพี อาร์ทั้งเอไอเอสและดีแทคค่อนข้างเยอะ แต่ยังไม่ค่อยมีลูกค้าสนใจมากนัก จะ ต้องรอเวลาเป็น Learning Curve ให้ลูกค้าได้เรียนรู้เทคโนโลยีอย่างนี้ได้ มากขึ้นก่อน แต่คิดว่าไม่น่าจะเกินปีสองปีแอพพลิเคชั่นพวกนี้จะมาแน่นอน ก็ พอดีกับเครือข่าย 3G ขึ้นพอดี คือส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น
จะว่าไปแล้ว 3G บ้านเราก็ว่าจะขึ้นๆ มาหลายปีแล้ว ถ้าเกิด3G ไม่ขึ้นจริงๆ ที่ว่าปีสองปีนี่จะเลื่อนไหม หรือว่ายังไงๆ ก็เกิด
ยังไงก็น่าจะมาแน่ๆ เพราะถ้า (Push Mail) ไม่ส่งข้อมูลพวกภาพหรือเสียงนี่ ส่งพวก Text ธรรมดามันพออยู่แล้วบน GPRS
ตลาดแอพพลิเคชั่นบนมือกับบนพีดีเอนี่ต่างกันไหม
ต่างกัน ทางด้านพีดีเอนี่ ส่วนใหญ่จะใช้ในด้านงานองค์กร แต่มือถือนี่คนละ กลุ่มกัน มือถือจะเป็นอีกเซ็กชันนึงซึ่งอาจจะซื้อมาเพื่อใช้งานทั่วไป บาง รุ่นของมือถือสามารถนำมาแทนพีดีเอได้ แต่ว่าจริงๆ แล้วก็ไม่ค่อยสะดวกนัก
ในส่วนของโอริซิสเองในการส่งแอพพลิเคชันเข้าตลาด วางแผนอะไรไว้บ้าง
ก็ของเดิมที่เป็นตัว Smart Thai ก็ส่งให้กับ HP บันเดิลลงไปทุกเครื่อง และ ก็พยายามรักษาฐานลูกค้าเอาไว้ทั้งพอคเก็ตพีซีและซิมเบี้ยน และโปรเจ็กต์ที่ เป็นตัวซิงค์ดาต้า (Smart Sync) ก็จะพยายามเข้าไปเริ่มต้นไปคุยว่าคอน เซ็ปต์ประมาณแบบนี้ ใช้งานได้จริง จะเริ่มต้นด้วยเรื่องพวกนี้
Smart Sync แตกต่างจากคู่แข่งในตลาดยังไง
ของคนไทยตอนนี้ยังไม่มี (คู่แข่ง) นะครับ มีแต่บริษัทต่างประเทศ คือพวกนี้ จะมีฟังก์ชั่นพื้นฐานอยู่ เป็นการซิงค์ข้อมูล Personal Contact, Personal Information ประเภท To Do คือปกติแล้วเวลาที่ใช้ข้อมูลพวกนี้ในพีดีเอ เขาจะ พิมพ์ข้อมูลพวกนี้ในคอมพ์ฯ แล้วก็ซิงค์ลงในเครื่อง แต่อันนี้ไม่ต้อง ใช้คอมพ์ฯ แล้ว เราก็ซิงค์ผ่าน GPRS ได้เลย
แล้วอีกอย่างหนึ่ง บางคนใช้พอคเก็ตพีซีหนึ่งตัว ใช้มือถือโนเกียอีกหนึ่งตัว ก็จะมี Contact สองตัวจริงไหมครับ ตัวนึงอยู่ในพีดีเอ ตัวนึงอยู่ใน โทรศัพท์มือถือ ที่นี้บางทีไปจด Contact ลงมือถือ วันนึงถือพีดีเอมาก็ไม่ซิ งค์กัน มีโปรแกรมตัวนี้สามารถซิงค์ทุกอย่างได้ แล้วนอกจากตัวนี้ผมยังทำเอ็น จิ้นกลางไว้ตัวนึง นอกจากซิงค์พิมพ์แล้วเรายังสามาถลิงค์ข้อมูลทั้งหลายที่ ต้องการ เช่นพวกดาต้าเบสของการขายให้ซิงค์ได้เลย เราสามารถ Custom ให้ได้.. . คือซิงค์แบบเรียลไทม์ได้เลย ข้อมูลจากพีดีเอ กับข้อมูลที่เก็บอยู่ในส่วน กลางจะเป็นข้อมูลชุดเดียวกัน
คือเมื่อไหร่ที่ข้อมูลโอเค กด Submit ก็ขึ้นได้เลย
ครับ หรือไม่บางที เขาเห็นที่เซิร์ฟเวอร์ใหญ่ว่าเอ๊ะ! ผิดหรือเปล่า แก้ปุ๊บก็จะมาโผล่ที่พีดีเอ เป็นสองทางเลย
