ความผิดพลาดในการเลือกหุ้น
โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 15, 2011 8:05 am
ความผิดพลาดในการเลือกหุ้น
ถ้าจะถามคนที่มีประสบการณ์การลงทุนมายาวนาน คงจะไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่เคยเลือกหุ้นผิด การเลือกหุ้นผิดของแต่ละคน ก็แตกต่างกันไปตามความสามารถ ลักษณะนิสัยของคนนั้นๆ เท่าที่ผมได้สังเกต ความผิดพลาดในการเลือกหุ้นน่าจะแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ ประการที่หนึ่ง ความผิดพลาดอันเนื่องมาจากการเลือกซื้อหุ้นที่คิดว่าดีไว้ แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้ดีอย่างที่คิด เมื่อเวลาผ่านไปจึงจะรู้ความจริง ซึ่งอาการที่มักจะสังเกตุได้ของความผิดพลาดประเภทนี้คือ "ติดดอย" และประการที่สอง ความผิดพลาดอันเนื่องมาจากการเลือกที่จะไม่ซื้อหุ้น หรือขายหุ้นที่คิดว่าไม่ดี แต่แท้ที่จริงแล้วหุ้นตัวนั้นกลับกลายเป็นหุ้นที่ดีมาก ซึ่งอาการที่มักจะสังเกตุเห็นได้คือ "ตกรถ"
ความผิดพลาดทั้งสองอย่างนั้นล้วนไม่ส่งผลดีต่อผลการลงทุนของเรา หลายๆคนพยายามที่จะไม่ให้เกิดความผิดพลาดทั้งสองอย่าง จนไม่ได้ตระหนักว่าเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงความผิดพลาดทั้งสองอย่างพร้อมๆกันได้ ในชีวิตจริงเราจะต้องเลือกว่าเรายอมจะเกิดความผิดพลาดแบบไหนขึ้น แต่ความผิดพลาดอันไหนล่ะที่รุนแรงกว่า และเราจะทำอย่างไรเพื่อลดความผิดพลาดนั้น
ในความเป็นจริงแล้ว ความผิดพลาดจากการเลือก หรือตัดสินใจ มีให้พบเห็นกันทั่วไปในชีวิตประจำวัน ถ้าจะยกตัวอย่างให้ชัดเจน ก็คงเป็นการพิพากษาตัดสินในศาล หากเราลองเปรียบเทียบการเลือกหุ้นกับการตัดสินพิพากษาในศาล การเลือกซื้อหุ้นที่คิดว่าดี แต่ที่จริงเป็นหุ้นที่ไม่ดี ก็คงเปรียบได้กับการตัดสินว่าคนที่มีความผิดจริงนั้นบริสุทธิ์ และความผิดพลาดจากการเลือกที่จะไม่ซื้อหุ้นที่ดีไว้ ก็คงเปรียบได้กับการตัดสินจำคุกคนบริสุทธิ์
ข้อเสียของการติดสินผิดทำให้คนดีต้องติดคุกคือ มีคนบริสุทธิ์ต้องมาถูกลงโทษทั้งๆที่ไม่ใช่ความผิดของตัวเอง ครอบครัวของเขาก็อาจจะต้องลำบากหรือทุกข์ใจไปด้วย ส่วนการตัดสินให้คนชั่วหลุดพ้นความผิดนั้น ก็มีข้อเสียเช่นกัน คือคนที่ทำชั่วไม่ถูกลงโทษ และอาจจะออกไปสร้างความชั่วให้กับคนในสังคมภายนอกได้รับความเดือดร้อนเพิ่มขึ้นอีก ในสังคมเรานั้นยอมรับ เห็นพ้องต้องกันว่าการตัดสินผิด ทำให้คนที่บริสุทธิ์ต้องได้รับโทษความผิดนั้นเป็นเรื่องที่รุนแรงกว่าการปล่อยคนชั่วลอยนวล จึงเป็นที่มาของรูปแบบการพิจารณาคดีทุกวันนี้ ที่ในเบื้องต้นจะถือว่าจำเลยทุกคนเป็นผู้บริสุทธิ์ปราศจากความผิด และหากไม่มีหลักฐานที่แน่นหนาชัดเจนพอ ก็จะไม่สามารถเอาผิดกับจำเลยได้ ในทางตรงกันข้ามกัน หากสังคมใดเห็นว่าการปล่อยคนชั่วออกมาลอยนวลนั้นร้ายแรงกว่าการลงโทษคนดีแล้ว สังคมนั้นก็จะใช้หลักการพิจารณาความผิด โดยมีสมมุติฐานเบื้องต้นว่าทุกคนที่โดนกล่าวหาว่าผิดนั้นมีความผิดจริง และหากต้องการพ้นข้อกล่าวหา จะต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเอง ถ้าหลักฐานนั้นไม่เพียงพอ ก็จะต้องได้รับโทษ
