หน้า 1 จากทั้งหมด 1
ภาษีที่ดินจะมา คิดว่ากลุ่มไหนจะรุ่งหรือร่วงครับผม
โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 07, 2016 3:22 pm
โดย ichbinpao
จาก ที่มาเรื่องนี้ครมเห็นชอบละเรื่องภาษที่ดิน พี่ๆหรือเพื่อนๆมองว่ากลุ่มไหนจะรุ่งหรือจะร่วงครับผม
ที่มาด้านล่างครับ
http://www.posttoday.com/biz/gov/436102
Re: ภาษีที่ดินจะมา คิดว่ากลุ่มไหนจะรุ่งหรือร่วงครับผม
โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 07, 2016 3:38 pm
โดย 6666666v
เป็นผลดีของกลุ่มอสังหาในระยะยาวครับผ้าทำได้จริง เพราะจะมีที่ดินจากรายย่อยปล่อยออกมาให้พัฒนามากขึ้นครับ
Re: ภาษีที่ดินจะมา คิดว่ากลุ่มไหนจะรุ่งหรือร่วงครับผม
โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 07, 2016 4:53 pm
โดย ichbinpao
ข่าวออกมาละครับ
(เพิ่มเติม) ครม. ไฟเขียว พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เก็บบ้านราคาสูงกว่า 50 ลบ.ขึ้นไป 0.05-0.1% ส่วนหลัง 2 ล้านแรกเก็บ 0.03-0.30% คาดประกาศใช้ปี 60
FONT
SHARE
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -7 มิ.ย. 59 16:28 น.
ครม. อนุมัติ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เก็บบ้านหลังแรกสูงกว่า 50 ลบ. อัตรา 0.05-0.1% ส่วนต่ำกว่า 50 ลบ.เว้นภาษี ขณะที่บ้านหลังที่ 2 เก็บล้านบาทแรก 0.03-0.30% ด้านที่ดินว่างเปล่าเก็บในอัตรา 1-3% ส่วนที่อยู่อาศัยที่เป็นมรดกแต่เกิน 50 ลบ. หรือเป็นบ้านหลังที่ 2 จะลดภาษีให้ 50% หากโอนก่อนพ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ ประกาศใช้ รมว. คลังหวังเพิ่มรายได้เข้าอปท. เป็น 6.4 หมื่นลบ./ปี จากเดิม 3 หมื่นลบ./ปี หวัง พ.ร.บ. ประกาศใช้ในปี 2560 ยืนยันประชาชน 99.96% ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี พบมีบ้านที่เข้าเกณฑ์จำนวนเพียง 8,556 หลัง หรือ 0.04%
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อได้มีมติเห็นชอบในหลักการร่าง พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. .... ซึ่งจะนำมาบังคับใช้แทนพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ การเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามร่างกฎหมายที่เสนอนี้ไม่ใช่การเก็บภาษีใหม่ แต่เป็นการปรับปรุงการเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สามารถจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมากขึ้น รวมทั้งมีรายได้เพียงพอที่จะนำมาใช้ในการบริหารจัดการในเขตพื้นที่ของตน ก่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้เสียภาษี ช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ ผลักดันให้เกิดการกระจาย การถือครองที่ดิน และช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการถือครองทรัพย์สินได้อีกทางหนึ่ง
สำหรับอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตัวใหม่ ประกอบด้วย ที่ดินเกษตรกรรม มีเพดานจัดเก็บสูงสุดไว้ที่ 0.2% แต่ให้ยกเว้นมูลค่าที่ดินไม่เกิน 50 ล้านบาทไม่ต้องเสียภาษี ส่วนที่ดินที่มีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาทขึ้นไปคิดอัตราภาษี 0.1% ด้านที่อยู่อาศัย มีเพดานจัดเก็บสูงสุดไว้ที่ 0.5% แต่ให้ยกเว้นมูลค่าที่ดินไม่เกิน 50 ล้านบาทไม่ต้องเสียภาษี แต่ส่วนที่บ้านหลังที่ 2 ให้มีการจัดเก็บตามอัตราขั้นบันได โดยจัดเก็บตั้งแต่ 1 ล้านบาทแรกคิดอัตราภาษี 0.03% ขึ้นไป แต่หากมูลค่าทรัพย์สินมากกว่า 100 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 0.3% ส่วนที่ดินเพื่อการพาณิชกรรม มีเพดานจัดเก็บสูงสุดไว้ที่ 2% โดยมูลค่าทรัพย์สินไม่เกิน 20 ล้านบาท เก็บในอัตรา 0.3% ถึงมูลค่าทรัพย์สินมากกว่า 3,000 ล้่านบาท จัดเก็บในอัตรา 1.5% และที่รกร้างว่างเปล่า มีเพดานจัดเก็บสูงสุดไว้ที่ 5% แต่กำหนดเก็บในปีที่ 1-3 ในอัตรา 1% ปีที่ 4-6 ในอัตรา 2% และปีที่ 7 ขึ้นไปในอัตรา 3%
นายอภิศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ ฉบับใหม่ จะทำให้ลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและทำให้เกิดความเป็นธรรมในการเก็บภาษี รวมถึงท้องถิ่นได้เม็ดเงินรายได้ภาษีมากขึ้น เฉลี่ย 64,000 ล้านบาท จากปัจจุบันที่ท้องถิ่นจัดเก็บภาษีโรงเรือนและภาษีบำรุงท้องที่ได้ประมาณ 30,000 ล้านบาทเท่านั้น ทั้งนี้หลังจากนี้จะเสนอหลักการดังกล่าวให้กับคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาข้อกฎหมายก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา หากไม่มีการปรับแก้ไขมาก กระทรวงการคลังพยายามจะผลักดันให้มีการบังคับใช้ให้ทันภายในเดือนมกราคม 2560
ทั้งนี้ยืนยันประชาชน 99.96% จะไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี และจะไม่ได้รับผลกระทบจากการจัดเก็บภาษีดังกล่าว โดยเฉพาะผู้ที่ต้องเสียภาษีสำหรับที่อยู่อาศัยที่จะเกิน 50 ล้านบาท มีจำนวนเพียง 8,556 หลัง หรือ 0.04% ของจำนวนที่อยู่อาศัยทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่อยู่กรุงเทพและเมืองใหญ่
พร้อมกันนี้ครม.ยังให้อำนาจผู้บริหารท้องถิ่นและกระทรวงมหาดไทย พิจารณาปรับลดหรือยกเว้นภาษีเหล่านี้ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติขึ้น ซึ่งจะมีการประกาศตามแต่ละพื้นที่
โดยร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ยกเลิกพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508
2. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ได้แก่ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินหรือ สิ่งปลูกสร้าง หรือเป็นผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์สินของรัฐ
3. หน่วยงานจัดเก็บภาษี ได้แก่ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง เทศบาลนคร องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา โดยรายได้ภาษีที่จัดเก็บได้จะเป็นของ อปท. ที่ทำหน้าที่จัดเก็บ
4. ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี ได้แก่ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และห้องชุด
5. ฐานภาษี ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยคิดคำนวณจากราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และห้องชุดตามราคาประเมินทุนทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
6. อัตราภาษีที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ จะเป็นอัตราสูงสุดที่จะจัดเก็บภาษีจากผู้เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยจะจัดแบ่งอัตราภาษีดังกล่าวออกเป็น 3 กลุ่ม ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ในที่ดิน คือ (1) กรณีใช้เพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรม ให้จัดเก็บภาษีได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 0.2 (2) กรณี ใช้เพื่อเป็นที่พักอาศัย ให้จัดเก็บภาษีได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 0.5 และ (3) กรณีใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ (เช่น พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม เป็นต้น) ให้จัดเก็บภาษีได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 2 ในส่วนของที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพที่ดิน กำหนดอัตราภาษีสูงสุดในกฎหมายให้ อปท. เรียกเก็บภาษีสำหรับที่ดินดังกล่าวในอัตราไม่เกินร้อยละ 5 ของฐานภาษี
7. ยกเว้นภาษีให้แก่ทรัพย์สินบางประเภท เช่น สาธารณสมบัติ ทรัพย์สินของรัฐที่ไม่ได้ใช้หาผลประโยชน์ ทรัพย์สินของสถานทูต ทรัพย์สินของสภากาชาดไทย ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดและที่ดินสาธารณูปโภคของโครงการจัดสรรที่มิได้ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ทรัพย์สินของเอกชนที่ได้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ และบ้านพักอาศัยหลักในส่วนที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท เป็นต้น