บริษัทคนไทยด้วยกันนี่เขาแข่งกันตรงไหน
ก็ทั้งสองอย่าง ทั้งฟีเจอร์และราคา (eLife: เราแข่งเรื่องราคากันด้วยเหรอ?) ก็ภาษาไทยก็จะมีสงครามราคากันนิดนึง แต่ในส่วนของแอพพลิเคชั่นไม่ค่อยมี ส่วนใหญ่แล้วแต่ว่าจะขายที่ไหน ขายองค์กรขนาดใหญ่ หรือขายราชการ ส่วนใหญ่ เขาไม่เน้นด้านราคาเท่าไหร่ เพียงแต่เขาสามารถใช้ทำงานได้ เขามีงบประมาณ ตั้งกันมา มันตีราคายากน่ะครับซอฟต์แวร์ ไม่เหมือนรถยนต์
ตั้ง Target ของ Smart Sync ไว้ยังไงบ้าง
เป็นโปรดักส์หลักของบริษัทเลยครับ ในปีสองปีแรกผมจะขายในเมืองไทยให้เป็นโปร ดักส์ ที่แข็งก่อน แล้วหลังจากนั้นจะออกต่างประเทศ... Target เป็นผู้ใช้งาน นองค์กรขนาดใหญ่เลย พวกแบงค์ เป็นบริษัทมหาชนที่มีพนักงาน On Site เยอะๆ แล้วก็หน่วยงานราชการที่ต้องการเก็บข้อมูลเยอะ...
อยากฝากอะไรถึงนักพัฒนาโปรแกรมด้วยกันไหม
(หัวเราะ...) ก็อยากให้รวมกลุ่มกัน นักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระเยอะครับใน ประเทศไทย แต่ก็ต่างคนต่างทำก็ไม่ค่อยได้จับมือกัน พอมีฝรั่งเข้ามาก็แย่กัน หมด
จุดเริ่มต้น Smart Sync สู่ความเป็นสากล
หาก จะนับบริษัทซอฟต์แวร์คลื่นลูกใหม่ในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ชื่อโอริซิ สคือหนึ่งในบริษัทไฟแรง ที่บุกเบิกตลาดเข้ามาด้วยโปรแกรมแสดงผลภาษาไทยบน เครื่องพอกเก็ตพีซี จนมาถึงวันนี้ โอริซิสกำลังกำหนดบทบาทตัวเองใหม่ ในการ เป็นบริษัทผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นบนพีดีเอสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ในระดับสากล
ตลาด (พีดีเอ) ที่เป็นตลาดองค์กรตอนนี้เป็นไงบ้าง
ตอนนี้ก็เริ่มอยู่แต่ยังไม่มากนัก อย่างของโอเปอร์เรเตอร์ ดีแทค กับ เอไอ เอส ตอนนี้ก็ทำ Push Mail อยู่ ก็คือเราไม่ต้องกด Receive อยู่เรื่อยๆ พอมา มันจะเด้งขึ้นที่หน้าจอพีดีเอเราเลย เขาค่อนข้างจะใช้งบประมาณด้านพี อาร์ทั้งเอไอเอสและดีแทคค่อนข้างเยอะ แต่ยังไม่ค่อยมีลูกค้าสนใจมากนัก จะ ต้องรอเวลาเป็น Learning Curve ให้ลูกค้าได้เรียนรู้เทคโนโลยีอย่างนี้ได้ มากขึ้นก่อน แต่คิดว่าไม่น่าจะเกินปีสองปีแอพพลิเคชั่นพวกนี้จะมาแน่นอน ก็ พอดีกับเครือข่าย 3G ขึ้นพอดี คือส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น
จะว่าไปแล้ว 3G บ้านเราก็ว่าจะขึ้นๆ มาหลายปีแล้ว ถ้าเกิด3G ไม่ขึ้นจริงๆ ที่ว่าปีสองปีนี่จะเลื่อนไหม หรือว่ายังไงๆ ก็เกิด
ยังไงก็น่าจะมาแน่ๆ เพราะถ้า (Push Mail) ไม่ส่งข้อมูลพวกภาพหรือเสียงนี่ ส่งพวก Text ธรรมดามันพออยู่แล้วบน GPRS
