ขายหุ้นเมื่อไหร่ดีครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2
- ผู้ติดตาม: 0
ขายหุ้นเมื่อไหร่ดีครับ
โพสต์ที่ 1
• ขออนุญาตเรียนถามพี่ๆว่าขายหุ้นเมื่อไหร่ดีครับ
เมื่อปี 2563 วิกฤติ COVID-19 ผมซื้อหุ้น BH, BDMS, CPALL, CENTEL และ AOT และถือมาจนเดือนตุลาคม 2565 จึงขายทั้งหมดไปซื้อหุ้นจีนที่ตกมาหนักมาก ประกอบด้วย Alibaba, Tencent, Bidu, Xiaomi, BYD, Pingan หุ้นเวียดนาม Diamond
เพราะเห็นว่าหุ้นไทยเกินมูลค่าไปมาก
•
ผมมีเรื่องสงสัยอยากเรียนถามพี่ๆ การลงทุนแบบ VI เราซื้อหุ้นต่ำกว่ามูลค่า 50-70%
แต่จะขายเมื่อไหร่ครับ บัฟเฟตต์บอกว่า “ให้ถือตลอดไปในบริษัทที่ดีและพื้นฐานไม่เปลี่ยนไม่ต้องขาย”
แต่ผมฟังพี่โจ ลูกอีสานและพี่มี่บอกว่าให้ขายเมื่อหุ้นถึงหรือเกินมูลค่า ความหมายนี้ผมสงสัย
•
สมมุติหุ้นมีมูลค่าแท้จริง 100 บาท เราซื้อที่ 50 บาท เมื่อราคาหุ้นขึ้นไป 100 บาทก็ขายเลยหรอครับ หรือ ขายที่ 120 หรือ 150 บาท ครับ
•
แต่ถ้าหุ้นเติบโตทุกปีแบบ Diamond เวียตนาม ถ้าราคาเกินมูลค่า แต่หุ้นยังเติบโตทุกปี จะขายไหมครับ
ขอบพระคุณพี่ๆที่ให้ข้อแนะนำครับ
เมื่อปี 2563 วิกฤติ COVID-19 ผมซื้อหุ้น BH, BDMS, CPALL, CENTEL และ AOT และถือมาจนเดือนตุลาคม 2565 จึงขายทั้งหมดไปซื้อหุ้นจีนที่ตกมาหนักมาก ประกอบด้วย Alibaba, Tencent, Bidu, Xiaomi, BYD, Pingan หุ้นเวียดนาม Diamond
เพราะเห็นว่าหุ้นไทยเกินมูลค่าไปมาก
•
ผมมีเรื่องสงสัยอยากเรียนถามพี่ๆ การลงทุนแบบ VI เราซื้อหุ้นต่ำกว่ามูลค่า 50-70%
แต่จะขายเมื่อไหร่ครับ บัฟเฟตต์บอกว่า “ให้ถือตลอดไปในบริษัทที่ดีและพื้นฐานไม่เปลี่ยนไม่ต้องขาย”
แต่ผมฟังพี่โจ ลูกอีสานและพี่มี่บอกว่าให้ขายเมื่อหุ้นถึงหรือเกินมูลค่า ความหมายนี้ผมสงสัย
•
สมมุติหุ้นมีมูลค่าแท้จริง 100 บาท เราซื้อที่ 50 บาท เมื่อราคาหุ้นขึ้นไป 100 บาทก็ขายเลยหรอครับ หรือ ขายที่ 120 หรือ 150 บาท ครับ
•
แต่ถ้าหุ้นเติบโตทุกปีแบบ Diamond เวียตนาม ถ้าราคาเกินมูลค่า แต่หุ้นยังเติบโตทุกปี จะขายไหมครับ
ขอบพระคุณพี่ๆที่ให้ข้อแนะนำครับ
- Introverted investor
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 68
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ขายหุ้นเมื่อไหร่ดีครับ
โพสต์ที่ 2
(ความเห็นส่วนตัว) อธิบายแบบกระชับมากที่สุดคือยึด "มูลค่าพื้นฐาน" เป็นหลักครับ เมื่อเลือกบริษัทที่น่าสนใจจากปัจจัยพื้นฐานมาดีแล้ว จุดที่เข้าซื้อคือจุดที่ราคาตลาดต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐาน ส่วนจะต่ำกว่ามากน้อยแค่ไหน (ส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย) ก็สุดแล้วแต่แผนการของเรา