8. อัตราภาษีที่ใช้จัดเก็บจริงจะกำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา โดยกำหนดเป็นอัตราก้าวหน้าเพิ่มขึ้นตามมูลค่าของฐานภาษี ดังนี้
(1) เกษตรกรรม ตั้งแต่ร้อยละ 0 ถึง ร้อยละ 0.1 ของฐานภาษี
(2) ที่พักอาศัยหลัก ส่วนที่เกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป ตั้งแต่ร้อยละ 0.05 ถึงร้อยละ 0.1 และที่พักอาศัยหลังอื่น ตั้งแต่ร้อยละ 0.03 ถึง ร้อยละ 0.3 ของฐานภาษี
(3) ประเภทอื่น ๆ ตั้งแต่ร้อยละ 0.3 ถึง ร้อยละ 1.5 ของฐานภาษี
(4) ที่ดินว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพที่ดินจะจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นทุก 3 ปี ตั้งแต่ร้อยละ 1 ถึง ร้อยละ 3 ของฐานภาษี โดยปีที่ 1-3 จะเก็บร้อยละ 1 ปีที่ 4-6 จะเก็บ ร้อยละ 2 และปีที่ 7 ขึ้นไป จะเก็บร้อยละ 3
9. การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะมีการบรรเทาภาระให้กับเจ้าของบ้านพักอาศัยหลักที่ได้มาจากการรับมรดก ผู้ประกอบกิจการอสังหาริมทรัพย์ สถาบันการเงินที่มีอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชำระหนี้ และกิจการสาธารณะ ดังนี้
9.1 ในกรณีที่เจ้าของบ้านพักอาศัยหลักได้รับกรรมสิทธิ์บ้านหลังดังกล่าวมาจากการรับมรดกก่อนที่กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ จะมีการบรรเทาภาษีให้ โดยการลดภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างร้อยละ 50 ของจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย
9.2 ให้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีเป็นเวลา 1 ปี ให้กับที่ดินที่อยู่ระหว่างการปลูกสร้างบ้านที่เจ้าของใช้เป็นบ้านของตนเอง
9.3 ให้จัดเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 0.05 ของฐานภาษี สำหรับที่ดินที่อยู่ระหว่างการพัฒนาเพื่อจัดทำเป็นโครงการที่พักอาศัยเพื่อขาย ที่นิติบุคคลที่ประกอบกิจการอสังหาริมทรัพย์เป็นเจ้าของ เป็นเวลา 3 ปี นับตั้งแต่เจ้าของที่ดินได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน
9.4 ให้จัดเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 0.05 ของฐานภาษี สำหรับอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชำระหนี้ของสถาบันการเงิน เป็นระยะเวลา 5 ปี
9.5 ให้ลดภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่เกินร้อยละ 75 ของจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย สำหรับกิจการสาธารณะ เช่น โรงพยาบาล และโรงเรียน เป็นต้น
10. นอกจากนี้กฎหมายยังให้อำนาจผู้บริหารท้องถิ่นสามารถขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำจังหวัด หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อลดหรือยกเว้นภาษีให้กับเจ้าของอาคารบ้านเรือนที่ได้รับความเดือดร้อนได้ เช่น เกิดภัยพิบัติ หรืออาคาร บ้านเรือนเกิดเสียหายหรือถูกทำลาย
ทั้งนี้ ได้กำหนดบทเฉพาะกาลให้กฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน กฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ และกฎหมายว่าด้วยการกำหนดราคาปานกลางของที่ดินสำหรับการประเมินภาษีบำรุงท้องที่ ซึ่งถูกยกเลิกโดยร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไป สำหรับการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ที่ต้องเสียหรือพึงชำระหรือที่ค้างอยู่หรือที่ต้องคืนก่อนที่จะเริ่มมีการบังคับใช้การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามร่างพระบัญญัติดังกล่าว
Re: ภาษีที่ดินจะมา คิดว่ากลุ่มไหนจะรุ่งหรือร่วงครับผม
โพสต์แล้ว: อังคาร มิ.ย. 07, 2016 8:33 pm
โดย ดำ
ที่ดินเพื่อการพาณิชกรรม หมายถึงอะไรบ้างครับ?