ตลาดแอพพลิเคชั่นบนมือกับบนพีดีเอนี่ต่างกันไหม
ต่างกัน ทางด้านพีดีเอนี่ ส่วนใหญ่จะใช้ในด้านงานองค์กร แต่มือถือนี่คนละ กลุ่มกัน มือถือจะเป็นอีกเซ็กชันนึงซึ่งอาจจะซื้อมาเพื่อใช้งานทั่วไป บาง รุ่นของมือถือสามารถนำมาแทนพีดีเอได้ แต่ว่าจริงๆ แล้วก็ไม่ค่อยสะดวกนัก
ในส่วนของโอริซิสเองในการส่งแอพพลิเคชันเข้าตลาด วางแผนอะไรไว้บ้าง
ก็ของเดิมที่เป็นตัว Smart Thai ก็ส่งให้กับ HP บันเดิลลงไปทุกเครื่อง และ ก็พยายามรักษาฐานลูกค้าเอาไว้ทั้งพอคเก็ตพีซีและซิมเบี้ยน และโปรเจ็กต์ที่ เป็นตัวซิงค์ดาต้า (Smart Sync) ก็จะพยายามเข้าไปเริ่มต้นไปคุยว่าคอน เซ็ปต์ประมาณแบบนี้ ใช้งานได้จริง จะเริ่มต้นด้วยเรื่องพวกนี้
Smart Sync แตกต่างจากคู่แข่งในตลาดยังไง
ของคนไทยตอนนี้ยังไม่มี (คู่แข่ง) นะครับ มีแต่บริษัทต่างประเทศ คือพวกนี้ จะมีฟังก์ชั่นพื้นฐานอยู่ เป็นการซิงค์ข้อมูล Personal Contact, Personal Information ประเภท To Do คือปกติแล้วเวลาที่ใช้ข้อมูลพวกนี้ในพีดีเอ เขาจะ พิมพ์ข้อมูลพวกนี้ในคอมพ์ฯ แล้วก็ซิงค์ลงในเครื่อง แต่อันนี้ไม่ต้อง ใช้คอมพ์ฯ แล้ว เราก็ซิงค์ผ่าน GPRS ได้เลย
แล้วอีกอย่างหนึ่ง บางคนใช้พอคเก็ตพีซีหนึ่งตัว ใช้มือถือโนเกียอีกหนึ่งตัว ก็จะมี Contact สองตัวจริงไหมครับ ตัวนึงอยู่ในพีดีเอ ตัวนึงอยู่ใน โทรศัพท์มือถือ ที่นี้บางทีไปจด Contact ลงมือถือ วันนึงถือพีดีเอมาก็ไม่ซิ งค์กัน มีโปรแกรมตัวนี้สามารถซิงค์ทุกอย่างได้ แล้วนอกจากตัวนี้ผมยังทำเอ็น จิ้นกลางไว้ตัวนึง นอกจากซิงค์พิมพ์แล้วเรายังสามาถลิงค์ข้อมูลทั้งหลายที่ ต้องการ เช่นพวกดาต้าเบสของการขายให้ซิงค์ได้เลย เราสามารถ Custom ให้ได้.. . คือซิงค์แบบเรียลไทม์ได้เลย ข้อมูลจากพีดีเอ กับข้อมูลที่เก็บอยู่ในส่วน กลางจะเป็นข้อมูลชุดเดียวกัน
คือเมื่อไหร่ที่ข้อมูลโอเค กด Submit ก็ขึ้นได้เลย
ครับ หรือไม่บางที เขาเห็นที่เซิร์ฟเวอร์ใหญ่ว่าเอ๊ะ! ผิดหรือเปล่า แก้ปุ๊บก็จะมาโผล่ที่พีดีเอ เป็นสองทางเลย
บริษัทคนไทยด้วยกันนี่เขาแข่งกันตรงไหน
ก็ทั้งสองอย่าง ทั้งฟีเจอร์และราคา (eLife: เราแข่งเรื่องราคากันด้วยเหรอ?) ก็ภาษาไทยก็จะมีสงครามราคากันนิดนึง แต่ในส่วนของแอพพลิเคชั่นไม่ค่อยมี ส่วนใหญ่แล้วแต่ว่าจะขายที่ไหน ขายองค์กรขนาดใหญ่ หรือขายราชการ ส่วนใหญ่ เขาไม่เน้นด้านราคาเท่าไหร่ เพียงแต่เขาสามารถใช้ทำงานได้ เขามีงบประมาณ ตั้งกันมา มันตีราคายากน่ะครับซอฟต์แวร์ ไม่เหมือนรถยนต์
ตั้ง Target ของ Smart Sync ไว้ยังไงบ้าง