สมมุติ หากเราประเมินมูลค่าพื้นฐานจากการคาดการณ์กำไรสุทธิของบริษัทในอนาคตอีก 3 ปีข้างหน้า นั่นแสดงว่าเราสามารถรอคอย (ถือหุ้น) ไปอีกไม่ต่ำกว่า 3 ปีนับจากปัจจุบัน เพื่อให้ราคาตลาดมาบรรจบกับมูลค่าพื้นฐานตามแผนการ "แล้วจึงขาย" แต่หากราคาหุ้นวิ่งไปถึงราคาพื้นฐานอย่างรวดเร็วแม้ผ่านไปเพียง 3 วัน "ผมก็ขาย" ในทางกลับกันหากเราถือหุ้นไป 3 ปี แล้วราคายังไม่ไปไหน กำไรไม่เป็นไปตามคาด แสดงว่ามีบางอย่างผิดพลาด "เราก็ขาย"
โดยสรุปแล้วผมจะขายหุ้นเมื่อ
1. ราคาแพง (เกินมูลค่าพื้นฐาน)
2. คิดผิด (ประเมินมูลค่าพื้นฐานผิดพลาด)
3. เปลี่ยนใจ (ประเมินมูลค่าพื้นฐานบริษัทอื่นแล้วมี upside มากกว่าจนคุ้มค่าที่จะเปลี่ยนใจ)
ข้ามเรื่องปัจจัยเชิงคุณภาพไปก่อนเลยนะครับ สมมุติฐานว่าทุกบริษัทนั้นเราวิเคราะห์มาอย่างดีแล้ว เหลือแค่การ Valuation
สุดท้ายการยึด Valuation เป็นหลักนั่นคือการคอยติดตามและสังเกตการณ์ความเปลี่ยนแปลงของบริษัท แล้วประเมินมูลค่าใหม่เสมอ ส่วนใหญ่หลายท่านก็จะแนะนำว่าทุกไตรมาสที่งบการเงินประกาศออกมา นั่นจึงเป็นเหตุผลซ่อนเร้นอยู่ในประโยคของนักลงทุนที่คุณหยิบยกมาเป็นตัวอย่าง
บริษัทที่ดี เติบโต นั้นรายได้และกำไรก็จะเติบโตเกือบทุกปี อาจมีสะดุดบ้าง แต่สุดท้ายแล้วแนวโน้มใหญ่ในระยะยาวกำไรมันจะเป็นขาขึ้นชัดเจน เราต้องมองอนาคตให้ออก เมื่อเราประเมินมูลค่าพื้นฐานใหม่แต่ละครั้ง ราคาเป้าหมายก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี นี่คือเหตุผลของคำว่า 'ระยะเวลาการถือหุ้นที่ดีที่สุดคือตลอดไป' ไม่มีเหตุผลที่จะขาย เพราะมูลค่าพื้นฐานมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
'ขายเมื่อถึงราคาพื้นฐาน' นี่ก็เหตุผลเดียวกับด้านบน
สุดท้ายของสุดท้าย ระยะเวลาไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจว่าเราจะถือหุ้นไปอีกนานแค่ไหน มูลค่าพื้นฐานต่างหากที่จะคอยตัดสินใจให้เราเองว่าจะขายเมื่อใด
สมมุติ หากเราประเมินมูลค่าพื้นฐานจากการคาดการณ์กำไรสุทธิของบริษัทในอนาคตอีก 3 ปีข้างหน้า นั่นแสดงว่าเราสามารถรอคอย (ถือหุ้น) ไปอีกไม่ต่ำกว่า 3 ปีนับจากปัจจุบัน เพื่อให้ราคาตลาดมาบรรจบกับมูลค่าพื้นฐานตามแผนการ "แล้วจึงขาย" แต่หากราคาหุ้นวิ่งไปถึงราคาพื้นฐานอย่างรวดเร็วแม้ผ่านไปเพียง 3 วัน "ผมก็ขาย" ในทางกลับกันหากเราถือหุ้นไป 3 ปี แล้วราคายังไม่ไปไหน กำไรไม่เป็นไปตามคาด แสดงว่ามีบางอย่างผิดพลาด "เราก็ขาย"
โดยสรุปแล้วผมจะขายหุ้นเมื่อ
1. ราคาแพง (เกินมูลค่าพื้นฐาน)
2. คิดผิด (ประเมินมูลค่าพื้นฐานผิดพลาด)
3. เปลี่ยนใจ (ประเมินมูลค่าพื้นฐานบริษัทอื่นแล้วมี upside มากกว่าจนคุ้มค่าที่จะเปลี่ยนใจ)
ข้ามเรื่องปัจจัยเชิงคุณภาพไปก่อนเลยนะครับ สมมุติฐานว่าทุกบริษัทนั้นเราวิเคราะห์มาอย่างดีแล้ว เหลือแค่การ Valuation