หอพัก โรงแรม ค้าขาย ห้างสรรพสินค้า ไฮเปอร์มาร์เก็ต โรงงานอุตสาหกรรม?
Re: ภาษีที่ดินจะมา คิดว่ากลุ่มไหนจะรุ่งหรือร่วงครับผม
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 10, 2016 11:03 am
โดย syj
- แล้วอาคารพาณิชย์ ที่ข้างล่างเป็นร้านขายของ แต่ข้างบนบ้านเป็นที่อยู่อาศัย
คิดภาษียังไงครับ
- แต่ที่แน่ๆ ธุรกิจในหาดใหญ่จะกลับบ้านเก่าจำนวนมาก
เพราะ ราคาประเมินที่ดินหาดใหญ่แพงมากๆ ระดับรองจากกรุงเทพฯชั้นในเท่านั้น
แต่ค่าเช่าต่างๆ ไม่ได้คุ้มกับราคาที่ดินเลย และการทำธุรกิจต่างๆ ก็ไม่ได้มีกำไรเยอะ
แบบเดียวกับกรุงเทพฯ แต่ราคาที่ดินพุ่งขึ้นสูงเพราะเป็นการเก็งกำไรในกลุ่ม
นายทุนทั้งหลาย ซื้อแพงเพื่อขายแพงต่อ
การทำธุรกิจค้าขายแล้วจ่ายภาษีที่ดินตามราคาประเมินในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่
จึงแทบเป็นไปไม่ได้ ราคาที่ดินที่ซื้อมาเมื่อยี่สิบสามสิบปีก่อนไร่ละแค่หลักหมื่นหลักแสน
เท่านั้น ปัจจุบันไร่ละสี่สิบห้าสิบถึงแปดสิบล้านบาท (ราคาประเมินกรมที่ดินนะครับผม)
ไม่ต้องคิดอาคารที่ตั้งอยู่ แค่นี้ก็ต้องเสียภาษีตั้งแต่ 4 แสนบาทถึง 8 แสนบาทต่อไร่แล้วครับ
โชว์รูมรถยนต์ขนาดกลางๆ ก็มีเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ เสียภาษีเฉพาะที่ดินยังไม่รวมอาคาร
(ซึ่งก็ต้องนำมาคิดรวมด้วย) ก็ 8 แสนถึง 1.6 ล้านบาท ต่อปีนะครับ ธุรกิจในหาดใหญ่
ในปัจจุบันที่จริงยังด้อยกว่าเขตรอบนอกหรือชานเมืองกรุงเทพฯ มากครับ กำลังซื้อมันต่าง
กันมหาศาล
ผมเคยคิดเล่นว่า ถ้าอย่างนั้น ผมขอให้รัฐบาลซื้อที่ดินและอาคารของคนหาดใหญ่ไปใน
ราคาที่รัฐบาลประเมินเลยครับ เพื่อเป็นทางออกให้กับคนหาดใหญ่
Re: ภาษีที่ดินจะมา คิดว่ากลุ่มไหนจะรุ่งหรือร่วงครับผม
โพสต์แล้ว: เสาร์ มิ.ย. 11, 2016 11:01 am
โดย kasam
ระยะยาวภาษีที่ดินและมรดก...จะถูกวนมาเก็บที่ชนชั้นกลาง ค่าเช่าห้องในเมืองจะสูงขึ้น , ราคาบ้านจะสูงขึ้น
คนจะนิยมเก็บเงินสดไม่สะสมทรัพย์สิน..เมื่อเกิดวิกฤตการเงิน..เงินจะไม่มีค่าทรัพย์สินก็ไม่มี...ย้อมกลับไปที่รัฐบาลอีกครั้ง
Re: ภาษีที่ดินจะมา คิดว่ากลุ่มไหนจะรุ่งหรือร่วงครับผม
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 12, 2016 11:08 pm
โดย miracle
รอดูตัวจริงๆครับกับการใช้งาน
เพราะ ผู้ที่เดือดร้อนสุดคือ ธนาคารพาณิชย์