เป็นโปรดักส์หลักของบริษัทเลยครับ ในปีสองปีแรกผมจะขายในเมืองไทยให้เป็นโปร ดักส์ ที่แข็งก่อน แล้วหลังจากนั้นจะออกต่างประเทศ... Target เป็นผู้ใช้งาน นองค์กรขนาดใหญ่เลย พวกแบงค์ เป็นบริษัทมหาชนที่มีพนักงาน On Site เยอะๆ แล้วก็หน่วยงานราชการที่ต้องการเก็บข้อมูลเยอะ...
อยากฝากอะไรถึงนักพัฒนาโปรแกรมด้วยกันไหม
(หัวเราะ...) ก็อยากให้รวมกลุ่มกัน นักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระเยอะครับใน ประเทศไทย แต่ก็ต่างคนต่างทำก็ไม่ค่อยได้จับมือกัน พอมีฝรั่งเข้ามาก็แย่กัน หมด
เราต่างตื่นขึ้นมาทุกวัน เพื่อสร้างผลงานให้ได้ เราควรรู้ว่า ในทุกวันมีอะไรที่ต้องทำเพื่อให้เกิดผลงาน หากการตื่นขึ้นมา ไม่ได้เป็นไปเพื่อผลงาน เราก็ไม่สมควรที่จะตื่นขึ้นมาให้รกหูรกตาคนรอบข้าง
-
- Verified User
- โพสต์: 1400
- ผู้ติดตาม: 0
อายุไม่ได้เป็นเงื่อนไขว่าใครคนหนึ่งจะประสบความสำเร็
โพสต์ที่ 3
6 สเต็ปเทพ...!!! สู่ความเป็นผู้ประกอบการชั้นยอด - กรณีศึกษา
กรณีศึกษาที่สอง ขอยกตัวอย่างความสำเร็จของ บริษัท คลีเอ้ จำกัด ซอฟต์แวร์เฮ้าส์จากฝีมือการสร้างสรรค์และบริหารงานของ 3 คนไทยศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาคาวิชาคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย ณัฐชัย อึ๊งศรีวงศ์, ไพโรจน์ บัวเผื่อน และ วรากร คุณาวงศ์ ที่สร้างธุรกิจของตนเองจากความสามารถในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ผสานการ มองทิศทางความก้าวหน้าของโลกเทคโนโลยีสร้างออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สนองตอบ ความต้องการของตลาดได้อย่างตรงจุด จนยักษ์ใหญ่อย่า ดีแทค ต้องขอเข้าร่วมเป็นพันธมิตรธุรกิจ
พวกผมรับจ็อบเขียนโปรแกรมระบบบัญชีมา ตั้งแต่เรียนปี 1 ทำให้คิดวางแผนตั้งแต่ตอนนั้นว่าเมื่อเรียนจบงานเขียนโปรแกรมน่าจะทำเป็น ธุรกิจ แต่ก็ยังไม่มีแผนอะไรชัดเจน คิดแค่ว่าอย่างตั้งบริษัทของตัวเองรับทำงานที่เราถนัด และะนำเสนอโปรแกรมที่เกิดจากฝีมือคนไทยจริงๆ เนื่องจากสมัยนั้นโปรแกรมสำหรบการใช้งานต่างๆ เป็นของต่างชาติเกือบทั้งหมด ผมมองเห็นโอกาสว่าเราสามารถทำสินค้าตอบสนองความต้องการของตลาดได้ ณัฐชัย หนึ่งในสามกรรมการผู้จัดการร่วมของครีเอ้ ย้อนความคิดสมัยเป็นนิสิตให้ฟังและเล่าต่อว่า
พอเรียนจบตอนแรกตั้งใจจะไปเรียนต่อต่าง ประเทศก่อน ส่วนเพื่อนๆ วางแผนสมัครงานเพื่อหาประสบการณ์ แต่ปรากฎว่ามีรุ่นพี่คนหนึ่งเสนองานเขียนซอฟต์แวร์ตรวจเช็กสต็อกสินค้าคง คลังให้ทำงานบนเครื่องพีดีเอมาให้ทำ จึงคิดกันในกลุ่มเพื่อนว่าถ้ารับทำก็ควรเปิดเป็นบริษัทแบบจริงจังไปเลย คิดกันอยู่ประมาณ 1 เดือนก็ตกลงเปิดบริษัท