สุดท้ายการยึด Valuation เป็นหลักนั่นคือการคอยติดตามและสังเกตการณ์ความเปลี่ยนแปลงของบริษัท แล้วประเมินมูลค่าใหม่เสมอ ส่วนใหญ่หลายท่านก็จะแนะนำว่าทุกไตรมาสที่งบการเงินประกาศออกมา นั่นจึงเป็นเหตุผลซ่อนเร้นอยู่ในประโยคของนักลงทุนที่คุณหยิบยกมาเป็นตัวอย่าง
บริษัทที่ดี เติบโต นั้นรายได้และกำไรก็จะเติบโตเกือบทุกปี อาจมีสะดุดบ้าง แต่สุดท้ายแล้วแนวโน้มใหญ่ในระยะยาวกำไรมันจะเป็นขาขึ้นชัดเจน เราต้องมองอนาคตให้ออก เมื่อเราประเมินมูลค่าพื้นฐานใหม่แต่ละครั้ง ราคาเป้าหมายก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี นี่คือเหตุผลของคำว่า 'ระยะเวลาการถือหุ้นที่ดีที่สุดคือตลอดไป' ไม่มีเหตุผลที่จะขาย เพราะมูลค่าพื้นฐานมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
'ขายเมื่อถึงราคาพื้นฐาน' นี่ก็เหตุผลเดียวกับด้านบน
สุดท้ายของสุดท้าย ระยะเวลาไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจว่าเราจะถือหุ้นไปอีกนานแค่ไหน มูลค่าพื้นฐานต่างหากที่จะคอยตัดสินใจให้เราเองว่าจะขายเมื่อใด
Try to be : Full Time Investor, Reader, Writer, Learner & Cultural observer.
......................................
I have a passion for keeping things simple.
......................................
https://www.facebook.com/Introverted.investor
......................................
I have a passion for keeping things simple.
......................................
https://www.facebook.com/Introverted.investor
- ส.สลึง
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3750
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ขายหุ้นเมื่อไหร่ดีครับ
โพสต์ที่ 3
มาแลกเปลี่ยนกันครับ
ในฐานะที่ผมเลือกหุ้นไม่ค่อยจะเก่งนะ
แล้วก็หาโอกาสงามๆ ได้ไม่ค่อยบ่อยพอกัน
ส่วนตัวเวลาตัดสินใจซื้อหุ้น
ผมมักจะไม่ได้คิดถึงจังหวะและเวลาขาย
ไม่ว่าราคาจะเกินมูลค่าไปมากหรือไม่
อาจจะด้วยเหตุที่ผมยังใช้หลักการของ ฟิลลิป ฟิชเชอร์ เสมอ
คือ ขายเมื่อ..วิเคราะห์ผิด, พื้นฐานเปลี่ยน
หรือเจอหุ้นตัวใหม่น่าสนใจกว่าหุ้นตัวเก่า
ประสบการณ์ที่ผ่านมา
คิดว่าตัวเองทำตัวคล้ายเครื่องชั่งน้ำหนัก
คือหยิบหุ้นตัวใหม่ๆ มาชั่งเทียบกับหุ้นตัวเก่าบ้าง
แล้วแต่ความขยัน
หลายครั้งก็ไม่ได้ถึงกับสลับตัวหุ้นในพอร์ตเลยซะทีเดียว
แต่เมื่อมั่นใจว่าเจอโอกาสใหม่ๆ
ซึ่งผมก็ไม่ได้สนใจหรอกว่าราคาหุ้นตัวเก่าจะ overvalue ไปหรือไม่
ก็อาจจะแค่แบ่งขายหุ้นตัวเก่าออกไปบ้างบางส่วน
หรือแค่ปรับสัดส่วนหุ้นตัวเก่ากับตัวใหม่ให้พอเหมาะ
พอเหมาะในที่นี่ คือ...