กลับมาสู่เรื่องการลงทุน และการตัดสินใจเลือกซื้อหุ้น โดยถ้าจะพิจารณาความผิดพลาดทั้งสองลักษณะคือ การซื้อหุ้นไม่ดี กับการไม่ได้ซื้อหุ้นดีนั้น จะพบว่าในทุกๆการตัดสินใจซื้อหุ้นนั้นเราจำเป็นต้องเลือกว่ายอมที่จะเกิดความผิดพลาดแบบไหนขึ้น เช่นเราอาจจะพบหุ้นตัวหนึ่งซึ่งเราพบว่ามี Upside มากเหลือเกิน ในขณะเดียวกันเราก็เห็นว่ามีความไม่แน่นอนบางอย่างที่อาจเกิดขึ้นกับผลประกอบการของบริษัทได้และทำให้เสียหายมากมายได้ เมื่อเราพิจารณาหุ้นตัวนี้ว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อดี เราก็ต้องเลือกระหว่างยอมซื้อผิด หรือยอมเสียโอกาสซื้อหุ้นที่ดี การซื้อหุ้นไม่ดีมีข้อเสียคือเราอาจจะขาดทุนได้จากราคาที่ตกต่ำลงไป ส่วนการพลาดไม่ได้ซื้อหุ้นที่ดีไว้นั้น มีข้อเสียคือเราจะไม่ได้กำไรจากการขึ้นแรงๆของหุ้นตัวนั้น
ถ้าถามนักลงทุนทั่วไป ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ก็คงจะมองเหมือนกันคือ เสียดายดีกว่าเสียใจ นั่นคือ ไม่ได้กำไรไม่ว่า แต่ขออย่าให้ขาดทุนเลย เหมือนกับกฎการลงทุนที่สำคัญที่วอร์เรน บัฟเฟตต์เคยบอกไว้ว่า "จงอย่าขาดทุน"
แต่ในทางปฏิบัติแล้ว หลักการนี้ไม่ได้ทำง่ายๆอย่างที่คิด เพราะถ้ามองหุ้นอยู่ 2 กลุ่ม คือ หนึ่ง หุ้นที่เป็นที่นิยม ธุรกิจกำลังโตอย่างรวดเร็ว แต่มีความเสี่ยงบางอย่างที่อาจเกิดขึ้นได้กับธุรกิจ ที่ถึงแม้ว่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นไม่มากนัก แต่ถ้าเกิดแล้วก็จะกระทบกับมูลค่าของบริษัทอย่างรุนแรง หรือเป็นบริษัทที่เรามองอนาคตไปอีก 3-5 ปีข้างหน้าไม่ชัดเจน มีโอกาสเกิดการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และบางทีหุ้นของบริษัทเหล่านี้ก็ประเมินหามูลค่าที่เหมาะสมยากจนบางทีเราก็กะประมาณ P/E ตามความรู้สึกของเราเอง และหลายๆครั้ง ด้วยความรักหุ้นเป็นทุน เราก็มักจะให้ P/E ที่สูงเกินไปโดยไม่รู้ตัว
ส่วนหุ้นกลุ่มที่สอง เป็นหุ้นที่คนไม่ค่อยนิยมซื้อขายกันมากนัก ปริมาณซื้อขายต่อวันมักจะไม่ติดหนึ่งในสิบของตลาด แต่ว่ามีการเติบโตสม่ำเสมอเกือบทุกปี มีประวัติที่ดีอย่างยาวนาน อาจจะไม่ก้าวกระโดดมากนัก แต่ก็เติบโตไม่น้อยกว่า 15% ต่อปี ธุรกิจมีความแน่นอนสูง และคาดการณ์อนาคตของธุรกิจได้ค่อนข้างชัดเจน ผู้บริหารไว้ใจได้ และสามารถประเมินมูลค่าของกิจการได้ไม่ยากนัก
ผมสังเกตุเห็นว่า คนจำนวนมากมักจะเลือกซื้อหุ้นในกลุ่มที่หนึ่งมากกว่า เพราะมักจะเลือกมองไปที่ Upside มากกว่าที่จะมอง Downside ถึงแม้ว่าหุ้นในกลุ่มที่สองจะสร้างผลตอบแทนที่ค่อนข้างแน่นอนกว่า แต่ก็ไม่ดึงดูดใจมากพอ ทำให้นักลงทุนจำนวนมากเลือกที่จะเสี่ยงมากขึ้นแลกกับผลตอบแทนคาดหวังที่สูงขึ้น และในที่สุดก็จะมีคนจำนวนมากที่ขาดทุน ทั้งๆที่ได้ศึกษาข้อมูลบริษัทมาอย่างดี แต่ผิดพลาดจากการเลือกตัดสินใจ