ทำงานได้ประมาณ 3-4 เดือน โนเกียก็ออกมือถือรุ่นใหม่ที่ใช้ระบบปฏิบัติการซิมเบี้ยน Nokia 7650 รุ่นแรกของโลกที่หน้าจอใหญ่ถ่ายรูปได้ ราคาแพงมากตอนนั้นมีฟีดเจอร์มากมายแต่กลับอ่านภาษาไทยไม่ได้ คือส่งและรับ SMS ภาษาไทยไม่ได้ พวกเราจึงเขียนซอฟต์แวร์เพื่อให้โทรศัพท์รุ่นนี้สามารถอ่าน SMS ภาษาไทยได้แล้วนำไปแจกฟรีในเว็บ ได้ผลตอบรับค่อนข้างดีน่าจะทำเป็นธุรกิจได้ เลยเข้าไปเสนอกับค่ายมือถือทั้งเอไอเอส ดีแทค ทรู รวมทั้งบรรดาค่ายผู้ผลิตและจำหน่ายโทรศัพท์มือถือต่างก็ให้ความสนใจ จึงกลายเป็นโปรดักส์แรกที่ขายออกไปทำรายได้ให้บริษัทมหาศาล
ณัฐชัย กล่าวว่า แผนธุรกิจต่อจากนั้นจึงมุ่งไปที่การพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับโทรศัพท์มือถือ โดยติดตาดูเครื่องรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมายังขาดอะไรที่จะช่วยให้การใช้ง่ายและครบถ้วนในสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ อาทิ โปรแกรมดูหุ้นแบบเรียลไทม์ผ่านโทรศัพท์มือถือ โปรแกรมพจนานุกรม ไทย-อังกฤษ และอังกฤษ-ไทย บนโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น และยังได้ขยายไปสู่การพัฒนาซอฟต์แวร์ภาษาไทยสำหรับเครื่องพ็อคเก็ตพีซีที่ เริ่มแรงขึ้น ซึ่งจุดนี้ทำให้เราได้เซ็นสัญญาเป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ภาษาไทยให้กับพ็อคเก็ต พีซีแบรนด์เอชพี แต่ด้วยความที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วเพียง 2 ปีเท่านั้น ก็หมดยุคความต้องการซอฟต์แวร์ภาษาไทย
จุดหนึ่งของธุรกิจนี้คือต้องปรับแผน ค่อนข้างเร็วเพื่อรองรับกับโลกเทคโนโลยีที่เปลี่ยนทุกวัน เมื่อดูทิศทางโปรดักส์ว่าไปไม่ได้แล้วก็ต้องหาอย่างอื่น แต่สิ่งที่จะนำมาทำต่อไปก็ต้องยึดอยู่บนพื้นฐานเดิมของเราที่มีความชำนาญ อยู่แล้วต้องไม่พลิกหรือเปลี่ยนแนวใหม่ไปเลย โดยเป้าหมายในการทำธุรกิจของเราก็คือจะทำโปรดักส์ที่ไม่ซ้ำกับใคร แต่ตอบโจทย์ความต้องการใช้งานของตลาดและใช้งานได้จริงๆ
ด้วยเหตุนี้สเต็ปธุรกิจต่อมาของครีเอ้ จึงเข้าสู่ยุคของการพัฒนาเซอร์วิสต่างๆ บนโทรศัพท์มือถือที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต โดยโปรดักส์ตัวแรกที่ส่งลงตลาดคือโปรแกรมสมาร์ทแชทที่ทำให้ผู้ใช้สามารถเล่น MSN ผ่านโทรศัพท์มือถือได้ ตามด้วยโปรแกรมพุชเมล์ที่ช่วยให้สามารถเปิดไฟล์ที่แนบมากับอีเมล์ผ่าน โทรศัพท์มือถือในทันที ทั้งสองโปรแกรมนี้นับเป็นบริการที่ยังไม่เคยมีใครทำได้ในโลกนี้มาก่อน จึงสร้างความสนใจให้ค่ายโทรศัพท์มือถืออย่าง ดีแทค ติดต่อเข้ามาเจรจาขอเข้าร่วมเป็นพันธมิตรธุรกิจด้วย