ผมนอนหลับครับ
คิดว่ามันคงไม่มีผิดหรือถูกในภาคปฏิบัติ
จนกระทั่งอนาคต วันที่หวยออก
และที่สำคัญ
ประสบการณ์สอนว่า หวยไม่เคยออกครั้งเดียว
โดยสรุป
ส่วนตัวเน้นซื้อครับ ไม่ได้เน้นขาย
แต่รู้ตัวว่าขายหมูบ่อยมาก ต่อไปก็แค่แบ่งไม้ขาย
ถ้าไม่ขายเพื่อปรับพอร์ต
ก็ขายเมื่อเจอโอกาสใหม่ๆ ที่น่าสนใจกว่า
ไม่เคยขายเพราะคิดว่ามัน Overvalue
แต่พฤติกรรมมันอาจจะดูคล้ายกัน
เพราะเมื่อวิสกี้ในห้างมีราคาแพง
เหล้าสาเกในร้านชำก็เลยดูมีความน่าสนใจขึ้นมา
ในฐานะที่ผมเลือกหุ้นไม่ค่อยจะเก่งนะ
แล้วก็หาโอกาสงามๆ ได้ไม่ค่อยบ่อยพอกัน
ส่วนตัวเวลาตัดสินใจซื้อหุ้น
ผมมักจะไม่ได้คิดถึงจังหวะและเวลาขาย
ไม่ว่าราคาจะเกินมูลค่าไปมากหรือไม่
อาจจะด้วยเหตุที่ผมยังใช้หลักการของ ฟิลลิป ฟิชเชอร์ เสมอ
คือ ขายเมื่อ..วิเคราะห์ผิด, พื้นฐานเปลี่ยน
หรือเจอหุ้นตัวใหม่น่าสนใจกว่าหุ้นตัวเก่า
ประสบการณ์ที่ผ่านมา
คิดว่าตัวเองทำตัวคล้ายเครื่องชั่งน้ำหนัก
คือหยิบหุ้นตัวใหม่ๆ มาชั่งเทียบกับหุ้นตัวเก่าบ้าง
แล้วแต่ความขยัน
หลายครั้งก็ไม่ได้ถึงกับสลับตัวหุ้นในพอร์ตเลยซะทีเดียว
แต่เมื่อมั่นใจว่าเจอโอกาสใหม่ๆ
ซึ่งผมก็ไม่ได้สนใจหรอกว่าราคาหุ้นตัวเก่าจะ overvalue ไปหรือไม่
ก็อาจจะแค่แบ่งขายหุ้นตัวเก่าออกไปบ้างบางส่วน
หรือแค่ปรับสัดส่วนหุ้นตัวเก่ากับตัวใหม่ให้พอเหมาะ
พอเหมาะในที่นี่ คือ...
ผมนอนหลับครับ
คิดว่ามันคงไม่มีผิดหรือถูกในภาคปฏิบัติ
จนกระทั่งอนาคต วันที่หวยออก
และที่สำคัญ
ประสบการณ์สอนว่า หวยไม่เคยออกครั้งเดียว
โดยสรุป
ส่วนตัวเน้นซื้อครับ ไม่ได้เน้นขาย
แต่รู้ตัวว่าขายหมูบ่อยมาก ต่อไปก็แค่แบ่งไม้ขาย
ถ้าไม่ขายเพื่อปรับพอร์ต
ก็ขายเมื่อเจอโอกาสใหม่ๆ ที่น่าสนใจกว่า
ไม่เคยขายเพราะคิดว่ามัน Overvalue
แต่พฤติกรรมมันอาจจะดูคล้ายกัน
เพราะเมื่อวิสกี้ในห้างมีราคาแพง
เหล้าสาเกในร้านชำก็เลยดูมีความน่าสนใจขึ้นมา
"วิถีรักษ์โลก บ้าน 1 หลัง รถ 1 คัน สาว 1 คน กางเกงใน 1 ตัว" <( ̄︶ ̄)> ...
- Tanukicho
- Verified User
- โพสต์: 215
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขายหุ้นเมื่อไหร่ดีครับ
โพสต์ที่ 4
ขายหมูก็เป็นเรื่องที่ดีครับ คนอื่นซื้อต่อเขาก็ได้กำไรต่อจากเรา
ถ้าปุ่ผมก็แค่อ่านตามหนังสือ
ซื้อกิจการดีก็ถือไปเรื่อยๆ ไม่ดีก็ขาย
ถ้าปัจจุบัน ผมขายเมื่อกำไร ซื้อก็เมื่อกำไรเหมือนกัน ง่ายๆแค่นั้น มันก็น่าเบื่อ เพราะทุกอย่างมันกำไรหมด มากหรือน้อยขอกำไรไว้ก่อน
อย่ายอมซื้อเมื่อขาดทุน และยอมขายเมื่อขาดทุนเป็นพอ
ถ้าปุ่ผมก็แค่อ่านตามหนังสือ
ซื้อกิจการดีก็ถือไปเรื่อยๆ ไม่ดีก็ขาย
ถ้าปัจจุบัน ผมขายเมื่อกำไร ซื้อก็เมื่อกำไรเหมือนกัน ง่ายๆแค่นั้น มันก็น่าเบื่อ เพราะทุกอย่างมันกำไรหมด มากหรือน้อยขอกำไรไว้ก่อน
อย่ายอมซื้อเมื่อขาดทุน และยอมขายเมื่อขาดทุนเป็นพอ
“ กำไรเมื่อซื้อ ไม่ใช่เมื่อขาย ”
Cr.Richdad
Cr.Richdad