ถ้าจะถามคนที่มีประสบการณ์การลงทุนมายาวนาน คงจะไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่เคยเลือกหุ้นผิด การเลือกหุ้นผิดของแต่ละคน ก็แตกต่างกันไปตามความสามารถ ลักษณะนิสัยของคนนั้นๆ เท่าที่ผมได้สังเกต ความผิดพลาดในการเลือกหุ้นน่าจะแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ ประการที่หนึ่ง ความผิดพลาดอันเนื่องมาจากการเลือกซื้อหุ้นที่คิดว่าดีไว้ แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้ดีอย่างที่คิด เมื่อเวลาผ่านไปจึงจะรู้ความจริง ซึ่งอาการที่มักจะสังเกตุได้ของความผิดพลาดประเภทนี้คือ "ติดดอย" และประการที่สอง ความผิดพลาดอันเนื่องมาจากการเลือกที่จะไม่ซื้อหุ้น หรือขายหุ้นที่คิดว่าไม่ดี แต่แท้ที่จริงแล้วหุ้นตัวนั้นกลับกลายเป็นหุ้นที่ดีมาก ซึ่งอาการที่มักจะสังเกตุเห็นได้คือ "ตกรถ"
ความผิดพลาดทั้งสองอย่างนั้นล้วนไม่ส่งผลดีต่อผลการลงทุนของเรา หลายๆคนพยายามที่จะไม่ให้เกิดความผิดพลาดทั้งสองอย่าง จนไม่ได้ตระหนักว่าเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงความผิดพลาดทั้งสองอย่างพร้อมๆกันได้ ในชีวิตจริงเราจะต้องเลือกว่าเรายอมจะเกิดความผิดพลาดแบบไหนขึ้น แต่ความผิดพลาดอันไหนล่ะที่รุนแรงกว่า และเราจะทำอย่างไรเพื่อลดความผิดพลาดนั้น
ในความเป็นจริงแล้ว ความผิดพลาดจากการเลือก หรือตัดสินใจ มีให้พบเห็นกันทั่วไปในชีวิตประจำวัน ถ้าจะยกตัวอย่างให้ชัดเจน ก็คงเป็นการพิพากษาตัดสินในศาล หากเราลองเปรียบเทียบการเลือกหุ้นกับการตัดสินพิพากษาในศาล การเลือกซื้อหุ้นที่คิดว่าดี แต่ที่จริงเป็นหุ้นที่ไม่ดี ก็คงเปรียบได้กับการตัดสินว่าคนที่มีความผิดจริงนั้นบริสุทธิ์ และความผิดพลาดจากการเลือกที่จะไม่ซื้อหุ้นที่ดีไว้ ก็คงเปรียบได้กับการตัดสินจำคุกคนบริสุทธิ์
ข้อเสียของการติดสินผิดทำให้คนดีต้องติดคุกคือ มีคนบริสุทธิ์ต้องมาถูกลงโทษทั้งๆที่ไม่ใช่ความผิดของตัวเอง ครอบครัวของเขาก็อาจจะต้องลำบากหรือทุกข์ใจไปด้วย ส่วนการตัดสินให้คนชั่วหลุดพ้นความผิดนั้น ก็มีข้อเสียเช่นกัน คือคนที่ทำชั่วไม่ถูกลงโทษ และอาจจะออกไปสร้างความชั่วให้กับคนในสังคมภายนอกได้รับความเดือดร้อนเพิ่มขึ้นอีก ในสังคมเรานั้นยอมรับ เห็นพ้องต้องกันว่าการตัดสินผิด ทำให้คนที่บริสุทธิ์ต้องได้รับโทษความผิดนั้นเป็นเรื่องที่รุนแรงกว่าการปล่อยคนชั่วลอยนวล จึงเป็นที่มาของรูปแบบการพิจารณาคดีทุกวันนี้ ที่ในเบื้องต้นจะถือว่าจำเลยทุกคนเป็นผู้บริสุทธิ์ปราศจากความผิด และหากไม่มีหลักฐานที่แน่นหนาชัดเจนพอ ก็จะไม่สามารถเอาผิดกับจำเลยได้ ในทางตรงกันข้ามกัน หากสังคมใดเห็นว่าการปล่อยคนชั่วออกมาลอยนวลนั้นร้ายแรงกว่าการลงโทษคนดีแล้ว สังคมนั้นก็จะใช้หลักการพิจารณาความผิด โดยมีสมมุติฐานเบื้องต้นว่าทุกคนที่โดนกล่าวหาว่าผิดนั้นมีความผิดจริง และหากต้องการพ้นข้อกล่าวหา จะต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเอง ถ้าหลักฐานนั้นไม่เพียงพอ ก็จะต้องได้รับโทษ