ในที่สุดก็ตกลงร่วมกันจัดตั้งเป็นบริษัท ครีเอ้ จำกัด ขึ้นมาเมื่อปลายปี 2550 โดยดีแทคถือหุ้นใหญ่แต่ยังคงมอบความไว้วางใจให้ณัฐชัยและเพื่อนๆ ทำหน้าที่บริหารงานและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามแนวคิดของตนเองต่อไป โดยที่ดีแทคให้การสนับสนุนในด้านงานวิจัยและการตลาด
และล่าสุดคร้เอ้เปิดตัวโปรดักส์ใหม่ชื่อ ว่า เพล์กราวด์ โปรแกรมอัพโหลดรูปถ่ายจากโทรศัพท์มือถือขึ้นเว็บไซต์ไม่ว่าไฮไฟว์ หรือเฟสบุ๊คได้โดยตรง ณัฐชัย บอกว่า นับถึงตอนนี้ก็ทำธุรกิจมาเป็นปีที่ 7 แล้ว จากสต็ปแรกที่พัฒนาโปรดักส์ขึ้นมาแล้วขายเอง ต่อด้วยการไปเป็นพาร์ทเนอร์ธุรกิจกับเอชพี จนมาถึงการร่วมทุนกับดีแทคในปัจจุบน สเต็บต่อไปที่วางไว้คือการใช้เครือขายของเทเลนอร์ที่เป็นผู้ถือหุ้นของดี เแทค ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมระดับมีเครือข่ายอยู่ใน 13 ประเทศทั่วโลกเป็นบันไดในการส่งโปรดักส์ที่ครีเอ้พัฒนาขึ้นไปสู่ตลาดต่าง ประเทศ
ด้วยแนวคิดนี้โปรดักส์ที่เรากำลังพัฒนา จึงพยายามให้ตอบโจทย์ความต้องการระดับสากล คือนอกจากสร้างความพอใจให้คนไทยแล้วยังมองไปถึงคนต่างประเทศด้วย เพราะตอนนี้โลกเทคโนโลยีกำลังมุ่งมาที่ตลาดโมบายอินเตอร์เน็ต ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมไปทั่วโลก ถือเป็นโชคดีของเราที่มีความชำนาญด้านนี้อยู่แล้วจึงทำให้ได้เปรียบ เพราะครีเอ้มีประสบการณ์พัฒนาซอฟต์แวร์บนโทรศัพท์มือถือมายาวนานกว่าใครๆ ไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศ
กรณีศึกษาที่สอง ขอยกตัวอย่างความสำเร็จของ บริษัท คลีเอ้ จำกัด ซอฟต์แวร์เฮ้าส์จากฝีมือการสร้างสรรค์และบริหารงานของ 3 คนไทยศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาคาวิชาคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย ณัฐชัย อึ๊งศรีวงศ์, ไพโรจน์ บัวเผื่อน และ วรากร คุณาวงศ์ ที่สร้างธุรกิจของตนเองจากความสามารถในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ผสานการ มองทิศทางความก้าวหน้าของโลกเทคโนโลยีสร้างออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สนองตอบ ความต้องการของตลาดได้อย่างตรงจุด จนยักษ์ใหญ่อย่า ดีแทค ต้องขอเข้าร่วมเป็นพันธมิตรธุรกิจ