ธนาคารพาณิชย์นี้เป็นเหมือนเสาหลักของเศรษฐกิจ
ได้รับการปกป้องมานาน ไม่รู้ว่าคราวนี้ยกเว้นไหม
ธนาคารพาณิชย์โดน NPA,NPL เป็นตัวใหญ่เลย
ดังนั้นทางปฏิบัติน่าจะมีทางออกให้
Re: ภาษีที่ดินจะมา คิดว่ากลุ่มไหนจะรุ่งหรือร่วงครับผม
โพสต์แล้ว: จันทร์ มิ.ย. 13, 2016 9:13 am
โดย syj
คุยกัน มีคนถามว่า ทำไมผมมีบ้านสองหลัง
ราคารวมกันไม่ถึงสิบล้าน ต้องเสียภาษี อีกคน
มีบ้านหลังเดียวราคา 50 ล้านไม่ต้องเสีย
นั่นสินะ
ลองคิดดูคนต่างจังหวัด มาซื้อคอนโดเล็กให้ลูกเรียน
หนังสือที่กรุงเทพฯ ต้องเสียภาษี เพราะเป็นบ้านหลังที่สอง
คณะรัฐมนตรี เค้าใช้อะไรคิดครับ ออกมาได้ยังไง
ผมเห็นกับกฎหมายภาษีที่ดินใหม่ที่ต้องปรับปรุงแต่
ไม่ใช่ออกมาแบบนี้ ห่วยมากๆ ผมคิดว่า ก.ม.
ฉบับนี้ จะพังเศรษฐกิจของประเทศชาติยิ่งกว่า
300 บาททั่วไทวอีก
Re: ภาษีที่ดินจะมา คิดว่ากลุ่มไหนจะรุ่งหรือร่วงครับผม
โพสต์แล้ว: จันทร์ มิ.ย. 13, 2016 9:25 am
โดย I_Jay
บ้านหลังที่ 2 เห็นด้วยครับว่าไม่น่าเก็บ บางคนจำเป็นต้องมี แล้วพาณิชย์นี่เก็บซ้ำซ้อนกับภาษีโรงเรือนหรือปล่าวครับ ภาษีโรงเรือนนี่ก็โหดอยู่แล้วนะครับ12.5% แต่เห้นด้วยกับกฏหมายนะที่ว่างเปล่าเยอะแยะปล่อยทิ้งร้างเห็นแล้วเสียดายโอกาส มันไม่ใช่เจ้าของคนเดียวแต่เกี่ยวข้องกับการเจริญของเมืองได้เลย บางคนเคยคุยให้ผมฟังว่ามีที่ดินอยู่ครึ่งจังหวัด
Re: ภาษีที่ดินจะมา คิดว่ากลุ่มไหนจะรุ่งหรือร่วงครับผม
โพสต์แล้ว: จันทร์ มิ.ย. 13, 2016 10:00 am
โดย syj
I_Jay เขียน:บ้านหลังที่ 2 เห็นด้วยครับว่าไม่น่าเก็บ บางคนจำเป็นต้องมี แล้วพาณิชย์นี่เก็บซ้ำซ้อนกับภาษีโรงเรือนหรือปล่าวครับ ภาษีโรงเรือนนี่ก็โหดอยู่แล้วนะครับ12.5% แต่เห้นด้วยกับกฏหมายนะที่ว่างเปล่าเยอะแยะปล่อยทิ้งร้างเห็นแล้วเสียดายโอกาส มันไม่ใช่เจ้าของคนเดียวแต่เกี่ยวข้องกับการเจริญของเมืองได้เลย บางคนเคยคุยให้ผมฟังว่ามีที่ดินอยู่ครึ่งจังหวัด
ภาษีโรงเรือนยกเลิกไปเลยครับ ก.ม.ใหม่มาแทน
Re: ภาษีที่ดินจะมา คิดว่ากลุ่มไหนจะรุ่งหรือร่วงครับผม
โพสต์แล้ว: จันทร์ มิ.ย. 13, 2016 1:05 pm
โดย neuhiran
มีรัฐบาลใหม่แล้วลงชื่อคัดค้านได้มั๊ยครับ ถ้าเราไม่พอใจ
ถ้าได้ละดีเลย ผมจะคัดค้านเรื่อง กฎหมายคุ้มครองสัตว์น่ะ ปากซอยบ้านผมมีหมาจรจัดเยอะมาก
เดินไม่ดีจะโดนรุมกันตายเอา