กลับมาสู่เรื่องการลงทุน และการตัดสินใจเลือกซื้อหุ้น โดยถ้าจะพิจารณาความผิดพลาดทั้งสองลักษณะคือ การซื้อหุ้นไม่ดี กับการไม่ได้ซื้อหุ้นดีนั้น จะพบว่าในทุกๆการตัดสินใจซื้อหุ้นนั้นเราจำเป็นต้องเลือกว่ายอมที่จะเกิดความผิดพลาดแบบไหนขึ้น เช่นเราอาจจะพบหุ้นตัวหนึ่งซึ่งเราพบว่ามี Upside มากเหลือเกิน ในขณะเดียวกันเราก็เห็นว่ามีความไม่แน่นอนบางอย่างที่อาจเกิดขึ้นกับผลประกอบการของบริษัทได้และทำให้เสียหายมากมายได้ เมื่อเราพิจารณาหุ้นตัวนี้ว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อดี เราก็ต้องเลือกระหว่างยอมซื้อผิด หรือยอมเสียโอกาสซื้อหุ้นที่ดี การซื้อหุ้นไม่ดีมีข้อเสียคือเราอาจจะขาดทุนได้จากราคาที่ตกต่ำลงไป ส่วนการพลาดไม่ได้ซื้อหุ้นที่ดีไว้นั้น มีข้อเสียคือเราจะไม่ได้กำไรจากการขึ้นแรงๆของหุ้นตัวนั้น
ถ้าถามนักลงทุนทั่วไป ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ก็คงจะมองเหมือนกันคือ เสียดายดีกว่าเสียใจ นั่นคือ ไม่ได้กำไรไม่ว่า แต่ขออย่าให้ขาดทุนเลย เหมือนกับกฎการลงทุนที่สำคัญที่วอร์เรน บัฟเฟตต์เคยบอกไว้ว่า "จงอย่าขาดทุน"
แต่ในทางปฏิบัติแล้ว หลักการนี้ไม่ได้ทำง่ายๆอย่างที่คิด เพราะถ้ามองหุ้นอยู่ 2 กลุ่ม คือ หนึ่ง หุ้นที่เป็นที่นิยม ธุรกิจกำลังโตอย่างรวดเร็ว แต่มีความเสี่ยงบางอย่างที่อาจเกิดขึ้นได้กับธุรกิจ ที่ถึงแม้ว่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นไม่มากนัก แต่ถ้าเกิดแล้วก็จะกระทบกับมูลค่าของบริษัทอย่างรุนแรง หรือเป็นบริษัทที่เรามองอนาคตไปอีก 3-5 ปีข้างหน้าไม่ชัดเจน มีโอกาสเกิดการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และบางทีหุ้นของบริษัทเหล่านี้ก็ประเมินหามูลค่าที่เหมาะสมยากจนบางทีเราก็กะประมาณ P/E ตามความรู้สึกของเราเอง และหลายๆครั้ง ด้วยความรักหุ้นเป็นทุน เราก็มักจะให้ P/E ที่สูงเกินไปโดยไม่รู้ตัว
ส่วนหุ้นกลุ่มที่สอง เป็นหุ้นที่คนไม่ค่อยนิยมซื้อขายกันมากนัก ปริมาณซื้อขายต่อวันมักจะไม่ติดหนึ่งในสิบของตลาด แต่ว่ามีการเติบโตสม่ำเสมอเกือบทุกปี มีประวัติที่ดีอย่างยาวนาน อาจจะไม่ก้าวกระโดดมากนัก แต่ก็เติบโตไม่น้อยกว่า 15% ต่อปี ธุรกิจมีความแน่นอนสูง และคาดการณ์อนาคตของธุรกิจได้ค่อนข้างชัดเจน ผู้บริหารไว้ใจได้ และสามารถประเมินมูลค่าของกิจการได้ไม่ยากนัก
ผมสังเกตุเห็นว่า คนจำนวนมากมักจะเลือกซื้อหุ้นในกลุ่มที่หนึ่งมากกว่า เพราะมักจะเลือกมองไปที่ Upside มากกว่าที่จะมอง Downside ถึงแม้ว่าหุ้นในกลุ่มที่สองจะสร้างผลตอบแทนที่ค่อนข้างแน่นอนกว่า แต่ก็ไม่ดึงดูดใจมากพอ ทำให้นักลงทุนจำนวนมากเลือกที่จะเสี่ยงมากขึ้นแลกกับผลตอบแทนคาดหวังที่สูงขึ้น และในที่สุดก็จะมีคนจำนวนมากที่ขาดทุน ทั้งๆที่ได้ศึกษาข้อมูลบริษัทมาอย่างดี แต่ผิดพลาดจากการเลือกตัดสินใจ