พวกผมรับจ็อบเขียนโปรแกรมระบบบัญชีมา ตั้งแต่เรียนปี 1 ทำให้คิดวางแผนตั้งแต่ตอนนั้นว่าเมื่อเรียนจบงานเขียนโปรแกรมน่าจะทำเป็น ธุรกิจ แต่ก็ยังไม่มีแผนอะไรชัดเจน คิดแค่ว่าอย่างตั้งบริษัทของตัวเองรับทำงานที่เราถนัด และะนำเสนอโปรแกรมที่เกิดจากฝีมือคนไทยจริงๆ เนื่องจากสมัยนั้นโปรแกรมสำหรบการใช้งานต่างๆ เป็นของต่างชาติเกือบทั้งหมด ผมมองเห็นโอกาสว่าเราสามารถทำสินค้าตอบสนองความต้องการของตลาดได้ ณัฐชัย หนึ่งในสามกรรมการผู้จัดการร่วมของครีเอ้ ย้อนความคิดสมัยเป็นนิสิตให้ฟังและเล่าต่อว่า
พอเรียนจบตอนแรกตั้งใจจะไปเรียนต่อต่าง ประเทศก่อน ส่วนเพื่อนๆ วางแผนสมัครงานเพื่อหาประสบการณ์ แต่ปรากฎว่ามีรุ่นพี่คนหนึ่งเสนองานเขียนซอฟต์แวร์ตรวจเช็กสต็อกสินค้าคง คลังให้ทำงานบนเครื่องพีดีเอมาให้ทำ จึงคิดกันในกลุ่มเพื่อนว่าถ้ารับทำก็ควรเปิดเป็นบริษัทแบบจริงจังไปเลย คิดกันอยู่ประมาณ 1 เดือนก็ตกลงเปิดบริษัท
ทำงานได้ประมาณ 3-4 เดือน โนเกียก็ออกมือถือรุ่นใหม่ที่ใช้ระบบปฏิบัติการซิมเบี้ยน Nokia 7650 รุ่นแรกของโลกที่หน้าจอใหญ่ถ่ายรูปได้ ราคาแพงมากตอนนั้นมีฟีดเจอร์มากมายแต่กลับอ่านภาษาไทยไม่ได้ คือส่งและรับ SMS ภาษาไทยไม่ได้ พวกเราจึงเขียนซอฟต์แวร์เพื่อให้โทรศัพท์รุ่นนี้สามารถอ่าน SMS ภาษาไทยได้แล้วนำไปแจกฟรีในเว็บ ได้ผลตอบรับค่อนข้างดีน่าจะทำเป็นธุรกิจได้ เลยเข้าไปเสนอกับค่ายมือถือทั้งเอไอเอส ดีแทค ทรู รวมทั้งบรรดาค่ายผู้ผลิตและจำหน่ายโทรศัพท์มือถือต่างก็ให้ความสนใจ จึงกลายเป็นโปรดักส์แรกที่ขายออกไปทำรายได้ให้บริษัทมหาศาล
ณัฐชัย กล่าวว่า แผนธุรกิจต่อจากนั้นจึงมุ่งไปที่การพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับโทรศัพท์มือถือ โดยติดตาดูเครื่องรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมายังขาดอะไรที่จะช่วยให้การใช้ง่ายและครบถ้วนในสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ อาทิ โปรแกรมดูหุ้นแบบเรียลไทม์ผ่านโทรศัพท์มือถือ โปรแกรมพจนานุกรม ไทย-อังกฤษ และอังกฤษ-ไทย บนโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น และยังได้ขยายไปสู่การพัฒนาซอฟต์แวร์ภาษาไทยสำหรับเครื่องพ็อคเก็ตพีซีที่ เริ่มแรงขึ้น ซึ่งจุดนี้ทำให้เราได้เซ็นสัญญาเป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ภาษาไทยให้กับพ็อคเก็ต พีซีแบรนด์เอชพี แต่ด้วยความที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วเพียง 2 ปีเท่านั้น ก็หมดยุคความต้องการซอฟต์แวร์ภาษาไทย
จุดหนึ่งของธุรกิจนี้คือต้องปรับแผน ค่อนข้างเร็วเพื่อรองรับกับโลกเทคโนโลยีที่เปลี่ยนทุกวัน เมื่อดูทิศทางโปรดักส์ว่าไปไม่ได้แล้วก็ต้องหาอย่างอื่น แต่สิ่งที่จะนำมาทำต่อไปก็ต้องยึดอยู่บนพื้นฐานเดิมของเราที่มีความชำนาญ อยู่แล้วต้องไม่พลิกหรือเปลี่ยนแนวใหม่ไปเลย โดยเป้าหมายในการทำธุรกิจของเราก็คือจะทำโปรดักส์ที่ไม่ซ้ำกับใคร แต่ตอบโจทย์ความต้องการใช้งานของตลาดและใช้งานได้จริงๆ
ด้วยเหตุนี้สเต็ปธุรกิจต่อมาของครีเอ้ จึงเข้าสู่ยุคของการพัฒนาเซอร์วิสต่างๆ บนโทรศัพท์มือถือที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต โดยโปรดักส์ตัวแรกที่ส่งลงตลาดคือโปรแกรมสมาร์ทแชทที่ทำให้ผู้ใช้สามารถเล่น MSN ผ่านโทรศัพท์มือถือได้ ตามด้วยโปรแกรมพุชเมล์ที่ช่วยให้สามารถเปิดไฟล์ที่แนบมากับอีเมล์ผ่าน โทรศัพท์มือถือในทันที ทั้งสองโปรแกรมนี้นับเป็นบริการที่ยังไม่เคยมีใครทำได้ในโลกนี้มาก่อน จึงสร้างความสนใจให้ค่ายโทรศัพท์มือถืออย่าง ดีแทค ติดต่อเข้ามาเจรจาขอเข้าร่วมเป็นพันธมิตรธุรกิจด้วย
ในที่สุดก็ตกลงร่วมกันจัดตั้งเป็นบริษัท ครีเอ้ จำกัด ขึ้นมาเมื่อปลายปี 2550 โดยดีแทคถือหุ้นใหญ่แต่ยังคงมอบความไว้วางใจให้ณัฐชัยและเพื่อนๆ ทำหน้าที่บริหารงานและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามแนวคิดของตนเองต่อไป โดยที่ดีแทคให้การสนับสนุนในด้านงานวิจัยและการตลาด
และล่าสุดคร้เอ้เปิดตัวโปรดักส์ใหม่ชื่อ ว่า เพล์กราวด์ โปรแกรมอัพโหลดรูปถ่ายจากโทรศัพท์มือถือขึ้นเว็บไซต์ไม่ว่าไฮไฟว์ หรือเฟสบุ๊คได้โดยตรง ณัฐชัย บอกว่า นับถึงตอนนี้ก็ทำธุรกิจมาเป็นปีที่ 7 แล้ว จากสต็ปแรกที่พัฒนาโปรดักส์ขึ้นมาแล้วขายเอง ต่อด้วยการไปเป็นพาร์ทเนอร์ธุรกิจกับเอชพี จนมาถึงการร่วมทุนกับดีแทคในปัจจุบน สเต็บต่อไปที่วางไว้คือการใช้เครือขายของเทเลนอร์ที่เป็นผู้ถือหุ้นของดี เแทค ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมระดับมีเครือข่ายอยู่ใน 13 ประเทศทั่วโลกเป็นบันไดในการส่งโปรดักส์ที่ครีเอ้พัฒนาขึ้นไปสู่ตลาดต่าง ประเทศ
ด้วยแนวคิดนี้โปรดักส์ที่เรากำลังพัฒนา จึงพยายามให้ตอบโจทย์ความต้องการระดับสากล คือนอกจากสร้างความพอใจให้คนไทยแล้วยังมองไปถึงคนต่างประเทศด้วย เพราะตอนนี้โลกเทคโนโลยีกำลังมุ่งมาที่ตลาดโมบายอินเตอร์เน็ต ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมไปทั่วโลก ถือเป็นโชคดีของเราที่มีความชำนาญด้านนี้อยู่แล้วจึงทำให้ได้เปรียบ เพราะครีเอ้มีประสบการณ์พัฒนาซอฟต์แวร์บนโทรศัพท์มือถือมายาวนานกว่าใครๆ ไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศ
เราต่างตื่นขึ้นมาทุกวัน เพื่อสร้างผลงานให้ได้ เราควรรู้ว่า ในทุกวันมีอะไรที่ต้องทำเพื่อให้เกิดผลงาน หากการตื่นขึ้นมา ไม่ได้เป็นไปเพื่อผลงาน เราก็ไม่สมควรที่จะตื่นขึ้นมาให้รกหูรกตาคนรอบข้าง